คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งตลอดจนการให้ความ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงปัจจุบัน (วันที่ 1 พฤษภาคม 2551) สรุปสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือดังนี้
1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร
ศรีสะเกษ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด และจังหวัดลพบุรี รวม
172 อำเภอ 919 ตำบล 6,349 หมู่บ้าน (คิดเป็น 22.80 % ของหมู่บ้านใน 20 จังหวัด และคิดเป็น 13.63 % ของหมู่บ้านทั้งประเทศ) แยกเป็น
พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ครัวเรือน คน
1 เหนือ 8 63 291 1,800 ลำปาง กำแพงเพชร 189,292 699,634
สุโขทัย อุตรดิตถ์
เชียงใหม่ นครสวรรค์
อุทัยธานี และพิจิตร
2 ตะวันออก 11 103 579 4,142 ศรีสะเกษ ขอนแก่น 452,959 2,004,239
เฉียงเหนือ มหาสารคาม ยโสธร
มุกดาหาร หนองบัวลำภู
อุบลราชธานี กาฬสินธุ์
สุรินทร์ ร้อยเอ็ด
และอำนาจเจริญ
3 กลาง 1 6 49 407 ลพบุรี 50,142 156,240
รวมทั้งประเทศ 20 172 919 6,349 692,363 2,860,113
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
จำนวน 11 เม.ย. 2551 18 เม.ย. 2551 25 เม.ย. 2551 1 พ.ค. 2551
ที่ ภาค หมู่บ้าน หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม
ทั้งหมด - ลด - ลด - ลด - ลด
1 เหนือ 16,440 5,647 + 563 5,647 - 4,100 -1,547 2,945 -1,146
2 ตะวันออก 32,830 17,111 + 195 17,161 + 50 8,446 -8,715 4,542 -3,904
เฉียงเหนือ
3 กลาง 11,703 2,047 + 843 2,004 - 43 1,565 - 439 407 -1,158
4 ตะวันออก 4,836 1,394 - 23 1,394 - 1,087 - 307 - -1,087
5 ใต้ 8,618 233 - 82 253 + 20 - - 253 - -
รวม 74,427 26,432 1,496 26,459 27 15,198 -11,261 7,894 -7,304
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2551 (รวม 47 จังหวัด 450 อำเภอ 2,191 ตำบล
15,198 หมู่บ้าน) เนื่องจากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หย่อมความกดอากาศต่ำและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีฝนตกทั่วไป
เป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้จังหวัดที่ประสบภัยแล้งคลี่คลายลงไป 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน เชียงราย ตาก ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน
เลย บุรีรัมย์ นครพนม อุดรธานี ชัยภูมิ สกลนคร หนองคาย นครราชสีมา สระบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ระยอง
นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี จันทบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา และจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ลดลง 7,304 หมู่บ้าน
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 817,243 ครัวเรือน 3,260,359 คน (คิดเป็น 14.90 % ของครัวเรือนทั้งหมด จำนวน
5,483,782 ครัวเรือน ใน 20 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
2) พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 151,987 ไร่ (พื้นที่นา 128,430 ไร่ พื้นที่ไร่ 23,110 ไร่ พื้นที่สวน 447 ไร่)
1.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 123 คัน แจกจ่ายน้ำ 2,470 เที่ยว 16,128,400 ลิตร
- ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก รวม 1,083 เครื่อง
- จังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ(ชั่วคราว) 5,837 แห่ง
- การขุดลอกแหล่งน้ำ 573 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,035 คัน แจกจ่ายน้ำ 39,450 เที่ยว 280,489,378 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 515,041,671 บาท แยกเป็น
- งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 440,045,327 บาท
- งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 48,906,707 บาท
- งบอื่นๆ 26,089,637 บาท
4) การประปาส่วนภูมิภาค สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่นำไปช่วยเหลือประชาชน จำนวน
61,361,000 ลิตร เป็นเงิน 836,903.75 บาท
2. การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ปี 2551
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2551 ว่าฤดูฝนจะเริ่มประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือน
พฤษภาคม ซึ่งเร็วกว่าปกติ 1 สัปดาห์ โดยจะมีร่องความกดอากาศต่ำ (ร่องฝน) พาดผ่านภาคใต้ตอนบน และจะเลื่อนตัวขึ้นไปภาคกลางและภาคตะวัน
ออก ประกอบกับจะมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดฝนทั่วประเทศ จากนั้นในเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม
ร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่าน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วเลื่อนไปพาดผ่านตอนใต้ของประเทศจีน และในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน
ร่องความกดอากาศต่ำ จะเลื่อนกลับลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกอีก ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมี
ฝนตกชุกทั่วไป ส่วนในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนบนและตอนล่างตามลำดับ ทำให้ภาคใต้มีฝน
เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สั่งการให้จังหวัดเตรียมความพร้อม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ปี 2551 ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป รวมทั้งให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มระดับจังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำศูนย์ฯ
และแบ่งหน้าที่การปฏิบัติอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยให้ดำเนินการแล้ว ดังนี้
1. ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยจากอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม รวมทั้งข้อมูลพื้นที่ปลอดภัย เพื่อรองรับการอพยพให้เป็น
ปัจจุบัน
2. จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม ระดับจังหวัด โดยกำหนดวิธีการปฏิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติ
บุคลากรและหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน พื้นที่เสี่ยงภัย ระบบการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย รวมทั้งแผนการอพยพไว้ในแผนเฉพาะกิจฯ และ
สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ทันทีที่เกิดภัย
3. จัดเตรียมกำลังคน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสารและโทรคมนาคมทั้งข่ายหลักและข่ายสำรอง ยานพาหนะ เรือท้องแบน เครื่องสูบ
น้ำ และเครื่องมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไว้ให้พร้อมใช้การได้ทันที
4. จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาหรือคำเตือนจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างใกล้ชิด
ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งตรวจสอบข้อมูลปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำในแม่น้ำ โดยให้ติดตามสถานการณ์ข้อมูลการพยากรณ์อากาศ แผนที่อากาศ ปริมาณน้ำ
ในลุ่มน้ำ สายหลัก ฯลฯ จากข้อมูลในเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์และคาดการณ์
แนวโน้มสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
5. จัดให้มีระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ผ่านข่ายการสื่อสารของทางราชการ สื่อมวลชน วิทยุ ชุมชนในท้องถิ่น เพื่อประชาสัมพันธ์ให้
ประชาชนติดตามข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม ให้สามารถดำเนินการอพยพประชาชนในพื้นที่
เสี่ยงภัย ได้อย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้น
6. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุการณ์ สำรองอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และอุปกรณ์ฉุกเฉิน พร้อมทั้ง
ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สังเกตลม ฟ้า อากาศ การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของสัตว์ ตลอดจนเชื่อฟังคำ
เตือน และพร้อมปฏิบัติ ตามคำแนะนำของราชการ
7. แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความสำคัญในการจัดหาพื้นที่รองรับน้ำ (แก้มลิง) พร้อมทั้งจัดงบประมาณเพื่อดำเนินการล้างท่อ
ระบายน้ำในเขตชุมชน ขุดลอก คู คลอง แหล่งน้ำสาธารณะ รวมทั้งกำจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
ได้อย่างรวดเร็วและสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
8. ติดตั้งเครื่องแจ้งเตือนภัยและเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน ณ ตำบลหรือหมู่บ้านเสี่ยงภัย พร้อมทั้งมอบหมายให้มิสเตอร์เตือนภัยที่ผ่านการ
ฝึกอบรมแล้วดูแลและบันทึกข้อมูลเป็นประจำและต่อเนื่อง ตลอดจนเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ แจ้งเตือนภัยให้ราษฎรในหมู่บ้านอพยพทันที เมื่อมีแนว
โน้มว่าอาจเกิด น้ำป่าไหลหลากหรือดินถล่มเกิดขึ้น
9. จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนเฉพาะกิจฯ ที่ได้จัดทำขึ้น ร่วมกับหน่วยงานที๋เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และอาสาสมัครในพื้นที่ ทั้งนี้งบ
ประมาณในการฝึกซ้อมให้พิจารณาขอรับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เข้าร่วมทำการฝึกซ้อมฯ ตามความจำเป็นและ
เหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 พฤษภาคม 2551--จบ--
