คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงกลาโหมรายงานผลการตรวจเยี่ยมและติดตามการแก้ปัญหาภัยแล้งจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ดังนี้
1. จังหวัดบุรีรัมย์
1.1 สถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดบุรีรัมย์ ขณะนี้ได้คลี่คลายลง พื้นที่ประสบภัยจำนวน 186 ตำบล 2,046 หมู่บ้าน ขณะนี้ลดลงเหลือ171 ตำบล 1,941 หมู่บ้าน ผลอันเนื่องมาจากมีฝนตกปานกลางครอบคลุมทั้งจังหวัดในห้วงระหว่าง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้บรรเทาความเดือดร้อนในพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ประสบภัยแล้ง เพราะมีปริมาณน้ำไหลมาสู่อ่างเก็บน้ำของโครงการชลประทานบุรีรัมย์เป็นปริมาณเพิ่มขึ้น
1.2 การช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน จังหวัดบุรีรัมย์ได้ให้หน่วยงานของอำเภอ/กิ่งอำเภอ และ ภาคเอกชนที่มีรถบรรทุกน้ำ นำน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ไปช่วยเหลือราษฎร โดยระหว่างวันที่ 18 พ.ย.47 — 20 เม.ย.48 ได้มีการแจกจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภค แล้ว จำนวน 68,445,400 ลิตร ในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรผู้ประสบภัยขาดแคลนน้ำ อุปโภค-บริโภค จังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งจังหวัดบุรีรัมย์และประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ทั้ง 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ
1.3 การจัดแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้แผนพัฒนาภัยแล้ง ปี 2549
การแก้ปัญหาน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค ได้แก่ โครงการก่อสร้างระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่และขยายเขตประปาหมู่บ้าน จำนวน 4 แห่ง งบประมาณ 12.8 ล้านบาท และโครงการขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อใช้สำหรับการอุปโภค-บริโภค จำนวน 57 แห่ง งบประมาณ 99.09 ล้านบาท
การแก้ปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน จำนวน 64 แห่ง งบประมาณ 201.67 ล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน จำนวน 2 แห่ง งบประมาณ 36 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงคูเมืองในเขตเทศบาล 1 แห่ง งบประมาณ 30 ล้านบาท
1.4 โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำ ห้วยตลาดด้านตะวันตก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ 1,400 ไร่ ลึกเฉลี่ย 2.50 เมตร พร้อมงานถนนรอบอ่างเก็บน้ำกว้าง 6.00 เมตร ระยะทาง 15.00 กิโลเมตร งานปรับปรุงคลองส่งน้ำ เชื่อมอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด-ห้วยจระเข้มาก และวางท่อลอด รับน้ำ ดำเนินการโดย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด และโครงการชลประทาน บุรีรัมย์ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ขณะนี้ผลงานดำเนินการไปได้ ร้อยละ 85.47
2. จังหวัดสุรินทร์
2.1 สถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 158 ตำบล 1,759 หมู่บ้าน โดยมีผลมาจากไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำที่เพียงพอ เมื่อมีปริมาณน้ำฝนมาก แต่ฝนตกในห้วงเวลาสั้นก็จะทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งที่มีระยะยาวนาน สำหรับพื้นที่การเกษตรและประชาชนที่อยู่ในเขตชลประทานจะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร น้ำอุปโภค-บริโภค
2.2 การช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน จังหวัดสุรินทร์ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งในขีดความสามารถของจังหวัด โดยเน้นน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค เป็นความเร่งด่วนลำดับแรก
2.3 การกำหนดมาตรการเสริมเพื่อช่วยเหลือบรรเทาปัญหาภัยแล้ง จังหวัดสุรินทร์ ได้กำหนดมาตรการเพื่อขอความร่วมมือกับประชาชน ดังนี้
- ให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการบริโภคเป็นความสำคัญอันดับแรก
- ให้ความสำคัญกับแหล่งกักเก็บน้ำและภาชนะเก็บน้ำที่เพียงพอ เช่น ถังเก็บน้ำกลางหมู่บ้าน, บ่อบาดาล, สระ, ฝาย ฯลฯ ให้มีกระจายครอบคลุมพื้นที่
2.4 การจัดแผนงาน/โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ได้จัดทำความต้องการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการสร้างฝาย, ขุดสระน้ำ, ขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน 173 โครงการ เป็นเงิน 206,984,011 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--
