สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 มกราคม 2567

ข่าวการเมือง Tuesday January 16, 2024 17:10 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (16 มกราคม 2567) เวลา 09.00 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สินค้าน้ำมัน                                        ดีเซลและน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน)
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ                                                  พลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ-สังคม
                    3.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทบาทองค์กรปกครองส่วน                                                  ท้องถิ่นกับการปฏิรูปการจัดการศึกษาของท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการ                                                  ปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา
                    4.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการจัดทำสัญญากิจกรรมภายหลังการรับรองสถานี (Contract                                         for Post-Certification Activities) สำหรับสถานีเฝ้าตรวจนิวไคลด์กัมมันตรังสี                                         (RN65)
                    5.           เรื่อง           การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทาง                                        พิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
                    6.           เรื่อง           รายงานประจำปี 2565 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
                    7.           เรื่อง           รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด  ประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ. 2566
                    8.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2567
                    9.           เรื่อง           ขอให้พิจารณาประกาศพื้นที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี และ อำเภอรามัน                                         จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายใน                                                  ราชอาณาจักร
                    10.           เรื่อง           การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

พ.ศ. 2542

                    11.           เรื่อง           วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    12.           เรื่อง            การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    13.           เรื่อง            รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ

ต่างประเทศ
                    14.           เรื่อง           ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่ง                                        ทางทะเลระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ราชอาณาจักร                                                  ภูฏาน สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมา เนปาล สาธารณรัฐสังคม                                        นิยมประชาธิปไตยศรีลังกาและราชอาณาจักรไทย
                    15.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่มีการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน                                         ครั้งที่ 7 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    16.           เรื่อง           ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมเซ้าท์ซัมมิท ครั้งที่ 3
                    17.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์                                                             (Communique) สำหรับการประชุม Global Forum for Food and                                                   Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 16 และการประชุม Berlin Agriculture Ministers?                                         Conference ครั้งที่ 16
                    18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้าย (Draft Final Document) ของการ                                        ประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM Summit) ครั้งที่ 19
                    19.           เรื่อง           ข้อเสนอนโยบายการกำหนดเงื่อนไขว่าด้วยการสร้างความสามารถทางด้าน                                                  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในประเทศอันเกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างจาก                                                  ต่างประเทศของภาครัฐ (Offset)
                    20.           เรื่อง           ร่างปฏิญญาร่วมแสดงเจตจำนงระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย                                        และนวัตกรรม แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการศึกษาและวิจัยแห่งสหพันธ์                                        สาธารณรัฐเยอรมนีว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

แต่งตั้ง
                    21.           เรื่อง           คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานคณะกรรมการ                                                  กฤษฎีกา)
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สินค้าน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. โดยที่รัฐบาลมีนโยบายลดภาระค่าครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศผ่านการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้มและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นต้นทุนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของประชาชน และที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและภาษีสรรพสามิตเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร1 โดย กค. (กรมสรรพสามิต) ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2566 ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน ประเภทอัตราตามปริมาณ (ลิตร) (ปรับลดประมาณ 2.50 บาทต่อลิตร) เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ เมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวสิ้นสุดลงส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น เพื่อตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร2
                    2. กค. โดยกรมสรรพสามิตพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรตามข้อ 1 จึงเห็นควรดำเนินมาตรการทางภาษีโดยการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน ร่วมกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ 1) น้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถัน และ 2) น้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ โดยปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตดังกล่าวประมาณ 1 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 อย่างไรก็ดี กค. จะติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบอย่างใกล้ชิดและจะพิจารณาความเหมาะสมของการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลต่อไป เพื่อให้ฐานะการคลังของประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น
                    3. กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวตามมาตรา 27 และมาตรา 32 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ               พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่าการดำเนินการตามมาตรการภาษีดังกล่าวจะทำให้กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันลดลงประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อเดือน (คาดการณ์จากสถิติปริมาณการเสียภาษีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) โดยการดำเนินการตามมาตรการภาษีในครั้งนี้จะดำเนินการเป็นระยะเวลา 3 เดือน จึงคาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 6,000 ล้านบาท แต่จะเป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนและภาคธุรกิจในระดับที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน ประเภทอัตราตามปริมาณ (ลิตร) (ปรับลดประมาณ 1 บาทต่อลิตร) เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2567 ถึงวันที่       19 เมษายน 2567
ประเภทน้ำมันดีเซล          อัตราภาษี (บาท)
(เดิม)          อัตราภาษี (บาท)
(ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2567
ถึงวันที่ 19 เมษายน 2567)
1. น้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถัน
          1) เกินร้อยละ 0.005 โดยน้ำหนัก
          2) ไม่เกินร้อยละ 0.005 โดยน้ำหนัก
6.440
6.440
5.440
5.440
2. น้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่
          1) ไม่เกินร้อยละ 4
          2) เกินร้อยละ 4 แต่ไม่เกินร้อยละ 7
          3) เกินร้อยละ 7 แต่ไม่เกินร้อยละ 9
          4) เกินร้อยละ 9 แต่ไม่เกินร้อยละ 14
          5) เกินร้อยละ 14 แต่ไม่เกินร้อยละ 19
          6) เกินร้อยละ 19 แต่ไม่เกินร้อยละ 24

6.440
5.990
5.930
5.800
5.480
5.153

5.440
5.060
5.010
4.900
4.630
4.353
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2567 เป็นต้นไป อัตราภาษีน้ำมันดีเซลดังกล่าวข้างต้นจะกลับไปจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 6.440 บาทต่อลิตร
1 การใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีฐานะการเงินติดลบน้อยลง และข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีฐานะสุทธิอยู่ที่ -78,557 ล้านบาท (น้ำมัน -32,444 ล้านบาท และ LPG -46,113 ล้านบาท)
2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (26 ธ.ค. 66) รับทราบเรื่องการดำเนินโครงการของกระทรวงพลังงานเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน ในส่วนแผนงาน/โครงการสำหรับช่วยเหลือและการบริการประชาชน โดยการตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไม่ให้เกิน 30 บาท

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญ
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันบางส่วน ในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ      95 ไร่ 30 ตารางวา เพื่อมอบหมายให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินใช้เป็นที่ตั้งศูนย์พัฒนาวิชาชีพตรวจสอบของประเทศ ซึ่งเดิมราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกันมาประมาณ 60 ปี และได้เลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เนื่องจากไม่มีการประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ และบริเวณด้านทิศตะวันออกจดทิศเหนือของที่ดินได้จัดทำทางสาธารณะให้ประชาชนสัญจรแล้ว โดยทางราชการได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงซึ่งที่ดินดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่จะถอนสภาพตามมาตรา 8 (1) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนสภาพ การจัดขึ้นทะเบียนและการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2560 ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ

เศรษฐกิจ-สังคม
3. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการปฏิรูปการจัดการศึกษาของท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการปฏิรูปการจัดการศึกษาของท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงมหาดไทยได้เสนอผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการปฏิรูปการจัดการศึกษาของท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา    มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลได้ว่า ในส่วนปัญหาอุปสรรคของท้องถิ่นในการจัดการศึกษา พบว่า ด้านบุคลากรกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการกำหนดแผนการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและคัดเลือกในตำแหน่งที่มีความต้องการแล้ว และด้านการบริหารจัดการ ปัจจุบันสถานศึกษาสามารถตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าอุปกรณ์สำหรับผู้เรียนในการฝึกกีฬา ค่าประกันอุบัติเหตุ เพื่อแก้ไขปัญหากระบวนการจัดซื้อจัดหาตามระเบียบที่ล่าช้าและมีความเหลื่อมล้ำได้อยู่แล้ว ในส่วนข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ ในด้านนโยบาย กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้สนับสนุนการดำเนินงานท้องถิ่นดิจิทัลผ่านความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย เช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ อีกทั้งได้มีการเสนอร่างกฎหมายเพื่อกำหนดให้บุคลากรทางการศึกษาร่วมเป็นคณะกรรมการในองค์กรบริหารงานส่วนท้องถิ่นเพื่อกำหนดแนวทางการสรรหาบุคลากรด้านบุคลากร ได้นำมาตรฐานหลักเกณฑ์และระเบียบที่ใช้กับบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการมาประยุกต์ใช้โดยอนุโลม และได้ดำเนินการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการแล้วรวมทั้งได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเพื่อสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่แล้ว และได้จัดงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่นในระดับประเทศ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่แหล่งเรียนรู้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ควรบูรณาการและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เช่น จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการการเรียนระบบคลังหน่วยกิตกับโรงเรียน ด้านการบริหารจัดการ       ได้กำหนดแนวทางหรือระเบียบว่าด้วยการจัดจ้างบุคลากรเชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติแล้ว และได้ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเปิดรับอาสาสมัครมาปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่และครูในพื้นที่ ด้านงบประมาณ กระทรวงมหาดไทยได้ออกระเบียบให้สถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการบริหารงบประมาณตามภารกิจแล้ว ในส่วนของข้อเสนอแนะสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ออกแบบหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน ส่งเสริมให้ สถาบันอุดมศึกษาออกแบบและพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของสถาบันและลักษณะสาขาวิชา

4. เรื่อง ขอความเห็นชอบการจัดทำสัญญากิจกรรมภายหลังการรับรองสถานี (Contract for Post-Certification Activities) สำหรับสถานีเฝ้าตรวจนิวไคลด์กัมมันตรังสี (RN65)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ อว. โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ในฐานะหน่วยประสานงานหลักระดับชาติ1 หรือ Station Operator ตอบรับการจัดทำสัญญากิจกรรมภายหลังการรับรองสถานี (Contract for Post-Certification Activities: PCA Contract) (สัญญา PCA Contract) สำหรับสถานีเฝ้าตรวจนิวไคลด์กัมมันตรังสี (Radionuclide Monitoring Station: RN65) ครอบคลุมเฉพาะระบบวัดนิวไคลด์กัมมันตรังสีในฝุ่นละออง (THP65)2 กับคณะกรรมาธิการเตรียมการสำหรับองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Preparatory Commission for the Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization: CTBTO PrepCom) และอนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญา PCA Contract
                    2. เห็นชอบสัญญา PCA Contract รวมถึงเห็นชอบการให้ใช้อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่มิใช่สารัตถะสำคัญของสัญญา รวมถึงการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมภาคผนวกในส่วนของระบบวัดนิวไคลด์กัมมันตรังสีในก๊าซ (Radionuclide Noble Gas System: THX65)3 และสถานีเฝ้าตรวจความสั่นสะเทือนของพิภพ (Primary Seismic Monitoring Station: PS41) ให้ ปส. หารือกับสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) เพื่อพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
[จะมีการลงนามและแลกเปลี่ยนร่างสัญญา PCA Contract ระหว่างกันผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ต่อไป]
                    สาระสำคัญ
                    ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกตามสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty: CTBT) (สนธิสัญญา CTBT) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561 โดยได้ดำเนินการตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดตั้งสถานีเฝ้าตรวจ จำนวน 2 สถานี เพื่อเฝ้าตรวจการระเบิดทางนิวเคลียร์ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยการตรวจวัดปริมาณตัวอย่างอนุภาคในอวกาศ เช่น ฝุ่นละออง PM2.5 และก๊าซเฉื่อย รวมทั้งได้มีการจัดทำสัญญา Station?s Operator Contract ระหว่างสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [ปัจจุบัน คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)] และบริษัท Environment S.A. [คู่สัญญาของสำนักเลขาธิการทางวิชาการ (Provisional Technical Secretary for the Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization: CTBTO/PTS)] ซึ่งสัญญาดังกล่าวได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2563
                    ต่อมาคณะกรรมาธิการเตรียมการสำหรับองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Preparatory Commission for the Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization: CTBTO PrepCom) ได้แจ้งความประสงค์จะจัดทำสัญญากิจกรรมภายหลังการรับรองสถานี (Contract for Post-Certification Activities: PCA Contract) (ร่างสัญญา PCA Contract) สำหรับสถานีเฝ้าตรวจนิวไคลด์กัมมันตรังสี (Radionuclide Monitoring Station: RN65) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของสถานีเฝ้าตรวจ RN65 ภายหลังจากที่มีการรับรองสถานี ซึ่งแตกต่างจากสัญญา Station?s Operator Contract ที่เป็นแนวทางการก่อสร้างสถานีเฝ้าตรวจ การทดสอบ และประเมินอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนการรับรองสถานีเฝ้าตรวจ อย่างไรก็ตาม การเสนอครั้งนี้ CTBTO PrepCom ได้ขอให้ใช้อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทในกรณีที่มีข้อขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่ายที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ซึ่งกรมองค์การระหว่างประเทศ [กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)] เห็นว่า จะต้องขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ดังนั้น อว. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ อว. โดย ปส. ในฐานะหน่วยประสานงานหลักระดับชาติ หรือ Station Operator ตอบรับการจัดทำสัญญา PCA Contract และเห็นชอบสัญญา PCA Contract รวมถึงเห็นชอบการให้ใช้อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทและอนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญา PCA Contract
1 ปส. เป็นหน่วยประสานงานหลักระดับชาติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ [(Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty: CTBT) (สนธิสัญญา CTBT) ตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤศจิกายน 2539)]
2 ระบบวัดนิวไคลด์กัมมันตรังสีในฝุ่นละออง (THP65) เป็นระบบเก็บและวัดตัวอย่างอนุภาคในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง PM2.5
3 ระบบวัดนิวไคลด์กัมมันตรังสีในก๊าซ (THX65) เป็นระบบเก็บและวัดก๊าซเฉื่อย

