http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับ ผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง พ.ศ. .... 2. เรื่อง การปรับบทบาทภารกิจ หน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต และข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต 3. เรื่อง ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. .... และร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำ ตำแหน่ง พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์สำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็น กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนด ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอาคารชุดสำหรับการแปลง สภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนใน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ 5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ (ร่าง พระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....) 6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดง พ.ศ. .... ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสมุทรปราการ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธี พิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับ สำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ (กำหนดวันเปิด ทำการศาลจังหวัดพระประแดง วันที่ 1 เมษายน 2567 และกำหนดให้มีการ เปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสมุทรปราการ รวมทั้งกำหนดให้ศาลจังหวัดพระ ประแดงสามารถนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด สำหรับคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอพระประแดง และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไป) เศรษฐกิจ- สังคม 7. เรื่อง รายงานการประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 2 8. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจ แห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566 9. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการเพื่อจัดตั้งสำนักบริหารการมัธยมศึกษา (สบม.) ของ คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา 10. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 7-12 กุมภาพันธ์ 2567) 11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการกู้เงินเพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินขององค์การ
เภสัชกรรม
12. เรื่อง การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2567 (เพิ่มเติม) 13. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1 14. เรื่อง รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไป พลางก่อน และมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน
15. เรื่อง สรุปผลการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 42 (42nd Session of UNESCO General Conference: GC) 16. เรื่อง ผลการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ในการดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok- UNDP Regional Innovation Center: RIC) หรือห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (Thailand Policy Lab: TPLab) ประจำปี 2565 ความก้าวหน้าของกิจกรรมประจำปี 2566 และการขยาย ระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ 17. เรื่อง ร่างแผนงานความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับ ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปี ค.ศ. 2024 - 2025 (Joint Work Programme between the Ministry of Energy of the kingdom of Thailand and the International Energy Agency 2024 - 2025) 18. เรื่อง ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 30 และการประชุม คณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 แต่งตั้ง 19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 21. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 23. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงาน พัฒนารัฐบาลดิจิทัล 24. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ 25. เรื่อง การแต่งตั้งประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมการสภา ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 26. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร 27. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การ
สะพานปลา
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเป็นการล่วงหน้า และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ อก. ได้มีการออกกฎกระทรวงบังคับใช้ ดังนี้
1. กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 โดยได้กำหนดค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาต รวม 6 รายการ ได้แก่
ประเภทของค่าธรรมเนียม อัตราค่าธรรมเนียม 1. ใบอนุญาตตามมาตรา 16 ? ใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มาตรฐานทั่วไป) ฉบับละ 3,000 บาท 2. ใบอนุญาตตามมาตรา 20 ? ใบอนุญาตทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวง กำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) 3. ใบอนุญาตตามมาตรา 21 ? ใบอนุญาตนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักร 4. ใบอนุญาตตามมาตรา 24 ? คำขอย้ายสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 มาตรา 20 และมาตรา 21 ฉบับละ 1,500 บาท 5. ใบอนุญาตตามมาตรา 25 ? คำขอโอนใบอนุญาต สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 มาตรา 20 และ มาตรา 21 6. ใบแทนใบอนุญาต ? กรณีใบอนุญาตหายหรือชำรุดเสียหายมาก ตามมาตรา 23 ฉบับละ 300 บาท
2. กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง พ.ศ. 2552 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 โดยได้กำหนดค่าธรรมเนียมคำขอรับใบรับรอง ค่าธรรมเนียมใบรับรอง และค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบรับรอง รวม 9 รายการ ได้แก่
ประเภทของค่าธรรมเนียม อัตราค่าธรรมเนียม 1. คำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 18 ? ใบอนุญาตที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ออกให้แก่ผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง ซึ่งเป็นบุคคลหรือหน่วยงานที่ให้บริการการตรวจสอบและรับรองแก่ผู้ประกอบกิจการ สำหรับมาตรฐานการตรวจและรับรองบังคับ และผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรองต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ โดยปัจจุบัน สมอ. ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการตรวจและรับรองบังคับ จึงยังไม่มีการออกใบอนุญาตตามมาตรา 18 แต่อย่างใด ฉบับละ 500 บาท 2. คำขอรับใบรับรองตามมาตรา 28 ? ใบรับรองมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองที่ สมอ. ออกให้แก่ผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง ซึ่งเป็นบุคคลหรือหน่วยงาน ที่ให้บริการการตรวจสอบและรับรองแก่ผู้ประกอบกิจการ สำหรับมาตรฐานการตรวจและรับรองทั่วไป และผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรองมีสิทธิแสดงเครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เช่น ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ฉบับละ 1,000 บาท 3. ค่าตรวจสอบคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 18 สาขาหน่วยรับรอง ครั้งละ 15,000 บาท สาขาหน่วยตรวจ ครั้งละ 1,500 บาท 4. ค่าตรวจสอบคำขอรับใบรับรองตามมาตรา 28 สาขาหน่วยรับรอง ครั้งละ 30,000 บาท สาขาหน่วยตรวจ ครั้งละ 3,000 บาท 5. ใบอนุญาตตามมาตรา 18 ฉบับละ 10,000 บาท 6. ใบรับรองตามมาตรา 28 ฉบับละ 10,000 บาท 7. ใบแทนใบอนุญาตตามมาตรา 18 ฉบับละ 5,000 บาท 8. ใบแทนใบรับรองตามมาตรา 28 ฉบับละ 5,000 บาท 9. การต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 18 หรือใบรับรองตามมาตรา 28 ครั้งละกึ่งหนึ่งของ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หรือใบรับรองนั้น ๆ แต่ละฉบับ
3. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ในโอกาส วันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 25627 ที่กำลังจะมาถึง ขอให้ทุกส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐเร่งพิจารณากำหนดแผนงานหรือโครงการในความรับผิดชอบ ที่เห็นสมควรดำเนินการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน อก. จึงเห็นควรยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และค่าธรรมเนียมบางรายการสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
3.1 ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. .... ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่กำหนดตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 ตามข้อ 1
3.2 ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง พ.ศ. .... ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ โดย ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมบางรายการสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรองที่กำหนดตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง พ.ศ. 2552 ได้แก่ 1) คำขอรับใบรับรอง 2) ใบรับรอง และ 3) การต่ออายุใบรับรองตามมาตรา 28 ซึ่งร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567
4. กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำรายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยมาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐเสียรายได้จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ประมาณ 21.6 ล้านบาท และจากการยกเว้นค่าธรรมเนียมบางรายการสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง ประมาณ 1.4 ล้านบาท แต่จะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ที่ยื่นขอรับใบอนุญาตสำหรับกรณีใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และของหน่วยตรวจ หน่วยรับรอง และห้องปฏิบัติการสำหรับกรณีผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างแรงจูงใจให้มีการยื่นขอใบอนุญาตและใบรับรองเพิ่มมากขึ้น
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. .... เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวม 6 รายการ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567
2. ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง พ.ศ. .... เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมบางรายการสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง รวม 3 รายการ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง พ.ศ. 2552 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้
1. รับทราบ
1.1 ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง ในส่วนของหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต รวม 35 ฉบับ 1.2 ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .... รวม 36 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
2. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
3. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงรวม 36 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดย 1) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง ในส่วนของหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต รวม 35 ฉบับ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง เพื่อปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ให้มีหน้าที่ในการเสนอแนะต่อหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับการป้องกันและปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด ประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยง จัดทำแผนปฏิบัติการ เร่งรัดและกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติ มิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของส่วนราชการ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และรับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมให้ครอบคลุมทั้งส่วนราชการในสังกัด (กรม) รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน และ 2) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่ และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข โดยปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตเช่นเดียวกับร่างกฎกระทรวงตาม 1) และรวมทั้งการจัดตั้งส่วนราชการเพิ่มใหม่ ได้แก่ ?กองสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ? โดยยกฐานะจากสำนักสนับสนุนระบบปฐมภูมิซึ่งเป็นหน่วยงานจัดตั้งภายใน ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของกองกฎหมาย และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และตัดสถาบัน พระบรมราชชนกออกจากส่วนราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขซึ่งได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 แล้ว ทั้งนี้ การดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอำนาจหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตเพื่อปรับปรุงบทบาทภารกิจให้ครอบคลุมงานด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัย การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการต่อต้าน การทุจริต ซึ่งร่างกฎกระทรวงทั้ง 36 ฉบับในเรื่องนี้ได้ดำเนินการตามขั้นตอน และแนวทางปฏิบัติตาม มติคณะรัฐมนตรี (19 ธันวาคม 2549) และ ก.พ.ร. ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว การตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงเพื่อปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้าน การทุจริต คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับ (1) บทบาทภารกิจ หน้าที่และอำนาจของ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต เพื่อให้การขับเคลื่อนการต่อด้านการทุจริตและประพฤติมิชอบและการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในประเด็นการประสานความร่วมมือของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ควรจัดทำหลักเกณฑ์การประสานความร่วมมือระหว่างศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตของส่วนราชการกับรัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน ในการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และนำเสนอ ต่อสำนักงาน ก.พ.ร. และคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนถือปฏิบัติต่อไป และ (2) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนกลางที่ตั้งในจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันมีหน่วยงาน คณะกรรมการ และแผนปฏิบัติการต่างๆ จำนวนมากที่อาจซ้ำซ้อนกัน และยังไม่มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างส่วนราชการ และการดำเนินการสำหรับส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศยังไม่มีกลไกที่ชัดเจน สมควรที่สำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ศึกษาและวิเคราะห์กลไกเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้การขับเคลื่อนการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบและ การส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง ในส่วนของหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) รวม 35 ฉบับ ซึ่งมีสาระปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของ ศปท. โดยแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของ สปน. สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง รวม 35 ฉบับ ใน 4 ประเด็น ดังนี้ 1.1 กำหนดให้มีหน้าที่ในการเสนอแนะต่อหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับการป้องกันและปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด ประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการบริหาร ความเสี่ยงเพื่อลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต และประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ
1.2 กำหนดให้มีหน้าที่เร่งรัดและกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน
1.3 กำหนดให้มีหน้าที่ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และรับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการฝ่าฝืนจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในสังกัด และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงาน เร่งรัด และติดตามจนได้ข้อยุติ
1.4 กำหนดให้ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.5 กำหนดให้มีการประสานความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชนที่อยู่ในกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเกี่ยวกับข้อมูลการจัดทำ และการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม ตลอดจนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานดังกล่าว เพื่อเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อหัวหน้าส่วนราชการในการจัดทำรายงานต่อนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชนดังกล่าวต่อไป
1.6 กำหนดให้ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย
2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง สธ. โดยการจัดตั้งส่วนราชการเพิ่มใหม่ ได้แก่ กองสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ (ยกฐานะของ ?สำนักสนับสนุนระบบปฐมภูมิ? ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดตั้งภายใน) และปรับปรุงหน้าที่ และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองกฎหมาย และ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และตัดสถาบันพระบรมราชชนกออกจากส่วนราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของ ศปท. ดังนี้ การแบ่งส่วนราชการในปัจจุบัน การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุงใหม่ หมายเหตุ 1. กลุ่มตรวจสอบภายใน 2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร คงเดิม คงเดิม - 3. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้าน การทุจริตฯ คงเดิม ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะต่อหัวหน้าส่วนราชการ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ ประพฤติมิชอบเร่งรัด และกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม และประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ จัดทำรายงานและประสานความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน ที่อยู่ในกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเกี่ยวกับข้อมูลการจัดทำ และการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 4. กองกลาง คงเดิม - 5. กองกฎหมาย คงเดิม แก้ไขหน้าที่และอำนาจ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการรับฟัง ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และ การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้ง การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน ปลัดกระทรวงและกระทรวง 6. กองการต่างประเทศ คงเดิม - 7. กองการพยาบาล คงเดิม - 8. กองตรวจราชการ คงเดิม - 9. กองบริหารการคลัง คงเดิม - 10. กองบริหารการสาธารณสุข คงเดิม - 11. กองบริหารทรัพยากรบุคคล คงเดิม - 12. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน คงเดิม - 13. กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ คงเดิม - เพิ่มกองสนับสนุนระบบสุขภาพ ปฐมภูมิ (ยกฐานะจาก ?สำนัก สนับสนุนระบบปฐมภูมิ? ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดตั้งภายใน) กำหนดให้มีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการ และปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ คณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง มอบหมาย และจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และมาตรการเกี่ยวกับบริการสุขภาพปฐมภูมิและระบบสุขภาพปฐมภูมิให้สอดคล้องกับ การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ เสนอต่อคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ รวมทั้งประสานการดำเนินงาน กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและมาตรการ เกี่ยวกับบริการสุขภาพปฐมภูมิ และระบบสุขภาพปฐมภูมิ 14. กองสาธารณสุขฉุกเฉิน คงเดิม - 15. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คงเดิม แก้ไขหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม และนโยบายของกระทรวง 16. สถาบันพระบรมราชชนก ตัดออก เนื่องจากสถาบันพระบรมราชชนก ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 3. เรื่อง ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. .... และร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. .... และร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. .... ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ให้สำนักงาน ก.พ. รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ข้อเท็จจริง
สำนักงาน ก.พ. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎ ก.พ. รวม 2 ฉบับต่อไป โดยการปรับปรุงร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวจะทำให้เมื่อมีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่จะสามารถจัดตำแหน่งเข้าประเภทและระดับตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดได้โดยไม่ต้องแก้ไขกฎ ก.พ. และส่งผลดีต่อการบริหารจัดการตำแหน่งและ การบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการให้เกิดความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งจะทำให้ขั้นตอนของ การดำเนินการให้ความเห็นชอบตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งของส่วนราชการและสำนักงาน ก.พ. ลดลง และทำให้เกิดความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่ง ก.พ. และ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบได้เห็นชอบด้วยแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ.
1. ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. .... เป็น การปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ปรับปรุงชื่อตำแหน่งให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน
1.2 ปรับรูปแบบการเขียนชื่อตำแหน่งของประเภทบริหารและประเภทอำนวยการ จากเดิมที่ระบุชื่อตำแหน่งเป็นการเฉพาะเจาะจง เป็นการกำหนดคำนิยามของตำแหน่งแทน เพื่อจะได้ไม่ต้องมีการแก้ไข กฎ ก.พ. ทุกครั้งที่มีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามในบางตำแหน่งเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
2. ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับเงินประจำตำแหน่งของระดับชำนาญการให้สอดคล้องกับหนังสือเวียนของสำนักงาน ก.พ. (ว 6/2565) ที่กำหนดให้การได้รับเงินประจำตำแหน่งของระดับชำนาญการให้กระทำได้เมื่อข้าราชการผู้นั้นผ่านการประเมินบุคคลและผลงานและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการแล้ว โดยไม่ต้องเป็นระดับชำนาญการครบ 2 ปี และไม่ต้องผ่านการประเมินเพื่อขอรับเงินประจำตำแหน่งอีก
2.2 ยกเลิกการกำหนดให้กรณีที่ส่วนราชการได้กำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นส่วนราชการจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ก่อน เพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการได้รวดเร็วและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
2.3 ปรับรูปแบบการเขียนบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ. สำหรับตำแหน่งประเภทบริหาร (ระดับต้นและระดับสูง) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (ระดับต้นและระดับสูง) และตำแหน่งประเภทวิชาการ (ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ) จากเดิมที่ระบุเป็นรายสายงาน เป็นระบุให้ ทุกสายงานมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง* รวมทั้งแก้ไขลักษณะการเขียนชื่อตำแหน่งให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรูปแบบการเขียนชื่อตำแหน่งตามร่างกฎ ก.พ. ในข้อ 1
* โดยที่บัญชีท้ายกฎ ก.พ. เดิม ได้กำหนดให้ตำแหน่งประเภทบริหาร (ระดับต้นและระดับสูง) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (ระดับต้นและระดับสูง) และตำแหน่งประเภทวิชาการ (ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ) ทุกสายงานมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งอยู่แล้ว ดังนั้น การปรับรูปแบบการเขียนดังกล่าวจึงมิได้เป็นการเพิ่มตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งแต่อย่างใด 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์สำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอาคารชุดสำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์สำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอาคารชุดสำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว 2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ข้อเท็จจริง มท. เสนอว่า 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์สำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอาคารชุดสำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดสำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการและลดภาระให้แก่ภาคธุรกิจและสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 เรื่อง มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 2. มท. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดการณ์ว่ามาตรการด้านค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสูญเสียรายได้ประมาณ 3,092 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาการดำเนินมาตรการ แต่อย่างไรก็ตามจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจกอง 1* ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยการเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการและให้การดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดำเนินต่อไปได้จากการแปลงสภาพ กอง 1 เป็นกองทรัสต์ และช่วยให้การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของกองทุนสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยมีการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) ซึ่งจะทำให้ภาครัฐสามารถจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จากธุรกรรมของกอง 1 ที่มีการขยายการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม เช่น การโอนอสังหาริมทรัพย์ การจำนองอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ภาครัฐมีกลไกช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ครอบคลุมมากขึ้น ดังนั้น มท. จึงยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว รวม 2 ฉบับ ต่อไปได้ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์สำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... ประเด็น สาระสำคัญ 1.1 กำหนดคำนิยาม ?กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์? หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อจัดการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรงตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 1.2 กำหนดค่าธรมเนียม ร้อยละ 0.01 ของราคาประเมินทุนทรัพย์หรือราคาทุนทรัพย์ที่เช่าหรือจำนอง แต่จำนวนค่าธรรมเนียมอย่างสูงต้องไม่เกิน 100,000 บาท 1.3 กำหนดระยะเวลา เฉพาะการจดทะเบียนที่ดำเนินการนับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอาคารชุดสำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... ประเด็น สาระสำคัญ 2.1 กำหนดคำนิยาม ?กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์? หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อจัดการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรงตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2.2 กำหนดค่าธรมเนียม ร้อยละ 0.01 ของราคาประเมินทุนทรัพย์หรือราคาทุนทรัพย์ที่เช่าหรือจำนอง แต่จำนวนค่าธรรมเนียมอย่างสูงต้องไม่เกิน 100,000 บาท 2.3 กำหนดระยะเวลา เฉพาะการจดทะเบียนที่ดำเนินการนับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 * กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นกองทุนรวมซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยบริษัทจัดการลงทุน (สถาบันการเงิน) จะระดมเงินทุนจากผู้ลงทุนด้วยการขายหน่วยลงทุนและนำเงินทุนที่ได้ไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยมีรายได้ประจำในรูปของ ค่าเช่า เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม อพาร์ทเมนท์ และผู้ลงทุนจะได้รับผลประโยชน์ในรูปของเงินปันผลจากรายได้ที่ได้จากการดำเนินงานของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อมีการระดมทุนเสร็จแล้วจะมีการปิดกอง และนำไป จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบันไม่มีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กองใหม่เปิดเพิ่มขึ้นแล้ว เนื่องจากสำนักงาน ก.ล.ต. ต้องการให้เปลี่ยนรูปแบบเป็นกองทรัสต์ฯ แทน) 5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ (ร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....) คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ซึ่งนายศักดิ์ดา แสนมี่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 12,888 คน เป็นผู้เสนอ โดยให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปด้วย ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ซึ่งนายศักดิ์ดา แสนมี่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 12,888 คน เป็นผู้เสนอ มีหลักการเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาชนเผ่าเมืองแห่งประเทศไทย และมีเหตุผลเพื่ออนุรักษ์ พัฒนา และสืบทอดวิถีชีวิต อัตลักษณ์ และระบบแบบแผนภูมิปัญญาของชนเผ่าพื้นเมือง โดยกำหนดกลไกในการส่งเสริม ประสานงาน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อสนองต่อวิถีวัฒนธรรมที่หลากหลายให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น กำหนดให้มีสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยมีหน้าที่และอำนาจในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยมีหน้าที่และอำนาจในการบริหารและดำเนินงานต่าง ๆ ตามที่ที่ประชุมสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว กำหนดให้จัดตั้งกองทุนสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุน และฟื้นฟูวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนเกี่ยวกับอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชนเผ่าพื้นเมือง เป็นต้น ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการมีกำหนด 60 วัน โดยจะต้องส่งคืนสภาผู้แทนราษฎรภายในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. กำหนดให้ชนเผ่าพื้นเมืองแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มาขึ้นทะเบียนกับสำนักงานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยหรือสำนักงานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยในภูมิภาค 2. กำหนดให้มีสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยมีหน้าที่และอำนาจในการประสานงาน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจการของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความขัดแย้งและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ อนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูอัตลักษณ์ ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา อาหาร สมุนไพร พันธุ์พืช พื้นที่ทางจิตวิญญาณ และพื้นที่ทำมาหากินตามจารีตประเพณีของชนเผ่าพื้นเมือง ศึกษา ติดตาม และประเมินผลกระทบของนโยบายหรือกิจการหรือโครงการใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบฐานข้อมูล รวบรวมวิเคราะห์ และสรุปข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ สภาพปัญหาและความต้องการของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษา รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรวิถีวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง ตลอดจนแต่งตั้งคณะผู้อาวุโส คณะที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน 3. กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย มีหน้าที่และอำนาจในการบริหารและดำเนินงานต่าง ๆ ตามที่ที่ประชุมสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และกำหนดให้สมาชิกสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยคณะกรรมการบริหารสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการ คณะผู้อาวุโสและคณะทำงานที่สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยแต่งตั้งได้รับเบี้ยประชุมและให้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง 4. กำหนดให้มีคณะผู้อาวุโสของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือ ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่สมาชิกสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และสำนักงานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแผนงานและแผนงบประมาณของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ไกล่เกลี่ยกรณีที่เกิดข้อพิพาทหรือมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันจนไม่สามารถหาข้อยุติตามที่สมาชิกสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คณะกรรมการบริหารสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาชนเผ่าเมืองแห่งประทศไทยร้องขอ ตลอดจนกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทยหรือคณะกรรมการบริหารสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย 5. กำหนดให้มีสำนักงานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การอำนวยการของคณะกรรมการบริหารสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยโดยมีหน้าที่ในการจัดทำแผนงาน โครงการตามมติของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยเพื่อเสนอต่อสมาชิกสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรี และรัฐสภาประสานงาน ให้ความร่วมมือ และบริการทางวิชาการให้แก่สภาและภาคีที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีฐานข้อมูลประชากรชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย รวมทั้งกำหนดให้มีเลขาธิการสำนักงานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยเป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการของสำนักงาน และมีอำนาจกำหนดระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการสำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ และกำหนดให้เลขาธิการเป็นเลขานุการสภาโดยตำแหน่ง 6. กำหนดให้จัดตั้งกองทุนสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุน และฟื้นฟูอัตลักษณ์ ภาษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พื้นที่ทางจิตวิญญาณของชนเผ่าพื้นเมือง ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัย และจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน องค์กร และเครือข่ายของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย คุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนเกี่ยวกับอาชีพ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของชนเผ่าพื้นเมืองให้สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของตนเอง ส่งเสริมและสนับสนุนการขจัดการเลือกปฏิบัติ การจัดการความขัดแย้ง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และกำหนดให้กองทุนประกอบด้วยเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้เพื่อสมทบกองทุนโดยไม่มีเงื่อนไข ดอกผลหรือรายได้อื่น เงินและทรัพย์สินอื่นที่ตกเป็นของกองทุน รวมทั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยกรรมการสภาที่คัดเลือกกันเองจำนวน 7 คน กำหนดให้การดำเนินการด้านการเงินของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยอยู่ภายใต้การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งกำหนดให้จัดทำงบดุล รายงานการเงินของกองทุนที่ผู้ตรวจสอบบัญชีรับรองแล้วเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยและที่ประชุมสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย 6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดง พ.ศ. .... ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสมุทรปราการ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ (กำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดง วันที่ 1 เมษายน 2567 และกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสมุทรปราการ รวมทั้งกำหนดให้ศาลจังหวัดพระประแดงสามารถนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสำหรับคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอพระประแดง และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไป) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดง พ.ศ. .... ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสมุทรปราการ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ศย. เสนอว่า 1. ตามที่ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2553 กำหนดให้จัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เรียกว่า ?