คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงพลังงาน สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค มีสาระสำคัญดังนี้
แนวคิดและหลักการ
1) ยึดแนวคิดการพัฒนา ตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลเป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ควบคู่กับแนวคิด “การพัฒนาแบบองค์รวม” บูรณาการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาให้สอดคล้องกับหลัก “ภูมิสังคม” ในแต่ละภูมิภาคและท้องถิ่น และสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน รวมทั้งยึดหลัก “การมีส่วนร่วมของทุกภาคีการพัฒนา” และหลัก “ธรรมาภิบาล” และมีการกระจายอำนาจให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ทรัพยากร
2) หลักการ มุ่งสร้างความเชื่อมโยงของทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ นโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 รวมทั้ง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนาภูมิภาคของประเทศให้สอดรับกับศักยภาพและภูมิสังคมของพื้นที่ โดย 1) กำหนดรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศและภาค ตลอดจนระบบชุมชนและโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่งทอดความเจริญไปสู่ ภูมิภาคเพื่อสร้างความสมดุลของการพัฒนา และ 2) กำหนดบทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคให้สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สร้างงานและสร้างรายได้แก่ประชาชน ควบคู่กับการพัฒนาคนและยกระดับคุณภาพชีวิต การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งการรักษาความมั่นคงและการบริหารจัดการที่ดีของประเทศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ใช้ศักยภาพที่มีอยู่และโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์เพื่อสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ ให้เกิดการได้ประโยชน์ที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว โดยมีการกำหนด ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้รองรับทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศ และเชื่อมโยงกับการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด ดังต่อไปนี้
1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ ได้แก่
1.1 บทบาทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของภาคเหนือ
1.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย
1) ปรับโครงสร้างการผลิตสู่การพึ่งตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและปรับระบบการผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างสมดุล
2) ยกระดับการค้าและบริการให้ได้มาตรฐานทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสตลาด
3) พัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญและเมืองชายแดนเพื่อรองรับการ เชื่อมโยงในระดับนานาชาติ
4) พัฒนาคนและสังคมให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มีความมั่นคงและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
5) พัฒนาศักยภาพของสถาบันครอบครัวและชุมชนให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาที่นำไปสู่การพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6) บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เน้นการอนุรักษ์ฟื้นฟูและ ใช้ประโยชน์อย่างสมดุล และเตรียมการป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติ
โดยกลุ่มจังหวัดมีทิศทางการพัฒนาที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ภาค ดังต่อไปนี้
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน) ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง พัฒนาบริการพื้นฐานของเมืองเชียงใหม่-ลำพูน พัฒนา ระบบโลจิสติกส์และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางภาคการผลิตและบริการโดยใช้ฐานความรู้วิชาการผสมผสานคุณค่าของธรรมชาติ และทุนสังคมศิลปวัฒนธรรม
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) พัฒนาเชียงรายให้เป็นประตูการค้าการลงทุน การขนส่งเชื่อมโยงกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง พัฒนาการเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะข้าวที่เชียงราย พะเยา พัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนและการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมล้านนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น เร่งฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้เพื่อดำรงความเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก) ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และน้ำ โดยเฉพาะลุ่มน้ำยม สนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สนับสนุนพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงภายในกลุ่มจังหวัด รวมทั้งการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านที่แม่สอดจังหวัดตาก
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี) พัฒนาข้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปการเกษตรอย่างครบวงจร พัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนจากผลผลิตและวัสดุการเกษตร พัฒนากลุ่มจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและกระจายสินค้าเชื่อมโยงกับภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง และพัฒนาระบบการขนส่งทางรางและทางน้ำที่มีนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและกระจายสินค้า (Multi Modal Transportation) พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีความโดดเด่น และพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำ
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.1 บทบาทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย
1) เพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ
2) สร้างคนให้มีคุณภาพ
3) สร้างสังคมและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง
4) ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์
โดยกลุ่มจังหวัดมีทิศทางการพัฒนาที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ภาค ดังต่อไปนี้