5. เรื่อง การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองวัดคาทอลิก จำนวน 41 วัด เป็นวัดคาทอลิกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 (ระเบียบฯ) ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    วธ. รายงานว่า
                    1. ระเบียบฯ ข้อ 16 ได้กำหนดแนวทางการพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก1 โดยกำหนดให้ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ (วันที่ 15 มิถุนายน 2564) เมื่อปรากฏว่า มีวัดคาทอลิกอยู่ในวันก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับและมิซซัง2 โดยความเห็นชอบของสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก (คณะกรรมการฯ) พิจารณาให้ความเห็นประกอบก่อนเสนอไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารับรองวัดคาทอลิกต่อไป
                    2. มิซซัง โดยความเห็นชอบของสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้ยื่นแบบคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกต่อกรมการศาสนา จำนวน 360 วัด โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับรองเป็นวัดคาทอลิกตามระเบียบฯ แล้ว จำนวน 204 วัด (มติคณะรัฐมนตรี 23 สิงหาคม 2565, 8 พฤศจิกายน 2565, 21 กุมภาพันธ์ 2566, 16 พฤษภาคม 2566, 23 สิงหาคม 2566) และในครั้งนี้กรมการศาสนาได้มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็น จำนวน 41 วัด (คงเหลืออยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ จำนวน 115 วัด) โดยจำแนกเป็นรายจังหวัดได้ จำนวน 9 จังหวัด ดังนี้
จังหวัด          จำนวนวัด          ตัวอย่างวัดคาทอลิก
จังหวัดนครราชสีมา          13          วัดแม่พระฟาติมา (บุญนิมิต) วัดบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง (เขาใหญ่)
จังหวัดชัยภูมิ          7          วัดพระเยซูเจ้ากลับคืนชีพ (ชัยภูมิ) วัดนักบุญยอแซฟ (หนองไม้งาม)
จังหวัดบุรีรัมย์          5          วัดแม่พระแห่งสายประคำศักดิ์สิทธิ์ (บุรีรัมย์) วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ (นางรอง)
จังหวัดศรีสะเกษ          3          วัดนักบุญเปโตร (ราศีไศล) วัดนักบุญเปาโลกลับใจ (ขุนหาญ)
จังหวัดมหาสารคาม          3          วัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (มหาสารคาม) วัดนักบุญเปโตร (วาปีปทุม)
จังหวัดร้อยเอ็ด          2          วัดแม่พระมหาชัย (ร้อยเอ็ด) วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด (มะหรี่)
จังหวัดยโสธร          4          วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ (ป่าติ้ว) วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด (หนองคูน้อย)
จังหวัดอุบลราชธานี          3          วัดนักบุญเทเรซา (หนองฝาง) วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า (เขมราฐ)
จังหวัดมุกดาหาร          1          วัดนักบุญยอห์น อัครสาวก นาตะแบง
รวม          41
                    3. ประโยชน์ของวัดคาทอลิกที่มีต่อชุมชน/ท้องถิ่นสรุปได้ ดังนี้
                              (1) เป็นสถานที่สำหรับประกอบศาสนกิจของคริสต์ศาสนิกชน การดำเนินงานด้านศาสนาและสังคมตามจิตตารมณ์ของพระศาสนจักรคาทอลิก
                              (2) เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้หลักธรรมคำสอนและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของคนในสังคม การพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยมิติทางศาสนา
                              (3) เป็นสถานที่สาธารณะของคนในชุมชน สถานศึกษา องค์การและหน่วยงานสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ
                    4. โดยที่ระเบียบฯ กำหนดให้มิซซังฯ ยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกซึ่งเป็นวัดคาทอลิกที่มีอยู่ก่อนวันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับ เพื่อให้มีการดำเนินการรับรองวัดคาทอลิกตามขั้นตอนที่ระเบียบฯ กำหนด ซึ่งระยะเวลาการยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกดังกล่าวได้สิ้นสุดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 แต่การรับรองวัดคาทอลิกไม่สามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นทุกขั้นตอน วธ. (กรมการศาสนา) จึงได้หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาดำเนินการรับรองวัดคาทอลิกไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เพื่อให้พิจารณาแนวทางดำเนินการรับรองวัดคาทอลิกหลังสิ้นสุดระยะเวลาสองปีตามที่ระเบียบฯ กำหนด ทั้งนี้ สคก. (คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8) พิจารณาแล้วมีความเห็นโดยสรุปว่า กรณีมิซซังโดยความเห็นชอบของสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้ยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกต่อกรมการศาสนาภายในกำหนดระยะเวลาสองปีโดยชอบแล้ว กรมการศาสนาและพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมสามารถพิจารณาคำขอดังกล่าวที่ยื่นไว้ และอยู่ระหว่างการพิจารณาต่อไปได้แม้จะพ้นระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ 16 แห่งระเบียบฯ และผลการพิจารณาคำขอที่ออกภายหลังระยะเวลาดังกล่าว ไม่มีผลกระทบทางกฎหมายต่อสถานะของวัดคาทอลิกที่จะได้รับการรับรอง ทั้งนี้ วธ. โดยกรมการศาสนาได้รับคอขอให้รับรองวัดคาทอลิกก่อนวันที่ 15 มิถุนายน 2566
                    5. คณะกรรมการฯ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ได้พิจารณาคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกทั้ง 41 วัด จำนวน 9 จังหวัด แล้วเห็นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อที่ 16 แห่งระเบียบดังกล่าว ประกอบด้วย (1) มิซซัง โดยความเห็นชอบของสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยยื่นคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกนั้น (2) ข้อมูลที่ตั้งวัด (3) ข้อมูลที่ดินที่ตั้งวัดและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน (4) รายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจประจำ ณ วัดคาทอลิก และ (5) ข้อมูลอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก เช่น มีใบอนุญาตหรือใบรับรองการก่อสร้างอาคารหรือเอกสารรับรองความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร วัด/มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เอื้อต่อการประกอบศาสนพิธีและการพำนัก/สถานที่ สิ่งปลูกสร้าง และอุปกรณ์ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบศาสนกิจและการพำนักครบถ้วน/วัดได้ดำเนินงานตามภารกิจของมิซซังในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอภิบาลคริสตชนและด้านเผยแผ่ธรรมเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงมีมติให้เสนอคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกรวมจำนวน 41 วัด ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้การรับรองตามนัยระเบียบดังกล่าว
1 การรับรองวัดคาทอลิกจะทำให้วัดได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเพื่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนสถาน เช่น โครงการเงินอุดหนุนกิจกรรมบูรณะศาสนสถาน รวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือการหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและการได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีของคริสต์ศาสนิกชนที่บริจาคเงินให้แก่วัด
2 การบริหารของพระศาสนจักรคาทอลิกมีมิซซัง (สังฆมณฑล) เป็นองค์กรหลักและมีบิชอป (มุขนายก) เป็นศาสนบริกร โดยอยู่ภายใต้องค์กรหลักหรือมิซซัง เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย ลักษณ ฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยาม

6. เรื่อง รายงานประจำปี 2565 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำปี 2565 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ  และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สวทช. ได้ดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับที่ 7 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2570) มุ่งเน้นการส่งมอบผลงานเพื่อตอบยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 โดยการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) และแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ  เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Artificial Intelligence : AI) โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเขตนวัตกรรมเป็นฐานในการขยายผลนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG AI  และการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic  Corridor of Innovation : EECi) จนสามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงให้แก่ภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม  ชุมชน และทุกภาคส่วน ตลอดจนสามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ตอบโจทย์ประเทศ และช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมีผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้
                    1. ได้รับมอบหมายภารกิจสำคัญของประเทศโดยเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน BCG Model ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จัดทำ ?แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570? ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565    มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ในการร่วมกันขับเคลื่อนวาระแห่งชาตินี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วและยั่งยืน โดยมีวิสัยทัศน์ คือ เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ประชาชนมีรายได้ดี คุณภาพชีวิตดี รักษาและพื้นฟูฐานทรัพยากรจากความหลากหลายทางชีวภาพให้มีคุณภาพที่ดีด้วยการใช้ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และได้ดำเนินการสนับสนุนข้อมูลผลการดำเนินงานตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ให้แก่นายกรัฐมนตรีในการนำเสนอต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจในการประชุมเอเปค อีกทั้งยังได้เสนอแนวคิดและสนับสนุนข้อมูลประกอบการจัดนิทรรศการเอเปค Thailand BCG ส่งผลให้เป้าหมายกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือ Bangkok Goals on BCG  Economy เป็นผลงานที่โดดเด่นและได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเอเปค ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนความยั่งยืนในเอเปคอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ถือได้ว่าประเทศไทยสามารถประสบผลสำเร็จในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี
                    นอกจากนี้ มีการดำเนินการวิจัยและพัฒนา โครงการสำคัญตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือ BCG Quick Win 8 โครงการ ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ประกอบด้วยโครงการ ดังนี้ (1) การยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (BCG-Naga Belt Road) (2) การยกระดับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านและเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmers)                  (3) โครงการยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทยด้วยนวัตกรรม (4) โครงการสร้างแพลตฟอร์มการผลิตอาหารฟังก์ชัน และ Functional Ingredients ในระดับอุตสาหกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง                  (5) การขยายผลโครงการ Green Industry (GI) เพื่อยกระดับผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง (6) การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจากความหลากหลายทางชีวภาพสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง                 และยั่งยืน (7) โครงการการผลิตยาต้านไวรัสเพื่อรองรับการระบาดใหญ่และเพื่อสร้างศักยภาพการผลิตยาภายในประเทศ และ (8) โครงการพัฒนาต้นแบบโครงข่ายไฟฟ้าชุมชนแบบอัจฉริยะ (Smart Micro Grid)
                    2. ดำเนินการจัดทำและผลักดันแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565-2570) โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าว ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป้าประสงค์คือการสร้างคนและเทคโนโลยี การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์มูลค่า 34,860 ล้านบาท  และ สวทช. ได้ผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม  ของภาคการผลิตและบริการ มูลค่า 14,232 ล้านบาท รวมถึงตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารวิชาการนานาชาติ 761 บทความ ยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา 395 คำขอ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ 323  รายการให้แก่หน่วยงาน 418 หน่วยงาน
                    3. การสร้างสรรค์ผลงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ประเทศภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและชุมชน นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างเป็นที่ประจักษ์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG และ AI โดยมีตัวอย่างผลงาน ดังนี้
                              3.1 ด้านเกษตรและอาหาร : ได้แก่ นวัตกรรมคอปเปอร์ไอออนสำหรับผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีฤทธิ์ยังยั้งเชื้อแบคทีเรีย ชุดตรวจเดกซ์แทรนสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาลของโรงงาน การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารออกฤทธิ์จากนมน้ำเหลืองจากวัว มะนีมะนาว : ผลิตภัณฑ์น้ำมะนาวคั้นสด และผลิตภัณฑ์ Ve-Chick (วีชิค) ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant - based chicken) จากห้องปฏิบัติการสู่ผลิตภัณฑ์กินใจ (GIN Zhai)
                              3.2 ด้านสุขภาพและการแพทย์ : เทคโนโลยี Pseudotyped virus สำหรับประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด 19 และ A-MED Telehealth ระบบอำนวยความสะดวก  Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) และแพลตฟอร์มรับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินทางการแพทย์ระบบดิจิทัล D1669
                              3.3 ด้านพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ รามทั้งการประยุกต์ใช้รถโดยสารไฟฟ้าจากองค์ความรู้นักวิจัยไทยพัฒนาโดยภาคเอกชนไทย
                              3.4 ด้านดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ : Traffy Fondue แพลตฟอร์มแจ้งและติดตามปัญหาเมือง แพลตฟอร์มการบริหารจัดการข้อมูลเสียงน้ำรั่วและโมเดลทางปัญญาประดิษฐ์ผ่านเครือข่ายคลาวด์
                    4. การพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) สวทช. เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ให้เป็นพื้นที่ดำเนินการขยายผล (Translational research) เพื่อให้ EECi เป็นระบบนิเวศนวัตกรรมชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนับสนุนการดึงดูดการลงทุนเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่เกิดจากการผสานความร่วมมือระหว่างบริษัทใหญ่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันวิจัย สถาบันศึกษา และภาคประชาสังคม มีการดำเนินการก่อสร้างกลุ่มอาคารเมืองนวัตกรรมภาคตะวันออก EECi Phase 1A แล้วเสร็จโดยเมื่อวันที่               16 พฤศจิกายน 2565 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดกลุ่มอาคารสำนักงานใหญ่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร พนักงาน สวทช. และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ              ณ วังจันทร์วัลเลย์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง บนพื้นที่กว่า 40,000 ตารางเมตร ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาที่เปิดให้บริการ อาทิ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน และโรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะ เป็นต้น
                    5. การถ่ายทอดเทคโนโลยีนำผลงานวิจัยสู่การสร้างเสริมขีดความสามารถเกษตรชุมชน                      เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน โดยได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน 377 ชุมชน ใน 44 จังหวัด มีเกษตรกรได้รับถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยี 9,811 คน และพัฒนาทักษะเกษตรกรแกนนำ 901 คน นอกจากนี้ยังมีการยกระดับภาคอุตสาหกรรมโดยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี              มีกลไกสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนด้านวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพิ่มขึ้น เช่น การสนับสนุน SMEs ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (โครงการ ITAP) 346 โครงการ (ใหม่) คิดเป็นมูลค่าโครงการ 304.24 ล้านบาท การตรวจสอบรับรองผลงานวิจัยของผู้ประกอบการไทยเพื่อขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย โดยสำนักงบประมาณได้ประกาศขึ้นบัญชีนวัตกรรมแล้ว จำนวนสะสมทั้งสิ้น 614  ผลงาน ดำเนินการตรวจสอบและรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ยื่นขอสิทธิประโยชน์ทางภาษี 200 เปอร์เซ็นต์ 387 โครงการ มูลค่าโครงการรวม  1,196.33 ล้านบาท
                    6. การพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(National S & T Infrastructure) ที่ให้บริการด้านเทคนิค วิชาการด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพสูง            5 หน่วยงาน และมีการพัฒนาและยกระดับโครงสร้าพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure) ของ 5 ศูนย์บริการ โดยให้บริการวิเคราะห์และทดสอบแก่หน่วยงานต่าง ๆ 80,053 รายการ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนมากกว่า 862 ราย
                    7. การพัฒนาและสร้างเสริมบุคลากรวิจัย พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าสู่อาชีพนักวิจัยผ่านการสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโท/ปริญญาเอก/นักวิจัยหลังปริญญาเอก เพื่อสร้างบุคลากรวิจัยกับประเทศ 848 คน และสนับสนุนนักศึกษาและบุคลากรวิจัยทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมงานในห้องปฏิบัติการของศูนย์แห่งชาติ 540 คน ร่วมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนหันมาสนใจเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม และค่ายวิทยาศาสตร์ มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วม 6,049 คน
                    8. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของ สวทช. สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า งบการเงินของ สวทช. ดังกล่าวมีความถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังนี้
หน่วย:ล้านบาท
รายการ          ณ วันที่ 30 กันยายน 2565          ณ วันที่ 30 กันยายน 2564
1. งบแสดงฐานะการเงิน
          (1) สินทรัพย์
                    - สินทรัพย์หมุนเวียน
                    - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
                    รวมสินทรัพย์
          (2) หนี้สิน
                    - หนี้สินหมุนเวียน
                    - หนี้สินไม่หมุนเวียน
          (3) รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน
          (4) รวมหนี้สินและสินทรัพย์
สุทธิ/ส่วนทุน
1,698.66
8,688.92
10,387.58

579.38
855.16
1,434.54
8,953.04
10,387.58
1,952.89
7,844.14
9,797.03

470.21
916.53
1,386.74
8,410.29
9,797.03
2. งบแสดงผลการดำเนินงาน
ทางการเงิน
                    - รวมรายได้
                    - รวมค่าใช้จ่าย
          (1) รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย
ก่อนต้นทุนทางการเงิน
                    - ต้นทุนทางการเงิน
          (2) รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ

6,942.15
6,686.97
255.18

3.07
252.11

7,906.14
6,724.92
1,181.21

1.86
1,179.36

7. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานว่า
                              1.1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ก.ธ.จ.1 ทั้ง 76 คณะ/จังหวัด ได้ติดตามสอดส่องแผนงาน/โครงการ และเรื่องร้องเรียนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัด แผนงาน/โครงการของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  (อปท.) รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัด (เรื่องร้องเรียน) จำนวนทั้งสิ้น 2,098 แผนงาน/โครงการ/เรื่อง โดย ก.ธ.จ. ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 1,576 ข้อ สรุปได้ ดังนี้
ผลการสอดส่องของ                ก.ธ.จ.          จำนวนแผนงาน/โครงการ/เรื่องที่                  ก.ธ.จ.
สอดส่อง          จำนวนแผนงาน/โครงการ/เรื่องที่ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี          จำนวนข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ.          จำนวนข้อเสนอแนะที่จังหวัดได้รับไปดำเนินการ
1) แผนงาน/โครงการ
ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด          1,026          409          759          198
2) แผนงาน/โครงการ
ของส่วนราชการในจังหวัด          99          39          84          50
3) แผนงาน/โครงการ
ของหน่วยงานราชการของรัฐอื่น ๆ
          926          353          687          150
4) เรื่องร้องเรียน
          47          36          46          23
รวม
          2,098 เรื่อง*          837 เรื่อง*          1,576 ข้อ          421 ข้อ **
หมายเหตุ           * ประกอบด้วย 6  ประเภทแผนงาน/โครงการ/เรื่อง ได้แก่ ด้านพัฒนาการท่องเที่ยว ด้านสาธารณูปโภค ด้านการจัดการน้ำ ด้านคุณภาพชีวิต ด้านระบบขนส่ง และด้านอื่น ๆ
                    ** ข้อเสนอแนะอีก 1,155 ข้อ อยู่ระหว่างการดำเนินการของจังหวัด/หน่วยงาน
ทั้งนี้ จากแผนงาน/โครงการ/เรื่องร้องเรียนดังกล่าวข้างต้น พบว่า กลุ่มประเภทระบบขนส่ง เป็นกลุ่มที่ ก.ธ.จ. มีการสอดส่องมากที่สุด เช่น โครงการก่อสร้าง/ปรับปรุง/ช่อมแซมถนน สะพาน การขยายช่องจราจร การซ่อมสร้างผิวทาง คิดเป็นร้อยละ 41.99 รองลงมาเป็น กลุ่มประเภทคุณภาพชีวิต เช่น โครงการฝึกทักษะการดำรงชีวิต/ส่งเสริมการเรียนรู้ การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร การก่อสร้างสนามกีฬา/สวนสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 16.64 และกลุ่มประเภทการจัดการน้ำ เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การสร้างอ่างเก็บน้ำ/ขุดเจาะบ่อบาดาล การก่อสร้างระบบประปา คิดเป็นร้อยละ 15.06 จากการสอดส่องแผนงาน/โครงการ และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พบว่า ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง               ที่ดี จำนวน 837แผนงาน/โครงการ/เรื่อง2 สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การพัฒนาการท่องเที่ยว สาธารณูปโภค และการจัดการน้ำคิดเป็นร้อยละ 52.38 ร้อยละ 50.00 และร้อยละ 43.98 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินโครงการล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ไม่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีการเตรียมการส่งมอบหรือกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ/การดูแลรักษาเมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ไม่คำนึงถึงความต้องการหรือความพึงพอใจของประชาชน ไม่มีป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้าง                 ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้าง หรือแม้แต่บริเวณที่ดำเนินโครงการมีจุดเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน
                              1.2 ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญและแนวทางการแก้ไขของ ก.ธ.จ. เช่น
ปัญหาอุปสรรค/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ          แนวทางการแก้ไข
1.2.1 การปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ธ.จ.
วิธีการดำเนินการสอดส่องและการรับเรื่องร้องเรียนของ ก.ธ.จ. แต่ละคณะมีความแตกต่างกัน จึงเห็นควรกำหนดวิธีการทำงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ให้ชัดเจนและการให้ข้อเสนอแนะควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
          ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานปลัด                       สำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) จะพิจารณาปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. ให้มีความเหมาะสมและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้การปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. มีทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน
1.2.2 การจัดอบรม/สัมมนา และการประชาสัมพันธ์
กรรมการ ก.ธ.จ. ที่เข้ารับตำแหน่งใหม่และกรรมการ ก.ธ.จ. บางส่วนไม่เข้าใจเจตนารมณ์บทบาทอำนาจหน้าที่ และแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ธ.จ. จึงเห็นควรมีการอบรมให้ความรู้โดยเน้นย้ำบทบาทอำนาจหน้าที่ของ ก.ธ.จ. อย่างต่อเนื่อง          ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สปน. ได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ธ.จ.
และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สปน. มีแผนที่จะจัดโครงการอบรม/สัมมนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. ในระดับพื้นที่
ส่วนราชการ อปท. และประชาชน ยังไม่รู้จักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ก.ธ.จ. เท่าที่ควรจึงเห็นควรให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานของ ก.ธ.จ. ในพื้นที่เป็นไปด้วยความราบรื่น          กำหนดให้ ก.ธ.จ. ทุกคณะจัดประชุม ก.ธ.จ. สัญจร เวียนไปตามอำเภอต่าง ๆ เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันและเป็นการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของ ก.ธ.จ. ไปด้วย นอกจากนี้ สปน. ได้จัดทำคลิปวีดิทัศน์ ?บทบาทอำนาจหน้าที่และภารกิจงาน ก.ธ.จ.? เผยแพร่บนเว็บไซต์ ก.ธ.จ. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ ก.ธ.จ. เป็นที่รู้จักได้อีกทางหนึ่งด้วย
1.2.3 การขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
งบประมาณไม่เพียงพอกับการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. บางจังหวัดกำหนดลงพื้นที่สอดส่องหลายโครงการซึ่งหลายโครงการเดินทางลำบาก พาหนะของกรรมการมีสภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการลงพื้นที่ ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง          เมื่อจังหวัดได้รับการจัดสรรงบประมาณ ก.ธ.จ. ควรดำเนินการ ดังนี้
- จัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณในการสอดส่องโครงการและการดำเนินงานอื่น ๆ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร และเบิกจ่ายงบประมาณ
ตามหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายฯ ที่กำหนด
- ปรับแผนการลงพื้นที่ โดยอาจลดจำนวนคนในการลงพื้นที่หรือควบรวมวันในการลงพื้นที่สำหรับพื้นที่ใกล้เคียงกัน เพื่อลดการใช้งบประมาณ
- หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ ก.ธ.จ. รวมทั้งจัดทำรายงานผลการดำเนินงานในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
1.2.4 อื่น ๆ
กลุ่มงานที่รับผิดชอบปฏิบัติงานในฐานผู้ช่วยเลขานุการ ก.ธ.จ. ของจังหวัด มีบุคลากรน้อยและมีภาระงานประจำ ส่งผลให้ไม่สามารถสนับสนุนการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของ ก.ธ.จ. ได้ตามที่กำหนดได้ทุกเดือน จึงเห็นควรจ้างบุคลากรเพื่อปฏิบัติงาน ก.ธ.จ. ที่จังหวัดเพิ่มเติม          ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สปน. ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 19,471,700 บาท เพื่อจ้างเหมาบุคลากรทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน ก.ธ.จ. โดยเฉพาะในทุกจังหวัด
ควรพิจารณามอบโล่หรือเกียรติบัตรเพิ่มเติมให้ ก.ธ.จ. ในฐานะภาคประชาชนที่มีการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่และเป็นจิตอาสา          อยู่ระหว่าง สปน. จัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์แนวทางในการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติแก่ก.ธ.จ. ที่ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
ควรมีการมอบโล่รางวัลหรือใบประกาศเกียรติคุณให้แก่หน่วยงานที่มีธรรมาภิบาลในการดำเนินงานเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในการได้รับรางวัล          ก.ธ.จ. สามารถมีมติให้มีหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดและ/หรือหน่วยงานที่รับการสอดส่องเพื่อขอบคุณและชื่นชมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐของหน่วยงาน  นั้น ๆ เพื่อเป็นของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นแนวทางที่ ก.ธ.จ. บางคณะปฏิบัติอยู่ด้วยแล้ว เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดความคุ้มค่า
                              1.3 แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ก.ธ.จ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เช่น
                                        1.3.1  สนับสนุนให้ ก.ธ.จ. ดำเนินการ เช่น (1) สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยสอดส่องแผนงาน/โครงการตามกรอบแนวทางเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา รวมทั้งแผนงาน/โครงการที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล และเรื่องสุ่มเสี่ยงที่มีผลกระทบกับประชาชนให้มากยิ่งขึ้น (2) ให้ ก.ธ.จ. มีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค             (3) มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในสวนราชการและหน่วยงานของรัฐร่วมกับหน่วยงานที่ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ (MOU) ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ
                                        1.3.2 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2567 ให้กับจังหวัด 76 จังหวัด เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ ก.ธ.จ. เช่น ค่าใช้จ่ายในการประชุมแบบไม่เป็นทางการ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสอดส่องแผนงาน/โครงการและการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ โดยพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามหลักเกณฑ์ เช่น หลักเกณฑ์จำนวนอำเภอในแต่ละจังหวัด จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้ การเบิกค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้นให้เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณของทางราชการ  หลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายที่กำหนด และเป็นไปตามมติที่ประชุม ก.ธ.จ. แต่ละคณะ
1 ก.ธ.จ. เป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด เป็นประธาน ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน เป็นกรรมการ มีหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2 ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด                  พ.ศ.2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 23 (4) ที่กำหนดให้การปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่า สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 46.98 รองลงมาคือ ข้อ 23 (2) การปฏิบัติภารกิจเพื่ออำนวยความสะดวกให้บริการและสนองความต้องการของประชาชนคิดเป็นร้อยละ 18.18 และข้อ 23 (3) การปฏิบัติภารกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 13.37 ตามลำดับ

8. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2567
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมติของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 และเห็นชอบและรับทราบร่างประกาศรวม 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1. ร่างประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี และอำเภอรามัน จังหวัดยะลา 2. ร่างประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง 3. ร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ 4. ร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ        ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างประกาศดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ
                     สาระสำคัญ
                      สมช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการได้จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมวิจิตรวาทการ ชั้น 3 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้
                      1. ให้ปรับลดพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สถานการณ์ดีขึ้น โดยเฉพาะสถิติการก่อเหตุและการสูญเสียมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตามหลักเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการปรับลดพื้นที่ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ห่วงปี พ.ศ. 2566 - 2570 (ฉบับแก้ไข) ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 และนำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับแทนในพื้นที่ 2 อำเภอของ 2 จังหวัด ดังนี้
                                1.1 อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
                                1.2 อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
                     2. ให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปีนัง ออกไปอีก 3 เดือน เป็นครั้งที่ 75 ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2567 และสิ้นสุดในวันที่ 19 เมษายน 2567 เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีการก่อเหตุรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และปรากฏภาพข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อเหตุ ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ว่ากลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงยังคงมีเจตนาเตรียมจะก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ต่อไป

9. เรื่อง ขอให้พิจารณาประกาศพื้นที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี และ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
                     คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศให้อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี และ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพื่อนำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาบังคับใช้แทนต่อไป ให้มีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2567 ถึงวันที่     30 กันยายน 2567 ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เสนอ

10. เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดสินค้าควบคุมปี 2567 จำนวน 5 รายการ ได้แก่ (1) หน้ากากอนามัย (2) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย (3) ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ (4) เศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก และ       (5) ไก่ เนื้อไก่ ตามมติคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เมื่อวันพุธที่ 10 มกราคม 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ โดยให้มีผลถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2567
                    สาระสำคัญ
                    1. ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 เรื่อง             การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะสิ้นสุดผลบังคับใช้ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2567
                    2. คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันพุธที่ 10 มกราคม 2567 มีมติเห็นชอบกำหนดรายการสินค้าควบคุม จำนวน 5 รายการ ได้แก่ (1) หน้ากากอนามัย (2) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย (3) ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ (4) เศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก และ (5) ไก่ เนื้อไก่       เพื่อป้องกันการกำหนดราคาซื้อ ราคาจำหน่ายหรือการกำหนดเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม และกำกับดูแลสินค้าดังกล่าวให้มีราคาที่เป็นธรรมและมีปริมาณที่เพียงพอ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน และนำลงประกาศราชกิจจานุเบกษาก่อนวันสิ้นสุดผลการบังคับใช้ รวมทั้งกำหนดมาตรการกำกับดูแลสินค้าให้มีกำหนดระยะเวลาต่อเนื่องในการบังคับใช้
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    เห็นควรกำหนดสินค้าควบคุม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                    1. ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน          3 รายการ ได้แก่ (1) หน้ากาอนามัย (2) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย และ (3) ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ เป็นสินค้าควบคุม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การกำกับดูแล ติดตามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมีปริมาณเพียงพอ และมีราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
                    2. เศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก เป็นสินค้าควบคุม เพื่อให้การกำกับดูแลปริมาณและราคารับซื้อเศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีกให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นธรรม
                    3. ไก่ เนื้อไก่ เป็นสินค้าควบคุม เพื่อให้การกำกับดูแล ติดตาม ปริมาณไก่ เนื้อไก่ ที่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อการบริโภคของประชาชนมีอย่างเพียงพอ และราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นธรรม

11. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 3,600,000 ล้านบาท  ตามที่สำนักงบประมาณเสนอดังนี้
                    ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561  มาตรา 24 กำหนดให้ในการจัดทำงบประมาณประจำปี ให้สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานหลัก โดยร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการกำหนดนโยบายงบประมาณประจำปี  ประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย และวิธีการเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือการจัดการในกรณีที่ประมาณการรายได้สูงกว่าวงเงินงบประมาณ เมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2568 ซึ่งกำหนดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายวงเงินงบประมาณรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันที่ 16 มกราคม 2567 นั้น
                    สำนักงบประมาณได้ดำเนินการตามนัยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว ดังนี้
                    1. สมมติฐานทางเศรษฐกิจ
                    เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.1-4.1 (ค่ากลางร้อยละ 3.6) โดยมีแรงสนับสนุนจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกที่จะส่งผลดีต่อการส่งออกและการผลิต     การขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการฟื้นตัวเข้าสู่ระดับปกติของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีข้อจำกัดจากระดับหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง และยังมีแนวโน้มที่เศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับความเสี่ยงจากการขยายตัวต่ำกว่าที่คาดของเศรษฐกิจโลกอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มส่งผลต่อการผลิตภาคเกษตร สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 2568 คาคว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2568 จะอยู่ในช่วงร้อยละ               1.3-2.3 และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มที่จะเกินดุลร้อยละ 1.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
                    2. ประมาณการรายได้รัฐบาล
                    ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้รวมจำนวน 3,454,400 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร อากรถอนคืนกรมศุลกากร การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คงเหลือรายได้สุทธิ จำนวน 2,887,000 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามเอกสารงบประมาณที่กำหนดไว้ จำนวน 2,787,000 ล้านบาทเป็นจำนวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น                  ร้อยละ 3.6
                    3. นโยบายงบประมาณ วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ         พ.ศ. 2568
                    จากสมมติฐานทางเศรษฐกิจและประมาณการรายได้รัฐบาลตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้น เพื่อมุ่งเน้นการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานตามกฎหมาย จึงได้กำหนดนโยบายงบประมาณขาดดุลสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 713,000 ล้านบาท ทำให้มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,600,000 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่กำหนดไว้ 3,480,000  ล้านบาท เป็นจำนวน 120,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 โดยมีสาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 3,600,000 ล้านบาท ดังนี้
                              3.1 โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้
                                        (1) รายจ่ายประจำ จำนวน 2,713,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ               พ.ศ. 2567 จำนวน 180,873.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.14 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.38 ของวงเงินงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 72.78
                                        (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไม่มีรายการที่ต้องเสนอตั้งงบประมาณ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งงบประมาณไว้ จำนวน 118,361.1 ล้านบาท)
                                        (3)  รายจ่ายลงทุน จำนวน 742,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ                       พ.ศ. 2567 จำนวน 24,577.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.42 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.62 ของวงเงินงบประมาณรวม เท่ากับสัดส่วนต่องบประมาณของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                                        (4) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 144,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น                      จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 25,680 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.70 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.00 ของวงเงินงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.40
                              3.2 รายได้สุทธิ จำนวน 2,887,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59
                              3.3 งบประมาณขาดดุล จำนวน 713,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 20,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.89 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.56  ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.64
                              ทั้งนี้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,600,000 ล้านบาท ดังกล่าวเท่ากับกรอบวงเงินตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568-2571) ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 สำหรับงบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้มีสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561  รายละเอียดโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ปรากฏตามตาราง ดังนี้
โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
หน่วย : ล้านบาท
โครงสร้างงบประมาณ          ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567          ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
          จำนวน          เพิ่ม/-ลด จากปี 2567          จำนวน          เพิ่ม/-ลด จากปี 2567
                    จำนวน          ร้อยละ                    จำนวน          ร้อยละ
1. วงเงินงบประมาณรายจ่าย
                    - สัดส่วนต่อ GDP
          1.1 รายจ่ายประจำ
                    - สัดส่วนต่องบประมาณ
          1.2 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง
                    - สัดส่วนต่องบประมาณ
          1.3 รายจ่ายลงทุน
                    - สัดส่วนต่องบประมาณ
                    1.4 รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้
                              - สัดส่วนต่องบประมาณ          3,480,000.0
18.29
2,532,826.9
72.78
118,361.1
3.40
717,722.2
20.62
118,320.0
3.40
          295,000.0

130,287.2

118,361.1

28,242.3

18,320.0          9.26

5.42

100.00

4.10

18.32

          3,600,000.0
17.96
2,713,700.0
75.38
-
-
742,300.0
20.62
144,000.0
4.00          120,000.0

180,873.1

-118,361.1

24,577.8

25,680.0
          3.45

7.14

-100.00

3.42

21.70
2. รายได้
          - สัดส่วนต่อ GDP
3. วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
          - สัดส่วนต่อ GDP
4. กรอบวงเงินกู้สูงสุดเพื่อชดเชย
การขาดดุลตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ          2,787,000.0
14.65
693,000.0
3.64
790,656.0          297,000.0

-2,000.0

73,656.0          11.93

-0.29

10.27          2,887,000.0
14.40
713,000.0
3.56
835,200.0
          100,000.0

20,000.0

44,544.0          3.59

2.89

5.63
5.  ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
          19,022,200.0          974,500.0          5.40          20,049,500
          1,027,300          5.40
หมายเหตุ :           1. โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่             28 พฤศจิกายน 2566
                    2. โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นไปตามมติที่ประชุม                        4 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567

12. เรื่อง  การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                    ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ให้ความเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 ให้ความเห็นชอบการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นั้น
                    สำนักงบประมาณขอเสนอการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณให้ความสำคัญกับการนำนโยบายรัฐบาลมากำหนดเป็นจุดเน้นที่ต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  และใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนงาน/โครงการตามที่นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 ประกอบด้วย นโยบายหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ การสร้างรายได้ การลดรายจ่าย การขยายโอกาส และการบริหารแผ่นดิน นโยบายรอง 43 เรื่อง นโยบายย่อย 142 ประเด็น โดยให้หน่วยรับงบประมาณดำเนินการตามกรอบเวลา 5 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะสั้น 2) ระยะสั้น ? ระยะกลาง 3) ระยะกลาง 4) ระยะกลาง-ระยะยาว 5) ระยะยาว และเพื่อให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง สอดคล้องกับข้อเสนอการกระจายอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. การทบทวนและวางแผนงบประมาณ มีขั้นตอนและกิจกรรม ดังนี้
                              1.1 คณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบ การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2568 ในวันอังคารที่ 16 มกราคม 2567
                              1.2 หน่วยรับงบประมาณ จัดทำรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายและเงินนอกงบประมาณ รวมทั้งผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ส่งสำนักงบประมาณ ระหว่างเดือนตุลาคม -               14 พฤศจิกายน 2566 และจัดทำรายละเอียดข้อเสนอเบื้องต้นงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ การปรับปรุงฐานข้อมูลประมาณการรายรับและรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง ระหว่างเตือนตุลาคม- 22 ธันวาคม 2566 และพิจารณาทบทวน ปรับปรุง เป้าหมาย ผลผลิต/โครงการ กิจกรรม ตัวชี้วัดผลสำเร็จ ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาคว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ระหว่างเตือนตุลาคม 2566 ? 30 มกราคม 2567
                              1.3 หน่วยรับงบประมาณที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณ ที่มีรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ วงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติระหว่างเดือนตุลาคม 2566-30 มกราคม 2567 สำหรับรายการที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่  500 ล้านบาทขึ้นไป ให้ทำการประเมินความเสี่ยงการทุจริตตามแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริตและให้หน่วยรับงบประมาณดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี  โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาในระดับพื้นที่และความต้องการของประชาชนระหว่างเดือนตุลาคม 2566-30 มกราคม 2567 ก่อนเสนอรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                              1.4 จังหวัด/กลุ่มจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มิติพื้นที่ (Area) ให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ แผนพัฒนาพื้นที่และยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - มกราคม 2567
                              1.5 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณาและจัดทำข้อเสนอเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และนโยบายสำคัญของรัฐบาล และนำเสนอคณะรัฐมนตรีในวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2566
                              1.6 คณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันอังคารที่  19 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พิจารณาทบทวนและให้ความเห็นชอบขอบเขต เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด และข้อเสนองบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม 2566- 2 กุมภาพันธ์ 2567 ส่งสำนักงบประมาณ
                              1.7 คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ จัดทำแผนการคลังระยะปานกลางและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ระหว่างวันที่ 1-26 ธันวาคม 2566
                              1.8 นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                พ.ศ. 2568  ในวันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2567
                              1.9 กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณาประมาณการรายได้ กำหนดนโยบายกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2566 ?      12  มกราคม 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 16 มกราคม 2567
                    2. การจัดทำงบประมาณ มีขั้นตอนและกิจกรรม ดังนี้
                              2.1 หน่วยรับงบประมาณ จัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่แสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยรับงบประมาณ เป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ               พ.ศ. 2568 และนโยบายงบประมาณ วงเงิน โครงสร้างงบประมาณ โดยให้ความสำคัญกับนโยบายรัฐบาล 142 ประเด็น บูรณาการงบประมาณในมิติหน่วยรับงบประมาณให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ แผนพัฒนาพื้นที่ ความต้องการของประชาชน รวมทั้งนำข้อเสนองบประมาณรายจ่ายบูรณาการและรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณเพื่อใช้ประกอบการจัดทำรายละเอียดคำของบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี                 รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบและส่งสำนักงบประมาณในรูปแบบเอกสารและผ่านระบบ e -Budgeting ภายในวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567
                              2.2 สำนักงบประมาณ พิจารณารายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ      พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ? 19  มีนาคม 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พร้อมแนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567
                              2.3 สำนักงบประมาณ พิจารณาการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 5 เมษายน 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และมอบให้สำนักงบประมาณไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรคสอง ในวันอังคารที่ 9 เมษายน 2567
                              2.4 สำนักงบประมาณ ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 10-24 เมษายน 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลกรรับฟังความคิดเห็นฯ และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และให้สำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเอกสารประกอบงบประมาณในวันที่ 7 พฤษภาคม 2567
                              2.5 สำนักงบประมาณ ดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเอกสารประกอบฯ ระหว่างวันที่ 8- 24 พฤษภาคม 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร ในวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567
                    3. การอนุมติงบประมาณ มีขั้นตอนและกิจกรรม ดังนี้
                              3.1 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วาระที่ 1 ในวันที่ 5-6 มิถุนายน 2567
                              3.2 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วาระที่ 2-3 ในวันที่ 28-29 สิงหาคม 2567
                              3.3 วุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ        พ.ศ. 2568 ในวันที่ 9-10 กันยายน 2567
                    4. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ในวันที่ 17 กันยายน 2567 เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