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงปัจจุบัน (วันที่ 1 พฤษภาคม 2551) สรุปสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือดังนี้
1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร
ศรีสะเกษ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด และจังหวัดลพบุรี รวม
172 อำเภอ 919 ตำบล 6,349 หมู่บ้าน (คิดเป็น 22.80 % ของหมู่บ้านใน 20 จังหวัด และคิดเป็น 13.63 % ของหมู่บ้านทั้งประเทศ) แยกเป็น
พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ครัวเรือน คน
1 เหนือ 8 63 291 1,800 ลำปาง กำแพงเพชร 189,292 699,634
สุโขทัย อุตรดิตถ์
เชียงใหม่ นครสวรรค์
อุทัยธานี และพิจิตร
2 ตะวันออก 11 103 579 4,142 ศรีสะเกษ ขอนแก่น 452,959 2,004,239
เฉียงเหนือ มหาสารคาม ยโสธร
มุกดาหาร หนองบัวลำภู
อุบลราชธานี กาฬสินธุ์
สุรินทร์ ร้อยเอ็ด
และอำนาจเจริญ
3 กลาง 1 6 49 407 ลพบุรี 50,142 156,240
รวมทั้งประเทศ 20 172 919 6,349 692,363 2,860,113
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
จำนวน 11 เม.ย. 2551 18 เม.ย. 2551 25 เม.ย. 2551 1 พ.ค. 2551
ที่ ภาค หมู่บ้าน หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม
ทั้งหมด - ลด - ลด - ลด - ลด
1 เหนือ 16,440 5,647 + 563 5,647 - 4,100 -1,547 2,945 -1,146
2 ตะวันออก 32,830 17,111 + 195 17,161 + 50 8,446 -8,715 4,542 -3,904
เฉียงเหนือ
3 กลาง 11,703 2,047 + 843 2,004 - 43 1,565 - 439 407 -1,158
4 ตะวันออก 4,836 1,394 - 23 1,394 - 1,087 - 307 - -1,087
5 ใต้ 8,618 233 - 82 253 + 20 - - 253 - -
รวม 74,427 26,432 1,496 26,459 27 15,198 -11,261 7,894 -7,304
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2551 (รวม 47 จังหวัด 450 อำเภอ 2,191 ตำบล
15,198 หมู่บ้าน) เนื่องจากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หย่อมความกดอากาศต่ำและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีฝนตกทั่วไป
เป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้จังหวัดที่ประสบภัยแล้งคลี่คลายลงไป 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน เชียงราย ตาก ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน
เลย บุรีรัมย์ นครพนม อุดรธานี ชัยภูมิ สกลนคร หนองคาย นครราชสีมา สระบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ระยอง
นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี จันทบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา และจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ลดลง 7,304 หมู่บ้าน
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 817,243 ครัวเรือน 3,260,359 คน (คิดเป็น 14.90 % ของครัวเรือนทั้งหมด จำนวน
5,483,782 ครัวเรือน ใน 20 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
2) พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 151,987 ไร่ (พื้นที่นา 128,430 ไร่ พื้นที่ไร่ 23,110 ไร่ พื้นที่สวน 447 ไร่)
1.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 123 คัน แจกจ่ายน้ำ 2,470 เที่ยว 16,128,400 ลิตร
- ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก รวม 1,083 เครื่อง
- จังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ(ชั่วคราว) 5,837 แห่ง
- การขุดลอกแหล่งน้ำ 573 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,035 คัน แจกจ่ายน้ำ 39,450 เที่ยว 280,489,378 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 515,041,671 บาท แยกเป็น
- งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 440,045,327 บาท
- งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 48,906,707 บาท
- งบอื่นๆ 26,089,637 บาท
4) การประปาส่วนภูมิภาค สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่นำไปช่วยเหลือประชาชน จำนวน
61,361,000 ลิตร เป็นเงิน 836,903.75 บาท
2. การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ปี 2551
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2551 ว่าฤดูฝนจะเริ่มประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือน
พฤษภาคม ซึ่งเร็วกว่าปกติ 1 สัปดาห์ โดยจะมีร่องความกดอากาศต่ำ (ร่องฝน) พาดผ่านภาคใต้ตอนบน และจะเลื่อนตัวขึ้นไปภาคกลางและภาคตะวัน
ออก ประกอบกับจะมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดฝนทั่วประเทศ จากนั้นในเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม
ร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่าน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วเลื่อนไปพาดผ่านตอนใต้ของประเทศจีน และในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน
ร่องความกดอากาศต่ำ จะเลื่อนกลับลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกอีก ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมี
ฝนตกชุกทั่วไป ส่วนในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนบนและตอนล่างตามลำดับ ทำให้ภาคใต้มีฝน
เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สั่งการให้จังหวัดเตรียมความพร้อม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ปี 2551 ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป รวมทั้งให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มระดับจังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำศูนย์ฯ
และแบ่งหน้าที่การปฏิบัติอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยให้ดำเนินการแล้ว ดังนี้
1. ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยจากอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม รวมทั้งข้อมูลพื้นที่ปลอดภัย เพื่อรองรับการอพยพให้เป็น
ปัจจุบัน
2. จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม ระดับจังหวัด โดยกำหนดวิธีการปฏิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติ
บุคลากรและหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน พื้นที่เสี่ยงภัย ระบบการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย รวมทั้งแผนการอพยพไว้ในแผนเฉพาะกิจฯ และ
สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ทันทีที่เกิดภัย
3. จัดเตรียมกำลังคน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสารและโทรคมนาคมทั้งข่ายหลักและข่ายสำรอง ยานพาหนะ เรือท้องแบน เครื่องสูบ
น้ำ และเครื่องมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไว้ให้พร้อมใช้การได้ทันที
4. จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาหรือคำเตือนจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างใกล้ชิด
ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งตรวจสอบข้อมูลปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำในแม่น้ำ โดยให้ติดตามสถานการณ์ข้อมูลการพยากรณ์อากาศ แผนที่อากาศ ปริมาณน้ำ
ในลุ่มน้ำ สายหลัก ฯลฯ จากข้อมูลในเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์และคาดการณ์
แนวโน้มสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
5. จัดให้มีระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ผ่านข่ายการสื่อสารของทางราชการ สื่อมวลชน วิทยุ ชุมชนในท้องถิ่น เพื่อประชาสัมพันธ์ให้
ประชาชนติดตามข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม ให้สามารถดำเนินการอพยพประชาชนในพื้นที่
เสี่ยงภัย ได้อย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้น
6. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุการณ์ สำรองอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และอุปกรณ์ฉุกเฉิน พร้อมทั้ง
ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สังเกตลม ฟ้า อากาศ การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของสัตว์ ตลอดจนเชื่อฟังคำ
เตือน และพร้อมปฏิบัติ ตามคำแนะนำของราชการ
7. แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความสำคัญในการจัดหาพื้นที่รองรับน้ำ (แก้มลิง) พร้อมทั้งจัดงบประมาณเพื่อดำเนินการล้างท่อ
ระบายน้ำในเขตชุมชน ขุดลอก คู คลอง แหล่งน้ำสาธารณะ รวมทั้งกำจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
ได้อย่างรวดเร็วและสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
8. ติดตั้งเครื่องแจ้งเตือนภัยและเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน ณ ตำบลหรือหมู่บ้านเสี่ยงภัย พร้อมทั้งมอบหมายให้มิสเตอร์เตือนภัยที่ผ่านการ
ฝึกอบรมแล้วดูแลและบันทึกข้อมูลเป็นประจำและต่อเนื่อง ตลอดจนเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ แจ้งเตือนภัยให้ราษฎรในหมู่บ้านอพยพทันที เมื่อมีแนว
โน้มว่าอาจเกิด น้ำป่าไหลหลากหรือดินถล่มเกิดขึ้น
9. จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนเฉพาะกิจฯ ที่ได้จัดทำขึ้น ร่วมกับหน่วยงานที๋เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และอาสาสมัครในพื้นที่ ทั้งนี้งบ
ประมาณในการฝึกซ้อมให้พิจารณาขอรับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เข้าร่วมทำการฝึกซ้อมฯ ตามความจำเป็นและ
เหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 พฤษภาคม 2551--จบ--