ศาลจังหวัดพระประแดง? มีเขตตลอดท้องที่อำเภอพระประแดง และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และจะเปิดทำการเมื่อใด ให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของศาลยุติธรรมในการอำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงและเสมอภาค ตลอดจน แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565 - 2568 ยุทธศาสตร์ T (Truted Justice) เชื่อมั่นศรัทธาการอำนวยความยุติธรรม ประชาชนมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในการอำนวยความยุติธรรม ของศาลยุติธรรม เพื่อเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม และต่อมา คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 เห็นชอบแผนการเปิดทำการศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานครและในส่วนภูมิภาค ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2569 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ศย. มีนโยบายและความพร้อมที่จะเปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดงในวันที่ 1 เมษายน 2567 ทั้งด้านอาคารสถานที่และบุคลากร 2. สำหรับด้านกฎหมายได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายรองรับการเปิดทำการของศาล ประกอบด้วย 2.1 ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญกำหนดให้เปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไป 2.2 ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสมุทรปราการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญกำหนดให้ศาลแขวงสมุทรปราการในจังหวัดสมุทรปราการมีเขตอำนาจในอำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง และอำเภอเมืองสมุทรปราการ และให้คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงซึ่งเกิดในเขตท้องที่อำเภอพระประแดงและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระประแดงแต่เพียงแห่งเดียว เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสนในเรื่องเขตอำนาจศาล และได้รับความสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดี 2.3 ร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญกำหนดให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพระประแดงสำหรับคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง ซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอพระประแดง และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเสมอภาคและรวดเร็วยิ่งขึ้น 3. ศย. ได้รับงบประมาณสำหรับจัดตั้งและเปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 19,576,500 บาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการ จำนวน 4,682,600 บาท และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน จำนวน 14,893,900 บาท และได้เสนอของบประมาณ พ.ศ. 2567 ค่าใช้จ่ายบุคลากร จำนวน 55,949,400 บาท 4. ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ครั้งที่ 12/2566 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดง พ.ศ. .... ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวง สมุทรปราการ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ โดยให้ ศย. ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป และเนื่องจากร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสามฉบับดังกล่าวเป็นการดำเนินการเพื่อรองรับการเปิดทำการของศาลจังหวัดพระประแดงในวันที่ 1 เมษายน 2567 ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ดังนั้น เพื่อให้การประกาศบังคับใช้กฎหมายสามารถดำเนินการได้โดยเร็วในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ศย. ได้ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สศก.) ดำเนินการตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสามฉบับเป็นการล่วงหน้าแล้ว สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดง พ.ศ. .... กำหนดให้มีการเปิดทำการศาลจังหวัดพระประแดง โดยให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอพระประแดง และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และให้เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไป 2. ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสมุทรปราการ พ.ศ. .... กำหนดให้ศาลแขวงสมุทรปราการในจังหวัดสมุทรปราการมีเขตอำนาจในอำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง และอำเภอเมืองสมุทรปราการ และให้คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง ซึ่งเกิดในเขตท้องที่อำเภอพระประแดงและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพระประแดง 3. ร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพระประแดงสำหรับคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง ซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอพระประแดง และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไป เศรษฐกิจ- สังคม 7. เรื่อง รายงานการประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 2 คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) (รายงานการประเมินผลฯ) รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 2 ตามข้อ 5 (3) แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 (ระเบียบ กค. ว่าด้วยการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้ ฯ โควิด-19 พ.ศ. 2564) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ระเบียบ กค. ว่าด้วยการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้ ฯ โควิด-19 พ.ศ. 2564 ข้อ 5 (3) กำหนดให้คณะกรรมการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนด (นายวรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ เป็นประธาน) มีหน้าที่และอำนาจในการจัดให้มีการประเมินผลโครงการและจัดทำรายงานประเมินผลโครงการเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ทุก 6 เดือน ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (9 พฤษภาคม 2566) รับทราบรายงานการประเมินผลฯ รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 1 ตามที่ กค. เสนอแล้ว 2. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อติดตามประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้ พระราชกำหนดฯ กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยมีโครงการทั้งสิ้น 2,370 โครงการ ประกอบด้วย 3 แผนงาน ได้แก่ (1) เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2) เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ (3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ด้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งนี้ การประเมินผลจะสุ่มตัวอย่างโครงการ/แผนงาน จำนวน 250 โครงการ 3. สบน. และบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้ร่วมกันจัดทำรายงานการประเมินผลฯ เสนอต่อคณะกรรมการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนด ซึ่งได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 โดยพิจารณาคัดเลือกโครงการที่มีขนาดใหญ่ มีวงเงินกู้สูงหรือมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 250 โครงการ กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติรวม 495,690.76 ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายรวม 470,151.27 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.85 ของกรอบวงเงินโดยทั้ง 250 โครงการ มีผลการดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (A) ช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ จำนวน 1,630,804.75 ล้านบาท และคาดว่าจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่รัฐจะได้กลับคืนสูงสุดภายในระยะเวลา 3 ปี จำนวน 314,745.32 ล้านบาทโดยมีผลการประเมิน สรุปได้ ดังนี้ แผนงาน จำนวนโครงการ กรอบวงเงิน รวม (ล้านบาท) ผลเบิกจ่าย รวม (ล้านบาท) ร้อยละของวงเงิน คะแนน เกรด 1. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 45 220,096.18 200,903.13 91.28 2.88 ดีมาก (A)1 2. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 31 155,435.85 153,381.13 98.68 2.55 ดีมาก (A) 3. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 174 120,158.73 115,867.01 96.43 2.54 ดี (B) ภาพรวมการประเมินผล 250 495,690.76 470,151.27 94.85 2.69 ดีมาก (A) 1หลักเกณฑ์การประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ (1) ความสอดคล้องและเชื่อมโยง (2) ประสิทธิภาพ (3) ประสิทธิผล (4) ผลกระทบ และ (5) ความยั่งยืนโดยมีระดับคะแนน ได้แก่ (1) ดีมาก [A คะแนน 2.55 - 3.00] (2) ดี [8 คะแนน 2.25 - 2.54 (3) พอใช้ [C คะแนน 1.95 - 2.24] และ (4) ควรปรับปรุง [D คะแนน 0.00-1.94] 8. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ สาระสำคัญ 1. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2565 โดยมาตรา 165 บัญญัติให้ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ภายในวันที่ 16 ตุลาคม 2567) ให้ประธาน ก.พ.ร. เชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาร่วมกันพิจารณาเพื่อดำเนินการให้หน่วยงานดังกล่าวรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปราม การสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายนั้น ๆ ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่จะได้ตกลงกัน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและการบูรณาการในการปฏิบัติหน้าที่ และการแบ่งเบาภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และให้สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบทุกสามเดือน 2. ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว 2 ครั้ง มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ ผลการดำเนินการ การดำเนินการในระยะต่อไป มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 (รายงานความคืบหน้าในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2565-มีนาคม 2566) สำนักงาน ก.พ.ร. ศึกษาข้อมูลของกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและประชุมหารือร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และ ตช. ในเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ในการถ่ายโอนภารกิจจาก ตซ. ไปยัง ทส. เพื่อรับผิดชอบงาน การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแบ่งเบาภารกิจของ ตช. สำนักงาน ก.พ.ร. หารือร่วมกับ ทส. ตช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากำหนดบทบาทภารกิจ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ และวิธีการปฏิบัติงานในภารกิจ การป้องกันและปราบปราม เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการตัดโอนภารกิจ รวมทั้งพิจารณาภารกิจอื่นที่อาจตัดโอนเพิ่มเติม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 (รายงานความคืบหน้าในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2566) ประธาน ก.พ.ร. ในขณะนั้น (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานในการประชุมหารือร่วมกันระหว่าง ทส. ตช. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 ได้ข้อยุติร่วมกันโดยให้ตัดโอนภารกิจด้านการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวน (ก่อนการจับกุม) และการจับกุมภายใต้กรอบกฎหมาย 8 ฉบับ* จาก ตช. ให้ ทส. ส่วนภารกิจด้านการสอบสวน ตำรวจยังคงรับผิดชอบเช่นเดิม - ให้ ทส. จัดทำแนวปฏิบัติการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ภายใน 1 เดือน และศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการตัดโอนภารกิจเพิ่มเติม - ให้ ตช. ปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ให้สอดคล้องกับภารกิจที่ลดลง 3. สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า การดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566 มีความคืบหน้า ดังนี้ 3.1 ทส. ดำเนินการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองรับภารกิจการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ภายใต้กรอบกฎหมาย 8 ฉบับเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ และอยู่ระหว่างจัดส่งคู่มือดังกล่าวให้ บก.ปทส. ร่วมพิจารณาก่อนนำไปปฏิบัติต่อไป รวมทั้งได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และผลกระทบจากการตัดโอนภารกิจเพิ่มเติมภายใต้กรอบกฎหมาย 5 ฉบับ ที่ยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจพบว่า กฎหมาย ทั้ง 5 ฉบับ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการคุ้มครอง ตรวจสอบ ส่งเสริม กฎหมายจึงได้จำกัดอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตอบสนองต่อภารกิจในด้านการป้องกันเท่านั้น กรณีการปราบปราม การจับกุม การสืบสวน และ การสอบสวน ยังคงต้องอาศัยความร่วมมือกับตำรวจและหน่วยงานอื่นต่อไป 3.2 ตช. อยู่ระหว่างดำเนินการวางกรอบอำนาจหน้าที่และปรับโครงสร้างอัตรากำลังของ บก.ปทส. สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ตช. เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่ลดลงและไม่ทับซ้อนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.3 การดำเนินการในระยะต่อไป 3.3.1 ตช. เร่งรัดดำเนินการปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของ บก.ปทส. ให้สอดคล้องกับภารกิจที่ลดลง รวมทั้งให้ ตช. ยกร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบหรือเปลี่ยนแปลง บก.ปทส. ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2567 3.3.2 ทส. ดำเนินการตามคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบกฎหมาย 8 ฉบับข้างต้น และให้สำนักงาน ก.พ.ร. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป *กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 8 ฉบับ ที่ตัดโอนภารกิจให้ ทส. ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาโดยพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการร่วมกับตำรวจในการป้องกัน ปราบปราม สืบสวน (ก่อนการจับกุม) และการจับกุม ได้แก่ (1) พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 (2) พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 (3) พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 (4) พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 (5) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 (6) พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 (7) พระราชบัญญัติเลื่อย โซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 และ (8) พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ฉบับ ที่ยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ทส. ไม่มีอำนาจในการปราบปรามและจับกุม ได้แก่ (1) พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 (2) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (3) พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 (4) พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 และ (5) พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 9. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งสำนักบริหารการมัธยมศึกษา (สบม.) ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งสำนักบริหารการมัธยมศึกษา (สบม.) ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งสำนักบริหารการมัธยมศึกษา (สบม.) ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมาธิการได้พิจารณาศึกษา เรื่อง ?การปรับปรุงโครงสร้าง ศธ. เพื่อจัดตั้ง สบม.? โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1.1 ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้าง ศธ. เพื่อขับเคลื่อนภารกิจการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและการแข่งขันทางการศึกษากับนานาประเทศ รวมทั้งการบริหารและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารงานวิชาการ 2) ด้านการบริหารงานงบประมาณ 3) ด้านการบริหารงานบุคคล และ 4) ด้านการบริหารงานทั่วไป โดยให้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยไม่เพิ่มหน่วยงาน เป็นการบูรณาการรวมสำนักซึ่งมีภารกิจใกล้เคียงกันเข้าด้วยกันและปรับปรุงหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเป็นการภายใน ได้แก่ สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย (สมป.) เป็นหน่วยงานในโครงสร้างให้มีชื่อใหม่ว่า ?สบม.? เพื่อเป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะในการเร่งรัดการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ การจัดตั้ง สบม. ต้องเชื่อมโยงระหว่าง สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษา รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกันทั้งระบบในหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 1.2 ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ สบม. 1.2.1 วัตถุประสงค์ เป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมและจัดทำข้อมูลสารสนเทศในทุกด้านของโรงเรียนมัธยมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น 1.2.2 หน้าที่และความรับผิดชอบ ส่งเสริม สนับสนุนงานนโยบายของรัฐบาลและ ศธ. สำหรับการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 1.2.3 การแบ่งส่วนราชการภายใน สบม. แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มบริหารทั่วไป (2) กลุ่มนโยบายและแผน (3) กลุ่มส่งเสริมทรัพยากรบุคคล (4) กลุ่มพัฒนาคุณภาพวิชาการและการจัดการศึกษา (5) กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการมัธยมศึกษา (6) กลุ่มวิจัยพัฒนาสื่อและดิจิทัลทางการศึกษา 2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 พฤศจิกายน 2566) 2.1 รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้าง ศธ. เพื่อจัดตั้ง สบม. ของคณะกรรมมาธิการการศึกษา วุฒติสภา ตามที่ สว. เสนอ 2.2 มอบหมายให้ ศธ. เป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ข้อเท็จจริง ศธ. ได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 แล้ว โดยที่ประชุมมีมติไม่ขัดข้องในการบริหารจัดการเพื่อจัดตั้ง สบม. และเห็นว่า รายงานการพิจารณาศึกษาฯ พร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นประโยชน์ และสามารถนำมาปรับปรุงการดำเนินงานได้ และมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น และให้ สพฐ. ดำเนินการตามแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 เรื่อง แนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะ ผลการพิจารณา 1. ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้าง ศธ. เพื่อขับเคลื่อนภารกิจการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยให้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของ สพฐ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยไม่เพิ่มหน่วยงาน เป็นการบูรณาการรวมสำนักซึ่งมีภารกิจใกล้เคียงกันเข้าด้วยกันและปรับปรุงหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเป็นการภายใน ได้แก่ สมป. เป็นหน่วยงานในโครงสร้างให้มีชื่อใหม่ว่า ?สบม.? เห็นชอบ 2. ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ สบม. 2.1 วัตถุประสงค์ เป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมและจัดทำข้อมูลสารสนเทศในทุกด้านของโรงเรียนมัธยมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น 2.2 หน้าที่และความรับผิดชอบ ส่งเสริม สนับสนุนงานนโยบายของรัฐบาลและ ศธ. สำหรับการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 2.3 การแบ่งส่วนราชการภายใน สบม. แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มบริหารทั่วไป (2) กลุ่มนโยบายและแผน (3) กลุ่มส่งเสริมทรัพยากรบุคคล (4) กลุ่มพัฒนาคุณภาพวิชาการและการจัดการศึกษา (5) กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการมัธยมศึกษา (6) กลุ่มวิจัยพัฒนาสื่อและดิจิทัลทางการศึกษา เห็นชอบ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อสังเกตบางประการ เช่น สงป. เห็นว่า ให้พิจารณาใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่า คำนึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลรวมทั้งการติดตามประเมินผลการดำเนินการต่าง ๆ 10. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 7-12 กุมภาพันธ์ 2567) คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์น้ำปัจจุบันและการคาดการณ์ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 อย่างเต็มศักยภาพเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้เกิดน้อยที่สุด สาระสำคัญและข้อเท็จจริง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 7-12 กุมภาพันธ์ 2567 มีดังนี้ 1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน ปัจจุบันพบว่าปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังแรง จะอ่อนลงเป็นเอลนีโญกำลังปานกลางในช่วงเดือนมีนาคม หลังจากนั้นมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลาง ในช่วงเดือนเมษายน ? พฤษภาคม และจะเริ่มเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนฟ้าคะนองในบางแห่ง ในช่วงวันที่ 12-18 กุมภาพันธ์ 2567 ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเข้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 2. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ และการคาดการณ์ (1) สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาพรวมประเทศ สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567) มีปริมาณน้ำ 56,021 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) (68%) น้อยกว่าปี 2566จำนวน 4,112 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำใช้การ 31,809 ล้าน ลบ.ม. (55%) มีอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve)) 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด (2) การคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง ต้นฤดูฝน ปี 2567 (วันที่ 1 พ.ค. 67) จะมีปริมาณน้ำ 17,538 ล้าน ลบ.ม. (37%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 17,787 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า 249 ล้าน ลบ.ม. ต้นฤดูแล้ง ปี 2567/68 (วันที่ 1 พ.ย. 69) จะมีปริมาณน้ำ 30,464 ล้าน ลบ.ม. (64%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 32,849 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า 2,385 ล้าน ลบ.ม. (3) การคาดการณ์ปริมาณน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยปี 2567 (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำต่ำสุด Lower Rule Curve) ภาคเหนือ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำภูมิพล อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ และอ่างเก็บน้ำทับเสลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง และอ่างเก็บน้ำสิรินธร ภาคตะวันตก 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน และอ่างเก็บน้ำปราณบุรี ภาคตะวันออก 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชลและอ่างเก็บน้ำคลองสียัด 3. สถานการณ์แม่น้ำโขง สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต และมีแนวโน้มทรงตัว 4. คุณภาพน้ำ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักอยู่ในเกณฑ์ปกติ และแจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำแม่น้ำในช่วงวันที่ 9-15 กุมภาพันธ์ 2567 ในพื้นที่ดังนี้ (1) พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ และแนวเขื่อนชั่วคราว บริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่ใกล้เคียงจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ (2) เฝ้าระวังน้ำเค็มรุกล้ำส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำใช้อุปโภค บริโภค และการเกษตรแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี แม่น้ำแม่กลอง ในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำท่าจีน ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และนครปฐม แม่น้ำบางปะกงในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี 5. การติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 และรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นประจำทุกเดือน สรุปได้ ดังนี้ (1) เฝ้าระวังและเตรียมพร้อม เครื่องจักร เครื่องมือ ในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำโดยกรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงรายเดือน และเตรียมความพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ 718 เครื่อง และปริมาณน้ำสูบช่วยเหลือแล้ว 4.54 ล้านลูกบาศก์เมตร (2) ปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 4 หน่วย (เชียงใหม่ นครสวรรค์ ระยอง ประจวบคีรีขันธ์) ขึ้นปฏิบัติการ 6 เที่ยวบิน มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์ 6.50 ล้านไร่ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีแผนเติมน้ำใต้ดินระดับตื้น ดำเนินการเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง เมษายน 2567 จำนวน 507 แห่ง แบ่งเป็น ระบบสระ 2 แห่ง ระบบบ่อวงคอนกรีต 505 แห่ง (3) กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง แผนทั้งฤดูแล้ง จำนวน 16,009 ล้านลูกบาศก์เมตร ผลจัดสรรน้ำ (ณ 9 กุมภาพันธ์ 2567) จำนวน 9,189 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 57 ของแผนทั้งฤดู และแผนเพาะปลูกพืชทั้งฤดูแล้ง จำนวน 10.66 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว (ณ 7 กุมภาพันธ์ 2567) จำนวน 11.55 ล้านไร่ คิดเป็น ร้อยละ 108 ของแผนทั้งฤดู โดยแบ่งเป็นนารอบที่ 2 จำนวน 10.21 ล้านไร่ (แผน 8.13 ล้านไร่) และพืชไร่พืชผัก จำนวน 1.34 ล้านไร่ (แผน 2.53 ล้านไร่) (4) บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กำหนดแผนการจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำ ผ่านกลไกคณะกรรมการลุ่มน้ำ (5) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน โดยหน่วยงานประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ การประหยัดน้ำในภาครัฐ และการใช้ระบบ 3R ในภาคอุตสาหกรรมพร้อมวางแผนลดการสูญเสียในระบบท่อ (6) เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ ตรวจวัดคุณภาพน้ำแม่น้ำสายหลัก สายรอง 50 แห่ง และแหล่งน้ำธรรมชาติ 9 แห่ง ปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ปกติ พร้อมเฝ้าระวัง ตรวจวัด และควบคุมคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งของอุตสาหกรรม และเตรียมปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหา ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2567 เกิดน้ำทะเลหนุนสูงส่งผลให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำท่าจีนที่ไม่มีแนวป้องกันถาวร และส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำทำให้ค่าความเค็มเพิ่มสูงขึ้นเกินเกณฑ์มาตรฐาน ในแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการบริหารจัดการน้ำร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว (7) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชนและองค์กรผู้ใช้น้ำ หน่วยงานต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำพร้อมรับฟังและร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มผู้ใช้น้ำทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน จำนวน 11,731 ราย และมีแผนดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนและเสริมสร้างความเข้มแข็ง 5 ชุมชน ประชาชน จำนวน 5,540 ราย (8) สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ ทางเว็บไซต์ ผ่านสื่อรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกับสำนักข่าวต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จำนวน 12,085 ครั้ง (9) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่เสี่ยงที่มีแนวโน้มขาคแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตรในเดือนธันวาคม 2566 ถึงปัจจุบัน พื้นที่ 20 จังหวัด 34 อำเภอ 54 ตำบล เพื่อรับฟังสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำในแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร พร้อมกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการช่วยเหลือทั้งระยะเร่งด่วนและแผนงานโครงการในระยะยาว 6. การลงพื้นที่ตรวจราชการ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาด้านชลประทานในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยามีการเพาะปลูกข้าวนาปรังเกินแผนที่วางไว้ จำเป็นต้องปรับแผนการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/67 เพิ่มเติมจากแผนเดิม 6,100 ล้าน ลบ.ม. เป็น 8,700 ล้าน ลบ.ม. เพื่อสนับสนุนน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกข้าวไม่ให้เกิดความเสียหายจนกว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ ตามนโยบายของรัฐบาล ขณะนี้มีการจัดสรรน้ำเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาไปแล้วประมาณ 4,373 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น ร้อยละ 50 ของแผนฯ (8,700 ล้าน ลบ.ม.) คาดการณ์ว่า ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 จะมีน้ำใช้การได้ในลุ่มเจ้าพระยาประมาณ 4,715 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวมีเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ตลอด ช่วงต้นฤดูฝนนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้การจัดสรรน้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวนาปรังรอบแรกแล้วเสร็จไม่ทำนาปรังรอบ 2 เพื่อลดความเสี่ยงที่ผลผลิตจะเสียหายจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และช่วยลดผลกระทบต่อการใช้น้ำโดยรวมของลุ่มเจ้าพระยา 11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการกู้เงินเพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินขององค์การเภสัชกรรม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้องค์การเภสัชกรรมกู้เงินเพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินในลักษณะ Roll-over1 ครอบคลุมระยะเวลาการกู้ 5 ปี วงเงินกู้จำนวน 3,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง สธ. รายงานว่า 1. องค์การเภสัชกรรมมีภารกิจด้านสาธารณสุข ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้เงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ (1) การสนับสนุนและตอบสนองต่อนโยบายภาครัฐในการผลิตและจัดซื้อจัดหายาและเวชภัณฑ์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาในราคาที่เหมาะสม (2) การจัดสรรเงินนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน (3) การจ่ายค่าใช้จ่ายดำเนินงานในกิจการตามโครงการและแผนงาน และ (4) การจ่ายชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทผู้จำหน่ายสินค้า อย่างไรก็ดี ฐานะทางการเงินในปัจจุบันขององค์การเภสัชกรรมมีลูกหนี้ที่มียอดค้างชำระเป็นจำนวนมากและยังไม่สามารถเรียกเก็บได้ (ยา เวชภัณฑ์ และวัคซีน) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปช.) และหน่วยบริการในสังกัด สธ. ส่งผลให้องค์การเภสัชกรรมขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยรายงานการรับ-จ่ายเงินสดปีงบประมาณ 2565 และ 2566 ขององค์การเภสัชกรรมมีรายละเอียด ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท รายการเงินสดรับ-จ่าย ปีงบประมาณ 2565 ปีงบประมาณ 2566 เงินสดคงเหลือต้นงวด 7,310.32 4,778.09 เงินสดรับ 26,200.54 17,660.00 เงินสดจ่าย 28,732.77 24,833.28 เงินสดรับมากกว่า (น้อยกว่า) เงินสดจ่าย (2,532.23) (7,173.28) เงินสดคงเหลือเหลือปลายงวดสุทธิ 4,778.09 -2,395.19 จากตารางจะเห็นได้ว่าเงินสดคงเหลือปลายงวดปีงบประมาณ 2566 ติดลบ (-2,395.19 ล้านบาท)2 ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมข้างต้น ดังนั้น องค์การเภสัชกรรมจึงมีความจำเป็นต้องขอกู้เงินเพื่อให้สามารถดำเนินภารกิจในการให้บริการประชาชนได้ตามปกติต่อไป 2. องค์การเภสัชกรรมมีลูกหนี้คงค้าง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566) ดังนี้ หน่วยงาน ยอดหนี้ (ล้านบาท) สปสช. 4,133.72 สปช. 1,013.55 ลูกหนี้ภาครัฐ 1,973.33 ลูกหนี้ภาคเอกชนและส่งออก 122.34 รวม 7,242.94 ทั้งนี้ องค์การเภสัชกรรมมีแนวทางการติดตามหนี้ค้างชำระ เช่น (1) ทุกสิ้นเดือน ส่งรายงานหนี้ค้างให้ผู้แทนองค์การเภสัชกรรม (เจ้าหน้าที่ขององค์การเภสัชกรรม) เพื่อทราบปัญหาและติดตามหนี้ที่ค้างชำระ (2) ทุก 3 เดือน ส่งหนังสือแจ้งยอดค้างชำระให้ลูกหนี้ที่ยังคงค้างทุกราย (3) ส่งข้อมูลยอดหนี้ค้างชำระถึง สธ. เพื่อนำแสดง Dashboard ทุกสัปดาห์ เป็นต้น 3. คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมในการประชุมครั้งที่ 15/2565 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 มีมติเห็นชอบกรอบวงเงินกู้จำนวน 3,000 ล้านบาท โดยให้องค์การเภสัชกรรมไปพิจารณาทบทวนวิธีหาแหล่งเงินให้มีความเหมาะสม ทั้งนี้ การดำเนินการต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงิน ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ หนังสือ และขั้นตอนที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนด 4. กค. [สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)] สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เห็นชอบให้องค์การเภสัชกรรมกู้เงินจำนวน 3,000 ล้านบาท ในลักษณะ Roll-over คลอบคลุมระยะเวลา 5 ปี โดย กค. ไม่ค้ำประกัน เพื่อสำรองกรณีที่เงินสดคงเหลือปลายงวดในแต่ละเดือนต่ำกว่ายอดเงินสดขั้นต่ำที่ต้องคงไว้ หรือต่ำกว่ายอดประมาณการรายจ่ายต่อเดือน โดยแต่ละหน่วยงาน มีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ หน่วยงาน รายละเอียด กค. (สบน.) ขอให้องค์การเภสัชกรรมเร่งติดตามการชำระหนี้ให้ทันตามกำหนดและสมดุลกับการใช้จ่ายเงิน เพื่อลดวงเงินกู้เพื่อสำรองสภาพคล่องทางการเงินจากลูกหนี้ค้างชำระและลดภาระดอกเบี้ยจากการกู้เงิน ทั้งนี้ องค์การเภสัชกรรมจะต้องแจ้งต่อ กค. เพื่อบรรจุเงินกู้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ3 ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ก่อนที่จะดำเนินการกู้เงิน รวมถึงให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะอย่างเคร่งครัด ตามบทบัญญัติมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สงป. ให้ กค.