สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 เมษายน 2567

ข่าวการเมือง Tuesday April 9, 2024 17:35 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (9 เมษายน 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติในการตรวจและ                                        รับผลทุเรียน สำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความใน                                                  พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบางส่วนแก่                                                  นายจ้าง ซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่                                        ด้วย พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่น                                        คำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... และร่าง                                        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจาก                                                  ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ทั้งในประเทศ                                        และต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจ                                                  วิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องมือ                                                  แพทย์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ

เศรษฐกิจ-สังคม
                    5.           เรื่อง           แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2567                                                   (แผนปฏิบัติการประจำปี 2567)
                    6.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่                                         1/2567 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมกราคม 2567
                    7.           เรื่อง           รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2566
                    8.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 2/2567
                    9.           เรื่อง           ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน                                                   10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
                    10.           เรื่อง           ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ. 2568
                    11.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลาง                                                  ก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หรืองบประมาณ                                        รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี                                        ฉุกเฉินหรือจำเป็น แล้วแต่กรณี สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง
                    12.           เรื่อง           การทบทวนวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    13.           เรื่อง           การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ต่างประเทศ
                    14.           เรื่อง          ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดน                                        ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 8
                    15.           เรื่อง           การนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ?สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริม                                                  ทะเลสาบสงขลา? เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
                    16.            เรื่อง           ร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์
                    17.           เรื่อง           ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย -                                                   เวียดนาม ครั้งที่ 5
                    18.           เรื่อง           การขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาใน                                        หรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6)

แต่งตั้ง
                    19.           เรื่อง           การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย                                         พ.ศ. 2527 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียน สำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                       1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ เป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                      1. เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยผลิตและส่งออกสูงแต่มักพบปัญหาการเร่งตัดทุเรียนเพื่อการบริโภคสดก่อนถึงอายุเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ทุเรียนไม่แก่ออกสู่ตลาด ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและทำลายสภาวะการค้าในภาพรวม ดังนั้น เพื่อให้มีหลักปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน จึงจำเป็นต้องมีหลักปฏิบัติสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุทุเรียน เพื่อช่วยสนับสนุนการจำหน่ายผลทุเรียนที่แก่ มีคุณภาพตามมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคและเวทีการค้า ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพของทุเรียนไทยเพื่อรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก กษ. โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จึงได้จัดทำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
                      2. ในคราวประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ และเห็นชอบกำหนดให้มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานบังคับ
                      3. กษ. ได้นำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ มาดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นก่อนออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานบังคับต่อไป ตามมาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ซึ่งบัญญัติให้เมื่อคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเห็นด้วยกับรายละเอียดของร่างมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรใดและกำหนดให้เป็นมาตรฐานบังคับ ให้คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรนั้นเป็นมาตรฐานบังคับ โดยก่อนออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานบังคับ ให้ มกอช. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง หากคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเห็นสมควรกำหนดให้เป็นมาตรฐานทั่วไปแล้ว ให้คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรเป็นมาตรฐานทั่วไป โดย มกอช. ได้นำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ เผยแพร่ลงบนเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (www.acfs.go.th) เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) เป็นเวลา 45 วัน และแจ้งเวียนประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นเวลา 60 วัน รวมทั้งจัดทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการ รวมจำนวน 233 หน่วยงาน มีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตรดังกล่าว รวมจำนวนทั้งสิ้น 32 ราย เห็นด้วย 28 ราย และไม่เห็นด้วย 4 ราย
                      4. ในคราวประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 เห็นชอบกำหนดให้มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุเป็นมาตรฐานบังคับ โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเห็นชอบร่างกฎกระทรวงฯ โดยมอบ มกอช. จัดทำร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป (ส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน) ก่อนดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดเป็นมาตรฐานบังคับ (กำหนดให้สินค้าเกษตรต้องเป็นไปตามมาตรฐาน)
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     กำหนดให้มาตรฐานสินค้าเกษตร เลขที่ มกษ. 9070 ? 2566 ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 เป็นมาตรฐานบังคับ เช่น ผู้ประกอบการโรงรวบรวมหรือโรงคัดบรรจุต้องมีมาตรการการตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียน ก่อนรับเข้าสู่การจัดการ ต้องตรวจพินิจลักษณะภายนอกของผลทุเรียนทุกผลจากทุกรุ่น มีการคัดแยกผลทุเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ และทำการแยกไว้ต่างหากในบริเวณที่ติดป้ายบ่งบอกชัดเจน ห้ามนำเข้าสู่การจัดการและห้ามนำไปจำหน่ายเพื่อบริโภคสดและต้องบันทึกข้อมูลการคัดแยก และการจัดการกับผลทุเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ไว้เป็นหลักฐาน มีการตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน ต้องตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียน โดยนำผลทุเรียนที่ผ่านการคัดแยกแล้วว่าเป็นผลทุเรียนแก่มาตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน ซึ่งน้ำหนักจะต้องผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด ผู้ควบคุมการเก็บเกี่ยวต้องมีความรู้ความชำนาญ และมีหลักฐานแสดงว่าได้รับการฝึกอบรมและผ่านการทดสอบเรื่องการเก็บผลทุเรียนแก่หรือได้รับการประเมินความสามารถ โดยโรงรวบรวมหรือโรงคัดบรรจุหรือได้รับการฝึกอบรมและผ่านการทดสอบเรื่องการเก็บเกี่ยว ผลทุเรียนแก่จากหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่ภาครัฐให้ความเห็นชอบ โดยกฎกระทรวงนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ มท. เสนอว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ซึ่งกำหนดให้ห้ามก่อสร้างอาคาร จำนวน 5 ประเภท ได้แก่ 1) โรงงานอุตสาหกรรม 2) อาคารพิเศษ 3) ห้องแถว 4) ตึกแถว (5) อาคารที่มีความสูงกว่า 172 เมตร และ 6) หอถังน้ำที่มีความสูงกว่า       18 เมตร ภายในเขตท้องที่บางแห่ง ในตำบลบางปูใหม่ ตำบลท้ายบ้าน และตำบลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยครอบคลุมพื้นที่เมืองโบราณและบริเวณโดยรอบ รวมพื้นที่ 4,100 ไร่ ประกอบด้วยที่ดินของเอกชน ที่ดินของเมืองโบราณ ที่ดินของการเคหะแห่งชาติ และที่ดินราชพัสดุในความครอบครองดูแลของกรมธนารักษ์ ด้วยข้อกำหนดตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6ฯ จึงส่งผลให้พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พื้นที่บริเวณนี้และบริเวณโดยรอบได้ อีกทั้งปัจจุบันพื้นที่บริเวณดังกล่าวได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณนี้แล้ว และคณะกรรมการควบคุมอาคาร ครั้งที่ 1509 - 22/2565 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว ดังนั้น มท. จึงยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไป
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                      ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบางส่วนแก่นายจ้าง ซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบางส่วนแก่นายจ้าง ซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ รง. เสนอว่า
                      1. ปัจจุบันได้มีกฎกระทรวง (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน         พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดไม่ให้นำบทบัญญัติบางส่วนในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับกับนายจ้าง ซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย โดยจะส่งผลให้ลูกจ้างดังกล่าวได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงานบางประการเท่านั้น ประกอบกับกฎกระทรวงดังกล่าวได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ส่งผลให้มีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงานของลูกจ้าง ที่ทำงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วยในปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้านให้เป็นมาตรฐานสากล ลดระดับความเหลื่อมล้ำของสังคม และสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ รง. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบางส่วนแก่นายจ้าง ซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย พ.ศ. .... เพื่อขยายความคุ้มครองตามกฎหมายของลูกจ้างดังกล่าวเพิ่มเติม
                     2. รง. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ระหว่างวันที่ 12 - 27 พฤษภาคม 2566 รวมทั้งจัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายด้วยแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อเพิ่มความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานบ้าน อันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย ดังนี้
                      1. ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง (มาตรา 23)
                     2. ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง (มาตรา          27 วรรคหนึ่ง)
                      3. ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน (มาตรา 34)
                      4. ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึงเวลา 06.00 น. ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด (มาตรา 39/1 วรรคหนึ่ง)
                     5. ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน (มาตรา 41)
                     6. ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ (มาตรา 43)
                     7. ให้นายจ้างแจ้งการจ้างและแจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ต่อพนักงานตรวจแรงงาน (มาตรา 45 (1) (3) และวรรคสอง)
                     8. ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึกหรือลาเพื่อการอื่น ซึ่งจัดโดยสถานศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน (มาตรา 52)
                      9. ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 59)
                     10. ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (มาตรา 76)
                     11. ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (มาตรา 90)