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย) ฟื้นฟูระบบนิเวศน์เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติควบคู่กับการใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว เพิ่มประสิทธิภาพ และการปรับโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตรสู่สินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูง การยกมาตรฐานการผลิตสู่ GAP และการบริหารจัดการลุ่มน้ำ ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน เร่งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกของเมืองและด่านชายแดน
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร) ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการผลิตแบบ Contract Farming กับ สปป.ลาว และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวย ความสะดวกในเมืองและด่านชายแดน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และส่งเสริมให้พื้นที่ชลประทานเป็นพื้นที่เกษตรก้าวหน้า ผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง ควบคู่กับการสนับสนุนการทำปศุสัตว์
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองรองรับการเป็นศูนย์กลางการค้าบริการ และการลงทุนของภาค ใช้พื้นที่ชลประทานให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ด้วยการทำเกษตรก้าวหน้าที่ผลิตสินค้ามูลค่าสูง ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ในการผลิตข้าวหอมมะลิด้วยการยกมาตรฐานการผลิตสู่สินค้าปลอดภัย มี Brand เตรียมการรองรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (Ethanol) ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) พัฒนาระบบชลประทานให้เต็มศักยภาพ รองรับการผลิตการเกษตรที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการสร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) ข้าวหอมมะลิได้มาตรฐาน GAP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ไหม เตรียมการรองรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (Ethanol) ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร พัฒนาการท่องเที่ยวทั้งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและอารยธรรมขอม และพัฒนาเส้นทาง (Loop) เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้าน และลดต้นทุนด้าน Logistic ด้วยการพัฒนาการขนส่งระบบราง
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ) พัฒนาแหล่งน้ำ และระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำ สนับสนุนให้กลุ่มเป็นประตู (Gate Way) การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวตอนล่างของภาค และปรับปรุงสภาพแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกได้มาตรฐาน และจัดโครงข่าย Loop เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวของเพื่อนบ้าน
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลาง
3.1 บทบาทการพัฒนาพื้นที่ของภาคกลาง
3.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ประกอบด้วย
1) พัฒนาฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาเสถียรภาพการพัฒนาอุตสาหกรรม เกษตร
การบริการ การลงทุนให้มีความมั่นคงและเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2) พัฒนาศักยภาพ คน สังคมและชุมชนให้มีคุณภาพ มีธรรมภิบาลเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกรวมถึงยกระดับ
คุณภาพชีวิตประชากรให้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลต่อระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาฐาน
เศรษฐกิจหลักของประเทศ
4) เสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาเมืองและพื้นที่ชายแดนตามแนวเส้นทางเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งแนว
เหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก เพื่อเป็นประตูการค้าเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ
5) บริหารจัดการพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบทอย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้มีการจัดระเบียบรูปแบบการพัฒนาเมืองและชุมชนได้สอดคล้อง
กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความต้องการของชุมชน
โดยกลุ่มจังหวัดมีทิศทางการพัฒนาที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ภาค ดังต่อไปนี้
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 (นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี) พัฒนาเป็นผู้นำใน ภูมิภาคด้านอุตสาหกรรมสะอาด ส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักร ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์และคุณภาพวัตถุดิบ สร้างมูลค่าเพิ่มของห่วงโซ่การผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรม และพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็นมรดกโลก
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง) รักษาความมั่นคงทางอาหาร และพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรและความปลอดภัยของอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หลักในพื้นที่ พัฒนาผลผลิตทางการเกษตรและภูมิปัญญาของชาวบ้าน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรม พัฒนาฐานการผลิตอาหารส่งออกประเภทธัญพืช พืชไร่และปศุสัตว์ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง กลุ่ม 1 (นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี) พัฒนาการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมด้วยระบบการผลิตที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม จัดตั้งศูนย์เครือข่ายการศึกษาขั้นอุดมศึกษา สนับสนุนสถาบันการศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ การท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับสหภาพพม่า ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมบริเวณชายแดน และพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงกับ สหภาพพม่า เพื่อเปิดประตูการค้าสู่ฝั่งอันดามัน
