สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2567

ข่าวการเมือง Thursday April 18, 2024 16:34 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 18 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการ                                                  รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ในท้องที่เขตวังทองหลาง เขตบาง                                                  กะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี                                         อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ?.
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาตหรือ                                        ใบรับรอง ให้นำเข้า หรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จาก

ซากสัตว์ป่า พ.ศ. .... เศรษฐกิจ-สังคม

                    3.           เรื่อง           รายงานผลการจัดจ้างโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย (เพิ่มเติม)  พื้นที่เขต                                        ห้วยขวางเข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง
                    4.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์และ 2 เดือนแรกของ                                        ปี 2567
                    5.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การวิจัยทางคลินิกและการ                                                  จัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา                                                   วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา
                    6.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางส่งเสริมบทบาทภาค                                                  ประชาสังคมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการ                                        พัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา
                    7.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคา                                        พลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงชีวภาพ และก๊าซปิโตรเลียมเหลว) ของ                                                  คณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา
                    8.           เรื่อง           ผลการพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการ                                                  แก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตฉ้อโกงของบริษัทจดทะเบียน                                        ในตลาดหลักทรัพย์
                    9.           เรื่อง           การดำเนินงานโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง
                    10.           เรื่อง           รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    11.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขยายโอกาสการมีงานทำ                                                  และส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ ของ                                                  คณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา
                    12.           เรื่อง           การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เรื่อง การแก้ไขปัญหา                                        หนี้สินของเกษตรกร
                    13.           เรื่อง           รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568





ต่างประเทศ
                    14.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    15.           เรื่อง           ขออนุมัติโครงกรจัดสรรทุนการศึกษาตามความต้องการของกระทรวงการ                                                  ต่างประเทศโครงการที่ 6
                    16.           เรื่อง           การร่วมมือกับรัฐบาล สปป. ลาว ในการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 12 (R12) ช่วง                                        เมืองท่าแขก - จุดผ่านแดนนาเพ้า สปป. ลาว
                    17.            เรื่อง           การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง                                                  สาธารณรัฐคาซัคสถานว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือ                                                  เดินทางธรรมดา
                    18.            เรื่อง           ร่างปฏิญญาว่าด้วยนโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ                                                  นวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและทั่วถึง

แต่งตั้ง

                    19.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                     20.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    21.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต หัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป

ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม (กระทรวงการต่างประเทศ)

                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี







?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ในท้องที่เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ?.
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ในท้องที่เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ                   พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                      1. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว - สำโรง) ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ดังนี้
                                1.1 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร                   เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอำเภอ              บางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 97 ก วันที่ 5 ตุลาคม 2558 (ใช้บังคับกำหนดเวลา 4 ปี)
                                 1.2 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้กำหนดให้การเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัด สมุทรปราการ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ประกาศใน                  ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 320 ง วันที่ 25 ธันวาคม 2560
                     2. รฟม. ได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเขตทางทั้งหมดในโครงการรถไฟฟ้าสายสีหลืองฯ เพื่อใช้ในการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว แต่มีที่ดินของเอกชนที่ถูกเวนคืน และ รฟม. ได้วางเงินค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินแล้วแต่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 33 แปลง รฟม. จึงมีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เพื่อให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของ รฟม.
                     3. คณะกรรมการ รฟม. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. เสนอตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (www.go.th) ระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2564 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2564 เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน นอกจากนี้ ได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ                             แห่งราชอาณาจักรไทย เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์กลาง (www.go.th) และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ                     ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว
                      สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                      เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ในท้องที่เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายในระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ



2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาตหรือใบรับรอง ให้นำเข้า หรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                     1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาตหรือใบรับรอง ให้นำเข้า หรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                       2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอว่า
                     1. อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Convention on International Trade on Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) หรืออนุสัญญาไซเตส (CITES) ได้จัดทำขึ้นเพื่อการคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยใช้ระบบควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในรูปของการส่งออกและนำเข้า สัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ รวมถึงการนำเข้ามาจากทะเล ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 โดยที่ปัจจุบันการขอใบอนุญาตหรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองให้นำเข้า ให้ส่งออกหรือให้นำผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าเป็นไปตามกฎกระทรวงการขอใบอนุญาตหรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาต หรือใบรับรองให้นำเข้า ให้ส่งออกหรือให้นำผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า พ.ศ. 2558 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม                             ซึ่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 116 บัญญัติให้บรรดากฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
                     2. โดยที่มาตรา 22 วรรคสาม มาตรา 23 วรรคสี่ และมาตรา 24 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ได้บัญญัติให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขอรับใบอนุญาตและ                        การออกใบอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์ป่าสงวน    สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ และสัตว์ป่าควบคุม รวมทั้งใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการขอรับใบรับรอง และการออกใบรับรองเพื่อการดำเนินการดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้มีมาตรการในการควบคุมการดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ประกอบกับเป็นการอนุวัติการตามอนุสัญญาตามข้อ 1. ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี ทส. จึงมีความจำเป็นต้องยกร่างกฎกระทรวงในเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาตหรือใบรับรอง ให้นำเข้าหรือส่งออก ซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า                 ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว แต่เนื่องจากร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ก่อนที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ                ร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (27 พฤศจิกายน 2562) ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 อย่างไรก็ตาม ทส. ได้เสนอขอขยายระยะเวลา                      การดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่ ทส. เสนอ
                     3. ทส. ได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 และแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากกฎหมาย (ฉบับที่ 2)                      พ.ศ. 2565 แล้ว โดยได้นำร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาตหรือใบรับรอง ให้นำเข้า หรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. .... รับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 3 - 23 พฤษภาคม 2566 รวมทั้งได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็น พร้อมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
                     ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาตหรือใบรับรอง                   ให้นำเข้า หรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. กำหนดบทนิยามขึ้นใหม่            - ?สัตว์ป่าเฉพาะ? หมายความว่า สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุม สัตว์ป่าตามอนุสัญญา
  - ?สัตว์ป่าตามอนุสัญญา? หมายความว่า สัตว์ป่าที่ได้รับความคุ้มครอง                ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้                สูญพันธุ์
  - ?สัตว์ป่าทั่วไป? หมายความว่า สัตว์ป่าที่ไม่ใช่สัตว์ป่าเฉพาะ
  - ?สัตว์น้ำ? หมายความว่า สัตว์ป่าเฉพาะที่เป็นสัตว์น้ำ หรือสัตว์ป่าทั่วไปที่เป็นสัตว์น้ำ
2. ใบอนุญาต/ใบรับรอง            กำหนดประเภทของสัตว์ป่าที่ต้องขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรอง ดังนี้
  - กรณีใบอนุญาต เป็นใบอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออก ซึ่งสัตว์ป่าเฉพาะ               ซากสัตว์ป่าเฉพาะ หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าเฉพาะ รวมถึงสัตว์ป่าเฉพาะ ซากสัตว์ป่าเฉพาะ หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าเฉพาะที่เป็นสัตว์น้ำ
  - กรณีใบรับรอง เป็นใบรับรองให้นำเข้าหรือส่งออก ซึ่งสัตว์ป่าทั่วไป ซากสัตว์ป่าทั่วไป หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าทั่วไป รวมถึงสัตว์ป่าทั่วไป ซากสัตว์ป่าทั่วไป หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าทั่วไปที่เป็นสัตว์น้ำ
3. กำหนดคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต หรือใบรับรอง            - กรณีบุคคลธรรมดา เช่น ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือใบรับรอง หรือเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรองที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (กำหนดขึ้นใหม่)
  - กรณีนิติบุคคล ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลนั้น ๆ ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา และกรณีที่เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์หรือสวนสัตว์ที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้ง                 ตามหน้าที่ ต้องเปิดให้บริการอย่างต่อเนื่องและแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่                 ตรวจรับรองการเปิดให้บริการนับถึงวันที่ยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 3 ปี (กำหนดขึ้นใหม่)
4. กำหนดวิธีการยื่นคำขอ            การยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรองให้ยื่นผ่านช่องทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบท้ายกฎกระทรวงนี้ (กำหนดขึ้นใหม่)
5. ผู้มีอำนาจพิจารณา ใบอนุญาตหรือใบรับรอง            กรณีใบอนุญาต
  - อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กรณีใบอนุญาตการนำเข้าหรือส่งออก ซึ่งสัตว์ป่าเฉพาะ ซากสัตว์ป่าเฉพาะ หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าเฉพาะ
  - อธิบดีกรมประมง กรณีใบอนุญาตการนำเข้า ส่งออก ส่งกลับออกไป และ  การนำเข้าจากทะเลซึ่งสัตว์ป่าเฉพาะ ซากสัตว์ป่าเฉพาะ หรือผลิตภัณฑ์จาก               ซากสัตว์ป่าเฉพาะที่เป็นสัตว์น้ำ
  กรณีใบรับรอง
  ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบรับรองการนำเข้า ส่งออก ส่งกลับออกไป ซึ่งสัตว์ป่าทั่วไป ซากสัตว์ป่าทั่วไป และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าทั่วไป หรือสัตว์ป่าทั่วไป ซากสัตว์ป่าทั่วไป และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าทั่วไปที่เป็นสัตว์น้ำ อาจยื่น              คำขอต่อเจ้าหน้าที่ (กรมอุทยานแห่งชาติฯ หรือกรมประมงสำหรับกรณีที่เป็น               สัตว์น้ำ) และเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องครบถ้วน                         ให้ออกใบรับรองให้
6. กำหนดข้อห้าม            กำหนดข้อห้ามในการดำเนินการ ดังนี้ (กำหนดขึ้นใหม่)
  - ห้ามนำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง และนำเข้าหรือส่งออก สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ เว้นแต่เป็นการดำเนินการเพื่อกิจการสวนสัตว์
  - ห้ามนำเข้าหรือส่งออกซึ่งซากสัตว์ป่าสงวน และซากสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าสงวน เว้นแต่เป็นการดำเนินการเพื่อการสำรวจ การศึกษา การวิจัย หรือทดลองทางวิชาการ
  - ห้ามนำเข้าซึ่งซากสัตว์ป่าสงวนที่เป็นสัตว์น้ำ และซากสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ ที่ได้จากการทำการประมงในทะเลอาณาเขต หรือเขตทะเลหลวง                  ซึ่งไม่อาจครอบครองได้โดยชอบตามกฎหมาย หากสัตว์ป่าสงวนที่เป็นสัตว์น้ำ หรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ ติดมากับเครื่องมือทำการประมง ให้ปล่อยสัตว์ป่าดังกล่าวกลับคืนสู่ทะเลโดยทันที
  - ห้ามมิให้นำเข้าหรือส่งออกไข่ของสัตว์ป่า หรือไข่หรือตัวอ่อนของสัตว์ป่า           ที่เป็นสัตว์น้ำ เว้นแต่เป็นกรณีเพื่อการสำรวจ การศึกษา การวิจัย หรือ                        การทดลองทางวิชาการ
- ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ซึ่งสัตว์ป่าอันตราย
7. การนำเข้าซึ่งซากสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์น้ำจากทะเลในเขตทะเลหลวง            ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยตามกฎหมายว่าด้วย                        การประมง หากจะนำเข้าซึ่งซากสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์น้ำจากทะเลในเขตทะเลหลวงให้ยื่นคำขอรับหนังสือรับรองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อเห็นว่าคำขอนั้นถูกต้องก็ให้เสนออธิบดีกรมประมงพิจารณาออกหนังสือรับรอง (กำหนดขึ้นใหม่)
8. อายุใบอนุญาต และใบรับรอง            - ใบอนุญาตและใบรับรอง มีอายุ 180 วัน นับแต่วันที่ออกใบอนุญาตหรือใบรับรอง แล้วแต่กรณี
  - ใบรับรอง กรณีเป็นสัตว์ป่าทั่วไป ซากสัตว์ป่าทั่วไป หรือผลิตภัณฑ์ จากซากสัตว์ป่าทั่วไป ที่เป็นสัตว์น้ำ มีอายุ 90 วัน นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต หรือใบรับรอง แล้วแต่กรณี
  - กำหนดให้การต่ออายุใบอนุญาตหรือใบรับรองให้ต่ออายุได้เพียงครั้งเดียว โดยที่ระยะเวลาใบอนุญาตหรือใบรับรองที่ขยายให้มีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสิ้นอายุ ทั้งนี้ ใบอนุญาตและใบรับรองเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่สามารถโอนให้แก่บุคคลอื่นได้
9. บทเฉพาะกาล            กำหนดให้บรรดาใบอนุญาตที่เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า                     ซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า ที่เป็นสัตว์ป่าเฉพาะหรือใบรับรอง     การนำเข้า หรือการส่งออกสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าทั่วไป หรือใบอนุญาตที่เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์น้ำ ซากสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์น้ำ ที่ออกตามกฎกระทรวงการขอใบอนุญาต หรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองให้นำเข้า ให้ส่งออก หรือให้นำผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า พ.ศ. 2558 ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตหรือใบรับรองนั้นจะสิ้นอายุ และให้บรรดาคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอใบรับรองดังกล่าวที่ได้ยื่นไว้ตามกฎกระทรวงดังกล่าวถือเป็นคำขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรองตามกฎกระทรวงนี้ และให้พิจารณาอนุญาตตามหลักเกณฑ์                      ที่กำหนด



เศรษฐกิจ-สังคม
3. เรื่อง รายงานผลการจัดจ้างโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย (เพิ่มเติม)  พื้นที่เขตห้วยขวาง                    เข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง
                      คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการจัดจ้างโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย (เพิ่มเติม) พื้นที่                            เขตห้วยขวางเข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง (โครงการสร้างระบบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมฯ) ก่อนดำเนินการทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันต่อไป ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (25 ตุลาคม 2559) อนุมัติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการใหม่ที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 46 รายการ ซึ่งรวมถึงโครงการสร้างระบบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมฯ วงเงินรวม                    1,680  ล้านบาท โดยมีรายละเอียดการเบิกจ่าย ดังนี้
หน่วย  : ล้านบาท
รายการ          เป็นเงิน
งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2560            320
งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2561            640
งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2562            640
เงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด           80
รวมวงเงินภาระผูกพัน          1,680

                    สำหรับรายการก่อหนี้ผูกพันรายการใหม่ที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เห็นสมควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เจ้าของเรื่องพิจารณาและนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้ง                    ก่อนดำเนินการต่อไป
                    2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (12 กันยายน 2560) เห็นชอบในหลักการโครงการที่ต้องเร่งรัด                   การดำเนินการเพื่อให้มีระบบการรวบรวมและบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพก่อนระบายลงคลองแสนแสบ ตามแผนปฏิบัติการเพื่อให้คลองแสนแสบสะอาด รวม 5 โครงการ กรอบวงเงินรวม 7,145.40 ล้านบาท ซึ่งรวมไปถึงโครงการสร้างระบบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมฯ โดยให้ใช้แหล่งเงินและค่าใช้จ่ายจากเงินรายได้ของกรุงเทพมหานคร               ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และเงินอุดหนุนรัฐบาลไม่เกินร้อยละ 50
                    3. กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดจ้างเอกชน โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เพื่อดำเนินโครงการสร้างระบบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมฯ ในกรอบวงเงิน ดังนี้

                                                            หน่วย : ล้านบาท
รายการ          เป็นเงิน
งบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาล          742.00
งบประมาณของกรุงเทพมหานคร          742.00
รวมกรอบวงเงิน          1,484.00
โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาสตราจารย์วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น) ได้เห็นชอบรายงานผลการพิจารณาและอนุมัติจ้างโครงการสร้างระบบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมฯ ดังกล่าวแล้ว  ซึ่งกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 1,080 วัน (ปัจจุบันยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ เนื่องจากอยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรีทราบตามข้อเสนอในครั้งนี้) นับถัดจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกรุงเทพมหานครให้เริ่มงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในขณะนั้น) ให้ความเห็นชอบรายงานผลการจัดจ้างโครงการสร้างระบบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมฯ  และอนุมัติการขยายระยะเวลาการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ1 แล้วด้วย ทั้งนี้ การลงนามสัญญาจะกระทำได้ต่อเมื่อกรุงเทพมหานครได้รับความเห็นชอบความเหมาะสมของราคาโครงการดังกล่าวจากสำนักงบประมาณ (สงป.) แล้วเท่านั้น
                    4. สงป. (ตามหนังสือ สงป. ด่วนที่สุด ที่ นร 0704/257 ลงวันที่ 26 มกราคม 2567) พิจารณาแล้วเห็นว่า รายการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย (เพิ่มเติม)  พื้นที่เขตห้วยขวางเข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง เป็นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้งหนึ่งก่อนดำเนินการทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันตามขั้นตอนต่อไป ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 (เรื่อง ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณสำหรับรายการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560)  ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะรับทราบรายงานผลการจัดจ้างรายการดังกล่าวในวงเงิน 1,484.00 ล้านบาท ตามที่ มท. เสนอ โดยค่าใช้จ่าย                  ในการดำเนินโครงการประกอบด้วย เงินอุดหนุนของรัฐบาล จำนวน 742.00 ล้านบาท และเงินรายได้ของกรุงเทพมหานครสมทบ จำนวน 742.00 ล้านบาท สำหรับในส่วนเงินอุดหนุนของรัฐบาลให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 63.50 ล้านบาท ที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้กันไว้เบิกเหลื่อมปีจนถึงวันทำการสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2567 (ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0402.5/ว 138 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2566) ส่วนที่เหลือ จำนวน 678.50 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ    พ.ศ. 2567 - พ.ศ. 2569 โดยกรุงเทพมหานครจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับให้ครบวงเงินค่างานตามสัญญาต่อไป รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนใน              ทุกขั้นตอนโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญด้วย
                    5. มท. (กรุงเทพมหานคร) แจ้งว่า การดำเนินโครงการสร้างระบบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมฯ จะทำให้สามารถรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่เขตห้วยขวางครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร ส่งไปบำบัดที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงประมาณ  60,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพื่อฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองเป็นระบบ ได้แก่ คลองภายในพื้นที่เขตห้วยขวาง คลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบ
?_____________
1การขยายระยะเวลาการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการสร้างระบบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมฯ ได้ขยาย                      เป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2569

4. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์และ 2 เดือนแรกของปี 2567
          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์และ 2 เดือนแรกของปี 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)  เสนอ
          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
1.          สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567
          การส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่า 23,384.9 ล้านเหรียญสหรัฐ                  (827,139 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 3.6 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และ                    ยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 2.3 การส่งออกของไทยยังคงเติบโตต่อเนื่องตอบรับการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและ                   ความเชื่อมั่นด้านการบริโภคที่กลับมา สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลกที่อยู่ระดับขยายตัวต่อเนื่อง การส่งออกภาคอุตสาหกรรมของไทยยังขยายตัวต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ในขณะที่สินค้าเกษตรขยายตัวได้ดี สำหรับวิกฤตการณ์ในทะเลแดงส่งผลกระทบเล็กน้อย ทั้งนี้ การส่งออกไทย 2 เดือนแรก ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 5.6
                    มูลค่าการค้ารวม
          มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่าการค้ารวม 47,323.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 23,384.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.6 การนำเข้า มีมูลค่า 23,938.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.2 ดุลการค้า ขาดดุล 554.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 2 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 95,381.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออก มีมูลค่า 46,034.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.7 การนำเข้า มีมูลค่า 49,346.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.9 ดุลการค้า 2 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 3,311.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
          มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่าการค้ารวม 1,683,647
ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 827,139 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.3 การนำเข้า มีมูลค่า 856,508 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.7 ดุลการค้า ขาดดุล 29,369 ล้านบาท ภาพรวม 2 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 3,358,914 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.0 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออก มีมูลค่า 1,611,719 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.3 การนำเข้า มีมูลค่า 1,747,195 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.9 ดุลการค้า 2 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 135,476 ล้านบาท
                    การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 1.1 โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 7.5 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 9.2 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 53.6 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ เซเนกัล และแอฟริกาใต้) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 31.7 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และตุรกี) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 7.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และอิสราเอล) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 21.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อิตาลี มาเลเซีย เยอรมนี และฟิลิปปินส์) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 17.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 9.2 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร เยอรมนี และสวีเดน) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 26.5 (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ กัมพูชา สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น) กาแฟ ขยายตัวร้อยละ 178.9 (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และสิงคโปร์) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 20.5 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม และลาว) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 34.9 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ลาว สิงคโปร์ และมาเลเซีย) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 24.2 (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย ฮ่องกง และเวียดนาม) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 77.0 (หดตัวในตลาดเมียนมา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง และลาว) ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.7
                    การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
          มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.2 มีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 24.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรเลีย และเม็กซิโก) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 6.5 (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สหรัฐฯ อินเดีย เยอรมนี และเบลเยียม) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 18.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย อินเดีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หดตัวร้อยละ 15.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 35.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเม็กซิโก) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ขยายตัวร้อยละ 13.1 (ขยายตัวในตลาดจีน ซาอุดีอาระเบีย เกาหลีใต้ สหรัฐฯ และมาเลเซีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 5.6 (หดตัวในตลาดฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเม็กซิโก) แผงวงจรไฟฟ้า หดตัวร้อยละ 13.2 (หดตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน และสหรัฐฯ) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 14.3 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย อินเดีย ไต้หวัน และตุรกี) เคมีภัณฑ์              หดตัวร้อยละ 14.2 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม สหรัฐฯ และมาเลเซีย) ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2567                   การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 7.7
                    ตลาดส่งออกสำคัญ
                    การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และทวีปออสเตรเลียยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลก อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังจีน ญี่ปุ่น และอาเซียน (5) กลับมาหดตัว ตามความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
                    ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยขยายตัวตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 15.5 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 3.3 CLMV ร้อยละ 4.5 ขณะที่ จีน หดตัวร้อยละ 5.7 ญี่ปุ่น ร้อยละ 5.8 อาเซียน (5) ร้อยละ 1.2 และ (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยขยายตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 26.4 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 7.9 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 46.4 ขณะที่หดตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 2.6 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 9.9 แอฟริกา ร้อยละ 18.2 และสหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 7.3 (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัว   ร้อยละ 94.2 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 198.2
2.          มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
                     การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ อาทิ
(1) การลงนามความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ศรีลังกา นับเป็น FTA ฉบับที่ 15 ของไทย ทำให้ไทยมีคู่ค้า FTA เพิ่มเป็น 19 ประเทศ โดยในภาคการค้าสินค้าจะลดภาษีระหว่างกันกว่าร้อยละ 85 ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด ภาคการค้าบริการจะเปิดให้ไทยถือหุ้นสาขาบริการและการลงทุนได้ร้อยละ 100 ในสาขาที่ตกลงร่วมกัน คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 มูลค่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะมีผลใช้บังคับภายในปี 2567 นี้  (2) การส่งเสริมเขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่ร่วมกับผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน เยี่ยมชมเขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (eWTP Thailand Duty Free Zone) ที่     อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นเขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งแรกในไทย โดยกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายให้ไทยใช้ประโยชน์จาก eWTP ของจีน เพื่อให้สินค้าที่ขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซของไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว (3) กิจกรรมจับคู่ธุรกิจสินค้าผลไม้สด แปรรูป และผลิตภัณฑ์เกษตรอื่น ๆ เพื่อรองรับมาตรการกีดกันทางการค้า โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เชิญผู้นำเข้าที่มีศักยภาพจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น จีน สหภาพยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และกลุ่มประเทศ CLMV เป็นต้น เข้าร่วมงาน โดยมีผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมโครงการกว่า 100 บริษัท มีสินค้าเป้าหมายหลัก อาทิ ทุเรียน ลำไย มังคุด มะพร้าว และผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปต่าง ๆ มีกิจกรรมจับคู่ธุรกิจทั้งรูปแบบ Onsite และ Online เพื่อสนับสนุนและเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับเกษตรกรไทย และผู้ประกอบการไทย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ให้กับสินค้าผักและผลไม้ไทยด้วย
           แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า มูลค่าการส่งออกของไทยภาพรวมของ             ปีนี้จะขยายตัวได้จากอุปสงค์ภาคการผลิตที่กลับมาสู่ระดับปกติทำให้ปริมาณการค้าโลกกลับมาขยายตัว และกระแสความมั่นคงทางอาหารที่ยังช่วยให้สินค้าเกษตรของไทยยังคงเติบโตได้ดี แต่ยังมีความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจของคู่ค้าในตลาดหลักอย่างจีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นที่ฟื้นตัวล่าช้า ภัยแล้งที่กระทบต่ออุปทานสินค้าเกษตร ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและหามาตรการรองรับต่อไป

5. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การวิจัยทางคลินิกและการจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การวิจัยทางคลินิกและ                การจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอและแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การวิจัยทางคลินิกและ  การจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยทางคลินิก รวมถึงการจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคนอย่างเป็นระบบ ถือเป็นการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญของอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยและการแพทย์แผนไทย จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์สมุนไพรและภูมิปัญญาไทยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีข้อเสนอแนะ รวม 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เช่น ปรับปรุงยุทธศาสตร์ด้านการให้ทุนวิจัยและกลไกการสนับสนุนการวิจัยสมุนไพร กำหนดนโยบายและกลไกสนับสนุนให้เกิดระบบที่                 บูรณาการทรัพยากรด้านวิจัยและนวัตกรรม กำหนดนโยบายและส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถของภาคเอกชนในการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านสมุนไพร เป็นต้น และ (2) ข้อเสนอแนะการขับเคลื่อนเชิงบูรณาการ เช่น ให้มีการพัฒนาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านการวิจัยสมุนไพร ให้มีการพัฒนามาตรฐาน รูปแบบและ               แนวทางการเก็บข้อมูลเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคและการรักษาโดยใช้ยาสมุนไพรหรือการรักษา                 ตามแนวทางการแพทย์แผนไทย เป็นต้น
                    2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 พฤศจิกายน 2566) รับทราบรายงานตามข้อ 1 และมอบหมายให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงาน ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการและข้อสังเกตเพิ่มเติมของที่ประชุมวุฒิสภาไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะและข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    สธ. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อว. ดศ. และ อก. โดยสรุปผลได้ดังนี้
                    1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ข้อเสนอแนะ          ผลการพิจารณา
1. ปรับปรุงยุทธศาสตร์ด้านการให้ทุนวิจัยและกลไกการสนับสนุนการวิจัยสมุนไพรโดยกำหนดให้มีหน่วยงานให้ทุนสำหรับการวิจัยด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยขึ้นมาเป็นการเฉพาะ          ? แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ปี พ.ศ. 2566 - 2570 ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรได้มีการกำหนดและมอบหมายให้หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) จัดสรรทุนด้านการวิจัยสมุนไพร และได้มีการกำหนดจัดกลุ่มพืชสมุนไพรเป้าหมายที่ควรมุ่งเน้นสำหรับการจัดสรรทุนวิจัย ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนการให้ทุนวิจัยด้านสมุนไพร และทำให้การจัดสรรทุนวิจัยสมุนไพรครบตามห่วงโซ่คุณค่า (Value chain)
? ปัจจุบันมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนนโยบายและจัดสรรงบประมาณให้ PMU โดยในปี พ.ศ. 2563 - 2566 มีการจัดสรรงบประมาณงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร รวมทั้งสิ้น 3,973.76 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,206 โครงการ และกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีการจัดสรรทุนวิจัยด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย ปีละประมาณ 50 ล้านบาท
? เห็นควรให้มีการนำข้อมูลการจัดสรรทุนวิจัยด้านสมุนไพรมาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์และระดับความสำเร็จที่มีความพร้อมในการนำไปใช้ประโยชน์
2. มอบหมายกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในการบริหารจัดการด้านการวิจัยพัฒนาและการจัดการการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร          ? เห็นควรให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกซึ่งเป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติรับหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมและการจัดการการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร และหารือร่วมกับ สกสว. ซึ่งเป็นหน่วยงานเลขานุการร่วมของคณะอนุกรรมการวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพร เพื่อให้             เกิดความสะดวกในการดำเนินงานและสนับสนุนภารกิจให้ประสบความสำเร็จ
3. กำหนดนโยบายและกลไกสนับสนุนให้เกิดระบบที่บูรณาการทรัพยากรด้านวิจัยและนวัตกรรมสำหรับการสนับสนุนการดำเนินงาน และสถานที่ในการสร้างสรรค์ผลงาน (maker space) ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้ด้านสมุนไพรและการแพทย์   แผนไทย                    ? ปัจจุบันมีโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) ในสังกัด อว. จำนวน 58 โรงงานและศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industry Transformation Center) ในสังกัด อก. จำนวน 11 ศูนย์ รวมทั้งมีห้องปฏิบัติการด้านวิเคราะห์ วิจัยและควบคุมคุณภาพสมุนไพรในสังกัด อว. จำนวน 19 แห่ง
? เห็นควรมอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพรและคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายใต้คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ ร่วมกันดำเนินการผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากสถานที่ต้นแบบที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เกิดเป็น maker space เพื่อนำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
4. กำหนดนโยบายและส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถของภาคเอกชนในการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์โดยใช้องค์ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นฐานในการพัฒนาเกิดเป็นธุรกิจฐานนวัตกรรม          ? ปัจจุบันภายใต้แผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 เป็นต้น ได้มีนโยบาย เป้าหมายและตัวชี้วัดด้านการส่งเสริมการประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคเอกชนด้วยการใช้นวัตกรรม
? เห็นควรมอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพรคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพรและคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์สมุนไพรแห่งชาติ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ผลการดำเนินการที่ผ่านมา และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์เป้าหมายเพื่อหาแนวทางในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านสมุนไพรจากภาคเอกชนไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. กำหนดให้การพัฒนาข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ของการใช้สมุนไพรเป็นแนวทางสำคัญของการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสมุนไพร
          ? ปัจจุบันมีฐานข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์และฐานข้อมูลการใช้สมุนไพร เช่น ระบบ NRIS: ฐานข้อมูลกลางของงานวิจัยในระบบ ววน. ฐานข้อมูลคลังด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) ของ สธ. เป็นต้น
? กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีการทำวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสมุนไพรที่ผ่านมา เช่น โครงการประเมินมูลค่าการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย โครงการวิจัยและพัฒนาตัวชี้วัดเศรษฐกิจสมุนไพร: การจัดทำ Outlook และนำร่องเสนอข้อมูลเศรษฐกิจประเทศไทยด้านยาสมุนไพร เป็นต้น
? เห็นควรให้มีการนำชุดข้อมูลงานวิจัยมาวิเคราะห์แยกตามสัดส่วนการตลาดและวิเคราะห์แยกตามสัดส่วนการตลาด และ Technology Readiness Level เพื่อกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรแบบมีหลักฐานเชิงประจักษ์ รวมทั้งให้มีการตั้งคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพรเพื่อดำเนินการตามสมุนไพรเป้าหมาย
                    2. ข้อเสนอแนะการขับเคลื่อนเชิงบูรณาการ
ข้อเสนอแนะ          ผลการพิจารณา
1. อว. และ สธ. ร่วมกันพัฒนาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านการวิจัยสมุนไพรการจัดทำแนวทางการประเมินข้อเสนอโครงการวิจัยในมนุษย์ของประเทศตามแนวทางที่เหมาะสมกับการวิจัยสมุนไพร          ? ปัจจุบันการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยของมนุษย์อยู่ภายใต้ขอบเขตหน้าที่ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในสังกัด อว.
? เห็นควรเสนอให้มีการตั้งคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพรเพื่อจัดทำแนวทางมาตรฐานงานวิจัยทางคลินิกของสมุนไพร โดยมีองค์ประกอบจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย เภสัชกร นักวิชาการ ผู้ประกอบการ เป็นต้น เพื่อ                   การยอมรับและนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง
2. อว. สธ. และ ดศ. ร่วมกันพัฒนามาตรฐาน รูปแบบและแนวทางการเก็บข้อมูลเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคและการรักษาโดยใช้ยาสมุนไพรหรือการรักษาตามแนวทางการแพทย์แผนไทย          ? เห็นควรมอบหมายกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกรวบรวมชุดข้อมูลการวินิจฉัยโรคและการรักษาโดยใช้สมุนไพรหรือการรักษาตามแนวทางการแพทย์แผนไทย เช่น โรคที่มีการใช้แพทย์แผนไทยในการรักษา สมุนไพรที่มีการใช้ในการรักษาโรค เป็นต้น จากหน่วยบริการในสังกัด สธ. และมอบหมาย สกสว.ประสานกับสำนักงานปลัด อว. เพื่อรวบรวมข้อมูล             การวินิจฉัยโรคและการรักษาโดยใช้สมุนไพรหรือการรักษาตามแนวทางการแพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลในสังกัด อว.
3. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะกรรมการสมุนไพรแห่งชาติ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ในการค้นหาผู้ประกอบการสมุนไพรรายย่อยที่มีศักยภาพ          ? ปัจจุบันมีผู้ประกอบการสมุนไพรที่มีศักยภาพและได้รับการส่งเสริมจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 363 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการรายย่อย จำนวน 127 ราย
? เห็นควรให้มีการกำหนดแนวทางและความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรายย่อยผ่านคณะอนุกรรมการส่งเสริมภาพลักษณ์และการตลาดสมุนไพร และคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยควรมีการเพิ่มองค์ประกอบของอนุกรรมการส่งเสริมภาพลักษณ์และการตลาดสมุนไพรให้มี PMU ที่ได้รับมอบหมายอยู่ด้วย
? เห็นควรให้ PMU ที่เกี่ยวข้องกับด้านสมุนไพรที่ได้รับมอบหมายเป็น                  ผู้รวบรวมข้อมูลร่วมกับคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และสถาบันการศึกษาในพื้นที่แทน บพท. โดยอาจจะเชื่อมโยงกับ Regional science park ที่มีอยู่
4. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการสื่อสารจัดทำระบบและเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ด้านสมุนไพรการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในทุกระดับอย่างรอบด้าน          ? สกสว. มีการจัดสรรทุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการรับรู้งานวิจัยของตลาดได้ หากงานวิจัยมีความพร้อม
? เห็นควรนำชุดตัวอย่างข้อมูลงานวิจัยของขิงมาเป็นตัวอย่างในการจัดทำกรอบการสื่อสารข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบ
?เห็นควรมอบหมายให้คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์สมุนไพรแห่งชาติกำหนดสมุนไพรเป้าหมายเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบ
5. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สธ. ร่วมกับมหาวิทยาลัยพัฒนาและส่งเสริมวารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้เข้าสู่ฐานข้อมูลวิจัย          ? ปัจจุบันวารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอยู่ใน TCI (Thai Journal Citation Index) Level 1 และได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 40 วารสารจาก 275 วารสาร ที่ TCI จะนำเข้าฐานข้อมูล Scopus ในปี                     ค.ศ. 2023 - 2026
? มอบหมายกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกยกระดับวารสารดังกล่าวให้เข้าสู่ฐานข้อมูลวิจัยระดับสากล


6. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เสนอผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ซึ่งได้พิจารณาศึกษาแนวทางส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนเพื่อประมวลสถานการณ์ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. .... และมีข้อเสนอแนะ รวม 2 ประเด็นได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล และ (2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นว่า รายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับ 1) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ (แผนระดับ 2) รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งจะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนและพัฒนากลไกการทำงานให้เอื้อต่อการทำงานภาคประชาสังคมอย่างบูรณาการร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้มีข้อสังเกตและความเห็นเพิ่มเติม อาทิ ควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย รวมถึงการตัดสินใจด้านงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของภาคประชาสังคมควรมีการศึกษาและพิจารณาในรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อน เนื่องจากเป็นข้อเสนอที่จะก่อให้เกิดผลผูกพันที่ทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ และควรมีการจัดสรรงบประมาณในรูปแบบกองทุนสนับสนุนภาคประชาสังคมที่ภาคประชาสังคมเป็นผู้จัดทำแผนงานงบประมาณโครงการเสนอทางภาครัฐได้โดยตรง

7. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคาพลังงาน                   (น้ำมันเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงชีวภาพ และก๊าซปิโตรเลียมเหลว) ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคาพลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงชีวภาพ และก๊าซปิโตรเลียมเหลว) ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอและแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคาพลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงชีวภาพ และก๊าซปิโตรเลียมเหลว) ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ มีข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เช่น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานควรแสดงข้อมูล รายละเอียด และแยกราคาหน้าโรงกลั่น ตามวิธีการผลิต ต้นทุนการกลั่น การดำเนินการและราคานำเข้า เพื่อเพิ่มความโปร่งใสของโครงสร้างราคา ควรกำหนดนโยบายด้านราคาสำหรับภาคครัวเรือนให้แยกออกจากราคาที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมกับภาคขนส่งให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อย ควรใช้หลักเกณฑ์ในการเปิดสถานีบริการและสถานีบรรจุเช่นเดียวกับสถานีบริการน้ำมัน เพื่อเพิ่มช่องทางการบริการและการแข่งขัน อันเป็นการลดต้นทุนการจัดการและราคาให้กับผู้บริโภค และรัฐควรกำหนดค่าขนส่งตามระยะทางให้มีความชัดเจน เช่น จากโรงบรรจุก๊าซไปยังร้านค้าปลีกหรือจากร้านค้าปลีกไปยังที่อยู่อาศัยของประขาชน รวมทั้งการบริหารจัดการปริมาณเก็บสำรอง (Safety Stock) รัฐควรพิจารณานโยบายให้เหมาะสมกับความต้องการและการผลิต และช่วยเหลือด้านการจัดการ เช่น รักษาระดับปริมาณเก็บสำรอง ที่ร้อยละ 1 (32,725 ตันต่อเดือน) ซึ่งเป็นจำนวนที่เพียงพอสำหรับใช้ในภาคครัวเรือน และมีข้อเสนอแนะภาพรวมในเชิงบริหารของน้ำมันเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงชีวภาพ และก๊าซ LPG เช่น ควรพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานด้านสารสนเทศในลักษณะการดำเนินงานเช่นเดียวกับสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) มาตรการช่วยเหลือและรักษาเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิง ควรมุ่งเน้นช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยใช้กลไกของภาครัฐผ่านทางระบบดิจิทัล                ควรส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วิจัยพลังงาน และเชื้อเพลิงทางเลือกในอนาคตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พลังงานไฮโดรเจนจากน้ำ เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายของประชาชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและเชื้อเพลิงทางเลือกในอนาคต
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ในขณะนั้น สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ พน. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    พน. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 โดยสรุปผลการพิจารณาได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ          ผลการดำเนินงาน
ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซ LPG
1. ควรปรับปรุงการบริหารต้นทุนตามวิธีการผลิตและต้นทุนให้ชัดเจน โดยให้แยกราคาหน้าโรงกลั่น ราคาหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติ และโครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ LPG          ? ได้มีการศึกษาและทบทวนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเผยแพร่ข้อมูลโครงสร้างราคาก๊าซ LPG และหลักเกณฑ์การคำนวณราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงและ             ก๊าซ LPG รวมทั้งสำรวจและทบทวนค่าการตลาดที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับการคำนวณราคาจำหน่าย             ก๊าซ LPG เป็นไปตามกลไกการกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานและคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
2. ควรใช้หลักเกณฑ์ในการเปิดสถานีบริการและโรงบรรจุก๊าซ LPG เช่นเดียวกับสถานีบริการน้ำมัน เพื่อเพิ่มช่องทางการบริการและการแข่งขัน อันจะเป็น              การลดต้นทุนการจัดการและราคาให้กับผู้บริโภค          ? การก่อสร้างสถานีบริการและโรงบรรจุก๊าซ LPGผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง แต่การลงทุนขึ้นอยู่กับ                 การตัดสินใจของผู้ประกอบการ ซึ่งกฎหมายไม่ได้ห้ามการลงทุน
3. ควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้โรงบรรจุก๊าซสามารถบรรจุก๊าซในถังบรรจุก๊าซ LPG ที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้ค้าน้ำมันอื่นได้เพื่อความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง          ? ปัจจุบันสามารถดำเนินการได้โดยผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงของ พน. และต้องคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยของถังบรรจุก๊าซ LPG
4. รัฐควรพิจารณานโยบายการรักษาระดับปริมาณเก็บสำรองก๊าซ LPG ที่ร้อยละ 1 (32,725 ตันต่อเดือน) ซึ่งเป็นจำนวนที่เพียงพอสำหรับใช้ในภาคครัวเรือน เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตเองได้ ดังนั้น การกำหนดปริมาณเก็บสำรองมากเกินไปจะส่งผลให้ไม่สามารถนำก๊าซที่มีอยู่ออกมาใช้ได้ และต้องเพิ่ม                 การนำเข้าจากต่างประเทศส่งผลให้มีต้นทุนสูงขึ้น รวมทั้งอาจทำให้ผู้ประกอบการนำไปหากำไรจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์          ? อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของอัตราการเก็บสำรองก๊าซ LPG
ข้อเสนอแนะภาพรวมในเชิงบริหารของน้ำมันเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงชีวภาพ และก๊าซ LPG
1. เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานด้านสารสนเทศเป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวม วิเคราะห์และเผยแพร่พลังงานสารสนเทศ          ? พน. ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ อาทิ การจัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติเพื่อเป็นศูนย์กลางสารสนเทศด้านพลังงาน มีการช่วยเหลือราคาเชื้อเพลิงแบบมุ่งเป้าไปยังกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในส่วนของ                    ก๊าซปิโตรเลียมเหลวและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรถจักรยานยนต์รับจ้างในส่วนของน้ำมันเบนซิน ส่วนการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง                 พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ชดเชยสูงสุดได้ไม่เกินปี                   พ.ศ. 2569 รวมทั้งการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่และการเจรจาปัญหาพื้นที่ทับซ้อนไทย - กัมพูชา นอกจากนี้ ยังมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้นโยบายสังคมคาร์บอนต่ำ และส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิงทางเลือกอื่น และมีมาตรการสนับสนุนการศึกษาวิจัยพลังงานและเชื้อเพลิงทางเลือกในอนาคตรูปแบบใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ใน                 ภาคพลังงาน
2. มาตรการช่วยเหลือและรักษาเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิงที่ควรมุ่งเน้นช่วยเหลือในกลุ่มที่มีความเปราะบางแทนการช่วยเหลือในภาพรวม
3. การเข้าถึงแหล่งพลังงานของประชาชนในราคาที่เป็นธรรม ดังนั้น การกำหนดราคาต้นทุนของพลังงานที่ผลิตในประเทศควรเป็นต้นทุนที่แท้จริง หรือหากใช้ราคาตลาดโลกในการอ้างอิงควรกำหนดให้ราคาที่ผลิตในประเทศมีราคาที่ต่ำกว่า
4. ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ไม่ซับซ้อน ชัดเจน และเป็นธรรม ลดการแทรกแซงราคา ซึ่งการแทรกแซงราคาส่งผลให้เกิดการบิดเบือนโครงสร้างราคาที่แท้จริง
5. พิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพและการใช้เงินกองทุนฯ ต้องเป็นไปเพื่อการรักษาเสถียรภาพราคาอย่างแท้จริง ไม่ควรนำไปใช้ในการแทรกแซงหรืออุดหนุนราคาจนเกิดความผันผวน
6. ทบทวนกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดบนพื้นฐานสถานการณ์ปัจจุบันให้สอดคล้องกับทรัพยากรของประเทศ
7. การจัดหาพลังงานในอนาคตที่ควรเร่งพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติม
8. ควรส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วิจัยพลังงานและเชื้อเพลิงทางเลือกในอนาคตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พลังงานไฮโดรเจนจากน้ำเพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายของประชาชน รวมทั้งเป็น                การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและเชื้อเพลิงทางเลือกในอนาคต

8. เรื่อง ผลการพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตฉ้อโกงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษา                      แนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตฉ้อโกงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ของสภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอและแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการคลังได้เสนอผลการพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษา                   แนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตฉ้อโกงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลได้ว่า
                    1. ในส่วนของแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตฉ้อโกง กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีเพื่อให้มีกฎหมายที่สอดรับกับแนวทางการตรวจสอบและบทลงโทษผู้ที่ทำการทุจริตผ่านตลาดทุนไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ภายใต้โครงการบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เข้มแข็ง โดยเน้นมาตรการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นและมาตรการส่งเสริมการทำหน้าที่ของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น การคัดกรองคุณภาพและกำกับดูแลบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์                   ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้บูรณการทำงานร่วมกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยการตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมกันพิจารณาความผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ และร่วมมือกับสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยในการจัดอบรมให้ความรู้กับผู้ลงทุน รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง                        (อาทิ ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา) และส่งเสริมให้เกิดกระบวนการตรวจสอบการบริหารงานของบริษัทจดทะเบียนโดยผู้มีความรู้ในการลงทุนที่จะช่วยทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ลงทุนที่มีอิทธิพลในการบริหารจัดการบริษัท                     (Activist Investors) เหมือนเช่นที่มีในต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ศึกษาและพัฒนากฎหมายที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความทันสมัยและทันเหตุการณ์ณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
                    2. ในส่วนของข้อเสนอแนะ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่า ควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจในการกำกับดูแลผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี สำนักงานบัญชี และสำนักงานสอบบัญชี เพื่อตรวจสอบคุณภาพของการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี สำนักงานบัญชี และสำนักงานสอบบัญชีในเชิงรุก และปรับปรุงแก้ไขบทลงโทษให้ครอบคลุมบทลงโทษของ                    สำนักงานสอบบัญชีซึ่งปัจจุบันพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดเพียงบทลงโทษของผู้สอบบัญชีตัวบุคคลไว้เท่านั้น สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เห็นว่า ควรเพิ่มมาตรการในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินจากการกระทำความผิดที่มีลักษณะเป็นการทุจริต ฉ้อโกงที่เกี่ยวกับการออกหลักทรัพย์ ให้ครอบคุลมไปถึงทรัพย์สินที่ได้มาหรือสงสัยว่าจะได้                   มาจากการกระทำความผิดหรือที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดได้ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในความครอบครองของบุคคลใดก็ตาม และกำหนดแนวทางหรือมาตรการในการเยียวยาความเสียหายให้กับนักลงทุนที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด เช่น คำสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลที่ได้รับความเสียหาย เป็นต้น



9. เรื่อง การดำเนินงานโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง กรอบวงเงินสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 5,000 ล้านบาท ในส่วนอัตราดอกเบี้ยและรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมติ กทบ. ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567 โดยรัฐชดเชยต้นทุนทางการเงินให้กับ ธ.ก.ส. ในระยะเวลา 2 ปีอัตราร้อยละ 4.5 ต่อปี และให้ ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดเชยอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น จำนวน 450 ล้านบาท (ปีละ 225 ล้านบาท) ตามที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) เสนอ
                    เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 มีนาคม 2567) เห็นชอบในหลักการโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงการคลังร่วมกับ กทบ. ธ.ก.ส. สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณารายละเอียดของแนวทางการดำเนินโครงการนี้ในประเด็นต่าง ๆ ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนและเหมาะสม (เช่น อัตราดอกเบี้ยที่รัฐต้องรับภาระชดเชย กรอบวงเงินงบประมาณที่ต้องใช้สำหรับการดำเนินโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง และการกำหนดระยะเวลาที่เกษตรกรจะต้องชำระคืนเงินกู้ให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่เกษตรกรจะคืนทุนจากการเลี้ยงโค) โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งก่อนดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กทบ. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 19 มีนาคม 2567 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์                  เทพสุทิน) ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้ลงนามคำสั่งคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่ 6/2567 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2567 แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง (คณะทำงานฯ) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธานคณะทำงานฯ และผู้อำนวยการ สทบ. เป็นคณะทำงานฯ และเลขานุการ
                    2. คณะทำงานฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ได้พิจารณาแนวทางการดำเนินงาน งบประมาณ และกรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ภาครัฐต้องรับภาระชดเชย ตลอดจนความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งจากการประชุมดังกล่าวมีการปรับรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่องสรุปดังนี้
                              2.1 ดำเนินการภายใต้กรอบวงเงินสินเชื่อของ ธกส. กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยให้สินเชื่อแก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กองทุนหมู่บ้านฯ) สำหรับให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สมาชิกกองทุนฯ) กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงโค จำนวน 100,000 ครัวเรือน (ครัวเรือนละ 50,000 บาท) และรัฐชดเชยดอกเบี้ยให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในอัตราดอกเบี้ย 4.50 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี (ปีละ 225 ล้านบาท รวม 2 ปี 450 ล้านบาท) โดยให้ ธ.ก.ส. ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดเชยดอกเบี้ยต่อไป
                              2.2 กลุ่มเป้าหมาย กองทุนหมู่บ้านฯ ที่มีประวัติการกู้เงินและชำระเงินดี โดยเคยกู้เงิน                    ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน หรือธนาคารอื่น ๆ แล้วชำระหนี้ได้
                              2.3 วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ครัวเรือนสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ลดภาระค่าครองชีพให้กับครัวเรือนสมาชิก ยกระดับการผลิตโคเนื้อที่มีคุณภาพสูงสู่ตลาดภายในและต่างประเทศ ส่งเสริมการตลาด ขยายโอกาสทางการค้า เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน สร้างความมั่นคงทางอาหาร และให้สมาชิกเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านอาชีพการเลี้ยงโคคุณภาพสูง
                              2.4 ประเภทสินเชื่อและระยะเวลา เป็นสินเชื่อระยะยาว ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี โดยให้กองทุนหมู่บ้านฯ เป็นตัวแทนยื่นเสนอขอรับสนับสนุนสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ในฐานะนิติบุคคลตามแนวทางที่กำหนด โดยให้สมาชิกกองทุนฯ ยื่นความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการกับกองทุนหมู่บ้านฯ จากนั้นกองทุนหมู่บ้านฯ พิจารณาคุณสมบัติของสมาชิกกองทุนฯ ตามระเบียบ ข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้านฯ และยื่นขอสินเชื่อโครงการฯ กับ ธ.ก.ส. ในนามกองทุนหมู่บ้านฯ
                              2.5 กทบ. ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567 มีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
                                        2.5.1 แผนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ ธ.ก.ส. เรียกเก็บกับกองทุน                            หมู่บ้านฯ
ปีที่          ต้นเงิน
(50,000 บาทต่อครัวเรือน)
(บาท)          ดอกเบี้ย (ร้อยละ/ปี)
1          ยังไม่ต้องชำระคืนต้นเงิน          รัฐชดเชย 4.50
2                    รัฐชดเชย 4.50
3                    กองทุนหมู่บ้านฯ ชำระดอกเบี้ย
ให้ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 4.50 ต่อปี
4          25,000
5          25,000
กรณีผิดนัดชำระหนี้ปีที่ 4 - 5 ธ.ก.ส. จะเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยปกติสูงสุดตามที่เรียกเก็บจริงบวกเพิ่มอีกร้อยละ 3                        ต่อปี และหากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการฯ แล้ว ไม่สามารถส่งชำระหนี้ต้นเงินกู้ตามที่ ธ.ก.ส. กำหนด ให้เรียกดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินส่วนที่มิได้ชำระตามกำหนดนั้นในอัตรา MLR บวก Risk Premium1 บวกเพิ่มอีกร้อยละ 3 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น (อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอยู่ระหว่าง ธ.ก.ส. นำเสนอคณะกรรมการ ธ.ก.ส.)
                                        2.5.2 การพิจารณาสินเชื่อใช้เกณฑ์คุณภาพในการประเมินศักยภาพ และวิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนหมู่บ้านและสมาชิกผู้กู้
                                        2.5.3 การดำเนินโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่อง จะดำเนินโครงการต่อไปได้ต่อเมื่อคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอโครงการฯ ที่ กทบ. เสนอต่อ ครม. แล้ว
                              2.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ยกระดับการผลิตของเกษตรกรรายย่อยและเอกชน                  ให้สามารถเลี้ยงโคเนื้อเชิงอุตสาหกรรมตอบสนองต่อการบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สร้างรายได้เพิ่มลดความยากจนของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ได้อย่างน้อย 120,000 บาท ในระยะเวลา 5 ปี ต่อแม่โค 1 ตัว ดังนี้
ลำดับที่          รายละเอียด          รายได้จากการขายโค (บาท)
1          แม่โคปลด          18,000
2          โค 1 ปี          20,000
3          โค 2.5 ปี          25,000
4          โค เพิ่งคลอด          7,000
5          โค 4 ปี          20,000
6          โค เพิ่งคลอด          7,000
7          โค 2 ปี ตั้งท้อง 3 เดือน          23,000
รวม          120,000

ทั้งนี้ จำนวนโคที่คาดว่าจะสามารถทำให้สมาชิกกองทุนฯ ชำระคืนเงินกู้ได้ในอนาคต คือ การเลี้ยงแม่โค 2 ตัว ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยง กรณีเกิดความเสียหายกับโคที่สมาชิกนำมาเลี้ยง อีกทั้ง ในช่วงเวลา 1 ปีแรกของการเลี้ยงแม่โคซึ่งได้รับการผสมเทียมจะตกลูกอย่างน้อย 1 ตัว และหากเป็นลูกโคตัวผู้ สมาชิกกองทุนฯ อาจเลี้ยงเพื่อจำหน่ายในปีที่ 3 ราคาประมาณตัวละ 20,000 - 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของโค ซึ่งในปีที่ 3 สมาชิกกองทุนฯ ต้องชำระคืนเงินดอกเบี้ยให้กับกองทุนหมู่บ้านฯ หรือหากเป็นโคตัวเมีย ผู้เลี้ยงโคอาจเก็บไว้เป็นแม่พันธุ์สำหรับการผสมเทียมในปีถัดไปได้ นอกจากนี้ สมาชิกกองทุนฯ ยังมีรายได้จากการจำหน่ายมูลโคแห้ง ประมาณ 6,000 บาทต่อตัว อย่างไรก็ตามสมาชิกกองทุนฯ ที่เลี้ยงโคจะสามารถจำหน่ายโคได้ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป
                              2.7 การติดตามประเมินผล กทบ. สทบ. ธ.ก.ส. กระทรวงพาณิชย์ กรมปศุสัตว์ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องจะติดตามประเมินผลเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส โดยให้ ธ.ก.ส. รายงานข้อมูลกองทุนหมู่บ้านฯ ที่ยื่นขอรับการสนับสนุนงบประมาณและผลการอนุมัติงบประมาณของ ธ.ก.ส.
                    3. กทบ. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ ?โคแสนล้าน? นำร่องตามมติคณะทำงานฯ (ตามข้อ 2) และมอบหมายให้ สทบ. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
1 ปัจจุบัน MLR เท่ากับ 6.125 ส่วน Risk Premium นั้น ธ.ก.ส. แจ้งว่ากำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 2 ขึ้นอยู่กับประวัติการชำระหนี้ของแต่ละกองทุน หากกองทุนที่มีประวัติการชำระหนี้ดี ธ.ก.ส. จะไม่คิดค่า Risk Premium

10. เรื่อง รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบรายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (รายงานฯ ปี 2566) และรายงานการเงินรวมภาครัฐ (บทวิเคราะห์) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    2. ให้หน่วยงานของรัฐตามบัญชีรายชื่อหน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานฯ ปี 2566 ส่งรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งรายงานเหตุผลหรือปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข ให้กระทรวงเจ้าสังกัดและ กค. ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ และให้หน่วยงานของรัฐส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณถัดไปให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้การจัดทำรายงานการเงินรวมภาครัฐมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะครบกำหนดเสนอรายงานการเงินรวมฯ ในวันที่ 26 เมษายน 2567 ตามมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. กค. ได้รวบรวมข้อมูลจากรายงานการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มาจัดทำรายงานฯ ปี 2566 รวมทั้งสิ้นจำนวน 8,436 หน่วยงาน จากจำนวนทั้งหมด 8,440 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 99.95 โดยมีหน่วยงานที่ไม่จัดส่งรายงานการเงิน จำนวน 4 หน่วยงาน ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านล้านบาท
รายการบัญชี          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566          การเพิ่ม/
(ลด)          รายละเอียด
สินทรัพย์รวม          43.24          44.67          1.43          สินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.31 รายการที่สำคัญ คือ (1) เงินลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์เผื่อขายซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และกองทุนประกันสังคม (2) ที่ดินราชพัสดุเพิ่มขึ้นจากการปรับใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบบัญชี ปี พ.ศ. 2566 - 2569 และได้มีการปรับปรุงวิธีการประเมินที่ดินราชพัสดุให้มีความละเอียด ถูกต้อง ตรงตามการประกาศใช้บัญชีการประเมินราคาที่ดิน และ (3) สินทรัพย์ของสถาบันการเงินของรัฐเพิ่มขึ้นจากธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์
 หนี้สินรวม          35.27          35.91          0.63          หนี้สินรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.79 รายการที่สำคัญ คือ (1) เงินกู้ยืมระยะยาวจากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ และ (2) หนี้สินของสถาบันการเงินของรัฐเพิ่มขึ้นจากธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์
สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนรวม          7.96          8.76          0.80          เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.05
รายได้รวม          9.30          9.06          (0.24)          รายได้รวมลดลงร้อยละ 2.57 รายการที่สำคัญ คือ (1) รายได้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดลงจากการตีราคาสินทรัพย์ต่างประเทศหรือเงินสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินสกุลบาท ณ วันสิ้นปีงบประมาณ (2) รายได้จากการขายสินค้าและบริการลดลงจากส่วนต่างราคาซื้อ ? ขายผลิตภัณฑ์และผลกำไรจากการ    สต๊อกน้ำมันที่ปรับลดลงของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ (3) รายได้จากการขายยาและเวชภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรมลดลงจากการคลี่คลายของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างไรก็ดี รายได้แผ่นดินเพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากร และการจัดเก็บอากรขาเข้าของกรมศุลกากร ประกอบกับการชำระอากรขาเข้าย้อนหลังตามคำพิพากษาคดี
ค่าใช้จ่ายรวม          9.05          8.71          (0.35)          ค่าใช้จ่ายรวมลดลงร้อยละ 3.82 รายการที่สำคัญ คือ (1) ค่าใช้จ่ายจากการอุดหนุนอื่นและบริจาคลดลงจากค่าใช้จ่ายช่วยเหลือตามมาตรการของรัฐ และ (2) ต้นทุนขายสินค้าและบริการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และองค์การเภสัชกรรมลดลง
รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิรวม          0.24          0.35          0.11
                    2. ผลการวิเคราะห์
                    รายได้รวมของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 2.57 เกิดจากการตีราคาสินทรัพย์ต่างประเทศหรือเงินสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินสกุลบาท ณ วันสิ้นปีงบประมาณของ ธปท. จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐโดยรวม ซึ่งหน่วยงานของรัฐได้บริหารจัดการสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่ราชพัสดุสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพย์สินของรัฐ ตลอดจนการบริหารหลักทรัพย์ของรัฐที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบเงินลงทุน เป็นทรัพย์สินที่รัฐบาลมีไว้เพื่อนำผลกำไรที่เกิดขึ้นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับการบริหารหนี้สาธารณะมีการวางแผนชำระหนี้ให้เหมาะสมกับการบริหารสภาพคล่องหรือฐานะการคลังของแผ่นดินและไม่เป็นภาระการคลังในระยะยาว และเพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะมีความเสี่ยงต่ำภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม สำหรับการบริหารรายได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐโดยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ทำให้สามารถจัดเก็บและนำส่งรายได้เป็นไปตามเป้าหมายและการบริหารรายจ่ายมีการกำกับดูแลการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้การใช้จ่ายงบประมาณของแผ่นดินเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงทางการคลัง และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐควรพิจารณาดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
                              (1) ยกระดับและนำนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานภาครัฐเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน อันนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศภายใต้หลักการบริหารภาครัฐแนวใหม่ โดยพัฒนาการให้บริการภาครัฐที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัดแก่ประชาชนและผู้ประกอบการ
                              (2) พัฒนาและทบทวนการบูรณาการกระบวนการทำงานของภาครัฐควบคู่กับการพัฒนาการบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลแบบเบ็ดเสร็จ โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของภาครัฐให้มีการกำกับดูแลที่เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานและเชื่อมโยงการให้บริการแบบบูรณาการ
                              (3) พัฒนาและทบทวนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต และเกิดความคล่องตัว ตลอดจนรองรับการดำเนินงานบนพื้นฐานของระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
                    3. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีหน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด (ภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ) ตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 10 หน่วยงานประกอบด้วย (1) หน่วยงานของรัฐที่ส่งรายงานการเงินไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด จำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ จำนวน 1 หน่วยงาน คือ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี) รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 หน่วยงาน คือ บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด และ อปท. จำนวน 4 หน่วยงาน เช่น เทศบาลตำบลเกษไชโย จังหวัดอ่างทอง เทศบาลตำบลห้วยพลู จังหวัดนครปฐม และ (2) หน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงิน จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ จำนวน 1 หน่วยงานคือ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และ อปท. จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ เทศบาลตำบลเกาะขนุน จังหวัดฉะเชิงเทรา องค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง จังหวัดสุโขทัย และองค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด จังหวัดสมุทรสาคร
                    ทั้งนี้ ข้อมูลเปรียบเทียบการจัดส่งรายงานการเงินระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สรุปได้ ดังนี้
หน่วยงาน          ปี 2566          ปี 2565
          ส่งรายงานการเงินไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด          ไม่ส่งรายงานการเงิน          ส่งรายงานการเงินไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด          ไม่ส่งรายงานการเงิน
(1) หน่วยงานของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น          1          1          12          1
(2) รัฐวิสาหกิจ          1          -          6          -
(3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น          4          3          15          17
รวม          6          4          33          18
รวมหน่วยงานของรัฐ          10          51

11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขยายโอกาสการมีงานทำและส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขยายโอกาสการมีงานทำและส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอและแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขยายโอกาสการมีงานทำและส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาสภาพปัญหาและสถานการณ์การจ้างแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทย รวมถึงกฎหมายผู้สูงอายุของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการขยายโอกาสการมีงานทำและส่งเสริมการจ้างงานภายใต้เจตนารมณ์สำคัญในการที่มุ่งให้ประเทศไทยมีกำลังแรงงานจากกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อเสริมตลาดแรงงานให้มีแรงงานหลากหลายประเภทมากขึ้น สอดคล้องกับความต้องการจ้างแรงงานประเภทต่าง ๆ โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
                              1.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย  (Policy Recommendations)  ควรกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ที่สามารถขับเคลื่อนได้ทั้งในภาพรวมระดับประเทศ กำหนดและดำเนินนโยบายการวิเคราะห์วางกำลังคน (Human Resource Planning: HRP) ของประเทศในภาพรวมระยะยาว วิเคราะห์ กำหนดแผนการ และส่งเสริมนโยบายการเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ กำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังพล หรือทุนมนุษย์ของประเทศไทยที่สอดคล้องกับแผนกำลังคน สร้างความตระหนักรู้แก่ผู้นำองค์กรนายจ้าง ให้ความสำคัญในการผลักดันการพัฒนาระบบ และการจัดการฐานข้อมูลสารสนเทศ (MIS) ผู้สูงอายุในทุกระดับและการมุ่งขับเคลื่อนนโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุขยายโอกาสการประกอบอาชีพนอกระบบ
                              1.2 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ควรมุ่งเน้นการบูรณาการของหน่วยงานรัฐเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ควรให้หน่วยงานภาครัฐใช้กลไกภาคเอกชนมาเป็นเครือข่ายและเพิ่มมาตรการจูงใจนอกเหนือจากมาตรการทางภาษี การส่งเสริมให้ทุกกระทรวงดำเนินนโนบายและการดำเนินการในการจ้างผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ควรเร่งพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แรงงานสูงอายุเป็นส่วนเสริมในอุตสาหกรรม และธุรกิจการท่องเที่ยว ควรพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อเชื่อมโยงเป็นฐานข้อมูลเดียวกันทั้งประเทศ และ                  ควรขับเคลื่อนการจ้างงานผู้สูงอายุในรูปแบบ และวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามแต่บริบทจากทุกภาคส่วน
                              1.3 ข้อเสนอแนะด้านกฎหมายในประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ การกำหนดอัตราส่วนในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในขณะนั้น สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ รง. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    รง. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความ                    เห็นสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา และได้มีความเห็นเพิ่มเติมโดยสรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณา
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendations)
        1.1 กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนที่สามารถขับเคลื่อนได้ทั้งในภาพรวมระดับประเทศ เช่น นโยบายสนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุโดยหน่วยงานราชการในทุกระดับของประเทศให้จ้างผู้สูงอายุเข้าทำงานในลักษณะ ?หนึ่งหน่วยงานหนึ่งผู้สูงอายุ?  เป็นต้น



        1.2 กำหนดและดำเนินนโยบายการวิเคราะห์วางกำลังคน (Human Resource Planning HRP) ของประเทศในภาพรวมระยะยาว เพื่อให้เห็นแนวโน้มและข้อมูลจากการศึกษาคาดการณ์เชิงอนาคต (Future Study)










      1.3 วิเคราะห์ กำหนดแผนการ และส่งเสริมนโยบายการเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับแผนกำลังคนของประเทศเพื่อบรรเทาสถานการณ์สังคมสูงวัยและสภาวะการขาดแคลนแรงงานในภาพรวม

      1.4 กำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังพล หรือทุนมนุษย์ของประเทศไทยที่สอดคล้องกับแผนกำลังคน ซึ่งอาจดำเนินการในรูปแบบของการกำหนด ?พิมพ์เขียวการพัฒนาทุนมนุษย์? (Human Capital Development Blueprint) อันจะเป็นการกำหนดแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในภาพรวมอย่างชัดเจน?









     1.5 สร้างความตระหนักรู้แก่ผู้นำองค์กรนายจ้างและผู้ประกอบการให้เห็นถึงความสำคัญของพนักงานลูกจ้างสูงอายุ ด้วยการประชาสัมพันธ์เชิงรุก พร้อมทั้งศึกษาเพื่อพิจารณาและกำหนดลักษณะงานที่เหมาะสมกับลักษณะของแรงงานสูงอายุ (Job Description)








      1.6  ให้ความสำคัญในการผลักดันการพัฒนาระบบและการจัดการฐานข้อมูลสารสนเทศ (MIS) ผู้สูงอายุในทุกระดับ เพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญในการวิเคราะห์และกำหนดแผนกำลังคน หรือพิมพ์เขียวการพัฒนาทุนมนุษย์ รวมทั้งเป็นข้อมูลสำคัญในการประกอบการตัดสินใจ และการบริหารจัดการปัญหาได้อย่างถูกต้อง
       1.7  มุ่งขับเคลื่อนนโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุที่ต้องครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน และขยายโอกาสการประกอบอาชีพนอกระบบ ทั้งการขยายการเกษียณอายุ และส่งเสริมการสร้างและประกอบอาชีพที่ทำงานนอกระบบ






       1.8 ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการภาคเอกชนให้จ้างงานผู้สูงอายุและกำหนดแนวทางในการสนับสนุนการดำเนินการในการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ


                                                                    -  กรมการจัดหางานดำเนินกิจกรรมสร้างโอกาสการมีงานทำให้ผู้สูงอายุ โดยได้มีผู้สูงอายุมาใช้บริการจัดหางาน จำนวน 21 คน และได้รับการบรรจุงาน จำนวน 20 คน ก่อให้เกิดรายได้ 2,160,000 บาท และ พม. ได้มีการจ้างงานผู้สูงอายุ ตำแหน่งช่วยปฏิบัติการเงินและบัญชี เงินเดือน 12,000 บาท ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ช่วยปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศเงินเดือน 15,000 บาท ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ เงินเดือน 12,000 บาท และตำแหน่งพี่เลี้ยง เงินเดือน 8,690 บาท
- กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการดำเนินนโยบายวางแผนการพัฒนากำลังคนให้แก่คนทุกช่วงวัยที่สอดคล้องยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันและด้านความมั่นคง โดยการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน New ? Skill Up ? Skill และ  Re ? skill ให้แก่แรงงานใหม่แรงงานในระบบจ้างงานแรงงานนอกระบบ รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านเชิงของประชากร และรองรับสังคม ผู้สูงอายุ มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่กำลังแรงงานทุกกลุ่มวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เช่น โครงการฝึกอบรมฝีมือแรงงานในพื้นที่ชายแดนใต้ โครงการพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นต้น
- พม. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะ โดยเห็นว่าการบรรเทาสถานการณ์สังคมสูงวัย ส่งเสริมการเพิ่มประชากร สภาวะการขาดแคลนแรงงานในภาพรวมเป็นสถานการณ์ที่มีความสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์กำหนดแผนให้สอดคล้องกัน มีระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ดำเนินการส่งเสริมแรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้สูงอายุภายใต้โครงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงระบบการคุ้มครองทางสังคม กิจกรรมหลักส่งเสริมสิทธิหน้าที่แก่แรงงานสูงอายุและแรงงานนอกระบบกลุ่มผู้สูงอายุ จากแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยกรมกิจการผู้สูงอายุ พม. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคมและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี เท่ากับจะเป็นการผ่อนภาระพึ่งพาครอบครัวและรัฐ ซึ่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างคนในชุมชนจะสร้างความสามัคคี ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถต่อยอดการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในแบบองค์รวม
- รง. ได้ออกประกาศ รง.เรื่อง ขอความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของสถานการณ์ผู้สูงอายุ จึงได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนการส่งเสริมและขยายโอกาสด้านอาชีพ และการทำงานของผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้มีการจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น และกรมการจัดหางาน ดำเนินกิจกรรมสานพลังประชารัฐจัดหางานให้ผู้สูงอายุ (Civil State Project for Elderly) โดยดำเนินการลงพื้นที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุที่ต้องการประกอบอาชีพหรือทำงาน และจัดประชุมเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่นายจ้าง/สถานประกอบการเกี่ยวกับสถานการณ์การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยและนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง
- การมีระบบสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งระบบสารสนเทศควรมีการเชื่อมโยงกัน สามารถให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้



- กรมการจัดหางานได้ดำเนินการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระให้ผู้สูงอายุ ให้ได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ตรงตามความต้องการนำไปสู่การมีอาชีพ มีรายได้ ลดภาระการเลี้ยงดูของครอบครัว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุสู่การเป็นวิทยากรถ่ายทอดภูมิปัญญาและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของผู้สูงอายุ สู่ตลาดออนไลน์ โดยผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระและพัฒนาศักยภาพ จำนวน 1,441 คน ได้ประกอบอาชีพมีรายได้ จำนวน 1,286 คน ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 6,258,611 บาท
- กรมกิจการผู้สูงอายุได้ร่วมมือกับบริษัท เอก ?               ชัยดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด สนับสนุนโครงการส่งเสริมความร่วมมือภาคธุรกิจเอกชนเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุ ?สร้างสุขวัยเก๋า? เพื่อขยายโอกาสให้กลุ่มผู้สูงอายุทั่วประเทศได้ฝึกอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว จำนวน 200 คน
2. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ
      2.1 มุ่งเน้นการบูรณาการของหน่วยงานรัฐโดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์เพื่อให้หน่วยงานหลัก

     2.2 หน่วยงานภาครัฐใช้กลไกภาคเอกชนมาเป็นเครือข่าย และเพิ่มมาตรการจูงใจนอกเหนือจากมาตรการทางภาษี




      2.3 ส่งเสริมให้ทุกกระทรวงดำเนินโนบายและการดำเนินการในการจ้างผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพเป็นที่ปรึกษาหรือวิทยากรแก่ผู้ปฏิบัติงานใหม่


      2.4 เร่งพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แรงงานสูงอายุเป็นส่วนเสริมในอุตสาหกรรมและธุรกิจการท่องเที่ยวซึ่งมีความขาดแคลนในปัจจุบันในลักษณะงานและรูปแบบการจ้างที่เหมาะสมอย่างเร่งด่วน


      2.5 สร้างเสริมศักยภาพและสมรรถนะแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในรูปแบบของ  Up ? Skills Re ? Skills และ New ?Skills ด้วยรูปแบบและวิธีการเรียนรู้ (Learning Methods) ที่เหมาะสมกับช่วงวัย ให้สอดคล้องกับพิมพ์เขียวการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศ

      2.6 พัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่ประกอบไปด้วยข้อมูลที่จำเป็นในการบ่งชี้สถานการณ์ผู้สูงอายุ อันจะนำไปสู่การจัดการกับปัญหาอย่างถูกต้อง ประกอบกับต้องทบทวนวิธีการ รูปแบบ หรือชุดข้อมูล (data template) ที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติให้สามารถเชื่อมโยงเป็นฐานข้อมูลเดียวกันทั้งประเทศ

      2.7 ขับเคลื่อนการจ้างงานผู้สูงอายุในรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามแต่ละบริบทจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยเชิงนโยบายและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา และสนับสนุนทุกภาคส่วนในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
- กรมการจัดหางานได้เป็นหน่วยงานเจ้าภาพเสริมสร้างทักษะด้านอาชีพในการดำรงชีวิตอย่างมั่นคง ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกับสถาบันวิทยาลัยชุมชนและกรมกิจการผู้สูงอายุ
- กค. มีมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ซึ่งอนุญาตให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเข้าทำงานสามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า สำหรับการจ้างผู้สูงอายุที่มีค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีบริบูรณ์สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีนโยบายการจ้างข้าราชการเกษียณอายุที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้าน          ต่าง ๆ ให้เข้ามาทำงาน เช่น กองคุ้มครองแรงงานจ้างข้าราชการเกษียณอายุ จำนวน 4 คนและมีผู้สูงอายุเข้าทำงานกับสำนักงานประกันสังคมจำนวน 504 คน คิดเป็นร้อยละ 99.41
- อุตสาหกรรมธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มโอกาสการมีงานทำของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะงานบริการต่าง ๆ ได้แก่ พนักงานต้อนรับ มัคคุเทศก์ พนักงานนวด พนักงานทำความสะอาด เป็นต้น หากเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดรายได้กับชุมชนเพิ่มอีกด้วย
- กรมกิจการผู้สูงอายุ ดำเนินโครงการส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชนเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุ ?ต่อยอดอาชีพสู่เทรนด์ธุรกิจออนไลน์? ประกอบด้วย 2 หลักสูตร (1) หลักสูตร Senior Entrepreneur ผู้ประกอบการวัยเก๋า LAZADA (2) หลักสูตรติดปีกทักษะดิจิทัลกับโครงการเน็ตทำกิน โดยมีผู้สูงอายุที่ได้รับการพัฒนารวม 700 คน
- กรมกิจการผู้สูงอายุ มีฐานข้อมูลผู้สูงอายุ ได้แก่ฐานข้อมูลผู้กู้ยืมเงินประกอบอาชีพ, ฐานข้อมูลองค์กรที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนผู้สูงอายุ, ฐานข้อมูลค่าจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี,   ฐานข้อมูลเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก, ฐานข้อมูลโครงการการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย
- พม. มีโครงการกู้ยืมเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพสำหรับผู้สูงอายุทั้งรายบุคคลรายละ 30,000 บาทและรายกลุ่ม กลุ่มไม่น้อยกว่า 5 คน ได้กลุ่มละ 100,000 บาท ผ่อนชำระเป็นรายงวด ไม่คิดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยสามารถยื่นขอรับเงินทุนประกอบอาชีพได้ที่กองทุนผู้สูงอายุต่างจังหวัดที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือเว็บไซต์กองทุนผู้สูงอายุ และกรมกิจการผู้สูงอายุมีกลไกระดับพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียนผู้สูงอายุ 2,456 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ, ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ 2,082 แห่ง กระจายอยู่             ทั่วประเทศ, ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 12 แห่ง และศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมด้านผู้สูงอายุจังหวัดชลบุรี 1 แห่ง
3. ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย
      3.1 ประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ
            3.1.1 เพื่อให้สามารถคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพควรมีการพิจารณาเพิ่มคำนิยาม ความหมายของนิยามคำว่า ?แรงงานผู้สูงอายุ? หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ลงในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541


            3.1.2 ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการกำหนดเวลาทำงานของผู้สูงอายุที่เหมาะสมเป็นมาตรฐานกลางในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้ชัดเจน สถานประกอบการและแรงงานผู้สูงอายุสามารถกำหนดระยะเวลาทำงานได้ตามความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย
           3.1.3 ควรกำหนดประเภทงานที่แรงงานผู้สูงอายุสามารทำได้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541



      3.2 ควรกำหนดอัตราส่วนในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 โดยเทียบเคียงกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550














       3.3 ควรพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ?ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือให้ลูกจ้างลาออก ก่อนเกษียณอายุ เพราะเหตุเรื่องอายุ?