เป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้งิน เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน รวมทั้งให้ดำเนินการขอบรรจุวงเงินกู้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้องค์การเภสัขกรรมเร่งรัดติดตามการชำระหนี้และแก้ไขปัญหาหนี้คงค้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อบริทารสภาพคล่องจากเงินที่ได้รับชำระหนี้แทนการกู้เงินเพื่อไม่ให้เกิดภาระดอกเบี้ยในอนาคต สศช. ให้ สธ. ในฐานะกระทรวงเจ้าสังกัดประสาน สปส. สปสช. และองค์การเภสัชกรรม เพื่อกำหนดกรอบระยะเวลาการเรียกเก็บหนี้ที่ชัดเจนมากขึ้นและติดตามการชำระหนี้ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาเพื่อลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้องค์การเภสัชกรรมลดภาระค่าใช้จ่ายจากการกู้ยืมเงินและสามารถบริหารจัดการเงินสดของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1 การกู้เงินใหม่เพื่อนำไปชำระเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระ เพื่อให้เงินกู้ดังกล่าวมีระยะเงินกู้สอดคล้องกับระยะคืนทุนซึ่งในครั้งนี้ องค์การเภสัชกรรมขอดำเนินการกู้เงินและชดใช้เงินคืนภายในระยะเวลา 5 ปี (ปี 2567 - 2571) ในวงเงินไม่เกิน 3,000 ล้านบาท (ทยอยเบิกเงิน/ใช้เงินคืนตามสภาพคล่องขององค์การเภสัชกรรม) 2 จากการประสานกับองค์การเภสัชกรรม พบว่าค่าเฉลี่ยเงินสดจ่ายต่อเดือนขององค์การเภสัชกรรมในปี 2566 อยู่ที่ 2,069.44 ล้านบาท ดังนั้น เงินคงเหลือเหลือปลายงวดจึงไม่ควรเหลือต่ำกว่า 2,069.44 ล้านบาท 3 องค์การเภสัชกรรมได้เสนอ กค. (สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ) เพื่อขอบรรจุวงเงินกู้เข้าสู่แผนการบริหารหนี้สาธารณะ (ปรับปรุงครั้งที่ 1) ประจำปีงบประมาณ 2567 แล้ว เมื่อเดือนตุลาคม 2566 ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบการกู้เงินขององค์การเภสัชกรรมในครั้งนี้ และมีมติอนุมัติการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1 องค์การเภสัชกรรมจะสามารถดำเนินการกู้เงินได้ในช่วงเดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป 12. เรื่อง การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2567 (เพิ่มเติม) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษในปี 2567 ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้ 1. กำหนดให้วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2567 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน ในปี 2567 2. ในกรณีที่หน่วยงานใดมีภารกิจในการให้บริการประชาชน หรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษดังกล่าว (ตามข้อ 1) ที่ได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและกระทบต่อการให้บริการประชาชน 3. ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงแรงงานพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมของการกำหนดให้วันดังกล่าวข้างต้นเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง 1. เนื่องด้วยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง ประชาชนจำนวนมากจะเดินทางกลับภูมิลำเนาและเดินทางท่องเที่ยวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การจราจรเกิดความหนาแน่นและติดขัด ดังนั้น เพื่อให้เกิดการกระจายตัวและความคล่องตัวในการเดินทางของประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว ภาคบริการและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ จึงเห็นควรกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษในปี 2567 เพิ่มเติม จำนวน 1 วัน คือ วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2567 ทั้งนี้ การกำหนดให้วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2567 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน จะทำให้มีวันหยุดราชการติดต่อกัน รวม 5 วัน (วันศุกร์ที่ 12 - วันอังคารที่ 16 เมษายน 2567) 2. การกำหนดให้วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2567 เป็นวันหยุดราชการ ประจำปี 2567 เพิ่มเป็นกรณีพิเศษดังกล่าว จะทำให้ภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2567 มีจำนวนวันหยุดรวมทั้งสิ้น 21 วัน ดังนี้ 1) วันขึ้นปีใหม่ วันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2) วันมาฆบูชา วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ (วันหยุดชดเชยวันมาฆบูชา) วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 3) วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วันเสาร์ที่ 6 เมษายน และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ (วันหยุดชดเชยวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า วันจันทร์ที่ 8 เมษายน จุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์) 4) วันหยุดราชการที่จะกำหนดเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ วันศุกร์ที่ 12 เมษายน (เสนอในครั้งนี้) 5 - 7) วันสงกรานต์ (รวม 3 วัน) วันเสาร์ที่ 13 - วันจันทร์ที่ 15 เมษายน (วันหยุดชดเชยวันสงกรานต์) วันอังคารที่ 16 เมษายน 8) วันฉัตรมงคล วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม (วันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคล) วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 9) วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 10) วันวิสาขบูชา วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 11) วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 12) วันอาสาฬหบูชา วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 13) วันเข้าพรรษา วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม (วันหยุดชดเชยวันเข้าพรรษา) วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 14) วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม รามาธิบดีศรีสินทรมหาวิชาราลงกรณ พระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว (วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวิชาราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว) 15) วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม และวันแม่แห่งชาติ 16) วันนวมินทรมหาราช วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม (วันหยุดชดเชยวันนวมินทรมหาราช) วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 17) วันปิยมหาราช วันพุธที่ 23 ตุลาคม 18) วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จ วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 19) วันรัฐธรรมนูญ วันอังคารที่ 10 ธันวาคม 20) วันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 21) วันสิ้นปี วันอังคารที่ 31 ธันวาคม ทั้งนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การกำหนดให้วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2567 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน ในปี 2567 เพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายตัวในการเดินทางของประชาชนเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาดังกล่าว และยังส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ นอกจากนี้ การที่คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษล่วงหน้าจะช่วยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชนสามารถวางแผนการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องล่วงหน้าได้อย่างเหมาะสมต่อไป 13. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) เสนอดังนี้ 1. อนุมัติและรับทราบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ดังนี้ 1.1 อนุมัติการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1 ประกอบด้วย (1) แผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่ม 560,276.10 ล้านบาท (จากเดิม 194,434.53 ล้านบาท เป็น 754,710.63 ล้านบาท) (2) แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับเพิ่ม 387,758.52 ล้านบาท (จากเดิม 1,621,135.22 ล้านบาท เป็น 2,008,893.74 ล้านบาท) และ (3) แผนการชำระหนี้ ปรับเพิ่ม 9,075.07 ล้านบาท (จากเดิม 390,538.63 ล้านบาท เป็น 399,613.70 ล้านบาท) 1.2 อนุมัติการบรรจุโครงการพัฒนา โครงการ และรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1 จำนวน 56 โครงการ/รายการ 1.3 อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 แห่ง คือ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ที่มีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการ (Debt Service Coverage Ratio: DSCR) ต่ำกว่า 1 เท่า สามารถกู้เงินและบริหารหนี้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ปรับปรุงครั้งที่ 1 โดยให้ กคช. รับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการด้วยรวมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานที่บรรจุกรอบวงเงินกู้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ปรับปรุงครั้งที่ 1 เร่งรัดการดำเนินการตามแผนฯ ดังกล่าวด้วย 1.4 รับทราบแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง 5 ปี (ปีงบประมาณพ.ศ. 2567 - 2571) และมอบหมายให้กระทรวงเจ้าสังกัดประสานงานกับรัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการในกลุ่มโครงการที่ยังขาดความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อเร่งรัดการดำเนินการและการลงทุนเพื่อเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐในระยะต่อไป 2. อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 รวมทั้งขออนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ปรับปรุงครั้งที่ 1 และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เองก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ สาระสำคัญ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1 สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท รายการ วงเงินเดิม ตามมติคณะรัฐมนตรี (26 กันยายน 2566) วงเงิน ปรับปรุงในครั้งนี้ เปลี่ยนแปลงเพิ่ม/(ลด) (1) แผนการก่อหนี้ใหม่ 194,434.53 754,710.63 560,276.10 (1.1) รัฐบาล 97,435.28 603,211.38 505,776.10 (1.2) รัฐวิสาหกิจ 96,999.25 128,499.25 31,500.00 (1.3) หน่วยงานอื่นของรัฐ 0.00 23,000.00 23,000.00 (2) แผนการบริหารหนี้เดิม 1,621,135.22 2,008,893.74 987,758.52 (2.1) รัฐบาล 1,493,131.90 1,890,892.76 397,760.86 (2.2) รัฐวิสาหกิจ 128,003.32 118,000.98 (10,002.34) (2.3) หน่วยงานอื่นของรัฐ 0.00 0.00 0.00 (3) แผนการชำระหนี้ 390,538.63 399,613.70 9,075.07 (3.1) แผนการชำระหนี้ของรัฐบาลและหนี้หน่วยงานของรัฐจากงบประมาณรายจ่าย 336,807.00 346,380.07 9,573.07 (3.2) แผนการชำระหนี้จากแหล่งเงินอื่น ๆ 53,731.63 53,233.63 (498.00) โดยมีรายละเอียด เช่น (1) การปรับเพิ่มวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน) จำนวน 424,000 ล้านบาท (2) การปรับเพิ่มวงเงินปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้รัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - 2571 จำนวน 399,000 ล้านบาท (3) การปรับเพิ่มวงเงินกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องในรูปแบบ Credit Line เพื่อต่ออายุเงินกู้ระยะสั้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 30,000 ล้านบาท และ (4) การปรับเพิ่มวงเงินกู้ระยะยาวเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 20,000 ล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกสูงขึ้นและการสิ้นสุดมาตรการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ทำให้กองทุนต้องชดเชยมากขึ้น เป็นต้น โดยในการปรับปรุงแผนฯ ในครั้งนี้มีโครงการพัฒนาโครงการ และรายการที่ขอบรรจุเพิ่มเติมและต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน 56 โครงการ/รายการ ในขณะที่คณะกรรมการฯ ได้ปรับลดโครงการตามแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2571) ลง 42 โครงการ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ คาดการณ์ว่าระดับประมาณการหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภายหลังการปรับปรุงแผนฯ จะอยู่ที่ร้อยละ 61.29 (กรอบไม่เกินร้อยละ 70) และมีรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 แห่ง ที่มี DSCR ต่ำกว่า 1 เท่า ที่ต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี คือ การเคหะแห่งชาติซึ่งมี DSCR เท่ากับ 0.57 เท่า 14. เรื่อง รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน และมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน และมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ สาระสำคัญ สงป. รายงานว่า 1. เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศใช้บังคับไม่ทันวันเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (วันที่ 1 ตุลาคม 2566) สงป. โดยอนุมัตินายกรัฐมนตรีจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน และได้ดำเนินการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน และการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน (แผนการใช้จ่ายฯ) โดยมีรายละเอียดผลการใช้จ่ายงบประมาณและผลการปฏิบัติงานของหน่วยรับงบประมาณตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2566 (ไตรมาสที่ 1) สรุปได้ ดังนี้ หน่วย: ล้านบาท งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน จำแนกรายจ่าย แผนการใช้จ่ายฯ จัดสรร ผลเบิกจ่าย1 ผลการใช้จ่าย2 (ก่อหนี้) จำนวน ร้อยละ3 จำนวน ร้อยละ4 จำนวน ร้อยละ5 จำนวน ร้อยละ6 ภาพรวม 1,874,331.36 58.85 1,806,913.44 96.40 911,507.22 50.45 946,076.95 52.36 รายจ่ายประจำ 1,691,279.52 67.11 1,662,604.40 98.30 860,446.52 51.75 871,850.08 52.44 รายจ่ายลงทุน 183,051.84 27.53 144,309.04 78.84 51,060.70 35.38 74,226.87 51.44 1วงเงินงบประมาณที่จ่ายไปแล้ว 2วงเงินงบประมาณที่จ่ายไปแล้ว รวมกับใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (Purchase Order: (PO) (ใบจองเงินเพื่อกันไว้เบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ) 3 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 4 ร้อยละ/แผนการใช้จ่ายฯ 5 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณที่จัดสรร 6 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณที่จัดสรร ทั้งนี้ งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน มีวงเงินงบประมาณจัดสรร จำนวน 1,806,913.45 ล้านบาท โดยมีแผนการใช้จ่ายฯ ไตรมาสที่ 1 จำนวน 884,230.98 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48.94 จากวงเงินทั้งหมด และจากการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณพบว่า มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 946,076.95 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.36 จากวงเงินทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายตามแผนการใช้จ่ายฯ ไตรมาสที่ 1 ร้อยละ 3.42 โดยมีรายละเอียด สรุปได้ ดังนี้ หน่วย: ล้านบาท งบประมาณ จัดสรร แผนการใช้จ่ายฯ ไตรมาสที่1 เบิกจ่าย/ใช้จ่าย (ก่อหนี้) สูง/ต่ำกว่า แผนการใช้จ่ายฯ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ภาพรวม 1,806,913.44 884,230.98 48.94 - เบิกจ่าย - ใช้จ่าย (ก่อหนี้) 911,507.22 946,076.95 50.45 52.36 61,845.96 3.52 รายจ่ายประจำ 1,662,604.40 813,378.38 48.92 - เบิกจ่าย - ใช้จ่าย (ก่อหนี้) 860,446.52 871,850.08 51.75 52.44 58,471.69 3.52 รายจ่ายลงทุน 144,309.04 70,852.60 49.10 - เบิกจ่าย - ใช้จ่าย (ก่อหนี้) 51,060.70 74,226.87 35.38 51.44 3,374.26 2.34 2. สงป. ได้กำหนดมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้เป็นแนวทางในการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกันตามระเบียบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลังไว้เบิกเหลื่อมปี เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน และเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และเพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสถานการณ์ และสามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ทันทีเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศใช้บังคับ โดยมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อนมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 2.1 ให้เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้สามารถเบิกจ่ายอย่างมีนัยสำคัญได้ภายในไตรมาสที่ 2 (มกราคม - มีนาคม 2567) โดยเฉพาะในส่วนของรายจ่ายที่ก่อหนี้ผูกพันแล้ว สำหรับเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีที่อยู่ระหว่างดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแล้วให้เร่งรัดการก่อหนี้และเบิกจ่ายโดยเร็ว 2.2 กำหนดเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณดำเนินการให้สอดคล้องกับเป้าหมายภาพรวมของประเทศ และใช้เป็นแนวทางในการใช้จ่าย เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งวงเงิน งบประมาณตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,874,331.36 ล้านบาท โดยจำแนกเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณเป็นรายไตรมาส ดังนี้ หน่วย: ล้านบาท รายการ ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ภาพรวม 880,935.74 47 1,499,465.09 80 1,874,331.36 100 รายจ่ายประจำ 811,814.17 48 1,369,936.41 81 1,691,279.52 100 รายจ่ายลงทุน 71,390.21 39 135,458.36 74 183,051.84 100 ทั้งนี้ หากหน่วยรับงบประมาณสามารถดำเนินการได้ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายฯ ที่กำหนดไว้ แต่ต่ำกว่าเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณข้างต้น ให้ถือว่าได้ดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายในไตรมาสนั้นแล้ว 2.3 ให้หน่วยรับงบประมาณเร่งรัดการจัดฝึกอบรม ประชุม สัมมนาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน โดยเร่งรัดหรือปรับแผนการดำเนินงานและใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 2 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ 2.4 ให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณากำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานให้รวดเร็วขึ้นและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2.5 เห็นสมควรแจ้งกระทรวงการคลังในการกำหนดแนวปฏิบัติ และซักซ้อมความเข้าใจในการเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระหว่างที่ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และเป็นการกระตุ้นให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็วตามนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินของรัฐบาล ตลอดจนสามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายได้ภายหลังที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับ ตามขั้นตอนต่อไป ต่างประเทศ 15. เรื่อง สรุปผลการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 42 (42nd Session of UNESCO General Conference: GC) คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 42 (42nd Session of UNESCO General Conference: GC) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ สาระสำคัญ ศธ. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 42 ระหว่างวันที่ 7-22 พฤศจิกายน 2566 ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาแผนงาน งบประมาณ และกิจกรรม การดำเนินงานขององค์การยูเนสโก โดยผลการประชุม สรุปได้ ดังนี้ 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถ้อยแถลงสนับสนุนบทบาทองค์การยูเนสโกที่มุ่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและนำเสนอแนวทางการดำเนินงานของไทยที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดนโยบายการศึกษา ?เรียนดี มีความสุข? เน้นผสมผสานการเรียนการสอนในห้องเรียนและแบบออนไลน์ มุ่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเตรียมพร้อมสำหรับโลกอนาคต รวมทั้งกล่าวสนับสนุนข้อริเริ่มขององค์การยูเนสโกในการจัดทำหุ้นส่วนความร่วมมือด้านการศึกษาสีเขียว1 การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายพื้นที่สงวนต่าง ๆ เป็นศูนย์ทดลองและศูนย์การเรียนด้านการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศขององค์การยูเนสโก เพื่อเป็นช่องทางในการขับเคลื่อนการศึกษา 2. ภาพรวมการประชุมคณะกรรมาธิการของยูเนสโก ที่ประชุมได้พิจารณาแผนงาน งบประมาณ และกิจกรรมการดำเนินงาน 5 สาขาหลักขององค์การยูเนสโก ได้แก่ ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ สังคมและมนุษยศาสตร์ วัฒนธรรม และสื่อสารมวลชนและสารสนเทศ รวมทั้งการเงิน การบริหาร และการสนับสนุนโครงการและความสัมพันธ์ต่างประเทศ ทั้งนี้ ที่ประชุมพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์การยูเนสโกเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใน ค.ศ. 2030 โดยเฉพาะการตอบสนองประเด็นท้าทายของโลกผ่านกลไกความร่วมมือแบบบูรณาการข้ามสาขา และการขับเคลื่อนนโยบาย แผนงานและโครงการสำคัญ เช่น สันติภาพและความเสมอภาคทางการศึกษา บทบาทนำและการมีส่วนร่วมของเยาวชน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการน้ำ เสรีภาพในการแสดงออกทางสื่อสังคม การปกป้องสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนบทบาทเชิงรุกขององค์การยูเนสโกในการดำเนินงานตามแผนงานเร่งด่วน รวมทั้งการส่งเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศขององค์การยูเนสโก นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้เพิ่มบาฮาซาอินโดนีเซีย (ภาษาอินโดนีเซีย) ในรายการภาษาทางการของการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโกและกำหนดให้จัดการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 43 ณ เมือง Samarkand (ซามาร์กันต์) สาธารณรัฐ อุซเบกิสถาน 3. กิจกรรมอื่น ๆ 3.1 ไทยได้รับเลือกให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในคณะกรรมการสภาระหว่างรัฐบาล2 ว่าด้วยโครงการสารนิเทศเพื่อปวงชน คณะกรรมการสภาระหว่างรัฐบาลว่าด้วยโครงการระหว่างชาติเพื่อพัฒนาการสื่อสาร และคณะกรรมการสภาระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยมีวาระ 4 ปี ระหว่างปี 2566-2570 ซึ่งจะสิ้นสุดการเป็นสมาชิกเมื่อถึงการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 44 3.2 การพบปะหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เช่น (1) หารือกับหัวหน้าคณะผู้แทนสาธารณรัฐสิงคโปร์ เนการาบรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นกลุ่ม 5 ประเทศ (รวมประเทศไทย) ที่ร่วมเสนอชุดเสื้อ ?เคบายา? ขึ้นทะเบียนรายการมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (2) หารือและรับฟังการนำเสนอการจัดการเรียนการสอนของสถาบันอาชีวศึกษาด้านการบิน ในประเด็นการฝึกงานและการจบหลักสูตรแล้วมีงานทำ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ ศธ. ?มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn)? และสามารถนำมาเป็นต้นแบบให้กับสถาบันการศึกษาในไทยได้ (3) หารือกับผู้บริหารบริษัทเอกชนเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการศึกษา โดยเฉพาะในส่วนของการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: Al) ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้นำเสนอนโยบาย ?เรียนดี มีความสุข? เรียนได้ ทุกที่ทุกเวลา เรียนฟรี มีงานทำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งอาจเป็นแนวคิดที่เป็นจุดร่วมที่สามารถส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันได้ในอนาคต 4. ประโยชน์และผลกระทบ เช่น 4.1 ไทยตระหนักถึงประเด็นท้าทายของโลกด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพร้อมสนับสนุนข้อริเริ่มขององค์การยูเนสโกด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่เน้นการสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือด้านการศึกษาสีเขียว ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศขององค์การยูเนสโก รวมถึงการมีส่วนร่วมของเยาวชนเพื่อเป็นช่องทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม 4.2 ไทยได้รับเลือกให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสภาระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยโครงการสารนิเทศเพื่อปวงชน สภาระหว่างรัฐบาลว่าด้วยโครงการระหว่างชาติเพื่อพัฒนาการสื่อสาร และสภาระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในการพัฒนาสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในด้านการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลและความรู้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารและสื่อบนพื้นฐานของจริยธรรมและความปลอดภัย ทั้งนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนซึ่งรวมถึงภาคประชาสังคม ชุมชน และสื่อต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างความรู้และการปฏิบัติ 1การศึกษาสีเขียว คือ แนวคิดและกระบวนการจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม สร้างความรู้ความเข้าใจความหลากหลายทางชีวภาพ พัฒนาทักษะการสำรวจธรรมชาติ และความรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในกลุ่มเด็กและเยาวชน ผ่านระบบการศึกษา 2 จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ศธ. แจ้งว่า คณะกรรมการสภาระหว่างรัฐบาล คือ คณะกรรมการภายใต้องค์กรยูเนสโก มีหน้าที่พิจารณาวางแผนแนวทางการดำเนินงานและนโยบายในด้านต่าง ๆ โดยมีสมาชิกมาจากผู้แทนของแต่ละประเทศ 16. เรื่อง ผลการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ในการดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok- UNDP Regional Innovation Center: RIC) หรือห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (Thailand Policy Lab: TPLab) ประจำปี 2565 ความก้าวหน้าของกิจกรรมประจำปี 2566 และการขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ อนุมัติ และเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบผลการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ในการดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาคกรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok - UNDP Regional Innovation Center: RIC) หรือห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (Thailand Policy Lab: TPLab)1 ประจำปี 2565 (โครงการความร่วมมือศูนย์ RIC) และความก้าวหน้าของกิจกรรมประจำปี 2566 2. อนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC อีก 7 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC (จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567) เป็นวันที่ 30 กันยายน 2567 ภายใต้กรอบวงเงินโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC ที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม 3. เห็นชอบร่างเอกสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างเอกสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ สศช. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก 4. อนุมัติให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในหนังสือความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC ของฝ่ายไทย พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม (ความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC จะสิ้นสุดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567) สาระสำคัญของเรื่อง สศช. รายงานว่า 1. โครงการความร่วมมือศูนย์ RIC ได้เริ่มดำเนินงานภายหลังจากการลงนามความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 โดยรัฐบาลไทยได้สนับสนุนค่าบำรุงประจำปี จำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ UNDP เป็นเวลาต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2565 ซึ่ง สศช. ได้รายงานความก้าวหน้าให้แก่คณะกรรมการกำกับโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC และคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะแล้ว 2. ในครั้งนี้ สศช. ได้รายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับการดำเนินโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC ประจำปี 2565 และความก้าวหน้าของกิจกรรมประจำปี 2566 ตามแนวทางการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC สรุปได้ ดังนี้ กรอบการดำเนินกิจกรรม การดำเนินการ / กิจกรรม ปี 2565-2566 เสาหลักที่ 1 : การพัฒนากระบวนการและพื้นที่เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบาย (1) การศึกษาแนวทางการเพิ่มสัดส่วนของประชากรวัยเยาว์ที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ - ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการอบรมกระบวนการออกแบบเชิงระบบและการวิเคราะห์ ส่วนประกอบในกระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะ ควบคู่กับการทดลองใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะ 8 ขั้นตอน (Public Policy Process Reimagined 8 Elements in Action)2 โดยในระยะแรกมุ่งเน้นการทำความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเรื่องการมีครอบครัวและการมีบุตรทั้งในเชิงนโยบายและปัจจัยส่วนบุคคล โดยการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ เมื่อตัดสินใจมีครอบครัวหรือมีบุตร - หารือและเปลี่ยนข้อค้นพบต่าง ๆ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลและสำรวจความเป็นไปได้ในการยกระดับการแก้ปัญหาข้างต้นเพื่อเตรียมรับมือกับความซับซ้อนและความท้าทายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อศึกษาเพิ่มเติมและออกแบบทางเลือกของนโยบายต่อไป (2) การออกแบบนโยบายสำหรับเยาวชนโดยเยาวชน ให้เยาวชนร่วมกันออกแบบนโยบายด้านสุขภาพจิต ที่ดี ทำให้ได้รับข้อเสนอที่ครอบคลุมทั้งมิติการป้องกัน การเยียวยารักษา การสร้างความตระหนักรู้ และการสร้างอนาคตของการศึกษาและการเรียนรู้ที่ดีต่อสุขภาพจิตเยาวชน ทั้งนี้ ในระหว่างปี พ.ศ. 2566-2567 ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ Inskru (แพลตฟอร์มที่รวบรวมและแบ่งปันแนวคิดกิจกรรม สื่อ และเทคนิคการสอนต่าง ๆ) สตาร์ทอัพ เพื่อทำการศึกษาและต่อยอดข้อเสนอข้างต้นไปสู่ขั้นตอนการทดสอบนโยบาย (Sandbox) กับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูและกรุงเทพมหานคร (3) การใช้เครื่องมือนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายและบริการสุขภาพ จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ?การออกแบบบริการและนโยบายสุขภาพ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Health Service Design Thinking Workshop)? ในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ณ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดราชบุรี โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละพื้นที่ร่วมกันออกแบบข้อเสนอเชิงนโยบายต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงกลุ่มผู้เปราะบางสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ทั่วถึง และเท่าเทียม เสาหลักที่ 2 : การยกระดับขีดความสามารถของผู้จัดทำนโยบาย 1) การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเชิงนโยบายให้เป็นที่รู้จักในภาคการศึกษา เผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (สาขาวิชานโยบายสาธารณะ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จำนวน 30 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 50 คน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 200 คน และวิชาการสร้างสรรค์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 10 คน) โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ร่วมกันออกแบบนโยบายที่นำเครื่องมือนวัตกรรมเชิงนโยบายมาประยุกต์ใช้3 (2) การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำนวัตกรรมเชิงนโยบายไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ และการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น - หลักสูตรปริญญาตรี วิชา Integrated Policy Making and Practice คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2566 โดยหลักสูตรดังกล่าวเป็นการให้ความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีและกรอบการวิเคราะห์สำหรับการกำหนดนโยบายในบริบททางสังคมและการเมืองที่ซับซ้อน ซึ่งครอบคลุมถึงแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบของนโยบาย - หลักสูตรวิชานโยบายสาธารณะ และการวิเคราะห์และประเมินนโยบายสาธารณะวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม 2566 โดยหลักสูตรดังกล่าวเป็นการให้แนวคิดในการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะในระดับต่าง ๆ รวมถึงผลกระทบของนโยบายสาธารณะ และการเปลี่ยนแปลงนโยบายในช่วงเวลาต่าง ๆ อย่างเหมาะสม - หลักสูตรโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ 16 ของสำนักงาน ก.พ.