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง กลุ่ม 2 (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม) สนับสนุนการศึกษาวิจัย การจัดตั้งศูนย์ประมงครบวงจรและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในจังหวัดสมุทรสาคร ส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์น้ำ สนับสนุนการขยายการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และการเปิดเส้นทางการค้าการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับสหภาพพม่า สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่
กลุ่มจังหวัดภาคกลาง (สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว) สร้างมูลค่าการผลิตให้สินค้ามีมูลค่าสูง และมีความหลากหลาย ป้องกันการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนและอุตสาหกรรม เพื่อไม่ให้บุกรุกพื้นที่เกษตรที่อุดมสมบูรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพและมาตรฐานด้านความปลอดภัยของสินค้าเกษตร ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมให้ทันสมัยสู่ระดับสากล ขยายเครือข่ายอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้ากับศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) รวมทั้งการออกแบบและนวัตกรรม พัฒนาระบบโครงข่ายบริการ พื้นฐานและสภาพแวดล้อมบริเวณเศรษฐกิจชายแดน และเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด) แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม บริหารจัดการด้านการผลิต การแปรรูป พัฒนาระบบการกระจายสินค้าและการตลาด ส่งเสริมประมงแบบเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเล สนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณี จัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยว ปรับเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยว และจัดกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างจุดเด่นและความเป็นเอกลักษณ์ สนับสนุนการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน และสร้างฐานการผลิตตามแนวชายแดน เร่งรัดปรับปรุงและขยายระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้สมบูรณ์ และพัฒนาความรู้ และทักษะฝีมือแรงงาน ปรับปรุงสภาพแหล่งท่องเที่ยวให้สมบูรณ์ และจัดโครงข่าย Loop เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวของเพื่อนบ้าน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้
4.1 บทบาทการพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคใต้
4.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย
1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการผลิตหลักให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2) ขยายฐานเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความหลากหลายของแหล่งสร้างรายได้และการจ้างงานให้แก่ภาค
3) พัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพและมีภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อเสริมสมรรถนะการพัฒนาภาค
4) เสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมระดับชุมชน
5) ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาสมดุล เชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืน
โดยกลุ่มจังหวัดมีทิศทางการพัฒนาที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ภาค ดังต่อไปนี้
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง) พัฒนาฐานอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลจากปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ในจังหวัดชุมพร พัฒนาการปลูกข้าวและการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พัฒนาการเกษตรยั่งยืน พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บริเวณชายฝั่งทะเลและบนบก ให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเกาะสมุย-พงัน เพื่อเพิ่มแหล่งสร้างรายได้การท่องเที่ยว เตรียมความพร้อมพื้นที่ที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซธรรมชาติ ในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง) รักษามนต์เสน่ห์ของศูนย์กลางการ ท่องเที่ยวทางทะเล การแก้ไขปัญหาขยะและน้ำเสียในแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ พัฒนาบุคลากรรองรับการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มคุณภาพและคุณค่าด้านการให้บริการทั้งด้านการแพทย์ การท่องเที่ยวกลุ่ม MICE และ Marina ในศูนย์กลางการท่องเที่ยวเกาะภูเก็ต พัฒนาเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลและบนบกกับศูนย์กลางการท่องเที่ยวหลัก
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) คุ้มครองความปลอดภัย การอำนวยความเป็นธรรม สร้างภูมิคุ้มกันแก่คนกลุ่มเสี่ยงเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้แก่ผู้มีรายได้น้อย สร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต และพัฒนาบริการสาธารณสุขให้เพียงพอ เสริมสร้างความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจและการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ จัดให้มีการบริหารเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งด้านการบริหารจัดการ บุคลากร และงบประมาณเพื่อให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของพื้นที่
สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลซึ่งแนวทางดำเนินการมีดังนี้
1. ให้ทุกจังหวัดและ 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศยึดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อจัดทำคำของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 แล้วนำเสนอขอความเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป
2. ให้กระทรวงและหน่วยงานอื่นของรัฐใช้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่อไป
3. มอบหมายให้ สศช. รับผิดชอบในการบูรณาการโครงการที่สำคัญ (Flagship Project) ซึ่งมีความสำคัญต่อความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่กำหนดในยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำรายละเอียดของโครงการที่สำคัญดังกล่าว เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป
4. มอบหมายให้ สศช. ดำเนินการติดตามประเมินผลสำเร็จของการพัฒนาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคและผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ แล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 พฤษภาคม 2551--จบ--
ร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค มีสาระสำคัญดังนี้
แนวคิดและหลักการ
1) ยึดแนวคิดการพัฒนา ตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลเป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ควบคู่กับแนวคิด “การพัฒนาแบบองค์รวม” บูรณาการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาให้สอดคล้องกับหลัก “ภูมิสังคม” ในแต่ละภูมิภาคและท้องถิ่น และสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน รวมทั้งยึดหลัก “การมีส่วนร่วมของทุกภาคีการพัฒนา” และหลัก “ธรรมาภิบาล” และมีการกระจายอำนาจให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ทรัพยากร
2) หลักการ มุ่งสร้างความเชื่อมโยงของทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ นโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 รวมทั้ง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนาภูมิภาคของประเทศให้สอดรับกับศักยภาพและภูมิสังคมของพื้นที่ โดย 1) กำหนดรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศและภาค ตลอดจนระบบชุมชนและโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่งทอดความเจริญไปสู่ ภูมิภาคเพื่อสร้างความสมดุลของการพัฒนา และ 2) กำหนดบทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคให้สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สร้างงานและสร้างรายได้แก่ประชาชน ควบคู่กับการพัฒนาคนและยกระดับคุณภาพชีวิต การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งการรักษาความมั่นคงและการบริหารจัดการที่ดีของประเทศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ใช้ศักยภาพที่มีอยู่และโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์เพื่อสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ ให้เกิดการได้ประโยชน์ที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว โดยมีการกำหนด ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้รองรับทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศ และเชื่อมโยงกับการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด ดังต่อไปนี้
1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ ได้แก่
1.1 บทบาทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของภาคเหนือ
1.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย
1) ปรับโครงสร้างการผลิตสู่การพึ่งตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและปรับระบบการผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างสมดุล
2) ยกระดับการค้าและบริการให้ได้มาตรฐานทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสตลาด
3) พัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญและเมืองชายแดนเพื่อรองรับการ เชื่อมโยงในระดับนานาชาติ
4) พัฒนาคนและสังคมให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มีความมั่นคงและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
5) พัฒนาศักยภาพของสถาบันครอบครัวและชุมชนให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาที่นำไปสู่การพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6) บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เน้นการอนุรักษ์ฟื้นฟูและ ใช้ประโยชน์อย่างสมดุล และเตรียมการป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติ
โดยกลุ่มจังหวัดมีทิศทางการพัฒนาที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ภาค ดังต่อไปนี้
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน) ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง พัฒนาบริการพื้นฐานของเมืองเชียงใหม่-ลำพูน พัฒนา ระบบโลจิสติกส์และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางภาคการผลิตและบริการโดยใช้ฐานความรู้วิชาการผสมผสานคุณค่าของธรรมชาติ และทุนสังคมศิลปวัฒนธรรม
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) พัฒนาเชียงรายให้เป็นประตูการค้าการลงทุน การขนส่งเชื่อมโยงกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง พัฒนาการเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะข้าวที่เชียงราย พะเยา พัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนและการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมล้านนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น เร่งฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้เพื่อดำรงความเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก) ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และน้ำ โดยเฉพาะลุ่มน้ำยม สนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สนับสนุนพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงภายในกลุ่มจังหวัด รวมทั้งการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านที่แม่สอดจังหวัดตาก
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี) พัฒนาข้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปการเกษตรอย่างครบวงจร พัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนจากผลผลิตและวัสดุการเกษตร พัฒนากลุ่มจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและกระจายสินค้าเชื่อมโยงกับภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง และพัฒนาระบบการขนส่งทางรางและทางน้ำที่มีนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและกระจายสินค้า (Multi Modal Transportation) พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีความโดดเด่น และพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำ
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.1 บทบาทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย
1) เพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ
2) สร้างคนให้มีคุณภาพ
3) สร้างสังคมและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง
4) ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์
โดยกลุ่มจังหวัดมีทิศทางการพัฒนาที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ภาค ดังต่อไปนี้
