สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567

ข่าวการเมือง Wednesday February 7, 2024 09:35 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวม 2 ฉบับ
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น                                                  ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระภาษี                                        สำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล)
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูป                                        ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
                                        ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  อุตรดิตถ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
                                        ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  อุบลราชธานี (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงฉิมพลี
                                        แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวง                                                  อรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ                                         เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวร                                        นิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค                                         แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค                                         เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน                                         เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท                                         แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง                                                   กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่                                        จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวง                                                  คลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวง                                        บางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย                                         แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวง                                                  พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค
                                        แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค                                         เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน                                         เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท                                         แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง                                                   กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
                    7.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองงูเหลือม                                         อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลใหม่ ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัด                                                  นครราชสีมา พ.ศ. ?.
                    8.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหัวหวาย

อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ?.

                    9.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข                                         และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น พ.ศ. ....
                    10.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการคืนหรือการชดใช้คืนซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำ                                                  ความผิดและการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน พ.ศ. ....
                    11.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ?.

เศรษฐกิจ-สังคม
                    12.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2566
                    13.           เรื่อง           รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด                                         ประจำปี พ.ศ. 2565
                    14.           เรื่อง           แผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
                    15.           เรื่อง           ความก้าวหน้าในการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใต้กระบวนการ                                                  ประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการ                                                  ทุจริต ค.ศ. 2003
                    16.           เรื่อง           มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร                                        จัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567
                    17.            เรื่อง           การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิปัติราชการ                                        ของส่วนราชการและจังหวัด และตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint                                         KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    18.           เรื่อง           รายงานผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540                                         ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    19.           เรื่อง            รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ?

5 กุมภาพันธ์ 2567

ต่างประเทศ
                    20.           เรื่อง           การจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และ                                        หนังสือเดินทางราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง                                                  สาธารณรัฐลิทัวเนีย
                    21.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการผ่านแดนสินค้าระหว่างกรมศุลกากรแห่ง                                                  อาณาจักรไทยและกรมศุลกากรและสรรพสามิตแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
                    22.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง -                                         ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสถาน                                                            เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
                    23.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี                                         ค.ศ. 2023
                    24.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ                                                  นวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์                                                   เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้าน                                                  วิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    25.           เรื่อง           การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ                                        และการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน ระหว่างไทยกับกัมพูชา

แต่งตั้ง
                    26.           เรื่อง           คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงการคลัง)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    31.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การ

เภสัชกรรม


?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวม 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 รวม 2 ฉบับ      ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอดังนี้
                    1. ร่างกฎกระทรวงการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่บริษัทจำกัดมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ พ.ศ. ....
                    2. ร่างกฎกระทรวงการแต่งตั้งผู้ประเมินราคา กรณีที่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการควบรวมบริษัทและไม่สามารถตกลงราคาซื้อขายหุ้นได้ พ.ศ. ....
                     เรื่องเดิม
                    1. โดยที่มาตรา 1175 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 บัญญัติให้การโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ในกรณีที่บริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งครั้งหรือในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จากเดิมที่กำหนดให้บริษัทจำกัดโฆษณาคำบอกกล่าวเชิญประชุมใหญ่ทางหนังสือพิมพ์เพียงช่องทางเดียว จึงต้องออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรณีบริษัทจำกัดมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ (หุ้นไม่ระบุชื่อ) ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่บริษัทจำกัดมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ สามารถโฆษณาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อีกช่องทางหนึ่ง (บริษัทจำกัดสามารถจะเลือกโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ได้ โดยทางหนังสือพิมพ์หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือทั้ง 2 ทางก็ได้)
                    การโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมกรณีบริษัทจำกัดมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือหุ้น    (หุ้นไม่ระบุชื่อ) ตามมาตรา 1175 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ 1) การโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เดิม โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ 2) การโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ใหม่ โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ โฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และมาตรา 1239/1 วรรคสอง บัญญัติให้ในกรณีที่บริษัทได้มีมติพิเศษ1 ให้ควบรวมบริษัท แต่มีผู้ถือหุ้นส่วนน้อยคัดค้านการควบรวมบริษัท ขั้นตอนแรกบริษัทจะต้องจัดให้มีผู้ซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้านดังกล่าวในราคาที่ตกลงกัน แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ในขั้นตอนแรกให้ใช้ราคาหุ้นตามที่ผู้ประเมินราคาเป็นผู้กำหนด โดยการแต่งตั้งผู้ประเมินราคาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งการแต่งตั้งผู้ประเมินราคาดังกล่าว เป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการควบรวมบริษัทจำกัดที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 ได้กำหนดขึ้นใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ได้ข้อยุติระหว่างผู้ซื้อหุ้นและผู้ถือหุ้นที่คัดค้านการควบรวมบริษัทที่ไม่สามารถตกลงราคาซื้อขายหุ้นกันได้2 ดังนี้
                    การแต่งตั้งผู้ประเมินราคากรณีผู้ถือหุ้นบางส่วนคัดค้านการควบรวมบริษัทตามมติพิเศษ       ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 1) การแต่งตั้งผู้ประเมินราคาเดิม ไม่มีการกำหนดไว้ 2) การแต่งตั้งผู้ประเมินราคากำหนดขึ้นใหม่ มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 บริษัทจำกัด จัดให้มีผู้ซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่คัดค้านการควบรวมบริษัทในราคาที่ตกลงกัน ขั้นตอนที่ 2 กรณีที่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่คัดค้านการควบรวมบริษัทไม่สามารถตกลงราคาซื้อขายหุ้นกันได้ ให้ใช้ราคาตามที่ผู้ประเมินราคาเป็นผู้กำหนด โดยบริษัทจัดให้มีผู้ประเมินราคาตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนด เช่น เป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต ขั้นตอนที่ 3 ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่คัดค้านการควบรวมบริษัทไม่ยอมขายหุ้นภายใน 14 วันนับแต่วันที่ได้รับคำเสนอขอซื้อหุ้น ให้บริษัทดำเนินการควบรวมบริษัทต่อไปได้ และให้ถือว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวนั้นเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ควบรวม
                    2. พณ. พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย ประกอบกับได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 ตามข้อ 1. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรณีบริษัทจำกัดมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ประเมินราคา พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้บริษัทสามารถโฆษณาข้อความเกี่ยวกับบริษัทจำกัดผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใดเพิ่มเติมจากการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกและช่องทางการโฆษณาให้ทันสมัยเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคธุรกิจ และสอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ประเมินราคาซื้อขายหุ้นของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมและคัดค้านการควบรวมบริษัทในกรณีที่บริษัทมีมติพิเศษให้ควบรวมบริษัท แต่ผู้ซื้อหุ้นและผู้ถือหุ้นที่คัดค้านไม่สามารถตกลงราคากันได้ให้ใช้ราคาตามที่ผู้ประเมินราคาที่เป็นคนกลางเป็นผู้กำหนดแทนเพื่อให้มีแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน
                    ทั้งนี้ พณ. โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้นำร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ ตามข้อ 2. รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว (หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน) โดยรับฟังความคิดเห็นผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) และระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2565 - 3 มกราคม 2566 แล้ว โดยผู้แสดงความคิดเห็นไม่ได้คัดค้านในหลักการของร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
                    3. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 กรกฎาคม 2566) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวรวม 2 ฉบับ ตามข้อ 2. ตามที่ พณ. เสนอ และให้ส่ง สคก. ตรวจพิจารณาโดยให้รับประเด็นตามความเห็นของ สคก. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    4. สคก. แจ้งว่าได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวรวม 2 ฉบับ ตามข้อ 3. เสร็จแล้ว โดยมีการแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ ดังนี้
                              4.1 ร่างกฎกระทรวงการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่บริษัทจำกัดมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ พ.ศ. ....
                              4.2 ร่างกฎกระทรวงการแต่งตั้งผู้ประเมินราคา กรณีที่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการควบรวมบริษัทและไม่สามารถตกลงราคาซื้อขายหุ้นได้ พ.ศ. ....
โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้มีหนังสือยืนยันให้ความเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงนี้แล้ว
                    5. ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรกระหม่อมแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เมื่อวันที่           2 กันยายน 2566 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ส่งร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับดังกล่าว ตามข้อ 4. ให้ พณ. พิจารณายืนยันอีกครั้งหนึ่ง
                    ข้อเท็จจริง
                    พณ. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับดังกล่าวที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไป จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ร่างกฎกระทรวง ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 จำนวน 2 ฉบับ ที่ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แก่
                    1. ร่างกฎกระทรวงการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่บริษัทจำกัดมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่บริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ (หุ้นไม่ระบุชื่อ) ตามเรื่องเสร็จที่ 1336/2566 (ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 วรรคหนึ่ง) สรุปได้ ดังนี้
                              1) กำหนดให้กรณีที่บริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ (หุ้นไม่ระบุชื่อ) บริษัทอาจโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ก็ได้
                              2) กำหนดให้การโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ประกาศผ่านเว็บไซต์ที่เข้าถึงเป็นการทั่วไป และสามารถยืนยันความเป็นเจ้าของเว็บไซต์ โดยต้องคำนึงถึงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวกและไม่เลือกปฏิบัติหรือเว็บไซต์ที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด
                              3) กำหนดให้ข้อความหรือเอกสารที่โฆษณาให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน และในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย
                              4) กำหนดให้การโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะต้องปรากฏข้อความหรือเอกสารที่โฆษณานั้นตั้งแต่วันที่การโฆษณาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์จนถึงวันประชุมใหญ่
                    2. ร่างกฎกระทรวงการแต่งตั้งผู้ประเมินราคา กรณีที่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการควบรวมบริษัทและไม่สามารถตกลงราคาซื้อขายหุ้นได้ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ประเมินราคา ในกรณีที่มีการควบคุมรวบรวมบริษัท แต่ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมคัดค้านการควบรวมบริษัทและไม่สามารถตกลงราคาซื้อขายหุ้นได้ ตามเรื่องเสร็จที่ 1337/2566 (ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1239/1 วรรคสอง) สรุปได้ ดังนี้
                              1) กำหนดนิยามคำว่า
                                        ?ผู้ซื้อหุ้น? หมายความว่า          ผู้ที่บริษัทจัดให้มาซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้านในกรณีที่บริษัทมีมติพิเศษให้ควบรวมบริษัท
                                        ?ผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน? หมายความว่า ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมการประชุมใหญ่ของบริษัทซึ่งจัดขึ้นเพื่ออนุมัติการควบรวมบริษัทและได้ออกเสียงลงคะแนนคัดค้านการควบรวมบริษัทเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติพิเศษให้ควบรวมบริษัท
                                        ?ผู้ประเมินราคา? หมายความว่า ผู้ประเมินและกำหนดราคาซื้อขายหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน
                              2) กำหนดให้บริษัทเป็นผู้แต่งตั้งผู้ประเมินราคาเพื่อทำหน้าที่ประเมินและกำหนดราคาซื้อขายหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน ในกรณีที่ผู้ซื้อหุ้นกับผู้ถือหุ้นที่คัดค้านไม่สามารถตกลงราคาซื้อขายหุ้นของผู้ถือหุ้นที่คัดค้านกันได้ และกำหนดความเป็นอิสระของผู้ประเมินราคา
                              3) กำหนดคุณสมบัติของผู้ประเมินราคา ได้แก่ (1) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ (2) เป็นอนุญาโตตุลาการที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานศาลยุติธรรมในสาขาการประเมินราคาทรัพย์สิน (3) เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานศาลยุติธรรม       (4) เป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (5) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ (6) เป็นผู้ประเมินชั้นวุฒิที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย และสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
1 มาตรา 1194 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้การใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำโดยมติพิเศษ ที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติในเรื่องนั้นโดยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
2 มาตรา 1239/1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 บัญญัติให้เมื่อมีมติพิเศษให้ควบรวมบริษัทแล้ว แต่มีผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมคัดค้านการควบรวมบริษัท บริษัทต้องจัดให้มีผู้ซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นดังกล่าวในราคาที่ตกลงกัน หรือในกรณีไม่สามารถตกลงกันได้ให้ใช้ราคาตามที่ผู้ประเมินราคาเป็นผู้กำหนด ถ้าผู้ถือหุ้นนั้นไม่ยอมขายภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับคำเสนอขอซื้อ ให้บริษัทดำเนินการควบรวมบริษัทต่อไปได้ และให้ถือว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวนั้นเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ควบรวม

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
                    ทั้งนี้ กค. ได้ออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลรวม 2 ฉบับ ได้แก่
                    1. พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ได้กำหนดคำนิยามของสินทรัพย์ดิจิทัล ดังนี้
                              1.1 คริปโทเคอร์เรนซี หมายความว่า หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลและหมายความรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด (โดยผู้ถือ คริปโทเคอร์เรนซีจะได้ผลตอบแทนในรูปแบบของกำไรส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย)4
                              1.2 โทเคนดิจิทัล หมายความว่า หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยโทเคนดิจิทัลแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ 2 ประเภท ได้แก่
                                        1) โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) คือ โทเคนดิจิทัลที่กำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ (โดยผู้ถือโทเคนเพื่อการลงทุนจะได้ผลตอบแทนในรูปแบบของส่วนแบ่งของกำไรและส่วนแบ่งรายได้)5
                                        2) โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) คือ โทเคนดิจิทัลที่กำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อตกลงระหว่างผู้ออกและผู้ถือ (โดยโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์จะเป็นการกำหนดสิทธิให้แก่ผู้ถือในการใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ตามที่ระบุเอาไว้ตามเงื่อนไขในการออกโทเคนดิจิทัล เช่น การแปลงคูปอง Voucher คะแนนสะสม บัตรเข้าชมงานต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบของโทเคนดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือให้สิทธิในการเข้าถึงแพลตฟอร์มหรือโครงการ)6
                    2. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 กำหนดให้เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และมาตรา 40 (4) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากรตามลำดับ ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้และกำหนดให้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายของเงินได้พึงประเมินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ ประกอบกับตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้การโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
                    ปัจจุบันการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. (ตลาดรอง)7 สามารถกระทำได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) ผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) 2) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Broken) และ 3) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Dealer) ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
                    ต่อมา กค. โดยกรมสรรพากรได้ออกมาตรการเพื่อบรรเทาภาระภาษีสำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รวม 2 ฉบับ ดังนี้
                    1. พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 744) พ.ศ. 2565 กำหนดให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลที่กระทำในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลซึ่งกระทำในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทยอันจะเป็นประโยชน์แก่การกำกับดูแลการทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนี้ เป็นการกำหนดเป็นมาตรการชั่วคราวในขณะนั้น เพื่อรอการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่ กค. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) (อยู่ระหว่างดำเนินการ) ซึ่งจะมีการกำหนดให้โทเคนดิจิทัลบางลักษณะเป็นหลักทรัพย์ (โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน) อันจะส่งผลต่อภาระภาษีมูลค่าเพิ่มของโทเคนดิจิทัลดังกล่าว อย่างไรก็ดี เพื่อให้การเสียภาษีมีความแน่นอน การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลไม่ควรมีกำหนดเวลา และหากการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แล้วเสร็จ กรมสรรพากรจะสามารถปรับปรุงการจัดเก็บภาษีจากธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลให้สอดคล้องกันต่อไปได้
                    2. พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 779) พ.ศ. 2566 กำหนดให้ยกเว้นภาษีสำหรับการออกเสนอขายและการขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนในตลาดรอง ดังนี้
                              2.1 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้และมูลค่าของฐานภาษี อันเนื่องมาจากการโอนโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่ออกเสนอขายต่อประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป
                              2.2 ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนโทเคนดิจิทัลที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป ไม่ว่ากระทำในหรือนอกศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
                    มูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลมี ดังนี้
          มูลค้าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านผู้ให้บริการตัวกลาง (ล้านบาท)          *หมายเหตุ
          Exchange          Broker          Dealer
ปี 2565          1,014,301          118,126          984          มูลค่าการซื้อขายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน
ปี 2566          296,094          88,567          3,122
ทั้งนี้ สำหรับจำนวนบัญชีซื้อขายใน Exchange ณ เดือนกันยายน 2566 มี 2,945,001 บัญชีแบ่งเป็นบัญชีที่มีการเคลื่อนไหว จำนวน 87,982 บัญชี และบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว จำนวน 2,857,019 บัญชี
                    กค. พิจารณาแล้วเห็นควรขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนขายคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่กระทำผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) และขยายการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้รวมถึงนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Broker) และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Dealer) ด้วย รวมทั้งปรับปรุงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโทเคนดิจิทัล (Token Digital) ในประเภทของโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) โดยให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ได้กระทำผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป กค. โดยกรมสรรพากรจึงได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาด้วยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเท่าเทียมกัน เนื่องจากการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 744) พ.ศ. 2565 ซึ่งได้สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เป็นการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนขาย คริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเฉพาะในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเท่านั้น รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการโอนขายสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทยให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. อย่างไรก็ตาม สำหรับการโอนขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 779) พ.ศ. 2566 แล้ว ดังนั้น การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของการโอนขายโทเคนดิจิทัลจะเหลือเฉพาะการโอนขายดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ตามที่ กค. ได้เสนอมาในครั้งนี้
เดิม          ร่างฯ ที่ กค. เสนอมาในครั้งนี้
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 744) พ.ศ. 2565          ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
? ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเฉพาะใน Exchange เท่านั้น          ? ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) ที่ได้โอนขายผ่านตัวกลาง ดังนี้
1) Exchange
2) Broker
3) Dealer
? ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2566          ? ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
                    กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ดังนี้
                    1. ประมาณการการสูญเสียรายได้
                              1) การขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนการขายสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะไม่ทำให้สูญเสียรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมจากที่สูญเสียอยู่ในปัจจุบัน
                              2) การขยายการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้รวมถึงการขายสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Broker) ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และการขายสินทรัพย์ดิจิทัลให้และโดยผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Dealer) ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะทำให้สูญเสียรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมไม่มากเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (รายรับของผู้ขายต้องถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียน ถ้ายอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี) โดยคาดว่าจะทำให้สูญเสียรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณปีละ 70 ล้านบาท
                    2. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                              1) การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีความเท่าเทียมกันในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของไทยที่อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐ
                              2) การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของนักลงทุนในประเทศไทยเกิดขึ้นผ่านผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของไทยที่อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐ
                              3) นักลงทุนในประเทศไทยที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีเพิ่มขึ้น
                              4) ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเป็นศูนย์กลางสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Hub) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามมา
จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..)            พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์          ? บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
2. สิทธิประโยชน์ทางภาษี          ? ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ร้อยละ 7) สำหรับกรณีดังต่อไปนี้
          1) โอนขายทริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่กระทำในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
          2) โอนขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่กระทำผ่านนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
          3) โอนขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ให้แก่ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (ผู้ซื้อ) ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
          4) โอนขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่กระทำโดยผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (ผู้ขาย) ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
3. ระยะเวลาบังคับใช้          ? ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
1 เป็นศูนย์กลางหรือเครือข่ายในการซื้อหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล (กระดานเทรด) โดยการจับคู่หรือหาคู่สัญญามาให้หรือการจัดระเบียบหรืออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่ต้องการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถกระทำการดังกล่าว ได้สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจากสำนักงาน ก.ล.ต. เช่น บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BITKUB) และบริษัท วาฬ เอ็กเชนจ์ จำกัด (WAANX)
2 เป็นผู้ให้บริการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่คนอื่น เป็นการค้าปกติ โดยอาจจะมีการส่งคำสั่งไปที่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัลก็ได้ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจากสำนักงาน ก.ล.ต. เช่น บริษัท ฟินันเซีย ดิจิทัล แอสเซท จำกัด (FDA) และบริษัท อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด (INVX)
3 เป็นผู้ให้บริการหรือแสดงความพร้อมในการบริการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในนามของตนเอง เป็นการค้าปกติโดยกระทำนอกศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัลจากสำนักงาน ก.ล.ต. เช่น บริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด (XSPRING) และบริษัท คอยส์ ทีเอช จำกัด (COINS TH)
4 สกุลเงินดิจิทัลที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละสกุลจะเรียกเป็นเหรียญ (coin) เช่น     บิตคอยน์ [Bitcoin (BTC)] ไบแนนซ์ [Binance (BNB)] และ อีเทอเรียม [Ethereum (ETH)]
5 โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน เช่น เหรียญบุพเพสันนิวาสโทเคน (Destiny Token) และ เหรียญสิริ ฮับ โทเคน (Siri Hub Token)
6 โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ เช่น เจฟินคอยน์ (JFin Coin) เป็นโทเคนดิจิทัลของบริษัทในกลุ่ม Jaymart ระดมทุนผ่าน ICO [การเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่อประชาชน [Initial Coin Offering)] เพื่อนำไปพัฒนาระบบ Decentralized Digital Landing Platform (DDLP) หรือการให้คนกู้เงินดิจิทัลผ่านระบบบดิจิทัล โดยการระดมทุนผ่าน ICO ซึ่งบริษัท JVentures (JVC) เป็นคนขายเหรียญ JFIN Coin ให้กับผู้ลงทุน แล้วเอาเงินจากการระดมทุนไปให้ลูกค้าในกลุ่ม (JFintech) ใช้ในการพัฒนา DDLP ต่อไป ทั้งนี้ลูกค้าที่ถือเหรียญ JFIN Coin ก็อาจจะมาใช้เหรียญที่ตนถือในการเข้าใช้ประโยชน์ใน DDLP ได้ด้วย เช่น การแลกของรางวัลแปลงคูปอง Voucher เป็นต้น
7 ตลาดรอง คือ เป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายเปลี่ยนมือตราสารทางการเงินรวมทั้งสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างผู้ลงทุนด้วยกันเองซึ่งได้ซื้อขายผ่านตลาดแรกมาแล้ว ตัวอย่างตลาดรองของสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น บิทคับ (แพลตฟอร์มของไทย) และไบแนนซ์ (แพลตฟอร์มต่างประเทศ) ส่วนตลาดแรก คือ ICO การเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่อประชาชน เป็นแพลตฟอร์มแรกในการทำธุรกรรมเพื่อระดมทุนสร้างสินทรัพย์ทางการเงินรวมทั้งสินทรัพย์ดิจิทัล (ทำได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น) โดยมีผู้ต้องการลงทุนเป็นผู้ซื้อเพื่อจะนำไปซื้อขายเปลี่ยนมือต่อเพื่อแสวงหาผลกำไร ซึ่งจะต้องซื้อขายตลาดแรกให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะนำไปซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรอง

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                    1. การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรณีที่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม กรณีการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังสถาบันเกษตรกร และกรณีการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยัง ส.ป.ก. จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ประสงค์จะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น บุคคลผู้ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทายาทโดยธรรมของบุคคลดังกล่าว และสถาบันเกษตรกรที่ประสงค์จะรับโอนสิทธิในที่ดินของบุคคลนั้นจะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ อนึ่ง การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ประสงค์จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินคืนให้ ส.ป.ก. จะดำเนินการใช้จ่ายจากเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามนัยมาตรา 9 วรรคสาม*          แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
                    2. การออกกฎกระทรวงตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม             พ.ศ. 2518 เข้าลักษณะของบทบัญญัติที่จะต้องมีการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กฎหมายบัญญัติก่อนจึงจะทำให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายได้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 วรรคสอง                   แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562                     ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ออกไปอีก 1 ปี นับแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
กำหนดบทนิยาม          ? ?ผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม? หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
? ?หนี้ที่เกิดกับสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการกับ ส.ป.ก.? หมายความว่า หนี้ที่เกิดกับสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการกับ ส.ป.ก. เฉพาะกรณีที่สถาบันการเงินดังกล่าวได้รับหนังสือแสดงสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไว้เป็นหลักประกันและให้หมายความรวมถึงหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดิน
? ?ส.ป.ก. จังหวัดแห่งท้องที่? หมายความว่า สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่อันเป็นที่ตั้งของที่ดิน
การแจ้ง การยื่นเอกสารและหลักฐานหรือการติดต่อใด ๆ          ? กำหนดให้การแจ้ง การยื่นเอกสารและหลักฐาน หรือการติดต่อใด ๆ และการออกเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ดำเนินการที่     ส.ป.ก. จังหวัดแห่งท้องที่
การตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม          ? กำหนดกรณีที่ผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมถึงแก่ความตายหรือศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดก โดยการแบ่งสิทธิจะต้องอยู่ภายใต้บรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ เช่น กรณีไม่มีทายาทโดยธรรมหรือมีแต่ไม่ประสงค์จะรับสิทธิในที่ดิน ให้ตกเป็นของ ส.ป.ก. รวมทั้งได้กำหนดให้คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ถือเป็นทายาทโดยธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับหลักการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
? กำหนดให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้จัดการมรดกที่ประสงค์จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินมรดก ต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ให้ ส.ป.ก. จังหวัดแห่งท้องที่ตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อออกหนังสือรับรองการโอนสิทธิในที่ดินให้แก่ทายาทโดยธรรมไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ประกอบการแบ่งแยกหรือโอน
? กำหนดให้ทายาทโดยธรรมที่ได้รับที่ดินมรดกจะต้องใช้ที่ดินประกอบเกษตรกรรม หากใช้ที่ดินโดยฝ่าฝืน ให้ ส.ป.ก. แจ้งเตือนเป็นหนังสือเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่แก้ไขให้ถูกต้อง ให้ ส.ป.ก. มีคำสั่งโอนสิทธิในที่ดินคืนให้    ส.ป.ก.
การแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังสถาบันเกษตรกร          ? กำหนดให้ผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวสามารถโอนสิทธิในที่ดินให้แก่สถาบันเกษตรกรเพื่อชำระหนี้ ?ทั้งหมด? หรือ ?บางส่วน? ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ได้รับสิทธิที่ประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมต่อไป ยังคงเหลือที่ดินบางส่วนมาใช้ประกอบเกษตรกรรม
? กำหนดให้ผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวที่ประสงค์จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ให้ ส.ป.ก. จังหวัดแห่งท้องที่ทราบว่าเป็นการโอนสิทธิในที่ดินเพื่อชำระหนี้กันจริง เพื่อให้มีหนังสือรับรองการโอนสิทธิให้แก่สถาบันเกษตรกรหรือผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ประกอบการแบ่งแยกหรือโอน
? กำหนดแนวทางปฏิบัติการใช้ประโยชน์ที่ดินของสถาบันเกษตรกรภายหลังจากที่ได้รับโอนสิทธิในที่ดิน โดยจะต้องใช้ที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมและจะทำการแบ่งแยกหรือโอนไปยังผู้อื่น หรือนำไปให้บุคคลอื่นเช่าไม่ได้เว้นแต่กรณีตามที่กำหนด เช่น การให้เจ้าของเดิมหรือทายาทโดยธรรมของเจ้าของเดิมซื้อคืน หรือให้เจ้าของเดิม ทายาทโดยธรรมของเจ้าของเดิมหรือเกษตรกรอื่นตามลำดับ เช่าเพื่อประกอบเกษตรกรรม ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของเดิม นอกจากนี้ ได้กำหนดให้ ส.ป.ก. แจ้งเตือนสถาบันเกษตรกรเมื่อฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามที่กำหนด หากไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลา หรือสถาบันเกษตรกรเลิกกิจการ ให้ ส.ป.ก. มีคำสั่งให้สถาบันเกษตรกรหรือผู้ชำระบัญชีของสถาบันเกษตรกรนั้นโอนสิทธิคืนให้ ส.ป.ก.
การแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยัง ส.ป.ก.          ? กำหนดให้ผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวอาจแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินบางส่วนหรือทั้งหมดคืนให้ ส.ป.ก. โดยจะขอรับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ ให้ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ไปยัง ส.ป.ก. จังหวัดแห่งท้องที่ พร้อมสำเนาหนังสือแสดงสิทธิหรือแผนที่แสดงที่ตั้งที่ดินโดยสังเขป
? กำหนดให้การแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยัง ส.ป.ก. โดยขอรับค่าตอบแทนให้ ส.ป.ก. จังหวัดแห่งท้องที่จัดทำความเห็นและรายงานผลการตรวจสอบเกี่ยวกับ            1) สภาพความเหมาะสมทางการเกษตรของที่ดิน และลักษณะการทำประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2) ภาระผูกพันเหนือที่ดิน รวมตลอดทั้งหนี้ที่เกิดกับสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการกับ ส.ป.ก. และ 3) ราคาประเมินที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ เพื่อส่งให้ ส.ป.ก. พิจารณาสำหรับกรณีที่ไม่ขอรับค่าตอบแทน ให้ ส.ป.ก. จังหวัดแห่งท้องที่ส่งเรื่องให้ ส.ป.ก. เพื่อรับโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าวได้เลย
? กำหนดค่าตอบแทนกรณีที่ผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวแจ้งความประสงค์จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินให้แก่ ส.ป.ก. เป็นไปตาม ?ราคาประเมินที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ? โดยกำหนดให้จ่ายเฉพาะ ?ค่าที่ดิน? เท่านั้น ไม่รวมค่าสิ่งปลูกสร้างหรือทรัพย์สินอื่นที่ติดอยู่กับที่ดินและสามารถหักค่าภาระผูกพันเหนือที่ดินหรือหนี้ที่เกิดกับสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการกับ ส.ป.ก รวมทั้งหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ แต่ ส.ป.ก. จะรับผิดชอบแต่เฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าที่ดินเท่านั้น
? กำหนดให้ผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวรื้อถอนทรัพย์สินที่ติดอยู่กับที่ดินออกไปภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่รื้อถอน ส.ป.ก. มีอำนาจเข้ารื้อถอนหรือขายทอดตลาดได้โดย ส.ป.ก. มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้จากการขายทอดตลาด หักแล้วเหลือเงินเท่าใดก็ให้แจ้งผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวมารับคืนไป ส่วนกรณีที่ผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวสละสิทธิในทรัพย์สิน ให้ ส.ป.ก. เข้ารื้อถอนแล้วนำออกขายทอดตลาดได้เงินมาเท่าใดก็ให้ตกเป็นของ ส.ป.ก.
? กำหนดให้ในกรณีที่ที่ดินมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประกอบเกษตรกรรมอันเนื่องมาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดของผู้ได้รับสิทธิดังกล่าว และไม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับที่ดินเนื่องจากรับโอนโดยจ่ายค่าตอบแทน ส.ป.ก. จะไม่รับคืนที่ดินก็ได้ หรือรับโอนคืนเฉพาะที่ดินที่มีสภาพที่เหมาะสมเพื่อจะนำไปจัดให้กับเกษตรกรรายอื่นต่อไป
? กำหนดให้ ส.ป.ก. ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวและ ส.ป.ก. จังหวัดแห่งท้องที่ เพื่อให้มาทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินและรับค่าตอบแทน เมื่อผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวใช้ที่ดินโดยฝ่าฝืนกรณีตามที่กำหนดและกำหนดค่าตอบแทนกรณีที่มีการใช้ที่ดินโดยฝ่าฝืน ให้จ่ายในราคา ?ค่าเช่าซื้อ? ที่ผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวได้เช่าซื้อไปจาก ส.ป.ก.
* มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติให้การใช้จ่ายเงินของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้กระทำได้เฉพาะการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
                      1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2553 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ รวม 13 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) การศึกษา             (3) เทคโนโลยี (4) นิติศาสตร์ (5) นิเทศศาสตร์ (6) บริหารธุรกิจ (7) รัฐประศาสนศาสตร์ (8) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (9) วิทยาศาสตร์ (10) วิศวกรรมศาสตร์ (11) ศิลปศาสตร์ (12) เศรษฐศาสตร์ และ (13) สาธารณสุขศาสตร์
                     2. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้มีการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ และเปิดสอนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์เพิ่มขึ้น และเพิ่มเติมชั้นปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์             จึงจำเป็นต้องกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา รวมทั้งสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว โดยในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 และครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ และอนุมัติหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ตามลำดับ และสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว
                     3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ และเพิ่มเติมชั้นปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยี ดังนี้
                                3.1 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
                                           3.1.1 สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
                                                    (ก) เอก เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                                    (ข) โท เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ม.?
                                                     (ค) ตรี เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.บ?
                                         3.1.2 สาขาวิชาเทคโนโลยี มีปริญญาสองชั้น คือ
                                                   (ก) โท เรียกว่า ?เทคโนโลยีมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.ม.?
                                                   (ข) ตรี เรียกว่า ?เทคโนโลยีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.บ.?
                               3.2 กำหนดสีประจำสาชาวิชาสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สีม่วงอมชมพู
                      4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 แล้ว
                      สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                      กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์เพิ่มขึ้น และกำหนดปริญญาชั้นปริญญาโทเพิ่มขึ้นในสาขาวิชาเทคโนโลยี

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
                      1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี รวม 12 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) การแพทย์แผนไทย (3) การศึกษา (4) นิติศาสตร์ (5) บริหารธุรกิจ (6) พยาบาลศาสตร์ (7) รัฐประศาสนศาสตร์ (8) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (9) วิทยาศาสตร์ (10) วิศวกรรมศาสตร์ (11) ศิลปศาสตร์ และ (12) สาธารณสุขศาสตร์
                      2. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีได้เปิดสอนสาขาวิชารัฐศาสตร์เพิ่มขึ้น 1  สาขาวิชา ซึ่งในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566) และสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว
                     3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชารัฐศาสตร์ รวมทั้งสีประจำสาขาวิชา ดังนี้
                                3.1 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชารัฐศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
                                         (ก) เอก เรียกว่า ?รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ร.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                         (ข) โท เรียกว่า ?รัฐศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ร.ม.?
                                          (ค) ตรี เรียกว่า ?รัฐศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ร.บ.?
                                3.2 กำหนดสีประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ สีเหลืองดอกพะยอม
                     4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 แล้ว
                      สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                      1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด                แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ           แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท              แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      2. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป และรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ คค.เสนอว่า
                      1. เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีความจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชน โดยจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 และจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 เพื่อดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ลักษณะ และการเข้าใช้ประโยชน์บน เหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ เพื่อการวางแผนหรือออกแบบกิจการขนส่งมวลชนในบริเวณโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าว
                      2. โครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร มีลักษณะโครงสร้างใต้ดินทั้งหมด 11 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้ดินวิ่งไปตามแนวทางรถไฟเดิมไปยังโรงพยาบาลศิริราช (สถานีศิริราช) จากนั้น วิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้พื้นที่ถนนราชดำเนิน ผ่านสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเบี่ยงเส้นทางไปตามแนวถนนหลานหลวงจนถึงแยกยมราช เลี้ยวขวาไปตามถนนเพชรบุรีจนถึงสี่แยกประตูน้ำ เลี้ยวซ้ายใต้ถนนราชปรารภ ตรงไปถึงสามเหลี่ยมดินแดง และเลี้ยวขวาตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต เลี้ยวขวาผ่านศาลาว่าการ กทม. 2 และเบี่ยงขวาลอดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ ไปสิ้นสุดปลายทางที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีที่ดินที่จะต้องเวนคืนประมาณ 380 แปลง รวมทั้งมีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอนประมาณ 400 หลัง
                     3. คณะกรรมการ รฟม. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2560 ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการตราร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน รวม 2 ฉบับ ตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ ? ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                      4. รฟม. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าวตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
                      5. สำนักงบประมาณแจ้งว่า จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ รฟม. ตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามแผนการใช้จ่ายเงินเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว
                      สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 2 ฉบับ
                      กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนและกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการ เพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กทม. เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจร และการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด มีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี

7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลใหม่ ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ?.
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                      1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลใหม่ ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      2. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                      1. เนื่องจากโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 สายถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ตอนบ้านบึงขามทะเลสอ - บ้านหนองบัวศาลา บริเวณจุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี - สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) ที่ตำบลหนองงูเหลือม - บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 สายหัวทะเล - วารินชำราบ ที่ตำบลพระพุทธ รวมทางแยกต่างระดับ (INTERCHANGE 2) จุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ และพัฒนาโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน โดยดำเนินการบูรณะซ่อมแซมให้ได้มาตรฐาน หรือให้เหมาะสมกับสภาพการให้บริการในปัจจุบันเพื่อรองรับปริมาณการจราจร ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การค้า และการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงพื้นที่สำคัญและลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างพื้นที่ ซึ่งช่วยให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศลดลง นอกจากนี้ ยังช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัดในตัวเมืองนครราชสีมา ลดอุบัติเหตุ เพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับจราจร ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วแก่การจราจรและขนส่ง โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองนครราชสีมา แก้ปัญหาจุดตัดกับทางรถไฟและรองรับปริมาณจราจรทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา
                     2. ลักษณะโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 สายถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ตอนบ้านบึงขามทะเลสอ - บ้านหนองบัวศาลา บริเวณจุดตัดทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2 สายสระบุรี - สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) ที่ตำบลหนองงูเหลือม - บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 สายหัวทะเล - วารินชำราบ ที่ตำบลพระพุทธ รวมทางแยกต่างระดับ (INTERCHANGE 2) จุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ในท้องที่ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลใหม่ ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา มีจุดเริ่มต้น ที่ กม. 9+200 - กม.13+100 วงเงินการก่อสร้าง 1,700,000,000 บาท มีปริมาณทรัพย์สินที่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ประกอบด้วย ที่ดินประมาณ 27 แปลง สิ่งปลูกสร้างประมาณ 5 ราย และพืชผลต้นไม้ประมาณ            9 ราย รวมค่าทดแทนในการเวนคืน รวมเป็นเงินประมาณ 115,523,389 บาท
                     3. โดยโครงการดังกล่าวมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืน เพื่อให้การสร้างทางหลวงดังกล่าวเป็นไปตามแผนการที่กำหนดไว้ และเพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจร และการขนส่งทางบกอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน
                       4. กรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเขตพื้นที่โครงการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 68.90
                     5. สำนักงบประมาณแจ้งว่า จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กรมทางหลวงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                      กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลใหม่ ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. .... เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 290 สายถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ตอนบ้านบึงขามทะเลสอ - บ้านหนองบัวศาลา บริเวณจุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี - สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) ที่ตำบลหนองงูเหลือม - บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 สายหัวทะเล - วารินชำราบ ที่ตำบลพระพุทธ รวมทางแยกต่างระดับ (INTERCHANGE 2) จุดตัดทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2 มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี และกำหนดให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ?.
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                      1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     2. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                      1. เนื่องจากโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3329 ทางสายตาคลี - หนองหลวง ตอนตาคลี - หนองหลวง ที่ กม. 11 + 341 เป็นการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ บนทางหลวงหมายเลข 3329 จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ ลดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางหลวงกับทางรถไฟ อีกทั้งยังเป็นการรองรับรถไฟสายทางคู่ สายลพบุรี - ปากน้ำโพ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพความคล่องตัวในการเดินทาง (Mobility) บริเวณดังกล่าว และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในส่วนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่ง รวมทั้งโครงการดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติกส์ ฉบับที่ 3 ดังนั้น โครงการก่อสร้างทางหลวงดังกล่าว จะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ และระหว่างประเทศอีกทางหนึ่ง
                     2. ลักษณะโครงการการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3329 ทางสายตาคลี - หนองหลวง ตอนตาคลี - หนองหลวง ที่ กม. 11 + 341 จังหวัดนครสวรรค์ ในท้องที่ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีจุดเริ่มต้น ที่ กม. 9 + 547.918  - กม. 13  + 100.000 รวมระยะทาง 3.552.082 กิโลเมตร วงเงินการก่อสร้าง 300,000,000 บาท มีปริมาณทรัพย์สินที่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ประกอบด้วย ที่ดินประมาณ 37 แปลง         สิ่งปลูกสร้างประมาณ 12 ราย พืชผลต้นไม้ประมาณ 28 ราย รวมจำนวนเงินค่าทดแทนเป็นเงินประมาณ 14,157,989 บาท
                     3. กรมทางหลวงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3329 ทางสายตาคลี - หนองหลวง ตอนตาคลี - หนองหลวง ที่ กม. 11 + 341 จังหวัดนครสวรรค์ ในท้องที่ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการสาธารณูปโภค รวมทั้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด
                     4. กรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเขตพื้นที่โครงการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 75.50
                      5. สำนักงบประมาณ แจ้งว่า จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กรมทางหลวงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3329 ทางสายตาคลี ? หนองหลวง ตอนตาคลี - หนองหลวง ที่ กม. 11 + 341 จังหวัดนครสวรรค์ มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                      สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                      ร่างกฎกระทรวงแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
                      1. ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. 2548
                     2. กำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และให้บัตรประจำตัวเจ้าพนักงานดังกล่าวใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในบัตรแต่ต้องไม่เกิน 6 ปีนับตั้งแต่วันออกบัตร และจะออกบัตรหรือแสดงบัตรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
                      3. กำหนดผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข มีดังนี้
                                 (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สำหรับเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป
                                (2) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการนั้น สำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุขซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการและพนักงานราชการในสังกัด
                                (3) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับเจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเมืองพัทยา และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้าราชการ พนักงานราชการในหน่วยงานของส่วนราชการ ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค
                                (4) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                                 (5) นายกเทศมนตรี เจ้าพนักงานสาธารณสุขสำหรับพนักงานเทศบาล ในเขตเทศบาล      และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นสำหรับพนักงานเทศบาลในเขตเทศบาล
                                (6) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าพนักงานสาธารณสุขสำหรับพนักงานส่วนตำบลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นสำหรับ พนักงานส่วนตำบลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
                                (7) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานสาธารณสุขสำหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครในเขตกรุงเทพมหานคร และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นสำหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครในเขตกรุงเทพมหานคร
                                (8) นายกเมืองพัทยา เจ้าพนักงานสาธารณสุขสำหรับพนักงานเมืองพัทยา ในเขตเมืองพัทยา และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นสำหรับพนักงานเมืองพัทยาในเขตเมืองพัทยา
                      4. กำหนดให้บัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามความในกฎกระทรวงกำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้า พนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. 2548 ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุหรือมีการออกบัตรใหม่ตามกฎกระทรวงนี้ แต่ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการคืนหรือการชดใช้คืนซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดและการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการคืนหรือการชดใช้คืนซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดและการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                      สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                      กำหนดระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน สรุปได้ดังนี้
                       1. กำหนดบทนิยามคำว่า ?คำร้อง? หมายความว่า คำร้องเพื่อขอรับคืน หรือชดใช้คืนซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย
                      2. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการยื่นคำร้อง และวิธีการตรวจสอบ และรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหายและความเสียหาย ดังนี้
                                 2.1 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน และคณะกรรมการ ธุรกรรมหรือเลขาธิการ ปปง. ได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว เนื่องจากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือกรณีไม่มีการออกคำสั่งดังกล่าวและคณะกรรมการธุรกรรมมีมติให้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด แล้วแต่กรณี ให้สำนักงาน ปปง. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ปปง. เพื่อแจ้งให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องตามแบบที่เลขาธิการ ปปง. กำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 90 วันนับแต่ประกาศราชกิจจานุเบกษา
                                 2.2 ในการยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระบุข้อความให้ถูกต้องครบถ้วน พร้อมทั้งแนบหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน อาทิ สำเนาคำพิพากษาให้ได้รับคืนทรัพย์สินหรือได้รับชดใช้คืนหรือชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำความผิดมูลฐาน สำเนาหลักฐานการร้องทุกข์ และสำเนาหลักฐานการฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำความผิดมูลฐาน โดยสามารถยื่นคำร้องด้วยตนเอง หรือยื่นทางไปรษณีย์ หรือยื่นผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือช่องทางอื่น ตามที่เลขาธิการ ปปง. ประกาศกำหนด
                                 2.3 กำหนดให้บุคคลอื่นสามารถยื่นคำร้องหรือดำเนินการอื่นใดที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้แทนผู้เสียหายได้เฉพาะกรณี ได้แก่ 1) ผู้แทนโดยชอบธรรม กรณีผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้เยาว์ที่สามารถเข้าใจสาระสำคัญแห่งการกระทำของตนที่จะดำเนินการด้วยตนเอง 2) ผู้อนุบาล กรณีผู้เสียหายเป็นคนไร้ความสามารถ 3) ทายาทหรือผู้จัดการมรดก กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย และ 4) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีหรือภริยา กรณีที่ผู้เสียหายบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองและไม่อาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนได้
                                2.4 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหาย ดังนี้
                                          (1) กรณีความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน หรือบริการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำหนังสือถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหาย จำนวนความเสียหาย และสถานะการดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
                                          (2) กรณีความผิดมูลฐานที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร ซึ่งสำนักงาน ปปง. ได้รับรายงานความผิดมูลฐานนั้นจากหน่วยงานของรัฐต่างประเทศ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำหนังสือถึงหน่วยงานดังกล่าวเพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหาย จำนวนความเสียหาย และสถานะการดำเนินคดีตามกฎหมายเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายนั้น
                      3. กำหนดให้เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำร้องว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ถูกต้องครบถ้วนให้แจ้งผู้ยื่นคำร้องทราบและดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด และเมื่อได้รับคำร้องถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหายและความเสียหายเสร็จแล้ว ให้เร่งจัดทำรายงานพร้อมความเห็นต่อเลขาธิการ ปปง. โดยเร็ว เพื่อให้ความเห็นชอบในการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาต่อไป
                      4. กำหนดให้เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายแล้ว ให้เลขาธิการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไปโดยเร็ว แต่หากมีมติไม่เห็นชอบ ให้คำร้องหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหายและความเสียหายนั้นตกไป และให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้เสียหายหรือบุคคลอื่นตามข้อ 2.3 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว
                      5. กำหนดให้ผู้เสียหายหรือบุคคลอื่นหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ไม่เห็นด้วยกับมติคณะกรรมการธุรกรรม ให้มีสิทธิร้องขอให้คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาทบทวนได้ โดยจัดทำเป็นหนังสือระบุข้อโต้แย้งและเหตุผล พร้อมด้วยพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ยื่นต่อเลขาธิการ ปปง.  ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติดังกล่าว
                      6. กำหนดให้เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ให้สำนักงาน ปปง. ดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลโดยเร็ว โดยให้นำทรัพย์สินดังกล่าวขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นตามที่เห็นสมควร และนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดหรือการจำหน่ายโดยวิธีอื่นไปชดใช้คืนหรือชดใช้ค่าเสียหาย

11. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ดังนี้
                      1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
                      2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
                      ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ เป็นการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมที่กำหนดให้จัดทำพระราชบัญญัติตามมาตรา 70 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งบัญญัติให้รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดำรงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิม ตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ หรือสุขภาพอนามัย โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกของภาครัฐในการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กำหนดให้มีสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยกันและระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กับสังคม กำหนดให้มีการจัดทำข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติในการคุ้มครองให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมทั้งใช้ในการประกาศพื้นที่คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และกำหนดให้มีการประกาศพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อให้ประชาชนและชุมชนที่อยู่ภายในพื้นที่มีสิทธิอยู่อาศัย และใช้ประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติได้ตามวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ของตน
                      กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ และได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว รวมทั้งได้จัดทำแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รวม 11 ฉบับ
                      สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                      1. คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
                                1.1 กำหนดให้มี ?คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์? ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 8 คน [ได้แก่ (1) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี     (2) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (3) ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (4) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (5) ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (6) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (7) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ (8) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวน 5 คน กรรมการผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยการสรรหาของสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย จำนวน 6 คน และกรรมการผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 2 คน และให้ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร องค์การมหาชน (ศมส.) เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของ ศมส. จำนวนไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
                               1.2 กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ มีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เช่น กำหนดนโยบายและมาตรการการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ให้คำแนะนำแก่คณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและรับรองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ กำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีต่อกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปปฏิบัติต่อไป จัดให้มีระบบและมาตรการในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่กลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งกำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขเยียวยาการละเมิดสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น
                               1.3 กำหนดให้ ศมส. ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
                     2. สมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย
                               2.1 กำหนดให้มีการจัดตั้ง ?สมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย? ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเลือกกันเองภายในกลุ่มที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ กับ ศมส. กลุ่มละไม่เกิน 5 คน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนกลุ่มชาติพันธุ์และการเลือก สมาชิกให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมประกาศกำหนด โดยให้ที่ประชุมสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยประชุมกันเพื่อเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการ
                               2.2 กำหนดให้สมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต่าง ๆ เช่น เป็นศูนย์กลางในการประสานงานแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กับสังคม เสนอนโยบาย มาตรการคุ้มครอง และส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ต่อคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มชาติพันธุ์มีส่วนร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการจัดการ บำรุงรักษา อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติหรือความหลากหลายทางชีวภาพ พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนสมัชชาในการเข้าร่วมประชุมหรือมีบทบาทในฐานะตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี เป็นตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น
                               2.3 กำหนดให้มี ?คณะกรรมการบริหารสมัชชา? ประกอบด้วย ประธานสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย เป็นประธาน และกรรมการอื่นอีกจำนวนไม่เกิน 15 คน ซึ่งที่ประชุมสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยเลือกจากสมาชิก และให้เลขานุการสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยเป็นเลขานุการของคณะกรรมการบริหารสมัชชา โดยคณะกรรมการบริหารสมัชชามีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารและดำเนินการของสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของตน
                               2.4 กำหนดให้สมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยแต่งตั้งคณะผู้อาวุโส ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์หรือเป็นผู้ทรงภูมิปัญญาชาติพันธุ์ เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่สมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยในการดำเนินงานคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และการดำเนินงานของสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย รวมทั้งทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประเด็นปัญหาที่ไม่สามารถหาข้อยุติในสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยได้
                       3. ข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์
                                3.1 กำหนดให้มี ?คณะกรรมการจัดทำข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์? ประกอบด้วยผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เป็นประธานกรรมการ กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการ ศมส. จำนวน 1 คน กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 3 คน [ได้แก่ (1) อธิบดีกรมการปกครอง (2) อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และ (3) ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ] กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการบริหารสมัชชา จำนวน 2 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์แต่งตั้ง จำนวน 7 คน และให้ผู้อำนวยการ ศมส. เป็นกรรมการและเลขานุการ
                                3.2 กำหนดให้คณะกรรมการจัดทำข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ พื้นที่ชุมชน พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน พื้นที่ทางวัฒนธรรม และจิตวิญญาณ ข้อมูลบุคคล และข้อมูลวิถีชีวิตและมรดกทางวัฒนธรรมและภาษา โดยการจัดทำ ข้อมูลดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
                                          (1) เพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและมีการรับรองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
                                          (2) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามกฎหมายในการรับรองสถานะบุคคล
                                          (3) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการประกาศพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
                                          (4) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการประกาศและเพิกถอนเขตพื้นที่ที่มีกฎหมายกำหนดเพื่อการอนุรักษ์หรือการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการดำเนินกิจการอื่นของรัฐที่กระทบต่อวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์
                                         (5) เพื่อเผยแพร่การรับรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ การส่งเสริมให้มีการเรียนรู้วิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ และให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักในความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์
                     4. พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
                                4.1 กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ มีอำนาจกำหนดพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยก่อนการประกาศพื้นที่ดังกล่าวให้ชุมชนจัดทำแผนแม่บทและแผนที่แสดงพื้นที่การจัดการพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้ ให้ ศมส. สนับสนุนชุมชนในการจัดทำแผนแม่บทและแผนที่ดังกล่าว โดยขอให้หน่วยงานของรัฐในพื้นที่มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บทและแผนที่ดังกล่าวด้วย
                                4.2 เมื่อคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ได้ประกาศพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์แล้ว ให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานของรัฐในพื้นที่และผู้แทนของชุมชนในพื้นที่ จำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน โดยมีผู้แทนหน่วยงานของรัฐจำนวนไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนคณะกรรมการ
                                4.3 กำหนดให้คณะกรรมการบริหารพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ มีอำนาจหน้าที่จัดทำธรรมนูญของพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย สิทธิและหน้าที่ของประชาชนในพื้นที่ทำกิน พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่วัฒนธรรมและจิตวิญญาณ และพื้นที่สงวนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การทำนุบำรุงรักษาสืบทอดศิลปวัฒนธรรมและภาษา มาตรการบังคับใช้ธรรมนูญพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับแผนแม่บทและแผนที่แสดงพื้นที่การจัดการพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ตามข้อ 4.1 รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ เช่น จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินการตามแผนแม่บท เสนอแนะการปรับปรุงแผนแม่บทต่อคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น
                               4.4 ให้ประชาชนและชุมชนที่อยู่ภายในพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติตามที่กำหนดในธรรมนูญของพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ตามข้อ 4.3 และไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่บุคคลใดได้ เว้นแต่การสืบทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม โดยสิทธิใช้ประโยชน์ดังกล่าว เช่น ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อการอยู่อาศัย การสาธารณูปโภค การเกษตรกรรม การประมง การเลี้ยงสัตว์ และการสาธารณะของชุมชน กระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อการทำกินตามวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ปฏิบัติพิธีกรรมตามประเพณีและจิตวิญญาณของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การใช้ประโยชน์ดังกล่าวต้องเป็นไปอย่างสมดุลและยั่งยืน ไม่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กำหนด

เศรษฐกิจ-สังคม
12. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอดังนี้
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะสินค้ากึ่งคงทนและสินค้าคงทนปรับตัวลดลง เช่น รถยนต์ เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวในกลุ่มชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤศจิกายน 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. รถยนต์ หดตัวร้อยละ 14.13 จากรถบรรทุกปิกอัพเป็นหลัก ตามการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ ผลจากความเปราะบางด้านรายได้และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ
                    2. ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 16.38 จากทิศทางของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว รวมทั้งอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนประเภทสินค้าที่ผลิตจากสินค้าในกลุ่ม home-use (ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือน) เพื่อจำหน่ายในช่วงโควิด มาผลิตในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมแทน เช่น ยานยนต์ IOT เป็นต้น ทำให้มีจำนวนผลิตลดลงแต่ราคาต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
                    3. เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน หดตัวร้อยละ 14.19 จากการหยุดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย และลูกค้าไม่มีคำสั่งซื้อ โดยลูกค้าส่วนหนึ่งเลือกซื้อเหล็กนำเข้าซึ่งมีราคาถูกจากต่างประเทศทดแทน
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                    1. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 29.91 จากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลหมุนเร็วเป็นหลัก เนื่องจากในปีก่อนมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่น แต่ปีนี้มีการผลิตตามปกติ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง
                    2. เครื่องประดับเพชรพลอย ขยายตัวร้อยละ 12.91 จากสินค้าสร้อยและแหวนเป็นหลัก เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ได้รับคำสั่งจากบริษัทแม่ให้ผลิตสินค้า 2 ชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับปีนี้ผู้ผลิตมีวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

13. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2565
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้
                      1. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
                     2. เห็นชอบให้นำความเห็นหรือข้อเสนอแนะของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
                     สาระสำคัญ
                     รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2565 ของสำนักงาน ป.ป.ส. ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เป็นการรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.           ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ประกอบด้วย ผลการจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ ปีพ.ศ. 2565 รวม 194,203 คดี ผู้ต้องหา 200,669 ราย ยึดทรัพย์สิน จำนวน 11,003 ล้านบาท และผลการจับกุมพบว่า นอกจากปัญหาการลักลอบนำเข้ายาเสพติดและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้การค้ายาเสพติดเพิ่มระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง กลุ่มการค้าทุกระดับสามารถจัดหายาเสพติดได้หลายชนิดโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อซื้อขาย ควบคู่กับการใช้บริการรับส่งพัสดุภัณฑ์และขนส่งสินค้าที่มีผู้ให้บริการอยู่หลายราย ทำให้ยากต่อการตรวจจับของเจ้าหน้าที่ การกระทำความผิดของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ซึ่งใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยการเรียกเก็บทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด การกักขังหน่วงเหนี่ยว และการเสนอผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้หลุดพ้นจากคดียาเสพติด เนื่องจากอำนาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เป็นอำนาจพิเศษจากกฎหมายทั่วไป การดำเนินการใด ๆ จะกระทบต่อสิทธิของบุคคลพึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดระดับตำแหน่งที่สูงขึ้นของผู้ใช้อำนาจหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถใช้ดุลพินิจความละเอียดรอบคอบ การครองตน ครองงาน การมีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันกรณีที่อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เช่น อำนาจในการตรวจค้นในเวลากลางคืน การมีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือเรียกเอกสารหรือวัตถุใด ๆ และการควบคุมตัวผู้ถูกจับกุม โดยปัจจุบันได้มีระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2565 กำหนดคุณสมบัติและการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. และการกำกับดูแลเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ไว้อย่างชัดเจนแล้ว ส่วนกรณีที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 (มีผลใช้บังคับวันที่ 1 ตุลาคม 2566) กำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุม จนส่งตัวให้พนักงานสอบสวน หรือปล่อยตัวไป ในการปฏิบัติงานจริงมีข้อจำกัดด้านกำลังคนและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ และเหตุการณ์เฉพาะหน้า รวมทั้งยังไม่มีช่องทางที่สะดวกในการแจ้งการควบคุมตัวกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบได้ทันทีตามที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้ให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการจัดทำร่างระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปัจจุบันระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566) เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. สอดคล้องกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบการควบคุมตัว เร่งเตรียมการให้พร้อมรองรับการปฏิบัติงาน เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายมีมาตรการและกลไกที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยเร็ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยกับรายงานดังกล่าว
                      รายงานผลปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2565 ของสำนักงาน ป.ป.ส. ดังกล่าว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีความเห็น หรือข้อเสนอแนะว่า สำนักงาน ป.ป.ส. ควรร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการในการควบคุมตรวจสอบการแสวงหาประโยชน์จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ควบคู่กับการใช้บริการรับส่งพัสดุภัณฑ์และขนส่งสินค้าที่มีผู้ให้บริการอยู่หลายรายที่เป็นช่องทางในการติดต่อ ซื้อขายยาเสพติด ส่วนกรณีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจหน้าที่ตรวจค้น การใช้อำนาจในการมีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคล หรือเจ้าหน้าที่มาให้ถ้อยคำ หรือส่งข้อมูลเอกสาร รวมทั้งการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัว ควรกำหนดแนวทางปฏิบัติ จัดให้มีการศึกษาอบรมให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน และเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อจำกัดช่องทางในการแจ้ง การควบคุมตัวกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบได้ทันทีตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

14. เรื่อง แผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบผลการดำเนินงาน การจัดเก็บรายได้ และการใช้จ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    2. เห็นชอบแผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่ายและประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (แผนการดำเนินงานฯ) วงเงินงบประมาณรายจ่าย 1,095.162 ล้านบาท และประมาณการรายได้ 1,095.460 ล้านบาท
                    เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (27 ธันวาคม 2565) ดังนี้
                    1. รับทราบแผนปฏิบัติการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ประกอบด้วย       5 วัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ (1) ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ มีความมั่นคง ทั่วถึง และมีความเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต (2) ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานอย่างเป็นธรรมในอัตราค่าบริการที่เหมาะสม สะท้อนต้นทุนการประกอบกิจการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ (3) กำกับการประกอบกิจการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (4) ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน ชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และผู้รับใบอนุญาตในการมีส่วนร่วม เข้าถึง ใช้ และจัดการด้านพลังงานภายใต้หลักเกณฑ์ที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และ (5) การบริหารจัดการองค์กรที่มีธรรมาภิบาล และได้มาตรฐานสากล
                    2. เห็นชอบเผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ. วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,000.256 ล้านบาท ประมาณการรายได้ จำนวน 1,000.818 ล้านบาท
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พน. รายงานว่า
                    1. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และสำนักงาน กกพ. ได้ดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีผลการดำเนินงาน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ประเด็น          ผลการดำเนินงาน
(1) ส่งเสริมการมุ่งสู่พลังงานสะอาด           - กำกับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ภาคประชาชนและโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ
Feed - in Tariff (FiT)1
- กำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff)2 เพื่อรองรับความต้องการพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นของภาคเอกชน
(2) เสริมสร้างประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการพลังงาน          - ร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่างประเทศในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานที่ยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดสัมมนาเกี่ยวกับการจัดการพลังงานกับองค์กรระหว่างประเทศหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(3) ส่งเสริมการบริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึง          - กำกับดูแลการชดเชยและอุดหนุนผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าซึ่งได้ให้บริการไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสหรือการให้บริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึง
- ศึกษาและจัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการโครงการขยายเขตไฟฟ้าไปยังพื้นที่เกาะ
(4) ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานอย่างเป็นธรรม          - ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าชธรรมชาติระยะที่ 2 โดยปรับปรุงข้อกำหนดการเปิดให้ใช้หรือเชื่อมต่อระบบส่งก๊าชธรรมชาติแก่บุคคลที่สาม3
- ปรับปรุงข้อกำหนดการให้บริการสถานีเชื้อเพลิงธรรมชาติเหลว (LNG) แก่บุคคลที่สามเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตในกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าชธรรมชาติสามารถเช้าถึงโครงสร้างพื้นฐานกิจการก๊าซธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรม
(5) กำกับอัตราค่าบริการพลังงานที่เหมาะสมกับต้นทุนการประกอบกิจการพลังงาน          - เพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ราคา LNG มีความผันผวนเนื่องจากสงครามรัสเซีย - ยูเครน
- จัดสรรก๊าซธรรมชาติที่มาจากอ่าวไทยเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยเป็นลำดับแรก
- พิจารณาปรับค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) เพื่อสะท้อนต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเท่าที่จำเป็น
- ทบทวนอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าให้สอดคล้องกับต้นทุนค่าซื้อไฟฟ้าเฉลี่ยที่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซื้อจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(6) สร้างความพึงพอใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อกิจการพลังงาน          - รับฟังข้อร้องเรียนจากผู้ใช้พลังงานที่ได้รับความเสียหาย เช่น ไฟตก ไฟดับ การเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่ถูกต้อง
- เร่งดำเนินการพัฒนาการบริหารจัดการข้อร้องเรียนแบบดิจิทัล
(7) เพิ่มขีดความสามารถทางดิจิทัลและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่หลากหลาย          - พัฒนาระบบการให้บริการอนุญาตการประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าแบบออนไลน์ (e-Services)
- ทบทวนกระบวนการบริหารงานบุคคลโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้รองรับการทำงานแบบไฮบริด (รูปแบบการทำงานที่พนักงานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งจากที่บ้านหรือที่ทำงาน)
- ส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะความรู้เท่าทันเทคโนโลยี
การจัดเก็บรายได้ และการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566
(1) การจัดเก็บรายได้           - จำนวน 1,000.818 ล้านบาท (ณ วันที่ 30 กันยายน 2566)
(2) การใช้จ่ายงบประมาณ           - คาคว่าจะใช้จ่ายจำนวน 1,000.256 ล้านบาท (ณ วันที่      30 กันยายน 2566)
- คาดว่าจะนำเงินส่งคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 0.562 ล้านบาท (มาตรา 40 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 บัญญัติให้รายได้ของสำนักงาน กกพ. เมื่อหักรายจ่ายสำหรับการดำเนินงานของสำนักงาน กกพ. และค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม เหลือเท่าใดให้นำส่งคลัง เป็นรายได้แผ่นดิน)
                    2. ครั้งนี้  กกพ. ได้จัดทำแผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่ายและประมาณการรายได้                   พ.ศ. 2567 ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาของแผนปฏิบัติการการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