ร. ปี 2566-2567 หลักสูตรดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้ข้าราชการในโครงการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานภาครัฐ ที่มีความสามารถเป็นทั้งนักคิดที่มีวิสัยทัศน์ นักพัฒนาและวางแผน นักปฏิบัติ และการบริหารจัดการองค์การได้อย่างสมดุล (3) การอบรมเพื่อยกระดับศักยภาพของผู้วางแผน นโยบาย/ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐ - การอบรมเครื่องมือการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยความร่วมมือกับ Civil Service College International (Singapore) ในช่วงเดือนตุลาคม 2565 โดยผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้และทำความเข้าใจ และสร้างทักษะที่จำเป็นในการออกแบบนโยบายเพื่อพัฒนาการบริการสาธารณะตามพันธกิจของแต่ละองค์กรได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นระบบมากขึ้น - การอบรมเครื่องมือการคาดการณ์อนาคตสำหรับการออกแบบนโยบายและยุทธศาสตร์ (Foresight in Policymaking Masterclass) โดยร่วมมือกับ Lee Kuan Yew School of Public Policy (LKYSPP), National University of Singapore โดยผู้เข้าร่วมได้ศึกษาและทำความเข้าใจแนวคิดและวิธีการประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อค้นหาและวิเคราะห์สัญญาณ แห่งอนาคตและแรงขับเคลื่อนต่าง ๆ ที่จะช่วยจำลองภาพอนาคตเพื่อช่วยในการวางแผนและนโยบายของประเทศไทยต่อไป เสาหลักที่ 3 : การสร้างและพัฒนาเครือข่ายนวัตกรและผู้จัดทำนโยบาย (1) งานเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรม เชิงนโยบาย จัดเสวนาภายใต้หัวข้อ ?คิดนโยบายแนวใหม่ในโลกที่ซับซ้อน : แนวคิดเชิงระบบและประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Reimagine Policymaking: Systems Approach and People - Centered Design)? เมื่อวันที่ 20-21 ตุลาคม 2565 โดยมีผู้เข้าร่วมภายในงานและผ่านทางระบบออนไลน์กว่า 3,500 คน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสร้างภาคีเครือข่ายในการต่อยอดการพัฒนาและทดลองใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะ 8 ขั้นตอน (2) การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเชิงนโยบายผ่านกิจกรรมเส้นทางสานฝันนโยบายให้แก่ผู้กำหนดนโยบายระดับจังหวัด ท้องถิ่น และชุมชน จัดกิจกรรมภายใต้หัวข้อ ?เส้นทางสานฝันนโยบาย : นวัตกรรมนโยบายเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา : การท่องเที่ยวชุมชนบริเวณแม่น้ำป่าสัก? ณ จังหวัดสระบุรี และจัดกิจกรรม ภายใต้หัวข้อ ?เส้นทางสานฝันนโยบาย: นวัตกรรมนโยบายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ? ณ จังหวัดขอนแก่น เพื่อทดลองใช้เครื่องมือเชิงนวัตกรรมในการออกแบบแนวทางเพื่อพัฒนาแผนงาน โครงการ และการปฏิบัติงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ให้มีความครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและเข้าใจบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งขึ้น (3) การพัฒนาแพลตฟอร์มนวัตกรรมเชิงนโยบาย เพื่อการมีส่วนร่วม พัฒนาแพลตฟอร์มนวัตกรรมเชิงนโยบายเสมือนจริง (Virtual Policy Innovation Platform) ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และเป็นช่องทางสื่อสารที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วน ต่าง ๆ ในการออกแบบนโยบายสาธารณะ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ?การพัฒนาแพลตฟอร์มนโยบายเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน? เมื่อวันที่ 26-27 เมษายน 2566 (4) การสื่อสารสาธารณะและการจัดการความรู้ จัดทำและสังเคราะห์องค์ความรู้ ทั้งประเด็นนวัตกรรมเชิงนโยบายและองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC และได้สื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะแพลตฟอร์มโครงการฯ ได้แก่ Website Facebook page Instagram ของโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC โดยมีผู้เข้าชม 731,000 คน (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2566) 3. สศช. แจ้งว่า การดำเนินการในระยะต่อไป สศช. และ UNDP จะดำเนินการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC โดยให้ความสำคัญในการดำเนินงานควบคู่กับการพัฒนาและทดลองใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะ 8 ขั้นตอน โดยมุ่งเน้นการนำร่องการบูรณาการนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อทดสอบกระบวนการนโยบายสาธารณะให้ครบทั้ง 8 ขั้นตอน รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการออกแบบและนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่สามารถสร้างต้นแบบของนวัตกรรมเชิงนโยบายได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการถอดบทเรียนนวัตกรรมเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC เพื่อถ่ายทอดออกมาเป็นคู่มือที่สามารถส่งต่อองค์ความรู้และให้คำแนะนำในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเชิงนโยบายของหน่วยงานต่าง ๆ ได้ซึ่งจะช่วยยกระดับการทำงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานของแต่ละเสาหลักในปี พ.ศ. 2567 สรุปได้ ดังนี้ กรอบการดำเนินกิจกรรม การดำเนินการ / กิจกรรม ปี 2567 เสาหลักที่ 1 การพัฒนากระบวนการและพื้นที่เพื่อการพัฒนา นวัตกรรมเชิงนโยบาย - การเสนอทางเลือกของนโยบายในการเพิ่มสัดส่วนประชากรวัยเยาว์ที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ - การต่อยอดข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสุขภาพจิตไปสู่การทดสอบนโยบาย (Sandbox) กับโรงเรียนในจังหวัดหนองบัวลำภูและกรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม ปี 2567 - นำร่องการบูรณาการนวัตกรรมเชิงนโยบาย เพื่อทดสอบกระบวนการนโยบายสาธารณะให้ครบทั้ง 8 ขั้นตอนในระดับท้องถิ่น และการจัดทำคู่มือที่รวบรวมองค์ความรู้และคำแนะนำในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเชิงนโยบาย เพื่อเผยแพร่ให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนนโยบายสาธารณะของไทยนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป เสาหลักที่ 2 การยกระดับขีดความสามารถของผู้จัดทำนโยบาย - การดำเนินงานภายใต้หลักสูตรโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ 16 ของสำนักงาน ก.พ.ร. ต่อเนื่องจากปี 2566 - การเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท หลักสูตรวิชานโยบายสาธารณะ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เสาหลักที่ 3 การสร้างและพัฒนาเครือข่ายนวัตกรและผู้จัดทำนโยบาย - การจัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรมเชิงนโยบาย (PIX) ครั้งที่ 4 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ในหัวข้อ ?Thailand?s Journey to Reimagining and Transforming Policymaking? - การพัฒนาแพลตฟอร์มนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อการมีส่วนร่วม โดยร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อทดสอบการใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับการใช้งานอย่างมีส่วนร่วมและต่อยอดไปสู่การเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพของผู้ใช้งานที่เป็นภาคีเครือข่าย ทั้งนี้ จะเริ่มทดสอบการใช้งานกับประเด็นนำร่องภายใน ช่วงต้นปี 2567 4. โดยที่ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือศูนย์ RIC จะสิ้นสุดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567ดังนั้น คณะกรรมการกำกับโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC ซึ่งเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและผู้แทน UNDP ประจำประเทศไทย เป็นประธานร่วม ในคราวประชุมครั้งที่ 4 (2/2566) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 จึงมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC ออกไปอีก 7 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสุดความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC เป็นวันที่ 30 กันยายน 2567 ภายใต้กรอบวงเงินโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC ที่ได้รับอนุมัติไว้เดิมเนื่องจากยังคงมีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการร่วมกับภาคีการพัฒนาที่มีศักยภาพ และถอดบทเรียนจากการใช้นวัตกรรมเชิงนโยบายในการดำเนินงานให้เสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งการผลักดันให้เกิดการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเชิงนโยบายในการออกแบบนโยบายระดับชาติอย่างเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายของโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC 5. จากเหตุผลข้างต้น (ตามข้อ 4) สศช. จึงได้จัดทำร่างเอกสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือศูนย์ RIC 4 ออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 และจะมีผลใช้บังคับในวันที่ลงนาม ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานของ TPLab เกิดประโยชน์สูงสุดและมีการใช้จ่ายงบประมาณที่คุ้มค่าภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม 1 โครงการความร่วมมือ RIC หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่าห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (TPLab) มีลักษณะเป็นห้องปฏิบัติการนโยบายเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการออกแบบและกำหนดนโยบายให้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนและเท่าทันความท้าทายใหม่ ๆ เสริมสร้างศักยภาพของผู้ออกแบบและกำหนดนโยบายสาธารณะและส่งต่อเครื่องมือและความรู้ให้กับประเทศในเอเชียแปซิพิกและภูมิภาคอื่น ๆ 2 กระบวนการนโยบายสาธารณะ 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) ทำความเข้าใจบริบทของปัญหา และสำรวจเส้นทางนโยบายที่ผ่านมา (2) เชื่อมโยงระบบของปัญหา (3) พัฒนาเจตนาและจุดมุ่งหมาย เพื่อกำหนดขอบเขตของปัญหาที่ต้องการแก้ไข (4) สำรวจและเรียนรู้ความเป็นไปได้และแนวทางการแก้ไขปัญหา (5) คิดพัฒนาไอเดียเชิงนโยบาย (6) ประเมิน ทดสอบ และทดลองนโยบาย (7) วางแผนการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ (8) ติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย 3 อาทิ การวิเคราะห์เหตุและผลตามลำดับชั้น (Causal Layered Analysis: CLA) การวิเคราะห์ความหวังและความกลัว (Hope and Fear Analysis) การประเมินความเป็นไปได้ของแนวคิดเบื้องต้นในการกำหนดนโยบาย ด้วยสามเหลี่ยมแห่งอนาคต (Future Triangle) และแบบจำลององค์ประกอบสำคัญของนโยบาย (Policy Canvas) 4 ความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือ RIC ข้อ 12 กำหนดให้ความตกลงจะมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ทั้งสองฝ่ายลงนามและมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปี เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายจะเห็นชอบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรให้มีการขยายระยะเวลาออกไป (ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั้งหมดของความตกลงจะไม่เปลี่ยนแปลงและยังคงมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์) 17. เรื่อง ร่างแผนงานความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปี ค.ศ. 2024 - 2025 (Joint Work Programme between the Ministry of Energy of the kingdom of Thailand and the International Energy Agency 2024 - 2025) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างแผนงานความร่วมมือระหว่าง พน. แห่งราชอาณาจักรไทยกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปี ค.ศ. 2024 - 2025 (ร่างแผนงานฯ) 2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างแผนงานฯ (ตามข้อ 1) 3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงแผนงานฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้ พน. นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง (จะมีการลงนามร่างแผนงานฯ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ห้วงการประชุม IEA Ministerial Meeting 2024 ระหว่างวันที่ 13 - 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส) สาระสำคัญ 1. ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) เป็นองค์กรด้านพลังงานระดับโลกภายใต้กรอบองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยปัจจุบันมีประเทศสมาชิกจำนวน 31 ประเทศ (เช่น ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น) และมีประเทศพันธมิตร 13 ประเทศ (เช่น จีน อินเดีย สิงคโปร์ และไทย เป็นต้น) โดยไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตร1 ของ IEA เมื่อปี พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ ที่ผ่านมาไทยได้เคยจัดทำแผนงานฯ ประจำปี ค.ศ. 2022 - 2023 ร่วมกับ IEA แล้ว เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 โดยปัจจุบันแผนงานฉบับดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว 2. ร่างแผนงานฯ ที่จัดทำขึ้นครั้งนี้ มีสาระสำคัญมุ่งเน้นการผลักดันให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาภาคพลังงานของไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรม/เทคโนโลยีพลังงานสะอาด การอนุรักษ์พลังงาน การลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงาน และการพัฒนามาตรการรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายนักวิชาการในระดับนานาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางนโยบายด้านพลังงานของไทยในการส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน และการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ พน. และ IEA ใช้เป็นแนวทางสำหรับความร่วมมือและกิจกรรมทวิภาคีในการดำเนินนโยบายด้านพลังงาน ช่วงปี พ.ศ. 2567 - 2568 กรอบความร่วมมือ ด้านข้อมูลสถิติพลังงาน - ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเชิงสถิติ และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านพลังงานระหว่างกัน อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาพลังงานและภาษี ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงาน ข้อมูลสถิติรายเดือนเกี่ยวกับน้ำมัน ก๊าซ ถ่านหินและไฟฟ้า เพื่อให้ไทยมีข้อมูลพลังงานและสถิติที่ครอบคลุมและถูกต้อง - IEA จะเป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ทั้งในระดับชาติและในระดับภูมิภาค ด้านความมั่นคงทางพลังงาน นโยบายการตอบสนอง ต่อสภาวะฉุกเฉิน และแร่ธาตุที่สำคัญ - ทั้งสองฝ่ายจะเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และนโยบายการรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานของไทย เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการและทบทวนนโยบาย/มาตรารองรับสภาวะฉุกเฉินด้านน้ำมัน/ก๊าซ/ไฟฟ้าของไทย การฝึกซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินของ IEA ทั้งในรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลและในรูปแบบภาคปฏิบัติรวมถึงใช้สายด่วนในการรองรับเหตุฉุกเฉิน - ทั้งสองฝ่ายจะหารือร่วมกันเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือในด้านแร่ธาตุสำคัญที่จะเร่งเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด โดย IEA จะช่วยเหลือไทยในการทบทวนนโยบายและมาตรการด้านแร่ธาตุสำคัญเพื่อประเมินบทบาทของตลาดแร่ธาตุสำคัญในอนาคต ด้านการลดการปล่อย ก๊าซมีเทนในภาคพลังงาน - ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซมีเทนในภาคพลังงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการใช้ Global Methane Tracker2 - IEA จะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคที่มุ่งเน้นการปรับปรุงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการพัฒนานโยบายและกฎระเบียบที่ส่วนเกี่ยวข้อง ด้านการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ - IEA จะเชิญ พน. เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมและฝึกอบรมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ - ทั้งสองฝ่ายจะติดตามความคืบหน้าของการบรรลุเป้าหมายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการประเมินผลกระทบและร่วมพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของไทย - ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันวิเคราะห์นโยบายเกี่ยวกับอาคารและการก่อสร้างอาคารของไทยเพื่อพัฒนาอาคารประหยัดพลังงาน ด้านนโยบาย และแผนงานระดับชาติ - IEA จะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐของไทยในการพัฒนานโยบายด้านพลังงานระดับชาติ - IEA จะสนับสนุน พน. ในการพัฒนาการศึกษา ?แผนงานการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนของไทย? เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพลังงานสะอาดและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วยวิธีที่คุ้มค่าและปลอดภัย ด้านไฟฟ้า และพลังงานหมุนเวียน - ทั้งสองฝ่ายจะทำงานร่วมกันในการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานคาร์บอนต่ำ เช่น การพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการเทคโนโลยีพลังงานสะอาด (การกักเก็บพลังงาน การปรับปรุงสายส่งให้ทันสมัย) และการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในไทย - IEA อาจเชิญบุคลากรจาก พน. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมานาเกี่ยวกับความมั่นคงทางไฟฟ้า พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดในช่วงปี พ.