สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 พฤษภาคม 2567

ข่าวการเมือง Tuesday May 7, 2024 17:47 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 7 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
          1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          2.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านไร่ จังหวัด                                        อุทัยธานี พ.ศ. ....
          3.           เรื่อง           ร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธาน                                        กรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของ

อากาศยาน พ.ศ. ....

          4.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งออกข้าวภายใต้โควตาภาษีไปสหภาพยุโรป                                         และสหราชอาณาจักร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....
           5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในทะเลในพื้นที่                              พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. ....
           6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการชำระค่าภาคหลวงและรายได้อื่น ๆ จากการผลิตปิโตรเลียม ใน                              พื้นที่พัฒนาร่วมให้แก่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซีย (ฉบับที่ ..)                               พ.ศ. ....
          7.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา

จำนวน 4 ฉบับ

           8.           เรื่อง           การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจ                              พิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีและกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี

เศรษฐกิจ-สังคม
          9.           เรื่อง           รายงานข้อมูลสถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน ปี 2566
          10.           เรื่อง           ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ                                         (โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง จังหวัดชลบุรี และโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง)
          11.           เรื่อง           ขออนุมัติหลักการกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อ                                        กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติ                                                  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา                               6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
          12.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล
          13.           เรื่อง          สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมีนาคม 2567
          14.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567
          15.           เรื่อง          ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการนำเทคโนโลยี                              ดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ เพื่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของ                                        คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา
                    16.           เรื่อง           ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
          17.           เรื่อง           ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท                               ผ่าน Digital Wallet



ต่างประเทศ
          18.           เรื่อง           ร่างแถลงการณ์ร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัด                                        ความยากจน ครั้งที่ 13
          19.           เรื่อง           ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the                               Prohibition of Nuclear Weapons ? TPNW) ครั้งที่ 1 (Second Meeting of States                               Parties ? 2MSP)
          20.           เรื่อง           รายงานผลการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ                                        กระทรวงพาณิชย์
          21.           เรื่อง           ผลการเดินทางเข้าร่วมการประชุม Global Forum for Food and Agriculture (GFFA)                               ครั้งที่ 16 และการประชุมระดับรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน ครั้งที่ 16 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐ                              เยอรมนี
          22.           เรื่อง           ขออนุมัติให้ความเห็นชอบต่อคณะทำงานฝ่ายไทยของคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทย                              และคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และ                              ไร้การควบคุม
          23.           เรื่อง           ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the                               Prohibition of Nuclear Weapons - TPNW) ครั้งที่ 2  (Second Meeting of States                               Parties - 2MSP)
          24.           เรื่อง           ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 19 (The nineteenth                               session of the United Nations Forum on Forests - UNFF19)
          25.          เรื่อง           การขยายระยะเวลาการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือ                                        เดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติอินเดียและไต้หวัน เป็นกรณีพิเศษและ                              เป็นการชั่วคราว

แต่งตั้ง
          26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

(กระทรวงพาณิชย์)

          27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงมหาดไทย)
          28.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนา                              เศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
          29.           เรื่อง           แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489
          30.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
          31.           รื่อง           มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
          32.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)
          33.           เรื่อง           คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
          34.           เรื่อง  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  166/2567 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษา                                        ราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและ                                        รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่
                              รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้                              หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
          35.           เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  167/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้
                              รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทน                                        นายกรัฐมนตรี
          36.           เรื่อง            คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  168/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้
                              รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ                               และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่                              ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ

ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

            37.           เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  169/2567 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับ                                                  และติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
                    ทั้งนี้ การเสนอร่างพระราชบัญญัติในครั้งนี้ได้เพิ่มเติมกฎหมายและฐานความผิดซึ่งเป็นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม จากเดิม ซึ่งมีกฎหมาย 10 ฉบับ คือ 1) กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ 2) กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ 3) กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 4) กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ 5) กฎหมายว่าด้วยศุลกากร 6) กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนในฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ 7) กฎหมายว่าด้วยที่ดินในฐานความผิดเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ 8) กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด 9) กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง และ                10) กฎหมายว่าด้วยการพนันในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนักโดยเพิ่มเติมอีก 3 ฉบับ คือ 1) กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 2) กฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน และ                       3) กฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่                พระพุทธศักราช 2457 ซึ่งกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านไว้เข้มงวดเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่เคยกระทำผิดตามกฎหมายที่ระบุไว้เข้าสู่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หากบุคคลดังกล่าวมาเป็นผู้นำราษฎร อาจทำให้เกิดการต่อต้านขึ้นในชุมชน หมู่บ้าน ไม่ยอมรับบุคคลที่จะมาเป็นผู้นำ นอกจากนี้ ผู้ใหญ่บ้านเป็น   เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามกฎหมายและเป็นพนักงานฝ่ายปกครองที่มีหน้าที่นำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จภายในหมู่บ้านจึงต้องอาศัยคุณสมบัติผู้มีมาตรฐานสูง มีความประพฤติที่ดี ไม่เสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของราษฎรในหมู่บ้าน เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวม                        จึงจำเป็นต้องพิจารณาคุณสมบัติบุคคลที่จะเป็นผู้นำหมู่บ้านอย่างเข้มงวด
                    ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่เสนอในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามคำบังคับของคำวินิจฉัยของ             ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 13/2563 และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 7-8/2565 เรื่อง การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล ต้องไม่จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุตามมาตรา 26                   วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะกรณีของความผิดเกี่ยวกับกฎหมายยาเสพติดและกฎหมายการเลือกตั้ง ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ใหญ่บ้าน และระบุฐานความผิดเพื่อการจำแนกประเภทการกระทำความผิดและความหนักเบาแห่งสภาพบังคับตามลักษณะและพฤติการณ์แห่งการกระทำ กำหนดระยะเวลาของการต้องห้ามเป็นผู้ใหญ่บ้านสำหรับความผิดบางประเภท เป็นเวลา 10 ปี และหากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวสามารถสมัคร                       เพื่อเข้ารับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ ดังนี้
พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่
พระพุทธศักราช 2457
(ฉบับปัจจุบัน)          ร่าง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับแก้ไข)          หมายเหตุ
มาตรา 12 ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
          (11) ไม่เป็นผู้เคยต้อง             คำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดเกี่ยวกับ
                    1.กฎหมายว่าด้วยป่าไม้
                    2. กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
                    3. กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
                    4. กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
                    5. กฎหมายว่าด้วยศุลกากร
                    6. กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนในฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้
                    7. กฎหมายว่าด้วยที่ดินในฐานความผิดเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์
                     8. กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
                    9. กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง
                    10. กฎหมายว่าด้วยการพนัน ในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก          มาตรา 12 ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
          (11) ไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามกฎหมายและฐานความผิดตามที่กำหนดไว้ใน บัญชี ก ท้ายพระราชบัญญัตินี้          บัญชี ก
          (ก) ประมวลกฎหมาย                ยาเสพติดในฐานความผิดเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า
          (ข) กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ในฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้
          (ค) กระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งทุกระดับ
          (ง) กฎหมายว่าด้วยการพนันในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก
          (จ) กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในฐานความผิดค้ามนุษย์ โดยเป็นธุระจัดหาซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขังจัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ ใช้อำนาจครอบงำบุคคล ด้วยเหตุที่อยู่ในภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา หรือทางอื่นใดโดยมิชอบ ขู่เข็ญว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดย             มิชอบ หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำความผิดในการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล หรือเป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย   พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งเด็ก ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
          (ฉ) กฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน ในฐานความผิดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน โดยเป็นผู้โฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่              สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงินในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้โดยที่ตนรู้ หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป
                    (11/1) ไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามกฎหมายและฐานความผิดตามที่กำหนดไว้ในบัญชี ข ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และ                  พ้นกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วัน              พ้นโทษ          บัญชี ข
          (ก) ประมวลกฎหมายที่ดินในฐานความผิดเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์
          (ข) กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ในฐานความผิดเกี่ยวกับการครอบครองไม้หวงห้ามยังมิได้แปรรูป โดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขาย
          (ค) กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ ในฐานความผิดเกี่ยวกับการยึดถือครอบครองทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้          อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ
          (ง) กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ในฐานความผิดเกี่ยวกับการครอบครอง การเพาะพันธุ์ การค้า การนำเข้าส่งออก ซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าควบคุมหรือสัตว์ป่าอันตราย และซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว
          (จ) กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ ในฐานความผิดเกี่ยวกับยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่เดิมในอุทยานแห่งชาติ                   วนอุทยานสวนพฤกษศาสตร์                              สวนรุกขชาติ
          (ฉ) กฎหมายว่าด้วยศุลกากรในฐานความผิดนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกของดังกล่าวไปนอกราชอาณาจักรหรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำ โดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น
          (ข) กฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้ ในฐานความผิดการข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น หรือการแสดง หรือการใช้ข้อความ เครื่องหมายสัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็น                การกระทำของศาล เจ้าหน้าที่                  ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ

2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี                        พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศ
                     กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอว่า
                      1. มท. ได้รับรายงานจากกรมโยธาธิการและผังเมืองว่าได้ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมชุมชนบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ในท้องที่ตำบลทัพหลวง ตำบลห้วยแห้ง ตำบลบ้านไร่ และตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โดยเป็นผังเมืองรวมเปิดพื้นที่ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการบริการในระดับอำเภอ ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ ส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พัฒนาการบริการทางสังคม                     การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านไร่ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                     2. ในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518)                        ครั้งที่ 6/2561 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบผังเมืองรวมดังกล่าว และนำไปปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็น ปรากฏว่ามีผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องจำนวน 5 ราย และในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 10/2562 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 มีมติยกคำร้องทั้งหมด
                     3. ต่อมาได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ และได้แก้ไขรูปแบบการประกาศใช้บังคับกฎหมายในส่วนของผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทำผังขึ้นใหม่ โดยให้ดำเนินการประกาศใช้บังคับเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย (เดิมประกาศใช้บังคับเป็นกฎกระทรวง) ประกอบกับมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ บัญญัติให้บรรดาผังเมืองรวมที่อยู่ระหว่างดำเนินการวางและจัดทำตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการผังเมืองกำหนด และในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบให้ผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทำผัง ซึ่งคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติ              การผังเมือง พ.ศ. 2518) ได้ให้ความเห็นชอบแล้วและอยู่ในขั้นตอนการยกร่างกฎหมาย ให้ดำเนินการออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อใช้บังคับต่อไป
                     4. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. .... ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติว่า ?เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 29 แล้ว ไม่มีผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดยื่นคำร้องตามมาตรา 30 หรือมีแต่คณะกรรมการผังเมืองสั่งยกคำร้องดังกล่าวหรือเมื่อกรมโยธาธิการและ                ผังเมืองไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ดำเนินการเพื่อออกประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า ในการนี้ ให้กรมโยธาธิการและ              ผังเมืองนำประกาศกระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน? ทั้งนี้ ในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวม ก่อนที่จะได้จัดทำเป็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผังเมือง ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านโครงสร้างพื้นฐานและ               ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
จึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ มาเพื่อดำเนินการ
                      5. ร่างประกาศดังกล่าวมีสาระสำคัญกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลทัพหลวง                ตำบลห้วยแห้ง ตำบลบ้านไร่ และตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่รวมทั้งหมด 67.46 ตารางกิโลเมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้                  มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและ                          พัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
                               5.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการบริการในระดับอำเภอ
                               5.2 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
                               5.3 ส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
                               5.4 พัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
                               5.5 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านไร่
                               5.6 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                     6. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้
ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)          เป็นพื้นที่ที่มีการกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง กำหนดไว้โดยรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและบริเวณที่มีแนวโน้มการขยายตัวทางด้านที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้หลายประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูง ไม่เกิน 12 เมตร และขนาดพื้นที่อาคารที่ไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)          เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องจากบริเวณย่านพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท โดยการใช้ประโยชน์ที่ดิน             มีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 12 เมตร
3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)          เป็นย่านพาณิชยกรรมหลักและศูนย์กลางเมืองของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและการบริการของชุมชนเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจ การค้า การบริการที่ให้บริการแก่ประชาชน ประกอบด้วย โรงแรม สำนักงาน ตลาด ร้านค้า ศูนย์การค้า รวมทั้งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าวโดยการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีข้อจำกัดเรื่อง                  ความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 15 เมตร
4. ที่ดินประเภทชนบท และเกษตรกรรม (สีเขียว)          เป็นพื้นที่โดยรอบบริเวณชุมชนตั้งอยู่ห่างจากย่านพาณิชยกรรม เพื่อควบคุม               การขยายตัวของชุมชนและรักษาพื้นที่เกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูป
5. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบ และเส้นทแยงสีน้ำตาล)          เป็นพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เกษตรกรรม และกิจการที่สอดคล้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
6. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อ นันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)          เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดพื้นที่โล่งไว้เพื่อให้ชุมชน                             มีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น เขาหลวงตาไสว เขาแม่สีดา สนามกีฬาเทศบาลตำบลบ้านไร่ สระสาธารณะหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านหัวนา สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับพื้นที่ เช่น นันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
7. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)          เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ มีวัตถุประสงค์                เพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษา หรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่าต้นน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ประกอบด้วย ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาพุวันดี ป่าห้วยกระเสียวและป่าเขาราวเทียน และป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยท่ากวย และป่าห้วยกระเวน สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับพื้นที่ เช่น การอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ที่มิใช่การจัดสรรที่ดินเกษตรกรรม
8. ที่ดินประเภทสถาบัน
การศึกษา (สีเขียวมะกอก)          มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี โรงเรียนวัดทัพหลวง โรงเรียนบ้านไร่วิทยา
9. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)          มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งในสถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดหนองปรือ วัดทัพหลวง ศาลเจ้าพ่อเขารัก
10. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)          มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล                เพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทัพหลวงร่วมใจ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาบ้านไร่ หมวดการทางบ้านไร่
                      7. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
                     8. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3                      ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ก 6 ถนนสาย ก 7 ถนนสาย ก 8 ถนนสาย ข 1ถนนสาย ข 2 และถนนสาย ค ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศนี้ โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                               8.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภค และการสาธารณูปการ
                               8.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                               8.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