  หัวข้อ          สาระสำคัญ
วิสัยทัศน์          กำกับกิจการพลังงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริมการแข่งขันให้เหมาะสมเป็นธรรม
วัตถุประสงค์ที่ 1 ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ มีความมั่นคง ทั่วถึง  และมีความเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต
เป้าหมาย          กำกับดูแลการจัดหาพลังงานให้เพียงพอ ทั่วถึง มีความมั่นคง รองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน
แนวทางการพัฒนา           (1) สนับสนุนการพัฒนาการมุ่งสู่พลังงานสะอาด
(2) เสริมสร้างประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการพลังงาน
ตัวชี้วัด          (1) ออกระเบียบและประกาศการกำกับการรับซื้อไฟฟ้าตามกรอบเวลาที่กำหนด
(2) มีระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ
ตัวอย่างแผนงาน/โครงการที่สำคัญ          (1) โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
(2) พัฒนาระบบข้อมูลการกำกับกิจการก๊าซธรรมชาติให้เกิดการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ที่ 2 ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานอย่างเป็นธรรม ในอัตราค่าบริการที่เหมาะสม สะท้อนต้นทุนการประกอบกิจการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย          (1) ก้าวเข้าสู่การแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 24
(2) ก้าวเข้าสู่การซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
(3) อัตราค่าบริการพลังงานเหมาะสม/เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนการประกอบกิจการพลังงาน
แนวทางการพัฒนา           (1) พัฒนาการกำกับกิจการก๊าซธรรมชาติเพื่อการแข่งขันที่เป็นธรรม
(2) พัฒนาการกำกับกิจการไฟฟ้าเพื่อวางรากฐานด้านการแข่งขัน โครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยีรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพลังงานใหม่ตามแนวทาง 4D1E5
(3) กำกับดูแลอัตราค่าพลังงานและส่งเสริมการวิเคราะห์ต้นทุนค่าบริการพลังงาน
ตัวชี้วัด          (1) พัฒนากฎระเบียบเพื่อให้เกิดการแข่งขันในกิจการก๊าซในระยะที่ 2
(2) พัฒนากฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการซื้อขายจากพลังงานหมุนเวียน
(3) ปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการพลังงานตามระยะเวลาที่กำหนด
ตัวอย่างแผนงาน/โครงการที่สำคัญ          (1) ติดตาม ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน
(2) โครงการพัฒนากฎระเบียบการกำกับกิจการพลังงานเพื่อรองรับการซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีพลิกโฉม (Disruptive Technology)6
(3) กำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า และศึกษา/ทบทวนโครงสร้างราคาก๊าชธรรมชาติ
ให้สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2
วัตถุประสงค์ที่ 3 กำกับการประกอบกิจการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ  มีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย          (1) สถานประกอบกิจการพลังงานมีมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐาน สิ่งแวดล้อมและมาตรฐานคุณภาพการให้บริการตามที่กำหนด
(2) มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และใช้พลังงานหมุนเวียน/
เทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
แนวทางการพัฒนา           (1) ปรับปรุงมาตรฐานการประกอบกิจการพลังงานให้ทันสมัย และผู้ประกอบการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานสิ่งแวดล้อม และคุณภาพบริการ
(2) ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
ตัวชี้วัด          1) สถานประกอบกิจการพลังงานมีมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานคุณภาพการให้บริการร้อยละ 100
(2) ปรับปรุงหลักเกณฑ์ดัชนี้ชี้วัดความยั่งยืนของโรงไฟฟ้า
ตัวอย่างแผนงาน/โครงการที่สำคัญ          (1) ตรวจสอบ/ตรวจประเมินสถานประกอบกิจการไฟฟ้า คุณภาพการให้บริการของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า
(2) กำหนดเกณฑ์และปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อนำร่องการทดสอบดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของโรงไฟฟ้า และส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับการใช้พลังงานหมุนเวียน
วัตถุประสงค์ที่ 4 ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังาน  ชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และผู้รับใบอนุญาตในการมีส่วนร่วมเข้าถึง ใช้ และจัดการด้านพลังงานภายใต้หลักเกณฑ์ที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
เป้าหมาย          (1) ผู้มีส่วนได้เสียมีความพึงพอใจต่อการกำกับกิจการพลังงาน
(2) ยกระดับการคุ้มครองสิทธิ สร้างพันธมิตรเพื่อพัฒนางานคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน
(3) ส่งเสริมชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าให้เข้มแข็ง ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและชุมชนท้องถิ่น และมีระบบการบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้าที่ทันสมัย
แนวทางการพัฒนา           (1) พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีระบบ เพื่อให้ผู้ใช้พลังงาน ชุมชนท้องถิ่นประชาชนและผู้รับใบอนุญาตมีส่วนร่วมได้อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน
(2) สร้างเครือข่ายพันธมิตรการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน
(3) การบริหารจัดการที่ทันสมัยและส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด          (1) ความพึงพอใจต่อการกำกับกิจการพลังงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากกว่าร้อยละ 85
(2) มีเครือข่ายพันธมิตรการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน จำนวน 15 จังหวัด
(3) การวางระบบการคัดเลือกโครงการชุมชนในพื้นที่ประกาศกองทุนพัฒนาไฟฟ้าให้เป็นรูปธรรม7
ตัวอย่างแผนงาน/โครงการที่สำคัญ          1) พัฒนาระบบบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล และปรับปรุงกระบวนการจัดการให้เกิดการมีส่วนร่วมแบบครบวงจร
(2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนความรู้ ความตระหนัก ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำกับกิจการพลังงาน
(3) สร้างเครือข่ายพันธมิตรด้านการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน และกำหนดแนวทางการสร้างเครือข่ายของคณะกรรมการผู้ใช้พลังงาน
วัตถุประสงค์ที่ 5 การบริหารจัดการองค์กรที่มีธรรมาภิบาลและได้มาตรฐานสากล
เป้าหมาย          (1) องค์กรมีคะแนนผลประเมิน Integrity and Transparency Assessment (ITA) ระดับ AA (ในปิงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้คะแนน ITA อยู่ในระดับ AA หรือ 96.32 คะแนน) และรักษาระบบคุณภาพองค์กรตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
(2) มีศูนย์ข้อมูลด้านการกำกับกิจการพลังงานภายในปี 2567
(3) พัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถในการเรียนรู้จัดการให้บรรลุเป้าหมายองค์กร
แนวทางการพัฒนา           (1) พัฒนาองค์กรด้วยระบบบริหารงานคุณภาพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
(2) เพิ่มขีดความสามารถองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
(3) พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคล
(4) พัฒนาศักยภาพบุคลากรแบบ Multi skill เพื่อรองรับรูปแบบธุรกิจพลังงานใหม่
ตัวชี้วัด          (1) คะแนนผลประเมิน ITA ระดับ AA และได้รับการรับรองมาตรฐานการต่อต้านการรับสินบน และรักษาระบบคุณภาพการบริหารจัดการองค์กรตามมาตรฐาน ISO
(2) มีระบบข้อมูลก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าเพื่อการกำกับกิจการพลังงาน
(3) ปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลตามแผนงาน
(4) บุคลากรเป้าหมายได้รับการอบรมและเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรแบบ Multi Skill เพื่อรองรับรูปแบบธุรกิจพลังงานใหม่ ร้อยละ 100
ตัวอย่างแผนงาน/โครงการที่สำคัญ           (1) การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลขององค์กรตามเกณฑ์ ITA และจัดโครงการรักษาระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน IS0
(2) การพัฒนาบุคลากรตามแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล และสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะ

                    3. สำนักงาน กกพ. ได้ประมาณการงบประมาณสำหรับการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงาน พัฒนาระบบการกำกับอัตราค่าบริการพลังงาน พัฒนากฎระเบียบการกำกับกิจการพลังงานเพื่อรองรับการซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยมีกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,095.162 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมการอนุญาตและการประกอบกิจการพลังงานรายปี จำนวน 1,095.460 ล้านบาท
1FIT คือ มาตรการส่งสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อจูงใจผู้ประกอบการเอกชนให้เข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามค่าไฟฐานและค่า Ft ทำให้มีราคาที่ชัดเจนและเป็นธรรม
2ไฟฟ้าสีเขียว คือ ไฟฟ้าที่ผลิตมาจากแหล่งที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เนื่องจากไม่มีการเผาไหม้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม
3บุคคลที่สาม หมายถึง ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ประกอบกิจการไฟฟ้ารายอื่นที่ประสงค์เป็นผู้ใช้บริการ หรือผู้เชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อการใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าภายใต้ TPA Code : ข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าแก่บุคคลที่สาม
4การส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ เป็นนโยบายที่ พน. ดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2560  (ระยะที่ 1) โดยมุ่งหวังให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ การให้บริการ การจัดหาต้นทุน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติที่สอดคล้องกับความต้องการใช้ของประเทศ โดยมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งปัจจุบันที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ได้เห็นชอบแนวทางระยะที่ 2 แล้ว โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ส่วน คือ ธุรกิจต้นน้ำ (จัดหาก๊าซธรรมชาติ) ธุรกิจกลางน้ำ (การแปรสภาพ การขนส่ง และการควบคุมคุณภาพ) และธุรกิจปลายน้ำ (การขายก๊าซธรรมชาติให้แก่ผู้ใช้ก๊าซธรรมขาติ)
5นโยบายด้านพลังงานของ พน. เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางพลังงาน ประกอบด้วย 4D (Digitalization Decarbonization  Decentralization De - regulation) และ1E (Electrification)
6นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่รูปแบบใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคจนสามารถแทนที่ผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีเดิมในตลาดได้ เช่น Grab ธุรกิจที่นำเอาการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ผนวกเข้าเป็นแพลตฟอร์มการเรียกรถแบบใหม่
7เป็นการดำเนินการตามมาตรา 97 (3) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่งบัญญัติให้เงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าให้ใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน

15. เรื่อง ความก้าวหน้าในการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใต้กระบวนการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้
                    1. รับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใต้กระบวนการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อด้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (United Nations Convention against Corruption: UNCAC) รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้รับในการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ ทั้ง 4 หมวด
                    2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง  กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง
พาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีสำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย  สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานอัยการสูงสุด นำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะไปพิจารณาดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานต่อไป
ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า
                    1. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ร่วมกับสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดฯ และรัฐผู้ประเมินได้จัดทำรายงานการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ รอบที่ 2 ฉบับสมบูรณ์เสร็จเรียบร้อยซึ่งถือได้ว่าไทยได้ปฏิบัติภารกิจภายใต้กระบวนการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ  ในฐานะผู้ถูกประเมินโดยครบถ้วนสมบูรณ์แล้วทั้ง 2 รอบ ได้แก่ (1) การประเมินติดตามฯ รอบที่ 1 (หมวดที่ 3 การกำหนดให้เป็นความผิดอาญาและการบังคับใช้กฎหมาย และหมวดที่ 4 ความร่วมมือระหว่างประเทศ) และ (2) การประเมินติดตามฯ รอบที่ 2 (หมวดที่ 2 มาตรการป้องกันการทุจริตและหมวดที่ 5 การติดตามทรัพย์สินคืน) ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดพิมพ์เอกสารผลผลิตของกลไกการประเมินติดตามฯ ในรูปแบบ ?เอกสารชุดอนุสัญญาฯ (UNCAC Boxset)? และเผยแพร่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.nacc.go.th/tacc/ โดยเอกสารชุดดังกล่าวประกอบด้วยอนุสัญญาฯ ฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมคำแปลภาษาไทยและรายงานการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ รอบที่ 1 และรอบที่ 2
                    2. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 122/2565 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ได้มีมติรับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ และเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของกฎหมายต่อต้านการทุจริตของไทย อันเป็นผลจากการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศในการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ รวมทั้งพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ ไปพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในความรับผิดชอบของหน่วยงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลต่อไปสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ผลการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ สรุปได้ ดังนี้
                                        (1) กฎหมายและการดำเนินการของไทยในภาพรวมมีความสอดคล้องกับ                     อนุสัญญาฯ เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ไทยได้รับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพื่อประโยชน์ในการยกระดับการอนุวัติการอนุสัญญาฯ ของไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นความซ้ำซ้อนของอำนาจหน้าที่ในความรับผิดชอบขององค์กรซึ่งกำหนดและกำกับนโยบายเพื่อป้องกันการทุจริตของไทย โดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดฯ มีความเห็นว่า นโยบายการป้องกันการทุจริตของประเทศควรริเริ่มและพัฒนามาจากการถอดบทเรียนจากการปราบปรามการทุจริตระดับชาติเพื่อให้การป้องกันและการปราบปรามการทุจริตมีความสอดคล้องเหมาะสมและส่งเสริมซึ่งกันและกัน  ดังนั้น การจัดตั้งหน่วยงานต่อต้านการทุจริตหลายหน่วยงานอาจก่อให้เกิดอำนาจและหน้าที่ที่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอิสระของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรอิสระระดับชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่มีความรับผิดชอบทั้งด้านป้องกันและด้านปราบปรามการทุจริต และมีอำนาจหน้าที่ดำเนินภารกิจดังกล่าวโดยปราศจากอิทธิพลและการแทรกแซงใด ๆ อันเป็นไปตามหลักสากลและได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
                                        (2) การประเมินติดตามฯ เป็นการผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งมีความสอดคล้องรองรับตามพันธกรณีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดฐานความผิดการให้และรับสินบนของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ  การกำหนดหลักการริบทรัพย์สินตามหลักมูลค่า   การกำหนดความรับผิดของนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้สินบน การกำหนดให้อายุความสะดุดหยุดอยู่หากมีการหลบหนี ความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
                                        (3) ไทยยังคงมีประเด็นตามข้อบทบังคับแห่งอนุสัญญาฯ ที่ยังต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น เช่น การสืบสวนสอบสวนโดยวิธีพิเศษ การกำหนดบทลงโทษสำหรับนิติบุคคลให้มีประสิทธิภาพ ได้สัดส่วน และมีผลในการยับยั้งการกระทำความผิด การห้ามมิให้นำค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสินบนมาลดหย่อนภาษี โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่อต้านการทุจริต 2 ประเด็น ดังนี้
                                                  (3.1) การสืบสวนสอบสวนโดยวิธีพิเศษ (Special Investigative Techniques) คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เห็นชอบในหลักการให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2561 โดยกำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ครอบคลุมถึงการสืบสวนสอบสวนโดยวิธีพิเศษ ตามข้อบทที่ 50 แห่งอนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นข้อบทบังคับ เช่น การเข้าถึงเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นซึ่งส่งทางไปรษณีย์  โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การปฏิบัติการอำพราง และการใช้เครื่องมือสื่อสารหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในการสะกดรอย เพื่อให้เข้าถึงและได้มาซึ่งพยานหลักฐานอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและไต่สวนคดีทุจริตอันเป็นอาชญากรรมร้ายแรง
                                                   (3.2) มาตรการชะลอการไต่สวนนิติบุคคล1 (Non-Trial Resolutions) คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เห็นชอบให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์มาตรการชะลอการดำเนินคดีอาญาในชั้นไต่สวนสำหรับนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2561 เพื่อนำหลักการชะลอการไต่สวนนิติบุคคลมาใช้บังคับ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บังคับใช้กฎหมายในการดำเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญา โดยเพิ่มกลไกการชะลอการดำเนินคดีกับนิติบุคคล ซึ่งเป็นการยกระดับในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยส่งเสริมให้นิติบุคคลเข้ามาให้ถ้อยคำหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเพื่อให้การปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการเยียวยาความเสียหายแก่ภาครัฐหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิด การสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจเอกชนในด้านการลงทุนให้เป็นไปด้วยความเข้มแข็ง ยั่งยืน และคงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ไทยมีการดำเนินการเทียบเท่ามาตรฐานสากลสอดคล้องตามอนุสัญญาฯ รวมถึงหลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
                              2.2 ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่ไทยได้รับจากการประเมินติดตามการปฏิบัติตาม                   อนุสัญญาฯ ทั้ง 4 หมวด มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการยกระดับการอนุวัติการอนุสัญญาฯ โดยจะส่งผลให้กฎหมายไทยมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริต ซึ่งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ ทั้งนี้ การอนุวัติการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตในระดับประเทศจึงมีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานในกำกับของราชการฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ สรุปได้ ดังนี้

ข้อบทที่เกี่ยวข้อง          ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ เช่น          แนวทางการดำเนินการ          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หมวดที่ 2  มาตรการป้องกันการทุจริต
ข้อบทที่ 5
ย่อหน้า 1          คงไว้ซึ่งการติดตามความมีประสิทธิภาพและผลกระทบที่ได้รับจากการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมถึงปรับใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการประสานงานและลดความซ้ำซ้อนและความซับซ้อนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับต่าง ๆ ของรัฐบาล          กระบวนการดำเนินการ : ดำเนินการติดตามประสิทธิภาพและผลที่ได้รับจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติฯ
กระบวนการนิติบัญญัติ: ปฏิรูปหน่วยงานฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต           - สำนักงาน ป.ป.ช.
- รัฐสภา
ข้อบทที่ 7 ย่อหน้า 1 (ข)          พยายามระบุตำแหน่งราชการที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อการทุจริตและกำหนดกระบวนการในการคัดเลือกฝึกอบรม และหมุนเวียนบุคคลในตำแหน่งดังกล่าวตามความเหมาะสม          กระบวนการดำเนินการ :
- กำหนดรายชื่อตำแหน่งราชการ
ที่มีความเสี่ยงพิเศษต่อการทุจริต
- กำหนดกระบวนการคัดเลือก
ฝึกอบรมและหมุนเวียนบุคคล
ในตำแหน่งดังกล่าว          - สำนักงาน ป.ป.ช.
- สำนักงาน ก.พ.
ข้อบทที่ 12 ย่อหน้า 2           คงไว้ซึ่งการเสริมสร้างมาตรการป้องกันการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับภาคเอกชนผ่านการบังคับใช้กฎหมาย  ข้อบังคับ   รวมถึงมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชีโดยการส่งเสริมข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณธรรมในภาคธุรกิจหรือแนวปฏิบัติทางพาณิชย์ที่ดีการยกระดับความโปร่งใสในภาคเอกชน และการป้องกันการใช้กระบวนการควบคุมกิจกรรม
ทางพาณิชย์โดยมิชอบ          กระบวนการดำเนินการ :
- บังคับใช้กฎหมายต่อต้านการทุจริตในภาคเอกชน
- ดำเนินมาตรการส่งเสริมมาตรฐานการบัญชี
- ดำเนินมาตรการส่งเสริมคุณธรรมในภาคธุรกิจ
- ดำเนินมาตรการส่งเสริมแนวปฏิบัติทางพาณิชย์ที่ดี
และการป้องกันการใช้กระบวนการควบคุมกิจกรรม
ทางพาณิชย์โดยมิชอบ
- ดำเนินมาตรการยกระดับ
ความโปร่งใสในภาคเอกชน          - กระทรวงพาณิชย์
- สำนักงาน
คณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน
(สกท.)
- สำนักงาน ป.ป.ช.
- สำนักงาน
คณะกรรมการ
กำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
- ธนาคาร
แห่งประเทศไทย
(ธปท.)

หมวดที่ 3 การกำหนดให้เป็นความผิดทางอาญา และการบังคับใช้กฎหมาย
ข้อบทที่ 15 (ก)           แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อทำให้มั่นใจว่าการให้สินบนทางอ้อมจะต้องได้รับโทษเช่นเดียวกับการกระทำความผิดโดยตรง เพื่อให้ครอบคลุมถึงการให้คำมั่น เสนอหรือให้ประโยชน์อันมิควรได้แก่บุคคลที่สาม รวมถึงตัดองค์ประกอบเพิ่มเติมอัน ?มิชอบ? ด้วยหน้าที่ในการกระทำการ ไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำใด          กระบวนการนิติบัญญัติ : - กำหนดความผิดฐาน ?ให้สินบนทางอ้อม?
ตัดองค์ประกอบ ?มิชอบด้วยหน้าที่? ในความผิดฐานให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐ           สำนักงาน ป.ป.ช.
- รัฐสภา
ข้อบทที่ 23
ย่อหน้าย่อย 2 (ก), (ข), (ง)           บังคับใช้ความผิดฐานฟอกเงินกับความผิดฐานทุจริตทั้งหมดร่วมถึงจัดทำสำเนาของกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินให้แก่เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ          กระบวนการนิติบัญญัติ : กำหนดให้การกระทำทุจริต ?ทั้งหมด? เป็นความผิดมูลฐานสำหรับความผิดฐานฟอกเงิน
- กระบวนการดำเนินการ : จัดส่งสำเนาพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้แก่ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ          สำนักงาน ป.ป.ช.สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(สำนักงาน ปปง.)   รัฐสภา
ข้อบทที่ 27 ย่อหน้า 3           ไทยอาจมุ่งประสงค์ที่จะกำหนดให้การตระเตรียมการกระทำความผิดฐานทุจริตเป็นความผิดทางอาญา          กระบวนการนิติบัญญัติ : กำหนดความผิดฐาน
?ตระเตรียมการกระทำทุจริต?          สำนักงาน ป.ป.ช.