ศ. 2567 - 2568 ตามความเหมาะสม ด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ - IEA จะสนับสนุนกิจกรรมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดของไทยให้บรรลุพันธกรณีด้านสภาพภูมิอากาศในระดับนานาชาติ - ทั้งสองฝ่ายจะหารือร่วมกันเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีพลังงานและหาโอกาสเพิ่มความร่วมมือต่าง ๆ ในอนาคต ทบทวนนโยบายพลังงาน และเพิ่มศักยภาพบุคลากร - ทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายเพื่อสานต่อและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของไทยในโครงการเสริมสร้างและเพิ่มขีดความสามารถด้านต่าง ๆ ในแผนงานฯ เช่น การฝึกอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน - IEA จะเชิญบุคลากรจาก พน. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปปฏิบัติงานด้วย (ถ้ามี) ประเด็นอื่น ๆ การจัดการทางการเงิน กิจกรรมภายใต้แผนงานฯ ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านเงินทุนและทรัพยากรของ IEA ซึ่งอาจต้องแสวงหาเงินทุนจากภายนอกในลักษณะของการบริจาคหรือเงินช่วยเหลือโดยสมัครใจก่อนเริ่มดำเนินกิจกรรม การเปิดเผยข้อมูล ไม่เปิดเผยข้อมูลแผนงานความร่วมมือแก่บุคคลที่สาม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้จัดทำหรือการเปิดเผยเป็นสิ่งจำเป็นโดยฝ่ายบริหารหรือฝ่ายกฎหมาย การมีผลบังคับใช้ มีผลบังคับใช้ ณ วันที่ลงนาม โดยบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2567 - 2568 3. พน. แจ้งว่า กิจกรรมความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้แผนงานฯ จะเป็นโอกาสอันดีในการผลักดันให้เกิดโครงการความร่วมมือในด้านเทคนิคและวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีและระบบการบริหารจัดการพลังงานที่มีความทันสมัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานโยบาย/มาตรการด้านพลังงานของไทยให้มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาพลังงานที่มั่นคงและเข้าถึงได้ควบคู่ไปกับการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน อีกทั้งเป็นโอกาสอันดีในการร่วมมือกันเพื่อผลักดันการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของไทยต่อไป 1 การเข้าร่วมเป็นพันธมิตร IEA มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมร่วมมือระหว่างกันในการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนเชิงวิชาการในด้านพลังงาน 2 Global Methane Tracker คือ การประมาณการการปล่อยก๊าซมีเทนทั้งหมดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งจากภาคพลังงาน พลังงานชีวภาพ และภาคส่วนอื่น ๆ 18. เรื่อง ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (การประชุม คณะมนตรีฯ) ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับหุ้นส่วนการพัฒนา (การประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา) ครั้งที่ 28 ตามที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (คณะกรรมการฯ) [รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธาน] เสนอ สาระสำคัญ คณะกรรมการฯ รายงานว่า 1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (23 พฤศจิกายน 2566) อนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 โดยเป็นกรอบการหารือเกี่ยวกับการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (สำนักงานฯ) รวมทั้งเห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยหารือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามประเด็นในกรอบการหารือ และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะสมาชิกคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้ลงนามรับรองรายงานการประชุม 2. การประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) มีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย รัฐมนตรีจากประเทศต่าง ๆ โดยในส่วนของประเทศไทย มีเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (นายสุรสีห์ กิตติมณฑล) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม มีผลลัพธ์การประชุม [เป็นไปตามกรอบการหารือที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (ตามข้อ 1)] สรุปได้ ดังนี้ ที่ประชุมมีมติ สาระสำคัญ อนุมัติ ร่างขอบเขตการดำเนินงาน (TOR) สำหรับ CEO ของสำนักงานฯ ที่เสนอโดยประเทศไทย เนื่องจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันจะหมดวาระ (มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี) โดยการดำรงตำแหน่ง CEO จะหมุนเวียนตามตัวอักษรของประเทศสมาชิก1 และผู้ที่ดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะมาจากประเทศไทย2 [สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยจะดำเนินการสรรหา และคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ใน TOR สำหรับ CEO ของสำนักงานฯ โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2567 และเป็นไปตามกรอบการหารือที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 (ตามข้อ 1)] รับทราบ ความก้าวหน้าการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ดังนี้ (1) ความร่วมมือกับพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) การดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (3) การดำเนินการตามแผนระดับภูมิภาคเชิงรุก (4) เครือข่ายติดตามเฝ้าระวังหลักแม่น้ำโขง (5) การจัดเตรียมรายงานสถานการณ์ของลุ่มน้ำโขง ปี พ.ศ. 2566 (6) ความก้าวหน้าการศึกษาร่วม เรื่อง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบสภาพทางอุทกวิทยาของลุ่มน้ำโขง - ล้านช้าง (7) รายงานสภาพทางอุตุ - อุทกวิทยาและสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ปี พ.ศ. 2566 3. ประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (ประเทศสมาชิกฯ) และหุ้นส่วนการพัฒนา3 ร่วมกล่าวถ้อยแถลง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเทศสมาชิก/หุ้นส่วนการพัฒนา สาระสำคัญ ประเทศไทย - ชื่นชมการดำเนินงานที่ผ่านมาของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงที่ดำเนินการพัฒนาลุ่มน้ำตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทางน้ำ และความเหลื่อมล้ำทางสังคม - เสนอให้ร่วมมือกันรักษาทรัพยากรน้ำและคำนึงถึงการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลด้านการบริหารจัดการน้ำ การสร้างความมั่นคงด้านน้ำ อาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม - แสดงความมุ่งหวังว่าแผนการดำเนินงานระดับภูมิภาคเชิงรุกที่อยู่ในระหว่างจัดทำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงจะนำไปสู่โครงการร่วมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ที่มีมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการพัฒนาในลุ่มน้ำที่ครอบคลุมและทั่วถึง โดยเห็นว่าโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะช่วยเพิ่มคุณค่า และขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างมีนวัตกรรมในลุ่มน้ำโขง - แสดงความมุ่งมั่นและสนับสนุนความร่วมมือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประเทศคู่เจรจา หุ้นส่วนการพัฒนา และหุ้นส่วนความร่วมมือระดับ ภูมิภาคและนานาชาติอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำข้ามพรมแดน ให้เกิดความยั่งยืน กัมพูชา - ชื่นชมประเทศสมาชิกที่ได้ร่วมกันอนุมัติแผนดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ แม่น้ำโขง ประจำปี พ.ศ. 2566 ? 2567 - ขอบคุณหุ้นส่วนการพัฒนาที่ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการและเงินทุน และขอบคุณประเทศคู่เจรจาที่ทำงานร่วมกันกับประเทศสมาชิก - กล่าวว่ากัมพูชาได้พยายามแก้ไขปัญหา และผลักดันยุทธศาสตร์เบญจโกณ ระยะที่ 1 (Pentagonal Strategy - Phase 1)4 เพื่อขยายการดำเนินนโยบายสู่ความยั่งยืน การเจริญเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงการดูแลผืนดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ สปป. ลาว - กล่าวถึงความสำเร็จของการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ณ สปป.ลาว โดยมีผลลัพธ์การประชุม คือ ปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 รวมทั้งความสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกหุ้นส่วนพัฒนา และหุ้นส่วนอื่น ๆ - สปป. ลาว ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์สู่ปี ค.ศ. 2040 โดยการจัดทำ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการจัดทำ แผนบริหารจัดการลุ่มน้ำ ตลอดจนกำหนดนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแผนพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจระดับชาติ เวียดนาม เสนอให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติและภาวะฉุกเฉิน โดยจะต้องอาศัยฉันทามติและความมุ่งมั่นอันสูงสุดของประเทศสมาชิกในการดำเนินตามปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 และแผนกลยุทธ์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงใน 3 ประเด็น ดังนี้ (3) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลอย่างเปิดกว้างและโปร่งใส (2) เสนอทางเลือกในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม แทนการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ และ (3) เสริมสร้างศักยภาพ ของประเทศสมาชิกและการสนับสนุนด้านการเงิน รวมทั้งศึกษาวิจัยกลไกการเงินรูปแบบใหม่ เช่น กองทุนแม่น้ำโขง (Mekong Fund) เป็นต้น หุ้นส่วนการพัฒนา - ยินดีกับผลสำเร็จของกิจกรรมที่สร้างความมีส่วนร่วมของประเทศในลุ่มน้ำโขง รวมถึงการมีส่วนร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในงานกิจกรรมสำคัญระดับโลก - รับทราบถึงความพยายามของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในการยกระดับเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนาและปฏิบัติตามธรรมเนียม หลักการ และแนวทางร่วมกัน และขอให้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงใช้กลไกดังกล่าวในการประสานงานการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงต่อไป - ยินดีกับความก้าวหน้าในการเปลี่ยนผ่านของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง สู่ความยั่งยืนทางการเงินภายในปี ค.ศ. 2030 และหวังว่าจะได้ร่วมมือ กับสำนักงานฯ ในการจัดตั้ง กำกับดูแล และการบริหารจัดการกองทุนแม่น้ำโขง (Mekong Fund) ต่อไป 1 หมุนเวียนตามตัวอักษรของประเทศสมาชิก ดังนี้ (1) สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม (เวียดนาม) (2) กัมพูชา (3) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และ (4) ประเทศไทย 2 เมื่อการดำรงตำแหน่ง CEO หมุนเวียนไปถึงประเทศใด ประเทศนั้นจะสามารถปรับปรุง TOR ของ CEO ให้คล้องกับวัตถุประสงค์ของประเทศนั้น ๆ ได้ โดย TOR ของ CEO ที่ประเทศไทยเสนอในครั้งนี้ มีการปรับปรุง เช่น ปรับปรุงในประเด็นสัญชาติ โดยผู้ที่มาดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ปรับปรุงคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของ CEO ในประเด็นประสบการณ์ทำงานเพื่อขยายและเปิดโอกาสให้กับผู้สมัครที่อยู่ในหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น 3 เช่น ออสเตรเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยจะบริจาคเงินทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการฯ 4 เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 5 ประการ ได้แก่ (1) เสริมสร้างความยืดหยุ่นเพื่อฟื้นฟูในสภาวะวิกฤต (2) สร้างงาน (3) ลดความยากจน (4) เพิ่มศักยภาพการบริหารราชการ และ (5) พัฒนาสังคม เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน แต่งตั้ง 19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นายสุริยะ คูหะรัตน์ สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2565 2. นายสมเจตน์ เหล่าลือเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2566 3. นางวิมล โรมา นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านสาธารณสุข) ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กรมอนามัย ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านส่งเสริมสุขภาพ) กรมอนามัย ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 4. นายมานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2566 5. นางโศรยา ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลระยอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2566 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 21. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายวัน อยู่บำรุง เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง 22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนแต่งตั้ง นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง 23. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน 6 คน ดังนี้ 1. นายณปกรณ์ ธนสุวรรณเกษม ประธานกรรมการ 2. นายธนา โพธิกำจร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 3. นายอภิรัต ศิรินาวิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 4. นายวุฒิรักษ์ เดชะพงษ์พันธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการและทรัพยากรบุคคล 5. นายฉัตรชัย ธนาฤดี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน การบัญชี และงบประมาณ การตรวจสอบประเมินผลและการบริหารความเสี่ยง 6. นายเทพรัตน์ พิมลเสถียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป 24. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ รวม 10 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้ 1. พลเอก สุพจน์ มาลานิยม ประธานกรรมการ 2. นายอนุกูล ปีดแก้ว กรรมการอื่น (ผู้แทน พม.) 3. นายสมมาตร มณีหยัน กรรมการอื่น (ผู้แทน กค.) 4. นายเดชบุญ มาประเสริฐ กรรมการอื่น 5. นายมณเฑียร อินทร์น้อย กรรมการอื่น 6. นายสมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา กรรมการอื่น 7. นายอณุศาสณ์ อรรถวิทยา กรรมการอื่น 8. นายอดิศร นุชดำรงค์ กรรมการอื่น 9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ จำรัสจรุงผล กรรมการอื่น 10. นางสาวอุษณี กังวารจิตต์ กรรมการอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป 25. เรื่อง การแต่งตั้งประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอแต่งตั้งประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน ดังนี้ 1. นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภา 2. นายกงกฤช หิรัญกิจ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 3. นายกฤษณะ วจีไกรลาศ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 4. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 5. นายปิยะมิตร ศรีธรา กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 6. นายวิษณุ อรรถวานิช กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 7. นางสาวรัสรินทร์ ชินโชติธีรนันท์ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 8. นายสมประวิณ มันประเสริฐ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 9. นายสุพจน์ เตชวรสินสกุล กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 10. นายอารีย์ ชวลิตชีวินกุล กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 11. นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 26. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร จำนวน 7 คน แทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้ 1. นางศรัณยา สุวรรณพรหม (ผู้แทนสถาบันเกษตรกร) 2. พันตำรวจเอก พัฒน์เชษฐ์ อุ่นอนันต์ (ผู้แทนสถาบันเกษตรกร) 3. นายชุติเดช มีจันทร์ 4. นายพรชัย อินทร์สุข 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ 6. นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ 7. นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป 27. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา รวม 7 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้ 1. นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ประธานกรรมการ 2. นายอภัย สุทธิสังข์ กรรมการอื่น (ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 3. นายดนัย วิจารณ์ กรรมการอื่น (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) 4. พลเอก นิธิ จึงเจริญ กรรมการอื่น 5. พลตำรวจตรี วรากร อยู่อย่างไท กรรมการอื่น 6. พลตำรวจตรี มนตรี แป้นเจริญ กรรมการอื่น 7. นายสมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย กรรมการอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป