คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 - 2554 ประกอบด้วย 12 แผนงาน 104 โครงการ กรอบวงเงินงบประมาณ 4,826.80 ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โดยให้หน่วยงานต่างๆ พิจารณาบรรจุแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติการนี้ไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของหน่วยงาน เพื่อขออนุมัติงบประมาณประจำปีต่อไป และเห็นชอบการคงคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติไว้ ตามที่ สศช. เสนอ
สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ มีดังนี้
1. สรุปแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551-2554
(1) แนวคิดและหลักการ
(1.1) ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลาง
(1.2) แนวทางการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(1.3) เน้นการดำเนินงานในเชิงบูรณาการการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ
(1.4) เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะ 4 ปี ที่ต่อยอดการพัฒนาที่ผ่านมา
(2) วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างรายได้และแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร เกิดการปรับวิถีการผลิตทางการเกษตรที่เกื้อกูลธรรมชาติ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรอินทรีย์ และสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งและเชื่อมโยงทั้งระบบ รวมทั้งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญในระดับภูมิภาค
(3) เป้าหมาย
(3.1) ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดการปรับเปลี่ยนวิถี การผลิตสู่รูปแบบที่เกื้อกูลกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
(3.2) พื้นที่เกษตรอินทรีย์และกลุ่มเกษตรกรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ผลผลิตมีหลากหลายและได้รับการส่งเสริมอย่างครบวงจร ระบบการตรวจและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยได้รับการยอมรับ สามารถเพิ่มสัดส่วนการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง และมีการบริหารจัดการอย่างเป็นเอกภาพและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
(4) ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ
(4.1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม
(4.2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นบ้าน
(4.3) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์
(4.4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์
2. หลักการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงการที่สำคัญ คือ
(1) เป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์ ทำให้เกิดผลสำเร็จของการพัฒนา
อย่างเป็นรูปธรรม
(2) เป็นโครงการที่มีผลกระทบสูงต่อการเพิ่มมูลค่า มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน และเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ
และผู้บริโภค
(3) เป็นโครงการที่หน่วยงานมีความพร้อมในการดำเนินโครงการและบริหารโครงการ
(4) เป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมดำเนินการของภาคส่วนต่างๆ
3. .ร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551-2554 ผลการพิจารณาตาม หลักเกณฑ์ดังกล่าว ร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 — 2554 จึงประกอบด้วย แผนงาน/โครงการและงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 12 แผนงาน 104 โครงการ วงเงินงบประมาณ 4,826.8 ล้านบาท แยกเป็นในปี 2551 วงเงิน 1,118.42 ล้านบาท (ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว) ปี 2552 วงเงิน 1,463.31 ล้านบาท ปี 2553 วงเงิน 1,085.42 ล้านบาท และ ปี 2554 วงเงิน 1,158.67 ล้านบาท โดยรายละเอียดแผนงาน/โครงการ และวงเงินงบประมาณในแต่ละยุทธศาสตร์ฯ สรุปได้ดังต่อไปนี้
(1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ดังนี้
(1.1) การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม
(1.2) การส่งเสริมให้มีการสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์
(1.3) การจัดทำฐานข้อมูลด้านเกษตรอินทรีย์ในทุกระดับ
(2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นบ้าน ดังนี้
(2.1) พัฒนาการผลิตและสร้างเครือข่ายสู่การพึ่งตนเอง
(2.2) พัฒนาช่องทางการตลาดรองรับผลผลิตส่วน
(3) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์สู่สากล ดังนี้
(3.1) การพัฒนาการผลิตและเครือข่ายทั้งระบบเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง
(3.2) พัฒนาระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย
(3.3) พัฒนาการตลาดสู่สากล
(4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย ดังนี้
(4.1) การคงคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ
(4.2) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ
(4.3) จัดระบบการประสานความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การรวมพลังของทุกภาคส่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 พฤษภาคม 2551--จบ--
สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ มีดังนี้
1. สรุปแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551-2554
(1) แนวคิดและหลักการ
(1.1) ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลาง
(1.2) แนวทางการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(1.3) เน้นการดำเนินงานในเชิงบูรณาการการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ
(1.4) เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะ 4 ปี ที่ต่อยอดการพัฒนาที่ผ่านมา
(2) วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างรายได้และแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร เกิดการปรับวิถีการผลิตทางการเกษตรที่เกื้อกูลธรรมชาติ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรอินทรีย์ และสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งและเชื่อมโยงทั้งระบบ รวมทั้งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญในระดับภูมิภาค
(3) เป้าหมาย
(3.1) ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดการปรับเปลี่ยนวิถี การผลิตสู่รูปแบบที่เกื้อกูลกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
(3.2) พื้นที่เกษตรอินทรีย์และกลุ่มเกษตรกรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ผลผลิตมีหลากหลายและได้รับการส่งเสริมอย่างครบวงจร ระบบการตรวจและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยได้รับการยอมรับ สามารถเพิ่มสัดส่วนการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง และมีการบริหารจัดการอย่างเป็นเอกภาพและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
(4) ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ
(4.1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม
(4.2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นบ้าน
(4.3) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์
(4.4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์
2. หลักการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงการที่สำคัญ คือ
(1) เป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์ ทำให้เกิดผลสำเร็จของการพัฒนา
อย่างเป็นรูปธรรม
(2) เป็นโครงการที่มีผลกระทบสูงต่อการเพิ่มมูลค่า มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน และเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ
และผู้บริโภค
(3) เป็นโครงการที่หน่วยงานมีความพร้อมในการดำเนินโครงการและบริหารโครงการ
(4) เป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมดำเนินการของภาคส่วนต่างๆ
3. .ร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551-2554 ผลการพิจารณาตาม หลักเกณฑ์ดังกล่าว ร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 — 2554 จึงประกอบด้วย แผนงาน/โครงการและงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 12 แผนงาน 104 โครงการ วงเงินงบประมาณ 4,826.8 ล้านบาท แยกเป็นในปี 2551 วงเงิน 1,118.42 ล้านบาท (ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว) ปี 2552 วงเงิน 1,463.31 ล้านบาท ปี 2553 วงเงิน 1,085.42 ล้านบาท และ ปี 2554 วงเงิน 1,158.67 ล้านบาท โดยรายละเอียดแผนงาน/โครงการ และวงเงินงบประมาณในแต่ละยุทธศาสตร์ฯ สรุปได้ดังต่อไปนี้
(1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ดังนี้
(1.1) การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม
(1.2) การส่งเสริมให้มีการสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์
(1.3) การจัดทำฐานข้อมูลด้านเกษตรอินทรีย์ในทุกระดับ
(2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นบ้าน ดังนี้
(2.1) พัฒนาการผลิตและสร้างเครือข่ายสู่การพึ่งตนเอง
(2.2) พัฒนาช่องทางการตลาดรองรับผลผลิตส่วน
(3) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์สู่สากล ดังนี้
(3.1) การพัฒนาการผลิตและเครือข่ายทั้งระบบเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง
(3.2) พัฒนาระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย
(3.3) พัฒนาการตลาดสู่สากล
(4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย ดังนี้
(4.1) การคงคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ
(4.2) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ
(4.3) จัดระบบการประสานความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การรวมพลังของทุกภาคส่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 พฤษภาคม 2551--จบ--