13. เรื่อง  รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 9-15 มกราคม 2567 และมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถอดบทเรียนและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ต่อไป ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ                                        สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 9-15 มกราคม 2567 มีดังนี้
                    1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน
                    ปัจจุบันพบว่าปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังแรง จะอ่อนลงเป็นเอลนีโญกำลังปานกลางและอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งช่วงดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยมีผลทำให้ฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ (มกราคม - พฤษภาคม 2567)
                    สภาพอากาศ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน สักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 15-18 มกราคม 2567 จากนั้นในช่วงวันที่ 18-20 มกราคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจะมีกำลังอ่อนลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง
                    2. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ และการคาดการณ์
                              (1) สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาพรวมประเทศ
                              สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 11 มกราคม 2567) มีปริมาณน้ำ 60,337 ล้านลูกบาศก์เมตร (73%) น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 4,025 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้การ 36,124 ล้านลูกบาศก์เมตร (62%) มีอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve) 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำกระเสียว และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด
                              (2) การคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง
                              ต้นฤดูฝน ปี 2567 (วันที่ 1 พ.ค. 67) จะมีปริมาณน้ำ 19,661 ล้าน ลบ.ม. (47%)            เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 17,787 ล้าน ลบ ม. มากกว่า 1,874 ล้าน ลบม.
                              ต้นฤดูแล้ง ปี 2567/68 (วันที่ 1 พ.ย. 67) จะมีปริมาณน้ำ 32,835 ล้าน ลบม. (69%)      เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 32,849 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่า 14 ล้าน ลบ.ม.
                    3. พื้นที่ประสบอุทกภัย
                              (1) พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม
                              ในช่วงวันที่ 9-15 มกราคม 2567 ไม่พบพื้นที่แจ้งอพยพน้ำหลากดินถล่ม
                              (2) พื้นที่เกิดอุทกภัย
                              ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
                    4. การลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง          ปี 2566/67
                    ในช่วงวันที่ 8-12 มกราคม 2567 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ มุกดาหาร อุบลราชธานีและประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาน้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ศักยภาพการผลิตน้ำประปาต่ำกว่ามาตรฐาน และขาดการบริหารจัดการน้ำที่เป็นระบบ จึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นโดยการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ เช่น การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค การสูบน้ำระยะไกลเพื่อนำน้ำมาเก็บในแหล่งน้ำชุมชน การสำรวจศักยภาพน้ำบาดาลในพื้นที่  การอบรมและให้ความรู้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบำรุงรักษาระบบผลิตประปาหมู่บ้าน เป็นต้น  สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวโดยการเสนอแผนงานโครงการผ่านระบบ Thai Water Plan เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

ต่างประเทศ
14. เรื่อง ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเลระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ราชอาณาจักรภูฏาน สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมา เนปาล สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาและราชอาณาจักรไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเล ระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ราชอาณาจักรภูฏาน สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เนปาล สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา และราชอาณาจักรไทย (ร่างความตกลงฯ)
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามร่างความตกลงฯ
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสำหรับการลงนามดังกล่าว
                    4. มอบหมายให้ กต. ดำเนินการจัดทำหนังสือไปยังสำนักเลขาธิการความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) แจ้งการมีผลใช้บังคับของร่างความตกลงฯ เมื่อ คค. ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันไปยัง กต. ว่าได้ดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้เสร็จสมบูรณ์แล้ว (เดิมจะมีการลงนามร่างความตกลงฯ ระหว่างการประชุมระดับผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ซึ่งมีกำหนดจัดประชุมวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม คค. แจ้งว่า การประชุมดังกล่าวถูกเลื่อนออกไป ทำให้ยังไม่ทราบกำหนดวันลงนาม)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. ร่างความตกลงฯ มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางทะเล ระหว่างภาคีร่างความตกลงฯ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการพาณิชยนาวีและการขนส่งทางทะเลในภูมิภาคอ่าวเบงกอล โดยมีขอบเขตการใช้บังคับกับเรือ บริษัทเรือ ลูกเรือ และสินค้าบนเรือ ซึ่งจะมีการกำหนดรายละเอียดในขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (Standard Operating Procedure: SOP) ทั้งนี้ ร่างความ     ตกลงฯ กำหนดข้อบทสำหรับเป็นกรอบการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นในความตกลงฯ          รายละเอียด
ความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเล          ภาคีร่างความตกลงฯ ต้องร่วมมือเพื่อพัฒนาการค้าและการขนส่งสินค้าระหว่างกัน ดังนี้
(1) บริษัทเดินเรือของภาคีร่างความตกลงฯ อาจมีส่วนร่วมในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือของภาคีอื่น
(2) ภาคีร่างความตกลงฯ ต้องปฏิบัติต่อเรือของภาคีอื่นตามที่ปฏิบัติกับเรือของตนในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าภาระท่าเรือและค่าธรรมเนียมอื่น
(3) ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลมีสิทธิของประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล
หลักปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ          ภาคีร่างความตกลงฯ ต้องปฏิบัติกับเรือ ลูกเรือ และสินค้าของภาคีอื่นเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติกับเรือของตนในการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ ดังนี้
(1) การเข้าถึงน่านน้ำและท่าเรือ
(2) การเข้าใช้ท่าเรือ การขนถ่ายสินค้า และการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกท่าเรือ
(3) การขึ้น - ลงเรือของคนประจำเรือ และใบอนุญาตให้เข้าฝั่ง
(4) การใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือพาณิชย์ รวมถึงการประกอบการเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง
(5) คนประจำเรือที่เดินทางตรงไปยังประเทศที่รับประกันการเข้าประเทศเท่าที่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางครอบคลุม
การอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางทะเล          ภาคีร่างความตกลงฯ ต้องใช้มาตรการที่จำเป็นในการอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการขนส่งทางทะเลเพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าโดยไม่จำเป็นในท่าเรือต่อเรือของภาคีอื่น รวมทั้งต้องเร่งความเร็วและลดความซับซ้อนในการบริหารงานพิธีการศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการสาธารณสุขที่ใช้บังคับในท่าเรือ
การให้การยอมรับเอกสารใบสำคัญรับรองของเรือ          ภาคีร่างความตกลงฯ ต้องให้การยอมรับเอกสารและดำเนินการ ดังนี้
(1) ให้การยอมรับเอกสาร ได้แก่ ใบสำคัญรับรองสัญชาติ ขนาดตันของเรือความปลอดภัย ความมั่นคงปลอดภัย และการป้องกันมลพิษ รวมถึงเอกสารการขนส่งอื่น ๆ ที่ออกให้โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบของภาคีอื่นตามข้อกำหนดของกฎหมายและอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
(2) การตรวจควบคุมเรือในฐานะรัฐเจ้าของเมืองท่าสามารถดำเนินการได้กับเรือที่ปฏิบัติงานภายใต้ความตกลงนี้ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล หรือตามที่ตกลงร่วมกัน โดยภาคีร่างความตกลงฯ ในขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP)
(3) เรือที่ปฏิบัติงานภายใต้ความตกลงนี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการเดินเรือ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล ทั้งนี้ เรือที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ประเทศภาคีร่างความตกลงฯ ตกลงร่วมกันในขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP)
(4) ใบสำคัญรับรองขนาดตันของเรือตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการวัดขนาดตันของเรือ จะไม่ถูกตรวจซ้ำในท่าเรือของภาคีอื่น เว้นแต่มีเหตุบางประการ
(5) การคำนวณค่าภาระท่าเรือและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ให้เป็นไปตามรายละเอียดในใบสำคัญรับรองขนาดตันของเรือ และตามกฎหมายภายในประเทศ
การให้การยอมรับเอกสารของลูกเรือ          ภาคีร่างความตกลงฯ ต้องให้การยอมรับหนังสือเดินทางและเอกสารระบุตัวตนของคนประจำเรือที่ออกให้แก่ลูกเรือโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบของภาคีอื่นตามที่กำหนดในขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP) และเอกสารรายชื่อลูกเรือ (Crew list) และหนังสือรับรองความปลอดภัยของคนประจำเรือ (Safe manning document) รวมถึงประกาศนียบัตรซึ่งออกให้แก่นายเรือ เจ้าหน้าที่ และลูกเรือ ซึ่งออกตามความในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตรและการเข้ายามสำหรับคนประจำเรือ ค.ศ. 1978 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่กำหนดในขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP)
การให้ความช่วยเหลือแก่ลูกเรือ          ภาคีร่างความตกลงฯ ต้องให้การช่วยเหลือแก่ลูกเรือของภาคีอื่นที่เจ็บป่วยเกิดอุบัติเหตุ ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ทางเภสัชกรรม หรือจากทางโรงพยาบาลที่อยู่ในอาณาเขตของภาคีร่างความตกลงฯ โดยบริษัทเดินเรือ (Shipping company) เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
การให้ความช่วยเหลือแก่เรือ          ภาคีร่างความตกลงฯ ให้การช่วยเหลือแก่เรือของภาคีอื่นที่เกยตื้น ประสบอันตรายหรือประสบอุบัติเหตุอื่นใดในดินแดนของภาคีร่างความตกลงฯ โดยชีวิตของลูกเรือและสินค้าบนเรือประสบเหตุต้องได้รับการช่วยเหลือและคุ้มครองเช่นเดียวกับที่ภาคีร่างความตกลงฯ กระทำให้แก่ลูกเรือในน่านน้ำของตนเอง ทั้งนี้ เรือและสินค้าต้องได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับเรือของภาคีร่างความตกลงฯ นั้น นอกจากนี้ สินค้าที่ถูกขนถ่ายลงจากเรือหรือได้รับการช่วยเหลือโดยภาคีร่างความตกลงฯ จากเรือที่ตกอยู่ในสถานการณ์คับขันไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรกรณีที่สินค้าดังกล่าวไม่ได้มีไว้สำหรับการบริโภคหรือใช้ในดินแดนของภาคีร่างความตกลงฯ นั้น
การดำเนินคดีทางแพ่งและทางอาญา          หน่วยงานที่รับผิดชอบของภาคีร่างความตกลงฯ ดำเนินการ ดังนี้
(1) อาจช่วยแก้ปัญหาข้อพิพาททางแพ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นในทะเลหรือที่ท่าเรือระหว่างเจ้าของเรือ นายเรือ และลูกเรือ ในประเด็นเกี่ยวกับเงินเดือน ทรัพย์สินส่วนตัวและกิจการบนเรือโดยทั่วไป
(2) ไม่ควรใช้เขตอำนาจทางอาญาของรัฐชายฝั่งบนเรือต่างประเทศที่แล่นผ่านทะเลอาณาเขตเพื่อจับกุมบุคคล หรือดำเนินการสอบสวนใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่กระทำบนเรือระหว่างที่เรือแล่นผ่าน (ยกเว้นกรณีอาชญากรรมมีลักษณะเป็นการรบกวนสันติภาพหรือความสงบเรียบร้อยของภาคีคู่สัญญา หรือกรณีเป็นการปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติดให้โทษ)
(3) บทบัญญัตินี้ไม่กระทบสิทธิของภาคีคู่สัญญาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข การควบคุมทางศุลกากร การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล ความมั่นคงปลอดภัยของเรือ ท่าเรือ ชีวิตมนุษย์ และสิทธิในการขนส่งสินค้า ความปลอดภัยและการพักผ่อนหย่อนใจรวมถึงการรับคนต่างด้าวเข้าดินแดน
คณะกรรมการร่วมว่าด้วยการขนส่งทางเรือ          ภาคีร่างความตกลงฯ จัดตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยงานที่รับผิดชอบของภาคีร่างความตกลงฯ โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบ เช่น
(1) จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP) เพื่อขออนุมัติจากหน่วยงานที่รับผิดชอบของภาคีร่างความตกลงฯ
(2) หารือประเด็นที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการและการประยุกต์ใช้ข้อตกลงนี้และเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการยกระดับการขนส่งทางทะเล การพัฒนากิจการขนส่งทางเรือ การลดความซับซ้อนและอำนวยความสะดวกการขนส่งทางทะเล ทางลำน้ำและท่าเรือ และให้คำแนะนำที่เหมาะสม
(3) หารือและทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP) และเสนอแนะเพื่อขออนุมัติจากหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมหรือยกเลิกข้อกำหนดใด ๆ
การระงับข้อพิพาท          หากภาคีร่างความตกลงฯ ใดร้องขอ ผู้แทนของหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเจรจาหารือกันอย่างจริงใจและเป็นมิตรตามกำหนดเวลาและสถานที่เพื่อระงับข้อพิพาทหรือปัญหาอื่นใดที่เกิดจากการปฏิบัติตามความตกลงนี้ ทั้งนี้ หากคู่พิพาทไม่สามารถรับข้อเรียกร้องหรือระงับข้อพิพาทได้โดยวิธีการเจรจาหารือ ข้อพิพาทนั้นจะได้รับการระงับผ่านช่องทางทางการทูตต่อไป
การแก้ไขและเพิ่มเติมข้อตกลงฯ           หากภาคีคู่สัญญาใดมีความประสงค์ที่จะแก้ไขหรือเพิ่มเติมต่อความตกลงนี้ให้แจ้งภาคีคู่สัญญาอื่นทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
การมีผลบังคับใช้/การบอกเลิกความตกลง          (1) ความตกลงนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขการให้สัตยาบันหรือให้การยอมรับของรัฐบาลแห่งภาคีคู่สัญญาโดยเป็นไปตามขั้นตอนกระบวนการภายในประเทศ เมื่อภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่ายเสร็จสิ้นขั้นตอนกระบวนการภายในประเทศเพื่อการให้สัตยาบันการอนุมัติ หรือการให้การยอมรับความตกลงนี้ ให้ส่งมอบสัตยาบันสารดังกล่าวต่อสำนักเลขาธิการ BIMSTEC
(2) ความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่ภาคีคู่สัญญาอย่างน้อย 4 ฝ่าย ให้สัตยาบันหรือให้การยอมรับความตกลงนี้ โดยความตกลงจะมีผลใช้บังคับเฉพาะระหว่างภาคีคู่สัญญาที่ได้ให้สัตยาบันหรือให้การยอมรับความตกลงนี้เท่านั้น (คค. แจ้งว่าทุกประเทศสมาชิกไม่ขัดข้องต่อร่างความตกลงฯ)
(3) ความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 5 ปี และอาจมีการทบทวนความตกลงเมื่อครบรอบปีที่ 4 มิฉะนั้นจะมีการขยายระยะเวลาออกไป 5 ปี โดยอัตโนมัติ
                    2. ประโยชน์และผลกระทบ มีดังนี้
                              2.1 ร่างความตกลงฯ จะเป็นการสร้างกรอบความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศสมาชิกที่อยู่ในภูมิภาคอ่าวเบงกอล อำนวยความสะดวกและเปิดโอกาสด้านการค้าและการลงทุน อันจะนำไปสู่การยกระดับการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
                              2.2 ส่งเสริมบทบาทของราชอาณาจักรไทยในสาขาความเชื่อมโยงทางทะเลในเวทีระหว่างประเทศภายใต้บริบทด้านเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไปและส่งเสริมสถานะความเป็นศูนย์กลางความเชื่อมโยงหลากหลายรูปแบบทั้งทางบกและทางทะเลของราชอาณาจักรไทยที่เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสในการกำหนดเป้าหมายและท่าทีด้านความเชื่อมโยงทางทะเลที่ราชอาณาจักรไทยต้องการผลักดันในเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในฐานะประเทศผู้นำ (Lead country) ด้านความเชื่อมโยงของกรอบความร่วมมือ BIMSTEC
                    3. ในการประชุมจัดตั้งคณะทำงานเพื่อหารือและสรุปร่างความตกลงว่าด้วยการเดินเรือชายฝั่ง ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างความตกลงฯ แล้ว

15. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่มีการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 ฉบับ (ร่างเอกสารฯ) ได้แก่
                    1. ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7
                    2. ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน ครั้งที่ 1
                    3. ขอบเขตหน้าที่ (TOR) ของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน
                    4. ขอบเขตหน้าที่ (TOR) ของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสาขากีฬาอาเซียน - จีน
                    5. ร่างปฏิญญาเชียงใหม่ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น มุ่งสู่ปี          ค.ศ. 2030
                    6. ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 (ได้มีการรับรองร่างเอกสารฯ จำนวน 6 ฉบับ ไปแล้วในห้วงการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงวันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2566 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยในส่วนของประเทศไทย กก. จะแจ้งการรับรองร่างเอกสารฯ อย่างเป็นทางการให้สำนักเลขาธิการอาเซียนทราบภายหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กก. รายงานว่า
                    1. ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 (7th ASEAN Ministerial Meeting on Sports : AMMS - 7) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม 2566 - 1 กันยายน 2566 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ) ในขณะนั้นเป็นประธาน ซึ่งในการประชุมดังกล่าวที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบและรับรองร่างเอกสารฯ จำนวน 6 ฉบับ ไปแล้ว โดยในส่วนของประเทศไทยได้แจ้งที่ประชุมทราบว่าประเทศไทยขอรับรองและเห็นชอบต่อร่างเอกสารฯ จำนวน 6 ฉบับ ในหลักการและจะให้การรับรองอย่างเป็นทางการหลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งจะแจ้งให้สำนักเลขาธิการอาเซียนทราบในโอกาสต่อไป
                    2. ร่างเอกสารฯ จำนวน 6 ฉบับ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ร่างเอกสารการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 โดยที่ประชุมได้มีการรับรองร่างเอกสาร จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                                        (1) เห็นพ้องที่จะจัดตั้งกองทุนกีฬาอาเซียนโดยเงินสมทบประจำปี จำนวน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ยังมิได้ระบุวันเริ่มดำเนินการ) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานด้านกีฬาอาเซียน ปี ค.ศ. 2021 - 2025
                                        (2) อนุมัติตีพิมพ์รายงานตัวชี้วัดสมรรถภาพทางกายของอาเซียน (APFI) และการศึกษาเกี่ยวกับกีฬา กีฬาพื้นเมือง และการละเล่นพื้นบ้านในอาเซียน
                                        (3) ส่งเสริมความตระหนักรู้และวัฒนธรรมของอาเซียนผ่านการริเริ่มด้านกีฬาระดับภูมิภาค และการแข่งขันกีฬา โดยจะดำเนินการตามแผนการดำเนินงานด้านกีฬาอาเซียน ปี ค.ศ. 2021 - 2025
                              2.2 ร่างเอกสารการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ฉบับ
หัวข้อ          สาระสำคัญ
(1) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน ครั้งที่ 1
วัตถุประสงค์          เพื่อให้คำแนะนำและทิศทางเชิงกลยุทธ์ในการเจรจาเชิงนโยบายด้านกีฬาเพื่อการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกีฬาที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างอาเซียนและจีน
กรอบความร่วมมือ          1) ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับประชาชน เพื่อเสริมสร้างความหลากหลายมิตรภาพ และการมีน้ำใจนักกีฬา
2) เพิ่มโอกาสให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาของอาเซียนและจีนในการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทักษะด้านการกีฬา ซึ่งรวมถึงวิทยาศาสตร์การกีฬา และการจัดการกีฬา รวมถึงเน้นย้ำถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีต่อการกีฬา
3) ส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีคุณภาพดี โดยการมีส่วนร่วมด้านกีฬาในทุกช่วงอายุในระดับชุมชนซึ่งรวมถึงชุมชนชายขอบด้วย
(2) ร่างขอบเขตหน้าที่ของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน
(3) ร่างขอบเขตหน้าที่ของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสาขากีฬาอาเซียน - จีน
   (จะมีการแจ้งเวียนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนทราบผลการรับรองร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับอีกครั้ง)
อำนาจหน้าที่          รัฐมนตรีกีฬา:          1) ให้คำแนะนำและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสดำเนินการในด้านต่าง ๆ เช่น การดำเนินการตามคำสั่งที่เกี่ยวข้องด้านกีฬาที่เกิดจากการประชุมสุดยอดอาเซียน - จีน การดำเนินการตามประเด็นสำคัญ และแผนงานของอาเซียนและจีน รวมถึงกำกับและดูแลความก้าวหน้า และการประสานความร่วมมือด้านกีฬาร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ
          2) ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพัฒนากีฬาในการประชุมระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
          เจ้าหน้าที่อาวุโส:           1) ถ่ายทอดข้อสั่งการด้านการกีฬาจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียน - จีน และการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน ไปยังประเทศสมาชิก
          2) ดำเนินงาน ทบทวน และประเมินความก้าวหน้าของโครงการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - จีน
          3) แลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมกีฬา
การจัดการประชุม          รัฐมนตรีกีฬา:          1) จัดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง เป็นประจำทุก 2 ปี โดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน จะเป็นประธานควบคู่การประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนด้วย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตนเอง
          2) สำนักเลขาธิการอาเซียนจะให้ความช่วยเหลือประธานร่วมในการจัดเตรียมระเบียบวาระการประชุมและให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการบริหารงานในการประชุม
          เจ้าหน้าที่อาวุโส:          1) จัดขึ้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และอาจจัดขึ้นเพิ่มเติมได้เมื่อเห็นว่ามีความจำเป็น โดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน จะเป็นประธานควบคู่การประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนด้วย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนเอง
          2) ประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมควรสนับสนุนการจัดการที่จำเป็น จัดสิ่งอำนวยความสะดวก การเตรียมการด้านเอกสาร และการต้อนรับ
          3) สำนักเลขาธิการอาเซียนจะต้องรับผิดชอบการจัดทำระเบียบวาระการประชุมเบื้องต้นและให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการบริหารงานในการประชุม
การตัดสินใจ          โดยการหารือและทุกประเทศมีฉันทามติ (ตามกฎบัตรอาเซียน)
การแก้ไข          จะมีการทบทวนเป็นครั้งคราว และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขจะต้องผ่านการหารือและฉันทามติระหว่างอาเซียนและจีน และได้รับการรับรองโดยรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - จีน
(4) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4
1) มุ่งมั่นที่จะพัฒนามิตรภาพและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น ผ่านความร่วมมือด้านกีฬา โดยเสริมสร้างการอำนวยความสะดวกในการเจรจาระดับนโยบายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน
2) มุ่งหวังที่จะจัดตั้งกรอบความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2030 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านกีฬา
3) ชื่นชมความสำเร็จของโครงการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2564 ภายใต้กองทุน Japan - ASEAN Integration Fund
4) รับทราบผลลัพธ์ของการประชุมเจรจาธุรกิจออนไลน์ด้านอุตสาหกรรมกีฬาและสุขภาพของญี่ปุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเจรจาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและอุตสาหกรรมกีฬา
5) มุ่งหวังที่จะมีการดำเนินโครงการอาเซียนฟุตบอลเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และพัฒนาขีดความสามารถในการเชื่อมโยงกีฬาและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยกีฬาฟุตบอลเพื่อเป็นกีฬาต้นแบบ
6) ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกเพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างกัน
7) ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และการเจรจาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและอุตสาหกรรมกีฬาเพื่อประโยชน์ของประชาชน
(5) ร่างปฏิญญาเชียงใหม่ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น มุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030
ขอบเขตความร่วมมือ          1) ด้านการพัฒนาครูพลศึกษาและผู้ฝึกสอน
2) ด้านการเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้หญิงกับกีฬา
3) ด้านการพัฒนากีฬาสำหรับคนพิการ
4) ด้านการรณรงค์ต่อต้านการใช้สารต้องห้ามและการเสริมสร้างขีดความสามารถ
การดำเนินการ          1) จัดตั้ง ?กรอบความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 2030? หรือ ?กรอบการดำเนินงานเชียงใหม่? เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเพิ่มโอกาสในการทำงานร่วมกันจนถึงปี ค.ศ. 2030 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่
2) เพิ่ม ?การจัดการกีฬา? เป็นด้านที่ 5 ของขอบเขตความร่วมมือการดำเนินงานเพื่อที่จะ (1) กระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจด้านกีฬาระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬาระดับภูมิภาค (2) ส่งเสริมโครงการเสริมสร้างศักยภาพสำหรับกีฬาอาชีพ โครงการพัฒนาหลังอาชีพ/การเปลี่ยนผ่านสำหรับนักกีฬาที่เกษียณและผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและสุขภาพ (3) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวางแผนการจัดการ และการกำกับดูแลการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ (4) ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการกีฬา โดยดำเนินโครงการอาเซียนฟุตบอลเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
3) ปรับโครงสร้างการประชุมอาเซียนและญี่ปุ่นด้านสตรีและกีฬา เป็นคณะทำงานอาเซียน - ญี่ปุ่นว่าด้วยการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศด้านกีฬา เพื่อปรับปรุงการประชุมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4) กำหนดภารกิจของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสาขากีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ได้แก่            (1) ประเมินความต้องการของอาเซียนและญี่ปุ่น เพื่อปรับปรุงความร่วมมือในด้านที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจ (2) จัดทำกรอบความร่วมมือเชียงใหม่สำหรับการดำเนินการในปี      ค.ศ. 2024 - 2030 (3) สำรวจทรัพยากรนวัตกรรมเพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนกลยุทธ์
                    2. กก. แจ้งว่า ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างเอกสารฯ จำนวน 6 ฉบับแล้ว ประเทศไทยจะส่งหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้แก่สำนักเลขาธิการอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนทราบอย่างเป็นทางการ ในส่วนของร่างปฏิญญาเชียงใหม่ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น มุ่งสู่ปี      ค.ศ. 2030 จะต้องนำเสนอต่อผู้นำอาเซียน - ญี่ปุ่น เพื่อให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษในเดือนธันวาคม 2566

16. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมเซ้าท์ซัมมิท ครั้งที่ 3
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    2. ให้ผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมการประชุมเซ้าท์ซัมมิท ครั้งที่ 3 ร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ได้
                    *ที่ประชุมเซ้าท์ซัมมิท ครั้งที่ 3 กำหนดจะให้การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ในวันที่      22 มกราคม 2567
                    สาระสำคัญ
                    1. การประชุมเซ้าท์ซัมมิท เป็นกลไกการประชุมระดับสูงที่สุดของกลุ่ม 77 และ จีน (Group of 77 and China) ซึ่งเป็นการรวมตัวของประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองในการผลักดันท่าทีร่วมในเวทีสหประชาชาติ โดยเฉพาะในประเด็นเศรษฐกิจ การพัฒนา และสิ่งแวดล้อม และเพื่อส่งเสริมความมือร่วมมือใต้-ใต้ (South- South Cooperation) จึงเป็นเวทีสำคัญในการติดตามความคืบหน้าและกำหนดทิศทางความร่วมมือของ กลุ่ม 77 และจีน โดยไม่มีวาระการจัดที่สม่ำเสมอ ทั้งนี้ การประชุมเซ้าท์ซัมมิท ครั้งแรก มีขึ้นเมื่อปี 2543 ที่กรุงฮาวานา สาธารณรัฐคิวบา และครั้งที่ 2 มีขึ้นเมื่อปี 2548 ที่กรุงโดฮา รัฐกาตาร์
                    2. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของกลุ่ม 77 และจีนที่จะร่วมมือกันผลักดันประเด็นในเวทีสหประชาชาติและเวทีระหว่างประเทศอื่น ๆ และขยายความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า สถาปัตยกรรมการเงินระหว่างประเทศ การระดมทุนเพื่อการพัฒนา การบริหารจัดการหนี้ สิ่งแวดล้อม การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การรับมือความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษา การพัฒนาผู้ประกอบการ และการส่งเสริมบทบาทของสตรี
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งรวมถึงประเทศไทยโดยเฉพาะในสาขาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และสนับสนุนการผลักดันประเด็นนโยบายที่ประเทศไทยให้ความสำคัญในเวทีสหประชาชาติ อาทิ การปฏิรูปโครงสร้างสถาปัตยกรรมการเงินระหว่างประเทศ และการส่งเสริมการระดมทุนเพื่อการพัฒนา นอกจากนี้ การร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ  จะเป็นการแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับกลุ่ม 77 และจีน ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการเพิ่มอำนาจการต่อรองของประเทศไทยในการเจรจาในกรอบสหประชาชาติในประเด็นเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย
17. เรื่อง ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (Communique) สำหรับการประชุม Global Forum for Food and Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 16 และการประชุม Berlin Agriculture Ministers? Conference ครั้งที่ 16
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (2024 Zero Draft Communique) ในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน (Berlin Agriculture Ministers? Conference) ครั้งที่ 16
                    2. อนุมัติในหลักการว่า หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าว ในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้แทนร่วมรับรองเอกสารดังกล่าว โดยไม่มีการลงนาม
                    ทั้งนี้ เอกสารร่างแถลงการณ์ (2024 Zero Draft Communique) จะมีการพิจารณารับรองในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน ครั้งที่ 16 โดยไม่มีการลงนาม ในวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2567 ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
                    สาระสำคัญ
                    1. เอกสารร่างแถลงการณ์เป็นเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการดำเนินความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน (SDG2 ?Zero Hunger?) โดยร่างดังกล่าวให้ความสำคัญของการดำเนินการใน 4 ด้าน ได้แก่
                              1.1 ส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเกษตรและระบบอาหารที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นได้ และดำเนินการตามวาระ 2030 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเพาะการยุติความหิวโหยด้วยการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติและเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ปรับให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ เพื่อการผลิตทางการเกษตรที่เพียงพอและยั่งยืน ส่งเสริมการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ ลดการสูญเสียอาหารและของเสีย ส่งเสริมวิธีการผลิตและพันธุ์พืชที่ยั่งยืน แนวทางการจัดการปศุสัตว์อย่างยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและเกษตรอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม ดำเนินการให้สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสื่อมโทรมของดิน การเข้าถึงน้ำที่เพียงพอและมีคุณภาพ เพิ่มความรู้เกษตรกรในการปรับปรุงดินให้มีธาตุอาหารที่สมบูรณ์ ปรับปรุงการจัดการปุ๋ย การผลิตปุ๋ยไนโตรเจนสีเขียว ส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้ยาฆ่าแมลง ส่งเสริมการวิจัยและการลงทุนเพิ่มเติมด้านความยั่งยืนทางการเกษตรและระบบอาหาร การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งกลุ่มเปราะบาง สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและนวัตกรรมได้
                              1.2 ส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน โดยเพิ่มบทบาทขององค์การการค้าโลก (WTO) ด้านกฎการค้าสินค้าเกษตรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ระบบการค้าเปิดกว้าง ปลอดภัยและโปร่งใส บทบาทของระบบข้อมูลด้านการตลาดของสินค้าเกษตร (Agricultural Market Information System: AMIS)        การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดีและการควบคุมเชิงป้อนกันเพื่อต่อสู้กับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหาร         โรคสัตว์ โรคและแมลงศัตรูพืช เพิ่มขีดความสามารถของภาครัฐและเอกชนในการป้องกัน เตรียมความพร้อมและควบคุมที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อและการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในมนุษย์และสัตว์ เพื่อเสริมสร้างแนวทางด้านสุขภาพที่เป็นหนึ่งเดียว ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่ปราศจากการตัดไม้ทำลาย (deforestation-free) ความสัมพันธ์ทางการตลาดให้มีความเท่าเทียมสำหรับทุกคนในห่วงโซ่ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรขนาดกลาง ตลอดจนเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าตามหลักการของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
                              1.3 การลดอาหารเหลือทิ้ง โดยมุ่งที่จะลดการสูญเสียอาหารเหลือทิ้งตลอดห่วงโซคุณค่าทั้งหมด เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDG 12.3 ลดขยะเศษอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี 2573       การกำหนดเป้าหมาย วัดความสูญเสียอาหารเหลือทิ้ง ขยายการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา การบริจาคอาหารที่เหลือ หรืออาหารที่ใกล้หมดอายุ อาทิ นำไปเป็นอาหารสัตว์ ตลอดจนส่งเสริมการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
                              1.4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเปราะบาง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท บทบาทของสตรี โดยตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนในการได้รับอาหารที่เพียงพอ ตามแนวทางปฏิบัติโดยสมัครใจของ FAO ว่าด้วยสิทธิในอาหารซึ่งรับรองโดยคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก (CFS) ตลอดจนบทบาทของเกษตรกรรายย่อยและแรงงานในชนบท การปรับปรุงการเข้าถึงทรัพยากรการผลิต เช่น ที่ดิน น้ำ การเงิน เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และทรัพยากรพันธุกรรม เน้นย้ำในการปกป้องที่ดินของชนเผ่าพื้นเมือง รวมทั้งบทบาทของ CFS เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทำงานร่วมกันเพื่อรับรองความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ
                    2. ร่างแถลงการณ์ฯ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และการดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน มีความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2566 - 2570 และยังเป็นการแสดงจุดยืนของประเทศไทยในการสนับสนุนนโยบายด้านระบบอาหารโลกเพื่อผลักดันและนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม
                    3. ที่ประชุมรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน ครั้งที่ 16 จะพิจารณารับรองเอกสารตามข้อ 1. โดยไม่มีการลงนามในเอกสาร

18. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้าย (Draft Final Document) ของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM Summit) ครั้งที่ 19
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้ายของการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non - Aligned Movement: NAM) (NAM Summit)1 ครั้งที่ 19 (ร่างเอกสารสุดท้ายฯ) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของร่างเอกสารสุดท้ายฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ก่อนการรับรองขอให้ กต. สามารถใช้ดุลยพินิจดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งในการเจรจาและดำเนินการแก้ไข
                    2. ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและผู้แทนพิเศษ (Special Envoy) ของนายกรัฐมนตรีร่วมรับรองเอกสารดังกล่าว
                    3. หากปรากฏว่า เนื้อหาหรือถ้อยคำของร่างเอกสารสุดท้ายฯ ไม่สอดคล้องกับนโยบายผลประโยชน์ และท่าทีประเทศไทยในสาระสำคัญ แสดงท่าทีเชิงลบหรือมีถ้อยคำรุนแรงประณามประเทศอื่นใด      ขออนุมัติให้ กต. มีหนังสือแจ้งข้อสงวน (reservation) หรือแสดงท่าทีที่อธิบายอย่างระมัดระวังถึงเหตุผลของประเทศไทยซึ่งทำให้ไม่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือถ้อยคำดังกล่าวได้ ทั้งนี้ การแจ้งข้อสงวนเป็นแนวทางที่ประเทศไทยปฏิบัติมาโดยตลอด
                    4. หากอาเซียนเห็นพ้องให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนร่วมลงนามในหนังสือแจ้งข้อสงวน (reservation) ต่อเอกสารสุดท้ายของการประชุม NAM Summit ครั้งที่ 18 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน (อาเซอร์ไบจาน) เมื่อปี 2562 หรือหนังสืออื่น ๆ ที่เป็นการแจ้งท่าทีของอาเซียนต่อถ้อยคำในเอกสารสุดท้ายดังกล่าว ตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน ขออนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมลงนามในหนังสือแจ้งข้อสงวนดังกล่าวเช่นเดียวกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอื่น ๆ
(จะมีการรับรองร่างเอกสารสุดท้ายฯ ในการประชุม NAM Summit ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 19 - 20 มกราคม 2567 ณ กรุงกัมปาลา สาธารณรัฐยูกันดา)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    ร่างเอกสารสุดท้ายฯ ที่ กต. เสนอมาในครั้งนี้ มีสาระส่วนใหญ่เป็นไปตามเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม CoB - NAM ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบแล้ว โดยมีการปรับถ้อยคำเพื่อให้สะท้อนกับสถานการณ์ปัจจุบันของประเด็นต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 3 บท ได้แก่ บทที่ 1 ประเด็นระหว่างประเทศ บทที่ 2 ประเด็นการเมืองภูมิภาคและอนุภูมิภาค และบทที่ 3 ประเด็นด้านการพัฒนา สังคม และสิทธิมนุษยชน
                    ร่างเอกสารสุดท้ายฯ สะท้อนประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญร่วมกัน จึงเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งไทยให้ความสำคัญกับประเด็นสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย กต. แจ้งว่า ร่างเอกสารสุดท้ายฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1  กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ก่อตั้งขึ้นในช่วงปี 2493 - 2503 ขณะที่โลกอยู่ในยุคสงครามเย็นและหลายประเทศในเอเชียและแอฟริกายังคงเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจ การประชุม NAM ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงโคลัมโบ ศรีลังกา เมื่อปี 2497                   เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศในขณะนั้นซึ่งต่อมามีประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มมากขึ้นจนนำไปสู่การจัดการประชุม NAM Summit ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2504 ที่กรุงเบลเกรด ยูโกสลาเวีย (ปัจจุบันคือเซอร์เบีย) ปัจจุบัน NAM มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 120 ประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา กลุ่มประเทศพัฒนาน้อย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศเอเชียใต้ และกลุ่มประเทศอาเซียน โดยไทยเข้าเป็นสมาชิก NAM เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2536

