สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มีนาคม 2567

ข่าวการเมือง Wednesday March 27, 2024 09:43 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (26 มีนาคม 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           การนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในส่วนที่เกี่ยวกับ                                        วินัย และโทษผิดวินัยมาใช้บังคับกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ โดยอนุโลม
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย                                        วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์                                         (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ                                        ภูมิอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอาญาและ                                        ศาลแพ่งมีนบุรี พ.ศ. .... (กำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใน                                        ศาลอาญาและศาลแพ่งมีนบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป)
                    7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน                                         (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 2 ฉบับ

เศรษฐกิจ-สังคม
                    9.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์                                                  พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572
                    10.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การนำการจัดอันดับ                                                            มหาวิทยาลัยมาพัฒนาการศึกษาและมหาวิทยาลัยไทย ของคณะกรรมาธิการการ                                        อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา
                    11.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนภายใต้                                                  แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน ของคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม                                         จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม วุฒิสภา
                    12.           เรื่อง           ขออนุมัติขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 4 ตั้งแต่                                        ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2569
                    13.           เรื่อง           การผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับ                                                  ประเทศต้นทาง เพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567
                    14.           เรื่อง           ขออนุมัติงบประมาณอุดหนุนค่าอาหารกลางวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา                                        ปีที่ 1 - 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
                    15.           เรื่อง           การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์
                    16.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง
                    17.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริม                                        และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย                                         อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
                    18.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง                                        สิทธิมนุษยชนเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินให้สอดคล้องกับหลักการสิทธิในที่ดินและสิทธิ                                        ชุมชน
                    19.           เรื่อง            ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะ                                        ระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม                                                   และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
                    20.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                    21.           เรื่อง           ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 256
                    22.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมกราคม 2567
                    23.           เรื่อง           สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ต่างประเทศ
                    24.           เรื่อง           ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - ลาว เพื่อดูแลการดำเนินกิจกรรม                                        ต่าง ๆ ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง ครั้งที่ 4
                    25.           เรื่อง           การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการหารือทวิภาคีระหว่างกระทรวงการ                                                  ต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งบอสเนียและ                                        เฮอร์เซโกวีนา
                    26.           เรื่อง           ภาคผนวกที่ 1 และภาคผนวกที่ 2 ที่ปรับปรุงแก้ไขของข้อตกลงการยอมรับร่วม                                                  รายสาขาว่าด้วยระบบการตรวจสอบและการให้การรับรองด้านสุขลักษณะอาหาร                                        สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปของอาเซียน (ASEAN Sectoral Mutual                                                   Recognition Arrangement for Inspection and Certification Systems on                                         Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products; MRA on PF)
                    27.           เรื่อง           การเสนอรายการ ?ชุดไทย : ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุด                                        ไทยประจำชาติ? (Chud Thai : The Knowledge, Craftsmanship and                                                   Practices of The Thai National Costume) และ ?มวยไทย? (Muay Thai :                                         Thai Traditional Boxing) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้                                                  ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก
                    28.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนในการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม                                         10th  Meeting of the Advisory Committee
                    29.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ด้านความร่วมมือ                                        ระหว่างกระทรวงพาณิชย์และบริษัทไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชั่น
                    30.           เรื่อง           รายงานผลการเดินทางเยือนนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน                                         ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

แต่งตั้ง
                    31.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการอื่น (ผู้แทนกองทัพอากาศและผู้ทรงคุณวุฒิ) ในคณะกรรมการ                                                  กำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                    (กระทรวงสาธารณสุข)
                    33.           เรื่อง           การแต่งตั้งรองประธานกรรมการคนที่สองและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน                                                  คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
                    34.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
                    35.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ                                                   ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
                    36.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน                                        การบินพลเรือน
                    37.           เรื่อง           การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ
                    38.           เรื่อง           การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา                                                   วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
                    39.           เรื่อง           การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนัก                                                  นายกรัฐมนตรี (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    40.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์                                                  การเกษตร
?
กฎหมาย
1. เรื่อง การนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในส่วนที่เกี่ยวกับวินัย และโทษผิดวินัยมาใช้บังคับกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ โดยอนุโลม
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอให้กรมการปกครองในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในส่วนที่เกี่ยวกับวินัย และโทษผิดวินัยมาใช้บังคับกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โดยอนุโลม นับแต่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการทางวินัย ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับก่อนคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
                     ทั้งนี้ เรื่องที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการดำเนินการตามมาตรา 139 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ กำหนดให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลม ให้ยังคงนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป การให้นำพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับกับข้าราชการประเภทดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทำได้โดยมติขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้น ๆ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับวินัยและโทษผิดวินัยของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ยังคงนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับปรุงในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและโทษผิดวินัยไว้แตกต่างจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยเฉพาะกรณีการดำเนินการทางวินัยผู้ซึ่งออกจากราชการ โดยมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ต้องมีการกล่าวหาไว้ก่อนเท่านั้นและไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการทางวินัยภายหลังจากพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่มาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 สามารถกล่าวหาภายหลังออกจากตำแหน่งได้ แต่ต้องสั่งลงโทษภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้ง 2 กรณี ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการทางวินัยกรณีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นมาตรฐานเดียวกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ กรมการปกครองซึ่งทำหน้าที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จึงเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในส่วนที่เกี่ยวกับวินัยและโทษผิดวินัย [หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย มาตรา 80 ถึงมาตรา 89 หมวด 7 การดำเนินการทางวินัย มาตรา 90 ถึงมาตรา 106 และหมวด 8 การออกจากราชการ เฉพาะมาตรา 107 (5)] มาใช้บังคับกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โดยอนุโลม นับแต่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการทางวินัยที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับก่อนคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นขอบ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     กำหนดให้กรมการปกครองในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในส่วนที่เกี่ยวกับวินัยและโทษผิดวินัย [หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย มาตรา 80 ถึงมาตรา 89 หมวด 7 การดำเนินการทางวินัย มาตรา 90 ถึงมาตรา 106 และหมวด 8 การออกจากราชการ เฉพาะมาตรา 107 (5)] มาใช้บังคับกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โดยอนุโลม นับแต่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการทางวินัยที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับก่อนคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ (กรณีที่พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 กำหนดเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัยไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ซึ่งเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้ที่มีอำนาจสั่งลงโทษกรณีพบว่ามีการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.2/6212 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2555)

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....     ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     1. แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะและส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ โดยเพิ่มเติมสีประจำวิทยาลัยในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คือ วิทยาลัยนาฏศิลปะ 12 แห่ง เป็นสีเขียว และวิทยาลัยช่างศิลปะ 3 แห่ง เป็นสีเหลือง และระบุขนาดเครื่องหมายสถาบันเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร
                     2. แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะของเข็มวิทยฐานะโดยกำหนดขนาดเข็มวิทยฐานะให้มีความชัดเจนขึ้น      คือ มีลักษณะเป็นรูปวงกลมทำด้วยโลหะดุนนูนสีทองเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร กึ่งกลางเป็นรูปเครื่องหมายสถาบันเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ว่าด้วยตราและเครื่องหมายของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และเครื่องหมายของส่วนราชการของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2565
                     3. แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยประจำตำแหน่ง โดยระบุตำแหน่งติดโบให้ชัดเจนขึ้น คือ ติดบนแถบผ้าสักหลาดระดับหน้าอกทั้งสองข้าง เพิ่มเติมตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยและรองผู้อำนวยการวิทยาลัย และระบุขนาดเครื่องหมายสถาบันเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด พ.ศ. 2559       ซึ่งเดิมได้กำหนดพฤติกรรมเด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร อาทิ ประพฤติตนเกเร เล่นการพนัน เสพสุรา สูบบุหรี่ เสพยาเสพติดให้โทษ หรือของมึนเมาอย่างอื่น การเสนอครั้งนี้เป็นการเพิ่มพฤติกรรมของเด็กที่ใช้พืชกระท่อม กัญชา กัญชง    หรือสารสกัดจากพืชดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมหรือสารสกัดของพืชกระท่อม กัญชา และกัญชงเพื่อนันทนาการ เป็นพฤติกรรมของเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เพื่อให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อาทิ ส่งตัวเด็กเข้าสถานคุ้มครองสวัสดิภาพหรือสถานพัฒนาและฟื้นฟู หรือมอบตัวเด็กให้แก่ผู้ปกครองหรือบุคคล ที่ยินยอมรับเด็กไปปกครองดูแล โดยอาจแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กหรือไม่ก็ได้ โดยวางข้อกำหนดเพื่อป้องกันมิให้เด็กมีความประพฤติเสียหายหรือเสี่ยงต่อการกระทำผิด เช่น ระมัดระวังมิให้เด็กเข้าไปในสถานที่อันจะจูงใจให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร                 และระมัดระวังมิให้เด็กคบหาสมาคมกับบุคคลที่อาจจะชักนำไปในทางเสื่อมเสีย เป็นต้น ซึ่งเป็นการป้องกันและคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเพื่อมิให้ได้รับผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านสติปัญญาและการเจริญเติบโตของร่างกายจากการใช้พืชกระท่อม กัญชา กัญชง หรือสารสกัดจากพืชดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมหรือสารสกัดของพืชกระท่อม กัญชา หรือกัญชง
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด พ.ศ. 2549 โดยเพิ่มพฤติกรรมเด็กที่ใช้พืชกระท่อม กัญชา กัญชง หรือสารสกัดจากพืชดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสม หรือสารสกัดจากพืชนั้น เพื่อนันทนาการ ให้ถือเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิด เพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดมิให้ได้รับผลกระทบจากการใช้พืชดังกล่าว รวมทั้งสารสกัดหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพืชหรือสารสกัดจากพืชนั้น

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ดังนี้
                     1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อให้การจัดการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรบุคลากรของประเทศเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานนานาประเทศ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ          และเงื่อนไขความร่วมมือเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศในความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน โดยกำหนดความร่วมมือ 3 ด้าน ได้แก่ (1) การจัดการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยคริสเตียนมีการจัดทำความร่วมมือระหว่างห้องสมุด โดยมีการตกลงการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับสำนักวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น (2) การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม อาทิ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย (MOU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นต้น และ (3) ด้านอื่น ๆ ตามที่สภาสถาบันการอุดมศึกษาประกาศกำหนด อาทิ ด้านบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เป็นต้น รวมทั้งกำหนดให้ผลงานที่ได้สร้างขึ้นมาหากมิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้ ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างและสามารถนำไปหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้โดยอาจมี หรือไม่มีการแบ่งผลประโยชน์กับสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดก็ได้ ซึ่งหลักการของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดภาระด้านงบประมาณแผ่นดิน และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เห็นชอบแล้ว โดยได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียด้วยแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     1. กำหนดคำนิยามคำว่า ?สำนักงานปลัดกระทรวง? ?สถาบันอุดมศึกษา?  ?คู่ความร่วมมือ? ?บุคลากร? และ ?สสอท.?
                     2. กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษามากกว่าหนึ่งแห่ง อาจร่วมมือกัน ดังนี้ (1) การจัดการศึกษา (2) การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม และ (3) ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษาประกาศกำหนด
                     3. กำหนดให้ในการจัดทำความร่วมมือจัดการศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม สถาบันอุดมศึกษาต้องคำนึงถึง ดังนี้ (1) ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนด้านการอุดมศึกษา รวมทั้งปรัชญา วัตถุประสงค์ และพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา (2) ภาระที่อาจเกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษา ผู้เรียน และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และ (3) ความร่วมมือต้องก่อให้เกิดการพัฒนาและประโยชน์ในด้านการเรียนการสอน การพัฒนากำลังคน การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ การวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือในด้านวิชาการอื่น ๆ
                     4. กำหนดให้มีความร่วมมือในการจัดการศึกษา ดังนี้ (1) การจัดหลักสูตรการศึกษาร่วมกัน (2) การให้บุคลากรไปทำการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาอื่น (3) การนำบุคลากรซึ่งมีประสบการณ์และมีศักยภาพสูงจากสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศมาร่วมในการจัดการศึกษา (4) การใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ หรือฐานข้อมูลงานวิจัยร่วมกัน และ (5) การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ร่วมกัน
                     5. กำหนดให้มีความร่วมมือในการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ดังนี้ (1) การวิจัยร่วมกัน (2) การรับหรือให้ทุนในฐานะผู้ร่วมวิจัย (3) การใช้ห้องปฏิบัติการร่วมกัน (4) การให้บุคลากรไปทำการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษาอื่น และ (5) การนำบุคลากรซึ่งมีประสบการณ์และมีศักยภาพสูงจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาร่วมในการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม
                     6. กำหนดให้มีความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ดังนี้ (1) ด้านบริการวิชาการแก่สังคม (2) ด้านการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (3) ด้านการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี (4) ด้านการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ เป็นต้น
                     7. กำหนดให้ความร่วมมือในด้านการใช้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาร่วมกันให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาของสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด โดยให้นับเป็นอายุราชการ หรืออายุงานของสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด และให้ได้รับค่าตอบแทน ตลอดจนสามารถนำผลงานมาใช้ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการหรือตำแหน่งงานอื่น ๆ ได้ และหากบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษามีข้อผูกพันตามสัญญาชดใช้ทุนให้นับระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลาชดใช้ทุนตามสัญญาด้วย ทั้งนี้ งานที่บุคลากรได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของบุคลากรผู้สร้างสรรค์ และสามารถนำไปหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ โดยอาจมีหรือไม่มีการแบ่งผลประโยชน์กับสถาบันอุดมศึกษาที่ตนสังกัด
                     8. กำหนดให้คณะกรรมการการอุดมศึกษามอบหมายคณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้น ตามระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ทำหน้าที่ ดังนี้ (1) กำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานที่สถาบันอุดมศึกษาอื่น (2) ให้คำแนะนำ คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะแก่สถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างความร่วมมือด้านต่าง ๆ (3) ประสานงานและสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา และ (4) ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความเห็นต่อ รมว.อว. คณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี
                     9. กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ติดตามประเมินผลความร่วมมือ เป็นระยะ ๆ ทุกสามปี หากปรากฏว่าความร่วมมือนั้นไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ ภายในระยะเวลาสามปีนับจากวันลงนามหรือระยะเวลาที่มีการดำเนินการครั้งล่าสุด ให้ถือว่าความตกลงร่วมมือดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่สภาสถาบันอุดมศึกษาเห็นชอบให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้รายงานข้อมูลผลการปฏิบัติงานตามความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาต่อสำนักงานปลัดกระทรวงภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษาให้ความเห็นชอบ
                     10. กำหนดให้บรรดาข้อตกลง บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และบันทึกความเข้าใจของสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามบทบัญญัติของกฎกระทรวงนี้

5. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า
                     1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ            พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) โดยมีหน้าที่และอำนาจกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ และมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและเลขานุการ รวมทั้งให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                      2. โดยที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2)             พ.ศ. 2566 ทำให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมีภารกิจเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนภารกิจดังกล่าว ทส. จึงยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....          เพื่อปรับปรุงองค์ประกอบใน กนภ. โดยแก้ไขตำแหน่งกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ จาก ?เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม? เป็น ?อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม? และเพิ่มหน้าที่และอำนาจของ กนภ. ในการเสนอแนวทาง มาตรการ และกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของประเทศไทย รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
                     3. ในคราวประชุม กนภ. ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2. และมอบหมายให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ตามขั้นตอนต่อไป
                     สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม          ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....