      3.4 ควรมีมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการรับผู้สูงอายุเข้าทำงาน เช่น มาตรการด้านภาษีอากร            การให้เงินอุดหนุน การยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นต้น








      3.5 ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยการให้สิทธิประโยชน์ด้านบำนาญชราภาพให้กับผู้สูงอายุมาเป็นแรงงานในระบบครั้งแรกสามารถรับบำนาญชราภาพได้เมื่อทำงานครบระยะเวลา 120 เดือน ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการรับบำนาญชราภาพของผู้สูงอายุที่เข้ามาเป็นแรงงานในระบบ






- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีความเห็นว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5 บัญญัติให้ นายจ้างหมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรจะเห็นได้ว่าเป็นการเปิดกว้างสำหรับการจ้างงานเว้นแต่กำหนดห้ามไม่ให้ลูกจ้างอายุต่ำกว่า 15 ปีเข้าทำงานเป็นลูกจ้างตามมาตรา 4
- พม. เห็นด้วยกับข้อเสนอ โดยเห็นว่าเพื่อให้สามารถคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุมีการบริหารจัดการสถานประกอบการ ให้มีความเหมาะสม ปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุ มีการกำหนดระยะเวลาการทำงานในลักษณะต่าง ๆ อย่างชัดเจน ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมสามารถยึดเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันได้
- สำนักงาน ก.พ. เห็นด้วยว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุในประเด็นต่าง ๆ อย่างรอบครอบ รวมถึงการกำหนดประเภทงานที่แรงงานผู้สูงอายุสามารถทำได้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีความเห็นว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มีเหตุผลในการประกาศใช้เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ซึ่งบางส่วนอยู่ในวัยทำงานต่างจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ซึ่งได้กำหนดในมาตรา 118/1 ไว้ว่า กรณีที่นายจ้างและลูกจ้างมิได้มีการตกลงหรือกำหนดเกษียณอายุไว้ หรือตกลงกำหนดการเกษียณไว้เกินกว่า 60 ปี ให้ลูกจ้างอายุครบ 60 ปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุต่อนายจ้าง และมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชย จะเห็นได้ว่าลูกจ้างที่เกษียณอายุแล้วจะอยู่ในช่วงเวลาพักผ่อนและบางรายอาจไม่พร้อมทำงาน จึงไม่อาจเทียบเคียงกับการกำหนดอัตราส่วนในการจ้างผู้สูงอายุกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีความเห็นว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คุ้มครองแรงงานทุกประเภทหากนายจ้างเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามมาตรา 119 นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
- กรมการจัดหางาน มีความเห็นว่า สำหรับมาตรการสร้างแรงจูงใจให้แก่ภาคเอกชน ปัจจุบันมีมาตรการลดหย่อนภาษี 2 เท่า จากค่าจ้างผู้สูงอายุ ซึ่งให้การตอบรับจากภาคเอกชนค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ภาคเอกชนมีความสนใจในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นควรพิจารณาออกมาตรการจูงใจเพิ่มเติม เช่น ขยายอัตราค่าจ้างผู้สูงอายุที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้สูงขึ้น การให้สิทธิพิเศษแก่สถานประกอบการที่จ้างงานผู้สูงอายุในการใช้บริการของภาครัฐและการให้โล่รางวัลต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สถานประกอบการ


- สำนักงานประกันสังคมได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดระยะการส่งเงินสมทบเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำนาญดังกล่าว โดยมีผลการศึกษารายงานคณิตศาสตร์ประกันร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) แนะแนวทางปฏิรูประบบบำนาญชราภาพ ซึ่งรวมถึงการลดระยะเวลาการส่งเงินสมทบเพื่อให้เกิดสิทธิบำนาญลงเหลือ 5 ปี เนื่องจากประเทศไทยมีการทำงานในระบบที่ไม่ต่อเนื่องทำให้ผู้ประกันตนจำนวนมากส่งเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี จึงได้รับบำเหน็จแทนบำนาญ ซึ่ง ILO มองว่าไม่ได้เป็นหลักประกันรายได้ระยะยาวตลอดชีวิตให้กับผู้สูงอายุ และจากการศึกษาข้อมูลการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนพบว่า มีผู้ประกันตนที่เคยส่งเงินสมทบกรณีชราภาพมากกว่า 30 ล้านคน มีการเปลี่ยนงานระหว่างงานในระบบและงานนอกระบบ และยังพบว่าในแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกันตนมาตรา 33 ถึง 2 ล้านคน ซึ่งทำให้การส่งเงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกันตนจำนวนมากไม่ต่อเนื่อง
    สำหรับแนวทางการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 การลดระยะเวลานำเงินสมทบและแก้ไขกฎกระทรวงสูตรบำเหน็จชราภาพสำนักงานประกันสังคมจะต้องมีการศึกษาข้อมูลรอบด้านเพื่อสนับสนุนรายละเอียดในการขอแก้ไข

12. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เรื่อง การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 (เรื่อง การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร) ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ตรงตามเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยไม่กระทบต่อฐานะทางการเงินของ ธ.ก.ส. และมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน รวมถึงป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ ธ.ก.ส. โดยให้ถือใช้ข้อความตามที่ปรับปรุงแล้ว แทนข้อความเดิมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                      สาระสำคัญของเรื่อง
                     กค. รายงานว่า
                     1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 มกราคม 2550) ธ.ก.ส. ได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและได้วางกรอบแนวปฏิบัติ เพื่อให้ส่วนงานในพื้นที่ดำเนินการ เรื่อง การงดการดำเนินคดีบังคับคดีและการขายทอดตลาด ดังนี้
                                1.1 ให้อนุมัติดำเนินคดีลูกหนี้เกษตรกร เฉพาะกรณีที่หนี้ใกล้จะขาดอายุความฟ้องร้องดำเนินคดี (อนุมัติก่อนหนี้ขาดอายุความ 1 - 2 ปี)
                                1.2 ให้ชะลอการบังคับคดีลูกหนี้เกษตรกร สำหรับคดีที่ศาลมีคำพิพากษา และคดีถึงที่สุดแล้ว กรณีจะบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้รายใดให้ดำเนินการได้เฉพาะหนี้ที่ใกล้ครบกำหนดระยะเวลาบังคับคดีแล้วเท่านั้น (ดำเนินการเมื่อระยะเวลาบังคับคดีคงเหลือไม่เกิน 2 ปี)
                                1.3 ให้ชะลอการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกร สำหรับคดีที่ได้บังคับคดี (ยึดทรัพย์สิน) ไว้แล้ว ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 289 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกหนี้ตามคำพิพากษา และบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
                      2. การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 ในการชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดี การบังคับคดี และการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกร มีผลใช้บังคับมาเป็นระยะเวลากว่า 17 ปี โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) และหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายได้ใช้ประโยชน์จากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว แต่ยังไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรม และในทางตรงกันข้าม กลับก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอีกหลายประการ ดังนี้
ประเด็นปัญหา/ผลกระทบ          รายละเอียด
(1) ลูกหนี้ไม่ให้ความร่วมมือในการชำระหนี้ตามสัญญาและแก้ไขปัญหาหนี้สิน          1) ลูกหนี้ไม่มีเหตุจูงใจที่จะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น โดยเห็นว่า ธ.ก.ส. ไม่อาจที่จะบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ รวมถึงยังเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้สามารถไปก่อหนี้กับเจ้าหนี้ ภายนอกเพิ่มเติมได้อีก ซึ่งอาจทำให้ลูกหนี้ชั้นดีรายอื่น ๆ นำไปเป็นแบบอย่างจนทำให้กระทบต่อระบบการเงินการคลังของประเทศได้
2) ลูกหนี้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่ามติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวห้ามมิให้ ธ.ก.ส. ฟ้องร้องดำเนินคดีกับลูกหนี้เกษตรกร และเมื่อ ธ.ก.ส. มีความจำเป็นต้องฟ้องร้องดำเนินคดีลูกหนี้เกษตรกรโดยอาศัยเหตุแห่งอายุความ จึงทำให้ลูกหนี้บางส่วนเกิดความไม่พอใจและมีปัญหากระทบกระทั่ง กับ ธ.ก.ส. เรื่อยมา
(2) ในการฟ้องหรือบังคับคดี ลูกหนี้ หรือสมาชิก กฟก. จะมีหนังสือขอให้ ธ.ก.ส. ชะลอการฟ้อง หรือชะลอการบังคับคดีออกไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา โดยเฉพาะในคดีที่มีการบังคับคดีไว้แล้ว          เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด ลูกหนี้หรือสมาชิก กฟก. จะมีหนังสือขอให้ ธ.ก.ส. งดการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ทำให้ ธ.ก.ส. จำเป็นต้องของดการขายทอดตลาดทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ออกไปอย่างไม่มีกำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ประกอบกับคำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 40/2550 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550 (เรื่อง การบังคับคดีเกษตรกร) กำหนดให้กรณีที่ ธ.ก.ส. ของดการบังคับคดี โดยมีหนังสือแสดงความยินยอมของเกษตรกรลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งอนุญาตตามระยะเวลาที่ขอ ส่งผลให้ไม่สามารถขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้และไม่สามารถยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ เนื่องจากยังไม่อาจขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้
(3) ภาระหนี้สินของลูกหนี้เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการชะลอการดำเนินคดีของลูกหนี้เกษตรกร          การชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดีส่งผลให้ลูกหนี้ต้องรับภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาระดอกเบี้ยที่เกิดจากสัญญาและคำพิพากษา ซึ่งหาก ธ.ก.ส. ชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดีและชะลอการใช้สิทธิทางศาลออกไปนานเท่าใด ลูกหนี้ก็จะต้องรับภาระดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้น และการที่ธนาคารปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาเป็นระยะเวลานาน ก่อนมาใช้สิทธิทางศาลเป็นการเอาเปรียบและสร้างภาระเกินสมควรสำหรับลูกหนี้ เนื่องจากลูกหนี้ต้องรับภาระทั้งดอกเบี้ยปกติและดอกเบี้ยผิดนัดจนอาจกลายเป็นการแสวงหาประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้
(4) ธ.ก.ส. มีความเสี่ยง เนื่องจากไม่สามารถบังคับหลักประกันได้อย่างเต็มที่ หรือหลักประกันได้รับความเสียหาย รวมถึงกรณีที่ไม่อาจบังคับเอากับทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้และผู้ค้ำประกันได้          1) หลักประกันจำนองมักได้รับความเสียหายหรือเปลี่ยนสภาพ เช่น การถูกบุกรุก การเวนคืนถูกประกาศเป็นพื้นที่เขตป่าสงวน ซึ่งทำให้มูลค่าของหลักประกันลดลง
2) หลักประกันที่เป็นบุคคล เช่น การค้ำประกันลูกหนี้ร่วม โดยบุคคลดังกล่าวอาจเสียชีวิต ป่วย ทุพพลภาพ อพยพย้ายถิ่นออกนอกพื้นที่ หรืออาจก่อหนี้สินภายนอกจนเกินความสามารถที่จะชำระหนี้ได้
3) ทรัพย์สินของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ธ.ก.ส. มักถูกเจ้าหนี้ภายนอกบังคับชำระหนี้ไปก่อนที่ ธ.ก.ส. จะสามารถดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีได้
4) ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ ธ.ก.ส. ได้ยึดไว้แล้ว ต่อมาเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาบังคับคดี อาจมีการเสื่อมถอยด้อยค่า ทำให้ ธ.ก.ส. ไม่สามารถยึดทรัพย์ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพิ่มเติมได้อีก
(5) ผลกระทบต่อการดำเนินงาน ของ ธ.ก.ส.          1) ลูกค้าเงินฝากขาดความเชื่อมั่นในระบบการบริหารจัดการสิทธิเรียกร้อง ของ ธ.ก.ส. และกังวลว่าเงินฝากที่นำไปปล่อยสินเชื่ออาจไม่ได้รับชำระหนี้คืน เนื่องจาก               ธ.ก.ส. ไม่อาจบังคับเอากับหลักประกันและทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
2) เป็นการเพิ่มภาระงานให้กับ ธ.ก.ส. ในการติดตามดูแลรักษาทรัพย์สินที่จะต้องยึดทรัพย์บังคับคดี ทำให้พนักงานไม่สามารถปฏิบัติงานด้านอื่นที่เป็นงานสร้างรายได้ให้แก่ ธ.ก.ส. ได้อย่างเต็มที่
3) ธ.ก.ส. ไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลได้อย่างเต็มที่ โดย              ธ.ก.ส. มีจำนวนดอกเบี้ยค้างชำระเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกปี เนื่องจากไม่สามารถขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกรได้ จึงไม่มีโอกาสที่จะได้รับชำระหนี้จากการบังคับคดี และการชะลอการใช้สิทธิทางศาลทำให้ธนาคารต้องมีการตั้งสำรองหนี้สูญและมีค่าเสียโอกาสทางธุรกิจเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
(6) การสร้างการรับรู้/การกล่าวอ้างมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในทางที่ผิด
          เป็นช่องทางให้บุคคลภายนอกแสวงหาผลประโยชน์จากลูกหนี้เกษตรกรโดยมิชอบจากการกล่าวอ้างมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เช่น การเรียกร้องเงินจากเกษตรกรเพื่อเข้าโครงการปลดหนี้ โดยหลอกลวงว่าจะมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาชำระหนี้แทนเกษตรกร หรือการเรียกรับเงินจากเกษตรกรเพื่อดำเนินการเจรจาต่อรองกับสถาบันการเงินต่าง ๆ เป็นต้น
                     3. กค. จึงมีความจำเป็นต้องขอเสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เรื่อง การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร โดยปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ ธ.ก.ส. สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและยังคงไว้ซึ่งเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวที่ต้องการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้




เดิม
มติคณะรัฐมนตรี (16 มกราคม 2550)          ขอทบทวนปรับปรุงในครั้งนี้
1. ให้ ธ.ก.ส. สหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภายใต้ ธ.ก.ส. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีของเกษตรกร ดำเนินการ ดังนี้
   1.1 เรื่องที่ยังมิได้มีการฟ้องร้อง ให้ชะลอการฟ้องร้องไว้ก่อน


   1.2 เรื่องที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีและคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ชะลอการบังคับคดีไว้ก่อน



1.3 คดีที่มีการบังคับคดีไว้แล้วและจะต้องมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกร ให้ชะลอการขายทอดตลาดไว้ก่อน


อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงอายุความในการฟ้องร้องดำเนินคดีและการบังคับคดีประกอบด้วย          1. ให้ ธ.ก.ส. สหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภายใต้ ธ.ก.ส. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีของเกษตรกร ดำเนินการ ดังนี้
    1.1 เรื่องที่ยังมิได้มีการฟ้องร้อง ให้ชะลอการฟ้องร้องไว้ก่อน เว้นแต่กรณีหนี้นั้นจะขาดอายุความฟ้องร้อง หรือไม่สามารถแก้ไขเพื่อมิให้หนี้ขาดอายุความโดยวิธีอื่นใดได้
   1.2 เรื่องที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีและคดีถึงที่สุดแล้วให้ชะลอการบังคับคดีไว้ก่อน เว้นแต่กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้และไม่สามารถเจรจาแก้ไขหนี้ร่วมกันกับสถาบันการเงินได้ ให้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป
   1.3 คดีที่มีการบังคับคดีไว้แล้วและจะต้องมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกร ให้ชะลอการขายทอดตลาดไว้ก่อน เฉพาะกรณีที่ยังไม่พ้นระยะเวลาบังคับคดีเท่านั้น โดยเมื่อมีการชะลอการขายทอดตลาดแล้วจะต้องมีอายุบังคับคดีคงเหลือไม่น้อยกว่า 3 ปี
   ทั้งนี้ ให้ ธ.ก.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีของเกษตรกรดังกล่าวข้างต้น สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการปฏิบัติในการดำเนินการตามข้อ 1.1 ? 1.3 ข้างต้นได้ โดยพิจารณาถึงสภาพปัญหาของลูกหนี้เกษตรกรแต่ละรายเป็นสำคัญ

13. เรื่อง รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                      1. เห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของหน่วยรับงบประมาณ
                      2. เห็นชอบแนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                      3. รับทราบผลการพิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป
                      สาระสำคัญของเรื่อง
                      ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 ให้ความเห็นชอบการทบทวนวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และให้ความเห็นชอบการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งกำหนดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 นั้น เพื่อดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักงบประมาณขอเสนอ ดังนี้
                      1. หน่วยรับงบประมาณ เสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด รวมคำขอทั้งสิ้นจำนวน 6,568,086.4308 ล้านบาท สำนักงบประมาณได้พิจารณารายละเอียดคำขอดังกล่าวตามแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566 และข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567
                      ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้ให้ความสำคัญกับนโยบายของรัฐบาล 142 ประเด็น โดยคำนึงถึงวิสัยทัศน์ประเทศไทยที่ประกอบด้วย 8 ศูนย์กลาง (Pillar) 6 ฐานราก และความต้องการในพื้นที่ และแผนพัฒนาพื้นที่ตามความต้องการของประชาชน รวมทั้งพิจารณาความจำเป็น ภารกิจ ศักยภาพ ความพร้อม ขีดความสามารถในการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ และความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน โดยคำนึงถึงฐานะทางการคลัง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ และความเป็นธรรมทางสังคม ตลอดจนพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สภาผู้แทนราษฎร และข้อสังเกตคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วุฒิสภา เพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างสมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว
                      2. วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                     วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 จำนวน 3,752,700.0000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่กำหนดไว้จำนวน 3,480,000.0000 ล้านบาท เป็นจำนวน 272,700.0000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.84 ประกอบด้วย
                                1) รายจ่ายประจำ จำนวน 2,704,574.8074 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 164,106.3074 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.46 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.07 ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 73.00 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                                2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไม่มีรายการที่ต้องเสนอตั้งงบประมาณ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งงบประมาณไว้ จำนวน 118,361.1305 ล้านบาท)
                                3) รายจ่ายลงทุน จำนวน 908,223.8536 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 198,143.2536 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.90 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.20 ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 20.40 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                                4) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 150,100.0000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 31,780.0000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.86 และคิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 4.00 ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 3.40 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เป็นรายจ่ายลงทุน กรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 10,198.6610 ล้านบาท)
                     3. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในมิติต่าง ๆ
                               3.1 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ 8 กลุ่มงบประมาณ ตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
ตารางที่ 1 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ
หน่วย : ล้านบาท
กลุ่มงบประมาณ
          งบประมาณ
          จำนวน          ร้อยละ
รวมทั้งสิ้น          3,752,700.0000            100.00
1. งบประมาณรายจ่ายงบกลาง (12 รายการ)
2. งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ
3. งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ
4. งบประมาณรายจ่ายบุคลากร
5. งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน
6. งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ
7. งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง
8. งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย          805,745.0000
1,254,576.8250
206,858.4991
800,969.6109
274,296.3891
410,253.6759
-
-          21.47
33.43
5.51
21.35
7.31
10.93
-
-
                                3.2 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล จำนวน 142 ประเด็น
ตารางที่ 2 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
หน่วย : ล้านบาท
นโยบายรัฐบาล (142 ประเด็น)          2,291,341.6814
สร้างรายได้ (47 ประเด็น)
ลดรายจ่าย (7 ประเด็น)
ขยายโอกาส (83 ประเด็น)
บริหารแผ่นดิน (5 ประเด็น)          501,582.1056
16,574.4756
1,406,182.5150
367,002.5852
                                3.3 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
ตารางที่ 3 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรร งบประมาณ
 หน่วย : ล้านบาท
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
          งบประมาณ
          จำนวน          ร้อยละ
รวมทั้งสิ้น          3,752,700.0000            100.00
1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
รายการค่าดำเนินการภาครัฐ          405,412.8289
398,185.9193
583,023.3509
923,851.4388
137,291.9427

645,880.8435

659,053.6759           10.80
10.61
15.54
24.62
3.66

17.21

17.56
                      ทั้งนี้ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามแผนงานบูรณาการ และการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้หน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาล หน่วยงานขององค์กรอิสระ และองค์กรอัยการ หน่วยงานอื่นของรัฐ และส่วนราชการในพระองค์ รายละเอียดดังนี้
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามแผนงานบูรณาการ
หน่วย : ล้านบาท
แผนงานบูรณาการ          งบประมาณ
รวมทั้งสิ้น          206,858.4991
1. ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
3. ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
4. เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
5. บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
6. ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด
7. พัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์
8. พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
9. รัฐบาลดิจิทัล
10. สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว          5,781.8509
7,615.0228
954.6264
887.7915
62,779.2495
5,087.6449
103,317.2252
8,737.6559
3,545.3858
8,152.0462
                     การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้หน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาล หน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ หน่วยงานอื่นของรัฐ และส่วนราชการในพระองค์
                     หน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาล หน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ หน่วยงานอื่นของรัฐ ส่วนราชการในพระองค์ และทุนหมุนเวียนภายใต้การกำกับของหน่วยงานดังกล่าว เสนอขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รวมทั้งสิ้น 100,678.2814 ล้านบาท เห็นสมควรเสนอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้จำนวน 69,878.0402 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 4,603.3239 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.05
                     4. การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                       เพื่อให้การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้องกับหลักการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณานำเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมมาใช้สมทบงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการลงทุนในท้องถิ่นมากขึ้น จึงเห็นสมควรจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 378,170.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 33,877.57 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.84 ทำให้ประมาณการรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนทั้งสิ้น 839,265.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 49,027.92 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.20 และคิดเป็นสัดส่วนรายได้ท้องถิ่นต่อรายได้สุทธิของรัฐบาล (ไม่รวมเงินกู้) ร้อยละ 29.07
                     5. แนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                               5.1 ปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณให้สอดคล้องกับนโยบายสำคัญของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 - 2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง ความจำเป็นและภารกิจของหน่วยรับงบประมาณ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                               5.2 งบประมาณที่ได้รับจัดสรรไว้สำหรับรายจ่ายตามข้อผูกพันที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย สัญญา และมติคณะรัฐมนตรี รายจ่ายชำระหนี้ เงินอุดหนุนที่จัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายบุคลากรและค่าสาธารณูปโภค ไม่ควรเปลี่ยนแปลงรายการไปจัดสรรให้รายการอื่น ๆ
                               5.3 เพื่อรักษาสัดส่วนรายจ่ายลงทุนของแต่ละกระทรวงให้อยู่ในระดับที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้ในภาพรวม จึงไม่ควรเปลี่ยนแปลงรายจ่ายลงทุนไปเพิ่มในรายจ่ายประจำ และไม่ควรเปลี่ยนแปลงงบประมาณในแผนงานบูรณาการหรือแผนงานยุทธศาสตร์ไปเพิ่มในแผนงานพื้นฐาน
                               5.4 การปรับปรุงงบประมาณไม่ควรเพิ่มรายการใหม่ที่มีภาระผูกพันงบประมาณในปี               ต่อ ๆ ไป
                               ให้หน่วยรับงบประมาณ นำเสนอการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามแนวทางข้อ 5 โดยการปรับลดและเพิ่มงบประมาณรายจ่าย/รายการภายในกรอบวงเงินของแต่ละกระทรวง/หน่วยรับงบประมาณที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เสนอต่อนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ความเห็นชอบและส่งให้สำนักงบประมาณ ภายในวันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2567 เพื่อให้สำนักงบประมาณพิจารณาการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันอังคารที่ 23 เมษายน 2567
                     6. ผลการพิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป
                     ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 มอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อกลั่นกรองความจำเป็นเหมาะสมในภาพรวมของข้อเสนองบประมาณของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐในรายการงบลงทุนและรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไปทั้งหมด
                     สำนักงบประมาณร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาข้อเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ของ 8 กระทรวง 18 หน่วยรับงบประมาณ จำนวน 69 โครงการ/รายการ งบประมาณ 33,763.7128 ล้านบาท วงเงินรวมทั้งสิ้น 181,682.2211 ล้านบาท โดยพิจารณาตามความจำเป็นเหมาะสม และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และสำนักงบประมาณเห็นควรเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป เป็นจำนวน 19,114.7163 ล้านบาท วงเงินทั้งสิ้น 118,218.9062 ล้านบาท


ต่างประเทศ
14. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน (ASEAN Transport Ministers Meeting: ATM) (การประชุม ATM) ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่  9 - 10 พฤศจิกายน 2566 ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    คค. รายงานว่า
                    1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (7 พฤศจิกายน 2566) เห็นชอบและอนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม ATM ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 ฉบับ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว ดังนี้
การประชุม ATM          ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม ATM
การประชุม ATM ครั้งที่ 29
จำนวน 8 ฉบับ          (1) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM ครั้งที่ 29
          (2) ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการบินที่ยั่งยืน
          (3) ร่างแผนแม่บทว่าด้วยการจัดการจราจรทางอากาศ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3
          (4) ร่างพิธีสาร 3 ความสามารถในการกำกับดูแลความปลอดภัยขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ
          (5) ร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้าในอาเซียน
          (6) ร่างแนวทางท่าเรืออัจฉริยะ
          (7) ร่างข้อเสนอแนะ เรื่อง การอำนวยความสะดวกการผลัดเปลี่ยนและส่งลูกเรือกลับภูมิลำเนา
          (8) ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน
การประชุม ATM ?จีน ครั้งที่ 22
จำนวน 1 ฉบับ          (9) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM - จีน                   ครั้งที่ 22
การประชุม ATM ?ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21
จำนวน 5 ฉบับ          (10) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM - ญี่ปุ่น           ครั้งที่ 21
          (11) ร่างแผนปฏิบัติการหลวงพระบาง
          (12) ร่างรายงานฉบับสมบูณ์เรื่อง กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการควบคุมการจราจรทางน้ำ                  ปี 2563-2564
          (13) ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องโครงการฝึกอบรมระบบนำร่องเดินอากาศในอาเซียน
          (14) ร่างแนวทางการประเมินด้านความสามารถ/ประสิทธิภาพของท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ในภูมิภาคอาเซียน
การประชุม ATM ?เกาหลี ครั้งที่ 14
จำนวน 3 ฉบับ          (15) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM - เกาหลี         ครั้งที่ 14
(16) ร่างยุทธศาสตร์อาเซียนว่าด้วยการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ
(17) ร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือที่ครอบคลุมเพื่อการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะระหว่างอาเซียน - เกาหลี
การประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียน                สาขาการส่งขนส่ง- สาขาการท่องเที่ยว
จำนวน 1 ฉบับ           (18) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียนสาขาการขนส่ง - สาขาการท่องเที่ยว

                              2. ในการประชุม ATM ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ประชุมได้รับทราบ พิจารณา และรับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ1 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                                        2.1 การประชุม ATM ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 มีรัฐมนตรีว่า การกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว  ทำหน้าที่เป็นประธาน โดยที่ประชุมมีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้
การประชุม ATM ครั้งที่ 29
ที่ประชุมพิจารณา
(1) ความคืบหน้าการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านการขนส่งตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาเซียน   ปี 2559-2568  โดยจะมุ่งเน้นผลสำเร็จสู่ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน การจัดตั้งตลาดการบินร่วมอาเซียน  ตลาดการเดินทะเลร่วมอาเซียน การดำเนินการตามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งฉบับต่าง ๆ และ                  การขนส่งที่ยั่งยืน
(2) ผลการดำเนินความร่วมมือด้านการขนส่งกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน [นิวซีแลนด์ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลี) สหรัฐอเมริกา (อเมริกา)] โดยมีสาระสำคัญ เช่น มีการจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศกับนิวซีแลนด์ (จะกำหนดวันและสถานที่สำหรับการลงนามในโอกาสต่อไป) มีการจัดทำโครงการการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติมและ                  การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการสนับสนุนกลไกการหารือระดับภูมิภาคที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน ซึ่งเป็นการส่งเสริมด้านการขนส่งของอาเซียนและส่งเสริมการบูรณาการด้านเศรษฐกิจของอาเซียน มีการติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียนกับ 4 ประเทศคู่เจรจา (ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และอเมริกา) เป็นต้น
ที่ประชุมรับรองเอกสารสำคัญ 7 ฉบับ
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
เอกสารสำคัญ          สาระสำคัญ
(1) แถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM ครั้งที่ 29           เป็นเอกสารที่แสดงถึงผลลัพธ์การประชุม ATM ครั้งที่ 29 ผ่านการพิจารณาและรับรองเอกสารสำคัญ 6 ฉบับ โดยมีวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อเสริมสร้างการเป็นตลาดการบินเดียวของอาเซียน เพื่อยกระดับโครงสร้างด้านยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค และเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านการขนส่งทางบก เป็นต้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีการจัดการประชุม ATM ครั้งที่ 30  ในปี 2567                     ณ สหพันธรัฐมาเลเซีย (มาเลเซีย)
(2) แผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการบินที่ยั่งยืน           มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุน              การบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนในภาคการบินระหว่างประเทศเป็นศูนย์ในปี 2593
(3) แผนแม่บทว่าด้วยการจัดการจราจรทางอากาศ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3           มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการจราจรทางอากาศแบบไร้รอยต่อและเพื่อส่งเสริมการเป็นตลาดการบินเดียวของอาเซียน2
(4) พิธีสาร 3 ความสามารถในการกำชับดูแลความปลอดภัยขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ          เป็นพิธีสารภายใต้ข้อตกลงร่วมสำหรับใบอนุญาตของ  ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบินที่ลงนามเมื่อปี 25603 (สำหรับการลงนามในพิธีสารดังกล่าว จะมีการกำหนดวันและสถานที่ลงนามในโอกาสต่อไป)
(5) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้าในอาเซียน          เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุน ซึ่งรวมถึงโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าและแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
 (6) ข้อเสนอแนะ เรื่อง การอำนวยความสะดวกการผลัดเปลี่ยนและส่งลูกเรือกลับภูมิลำเนา          เพื่อส่งเสริมการดำเนินการของท่าเรืออย่างต่อเนื่อง และอำนวยความสะดวกในการผลัดเปลี่ยนคนประจำเรือและการส่งลูกเรือกลับสู่ภูมิลำเนา
(7) แนวทางท่าเรืออัจฉริยะ4          เป็นการกำหนดตัวชี้วัดและแนวทางการประเมินศักยภาพของท่าเรืออัจฉริยะ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการกำหนด


                              2.2 การประชุม ATM - จีน ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 มีรัฐมนตรีว่า                  การกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. สาว และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ของจีน ทำหน้าที่เป็นประธานร่วม โดยที่ประชุมมีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้
                                        2.2.1 รับทราบเรื่องต่าง ๆ เช่น (1) การมีผลบังคับใช้ของพิธีสาร 3 ว่าด้วย                    การขยายสิทธิรับขนการจราจรทางอากาศเสรีภาพที่ 5 ระหว่างภาคีคู่สัญญาและ (2) ผลสำเร็จของการดำเนินความร่วมมือด้านการขนส่งทางน้ำและการดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน ? จีน ปี 2564-2568 (ฉบับปรับปรุง) เป็นต้น
                                        2.2.2 รับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่  แถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM - จีน ครั้งที่ 22 โดยภายในแถลงการณ์จะแสดงถึงผลลัพธ์การประชุม ATM - จีน ครั้งที่ 22 รวมทั้งแสดงความยินดีต่อการดำเนินการต่าง ๆ เช่น ยินดีต่อความก้าวหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน - จีน ปี 2564 - 2568 (ฉบับปรับปรุง) ยินดีที่ได้รับทราบว่าจีนได้จัดการประชุมเรื่องการขนส่งที่ยั่งยืนของโลก เมื่อเดือนกันยายน 2566 ณ กรุงปักกิ่ง จีน เป็นต้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า การประชุม ATM - จีน ครั้งที่ 23 ในปี 2567 จะจัดขึ้น ณ มาเลเซีย
                              2.3 การประชุม ATM - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566                                   มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งของ สปป. ลาว และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ทำหน้าที่เป็นประธานร่วม โดยที่ประชุมมีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้
การประชุม ATM ? ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21
ที่ประชุมรับทราบ
ความคืบหน้าของการดำเนินโครงการตามแผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน - ญี่ปุ่น ปี 2565-2566 ภายใต้แผนปฏิบัติการปากเซ เช่น การสร้างขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ โครงการโลจิสติกส์ควบคุมอุณหภูมิระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น เป็นต้น
ที่ประชุมรับรองเอกสารสำคัญ 5 ฉบับ
โดยมีสาระสำคัญได้ ดังนี้
เอกสารสำคัญ          สาระสำคัญ
(1) แถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM- ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21           เป็นเอกสารที่แสดงถึงผลลัพธ์การประชุม ATM - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21 ผ่านการรับทราบและรับรองเอกสารสำคัญ 4 ฉบับ รวมทั้งแสดงความยินดีต่อการดำเนินการต่าง ๆ เช่น ยินตีต่อคำประกาศของญี่ปุ่นในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาเซียน  ปี 2559-2568 เป็นต้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า การประชุม ATM - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 22 ในปี 2567  จะจัดขึ้น ณ มาเลเซีย
(2) แผนปฏิบัติการหลวงพระบาง           เป็นแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินความร่วมมือด้านการขนส่ง ระหว่างปี 2567-2576 โดยเป็นแผนที่ครอบคลุมประเด็นความยืดหยุ่นของห่วงโชอุปทาน5 การเสริมสร้างการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน การขนส่งที่ยั่งยืน การขนส่งที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้และการขนส่งที่ปลอดภัย
(3) รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่อง กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการควบคุมการจราจรทางน้ำ ปี 2563 ? 2564           เป็นรายงานผลการฝึกอบรมบุคลากรด้านการควบคุมการจราจรทางน้ำของประเทศสมาชิกอาเซียน
(4) รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องโครงการฝึกอบรมระบบนำร่องเดินอากาศในอาเซียน          เป็นรายงานผลการฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับระบบนำร่องเดินอากาศของประเทศสมาชิกอาเซียน
(5) แนวทางการประเมินด้านความสามารถ / ประสิทธิภาพของท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ในภูมิภาคอาเซียน           จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดตัวชี้วัดและประเมินความสามารถและประสิทธิภาพของท่าเรือตู้สินค้าในอาเซียน


                              2.4 การประชุม ATM-เกาหลี ครั้งที่ 14  เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 มีรัฐมนตรีว่า                    การกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว และกรรมาธิการการขนส่ง กระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งของเกาหลี  ทำหน้าที่เป็นประธานร่วม โดยที่ประชุมมีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้
การประชุม ATM ? เกาหลี ครั้งที่ 14
ที่ประชุมพิจารณา
(1) ผลการประชุม ATM- เกาหลี ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ณ กรุงโซล เกาหลี ภายใต้หัวข้อ                    ?การขับควบคลื่นแห่งการขนส่งอัจฉริยะ? ส่งเสริมการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ ผ่านการขนส่งที่สะอาด ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการปรับโครงการความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน - เกาหลี ให้สอดคล้องกับข้อริเริ่มระดับภูมิภาคต่าง ๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาเซียนปี 2559-2568
(2) ความคืบหน้าของการดำเนินการโครงการและกิจกรรมภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน - เกาหลี ปี 2567-2568 โดยเฉพาะโครงการเพื่อการพัฒนาบุคลากร การให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาและโครงการด้านเทคโนโลยีและการจัดการ ซึ่งสนับสนุนการขนส่งที่ยั่งยืนและครอบคลุมการขนส่งในเขตเมืองเทคโนโลยีด้านยานยนต์ที่ไร้มลพิษ/มลพิษต่ำ และการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในภาคการขนส่ง
ที่ประชุมรับรองเอกสารสำคัญ  3 ฉบับ
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
เอกสารสำคัญ          สาระสำคัญ
(1) แถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM -- เกาหลี                ครั้งที่ 14          เป็นเอกสารที่แสดงถึงผลลัพธ์การประชุม ATM - เกาหลี ครั้งที่ 14 ผ่านการพิจารณาและรับรองเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ รวมทั้งแสดงความยินดีต่อการดำเนินการต่าง ๆ เช่น ยินดีต่อความช่วยเหลือจากเกาหลีต่อความสำเร็จของการศึกษา เรื่อง การจัดทำยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ เป็นต้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า การประชุม ATM - เกาหลี ครั้งที่ 15 ในปี 2567 จะจัดขึ้น ณ มาเลเซีย
(2) ยุทธศาสตร์อาเซียนว่าด้วยการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ          เป็นการกำหนดกลยุทธ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนในการเปลี่ยนผ่านสู่การขนส่งในเมืองที่ยั่งยืน โดยนำระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามาปรับใช้ เพื่อส่งเสริมการขนส่งที่มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งของอาเซียน
(3) ปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือที่ครอบคลุมเพื่อการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะระหว่างอาเซียน - เกาหลี          เป็นการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ                ด้านการขนส่งอัจฉริยะระหว่างอาเซียนและเกาหลี รวมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมการเดินทางและขนส่ง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน

                              2.5 การประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียนสาขาการขนส่ง - สาขาการท่องเที่ยว (ASEAN Interface Meeting on Transport and Tourism Ministers Meeting) เมื่อวันที่ 10  พฤศจิกายน 2566 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว ทำหน้าที่เป็นประธานร่วม โดยที่ประชุมมีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้
                                        2.5.1 รับทราบเรื่องต่างๆ  เช่น การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวควบคู่กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกจะสร้างความต้องการในการเดินทางมากขึ้น เป็นต้น
                                        2.5.2 เห็นชอบเรื่องต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน การกระชับความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
                                        2.5.3 จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ เพื่อพิจารณาแนวทางการบูรณาการความร่วมมือทั้งสองสาขา และเพื่อพัฒนาการขนส่งและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
                                        2.5.4 รับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมการประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียนสาขาการขนส่ง - สาขาการท่องเที่ยว โดยภายในแถลงการณ์ร่วมจะแสดงถึงผลลัพธ์การประชุมร่วมระดับรัฐนตรีอาเซียนสาขาการขนส่ง- สาขาการท่องเที่ยวและยืนยันความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคการท่องเที่ยวและการขนส่ง ทั้งนี้ ที่ประชุม ATM ครั้งที่ 29 และที่ประชุมที่เกี่ยวข้องได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและถ้อยคำของร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 5 ฉบับ ให้มีความถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยยังคงไว้ซึ่งสาระสำคัญตามร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมที่ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 (ตามข้อ 1) โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาและถ้อยคำ ดังนี้
การประชุม ATM          ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม          ข้อแก้ไข
การประชุม ATM
ครั้งที่  29          ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM  ครั้งที่ 29          (1) เพิ่มการรับรองแผนปฏิบัติการด้านการบินที่ยั่งยืน6 ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการของไทยในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608
(2) ยกเลิกการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศยังดำเนินการตามกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ โดยแก้ไขถ้อยคำจาก ?รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน? เป็น ?การมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียนหาข้อยุติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน...?
การประชุม ATM- จีน
ครั้งที่ 22          ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM- จีน ครั้งที่ 22          (1) แก้ไขชื่อผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมร่วม จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของจีน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของจีน
(2) เพิ่มเรื่องการรับทราบการจัดการประชุมการขนส่งที่ยั่งยืนโลกของจีนเมื่อเดือนกันยายน 2566 ณ กรุงปักกิ่ง
(3) ปรับเปลี่ยนถ้อยคำให้มีความเหมาะสมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น เปลี่ยนจาก ?to further liberalise? เป็น ?to discuss further  liberalisation? เป็นต้น
การประชุม ATM- ญี่ปุ่น
ครั้งที่ 21          ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM- ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21          แก้ไขชื่อผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมร่วม เนื่องจากญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น
การประชุม ATM- เกาหลี
ครั้งที่ 14          ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM- เกาหลี
ครั้งที่ 14          แก้ไขชื่อผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมร่วม จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งของเกาหลี เป็นกรรมาธิการการขนส่งกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งของเกาหลี
การประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีสาขาการขนส่งและสาขาการท่องเที่ยว          ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีสาขาการขนส่งและสาขาการท่องเที่ยว           ปรับปรุงถ้อยคำให้มีความเหมาะสมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น เปลี่ยนจาก ?need to work? เป็น ?should continue to work? เป็นต้น
                    3. ในช่วงระหว่างการประชุม ATM ครั้งที่ 29 ได้มีการหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งของ สปป.ลาว โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นสำคัญ ได้แก่
                              3.1 การดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง (หนองคาย - เวียงจันทน์) แห่งที่ 2 และการพัฒนาขีดความสามารถของสะพานมิตรภาพ (หนองคาย - เวียงจันทน์) เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
                              3.2 ความเป็นไปได้ในการปรับปรุงความตกลงด้านการเดินรถไฟไทย - ลาว เพื่อให้สามารถเดินรถมาได้ถึงสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)
                              3.3 การอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน/ผ่านแดนของรถขนส่งสินค้า โดยให้ไทยสามารถเข้าไปขนส่งสินค้าใน สปป. ลาว โดยไม่ต้องเปลี่ยนหัวลาก - หางลาก รวมทั้งการพิจารณากำหนดอัตราค่าบริการของท่าเรือบกใน สปป. ลาว ที่ชัดเจน เพื่อประกอบการวางแผนธุรกิจของผู้ประกอบการขนส่ง
                              3.4 ข้อเสนอของ สปป. ลาว ในการปรับปรุงค่าธรรมเนียมผ่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเงินเฟ้อของ สปป. ลาว
                              3.5 การขอรับการสนับสนุนจากไทยในการพัฒนาบุคลากรด้านการขนส่งของ สปป. ลาว

1ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน (เอกสารสำคัญในการประชุม ATM ครั้งที่ 29)     ยังไม่มีการลงนาม เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศยังดำเนินการตามกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
2เป็นการวางรากฐานระบบการจราจรทางอากาศของภูมิภาคให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน รามทั้งพัฒนาระบบบริหารการจราจรทางอากาศให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
3พิธีสารดังกล่าวเป็นเอกสารแนบท้ายข้อตกลงร่วมสำหรับใบอนุญาตของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบิน โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้องค์การการบริหารการบินของประเทศสมาชิกอาเซียนออกใบอนุญาตนักบินที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในอาเซียน และสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
4ท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Port) คือ ท่าเรือที่นำเทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติ และระบบดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงาน               เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานท่าเรือ
5เช่น การพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น
6คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการบินที่ยั่งยืนแล้ว (7 พฤศจิกายน 2566) แต่ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM ครั้งที่ 29 ที่ทาง สปป.ลาว จัดทำในคราวแรก ไม่ได้ระบุแผนปฏิบัติการดังกล่าวไว้

15. เรื่อง ขออนุมัติโครงกรจัดสรรทุนการศึกษาตามความต้องการของกระทรวงการต่างประเทศโครงการที่ 6
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. การดำเนินการโครงการจัดสรรทุนการศึกษาตามความต้องการของ กต. (โครงการจัดสรรทุนฯ) โครงการที่ 6 ระยะเวลารวม 12 ปี (พ.ศ. 2568 - 2579) โดยจะดำเนินการจัดสรรทุนในช่วง 5 ปีแรก (พ.ศ. 2568 - 2572) ปีละ 13 ทุน รวมทั้งสิ้น 65 ทุน
                    2. งบประมาณในการดำเนินโครงการจัดสรรทุนฯ โครงการที่ 6 ประมาณ 806.40 ล้านบาท หรือประมาณ 20.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลดอลลาห์สหรัฐสำหรับการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (1 ดอลลาห์สหรัฐ เท่ากับ 40 บาท)] โดยขอตั้งงบประมาณและรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลทำให้วงเงินบาทเพิ่มขึ้นเกินกว่าที่ได้รับอนุมัติข้างต้นโดยวงเงินสกุลต่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบไม่เปลี่ยนแปลงก็ให้ กต. ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในกรณีดังกล่าวได้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ กต. ดำเนินโครงกำรจัดสรรทุนฯ ตามความต้องการของ กต. (ทุนที่ได้รับจัดสรรนอกเหนือจากทุนรัฐบาลส่วนกลาง) รวม 5 โครงการ โดยโครงการจัดสรรทุนฯ โครงการที่ 6 (พ.ศ. 2568 - 2579) เป็นโครงการจัดสรรทุนต่อเนื่องจากโครงการที่ 1 - 5 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เพื่อส่งนักเรียนทุนซึ่งคัดเลือกจากบุคคลทั่วไปและข้าราชการ กต. ไปศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ในต่างประเทศ และกลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ กต. อย่างไรก็ตาม กต. คาดว่าเมื่อนักเรียนทุนสำเร็จการศึกษาและเดินทางกลับประเทศไทยทั้งหมดภายในปี 2574 แล้ว กต. ยังจะประสบปัญหาวิกฤตด้านการสร้างนักการทูตที่มีศักยภาพระดับสากล โดยโครงการจัดสรรทุนฯ ถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญของ กต. เนื่องจากเป็นช่องทางหนึ่งในการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ที่ กต. และยังทำให้ กต. สามารถวางแผนระยะยาวด้านกำลังคนได้ โดยการกำหนดระดับการศึกษา สาขาวิชาและประเทศที่ไปศึกษาให้ตรงตามความต้องการของ กต. มากที่สุด
                    2. โครงการจัดสรรทุนฯ โครงการที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - 2579) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์          (1) เพื่อสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพและความรู้ความสามารถเข้าสู่ กต. ทั้งนี้ เพื่อยกระดับขีดความสามารถขององค์กร และช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการภารกิจของ กต. ตามแผนแม่บทด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
(2) เพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะความสามารถของข้าราชการของ กต. ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
จำนวนทุน          รวม 65 ทุน
ลักษณะทุนและกระบวนการสรรหานักเรียนทุน          (1) ทุนสำหรับบุคคลทั่วไปเพื่อศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
          - ดำเนินการสรรหาจากบุคคลทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อไปศึกษาระดับปริญญาตรีถึงปริญญาโท โดยมีเงื่อนไขให้กลับมาปฏิบัติราชการใน กต. เมื่อสำเร็จการศึกษา
(2) ทุนสำหรับบุคคลทั่วไปในต่างประเทศหรือบุคคลที่มีสถาบันการศึกษาในต่างประเทศตอบรับเพื่อศึกษาในระดับปริญญาโท
          - ดำเนินการสรรหาจากบุคคลทั่วไปที่ ก) เป็นผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโทในสถาบันการศึกษาที่สำนักงาน ก.พ. รับรองในสาขาวิชาและประเทศตามทุนที่กำหนด หรือ ข) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทยหรือต่างประเทศและได้รับการตอบรับจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงาน ก.พ. รับรองให้เข้าศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาและประเทศตามที่ทุนกำหนดอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยมีเงื่อนไขให้กลับมาปฏิบัติราชการใน กต. เมื่อสำเร็จการศึกษา
(3) ทุนสำหรับข้าราชการ กต. เพื่อศึกษาในระดับปริญญาโท
          - ดำเนินการสรรหาจากข้าราชการ กต. สายการทูตไปศึกษาต่อระดับ                ปริญญาโท
สาขาวิชา          สาขาวิชาที่ กต. เห็นว่ามีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานใน กต. ได้แก่ ภูมิภาคศึกษา กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ Public Diplomacy และ Global Studies
ระยะเวลา          รวม 12 ปี (พ.ศ. 2568 - 2579)
วิธีการดำเนินงาน          (1) กต. เป็นเจ้าของโครงการ โดยมีสำนักงาน ก.พ.เป็นผู้เบิกจ่ายงบประมาณค่าใช้จ่ายของนักเรียนทุนแทน กต. โดยจัดสรรทุนในช่วง 5 ปีแรก (พ.ศ. 2568 - 2572) ปีละ                    13 ทุน รวมทั้งสิ้น 65 ทุน
(2) กต. จะจัดสรรทุนในสาขาวิชาที่เห็นว่ามีความจำเป็นหรือสาขาวิชาที่ กต. ขาดแคลนและตอบสนองต่อภารกิจของ กต. โดยในแต่ละปีจะมีการพิจารณารายละเอียดของสาขาวิชาที่จะจัดสรรทุนโดยคณะกรรมการพิจารณารายละเอียดทุน ซึ่งจะพิจารณาตามกรอบสาขาที่ได้รับอนุมัติ
ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา          ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดิน จำนวนทั้งสิ้น 806.4 ล้านบาท [ประมาณ 20.16                 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐสำหรับการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568, 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ                       40 บาท)] (งบเงินอุดหนุน : เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาของนักเรียนทุนรัฐบาลตามโครงการจัดสรรทุนการศึกษาตามความต้องการของ กต.) โดยขอตั้งงบประมาณและรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความจำเป็นและความเหมาะสม
                    3. รายละเอียดการจัดสรรทุนฯ
ปีงบ ประมาณ          จำนวนทุน          งบ ประมาณค่าใช้จ่าย/คน/ปี
(ล้านบาท)          ทุนสำหรับบุคคลทั่วไป          ทุนสำหรับข้าราช การ
กต.          จำนวนนักเรียนทุนสะสม          งบ ประมาณรวม
(ล้านบาท)
                              ปริญญาตรี - โท          ปริญ ญาโท
ปีที่ 1 - 2568          13          2.52          5          3          5          13          32.76
ปีที่ 2 - 2569          13                    5          3          5          26          65.52
ปีที่ 3 - 2570          13                    5          3          5          39          98.28
ปีที่ 4 - 2571          13                    5          3          5          39(+13)(-8) = 44          110.88
ปีที่ 5 - 2572          13                    5          3          5          44 (+13)(-8) = 49          123.48
ปีที่ 6 - 2573                                                            49 - 8 = 41          103.32
ปีที่ 7 - 2574                                                            41 - 8 = 33          83.16
ปีที่ 8 - 2575                                                            33 - 8 = 25          63
ปีที่ 9 - 2576                                                            25 - 5 = 20          50.4
ปีที่ 10 - 2577                                                            20 - 5 = 15          37.8
ปีที่ 11 - 2578                                                            15 - 5 = 10          25.2
ปีที่ 12 - 2579                                                            5          12.6
รวม          806.4
จำนวนเงินขออนุมัติ (20.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ x 40 = 806.4)
หมายเหตุ          1. ทุนบุคคลทั่วไป ศึกษาระดับปริญญาตรี - โท 8 ปี
                 2. ทุนสำหรับบุคคลทั่วไปในต่างประเทศหรือบุคคลที่มีสถาบันการศึกษาในต่างประเทศตอบรับศึกษาระดับปริญญาโท 3 ปี
          3. ทุนสำหรับข้าราชการ กต. ศึกษาระดับปริญญาโท 3 ปี
          4. หากในปีที่ 5 จัดสรรทุนยังไม่ครบจำนวน จะนำทุนที่คงเหลือมาจัดสรรในปีถัดไป
                           5. กต. ประมาณการค่าใช้จ่ายโดยใช้ฐานอัตราเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐคำนวณงบประมาณใน                 การดำเนินโครงการฯ ประมาณ 20.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 40 บาท)] โดยคำนวณจากงบประมาณค่าใช้จ่ายนักเรียนทุนในประเทศสหรัฐอเมริกา (สำนักงาน ก.พ.) ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 จำนวน 63,020 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี หรือประมาณ 2.52 ล้านบาท
                    4. กต. แจ้งว่า สำนักงาน ก.พ. ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการโครงการจัดสรรทุนฯ โครงการที่ 6 พิจารณาแล้วเห็นควรสนับสนุนโครงการจัดสรรทุนฯ ดังกล่าว โดยมีข้อสังเกตว่า กต. ควรนำเสนออัตรากำลังในภาพรวมทั้งจำนวนผู้รับทุนที่จะสำเร็จการศึกษาในแต่ละปีตามโครงการที่เสนอ และแผนการสรรหาบุคคลทั่วไปโดยการสอบแข่งขันเพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป                      ซึ่ง กต. ได้ดำเนินการตามข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. แล้ว
                    5. ประโยชน์ที่ได้รับ
                              5.1 การสรรหานักเรียนทุนเป็นองค์ประกอบสำคัญในแผนงานการสรรหาและแผนงานด้านบุคลากรของ กต. เนื่องจากทำให้สามารถวางแผนระยะยาวด้านอัตรากำลังบุคลากรที่ค่อนข้างแน่นอน โดยสามารถกำหนดระดับการศึกษา สาขาวิชาและประเทศที่ไปศึกษาได้ตรงตามความต้องการและเป้าหมายการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการสอบแข่งขันในแต่ละครั้ง ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าผู้ที่สอบแข่งขันได้จะมีวุฒิการศึกษาในสาขาวิชาใด และมีจำนวนเท่าใด รวมทั้งแม้ว่า กต. จะมีระบบการสอบที่เข้มข้นเพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูงรับราชการ ข้าราชการที่มาจากการสอบแข่งขันบางส่วนยังควรต้องได้รับ                    การพัฒนาขีดความสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความรู้เฉพาะทางและความรู้ด้านภาษา
                              5.2 การจัดสรรทุนในส่วนของทุนสำหรับบุคคลทั่วไป (ระดับปริญญาตรี - โท) ดำเนินการสรรหาจากบุคคลทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อไปศึกษา โดยมีระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 6 - 7 ปี (ตามแผน 8 ปี) ซึ่งจะได้บุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิชาการและด้านภาษาต่างประเทศที่ กต. ต้องการ/ขาดแคลน โดยมีเงื่อนไขให้กลับมาปฏิบัติราชการใน กต. เมื่อสำเร็จการศึกษา (เป็นการวางแผนการรับบุคลากรของ กต. ในระยะยาว เนื่องจาก กต. สามารถคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ไปศึกษาต่อตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โดยกำหนดสาขาวิชาและประเทศที่ กต. ต้องการที่จะให้ไปศึกษาต่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาวิชาที่ขาดแคลน ซึ่งจะทำให้ได้บุคลากรตรงตามความต้องการของ กต. มากที่สุด)
                              5.3 ทุนสำหรับบุคคลทั่วไปในต่างประเทศหรือบุคคลที่มีสถาบันการศึกษาในต่างประเทศตอบรับ (ทุนต่อยอด) ดำเนินการสรรหาจากบุคคลทั่วไปที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโทหรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทยหรือต่างประเทศและได้รับการตอบรับจากสถาบันการศึกษาที่ สำนักงาน ก.พ. รับรองให้เข้าศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาและประเทศตามที่ทุนกำหนดอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยมีเงื่อนไขให้กลับมาปฏิบัติราชการใน กต. เมื่อสำเร็จการศึกษา ซึ่งทุนต่อยอดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถคัดเลือกบุคคลที่มีศักยภาพสูง สามารถเริ่มปฏิบัติราชการได้ในระยะเวลาประมาณ 1 - 3 ปี
                              5.4 ทุนสำหรับข้าราชการ กต. (ทุนพัฒนาข้าราชการ) ดำเนินการสรรหาจากข้าราชการ กต. สายการทูตไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท เพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะ ความสามารถของข้าราชการของ กต. ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