3. เรื่อง ร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
                      1. เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้ง ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการและกรรมการ ในคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยให้ปรับแก้ไขชื่อของร่างประกาศตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     2. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                       1. สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการควบคุมการดำเนินการเดินอากาศและการจราจรทางอากาศให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยมีคณะกรรมการการบินพลเรือนขึ้นคณะหนึ่งมีอำนาจออกข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้และตามภาคผนวกแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งทำขึ้นที่เมืองชิคาโก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2487 (ค.ศ. 1944) ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นภาคี ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เกี่ยวกับอุบัติเหตุ และเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ประจำหน้าที่
                     2. โดยที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ตรวจสอบประเทศไทยตามโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยสากล (Universal Safety Oversight Audit Programme; USOAP)                        เมื่อ พ.ศ. 2558 และพบข้อบกพร่องเกี่ยวกับความเป็นอิสระ หน้าที่ และอำนาจของหน่วยงานสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ และภาคผนวกแห่งอนุสัญญา จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมปัญหาข้อบกพร่องที่ตรวจพบจากการตรวจสอบตามโครงการ USOAP เมื่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการได้ข้อมูลสำหรับ                         การปรับปรุงความปลอดภัยในการเดินอากาศเพื่อป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรงขึ้น โดยมิใช่เป็น                การสอบสวนเพื่อการกล่าวโทษบุคคลหรือกำหนดให้บุคคลใดต้องรับผิดไม่ว่าทางใด ๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในการเดินอากาศของประชาชนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการสอบสวนของ กสอ. ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและปราศจากการแทรกแซง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม คำนึงถึงความมุ่งหมายในการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุของอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์และความปลอดภัยในการเดินอากาศเป็นสำคัญ กสอ. มีหน้าที่และอำนาจเสนอแนะมาตรการเชิงป้องกันให้แก่หน่วยงานที่มีอำนาจเกี่ยวกับการบินทั้งในประเทศให้แก่หน่วยงานที่มีอำนาจเกี่ยวกับ                     การบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ กรณีที่ตรวจพบในระหว่างการสอบสวน ว่าจำเป็นต้องดำเนินการโดยพลันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการบิน และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัยให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ หน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนอุบัติเหตุของรัฐต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศตามที่เห็นสมควร
                      3. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ                          การเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 หมวด 7 การสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ ส่วนที่ 1 คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 7 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จากผู้ซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการบิน ด้านวิศวกรรมอากาศยาน ด้านเวชศาสตร์การบิน ด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ ด้านกฎหมาย หรือด้านอื่นที่เกี่ยวกับการบินพลเรือนอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสอ. และวรรคสี่ บัญญัติให้การแต่งตั้งประธาน รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยมีหน้าที่และอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรง ดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรง เข้าร่วมในการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ที่ดำเนินการโดยรัฐต่างประเทศตามความเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาและภาคผนวกแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ดังนั้น คค. จึงยืนยันให้ดำเนินการตามร่างประกาศฯ ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ตรวจพิจารณาแล้วต่อไป
                      สาระสำคัญของร่างประกาศ
                      เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ใน กสอ. ดังนี้
                     1. วิธีการสรรหาประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ
                     กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง จำนวนไม่เกิน                 5 คน จากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านการปฏิบัติการบิน ด้านวิศวกรรมอากาศยาน                            ด้านเวชศาสตร์การบิน ด้านการควบคุมการจราจรทางอากาศ ด้านกฎหมาย หรือด้านอื่นที่เกี่ยวกับการบินพลเรือน อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสอ. โดยให้สรรหาบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานกรรมการ                    รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. (รวม 9 คน) เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งโดย               ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
                      2. การรับสมัครประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ
                     กำหนดให้สำนักงาน กสอ. ดำเนินการรับสมัครบุคคลที่ประสงค์จะเข้ารับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. ซึ่งทำงานเต็มเวลา (3 คน) หรือไม่เต็มเวลา (6 คน) ไม่น้อยกว่าตำแหน่งและจำนวนที่จะแต่งตั้ง โดยบุคคลที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกต้องแสดงเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติและการไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (7) และรับรองว่าหากได้รับแต่งตั้งจะแสดงเอกสารหลักฐานอันเป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้ลาออกหรือพ้นจากตำแหน่ง หรือการประกอบการตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง (4) (5) หรือ (6) ต่อผู้อำนวยการสำนักงาน กสอ. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
                     3. การคัดเลือกประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ
                     กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 62 รวมทั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (7) เท่ากับจำนวนประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. ที่จะแต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกที่คณะกรรมการสรรหากำหนด โดยให้คำนึงถึงความโปร่งใส และความเป็นธรรมในการคัดเลือก เมื่อคัดเลือกบุคคลได้ครบจำนวนแล้ว ให้คณะกรรมการ                    สรรหาจัดให้มีการประชุมบุคคลที่ได้ผ่านการคัดเลือกดังกล่าว เพื่อเลือกกันเองเป็นประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการโดยใช้วิธีการลงคะแนนลับ ก่อนคณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อบุคคลที่มีความเหมาะสมเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. ที่จะแต่งตั้ง พร้อมเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติและการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (7) ภายใน 20 วันนับแต่วันที่มีการประชุมเลือกประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการแล้วเสร็จ เพื่อรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. ต้องแสดงเอกสารหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้ลาออกหรือพ้นจากตำแหน่ง หรือการประกอบการตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง (4) (5) หรือ (6)                   ต่อผู้อำนวยการสำนักงาน กสอ. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
                     4. วาระการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ
                     กำหนดให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และกรณีที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าประธานกรรมการ กสอ. รองประธานกรรมการ กสอ. และกรรมการ กสอ. ที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ เข้ารับหน้าที่
                     5. วาระการพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ
                     กำหนดให้ในกรณีที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 64/1 (เช่น ลาออก มีอายุครบ 70 ปี) ให้ กสอ. ประกอบด้วย กรรมการ กสอ. เท่าที่เหลืออยู่และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เว้นแต่มีประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. รวมกันเหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน และให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยดำเนินการตามประกาศนี้ ผู้ได้รับการแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. ซึ่งตนแทน

4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งออกข้าวภายใต้โควตาภาษีไปสหภาพยุโรป และ                        สหราชอาณาจักร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                      1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งออกข้าวภายใต้โควตาภาษีไปสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     2. ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศ
                      1. เมื่อปี 2539 ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับสหภาพยุโรปเพื่อชดเชยความเสียหาย                           อันเนื่องมาจากการขยายสมาชิกภาพและการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีนำเข้า โดยสหภาพยุโรปให้โควตาข้าวภายใต้                 การยกเว้นและลดหย่อนภาษีนำเข้าแก่ประเทศไทยเป็นข้าวขาว1 อัตราภาษี 0 ปริมาณปีละ 21,455 ตัน และข้าวหักอัตราภาษี 45 ยูโรต่อตัน ปริมาณปีละ 52,000 ตัน ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารโควตา โดยต้องมีหนังสือรับรอง                   การส่งออก (Export Certificate: EC) ไปแสดงประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License)
                     2. เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 สหภาพยุโรปออกระเบียบ COMMISSION IMPLEMENT REGULATION (EU) ที่ 2020/761 โดยกำหนดให้ข้าวขาวและข้าวหักที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) ไปประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License)
                     3. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 สหราชอาณาจักรได้ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) อย่างเป็นทางการ ทำให้ปริมาณโควตาข้าวที่ประเทศไทยเคยได้รับจากสหภาพยุโรปลดลง ดังนี้
ประเทศ
          ปริมาณข้าวที่ได้รับจัดสรรเดิม (ตัน)          ปริมาณข้าวที่ได้รับจัดสรรใหม่ (ตัน)
          ข้าวขาว          ข้าวหัก          ข้าวขาว          ข้าวหัก
สหภาพยุโรป          21,455          52,000          17,728          48,729
สหราชอาณาจักร                              3,727          3,271
รวม          21,455          52,000          21,455          52,000
                      4. เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 สหราชอาณาจักรได้ออกประกาศ (Notice to Traders) ที่ 44/20 เพื่อชี้แจงข้อกำหนดเกี่ยวกับการส่งออกข้าวภายใต้โควตาภาษีไปสหราชอาณาจักรและวิธีการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ข้าวขาวและข้าวหักที่ส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) ไปประกอบการ                       ขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) จากสหราชอาณาจักร และต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 สหราชอาณาจักรได้ออกประกาศ (Notice to Traders) ที่ 91/21 โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ข้าวขาวที่ส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) ไปประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) จากสหราชอาณาจักร แต่ไม่มีข้อกำหนดดังกล่าวสำหรับ                การส่งออกข้าวหัก
                      5. ปัจจุบันผู้ส่งออกข้าวไทยที่จะส่งออกข้าวหักภายใต้โควตาภาษีไปสหราชอาณาจักรต้องขอหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) ข้าวหัก ไปประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) จากสหราชอาณาจักรตามประกาศ พณ. เรื่อง การส่งออกข้าว ภายใต้โควตาภาษีไปสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร                        พ.ศ. 2564 พณ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระของผู้ส่งออกข้าวไทยที่จะส่งออกข้าวหักภายใต้โควตาภาษีไปสหราชอาณาจักร โดยไม่ต้องขอหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) ข้าวหัก จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงประกาศ พณ. ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศ (Notice to Traders) ที่ 91/21 ของ      สหราชอาณาจักร โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
ประกาศ พณ. เรื่อง การส่งออกข้าว ภายใต้โควตาภาษีไปสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2564          ร่างประกาศ พณ. เรื่อง การส่งออกข้าว ภายใต้โควตาภาษีไปสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร (ฉบับที่ 2)      พ.ศ. ....          หมายเหตุ

? กำหนดให้ข้าวขาวและข้าวหักที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามความตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศไทย เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) ที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศ ไปประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) จากสหภาพยุโรป          เนื้อหาคงเดิม

? กำหนดให้ข้าวขาวและข้าวหัก ที่ส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรและจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามความตกลงระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศไทย และกฎระเบียบของสหราชอาณาจักรที่เกี่ยวข้อง เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) ที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศ ไปประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) จากสหราชอาณาจักร           ? กำหนดให้ข้าวขาวที่ส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรและจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามความตกลงระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศไทย และกฎระเบียบของสหราชอาณาจักรที่เกี่ยวข้อง เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) ที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศ ไปประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) จากสหราชอาณาจักร          แก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศ (Notice to Traders) ที่ 91/21 ของ  สหราชอาณาจักร

          ? กำหนดให้ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                     6. พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศได้จัดการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยนำสาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งออกข้าวภายใต้โควตาภาษีไปสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... ที่มีสาระสำคัญเป็นการเปลี่ยนข้อกำหนดในการขอหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) สำหรับข้าวขาวและข้าวหัก ที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ของสหราชอาณาจักร โดยรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (https://law.go.th/) และผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมการค้าต่างประเทศ (https://www.dft.go.th/th- th/public_hearing_export-rice-eu-uk) ตั้งแต่วันที่ 5 - 20 กันยายน 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น                         3 หน่วยงาน/ราย มีผู้เห็นด้วยทั้งหมด 3 หน่วยงาน/ราย
1ข้าวขาว (white rice or milled rice or polished rice) หมายถึง ข้าวที่ได้จากการนำข้าวกล้องเจ้าไปขัดเอารำออกแล้ว
2ข้าวหัก (brokens or broken rice) หมายถึง เมล็ดข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 2.5 ส่วนขึ้นไปแต่ไม่ถึงความยาวของต้นข้าว และให้รวมถึงเมล็ดข้าวแตกเป็นซีกที่มีเนื้อที่เหลืออยู่ไม่ถึง 80% ของเมล็ด [ส่วนของเมล็ดข้าว (parts of rice kernels) หมายถึง ส่วนของข้าวเต็มเมล็ดแต่ละส่วนที่แบ่งตามความยาวของเมล็ดออกเป็น 10 ส่วนเท่า ๆ กัน]

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในทะเลในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในทะเลในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     พน. เสนอว่า
                     1. องค์กรร่วมฯ เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งมาเลเซีย ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทย ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ความตกลงว่าด้วยธรรมนูญและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (ความตกลงว่าด้วยธรรมนูญองค์กรร่วมฯ) และพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533 (พ.ร.บ. องค์กรร่วมฯ)                  เพื่อสรวมสิทธิแทนรัฐบาลทั้งสองในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตในพื้นดินใต้ทะเลและใต้ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วม โดยบรรดาค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ขององค์กรร่วม                ที่เกิดจากกิจกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วม รัฐบาลทั้งสองจะแบ่งปันโดยเท่าเทียมกัน
                     2. องค์กรร่วมฯ โดยความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองได้ลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contracts; PSC) เพื่อทำการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (พื้นที่พัฒนาร่วมฯ) กับกลุ่มผู้ได้รับสัญญา จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่
                                2.1 กลุ่มผู้ได้รับสัญญาของแปลง A-18 ได้แก่ บริษัท Petronas Carigali (JDA) Sdn. Bhd. บริษัท Hess Oil Company of Thailand (JDA) Limited และบริษัท Hess Oil Company of Thailand ซึ่งบริษัททั้งสามได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท Carigali-Hess Operating Company Sdn. Bhd. (CHOC) เป็นผู้ดำเนินงาน
                               2.2 กลุ่มผู้ได้รับสัญญาของแปลง B-17-01 ได้แก่ บริษัท Petronas Carigali (JDA) Sdn. Bhd. และบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งบริษัททั้งสองได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท Carigali-PTTEPI Operating Company Sdn. Bhd. (CPOC) เป็นผู้ดำเนินงาน
                     3. สัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ข้อ 3.12 กำหนดให้ผู้ได้รับสัญญาจะต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานที่จำเป็นทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการรื้อถอน การกำจัดที่สมควร หรือการกอบกู้เคลื่อนย้ายสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมใด ๆ โดยที่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายจากน้ำมันส่วนที่เป็น   ทุนหรือก๊าซส่วนที่เป็นทุนได้ อนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกลไกทางการเงินเพื่อให้สามารถได้รับชดเชยค่าใช้จ่ายดังกล่าวภายในเร็ววัน ในระหว่างที่แหล่งน้ำมันและแหล่งก๊าซยังมีผลผลิตอยู่ ให้ผู้ได้รับสัญญาและองค์กรร่วมทำความตกลงในเรื่องกลไกและวิธีการสำหรับการกันเงินทุนจากน้ำมันส่วนที่เป็นทุนและก๊าซส่วนที่เป็นทุน แล้วแต่กรณี เพื่อใช้ในการรื้อถอน การกำจัดที่สมควร หรือการกอบกู้เคลื่อนย้ายนั้นภายในเวลาไม่ช้ากว่า 2 ปี หลังจากที่มีการเริ่มต้นการผลิตเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าวผู้ได้รับสัญญาได้นำส่งเงินเข้ากองทุนรื้อถอนในกองทุนองค์กรร่วมฯ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556 ภายใต้ข้อกำหนดใน Malaysia-Thailand Joint Authority Decommissioning Fund Contribution Procedures and Guidelines 2013
                     4. ปัจจุบันมีข้อบังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในทะเลในพื้นที่พัฒนาร่วมฯ ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533 (หมวด 8 การเคลื่อนย้าย การกำจัด การรื้อถอน และการกอบกู้) และในสัญญาแบ่งปันผลผลิต (ข้อ 3.12) อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการกำหนดรายละเอียดของการดำเนินงาน รวมถึงขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติตามกฎหมายที่ชัดเจน
                     5. ในการประชุมคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ ครั้งที่ 109 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2558 ที่ประชุมได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขององค์กรร่วมฯ เพื่อพิจารณาร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนฯ (คณะอนุกรรมการฯ) ซึ่งมีหน้าที่ในการพิจารณาร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนฯ และเสนอให้คณะกรรมการองค์กรร่วมฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยมีองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ ดังนี้