?ให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ?
          ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
    ?ให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/1) ของวรรคหนึ่ง ของข้อ 8 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ       พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
    ?ข้อ 8 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
ฯลฯ
    (3/1) เสนอแนวทาง มาตรการ และกลไก การบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของประเทศไทย รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอาญาและศาลแพ่งมีนบุรี               พ.ศ. .... (กำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอาญาและศาลแพ่งมีนบุรี ตั้งแต่วันที่             1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                      1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอาญาและศาลแพ่งมีนบุรี พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      2. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     ศย. เสนอว่า
                      1. โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2543 บัญญัติให้ในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใด ที่มีศาลจังหวัดมากกว่าหนึ่งศาล หากมีความจำเป็นจะเปิดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด ที่ยังมิได้มีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวนั้นอีกก็ได้ ทั้งนี้ จะเปิดทำการเมื่อใดให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุเขตอำนาจศาลเดิมหรือแผนกเดิมและแผนกที่จัดตั้งขึ้นใหม่ไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย ซึ่งปัจจุบัน ศย. มีนโยบายเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอาญาและศาลแพ่งมีนบุรี ให้มีเขตอำนาจตลอดท้องที่ของเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา เขตคันนายาว                         เขตลาดกระบัง เขตลาดพร้าวเฉพาะแขวงจรเข้บัว เขตสะพานสูง เขตสายไหมเฉพาะแขวงสายไหมและแขวงออเงิน เขตหนองจอก เขตบางเขน เขตประเวศ และเขตบึงกุ่ม ในกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นการอำนวยความยุติธรรมและความสะดวกแก่ประชาชน ในท้องที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป อันเป็นไปตามพันธกิจของศาลยุติธรรม ในการอำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนให้ได้รับความยุติธรรมอย่างทั่วถึงและเสมอภาค และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565 - 2568 ยุทธศาสตร์ T (Truted Justice) เชื่อมั่นศรัทธาการอำนวยความยุติธรรม ซึ่งถือว่าเป็นวาระเร่งด่วนเพื่อให้มีการประกาศใช้บังคับกฎหมายได้ทันตามกำหนดวันเปิดทำการดังกล่าว ซึ่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญดังนี้
                               1.1 กำหนดให้เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป
                               1.2 กำหนดให้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีเขตอำนาจตลอดกรุงเทพมหานครในระหว่างที่ยังมิได้เปิดทำการศาลอาญาและศาลมีนบุรี แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
                               1.3 กำหนดให้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางพิจารณาพิพากษาคดี ที่อยู่ในอำนาจศาลอาญาและศาลแพ่งมีนบุรี แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ที่ค้างพิจารณาในวันเปิดทำการต่อไปจนเสร็จ เว้นแต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเห็นสมควร
                     2. ศย. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้ว คือ ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จำนวน 66,265,055 บาท ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการ จำนวน 17,990,649 บาท และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน จำนวน 145,478,300 บาท ทำให้จะต้องใช้งบประมาณ ในระยะ 3 ปีแรก ประมาณ 229,734,004 บาท อัตรากำลังข้าราชการตุลาการที่ต้องใช้ จำนวน 6 อัตรา และอัตรากำลัง ข้าราชการศาลยุติธรรมที่ต้องใช้ 25 อัตรา และพนักงานราชการ จำนวน 1 อัตรา
                     3. ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567     ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอาญาและศาลแพ่งมีนบุรี และมอบหมายให้ ศย. ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มาตรา 6 (1) และ (4) บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ใบสำคัญ ใบรับรอง หรือหนังสือรับรอง ไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และมีอำนาจยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ได้กำหนดค่าธรรมเนียมของใบอนุญาตใบสำคัญ ใบรับรอง หรือหนังสือรับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้มีพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ได้กำหนดใบอนุญาตและใบรับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศฯ เพิ่มเติม และกำหนดอัตราขั้นสูงของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบรับรองดังกล่าวไว้ท้ายพระราชบัญญัติฯ ซึ่งผู้ขอใบอนุญาตหรือใบรับรองจะต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตหรือใบรับรองในกระบนการขอออกใบอนุญาตหรือใบรับรองดังกล่าวและในทางปฏิบัติพบว่า เมื่อพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับแล้วกระบวนการยื่นคำขอและการตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตและใบรับรองดังกล่าวของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ก็ได้ดำเนินการใกล้แล้วเสร็จ เพียงแต่ยังไม่มีกฎกระทรวงเพื่อกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบรับรองประเภทใหม่ให้ครบถ้วน อันจะส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตหรือใบรับรองที่ออกให้กับผู้ขอได้ และทำให้ไม่สามารถออกใบอนุญาตหรือใบรับรองนั้น ๆ ได้ อีกทั้งหากยังไม่มีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจะส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมรับการตรวจสอบจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ตามโครงการ Universal Safety Oversight Audit Programme Continuous Monitoring Approach (USOAP-CMA) อันจะส่งผลต่อการประเมินเพื่อยกระดับค่าประสิทธิผลของการดำเนินการ (EI [Effective Implementation] Score) ของประเทศไทย
                    2. นอกจากนี้ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตหรือใบรับรองบางประเภทที่กำหนดไว้เดิมตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรต้องแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่สะท้อนต้นทุน และความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเนื่องจากค่าธรรมเนียมใบรับรองหรือใบอนุญาตที่กำหนดเดิมเป็นอัตราที่กำหนดขึ้นในขณะที่กรมการบินพลเรือนเป็นผู้กำกับดูแลซึ่งมีสถานะเป็นส่วนราชการและได้รับงบประมาณในการดำเนินการจากรัฐ ซึ่งปัจจุบันได้มีพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 จัดตั้ง กพท. ขึ้น เพื่อดำเนินการภารกิจกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนแทนกรมการบินพลเรือนโดยให้มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ได้รับงบประมาณแผ่นดินจึงไม่สามารถใช้อัตราค่าธรรมเนียมใบรับรองหรือใบอนุญาตเดิมเป็นบรรทัดฐานในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ที่สะท้อนต้นทุน (Cost Recovery) การดำเนินการตามภารกิจของ กพท. และความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจได้
                    3. คค. จึงได้จัดทำร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตหรือใบรับรองที่กำหนดขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่14) พ.ศ. 2562 และแก้ไขปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้จะก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือภาระแก่ผู้ขอรับใบรับรองหรือใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 จะต้องชำระค่าธรรมเนียมใบรับรองหรือใบอนุญาตที่เพิ่มเติมขึ้นใหม่ หรือชำระค่าธรรมเนียมสูงขึ้นสำหรับใบรับรองหรือใบอนุญาตที่มีการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียม แต่การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบรับรองหรือใบอนุญาตดังกล่าวซึ่งเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของ กพท. ตามมาตรา 10 (3) แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เพื่อนำมาใช้เป็นต้นทุนในการดำเนินการของ กพท. ในการปฏิบัติภารกิจด้านการกำกับดูแลการบินพลเรือนของประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตลอดจนได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ส่งเสริมให้มีการเดินทางทางอากาศและอุตสาหกรรมการบินอื่น ๆ อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ
                    4. คค. โดย กพท. จึงได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจากประชาชนทั่วไปผ่านทางเว็บไซต์ของ กพท. (www.caat.or.th) และได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบด้วยแล้ว รวมถึงได้จัดให้มีการชี้แจงทำความเข้าใจและเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นในการกำหนดและแก้ไขปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมใบรับรองหรือใบอนุญาตให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบล่วงหน้าเพื่อให้มีระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมสำหรับการชำระค่าธรรมนียมใบรับรองหรือใบอนุญาตที่ได้มีการกำหนดขึ้นใหม่และแก้ไขปรับปรุงตามร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตหรือใบรับรองที่กำหนดขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และแก้ไขปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างกฎกระทรวงนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา1) สรุปได้ดังนี้
                    1. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตหรือใบรับรองที่กำหนดขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 เช่น
                              1.1 ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศตามขนาดของอากาศยานแต่ละประเภทและพื้นที่ปฏิบัติการ (Area of Operation) ภายในประเทศและภูมิภาคในต่างประเทศ (มาตรา 28/1) ดังนี้
                                        1.1.1 เครื่องบิน
น้ำหนัก
(กิโลกรัม)          ภายในประเทศ          ภูมิภาคเอเชีย          ภูมิภาคอื่น
          ออกครั้งแรก
(บาท)          ต่ออายุ
(บาท)          ออกครั้งแรก
(บาท)          ต่ออายุ
(บาท)          ออกครั้งแรก
(บาท)          ต่ออายุ
(บาท)
ไม่เกิน 5,700          1,232,500          1,100,000          2,732,500          2,000,000          3,532,500          2,700,000
5,700 ขึ้นไป          2,465,000          2,200,000          5,565,000          4,000,000          7,065,000          5,450,000
                                        1.1.2 เฮลิคอปเตอร์
น้ำหนัก
(กิโลกรัม)          ภายในประเทศ          ภูมิภาคต่างประเทศ
          ออกครั้งแรก
(บาท)          ต่ออายุ
(บาท)          ออกครั้งแรก
(บาท)          ต่ออายุ
(บาท)
ไม่เกิน 3,192          1,032,500          900,000          1,382,000          1,150,000
3,192 ขึ้นไป          2,065,000          1,800,000          2,765,000          2,300,000
                                        1.1.3 บัลลูน การออกใบรับรองผู้ดำเนินอากาศภายในประเทศ
                                                  (1) ออกครั้งแรก ฉบับละ 1,500,000 บาท
                                                  (2) ต่ออายุ ฉบับละ 1,300,000 บาท
                              1.2 ใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือน
                                        1.2.1 การขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ แบบประจำ
                                                  (1) กรณีใช้อากาศยานปีกแข็ง ฉบับละ 5,000,000 บาท
                                                  (2) ใช้อากาศยานปีกแข็ง ขนาดเล็ก น้ำหนักสูงสุด ไม่เกิน 5,700 กิโลกรัมขึ้นไป ฉบับละ 2,500,000 บาท
                                        1.2.2 การขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ แบบไม่ประจำ
                                                  (1) กรณีใช้อากาศยานปีกแข็ง ฉบับละ 3,000,000 บาท
                                                  (2) กรณีใช้อากาศยานปีกแข็ง ขนาดเล็ก เครื่องยนต์เดียวหรือใช้เฮลิคอปเตอร์ ฉบับละ 1,500,000 บาท
                                        1.2.3 การประกอบกิจการทำงานทางอากาศ
                                                  (1) กรณีใช้อากาศยานปีกแข็ง ฉบับละ 3,000,000 บาท
                                                  (2) ใช้อากาศยานปีกแข็ง ขนาดเล็ก เครื่องยนต์เดียวหรือใช้เฮลิคอปเตอร์ ฉบับละ 5,000,000 บาท
                                                  (3) กรณีใช้บัลลูน ฉบับละ 300,000 บาท
                              1.3 ใบรับรองการให้บริการการจัดการจราจรทางอากาศ บริการจราจรทางอากาศ การจัดการความคล่องตัวของการจราจรทางอากาศ และการจัดการห้วงอากาศ ฉบับละ 1,000,000 บาท
                              1.4 ใบรับรองการให้บริการระบบสื่อสาร ระบบช่วยการเดินอากาศและระบบติดตามอากาศยาน ฉบับละ 1,000,000 บาท
                              1.5 ใบรับรองการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน ฉบับละ 1,000,000 บาท
                              1.6 ใบรับรองการให้บริการข่าวสารการบิน ฉบับละ 1,000,000 บาท
                              1.7 ใบรับรองการให้บริการการออกแบบวิธีปฏิบัติการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน ฉบับละ 1,000,000 บาท
                    2. แก้ไขปรับปรุงการจำแนกใบอนุญาตหรือใบรับรองและอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับค่าบริการในสนามบินเพื่อให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่สะท้อนต้นทุนและความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนี้
                              2.1 กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ฉบับละ 20,000 บาท สำหรับ
                                        2.1.1 ใบอนุญาตดำเนินงานเกี่ยวกับรับมอบ จัดเก็บ บรรทุก ขนถ่าย หรือขนส่งวัตถุอันตราย (ตาม ม. 15/27)
                                        2.1.2 ใบอนุญาตดำเนินงานเกี่ยวกับรับมอบ จัดเก็บ บรรทุก ขนถ่าย หรือขนส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษ (ตาม ม. 15/29)
(เดิม กำหนดใบอนุญาตส่งหรือพาวัตถุอันตรายหรือสัตว์ไปกับอากาศยาน รายครั้ง ฉบับละ 100 บาท รายปี ฉบับละ 10,000 บาท)
                              2.2 กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ฉบับละ 40,000 ดังนี้
                                        2.2.1 ประเภททัศนวิสัย เช่น อุปกรณ์บอกทิศทางและอุปกรณ์ให้สัญญาณ เครื่องหมาย ไฟสนามบิน ฯลฯ
                                        2.2.2 ประเภทระบบการสื่อสาร เช่น ระบบการสื่อสารประจำที่และเคลื่อนที่
                                        2.2.3 ประเภทระบบช่วยการเดินอากาศ
                                        2.2.4 ประเภทระบบติดตามอากาศยาน
                                        2.2.5 ประเภทเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาการบิน เช่น ระบบตรวจอากาศอัตโนมัติและระบบตรวจวัดวินด์เชียร์
(เดิม กำหนดใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ วิทยุเครื่องช่วยเดินอากาศ ฉบับละ 3,000 บาท เรดาห์ติดตามอากาศยาน ฉบับละ 3,000 บาท วิทยุสื่อสารฉบับละ 1,000 บาท เครื่องช่วยการเดินอากาศ ด้วยทัศนวิสัย ระบบไฟฟ้าสนามบิน ฉบับละ 3,000 บาท และกระบอกทิศทางลม หรือเครื่องชี้ทิศทางลมอื่น ฉบับละ 500 บาท เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศอื่น ฉบับละ 1,000 บาท)
                              2.3 ใบอนุญาตจัดตั้งที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน ฉบับละ 2,000 บาท (คงเดิม)
                              2.4 ใบรับรองการดำเนินการสนามบินสาธารณะ
ประเภทใบรับรองการดำเนินการสนามบินสาธารณะ          อัตราค่าธรรมเนียม
ปัจจุบัน (บาท)
เป็นอัตราที่กำหนด
ตั้งแต่ปี 2554          อัตราค่าธรรมเนียมตาม
ร่างกฎกระทรวงฯ (บาท)
สนามบินพาณิชย์          200,000          500,000
สนามบินที่รองรับการบินทั่วไป          100,000          200,000
สำหรับที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตพาณิชย์          5,000          100,000
สำหรับที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่รองรับการบินทั่วไป          5,000          50,000
                    3. กำหนดค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต ใบสำคัญ ใบรับรอง ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาต ใบสำคัญ ใบรับรอง แต่ละฉบับ ยกเว้นใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (ม. 28/1) เนื่องจากค่าธรรมนียมการต่ออายุใบรับรองไม่เท่ากับค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตครั้งแรก (เช่น สำหรับบัลลูน ออกครั้งแรก ฉบับละ 1,500,000 บาท ต่ออายุ ฉบับละ 1,300,000)
                    4. การแก้ไขปรับปรุงการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบรับรองที่ออกให้กับส่วนราชการ
                              4.1 กำหนดไม่ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตและใบรับรอง ดังนี้
                                        4.1.1 ใบอนุญาตจัดตั้งสนามบิน
                                        4.1.2 ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ
                                        4.1.3 ใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ
                                        เนื่องจากส่วนราชการที่ดำเนินการสนามบินราชการถือเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่งตามหลักการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จึงต้องได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันกับผู้ประกอบการประเภทอื่น ๆ อีกทั้งสนามบินสาธารณะที่ดำเนินการโดยส่วนราชการในปัจจุบันมีการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินจากประชาชนเช่นเดียวกัน จึงไม่เหมาะสมที่จะยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตและใบรับรองให้ส่วนราชการดังกล่าว (เดิม ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม)
                              4.2 กำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตและใบรับรองเพิ่มเติม ดังนี้
                                        4.2.1 ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภทเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาการบิน
                                        4.2.2 ใบรับรองการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน
                                        เนื่องจากปัจจุบันการให้บริการของกรมอุตุนิยมวิทยาซึ่งเป็นการให้บริการของภาครัฐไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการ
                    5. กำหนดบทเฉพาะกาลสำหรับบรรดาคำขอที่ยื่นและยังไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับให้เสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
1 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มาตรา 6 วรรคสอง บัญญัติให้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว       ให้ใช้บังคับได้

8. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) และร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตกรณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จำนวน 2 ฉบับ ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศ จำนวน 2 ฉบับ ที่กระทรวงแรงงานเสนอคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 และคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้วเป็นการปรับปรุงมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ เพื่อกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดพิเศษตามที่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษตามความเหมาะสมและความจำเป็นของกิจการ โดยให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดดังกล่าวด้วยและกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่เกิน 90 วัน เป็นไม่เกิน 98 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับแรงงานภาคเอกชนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (เฉพาะผู้ป่วยระดับสีเหลืองและสีแดง) เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐนตรีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 ซึ่งคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ได้เห็นชอบในหลักการของร่างประกาศ จำนวน 2 ฉบับ ดังกล่าวด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในเรื่องดังต่อไปนี้
ประกาศเดิม          ร่างประกาศในเรื่องนี้
1. วันหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี
? ?วันหยุด? หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี





? ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป          ? ?วันหยุด? หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี หรือหยุดพิเศษตามที่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษและนายจ้างกำหนดให้เป็นวันหยุด
? ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดพิเศษตามที่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ ตามความเหมาะสมและความจำเป็นของกิจการ
? ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพิเศษวัดใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพิเศษในวันทำงานถัดไป
2. วันลาเพื่อคลอดบุตร
? ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาตามอัตราที่ได้รับอยู่ แต่ไม่เกิน 90 วัน          ? ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาตามอัตราที่ได้รับอยู่ แต่ไม่เกิน 98 วัน
                    2. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19) มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ในเรื่องดังต่อไปนี้
ประกาศเดิม          ร่างประกาศในเรื่องนี้
1. บทนิยาม
? ?ผู้ป่วย? หมายความว่า ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง ผู้ซึ่งป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 2019 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)]          ? ?ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต? หมายความว่า ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง ผู้ซึ่งป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)]
2. ค่าใช้จ่ายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
? กรณีที่ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้างมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ หากแพทย์เห็นว่ามีความจำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการนั้นสำหรับตนเอง หรือคู่สมรสหรือบุตรของตนเอง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ          ? ยกเลิก
3. ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล
? กรณีที่ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง เป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลสำหรับตนเอง หรือคู่สมรสหรือบุตรของตนเอง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ          ? กรณีที่ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง เป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลสำหรับตนเอง หรือคู่สมรสหรือบุตรของตนเอง ตามที่ สธ. กำหนด
4. บทเฉพาะกาลและวันที่มีผลใช้บังคับ
? กำหนดให้ร่างประกาศในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
? กำหนดให้การเข้ารับการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 16 มีนาคม 2565 และการรักษาพยาบาลยังไม่สิ้นสุดลง ให้ได้รับสิทธิตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (ประกาศเดิม) ต่อไปจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล

เศรษฐกิจ-สังคม
9. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572 (แผนความต้องการอัตรากำลังฯ) จำนวน 662 อัตรา งบประมาณรวมทั้งสิ้น 237,986,400 บาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    ทั้งนี้ แผนความต้องการอัตรากำลังฯ จะส่งผลต่อการเพิ่มอัตรากำลังด้านบุคลากรและภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต จึงเห็นควรให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) พิจารณาดำเนินการเท่าที่จำเป็นตามภารกิจหลักอย่างประหยัดคุ้มค่าและคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้จ่าย โดยเฉพาะเงินรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือสามารถนำมาใช้จ่ายได้เป็นลำดับแรก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างยั่งยืนตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    1. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์พัทยา    อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ 585 ไร่ และได้รับการจัดตั้งเป็นพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ (พัทยา) (เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ) ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 25621 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาด้านการแพทย์และสุขภาพแบบครบวงจร ตอบสนองนโยบายภาครัฐในการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)    โดยการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ การจัดการสุขภาพ และเชื่อมต่อข้อมูลกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) เพื่อขยายไปสู่การเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมชั้นสูง รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษหรือเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญจากผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ สถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัยที่มีศักยภาพสูง
                    2. โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา เป็นอาคารสูง 9 ชั้น เนื้อที่ใช้สอย 70,000 ตารางเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เปิดให้บริการขนาด 100 เตียง ในปีงบประมาณ         พ.ศ. 2568 และพัฒนาเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ2 ขนาด 300 เตียง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2572 โดยการดำเนินการของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา มีการเชื่อมโยงกับการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์3 ทั้งในส่วนของความร่วมมือด้านระบบบริการการส่งต่อ การศึกษา และการวิจัยกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมทั้งสอดคล้องกับสมรรถนะหลักขององค์กร ได้แก่ (1) คณะในศูนย์สุขศาสตร์ มธ.4 เป็นหน่วยที่มีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างบุคลากรทางการแพทย์และให้บริการร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา และ (2) โครงการความร่วมมือสนับสนุนเป็นโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสมทบในการผลิตแพทย์ระหว่าง มธ. กับ สธ. นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับ สธ. เขตสุขภาพที่ 65 ในการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก รวมถึงการผลิตแพทย์หลักสูตรนานาชาติร่วมกับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ
                    3. เพื่อรองรับการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมในการเปิดบริการโรงพยาบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้างต้น โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอัตรากำลังจากรัฐบาล ได้แก่ บุคลากรฝ่ายแพทย์ ฝ่ายพยาบาล ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายสหวิชาชีพ และฝ่ายสนับสนุน เพื่อให้สามารถให้บริการทางการแพทย์และให้การดูแลรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและทันสมัยแก่ประชาชนในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา จะสามารถเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติชั้นคลินิกและฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ ได้จัดทำแผนความต้องการอัตรากำลังฯ สรุปได้ ดังนี้
                              3.1 วัตถุประสงค์
                                        (1) จัดหาบุคลากรทางการแพทย์และวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องเพื่อให้โรงพยาบาลได้รับมาตรฐานในการบริการระดับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีขนาด 300 เตียง ตามมาตรฐาน Healthcare Accreditation (HA)6 Advanced HA (AHA)7 และ Joint Commission International (JCI)8 รองรับการให้บริการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
                                        (2) จัดหาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับการเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการในชั้นคลินิกรองรับการจัดการเรียนการสอนทั้งก่อนและหลังปริญญา
                                        (3) จัดหาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับภารกิจด้านการวิจัยทางคลินิก           การวิจัยด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องตามบทบาทของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิชั้นสูง9และการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และการสาธารณสุขในลักษณะการบูรณาการ/สหวิทยาการ
                                        (4) จัดหาบุคลากรในตำแหน่งอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนในการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
                              3.2 แผนการดำเนินงาน
                                        (1) อัตรากำลังที่เสนอขอตั้งใหม่ (อัตราใหม่พนักงานมหาวิทยาลัย) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572 (5 ปี) จำนวน 662 อัตรา งบประมาณ 237,986,400 บาท สรุปได้ ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.          อัตรา (คน)          งบประมาณ (บาท)
2568          58          24,165,600
2569          115          42,769,200
2570          179          62,382,000
2571          150          53,246,400
2572          160          55,423,200
รวม          662          237,986,400
หมายเหตุ : อัตรากำลังที่เสนอขอ ประกอบด้วย สายวิชาการ ได้แก่ แพทย์เฉพาะทาง พยาบาล และเภสัชกร และสายสนับสนุนวิชาการ เช่น นักโภชนาการ นักรังสีการแพทย์ นักกายภาพบำบัด และนักวิชาการสาธารณสุข โดยใช้วิธีการคำนวณจากอัตรากำลังประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อจำนวนเตียงที่เปิดให้บริการ (จำนวนอัตรากำลังพึงมี = จำนวนเตียง x อัตรากำลังต่อเตียงรายวิชาชีพ)
                                        (2) แผนการขยายบริการและความต้องการอัตรากำลังฯ สรุปได้ ดังนี้
แผนการขยายบริการ          จำนวนเตียงสะสม
(เตียง)          อัตรากำลังที่เสนอขอ (คน)          งบประมาณ
(บาท)
                    วิชาการ          สนับสนุน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
1) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา เปิดให้บริการ ดังนี้
          ชั้น 1 : คลินิกตรวจสุขภาพ คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู คลินิกกระดูกและข้อ คลินิกทันตกรรม Robot Station แผนกเภสัชกรรมห้องจัดยา คลินิกอายุรกรรม คลินิกรังสีวิทยา จุดคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อ ห้องตรวจทั่วไป/สูติ-นรีเวช ห้องตรวจทั่วไป/หู คอ จมูก ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน
          ชั้น 2 : คลินิกหู-ตา-คอ-จมูก คลินิกทั่วไป คลินิกโรคผิวหนัง คลินิกพัฒนาการเด็ก คลินิกสูติ-นารีเวช คลินิกเจริญพันธุ์คลินิกศัลยกรรม คลินิกศัลยกรรมและเสริมความงาม คลินิกแพทย์ทางเลือก คลินิกจิตเวช แผนกเภสัชกรรม คลินิกกุมารเวช คลินิกโรคหัวใจ
          ชั้น 3 : แผนก I.C.U.10 แผนก C.C.U.11 แผนกไตเทียม ศูนย์ผ่าตัด ศูนย์ส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัย ห้องสูติ-นารีเวช
          ชั้น 4 : คลังโลหิต ห้องงานระบบ LABORATOR สำนักงาน ห้องพนักงาน ห้องตรวจตัวอย่าง ห้องคลังน้ำยา ห้องล้างอุปกรณ์ CSSD Cooling tower ห้อง AHU & OAU สำหรับ LAB & CSSD ห้องภาวนา ห้องอเนกประสงค์
          ชั้น 5-6 : เปิดห้องรวม (ผู้ป่วยใน) 100 เตียง จัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม (ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 510 คน และระดับ          100          29          29          24,165,600
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569
1) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยาดำเนินการเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยขยายการให้บริการ ดังนี้
          ชั้น 5-6 : เปิดห้องรวม (ผู้ป่วยใน) เพิ่มขึ้น 50 เตียง
2) จัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม (ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 680 คน และระดับบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 100 คน)          150          38
(สะสม 67)          77
(สะสม 106)          42,769,200
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2570
1) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา ดำเนินการเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 โดยขยายการให้บริการ ดังนี้
          ชั้น 5-7 : เปิดห้องรวม (ผู้ป่วยใน) เพิ่มขึ้น 50 เตียง
2) จัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม (ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 710 คน และระดับปริญญาโท 4 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 100 คน)
3) จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมการแพทย์และจีโนมิกส์          200          45
(สะสม 112)          134
(สะสม 240)          62,382,000
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2571
1) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา ดำเนินการเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 โดยขยายการให้บริการ ดังนี้
          ชั้น 5-7 : เปิดห้องรวม (ผู้ป่วยใน) เพิ่มขึ้น 50 เตียง
2) จัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม (ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 710 คน และระดับปริญญาโท 4 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 100 คน)
3) พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมการแพทย์และจีโนมิกส์          250          41
(สะสม 153)          109 (สะสม 349)          53,246,400
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2572
1) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา ดำเนินการเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2571 โดยขยายการให้บริการ ดังนี้
          ชั้น 5-8 : เปิดห้องรวม (ผู้ป่วยใน) เพิ่มขึ้น 50 เตียง
2) จัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม (ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 710 คน และระดับปริญญาโท 4 หลักสูตร นักศึกษาประมาณ 100 คน)
3) พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมการแพทย์และจีโนมิกส์          300          38
(สะสม 191)          122
(สะสม 471)          55,423,200
รวม          300          662          237,986,400
                              3.3 แผนความต้องการอัตรากำลังฯ จำแนกตามสายงาน สรุปได้ ดังนี้
ตำแหน่ง          ปี 2568          ปี 2569          ปี 2570          ปี 2571          ปี 2572          รวม 2568-2572
          อัตรา (คน)          เงินเดือน+เงินเพิ่มพิเศษ(บาท)          อัตรา (คน)          เงินเดือน+เงินเพิ่มพิเศษ(บาท)          อัตรา (คน)          เงินเดือน+เงินเพิ่มพิเศษ(บาท)          อัตรา (คน)          เงินเดือน+เงินเพิ่มพิเศษ(บาท)          อัตรา (คน)          เงินเดือน+เงินเพิ่มพิเศษ(บาท)          อัตรา (คน)          งบประมาณ (บาท)
สายวิชาการ          29          15,903,600          38          20,839,200          45          24,678,000          41          22,484,400          38          20,839,200          191          104,744,400
(1) แพทย์เฉพาะทาง          24          13,161,600          33          18,097,200          38          20,839,200          33          18,097,200          30          16,452,000          158          86,647,200
(2) พยาบาล          5          2,742,000          5          2,742,000          5          2,742,000          6          3,290,400          6          3,290,400          27          14,806,800
(3) เภสัชกร          -          -          -          -          2          1,096,800          2          1,096,800          2          1,096,800          6          3,290,400
สายสนับสนุนวิชาการ          29          8,262,000          77          21,930,000          134          37,704,000          109          30,762,000          122          34,584,000          471          133,242,000
(1) พยาบาล          22          6,336,000          60          17,280,000          60          17,280,000          60          17,280,000          80          23,040,000          282          81,216,000
(2) นักโภชนาการ          -          -          -          -          1          270,000          1          270,000          1          270,000          3          810,000
(3) นักรังสีการแพทย์          -          -          -          -          10          2,700,000          6          1,620,000          6          1,620,000          22          5,940,000
(4) นักเทคนิคการแพทย์          -          -          -          -          14          3,948,000          2          564,000          1          282,000          17          4,794,000
(5) เภสัชกร          2          576,000          2          576,000          10          2,880,000          6          1,728,000          6          1,728,000          26          7,488,000
(6) วิศกรชีวการแพทย์          -          -          2          564,000          2          564,000          5          1,410,000          4          1,128,000          13          3,666,000
(7) นักกายภาพบำบัด          -          -          -          -          6          1,692,000          5          1,410,000          3          846,000          14          3,948,000
(8) นักวิชาการสาธารณสุข          -          -          -          -          2          540,000          5          1,350,000          5          1,350,000          12          3,240,000
(9) นักวิชาการเวชสถิติ          -          -          -          -          1          270,000          1          270,000          1          270,000          3          810,000
(10) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์          -          -          2          540,000          1          270,000          1          270,000          1          270,000          5          1,350,000
(11) บุคลากรกลุ่มภารกิจอำนวยการ          5          1,350,000          11          2,970,000          27          7,290,000          17          4,590,000          14          3,780,000          74          19,980,000
รวมเงินทั้งสิ้น          58          24,165,600          115          42,769,200          179          62,382,000          150          53,246,400          160          55,423,200          662          237,986,400
                    4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                              4.1 แก้ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่บริการสุขภาพในระดับภูมิภาค โดยสามารถรองรับความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ระดับสูงในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านหรือนักท่องเที่ยวในพื้นที่ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถรองรับผู้รับบริการด้านสุขภาพในแต่ละปีได้ ดังนี้
รายการ          ปีที่ 1
(พ.ศ. 2568)          ปีที่ 2
(พ.ศ. 2569)          ปีที่ 3
(พ.ศ. 2570)          ปีที่ 4
(พ.ศ. 2571)          ปีที่ 5
(พ.ศ. 2572)
ผู้รับบริการด้านสุขภาพ (คน/ปี)          130,313          195,469          260,625          325,782          390,939
ผู้ป่วยนอก          121,833          182,749          243,665          304,582          365,498
ผู้ป่วยใน          8,480          12,720          16,960          21,200          25,441
                              4.2 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา และหลักสูตรต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอน ณ มธ. ศูนย์พัทยา สามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาไปสู่วิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนา มธ. ศูนย์พัทยา : เมืองนวัตกรรมแห่งสุขภาพและเวลเนส (Thammasat Pattaya: The Health and Wellness Innopolis) ซึ่งเป็นการ       บูรณาการระหว่างการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี
                              4.3 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา มีแผนอัตรากำลังปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572          เพื่อใช้ในการจัดเตรียมและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความพร้อมในการให้บริการโดยสามารถดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพได้ตามมาตรฐานสากลและยกระดับการรักษาพยาบาลสู่การเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับ                 ตติยภูมิมุ่งสู่ศูนย์ความเป็นเลิศ (Excellence Center)
                              4.4 การผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและการส่งเสริมให้มีการสร้างงานวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการให้บริการทางการแพทย์และทางวิชาการเพื่อสรรค์สร้างสุขภาพที่ดีแก่คนในสังคม รวมทั้งเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่จะเพิ่มขึ้นและภาระงานสายวิชาการที่มีจำนวนมากกว่าอัตรากำลังบุคลากรในปัจจุบัน โดยมีจำนวนนักศึกษาที่สามารถรองรับได้ ดังนี้
รายการ          ปีที่ 1
(พ.ศ. 2568)          ปีที่ 2
(พ.ศ. 2569)          ปีที่ 3
(พ.ศ. 2570)          ปีที่ 4
(พ.ศ. 2571)          ปีที่ 5
(พ.ศ. 2572)
จำนวนนักศึกษารวม (คน/ปี)          610          780          810          810          810
ปริญญาตรี          510          680          710          710          710
ปริญญาโท          40          40          40          40          40
ปริญญาเอก          60          60          60          60          60
                    5. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา
                    แผนความต้องการอัตรากำลังฯ จำนวน 662 อัตรา งบประมาณรวมทั้งสิ้น 237,986,400 บาท โดยขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปี

1 มธ. แจ้งว่า เดิมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีมติเห็นชอบการประกาศกำหนดพื้นที่ประมาณ 566 ไร่ บริเวณ มธ. ศูนย์พัทยา เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ (ตามประกาศ กพอ. เรื่อง กำหนดเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2562) ต่อมาบริษัท สยามกลการ จำกัด ได้บริจาคที่ดินให้ มธ. จำนวนประมาณ 18 ไร่ จึงทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 585 ไร่ จากเดิม 566 ไร่ [ตามประกาศ กพอ. เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2564]
2 โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) เป็นหน่วยบริการทางการแพทย์ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญหรือเชี่ยวชาญเฉพาะประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาหลักทุกสาขา สาขารองและสาขาย่อยตามความจำเป็น
3 มธ. แจ้งว่า จะมีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ในพื้นที่ มธ. ศูนย์พัทยา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันมีการลงนามบันทึกความเข้าใจกับองค์กรด้านการแพทย์และวิศวกรรมชั้นนำในการพัฒนาความร่วมมือด้านการลงทุนและมีการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับภาคเอกชน เช่น การพัฒนา Health Resort ร่วมกับบริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) และการจัดตั้งศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อบำบัดผู้ติดยาเสพติดร่วมกับบริษัท ภูฟ้า เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
4 ศูนย์สุขศาสตร์ มธ. เป็นคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วยคณะวิทยาลัยต่าง ๆ รวม 7 คณะ ได้แก่ (1) คณะแพทยศาสตร์ (2) วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ (3) คณะพยาบาลศาสตร์ (4) คณะเภสัชศาสตร์ (5) คณะทันตแพทยศาสตร์ (6) คณะสาธารณสุขศาสตร์ และ (7) คณะสหเวชศาสตร์
5 เขตสุขภาพที่ 6 ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรปราการ จันทบุรี ชลบุรี ตราด                  และระยอง
6 Healthcare Accreditation (HA) หรือมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ เป็นการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นมาตรฐาน ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
7 Advanced HA (AHA) เป็นการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นก้าวหน้าสำหรับสถานพยาบาลที่มีการพัฒนาต่อยอดมาจากการรับรองคุณภาพขั้นมาตรฐาน
8 Joint Commission International (JCI) เป็นการรับรองมาตรฐานสำหรับสถานพยาบาลโดยการประเมินเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งดำเนินการโดย JCI สหรัฐอเมริกา
9 หน่วยบริการระดับตติยภูมิชั้นสูง (Super Tertiary) เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาสูงสุดเนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์และเป็นโรงพยาบาลสำหรับการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ
10 หออภิบาลผู้ป่วยหนัก (Intensive Care Unit I.C.U.) มีภารกิจหลักในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนักและอยู่ในภาวะวิกฤตซึ่งต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด มีการติดตาม/เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลาเพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยอาการและปัญหา รวมทั้งแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
11 หออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ (Coronary Care Unit: C.C.U.) มีภารกิจหลักในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤตทางโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนในการทำหัตถการจากห้องสวนหลอดเลือดหัวใจ

10. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การนำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมาพัฒนาการศึกษาและมหาวิทยาลัยไทย ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การนำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมาพัฒนาการศึกษาและมหาวิทยาลัยไทย ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การนำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมาพัฒนาการศึกษาและมหาวิทยาลัยไทย ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าเป้าหมายของการพัฒนามหาวิทยาลัยคือการพัฒนาคนเพื่อให้คนไปพัฒนาชาติ เมื่อมหาวิทยาลัยพัฒนาแต่ละตัวชี้วัดให้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยก็จะได้คะแนนในการจัดอันดับมากขึ้นจึงได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) การวัดผลการพัฒนามหาวิทยาลัย ควรใช้วิธีการประเมินแบบ                      U - Multirank1 (2) ควรกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดในแต่ละด้าน (3) การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก (World University Rankings) สะท้อนภาพรวมของมหาวิทยาลัย รวมถึงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ควรมีการจัดอันดับการแข่งขันภายในประเทศด้วย (4) ควรมีการนำผลการจัดอันดับมาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงจุดอ่อนจุดแข็งในแต่ละหลักเกณฑ์ (5) การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ควรตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาของประเทศชาติในด้านต่าง ๆ (6) ควรผลักดันการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาเป็นกลไกสำคัญตามมาตรา 45 (3) ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 และ (7) ควรผลักดันระบบคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา (Credit Bank)
                    2. คณะรัฐมนตรี (31 ตุลาคม 2566) ได้มีมติให้ อว. รับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    อว. ได้พิจารณาตามข้อ 2. แล้ว โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ และได้มีความเห็นเพิ่มเติมโดยสรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณา
1. การวัดผลการพัฒนามหาวิทยาลัย ควรใช้วิธีการประเมินแบบ U - Multirank คือ มีการแบ่งหมวดหมู่การประเมิน แล้วมีเกณฑ์ให้กับแต่ละตัวชี้วัด โดยมหาวิทยาลัยสามารถดูหมวดหมู่ของหน่วยงานที่จัดอันดับเป็นตัวอย่าง แล้วอาจจะเพิ่มหมวดหมู่ที่มหาวิทยาลัยให้ความสนใจ เช่น หมวดหมู่การพัฒนาด้านสังคม ฯลฯ          - อว. ได้ดำเนินโครงการ Reinvention University เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยและผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตอบโจทย์ความต้องการของประเทศตามศักยภาพและความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย โดยได้มีการประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินในรูปแบบ U - Multirank เพื่อกำหนดกลุ่มสถาบัน อุดมศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มตามศักยภาพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือจุดเน้นของมหาวิทยาลัย
2. เมื่อมหาวิทยาลัยมีหมวดหมู่ที่ต้องการพัฒนาแล้วต่อไปก็ต้องมีเป้าหมายและตัวชี้วัดในแต่ละด้าน โดยมหาวิทยาลัยสามารถดูเกณฑ์ หรือตัวชี้วัดจากหน่วยงานจัดอันดับจากหลายหน่วยงานประกอบกันได้ รวมทั้งตั้งตัวชี้วัดหรือเกณฑ์ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเพิ่มเติมได้เอง          - การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดเพื่อวัดระดับการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนามหาวิทยาลัยในแต่ละหมวดหมู่การประเมิน จะต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับหลักเกณฑ์ของหมวดหมู่ เชื่อถือได้ สามารถวัดผลได้จริงทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงสอดรับกับทิศทาง การพัฒนามหาวิทยาลัยและการพัฒนาประเทศโดยสามารถพิจารณากำหนดจากตัวชี้วัดหรือเกณฑ์ที่หน่วยงานจัดอันดับที่เป็นที่ยอมรับ และกำหนดขึ้นเองตามยุทธศาสตร์หรือจุดเน้นการพัฒนาของมหาวิทยาลัย โดยอาจนำแนวคิดหรือเกณฑ์ของหน่วยงานจัดอันดับมาประยุกต์ใช้ร่วมด้วยและควรกำหนดค่าเป้าหมายที่มีความท้าทายต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย
3. การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก (World University Rankings) ถือเป็นภาพสะท้อนต่อภาพรวมของมหาวิทยาลัย รวมถึงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ดังนั้น มหาวิทยาลัยไทยควรปรับตัวให้มีภาพลักษณ์ที่มีความเป็นนานาชาติและความเป็นสากลจะทำให้เกิดการยอมรับมากขึ้นและควรมีการจัดอันดับการแข่งขันภายในประเทศด้วย โดยอาจใช้ตัวชี้วัดมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับพันธกิจในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อประเทศชาติ โดย อว. ในฐานะผู้รับผิดชอบควรมีการเพิ่มเติมข้อมูลที่แสดงถึงความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งในด้านนโยบายแนวทางการขับเคลื่อน และด้านการสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและการผลิตกำลังคน          - มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องปรับตัวให้มีความเป็นนานาชาติในมิติต่าง ๆ และสร้างการยอมรับในระดับสากล โดย อว. ได้กำหนดตัวชี้วัดการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกไว้ในแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 - 2570 และยกร่างแผนการดำเนินงานการสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับเครือข่ายนานาชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความเป็นสากลให้กับมหาวิทยาลัย รวมทั้งได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแพลตฟอร์มในการบริหารจัดการและการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพงานวิจัยและการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมพร้อมรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก (QS World University Rankings) โดยเชิญบุคลากรของ QS World University Rankings ในฐานะผู้ที่ออกระเบียบและหลักเกณฑ์มาเป็นวิทยากร เพื่อจะได้ทราบแนวปฏิบัติในการที่สถาบันอุดมศึกษาของไทยได้รับการจัดอันดับ
ที่ดีขึ้นต่อไป
4. ควรมีการนำผลการจัดอันดับมาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงจุดอ่อนจุดแข็งในแต่ละหลักเกณฑ์ และกำหนดวิธีการหรือระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาตามหลักเกณฑ์ นอกจากนั้น ควรตั้งเป้าหมายระยะสั้นในการแข่งขันกับกลุ่มมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เป็นอันดับแรก และพัฒนาต่อยอดไปสู่การแข่งขันในระดับโลกต่อไปในระยะยาว อีกทั้ง ควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้มีการผลักดันเชิงบวกต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วย          - การวิเคราะห์ผลการจัดอันดับและพิจารณากำหนดยุทธศาสตร์หรือทิศทางเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยจากหลักเกณฑ์หรือปัจจัยที่มีผลต่อการจัดอันดับดังกล่าว เป็นการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินการตามภารกิจของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น และได้มีการกำหนดตัวชี้วัดจากสถาบันจัดอันดับระดับโลกที่เป็นที่ยอมรับ เช่น World University Rankings, IMD, GI และ WEF เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาการอุดมศึกษาในภาพรวมของประเทศ ทั้งนี้ สำนักงานปลัด อว.ได้เปิดเวทีให้สถาบันอุดมศึกษารับทราบข้อมูลผลการประเมิน เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้รับทราบศักยภาพและสถานะของสถาบัน และได้สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของไทยได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้นผ่านโครงการและกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ โครงการ Reinventing University การสนับสนุนทุนวิจัยสำหรับอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ เป็นต้น
5. การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ควรตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาของประเทศชาติในด้านต่าง ๆ และมหาวิทยาลัยที่เข้าสู่การจัดกลุ่มในแต่ละกลุ่มควรเลือกเฉพาะบางสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยมากกว่าการจัดกลุ่มให้ทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในแง่ความเชี่ยวชาญและความหลากหลาย          - การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม สนับสนุน ประเมินคุณภาพ กำกับดูแล และจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย โดยพิจารณาจากจุดมุ่งหมาย พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ศักยภาพ และการดำเนินการที่ผ่านมา เป็นการเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยสามารถพิจารณาการจัดกลุ่มทั้งมหาวิทยาลัยหรือเฉพาะคณะสาขาวิชาที่มีศักยภาพซึ่งสอดคล้องตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564
6. ควรผลักดันการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาเป็นกลไกสำคัญตามมาตรา 45 (3) ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ที่ช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาลดอุปสรรคด้านงบประมาณ รวมถึงช่วยทำให้บรรลุผลในการดำเนินงานตามแผนและเป้าหมายให้สะดวกขึ้นตามภารกิจ          - อว. เร่งผลักดันการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอพระราชบัญญัติต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งกองทุนจะเป็นกลไกสำคัญในการปรับบทบาทระบบการอุดมศึกษาไปสู่ระบบการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย และการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ สนับสนุนการพัฒนาระบบการเรียนรู้ไปสู่การตอบสนองการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาระบบอุดมศึกษาร่วมระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruptive Change) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
7. ควรผลักดันระบบคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา (Credit Bank) ซึ่งเป็นระบบและกลไกในการเทียบโอนความรู้ความสามารถและหรือสมรรถนะที่ได้จากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และจากประสบการณ์บุคคล มาเก็บสะสมไว้ในคลังหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษา          - ได้มีประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการดำเนินงานคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ซึ่งออกตามความในกฎกระทรวงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 โดยได้สนับสนุนระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System: NCBS) เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา สำหรับทุกช่วงวัยให้ผู้เรียนซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาสามารถนำผลการเรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้จากวิชาและหลักสูตรต่าง ๆ หรือนำประสบการณ์ทำงานมาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิตไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติ แล้วสามารถนำมาขอรับปริญญาบัตรจากสถาบันอุดมศึกษาของไทยโดยได้ดำเนินการนำร่องกับ 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
1 U -Multirank คือ ตัวชี้วัดเพื่อประเมินมหาวิทยาลัย จากผลงาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการสอนและการเรียนรู้ (Teaching and Learning), ด้านการวิจัย (Research), ด้านการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer), ด้านความเป็นนานาชาติ (International Orientation) และด้านการมีส่วนร่วมในภูมิภาค (Regional Engagement)

11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน ของคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน ของคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม วุฒิสภา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินเป็นพลังการขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน       แต่ปัจจุบันภาครัฐยังไม่มีหน่วยงานหลักทำหน้าที่ขับเคลื่อนแนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกับนานาอารยะประเทศ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วสรุปผลการพิจารณาว่า การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูล ค้นคว้า เผยแพร่ ส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินรวมทั้งทำหน้าที่บูรณาการขับเคลื่อนงานกับภาคส่วนต่าง ๆ           เพื่อวางกรอบนโยบายเกี่ยวกับภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน ซึ่งปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่มีภารกิจดังกล่าว เช่น กระทรวงวัฒนธรรม (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย) สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยภาษาและนวัตกรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความทับซ้อนของภารกิจ จึงเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นในการจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินเป็นองค์การมหาชน อย่างไรก็ตาม ควรจัดตั้งสถาบันฯ ให้เป็นหนึ่งในสถาบันภายใต้วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts: TASSHA) หรือ ?ธัชชา? ร่วมกับสถาบันที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา สถาบันโลกคดีศึกษา สถาบันเศษฐกิจพอเพียง สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ และสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่นเนื่องจากบทบาทและพันธกิจของธัชชาเป็นไปในลักษณะเดียวกับบทบาทของสถาบันฯ เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระงบประมาณในระยะยาวอันเนื่องมาจากการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจากการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน

12. เรื่อง ขออนุมัติขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 4 ตั้งแต่ปีงบประมาณ                พ.ศ. 2567-2569
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน (โครงการฯ) รุ่นที่ 4 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2569 โดยขอผูกพันงบประมาณข้ามปีสำหรับการดำเนินโครงการฯ กรอบวงเงินงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 5.51 ล้านบาท โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) จะเป็นผู้ขอตั้งงบประมาณเป็นรายปีตามกระบวนการขั้นตอนวิธีการงบประมาณในภาพรวมต่อไป เพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินโครงการฯ และไม่กระทบต่อการศึกษาของผู้รับทุนตามสิทธิที่ได้รับ
                    สำหรับงบประมาณในการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เห็นควรให้ สป.ศธ. พิจารณาใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ในโอกาสแรกและจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี                    พ.ศ. 2568-2569 ตามความจำเป็นของภารกิจอย่างเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างเป็นระบบเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินโครงการ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ศธ. รายงานว่า
                    1. ศธ. ดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เพื่อให้นักเรียนที่มีฐานะยากจน เรียนดี และมีความประพฤติดีที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าทั้งสายสามัญและสายอาชีพในทุกอำเภอ/เขตทั่วประเทศมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี หรือปริญญาใบแรกทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แห่งละ 1 ทุนในหลักสูตรสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและความต้องการของประเทศ1 ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย รวมทั้งคำนึงถึงการสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นแก่ประชากรทุกกลุ่ม เสริมสร้างองค์ความรู้ และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอันเป็นรากฐานที่เข้มแข็งในการพัฒนาประเทศ ซึ่งปัจจุบัน ศธ. ดำเนินโครงการดังกล่าวแล้ว จำนวน 4 รุ่น มีผู้รับทุน รวมทั้งสิ้น 3,093 คน โดยมี ศธ. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการฯ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) [สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เดิม) ซึ่งปัจจุบัน คือ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)] และสำนักงาน ก.พ. ทั้งนี้ จากจำนวนผู้รับทุนตามโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 3,093 คน มีผู้รับทุน จำนวน 3,088 คน และมีผู้สละสิทธิก่อนรับทุนจำนวน 5 คน โดยปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 2,921 คน (ประกอบอาชีพในองค์กรต่าง ๆ เช่น ภาคเอกชน ภาครัฐ ธุรกิจส่วนตัว รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์)ไม่สำเร็จการศึกษา จำนวน 161 คน และอยู่ระหว่างการศึกษา รุ่นที่ 4 จำนวน 6 คน สรุปผลการดำเนินโครงการฯ จำนวน 4 รุ่น ดังนี้
หน่วย : คน
ผลการดำเนินโครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566)
ผู้รับทุน          ผู้สำเร็จการศึกษา          ผู้ไม่สำเร็จการศึกษา
3,093          2,921          161
รุ่นที่ 1 ดำเนินโครงการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547-2554 โดยผู้รับทุนสามารถเลือกเรียนสาขาวิชาที่หลากหลายในระดับปริญญาตรีทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ สำหรับการศึกษาในต่างประเทศได้กำหนดให้ผู้รับทุนศึกษาต่อในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักและเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าและความชำนาญในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับทุนได้เรียนรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการและภาษาอื่น
921          876
- ศึกษาในประเทศ จำนวน 343 คน
- ศึกษาต่างประเทศ จำนวน 533 คน          45
- ลาออก จำนวน 34 คน
- พ้นสภาพการเป็นนักเรียนทุน2 จำนวน 11 คน
รุ่นที่ 2 ดำเนินโครงการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549-2556 และมีแนวปฏิบัติเดียวกันกับการดำเนินโครงการฯ รุ่นที่ 1
915          884
- ศึกษาในประเทศ จำนวน 273 คน
- ศึกษาต่างประเทศ จำนวน 611 คน          31
- ลาออก จำนวน 13 คน
- พ้นสภาพการเป็นนักเรียนทุน จำนวน 18 คน
รุ่นที่ 3 ดำเนินโครงการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2562 โดยเพิ่มเติมการให้ผู้รับทุนสามารถเลือกไปศึกษาต่อในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสารได้
689          620
- ศึกษาในประเทศ จำนวน 181 คน
- ศึกษาต่างประเทศ จำนวน 439 คน          69
- ลาออก จำนวน 51 คน
- พ้นสภาพการเป็นนักเรียนทุน จำนวน 15 คน
- เสียชีวิต จำนวน 3 คน
รุ่นที่ 4 ดำเนินโครงการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2565 (มีการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
568          สำเร็จการศึกษา 541 คน
- ศึกษาในประเทศ จำนวน 339 คน
- ศึกษาต่างประเทศ จำนวน 202 คน          ไม่สำเร็จการศึกษา 16 คน
- ลาออก จำนวน 2 คน
- พ้นสภาพการเป็นนักเรียนทุน จำนวน 14 คน
          ทั้งนี้ อยู่ระหว่างศึกษา 6 คน (ศึกษาด้วยทุนรัฐบาล จำนวน 4 คน และอยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติ จำนวน 2 คน) และสละสิทธิ์ก่อนรับทุน 5 คน
                    2. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ผู้รับทุนในรุ่นที่ 4 จำนวน 6 คน ได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านสุขภาพ จึงปรับเปลี่ยนจากการศึกษาในต่างประเทศเป็นศึกษาในประเทศ3 และไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่โครงการฯ รุ่นที่ 4 กำหนด ในปี 2565 แต่ผู้รับทุนยังคงมีสถานะอยู่ในเงื่อนไขการรับทุนรัฐบาลและประสงค์ที่จะศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษา อย่างไรก็ตาม กรอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565) ได้สิ้นสุดลงแล้ว เป็นผลให้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นมา ไม่มีมติคณะรัฐมนตรีรองรับการดำเนินงานโครงการฯ รุ่น 4 ดังนั้น สป.ศธ. จึงได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) พิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันโดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพัน (ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ข้อ 7) โดยขอใช้งบประมาณเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่กันไว้เบิกเหลื่อมปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (สามารถเบิกจ่ายได้ภายใน                     2 ปีงบประมาณ โดยสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566)4
                    3. จากการดำเนินการในข้อ 2 แม้จะมีงบประมาณเหลือจ่ายเพียงพอต่อการบริหารจัดการโครงการฯ แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ต่อเนื่องจนผู้รับทุนสำเร็จการศึกษา (ปี 2569) เนื่องจากงบประมาณถูกพับโดยผลของกฎหมาย ดังนั้น ศธ. จึงจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ แต่เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 จึงเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีชุดเดิมพ้นจากตำแหน่ง ศธ. จึงไม่สามารถนำเรื่องดังกล่าวเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีชุดเดิมได้ ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรทุนเกิดความต่อเนื่องและไม่เกิดผลกระทบต่อการศึกษาของผู้รับทุนอีก 6 คน ที่ยังอยู่ระหว่างการศึกษา (ทยอยจบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2569 ปีละ 2 คน) จึงจำเป็นต้องขออนุมัติขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ รุ่นที่ 4 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2569 โดยขอผูกพันงบประมาณข้ามปีสำหรับดำเนินโครงการฯ รุ่นที่ 4 กรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 5.51 ล้านบาท เพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินโครงการฯ รุ่น 4 และไม่กระทบต่อการศึกษาของผู้รับทุนตามสิทธิที่ได้รับ รวมทั้งให้มีสถานะรองรับการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนวิธีการงบประมาณต่อไป
1 เช่น สาขาวิชาชีพเฉพาะทาง (เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัช) วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม
2 ศธ. แจ้งว่า การพ้นสภาพการเป็นนักเรียนทุนเนื่องจากผู้รับทุนมีผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดและมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
3 ศธ. แจ้งว่า เงื่อนไขการรับทุนสามารถปรับเปลี่ยนจากศึกษาในต่างประเทศมาเป็นในประเทศได้ก็ต่อเมื่อผู้รับทุนมีระยะเวลาการรับทุนทั้งต่างประเทศและในประเทศ นับรวมกันไม่เกิน 7 ปี มีพฤติกรรมเหมาะสมและจะต้องได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยสำนักงาน ก.พ. ซึ่งผู้รับทุนในโครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.พ. แล้ว
4 ศธ. แจ้งว่า ได้ขอใช้งบประมาณเหลือจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 5.42 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการฯ รุ่นที่ 4 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทัน งบประมาณจึงถูกพับไป (ในส่วนของวงเงินงบประมาณที่เสนอขอรับการจัดสรรในครั้งนี้ จำนวน 5.51 ล้านบาท ยังอยู่ภายในกรอบวงเงินเดิม 14,493 ล้านบาทที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติไว้)

13. เรื่อง การผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทาง เพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ เรื่อง การผ่อนผัน ให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 ดังนี้
                      1. ให้ความเห็นชอบการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่                15 พฤษภาคม 2567 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
                                1.1 ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ออกกฎกระทรวงเพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองในกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการเดินทางออกจากราชอาณาจักรเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่               15 พฤษภาคม 2567 และออกประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อรองรับการดำเนินการยกเว้นไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit) ทั้งนี้ มท. ได้ยกร่างกฎกระทรวงและร่างประกาศ รวม                 2 ฉบับดังกล่าวมาด้วยแล้ว
                               1.2 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองที่ประจำ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง ที่รับผิดชอบช่องทางในการเข้า - ออกราชอาณาจักร ดำเนินการประทับตราอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักรและประทับตราอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 รวมทั้งให้รายงานผลการเดินทางให้ รง. ทราบ ในระหว่างดำเนินการ และสิ้นสุดการดำเนินการแล้ว
                                1.3 ให้กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมเอเชียตะวันออก ประสานแจ้งแนวทางการดำเนินการตามมาตรการนี้ให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าวได้ทราบ และพิจารณาเตรียมการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                      2. ให้ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือในการดำเนินการ และเร่งทำการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ทุกพื้นที่ รวมถึงอำนวยความสะดวกตามอำนาจหน้าที่ให้กับแรงงานต่างด้าวสัญชาติ กัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางในการร่วมงานประเพณีสงกรานต์ประจำปี พ.ศ. 2567 และกำกับดูแลมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ เพื่อลดการกล่าวหาการเรียกรับหรือแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย
                      ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎหมาย
                     รง. เสนอว่า
                      1. เทศกาลสงกรานต์เป็นงานประเพณีของประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน ประกอบด้วยประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งในช่วงเทศกาลดังกล่าวของทุกปี แรงงานต่างด้าวทั้ง 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา)      ที่ทำงานในประเทศไทยจะเดินทางกลับประเทศเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์และเยี่ยมเยียนครอบครัว เช่นเดียวกันกับที่ประชาชนชาวไทยเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน โดยในการเดินทางออกและเข้าราชอาณาจักรตามปกติ แรงงานต่างด้าวจะต้องดำเนินการยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit) และชำระค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตดังกล่าว ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 ถึงปี พ.ศ. 2562 รัฐบาลได้มีนโยบายผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) เดินทางกลับประเทศเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit)1
                      2. เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้หยิบยกเรื่องการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก หารือกับนายกรัฐมนตรีในระหว่างการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนี้ รง.    ยังได้รับการร้องขอจากประเทศต้นทางแรงงานต่างด้าว (ลาวและเมียนมา) และภาคเอกชน ขอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมในกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการเดินทางออก - เข้าราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อช่วยลดขั้นตอนและภาระทางการเงินให้แก่แรงงานต่างด้าวในลักษณะเดียวกับที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมื่อปี พ.ศ. 2562
                    3. ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานต่างด้าวที่จะเดินทางกลับประเทศต้นทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับแรงงานต่างด้าวซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย อันจะเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจการทำงานในประเทศไทย และเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่แรงงานต่างด้าวจะเดินทางออก - เข้าราชอาณาจักรอย่างไม่ถูกต้อง รวมทั้งลดภาระการติดตามตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม และความสัมพันธ์อันดีด้านแรงงานระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน รง. จึงได้กำหนดมาตรการในการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
                                 3.1 กำหนดให้การผ่อนผันดังกล่าวใช้กับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว                              และเมียนมา) ที่ได้รับอนุญาตทำงาน ซึ่งถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ได้รับการตรวจลงตราและอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว หรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป                 (Non L-A Visa) โดยที่ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังมีอายุเหลือไม่น้อยกว่าวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 รวมถึงผู้ติดตามของแรงงานต่างด้าวดังกล่าว
                                3.2 ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้แรงงานต่างด้าว ในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรและประทับตราการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง โดยแรงงานต่างด้าวดังกล่าวไม่ต้องดำเนินการยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit)
                                 3.3 หากแรงงานต่างด้าวได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรการนี้ และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ให้การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของแรงงานต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุดลง ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวที่ไม่ประสงค์จะดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว เช่น ประสงค์จะเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหลังจากวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 หรือแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ทราบกำหนดการเดินทางกลับเข้าประเทศไทยที่แน่ชัด แรงงานต่างด้าวดังกล่าวสามารถยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit) ได้ตามปกติ2
                     4. การดำเนินการตามมาตรการการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 ตามข้อ 3 ในส่วนที่เกี่ยวกับการยกเว้นไม่ต้องยื่นคำอนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit) และการยกเว้นค่าธรรมเนียมในกระบวนการที่เกิดขึ้น จากการเดินทางออกจากราชอาณาจักรนั้น จำเป็นต้องดำเนินการโดยออกเป็นกฎกระทรวง และประกาศกระทรวงมหาดไทยซึ่งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นการดำเนินการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ มท. โดย มท. ได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวง และร่างประกาศดังกล่าวแล้ว ดังนี้
                                4.1 ร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต เพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก ตามมาตรา 39 วรรคสอง สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน หรือได้รับอนุญาตทำงานในเรือประมงและมีหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ ชนิดใช้ได้ครั้งเดียว เป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2567 มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่จะเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ในช่วงระยะเวลาตามมาตรการในเรื่องนี้ ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต เพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต คนละ 1,000 บาท)
                               4.2 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน หรือได้รับอนุญาตทำงานในเรือประมงและมีหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 มีสาระสำคัญ ดังนี้
                                          (1) กำหนดให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาที่จะเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ในช่วงระยะเวลาตามมาตรการในเรื่องนี้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
                                         (2) กำหนดให้แรงงานต่างด้าวที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรการในเรื่องนี้ หากเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ให้การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของแรงงานต่างด้าวนั้นสิ้นสุดลง
                      5. ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบกับการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทาง เพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 ตามข้อ 3 แล้ว
                      6. รง. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการที่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดย รง. คาดการณ์ว่าจะมีคนต่างด้าวดำเนินการตามมาตรการในเรื่องนี้ประมาณ 200,000 คน ซึ่งจะส่งผลให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 200 ล้านบาท (ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก คนละ 1,000 บาท)
1คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติล่าสุดเกี่ยวกับการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทาง เพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562 โดยหลังจากนั้นกระทรวงแรงงานไม่ได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีอีก เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2 โดยปกติคนต่างด้าวจะต้องยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-entry Permit) ก่อนที่จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ดังนั้น หากคนต่างด้าวไม่ประสงค์จะดำเนินการตามมาตรการในเรื่องนี้ คนต่างด้าวก็จะต้องยื่นคำขอดังกล่าวก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

14. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณอุดหนุนค่าอาหารกลางวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการอนุมัติงบประมาณอุดหนุนค่าอาหารกลางวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ของโรงเรียนขยายโอกาส สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และกรุงเทพมหานคร ระยะเวลา 200 วัน/ปีการศึกษา รวมงบประมาณทั้งสิ้น 2,955.57 ล้านบาท โดยให้มีผลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ โดยใช้อัตราตามขนาดของโรงเรียนเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                      8 พฤศจิกายน 2565 เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยในกรณีที่เป็นโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ขอให้คำนวณจำนวนนักเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนของทั้งโรงเรียนเพื่อกำหนดเป็นขนาดของโรงเรียน ในการประมาณการค่าอาหารกลางวันดังกล่าว ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยคำนึงถึงการนำเงินนอกงบประมาณมาสมทบ ตลอดจนมีการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณที่มีอยู่อย่างเพียงพอและเกิดประโยชน์สูงสุด ให้สอดคล้องกับขนาดของโรงเรียนและจำนวนนักเรียนอย่างเหมาะสม และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกมิติในการสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว รวมถึงการกำหนดมาตรการ กลไกและกระบวนการติดตามประเมินผลให้มีความชัดเจน โปร่งใสและตรวจสอบได้ เกิดผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงศึกษาธิการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณอุดหนุนค่าอาหารกลางวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในอัตราตามขนาดของโรงเรียน                [เป็นอัตราเดียวกันกับที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (8 พฤศจิกายน 2565) อนุมัติให้นักเรียนระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรกมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และกรุงเทพมหานคร ให้กับนักเรียน 575,983 คน ระยะเวลา                  200วัน/ปีการศึกษา จำนวน 2,955.57 ล้านบาท โดยให้มีผลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สรุปได้ ดังนี้
สังกัด          จำนวนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (แห่ง)          งบประมาณ (ล้านบาท)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน          6,855          2,460.39
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น          376          337.25
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน          4          1.99
กรุงเทพมหานคร          109          155.94
รวม          7,344          2,955.57

15. เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอ
                    ทั้งนี้ การขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เห็นควรให้มีการนำผลการประเมินการดำเนินงานในช่วง 3 ปี ตามมาตรา 40 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริง โดยคำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมของสถานศึกษาแต่ละพื้นที่ ความคุ้มค่า ความซับซ้อน ความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน รวมถึงสร้างการรับรู้และความเข้าใจในทุกมิติถึงประโยชน์ที่ทุกภาคส่วนจะได้รับเป็นสำคัญตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญเรื่อง
                    คณะกรรมการนโยบายฯ รายงานว่า
                    1. พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 5 บัญญัติให้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา1 โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้ (1) คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อให้มีการขยายผลไปปรับใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น (2) ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา (3) กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ (4) สร้างและพัฒนากลไกการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มาตรา 6 บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาความเหมาะสมของการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยคำนึงถึงความพร้อม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และมาตรา 7 บัญญัติให้จังหวัดใดประสงค์จะเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้คณะผู้เสนอ2โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณา โดยปัจจุบันมีการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามาแล้ว จำนวน 19 พื้นที่ สรุปได้ ดังนี้
ปี          จำนวนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่มีการจัดตั้ง          จำนวนสถานศึกษานำร่อง (แห่ง)
2561-2562          8 พื้นที่
ได้แก่ จังหวัดสตูล ระยอง ศรีสะเกษ กาญจนบุรี เชียงใหม่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
[เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก่อนวันที่พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 44 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว]          5393
2565          11 พื้นที่
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดจันทบุรี ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี สุโขทัย แม่ฮ่องสอน กระบี่ ตราด และสระแก้ว
[คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565]          1,498
รวม          19          2,037
ทั้งนี้ การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะส่งผลให้สถานศึกษานำร่องในพื้นที่สามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่โดยสามารถบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่น คล่องตัว ไม่ต้องอิงกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นหรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง เช่น การเลือกใช้หลักสูตร/สื่อการเรียนการสอนออกแบบการทดสอบเฉพาะพื้นที่ได้ สถานศึกษาได้งบพัฒนาเป็นวงเงินรวม (Block Grant) มีช่องทางผลักดันการบริหารงานบุคคลให้เหมาะสมกับพื้นที่ สามารถปรับลดและยกเลิกโครงการที่เพิ่มภาระงานครูและส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกลไกการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐ อปท. ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อผู้เรียน สถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
                    2. คณะผู้เสนอได้ยื่นคำขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาความพร้อมของจังหวัด จำนวนและคุณสมบัติของคณะผู้เสนอ หลักเกณฑ์และวิธีการเสนอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2564 ด้วยแล้ว สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 คณะกรรมการนโยบายฯ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (นายวิษณุ เครืองาม)                เป็นประธาน ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ ติดตามและประเมินผล4 (คณะอนุกรรมการด้านนโยบายฯ) พิจารณาคำขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์                   ซึ่งคณะอนุกรรมการด้านนโยบายฯ มีมติเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 เห็นชอบให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่ซึ่งมีความพร้อมในการจัดตั้งเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเนื่องจากมีแนวทางการดำเนินงานสอดคล้องกับแนวคิดหลักของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา มีภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษา มีหน่วยงานที่มีความเข้าใจในเป้าหมายและหลักการสำคัญของการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพร้อมให้คำปรึกษาชี้แนะ และเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ รวมทั้งมีแผนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่ชัดเจน ซึ่งต่อมาคณะกรรมการนโยบายฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 เห็นชอบให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี แต่เนื่องจากขณะนั้นได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีมีมติ                  (21 มีนาคม 2566) เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกรณีนี้มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย              และไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงมีคำสั่งให้ส่งเรื่องดังกล่าวคืนคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อไป
                              2.2 ต่อมาฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ (สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา) ได้นำเรื่องการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายฯ อีกครั้ง โดยคณะกรรมการนโยบายฯ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานมีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566 ยืนยันตามมติเดิมของคณะกรรมการนโยบายฯ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 โดยเห็นชอบการขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                    3. ประมาณการค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ (สถานศึกษานำร่อง 83 แห่ง) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-25695 รวมจำนวน 18,600,000 บาท โดย ศธ.                จะขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป สรุปได้ ดังนี้
                              3.1 งบประมาณของ ศธ. โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานปลัด ศธ.) โอนจัดสรรให้กับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาปีละ 1,000,000 บาท สรุปได้ ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.          รวม (บาท)
2568          2569
1,000,000          1,000,000          2,000,000
                              3.2 งบเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดย สพฐ. โอนจัดสรรให้กับสถานศึกษานำร่องโดยตรง โรงเรียนปีละ 100,000 บาท สรุปได้ ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.          รวม (บาท)
2568          2569
8,300,000
(83 โรงเรียน x 100,000 บาท)          8,300,000
(83 โรงเรียน x 100,000 บาท)          16,600,000
                    4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                              4.1 ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้และนำไปสู่การเป็นคนไทยที่มีคุณภาพ มีความใฝ่รู้                     มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งมีความแตกต่างและความหลากหลายได้ มีความรู้เท่าทันโลก และมีทักษะในการประกอบอาชีพ
ตามความถนัดของผู้เรียนแต่ละคน
                              4.2 ผู้ปกครองเกิดความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของสถานศึกษาใกล้บ้านและไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อให้ลูกหลานได้รับการศึกษาที่ดี
                              4.3 ครูและผู้บริหารสถานศึกษามีอิสระในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษามากขึ้นเนื่องจากการลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่งผลให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีเวลาสำหรับการสอนและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างเต็มที่
                              4.4 ศธ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาทั่วไปจะได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย ตัวอย่างนวัตกรรม และแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานรวมถึงการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษา
                              4.5 ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เกิดความตระหนักถึงความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกันและผลักดันให้เกิดการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำในการศึกษาและจำนวนนักเรียนที่หลุดจากระบบการศึกษาลดลงและจะมีบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถและพร้อมที่จะช่วยพัฒนาสั่งคมและเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้นในอนาคต
1 นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง แนวคิด วิธีการ กระบวนการ สื่อการเรียนการสอน หรือการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ซึ่งได้มีการทดลองและพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือว่าสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการศึกษา และหมายความรวมถึงการนำสิ่งดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
2 คณะผู้เสนอ หมายถึง กลุ่มบุคคลซึ่งยื่นขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย (1) องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งในสามของจำนวนสถานศึกษาทั้งหมด ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่ให้สนับสนุนทางวิชาการอย่างน้อย 1 คน และผู้แทนภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่ให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาอย่างน้อย                              3 คน และ (2) องค์ประกอบอื่น โดยเลือก 2 จาก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานภายในจังหวัดอย่างน้อย 2 คน ผู้นำชุมชนอย่างน้อย 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน และศึกษาธิการจังหวัด
3 ศธ. แจ้งว่า ในปี 2561 พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ระยอง ศรีสะเกษ กาญจนบุรี เชียงใหม่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีสถานศึกษานำร่อง 266 แห่ง และในปี 2562 ได้มีการเพิ่มจำนวนสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาดังกล่าวเป็น 539 แห่ง โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 273 แห่ง
4 คณะอนุกรรมการด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ ติดตามและประเมินผล มีหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพร้อมให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณา
5 เนื่องจากพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 จะมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 30 เมษายน 2569 คณะกรรมการนโยบายฯ จึงได้เสนอขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569 เพื่อให้จังหวัดบุรีรัมย์ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในระยะเวลาที่เหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา

16. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการจ้างนักการภารโรงให้ครบทุกโรง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กรอบวงเงินงบประมาณ 2,739.96 ล้านบาท ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ขอให้กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจ ความจำเป็นและเหมาะสม รวมถึงกำหนดมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ศธ. รายงานว่า
                    1. เดิมโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนักการภารโรงครบทุกโรงเรียน แต่หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 กันยายน 2546) ส่งผลให้ทุกส่วนราชการยุบเลิกอัตราลูกจ้างประจำทุกตำแหน่ง ซึ่งลูกจ้างประจำของ ศธ. ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งนักการภารโรงที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) ไม่ได้กำหนดเป็นฐานรองรับกรอบพนักงานราชการ จึงไม่ได้จัดสรรอัตราและงบประมาณจ้างทดแทนให้แก่ สพฐ. ส่งผลให้จำนวนอัตรานักการภารโรงลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ประกอบกับที่ผ่านมา สพฐ. ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณในการจ้างเหมาบริการ1 นักการภารโรงทดแทนให้เพียงพอตามตำแหน่งที่ถูกยุบเลิกไป โรงเรียนจำนวนมากจึงไม่มีนักการภารโรงหรือมีไม่เพียงพอ ขาดการดูแลด้านความปลอดภัย สุขภาวะของนักเรียน และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ครูจึงต้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนซึ่งส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น โรงเรียนทุกแห่งจึงควรมีนักการภารโรงเพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่สะอาด ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
                    2. ข้อมูลเกี่ยวกับนักการภารโรงและงบประมาณ
                              2.1 ข้อมูลนักการภารโรงในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567) ดังนี้
รายการ          จำนวนโรงเรียน/นักการภารโรง (โรง/คน)*
(1) โรงเรียนในสังกัด สพฐ.2 [ข้อมูลจากระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center: DMC) ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566]          28,936
(2) โรงเรียนที่มีนักการภารโรง/ผู้ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรง โดยสามารถจำแนกผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรงได้ ดังนี้
          (2.1) ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติหน้าที่แทนนักการภารโรง จำนวน 4,384 อัตรา
          (2.2) พนักงานราชการ3 ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรง จำนวน 112 อัตรา
          (2.3) นักการภารโรง (จ้างเหมาบริการอัตราละ 9,000 บาทต่อเดือน) จำนวน 10,230 อัตรา           14,726
(3) โรงเรียนที่ขาดแคลนผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักการภารโรง          14,210
หมายเหตุ : *จำนวนโรงเรียนเท่ากับจำนวนนักการภารโรง (1 โรงเรียนมีนักการภารโรง 1 คน)
                              2.2 งบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566 รายการค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.          จำนวนนักการภารโรง (คน)          งบประมาณ (ล้านบาท)*
2564          11,173          1,291.64
2565          10,339          1,174.32
2566          10,295          1,150.62
หมายเหตุ : *อัตรา 9,000 บาทต่อเดือน x จำนวนนักการภารโรงแต่ละปี (เฉพาะโรงเรียนที่มีนักการภารโรง) x 12 เดือน
                              2.3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ศธ. (สพฐ ) ได้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567) ดังนี้
                                        2.3.1 ขอรับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 1,085.13 ล้านบาท สำหรับจ้างนักการภารโรง จำนวน 10,230 คน ซึ่งเป็นนักการภารโรงจ้างเหมาบริการตามอัตราจริงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                                        2.3.2 ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 639.45 ล้านบาท เพื่อจ้างนักการภารโรงจ้างเหมาบริการ เฉพาะส่วนที่ขาดแคลนอีก 14,210 คน ให้ครบทุกโรงเรียน (จำนวน 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน4 พ.ศ. 2567)
ปีงบประมาณ พ.ศ.          จำนวนนักการภารโรงครบทุกโรงเรียน (คน)          จำนวนอัตรา (คน)          งบประมาณที่ต้องใช้เพิ่มเติม (ล้านบาท) (5) = อัตราจ้างเหมาบริการต่อเดือน* x (4) x 5 เดือน
                    นักการภารโรงที่มีปัจจุบัน
(2)          นักการภารโรงที่จะจ้างเพิ่ม
(จ้างเหมาบริการ)
(4) = (1)-(2)
                    ลูกจ้างประจำ          พนักงานราชการ          จ้างเหมาบริการ
2567          28,936          14,726**          14,210          9,000x14,210x5 = 639.45
                    4,384          112          10,230
หมายเหตุ :           *คณะรัฐมนตรีมีมติ (8 ตุลาคม 2556) อนุมัติให้นักการภารโรงมีรายได้วันละไม่น้อยกว่า 300 บาท (เดือนละ 9,000 บาท)
                    **ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการเป็นการใช้งบประมาณจากงบบุคลากร และลูกจ้างจ้างเหมาบริการเป็นการใช้งบประมาณจากงบรายจ่ายอื่น
                    3. สำหรับการจ้างเหมาบริการนักการภารโรง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ศธ. (สพฐ.) ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายจากความต้องการนักการภารโรงทั้งหมดเพื่อให้มีนักการภารโรงครบทุกโรงเรียน (เสนอในครั้งนี้) สรุปได้ ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.          จำนวนนักการภารโรงครบทุกโรงเรียน (คน)          จำนวนอัตรา (คน)          งบประมาณที่ใช้ (ล้านบาท)
(5)
= อัตราจ้างเหมาบริการต่อเดือน* x (4) x 12 เดือน
                    นักการภารโรงในแต่ละปี          นักการภารโรงที่จะจ้างเพิ่ม (จ้างเหมาบริการ)
                    ลูกจ้างประจำ          พนักงานราชการ
          (1)          (2)          (3)          (4) = (1)-(2)-(3)
2568          28,756          3,274          112          25,370          9,000x25,370x12
= 2,739.96
หมายเหตุ :          *คณะรัฐมนตรีมีมติ (8 ตุลาคม 2556) อนุมัติให้นักการภารโรงมีรายได้วันละไม่น้อยกว่า 300 บาท (เดือนละ 9,000 บาท)
                    4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                              4.1 ครูสามารถทำหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลให้เกิดการยกระดับคุณภาพการศึกษา
                              4.2 มีนักการภารโรงดูแลสภาพแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภคและทรัพย์สินของทางราชการ รวมถึงสร้างความปลอดภัยแก่ครูและนักเรียน
                              4.3 เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ และเกิดเงินหมุนเวียนในระบบบเศรษฐกิจ
1 การจ้างนักการภารโรงในรูปแบบการจ้างเหมาบริการ เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติให้งานบริการหมายความว่า งานจ้างเหมาบริการ และมาตรา 56 (2) (ข) บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อน เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างที่ให้บริการทั่วไปและมีวงเงินจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น กฎกระทรวงกำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลง เป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560
2 สพฐ. แจ้งว่า โรงเรียนที่อยู่ระหว่างรอควบรวม/รอยุบเลิก/ถ่ายโอน จะไม่นำมาคำนวณในครั้งนี้ (ประมาณ 315 โรงเรียน)
3 พนักงานราชการที่ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรง เป็นตำแหน่งที่ได้รับการจัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรี (5 ตุลาคม 2547) เรื่อง การช่วยเหลือลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในระบบราชการ ซึ่งให้ลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1 (ใช้งบประมาณหมวดค่าตอบแทนบุคลากร) ที่ปฏิบัติงานต่อเนื่องและทำงานในลักษณะประจำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้ผู้บังคับบัญชาเจ้าสังกัดบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานราชการ
4 ข้อมูลจากการประสาน สพฐ. ซึ่งคาดว่าเป็นช่วงภายหลังจากที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศใช้

17. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอและแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยในบางประเด็น เช่น ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิในกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอและสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย จึงมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566โดยมีผลสรุปในภาพรวม ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม.          สรุปผลการพิจารณา
1. ให้เร่งรัดพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว          ? กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์                 พ.ศ. .... มาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีและ                     สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวคืนกระทรวงวัฒนธรรมไปเนื่องจากได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ปัจจุบันกระทรวงวัฒนธรรมอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

2. ให้พิจารณาจัดตั้งกลไกที่เป็นรูปธรรมเพื่อผลักดันพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม หรือเขตวัฒนธรรมพิเศษตามแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโดยใช้กระบวนการศึกษาวิจัยจากกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยนำร่อง ให้มีส่วนร่วมออกแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนวิถีชีวิต และวัฒนธรรม การจัดสรรที่ดินทำกิน/ที่อยู่อาศัย การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาอาชีพ รวมทั้งการจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน          ? สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จังหวัดเพชรบุรี ได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยในด้านต่าง ๆ เช่น คณะทำงานด้านส่งเสริมอาชีพพัฒนาที่ดิน พัฒนาแหล่งน้ำ ด้านส่งเสริมสุขภาพ
? มีหน่วยงานหลายภาคส่วน เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรน้ำ ได้เข้าไปพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน การเกษตร ระบบน้ำ - ไฟฟ้า ส่งเสริมอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่
? หน่วยงานต่าง ๆ ได้ช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยให้สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐได้ เช่น กระทรวงสาธารณสุขให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการรักษาพยาบาล สิทธิด้านสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
? กระทรวงมหาดไทยได้สำรวจการถือครองที่ดินจัดทำทะเบียนประวัติสถานะบุคคลให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
? สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้แก้ไขปัญหาในรูปแบบคณะกรรมการอิสระร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตรวจสอบข้อเท็จจริงการแก้ไขปัญหาชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย เพื่อศึกษา รวบรวมปัญหาที่เกี่ยวข้องและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตรวมถึงการแก้ไขปัญหาที่ดิน
? สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมที่มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินและการอยู่อาศัยที่เกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมในพื้นที่จิตวิญญาณ
3. ควรบูรณาการการแก้ไขปัญหา โดยอาจใช้กลไกตามข้อ 2.  ในการขับเคลื่อน ซึ่งกลไกดังกล่าวต้องประกอบไปด้วยผู้แทนทั้งจากภาครัฐ ผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่ นักวิจัย/นักวิชาการ ภาคประชาสังคมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน          ? กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาในเรื่องที่ดินทำกินในพื้นที่ โดยดำเนินการใน 5 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ให้มีคณะทำงานที่มีองค์ประกอบทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและผู้แทนคณะกรรมการอิสระ (2) ให้มีการสำรวจที่อยู่อาศัยที่ทำกินของประชาชนในพื้นที่บ้านบางกลอยให้แล้วเสร็จ (3) จัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ (4) การให้ชาวบ้านได้เข้าไปทดลองใช้ประโยชน์ในพื้นที่โดยมีหน่วยงานเข้าไปกำกับดูแล และ (5) ให้มีการประเมินผลการทดลอง รวมทั้งได้มีคณะทำงานและคณะกรรมการหลายชุดเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยมาโดยตลอด

18. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินให้สอดคล้องกับหลักการสิทธิในที่ดินและสิทธิชุมชน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินให้สอดคล้องกับหลักการสิทธิในที่ดินและสิทธิชุมชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอและแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เห็นว่า ปัญหาการตีความเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่าง ?การมีสิทธิในที่ดิน? กับ ?การมีเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน? อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งครอบครองที่ดินมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินมีผลใช้บังคับ จึงมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้เสนอรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินให้สอดคล้องกับหลักการสิทธิในที่ดินและสิทธิชุมชน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม.          สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
1. ยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน กรณีจะประกาศกำหนดเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามและการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงต้องดำเนินการ ดังนี้
          1.1 แจ้งข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในพื้นที่ให้ทราบถึงแผนการดำเนินการ
          1.2 กำหนดขั้นตอนให้ประชาชนมีส่วนร่วมพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณว่าสมควรจะกำหนดเป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามหรือไม่
          1.3 ให้ประชาชนมีส่วนร่วมสำรวจเขต รังวัดและกันเขตพื้นที่ชุมชนออกจากการกำหนดเขตที่ดินควรกันเขตเป็นวงรอบชุมชนรวมพื้นที่ส่วนกลางควรจัดที่ดินให้แก่ชุมชนที่ได้รับการกันเขตแล้วโดยไม่ตีตราว่าเป็นผู้บุกรุกที่ดินของรัฐ และควรกำหนดให้พื้นที่ชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมด้วย          ? หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการที่สอดคล้องกับแนวทางของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยได้มีแนวทางปฏิบัติงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในรูปแบบกลไกของคณะกรรมการหรือคณะทำงาน มีการจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎร และยังให้สิทธิกับประชาชนที่จะขอคัดค้านการรังวัดเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงได้อีกด้วย
2. จัดที่ดินให้ชุมชนและกระจายอำนาจการจัดการที่ดินตามหลักสิทธิชุมชน ดังนี้
          2.1 กำหนดแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ โดยกำหนดรูปแบบการจัดที่ดินอย่างอื่น ที่บุคคลและชุมชนสามารถใช้สิทธิในการจัดการที่ดินได้ รวมทั้งกระจายอำนาจจัดการแปลงที่ดินที่จัดสรรให้ชุมชนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ตลอดจนให้คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดมีบทบาทในการพิจารณาพื้นที่ โดยงดเว้นการใช้มติคณะรัฐมนตรีเรื่อง การจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำและให้ชุมชนที่มีความพร้อมสามารถเสนอพื้นที่ที่จะให้จัดที่ดินทำกินในรูปแบบสิทธิชุมชนได้ด้วย          ? คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดร่วมกับคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินและคณะอนุกรรมการจัดที่ดินได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความต้องการของประชาชนและให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการภายในชุมชนเองได้ รวมทั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีแนวคิดในการกระจายอำนาจการบริหารจัดการที่ดินไปยังท้องถิ่นและยกระดับให้สหกรณ์ที่มีความพร้อมเป็นผู้ขออนุญาตทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ได้ ทั้งนี้ การกระจายอำนาจจะต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาภายหลัง และต้องคำนึงถึงภาระที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยงานท้องถิ่นด้วย
          2.2 ขจัดอุปสรรคทางนโยบาย กฎหมายและทางปฏิบัติต่าง ๆ เช่น ทบทวนและเพิกถอนที่สงวน                 หวงห้ามที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือสิ้นสภาพแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง          ?  การดำเนินการจัดที่ดินให้แก่ชุมชนสามารถดำเนินการตามกฎหมายและรูปแบบการจัดที่ดินของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ และการจัดที่ดินให้ราษฎรขึ้นอยู่กับความต้องการของราษฎร หลักกฎหมาย และสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่ด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ราษฎรมีหลักฐานในการครอบครองที่ดินมาก่อน สามารถรวบรวมหลักฐานเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินของรัฐได้
? สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติอยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เป็นไปอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงกำหนดอัตราการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของการจัดที่ดินในลักษณะแปลงรวมด้วย
3. แก้ไขความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดิน
          3.1 พิสูจน์สิทธิในที่ดินสำหรับผู้มีสิทธิในที่ดิน เช่น ปรับปรุงกระบวนการพิสูจน์สิทธิที่ดินรายแปลงทบทวนและยกเลิกวิธีการพิสูจน์สิทธิในที่ดินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 (เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่า) และแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐทับซ้อนกันจาก One Map          ?  สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ (One Map) และการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน โดยใช้หลักฐานเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ พยานบุคคลและหลักฐานอื่น ๆ เพื่อพิสูจน์ว่าราษฎรได้ครอบครองที่ดินมาก่อนการประกาศเป็นที่ดินของรัฐครั้งแรก นอกจากนี้ สามารถใช้กระบวนการอ่านแปลตีความภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง เพื่อตรวจหาร่องรอยการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือตามหลักวิทยาศาสตร์
          3.2 เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยชะลอการดำเนินคดีอาญาและการบังคับทางปกครองก่อนที่จะพิสูจน์สิทธิเสร็จสิ้น และเยียวยาบุคคลที่เข้าเงื่อนไขและหลักเณฑ์ได้รับการจัดสรรที่ดิน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ โดยชะลอการฟ้องหรือถอนฟ้องและเสนอให้มีกฎหมายนิรโทษกรรมความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้          ? ก่อนการบังคับทางปกครองหน่วยงานของรัฐจะออกหนังสือแจ้งให้ผู้ครอบครองพื้นที่โต้แย้งและแสดงสิทธิในที่ดินทุกแปลง หากมีผู้แสดงสิทธิจะชะลอการดำเนินคดีอาญาและการบังคับทางปกครอง ทั้งนี้ ระหว่างการดำเนินคดีต้องมีการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ด้วย
? กรณีที่ประชาชนได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐถูกฟ้องร้อง หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ครอบครองที่ดินส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและสภาพการทำประโยชน์ในพื้นที่และหน่วยงานของรัฐจะดำเนินการตรวจสอบจากภาพถ่ายทางอากาศ และความเป็นชุมชนในท้องถิ่นเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนั้น หากศาลพิจารณาแล้วไม่มีความผิดย่อมสามารถเข้าร่วมโครงการเพื่อรับสิทธิ์ในการทำกินในพื้นที่เดิมได้
? สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐสาระสำคัญเกี่ยวกับการรักษาสิทธิในที่ดินของประชาชนโดยให้หน่วยงานที่ดำเนินการจัดที่ดินบูรณาการกับหน่วยงานเจ้าของพื้นที่กำหนดแนวทางการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบตามกฎหมาย แนวทางของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการดำเนินการ One Map และประโยชน์ที่ได้รับ
?  ปัจจุบัน (ร่าง) พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ราษฎรซึ่งได้รับความเสียหายหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐ พ.ศ.... อยู่ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาให้ความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติดังกล่าว และเสนอให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม พิจารณาดำเนินการตามกระบวนการต่อไป
3.3 ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับการจัดการที่ดินของรัฐและการแก้ไขปัญหาที่ดินยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่ล้าสมัย และประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน          ? ในทางปฏิบัติหน่วยงานของรัฐจะพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินของรัฐและการแก้ไขปัญหาที่ดิน ซึ่งเมื่อพิจารณาเห็นควรให้มีการทบทวน/ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับที่ดินที่มีปัญหา หรือเป็นอุปสรรคก็จะดำเนินการทบทวนหรือขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีตามวิธีการปฏิบัติของหน่วยงานที่เป็นเจ้าของที่ดินต่อไป ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 (เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบียบที่เป็นเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการปฏิบัติงานหรือการใช้ชีวิตของประชาชน) นอกจากนี้ หากการทบทวนหรือยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี หรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หน่วยงานที่เป็นเจ้าของพื้นที่ต้องประกาศให้ประชาชนทราบทั่วกัน โดยใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเพื่อให้ข่าวสารเข้าถึงประชาชนมากที่สุด