16. เรื่อง การร่วมมือกับรัฐบาล สปป. ลาว ในการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 12 (R12) ช่วงเมืองท่าแขก -                   จุดผ่านแดนนาเพ้า สปป. ลาว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 12 (R12) ช่วงเมืองท่าแขก - จุดผ่านแดนนาเพ้า สปป. ลาว (โครงการ R12) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการตามขอบเขตของโครงการ แหล่งที่มาของเงินทุน รูปแบบวิธีการ และเงื่อนไขทางการเงินสำหรับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป. ลาว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการ R12 จำนวน 1,833,747,000 บาท
                    2. อนุมัติให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณเป็นรายปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - 2570 รวมระยะเวลา 3 ปี สำหรับวงเงินให้เปล่า จำนวน 91,063,000 บาท และร้อยละ 50 ในส่วนของเงินกู้จำนวน 871,342,000 บาท รวมทั้งสิ้น 962,405,000 บาท
                    3. เห็นชอบแนวทางการกู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ จำนวน 871,342,000 บาท                        ตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนด
                    4. กรณี สปป. ลาว ผิดนัดชำระหนี้ สพพ. จะพิจารณาใช้เงินสะสมของ สพพ. เพื่อชำระคืนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากเงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศไปก่อน ทั้งนี้หาก สพพ. เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องจะขอรับจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อเสริมสภาพคล่องและเมื่อ สพพ. สามารถเรียกเก็บหนี้ได้จะนำเงินดังกล่าวส่งคืนคลังต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. การดำเนินโครงการ R12 เริ่มต้นจากเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน บริเวณจุดเชื่อมต่อกับถนนหมายเลข 13 ห่างจากจุดผ่านแดนถาวรนครพนม ประมาณ 17 กิโลเมตร (ผ่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3) เชื่อมต่อไปยังเมืองยมมะลาด เมืองบัวพะลา สิ้นสุดที่บริเวณจุดผ่านแดนสากลนาเพ้า สปป. ลาว ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ                  จุดผ่านแดนสากลจาลอ กวางบิงห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม) ระยะทางประมาณ 147 กิโลเมตร ประกอบด้วย
                              1.1 ปรับปรุงสายทางตามมาตรฐานทางหลวงสายเอเชีย (Asian Highway)
                              1.2 ปรับปรุงจุดผ่านแดน อาคารสำนักงานต่าง ๆ สถานีขนถ่ายสินค้าและลานกองเก็บ ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบริเวณด่าน
                              1.3 ปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณทางร่วมทางแยกในชุมชนระบบระบายน้ำ และติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบริเวณจุดเสี่ยงอันตราย
                              1.4 พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกแหล่งท่องเที่ยว
                    2. คณะกรรมการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (คพพ.) ได้มีมติในการประชุม คพพ. ครั้งที่ 8/2560 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560 อนุมัติให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ สปป. ลาว สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) และออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) ของโครงการ R12 ต่อมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 กระทรวงการเงิน สปป. ลาว ได้มีหนังสือขอรับความช่วยเหลือทางการเงินในการดำเนินโครงการ R12 เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างประเทศภายใต้อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) และเป็นประตูการค้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยไปยังเวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) โดย คพพ. (นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร เป็นประธานกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งในขณะนั้น)                  ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ได้มีมติอนุมัติการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน (Concessional Loan) แก่ สปป. ลาว สำหรับโครงการ R12 โดยมีเงื่อนไขตามที่ระบุในร่างสัญญาให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่งเป็นไปตามสัญญามาตรฐานของ สพพ. (ที่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดของไทยที่ใช้สำหรับโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินทุกโครงการของ สพพ. ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา) โดยมีเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ รูปแบบวิธีการและแหล่งที่มาของเงินทุนในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ดังนี้
                              2.1 เงื่อนไขและรูปแบบการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
(1) เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
(1.1) อัตราดอกเบี้ย                                        ร้อยละ 1.75 ต่อปี
(1.2) อายุสัญญา                                                  30 ปี (รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 7 ปี)
(1.3) ค่าธรรมเนียมบริหารของ สพพ.                    ร้อยละ 0.15 ของวงเงินกู้
(1.4) ระยะเวลาการเบิกจ่าย                              6 ปี นับจากวันที่ลงนามในสัญญา
(1.5) ผู้ประกอบการงานก่อสร้างและที่ปรึกษา          นิติบุคคลสัญชาติไทย
(1.6) การใช้สินค้าและบริการจากประเทศไทย          ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าสัญญา
(1.7) ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา                    นิติบุคคลสัญชาติไทย
(1.8) กฎหมายที่ใช้บังคับ                                        กฎหมายไทย
(2) รูปแบบการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
   (2.1) วงเงินให้ความช่วยเหลือในรูปแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน1 (Concessional Loan) วงเงินรวมทั้งสิ้น 1,833,747,000 บาท ดังนี้
รูปแบบการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน          วงเงิน (บาท)
(1) วงเงินให้กู้ (จากแหล่งเงินงบประมาณร้อยละ 50 และเงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศร้อยละ 50)           1,742,684,000
(2) วงเงินให้เปล่า (จากแหล่งเงินงบประมาณ)           91,063,000
รวมทั้งสิ้น          1,833,747,000
   (2.2) แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ R12 ประกอบด้วย
          (2.2.1) เงินงบประมาณ แบ่งเป็น 1) วงเงินให้เปล่า จำนวน 91,063,000 บาท และ 2) วงเงินให้กู้                 (ร้อยละ 50 ของวงเงินให้กู้) จำนวน 871,342,000 บาท รวมวงเงินทั้งสิ้น 962,405,000 บาท โดยขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณจาก สงป. เป็นรายปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - 2570 รวมระยะเวลา 3 ปี ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.          การจัดสรรเงินงบประมาณให้ สพพ. (บาท)
2568          336,841,750
2569          336,841,750
2570          336,841,750
รวมทั้งสิ้น          962,405,000
          (2.2.2) เงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ (เงินนอกงบประมาณ) คิดเป็นร้อยละ 50 ในส่วนของเงินกู้ รวมวงเงิน 871,342,000 บาท ซึ่ง สพพ. จะกู้เงินระยะเวลา 5 ปี โดยใช้วิธีการประมูลเพื่อหาผู้เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุด โดยในช่วง 5 ปีแรก ใช้ประมาณการอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี ซึ่งภายหลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยการออกพันธบัตรระยะเวลา 10 ปี สำหรับปีที่ 6 - 15 และออกพันธบัตรระยะเวลา 15 ปี สำหรับปีที่ 16 - 30 โดยใช้ประมาณการอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.00 ต่อปี โดย สพพ. เป็นผู้รับภาระส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา
          ทั้งนี้ กรณีที่ สปป. ลาว ผิดนัดชำระหนี้ สพพ. จะพิจารณาใช้เงินสะสมของ สพพ. ไปก่อน หาก สพพ.              ไม่สามารถดำเนินการได้หรือมีสภาพคล่องไม่เพียงพอจะขอให้รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อเสริมสภาพคล่องและเมื่อ สพพ. สามารถเรียกเก็บหนี้ได้จะนำเงินดังกล่าวส่งคืนคลังต่อไป
                              2.2 รายละเอียดค่าใช้จ่ายภายใต้วงเงินให้ความช่วยเหลือ
รายการ          จำนวนเงิน (บาท)
(1) ค่าก่อสร้าง          1,676,000,000
          (1.1) งานก่อสร้างภายใต้วงเงินกู้          1,584,937,000
          (1.2) งานก่อสร้างภายใต้วงเงินให้เปล่า
                    - งานปรับปรุงเส้นทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว
                    - งานสร้างจุดพักรถ
                    - งานปรับปรุงด่านนาเพ้า          91,063,000
44,212,000
6,454,000
40,397,000
(2) ค่าที่ปรึกษา          51,000,000
(3) ค่าบริหารจัดการ          20,000,000
(4) ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด          84,000,000
(5) ค่าธรรมเนียมบริหารของ สพพ.          2,747,000
รวมทั้งสิ้น          1,833,747,000
ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการ R12 แล้ว สพพ. จะดำเนินการพิจารณาและกลั่นกรองโครงการเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะเพื่อบรรลุโครงการดังกล่าวตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะระยะปานกลาง 5 ปี ต่อไป
                    3. จากการศึกษาพบว่า เส้นทาง R12 จะสนับสนุนนโยบายการเชื่อมโยงคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศไทย สปป. ลาว เวียดนาม และจีน รวมทั้งสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศภายใต้อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย โดยสามารถประหยัดเวลาการขนส่งและพิธีการทางศุลกากรระหว่างประเทศได้ (Transit & Customs time) จากจุดเริ่มต้น (Origin) และจุดหมาย (Destination) เดียวกันจาก 10 ชั่วโมง เหลือ 4 ชั่วโมง เนื่องจากลดขั้นตอนการผ่านด่านศุลกากรจาก 5 จุด เหลือ 2 จุด และช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานการค้าการลงทุนที่สำคัญของภูมิภาคและระดับโลก ตลอดจนยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งภาคการผลิตและบริการที่สำคัญ รวมถึงส่งเสริมให้มีการเดินทางและติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและประเพณีระหว่างกันส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตได้อย่างรวดเร็วปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเส้นทาง R12 เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นทางหมายเลข 8 (R8) และเส้นทางหมายเลข 9 (R9) ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East - West Economic Corridor : EWEC)
                    และคาดว่า มีโอกาสที่จะมีการเปลี่ยนการใช้เส้นทางจากเส้นทาง R9 มาใช้เส้นทางโครงการ R12 ประมาณร้อยละ 50 ซึ่งจะส่งผลให้โครงการ R12 สามารถเพิ่มมูลค่าการค้าชายชายแดนระหว่างไทย - สปป. ลาว ผ่านด่านศุลกากรนครพนมได้มากขึ้น ทั้งนี้ สถิติมูลค่าการค้าขายชายแดนไทย - สปป. ลาว ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2566 ผ่านด่านศุลกากรนครพนมสามารถแสดงได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          ปีงบประมาณ พ.ศ.
          2562          2563          2564          2565          2566
มูลค่ารวม          89,774.17          74,311.00          118,388.00          83,816.71          122,382.79
มูลค่านำเข้า          22,919.80          12,716.14          19,241.23          28,105.82          33,098.59
มูลค่าส่งออก          66,854.37          61,594.86          99,146.77          55,710.89          89,284.20
ดุลการค้า          43,934.57          48,878.72          79,905.54          27,605.07          56,185.61
ที่มา : สรุปภาวะการค้าชายแดนจังหวัดนครพนมประจำเดือนกันยายน 2566, สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครพนม โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ผลไม้ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง สินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและสิ่งปรุงแต่ง และสินค้านำเข้าที่สำคัญ คือ พลังงานไฟฟ้า โซล่าเซลล์ ปุ๋ยเคมี ปูนซิเมนต์ แบตเตอรี่ ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า
                    4. สถานะทางการเงินของ สพพ. และ สปป. ลาว
                              4.1 โครงการ R12 เป็นโครงการที่มีลักษณะของการทยอยเบิกจ่ายเงินตามความก้าวหน้าของโครงการ ซึ่ง สพพ. จะจัดหาเงินกู้ในรูปแบบสัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) โดยการกำหนดอายุเงินกู้และเงื่อนไขเงินกู้ให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด แผนการเบิกจ่ายและแผนการดำเนินโครงการ รวมถึงดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ โดยออกตราสารหนี้ระยะยาว สพพ. จะสำรวจความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ก่อนการออกตราสารหนี้ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินและนักลงทุน ทั้งนี้ หากสภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวย สพพ. อาจพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : PN) เพื่อเป็นแหล่งเงินสำรองชั่วคราว (Bridge Financing) ไปพลางก่อน
                              4.2 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 สปป. ลาว เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก สพพ. แล้วทั้งสิ้น 21 โครงการ วงเงินรวม 15,322.86 ล้านบาท และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ได้ประเมินว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ของ สปป. ลาว มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2566 และรัฐบาล สปป. ลาว ได้ใช้นโยบายจัดการหนี้อย่างเคร่งครัดเพื่อลดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP โดยจัดเก็บรายได้จากรัฐวิสาหกิจและรายได้ภาคพลังงานเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และเจรจากับเจ้าหนี้รายใหญ่เพื่อเลื่อนการชำระหนี้ และกู้ยืมเพื่อชำระหนี้ ทั้งนี้ สปป. ลาว ตั้งเป้าหมายสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ร้อยละ 89 ภายในปี 2568
                              4.3 สพพ. มีแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงหาก สปป. ลาว มีปัญหาเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ และมีการจัดทำแนวปฏิบัติกรณีประเทศเพื่อนบ้านผิดนัดชำระหนี้และกรณีประเทศผู้รับความช่วยเหลือประกาศหยุดพักชำระหนี้ เพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดการขาดสภาพคล่อง ทั้งนี้ หากเกิดปัญหาสภาพคล่อง สพพ. มีแนวทางการดำเนินการ ประกอบด้วย 1) การขอรับจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อเสริมสภาพคล่อง และ 2) การกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศหรือระดมทุนในตลาดตราสารหนี้เพื่อเสริมสภาพคล่องของ สพพ. ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
                    5. กค. แจ้งว่า สงป. พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป. ลาว สำหรับโครงการ R12 สพพ. จะขอรับจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับการให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งสิ้น 962,405,000 บาท และ สพพ. จะรับภาระส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา สำหรับภาระงบประมาณในส่วนแหล่งที่มาของเงินทุนของโครงการ R12 หาก สพพ. ได้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้พิจารณาสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็ไม่ขัดข้องที่ สพพ. จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป. ลาว สำหรับโครงการ R12 ทั้งนี้เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว เห็นควรให้ สพพ. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป สำหรับการชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้และดอกเบี้ยที่ สพพ. กู้รวมทั้งความเสี่ยงกรณี สปป. ลาว ผิดนัดชำระหนี้ เห็นควรให้ สพพ. ใช้เงินสะสมของหน่วยงานและกำหนดแนวทางและวิธีการบริหารจัดการเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยดำเนินการให้เป็นไปตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ต่อไป
1 เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน หมายถึง เงินกู้ที่มีระยะเวลาในการชำระเงินคืนยาวกว่าเงินกู้ทั่วไปและมีอัตราดอกเบี้ยต่ำมากและในเงินจำนวนนั้นต้องมีส่วนที่เป็นเงินช่วยเหลือให้เปล่า (Grants)

17.  เรื่อง การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถานว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน (คาซัคสถาน) ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา (Agreement between the Government of the Republic of Kazakhstan and the Government of the Kingdom of Thailand on Visa Exemption for Holders of National Passports) (ความตกลงฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ขอให้ กต. สามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลและประยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                    2. ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามร่างความตกลงฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทนให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้ลงนามดังกล่าว
                    3. ให้ กต. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ
                    เรื่องเดิม
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (13 กันยายน 2566) เห็นชอบในหลักการในการกำหนดให้ ?สาธารณรัฐประชาชนจีน? (จีน) และ ?สาธารณรัฐคาซัคสถาน? เป็นรายชื่อประเทศในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน โดยมีเงื่อนไขให้มีผลใช้บังคับชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมิติเศรษฐกิจและการต่างประเทศกับจีนและคาชัคสถานในภาพรวมโดยเฉพาะความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนสองประเทศที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามที่ กต. เสนอ
                    2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2567) เห็นชอบในหลักการในการกำหนดให้คาซัคสถานเป็นรายชื่อประเทศ/ดินแดนในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศ/ดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน โดยมีเงื่อนไขให้มีผลใช้บังคับชั่วคราวเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 31 สิงหาคม 2567 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมิติเศรษฐกิจและการต่างประเทศกับคาซัคสถานในภาพรวม โดยเฉพาะด้านความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนสองฝ่ายที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์จนกว่าการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาระหว่างราชอาณาจักรไทยและคาซัคถานเป็นการถาวรจะแล้วเสร็จตามที่ กต. เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถานมีกำหนดจะเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 21 - 24 เมษายน 2567 โดยไทยและคาซัคสถานได้เห็นชอบที่จะจัดให้มีการลงนามความตกลงฯ ในวันที่ 23 เมษายน 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของทั้งสองฝ่าย
                    2. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ขอเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาชัคสถานว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ความตกลงฯ) ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะจัดให้มีการลงนามความตกลงฯ ในวันที่ 23 เมษายน 2567 โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยกเว้นการตรวจลงตราแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของแต่ละฝ่ายในการเดินทางเข้า - ออก เดินทางผ่าน และพำนักอยู่ในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งโดยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน นับจากวันเดินทางเข้า โดยระยะเวลาพำนักสะสมรวมกันจะต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในแต่ละช่วงเวลา 180 วัน โดยหากพลเมืองของทั้งสองประเทศมีความประสงค์ที่จะพำนักในดินแดนของรัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่งเกินกว่า 30 วัน บุคคลเหล่านั้นจะต้องขอรับการตรวจลงตราตามประเภทที่สอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐภาคีนั้น ๆ ทั้งนี้ กต. แจ้งว่า ในการประชุมเพื่อพิจารณาการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ที่ประชุมได้เห็นชอบตามข้อเสนอของ กต. ให้พิจารณาให้สิทธิยกเว้นการตรวจลงตรา 30 วัน (ผ.30) แก่ฝ่ายคาซัคสถานตามหลักต่างตอบแทนหรือจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างกัน รวมทั้ง กต. ได้สอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กก. มท. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และ สตม. เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงฯ แล้ว ทุกหน่วยงานไม่มีข้อขัดข้องต่อการจัดทำความตกลงฯ รวมทั้งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย



18.  เรื่อง ร่างปฏิญญาว่าด้วยนโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและทั่วถึง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างปฏิญญาว่าด้วยนโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและทั่วถึง (ร่างปฏิญญาฯ) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยขอให้ อว. หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้เข้าร่วมรับรองปฏิญญาดังกล่าว
                    สาระสำคัญ
                    ร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
(1) วัตถุประสงค์          เพื่อแสดงเจตจำนงร่วมกันในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกระตุ้นให้เกิดการวิจัย การพัฒนา และนวัตกรรมที่มีความรับผิดชอบ และความเท่าเทียมกัน เพื่อการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อความท้าทายของวิกฤตระดับโลก รวมทั้งเพื่อเร่งความก้าวหน้าไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และเพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน
(2) สาขาความร่วมมือ          ไม่จำกัดสาขาความร่วมมือ
(3) กิจกรรมความร่วมมือ          ครอบคลุม 4 กิจกรรม ดังนี้
1) การออกแบบและการขับเคลื่อนนโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น
                    1.1) พัฒนาและขับเคลื่อนตามวาระการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทั่วถึง คล่องตัว คาดการณ์ได้ และสะท้อนทิศทางที่ต้องการของสังคมเพื่อช่วยให้บรรลุ SDGs รวมถึงสามารถรับมือกับวิกฤติการณ์โลก เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
                    1.2) ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐ โดยเป็นการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วยความตระหนักรู้ การวิจัยเชิงพันธกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยที่ยั่งยืนและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการรับมือกับความท้าทายระดับโลก
                    1.3) กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทุนมนุษย์และแรงงานที่มีทักษะและคล่องตัว โดยการส่งเสริมการเข้าถึงที่หลากหลาย เสมอภาค และทั่วถึงในการฝึกอบรมทักษะและโปรแกรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
2) การเสริมสร้างค่านิยมร่วมในความร่วมมือระหว่างประเทศและการกำกับดูแลเทคโนโลยี เช่น
                    2.1) ค่านิยมร่วมและหลักจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะเสรีภาพทางวิชาการ ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ การเปิดกว้าง ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์และความปลอดภัยของการวิจัย รวมถึงความหลากหลาย ความเท่าเทียม ความทั่วถึง และการเข้าถึงเพื่อสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม
                    2.2) หลักการและแนวปฏิบัติของวิทยาศาสตร์แบบเปิด ซึ่งรวมถึงความสามารถในการค้นหา การเข้าถึง การทำงานร่วมกัน และการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ของการจัดการและดูแลข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกในการผลิตองค์ความรู้อย่างทั่วถึงและสามารถเข้าถึงงานเขียนทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลการวิจัยอย่างเท่าเทียมกัน
3) การทำให้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความทั่วถึงมากขึ้น เช่น
                    3.1) ส่งเสริมมาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
                    3.2) พัฒนาความหลากหลาย ความเท่าเทียม ความทั่วถึง และการเข้าถึง รวมทั้งการสร้างความครอบคลุมในกลุ่มผู้หญิงและกลุ่มผู้ที่มีบทบาทน้อยอื่น ๆ เพื่อให้สังคมส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และประสบความสำเร็จในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
                    3.3) ส่งเสริมมาตรการเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและความพร้อมของอาชีพที่มีคุณกาพสำหรับวิชาชีพด้านการวิจัยและการสอน เช่น การปรับปรุงสภาพการทำงาน การกระตุ้นการเคลื่อนย้ายผู้ที่มีความสามารถ และการหมุนเวียนของนักวิจัยข้ามภาคส่วนและพรมแดนระหว่างประเทศ
4) การเสริมสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับยุทธศาสตร์และการกำหนดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น
                    4.1) สนับสนุนและให้คำแนะนำด้านกระบวนการที่จำเป็นในการรวบรวมเชื่อมโยง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม
                    4.2) ส่งเสริมกลไกการประเมินผลและระบบการคาดการณ์เชิงกลยุทธ์และการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และผลกระทบของระบบวิจัยและนวัตกรรม


แต่งตั้ง

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                          (กระทรวงสาธารณสุข)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางพิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ   (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                         (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอแต่งตั้ง นางพัชรวีร์ สุวรรณิก ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองนโยบายและแผนแม่บท สทนช. ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สทนช. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่                 15 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป


21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายชาญวิชญ์               สิริสุนทรานนท์ ผู้ตรวจราชการกรม (ผู้อำนวยการสูง) กรมโยธาธิการและผังเมือง ให้ดำรงตำแหน่ง สถาปนิกใหญ่ (สถาปนิกทรงคุณวุฒิ) กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นางอำภา                พรหมวาทย์ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการสูง) สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

23. เรื่อง การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต หัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม (กระทรวงการต่างประเทศ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นางกาญจนา ภัทรโชค เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต หัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม อีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต ฯ ให้ไปดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสหภาพยุโรปแล้ว

24. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นางสาวพลอย ธนิกุล เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