คณะอนุกรรมการฯ ฝ่ายไทย          คณะอนุกรรมการฯ ฝ่ายมาเลเซีย
1) อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ประธานร่วมฝ่ายไทย)          1) Attorney General of Malaysia (ประธานร่วมฝ่ายมาเลเซีย)
2) ผู้แทนจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ          2) ผู้แทนจาก Energy Division, the Ministry of Economy
3) ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา          3) ผู้แทนจาก Legal Division, the Ministry of Economy
4) ผู้แทนจากกรมสรรพากร          4) ผู้แทนจาก Malaysia Petroleum Management, Petronas
ในการนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้ทำการจัดตั้งคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ เพื่อทำการพิจารณารายละเอียดทั้งด้านเทคนิค กฎหมาย และจัดทำ                  ร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนฯ ขึ้น
                     6. องค์กรร่วมฯ ได้มีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ                     ร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนฯ พร้อมทั้งได้นำข้อคิดเห็นที่ได้จากคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ กลุ่มผู้ได้รับสัญญา และกลุ่มผู้ดำเนินงาน มาพิจารณาปรับปรุงในร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนฯ เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ ร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนฯ ของทั้งสองประเทศมีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน องค์กรร่วมฯ จึงเสนอให้วันที่มีผลใช้บังคับเป็นวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 25671 โดยรายละเอียดของเทคนิคสำหรับการรื้อถอนสิ่งติดตั้งและรายละเอียด   อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะถูกนำไปใส่เป็นข้อกำหนดในร่าง Malaysia-Thailand Joint Authority Decommissioning Processes Procedures and Guidelines
                     7. ร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. วันที่มีผลใช้บังคับ          ? กำหนดให้กฎกระทรวงฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2567              เป็นต้นไป
2. คำนิยาม          ? กำหนดคำนิยามคำว่า ?พื้นที่ตามสัญญา? ?ผู้ได้รับสัญญา? ?การรื้อถอน? ?กองทุนรื้อถอน? ?สิ่งติดตั้ง? ?กิจการปิโตรเลียม? และ ?หลุม?
3. หน้าที่ในการปิดและสละหลุม และการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ไม่ได้ใช้งาน          ? ผู้ได้รับสัญญามีหน้าที่ในการดำเนินงานที่จำเป็นที่เกี่ยวกับการปิดและสละหลุม และการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม และดำเนินกิจกรรมการรื้อถอนทั้งหมดให้เสร็จสิ้นตามกฎกระทรวง และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องของราชอาณาจักรไทยหรือประเทศมาเลเซีย และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนที่ราชอาณาจักรไทย และประเทศมาเลเซียมีพันธะสัญญา เพื่อให้การดำเนินงานมีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
4. การจ่ายเงินและการใช้เงินจากกองทุนรื้อถอน          ? กำหนดหน้าที่ให้ผู้ได้รับสัญญาจะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนรื้อถอน (Decommissioning Fund) ตามกลไกและรูปแบบที่ได้ตกลงร่วมกันระหว่าง               ผู้ได้รับสัญญาและองค์กรร่วม รวมถึงสิทธิในการเบิกจ่ายเงินจากกองทุนรื้อถอน เพื่อนำไปใช้สำหรับกิจกรรมการรื้อถอน กลไกการเบิกจ่ายเงินคืนภายใต้ข้อความที่ระบุนี้ จะเป็นไปตามวิธีปฏิบัติที่ออกโดยองค์กรร่วม
5. การขออนุมัติแผนงานการรื้อถอน          ? กำหนดหน้าที่ให้ผู้ได้รับสัญญาต้องจัดทำและยื่นแผนงานการรื้อถอน เพื่อขอรับความเห็นชอบจากองค์กรร่วม รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น ภายในระยะเวลาที่องค์กรร่วมกำหนด
6. การยื่นเอกสารอื่น ๆ          ? การพิจารณาเอกสารที่ยื่นขอ องค์กรร่วมอาจขอข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการรื้อถอนตามที่เห็นควรว่าจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีวิธีการดำเนินงานที่ได้ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่ออาชีวอนามัย ความมั่นคงปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ได้รับสัญญาจะต้องปฏิบัติตามคำขอดังกล่าว
7. การพิจารณาอนุมัติแผนงานการรื้อถอน          ? แผนงานการรื้อถอนใด ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากองค์กรร่วมจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า หรือเมื่อองค์กรร่วมร้องขอ
? โดยองค์กรร่วมต้องแจ้งให้ผู้ได้รับสัญญาทราบถึงผลการพิจารณาเป็นลายลักษณ์อักษร
8. การดำเนินการรื้อถอน          ? ผู้ได้รับสัญญามีหน้าที่จะต้องดำเนินการตามแผนงานการรื้อถอนและเงื่อนไข (หากมี) ที่ได้รับอนุมัติ รวมถึงสอดคล้องกับทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมที่ดี และคำนึงถึงอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา
9. การเปลี่ยนแปลงแผนงานการรื้อถอนที่ได้รับอนุมัติ          ? แผนงานการรื้อถอนใด ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากองค์กรร่วมจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า หรือ                  เมื่อองค์กรร่วมร้องขอ
? ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อป้องกันความเสียหายหรืออันตรายต่อทรัพย์สิน บุคคล หรือสิ่งแวดล้อม ผู้ได้รับสัญญาอาจเปลี่ยนแปลงแผนการรื้อถอนได้ โดยแจ้งให้องค์กรร่วมทราบโดยทันที พร้อมทั้งทำหนังสือชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร
? ในกรณีที่ผู้ได้รับสัญญาสามารถชี้แจงถึงเหตุผลที่ไม่สามารถดำเนินการรื้อถอนตามแผนงานการรื้อถอนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ได้รับสัญญาอาจยื่นคำขอเป็นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมคำชี้แจง และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้องค์กรร่วมพิจารณาขยายระยะเวลาการดำเนินการรื้อถอน
10. การว่าจ้างบุคคลที่สาม          ? องค์กรร่วมมีสิทธิที่จะมอบหมายให้บุคคลที่สามดำเนินกิจกรรมการรื้อถอนแทนผู้ได้รับสัญญา ในกรณีที่ผู้ได้รับสัญญาไม่ยื่นแผนงานการรื้อถอนหรือไม่สามารถดำเนินการตามแผนการรื้อถอนที่ได้รับอนุมัติ
11. รายงานการรื้อถอน          ? ผู้ได้รับสัญญาจะต้องยื่นรายงานความคืบหน้าในการรื้อถอน ตามรูปแบบและช่วงเวลาตามที่องค์กรร่วมกำหนด
? ผู้ได้รับสัญญาจะต้องยื่นรายงานสรุปโครงการการรื้อถอน (Decommissioning Project Closeout Report) ให้องค์กรร่วมพิจารณาอนุมัติในรูปแบบอื่นที่องค์กรร่วมกำหนด เมื่อดำเนินกิจกรรมการรื้อถอนทั้งหมดเสร็จสิ้น
12. ความรับผิดชอบของผู้ได้รับสัญญา          ? ผู้ได้รับสัญญาต้องรับผิดชอบต่อการดำเนินการที่ได้รับอนุมัติในแผนงานการรื้อถอนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาของสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) และยังคงต่อเนื่องหลังสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาแบ่งปันผลผลิต
13. ความปลอดภัยในการปิดและสละหลุม และการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในการประกอบกิจการปิโตรเลียม          ? การกำหนดหน้าที่ให้ผู้ได้รับสัญญาจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าภายหลังการรื้อถอนเสร็จสิ้นจะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ                       ความปลอดภัยในการปิดและสละหลุมและสิ่งติดตั้งที่เหลืออยู่ในพื้นที่สัญญา เป็นระยะเวลาสูงสุด 6 ปี หลังจากได้รับการอนุมัติรายงานสรุปโครงการรื้อถอนนั้น
? ผู้ได้รับสัญญาจะต้องรับผิดชอบด้วยค่าใช้จ่าย หากเกิดความเสียหายจากการปิดและสละหลุมและสิ่งติดตั้งอันเนื่องมาจากการรื้อถอน
14. การติดตามภายหลังการรื้อถอน          ? ผู้ได้รับสัญญาจะต้องดำเนินการติดตามภายหลังการรื้อถอน เป็นระยะเวลาสูงสุด 6 ปี หลังจากที่ได้รับการอนุมัติรายงานสรุปโครงการการรื้อถอน
15. หน้าที่ในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งอื่น ๆ          ? บุคคลอื่นใด นอกจากองค์กรร่วม ซึ่งเป็นเจ้าของสิ่งติดตั้งที่เชื่อมต่อกับสิ่งติดตั้งในพื้นที่พัฒนาร่วม ต้องรับผิดชอบต่อการรื้อถอนสิ่งติดตั้งนั้นด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง หากสิ่งติดตั้งดังกล่าวไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดไม่ได้ใช้งานแล้ว โดยสอดคล้องกับทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมที่ดี
16. การปฏิบัติตามกฎหมาย              อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง          ? ไม่มีข้อบังคับใดในกฎกระทรวงฉบับนี้ที่จะละเว้นผู้ได้รับสัญญาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นลายลักษณ์อักษรอื่น ๆ ของราชอาณาจักรไทย และประเทศมาเลเซีย โดยที่กฎหมายดังกล่าวไม่ขัดแย้งกับข้อกำหนดในกฎกระทรวงฉบับนี้
                     8. เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ในการประชุมคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ ครั้งที่ 145 คณะกรรมการองค์กรร่วมฯ ได้ให้ความเห็นชอบและรับรองร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนฯ และให้เสนอต่อรัฐบาลทั้งสองประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบ องค์กรร่วมฯ จึงได้มีหนังสือที่ MTJA/BSLS/23/302 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ถึงกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (พน.) เพื่อขอให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนฯ ทั้งนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้จัดทำคำแปลและสรุปสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนฯ มาเพื่อประกอบการพิจารณาดังกล่าวแล้ว
                     9. ในการนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายมาเพื่อประกอบการพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าว รวมถึงได้จัดทำสรุปรายงานและแผนการรื้อถอนที่               ผู้ได้รับสัญญาต้องเสนอขออนุมัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแผนงาน ประมาณการ ค่าใช้จ่ายและหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง ที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559 และที่กำหนดในร่างกฎกระทรวง                    การรื้อถอนฯ
                     10. พน. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้มีกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดของการดำเนินงาน ขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมที่ชัดเจน              เห็นควรให้มีร่างกฎกระทรวงการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในทะเลในพื้นที่พัฒนาร่วม   ไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2567 ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533 ตามที่องค์กรร่วมฯ เสนอ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ได้รับสัญญาและผู้ดำเนินงานในพื้นที่พัฒนาร่วม รับผิดชอบในการดำเนินงานที่จำเป็นเกี่ยวกับการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วม โดยสอดคล้องกับทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมที่ดี เป็นไปตามมาตรฐานสากลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1 ในทางปฏิบัติหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถประสานงานเพื่อดำเนินการให้กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับในวันเดียวกันได้ต่อไป

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการชำระค่าภาคหลวงและรายได้อื่น ๆ จากการผลิตปิโตรเลียม ในพื้นที่พัฒนาร่วมให้แก่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซีย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการชำระค่าภาคหลวงและรายได้อื่น ๆ จากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมให้แก่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซีย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     สาระสำคัญ
                     ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงพลังงานเสนอ เป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงว่าด้วยการชำระค่าภาคหลวงและรายได้อื่น ๆ จากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมให้แก่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซีย พ.ศ. 2547 เพื่อขยายขอบเขตวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนโครงการวิจัยและการใช้ประโยชน์จากกองทุนเงินบำรุงการวิจัยให้กว้างขึ้น ซึ่งจะสามารถสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น ได้แก่ 1) การสนับสนุนโครงการวิจัยใด ๆ สำหรับการสำรวจหรือการแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมหรือทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วม โดยให้ครอบคลุมหัวข้อการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนา ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยเฉพาะการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (CCS) และการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการจัดเก็บคาร์บอน (CCUS) 2) การบริหารและการประเมินผลโครงการวิจัย ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการประชุมและการเดินทางของคณะอนุกรรมการพิจารณาการใช้เงินบำรุงการวิจัยกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและผู้ประเมินทางเทคนิค และค่าดำเนินการเพื่อคัดเลือกโครงการวิจัย และบริหารจัดการเพื่อเริ่มโครงการ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยซึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 5 ของต้นทุนโครงการแต่ละโครงการ 3) ค่าใช้จ่ายสำหรับที่ปรึกษาคนไทยและมาเลเซียในโครงการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการวิจัยในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย สำหรับการสำรวจหรือแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียมหรือทรัพยากรธรรมชาติสำหรับพื้นที่พัฒนาร่วมฯ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีอำนาจในการเสนอโครงการวิจัยของประเทศมาเลเซีย (เดิม Director General of the Economic Planning Unit of the Prime Minister's Department of Malaysia เป็น Secretary General of the Ministry of Economy of Malaysia) ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีผู้สนใจหรือนักวิจัยโดยเฉพาะคนไทยและมาเลเซียได้ยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับการสำรวจหรือแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมหรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์สำหรับพื้นที่พัฒนาร่วมฯ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยสำหรับประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย
                     สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าว เป็นการล่วงหน้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวง เป็น ?ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการชำระค่าภาคหลวงและรายได้อื่น ๆ จากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมให้แก่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซีย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....? โดยกระทรวงพลังงาน (กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ) ได้ยืนยันความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
                     ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อสังเกตว่า กระทรวงพลังงานมีแผนให้ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับในวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 พร้อมกันทั้งสองประเทศ แต่ในชั้นการตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงปรากฏข้อเท็จจริงว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะสามารถดำเนินการเพื่อให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ภายในวันดังกล่าวได้ จึงเห็นควรให้ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามหลักปกติที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533 และในทางปฏิบัติหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถประสานงานเพื่อดำเนินการให้กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับในวันเดียวกันได้ต่อไป

7. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา จำนวน 4 ฉบับ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอดังนี้
                      1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา                          ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สศก.) ตรวจพิจารณาแล้ว จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
                                1.1 ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                               1.2 ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..)                  พ.ศ. ....
                               1.3 ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                               1.4 ร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                     1. ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้จัดตั้ง ?กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา? ในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาตามความต้องการของประเทศ พัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมร่วมกับนักวิชาการ สถาบันวิชาการ และองค์กรชั้นนำของโลก ส่งเสริมการเชื่อมโยงการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
                               1.1 เงินและทรัพย์สินของกองทุน
                                         (1) กำหนดให้กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
                                                   1) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาจากทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
                                                   2) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
                                                   3) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปีตามกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา
                                                   4) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้เพื่อสมทบกองทุน
                                                   5) เงินอุดหนุนจากต่างประเทศรวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ
                                                   6) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน หรือที่ได้รับตามกฎหมายหรือนิติกรรมสัญญา
                                                   7) เงินสมทบกองทุนที่สถาบันอุดมศึกษานำส่งกองทุน
                                                   8) ค่าตอบแทนหรือรายได้จากการดำเนินกิจการของกองทุน
                                                   9) ดอกผล ประโยชน์ หรือรายได้อื่นที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
                                         (2) กำหนดให้เมื่อเงินกองทุนไม่เพียงพอสำหรับดำเนินการให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กองทุนตามความจำเป็น
                                         (3) กำหนดให้รายได้ของกองทุนให้นำเข้าสมทบกองทุนโดยไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
                               1.2 การจัดสรรเงินกองทุน
                                         กำหนดให้การจัดสรรเงินกองทุนให้เป็นไปตามคำรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขของการรับเงินอุดหนุนการพัฒนาการอุดมศึกษาระหว่าง สป.อว. และสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับจัดสรร โดยคำรับรองดังกล่าวต้องกำหนดผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดที่ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้าน                   การอุดมศึกษา และเป็นไปตามความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง โดยให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดให้มี               การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ตามคำรับรองดังกล่าว และรายงานให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผล               การพัฒนาการอุดมศึกษาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมทราบ
                               1.3. คณะกรรมการบริหารกองทุน
                                         (1) กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วย
                                                   1) ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และประสบการณ์อย่างสูงในด้านการอุดมศึกษา
                                                   2) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นรองประธานกรรมการ
                                                   3) ผู้แทนคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ผู้แทนคณะกรรมการกรมบัญชีกลาง ผู้แทน สงป. และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการ
                                                   4) ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่อยู่ในสังกัดของ อว. และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เป็นกรรมการประเภทละหนึ่งคน
                                                   5) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 7 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการเงินการคลัง เศรษฐศาสตร์ การลงทุน กฎหมาย และด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
                                                   6) รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ
                                         (2) กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีหน้าที่และอำนาจบริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และมีหน้าที่และอำนาจอื่น ๆ เช่น พิจารณาจัดสรรเงินกองทุน วางระเบียบเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำแก่สถาบันอุดมศึกษา ติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกองทุน แต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ปฏิบัติหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการบริหารกองทุน เป็นต้น
                               1.4 สำนักงานบริหารกองทุน
                                         (1) กำหนดให้มีสำนักงานบริหารกองทุนใน สป.อว. เพื่อรับผิดชอบงานธุรการให้กับคณะกรรมการบริหารกองทุน คณะอนุกรรมการ และบุคคลที่คณะกรรมการบริหารกองทุนแต่งตั้ง
                                         (2) กำหนดให้สำนักงานบริหารกองทุนมีผู้อำนวยการคนหนึ่ง มีหน้าที่บริหารสำนักงานกองทุนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล วัตถุประสงค์ของกองทุน ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติ และประกาศของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและคณะกรรมการบริหารกองทุน และเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานบริหารกองทุน
                               1.5 การตรวจสอบและประเมินผล
                                         (1) กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย ผู้แทน กค.
เป็นประธานกรรมการ ผู้แทน สงป. และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 2 คน ซึ่งคณะกรรมการบริหารกองทุนแต่งตั้ง เป็นกรรมการ โดยมีหน้าที่ตรวจสอบการบริหารกองทุนและสำนักงานบริหารกองทุนเพื่อรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน
                                         (2) กำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการอุดมศึกษา ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ ผู้แทน กค. ผู้แทน สงป. ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 4 คน ซึ่งสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติแต่งตั้ง               เป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นเลขานุการ โดยมีหน้าที่และอำนาจติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาการอุดมศึกษา และการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการการอุดมศึกษา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสนอสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติต่อไป
                               1.6 บทเฉพาะกาล
                                         กำหนดให้ยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ ภาระผูกพัน โครงการ งบประมาณ และเงินในทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไปเป็นของกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
                     2. ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....               ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ                    (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขข้อความให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เช่น แก้ไขถ้อยคำในบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอรับเงินอุดหนุนด้านการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา แก้ไขถ้อยคำในบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา เป็นต้น

8. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีและกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้
                    1. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจพิจารณา                ร่างมติคณะรัฐมนตรี
                    2. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอเรื่องผ่านรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านกฎหมายหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี ในเรื่องต่อไปนี้
                              2.1 เรื่องการดำเนินคดีในศาลปกครองในกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี                           รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถูกฟ้องในคดีปกครอง
                              2.2 เรื่องการดำเนินคดีในศาลรัฐธรรมนูญในกรณีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกร้องต่อ                         ศาลรัฐธรรมนูญ
                              2.3 เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ในการประชุมคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและมีมติอนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งใด ๆ ในเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว สลค. จะจัดทำร่างมติคณะรัฐมนตรีในเรื่อง            นั้น ๆ แล้วเสนอให้รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจพิจารณาและลงนามรับรองความถูกต้องก่อน จึงจะถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีที่จะแจ้งให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องและหน่วยงาน/บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบถือปฏิบัติ หรือดำเนินการต่อไป
                    2. การมอบหมายให้มีผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้มอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในหน่วยงาน สลค. เป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีที่ สลค. เสนอ โดยในครั้งล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) เป็นผู้ตรวจพิจารณา           ร่างมติคณะรัฐมนตรี
                    3. การพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายโดยเฉพาะในระดับพระราชบัญญัติหรือการดำเนินคดีความต่าง ๆ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถูกฟ้อง จะต้องมีการตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมายอย่างรอบด้าน และเพื่อให้การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความรอบคอบ ประกอบกับในครั้งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมนวิวัฒน์) เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องลักษณะดังกล่าวก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา

เศรษฐกิจ-สังคม
9. เรื่อง รายงานข้อมูลสถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน ปี 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานข้อมูลสถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน ปี 2566  ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                      สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    1. การค้าชายแดนและผ่านแดน
                          การค้าชายแดนและผ่านแดน ปี 2566 (มกราคม-ธันวาคม) มีมูลค่ารวม 1,742,808 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยไทยได้ดุลการค้า 218,650 ล้านบาท ในขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 980,729 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.6 และการนำเข้ามีมูลค่า 762,079 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้แม้ว่ามูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านจะชะลอตัวจากสถานการณ์ภายในประเทศที่เปราะบางของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สปป.ลาว ที่อัตราเงินเฟ้อสูงและค่าเงินกีบยังคงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์การสู้รบในเมียนมา ความต้องการบริโภคในประเทศของกัมพูชาที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดี การค้าผ่านแดนของไทยกลับมาขยายตัวอีกครั้ง ทั้งมูลค่าการค้ารวมและการส่งออกโดยเฉพาะการค้าผ่านแดนไปจีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52 ของการค้าผ่านแดนของไทย
                     2. การค้าชายแดน
                               การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย สปป.ลาว เมียนมา และกัมพูชา)                    ปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 929,730 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.1  แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 580,100 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.4 และการนำเข้ามูลค่า 349,630 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.7 ไทยได้ดุลการค้ารวม 230,471 ล้านบาท โดยแยกเป็น                 รายประเทศ ดังนี้
                    2.1 มาเลเซีย เป็นคู่ค้าชายแดนอันดับ 1 ของไทย โดยปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 287,155                  ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.6 แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 162,000 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 11.7    สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ 12,705 ล้านบาท (+1.69%) น้ำยางข้น 11,527 ล้านบาท (-43.78%) และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์อื่น ๆ 8,463 ล้านบาท (+5.59%) ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 125,155 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ 15,115 ล้านบาท (-41.64%) อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อหรือป้องกันวงจรไฟฟ้า 8,734 ล้านบาท   (+1.49%)  และเม็ดพลาสติก 6,311 ล้านบาท (-21.82%)
                    2.2 สปป.ลาว เป็นคู่ค้าชายแดนอันดับ 2 ของไทย โดยปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 260,512                ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 158,515 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล 29,468 ล้านบาท (+12.9%) น้ำมันสำเร็จรูปอื่น ๆ 11,615 ล้านบาท  (-4.16%) และน้ำตาลทรายขาว 7,728 ล้านบาท (-0.81%) ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 101,997 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.31 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อเพลิงอื่น ๆ 68,362 ล้านบาท (-3.68%) ผักและของปรุงแต่งจากผัก 11,747 ล้านบาท (+11.56%) เครื่องรับ-ส่งภาพและเสียงและอุปกรณ์ 2,925 ล้านบาท (-7.33%)
                              2.3 เมียนมา เป็นคู่ค้าชายแดนอันดับ 3 ของไทย โดยปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 220,327                ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.5 แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 127,606 ล้านบาท ลดลง     ร้อยละ 11.2  สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล 10,645 ล้านบาท (-25.66%) น้ำมันสำเร็จรูปอื่น ๆ 6,250 ล้านบาท (-26.25%) น้ำมันปาล์ม 3,994 ล้านบาท              (-15.36%) ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 92,721 ล้านบาท ลดลงละ 22.8 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ 71,159 ล้านบาท (-16.44%) ธัญพืช 7,520 ล้านบาท  (-43.08%) และสัตว์น้ำ 3,289 ล้านบาท (+4.98%)
                              2.4 กัมพูชา เป็นคู่ค้าชายแดนอันดับ 4 ของไทย โดยปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 161,736                 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.1 แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 131,979 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.2 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องดื่มอื่น ๆ 7,375 ล้านบาท (-3.61%) รถยนต์นั่ง (เครื่องสันดาปภายใน) 4,886 ล้านบาท (-41.09%) และน้ำแร่น้ำอัดลมที่ปรุงรส 4,311 ล้านบาท (-24%) ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 29,757 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.4 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ผักและของปรุงแต่งจากผัก 8,247 ล้านบาท (-21.49%) เศษของอะลูมิเนียม 4,545 ล้านบาท (-27.22%) และลวดและ                     สายเคเบิลที่หุ้มฉนวน 3,896 ล้านบาท (-1.78%)
                              ภาพรวมด่านศุลกากรที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสูงสุด ได้แก่ ด่านศุลกากรสะเดา 226,254                    ล้านบาท ด่านศุลกากรแม่สอด 106,835 ล้านบาท และด่านศุลกากรอรัญประเทศ 97,185 ล้านบาท
                    3. การค้าผ่านแดน
                          การค้าผ่านแดนไปประเทศที่สาม (จีน สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ) ในปี 2566  มีมูลค่าการค้ารวม 813,078 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 400,629 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และ             การนำเข้ามูลค่า 412,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.69 ไทยขาดดุลการค้ารวม 11,821  ล้านบาท โดยแยกเป็นรายประเทศ ดังนี้
                              3.1 จีน เป็นคู่ค้าผ่านแดนอันดับ 1 มีมูลค่าการค้ารวม 423,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.1 แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 213,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทุเรียนสด 93,664 ล้านบาท (+81.68%) ฮาร์ด ดิสก์ไดรฟ์ 26,975 ล้านบาท (+41.81%) ไม้แปรรูป 19,187 ล้านบาท (+49.85%) ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 209,302 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.2 สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ เคมีภัณฑ์อื่น ๆ 37,092 ล้านบาท (+165.02%) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 29,885 ล้านบาท (+55.4%) และเทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก สำหรับคอมพิวเตอร์ 16,388 ล้านบาท (+7.63%)
                              3.2 สิงคโปร์ เป็นคู่ค้าผ่านแดนอันดับ 2 มีมูลค่าการค้ารวม 106,676  ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 11.9 แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 52,482 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ฮาร์ด ดิสก์ ไดรฟ์ 9,544 ล้านบาท (+12.2%) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ 7,855 ล้านบาท (+92%) และ เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ 4,440 ล้านบาท (+478.44%) ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 54,195 ล้านบาท  ลดลงร้อยละ 21.1 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก สำหรับคอมพิวเตอร์ 29,764 ล้านบาท (-21.98%) สารหอมระเหยสกัดจากพืช 4,637 ล้านบาท                    (-30.25%) และแผงวงจรไฟฟ้า 3,189 ล้านบาท (+2.87%)
                              3.3 เวียดนาม เป็นคู่ค้าผ่านแดนอันดับ 3 มีมูลค่าการค้ารวม 70,138 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.2 แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 38,608 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.0 ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ 16,398 ล้านบาท (-6.61%) น้ำแร่น้ำอัดลมที่ปรุงรส 12,031 ล้านบาท (+0.19%) ผ้าผืนทำจากเส้นใยประดิษฐ์ 900 ล้านบาท (+3.20%) ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 31,530 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.0 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องรับวิทยุโทรศัพท์ โทรเลข โทรทัศน์ 15,968 ล้านบาท (+22%) คอนแทกเลนส์และเลนส์ 3,738 ล้านบาท (+27.06%) และเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 2,180 ล้านบาท (+39.41%)
                              3.4 ประเทศอื่น ๆ (อาทิ ฮ่องกง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น เป็นต้น) มีมูลค่าการค้ารวม 213,147 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.6 แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 95,724 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.6 ทั้งนี้  สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ฮาร์ด ดิสก์ไดรฟ์ 41,166 ล้านบาท (+12.96%) ยางแท่ง TSNR 14,306 ล้านบาท (-41.14%) ถุงมือยาง 7,086 ล้านบาท (-27.05%) ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 117,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า 20,238                  ล้านบาท (+15.03%) เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ 9,572 ล้านบาท (+120.01%) และเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 5,943 ล้านบาท (+229.33%)
                              ภาพรวมด่านศุลกากรที่มีมูลค่าการค้าผ่านแดนสูงสุด ได้แก่ ด่านศุลกากรมุกดาหาร 286,425 ล้านบาท ด่านศุลกากรสะเดา 207,944 ล้านบาท และด่านศุลกากรนครพนม 95,392 ล้านบาท
               4. การดำเนินการเพื่อสนับสนุนการค้าชายแดนและผ่านแดนของกระทรวงพาณิชย์
                                        4.1 การติดตามการเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มเติม เพื่อขนส่งสินค้าภายใต้มาตรการควบคุม                   การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วงเดือนธันวาคม 2566 - ปัจจุบัน มีจุดผ่านแดนฝั่งไทยเปิดแล้ว 86 แห่ง  จากทั้งหมด 95 แห่ง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเปิด 73 แห่ง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายผลักดันการเปิดด่านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประเทศเพื่อนบ้านให้เปิดด่านตรงข้ามกับที่ฝั่งไทยเปิดแล้วหรือมีความพร้อมที่จะเปิดด่าน
                           4.2 โครงการจับคู่กู้เงิน โดยร่วมมือกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย                (EXIM Bank) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย ในการปล่อยสินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่การส่งออก รวมถึงผู้ประกอบการค้าชายแดน ซึ่ง ณ วันที่ 19 มกราคม 2567 มีผู้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อ 1,736 ราย วงเงินรวม 6,566 ล้านบาท อนุมัติวงเงินแล้ว 1,707 ราย วงเงินรวม 6,496.4 ล้านบาท
                          4.3 การดำเนินการส่งเสริมการค้าชายแดนและผ่านแดนภายใต้คณะกรรมการ                           ส่งเสริมการค้าการลงทุนชายแดนและผ่านแดน เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางการดำเนินการพัฒนาเพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนชายแดนและผ่านแดน โดยมีเป้าประสงค์หลักในการเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนเป็น 2 ล้านล้านบาท ในปี 2570
                                4.4 การลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การค้าชายแดน เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคและส่งเสริมการค้าชายแดนและผ่านแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อผลักดันมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนให้ขยายตัว อาทิ ประชุมติดตามสถานการณ์จุดผ่อนปรนการค้า บ้านหม้อ จังหวัดหนองคาย สถานการณ์ค้าชายแดนและพื้นที่ศูนย์บริการค้าชายแดนเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One Stop Service : OSS) จังหวัดนครพนม หนองคายและมุกดาหาร แนวทางการจัดตั้ง OSS ในศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย และการผลักดันการพัฒนาด่านการค้าชายแดน จุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก จังหวัดพะเยา (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 เห็นชอบตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่า                     การกระทรวงพาณิชย์ มอบหมายสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาโครงการพัฒนาด่านการค้าชายแดน จุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายสำคัญกระทรวงพาณิชย์ในการเพิ่มการอำนวยความสะดวกทางการค้าและลดขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นอุปสรรค เพื่อให้สามารถผลักดันการค้าชายแดนผ่านแดนให้เติบโตขึ้น
                              5. แนวทางการส่งเสริมการค้าชายแดนและผ่านแดน ในปี 2567
                           กระทรวงพาณิชย์จะยังคงเร่งรัดการค้าชายแดนและผ่านแดนอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ ?ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดนและผ่านแดน ปี 2567 - 2570? โดยบูรณาการกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการผลักดันการค้าชายแดนและผ่านแดนตามนโยบายของรัฐบาล ภายใต้การขับเคลื่อนของคณะกรรมการส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดนและผ่านแดน ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 370/2566  ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้า ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับศักยภาพและการอำนวยความสะดวกของด่านชายแดนและระบบขนส่ง/โลจิสติกส์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงและกรอบความร่วมมือต่างๆ และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ชายแดนและประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ การจัดตั้งศูนย์บริการค้าชายแดนแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One Stop Service : OSS) และการเชื่อมโยงเอกสารส่งออก - นำเข้าผ่านระบบ National Single Window (NSW) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าชายแดน/ ผ่านแดนแบบครบวงจร ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมา สามารถเปิดให้บริการศูนย์ OSS ได้แล้วใน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ตาก ตราด สงขลา หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุดรธานี  นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบนโยบายให้กับกระทรวงพาณิชย์  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งรัดดำเนินการในทุกมิติเพื่อให้การค้าและการลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้น

10. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ (โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง จังหวัดชลบุรี และโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
โครงการ          เดิม          เป็น
โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง จังหวัดชลบุรี (โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ)           14 ปี (ปีงบประมาณ     พ.ศ. 2553 ? 2566)          17 ปี (ปีงบประมาณ               พ.ศ. 2553 ? 2569)
          ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม จำนวน 9,341.36 ล้านบาท
โครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง (โครงการกิ่วคอหมาฯ)          19 ปี (ปีงบประมาณ               พ.ศ. 2548 ? 2566)          22 ปี (ปีงบประมาณ               พ.ศ. 2548 ? 2569)
          ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม                      จำนวน 3,670.05 ล้านบาท
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า กรมชลประทานได้ดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการดังกล่าว โดยมีผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และแผนปฏิบัติการสำหรับการดำเนินงานในระยะถัดไป สรุปได้ ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ          โครงการกิ่วคอหมาฯ
เริ่มดำเนินงานโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ                   พ.ศ. 2553 โดยมีผลการดำเนินงานถึงปัจจุบัน ดังนี้          เริ่มดำเนินงานโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยมีผลการดำเนินงานถึงปัจจุบัน ดังนี้
          - เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น วงเงิน 877.40 ล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559                     - เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น วงเงิน 820.05 ล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551
          - คลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งขวา วงเงิน 385.48 ล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งดำเนินการไปแล้วร้อยละ 95.69 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567                    - ระบบชลประทานกิ่วลม 3 ระยะที่ 1 ? 2                    (พื้นที่ชลประทาน 23,000 ไร่) วงเงิน 422.34 ล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555
          - คลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้าย วงเงิน 259.63 ล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งดำเนินการไปแล้วร้อยละ 67.40 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568                    - ระบบชลประทานแจ้ห่ม 3 ระยะที่ 1 ? 2                    (พื้นที่ชลประทาน 20,000 ไร่) วงเงิน 396.05 ล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558
          - คลองส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้ายสัญญาที่ 2 วงเงิน 250.70 ล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งดำเนินการไปแล้วร้อยละ 61.21 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569                     - ระบบชลประทานกิ่วลม 3 ระยะที่ 3                          (พื้นที่ชลประทาน 47,200 ไร่) วงเงิน 203.68 ล้านบาท อยู่ระหว่างติดตามเร่งรัดก่อสร้าง ซึ่งดำเนินการไปแล้วร้อยละ 42.36
                    2. ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการ (ตามตารางข้างต้น ตามข้อ 1.) ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) รัฐบาลจึงได้มีมาตรการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว โดยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางของบุคคลและสกัดกั้นการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด ส่งผลให้ผู้รับจ้างประสบปัญหาขาดแคลนวัสดุก่อสร้างเครื่องจักร - เครื่องมือไม่เพียงพอ และไม่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสถานที่ก่อสร้างได้ นอกจากนี้ ในส่วนของโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ ยังมีสาเหตุมาจากสภาพ                 ภูมิประเทศและการใช้ประโยชน์ที่ดินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจึงมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขแบบก่อสร้างเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันและลดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ ประกอบกับในขั้นตอนการจัดหาที่ดินมีเจ้าของทรัพย์สินบางส่วนไม่ยอมรับราคาค่าทดแทนทรัพย์สินที่ภาครัฐกำหนดและไม่ยินยอมให้เข้าใช้พื้นที่ รวมถึงที่ดินบางแปลงติดปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย1 ซึ่งกรมชลประทานได้ใช้วิธีเจรจาซื้อขายที่ดินที่ถูกกำหนดไว้สำหรับใช้ทำโครงการฯ จากราษฎรควบคู่กับการขอออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ โดยการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 อนุมัติในหลักการแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ จากปัญหาอุปสรรคดังกล่าว กษ. โดยกรมชลประทานจึงได้อนุมัติให้มีการขยายอายุสัญญาและอนุมัติงดค่าปรับจากการแก้ไขแบบแก้ไขสัญญา และให้ได้รับสิทธิ์กำหนดอัตราค่าปรับร้อยละ 0 ตามมาตรการให้                    ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงแพร่ระบาดโรค Covid - 19 (มาตรการฯ) ของทั้ง 2 โครงการด้วยแล้ว สรุปได้ ดังนี้

โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ          โครงการกิ่วคอหมาฯ
          - คลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งขวา เริ่มสัญญาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 สิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 20 มีนาคม 2564 (ขยายอายุสัญญา จำนวน 6 ครั้ง) และได้รับสิทธิ์กำหนดอัตราค่าปรับร้อยละ 0 ตามมาตรการฯ จำนวน 827 วัน ครบกำหนดวันที่ 25 มิถุนายน 2566
          - คลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้าย เริ่มสัญญาวันที่ 15 สิงหาคม 2561 สิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 30 มกราคม 2564 และได้รับสิทธิ์กำหนดอัตราค่าปรับร้อยละ 0 ตามมาตรการฯ จำนวน 827 วัน ครบกำหนดวันที่                      7 พฤษภาคม 2566
          - คลองส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้าย สัญญาที่ 2 เริ่มสัญญาวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 สิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 26 ธันวาคม 2565 และได้รับสิทธิ์กำหนดอัตราค่าปรับร้อยละ 0 ตามมาตรการฯ จำนวน 732 วัน ครบกำหนดวันที่ 28 ธันวาคม 2567                    - ระบบชลประทานกิ่วลม 3 ระยะที่ 3                          (พื้นที่ชลประทาน 47,200 ไร่) เริ่มสัญญาวันที่ 18 ตุลาคม 2555 สิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 21 ธันวาคม 2563 (ขยายอายุสัญญา จำนวน 3 ครั้ง) และได้รับสิทธิ์กำหนดอัตราค่าปรับร้อยละ 0 ตามมาตรการฯ จำนวน 827 วัน ครบกำหนดวันที่ 28 มีนาคม 2566
                    3. แผนปฏิบัติการสำหรับการดำเนินงานในระยะถัดไป สรุปได้ ดังนี้
แผนการดำเนินงาน          เดือนที่
          1          2          3          4          5          6          7          8          9          10          11          12          13 และต่อไป
(1) เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการแล้ว จะเร่งรัดดำเนินการจัดหาที่ดินเพื่อส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับจ้าง และเร่งรัดกระบวนการแก้ไขปัญหา
(2) เร่งรัดให้ผู้รับจ้างเข้าดำเนินงานก่อสร้างระบบชลประทานในส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จและดำเนินการตามเงื่อนไขสัญญาต่อไป

(3) เมื่อดำเนินงานก่อสร้างระบบชลประทานในส่วนที่เหลือสำเร็จตามแผนงานที่กำหนดจะดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและจัดทำแผนการจัดสรรน้ำและบำรุงรักษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานของโครงการต่อไป

หมายเหตุ          = โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ
                    = โครงการกิ่วคอหมาฯ
จากข้อเท็จจริงและสภาพปัญหาดังกล่าว กษ. (กรมชลประทาน) จึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ภายใต้กรอบวงเงินโครงการเดิมจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ จากเดิม 14 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ? 2566) เป็น 17 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ? 2569) และ (2) โครงการกิ่วคอหมาฯ จากเดิม 19 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ? 2566) เป็น 22 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ? 2569)
1 กรมชลประทานแจ้งว่า ปัญหาเรื่องที่ดินสำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอรับ                     การจัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายเป็นค่าชดเชยแก่ราษฎร ซึ่งเบื้องต้นกรมชลประทานจะใช้งบประมาณบางส่วนเจียดจ่ายไปพลางก่อน สำหรับโครงการกิ่วคอหมาฯ ดำเนินการเรื่องที่ดินที่ต้องดำเนินการจัดหาและจ่ายค่าชดเชยเรียบร้อยแล้ว

11. เรื่อง ขออนุมัติหลักการกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส                  พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 (งานเฉลิมพระเกียรติฯ) จำนวน 700 ล้านบาท โดยการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดและค่าใช้จ่ายของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และนำเสนอคณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้งบประมาณ งานเฉลิม                     พระเกียรติฯ ให้ความเห็นชอบเมื่อส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบผลการพิจารณาแล้วให้นำเสนอ             รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแล พิจารณาให้ความเห็นชอบและดำเนินการขอรับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ (สงป.) โดยตรง ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สปน. รายงานว่า
                    1. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่                 8 พฤศจิกายน 2566 (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) มีมติมอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ  เตรียมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ในด้านงานพิธีการ การจัดโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ และการจัดงานอื่น ๆ ในนามรัฐบาล ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติทุกประการ และต่อมาในการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 มีมติเห็นชอบมอบหมายให้ สปน. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการให้ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น กรอบวงเงินทั้งสิ้น 700 ล้านบาท (แบ่งเป็นกรอบวงเงินที่คณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้งบประมาณ งานเฉลิมพระเกียรติฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว1 จำนวน 7 รายการ วงเงิน 304.82 ล้านบาท และกรอบวงเงินที่ยังไม่ได้มีการพิจารณากลั่นกรองฯ จำนวน 395.18 ล้านบาท2) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ในช่วงก่อนและหลังวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ                  สมพระเกียรติ สรุปได้ ดังนี้
คณะกรรมการฝ่าย/คณะอนุกรรมการฝ่าย/รายการ          วงเงิน
(ล้านบาท)          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1.1 กรอบวงเงินงบประมาณที่คณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้งบประมาณ งานเฉลิมพระเกียรติฯ เห็นชอบในหลักการแล้ว          304.82
          (1) คณะกรรมการฝ่ายจัดพิธีการ งานเฉลิมพระเกียรติฯ           283.07
                    (1.1) คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค          231.48
                              1) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติฯ ในการเตรียมความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน          179.85          กระทรวงกลาโหม (กองทัพเรือ)
                              2) การจัดสร้างเครื่องแต่งกายสำหรับใช้ในงานพระราชพิธีริ้วขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค          3.63          สำนักพระราชวัง
                              3) ค่าใช้จ่ายในงานซ่อมแซมเรือพระราชพิธีและงานประดับตกแต่งอาภรณ์ภัณฑ์เรือพระราชพิธี          48.00          กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
                    (1.2) คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์          17.20          กระทรวงมหาดไทย (มท.)
                    (1.3) การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติฯ           34.40          วธ. (กรมการศาสนา)
          (2) คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก งานเฉลิมพระเกียรติฯ          21.75
                    (2.1) ค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก          19.75          วธ. (กรมศิลปากร)
                    (2.2) ค่าใช้จ่ายในการจัดหนังสือที่ระลึกพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์          2.00          มท.
1.2 กรอบวงเงินงบประมาณที่ยังไม่ได้มีการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองขอใช้งบประมาณงานเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งใช้สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายฯ คณะอนุกรรมการฝ่ายฯ หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายภารกิจ          395.18          กระทรวงการต่างประเทศ มท. สปน. กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                    ทั้งนี้ ในการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดและค่าใช้จ่ายของภารกิจที่ได้มอบหมายในช่วงก่อนและหลังวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 และนำเสนอคณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้งบประมาณงานเฉลิมพระเกียรติฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนด เช่น (1) เป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ (2) ไม่มีงบประมาณของหน่วยงานรองรับ และ/หรือหน่วยงานไม่สามารถปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานได้ หรือสามารถปรับแผนฯ ได้ แต่งบประมาณไม่เพียงพอในการดำเนินการ                  เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ (สงป.) โดยตรง ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562
1 คณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้งบประม่าณ งานเฉลิมพระเกียรติฯ มีหน้าที่และอำนาจ เช่น (1) พิจารณาหลักเกณฑ์และกลั่นกรองรายละเอียดการขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ  ที่ได้รับมอบหมายในการดำเนินงานการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ (2) ให้ประธานกรรมการฯ มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องเร่งด่วนและจำเป็นแทนการประชุมคณะกรรมการฯ (3) ให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ พิจารณาการดำเนินงาน การประสานงาน ติดตาม เร่งรัด และขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และหน่วยงานต่าง ๆ  รวมทั้งประสานงานกับหน่วยราชการในพระองค์ ตลอดจนพิจารณาดำเนินงานการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2 สปน. แจ้งว่า เนื่องจากกรอบวงเงิน จำนวน 395.18 ล้านบาท ยังไม่มีรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน จึงยังไม่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้งบประมาณ งานเฉลิมพระเกียรติฯ                  จึงขอเสนอเป็นกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อใช้สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการในส่วนที่เหลือก่อน