1. จังหวัดบุรีรัมย์
1.1 สถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดบุรีรัมย์ ขณะนี้ได้คลี่คลายลง พื้นที่ประสบภัยจำนวน 186 ตำบล 2,046 หมู่บ้าน ขณะนี้ลดลงเหลือ171 ตำบล 1,941 หมู่บ้าน ผลอันเนื่องมาจากมีฝนตกปานกลางครอบคลุมทั้งจังหวัดในห้วงระหว่าง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้บรรเทาความเดือดร้อนในพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ประสบภัยแล้ง เพราะมีปริมาณน้ำไหลมาสู่อ่างเก็บน้ำของโครงการชลประทานบุรีรัมย์เป็นปริมาณเพิ่มขึ้น
1.2 การช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน จังหวัดบุรีรัมย์ได้ให้หน่วยงานของอำเภอ/กิ่งอำเภอ และ ภาคเอกชนที่มีรถบรรทุกน้ำ นำน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ไปช่วยเหลือราษฎร โดยระหว่างวันที่ 18 พ.ย.47 — 20 เม.ย.48 ได้มีการแจกจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภค แล้ว จำนวน 68,445,400 ลิตร ในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรผู้ประสบภัยขาดแคลนน้ำ อุปโภค-บริโภค จังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งจังหวัดบุรีรัมย์และประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ทั้ง 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ
1.3 การจัดแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้แผนพัฒนาภัยแล้ง ปี 2549
การแก้ปัญหาน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค ได้แก่ โครงการก่อสร้างระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่และขยายเขตประปาหมู่บ้าน จำนวน 4 แห่ง งบประมาณ 12.8 ล้านบาท และโครงการขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อใช้สำหรับการอุปโภค-บริโภค จำนวน 57 แห่ง งบประมาณ 99.09 ล้านบาท
การแก้ปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน จำนวน 64 แห่ง งบประมาณ 201.67 ล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน จำนวน 2 แห่ง งบประมาณ 36 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงคูเมืองในเขตเทศบาล 1 แห่ง งบประมาณ 30 ล้านบาท
1.4 โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำ ห้วยตลาดด้านตะวันตก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ 1,400 ไร่ ลึกเฉลี่ย 2.50 เมตร พร้อมงานถนนรอบอ่างเก็บน้ำกว้าง 6.00 เมตร ระยะทาง 15.00 กิโลเมตร งานปรับปรุงคลองส่งน้ำ เชื่อมอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด-ห้วยจระเข้มาก และวางท่อลอด รับน้ำ ดำเนินการโดย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด และโครงการชลประทาน บุรีรัมย์ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ขณะนี้ผลงานดำเนินการไปได้ ร้อยละ 85.47
2. จังหวัดสุรินทร์
2.1 สถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 158 ตำบล 1,759 หมู่บ้าน โดยมีผลมาจากไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำที่เพียงพอ เมื่อมีปริมาณน้ำฝนมาก แต่ฝนตกในห้วงเวลาสั้นก็จะทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งที่มีระยะยาวนาน สำหรับพื้นที่การเกษตรและประชาชนที่อยู่ในเขตชลประทานจะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร น้ำอุปโภค-บริโภค
2.2 การช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน จังหวัดสุรินทร์ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งในขีดความสามารถของจังหวัด โดยเน้นน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค เป็นความเร่งด่วนลำดับแรก
2.3 การกำหนดมาตรการเสริมเพื่อช่วยเหลือบรรเทาปัญหาภัยแล้ง จังหวัดสุรินทร์ ได้กำหนดมาตรการเพื่อขอความร่วมมือกับประชาชน ดังนี้
- ให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการบริโภคเป็นความสำคัญอันดับแรก
- ให้ความสำคัญกับแหล่งกักเก็บน้ำและภาชนะเก็บน้ำที่เพียงพอ เช่น ถังเก็บน้ำกลางหมู่บ้าน, บ่อบาดาล, สระ, ฝาย ฯลฯ ให้มีกระจายครอบคลุมพื้นที่
2.4 การจัดแผนงาน/โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ได้จัดทำความต้องการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการสร้างฝาย, ขุดสระน้ำ, ขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน 173 โครงการ เป็นเงิน 206,984,011 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--