4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                      1. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      2. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      สธ. เสนอว่า
                     1. ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2560 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2560 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 77/2559 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2559 เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาต ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งกำหนดกลไกในกระบวนการพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีขั้นตอนในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการหรือการตรวจสอบ เพื่อให้การพิจารณาอนุญาตมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
                     2. ต่อมาพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ได้บัญญัติเพิ่มส่วนที่ 1 กระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ไว้ในหมวด 2 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 โดยมาตรา 63 บัญญัติให้ประกาศที่ออกตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 77/2559 เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นำมาใช้บังคับกับส่วนที่ 1 กระบวนการพิจารณาอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ในหมวด 2 การจดทะเบียนสถานประกอบการ การขออนุญาต และการอนุญาต การแจ้งรายการละเอียด และการจดแจ้ง ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551              ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 จนกว่าจะมีประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ใช้บังคับ และเมื่อประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ให้ประกาศที่ออกตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์เป็นอันยกเลิก
                      3. ดังนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 35/4 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการเครื่องมือแพทย์ มีอำนาจประกาศกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และประกาศกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ทั้งนี้ อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุด และอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุด เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้ใช้บังคับได้ สธ. จึงได้ยกร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ       หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... เพื่อกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ และกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ โดยกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายและอัตราค่าขึ้นบัญชียังคงเป็นอัตราเดิมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง 2 ฉบับตามข้อ 1 ในคราวประชุมคณะกรรมการเครื่องมือแพทย์ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าว รวม 2 ฉบับ แล้ว
                     4. สธ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างประกาศดังกล่าว รวม 2 ฉบับ โดยได้จัดประชุมและรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา และระบบกลางทางกฎหมาย และได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมถึงเปิดเผยเอกสารดังกล่าวทางเว็บไซต์ดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 รวมทั้งได้ดำเนินการวิเคราะห์การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามร่างประกาศในเรื่องนี้ รวม 2 ฉบับ โดยพิจารณาถึงปัจจัยต้นทุนในการดำเนินการ ภาระหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชน และประโยชน์ที่ได้รับด้วยแล้ว โดยที่ยังคงเป็นอัตราเดิมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2560 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุด ที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2560
                     5. มาตรา 35/5 พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้ค่าใช้จ่ายและค่าขึ้นบัญชีที่จัดเก็บได้ ให้เป็นเงินของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำกิจการในหน้าที่และอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน และให้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายกำหนด จึงอาจทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้จากการไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งเงินรายได้จากการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้านเครื่องมือแพทย์ จากปีงบประมาณ 2565 ประมาณ           24 ล้านบาท แต่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปีงบประมาณ 2565 ประมาณ 26 ล้านบาท การนำเงินรายได้ดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายจากงบประมาณภาครัฐ
                      สาระสำคัญของร่างประกาศ
                     ร่างประกาศ รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ และกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ รายละเอียด ดังนี้
                     1. ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ....
                                 1.1 กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุด ดังนี้
                                           1.1.1 บัญชี 1 การประเมินเอกสารทางวิชาการ และการตรวจสถานประกอบการ
รายการ          หน่วยนับ          อัตราสูงสุด (บาท)
1. การประเมินเอกสารทางวิชาการเครื่องมือแพทย์
   1.1 การประเมินตามคำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ คำขอแจ้งรายการละเอียดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเอกสารวิชาการ โดยกำหนดอัตราตามระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ ดังนี้
       (1) เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 4 (ที่มีความเสี่ยงสูง)          คำขอละ          110,000
       (2) เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 3          คำขอละ          79,000
       (3) เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 2          คำขอละ          48,000
       (4) เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 1          คำขอละ          32,000
   1.2 การประเมินตามคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้รับอนุญาต หรือแจ้งรายการละเอียด ที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเอกสารวิชาการ โดยกำหนดอัตราตามระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ ดังนี้
      (1) เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 4          คำขอละ          79,000
      (2) เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 3          คำขอละ          55,000
      (3) เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 2          คำขอละ          40,000
      (4) เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 1          คำขอละ          24,000
   1.3 การประเมินตามคำขออนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ ที่ต้องให้ ผู้เชี่ยวชาญประเมินเอกสารวิชาการ          คำขอละ          25,000
   1.4 การประเมินตามคำขอหนังสือรับรองการวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ การจัดระดับความเสี่ยง หรือการจัดกลุ่มเครื่องมือแพทย์ ที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเอกสารวิชาการ          คำขอละ          48,000
   1.5 การประเมินตามคำขอผ่อนผันตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 หรือคำขออื่นที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินหรือตรวจสอบ เช่น การผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์เพื่อการศึกษาวิจัย          คำขอละ          19,000
2. การตรวจประเมินสถานประกอบการ เพื่อจดทะเบียนสถานประกอบการ หรือรับรองระบบคุณภาพ
   2.1 การตรวจประเมินเพื่อออกใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิต และการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการหรือการต่ออายุ          คำขอละ          40,000
   2.2 การตรวจประเมินเพื่อออกใบจดทะเบียนสถานประกอบการ นำเข้า หรือใบอนุญาตขาย และการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการหรือการต่ออายุ*          คำขอละ          15,000
   2.3 การตรวจประเมินเพื่อออกหนังสือรับรองตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ดีในการผลิตเครื่องมือแพทย์ (GMP)
         (1) การตรวจประเมินจากเอกสารระบบคุณภาพ (Quality system document evaluation/Paper assessment)          คำขอละ          63,000
         (2) การตรวจประเมินเพื่อออกหนังสือรับรองตามหลักเกณฑ์ GMP รวมทั้งตรวจติดตาม และตรวจต่ออายุ
             1) สถานที่ผลิตอยู่ในประเทศไทย
             2) สถานที่ผลิตอยู่ในต่างประเทศ (On-site GMP inspection at the overseas manufacturers)

คำขอละ
คำขอละ

450,000
675,000
   2.4 การตรวจประเมินสถานที่ภายในประเทศเพื่อออกหนังสือรับรองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์ (GDP)          คำขอละ          340,000
   2.5 การตรวจประเมินเพื่อออกหนังสือรับรองตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ดีเบื้องต้นในการกระจายเครื่องมือแพทย์ (Primary GDP)          คำขอละ          135,000
   2.6 การประเมินการศึกษาวิจัยเครื่องมือแพทย์ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ดีในการศึกษาวิจัยทางคลินิก (GCP) (Protocol + Site visits)          คำขอละ          630,000
                                          1.1.2 บัญชี 2 การพิจารณาหรือการตรวจสอบใด ๆ นอกจากบัญชี 1
รายการ          หน่วยนับ          อัตราสูงสุด (บาท)
1. การตรวจสอบและสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต (หมายถึง ไม่รวมค่าบริการค้นหาและขนส่งเอกสารจากหน่วยงาน ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและเช่าสถานที่เพื่อจัดเก็บ และไม่รวมการคัดสำเนาเอกสาร)          รายการละ          2,000
2. การพิจารณาตอบข้อหารือ การสอบถาม หรือให้บริการข้อมูลทั่วไป โดยตอบเป็นหนังสือ          รายการละ          2,000
3. การพิจารณาวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ การจัดประเภทเครื่องมือแพทย์ตามความเสี่ยง หรือการจัดกลุ่มเครื่องมือแพทย์ (grouping) โดยตอบเป็นหนังสือ (กรณีไม่ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินหรือตรวจสอบ)
   3.1 วินิจฉัยผลิตภัณฑ์ว่าเป็นเครื่องมือแพทย์หรือไม่
   3.2 การจัดประเภทเครื่องมือแพทย์ตามความเสี่ยง
   3.3 การจัดกลุ่มเครื่องมือแพทย์ (grouping)          รายการละ          3,800
4. การพิจารณาให้ความเห็นเรื่องฉลากหรือเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ โดยตอบเป็นหนังสือ
   4.1 กรณีไม่ต้องหารือหรือไม่ต้องประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมิน หรือตรวจสอบ          รายการละ          2,500
   4.2 กรณีต้องหารือหรือต้องประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมิน หรือตรวจสอบ          รายการละ          20,000
5. การพิจารณาให้คำปรึกษาทางวิชาการเฉพาะเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์

   5.1 ด้านการผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์เพื่อการวิจัยและพัฒนา และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
        - ปรึกษาแบบโครงการ          โครงการละ          125,000
        - ปรึกษารายครั้ง          ครั้งละ          2,500
   5.2 ด้านสถานที่และระบบคุณภาพการผลิต การนำเข้า การขายเครื่องมือแพทย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
        - แบบแปลนสถานที่ผลิต และหลักเกณฑ์ระบบคุณภาพการผลิต          ครั้งละ          25,000
        - แบบแปลนสถานที่นำเข้าหรือขาย และหลักเกณฑ์ระบบคุณภาพการนำเข้าหรือขาย          ครั้งละ          13,000
   5.3 ด้านผลิตภัณฑ์และมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ การขออนุญาต การแจ้งรายการละเอียด การจดแจ้ง การขอผ่อนผันต่าง ๆ หรือเอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง          ครั้งละ          2,500
   5.4 ด้านโฆษณาเครื่องมือแพทย์ หรือการขออนุญาต และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง          ครั้งละ          2,000
6. การตรวจสอบการบันทึกข้อมูลในการยื่นคำขอในระบบ E-submission (กรณีที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลให้)          รายการละ          700
7. การตรวจสอบข้อมูลการขอจดแจ้งผลิตเครื่องมือแพทย์ และการขอต่ออายุ          คำขอละ          3,000
8. การตรวจสอบข้อมูลการขอจดแจ้งนำเข้าเครื่องมือแพทย์ และการขอต่ออายุ          คำขอละ          6,000
9. การตรวจสอบคำขอผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 27 (5) (6) (7) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551          รายการละ          1,500
10. การตรวจสอบคำขอนำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 27 (5) (6) (7) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551          รายการละ          3,000
หมายเหตุ : เป็นอัตราเดียวกับที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุด ที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2560
                                  1.2 กำหนดให้อาจมีการพิจารณาทบทวนอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดในบัญชีแนบท้ายทุก 5 ปี หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นอื่น

                     2. ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ....
                                 2.1 กำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุด ดังนี้


รายการ

หน่วยนับ          อัตราสูงสุด
(บาท)
                    ผู้เชี่ยวชาญ          องค์กรหรือหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญ
1. ค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารวิชาการ(1)
   1.1 การพิจารณาคำขอขึ้นบัญชี หรือคำขออื่นที่เกี่ยวข้อง          คำขอละ          3,000          10,000
   1.2 การตรวจประเมินผู้เชี่ยวชาญ โดยตรวจประเมินการปฏิบัติงานจริง เพื่อการขึ้นบัญชี การขยายขอบข่าย การแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือการตรวจติดตาม*          คนละ          10,000          300,000
   1.3 การตรวจประเมินระบบ โดยพิจารณาจากเอกสาร หรือการตรวจประเมิน ณ สำนักงานขององค์กร หรือหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการขึ้นบัญชี การขยายขอบข่าย การแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือการตรวจติดตาม*          แห่งละ          -          40,000
  1.4 การขึ้นบัญชี          ฉบับละ          5,000          50,000
2. ค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำหน้าที่ในการตรวจประเมินสถานประกอบการ(2)
   2.1 การพิจารณาคำขอขึ้นบัญชี หรือคำขออื่นที่เกี่ยวข้อง          คำขอละ          3,000          10,000
   2.2 การตรวจประเมินสมรรถนะของผู้ตรวจประเมินสถานประกอบการโดยตรวจประเมินการปฏิบัติงานจริง เพื่อการขึ้นบัญชี การขยายขอบข่าย การแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือการตรวจติดตาม*          คนละ          10,000          40,000
   2.3 การตรวจประเมินระบบ โดยพิจารณาจากเอกสาร หรือการตรวจประเมิน ณ สำนักงานของหน่วยตรวจประเมินสถานประกอบการเพื่อการขึ้นบัญชี การขยายขอบข่าย การแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือการตรวจติดตาม*          แห่งละ          -          50,000
   2.4 การขึ้นบัญชี          ฉบับละ          5,000          75,000
3. ค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ตรวจวิเคราะห์ หรือทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
   3.1 การพิจารณาคำขอขึ้นบัญชี หรือคำขออื่นที่เกี่ยวข้อง          คำขอละ          -          10,000
   3.2 การตรวจประเมินหน่วยตรวจสอบ หน่วยตรวจ วิเคราะห์ หรือหน่วยทดสอบทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการขึ้นบัญชี การขยายขอบข่าย การแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือการตรวจติดตาม*          แห่งละ          -          40,000
   3.3 การขึ้นบัญชี          ฉบับละ          -          50,000
หมายเหตุ : เป็นอัตราเดียวกับที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2560
            * หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พักของคณะผู้ตรวจประเมินให้ผู้ยื่นคำขอขึ้นบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบ
             (1) หมายถึง อัตรานี้คำนวณจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 คน
             (2) หมายถึง อัตรานี้คำนวณจากผู้ตรวจประเมินสถานประกอบการ จำนวน 1 คน
                                  2.2 กำหนดให้อาจมีการพิจารณาทบทวนอัตราค่าขึ้นบัญชีในบัญชีแนบท้ายทุก 5 ปี หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นอื่น