12. เรื่อง ขอความเห็นชอบการดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาลต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงบประมาณได้จัดเตรียมงบประมาณรองรับการดำเนินโครงการไว้แล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป เห็นสมควรให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นของภารกิจอย่างเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป โดยพิจารณานำเงินนอกงบประมาณรวมถึงรายได้หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานที่ดำเนินการร่วมกันอยู่ หรือสามารถนำมาใช้จ่ายได้มาสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังกล่าว เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และประโยชน์ที่จะได้รับให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานดังกล่าว ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ศธ. รายงานว่า
                    1. สพฐ. (สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) ได้เริ่มดำเนินโครงการศูนย์การเรียนฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เพื่อจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กที่อยู่ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยได้มอบหมายให้ศูนย์การศึกษาพิเศษทุกแห่งร่วมกับโรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์จัดตั้งศูนย์การเรียนฯ และจัดส่งครูผู้สอนไปประจำศูนย์การเรียนฯ เพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องและสามารถส่งต่อเด็กกลับไปยังสถานศึกษาเดิมหรือเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัยเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา ทั้งนี้ ครูผู้สอน และสถานศึกษาที่เด็กเข้ารับการศึกษาจะร่วมกันวางแผนการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วยของเด็กด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนของศูนย์การเรียนฯ การจัดการเรียนการสอนข้างเตียง การจัดกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด กิจกรรมทัศนศึกษา การจัดกิจกรรมร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพแก่เด็กและผู้ปกครอง และกิจกรรมการเยี่ยมบ้านเด็ก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดจำนวนเด็กซ้ำชั้นหรือลาออกระหว่างภาคเรียนและทำให้เด็กสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข ทั้งนี้ การจัดการเรียนการสอนเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง 4 หน่วยงานหลัก มีรายละเอียด ดังนี้
รายการ          ลักษณะการดำเนินงาน          บทบาท/ความรับผิดชอบ
(1) มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศฯ)          โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล          สนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่จำเป็น สื่อการเรียนการสอนพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและประยุกต์ใช้แก่บุคลากรและเด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาล และการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการศึกษา การประกอบอาชีพและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
(2) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ          ฝ่ายเลขานุการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี          ออกแบบและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีรวมทั้งอบรมครูให้มีความรู้ในการนำสื่อเทคโนโลยีไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ของเด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาล
(3) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยกรมการแพทย์          โครงการพัฒนาศักยภาพและขยายศูนย์เครือข่ายการเรียนการสอนสำหรับเด็กป่วยที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาในโรงพยาบาลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า  กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี          เป็นผู้ประสานงานหลักในการขยายเครือข่ายไปยังโรงพยาบาลในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อเป็นสถานที่จัดตั้ง ?ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วย ในโรงพยาบาลตามพระราชดำริ  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี? และสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
(4) สพฐ. โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ1          โครงการศูนย์การเรียนฯ          เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กเจ็บป่วยในระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
                    2. ผลการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2566 พบว่า มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนฯ ใน 77 จังหวัด จำนวน 85 ศูนย์การเรียน โดยมีการจ้างครูประจำศูนย์การเรียนฯ จำนวน 151 อัตรา และจ้างครูสนับสนุนการดำเนินงานใน 6 โรงพยาบาล จำนวน 7 อัตรา2 ได้แก่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรุงเทพมหานคร 2 อัตรา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร 1 อัตรา โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 1 อัตรา โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 1 อัตรา โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก 1 อัตรา และโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 1 อัตรา และสำหรับเด็กที่มารับบริการ เป็นกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพในขณะพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ได้แก่ เด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 2 ปีขึ้นไป)                     เด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) และเด็กอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน (อายุ 7-18 ปี) ซึ่งส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคทางโลหิตวิทยา โรคมะเร็ง โรคทางสมอง โรคหัวใจ โรคทั่วไปอื่น ๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2562-2566 สามารถให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กในระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ย 5 ปี                  มีจำนวน 33,931 คน มีอัตราส่วนครูผู้สอนเฉลี่ยประมาณ 1-3 อัตรา ต่อศูนย์การเรียนรู้ และอัตราส่วนครูผู้สอน 1 คน ต่อนักเรียนประมาณ 187 คน3
                    3. โครงการศูนย์การเรียนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                              3.1 หลักการและเหตุผล
                                        ในแต่ละปีมีเด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพจำนวนมากที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหรือที่บ้านเป็นเวลานานหรือต่อเนื่อง ส่งผลให้เด็กขาดโอกาสทางการศึกษาหรือไม่ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมทั่วประเทศ สพฐ. โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษร่วมกับโรงพยาบาลได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนฯ ใน 77 จังหวัด 85 ศูนย์การเรียนรู้ โดยมีการจ้างครูประจำ  ศูนย์การเรียนฯ จำนวน 151 อัตรา เพื่อให้เด็กได้รับบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและสามารถส่งต่อเด็กกลับไปยังสถานศึกษาเดิมหรือเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัยเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา
                              3.2 วัตถุประสงค์
                                        (1) สนับสนุนงบประมาณในการจ้างครูประจำศูนย์การเรียนฯ
                                        (2) ให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพได้รับบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                                        (3) สนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุสำนักงานและวัสดุสำหรับใช้จัดการเรียนการสอนสำหรับโรงพยาบาลนอกสังกัดกรมการแพทย์ สธ.4
                                        (4) สนับสนุนงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับจัดการเรียนการสอนในศูนย์การเรียนฯ
                              3.3 เป้าหมาย
                                        (1) จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าจ้างครูผู้สอนประจำศูนย์การเรียนฯ ใน                     77 จังหวัด 85 ศูนย์การเรียน จำนวน 151 อัตรา
                                        (2) เด็กที่รักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวนไม่ต่ำกว่า 35,000 คน ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและสามารถส่งต่อเด็กกลับไปยังสถานศึกษาเดิมหรือเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
                                        (3) จัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อวัสดุสำหรับใช้จัดการเรียนการสอนและวัสดุสำนักงานประจำศูนย์การเรียนฯ ในโรงพยาบาลนอกสังกัดกรมการแพทย์ สธ. จำนวน 4 จังหวัด 6 ศูนย์                   การเรียน
                                        (4) จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับใช้จัดการเรียนการสอนให้แก่ศูนย์การเรียนฯ ใน 77 จังหวัด 85 ศูนย์การเรียน ประกอบด้วย แท็บเล็ตและอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบภายนอก
                                        (5) ครูผู้สอนประจำศูนย์การเรียนฯ จำนวน 151 อัตรา มีครุภัณฑ์สำหรับใช้จัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วยและเพียงพอ
                              3.4 ค่าใช้จ่าย
                                        งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 30,327,930 บาท สรุปได้ ดังนี้
รายการ          งบประมาณ (บาท)
(1) ค่าตอบแทนครูประจำศูนย์การเรียนฯ ใน 77 จังหวัด 85 ศูนย์การเรียน รวมทั้งสิ้น 151 อัตรา          27,395,280
          (1.1)           ครูอัตราจ้าง5 จำนวน 23 อัตรา
                           ค่าจ้าง (15,000 บาท x 23 คน x 12 เดือน)           4,140,000
                    เงินสมทบกองทุนประกันสังคม6
                    (750 บาท x 23 คน x 12 เดือน)          207,000
                    เงินสมทบเงินทดแทนลูกจ้างรายปี7
                    (30 บาท x 23 คน x 12 เดือน)          8,280
          (1.2)          ครูสัญญาจ้างเหมาบริการ8 จำนวน 128 อัตรา
                    ค่าจ้าง (15,000 บาท x 128 คน x 12 เดือน)           23,040,000
(2) ค่าวัสดุสำหรับศูนย์การเรียนในโรงพยาบาลนอกสังกัดกรมการแพทย์ สธ. 6 โรงพยาบาล (6 ศูนย์การเรียน)           120,000
          (2.1)          ค่าวัสดุสำหรับใช้จัดการเรียนการสอน
                    (10,000 บาท x 6 ศูนย์การเรียนรู้)           60,000
          (2.2)          ค่าวัสดุสำนักงาน
                    (10,000 บาท x 6 ศูนย์การเรียนรู้)           60,000
(3) ค่าครุภัณฑ์          2,812,650
          (3.1)          จัดซื้อแท็บเล็ต9 [อ้างอิงตามเกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานการจัดหาอุปกรณ์และระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2564]
                    (10,000 บาท x 85 ศูนย์การเรียน x 3 เครื่อง)           2,550,000
          (3.2)          จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูล (External Hard Disk)
                    (3,090 บาท x 85 ศูนย์การเรียน)           262,650
รวม          30,327,930
                    4. ประโยชน์และผลกระทบ
                              4.1 สามารถลดปัญหาภาคสังคมได้อย่างมากเนื่องจากเด็กที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมีโอกาสได้รับบริการทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญาอย่างต่อเนื่อง ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระของครอบครัวและสังคม
                              4.2 สามารถลดปัญหาค่าใช่จ่ายของภาครัฐในด้านการศึกษา เนื่องจากเมื่อเด็กออกจากโรงพยาบาลแล้ว สามารถกลับเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาเดิมได้อย่างต่อเนื่องหรือส่งต่อเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย ส่งผลให้เด็กนักเรียนไม่รู้สึกท้อแท้ เบื่อการเรียน และไม่ต้องลาออกจากโรงเรียนในระหว่างภาคการศึกษาและมีความรู้สำหรับใช้ในการประกอบอาชีพ
                    5. เพื่อให้การดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนฯ สามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนและได้รับงบประมาณสนับสนุนดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี จึงเห็นควรดำเนินโครงการศูนย์การเรียนฯ ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป โดยไม่ต้องขออนุมัติการดำเนินจากคณะรัฐมนตรีทุก                 5 ปี
1 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้แก่คนพิการและผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา
2 ศธ. แจ้งว่า การจัดจ้างครูสนับสนุนการดำเนินการเพิ่มเติมเป็นไปตามดุลยพินิจของแต่ละโรงพยาบาล
3 ข้อมูลจากการประสาน ศธ. เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567
4 โรงพยาบาลนอกสังกัดกรมการแพทย์ สธ. 6 โรงพยาบาล (6 ศูนย์การเรียน) ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน จังหวัดนนทบุรี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
5 ครูอัตราจ้าง หมายถึง ครูผู้สอนประจำศูนย์การเรียนฯ ที่ทำสัญญาจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (สามารถปฏิบัติงานได้ถึงอายุ 60 ปี และได้รับสิทธิประกันสังคม)
6 เงินสมทบกองทุนประกันสังคมร้อยละ 5 ของค่าจ้าง
7 เงินสมทบเงินทดแทนลูกจ้างรายปีร้อยละ 0.2 ของค่าจ้าง
8 ครูสัญญาจ้างเหมาบริการ หมายถึง ครูผู้สอนประจำศูนย์การเรียนฯ ที่ทำสัญญาจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่แทนครูอัตราจ้างที่ลาออก (ไม่มีการกำหนดเกณฑ์อายุในการปฏิบัติงานและไม่ได้รับสิทธิประกันสังคม)
9 ศธ. แจ้งว่า เป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่

13. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมีนาคม 2567
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมีนาคม 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                     สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง
                    1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนมีนาคม 2567 ดังนี้
                    ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมีนาคม 2567 เท่ากับ 107.25 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งเท่ากับ 107.76 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.47 (YoY) ปรับลดลงตามราคาอาหารสด ทั้งเนื้อสุกร และผักสด เนื่องจากผลผลิตในตลาดมีจำนวนมาก และฐานราคาเดือนมีนาคม 2566 อยู่ในระดับสูง รวมทั้งราคาพลังงาน ทั้งค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันดีเซล ยังคงต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปี 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ นอกจากนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาดราคายังคงปรับลดลง สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ
                    อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยลดลงร้อยละ 0.77 ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 4 จาก                136 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย)
                    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ลดลงร้อยละ 0.47 (YoY) ในเดือนนี้ มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
                    หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.57 ตามการลดลงของราคาเนื้อสัตว์ ปลาและสัตว์น้ำ (เนื้อสุกร ปลาทู ปลากะพง) ผักสด (มะนาว กะหล่ำปลี มะเขือเทศ)  เนื่องจากผลผลิตในตลาดมีจำนวนมาก และฐานราคาเดือนมีนาคม 2566 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง  นอกจากนี้ ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาปรับลดลง อาทิ น้ำมันพืช และอาหารโทรสั่ง (พิซซา) สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ข้าวสาร ไข่ไก่ นมสด องุ่น ส้มเขียวหวาน น้ำตาลทราย กาแฟผงสำเร็จรูป กับข้าวสำเร็จรูป และอาหารกลางวัน
                    หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.40 ตามค่ากระแสไฟฟ้าและราคาน้ำมันในกลุ่มดีเซล ที่ยังต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปี 2566 จากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐที่ยังคงดำเนินการอยู่ นอกจากนี้ เสื้อผ้าบุรุษ สตรี และเสื้อผ้าเด็ก สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาปรับผ้านุ่ม) เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น) รวมถึงของใช้ส่วนบุคคล (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว สบู่ถูตัว แป้งผัดหน้า) ราคาปรับลดลง สินค้าที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อาทิ ค่าแต่งผมบุรุษและสตรี ยาแก้ปวดลดไข้ ยาลดกรดในกระเพาะ ค่าตรวจรักษาคลินิกเอกชน ค่าทัศนาจรในประเทศและต่างประเทศ บุหรี่ สุรา และไวน์
                              เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 0.37 (YoY) ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 0.43
                              ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมีนาคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.03 (MoM) ตามการสูงขึ้นของหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.15 ที่ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารเครื่องบิน สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำยาปรับผ้านุ่ม และผลิตภัณฑ์ซักผ้า อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาปรับลดลง อาทิ ของใช้ส่วนบุคคล (น้ำยาระงับกลิ่นกาย โฟมล้างหน้า ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.13 ตามการลดลงของราคาเนื้อสุกร ไก่ย่าง ไข่ไก่ ไข่เป็ด ครีมเทียม ขนมปังปอนด์ อาหารจากธัญพืช และขนมอบสำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ผักสด (มะนาว แตงกวา ถั่วฝักยาว) ผลไม้ (ส้มเขียวหวาน สับปะรด ฝรั่ง) น้ำหวาน และอาหารเช้า
                              ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เฉลี่ยไตรมาสแรกของปี 2567 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ลดลงร้อยละ 0.79 (YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ลดลงร้อยละ 0.21 (QoQ)
                              2. แนวโน้มเงินเฟ้อ
                              แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 มีแนวโน้มสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 เนื่องจาก (1) ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (2) อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 และช่วงเดียวกันของปีก่อน (3) ฐานค่ากระแสไฟฟ้าที่ต่ำในปีก่อนหน้าโดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคม 2566 เนื่องจากรัฐบาลมีการดำเนินมาตรการลดราคาค่ากระแสไฟฟ้าค่อนข้างมาก และ (4) การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทำให้ราคาสินค้าในหมวดที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่มีปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ (1) ฐานที่สูงของราคาเนื้อสุกรและผัก รวมทั้งราคาในปีนี้มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก (2) เศรษฐกิจขยายตัวในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มต่ำกว่าคาดการณ์เดิมในช่วงต้นปี และ (3) การแข่งขันที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ รวมทั้งการเติบโตของการค้าอีคอมเมิร์ซทำให้มีการใช้นโยบายส่งเสริมการค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะการปรับลดราคาอย่างต่อเนื่อง
                    ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 จากเดิมระหว่างร้อยละ                 (-0.3) - 1.7 (ค่ากลาง 0.7) เป็นระหว่างร้อยละ 0.0-1.0 (ค่ากลาง 0.5) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าจะมีการทบทวนต่อไป
                    ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมีนาคม 2567 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 54.1 จากระดับ 54.2 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับลดลงมาอยู่ระดับ 46.1 จากระดับ 46.4 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) คงที่โดยอยู่ที่ระดับ 59.5 ปัจจัยหนุนที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่น คาดว่ามาจาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (2) ภาคการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง (3) ราคาสินค้าเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น อาทิ ข้าว และยางพารา อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย รวมทั้งความกังวลของประชาชนที่มีต่อภาระหนี้สินและกำลังซื้อที่ลดลง ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

14. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ  ดังนี้
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะสินค้ากึ่งคงทนและสินค้าคงทนปรับตัวลดลง เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก เช่น อาเซียน (5) CLMV และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวในกลุ่มรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกุมภาพันธ์ 2567 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 16.83 จากบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก เครื่องยนต์ดีเซล และรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของตลาดในประเทศ  (-27.24%) กำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนตัว สถาบันการเงินเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ
                    2. ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 18.66 จาก Integrated circuits (IC) และ PCBA ตามความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง
                    3. น้ำมันปาล์ม หดตัวร้อยละ 27.23 จากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เนื่องจากภาวะภัยแล้งส่งผลให้มีผลปาล์มดิบลดลงจากปีก่อน ซึ่งหดตัวจากตลาดในประเทศ (-16.19%) และตลาดส่งออก (-85.91%)
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                    1. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 7.59 จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเบนซิน 91  และ แก๊สโซฮอล์ 91 เป็นหลัก ตามความต้องการในภาคขนส่งและเดินทางท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
                    2. ปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน ขยายตัวร้อยละ 39.82 จากการกระตุ้นยอดขายของราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดอยู่ในเกณฑ์ดี และราคาสินค้าปรับลดลงตามราคาวัตถุดิบแม่ปุ๋ยที่ต่ำกว่าปีก่อน
                    3. เครื่องประดับเพชรพลอยแท้ ขยายตัวร้อยละ 24.56 ในทุกรายการสินค้า (กำไล ต่างหู สร้อย แหวน และจี้) ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าทำให้มีคำสั่งซื้อและส่งออกไปประเทศคู่ค้าสำคัญมากขึ้น เช่น กาตาร์ เบลเยี่ยม อินเดีย ฮ่องกง เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหรัฐอมริกา

15. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ เพื่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ เพื่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ เพื่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มาเพื่อดำเนินการ พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ อาทิ การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ให้เป็นปัจจุบัน การจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลของการศึกษานอกระบบรูปแบบการศึกษาต่อเนื่อง หรือหลักสูตรระยะสั้น รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสะสมหน่วยกิต สะสมองค์ความรู้ ประสบการณ์ และสมรรถนะให้สามารถนำไปใช้เทียบเคียงหรือเทียบโอนให้ได้วุฒิการศึกษาในอนาคต และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อาทิ การนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) มาใช้ในการเรียนรู้ การส่งเสริมสนับสนุนหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด (Massive Open Online Courses : MOOCs) ซึ่งวุฒิสภามีมติเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว และได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการ
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในขณะนั้น สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ศธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะตามข้อ 2 แล้วเห็นชอบในหลักการของรายงานการพิจารณาศึกษาดังกล่าว และได้จัดทำสรุปผลการพิจารณาและผลการดำเนินการเกี่ยวกับรายงานดังกล่าว ดังนี้
                    1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์
ประเด็นข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ          ผลการพิจารณา
1) การดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ให้เป็นปัจจุบัน หน่วยงานทางการศึกษาของประเทศควรมีการจัดทำฐานข้อมูลที่ปรากฏข้อมูลของแต่ละสถานศึกษาและศูนย์การเรียนรู้ ควรมีการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลทั้งในระบบและนอกระบบเพื่อลดความซ้ำซ้อน และสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวสำหรับการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ของประเทศในภาพย่อยและภาพหลักได้
2) การจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลของการศึกษานอกระบบ รูปแบบการศึกษาต่อเนื่องหรือหลักสูตรระยะสั้น รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสะสมหน่วยกิต สะสมองค์ความรู้ ประสบการณ์ และสมรรถนะ ให้สามารถนำไปใช้เทียบเคียงหรือเทียบโอนให้ได้วุฒิการศึกษาในอนาคต รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ความต้องการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะและสมรรถนะผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เพื่อใช้เป็นสารสนเทศประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการทุกระดับต่อไป
          ? ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ ควรครอบคลุมรายวิชาออนไลน์และจัดทำให้อยู่ในรูปแบบที่เผยแพร่ สืบค้นได้ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าใช้ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ในฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และควรเชื่อมโยงกับสมรรถนะที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเลือกเรียนของผู้สนใจ
? หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการ ดังนี้
          ? อว. ได้กำหนดแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 - 2570 และฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุดมศึกษาดิจิทัลที่มีเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและจัดทำระบบฐานข้อมูล (Big Data) สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนระบบการอุดมศึกษาและวิจัยในภาพรวมของประเทศ เช่น การจัดทำข้อมูลกลาง การกำหนดมาตรฐานการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล
          นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานคลังหน่วยกิต (Credit Bank) โดยการออก ?ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565? และ ?ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดศึกษา เรื่อง แนวทางการดำเนินงานคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา พ.ศ 2565? เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการวางระบบทะเบียนสะสมหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสำหรับผู้เรียน ทั้งจากการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                    2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ประเด็น          ผลการพิจารณา
1) ควรสนับสนุนการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : Al) มาใช้ในการเรียนรู้ให้มีความเสมือนจริงสามารถสื่อสารได้สองทาง เช่น โปรแกรมพูดคุยอัตโนมัติ (Chatbot) ที่ช่วยในการเรียนการสอน การใส่เสียงอธิบายแทนครูผู้สอนซึ่งเป็นการช่วยอธิบายให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้น
2) ควรส่งเสริมสนับสนุนหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด (Massive Open Online Courses :                  MOOCs) ที่ประกอบด้วยการเรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ (YouTube) เกมคอมพิวเตอร์ (Games) สื่อสังคม (Social Media) และสื่อทางเสียง (Audiobooks and Podcasts) เป็นต้น MOOCs จึงเป็นการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกกลุ่ม การจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบ MOOCs จึงเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้คนไทยได้ Up - skill และ Re - skill ได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้น จึงเป็นการส่งเสริมให้คนไทยรู้จักและใช้การเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งระบบในประเทศและต่างประเทศ
3) ควรส่งเสริมสนับสนุนการปรับเปลี่ยนระบบหรือกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และประเมินผลให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพของผู้เรียนไม่ให้กระทบต่อเวลาการทำงาน ทั้งนี้ ควรมีการจัดรูปแบบการเรียนที่ทันสมัย ได้แก่
          - มีระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น และมีความเชื่อมโยงไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน
          - จัดการเรียนการสอนแบบ ON - AIR โดยให้สถานศึกษาเป็นผู้จัดทำบทเรียน หรือใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (ETV) และสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และจัดการเรียนการสอนเสมือนจริง (Virtual Learning) เป็นการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ที่ออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้มีสภาพแวดล้อม คล้ายกับเรียนในห้องเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียน          ? ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า
          1) ควรเพิ่มการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ข้อจำกัด ขอบเขตและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการศึกษาทั้งด้านผู้เรียนและผู้สอนเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ AI ที่ไม่เหมาะสม
          2) ควรเพิ่มการส่งเสริมสนับสนุนกลไกที่จะทำให้เกิดรายวิชาออนไลน์ได้กว้างขวาง เช่น (1) การพัฒนาครู อาจารย์ ให้มีความเข้าใจ มีทักษะในการออกแบบเนื้อหา สื่อการเรียนรู้ (2) การส่งเสริมหน่วยงานองค์กร บริษัทที่ผลิตรายวิชาออนไลน์ รวมทั้งสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลให้สามารถประกอบการได้และ             (3) การจัดทำฐานข้อมูลรายวิชาออนไลน์แบบเปิดและเผยแพร่ให้ผู้สนใจเข้าใช้ได้
          3) ควรพิจารณาใช้การวัดผล การประเมินผลการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเฉพาะการประเมินจากสภาพจริง การประเมินผลจากการปฏิบัติและเพิ่มประเด็นส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-directed learning) และ                   การเรียนรู้แบบกำกับตนเอง (Self-regulated learning) ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองจากการศึกษาในระบบนอกระบบและ                ตามอัธยาศัยได้ต่อเนื่อง
? หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการ ดังนี้
          ? ดศ. ได้มีการสร้างทักษะ Reskill/New skill คนรุ่นใหม่ โดยมุ่งบ่มเพาะทักษะดิจิทัลในเด็กชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา ต่อเนื่องมาถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อสร้างศักยภาพให้เตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล และจัดทำโครงการแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Open Learning Platform) ที่รองรับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการอบรมแบบออนไลน์ที่มีหลักสูตร              ตามความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน
          ? อว. ได้จัดทำโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) ภายใต้ชื่อโครงการ Thailand Massive Open Online Course: Thai MOOC เปิดให้บริการด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบ MOOC โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ  ให้แก่ประชาชนทั่วไปเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านระบบของ Thai MOOC Platform และออก ?ประกาศ อว. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ                    พ.ศ. 2565? เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถเปิดหลักสูตรการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ? ศธ. ได้ดำเนินการจัดหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ ดศ. เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เชิญชวนให้ภาครัฐหรือภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม และสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเสมือน (VR/AR) มาใช้ในการเรียนรู้ผ่านห้องสมุดประชาชน ท้องฟ้าจำลอง นิทรรศการ และค่ายวิทยาศาสตร์ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรและสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ และจัดทำเป็นฐานข้อมูลรายวิชาออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ให้ผู้เรียนและประชาชนที่สนใจเข้ารับบริการการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                    นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นภารกิจ ได้แก่ โครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมให้ความรู้ด้านทักษะดิจิทัลให้กับวิทยากรแกนนำด้านดิจิทัลทุกระดับ (ครู ก. ครู ข. และ ครู ค.) และประชาชนในพื้นที่ กศน. ตำบล รวมทั้งอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มด้านส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และดำเนินโครงการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม กศน. ปักหมุดลดความเหลื่อมล้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลกลางและดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เป็นเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการ จัดเก็บ ปักหมุด ประมวลผลและรายงานข้อมูลสารสนเทศของสำนักงาน กศน.