19. เรื่อง  ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ  และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาและการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยใช้พื้นฐานจากการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อเป็นแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐและครัวเรือน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลและการสร้างสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิตให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในมิติของระบบบริการสุขภาพมิติด้านสังคมและมิติด้านบริหารจัดการ จึงได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) ข้อเสนอทิศทางการพัฒนาและนโยบาย (2) การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล (Hospitatl ? Based  Palliative Care) (3) การปลดล็อกข้อจำกัดการเข้าถึงยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย (4) การพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการเงินรองรับการดูแลแบบประคับประคอง (5) การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพและบุคลากรอื่น การพัฒนามาตรฐานงานและการพัฒนาวิชาการที่เกี่ยวข้อง (6) การส่งเสริมองค์กรนอกภาคสุขภาพจัดบริการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้ายของชีวิตในชุมชน (7) การพัฒนาการสื่อสาร การรับรู้ การเรียนรู้และสร้างความร่วมมือทางสังคม                        (8) การสานพลังขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตที่เป็นองค์รวมและ (9) การสนับสนุนการพัฒนาอื่น ๆ
                    2. คณะรัฐมนตรี (15 ตุลาคม 2566) ได้มีมติมอบหมายให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย แพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    สธ. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว โดยมีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา และได้มีความเห็นเพิ่มเติมโดยสรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณา
          1. ข้อเสนอทิศทางการพัฒนาและนโยบาย
          ควรกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบการดูแลแบบประดับประคองและการแสดงเจตนาไม่รับการรักษาพยาบาลในระยะสุดท้ายของชีวิต เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตสำหรับประเทศไทยและจัดทำนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต รวมทั้งแผนมาตรการและแนวทางการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติให้ชัดเจนและเป็นระบบ เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรภาคีทุกภาคส่วนใช้เป็นเครื่องมือพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตร่วมกัน
- เห็นด้วยกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองและการแสดงเจตนาไม่รับการรักษาพยาบาลในระยะสุดท้ายของชีวิต โดยใช้การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล (Hospital - Based) เป็นฐานการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดระบบการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน (Community Based) และการจัดทำนโยบายระดับชาติที่ส่งเสริมให้หน่วยงาน องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรทางศาสนา และอื่น ๆ รวมทั้งชุมชนและท้องถิ่นพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองได้เองโดยสร้างความเชื่อมโยง การส่งต่อ การส่งเสริมการพัฒนามาตรฐาน การพัฒนาบุคลากรและอื่น ๆ ในรูปของเครือข่ายสหสาขา เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทั้งมิติด้านการแพทย์ ด้านจิตใจ จิตวิญญาณ และสังคมอย่างเป็นองค์รวม สธ. ตระหนักถึงความสำคัญและมีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงและเป็นมาตรฐานเดียวกันการมีนโยบายและการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนจะทำให้หน่วยงาน องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรทางศาสนา และอื่น ๆ รวมทั้งชุมชนและท้องถิ่นมีแนวทางการปฏิบัติที่สอดรับและสอดคล้องกับเป้าหมายได้ครอบคลุมทุกมิติ
          2. การพัฒนาระบบการดูแลแบบประดับประคองในโรงพยาบาล (Hospital - Based Palliative Care)
          ควรสนับสนุนการนำนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติในการจัดให้มีระบบการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาลทุกสังกัด ให้มีการจัดตั้งหน่วยบริการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care Unit) มีทีมดูแลแบบสหวิชาชีพ และควรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิเพื่อให้บริการการแพทย์และสาธารณสุขในชุมชนอย่างเป็นองค์รวม          - เห็นด้วยกับการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล (Hospital-Based Palliative Care) ซึ่ง สธ. มีนโยบายสถานชีวาภิบาลรองรับผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง เป็นการดูแลต่อเนื่องตั้งแต่ระยะแรกจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต รวมถึงการดูแลผู้ป่วยแบบ Hospital at Home/Home Ward ด้วยการดูแลอย่างเป็นระบบ ดูแลผู้สูงอายุให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ครอบคลุม 4 มิติ (กาย จิตใจอารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ) คุ้มครองผู้ใช้บริการให้มีความปลอดภัย เข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ที่มีความจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตอย่างเพียงพอ อีกทั้งมี caregiver care manager ทีมสหวิชาชีพ จิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
3. ปลดล็อกข้อจำกัดการเข้าถึงยาจำเป็นสำหรับ
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
          ควรพัฒนากฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม Opioids เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้าถึงยาจำเป็น ยืดหยุ่นให้มีการยืมยาเหล่านี้ระหว่างโรงพยาบาลและสถานพยาบาลระดับต่าง ๆ โดยนำระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดการยาเหล่านี้อย่างเป็นระบบ รวมทั้ง สร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อการใช้ยากลุ่ม Opioids
ของทั้งบุคลากรด้านสุขภาพและประชาชน          - เห็นด้วยกับการปลดล็อกข้อจำกัดการเข้าถึงยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดทำกฎกระทรวง เพื่อให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 โดยได้มีกระบวนการรับฟังความเห็นผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลแบบประคับประคองเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาจากกฎกระทรวงเดิม ซึ่งจะช่วยให้ระบบบริหารจัดการยามีความคล่องตัวมากขึ้นรวมทั้งสร้างระบบการบริหารจัดการยาโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการควบคุมยากลุ่ม Opioids
          4. การพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการเงิน
รองรับการดูแลแบบประคับประคอง
          ควรศึกษาวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการเงินและขุดสิทธิประโยชน์ให้ผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกัน                  ต่าง ๆ ได้เข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล รวมทั้งการเข้ารับบริการในชุมชนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการดูแลแบบประคับประคองที่ใกล้บ้านใกล้ใจในราคาที่ประหยัดกว่าการรับบริการในโรงพยาบาล          - เห็นด้วยกับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการเงิน การพัฒนาระบบหลักประกันต่าง ๆ เพื่อการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองซึ่งในปัจจุบันระบบสวัสดิการ 3 กองทุน (สิทธิราชการ (สิทธิประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ยังมีความเหลื่อมล้ำทางสิทธิการรักษาพยาบาลเนื่องจากสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของทางราชการและสิทธิประกันสังคมไม่มีสิทธิประโยชน์การดูแลแบบประคับประคองนอกโรงพยาบาล จึงมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาและจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้น โดยใช้พื้นฐานการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อเป็นแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐและของครัวเรือน
5.การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพและบุคลากรอื่น                    การพัฒนามาตรฐานงานและการพัฒนาวิชาการที่เกี่ยวข้อง
         ควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคองในเรื่องการวางแผนการดูแลล่วงหน้าและการแสดงเจตนาในวาระสุดท้ายของชีวิต ผลักดันให้สถานศึกษาด้านสุขภาพทุกระดับจัดให้มีการเรียนการสอนในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตทั้งก่อนและหลังการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและส่งสริมการวิจัยเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง การดำเนินการตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ                พ.ศ. 2550 รวมถึงการวิจัยและพัฒนาระบบบริการ              ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
          - เห็นด้วยกับการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคองให้มีความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องการจัดระบบบริการการดูแลแบบประคับประคอง (Paliative Care) และการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข (Living Will) ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 รวมถึงการพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในการทำงานและการสร้างเสริมขวัญกำลังใจที่เหมาะสม ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรที่ไม่ใช่บุคลากรด้านสุขภาพ ที่ทำงานเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง ในสถานรับดูแลต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้อภิบาลผู้สูงอายุ ผู้ให้คำแนะนำปรึกษา อาสาสมัคร เพื่อให้ระบบการดูแลแบบประคับประคอง มีบุคลากรที่มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ และขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
6. การส่งเสริมองค์กรนอกภาคสุขภาพจัดบริการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้ายของชีวิตในชุมชน
        ภาครัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรทางศาสนา และองค์กรอื่น ๆ เข้ามาร่วมจัดบริการดูแลแบบประคับประคองในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม
          - เห็นด้วยกับการส่งเสริมองค์กรนอกภาคสุขภาพจัดบริการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้ายของชีวิตในชุมชนโดยหนึ่งในนโยบายด้านการสร้างคุณภาพชีวิต ซึ่งคณะรัฐมนตรี โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภา คือ การสร้างและพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้กำหนดให้มีสถานชีวาภิบาลประจำท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรพระพุทธศาสนา  ภาคประชาสังคม องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรสามารถเข้ามาร่วมบริการดูแลแบบประคับประคองในรูปแบบ                   ต่าง ๆ ที่เหมาะสม โดยมาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย การบริการ และบุคลากร เป็นไปตามหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับ ดูแล
7. การพัฒนาการสื่อสาร การรับรู้ การเรียนรู้
และสร้างความร่วมมือทางสังคม
       ควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ และการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมและส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือและยุทธศาสตร์การสื่อสารสมัยใหม่ นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยสร้างการสื่อสารทางสังคมอย่างหลากหลายและให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น          - เห็นด้วยกับส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมเนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่อง สิทธิการตายตามธรรมชาติ สิทธิการตายดี และการทำหนังสือแสดงเจตนาฯ เพื่อเข้าถึงสิทธิการตายดี สิทธิการตายดีตามเจตนารมณ์มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 รวมทั้งขาดความมั่นใจในการได้รับการปฏิบัติ ตามที่ได้แสดงเจตนาฯ ไว้ ประกอบกับวัฒนธรรมและความเชื่อ รวมทั้งสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อทัศนคติและแนวทางปฏิบัติของประชาชน การพัฒนาเครื่องมือและยุทธศาสตร์เพื่อการสื่อสารสมัยใหม่จะเข้ามาช่วยสร้างการสื่อสาร ทางสังคมได้หลากหลาย และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงการรับรู้ เรียนรู้ เกิดความร่วมมือ ทางสังคม ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
8. สานพลังขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะ
ระยะสุดท้ายของชีวิตที่เป็นองค์รวม
       ควรประสานงานเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดบริการดูแลแบบประคับประคองการดำเนินการตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 การสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตด้วย (Model Development)          - เห็นด้วยกับการสานพลังขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตที่เป็นองค์รวม โดยส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดบริการดูแลแบบประกับประคอง พัฒนาสิทธิด้านสุขภาพ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ควบคู่ไปกับการพัฒนาการดูแล แบบประคับประคองในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง สนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในสังคม พัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามหลัก สิทธิมนุษยชน หลักความเสมอภาค หลักความยั่งยืน และหลักภูมิคุ้มกันต่อวิกฤต ด้วยการพัฒนาที่ไม่ทิ้ง ใครไว้ข้างหลัง (Leaving no one behind)
9. การสนับสนุนการพัฒนาอื่น ๆ
          ควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการดูแลเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตไว้ในงานด้านกิจการผู้สูงอายุและการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนการพัฒนาระบบการดูแลเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตทั้งการกำหนดนโยบายของหน่วยงานการเพิ่มสิทธิและจัดสวัสดิการที่สนับสนุนการดูแลบุคคลในครอบครัวที่อยู่ในภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต รวมทั้งสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการดูแลแบบประคับประคองทั้งจากสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สิทธิประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อเป็นทางเลือกและเสริมสิทธิการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง

20. เรื่อง รายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานของส่วนราชการ ประจำเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
           1. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) รายงานว่า ได้รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงานโครงการจิตอาสาพระราชทานโดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญประจำเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                          1.1 กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566) โดยมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้ว 7,127.535 คน จำแนกตามพื้นที่ (ภูมิลำเนา) เป็นกรุงเทพมหานคร 465,852 คน และส่วนภูมิภาค 6,661,683 คน โดยแบ่งออกเป็น เพศชาย 3,213,656 คน เพศหญิง 3,913,879 คน
                         1.2 การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ (15 หน่วยงาน) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 3,037,498 คน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา 904 สรุปได้ ดังนี้
การดำเนินการ/กิจกรรม          ส่วนราชการ          จำนวน (ครั้ง)
(1) จิตอาสาพัฒนา เช่น การปรับปรุงภูมิทัศน์และทำความสะอาดศาสนสถาน โรงเรียน ชุมชน สถานที่สาธารณะ การให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน การบริจาคโลหิต และหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ การมอบทุนการศึกษา สิ่งของให้แก่ผู้ยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง การปลูกต้นไม้และพัฒนาแหล่งน้ำ (ตรวจคุณภาพน้ำ) การปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ การตรวจเยี่ยมชุมชน          กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ (พม.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ มท. กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.)          24,520
(2) จิตอาสาภัยพิบัติ เช่น การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย วาตภัยและภัยแล้ง (มอบถุงยังชีพ บริจาคสิ่งของ น้ำดื่ม โรงครัว ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และทำความสะอาดพื้นที่) และการทำแนวป้องกันไฟป่า การอบรมการป้องกัน ระงับอัคคีภัยและภัยพิบัติต่าง ๆ           กห. พม. ทส. มท. วธ. ศธ. และ ตช.          357
(3) จิตอาสาเฉพาะกิจ เช่น การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ การจัดเตรียมสถานที่และร่วมพิธีเนื่องในวันสำคัญ      การทำกิจกรรมถวายเป็นพระราชกุศล          กห. กระทรวงการต่างประเทศ กก. พม. ทส. มท. ยธ. วธ. ศธ. สธ. ตช. และ กปส.          219
(4) วิทยากรจิตอาสา 904 โดยเป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และกิจกรรมจิตอาสา สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจ          กห. พม. ทส. ยธ. วธ. ศธ. สธ. ตช. และ กปส.          33
รวม          25,129
                         1.3 การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ. จอส. พระราชทาน) เช่น
                               (1) โครงการที่ได้รายงานผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ว ได้แก่ โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้
                                          (2) เข้าร่วมประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับ ศอญ.จอส. พระราชทาน พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 13 ครั้ง ประกอบด้วย 1) รับทราบสถานการณ์ในภาพรวม เช่น สภาพอากาศ สาธารณภัยที่สำคัญ ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ ระดับน้ำแม่น้ำโขง สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 การเตรียมความพร้อมและการช่วยเหลือประชาชนที่เกิดเหตุอุทกภัย การให้ความช่วยเหลือภาวะภัยแล้ง การดำเนินงานโครงการที่สำคัญและกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ภารกิจจิตอาสาผ่านช่องทางต่าง ๆ และ 2) รายงานผลการดำเนินการกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ เช่น การลงพื้นที่การจัดกิจกรรม การสนับสนุนส่งเสริมการรณรงค์เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด และการประสานขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมงานจิตอาสาผ่านสื่อโซเชียลมีเดียในรูปแบบ Tik Tok
                                          (3) ลงพื้นที่ติดตามความต่อเนื่องของโครงการจิตอาสาพระราชทาน ได้แก่ 1) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร โดยมีข้อเสนอแนะการจัดทำมาตรการรักษาความปลอดภัยและควบคุมพื้นที่สวนสาธารณะ การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาบึงสีไฟอย่างเป็นระบบตามวัตถุประสงค์ของบึงสีไฟเพื่อการแก้ปัญหาภัยแล้ง และการบูรณาการร่วมกับภาคเอกชนในการดูแลห้องน้ำและแสงสว่าง 2) โครงการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีข้อเสนอแนะการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาบึงบอระเพ็ดอย่างเป็นระบบ การใช้ประโยชน์คลองธรรมชาติและคลองขุด ปลูกต้นไม้ยืนต้น การเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามแนวคลองและการอนุรักษ์ระบบนิเวศ สัตว์ปีกสัตว์น้ำ และพันธุ์ไม้หายาก และ 3) โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการระบายน้ำ และการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาอุทกภัย รวมทั้งการบูรณาการร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ
                                          (4) จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขของประชาชน เช่น กิจกรรมบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและมอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่กลุ่มเปราะบาง คนพิการ ผู้สูงอายุเด็กและเยาวชน ณ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 507 คน กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ พัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ ณ วัดโตนด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 150 คน ทั้งนี้ สปน. จะได้ประสานการดำเนินการในการจัดกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคี เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยรวมอย่างต่อเนื่องต่อไป

21. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2566
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2566 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
                     สาระสำคัญ
                     สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2566 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                     1. ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสาม ปี 2566
                               1.1 ด้านแรงงาน
                                     สถานการณ์แรงงานขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานทั้งในภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สรุปสถานการณ์
การจ้างงาน          ภาพรวมการจ้างงานขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 40.1 ล้านคน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.3 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของการจ้างงานทั้งในภาคเกษตรกรรม (ร้อยละ 2.0) และนอกภาคเกษตรกรรม (ร้อยละ 1.0) ทั้งนี้ สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ขยายตัวถึงร้อยละ 8.3
ชั่วโมงการทำงาน          ในภาพรวมชั่วโมงการทำงานลดลงเล็กน้อย ขณะที่ผู้ทำงานต่ำระดับ1 ยังคงมีชั่วโมงการทำงานลดลงต่อเนื่องที่ร้อยละ 28.8 โดยชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยในภาพรวมและภาคเอกชนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 42.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ลดลงร้อยละ 0.2) และ 46.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ลดลงร้อยละ 1.3) ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้ทำงานล่วงเวลา2 ที่ลดลงร้อยละ 2.0 และผู้เสมือนว่างงาน3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.9 (เพิ่มขึ้นจากผู้เสมือนว่างงานที่ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม)
ค่าจ้างแรงงาน          ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ที่ 15,448 บาท/คน/เดือน ขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยของภาคเอกชนอยู่ที่ 14,141 บาท/คน/เดือน (ขยายตัวร้อยละ 1.5 และ 2.8 ตามลำดับ) ทั้งนี้ ค่าจ้างที่แท้จริงในภาพรวมและภาคเอกชน ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 และ 10.3 ตามลำดับ
อัตราการว่างงาน          ปรับตัวดีขึ้น โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 4.01 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.99 ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.23 (ผู้ว่างงานลดลงจากผู้ที่เคยทำงานและไม่เคยทำงานมาก่อน) และมีผู้ว่างงานระยะยาวลดลงอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 32.8
ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญและ     ต้องติดตาม          เช่น การยกระดับผลิตภาพแรงงานภาคเกษตรกรรมและเฝ้าระวังผลกระทบของการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องจากการจ้างงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระดับราคาสินค้าที่อาจปรับเพิ่มขึ้นก่อนที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะปรับเพิ่มขึ้นจริง เป็นต้น
                               1.2 ด้านหนี้สินครัวเรือน
                                     ไตรมาสสองของปี 2566 หนี้สินครัวเรือน มีมูลค่า 16.07 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) อยู่ที่ร้อยละ 90.7 ซึ่งเป็นอัตราคงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา (ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล)
                                         ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ เช่น ความเสี่ยงต่อการติดกับดักหนี้ของเกษตรกรไทยจากมาตรการพักหนี้ และการเร่งดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
           1.3 ด้านสุขภาพและการเจ็บป่วย
                                     จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 99.9 (เพิ่มขึ้นจาก 200,626 คน เป็น 401,003 คนหรือเพิ่มขึ้น 200,377 คน) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ ในส่วนของสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของคนไทยพบว่า ผู้มีปัญหาความเครียดเสี่ยงซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย และมีภาวะหมดไฟ มีสัดส่วนร้อยละ 21.48 จากผู้เข้ารับการประเมิน 1.9 แสนคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.92 โดยมีจำนวนผู้ที่เสี่ยงซึมเศร้าสูงสุด
                                    ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อฝีดาษวานรจากโรคไข้หวัดใหญ่ เด็กและเยาวชนไทยมีภาวะอ้วนซึ่งเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น
           1.4 ด้านการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
                                      การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.7 และการบริโภคบุหรี่ร้อยละ 0.9 เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ขยายตัวตามไปด้วย
                                     ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น การให้ความสำคัญกับการรณรงค์ลดละเลิกสุราให้เข้าถึงคนทุกช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง และยังคงต้องติดตามเฝ้าระวังบุหรี่ไฟฟ้ารูปลักษณ์ใหม่ที่ดึงดูดเยาวชนให้เข้าถึงมากยิ่งขึ้น
           1.5 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                                    คดีอาญาโดยรวมลดลงร้อยละ 13.7 จากการลดลงของคดียาเสพติดที่ร้อยละ 20.5 แต่ยังคงมีสัดส่วนสูงกว่าคดีอาญาประเภทอื่น โดยมีสัดส่วนร้อยละ 76.9 ของคดีอาญาทั้งหมด (คดีชีวิต ร่างกาย และเพศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7)
                                    ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น การเฝ้าระวังกลุ่มเด็กและเยาวชนเล่นพนันออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการหามาตรการป้องกันการก่ออาชญากรรมโดยใช้อาวุธปืน
                                1.6 ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
                                     สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 โดยได้รับการร้องเรียนด้านการขายตรงและตลาดแบบตรง4มากที่สุด ขณะที่การรับเรื่องร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 40.8
                                   ประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง เช่น ภัยทางการเงินจากการถูกหลอกลวงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ ปัญหาการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการคิดค่าไฟและค่าน้ำประปาของหอพัก ห้องเช่า และอะพาร์ตเมนต์
                     2. สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ
สถานการณ์          รายละเอียด
บริการซื้อก่อน
จ่ายทีหลัง
(Buy Now
Pay Later : BNPL)          เป็นบริการให้สินเชื่อหรือการผ่อนชำระสินค้าที่เข้าถึงง่าย และปราศจากดอกเบี้ยหากชำระเงินตามเงื่อนไข เป็นความนิยมในการเข้าถึงสินเชื่อยุคใหม่ซึ่งมีทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยในปี 2565 มีผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 360 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 900 ล้านคน ในปี 2570 อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยแต่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินตัวของผู้บริโภคและก่อให้เกิดหนี้เสียตามมา
เศรษฐกิจรูปแบบใหม่
ในยุคอยู่คนเดียว
(Solo Economy)          การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างครัวเรือนที่มีคนอาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้นทำให้ Solo Economy เติบโตอย่างมากทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจในประเทศต่าง ๆ (เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง การท่องเที่ยว และการสื่อสาร) เริ่มปรับตัวเนื่องจากพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนกลุ่มนี้มีมูลค่าสูงกว่าคนกลุ่มอื่น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสในการปรับตัวของภาคธุรกิจในการผลิตสินค้าและบริการ      เพื่อนำมาตอบสนองต่อพฤติกรรมและความต้องการของคนกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หากไทยจะยกระดับ Solo Economy ให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการอยู่คนเดียวของครัวเรือนไทย (เช่น โรคซึมเศร้า รายได้ไม่พอจ่าย) ควบคู่ไปด้วย
ตราสารหนี้สีเขียว
(Green bond)          เป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญในการระดมทุนเพื่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจใช้ประโยชน์จากตราสารหนี้สีเขียวจำเป็นต้องกำหนดนิยามกิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียวให้มีความชัดเจนเพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อแก้ปัญหาและสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น โดยตัวอย่างโครงการที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้สีเขียว เช่น (1) พลังงานหมุนเวียน (2) การป้องกันและควบคุมมลพิษ และ (3) การจัดการน้ำและน้ำเสียอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการขยายตัวของตราสารหนี้สีเขียวพบว่า ในปี 2565 ทั่วโลกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการออกตราสารหนี้สีเขียวคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4.87 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทยมีมูลค่าการออกตราสารหนี้สีเขียวขยายตัวมากขึ้น จาก 51,000 ล้านบาท ในปี 2562 เป็น 85,643 ล้านบาท ในปี 2565 อย่างไร    ก็ดี ถึงแม้ว่าตราสารหนี้สีเขียวจะมีการขยายตัวขึ้นมากแต่ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญหลายประการ  เช่น (1) ตลาดยังมีขนาดเล็กและผู้ออกตราสารหนี้สีเขียวส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ (2) มีเงื่อนไขและขั้นตอนที่มากกว่าการออกตราสารหนี้ทั่วไปและ (3) การขาดความชัดเจนในการกำหนดสาขาของธุรกิจสีเขียว
                               1.3 งบประมาณด้านสังคม (Social Budgeting) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อช่วยให้เห็นถึงกระแสการเงินของงบประมาณที่ใช้ในการจัดสวัสดิการสังคม และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสนับสนุนการจัดสรรและใช้งบประมาณของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย สศช.ได้มีการจัดทำข้อมูลงบประมาณด้านสังคม ซึ่งเป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นถึงแหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินในการดำเนินการโครงการเพื่อสร้างระบบความคุ้มครองทางสังคมและดำเนินนโยบาย โดยผลการจัดทำ Social Budgeting จากโครงการ/มาตรการทางสังคมที่สำคัญจำนวนทั้งสิ้น 21 โครงการ ครอบคลุมงบประมาณกว่าร้อยละ 93.4 ของรายจ่ายด้านสังคมทั้งหมด พบว่ารายจ่ายของงบประมาณด้านสังคม ในปี 2564 มีมูลค่ากว่า 1.16 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.15 ของ GDP โดยส่วนใหญ่เป็นการให้เงินช่วยเหลือและเงินทดแทนรายได้ที่ส่งตรงไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ และด้านที่มีการช่วยเหลือมากที่สุด คือ ด้านการเกษียณอายุ/เสียชีวิต ขณะที่รายรับของงบประมาณด้านสังคมส่วนใหญ่มาจากงบประมาณและเงินสมทบจากภาครัฐ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80.2
           ทั้งนี้ มีข้อค้นพบซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เช่น (1) ภาครัฐต้องใช้จ่ายในโครงการด้านสังคมเพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดเก็บรายได้ยังทำได้ไม่เต็มศักยภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ช่องว่างทางการคลังมีแนวโน้มแคบลง และหากไม่มีการเพิ่มรายได้หรืออัตราเงินสมทบจากแหล่งอื่น อาจทำให้รัฐต้องกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่าย และเกิดหนี้สาธารณะมากขึ้นในอนาคต และ (2) รายจ่ายของโครงการด้านสังคมเป็นตัวเงินนอกเหนือจากด้านการเกษียณอายุและเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  โดยปี 2555 มีมูลค่า 0.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 63.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2561 จากการเริ่มต้นของโครงการบัตรสวัสดิการรัฐ และปรับตัวสูงขึ้นเป็น 1.33 แสนล้านบาทในปี 2564 แสดงให้เห็นว่า การให้ความช่วยเหลือทางสังคมในลักษณะนี้มีบทบาทมากขึ้นโดยเป็นการให้ความช่วยเหลือมากกว่าการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจไม่สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนรายได้น้อยอย่างยั่งยืน
                     ดังนั้น เพื่อรักษาระดับของช่องว่างทางการคลังไม่ให้ตึงตัวมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนของสวัสดิการทางสังคม ภาครัฐจึงควรตระหนักถึงประเด็นต่าง ๆ เช่น (1) เน้นการดำเนินนโยบายในรูปแบบร่วมจ่ายมากขึ้น โดยการออกแบบนโยบายจะต้องคำนึงถึงภาระทางการคลัง และความสามารถในการยกระดับสังคมให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นผลดีต่อช่องว่างและความยั่งยืนทางการคลัง (2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้ได้มากขึ้น ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของภาษีต่อการจัดสวัสดิการและการพัฒนาประเทศ และ (3) จัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของสวัสดิการต่าง ๆ ที่รวบรวมข้อมูลทั้งงบประมาณที่ใช้และผู้ได้รับประโยชน์ ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐสามารถออกแบบมาตรการได้อย่างตรงจุดและทันท่วงทีลดการตกหล่นของกลุ่มเป้าหมายและการรั่วไหลไปสู่ผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงลดความซับซ้อนของสิทธิ ทั้งนี้ การจัดทำ Social Budgeting ของ สศช.เป็นการศึกษางบประมาณในการจัดสวัสดิการทางสังคมในเบื้องต้น ซึ่งในระยะถัดไปจะดำเนินการศึกษาโครงการทางสังคมได้ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการออกแบบนโยบายทางสังคมในอนาคต อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การจัดทำงบประมาณในนโยบายด้านอื่น ๆ ต่อไป
1ผู้ทำงานต่ำระดับ คือ ผู้ที่ทำงานต่ำกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และต้องการทำงานเพิ่ม (นับรวมผู้ที่ทำงาน 0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
2ผู้ทำงานล่วงเวลา คือ ผู้มีงานทำที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
3ผู้เสมือนว่างงาน คือ ผู้ที่ทำงานในภาคเกษตรกรรม จำนวน 0-20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และผู้ที่ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 0-24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
4ตลาดแบบตรง หมายถึง การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลของผู้ประกอบการธุรกิจในการเสนอขายสินค้าหรือบริการ โดยตรงต่อผู้บริโภค ซึ่งมีระยะห่างโดยระยะทาง ตัวอย่างธุรกิจตลาดแบบตรงเช่น Lazada Shopee เป็นต้น

22. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมกราคม 2567
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมกราคม 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                      1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมกราคม 2567
               การส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2567 มีมูลค่า 22,649.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (384,580 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ร้อยละ 10.0 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำและยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 9.2 การส่งออกของไทยยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย ตามทิศทางการค้าโลกที่เริ่มฟื้นตัวจากภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งปัจจัยมูลค่าฐานการส่งออกต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีแรงหนุนจากการส่งออกคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบตามการฟื้นตัวของวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่ยังคงขยายตัวสูง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะเป็นอุปสรรคทางการค้าในระยะต่อไป
                          มูลค่าการค้ารวม
                         มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมกราคม 2567 มีมูลค่าการค้ารวม 48,057.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 22,649.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.0 การนำเข้า มีมูลค่า 25,407.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.6 ดุลการค้า ขาดดุล 2,757.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
                         มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมกราคม 2567 มีมูลค่าการค้ารวม 1,675,267, ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 784,580 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.2 การนำเข้า มีมูลค่า 890,687 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.8 ดุลการค้า ขาดดุล 106,107  ล้านบาท
                         การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
                         มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุดสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 9.2 โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 14.0 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.8 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 45.9 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ อิรัก และเยเมน) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 5.0 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 5.5 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐฯ ตุรกี และเวียดนาม) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 30.1 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และเวียดนาม) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 5.2 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ลิเบีย แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอียิปต์) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 9.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี ฟิลิปปินส์ และอินเดีย) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 18.6 (ขยายตัวในตลาดเมียนมา เวียดนาม ลาว มาเลเซียและจีน) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 23.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ ) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 23.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 33.1 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย) ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 15.3 (ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน กัมพูชา และเมียนมา) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 27.0 (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 16.2 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเชีย และปาปัวนิวกินี) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 58.8 (หดตัวในตลาดมาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น)
                         การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
                         มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 10.3 มีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 32.2 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เยอรมนี และออสเตรเลีย) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 106.3 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ อินเดีย ออสเตรเลีย แคนาดา และจีน) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 3.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเชีย และออสเตรเลีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 21.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อิตาลี ฮ่องกง เยอรมนี และอินเดีย เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ขยายตัวร้อยละ 7.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย จีน และสิงคโปร์) เครื่องโทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 56.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ จีน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 4.7 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเม็กชิโก) เคมีภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 1.6 (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว และสิงคโปร์) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 10.5 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ อิตาลี อินเดีย ฝรั่งศส และไต้หวัน) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หดตัวร้อยละ 9.5 (หดตัวในตลาดอินเดีย เวียดนาม สิงคโปร์ สาธารณรัฐเช็ค และแคนาดา)
                         ตลาดส่งออกสำคัญ
                        การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว ตามอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัวสอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของการค้าโลก และสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 10.5 โดยขยายตัวในทุกตลาด ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 13.7 จีน ร้อยละ 2.1 ญี่ปุ่น ร้อยละ 1.0 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 4.5 อาเซียน (5) ร้อยละ 18.1 และ CLMV ร้อยละ 16.6 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 8.8 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 0.04 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 27.2 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 2.9 และรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 64.6 ขณะที่หดตัวในตลาดแอฟริกา ร้อยละ 24.2 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 4.0 และสหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 1.6 (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 11.2 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 5.1
                     2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
                           การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนมกราคม อาทิ (1) การหารือกับสหรัฐฯ เพื่อลดอุปสรรคในการส่งออก โดยขอให้พิจารณาเร่งรัดการต่ออายุการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่ได้หมดอายุไปเมื่อปลายปี 2563 รวมไปถึงการขอการสนับสนุนให้ไทยหลุดจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) ทุกบัญชี โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญชองการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานและการเป็นพันธมิตรด้านเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะการเป็นฐานการผลิตในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เช่น ดิจิทัล AI  อิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานสะอาด การบิน ยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น (2) การเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าของไทยในตลาดสหรัฐฯ และอินเดีย คณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์และผู้ประกอบการส่งออกเดินทางไปเยือนนครลอสแอนเจลิสของสหรัฐฯ เพื่อเร่งผลักดันการนำเข้าสินค้าไทยในสหรัฐฯ ตลอดจนสร้างเครือข่ายพันธมิตรและความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน แสวงหาผู้นำเข้ารายใหม่ในตลาดสหรัฐฯ พร้อมการลงนาม MOU สินค้าข้าวหอมมะลิ และอาหารกระป๋อง ระหว่างผู้ส่งออกไทยกับผู้นำเข้าสหรัฐฯ ด้วย นอกจากนี้ยังได้นำคณะผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน Vibrant Gujarat Global Summit ครั้งที่ 10 ที่รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย โดยมุ่งหวังที่จะใช้รัฐคุชราตเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งรัฐคุชราตมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน ทั้งพลังงานหมุนเวียน และการก่อสร้าง เป็นโอกาสดีของนักลงทุนไทยที่จะปักหมุดการลงทุนในรัฐคุชราตได้เพิ่มขึ้น
                         แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 การส่งออกไทยยังคงได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าตามภาวะเงินเฟ้อโลกที่เริ่มชะลอตัว การได้รับอานิสงส์จากมาตรการรักษาความมั่นคงทางด้านอาหารของหลายประเทศ และจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่มีความเข้มแข็ง ขณะที่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางยังไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อไทยมากนัก อย่างไรก็ตาม อุปสรรคการขนส่งที่เกิดจากความขัดแย้งดังกล่าวส่งผลทางอ้อมให้อัตราค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้น และอาจทำให้เศรษฐกิจคู่ค้ามีความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในอนาคต ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนอาจจะยังมีความผันผวนจากทิศทางการปรับเปลี่ยนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการทำงานในการผลักดันการเติบโตของมูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2567 ที่ร้อยละ 1 - 2 ต่อไป

23. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                      1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ดังนี้
                         ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2567 เท่ากับ 107.22 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเท่ากับ 108.05 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.77 (YoY) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 สาเหตุสำคัญยังคงเป็นราคาอาหารสด ทั้งเนื้อสัตว์ และผักสด ที่ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก รวมทั้ง น้ำมันดีเชล และค่ากระแสไฟฟ้า ราคายังต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปี 2566 จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ประกอบกับฐานราคาเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ
                         อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนมกราคม 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยลดลงร้อยละ 1.11 ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 4 จาก 135 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม  อินโดนีเชีย มาเลเซีย) สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนแรกของปี 2567 ที่หลายประเทศชะลอตัวลง
                         อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ลดลงร้อยละ 0.77 (YoY) ในเดือนนี้ มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
                          หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.97 ตามการลดลงของราคาเนื้อสุกร ปลาทู กุ้งขาว ปลากะพง ผักสด (มะนาว แตงกวา ผักกาดขาว มะเขือเทศ กะหล่ำปลี) เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก นอกจากนี้ น้ำมันพืช และน้ำปลา ราคาปรับลดลง สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ข้าวสาร ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง ครีมเทียม ผลไม้บางประเภท (แตงโม กล้วยหอม มะม่วง) น้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และอาหารกลางวัน
                         หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.63 เนื่องจากน้ำมันในกลุ่มดีเซล และค่ากระแสไฟฟ้า ราคายังต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปี 2566 จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐนอกจากนี้ เสื้อผ้าบุรุษและสตรี สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาปรับผ้านุ่ม) เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น) รวมถึง สบู่ถูตัว แชมพูสระผม ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว ราคาปรับลดลง สินค้าที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อาทิ แป้งทาผิวกาย น้ำยาระงับกลิ่นกาย ยาสีฟัน ยาแก้ไข้หวัด ยาลดกรดในกระเพาะ ค่าตรวจรักษาโรค ค่าทัศนาจรต่างประเทศ ค่าโดยสารเครื่องบิน บุหรี่ สุรา และไวน์
                         เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 0.43 (YoY) ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 0.52
                         ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.22 (MoM) ตามการสูงขึ้นของหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.60 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นน้ำมันดีเซล นอกจากนี้ ค่าโดยสารเครื่องบิน น้ำยาระงับกลิ่นกาย โฟมล้างหน้า ยาสีฟัน สุรา เบียร์ และไวน์ ราคาปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาปรับลดลง อาทิ เสื้อผ้าบุรุษ และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.33 ตามการลดลงของเนื้อสุกร ไก่ย่าง ปลาช่อน ปลาทู ปลาหมึกกล้วย ไข่ไก่ นมผง นมเปรี้ยว ผักสด (พริกสด มะเขือเทศ ผักกาดขาว) สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อาทิ ข้าวสารเจ้า ผลไม้ (ส้มเขียวหวาน องุ่น แตงโม) กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง)
                         ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป 2 เดือนแรก (มกราคม - กุมภาพันธ์) ของปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ลดลงร้อยละ o.94 (AOA)
                     2. แนวโน้มเงินเฟ้อ
                         แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคม 2567 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) มาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงาน โดยการตรึงราคาค่ากระแสไฟฟ้าที่ 3.99 บาทต่อหน่วย สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน และที่ 4.18 บาทต่อหน่วยสำหรับครัวเรือนทั่วไป รวมทั้งมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 (2) ฐานราคาที่สูงในปีก่อนหน้าของเนื้อสุกรและผักสด และ (3) เศรษฐกิจของไทยขยายตัวในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (2) เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลให้การนำเข้าสินค้ามีราคาสูงขึ้น (3) สภาพอากาศที่มีความแปรปรวนในช่วงท้ายของปรากฏการณ์เอลนีโญ รวมทั้งการเข้าสู่ฤดูร้อนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนและปริมาณผลผลิตทางการเกษตร และ (4) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้อุปสงค์และราคาของสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาค่าโดยสารเครื่องบิน
                         ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ (-0.3) - 1.7 (ค่ากลาง ร้อยละ 0.7) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง
                         ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 54.2 จากระดับ 54.5 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดลง สาเหตุที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมยังอยู่ในช่วงเชื่อมั่นคาดว่ามาจาก (1) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (2) การขยายตัวของภาคการส่งออก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและนโยบายความมั่นคงทางอาหารของประเทศคู่ค้า และ (3) ราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวดีขึ้น อาทิ ข้าวหอมมะลิ และยางพารา ขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงบางชนิดปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ต่างประเทศ
24. เรื่อง ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - ลาว เพื่อดูแลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง ครั้งที่ 4
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย ? ลาว เพื่อดูแลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง ครั้งที่ 4 (ร่างบันทึกการประชุมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างบันทึกการประชุมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่เป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขออนุมัติให้ มท. ดำเนินการได้โดยให้รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบในภายหลัง รวมทั้ง อนุมัติให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกการประชุมฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการร่วมไทย - ลาว เพื่อดูแลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง (คณะกรรมการร่วมไทย - ลาวฯ) ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2547 เพื่อเป็นกลไกสำหรับการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตลอดจนกำหนดวิธีการทางเทคนิคที่จำเป็นเพื่อป้องกันตลิ่งและฝั่งและเพื่อรักษาระบบนิเวศวิทยาตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการร่วมไทย - ลาวฯ ได้มีการจัดประชุมมาแล้ว 3 ครั้ง โดยการประชุมครั้งล่าสุดคือ การประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - ลาวฯ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 23 - 25 มิถุนายน 2551 ณ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย โดยในการประชุมดังกล่าวทั้งสองฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกการประชุมในแต่ละครั้งด้วย ซึ่งบันทึกการประชุมของการประชุม 3 ครั้ง ที่ผ่านมาไม่เคยถูกนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ต่อมาประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ตกลงที่จะจัดประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - ลาวฯ ครั้งที่ 4 ขึ้น ซึ่งในการประชุมดังกล่าวทั้งสองฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - ลาวฯ ครั้งที่ 4 เช่นเดียวกับที่ผ่านมา แต่โดยที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เห็นว่าร่างบันทึกการประชุมดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามมาตรา 4 (7) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 กระทรวงมหาดไทย (มท.) จึงขอนำร่างบันทึกการประชุมฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาโดยภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างบันทึกการประชุมฯ แล้ว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันกำหนดวันประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - ลาวฯ ครั้งที่ ๔ ต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - ลาว เพื่อดูแลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง ครั้งที่ 4 มีประเด็นที่สำคัญคือ การปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดมาตรฐานด้านเทคนิคการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง และข้อกำหนดทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการดูดทรายตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองที่มีอยู่เดิม (ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการร่วมไทย ? ลาวฯ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 23 - 25 มิถุนายน 2551) โดยมีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน

25. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการหารือทวิภาคีระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการหารือทวิภาคีระหว่าง กต. แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา1 (บันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    ประเทศไทยและสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 และในครั้งนี้ฝ่ายบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาแสดงความพร้อมที่จะลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในโอกาสแรก ดังนั้น กต. จึงได้เสนอบันทึกความเข้าใจฯ โดยมีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งกลไกความร่วมมือและการหารือทวิภาคีที่เป็นรูปธรรมกลไกแรกระหว่าง กต. ของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองประเทศให้มีความแน่นแพ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้จัดตั้งสถานเอกอัครราชทูตในประเทศของอีกฝ่าย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์          สร้างกลไกปรึกษาหารือเพื่อทบทวนและแลกเปลี่ยนมุมมองในมิติความสัมพันธ์ทวิภาคี ประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ รวมถึงประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน และเพื่อส่งเสริมบทบาทที่สร้างสรรค์ขององค์การสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอื่น  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและปัญหาที่กระทบต่อประชาคมระหว่างประเทศ
ประเด็นการปรึกษาหารือ          การเพิ่มพูนและขยายความสัมพันธ์ทวิภาคีและความร่วมมือระหว่างกัน รวมถึงส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันระหว่างภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมถึงประเด็นระหว่างประเทศที่ภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะจัดการหารือทวิภาคีอย่างสม่ำเสมอทุกปีหรือในช่วงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ
ผลบังคับใช้และการแก้ไข          บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่มีการลงนาม โดยจะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 5 ปี และจะได้รับการขยายระยะเวลาออกไปอีก 5 ปี โดยอัตโนมัติ เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกยกเลิกโดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 6 เดือน ไปยังภาคีอีกฝ่ายหนึ่งผ่านช่องทางทางการทูต
ผลผูกพัน          บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือพันธกรณีที่มีผลผูกพันทางกฎหมายต่อภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ

                    ทั้งนี้ กต. แจ้งว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

26. เรื่อง ภาคผนวกที่ 1 และภาคผนวกที่ 2 ที่ปรับปรุงแก้ไขของข้อตกลงการยอมรับร่วมรายสาขาว่าด้วยระบบการตรวจสอบและการให้การรับรองด้านสุขลักษณะอาหารสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปของอาเซียน (ASEAN Sectoral Mutual Recognition Arrangement for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products; MRA on PF)
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขภาคผนวกที่ 1 และภาคผนวกที่ 2 ที่ปรับปรุงแก้ไขของข้อตกลงการยอมรับร่วมรายสาขาว่าด้วยระบบการตรวจสอบและการให้การรับรองด้านสุขลักษณะอาหารสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปของอาเซียน [ASEAN Sectoral Mutual Recognition Arrangement for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (MRA on PF)] (ข้อตกลงฯ) เพื่อให้กระทรวงเกษษตรและสหกรณ์ (กษ.) สามารถร่วมให้การรับรองการแก้ไขดังกล่าวในการประชุมคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป1 (Prepared Foodstuff Product Working Group (PFPWG)] ครั้งที่ 38 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
[จะมีการรับรองการปรับปรุงแก้ไขภาคผนวกที่ 1 และภาคผนวกที่ 2 ของข้อตกลงฯ ในการประชุมคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ครั้งที่ 38 ระหว่างวันที่ 1 - 2 เมษายน 2567 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. เรื่องนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ) ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขภาคผนวกที่ 1 และภาคผนวกที่ 2 ของข้อตกลงการยอมรับร่วมรายสาขาว่าด้วยระบบการตรวจสอบและการให้การรับรองด้านสุขลักษณะอาหารสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปของอาเซียน (ข้อตกลงฯ) โดยภาคผนวกที่ 1 เป็นการแก้ไขลำดับเลขย่อหน้าให้ถูกต้องโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาของภาคผนวก ส่วนภาคผนวกที่ 2 เป็นการแก้ไขเนื้อหาให้สอดคล้องกับเอกสารหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหารของโคเด็กซ์ฉบับปัจจุบันตามข้อเสนอของคณะทำงานเฉพาะกิจ ซึ่งสอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 25632 โดยการปรับแก้ในครั้งนี้จะส่งผลดีต่อการกำกับดูแลความปลอดภัยอาหารและสุขลักษณะอาหารของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตในประเทศและนำเข้าโดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดอาเซียนของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในการผลิตอาหารตามมาตรฐานด้านสุขลักษณะอาหารที่เป็นไปตามมาตรฐานระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
                    2. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เห็นว่า การแก้ไขภาคผนวกที่ 1 และภาคผนวกที่ 2 ของข้อตกลงฯ เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนการรับรอง และหาก       กษ. ยืนยันได้ว่าการดำเนินการให้เป็นไปตามภาคผนวกที่ 1 และภาคผนวกที่ 2 ของข้อตกลงดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายภายในที่มีโดยไม่จำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติของรัฐสภาเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา ก็จะไม่เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่จะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่ง กษ. เห็นว่าการแก้ไขร่างข้อตกลงฯ เข้าข่ายเป็นการจัดทำสนธิสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนการรับรองภาคผนวกดังกล่าวในการประชุมคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ครั้งที่ 38 โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา (สลค. ได้ขอให้ กษ. ยืนยันในประเด็นตามความเห็นของ กต. และ สคก. แล้ว)
                     3. ข้อตกลงฯ จัดทำขึ้นโดยคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปภายใต้คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน [ASEAN Consultative Committee on Standard and Quality (ACCSQ)] ตั้งแต่ปี 2548 โดยมีผลใช้บังคับทันทีภายหลังจากการลงนาม (รัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนลงนามเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561) ซึ่งประโยชน์ในการเข้าร่วมข้อตกลงฯ เป็นการยอมรับผลการตรวจสอบด้านสุขลักษณะอาหารของสินค้านำเข้าและส่งออก ลดภาระการตรวจสอบซ้ำสำหรับสินค้านำเข้าและส่งออกด้านสุขลักษณะอาหาร แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านการผลิตสินค้าอาหารและประสิทธิภาพของระบบการควบคุมสินค้าอาหารของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับจากอาเซียนและสอดคล้องกับมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ อำนวยความสะดวกทางการค้า และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดอาเซียน รวมทั้งเพิ่มการคุ้มครองสุขภาพและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนต่อสินค้าที่ได้รับการรับรอง โดยต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมรายสาขาภายใต้ข้อตกลงฯ ประกอบด้วยผู้แทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากประเทศสมาชิก ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามข้อตกลงฯ เช่น จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเมินและรับรองว่าระบบตรวจสอบและรับรองด้านสุขลักษณะอาหารของประเทศสมาชิกมีความสอดคล้องกับบทบัญญัติของข้อตกลงฯ รมทั้งขึ้นทะเบียนและถอดถอนการยอมรับร่วมของประเทศสมาชิก
                    4. การประชุมคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 10 - 11 มีนาคม 2565 เห็นควรทบทวนภาคผนวกที่ 2 ของข้อตกลงฯ เพื่อให้สอดคล้องกับเอกสารหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหารของโคเด็กซ์ [Codex General Pinciples of Food Hygiene (CXC 1-1969)] ฉบับปัจจุบัน3 (ทบทวนเมื่อปี 2563 และ 2565) และการประชุมคณะกรรมการร่วมรายสาขาภายใต้ข้อตกลงฯ [Joint Sectoral Committee on MRA for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (JSC MRA on PF)] ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2566 ได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาทบทวนภาคผนวกที่ 2 ของข้อตกลงฯ ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวมีประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียเป็นผู้นำในการทบทวนภาคผนวกที่ 2 โดยในส่วนของประเทศไทย กษ. (มกอช.) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามข้อตกลงฯ และเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมรายสาขาภายใต้ข้อตกลงฯ และการประชุมคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565 เพื่อพิจารณาทบทวนภาคผนวกที่ 2 ของข้อตกลงฯ รวมทั้งให้ความเห็นต่อร่างภาคผนวกที่ 2 ของข้อตกลงฯ ผ่านคณะอนุกรรมการพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์อาหารของอาเซียนซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
1การประชุมคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เป็นการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานอาหารปลอดภัยของอาเซียน เช่น การกำหนดปริมาณสูงสุดสำหรับสารปนเปื้อน สารพิษในอาหารและอาหารสัตว์ ฉลากอาหาร วัสดุสัมผัสอาหาร และแนวปฏิบัติในการรับรองสุขลักษณะในการผลิตอาหาร อันเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งด้านมาตรฐานอาหาร
2กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักสุขลักษณะในการผลิตอาหาร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการคุ้มครองผู้บริโภคให้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย ตลอดจนยกระดับมาตรฐานการผลิตอาหารแปรรูปเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้มีความสอดคล้องกับเอกสารหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหารของโคเด็กซ์ฉบับล่าสุด ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับความตระหนักของผู้ประกอบการอาหารเกี่ยวกับอันตรายและมาตรการควบคุมเพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมต่อการบริโภค                  การกำหนดการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีที่ต้องการความเอาใจใส่มากขึ้น และการเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้
3โคเด็กซ์ (Codex) หรือ Codex Alimentarlus มาจากภาษาลาติน หมายถึง Food Code โดยโคเด็กซ์ถูกใช้เป็นชื่อเรียกคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2504 ? 2505 จากความร่วมมือขององค์การอาหารและเกษตร [Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO)] และองค์การอนามัยโลก [World Health Organization (WHO)] ด้านความปลอดภัยของอาหาร (food safety) เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 165 ประเทศ มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศให้เป็นมาตรฐานสากล โดยการทบทวนเมื่อปี 2563 และ 2565 เป็นการทบทวนหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร (ความตระหนักด้านอันตรายของผู้ประกอบการอาหาร) มาตรการควบคุมการผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมต่อการบริโภค และการเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้