เศรษฐกิจ-สังคม
5. เรื่อง แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2567 (แผนปฏิบัติการประจำปี 2567)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2567  (แผนการใช้จ่ายเงินฯ) (แผนปฏิบัติการประจำปี 2567)  ซึ่งเป็นโครงการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวม 8 หน่วยงาน จำนวน 212 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 530.09 ล้านบาท โดยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ1 (คณะกรรมการบริหารฯ) รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ของกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่กำหนดไว้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. คณะกรรมการบริหารฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 (29 พฤษาคม 2566) ครั้งที่ 3/2566      (4 กันยายน 2566) และครั้งที่ 4/2566  (1 ธันวาคม 2566) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน) ได้มีมติอนุมัติแผนการใช้จ่ายเงินฯ โดยเป็นโครงการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวม 8 หน่วยงาน จำนวน 212 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 530.09 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ชื่อโครงการ/โครงการย่อย          จำนวน
โครงการ          วงเงิน
(ล้านบาท)
(1) แผนปฏิบัติการด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ          49          413.01
          (1.1) การผลักดันคลัสเตอร์เป้าหมาย เช่น โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติโครงการพัฒนาและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสินค้าเกษตร อาหาร และธุรกิจบริการบริการอาหาร โครงการพัฒนาและส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ โครงการส่งเสริมธุรกิจบันเทิงไทยในงาน Cannes Film Festival 2024          39          371.71
          (1.2) การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ เช่น โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ (New Economy Academy) โครงการจัดสัมมนา ?ATA Camet Passport of the Goods?          4          14.77
          (1.3) การพัฒนาส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการสร้างภาพลักษณ์และส่งสริมการสร้างแบรนด์สินค้าและบริการ เช่น โครงการสร้างแบรนด์ประเทศไทยในด้านการค้าและบริการ          3          15.22
          (1.4) การพัฒนาองค์กรสู่อนาคต เช่น โครงการสนับสนุนค่าบำรุงสมาชิกของหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย          6          11.30
(2) แผนปฏิบัติการด้านการเจรจาเชิงรุกเพื่อเปิดตลาด เช่น โครงการประชุมความร่วมมือทางการค้าข้าว โครงการประชุมเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา          148          55.09
(3) แผนปฏิบัติการด้านการเร่งรัดทำการตลาดเชิงกลยุทธ์          15          61.99
          (3.1) การรุกตลาดศักยภาพเดิม เปิดเพิ่มตลาดใหม่ และขยายสัดส่วนการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดโลก เช่น โครงการงานแสดงสินค้า Thailand Week 2024 เจนไน โครงการพัฒนาและส่งเสริมการค้าและธุรกิจในต่างประเทศ ตลาดแอฟริกาและตะวันออกกลาง          14          56.39
          (3.2) การผลักดันการค้าผ่านช่องทางตลาดพาณิชย์ดิจิทัลและช่องทางกระจายสินค้ารูปแบบใหม่ ได้แก่ โครงการเจาะตลาดสินค้า E Commerce ผ่านสื่อสมัยใหม่          1          5.60
รวม          212          530.09

                    2. ประโยชน์ที่ไทยได้รับ
                              2.1 ด้านเศรษฐกิจ ช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้ผู้ประกอบการไทย เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในโลกการค้าปัจจุบันและเพิ่มช่องทางการตลาด ทำให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสเจรจาการค้ากับผู้ซื้อรายใหม่ ๆ รวมถึงประชาสัมพันธ์สินค้า/บริการของผู้ประกอบการไทยสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศอันจะมีส่วนช่วยให้มูลค่าการส่งออกเติบโต
                              2.2 ด้านการดำเนินโครงการ ส่งเสริมการบริหารกิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องใช้ความเร่งด่วน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงในโลกการค้าปัจจุบัน (Mega Trend) ตลอดจนการรักษาตลาดเดิมขยายตลาดใหม่ การผลักคันการค้าชายแดน รวมทั้งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการส่งออกให้สามารถดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
                              2.3 ด้านงบประมาณ  กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสามารถอนุมัติจัดสรรให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเร่งรัด ผลักดัน  และแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการค้าระหว่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
1กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พณ. จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

6. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2567 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมกราคม 2567
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2567 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมกราคม 2567  ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                              ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีค่าอยู่ที่ 89.35 ลดลงร้อยละ 5.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการปรับตัวลดลงเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน จากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศที่ลดลงตามการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ประกอบกับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินจึงมีความเข้มงวดมากขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการเงินและภาระหนี้ของผู้ประกอบการที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่ชะลอตัวในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 อาทิ ยานยนต์  จากการผลิตรถปิคอัพ 1 ตัน เป็นหลัก โดยเป็นผลจากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากรายได้เกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักปรับลดลงจากปีก่อน ส่งผลให้กำลังซื้อชะลอตัว ประกอบกับภาระหนี้สินภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตามการชะลอตัวของตลาดโลก ทำให้ความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง  คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ปรับตัวลดลงจาก Hard Disk Drive เป็นหลักจากความต้องการอุปกรณ์การจัดเก็บชะลอตัว ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีอุปกรณ์อื่น ๆ  ในการจัดเก็บข้อมูลมีพื้นที่จัดเก็บมากและประสิทธิภาพสูงขึ้น สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวในไตรมาสที่ 4 ปี 2566  อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ตามการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีโรงกลั่นบางโรงหยุดซ่อมบำรุง  สายไฟและเคเบิลอื่นๆ ชนิดใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าเป็นหลัก เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากการไฟฟ้าตามรอบการบำรุงรักษา ประกอบกับมีงานโครงการต่าง ๆ               ทั้งภาครัฐ และเอกชนส่งผลให้ความต้องการใช้สายไฟฟ้ามีมากขึ้น เยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของตลาดออนไลน์ ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งขยายตัว ความต้องการผลิตภัณฑ์หีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษจึงมีความต้องการมากขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะสินค้ากึ่งคงทนและสินค้าคงทนปรับตัวลดลง เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวในกลุ่มรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมกราคม 2567 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
1. ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 9.63 จากรถบรรทุกปิคอัพและรถยนต์นั่งขนาดเล็กเป็นหลัก โดยหดตัวจากตลาดในประเทศ (-27.90%) ตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวภายในประเทศ ปัญหาหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงทำให้สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่ามากขึ้น และหดตัวจากตลาดส่งออก (-3.92%)
2. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 6.45 จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เป็นหลัก
3. ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 17.71 จากภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกที่อยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัวจากการหดตัวในปีก่อน
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมกราคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
1. เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่มบรรจุขวด ขยายตัวร้อยละ 14.16                      จากน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสผลไม้ และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เป็นหลัก ตามความต้องการบริโภคหลังสภาพอากาศร้อนขึ้นรวมถึงมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตรงกับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า
2. ปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน ขยายตัวร้อยละ 58.68 จากราคาปุ๋ยปรับลดลงและสินค้าเกษตรได้ราคาดี เกษตรกรมีกำลังซื้อปุ๋ยมากขึ้น
3. เครื่องประดับเพชรพลอยแท้ ขยายตัวร้อยละ 19.00 ตามการขยายตัวของตลาดในประเทศ (+54.38%) และตลาดส่งออก (+15.08%) โดยเฉพาะคู่ค้าหลักสำคัญ (ฮ่องกง อังกฤษ และ UAE) ที่ยังมีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่อง รวมถึงฐานต่ำในปีก่อนจากปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก
แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1/2567
อุตสาหกรรม          เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา       และอาจส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม การเร่งก่อสร้างโครงการภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวเล็กน้อยประมาณร้อยละ 1.0-3.0 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูง อาจส่งผลต่อความสามารถในการผลิตของผู้ประกอบการไทย และ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า เช่น จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามนโยบายการสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม Smart Electronics อาจจะส่งผลดีต่อการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 3.0-5.0 เนื่องจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามความต้องการของตลาดโลกและเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว รวมทั้ง ความต้องการอุปกรณ์นวัตกรรมใหม่ ๆ ของผู้บริโภค
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ยางรถยนต์ และถุงมือยาง จะขยายตัว ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยยางแปรรูปขั้นปฐมจะขยายตัวจากความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยางรถยนต์จะขยายตัวจากแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ขณะที่ถุงมือยางจะขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ความต้องการของตลาดในประเทศเป็นหลัก
อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการของภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในส่วนของภาคการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว จากความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้า เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก  ที่ยังคงชะลอตัว ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายประเทศ รวมถึงผลกระทบจากภัยแล้งที่อาจรุนแรงขึ้น

7. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานและภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) (ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งว่า รายงานฉบับนี้ใช้ข้อมูลล่าสุดถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ก่อนการประชุม กนง.)
                    สาระสำคัญ
                    1. รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2566 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 เศรษฐกิจโลก
                              เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.8 ร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.7 ในปี 2566 ปี  2567 และปี 2568 ตามลำดับ โดยเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวตามแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่เศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นในปี 2567 ในภาพรวมเศรษฐกิจโลกจึงอยู่ในทิศทางฟื้นตัว ซึ่งเริ่มเห็นการฟื้นตัวของภาคบริการและภาคการผลิตที่ปรับเข้าสู่สมดุลมากขึ้น โดยภาคการผลิตมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวได้ตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ (ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์) ของโลกที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2567 ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงจากผลของการส่งผ่านนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางหลัก ทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาและความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยอาจปรับเพิ่มขึ้น และการค้าโลกที่อาจชะลอตัวมากกว่าที่คาดตามอุปสงค์ (demand) ของประเทศจีน รวมถึงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังยืดเยื้อ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกา ? จีน ที่อาจรุนแรงขึ้นรวมทั้งความขัดแย้งระหว่างจีน ? ไต้หวัน รัสเซีย ? ยูเครน และอิสราเอล ? ฮามาส ที่อาจยืดเยื้อและรุนแรงกว่าที่คาด
                              1.2 เศรษฐกิจไทย
                                        1.2.1 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ร้อยละ 3.2 และร้อยละ 3.1 ในปี 2566 ปี 2567 และปี 2568 ตามลำดับ สำหรับปี 2566 เศรษฐกิจฟื้นตัวโดยได้รับแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีตามการใช้จ่ายในหมวดบริการรวมทั้งแรงสนับสนุนจากการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดจากนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวช้า ส่วนภาคการส่งออกฟื้น             ตัวช้ากว่าที่คาด ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวสมดุลมากขึ้นภายใต้บริบทที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับแนวโน้มในอดีต และได้รับผลดีจากมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (visa free) ที่ให้กับนักท่องเที่ยวจากอินเดีย ไต้หวัน และคาซัคสถาน รวมถึงภาคการส่องออกสินค้ากลับมาขยายตัวตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีความเสี่ยงที่อาจไม่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเท่าที่คาด ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกไทยที่ลดลง นอกจากนี้ ยังต้องติดตามนโยบายของภาครัฐที่ยังมีความไม่ชัดเจน โดยเฉพาะโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital wallet) ซึ่งหากรวมผลของโครงการดังกล่าวคาดว่าอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2567 และปี 2568 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.8 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ
                                        1.2.2 การบริโภคภาคเอกชน มูลค่าการส่งออกสินค้าและอัตราเงินเฟ้อ สรุปได้ ดังนี้
                                                                                                              หน่วย : ร้อยละ
หัวข้อ          ปี 2566          คาดการณ์ ปี 2567          คาดการณ์ ปี 2568
การบริโภคภาคเอกชน          7.1          3.2          3.0
          - ในปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 ตามการบริโภคในหมวดบริการเป็นสำคัญ โดยเฉพาะหมวดโรงแรมและร้านอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวสะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม จำนวนชั่วโมงทำงาน และรายได้แรงงานที่สูงขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
- ในปี 2567 และปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.2 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และแรงสนับสนุนจากการจ้างงานและรายได้แรงงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทย          -1.5          4.3          3.3
          - ในปี 2566 หดตัวที่ร้อยละ 1.5 ลดลงจากประมาณการเดิมในไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกสินค้าดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
- ในปี 2567 และปี 2568 คาดว่าจะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 และร้อยละ 3.3 ตามลำดับ ตามการฟื้นตัวของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกและการฟื้นตัวของอุปสงค์ในภาคการผลิตของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับทิศทางการค้าโลกกลับมาขยายตัวในปี 2566

หน่วย : ร้อยละ
หัวข้อ          ปี 2566          คาดการณ์ ปี 2567          คาดการณ์ ปี 2568
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (อัตราเงินเฟ้อที่ครอบคลุมทุกหมวดสินค้าและบริการที่ใช้บริโภคทั่วไป)          1.3          2.0          1.9
          - ในปี 2566 มีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 1.3 โดยเป็นการปรับลดลงจากฐานที่สูงในปีก่อนหน้าและปัจจัยชั่วคราว โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านพลังงาน (มาตรการปรับลดค่าไฟและราคาน้ำมันดีเซลของรัฐบาล) และราคาอาหารสดที่ต่ำกว่าคาด
- ในปี 2567 และปี 2568 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.9 ตามลำดับตามหมวดพลังงานและหมวดอาหารสดที่จะกลับมาสูงขึ้นในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม หากรวมผลของโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัลคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และปี 2568 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 และ 2.0 ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน(อัตราเงินเฟ้อที่หักราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก)          1.3          1.2          1.3
          - ในปี 2566 คาดว่าจะทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.3
- ในปี 2567 และปี 2568 คาดว่าจะทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2 และ                           ร้อยละ 1.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับสูงขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนีโญ รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่อาจส่งผลให้ราคาพลังงานโลกปรับตัวสูงขึ้น
                                        1.3 ภาวะการเงิน
                                                  1.3.1 ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นเล็กน้อย จากต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนที่สูงขึ้นตามการส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะปลานกลางและระยะยาวปรับลดลง ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ตามการคาดการณ์ทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาที่อาจคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงได้ไม่ยาวนานเท่าที่คาด
                                                  1.3.2 ด้านปริมาณการระดมทุน การกู้ยืมของภาคธุรกิจและครัวเรือนไตรมาสที่ 3 มีภาพรวมชะลอลง โดยสินเชื่อภาคเอกชนชะลอตัวจากการชำระคืนหนี้หลังจากที่ขยายตัวมในอัตราสูงในช่วงวิฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เป็นสำคัญ ประกอบกับการสิ้นสุดของมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน อย่างไรก็ดี สินเชื่อธุรกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยความต้องการสินเชื่อในไตรมาส 4 ปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความต้องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
                                                  1.3.3 ด้านอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 36.01 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอ่อนค่าจากค่าเฉลี่ยไตรมาสก่อนที่ 35.17 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินบาทเคลื่อนไหวตามการคาดการณ์การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจไทยที่ต่ำกว่าคาด ทั้งนี้ เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ไหลเข้าสุทธิในตลาดตราสารหนี้และไหลออกสุทธิจากตลาดตราสารทุน
                                        1.4  การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2566
                                                  1.4.1 ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 2.50 ต่อปี เนื่องจาก กนง. ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับปัจจุบันเหมาะสมกับบริบทที่เศรษฐกิจกำลังทยอยฟื้นตัวกลับสู่ระดับศักยภาพและเอื้อให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาวและป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงิน รวมถึงรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า ทั้งนี้การดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า กนง. จะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มและความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อต่อไป
                                                  1.4.2 ระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพอย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามพัฒนาการของคุณภาพสินเชื่อที่อาจได้รับแรงกดดันจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) และภาคครัวเรือนบางส่วนยังเปราะบางจากภาระหนี้ที่สูงขึ้นและรายได้ที่ฟื้นตัวช้า

8. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 2/2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอดังนี้
                     1. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาครั้งที่ 76 พร้อมทั้งร่างประกาศฯ รวม 2 ฉบับ ดังนี้
                              1.1 ร่างประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้งและอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง
                              1.2 ร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
                    2. รับทราบร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของเรื่อง
                    สมช. เสนอว่า
                    1. รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและประชาชนภายในเขตพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน จนถึงปัจจุบัน เป็นคราวที่ 75
                    2. สมช. ได้จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่                      4 เมษายน 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                              2.1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) ได้สรุปผลการปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อประกอบการพิจารณาขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ครั้งที่ 76 สรุปได้ดังนี้
                                        (1) สถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ในห้วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นห้วงที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ครั้งที่ 75 ปรากฏการก่อเหตุรุนแรง 11 เหตุการณ์ เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 7 ราย ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าการก่อเหตุรุนแรงมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับห้วงระยะเวลาก่อนหน้า
                                        (2) ผลการปฏิบัติงานการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ จชต. เจ้าหน้าที่ได้ตรวจค้นและปิดล้อมตรวจค้นในพื้นที่ จชต.จำนวน 3,370 ครั้ง และมีการออกหมายจับตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 16 หมาย ในด้านสถิติคดีความมั่นคงมีคดีที่เข้าสู่ชั้นพิจารณาคดีของศาล จำนวน 19 คดี และในด้านสถิติผลคำพิพากษาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จชต. มีคดีที่เข้าสู่ชั้นพิจารณาคดีของศาล จำนวน 8 คดี
                                        (3) มาตรการลดผลกระทบต่อการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติการ โดยนำภาคประชาชนและสื่อมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือรับทราบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ และแนวทางที่ 2 การสร้างความโปร่งใสในการจับกุมและควบคุมตัวเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประชาชน และให้คลายความวิตกกังวลของญาติผู้ถูกควบคุมตัว รวมทั้งการสร้างความโปร่งใสในการออกคำสั่งเรียกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยปรับปรุงการออกคำสั่งเรียกให้มีรูปแบบที่โปร่งใสและเป็นที่ยอมรับของประชาชน
                                        (4) การประเมินผลการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ประเมินผลจากกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐพบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อการประกาศใช้พระราชกำหนดฯ คิดเป็นร้อยละ 66.80
                                        (5) ข้อดีและข้อเสียจากการปรับลดพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ดังนี้
                                                  (5.1) ข้อดีจากการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ มีการรวมศูนย์อำนาจในการแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการบูรณาการกำลังทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายพลเรือน ตำรวจและทหาร ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้รับการคุ้มครองเมื่อปฏิบัติตามหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติและไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกรณีที่จำเป็น อีกทั้งมีบทบัญญัติที่เปิดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจในการควบคุมตัวผู้กระทำความผิดได้มากกว่ากฎหมายปกติ
                                                  (5.2) ข้อเสียจากการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่มีระยะเวลาและพื้นที่จำกัดในการดำเนินการ ซึ่งการใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวมีขั้นตอนในการปฏิบัติ อาทิ การออกประกาศคำสั่ง ทำให้การแก้ไขปัญหาในบางกรณีอาจไม่ทันการณ์ กฎหมายไม่มีข้อบัญญัติที่จะชดเชยให้กับผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่อีกทั้งเป็นกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
                              2.2 ปัจจุบันภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยังคงมีพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 18 อำเภอ ดังนี้
จังหวัด          พื้นที่ภายใต้ พ.ร.ก.
การบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. 48
(จำนวนอำเภอ)          พื้นที่ภายใต้ พ.ร.บ.
การรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร พ.ศ. 51
(จำนวนอำเภอ)          จำนวนอำเภอทั้งหมด
นราธิวาส          9          4          13
ปัตตานี          5          7          12
ยะลา          4          4          8
สงขลา          -          4          16
รวม          18          19          49
          37
                              2.3 ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 ได้มีการก่อเหตุรุนแรงพร้อมกัน 42 จุด สะท้อนนัยว่ากลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงมีขีดความสามารถและมีกำลังคนในการก่อเหตุรุนแรงได้พร้อมกันในหลายพื้นที่ และยังคงปรากฏข้อมูลทางด้านการข่าวว่ากลุ่มผู้ก่อเหตุเคลื่อนไหวในการลักลอบขนอาวุธและสารประกอบระเบิดเพื่อเตรียมการก่อเหตุในบางพื้นที่ในระยะต่อไปด้วย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการป้องกัน ระงับ และยับยั้งสถานการณ์ในพื้นที่ รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้มาตรการในการจับกุม และควบคุมตัวผู้กระทำความผิด เพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดี จนสามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนเป็นช่องทางในการสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้องและเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการป้องกัน ระงับ ยับยั้ง สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จึงมีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง ออกไปอีก 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาครั้งที่ 36

9. เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้
                    1. รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 (เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet) ตามที่คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป
                    2. ให้คณะกรรมการนโยบายฯ เร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 (เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet) โดยให้คณะกรรมการนโยบาย ฯ สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวม แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการนโยบายฯ รายงานว่า
                    1. ในคราวการประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567         ที่ประชุมได้มีมติ (1) รับทราบสรุปข้อเสนอแนะฯ ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งเป็นเอกสารจากการแถลงข่าวของสำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีสาระสำคัญเช่นเดียวกับข้อเสนอแนะฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบเรื่องดังกล่าว (20 กุมภาพันธ์ 2567) และ (2) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ [กระทรวงการคลัง (กค.) และกระทรวงพาณิชย์] ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยรับฟังความคิดเห็นให้รอบคอบและครบถ้วน รวมทั้งรายงานผลการรวบรวมข้อเท็จจริงและความเห็นดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายฯ ต่อไป
                    2. ต่อมานายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 83/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วนลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567                          (ปลัดกระทรวงการคลังและปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานคณะทำงานร่วม และมีอธิบดีกรมการค้าภายในและผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นเลขานุการคณะทำงานร่วม) โดยมีหน้าที่และอำนาจในการรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ข้อเสนอแนะฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และประเด็นความเห็นด้านเศรษฐกิจและสภาวะความเป็นอยู่ของภาคธุรกิจและประชาชน เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อประกอบการพิจารณา และแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะ รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
                    3. คณะทำงานรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วน (คณะทำงานฯ) ในการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 มีมติเห็นชอบในหลักการของประเด็นคำถามเพื่อใช้สำหรับการรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วนและหน่วยงานต่าง ๆ และรายชื่อหน่วยงานที่จะขอความอนุเคราะห์ให้ข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะ ซึ่งคณะทำงานฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการรวบรวมข้อมูล* ตามมติที่ประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ หากดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จะเสนอผลการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้คณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาต่อไป
* กค. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ แจ้งว่า ได้กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะมายังคณะทำงานฯ ภายในวันที่ 29 มีนาคม 2567 จากนั้นจะเสนอผลการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะทำงานฯ และคณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาตามลำดับก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

10. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) ดังนี้
                    1. อนุมัติงบประมาณสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายในวงเงิน 235,842,800,900 บาท ประกอบด้วย
                              1.1. ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งขาติ จำนวน 47,157,000 คน วงเงิน 181,297,444,400 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 15,772,291,400 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.53 คิดเป็นอัตราเหมาจ่ายรายหัว 3,844.55 บาทต่อผู้มีสิทธิซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนค่าตอบแทนบุคลากร
                              1.2 ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ประกอบด้วย ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ วงเงิน 3,519,721,000 บาท และค่าบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี วงเงิน 689,724,500 บาท รวมวงเงิน 4,209,445,500 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 192,349,800 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.79
                              1.3 ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง วงเงิน 13,506,166,200 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 698,867,600 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.46
                              1.4 ค่าบริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน และผู้ป่วยโรคหอบหืด) ประกอบด้วย 3 รายการ ได้แก่ งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง วงเงิน 1,169,228,400 บาท งบบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน วงเงิน 78,642,000 บาท และงบบริการเพื่อลดการนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหืด (Asthma) วงเงิน 51,053,900 บาท รวมวงเงิน 1,298,924,300 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 101,308,600 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.46
                              1.5 ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 1,490,288,000 บาท
                              1.6 ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ ประกอบด้วย             (1) บริการด้วยทีมแพทย์ประจำครอบครัว วงเงิน 236,509,300 บาท (2) บริการที่ร้านยา วงเงิน 249,320,700 บาท (3) บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล วงเงิน 695,990,900 บาท (4) บริการสาธารณสุขระบบทางไกล วงเงิน 851,210,000 บาท (5) บริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน วงเงิน 32,945,500 บาท (6) บริการทันตกรรมเคลื่อนที่ วงเงิน 40,512,000 บาท และ (7) ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาล วงเงิน 73,739,600 บาท รวมวงเงิน 2,180,228,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 117,440,100 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.69
                              1.7 ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
                                        1.7.1) ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วงเงิน 2,522,207,000 บาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 28,394,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.11
                                        1.7.2) ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน วงเงิน 2,900,246,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 139,692,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.06
                                        1.7.3) ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด วงเงิน 530,968,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 256,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.05
                              1.8 เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการ วงเงิน 522,923,000 บาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 119,885,300 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.65
                              1.9 ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลและครอบครัว สำหรับคนไทยทุกคนทุกสิทธิ จำนวน 66,371,000 คน วงเงิน 25,383,960,500 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 1,339,915,100 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.57 ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนค่าตอบแทนบุคลากร
                    2. สำหรับงบประมาณบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วงเงิน 2,238,836,200 บาท นั้นเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัดและสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
                    3. มอบหมายให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินการและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิถาพ ในด้านการบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี บริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน บริการสาธารณสุขร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลและครอบครัว ตามมาตรา 18 (14) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และควบคุมดูแลสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปตามการมอบหมายดังกล่าวด้วย
                    อนึ่ง เนื่องจากปริมาณการใช้บริการและอัตราค่าใช้จ่ายในการให้บริการแก่ผู้ป่วยของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว        อีกทั้งค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับคนไทยทุกคนทุกสิทธิ ที่มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 10.76 ของงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อย ดังนั้น  เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณแผ่นดินมากเกินไป จึงเห็นสมควรที่กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งดำเนินการและให้ความสำคัญในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชนทั่วไปโดยเร่งด่วน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการให้บริการแก่ผู้ป่วยในระยะยาว รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน และพิจารณาให้ความสำคัญกับความพร้อมและศักยภาพของผู้ให้บริการสาธารณสุข จัดให้มีบริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน แล่ะมีการติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงผลลัพธ์การให้บริการสาธารณสุข เพื่อให้มีความคุ้มค่าจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในประเทศ รวมถึงเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับประชาชนในท้องถิ่น และเห็นควรที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพิจารณาให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นโดยเร่งด่วน พร้อมทั้งให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบริหารจัดการและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณค่ารักษาพยาบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หากมีงบประมาณเหลือจ่ายจากการดำเนินงานหรือมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายสะสม ก็เห็นสมควรให้นำเงินดังกล่าวของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาสมทบกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นลำดับแรก ทั้งนี้ ขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามนัยมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    รายละเอียดวงเงินที่ สงป. พิจารณาจัดสรรรแยกตามรายการบริการโดยละเอียด สรุปได้ ดังนี้
รายการ          วงเงินที่ได้รับจัดสรร
ปี 2567 (1)          วงเงินข้อเสนอ
ปี 2568 (2)          วงเงินที่ สงป. จัดสรร
ปี 2568 (3)          ร้อยละที่เพิ่มขึ้น
[(3) เทียบกับ (1)]
1. ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว          165,525.15
(อัตราเหมาจ่ายรายหัว 3,472.24 บาท)           185,506.68
(อัตราเหมาจ่ายรายหัว 3,933.81 บาท)           181,297.44
(อัตราเหมาจ่ายรายหัว 3,844.55 บาท)           97.53
2. ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์          4,017.09          4,315.46          4,209.45          4.79
          2.1 ค่าบริการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์          3,413.39          3,519.72          3,519.72          3.12
          2.2 ค่าบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี          603.70          795.74          689.73          14.25
3. ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง          12,807.30          13,506.17          13,506.17          5.46
4. ค่าบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง          1,197.61          1,298.92          1,298.92          8.46
          4.1 ค่าบริการเพื่อควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง          1,123.99          1,169.23          1,169.23          4.02
          4.2 ค่าบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน          73.62          78.64          78.64          6.81
          4.3 ค่าบริการผู้ป่วยโรคหืด (รายการใหม่)           -          51.05          51.05          -
5. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยงานบริการในพื้นที่กันดาร/เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้           1,490.29          1,490.29          1,490.29          0.00
6. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว (ทีม PHC)           2,062.79          2,274.05          2,180.23          5.70
          6.1 ค่าบริการด้วยทีม PHC           237.44          239.58          236.51          -0.39
          6.2 ค่าบริการที่คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ [ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาล (สงป. แจ้งว่าคือรายการบริการเดียวกัน)]          -          119.68          73.74          -
          6.3 ค่าบริการรับยาที่ร้านยา          199.81          249.32          249.32          24.78
          6.4 ค่าบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล          722.87          732.08          695.99          -3.71
          6.5 ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล          865.78          851.21          851.21          -1.68
          6.6 ค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน          32.95          39.54          32.95          0.00
          6.7 ค่าบริการทันตกรรมเคลื่อนที่           3.94          42.64          40.51          928.17
7. ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับ อปท.
          7.1 ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับ อปท.           2,550.60          2,522.21          2,522.21          -1.11
          7.2 ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงฯ          2,760.56          3,435.16          2,900.25          5.06
          7.3 ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด          530.71          530.96          530.96          0.05
8. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการและผู้ให้บริการ          642.81          522.92          422.92          -18.65
9. ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค          24,044.05          25,383.96          25,383.96          5.57
รวม          217,628.96          240,786.78          235,842.80          8.37

11. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หรืองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น แล้วแต่กรณี สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หรืองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 618.80 ล้านบาท แล้วแต่กรณี สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง1 ทั้งนี้ เพื่อให้โรงเรียนสามารถดำเนินการจ้างนักการภารโรงได้ทันก่อนเปิดภาคเรียนในเดือนพฤษภาคม 2567 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ศธ. รายงานว่า
                    1. สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติ (23 กันยายน 2546) เห็นชอบยุทธศาสตร์การปรับกำลังคนภาครัฐ โดยกำหนดให้ทุกส่วนราชการยุบเลิกอัตราลูกจ้างประจำที่ว่างลงจากอัตราเกษียณอายุและว่างลงระหว่างปีทุกตำแหน่ง โดยในส่วนของ ศธ. [สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)] อัตราส่วนใหญ่ที่ยุบเลิกเป็นตำแหน่งนักการภารโรงที่ สพฐ. ไม่ได้รับจัดสรรอัตราและงบประมาณจ้างทดแทน ส่งผลให้จำนวนนักการภารโรงลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 และครูต้องปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การดูแลสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน รวมถึงการดูแลความปลอดภัยต่าง ๆ ทำให้ครูไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ          ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (23 มกราคม 2567) ให้ ศธ. และส่วนราชการอื่น ๆ ที่มีสถานศึกษาในสังกัดได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 (เรื่อง การปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ) ดังนั้น ศธ. จึงมีความจำเป็นต้องจ้างนักการภารโรงให้ครบทุกโรงเรียนเพื่อรักษาความปลอดภัย ดูแลโรงเรียนให้สะอาดและเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน และเพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งลดภาระและความเสี่ยงของครูและบุคลากรทางการศึกษา
                    2. ข้อมูลนักการภารโรงในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2567) สรุปได้ ดังนี้
รายการ          จำนวนโรงเรียน/นักการภารโรง (โรง/คน)*
(1) โรงเรียนในสังกัด สพฐ.2 [ข้อมูลจากระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data management Center: DMC) ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566]          28,936
(2) โรงเรียนที่มีนักการภารโรง/ผู้ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรง โดยสามารถจำแนกผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรงได้ ดังนี้
          (2.1) ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติหน้าที่แทนนักการภารโรง จำนวน 4,384 อัตรา
          (2.2) พนักงานราชการ3 ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรง จำนวน 52 อัตรา
          (2.3) นักการภารโรง (จ้างเหมาบริการอัตรา 9,000 บาทต่อเดือน) จำนวน 10,749 อัตรา           15,185**
(3) โรงเรียนที่ขาดแคลนผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักการภารโรง          13,751
หมายเหตุ :           *จำนวนโรงเรียนเท่ากับจำนวนนักการภารโรง (1 โรงเรียนมีนักการภารโรง 1 คน)
                    **ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการเป็นการใช้งบประมาณจากบุคลากร และลูกจ้างจ้างเหมาบริการเป็นการใช้งบประมาณจากงบรายจ่ายอื่นของ ศธ. ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    3.  ศธ. ได้มีหนังสือถึงสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง จำนวน 14,210 อัตรา ระยะเวลา 5 เดือนเพื่อปฏิบัติงานในเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567 รวมวงเงินทั้งสิ้น 639.45 ล้านบาท (ใช้ข้อมูลนักการภารโรงที่ขาดแคลน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ในการขอรับจัดสรรงบประมาณ) ซึ่ง สงป. แจ้งว่านายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ ศธ. โดย สพฐ. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หรืองบประมาณรายจ่ายประจำปีบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างเหมาบริการนักการภารโรง จำนวน 13,751 อัตรา (ตามจำนวนโรงเรียนที่ขาดแคลนนักการภารโรง ณ เดือนมีนาคม 2567) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567 รวมระชะเวลา 5 เดือน จำนวน 618.80 ล้านบาท (13,751 อัตรา x 9,000 บาทต่อเดือน x 5 เดือน) โดยเบิกจ่ายจากงบรายจ่ายอื่น และให้ สพฐ. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อทำความตกลงกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากวงเงินดังกล่าวมีจำนวนเกิน 100 ล้านบาท ศธ. โดย สพฐ. จึงต้องขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3)
                    4. ประโยชน์และผลกระทบ เช่น
                              4.1 ครูสามารถทำหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษา
                              4.2 มีนักการภารโรงดูแลสภาพแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภคทรัพย์สินของทางราชการ และความปลอดภัยของครูและนักเรียน
1 การจ้างนักการภารโรงในรูปแบบการจ้างเหมาบริการ เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติให้งานบริการหมายความว่า งานจ้างเหมาบริการ และมาตรา 56 (2) (ข) บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อน เว้นแต่การจัดซื้อจัดจ้างที่ให้บริการทั่วไปและมีวงเงินจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น กฎกระทรวงกำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลง เป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560
2 โรงเรียนที่อยู่ระหว่างรอควบรวม/รอยุบเลิก/ถ่ายโอน จะไม่นำมาคำนวณในครั้งนี้ (ประมาณ 315 โรงเรียน)
3 พนักงานราชการที่ปฏิบัติหน้าที่นักการภารโรง เป็นตำแหน่งที่ได้รับการจัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรี (5 ตุลาคม 2547) เรื่อง การช่วยเหลือลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในระบบราชการ ซึ่งให้ลูกจ้างชั่วคราวประเภทที่ 1 (ใช้งบประมาณหมวดค่าตอบแทนบุคลากร) ที่ปฏิบัติงานต่อเนื่องและทำงานในลักษณะประจำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้ผู้บังคับบัญชาเจ้าสังกัดบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานราชการ

12. เรื่อง การทบทวนวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                    1. ความเป็นมา
                              1.1 มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนดให้การจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้นำแผนการคลังระยะปานกลางมาประกอบการพิจารณาด้วยและให้คำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ความเป็นธรรมทางสังคม นโยบายงบประมาณ เสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ ความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่าย การจัดเก็บรายได้แผ่นดิน สถานะของหนี้สาธารณะ              และความสามารถในการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
                              1.2 มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 กำหนดให้ในการจัดทำงบประมาณประจำปี ให้สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการกำหนดนโยบายงบประมาณประจำปี ประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย และวิธีการเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือการจัดการในกรณีที่ประมาณการรายได้สูงกว่าวงเงินงบประมาณ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
                              1.3 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 3,600,000 ล้านบาท รายได้สุทธิ จำนวน 2,887,000 ล้านบาทและวงเงินกู้เพื่อชดเขยการขาดดุล จำนวน 313,000 ล้านบาท
                              1.4 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 เมยายน 2567 เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน เพื่อให้การดำเนินนโยบายการคลังมีความสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
                              1.5 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 เห็นชอบการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2 ที่กำหนดให้ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณาทบทวนประมาณการรายได้ การปรับปรุงกรอบวงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันที่ 5 เมยายน 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่             9 เมษายน 2567
                    2. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    เพื่อดำเนินการตามนัยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น สำนักงบประมาณได้จัดให้มีการประชุม 4 หน่วยงาน เพื่อพิจารณาทบทวนวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันที่        5 เมษายน 2567 มีข้อสรุปดังนี้
                              2.1 สมมติฐานทางเศรษฐกิจ
                              เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.8 - 3.8 (ค่ากลางร้อยละ 3.3) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก การขยายตัวของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญจากความยืดเยื้อของความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและสร้างความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุน รวมถึงการลดลงของแรงขับเคลื่อนด้านการคลังในระยะต่อไป สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 2568 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2568 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.1 - 2.1 (ค่ากลางร้อยละ 1.6) และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลร้อยละ 1.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
                              2.2 ประมาณการรายได้รัฐบาล
                              ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้รวม จำนวน 3,454,400 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร อากรถอนคืนกรมศุลกากร การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คงเหลือรายได้สุทธิ จำนวน 2,887,000 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิปีงบประมาณ                  พ.ศ. 2567 ตามเอกสารงบประมาณที่กำหนดไว้ จำนวน 2,787,000 ล้านบาท เป็นจำนวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6
                              2.3 นโยบายงบประมาณ วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                              จากสมมติฐานทางเศรษฐกิจและประมาณการรายได้รัฐบาลตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ดังกล่าวข้างต้น เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวและส่งเสริมอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยและอัตราการขยายตัวตามศักยภาพ จึงได้กำหนดนโยบายงบประมาณขาดดุลสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 865,700 ล้านบาท ทำให้มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,752,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่กำหนดไว้ 3,480,000 ล้านบาท เป็นจำนวน 272,700 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 โดยมีสาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 3,752,700 ล้านบาท ดังนี้
                                        1) โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้
                                                  (1) รายจ่ายประจำ จำนวน 2,736,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 196,431.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.9 ของวงเงินงบประมาณรวม ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 73.0
                                                  (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไม่มีรายการที่ต้องเสนอตั้งงบประมาณ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งงบประมาณไว้ จำนวน 118,361.1 ล้านบาท)
                                                  (3) รายจ่ายลงทุน จำนวน 865,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 155,619.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1 ของวงเงินงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 20.4
                                                  (4) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 150,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 31,780 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.0 ของวงเงินงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.4
                                        2) รายได้สุทธิ จำนวน 2,887,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6
                                        3) งบประมาณขาดดุล จำนวน 865,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ         พ.ศ. 2567 จำนวน 172,700 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.9 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.7
                    ทั้งนี้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,752,700 ล้านบาท ดังกล่าวเท่ากับกรอบวงเงินตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่          2 เมยายน 2567 สำหรับงบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ มีสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
                    รายละเอียดโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
โครงสร้างงบประมาณ          ปีงบประมาณ 2567          ปีงบประมาณ 2568
          จำนวน          เพิ่ม/ - ลดจากปี 2566          จำนวน          เพิ่ม/ - ลด จากปี 2567
                    จำนวน          ร้อยละ                    จำนวน          ร้อยละ
1. วงเงินประมาณรายจ่าย
      - สัดส่วนต่อ GDP
    1.1 รายจ่ายประจำ
      - สัดส่วนต่องบประมาณ
    1.2 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง
       - สัดส่วนต่องบประมาณ
    1.3 รายจ่ายลงทุน
        - สัดส่วนต่องบประมาณ
    1.4 รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้
        - สัดส่วนต่องบประมาณ          3,480,000.0
18.7
2,540,468.6
73.0
118,361.1
3.4
710,080.5
20.4
118,320.0
3.4          295,000.0

137,928.9

118,361.1

20,600.6

18,320.0          9.3

5.7

100.0

3.0

18.3
          3,752,700.0
19.2
2,736,900.0
72.9


865,700.0
23.1
150,100.0
4.0          272,700.0

196,431.4

118,361.1

155,619.5

31,780.0          7.8

7.7

100.0

21.9

26.9

2. รายได้
    - สัดส่วนต่อ GDP          2,787,000.0
14.9          297,000.0          11.9          2,887,000.0
14.8          100,000.0          3.6
3. วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
    - สัดส่วนต่อ GDP          693,000.0
3.7          2,000.0          0.3          865,700,0
4.4          172,700.0          24.9
4. กรอบวงเงินกู้สูงสุดเพื่อชดเชยการขาดดุลตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ          790,656.0          73,656.0          10.3          870,620.0          79,964.0          10.1
5. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)          18,655,983.0          734.770.0          4.1          19,570,126.0          914,143.0          4.9
หมายเหตุ :          1. โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นข้อมูลตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    2. โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นข้อมูลตามมติที่ประชุม 4 หน่วยงาน (สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย) เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567
                    3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย (GDP) ตามที่ปรากฏในแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน

13. เรื่อง การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                      ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ให้ความเห็นชอบการปรับปรุง ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2 นั้น
                     สำนักงบประมาณขอเสนอการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงกรอบวงเงิน และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณาทบทวนการประมาณการรายได้ การปรับปรุงกรอบวงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันที่ 5 เมษายน 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                      1. การจัดทำงบประมาณ มีขั้นตอนและกิจกรรม ดังนี้
                                1.1 คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการทบทวนวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันอังคารที่ 9 เมษายน 2567
                                1.2 หน่วยรับงบประมาณ จัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2568 เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นเร่งด่วนและสถานการณ์เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ โดยให้หน่วยรับงบประมาณเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพิ่มเติมต่อนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ความเห็นชอบ และส่งให้สำนักงบประมาณผ่านระบบ e - Budgeting ในวันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2567
                               1.3 คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พร้อมแนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 โดยให้หน่วยรับงบประมาณเสนอการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณต่อนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ความเห็นชอบและส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 20 เมษายน 2567
                                1.4 สำนักงบประมาณพิจารณาการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และมอบให้สำนักงบประมาณไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรคสอง ในวันอังคารที่ 23 เมษายน 2567
                                1.5 สำนักงบประมาณดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 24 - 30 เมษายน 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นฯ และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และให้สำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเอกสารประกอบงบประมาณในวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567
                                1.6 สำนักงบประมาณดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเอกสารประกอบฯ ระหว่างวันที่ 15 - 24 พฤษภาคม 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25628 และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรในวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567
                      2. การอนุมัติงบประมาณ มีขั้นตอนและกิจกรรม ดังนี้
                                2.1 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วาระที่ 1 ในวันที่ 5 - 6 มิถุนายน 2567
                                2.2 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วาระที่ 2 - 3 ในวันที่ 28 - 29 สิงหาคม 2527
                                2.3 วุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ         พ.ศ. 2568 ในวันที่ 9 - 10 กันยายน 2567
                                2.4 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ในวันที่ 17 กันยายน 2567 เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

ต่างประเทศ
14. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 8
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง1 (ความตกลง GMS CBTA) ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 8 (The Eighth Meeting of the CBTA Joint  Committee : 8th JC GMS CBTA (การประชุมคณะกรรมการร่วมฯ) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (12 ธันวาคม 2566) เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 8 (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) โดยมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินการตามความตกลง GMS CBTA (บันทึกความเข้าใจฯ) ?ระยะแรก?2 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 เพื่อส่งเสริมการคมนาคมขนส่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
                    2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมฯ เมื่อวันที่ 12-13 ธันวาคม 2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ มีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
2.1 การขยายระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก?          ? ให้ขยายระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก? ออกไปอีก 3 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 25693 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงสามารถกลับมาเดินรถระหว่างประเทศภายใด้บันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก? อีกครั้ง (เป็นการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายคนและสินค้าภายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดนระหว่างประเทศสมาชิกที่มีพรมแดนติดต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการพัฒนาการค้าชายแดนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค) และให้เร่งรัดการออกใบอนุญาตขนส่งทางถนนและเอกสารนำเข้าชั่วคราวสำหรับยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ รวมถึงรวบรวมและแลกเปลี่ยนหมายเลขทะเบียนรถให้ประเทศสมาชิกทราบอย่างน้อยล่วงหน้า 2 สัปดาห์ ก่อนเริ่มกลับมาเดินรถอีกครั้ง
2.2 การกลับมาดำเนินการขนส่งตามบันทึกความ               เข้าใจฯ ?ระยะแรก? อีกครั้ง          ?  ให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการขนส่งระหว่างประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 25674 โดยรวมถึงเส้นทางและจุดผ่านแดนที่เพิ่มเติมไว้5  ในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเปิดเส้นทางการขนส่งระหว่างประเทศและจุดข้ามแดนเพิ่มเติม ภายใต้พิธีสาร 1 ของความตกลง GMS CBTA (บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเปิดเส้นทางฯ)
? ให้มีการดำเนินการ เช่น (1) ให้มีการออกใบอนุญาตฯ เป็นประจำทุกปี (มีอายุ 12 เดือน) และออกเอกสารนำเข้าชั่วคราว ทุก 2 ปี (2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการขนส่งและศุลกากรของแต่ละประเทศประชาสัมพันธ์การกลับมาเดินรถอีกครั้งภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก?
2.3 กำหนดการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการขนส่ง
(Transport Sub-Committee)          ? ให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการขนส่ง ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 เพื่อหารือเกี่ยวกับเส้นทางและจุดผ่านแดนเพิ่มเติมภายใต้พิธีสาร 1 ของความตกลง GMS CBTA
2.4 กำหนดการประชุมคณะอนุกรรมการด้านศุลกากร (Customs Sub-Committee)          ? ให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการด้านศุลกากรคู่ขนานกับการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งภายใต้ความตกลง GMS CBTA ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 เพื่อหารือเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรผ่านแดนสำหรับการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก?
2.5 แผนดำเนินงาน GMS CBTA ปี 2567 - 2571          ? เห็นชอบแผนดังกล่าว ซึ่งระบุแนวทางการดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
(1) การดำเนินการและการติดตามผลของบันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก?
(2) การรวบรวม วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและการค้า (สำรวจและสอบถามความต้องการของผู้ประกอบการเพื่อประเมินผลประโยชน์ที่ผู้ประก่อบการได้รับจากความ            ตกลง GMS CBTA และเพื่อปรับปรุงความตกลง GMS CBTA)
(3) การจัดทำคู่มือเส้นทางเดินรถ (Corridor Handbook) ตามบันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก? (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ประกอบการขนส่งระหว่างประเทศที่ครอบครองใบอนุญาตการขนส่งทางถนน)
(4) การเข้าร่วมการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก? ในอนาคตของเมียนมา
(5) การหารือเกี่ยวกับความตกลง GMS CBTA ฉบับปรับปรุง (CBTA 2.0) เพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น
2.6 การติดตามและประเมินผล          ? มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสของคณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ (NTFC) จัดเก็บข้อมูลการค้าและการขนส่งของจุดข้ามแดนระหว่างประเทศที่ระบุไว้ในพิธีสาร 1 ของความตกลง GMS CBTA
                    3. ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ได้ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ  ซึ่งยังคงไว้ซึ่งสาระสำคัญตามร่างแถลงการณ์ร่วมฯ การประชุมที่ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม เช่น
                              3.1 เพิ่มถ้อยคำในหัวข้อการกลับมาดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก? เกี่ยวกับการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการขนส่งและศุลกากรของแต่ละประเทศดำเนินการประชาสัมพันธ์การกลับมาเดินรถอีกครั้งภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก?
                              3.2 แก้ไขถ้อยคำในหัวข้อแผนดำเนินงาน GMS CBTA ปี 2567 ? 2571 จากเดิม ?(6) การเห็นชอบและรับรองความตกลง GMS CBTA ฉบับปรับปรุง (CBTA 2.0)? เป็น ?(6) การหารือเกี่ยวกับความตกลง GMS CBTA ฉบับปรับปรุง (CBTA 2.0)?
1เป็นความตกลงเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและบุคคลข้ามพรมแดนระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่  ประเทศไทย สาธรารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ราชอาณาจักรกัมพูชา จีน และสาธารณสังคมนิยมเวียดนาม  โดยประเทศภาคีความตกลงฯ จะต้องจัดทำภาคผนวก (Annex) และพิธีสาร (Protocol) เพื่อกำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติการขนส่ง รวม 20 ฉบับ เช่น เส้นทางที่ใช้ในการขนส่งผ่านแดน โควตาการบริการขนส่งและการออกใบอนุญาตขนส่งข้ามพรมแดน ค่าธรรมเนียมผ่านแดน เป็นต้น
2บันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก? เป็นการกำหนดแนวทางในการดำเนินการความตกลง GMS CBTA ในระยะแรก โดยให้มีการจำกัดจำนวนใบอนุญาตขนส่งทางถนนภายใต้ความตกลงฯ สำหรับผู้ประกอบการขนส่งของแต่ละประเทศ ไม่เกินประเทศละ 500 ใบ  รวมถึงการให้งดเว้นการจ่ายอากรขาเข้าและวางค้ำประกันภาระภาษีศุลกากร สำหรับการนำรถยนต์เข้าในเขตแดนประเทศภาคีสมาชิกและการนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์เป็นการชั่วคราว
3เดิมการมีผลบังคับใช้ของการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก? สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ส่งผลให้ภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ดังกล่าว ประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงไม่สามารถเดินรถระหว่างประเทศภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ  ?ระยะแรก? ได้ (เช่น การเดินรถเพื่อการพาณิชย์) ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ ?ระยะแรก? ในครั้งนี้
4เพื่อให้แต่ละประเทศมีเวลาสำหรับดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ รวมถึงออกใบอนุญาตและเอกสารนำเข้าชั่วคราวให้แก่ผู้ประกอบการดังกล่าว
5เพิ่มเส้นทางและจุดผ่านแดนจากเดิม 13 เส้นทาง เป็น 24 เส้นทาง (เพิ่มขึ้น 11 เส้นทาง โดยมีเส้นทางและจุดผ่านแดนเพิ่มเติม เช่น เส้นทางระหว่างไทย - กัมพูชา [แหลมฉบัง - พนมสารคาม - กบินทร์บุรี - สระแก้ว - อรัญประเทศ (ไทย) - ปอยเปต (กัมพูชา] เป็นต้น