ข้อบทที่ 30 ย่อหน้า 1          ประเมินว่าการแก้ไขเพิ่มเติม
กฎหมายไทยจะนำไปสู่การมีบทลงโทษที่ได้สัดส่วนมากขึ้น หรือไม่          กระบวนการดำเนินการ :
ประเมิน/ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความได้สัดส่วนของการกำหนดโทษประหารชีวิต
กระบวนการนิติ : บัญญัติ ยกเลิก ?โทษประหารชีวิต? ในฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต          - กระทรวงยุติธรรม
- สำนักงาน ป.ป.ช.
- รัฐสภา

หมวดที่ 4 ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ข้อบทที่ 44 ย่อหน้า 2          ไทยอาจมุ่งประสงค์ที่จะอนุญาตให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนสำหรับฐานความผิดที่ไม่สามารถลงโทษได้ภายใต้กฎหมายภายในของไทย          กระบวนการนิติบัญญัติ :
กำหนดให้รัฐบาลไทยมีอำนาจส่งผู้ร้ายข้ามแดนฯ          - สำนักงานอัยการ
สูงสุด (อส.)
- รัฐสภา

ข้อบทที่ 46 ย่อหน้า 4          ไทยอาจมุ่งประสงค์ที่จะส่งข้อมูลได้เองในบริบทความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางกฎหมาย          กระบวนการนิติบัญญัติ :
กำหนดให้ไทยมีอำนาจส่งข้อมูลทางคดีให้แก่ต่างประเทศผ่านช่องทางความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาได้โดยไม่ต้องมีคำขอ          - สำนักงาน ป.ป.ช.
- อส.
- รัฐสภา
ข้อบทที่ 50          เพื่อให้เกิดความแน่ชัดของกฎหมายทบทวนกฎหมายเพื่ออนุญาตอย่างชัดแจ้งให้ใช้การสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีพิเศษในคดีทุจริต และกำหนดให้
สามารถรับฟังพยานหลักฐานที่ได้จากการดำเนินการดังกล่าวไทยอาจมุ่งประสงค์ที่จะใช้การสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีพิเศษระหว่างประเทศในการปฏิรูปกฎหมายดังกล่าว          กระบวนการนิติบัญญัติ :
กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจสืบสวนสอบสวนโดยวิธีพิเศษ          - สำนักงาน ป.ป.ช.
- รัฐสภา
หมวดที่ 5 การติดตามทรัพย์สินคืน
ข้อบทที่ 51           - ทำให้แน่ใจว่าไม่มีอุปสรรคสำหรับไทยในการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากการใช้เงื่อนไข
เรื่องหลักความผิดสองรัฐโดยเคร่งครัดซึ่งรวมถึงมาตรการที่ไม่บังคับ (non-coercive measures)
- ทำให้แน่ใจว่าการให้อำนาจ
อย่างกว้างแก่นายกรัฐมนตรี
ในการตัดสินใจเกี่ยวกับคำร้อง
ขอความร่วมมือระหว่างประเทศจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพของผู้ประสานงานกลางในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว          กระบวนการนิติบัญญัติ :
- กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข เรื่องหลักความผิดสองรัฐและมาตรการที่ไม่บังคับ
- กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้ดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรีในการมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
คำวินิจฉัยของอัยการสูงสุด (มาตรา 38แห่งพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา
พ.ศ. 2535)          อส.
ข้อบทที่ 52 ย่อหน้า 4          กำหนดให้สถาบันการเงินเก็บข้อมูลอย่างเพียงพอจากธนาคารตัวแทนเพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงในประเด็นความเหมาะสมของการควบคุมการฟอกเงินของธนาคารตัวแทน          กระบวนการดำเนินการ :
กำหนดให้สถาบันการเงินเก็บข้อมูลฯ          - สำนักงาน ปปง.
- ธปท.
ข้อบทที่ 54 ย่อหน้า 1 (ก)           กำหนดมาตรการสำหรับการบังคับตามคำสั่งริบทรัพย์ของศาลต่างประเทศ
โดยตรง          กระบวนการนิติบัญญัติ :
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ
มาตรา 32-34 แห่งพระราชบัญญัติ
ความร่วมมือฯ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจรับและดำเนินการเพื่อบังคับตามคำสั่งริบทรัพย์ของ                 ศาลต่างประเทศโดยตรง          - อส.
- รัฐสภา
1เป็นวิธีการเพื่อให้ผู้กระทำความผิดเข้ามามีส่วนร่วมในการไต่สวน เช่น ให้ถ้อยคำ แจ้งเบาะแส หรือข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญในการวินิจฉัยชี้มูลการกระทำผิดและยินยอมชำระเงินค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจชะลอการไต่สวนนิติบุคคลได้ โดยมิต้องนับระยะเวลาระหว่างที่มีการชะลอการไต่สวนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ

16. เรื่อง มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567  (9 มาตรการ) และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567
                    2. มอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยรายงานให้ กนช. ทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กนช. รายงานว่า
                    1. ตามปฏิทินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ให้หน่วยงานนำไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงฤดูแล้ง  เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป และช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี (ยกเว้นพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งช่วงฤดูแลังเริ่มวันที่ 1 มีนาคม สิ้นสุดวันที่ 31สิงหาคมของทุกปี และช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์     ของทุกปี) โดยในช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ได้ดำเนินการตามกรอบแนวทางวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ดังนี้
                              1.1 คาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566  แผนการจัดสรรน้ำ และความต้องการใช้น้ำรายกิจกรรม ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน โดยจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด และปริมาณน้ำที่นำมาใช้ได้แหล่งน้ำบาดาลตามข้อมูลศักยภาพน้ำบาดาล (รายตำบล/อำเภอ/จังหวัด) พร้อมการจัดหาแหล่งน้ำสำรองทั้งแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน
                              1.2 คาดการณ์แผนการใช้น้ำรายเดือน ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 รายกิจกรรม ประกอบด้วย อุปโภคบริโภค การเกษตรโดยส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รักษาระบบนิเวศ อุตสาหกรรม โดยการส่งเสริมจัดการน้ำใช้หลัก 3R (Reduce Reuse Recycle) ให้เพียงพอต่อปริมาณน้ำต้นทุนช่วงฤดูแลัง และรองรับสถานการณ์เอลนีโญ
                              1.3 คาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกพืช ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ในเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทาน ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน
                              1.4 ประเมินพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 โดยแบ่งเป็นพื้นที่อุปโภคบริโภค (ในเขต/นอกเขตพื้นที่ให้บริการประปานครหลวง/ภูมิภาค) และพื้นที่เกษตรกรรม (นาข้าว/ไม้ผลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ) และพื้นที่เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ
                              1.5 การส่งเสริมความเข้มแข็งการบริหารจัดการน้ำชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ
                    2. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 จำนวน 3 ด้าน 9 มาตรการ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันต่อสถานการณ์ และจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2567 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 จำนวน 3 ด้าน 9 มาตรการ ดังนี้
การดำเนินการ          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ด้านน้ำต้นทุน (Supply)
มาตรการที่ 1 เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรองพร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)
(1) คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค การเกษตร และคุณภาพน้ำ  (ก่อนและระหว่างฤดู) พร้อมทั้งติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ตลอดฤดูแล้ง
(2) สำรวจ ตรวจสอบ พื้นที่แหล่งเก็บกักน้ำสำรอง และจัดทำแผนปฏิบัติการสำรองน้ำในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตร
(3) เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเข้าช่วยเหลือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำได้ทันสถานการณ์
(4) จัดทำระบบฐานข้อมูลกลางที่มีมาตรฐานเพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เสียง/พื้นที่เกิดเหตุ(บ่อบาดาล)          กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยเละนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
กระทรวงมหาดไทย (มท.)
และ สทนช.

มาตรการที่ 2 ปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ  (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)
(1) จัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวงรองรับพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ และปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำ พื้นที่เกษตรและพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำตามสภาพอากาศที่เหมาะสม
(2) จัดทำแผนปฏิบัติการและปฏิบัติการเติมน้ำ/สูบผันน้ำใต้ดินในพื้นที่ที่มีศักยภาพ          กษ. และ ทส.

ด้านความต้องการใช้น้ำ (Demand)
มาตรการที่ 3 กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปรัง สร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรเตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง  (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)
(1) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และสถานการณ์เอลนีโญ พร้อมแจ้งแผนให้ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
(2) กำหนดแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและขึ้นทะเบียนเกษตรกร โดยระบุพื้นที่คาดการณ์เพาะปลูกและแหล่งน้ำที่นำมาใช้ให้ชัดเจน ในรูปแบบแผนที่เพื่อให้การเพาะปลูกสอดคล้องกับบริมาณน้ำต้นทุน  พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขการเพาะปลูกพืชพื้นที่นอกแผนและพื้นที่ที่ไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเพาะปลูกได้ โดยมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
(3) ควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนให้เป็นไปตามแผน และมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภคของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่าง และมอบหมาย มท. ร่วมกับ กษ. และ ทส. สร้างการรับรู้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อควบคุมการส่งน้ำให้ตรงตามวัตถุประสงค์
(4) เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง โดยการสนับสนุนจัดสรรน้ำเตรียมแปลงเพาะปลูกนารอบที่ 1 (นาปี)
(5) สำรวจ ตรวจสอบ คันคลอง เขื่อนป้องกันตลิ่ง ถนนที่เชื่อมต่อกับทางน้ำ ในพื้นที่ที่อาจจะเกิดการทรุดตัว เนื่องจากระดับน้ำในทางน้ำที่อาจจะลดต่ำกว่าปกติ          กระทรวงกลาโหม (กห.) อว. กษ. กระทรวงคมนาคม (คค.) ทส. กระทรวงพลังงาน (พน.) มท. สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) และคณะกรรมการลุ่มน้ำ



มาตรการที่ 4 บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด (ตลอดฤดูแล้ง)
จัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำกำหนดเพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ          กษ. พน. ทส. มท. สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
และคณะกรรมการลุ่มน้ำ

มาตรการที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)
(1) สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ ถ่ายทอด เผยแพร่ผลการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชเพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายไต้ในพื้นที่ อาทิ ปลูกพืชใช้น้ำน้อยหรือพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ปรับปรุงระบบการให้น้ำพืชนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น
(2) การประหยัดน้ำของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชน มีการดำเนินการ ดังนี้
          (2.1) วางแผนลดการใช้น้ำของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมประชาสัมพันธ์รณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน
          (2.2) ส่งเสริมสนับสนุนให้โรงานอุตสาหกรรมใช้ระบบ 3R เพื่อลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ
(3) ลดการสูญเสียน้ำในระบบประปาและระบบชลประทาน มีการดำเนินการ ดังนี้
(3.1) ลดการสูญเสียน้ำในระบบประปา
(3.2) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำในระบบชลประทาน โดยการปรับรอบเวรการส่งน้ำ ให้สอดรับกับปริมาณความต้องการน้ำของพื้นที่          อว. กษ. สทนช. และคณะกรรมการลุ่มน้ำ
มาตรการที่ 6 เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ  (ตลอดฤดูแล้ง)
เฝ้าระวัง ตรวจวัด ควบคุม และแก้ไขคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำสายรอง รวมถึงแหล่งน้ำที่รับน้ำจากภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชน รวมทั้งเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหาและแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งรายงานผลการแก้ไขคุณภาพน้ำ          กษ. ทส. มท. และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ด้านการบริหารจัดการ (Management)
มาตรการที่ 7 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ  (ตลอดฤดูแล้ง)
เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชนและองค์กรผู้ใช้น้ำที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยสร้างความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ การเตรียมจัดหาน้ำสำรองและการกักเก็บให้มีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภคและ/หรือการเกษตรตลอดฤดูแล้ง รวมทั้งพัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำชุมชน          อว. กษ. ทส. มท.  สทนช. และมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ
มาตรการที่ 8 สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)
สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัด และเป็นไปตามแผนที่กำหนด          นร. มท. สทนช. และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
มาตรการที่ 9 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (ตลอดและหลังจากสิ้นสุดฤดูแล้ง)
(1) ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน รายงานผลการให้ความช่วยเหลือ และหากพบการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้งให้รายงานมายังกองอำนวยการน้ำแห่งชาติและ กนช.
(2) ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการ พร้อมสรุปบทเรียน          มทฐ และ สทนช.

                              2.2 การจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2567 สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          (1) เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ขาดแคลนน้ำหรือเสี่ยงภัยแล้ง
(2) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ รายได้ และการจ้างแรงงานให้กับประชาชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง
(3) เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ
กิจกรรมและประเภทโครงการ          แบ่งเป็น 5 ประเภท เพื่อรวบรวม จำแนก วิเคราะห์ กลั่นกรองแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานในแต่ละประเภท ดังนี้
กลุ่มประเภท          รายละเอียด
(1) การซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์           เป็นงานช่อมแซมอาคารชลศาสตร์ที่ชำรุดเสียหายจากการใช้งานหรือการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การควบคุม การระบายน้ำ และการเก็บกักน้ำให้สามารถใช้งานได้
ตามวัตถุประสงค์เดิมของโครงการ เช่น ซ่อมแซมพนังกั้นน้ำ คันกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำคลองส่ง/ระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำ เป็นต้น
(2) การปรับปรุง
อาคารชลศาสตร์
          เป็นการปรับปรุงอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจากเดิมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง หรือให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในปัจจุบัน เช่น ปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้น คลองส่งน้ำ/ระบายน้ำ และฝายเพื่อเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์
(3) การสร้าง
ความมั่นคงด้านน้ำ
เพื่อการอุปโภค-
บริโภค
          เป็นงานที่ดำเนินการเพื่อการอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ
เช่น ก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล ปรับปรุงบ่อน้ำบาดาล ก่อสร้างระบบประปา ปรับปรุงคุณภาพน้ำประปา ก่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำสำรองเพื่อการอุปโภคบริโภคและการปรับปรุงคุณภาพน้ำแหล่งน้ำต้นทุน
(4) การเพิ่ม
น้ำต้นทุน เพื่อรองรับ
สถานการณ์ภัยแล้ง
          เป็นงานที่ดำเนินการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำหรือพื้นที่
ใกล้เคียง เพื่อให้มีความมั่นคงด้านน้ำมากขึ้น เช่น งานขุดลอกห้วย หนอง คลอง บึง สระ งานก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่เพื่อการเกษตร งานระบบส่งน้ำและระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตร งานบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ ฝนหลวงและธนาคารน้ำใต้ดิน
(5) การเตรียม
ความพร้อม
เครื่องมือเครื่องจักร
          เป็นการซ่อมแชมบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องจักรที่มีอยู่เดิมให้พร้อมใช้งานได้ทันต่อสถานการณ์ เช่น ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำและองค์ประกอบ เป็นต้น

หมายเหตุ : สทนช. จะไม่พิจารณาแผนงานโครงการที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เช่น งานด้านซ่อม/ปรับปรุงถนน สะพาน หรืออาคารสิ่งปลูกสร้างบ้านที่พักอาศัย/สำนักงาน และงานปรับปรุงภูมิทัศน์
1.          กนช. ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการและ
โครงการดังกล่าวแล้วและให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ เช่น
                              3.1 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับมาตรการรองรับฤดูแล้ง                   ปี 2566/2567 หลังจาก กนช. ให้ความเห็นชอบมาตรการดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ให้ สทนช. ทราบทุกวันที่ 5 ของเดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูแล้ง เพื่อให้การขับเคลื่อนตามมาตรการเป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
                              3.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนงานโครงการและความพร้อมของโครงการให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ 5 ประเภทของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567 เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้ทันต่อสถานการณ์และเป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

17.  เรื่อง การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิปัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด และตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด และตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ก.พ.ร. รายงานว่า
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (25 กรกฎาคม 2566) เห็นชอบกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (กรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ) และคณะรัฐมนตรีมีมติ (8 สิงหาคม 2566) เห็นชอบประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) จำนวน 5 ประเด็น ได้แก่ (1) การบริหารจัดการและอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ (2) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3) รายได้จากการท่องเที่ยว (4) รายได้ของผู้ประกอบการ SMEsและ OTOP และ (5) การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 รวมถึง (ร่าง) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (จำนวน 7 ตัวชี้วัดหลัก 217 ตัวชี้วัดย่อย) ซึ่ง ก.พ.ร. ในการประชุม ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว และเห็นควรให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ เสนอต่อ ก.พ.ร. และคณะรัฐมนตรีอีกครั้งภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เนื่องจากองค์ประกอบการประเมินส่วนราชการและจังหวัดได้กำหนดประเด็นการประมินในเรื่องของผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มติคณะรัฐนตรี รวมถึงนโยบายรัฐบาลด้วย
                    2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการตามมติ ก.พ.ร. (ตามข้อ 1) โดยเสนอเรื่องต่อ ก.พ.ร. ในการประชุม ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 [รองนายกรัฐมนตรี (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร) เป็นประธาน ที่ประชุมได้มีมติรับทราบการประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด [มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (25 กรกฎาคม 2566) เห็นชอบไว้] และ Joint KPIs ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (จำนวน 7 ตัวชี้วัดหลัก 204 ตัวชี้วัดย่อย) [มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (8 สิงหาคม 2566) เห็นชอบไว้ แต่มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดย่อย เนื่องจากหน่วยงานมีการรวมตัวชี้วัดและตัดบางตัวชี้วัดออก เพื่อลดจำนวนตัวชี้วัดของหน่วยงานไม่ให้เป็นภาระในการดำเนินงาน] และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 หลักการและแนวทางประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(มีรายละเอียดเช่นเดียวกับการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)
ประเด็น          รายละเอียด
หลักการประเมิน          - ส่วนราชการ : มุ่งเน้นการบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนงานบูรณาการ การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และดัชนีชี้วัดสากล (International KPIs) โดยให้กระทรวงมีบทบาทหลักเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณากำหนดตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดกระทรวง ผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง โดยในการกำหนดตัวชี้วัดระดับกระทรวง มุ่งเน้นการกำหนดตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs)1
- จังหวัด : มุ่งเน้นการบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายระดับชาติและนโยบายสำคัญของรัฐบาลเช่นเดียวกับส่วนราชการ รวมถึงนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทย (มท.) นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการประเมินผลสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรา 57 และมาตรา 582 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 โดยให้ มท. มีบทบาทหลักในการพิจารณาความเหมาะสมของตัวชี้วัด น้ำหนักและค่าเป้าหมาย รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของจังหวัดผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด
- การบูรณาการการทำงานของหน่วยงานรัฐ โดยใช้กลไก Joint KPIs ภายใต้ประเด็น Agenda จำนวน 5 ประเด็น (ตามข้อ 1) ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานอื่น ๆ โดยมีการถ่ายทอดเป้าหมายจากระดับประเทศลงสู่ระดับหน่วยงานที่รับผิดชอบขับเคลื่อนการดำเนินงาน
องค์ประกอบการประเมิน          ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ
1. การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) (น้ำหนักร้อยละ 70) (ตัวชี้วัดตามภารกิจ เช่น ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท และ Joint KPIs)
2. การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) (น้ำหนักร้อยละ 30) การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (น้ำหนักร้อยละ 20) และการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (น้ำหนักร้อยละ 10)
เกณฑ์การประเมิน          ประกอบด้วยการประเมิน 2 ระดับ ดังนี้
1. เกณฑ์การประเมินระดับตัวชี้วัด พิจารณาจากผลการดำเนินงานเทียบกับค่าเป้าหมายใน 3 ระดับ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ได้แก่ ค่าเป้าหมายขั้นสูง (100 คะแนน) ค่าเป้าหมายมาตรฐาน (75 คะแนน) และค่าเป้าหมายขั้นต้น (50 คะแนน)
2. เกณฑ์การประเมินระดับส่วนราชการและจังหวัด (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) โดยแบ่งเกณฑ์การประเมินเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับคุณภาพ (90-100 คะแนน) ระดับมาตรฐาน (60-89.99 คะแนน) และระดับต้องปรับปรุง (ต่ำกว่า 60 คะแนน)
รอบระยะเวลาการประเมิน          กำหนดให้ประเมินส่วนราชการและจังหวัด ปีละ 2 รอบ ดังนี้
- รอบการประเมินครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม
- รอบการประเมินครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน
โดยให้ส่วนราชการและจังหวัดมีการกำกับติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติราชการและกำหนดให้รายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบการรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (Electronic Self Assessment Report: e-SAR)
กลุ่มเป้าหมายในการประเมิน          ส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย (1) ส่วนราชการ 154 หน่วยงาน และ (2) จังหวัด 76 จังหวัด สำหรับส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ให้นำแนวทางการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหารไปประยุกต์ใช้และส่งผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรีพร้อมกับส่วนราชการอื่น
กลไกการประเมิน          การพิจารณากำหนดตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดดำเนินการผ่านกลไกคณะทำงานเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ/จังหวัด (แต่งตั้งโดย อ.ก.พ.ร.) และคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ/จังหวัด (แต่งตั้งโดยรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวง/รัฐมนตรีที่กำกับส่วนราชการหรือรัฐมนตรีที่กำกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัด (ปรับเปลี่ยนได้เฉพาะตัวชี้วัดภารกิจ และ Joint KPIs)          ส่วนราชการและจังหวัดสามารถขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายและเกณฑ์การให้คะแนน หากการดำเนินงานตามตัวชี้วัดได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สถานการณ์ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ โรคระบาดรุนแรง โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า การปรับเบลี่ยนนโยบายรัฐบาล หน่วยงานเจ้าภาพตัวชี้วัดสากลยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัด ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือได้รับงบประมาณล่าช้าอย่างน้อย 6 เดือน และคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวข้องมีมติให้ปรับเป้าหมาย แผนการดำเนินงาน หรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัด โดยดำเนินการตามแนวทางที่ ก.พ.ร. กำหนด
การเชื่อมโยงผลการประเมินส่วนราชการกับการประเมินผู้บริหารส่วนราชการ          ผลการประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ในแต่ละรอบการประเมินจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลระดับหัวหน้าส่วนราชการ (ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า อธิบดีหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด) เพื่อให้การประเมินหัวหน้าส่วนราชการสามารถผลักดัน การปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ส่วนราชการและจังหวัดจะนำผลการประเมินส่วนราชการและจังหวัดไปเป็นผลการประเมินผู้บริหารในมิติด้านผลสัมฤทธิ์ (Performance) มิติย่อยการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล (Agenda) และภารกิจประจำของส่วนราชการ (Function) โดยการประเมินผู้ปริหารส่วนราชการ รอบการประเมินที่ 1 (วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม) ใช้ผลการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ รอบการประเมิน 6 เดือน ตามองค์ประกอบที่ 1 การประเมินผลการดำเนินงาน (น้ำหนักร้อยละ 70) และการประเมินผู้บริหารส่วนราชการ รอบการประเมินที่ 2 (วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน) ใช้ผลการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ รอบการประเมิน 12 เดือน ตามองค์ประกอบที่ 1 การประเมิน ประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) (น้ำหนักร้อยละ 70) และองค์ประกอบที่ 2 การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) (ร้อยละ 30)