27. เรื่อง การเสนอรายการ ?ชุดไทย : ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ? (Chud Thai : The Knowledge, Craftsmanship and Practices of The Thai National Costume) และ ?มวยไทย? (Muay Thai : Thai Traditional Boxing) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบเอกสารรายการเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) (ยูเนสโก) จำนวน 2 รายการ ดังนี้ (1) เอกสารรายการ ?ชุดไทย : ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ? (Chud Thai : The Knowledge, Craftsmanship and Practices of The Thai National Costume) (ชุดไทย) และ (2)  เอกสารรายการ ?มวยไทย? (Muay Thai : Thai Traditional Boxing) (มวยไทย)
                    2. เห็นชอบให้อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (คณะกรรมการฯ) เป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอรายการชุดไทยและเอกสารนำเสนอรายการมวยไทย ในฐานะตัวแทนของประเทศไทย เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก
(ตามเอกสารแนวทางการอนุวัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กำหนดให้รัฐภาคียื่นรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี)
                    สาระสำคัญ
          กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารรายการ ?ชุดไทย : ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ? (Chud Thai : The knowledge, Craftsmanship and Practices of The Thai National Costume) และ ?มวยไทย? (Muay Thai : Thai Traditional Boxing) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เนื่องจากทั้งชุดไทยและมวยไทยมีคุณค่าและความสำคัญในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษและส่งเสริมเพื่อต่อยอด รวมทั้งสามารถสะท้อนอัตลักษณ์และภูมิปัญญาไทยได้อย่างชัดเจน โดยชุดไทยถือเป็นมรดกวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยที่แสดงถึงคุณค่าของงานช่างฝีมือ ลวดลายบนผืนผ้า เทคนิคการทอ การออกแบบ และการตัดเย็บเครื่องประดับที่งคงาม ส่วนมวยไทยถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับสืบทอดมาไม่ต่ำกว่า 300 ปี ที่สามารถฝึกฝนและปฏิบัติได้จริงทั้งในแง่ของศิลปะการป้องกันตัวและการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ดังนั้น การเสนอชุดไทยและมวยไทยเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโกจะช่วยสร้างความระหนักรับรู้และภาคภูมิใจของคนไทยให้เห็นคุณค่าความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่มีร่วมกันในประเทศ และกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนและผู้ประกอบอาชีพนำวัตถุดิบทางวัฒนธรรมของไทยที่มีอยู่แล้วไปต่อยอด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้เกิดการกระจายรายได้สู่ทุกภาคส่วนของสังคมควบคู่ไปกับอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน) แล้ว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เคยเสนอรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติแล้ว จำนวน 7 รายการ โดยได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน 4 รายการ ได้แก่ โขน นวดไทย โนรา และสงกรานต์ในประเทศไทย ส่วนอีก 3 รายการ ได้แก่ ต้มยำกุ้ง ผ้าขาวม้า และเคบายา (kebaya)* อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของยูเนสโก
*การขอเสนอรายการมรดกร่วม เคบายา ต่อยูเนสโก มาเลเซียเป็นผู้เสนอหลัก และได้เชิญประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีวัฒนธรรมการสวมใส่เคบายา ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทยร่วมเสนอ

28. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนในการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 10th  Meeting of the Advisory Committee
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 10th  Meeting of the Advisory Committee
                    2. มอบหมายให้อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทส. หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)              ให้อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
                    ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขถ้อยคำในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ในส่วนที่ไม่กระทบต่อสาระสำคัญให้ ทส. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
[สำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่อพยพย้ายถิ่น (Convention on the Conservation of Migratory Species of Wild Animals : CMS) มีกำหนดจัดการประชุม 10th  Meeting of the Advisory Committee ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 3 เมษายน 2567 ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะต้องจัดส่งร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ที่ลงนามแล้วให้สำนักงานเลขาธิการ CMS เพื่อมีหนังสือตอบกลับการเป็นเจ้าภาพร่วมก่อนกำหนดการประชุมดังกล่าว]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ทส. ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการอนุรักษ์และจัดการเต่าทะเล และแหล่งที่อยู่อาศัยในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้* (Memorandum of Understanding on the Conservation and Management of Marine Turtles and Their Habitats of the Indian Ocean and South-Fast Asia : IOSEA Marine Turtle MOU) (บันทึกความเข้าใจฯ) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองอนุรักษ์ เพิ่มจำนวน และฟื้นฟูเต่าทะเล และแหล่งที่อยู่อาศัย บนพื้นฐานของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุด                โดยคำนึงถึงลักษณะทางสภาพแวดล้อม สังคมเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของรัฐที่ลงนาม รวมถึงการอนุวัตพันธกรณีของแผนการอนุรักษ์และการจัดการที่รวมถึงการคุ้มครองแหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าทะเล การลดภัยคุกคาม การวิจัย และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร โดยมีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นหน่วยประสานงานหลัก
                    2. ภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา (Advisory Committee : AC) เพื่อทำหน้าที่ให้การสนับสนุนและให้คำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ เทคนิค และกฎหมาย แก่รัฐผู้ลงนาม ในการดำเนินงานอนุรักษ์และการจัดการเต่าทะเล และแหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าทะเล ซึ่งที่ผ่านมาการประชุม Meeting of the Advisory Committee ถูกจัดไปแล้วทั้งสิ้น 9 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดเมื่อวันที่ 15 - 16 มีนาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
                    3. การประชุม 10th  Meeting of the Advisory Committee จะเป็นการประชุมของกรรมการที่ปรึกษา และผู้แทนที่เกี่ยวข้องกับบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อหารือ ทบทวน และพิจารณา การดำเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงแผนการดำเนินงานของบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างปี 2567 - 2571 โดยมีผู้แทนเข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย (1) คณะกรรมการที่ปรึกษา (2) ผู้ประสานงานหลักในระดับอนุภูมิภาค (3) ประธานหรือรองประธานกลุ่ม Marine Turtle Task Force (4) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (5) ผู้สังเกตการณ์ และ (6) เจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการ CMS รวมทั้งสิ้นประมาณ 20 ราย
                    4. สำหรับการดำเนินการจัดการประชุม 10th  Meeting of the Advisory Committee สำนักงานเลขาธิการ CMS ได้มีหนังสือแลกเปลี่ยน (Exchange of Letters) การร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยขอให้ประเทศไทยร่วมเป็นเจ้าภาพในการประชุม ซึ่งหนังสือแลกเปลี่ยนฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบของประเทศเจ้าภาพและสำนักงานเลขาธิการ CMS สรุปได้ ดังนี้
                              1) สำนักงานเลขาธิการ CMS จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม
                              2) ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการขอรับการตรวจลงตรา (visa) สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
                              3) ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ จะให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบด้านเอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ตามอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสหประชาชาติ
                              4) ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ จะยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อเกิดข้อพิพาทใด ๆ ที่เกี่ยวกับการตีความหรือการดำเนินการตามหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
                    5. การร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวจะเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยที่จะมีบทบาทนำ และแสดงความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์และจัดการเต่าทะเลในระดับภูมิภาคและที่อื่น ๆ เป็นการเสริมสร้างและกระชับความร่วมมือกับนานาประเทศ รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในภาพรวมของประเทศไทย โดยการเข้าถึงและขยายเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ และความร่วมมือในการจัดการกับความท้าทายในการอนุรักษ์เต่าทะเล และแหล่งที่อยู่อาศัย ในระดับภูมิภาคและระดับโลก
                    6. คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ [รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] ในการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่                       5 กุมภาพันธ์ 2567 มีมติรับทราบการเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดการประชุม 10th  Meeting of the Advisory Committee และมอบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
*ปัจจุบันมีสมาชิก 35 ประเทศ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศไทย

29. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ด้านความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และบริษัทไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชั่น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ด้านความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และบริษัทไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชั่น รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ด้านความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และบริษัทไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชั่นตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงพาณิชย์มีภารกิจด้านต่างประเทศในการส่งเสริมและเร่งรัดการส่งออก โดยมุ่งเน้นการขยายตลาดสินค้าและบริการ การให้บริการข้อมูลการค้าและเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก รวมถึงการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและธุรกิจบริการ ทั้งนี้ เพื่อให้
บรรลุเป้าหมายดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์จึงให้ความสำคัญต่อการสร้างพันธมิตรและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจทั้งระดับภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขยายโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่มีความพร้อมในการออกสู่ตลาดต่างประเทศ
                    2. จีนเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายสำคัญในการรุกตลาดต่างประเทศของไทย เนื่องจากจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก (มีประชากร 1,412 ล้านคน) เป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 และผู้นำเข้าอันดับ 2 ของโลก ทำให้จีนมีบทบาทสำคัญด้านเศรษฐกิจและการค้าของโลก
                    3. การค้าระหว่างไทย - จีน ปี 2566 จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าการค้า รวม 104,964.90 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.65 ล้านล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.22 สรุป ดังนี้
                              1) จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของไทย โดยในปี 2566 มีมูลค่าส่งออกไปจีน 34,164 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,176,889 ล้านบาท) ขยายตัวลดลงร้อยละ 0.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง 2) ผลิตภัณฑ์ยาง 3) เม็ดพลาสติก 4) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 5) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายการส่งออกไปจีนในปี 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 34.505 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (1,188,657 ล้านบาท)
                              2) จีนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของไทย โดยมีมูลค่านำเข้าจากจีน 70,800.40 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.47 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 0.05 ทั้งนี้ สินค้านำเข้าหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่            1) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 2) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 3) เคมีภัณฑ์ 4) เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน               5) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
                    4. กระทรวงพาณิชย์จึงได้หารือกับบริษัทไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานรายใหญ่ภายใต้รัฐบาลจีน เพื่อริเริ่มการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการพบหารือระหว่างผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองฝ่ายเมื่อครั้งการยือนนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่               4 - 6 พฤศจิกายน 2566 โดย ร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ด้านความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และบริษัทไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชั่น มีสาระสำคัญของขอบเขตความร่วมมือ ดังนี้
                              1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านโอกาสทางการค้าและการลงทุนในประเทศไทยและจีนรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์หรือการขยายธุรกิจของบริษัทบริษัทไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชั่น      ในประเทศไทย
                              2) การส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าไทยในสถานีบริการน้ำมันบริษัทไชน่า ปิโตรเคมิคอล             คอร์ปอเรชั่น
                              3) การสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจต่าง ๆ เช่น การสัมมนา การประชุม การจับคู่ธุรกิจ งานแสดงสินค้า การจัดคณะผู้แทนการค้า ฯลฯ รวมทั้งแสวงหา ส่งเสริมและพัฒนาโอกาสในการสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
                              4) แสวงหา ส่งเสริม และพัฒนาโอกาสในการสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับกลุ่มสินค้าปิโตรเคมี สินค้าเกษตรและประมง สินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ด้านความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และบริษัทไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าไทยในจีน ผ่านสถานีบริการน้ำมัน 30,000 สาขาภายใต้การบริหารของบริษัท ไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชั่น ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ประเทศไทยและ/หรือภาคอุตสาหกรรมของไทย จะได้รับจากการดำเนินการในเรื่องนี้ คาดว่าการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้ากับบริษัทไชน่า ปิโตรเคมิคอล คอร์ปอเรชั่น จะสามารถจัดให้มีสินค้าไทยในเบื้องต้นจำนวนรายการสินค้าไม่ต่ำกว่า 50 รายการ (SKUs) ในกลุ่มสินค้าเช่น ข้าวหอมมะลิ อาหารแปรรูป ผลไม้แปรรูป ขนมขบเคี้ยว               และผลิตภัณฑ์ยางพารา (จากปัจจุบันซึ่งมีอยู่ในสถานีแล้วเพียงจำนวน 3 รายการ (SKUs) เข้าไปจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ Easy Joy ของบริษัทฯ ซึ่งมีอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน 30,000 สาขาทั่วประเทศจีน คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี ตามอายุของร่างบันทึกความเข้าใจฯ นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้หรือความเชี่ยวชาญของต่างฝ่าย และการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน อันจะมีส่วนช่วยยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยได้โดยปริยาย                  อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องการผลักดันสินค้าของผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตอาหาร สินค้าเกษตรและประมง รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค ให้สามารถขยายสู่ตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น ตลอดจนสอดรับกับนโยบายการเร่งส่งเสริมการสร้างพันธมิตรและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ และขยายขอบเขตการทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยต่อยอดจากผลการพบหารือระหว่างผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นรูปธรรม

30. เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                      คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเดินทางเยือนนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ของรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และคณะผู้บริหารระดับสูง กระทรวงพาณิชย์ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
                      สาระสำคัญของเรื่อง
                       กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) รายงานว่า
                     1. นับตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปี 2565 จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย การค้าระหว่างไทย-จีน ปี 2566 (มกราคม- พฤศจิกายน-2566) มีมูลค่ารวม 96,824.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.28 แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 31,553.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.99 การนำเข้ามูลค่า 65,271.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 0.77 ไทยขาดดุลการค้า -33,717.72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับมณฑลยูนนานตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งใกล้ประเทศไทยมากที่สุด จึงเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญและประตูการค้าที่เชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคอาเซียน จีน และเอเชียใต้ โดยในปี 2566 (มกราคม - ตุลาคม 2566) มูลค่าการค้าไทย - ยูนนาน รวม 1,730.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.23 แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 1,226.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.90 และการนำเข้ามูลค่า 503.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 53.57 สินค้าที่นำเข้าจากไทย 5 ลำดับแรก ได้แก่ ผลไม้ ไก่แช่แข็งและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เครื่องจักรกลและส่วนประกอบและสินค้าที่มีการจำแนกเป็นพิเศษ
                     2. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของ พณ. ได้เดินทางเยือนนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน จีน ระหว่างวันที่ 17 - 18 ธันวาคม 2566 เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ?Thai - Yunnan Quick Win Business Matching and Networking? โดยได้เป็นสักขีพยานลงนามในพิธีลงนาม MOU ระหว่างผู้ประกอบการไทย - จีน ซึ่งได้มีการลงนาม MOU จำนวน 3 ฉบับ เป็นการตกลงสั่งซื้อสินค้าแป้งมันสำปะหลังสตาร์ชที่ผลิตได้จากหัวมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์กาแฟจากประเทศไทย คิดเป็นมูลค่ารวม 5,077.50 ล้านบาท เพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกร ผลักดันราคาหัวมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์กาแฟในประเทศไทย นอกจากนี้ ได้มีการหารือกับภาคเอกชนไทยที่ดำเนินธุรกิจในจีน โดยหารือกับเจ้าของร้านอาหารไทยคุ้มจันทร์เจ้า (Thai SELECT) ซึ่งเป็นประธานสมาคมนักธุรกิจไทยในจีนตะวันตกเฉียงใต้ และผู้บริหารบริษัท Yunnan Dimiao E-Commerce จำกัด ซึ่งร้านอาหารคุ้มจันทร์เจ้าเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดัน Soft Power ของไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศผ่านอาหารไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ พณ. กำลังดำเนินการ ทั้งนี้ ได้ขอความร่วมมือให้ขยายการนำเข้าสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าจาก SMEs สู่ตลาดจีนทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
                     3. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ผลักดันการส่งออก ?เร่งขยับตัวเลขการส่งออกเปลี่ยนจากลบให้เป็นบวก? โดยส่งเสริมการเจาะตลาดเมืองหลักและเมืองรองรายมณฑลในจีนในเชิงรุกผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้น การเดินทางเข้าร่วมงานฯ ของรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถือเป็นการบูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออก
                     4. พณ. ได้เสนอแนวทางการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
                                     4.1 พณ. จะจัดงาน Top Thai Brands Kunming 2024 และ 2025 เพื่อสนับสนุผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าสุขภาพและความงาม ตลอดจนสินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ เป็นต้น
                                     4.2 เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศจีน รวมถึงพิจารณาให้ความร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดสินค้าไทย เพื่อแนะนำสินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักของชาวจีนเพิ่มขึ้น และส่งเสริมการเปิดตลาดให้กับผู้ประกอบการของไทยต่อไป

แต่งตั้ง
31. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่น (ผู้แทนกองทัพอากาศและผู้ทรงคุณวุฒิ) ในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการอื่น (ผู้แทนกองทัพอากาศและผู้ทรงคุณวุฒิ) ในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จำนวน 5 คน เพื่อแทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ ขอลาออก และดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้
                      1. พลอากาศตรี นาถวุฒิ หยูทอง ผู้แทนกองทัพอากาศ
                     2. นางชาริตา ลีลายุทธ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารกิจการการบินพาณิชย์
                     3. นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
                      4. นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน หรือการคลัง
                     5. นายโชติชัย เจริญงาม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารจัดการ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายกิตติ กรรภิรมย์ สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งรองประธานกรรมการคนที่สองและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเสนอแต่งตั้งรองประธานกรรมการคนที่สอง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รวม 9 คน เนื่องจากรองประธานกรรมการคนที่สองและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ดังนี้
                     1. นายสุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย  รองประธานกรรมการคนที่สอง
                     2. รองศาสตราจารย์วิทยา กุลสมบูรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ)
                     3. นายพิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการพัฒนาชุมชน)
                     4. นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน (ด้านการสื่อสารมวลชน)
                     5. รองศาสตราจารย์สรนิต ศิลธรรม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน (ด้านการศึกษา)
                     6. นางประภาศรี บุญวิเศษ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการกีฬา)
                     7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนวันต์ สินธุนาวา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน (ด้านศิลปวัฒนธรรม)
                     8. นายเสรี นนทสูติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน (ด้านกฎหมาย)
                     9. นายสัมพันธ์ ศิลปนาฏ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน (ด้านการบริหาร)
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จำนวน 8 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้
                     1. นายเธียรชัย ณ นคร                                 ด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม
                     2. นายสุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล                       ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ
                     3. นายขวัญชัย ดวงสถาพร                     ด้านทรัพยากรป่าไม้และนิเวศวิทยา
                      4. นายสุทิน เวียนวิวัฒน์ (ภาคเอกชน)           ด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
                     5. นายยงธนิศร์ พิมลเสถียร (ภาคเอกชน) ด้านอนุรักษ์ศิลปกรรม/ ภูมิสถาปัตย์และสิ่งแวดล้อมเมือง
                     6. นายปานเทพ รัตนากร (ภาคเอกชน)           ด้านบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                     7. นายชวลิต รัตนธรรมสกุล (ภาคเอกชน)           ด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม
                     8. นายวรพล จันทร์งาม                      ด้านสังคมและการมีส่วนร่วม
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปฐมพร ศิรประภาศิริ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (สาขาแพทยศาสตร์) ในคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิม ที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

36. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน รวม 3 คน เพื่อแทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
                     1. พลเอก ดิเรก ดีประเสริฐ                     ประธานกรรมการ
                     2. ศาสตราจารย์พิสุทธิ์ เพียรมนกุล           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     3. นายดรุฒ คำวิชิตธนาภา                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

37. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ ดังนี้
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                     ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกรรมการ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ นายไชยเจริญ อติแพทย์ นายยรรยง เต็งอำนวย รองศาสตราจารย์วรา วราวิทย์ นายวิษณุ ตัณฑวิรุฬห์ ศาสตราจารย์พิสุทธิ์ เพียรมนกุล นายสุพงษ์พิธ รุ่งเป้า นายคมสัน ศรีวนิชย์ นายศักดา นาคเลื่อน นายศุภกร คงสมจิตต์ นายอัมภัส ปิ่นวนิชย์กุล นายกฤษณะ สมทรัพย์ นายอภิชาติ ประเสริฐ โดยมีผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกรรมการ และเลขานุการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้อำนวยการกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  และผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                      หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
                      1. พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสม เสนอแนะแนวทางการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ องค์การมหาชน ที่ใช้งบประมาณแผ่นดิน รวมถึงแหล่งเงินอื่นที่นอกเหนือจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาระที่รัฐจะต้องตั้งงบประมาณชดใช้ ในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป โดยเฉพาะการบูรณาการงบประมาณ เทคโนโลยี และการใช้ข้อมูลร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการ รวมทั้งให้มีการใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกันในการพิจารณาการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                     2. พิจารณาติดตามแผนงานและโครงการที่ได้ให้ความเห็นชอบของส่วนราชการและรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ
                     3. พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ
                      4. พิจารณากำหนด และเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องราคาและคุณลักษณะของระบบคอมพิวเตอร์           ที่เหมาะสมกับลักษณะงานต่าง ๆ
                     5. เสนอแนะข้อวินิจฉัย ปัญหาและแนวทางปฏิบัติในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย
                     6. ให้มีอำนาจเชิญเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง เสนอข้อมูล และ/หรือเอกสารประกอบ             การพิจารณาได้ตามความจำเป็น
                      7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
                      8. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

38. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมอบหมายเป็นหลักการให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอ ดังนี้
                     1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ)
                     2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)

39. เรื่อง การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) กำกับการบริหารราชการ สั่ง และปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอรับโอน นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร (เงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) (เงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมการโอนแล้ว

40. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางวิเรขา สันตะพันธุ์                                ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร          แทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ เนื่องจากลาออก ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