15. เรื่อง การนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ?สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา? เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ?สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา? (แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมสงขลาฯ) ภายใต้ชื่อ Songkhla and its Associated Lagoon Settlements (เอกสารนำเสนอฯ) เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก รวมทั้งเห็นชอบให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกลงนามในเอกสารนำเสนอฯ ต่อศูนย์มรดกโลก ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส) และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาตินำเสนอเอกสารนำเสนอฯ เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลกต่อศูนย์มรดกโลก ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
(ทั้งนี้ ทส. จะต้องดำเนินการจัดส่งเอกสารนำเสนอฯ ให้ศูนย์มรดกโลก ภายในวันที่ 15 เมษายน 2567 เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก1 เพื่อให้การรับรองในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 31 กรกฎาคม 2567 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เพื่อให้สามารถจัดส่งเอกสารการนำเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกได้ในปี 2568)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ2 (อนุสัญญาฯ) กำหนดให้รัฐภาคีสมาชิกที่ต้องการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมหรือทางธรรมชาติจัดส่งเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกดังกล่าวต่อศูนย์มรดกโลกในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลก อย่างน้อย 1 ปี ก่อนการขอรับการพิจารณาขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกเป็นมรดกโลก
                    2. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 1/2567เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 [รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] มีมติเห็นชอบ (ร่าง) เอกสารนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมสงขลาฯ ภายใต้ชื่อ Songkhla and its Associated Lagoon Settlements เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น ของศูนย์มรดกโลก และมอบหมายให้ สผ. นำเสนอเอกสารนำเสนอฯ ต่อคณะรัฐมนตรี
                    3. เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ทส. ขอเสนอเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมสงขลาฯ เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลก เพื่อขอรับการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในปี 2568 ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม จำนวน 4 แหล่ง ดังนี้ (1) เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร         (2) นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร (3) แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงและ (4) เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้องและมีแหล่งที่อยู่ระหว่างกระบวนการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม จำนวน 2 แหล่ง ดังนี้ (1) อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และ (2) แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมสงขลาฯ (ข้อเสนอในครั้งนี้)
1คณะกรรมการมรดกโลก เป็นองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่ เช่น พิจารณาการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดก
ในแหล่งบัญชีมรดกโลกและตรวจสอบสถานภาพการอนุรักษ์ของแหล่งมรดกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
2ได้รับการรับรองในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 17 ขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
แห่งสหประชาชาติ ณ กรุงปารีส่ ฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2515 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติในการปกป้อง คุ้มครอง และป้องกันแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และมรดกทางธรรมชาติ เพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นต่อไปในอนาคต

16.  เรื่อง ร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ (ถ้อยแถลงร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างถ้อยแกลงร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขออนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก และให้นายกรัฐนตรีร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในการหารือกับนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ในวันที่ 17 เมษายน 2567 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กต. รายงานว่า
                    1. นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์มีกำหนดการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 16 - 18 เมษายน 2567 ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ในห้วงการประชุมสุดยอดอาเซียน - ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ ณ นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย โดยนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์จะเดินทางเยือนประเทศไทยพร้อมรัฐมนตรีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสรรพากร และคณะนักธุรกิจระดับผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำของนิวซีแลนด์ จำนวน 25 บริษัท             ที่ดำเนินงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย เช่น เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร เกษตรแม่นยำ ภาคดิจิทัล และภาคพลังงาน
                    2. ถ้อยแถลงร่วมฯ จะเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ โดยแสดงเจตนารมณ์ที่ทั้งสองประเทศจะร่วมกันขับเคลื่อนและการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในสาขาที่เป็นความสนใจและผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ มีเนื้อหาครอบคลุมความร่วมมือไทย - นิวซีแลนด์ ด้านความสัมพันธ์ทวิภาคี ความร่วมมือด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน พลังงานทดแทน การส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับประชาชน รวมถึงความร่วมมือในระดับภูมิภาค
                    ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ กต. แจ้งว่า การเยือนและการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์จะเป็นประโยชน์ในการกระชับและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับนิวซีแลนด์ให้ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และเป็นโอกาสในการประกาศเจตนารมณ์ยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในปี 2569 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 70 ปี ของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน

17. เรื่อง ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 5
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - เวียดนาม (Joint Commission on Bilateral Cooperation: JCBC) (การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ) (ร่างบันทึกการประชุมฯ) ครั้งที่ 5 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกการประชุมดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ กต. พิจารณาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
                    2. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร) ร่วมรับรองร่างบันทึกการประชุมฯ ครั้งที่ 5
(จะมีการรับรองร่างบันทึกการประชุมฯ ครั้งที่ 5 เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 5 ในวันที่ 11 เมษายน 2567 ณ ประเทศไทย)
                    สาระสำคัญ
                    ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 5 (ร่างบันทึกการประชุมฯ) เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังนิยมเวียดนามที่จะส่งเสริมความร่วมมืออย่างรอบด้าน การทบทวนการพัฒนาการความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ และกำหนดทิศทางความร่วมมือในระยะต่อไปของทั้ง 2 ประเทศ โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ (1) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน และ (3) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

18. เรื่อง การขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                     1. เห็นชอบในหลักการการขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่            15 เมษายน 2567 - 15 ตุลาคม 2567 ดังนี้
                               1.1 ขยายให้คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) (จะสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2567)
                                1.2 กำหนดให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองทางบก ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) จำนวน 7 ด่าน เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 จังหวัดหนองคาย ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร ฯ
                               1.3 กำหนดให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองทางน้ำที่เดินทางมากับเรือสำราญและกีฬา ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) จำนวน 5 ด่าน เช่น ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระยอง ฯลฯ
                     2. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็วต่อไป
                     3. มอบหมายให้หน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกำกับติดตามและประเมินผลกระทบจากการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ภายหลังครบระยะเวลาที่ประกาศไว้ (6 เดือน) ทั้งนี้ หากมีผลกระทบต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติ หน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวต่อไปได้
                      สาระสำคัญ
                      กต. เสนอว่า
                      1. ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567 มีมติเห็นชอบ ให้ กต. ร่วมกับ มท. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เร่งพิจารณาดำเนินการเพื่อยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วในทุกด่านตรวจคนเข้าเมืองทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทางและลดความแออัดบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง
                     2. ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2557 กต. ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มท. สำนักงาน ตม. เพื่อหารือแนวทางการดำเนินการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นควรให้ดำเนินการในพื้นที่ของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่เป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของไทย ก่อนขยายไปยังด่านอื่น ๆ ทั่วประเทศต่อไป พร้อมกันนี้ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประเมินผลกระทบที่จะเกิดในระหว่างมาตรการในการยกเว้นดังกล่าว ที่ประชุมจึงเห็นชอบในหลักการและเสนอแนวทางการยกเว้นแบบ ตม. 6 เป็นการชั่วคราว สำหรับด่านทางบกและทางน้ำที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของประเทศ
                     3. สำหรับการยื่นแบบ ตม.6 เป็นเอกสารที่ใช้เก็บข้อมูลของคนต่างด้าว เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและติดตามคนต่างด้าวตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องยื่นรายการตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงและผ่านการตรวจอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่ของด่านตรวจคนเข้าเมืองประจำเส้นทางนั้น โดยในปี 2560 ได้ยกเลิกให้คนไทยยื่นแบบ ตม.6 และที่ผ่านมาได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เพื่อยกเว้นให้คนต่างด้าวบางจำพวกซึ่งเดินทางเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักรโดยยานพาหนะทางอากาศ ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6) และยกเว้นให้คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบ ตม.6 เป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 - 30 เมษายน 2567 เพื่อเป็นการลดความแออัดและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองดังกล่าว
                     4. กต. ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางลดความแออัดบริเวณหน้าด่านตรวจคนเข้าเมือง เห็นสมควรให้มีการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบ ตม.6 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ช่วงเดือน เมษายน - ตุลาคม 2567 อีกทั้งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการดำเนินตามมติคณะรัฐมนตรีในข้อ 1 จึงได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (ตม.6) ตั้งแต่วันที่          15 เมษายน 2567 - 15 ตุลาคม 2567 โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
                               4.1 ขยายให้คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม. 6) เป็นการชั่วคราวต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 - 15 ตุลาคม 2567)
                                4.2 กำหนดให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองทางบก ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบ ตม.6 จำนวน 7 ด่าน ได้แก่
                                           (1) ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
                                            (2) ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 จังหวัดหนองคาย
                                           (3) ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร
                                          (4) ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองลึก จังหวัดสระแก้ว
                                          (5) ด่านตรวจคนเข้าเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
                                          (6) ด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง จังหวัดยะลา
                                          (7) ด่านตรวจคนเข้าเมืองปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา
                                4.3 กำหนดให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอก
ราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองทางน้ำที่เดินทางมากับเรือสำราญและกีฬา ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) จำนวน 5 ด่าน ดังนี้
                                           (1) ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
                                          (2) ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระยอง
                                           (3) ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดชลบุรี
                                          (4) ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดกระบี่
                                          (5) ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
                     ทั้งนี้ มาตรการยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 ดังกล่าวจะใช้บังคับ ระหว่างวันที่ 15 เมษายน 2567 -          15 ตุลาคม 2567 ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งทางบกและทางน้ำ อันจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้นในช่วงเดือนเมษายน - ตุลาคม 2567

แต่งตั้ง
19. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 15 คน เนื่องจากกรรมการเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้
                      1. นายประยูร อินสกุล (ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                      2. นายเกียรติณรงค์ วงศ์น้อย (ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง) ผู้แทนกระทรวงการคลัง
                     3. นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ (ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า)                    ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์
                     4. นายใบน้อย สุวรรณชาตรี (รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม) ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม
                     5. นางสาวประนิอร เตียวตรานนท์ (ผู้อำนวยการกองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 1)                  ผู้แทนสำนักงบประมาณ
                     6. นายสุรจิต ลักษณะสุต (ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค สายองค์กรสัมพันธ์)                   ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
                     7. นายมนตรี วิศณุพรประสิทธิ์ ผู้แทนชาวไร่อ้อย
                     8. นายไพบูลย์ ธิติศักดิ์ ผู้แทนชาวไร่อ้อย
                     9. นายเอกชัย อริยมงคลชัย ผู้แทนชาวไร่อ้อย
                     10. นายสุวิทย์ พันธุ์วิทยากูล ผู้แทนชาวไร่อ้อย
                     11. นายประพันธ์ศักดิ์ ว่องไพฑูรย์ ผู้แทนโรงงาน
                     12. นายคมกริช นาคะลักษณ์ ผู้แทนโรงงาน
                     13. นายปริวัฒก์ กาญจนธนา ผู้แทนโรงงาน
                     14. นายวรพจน์ จันทรา ผู้แทนโรงงาน
                     15. นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้ทรงคุณวุฒิ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