19. เรื่อง ข้อเสนอนโยบายการกำหนดเงื่อนไขว่าด้วยการสร้างความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในประเทศอันเกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศของภาครัฐ (Offset)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการข้อเสนอนโยบายการกำหนดเงื่อนไขว่าด้วยการสร้างความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในประเทศอันเกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศของภาครัฐ (Offset) (ข้อเสนอนโยบาย Offset1)
                    2. มอบหมายให้ อว. และกระทรวงการคลัง (กค.) ร่วมกันจัดทำกฎกระทรวงหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกำหนดแนวปฏิบัติตามข้อเสนอนโยบายดังกล่าว
[ไทยจะมีการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศ Free Trade Agreement (FTA) ?European Union-Thailand Free Trade Agreement: EU-THAILAND FTA? ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 22-26 มกราคม 2567               ณ กรุงเทพมหานคร]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับ EU (14 กุมภาพันธ์ 2566) ผู้แทนจากไทยและ EU ได้มีการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศ FTA ?EU-THAILAND FTA? ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18-22 กันยายน 2566 ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ซึ่งได้หารือเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดย EU เน้นย้ำให้ไทยต้องเปิดตลาดการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐบนพื้นฐานของความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (Government Procurement Agreement: GPA)2 ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ตามมาตราที่ X.7 หลักการทั่วไป ข้อ 8 เกี่ยวกับประเด็นการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ โดยห้ามไทยกำหนดเงื่อนไขว่าด้วยการชดเชยให้มีการตอบแทน (Offset) ในทุกขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ เช่น การกำหนดเงื่อนไขให้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ การให้สิทธิพิเศษกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SME) เฉพาะที่มีสัญชาติไทย การอนุญาตให้ใช้สิทธิทางเทคโนโลยี การลงทุน การแลกเปลี่ยนในทางการค้า และการกระทำหรือการตั้งเงื่อนไขอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
                    2. ไทยมีกำหนดการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศ FTA ?EU-THAILAND FTA? ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 22-26 มกราคม 2567 ซึ่งเป็นการเจรจาข้อตกลงการค้าเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยมีข้อกำหนดห้ามมีมาตรการกำหนดเงื่อนไขว่าด้วยการชดเชยให้มีการตอบแทน (Offset) เว้นแต่ไทยมีนโยบาย Offset ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมก่อนการเจรจาความตกลงดังกล่าวจึงจะสามารถทำข้อสงวนเพื่อขอระยะเวลาในการปรับตัว ดังนั้น ไทยจึงจำเป็นต้องมีข้อเสนอนโยบาย Offset ก่อนการเจรจาข้อตกลงในวันดังกล่าว
                    3. ข้อเสนอนโยบาย Offset เป็นการกำหนดเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศของภาครัฐให้ต้องมีความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับขีดความสามารถและพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานโลกผ่านโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการใช้งบประมาณภาครัฐอย่างคุ้มค่า มีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการจัดซื้อจัดจ้างให้มีการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ โดยอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคอุตสาหกรรมไทยในระยะยาว
1 Offset หมายถึง เงื่อนไขหรือการดำเนินการใด ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาดุลการชำระเงินของประเทศ (ดุลการชำระเงิน หมายถึง ผลสรุปของการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ที่มีถิ่นฐานในไทยกับต่างประเทศในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลบัญชีเงินทุน) เช่น การกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ การให้สิทธิพิเศษแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การอนุญาตให้ใช้สิทธิทางเทคโนโลยี การลงทุน การแลกเปลี่ยนในทางการค้า
2 ความตกลง GPA จัดทำขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1994 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นความตกลงหลายฝ่าย         โดยประเทศสมาชิก WTO สามารถเลือกที่จะเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายขอบเขตการค้าระหว่างประเทศให้กว้างขวางขึ้นสร้างความเป็นธรรม และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ มาตราที่ X.7 หลักการทั่วไป ข้อ 8 มาตรการชดเชย กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อประโยชน์ทางราชการโดยภาคี รวมทั้งหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องไม่แสวงหา พิจารณากำหนด หรือบังคับใช้มาตรการชดเชยใด ๆ ในขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่      27 ธันวาคม 2566 อว. แจ้งว่า มาตราดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง GPA ที่ไทยยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก โดยการดำเนินการครั้งนี้จะเป็นมาตรการหนึ่งที่รองรับการเจรจาเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกต่อไป

20. เรื่อง ร่างปฏิญญาร่วมแสดงเจตจำนงระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการศึกษาและวิจัยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมแสดงเจตจำนงระหว่าง อว. แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการศึกษาและวิจัยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม           (ร่างปฏิญญาร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ อว. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)       เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้ลงนามในร่างปฏิญญาร่วมฯ
(จะมีการลงนามปฏิญญาร่วมฯ ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2567)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    1. อว. และกระทรวงศึกษาและวิจัยแห่งเยอรมนีได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการจัดทำร่างปฏิญญาร่วมฯ เพื่อเป็นการยกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระหว่างกันให้มีทิศทางและความสอดคล้องกับประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย โดยได้มีการประสานงานระหว่างกันอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับแก้ร่างปฏิญญาร่วมฯ จนได้ข้อสรุปร่วมกัน และจะมีการลงนามปฏิญญาร่วมฯ ในช่วงการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีเยอรมนี ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2567
                    2. ร่างปฏิญญาร่วมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
(1) วัตถุประสงค์          เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงร่วมกันในการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในฐานะกลไลสำคัญสำหรับการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และเป็นกรอบการดำเนินความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระหว่างกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เสรีภาพทางวิชาการและผลประโยชน์ร่วมกัน
(2) สาขาความร่วมมือ          ไม่จำกัดสาขาความร่วมมือ โดยหัวข้อในแต่ละสาขาความร่วมมือจะเป็นไปตามความสนใจร่วมกันของทั้งสองฝ่ายซึ่งจะกำหนดผ่านการประชุมและข้อตกลงในภายหลัง
(3) กิจกรรมความร่วมมือ          ครอบคลุมใน 10 กิจกรรม ได้แก่
1) การประกาศรับข้อเสนอร่วมกันสำหรับโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี
2) การส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ โดยฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่าย
3) การจัดประชุม สัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ ประชุมวิชาการและนิทรรศการร่วมด้านวิทยาศาสตร์
4) การส่งเสริมให้นักวิจัยจากสถาบันวิจัยในสองประเทศดำเนินความร่วมมือในโครงการวิจัยร่วม
5) การแลกเปลี่ยนข้อมูล วัสดุ และเอกสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6) การส่งเสริมให้นักศึกษาและสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาใช้ประโยชน์จากโครงการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือที่มีอยู่ รวมถึงใช้ประโยชน์จากโครงการแลกเปลี่ยนที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนของนักศึกษาระหว่างไทยและเยอรมนีอย่างต่อเนื่อง
7) การสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยและเยอรมนี
8) การกำหนดรูปแบบอื่น ๆ ของความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกัน
9) การแลกเปลี่ยนข้อมูลกิจกรรม นโยบาย วิธีปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา
10) การสนับสนุนกิจกรรมขององค์การแลกเปลี่ยนวิชาการเยอรมัน1 (Deutscher Akademischer Austauschdienst: DAAD) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในฐานะสถาบันทางวิทยาศาสตร์ตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม ค.ศ. 1983 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเยอรมนี
(4) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา          ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมให้นักวิจัยที่เข้าร่วมของทั้งสองประเทศทำสัญญาเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปกป้องและการแบ่งสรรสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากกิจกรรมภายใต้ปฏิญญาร่วมฯ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสัญญาดังกล่าวควรสอดคล้องกับกฎหมายและวิธีปฏิบัติของแต่ละประเทศ
(5) การดำเนินการและงบประมาณ          ทั้งสองฝ่ายจะถ่ายทอดการสนับสนุนและการสร้างมาตรการในแต่ละสาขาความร่วมมือแก่ภาคีที่สาม เช่น หน่วยงานที่บริหารโครงการ องค์กรทางวิทยาศาสตร์หรือองค์กรสนับสนุนงบประมาณ ทั้งนี้ สามารถจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยการดำเนินโครงการ โดยกำหนดสาขาความร่วมมือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตาม รวมถึงข้อตกลงด้านงบประมาณ และเรื่องอื่น ๆ ที่เหมาะสมโดยการสนับสนุนงบประมาณของกิจกรรมตามปฏิญญาร่วมฯ อาจจะสร้างเป็นข้อตกลงแยกต่างหากหรือการประกาศทุนสนับสนุน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะแก้ไขข้อขัดแย้งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามปฏิญญาร่วมฯ ฉบับนี้โดยการปรึกษาหารือกันฉันมิตร
(6) การแก้ไข          แก้ไขเมื่อใดก็ได้โดยความยินยอมร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรของทั้งสองฝ่าย
(7) การยุติความร่วมมือ          อาจยุติลงเมื่อใดก็ได้โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หากเป็นไปได้ควรแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลาหกเดือนเกี่ยวกับการยุติดังกล่าว และหารือกันเพื่อจัดการกับเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
(8) ระยะเวลาและวันที่มีผลใช้บังคับ          มีผลใช้บังคับในวันที่ลงนาม
1 องค์การแลกเปลี่ยนวิชาการเยอรมัน (DAAD) หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า German Academic Exchange Service คือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านทุนการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและวิจัย และการส่งสริมโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างไทยและเยอรมนี


แต่งตั้ง
21. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ    ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 4 คณะ ดังนี้
                     1. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
                     2. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                     3. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัท และองค์กรทางธุรกิจ
                     4. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
                     1. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
                     องค์ประกอบ นายสวิน อักขรายุธ ประธานกรรมการ โดยกรรมการประกอบด้วย หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ นายไกรสร บารมีอวยชัย นายจักรพงษ์ เล็กสกุลไชย นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ นายทวีศักดิ์ วรพิวุฒิ       นายธานิศ เกศวพิทักษ์ นายธรรดร มลิทอง นายปราโมทย์ ผลาภิรมย์ นายมนัส สุขสวัสดิ์ นายวรรณชัย บุญบำรุง     นายสมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ และนายชวการ ลิปม์ศิระ
                     2. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                    องค์ประกอบ นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ นายเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ นางจริยา เจียมวิจิตร นายณรงค์ ใจหาญ นายนพดล เภรีฤกษ์ นายไพโรจน์ วายุภาพ      นายสิทธิโชค ศรีเจริญ และนายสุพล ยุติธาดา
                     3. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัท และองค์กรทางธุรกิจ
                    องค์ประกอบ คุณหญิงพรทิพย์ จาละ ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายจิตรกร ว่องเขตกร นางสาวจารุวรรณ เฮงตระกูล นายไชยวัฒน์ บุนนาค นางณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์ นายธวัชชัย พิทยโสภณ นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ นางสุวรรณา เชื้อบุญชัย นางสุดา วิศรุตพิชญ์ นายอนันต์ จันทรโอภากร และนายเอื้อน ขุนแก้ว
                     4. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา
                    องค์ประกอบ นายประทีป เฉลิมภัทรกุล ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายชำนาญ พิเชษฐพันธ์ นายณัฐพงศ์ โปษกะบุตร นายตระกูล วินิจนัยภาค นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง นายปกป้อง ศรีสนิท นายประธาน จุฬาโรจน์มนตรี นายประธาน วัฒนวาณิชย์ พลตำรวจโท ปัญญา เอ่งฉ้วน นายศิริชัย สวัสดิ์มงคล นายสมชาย จุลนิติ์ นางสาวนริศรา แดงไผ่ นายสุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และนายวีระวัฒน์ ปวราจารย์
                     หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการฯ ทั้ง 4 คณะ (คงเดิม)
                      1. ขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำบันทึกชี้แจงหรือให้ข้อคิดเห็นหรือส่งผู้แทนมาชี้แจง และให้ข้อคิดเห็นต่อคณะกรรมการในเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการ
                      2. ให้ความเห็นทางกฎหมายหรือตรวจพิจารณาร่างกฎหมายในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของคณะกรรมการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ้องขอ
                     3. จัดให้มีการศึกษาวิจัยหรือกลั่นกรองเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการ
                     4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาหรือกลั่นกรองเรื่องในปัญหาที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการ
                     5. ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดให้มีการสัมมนาหรือรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร

22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                      1. นายนรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่          27 กันยายน 2565
                     2. นางสาวชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2565
                      3. นายปริญญา สันติชาติงาม นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2566
                      4. นางสาวสุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านทันตสาธารณสุข) กลุ่มพัฒนาทันตสุขภาพวัยรุ่นและปัจจัยเสี่ยง สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ดำรงตำแหน่ง ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตสาธารณสุข) กรมอนามัย ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2566
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นายธิติวัฐ               อดิศรพันธ์กุล ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