                    2.2  ความก้าวหน้าการจัดทำตัวชี้วัดของส่วนราชการและจังหวัด
                              1) ตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ในส่วนของตัวชี้วัดส่วนราชการ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการได้เห็นชอบตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 294 ตัวชี้วัด ซึ่งคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ3          18 กระทรวง (ไม่รวมกระทรวงกลาโหม) และ 20 ส่วนราชการ (ส่วนราชการในสังกัด/ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี) ได้นำไปพิจารณาถ่ายทอดเป็นตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ (ตัวชี้วัดระดับกรม) แล้ว จำนวน 172 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 58.50 (ส่วนที่เหลือหน่วยงานยังไม่ได้นำไปกำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับกรม เนื่องจากบางตัวชี้วัดอาจยังไม่สามารถวัดผลการดำเนินการได้ในปี 2567) และในส่วนของการจัดทำตัวชี้วัดจังหวัด 76 จังหวัด คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้พิจารณาความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัดที่มีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดตามการกิจ (Functional KPIs) [ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายเร่งด่วนของ มท. (Agenda KPIs) แผนพัฒนาของจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (Area KPIs) และเป้าหมายในการบูรณาการร่วมกันระหว่างจังหวัดและส่วนราชการ (Joint KPIs)] โดยมีภาพรวมตัวชี้วัดจังหวัด 18 ตัวชี้วัด4 (ไม่นับซ้ำ) แบ่งออกเป็น 3ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 6 ตัวชี้วัด (2) ด้านสังคม/มั่นคง จำนวน 7 ตัวชี้วัด และ (3) ด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ตัวชี้วัด
                              2) Joint KPIs ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งให้ส่วนราชการและจังหวัดจัดทำรายละเอียด Joint KPIs ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน พร้อมทั้งกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ/จังหวัด ภายใต้ประเด็น Agenda จำนวน 5 ประเด็น 7 ตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเป้าหมาย จำนวน 204 ตัวชี้วัดย่อย สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda)          ตัวชี้วัดหลักและเป้าหมาย          จำนวนตัวชี้วัดย่อย
ประเด็นที่ 1 การบริหารจัดการและอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ          - ดัชนีความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ (63 คะแนน)          45
          - สัดส่วนความสำเร็จของพื้นที่ลำน้ำสายหลัก 22 ลุ่มน้ำ ที่ได้รับการฟื้นฟูต่อพื้นที่เป้าหมาย (ร้อยละ 27.5 ต่อปี)
ประเด็นที่ 2 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก          ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงจากกรณีปกติ (ร้อยละ 4)           31
ประเด็นที่ 3 รายได้จากการท่องเที่ยว          รายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศ (2.83 ล้านบาท)          47
ประเด็นที่ 4 รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP          - สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ          57
          - อัตราการเติบโตมูลค่าสินค้า OTOP (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4)
ประเด็นที่ 5 การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10          ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ยรายปีลดลง (ร้อยละ 4)          24
รวม          7          204

1ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic KPIs) เป็นตัวชี้วัดภายใต้แผนระดับประเทศต่าง ๆ เช่น แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 รวมทั้งสอดคล้องกับเอกสารงบประมาณและแผนงบประมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันตัวชี้วัดของแผนระดับประเทศให้บรรลุตามเป้าหมายได้ ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะเป็นผู้ยกร่าง Strategic KPIs ของแต่ละส่วนราชการ และเสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการรับทราบและผลักดันให้ส่วนราชการถ่ายทอด Strategic KPIs เป็นตัวชี้วัดกรม
(ไม่บังคับ) โดย Strategic KPIs จะเป็นตัวชี้วัดส่วนราชการเพื่อใช้ในการติดตามการดำเนินการที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของส่วนราชการในการขับเคลื่อนตามแผนต่าง ๆ ของประเทศให้บรรลุเป้าหมาย (ไม่ใช้ในการประเมินผลตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ)
2มาตรา 57 และมาตรา 58 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ท.ศ. 2565 บัญญัติให้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับแก่การดำเนินการตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดด้วย
3คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเป็นกลไกในการกำหนดตัวชี้วัด น้ำหนัก ค่าเป้าหมายในการประเมินผลการปฏิปัติราชการของส่วนราชการ แสะติดตาม กำกับ และให้การสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด
4จากการประสานสำนักงาน ก.พร. แจ้งว่า ภาพรวมตัวชี้วัดจัหวัด 18 ตัวชี้วัด แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
          1. ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) รายได้จากการท่องเที่ยว (2) รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (3) อัตราการขยายตัวของมูลค่าของสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น (4) อัตราการขยายตัวของมูลค่าของสินค้าเกษตรปลอดภัย (5) มูลค่าการค้าชายแดน และ (6) ผลการดำเนินงานตามแนวทางส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่
          2. ด้านสังคม/มั่นคง จำนวน 7 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) การขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิพอเพียง (2) ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่ไม่พบปัญหายาเสพติด (3) อัตราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน (4) ร้อยละของเด็กปฐนวัยมีพัฒนาการสมวัย (5) อัตราป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสมลพิษทางอากาส (6) ร้อยละของจำนวนแรงงานนอกระบบที่อยู่ภายใต้ประกันสังคม (ผู้ประกันตนตามมาตรา 40) และ (7) จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนกาคใต้ลดลง
          3. ด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ดี (2) ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) (3) ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) (4) ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง และ (2) ความสำเร็จของการส่งสริมสถานประกอบการเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียว

18. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ ได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ภารกิจของคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ
คณะอนุกรรมการ          ผลการดำเนินงาน เช่น
(1) คณะอนุกรรมการปรบปรุงแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายและอนุบัญญัติเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร          - ทบทวนร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำนักงานศาลปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป1
- ปรับปรุงร่างประกาศกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 พ.ศ. .... เสนอคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ2
(2) คณะอนุกรรมการพิจารณาส่งคำอุทธรณ์และดำเนินการเรื่องร้องเรียน          - รับเรื่องอุทธรณ์ของประชาชน จำนวน 773 เรื่อง และได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขาพิจารณาตามความเชี่ยวชาญ
- รับเรื่องร้องเรียนการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 จำนวน 562 เรื่อง และพิจารณาแล้วเสร็จครบถ้วนทุกเรื่องแล้ว ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลการตรวจสอบการใช้อำนาจการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงาน จำนวน 377 เรื่อง (คิดเป็นร้อยละ 67.08 ของจำนวนเรื่องทั้งหมด)
(3) คณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของราชการ          รับเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 334 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 จำนวน 44 เรื่อง และพิจารณาแล้วเสร็จครบถ้วนทุกเรื่องแล้ว ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลการตรวจสอบใช้อำนาจการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานจำนวน 31 เรื่อง (คิดเป็นร้อยละ 70.45 ของจำนวนเรื่องทั้งหมด)
(4) คณะอนุกรรมการตอบข้อหารือตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ          รับเรื่องขอหารือเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 จากส่วนราชการ จำนวน 22 เรื่อง และพิจารณาแล้วเสร็จครบถ้วนทุกเรื่องแล้ว
(5) คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ติดตาม ประเมินผลและพัฒนาองค์กร          - ขอให้สำนักงาน ก.พ. สอดแทรกวิชากฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ในหลักสูตรการอบรมของสำนักงาน ก.พ. ในทุกระดับ รวมทั้งกำหนดการผ่านเกณฑ์การทดสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 เป็นคุณสมบัติหนึ่งของการเลื่อนระดับของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งของ ก.พ. (คณะรัฐมนตรีมีมีมติรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564)
- เห็นชอบหลักเกณฑ์การมอบโล่รางวัลแก่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่นแก่หน่วยงานของรัฐที่ผ่านเกณฑ์การประเมินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
(6) คณะอนุกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานของรัฐ          รับเรื่องร้องเรียนและตอบข้อหารือ จำนวน 4 เรื่อง และพิจารณาแล้วเสร็จครบถ้วนทุกเรื่องแล้ว
(7) คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ          เห็นชอบรายงานผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และแผนปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2564-2565
(8) คณะอนุกรรมการพัฒนาและประเมินผลการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ          อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ไขระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
                              1.2 ภารกิจของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่าง ๆ ได้ให้ผู้อุทธรณ์และผู้แทนหน่วยงานของรัฐชี้แจงข้อเท็จจริง แล้วจัดทำคำวินิจฉัย โดยคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเสร็จ จำนวน 614 เรื่อง จาก 662 เรื่อง หรือคิดเป็นร้อยละ 92.75 สรุปได้ ดังนี้
สาขา          จำนวนเรื่องอุทธรธ์          จำนวนเรื่องที่พิจารณาแล้วเสร็จ          จำนวนเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
(1) การแพทย์และสาธารณสุข          2          2          -
(2) ต่างประเทศ ความมั่นคง และการเมือง          6          6          -
(3) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมและการเกษตร          -          -          -
(4) เศรษฐกิจและการคลัง          6          5          1
(5) สังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย          648          601          47
รวมทั้งสิ้น          662          614          48
                              1.3 ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) เช่น (1) การคัดเลือกศูนย์ข้อมูลข่าวสารโดดเด่น ปี 2565 มีหน่วยงานสมัครเข้าร่วมคัดเลือก จำนวน 118 หน่วยงาน และผ่านเกณฑ์การประเมินฯ จำนวน 45 หน่วยงาน5 (2) โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อพัฒนาเครือข่ายผู้นำชุมชนในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในการติดตาม ตรวจสอบ การบริหารจัดการภาครัฐให้มีความโปร่งใส โดยดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย หนองคาย และอุดรธานี มีผู้นำชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 156 คน (3) โครงการจัดตั้งคลินิกข้อมูลข่าวสารเคลื่อนที่ได้ให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 รวมถึงให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวในรูปแบบออนไลน์ โดยมีหน่วยงานเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 30 หน่วยงาน (4) การเผยแพร่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เผยแพร่บทความและคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ      พ.ศ. 2540 จำนวน 60 เรื่อง (5) การพัฒนาระบบสารสนเทศข้อมูลข่าวสาร เช่น ปรับปรุงเว็บไซต์ของ สขร. ให้บริการระบบศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 ผ่านระบบตอบข้อซักถามทางอิเล็กทรอนิกส์ (Webboard) จำนวน 340 เรื่อง และให้คำปรึกษาผ่านอีเมล จำนวน 309 เรื่อง
                              1.4 การรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2565) เช่น (1) การแต่งตั้งคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ ของหน่วยงานส่วนกลางพบว่า ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว คิดเป็นร้อยละ 59.82 ยังไม่ได้ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 7.68 และไม่ได้รายงาน คิดเป็นร้อยละ 32.50 (2) การจัดแสดงข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานความโปร่งใสและตัวชี้วัดความโปร่งใสของหน่วยงานของรัฐ (การจัดหาพัสดุ การให้บริการประชาชนการบริหารงาน การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการติดตามประเมินผล) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค พบว่า ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว คิดเป็นร้อยละ 89.33 อยู่ระหว่างดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 6.67 และยังไม่ได้ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 4 เนื่องจากยังไม่มีสถานที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร (3) หน่วยงานส่วนภูมิภาคมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสียหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลง/ลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามที่ขอพร้อมแจ้งสิทธิอุทธรณ์ พบว่า หน่วยงานได้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ ตามกฎหมาย คิดเป็นร้อยละ 2.67 แต่หน่วยงานส่วนใหญ่ได้มีการปฏิเสธหรือไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามกฎหมาย คิดเป็นร้อยละ 97.33
                              1.5 ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ เห็นควรมีการทบทวนปรับปรุงกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานของรัฐ โดยควรทำความตกลงร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับ สขร. หรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ เพื่อกำหนดประเด็น ศึกษา ข้อกฎหมาย และจัดทำคู่มือแนะนำแนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐภายใต้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ และการพิจารณาแก้ไขระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 โดยเพิ่มเติมการรักษาความลับด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์
                              1.6 แผนงาน/โครงการในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เช่น (1) โครงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (2) โครงการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540 ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ประจำปี 2566 (3) โครงการคลินิกข้อมูลข่าวสารเคลื่อนที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (4) โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นแบบมาตรฐานในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ พ.ศ. 2540
1 จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 ได้รับแจ้งว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างเผยแพร่สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติฯ ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2 กฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 และจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศฯ
3 มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสาร หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ เว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
4 มาตรา 33 บัญญัติให้ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่มีคำขอ ถ้าผู้มีคำขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริงและร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ ให้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ มีอำนาจเข้าดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องได้และแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ร้องเรียนทราบ
5 ประกอบด้วย ส่วนกลาง 9 หน่วยงาน ส่วนภูมิภาค 27 หน่วยงาน ส่วนท้องถิ่น 2 หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ 6 หน่วยงาน และหน่วยงานอื่น 1 หน่วยงาน โดยหน่วยงานข้างต้นจะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณของนายกรัฐมนตรีในงานสัมมนาทางวิชาการประจำปีต่อไป

19. เรื่อง  รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ? 5 กุมภาพันธ์ 2567
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์น้ำปัจจุบันและการคาดการณ์ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง             ปี 2566/67 อย่างใกลัชิดเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้เกิดน้อยที่สุด
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2567 มีดังนี้
                    1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน
                    ปัจจุบันพบว่าปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังแรง จะอ่อนลงเป็นเอลนีโญกำลังปานกลางในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนด้วยความน่าจะเป็นร้อยละ 73 หลังจากนั้นมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญา
                    สภาพอากาศ ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยภาคใต้และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย สำหรับในช่วงวันที่ 5 - 9 ก.พ. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
                    2. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ และการคาดการณ์
                              (1) สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาพรวมประเทศ สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567) มีปริมาณน้ำ 57,031 ล้านลูกบาศก์เมตร (69%) น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 4,079 ล้านลูกบาศก์เมตรมีปริมาณน้ำใช้การ 32,819 ล้านลูกบาศก์เมตร (57%) มีอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lover Rule Curve)) 4 แห่ง ได้แก่  อ่างเก็บน้ำสิริกติ์ อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด
                              (2) การคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง
                                        ต้นฤดูฝน ปี 2567 (วันที่ 1 พ.ค. 67) จะมีปริมาณน้ำ 17,538 ล้าน ลบ.ม. (37%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 17,787 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า 249 ล้าน ลบ.ม.
                                        ต้นฤดูแล้ง ปี 2567/68 (วันที่ 1 พ.ย. 67) จะมีปริมาณน้ำ 30,464 ล้าน ลบ.ม. (64%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 32,849 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า 2,385 ล้าน ลบ.ม.
                              (3) การคาดการณ์ปริมาณน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยปี 2567 (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำต่ำสุด Lower Rule Curve) ภาคเหนือ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำภูมิพล อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ และอ่างเก็บน้ำทับเสลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวงและอ่างเก็บน้ำสิรินธร ภาคตะวันตก 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำแก่งกระจานและอ่างเก็บน้ำปราณบุรี ภาคตะวันออก 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชลและอ่างเก็บน้ำคลองสียัด
                    3. สถานการณ์แม่น้ำโขง
                    สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต และมีแนวโน้มทรงตัว
                    4. คุณภาพน้ำ
                    คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีสะพานพระพุทธยอดฟ้าอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังค่าความเค็มส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปา ในส่วนของแม่น้ำบางปะกง บริเวณสถานีบางกระเจ็ดและบริเวณสถานีบางแตน อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังค่าความเค็มส่งผลกระทบต่อการเกษตร
                    5. พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2566/67
                    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมติดตามและประเมินสถานการณ์พื้นที่เฝ้าระวังฯ พบว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ด้านน้ำอุปโภคบริโภค ในเขตความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาค มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 18 สาขา ครอบคลุม 14 จังหวัด ในเขตความรับผิดชอบของการประปาท้องถิ่น มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ  ครอบคลุม 33 จังหวัด 167 อำเภอ  415 ตำบล ด้านการเกษตร นอกเขตชลประทาน ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรน้ำและกรมส่งสริมการเกษตร มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำสำหรับข้าวนาปรัง ครอบคลุม 12 จังหวัด 34 อำเภอ 85 ตำบล และพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำสำหรับพืชต่อเนื่อง ครอบคลุม 22 จังหวัด 68   อำเภอ 168 ตำบล และด้านคุณภาพน้ำ เฝ้าระวังคุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักเพื่อการผลิตน้ำประปาในพื้นที่รับผิดชอบของการประปานครหลวง ครอบคลุม      3 จังหวัด และในเขตการประปาส่วนภูมิภาค ครอบคลุม 8 สาขา 7 จังหวัด
                    6. การลงพื้นที่ตรวจราชการ
                    เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในช่วงฤดูแล้งนี้ อยู่ในช่วงเอลนีโญ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐนตรี ได้มอบมายให้ นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ตามมาตรการองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 ระหว่างวันที่ 1 -3 กุมภาพันธ์ 2567 ณ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดขอนแก่น จากการลงสำรวจพบว่าในหลายพื้นที่ประสบปัญหาแหล่งน้ำไม่สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดการดูแลรักษา ทำให้มีสภาพตื้นเขิน มีวัชพืชปกคลุม ส่งผลให้มีปริมาณน้ำดิบสำหรับผลิตประปาไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน สทนช.  จึงได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเร่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่นอกจากนี้ สทนช.ยังได้รับฟังแนวทางความต้องการของประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคงน้ำในพื้นที่ โดยพิจารณาแผนงานโครงการเพื่อสนับสนุนงบประมาณต่อไป
                    7. ผลการถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ปี 2566
                    สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ดำเนินการถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคใต้       ปี 2566  ในวันที่ 30 มกราคม 2567 ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้สรุปผลได้ดังนี้ การคาดการณ์ต้องมีการเพิ่มความแม่นยำและความถี่ของการคาดการณ์และเพิ่มรายละเอียดในระดับหมู่บ้าน เพิ่มสถานีการตรวจวัดด้านต่างๆ ในพื้นที่ต้นน้ำ และในลำน้ำที่ยังมีสถานีตรวจวัดไม่เพียงพอ เพิ่มช่องทางและรูปแบบการสื่อสารรวมถึงเพิ่มเครือข่ายในการแจ้งเตือนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปรับปรุงขั้นตอนการแจ้งเตือนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ให้มีเอกภาพเนื่องจากหลายหน่วยงานได้ออกประกาศไม่สอดคล้องกันทำให้ภาคประชาชนสับสน  ซึ่งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จะนำผลการถอดบทเรียนไปปรับปรุงการดำเนินการบริหารจัดการน้ำในอนาคตต่อไป

ต่างประเทศ
20. เรื่อง การจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                      1. ร่างความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย (ลิทัวเนีย) (ร่างความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างความตกลงฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กต. พิจารณาและดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
                      2. ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทน ให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามดังกล่าว
(จะมีการลงนามในร่างความตกลงฯ ระหว่างการประชุม Political Consultation ไทย - ลิทัวเนีย ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 ณ กรุงเทพมหานคร)
                      สาระสำคัญของเรื่อง
                     กต. รายงานว่า ไทยและลิทัวเนียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 และมีความสัมพันธ์ที่ดีกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประชุมหารือทวิภาคี เป็นกลไกการพัฒนาและติดตามความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โดยในปี 2565 ไทยและลิทัวเนียมีมูลค่าการค้ารวมกันจำนวน 70.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยมีมูลค่าการส่งออก จำนวน 39.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าจำนวน 31.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยได้เปรียบดุลการค้าจำนวน 7.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และในช่วงเดือน มกราคม - กรกฎาคม 2566 มูลค่าการค้าระหว่างกันอยู่ที่จำนวน 87.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น จำนวน 47.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 119.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ซึ่งมูลค่าการส่งออกของไทยที่เพิ่มขึ้นมาจากสินค้าประเภทอากาศยาน ยานอวกาศและส่วนประกอบ ปัจจุบันลิทัวเนียมุ่งกระชับความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก     ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ไทยและลิทัวเนียจะมีความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ซึ่งลิทัวเนียได้รับการจัดอันดับประเทศที่มีความมั่นคงทางไซเบอร์สูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก (จัดลำดับโดย National Cybersecurity Index 20221) นอกจากนี้ลิทัวเนียยังมีความเชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ การจัดทำระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี การเงิน และเทคโนโลยีเลเซอร์ทั้งด้านการแพทย์และอุตสาหกรรม ซึ่งไทยสามารถเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีได้ โดยฝ่ายลิทัวเนียได้ริเริ่มข้อเสนอการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลลิทัวเนีย ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้มีการปรับแก้ไขมาอย่างต่อเนื่องและเห็นชอบร่างความตกลงฯ แล้ว
                      ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
ข้อตกลง          (1) ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการที่มีอายุใช้งานได้ของไทยและของลิทัวเนีย จะได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราในการเดินทางเข้า พำนัก เดินทางผ่าน และเดินทางออกจากดินแดนของรัฐผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันนับจากวันที่เดินทางเข้าในระยะเวลา 180 วัน2 (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง) โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้น จะไม่ทำงานใด ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการของตนเอง หรือกิจกรรมส่วนตัวใดในดินแดนของรัฐผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
(2) หนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการของคนชาติตามข้อ 1. ต้องมีอายุใช้งานอย่างน้อย 6 เดือน ในวันที่เดินทางเข้าไปในดินแดนของรัฐผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
(3) ผู้ที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราตามความตกลงนี้ สามารถเดินทางเข้า เดินทางผ่าน หรือเดินทางออกจากดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ณ จุดผ่านแดนที่เปิดเพื่อการสัญจรของผู้โดยสารระหว่างประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละฝ่ายที่ใช้บังคับกับการเดินทางเข้า การเดินทางออก แกะการพำนักของคนต่างชาติ
(4) รัฐคู่สัญญาจะต้องแจ้งอีกฝ่ายหนึ่งผ่านของทางการทูตในทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับกับการเดินทางเข้า การเดินทางออก และการพำนักของคนต่างชาติ
การดำเนินการเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง          (1) รัฐคู่สัญญาจะแลกเปลี่ยนตัวอย่างหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการที่มีอายุใช้งานได้ ผ่านช่องทางการทูตอย่างน้อย 30 วัน ก่อนความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับ
(2) ในกรณีที่มีการนำหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการฉบับใหม่มาใช้ หรือมีการเปลี่ยนแปลงหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการที่มีอยู่ รัฐคู่สัญญาจะต้องจัดส่งตัวอย่างหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงให้อีกฝ่ายหนึ่งผ่านช่องทางการทูต อย่างน้อย 30 วันก่อนการเริ่มนำมาใช้
(3) ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการที่ยังมีอายุใช้งานได้หายหรือชำรุดในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง บุคคลผู้นั้นจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของอีกฝ่ายหนึ่งโดยทันที ผ่านคณะผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลของรัฐที่ตนถือสัญชาติ และคณะผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลที่เกี่ยวข้องนั้น จะออกหนังสือเดินทางหรือเอกสารเดินทางฉบับใหม่ให้บุคคลดังกล่าวเพื่อเดินทางกลับรัฐที่บุคคลผู้นั้นถือสัญชาติ ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของรัฐนั้น
การแก้ไข          ความตกลงนี้อาจได้รับการแก้ไขโดยความเห็นชอบร่วมกันของรัฐคู่สัญญาผ่านการจัดทำพิธีสารหรือหนังสือแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมผ่านช่องทางการทูต
การระงับข้อพิพาท          ความแตกต่างหรือข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการดำเนินการตามความตกลงนี้      จะได้รับการระงับอย่างฉันมิตรโดยการปรึกษาหารือหรือการเจรจาระหว่างรัฐคู่สัญญาผ่านช่องทางการทูต
ผลบังคับใช้
          (1) มีผลใช้บังคับในวันที่ 60 นับจากวันที่ได้รับแจ้งต่อกันเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต และไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด
(2) สามารถยกเลิกความตกลงโดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต และจะสิ้นสุดการมีผลใช้บังคับใน 90 วันหลังจากวันที่อีกฝ่ายหนึ่งได้รับแจ้งการยกเลิกความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
(3) การระงับการใช้บังคับความตกลงนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติ ความสงบเรียบร้อย สาธารณะ หรือสาธารณสุข รัฐผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับวันที่มาตรการดังกล่าว โดยจะมีผลใช้บังคับหรือสิ้นสุดผ่านช่องทางการทูตไม่ช้ากว่า 30 วัน ก่อนที่มาตรการดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
(4) การระงับการใช้บังคับความตกลงนี้จะไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ที่ได้เดินทางเข้าไปในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง ก่อนการระงับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
                     ประโยชน์ที่ได้รับ: ร่างความตกลงฯ จะช่วยอำนวยความสะดวก และส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยน การเยือน และการประสานราชการระหว่างไทยและลิทัวเนีย ตลอดจนสานต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกันให้มีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น
                     กต. แจ้งว่า ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพันธกรณีแก่รัฐบาลไทยและรัฐบาลรัฐลิทัวเนียที่จะยกเว้นการตรวจลงตราแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการของแต่ละฝ่าย จึงเข้าข่ายเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่จะต้องได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนามแต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
หมายเหตุ : 1 National Cybersecurity Index เป็นดัชนีชี้วัดระดับของการพัฒนารักษาความมั่นคง ปลอดภัยทางไซเบอร์ของแต่ละประเทศ จัดทำโดยสหภาพโทรคมนาคม (International Telecommunication Union : ITU) ดำเนินการร่วมกับสถาบัน Allied Business Intelligence (ABI Research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และมีเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการทำให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นวัฒนธรรมของโลก
                  2การกำหนดระยะเวลาการพำนักได้สูงสุดไม่เกิน 90 วัน ในทุก ๆ รอบการเดินทาง 180 วัน เป็นไปตามกฎของสหภาพยุโรปที่ใช้สำหรับกลุ่มข้าราชการที่เดินทางไปราชการระยะสั้นและนักท่องเที่ยว

21. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการผ่านแดนสินค้าระหว่างกรมศุลกากรแห่งอาณาจักรไทยและกรมศุลกากรและสรรพสามิตแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
                    1. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560 เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการผ่านแดนสินค้าระหว่างกรมศุลกากรแห่งราชอาณาจักรไทยและกรมศุลกากรและสรรพสามิตแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) เฉพาะการอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)
                    2. เห็นชอบในการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยอธิบดีกรมศุลกากรของประเทศไทย (ไทย) และกัมพูชา โดยไม่ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม ทั้งนี้ กรมศุลกากร กค. จะดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือแสดงเจตนารมณ์ในการยินยอมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว โดยไม่ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานระหว่างทั้งสองประเทศต่อไป
                    3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขภาคผนวกของร่างบันทึกความเข้าใจฯ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ การเปิดจุดผ่านแดนใหม่หรือด้วยเหตุผลอื่นใด ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ กค. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
[จะมีการลงนามและรับรองร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาจะเยือนไทยอย่างเป็นทางการ]
                    สาระสำคัญ
                    1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (17 ตุลาคม 2560) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจฯ และอนุมัติให้อธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ รวมทั้งอนุมัติให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ในการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ซึ่งต่อมา กต. ได้เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยมีข้อสังเกตว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเสรีภาพในการผ่านแดนตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า [General Agreement on Tariff?s and Trade (GATT)] และความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการค้า [Trade Facilitation Agreement (TFA)] ในกรอบขององค์การการค้าโลกที่ไทยเป็นภาคี จึงต้องพิจารณาด้วยว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวเข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรีหรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสองและวรรคสามของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อนการลงนาม ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย ที่ 3/2560 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเนื่องจากมีเจตนาจัดทำในระดับรัฐบาลและก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศภาคีภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นหนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรีตามมาตรา 178 วรรคสาม แต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมหรือการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวาง จึงไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามมาตรา 178 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                    2. กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย (กต.) ได้จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็มลงวันที่ 17 มกราคม 2561 ให้อธิบดีกรมศุลกากรในขณะนั้น (นายกุลิศ สมบัติศิริ) เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ แต่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อลงนาม ฝ่ายกัมพูชาประสงค์จะใช้หนังสือมอบฉันทะ (Letter of Authorization) ที่จัดทำโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังในฐานะหนังสือมอบอำนาจเต็มเพื่อประกอบการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารที่ใช้เป็นการภายในในการมอบอำนาจให้แก่ผู้เจรจาในฐานะผู้แทนของรัฐ ทั้งนี้ ไม่พบว่ามีการใช้หนังสือมอบฉันทะดังกล่าวในการลงนามเอกสารที่ประสงค์ให้มีผลผูกพันรัฐบาลแต่อย่างใด ดังนั้น ฝ่ายไทยจึงไม่สามารถยอมรับให้ฝ่ายกัมพูชาใช้หนังสือดังกล่าวในการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้
                    3. กค. (กรมศุลกากร) ได้จัดการประชุมผ่านระบบออนไลน์เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567               เพื่อหารือร่วมกับผู้แทนจาก กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกัมพูชาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาจะเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้อธิบดีกรมศุลกากรของทั้งสองประเทศสามารถลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในนามของรัฐได้โดยไม่ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ตามมาตรา 7 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 (Vienna Convention on the Law of Treaties 1969) ประกอบกับ กต. (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เห็นว่า หากทั้งสองฝ่ายเห็นชอบว่าจะลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยไม่ใช้หนังสือมอบอำนาจเต็มจะต้องเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ในส่วนของที่อนุมัติให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็มด้วย
                    4. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ1 มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              4.1 กำหนดให้คู่ภาคีจะต้องอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน โดยไม่ให้เกิดความล่าช้าในขั้นตอนของการผ่านแดน โดยสินค้าผ่านแดนนั้นเป็นของที่ไม่ต้องชำระอากรหากได้ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่มีการผ่านแดนอย่างครบถ้วน แต่ประเทศภาคีสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาระที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งหรือค่าบริการอื่น ๆ ได้
                              4.2 สินค้าต้องห้ามและสินค้าต้องกำกัด2 ในการผ่านแดนจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดระหว่างประเทศภาคีทั้งสองฝ่ายหรือข้อห้ามข้อกำกัดเกี่ยวกับสินค้าผ่านแดนของประเทศที่มีการผ่านแดน เช่น ความมั่นคง การปกป้องคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์
                              4.3 สินค้าผ่านแดนจะต้องขนส่งผ่านที่ทำการพรมแดนที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของร่างบันทึกความเข้าใจฯ และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขภาคผนวกดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่างคู่ภาคี ทั้งนี้ เส้นทางภายในประเทศสำหรับการขนส่งสินค้าผ่านแดนจะถูกกำหนดโดยภาคีแต่ละฝ่าย
                              4.4 ข้อพิพาทใดที่เกิดขึ้นจากการตีความร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะต้องมีการเจรจาอย่างฉันมิตรระหว่างหน่วยงานผู้มีอำนาจของภาคีตามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งสองฝ่าย
                              4.5 การแก้ไขหรือเพิ่มเติมร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง โดยภาคีอีกฝ่ายจะต้องตอบกลับเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่เสนอมาทั้งหมดจะต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันจากคู่ภาคีทั้งสองฝ่าย
                              4.6 ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนามและให้มีผลบังคับใช้โดยไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด
                              4.7 ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอยกเลิกร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในเวลาใดก็ได้ โดยการส่งหนังสือบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรระบุวันที่เสนอจะยกเลิกไปยังภาคีอีกฝ่าย โดยให้แจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันที่ยกเลิกร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในกรณียกเลิกร่างบันทึกความเข้าใจฯ บทบัญญัติตามร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะยังมีผลบังคับใช้ในการดำเนินการ หรือการทำข้อตกลงที่ได้ลงนามไว้ก่อนวันที่ยกเลิกร่างบันทึกความเข้าใจฯ
                    5. กค. แจ้งว่า การลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน และเป็นการส่งเสริมและกระชับความร่วมมือทางการค้าระหว่างไทยและกัมพูชา ทั้งนี้ ไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้ โดยไม่ต้องตราพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ เนื่องจากพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 หมวด 4 ส่วนที่ 1 ได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการผ่านแดนไว้แล้ว ซึ่งร่างบันทึกความเข้าใจฯ                   เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนลงนาม
1 กค. แจ้งว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นฉบับเดียวกันกับที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560
2 สินค้าที่กฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้าหรือส่งออกต้องได้รับอนุญาตให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

22. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่าง สธ. กับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ของราชอาณาจักรไทย ขอให้ สธ. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้มอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
[สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (สถานเอกอัครราชทูตจีนฯ) เสนอขอลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ภายในต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 แต่ สธ. ได้ขอขยายระยะเวลาให้มีการลงนามภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                    1. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แจ้งว่า สถานเอกอัครราชทูตจีนฯ แจ้งผลการพิจารณาโครงการของราชอาณาจักรไทยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งเสนอขอลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ มีโครงการของ สธ. จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการการสร้างความร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์พื้นบ้านเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019              ในกลุ่มประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Strengthening the Cooperation of Traditional and Indigenous Medicine in response to COVID-19 Pandemic in the Greater Mekong Basin)
                    2. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เป็นการกำหนดรายละเอียดสำหรับการดำเนินโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี 2566 ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
หลักการเบื้องต้น          (1) มุ่งสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของประเทศสมาชิกแม่โขง - ล้านช้าง
(2) ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ในการปรึกษาหารือ การประสานงาน การร่วมมือกัน และการได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
(3) เคารพกฎหมายและกฎระเบียบของสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทย
(4) ร่วมกันติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุน
การยืนยันเงินงบประมาณและโครงการ          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลจีนได้พิจารณาโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณในปี 2566 ที่เสนอโดยฝ่ายราชอาณาจักรไทย โดยพิจารณาตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวปฏิบัติการยื่นขอรับการสนับสนุนงบประมาณและการบริหารจัดการโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นไปตามแนวทางและมาตรฐานสากล โดยมีโครงการของฝ่ายราชอาณาจักรไทยที่ได้รับการอนุมัติและได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 1 โครงการ รายละเอียด ดังนี้
โครงการ: โครงการการสร้างความร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์พื้นบ้านเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Strengthening the Cooperation of Traditional and Indigenous Medicine in response to COVID-19 Pandemic in the Greater Mekong Basin)
งบประมาณ: 134,793 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ในวงเงินไม่เกิน 930,800 หยวน (ประมาณ 4.7 ล้านบาท)
ระยะเวลาโครงการ: 1 ปี
หน่วยงานดำเนินโครงการ: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นผู้ดำเนินโครงการและรับผิดชอบการวางแผนโครงการและการดำเนินโครงการรวมทั้งกิจกรรมและการบริหารงบประมาณของโครงการ
การจัดสรรงบประมาณ          ฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนจะจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนเต็มให้ฝ่ายไทยภายใน 20 วันทำการหลังจากที่ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้
การบริหารจัดการโครงการ          ฝ่ายราชอาณาจักรไทยจะดำเนินการ ดังนี้
(1) ใช้มาตรการที่จำเป็นและเหมาะสมในการกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยงานดำเนินโครงการ รวมทั้งให้แนวทางและกระตุ้นให้หน่วยงานดำเนินโครงการดำเนินตามแผนระยะเวลา และงบประมาณของโครงการ ทั้งนี้ ให้ถือว่าวันที่ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ เป็นวันเริ่มต้นโครงการ
(2) แจ้งฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนหากมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นนัยสำคัญในการดำเนินโครงการในระยะเวลาที่เหมาะสม
(3) แจ้งสถานะการดำเนินโครงการ ความก้าวหน้าของโครงการ ความสมบูรณ์ของเป้าหมายโครงการที่กำหนดในแต่ละระยะและการใช้ประโยชน์ของเงินงบประมาณและแจ้งฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนถึงความคืบหน้าตามความเวลาที่เหมาะสม
(4) ส่งเสริมการรับรู้ของสาธารณะและเปิดเผยเกี่ยวกับโครงการและกองทุน รวมทั้งแบ่งปันผลการประชาสัมพันธ์และผลงานด้านการทูตสาธารณะให้กับฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนทราบตามเวลาที่เหมาะสม
การกำกับดูแลและการตรวจสอบ          (1) ฝ่ายราชอาณาจักรไทยจะให้แนวทางและกำกับดูแลการตรวจสอบด้วยตัวเองของหน่วยงานดำเนินโครงการในเรื่องความก้าวหน้าของโครงการ ประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการ และการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามข้อกำหนด และจะแจ้งฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนทราบในระยะเวลาที่เหมาะสม
(2) ฝ่ายราชอาณาจักรไทยจะตรวจสอบโครงการบนพื้นฐานเฉพาะกิจ
(3) ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันสุ่มตรวจสอบการดำเนินโครงการบนพื้นฐานของความเห็นพ้องร่วมกัน
(4) ปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการจะได้รับการแก้ไขผ่านการหารืออย่างฉันมิตร
การยอมรับโครงการและการประเมินผล          (1) ฝ่ายราชอาณาจักรไทยจะให้แนวทางและเร่งรัดให้หน่วยงานดำเนินโครงการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการเมื่อเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน หลังโครงการเสร็จสมบูรณ์
(2) ฝ่ายราชอาณาจักรไทยจะจัดทำรายงานการยอมรับโครงการ ให้ความเห็นต่อรายงานผลการดำเนินโครงการฉบับสมบูรณ์และรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นลายลักษณ์อักษร
(3) งบประมาณส่วนที่เหลือจะต้องนำส่งให้แก่ฝ่ายจีนตามรายละเอียดบัญชีที่สาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดภายในสมาเดือนหลังจบโครงการ
การทบทวนและการแก้ไขเพิ่มเติม          การทบทวนหรือการแก้ไขเพิ่มเติมบางส่วนหรือทั้งหมดของบันทึกความเข้าใจฯ เป็นลายลักษณ์อักษร โดยจะมีผลหลังจากวันที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันผ่านการปรึกษาหารือ
การประยุกต์ใช้          บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายต่อทั้งสองฝ่ายและไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
ระยะเวลา          (1) บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ลงนามและจะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 5 ปี และได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นเวลาอีก 5 ปี นอกจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะแจ้งให้อีกฝ่ายทราบเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนวันหมดอายุ
(2) การสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะไม่กระทบต่อการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่มีอยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ตัดสินใจก่อนการสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้
                    3. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และวรรค 9 ของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระบุว่า บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายต่อทั้งสองฝ่ายและไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

23. เรื่อง ผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023 รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าตามตารางติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคและการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประจำปี ค.ศ. 2023 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า สหรัฐอเมริกาในฐานะเจ้าภาพความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia - Pacific Economic Cooperation : APEC) หรือเอเปค ปี 2566 ได้จัดสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประจำปี ค.ศ. 2023 (2023 APEC Economic Leaders? Meeting) ระหว่างวันที่ 11 - 17 พฤศจิกายน 2566 ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้หัวข้อหลัก คือ ?การสร้างอนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับทุกคน? (Creating a Resilient and Sustainable Future for All) โดยผลการประชุมและผลการหารือที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
                    1. สรุปผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี                 ค.ศ. 2023
                    ที่ประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์ดังกล่าวได้รับรองเอกสารผลลัพธ์ จำนวน 2 ฉบับ โดยฉันทามติ ได้แก่ (1) ถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี 2023 (2023 APEC Ministerial Meeting Joint Ministerial Statement) และ (2) ปฏิญญาโกลเดนเกตของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Leaders? 2023 Golden Gate Declaration) ซึ่งเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาสาระครอบคลุมประเด็นหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ความเชื่อมโยง (Interconnected) การใช้นวัตกรรม (Innovative) และความครอบคลุม(Inclusive) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็นสำคัญ          รายละเอียด
ภาพรวม          - ถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี 2023 เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นระดับรัฐมนตรีตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ส. 2040 (APEC Putrajaya Vision 2040)1 เพื่อไปสู่ประชาคมเอเชีย ? แปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต ยืดหยุ่น และมีสันติภายในปี ค.ศ. 2040 แผนปฏิบัติการอาโอทีอาโรอา (Aotearoa Plan of Action)2 และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว [Bangkok goals on Bio - Circular - Green (BCG) Economy]3 รวมถึงสะท้อนการขับเคลื่อนงานสำคัญในปี 2566 อาทิ การเสริมสร้างระบบสาธารณสุขเพื่อป้องกัน เตรียมพร้อม และตอบสนองต่อโรคระบาด (Pandemic Prevention, Preparedness, and Response: PPR) เพื่อสร้างระบบสาธารณสุขที่ยืดหยุ่น เท่าเทียม ยั่งยืน และครอบคุณม รวมถึงเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามที่ได้มีการหารือในการประชุมระดับสูงด้านสุขภาพ และเศรษฐกิจ ครั้งที่ 13 ซึ่งดำเนินการร่วมกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)
- ปฏิญญาโกลเดนเกตของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในการสานต่อเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกให้มีความยืดหยุ่น ความยั่งยืน ความเชื่อมโยง นวัตกรรม และความครอบคลุม และสามารถจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างและผันผวนได้
การส่งเสริมความเชื่อมโยง          - เน้นย้ำความมุ่งมั่นเพื่อบรรลุสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เสรี เปิดกว้าง เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส ครอบคลุม และคาดการณ์ได้ และสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีที่มีองค์การการค้โลก (World Trade Organisation: WTO) เป็นแกนกลาง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบทบาทขององค์การการค้าโลกจะยังดำเนินต่อไป และรวมทั้งสนับสนุนการปฏิรูปองค์การการค้าโลกเพื่อปรับปรุงการทำงานขององค์การการค้าโลกให้สามารถจัดการความท้าทายทางการค้าโลกได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ อาทิ การกำหนดกลไกระงับข้อพิพาทที่เข้าถึงง่ายและมีประลิทธิภาพ
- ผลักดันการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ขับเคลื่อนโดยตลาดมากขึ้นภายใต้วาระเขตการค้าเสรีเอเชีย - แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia Pacific: FTAAP)4 โดยเสริมสร้างขีดความสามารถและความร่วมมือทางเทคนิคเพื่อสนับสนุนความพร้อมของเขตเศรษฐกิจในการเข้าร่วมการดำเนินงานระดับภูมิภาคที่ครอบคลุมและมีคุณภาพสูง รวมทั้งศึกษาประเด็นที่มีการเห็นพ้องและเห็นต่างในทุกข้อบทของความตกลงทางการค้าในภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง
- ผลักดันการอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมสำหรับภาคธุรกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในภูมิภาคให้สามารถกลับไปดำเนินกิจการได้ในระดับเดียวกับช่วงก่อนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงของเอเปค (ค.ศ. 2015 - 2025) (APEC Connectivity Blueprint 2015 - 2025) โดยการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางกายภาพ เชิงองค์กร และระหว่างประชาชน รวมถึงย้ำความสำคัญของการพัฒนาและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ
การใช้นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน          - แสดงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในภาคการเกษตร ทรัพยากรทางทะเล การประมง และการป่าไม้ และต่อต้านการทำไม้ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนความพยายามในการสร้างความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงเน้นย้ำบทบาทของเขตเศรษฐกิจเอเปคในการดำเนินการตามแผนงานความมั่นคงทางอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 (Food Security Roadmap 2030) เพื่อบรรลุระบบการเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน เป็นธรรม และยืดหยุ่นมากขึ้น และลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
- เพิ่มความพยายามในการเร่งการเปลี่ยนฝานไปสู่พลังงานสะอาด ยั่งยืน เป็นธรรม ราคาไม่แพง และครอบคลุมผ่านแนวทางต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในหรือประมาณกลางศตวรรษนี้ โดยคำนึงถึงพัฒนาการล่าสุดทางวิทยาศาสตร์และสถานการณ์ภายในของเขตเครษฐกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งจะนำมาซึ่งยุคสมัยของการจ้างงานที่ดี การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค รวมถึงผลักดันและส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถด้านพลังงานหมุนเวียนของโลกเป็นสามเท่าผ่านเป้าหมายและนโยบายที่มีอยู่แล้ว โดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภายในของเขตเศรษฐกิจเอเปคภายในปี ค.ศ. 2030 เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านและการลงทุนในภาคการขนส่งที่ปล่อยก๊าซต่ำและเป็นศูนย์ในภูมิภาค การใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืนในภาคการบิน และการขนส่งทางทะเลที่ปล่อยก๊าชต่ำและเป็นศูนย์ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในท่าเรือ
- ให้ความสำคัญบทบาทของเศรษฐกิจดิจิทัลที่ช่วยให้เกิดการเติบโตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และเสริมสร้างนวัตกรรม โดยเร่งดำเนินการตามแผนงานด้านอินเทอร์เน็ตและเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเปค (APEC Internet and Digital Economy Roadmap) เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านกระบวนการทางการค้าไปสู่ดิจิทัลผ่านการพัฒนาและการใช้มาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าแบบไร้กระดาษ (paperless trade facilitation measures) และรับทราบข้อเสนอแนะเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบคลาวด์ในเอเปค ซึ่งจะส่งเสริมการนำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)5 มาใช้อย่างรวดเร็วในภูมิภาค รวมทั้งลดช่องว่างทางดิจิทัลทุกรูปแบบด้วยการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ปรับปรุงความเชื่อมโยงทางดิจิทัล และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลไกของเอเปคในเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างภาคบริการและงานที่เกี่ยวข้องในด้านกฎระเบียบภายในประเทศ เพื่อสร้างความเปิดกว้าง ความสมดุล ความโปร่งใส และความครอบคลุมและตระหนักถึงภัยคุกคามร้ายแรงจากการทุจริต โดยมีกรอบประเด็นสำหรับการต่อต้านการทุจริตของเอเปค ปี ค.ศ. 2023 - 2026 (Framework for APEC Anti - Corruption Thematic Areas 2023 - 2026) เพื่อขับเคลื่อนวาระการต่อต้านการทุจริตและความโปร่งใสของเอเปค อำนวยความสะดวกในการดำเนินการตามอนุสัญญาต่อต้านการทุจริตของสหประชาชาติ (United Nations against Corruption) และปฏิเสธการเป็นพื้นที่พักพิงสำหรับผู้กระทำผิดการทุจริตและทรัพย์สินที่ผิดกฎหมาย โดยให้เป็นไปตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ
การเสริมสร้างความครอบคลุม          - เสริมสร้างการเติบโตที่นำมาซึ่งประโยชน์ที่ชัดเจน ส่งเสริมสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Small and Medium Enterprise: MSME) ที่สตรีเป็นเจ้าของกิจการและมีส่วนสนับสนุนผลิตภัณฑ์มวลรวมของเขตเศรษฐกิจเอเปค
รวมทั้งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- เน้นย้ำความสำคัญของการบูรณาการประเด็นเพศสภาพผ่านการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และเท่าเทียมตามแผนปฏิบัติการลาเซเรนาเพื่อสตรีและการเติบโตที่ครอบคลุม (ค.ศ. 2019 - 2030) [La Serena Roadmap for Women and Inclusive Growth (2019 - 2030) จะลดอุปสรรคและส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคม เศรษฐกิจ เละการเงินของสตรีและเด็กหญิงจากพื้นเพที่แตกต่างกัน และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจแต่ยังไม่ได้การสนับสนุนให้สามารถแสดงศักยภาพได้ อาทิ กลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม คนพิการ และกลุ่มคนจากชุมชนชนบทและชุมชนห่างไกล
- ตระหนักถึงความจำเป็นในการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาและอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างครอบคลุมและเป็นธรรม ผลักดันการจ้างงานและการมีงานที่ดี ยกระดับความพยายามในการสร้างทักษะใหม่และพัฒนาทักษะให้ดีขึ้น และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะ มีประสิทธิผล และคล่องตัว

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ปรับแก้เอกสารผลลัพธ์ทั้ง 2 ฉบับ โดยเป็นการเพิ่มประเด็นสำคัญ อาทิ การเสริมสร้างความเชื่อมโยง การอำนวยความสะดวกด้านคมนาคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศสภาพ และการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งการปรับแก้ดังกล่าวไม่ขัดกับผลประโยชน์ของประเทศไทยและเป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ (7 พฤศจิกายน 2566)
                    2. ประโยชน์และผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
                    นายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์ที่เน้นย้ำว่าไทยได้กลับมามีบทบาทในเวทีโลกแล้ว พร้อมเปิดรับการค้าและการลงทุนจากทั่วโลก และกล่าวถึงนโยบายสำคัญเพื่อเร่งการเติบโตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อาทิ การจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด การส่งเสริมความเชื่อมโยงและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge)6 และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งประเทศไทยได้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการกำหนดนโยบายการพัฒนาเอเปคในเชิงสถาบันโดยเฉพาะการสานต่อผลสัพธ์ของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของประเทศไทยเมื่อปี 2565 เพื่อส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมของภูมิภาค ซึ่งช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและชูบทบาทนำของประเทศไทยในการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญของภูมิภาคและของโลกผ่านเวทีเอเปค นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพร์ทั้งสองฉบับในระหว่างการประชุมที่ได้มีการเพิ่มประเด็นสำคัญ อาทิ การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศสภาพ และการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ ๆ และเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศไทยให้ความสำคัญและสอดคล้องกับนโยบายและการดำเนินการโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน
                    3. ประเด็นสำคัญที่ต้องคิดตามจากผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคและการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023 โดยมีตัวอย่างประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามรายประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

หัวข้อ          ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม อาทิ          หน่วยงานที่รับผิดชอบ อาทิ
นโยบายภาพรวม          ดำเป็นการตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 แผนปฏิบัติการอาโอทีอาโรอา และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ- เศรษฐกิจหมุนเวียน ? เศรษฐกิจสีเขียว          ทุกหน่วยงาน
ผลักดันภูมิภาคเอเปคที่เชื่อมโยงกัน
การเสริมสร้างระบบสาธารณสุข          -เสริมสร้างระบบสาธารณสุขเพื่อป้องกัน เตรียมพร้อม และตอบสนองต่อโรคระบาศ
- บรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พัฒนาบริการสาธารณสุขปฐมภูมิเพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และลงทุนและระดมทุนเพื่อสร้างระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งและยืดหยุ่น รองรับแรงานที่มีทักษะและความสามารถ          - กระทรวงแรงงาน
- กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
การสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย ยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และเปิดกว้าง          -รักษาตลาดให้เปิดกว้างและรับมือกับการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น ยั่งยืน และเปิดกว้าง
- สานต่อความร่วมมือด้านท่าเรือและชายแดนและระบบการเชื่อมโยงข้อมูลแบบรวมศูนย์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ เพื่อปรับปรุงและลคความซับซ้อนของพิธีการท่าเรือและขั้นตอนศุลกากร          - กระทรวงการคลัง
- กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
สร้างแรงบันดาลใจสำหรับภูมิภาคเอเปคที่มีนวัตกรรมและยั่งยืน
การบริหารจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ          - ส่งเสริมการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์และการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติอย่างยั่งยืนในภาคการเกษตร ทรัพยากรทางทะเล การประมง และการป่าไม้
-ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืน ความยืดหยุ่นของชายฝั่ง ตลอดจนการบริหารจัดการการประมง ทรัพยากรระบบนิเวศทางทะเล และสินค้า และบริการที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน          -กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล          - พิจารณาการดำเนินการทางนโยบายร่วมกัน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล
- ส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืน สะอาด และปล่อยคาร์บอนต่ำในทุกภาคส่วนผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล          - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)
- พณ.
เสริมสร้างภูมิภาคเอเปคที่ครอบคลุม
การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศสภาพและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่มต่าง ๆ          - สนับสนุนเชิงรุกต่อข้อริเริ่มและยุทธศาสตร์ในการป้องกันและตอบสนองต่อความรุนแรงทางเพศสภาพและการเลือกปฏิบัติกับสตรีและเด็กหญิงจากพื้นเพที่ต่างกัน
- สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรีที่มีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในเศรษฐกิจยั่งยืน และการศึกษาของสตรีและเด็กหญิง รวมถึงในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์
          - กระทรรงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ดศ.
- กระทรวงศึกษาธิการ
การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน          - จัดลำดับความสำคัญและขจัดการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดการบริโภคที่สิ้นเปลืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป

- ผลักดันความพยายามในการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซต่ำและเป็นศูนย์ การใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืนในภาคการบิน และการขนส่งทางทะเลที่ปล่อยก๊าซต่ำและเป็นศูนย์ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในท่าเรือ          - กระทรวงคมนาคม (คค.)
- ทส.
- กระทรวงพลังงาน
พัฒนาเอเปคในฐานะสถาบัน
การส่งเสริมการทำงานของเอเปค อย่างมีประสิทธิภาพ          - พัฒนาเอเปคในฐานะสถาบันต่อไปตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040
- สานต่อความพยายามในการปรับปรุงธรรมาภิบาลและโครงสร้างองค์กร รวมถึงในระดับคณะทำงาน และสนับสนุนความพยายามในการเสริมสร้างศักยกาพและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างเข้มแข็ง          ทุกหน่วยงาน

1เป็นเป้าหมายในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานเอเปคในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยมีสาระสำคัญ คือ (1) การค้าและการลงทุน (2) นวัตกรรมและการเข้าสู่ยุคดิจิทัล และ (3) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความเข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืน และครอบคลุม
2มีวัตถุประสงค์เพื่อนำวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 มาปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่ (1) สร้างเศรษฐกิจเอเปคให้มีพลวัต และเชื่อมโยงการค้าการลงทุนภายในภูมิภาคมากที่สุด (2) สร้างศักยภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนทุกกลุ่มด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรม และ (3) ส่งเสริมการพัฒนาอย่างครอบคลุมและยั่งยืน เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพ
3เป็นเป้าหมายที่ประเทศไทยริเริ่มและผลักดันเพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานของเอเปคผ่านการใช้แนวคิดเศรษฐกิจชีวกาพ-ศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยถือเป็นเอกสารฉบับแรกในประวัติศาสตร์ของเอเปคที่วางบรรทัดฐานและระบุเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม
4เขตการค้าเสรีหว่างประเทศสมาชิกเอเปคทั้ง 21 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ซิลี เปรู รัสเซีย และประเทศสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงค์โปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน
5บริการเช่าใช้ระบบคอมพิวเตอร์และทรัพยากรแบบครบวงจร โดยสามารถเลือกเช่าฮาร์ดแวร์และ/หรือชอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย (Sever) การติดตั้งฐานข้อมูล (Database) การทดสอบระบบ (Testing) การประมวลผลที่รองรับได้หลากหลายระบบปฏิบัติการ (Platform) ตลอดจนถึงการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของผู้ใช้บริการ (Storage)
6เป็นโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่งทะเล คือ ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอาวไทยในจังหวัดชุมพร และท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันในจังหวัดระนอง โดยมีเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 แห่ง รวมระยะทางประมาณ 90 กิโถเมตร ได้แก่
(1) ทางหลวงพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร และ (2) ทางรถไฟเชื่อมต่อโครงข่ายหลัก และ (3) ทางรถไฟเชื่อม 2 ท่าเรือ โดยถือเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช

24. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง อว. แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ อว. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
(จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2567)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    1.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ได้มีการหารือความร่วมมือด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ณ กัมพูชา เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระหว่างไทย-กัมพูชา เช่น การแลกเปลี่ยนนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับบุคลากรวัยทำงานในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรมขยะ และโลจิสติกส์ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันในการยกร่างบันทึกความเข้าใจฯ
                    2. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
(1) วัตถุประสงค์          เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือในสาขาวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างสองประเทศ ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของความเสมอภาค ผลประโยชน์ร่วมกันและความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับที่มีอยู่ของแต่ละประเทศ
(2) สาขาความร่วมมือ          ประกอบด้วย
1) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพ
2) หุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัล
3) ความมั่นคงทางอาหาร น้ำ และพลังงาน
4) ภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีอวกาศ
5) ชีววิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์.
6) วัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี
7) นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสาธารณชนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8) การส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ การบ่มเพาะผู้ประกอบการ และอุทยานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
9) มาตรวิทยา
10) การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน
11) การแปรรูปอาหารและบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
12) สาขาอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าจะดำเนินความร่วมมือ
(3) กิจกรรมความร่วมมือ          ประกอบด้วย
1) โครงการการวิจัยและพัฒนาร่วม
2) การแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัย
3) การจัดและการเข้าร่วมการประชุมทางวิทยาศาสตร์ การสัมมนา
การประชุมทางวิชาการ การฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ นิทรรศการโครงการ/หลักสูตรเสริมสร้างขีดความสามารถที่จัดร่วมกัน
4) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเอกสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5) การถ่ายทอดเทคโนโลยี
6) ความร่วมมือด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบอื่น ๆ ที่เห็นพ้องร่วมกัน
(4) หน่วยงานหลักในการดำเนินการ          - ฝ่ายไทย คือ อว. โดย สำนักงานปลัด อว.
- ฝ่ายกัมพูชา คือ กระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยกรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
(5) คณะกรรมการร่วมเพื่อดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ           ทั้งสองฝ่ายร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนที่ได้รับการแต่งตั้งโดย อว. และกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งกัมพูชา โดยมีภารกิจของคณะกรรมการร่วม เช่น
1) อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติตามแผนงานและโครงการร่วม
2) แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้รับจากการดำเนินความร่วมมือและการพิจารณาข้อเสนอโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาต่อไป
3) จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมปีละหนึ่งครั้ง โดยจะผลัดกันจัดในไทยและกัมพูชา หรือนอกจากจะมีการตกลงกันให้ปฏิบัติแตกต่างไปจากนี้
(6) การจัดทำข้อตกลงย่อย          ทั้งสองฝ่ายสามารถจัดทำข้อตกลงย่อยสำหรับความร่วมมือด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาเฉพาะที่สนใจร่วมกันได้
(7) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา          1) ทั้งสองฝ่ายจะทำให้เชื่อมั่นได้ว่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาใด ๆ ที่อาจเกิดจากการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของบันทึกความเข้าใจฯ จะได้รับการปกป้องโดยกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศของตนและความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถนำมาบังคับใช้ได้
2) ทั้งสองฝ่ายจะทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการแบ่งปันสิทธิความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาใด ๆ อันเป็นผลจากการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันที่เข้าร่วมภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ จะพิจารณาแบ่งปันสิทธิตามการมีส่วนร่วมและผลประโยชน์ของสถาบันที่เข้าร่วมแต่ละแห่งเป็นรายกรณีโดยความเห็นชอบของทั้งสองฝ่ายผ่านการจัดทำความตกลงแยกเป็นลายลักษณ์อักษร
3) การนำผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และข้อมูลอื่นใดที่ได้รับจากกิจกรรมความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ไปเผยแพร่ จัดพิมพ์หรือใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จะต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย
(8) การตกลงร่วมกันในเงื่อนไข ข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ           ทั้งสองฝ่ายจะตกลงร่วมกันในเงื่อนไขและข้อกำหนดซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น จากการดำเนินแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ
(9) วันที่มีผลใช้บังคับ          วันที่ได้รับการลงนามโดยทั้งสองฝ่าย
(10) ระยะเวลาที่มีผลใช้บังคับและการสิ้นสุด          1) มีผลใช้เป็นระยะเวลาห้าปีและจะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นเวลาอีกห้าปี เว้นเสียแต่จะสิ้นสุดลงโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบผ่านช่องทางการทูตไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันหมดอายุ
2) การสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ จะไม่มีผลกระทบต่อโครงการหรือแผนงานภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ในห้วงเวลาที่บันทึกความเข้าใจฯ สิ้นสุดลง
(11) การแก้ไขข้อความและสารัตถะ          ต้องได้รับการตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
(12) ผลผูกพันทางกฎหมาย          ไม่มีเจตนาในการสร้างข้อผูกพันทางกฎหมายต่อทั้งสองฝ่ายและไม่ถือเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
* อว. แจ้งว่า ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการดำเนินแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ จะใช้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่ง อว. มีงบประมาณภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพและขับเคลื่อนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศระดับทวิภาคีและพหุภาคีรองรับเพื่อการนี้แล้ว

25. เรื่อง การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน ระหว่างไทยกับกัมพูชา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบ (ร่าง) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน ระหว่างไทยกับกัมพูชา ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับดังกล่าว
                    สาระสำคัญ
                    ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญของความร่วมมือทางวิชาการ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลการแจ้งเตือนภัยพิบัติ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์ที่ทันสมัย การปรับปรุงกลไกในการแบ่งปันข้อมูล การจัดตั้งกลไกการสื่อสารและประสานงาน การจัดตั้งระบบสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ ระบบพิเศษที่ตั้งขึ้นล่วงหน้าและแผนฉุกเฉิน การฝึกซ้อมแผนรับมือเหตุฉุกเฉินจากภัยพิบัติ และการเยือนระหว่างทั้งสองประเทศ

แต่งตั้ง
26. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงการคลัง)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 1 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศล โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ดังนี้
                     องค์ประกอบ (คงเดิม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                    หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                      1. กำหนดแนวทางการพิจารณารายละเอียดของหลักการและแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศลภายใต้กรอบหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
                     2. พิจารณากลั่นกรองโครงการสลากการกุศลของหน่วยงานต่าง ๆ และประสานงานหน่วยงานที่กำกับดูแลการดำเนินงานหรือการให้บริการของโครงการนั้น ๆ เพื่อให้ความเห็นประกอบการพิจารณาก่อนเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                     3. กำหนดแนวทางในการกำกับ ติดตามการดำเนินโครงการของหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรการออกสลากการกุศลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยความโปร่งใส
                     4. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศล
                     5. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายฐนัญพงษ์         สุขสมศักดิ์ ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้ง นางสาวพิยะดา สุดกังวาล ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กลุ่มที่ปรึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายสุรชาติ เทียนทอง ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นางสาวปรมาภรณ์ บริบูรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่                   6 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายฐิติพงศ์                  เขียวไพศาล เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

32. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอให้คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมมีจำนวนกรรมการเกินกว่าสิบเอ็ดคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน (นับรวมประธานกรรมการ กรรมการอื่นที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง) ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. 2509 และมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม รวม 14 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมได้ขอลาออก และดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้
                     1. นายโอภาส การย์กวินพงศ์                                                    ประธานกรรมการ
                     2. นายพงศธร พอกเพิ่มดี (ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข)                      กรรมการ
                    3. นายพงษ์ศักดิ์ เมธาพิพัฒน์ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)                     กรรมการ                                          4. นางสาวกรรภคมณฑ์ โสภาศพิรุณศักดิ์                                          กรรมการ
                    5. นายกิตติศักดิ์ อักษรวงศ์                                                   กรรมการ                                           6. นายกุลเศขร์ ลิมปิยากร                                                   กรรมการ
                    7. นางสาวจรสพร เฉลิมเตียรณ                                                    กรรมการ
                    8. นายทวีศิลป์ วิษณุโยธิน                                                   กรรมการ
                    9. นางนงลักษณ์ โกวัฒนะ                                                             กรรมการ
                    10. นายปณิธาน ปวโรฬารวิทยา                                                   กรรมการ
                    11. นายพงศ์เกษม ไข่มุกด์                                                   กรรมการ
                    12. นางศศิวิมล มีอำพล                                                               กรรมการ
                    13. นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์                                                   กรรมการ
                    14. นายสุรโชค ต่างวิวัฒน์                                                   กรรมการ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