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย) ฟื้นฟูระบบนิเวศน์เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติควบคู่กับการใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว เพิ่มประสิทธิภาพ และการปรับโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตรสู่สินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูง การยกมาตรฐานการผลิตสู่ GAP และการบริหารจัดการลุ่มน้ำ ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน เร่งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกของเมืองและด่านชายแดน
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร) ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการผลิตแบบ Contract Farming กับ สปป.ลาว และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวย ความสะดวกในเมืองและด่านชายแดน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และส่งเสริมให้พื้นที่ชลประทานเป็นพื้นที่เกษตรก้าวหน้า ผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง ควบคู่กับการสนับสนุนการทำปศุสัตว์
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองรองรับการเป็นศูนย์กลางการค้าบริการ และการลงทุนของภาค ใช้พื้นที่ชลประทานให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ด้วยการทำเกษตรก้าวหน้าที่ผลิตสินค้ามูลค่าสูง ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ในการผลิตข้าวหอมมะลิด้วยการยกมาตรฐานการผลิตสู่สินค้าปลอดภัย มี Brand เตรียมการรองรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (Ethanol) ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) พัฒนาระบบชลประทานให้เต็มศักยภาพ รองรับการผลิตการเกษตรที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการสร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) ข้าวหอมมะลิได้มาตรฐาน GAP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ไหม เตรียมการรองรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (Ethanol) ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร พัฒนาการท่องเที่ยวทั้งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและอารยธรรมขอม และพัฒนาเส้นทาง (Loop) เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้าน และลดต้นทุนด้าน Logistic ด้วยการพัฒนาการขนส่งระบบราง
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ) พัฒนาแหล่งน้ำ และระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำ สนับสนุนให้กลุ่มเป็นประตู (Gate Way) การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวตอนล่างของภาค และปรับปรุงสภาพแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกได้มาตรฐาน และจัดโครงข่าย Loop เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวของเพื่อนบ้าน
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลาง
3.1 บทบาทการพัฒนาพื้นที่ของภาคกลาง
3.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ประกอบด้วย
1) พัฒนาฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาเสถียรภาพการพัฒนาอุตสาหกรรม เกษตร
การบริการ การลงทุนให้มีความมั่นคงและเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2) พัฒนาศักยภาพ คน สังคมและชุมชนให้มีคุณภาพ มีธรรมภิบาลเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกรวมถึงยกระดับ
คุณภาพชีวิตประชากรให้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลต่อระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาฐาน
เศรษฐกิจหลักของประเทศ
4) เสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาเมืองและพื้นที่ชายแดนตามแนวเส้นทางเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งแนว
เหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก เพื่อเป็นประตูการค้าเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ
5) บริหารจัดการพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบทอย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้มีการจัดระเบียบรูปแบบการพัฒนาเมืองและชุมชนได้สอดคล้อง
กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความต้องการของชุมชน
โดยกลุ่มจังหวัดมีทิศทางการพัฒนาที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ภาค ดังต่อไปนี้
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 (นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี) พัฒนาเป็นผู้นำใน ภูมิภาคด้านอุตสาหกรรมสะอาด ส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักร ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์และคุณภาพวัตถุดิบ สร้างมูลค่าเพิ่มของห่วงโซ่การผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรม และพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็นมรดกโลก
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง) รักษาความมั่นคงทางอาหาร และพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรและความปลอดภัยของอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หลักในพื้นที่ พัฒนาผลผลิตทางการเกษตรและภูมิปัญญาของชาวบ้าน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรม พัฒนาฐานการผลิตอาหารส่งออกประเภทธัญพืช พืชไร่และปศุสัตว์ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง กลุ่ม 1 (นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี) พัฒนาการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมด้วยระบบการผลิตที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม จัดตั้งศูนย์เครือข่ายการศึกษาขั้นอุดมศึกษา สนับสนุนสถาบันการศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ การท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับสหภาพพม่า ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมบริเวณชายแดน และพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงกับ สหภาพพม่า เพื่อเปิดประตูการค้าสู่ฝั่งอันดามัน
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง กลุ่ม 2 (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม) สนับสนุนการศึกษาวิจัย การจัดตั้งศูนย์ประมงครบวงจรและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในจังหวัดสมุทรสาคร ส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์น้ำ สนับสนุนการขยายการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และการเปิดเส้นทางการค้าการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับสหภาพพม่า สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่
กลุ่มจังหวัดภาคกลาง (สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว) สร้างมูลค่าการผลิตให้สินค้ามีมูลค่าสูง และมีความหลากหลาย ป้องกันการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนและอุตสาหกรรม เพื่อไม่ให้บุกรุกพื้นที่เกษตรที่อุดมสมบูรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพและมาตรฐานด้านความปลอดภัยของสินค้าเกษตร ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมให้ทันสมัยสู่ระดับสากล ขยายเครือข่ายอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้ากับศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) รวมทั้งการออกแบบและนวัตกรรม พัฒนาระบบโครงข่ายบริการ พื้นฐานและสภาพแวดล้อมบริเวณเศรษฐกิจชายแดน และเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด) แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม บริหารจัดการด้านการผลิต การแปรรูป พัฒนาระบบการกระจายสินค้าและการตลาด ส่งเสริมประมงแบบเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเล สนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณี จัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยว ปรับเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยว และจัดกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างจุดเด่นและความเป็นเอกลักษณ์ สนับสนุนการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน และสร้างฐานการผลิตตามแนวชายแดน เร่งรัดปรับปรุงและขยายระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้สมบูรณ์ และพัฒนาความรู้ และทักษะฝีมือแรงงาน ปรับปรุงสภาพแหล่งท่องเที่ยวให้สมบูรณ์ และจัดโครงข่าย Loop เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวของเพื่อนบ้าน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้
4.1 บทบาทการพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคใต้
4.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย
1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการผลิตหลักให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2) ขยายฐานเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความหลากหลายของแหล่งสร้างรายได้และการจ้างงานให้แก่ภาค
3) พัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพและมีภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อเสริมสมรรถนะการพัฒนาภาค
4) เสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมระดับชุมชน
5) ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาสมดุล เชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืน
โดยกลุ่มจังหวัดมีทิศทางการพัฒนาที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ภาค ดังต่อไปนี้
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง) พัฒนาฐานอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลจากปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ในจังหวัดชุมพร พัฒนาการปลูกข้าวและการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พัฒนาการเกษตรยั่งยืน พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บริเวณชายฝั่งทะเลและบนบก ให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเกาะสมุย-พงัน เพื่อเพิ่มแหล่งสร้างรายได้การท่องเที่ยว เตรียมความพร้อมพื้นที่ที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซธรรมชาติ ในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง) รักษามนต์เสน่ห์ของศูนย์กลางการ ท่องเที่ยวทางทะเล การแก้ไขปัญหาขยะและน้ำเสียในแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ พัฒนาบุคลากรรองรับการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มคุณภาพและคุณค่าด้านการให้บริการทั้งด้านการแพทย์ การท่องเที่ยวกลุ่ม MICE และ Marina ในศูนย์กลางการท่องเที่ยวเกาะภูเก็ต พัฒนาเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลและบนบกกับศูนย์กลางการท่องเที่ยวหลัก
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) คุ้มครองความปลอดภัย การอำนวยความเป็นธรรม สร้างภูมิคุ้มกันแก่คนกลุ่มเสี่ยงเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้แก่ผู้มีรายได้น้อย สร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต และพัฒนาบริการสาธารณสุขให้เพียงพอ เสริมสร้างความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจและการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ จัดให้มีการบริหารเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งด้านการบริหารจัดการ บุคลากร และงบประมาณเพื่อให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของพื้นที่
สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลซึ่งแนวทางดำเนินการมีดังนี้
1. ให้ทุกจังหวัดและ 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศยึดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อจัดทำคำของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 แล้วนำเสนอขอความเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป
2. ให้กระทรวงและหน่วยงานอื่นของรัฐใช้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่อไป
3. มอบหมายให้ สศช. รับผิดชอบในการบูรณาการโครงการที่สำคัญ (Flagship Project) ซึ่งมีความสำคัญต่อความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่กำหนดในยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำรายละเอียดของโครงการที่สำคัญดังกล่าว เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป
4. มอบหมายให้ สศช. ดำเนินการติดตามประเมินผลสำเร็จของการพัฒนาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคและผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ แล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 พฤษภาคม 2551--จบ--