16. เรื่อง  ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
                              คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการ
นายกรัฐมนตรี ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ได้จัดประชุมโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) เป็นประธาน จำนวน 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 3 9 และ 19 เมษายน 2567 และวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายจักรพงษ์ แสงมณี) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) สมาคมธนาคารไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ตลอดจนกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อบูรณาการทำงานและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาภัยออนไลน์
                              สำหรับ ผลการดำเนินงานที่สำคัญในระยะ 30 วัน และมาตรการสำคัญในระยะต่อไป มีดังนี้
                    1. ผลการดำเนินงานที่สำคัญในระยะ 30 วัน
1.1 การปราบปรามจับกุมอาชญากรรมออนไลน์
               ตร. ได้ดำเนินการปราบปรามจับกุมอาชญากรรมออนไลน์ และมีคดีที่สำคัญ รวมทั้ง เร่งรัดจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้อง ในช่วงวันที่ 1 - 30 เมษายน 2567 เทียบกับการดำเนินงานช่วงที่ผ่านมา ดังนี้
                (1) การจับกุมคดีอาชญากรรมออนไลน์รวมทุกประเภท ในเดือน เมษายน 2567               มีจำนวน 6,624 คน เพิ่มขึ้น 2.7 เท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วง มกราคม - มีนาคม 2567 ที่มีการจับกุมเฉลี่ย 2,430 คน/เดือน
                (2) การจับกุมคดีพนันออนไลน์ ในเดือน เมษายน 2567 มีจำนวน 3,667 คน เพิ่มขึ้น 3.1 เท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วง มกราคม - มีนาคม 2567 ที่มีการจับกุมเฉลี่ย 1,174 คน/เดือน
                (3) การจับกุมคดีบัญชีม้า ซิมม้า ในเดือน เมษายน 2567 มีจำนวน 361 คน เพิ่มขึ้น 1.9 เท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วง มกราคม - มีนาคม 2567 ที่มีการจับกุมเฉลี่ย 187 คน/เดือน
                (4) สำหรับการจับกุมครั้งสำคัญ ในห้วงเดือนเมษายน 2567 อาทิ
1) ปฏิบัติการ ?OPERATION CYBER STRIKE? ทลาย 9 เครือข่าย ?huayland.net? พบเงินหมุนเวียนกว่า 5 พันล้านบาท มีการเปิดให้เล่นทายผลพนันฟุตบอล หวยยี่กี หวยไทย หวยฮานอย หวยลาว และเกมออนไลน์ต่างๆ ตรวจค้นเป้าหมาย 17 จุด ในจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชุมพรและกรุงเทพมหานคร จับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องในเครือข่าย รวม 29 ราย 2) จับกุมขบวนการหลอกลงทุนคริปโตเคอร์เรนซี เชื่อมโยงเว็บพนันออนไลน์ นำเงินมาฟอกเงินและแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 23 คน ยึดทรัพย์สิน รวมทั้งสิ้น 125 ล้านบาท และ 3) การบุกทลายบริษัทบัญชีม้า โดยแปลงรูปแบบการใช้บัญชีธนาคารในชื่อนิติบุคคลทั้งบริษัท และห้างหุ้นส่วนจำกัด พบมีผู้เสียหายจำนวนทั้งสิ้น 153 ราย รวมมูลค่าความเสียหายนับพันล้านบาท สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 12 ราย
              นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 DSI  ได้ดำเนินการทลายเว็บพนันออนไลน์รายใหญ่ พบบัญชีผู้เล่นมากกว่า 100,000 คน เงินทุนหมุนเวียนกว่า 2,000 ล้านบาท เป็นต้น
          1.2 การปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย และเว็บพนันออนไลน์
               ดศ. ตร. และ DSI ได้เร่งรัดปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ในช่วงวันที่
1 - 30 เมษายน 2567 เทียบกับ การดำเนินงานช่วงที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
             (1) ดศ. ในเดือน เมษายน 2567 ปิดกั้นเว็บไซต์ ผิดกฎหมายรวม
ทุกประเภท จำนวน 16,158 รายการ เพิ่มขึ้น 18 เท่าตัว เทียบกับเดือน เมษายน 2566 ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายรวมทุกประเภท จำนวน 893 รายการ
             (2) ดศ. ในเดือน เมษายน 2567  ปิดกั้นเว็บไซต์ ประเภทหลอกลวงผิดกฎหมาย จำนวน 4,357 รายการ เพิ่มขึ้น 16.3 เท่าตัว เทียบกับเดือน เมษายน 2566 ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ ประเภทหลอกลวงผิดกฎหมาย จำนวน 268 รายการ
             (3) ดศ. ในเดือน เมษายน 2567  ปิดกั้นเว็บไซต์ประเภทพนันออนไลน์ จำนวน 6,515 รายการ เพิ่มขึ้น 38.8 เท่าตัว เทียบกับเดือน เมษายน 2566 ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ประเภทพนันออนไลน์ จำนวน 168 รายการ
             (4) ตร. ในเดือน เมษายน 2567 ปิดกั้นเว็บไซต์ ผิดกฎหมายประเภทหลอกลวง จำนวน 2,368 รายการ
          นอกจากนี้ ดศ. ได้ประสานงานกับ google facebook tiktok X และ line เพื่อช่วยปิดกั้นการใช้โซเชียลที่ผิดกฎหมาย รวมทั้ง DSI ได้ดำเนินการกับคดีที่เกี่ยวข้องกับเว็บพนันออนไลน์
               1.3 มาตรการแก้ไขปัญหาบัญชีม้า เร่งอายัดและตัดตอนการโอนเงิน
                 (1) การเร่งรัดกวาดล้างบัญชีที่ต้องสงสัยและบัญชีม้าในระบบธนาคาร
โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย และสถาบันการเงิน เร่งทำการตรวจสอบเหตุต้องสงสัยทั้ง             19 ข้อ และทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีต้องสงสัยระหว่างธนาคาร เพื่อระบุและทำการระงับบัญชีธนาคาร ซึ่งที่ผ่านมามีการระงับไปแล้ว จำนวนกว่า 300,000 บัญชี
                (2) ศูนย์ AOC 1441 ได้ระงับหรือปิดบัญชีไปแล้ว จำนวน 101,375 บัญชี
และ สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินการปิดบัญชีม้าไปแล้ว จำนวน 325,586 บัญชี รวมทั้ง ดำเนินการพิจารณากำหนดรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด กรณีบัญชีม้า
                (3) กำหนดมาตรการและเงื่อนไขการเปิดบัญชีใหม่ เพื่อป้องกันการนำไปกระทำความผิดโดยเพิ่มกระบวนการพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง Customer Due Diligence หรือ CDD โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงธนาคารต้องตรวจสอบให้เคร่งครัดมากขึ้นก่อนอนุมัติเปิดบัญชี โดยจะเริ่มภายในเดือน พฤษภาคม 2567 ซึ่งปัจจุบันบางธนาคารได้มีการดำเนินการแล้ว
                (4) การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
                             - การระงับบัญชีต้องสงสัยทันที โดยศูนย์ AOC 1441 กรณีที่ธนาคารได้รับแจ้งข้อมูลจากศูนย์ AOC 1441 และผู้เสียหายได้ลงแจ้งความออนไลน์เรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำศูนย์ AOC ช่วยดำเนินการประสานระงับบัญชี
                                       - ให้ศูนย์ AOC 1441 เป็นแพลตฟอร์มรับและแลกเปลี่ยนข้อมูลบูรณาการข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับบัญชีม้าและบัญชีต้องสงสัย ได้แก่ สำนักงาน กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ปปง. กรมสอบสวนคดีพิเศษ และ ตร. โดยทำงานแบบอัตโนมัติ (Automation) และใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) ช่วยลดเวลาและเพิ่มความแม่นยำในการระงับบัญชีม้า บัญชีต้องสงสัย รวมทั้งสนับสนุนการติดตามเส้นทางการเงินเพื่อการจับกุมและคืนผู้เสียหาย
                    1.4 มาตรการแก้ไขปัญหาซิมม้า
               (1) การกวาดล้างซิมม้าและซิมต้องสงสัย สำนักงาน กสทช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนสำหรับผู้ถือครองซิมการ์ดมากกว่า 100 ซิม โดยครบกำหนดการยืนยันตัวตนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 มีผู้มายืนยันตัวตนแล้ว จำนวน 2.57 ล้านหมายเลข และยังไม่มายืนยันตัวตน อีกจำนวน 2.5 ล้านหมายเลข ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการระงับ 2.5 ล้านหมายเลขที่ไม่ได้มายืนยันตัวตน
          (2) ผู้ให้บริการโทรคมนาคม (Operator) ดำเนินการระงับเลขหมายที่มีการโทรออกเกิน 100 ครั้ง ต่อวัน โดยระงับแล้ว 36,641 หมายเลข
              (3) ในส่วนของ ตร. และ ดศ. ได้ประสานเพื่อระงับ ซิมม้า หรือซิมต้องสงสัยไปแล้วกว่า 800,000 หมายเลข
          (4) การเข้มงวดในการเปิดใช้ซิมใหม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
การลงทะเบียนและยืนยันตัวตนของสำนักงาน กสทช. เพื่อป้องกันการนำซิมไปใช้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมาพบการปล่อยปละละเลยการเปิดใช้ซิมใหม่ จำนวนมากๆ ตลอดจนมีการสวมรอยใช้หนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ หรือขโมยบัตรประชาชนคนไทย มาเปิดซิมจำนวนมาก
          (5) การจัดทำฐานข้อมูลการส่ง SMS (Sender Name) โดยเฉพาะที่มีการส่งจำนวนมากๆ สำหรับการตรวจสอบเฝ้าระวังการส่ง SMS หลอกลวง โดย สำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างเร่งรัดดำเนินการ
          1.5 การดำเนินการเรื่องเสาโทรคมนาคม สายสัญญาณอินเทอร์เน็ต และสายโทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน
          (1) สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ กห. ตร. และ DSI เร่งดำเนินการกวาดล้าง
และจับกุมผู้กระทำความผิดในการใช้เสาโทรคมนาคม สายสัญญาณอินเทอร์เน็ตและสายโทรศัพท์
ที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน โดยเสาสัญญาณเถื่อนที่มีการกระจายสัญญาณ หรือมีการลากสายอินเทอร์เน็ตข้ามแดน มีความผิดตามกฎหมาย ดังนี้ 1) พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 จะเป็นเรื่องการมีใช้หรือตั้งสถานีที่ไม่ได้รับอนุญาต และ 2) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้กำหนดโทษผู้ที่ลักลอบประกอบกิจการในการตั้งสถานีบริเวณชายแดน
          (2) ปฏิบัติการตัดวงจรซิม-สาย-เสา สกัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยจับกุมครั้งสำคัญ ในห้วงเดือนเมษายน 2567 เช่น เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ดำเนินการจับกุมการลักลอบเดินสายอินเทอร์เน็ตลอดผ่านชายแดนไปประเทศกัมพูชา ในพื้นที่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และวันที่ 24 เมษายน 2566 สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ ตร. ลงพื้นที่ตรวจติดตามการปรับเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการบริเวณแนวชายแดนไทยกัมพูชา ตำบลบ้านแหลม อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น
          1.6 การร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยปราบปรามจับกุมชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมผิดกฎหมาย
          มท. ตร. ดศ. และหน่วยงานเกี่ยวข้อง สนับสนุนการจับกุม ปราบปราม ชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยที่มีพฤติกรรมผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการชักชวน หลอกลวงคนไทยเพื่อพาไปทำงานเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ให้ความสำคัญกับจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
          1.7 การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการปราบปรามจับกุม
กต. ร่วมกับ ดศ. และ ตร. ในการประสานขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศลาว และประเทศพม่า ในความร่วมมือช่วยเหลือการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ข้ามชาติร่วมกัน ตลอดจนการประสานให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหลอกลวงให้ไปทำงานในต่างประเทศ เพื่อไปทำงานเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์และประสานช่วยเหลือคนไทยที่โดนหลอกลวงเพื่อเดินทางกลับประเทศ
1.8 การกำกับดูแลแก้ไขปัญหาการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผิดกฎหมาย
               (1) สำนักงาน ก.ล.ต. ส่งข้อมูลผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ ดศ. ดำเนินการปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการดังกล่าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งเป็นการป้องกันมิให้มิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางในการนำทรัพย์สินจากการกระทำผิดไปฟอกเงิน อันเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์
                (2) ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ให้บริการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาตและชักชวนให้มีการใช้บริการในประเทศไทย โดยกล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ตามบทบาทหน้าที่ รวมถึงผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ เช่น กรณี Binance และ กรณีบริษัท Bybit Fintech Limited (Bybit)
                (3) ให้บริการประชาชนและผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มิใช่
ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงาน ก.ล.ต. การใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาตจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และยังมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวง (scam) รวมถึงความเสี่ยงด้านการฟอกเงินผ่านแอปพลิเคชัน ?SEC Check First?
          1.9 การบูรณาการข้อมูล
             ให้ศูนย์ AOC 1441 เป็นแพลตฟอร์มรับและแลกเปลี่ยนข้อมูลบูรณาการข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงาน กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ปปง. DSI และ ตร. โดยทำงานแบบอัตโนมัติ (Automation) และใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่อไป โดยจะมีการลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้นเดือนพฤษภาคม 2567
          1.10 มาตรการด้านกฎหมายและงานสำคัญอื่น
          (1) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สำนักงาน คปภ.) เร่งจัดทำ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าที่ขายผ่านช่องทางออนไลน์โดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. .... เพื่อแก้ปัญหา บริการเก็บเงินปลายทางสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Cash on Delivery) ช่วยขจัดปัญหาการหลอกซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าประกาศดังกล่าว จะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งประเมินว่า มาตรการนี้จะช่วยลดจำนวนคดีหลอกลวงซื้อขายออนไลน์ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
          (2) สำนักงาน คปภ. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล
          (3) สำนักงาน ปปง. ตร. ดศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาการคืนเงินจากบัญชีม้าที่อายัดได้ให้แก่ผู้เสียหาย โดยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ได้ออกประกาศรายละเอียดลงในราชกิจจานุเบกษา เปิดช่องทางให้ผู้เสียหายกรอกข้อมูลขอรับการคุ้มครองสิทธิภายใน 90 วันและคาดว่าเมื่อผ่านกระบวนการชั้นศาลแล้วจะสามารถเฉลี่ยทรัพย์ชดใช้คืนภายใน 1 ปี
          (4) สำนักงาน ก.ล.ต. สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ที่จะมีการปรับปรุงเกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการใช้ส่งเงินของคนร้าย
2. มาตรการสำคัญในระยะต่อไป
          2.1  การปราบปรามจับกุมอาชญากรรมออนไลน์ทั้งใน และต่างประเทศ
          2.2 การป้องกันปราบปรามการเปิดบัญชีม้า ซิมม้า และกวาดล้างจับกุมผู้เกี่ยวข้อง
          2.3 การแก้ปัญหาหลอกลวงซื้อขายสินค้าบริการออนไลน์ โดยเฉพาะกรณีบริการเก็บเงินปลายทางสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Cash on Delivery)
          2.4 การเร่งรัดคืนเงินและเยียวยาให้ผู้เสียหาย
          2.5 การเพิ่มความรับผิดชอบของผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและผู้ให้บริการทางการเงิน ต่อปัญหาอาชญากรรมออนไลน์
          2.6 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มกันอาชญากรรมออนไลน์แบบเจาะจงการหลอกลงทุน การหลอกหารายได้ และการหลอกจากแก๊งคอลเซนเตอร์
          2.7 การเร่งรัดการแก้กฎหมาย
                                                       ในภาพรวมของการดำเนินงานอย่างบูรณาการ เร่งรัดจับกุมคนร้าย กวาดล้างบัญชีม้าและซิมม้า เร่งการอายัดบัญชีธนาคาร ตัดเส้นทางการเงิน การปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายและเว็บพนันออนไลน์ได้เป็นจำนวนที่สูงขึ้นมาก ตลอดจนการร่วมปรับปรุงการทำงาน และแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางกฎระเบียบ กฎหมาย ประเมินว่า จะช่วยส่งผลให้จำนวนผู้เสียหายและมูลค่าความเสียหายจากคดีออนไลน์ลดลงในระยะต่อไป เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม ช่วยลดปัญหาให้ประชาชนอย่างชัดเจน



17. เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 และวันที่ 9 เมษายน 2567 [เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (ข้อเสนอแนะฯ)] ตามที่คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการนโยบายฯ รายงานว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2567) รับทราบข้อเสนอแนะฯ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายฯ รับข้อเสนอแนะฯ ไปพิจารณาดำเนินการ ต่อมาคณะกรรมการนโยบายฯ ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (23 เมษายน 2567) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 เมษายน 2567) รับทราบผลการรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ และเห็นชอบในหลักการกรอบหลักการโครงการฯ โดยในครั้งนี้คณะกรรมการนโยบายฯ ได้รายงานผลการพิจารณาตามข้อเสนอแนะฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งมีความสอดคล้องกับกรอบหลักการโครงการฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้ด้วยแล้ว สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เช่น          ผลการดำเนินการ/การดำเนินการต่อไป/ความเห็นของคณะกรรมการนโยบายฯ ตามกรอบหลักการโครงการฯ
(1) การศึกษา วิเคราะห์ การดำเนินโครงการฯ เพื่อไม่ให้ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ เอื่อประโยชน์แก่บุคคลรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพมากกว่าผู้ประกอบการรายย่อย          คณะกรรมการนโยบายฯ ได้เห็นชอบประเภทร้านค้าที่สามารถรับการใช้จ่ายจากประชาชนต้องเป็นร้านค้าขนาดเล็กรวมถึงร้านค้าสะดวกซื้อขนาดเล็ก โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่นและมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณากำหนดรายละเอียดของประเภทร้านค้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ ตลอดจนกำหนดการใช้จ่ายในโครงการฯ โดยรอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก และตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป เป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขร้านค้า
(2) ในการดำเนินโครงการฯ ควรพิจารณาประเด็นความเสี่ยงด้านกฎหมายอย่างรอบคอบ เช่น มาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (การตราเป็นพระราชกำหนด) มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (การกู้เงินนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ)           คณะกรรมการนโยบายฯ ได้เห็นชอบแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการฯ ประกอบด้วย เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 การดำเนินโครงการฯ ผ่านหน่วยงานของรัฐ และการบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยไม่ได้ตรากฎหมายเพื่อกู้เงินมาใช้ในการดำเนินโครงการฯ ทั้งนี้ หากมีประเด็นข้อกฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน จะดำเนินการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง รอบคอบ และชัดเจนต่อไป
(3) การป้องกันการทุจริตในการดำเนินโครงการฯ           นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการนโยบายฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยมีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานอนุกรรมการ และมีผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือผู้แทน ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจหรือผู้แทน และมีผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางหรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการร่วม ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจที่สำคัญ เช่น (1) กำหนดแนวทางการตรวจสอบ พิจารณา และวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ (2) ตรวจสอบกรณีมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการตามโครงการฯ (3) เสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ต่อคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปด้วยความโปร่งใส และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
(4) หากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องการช่วยเหลือประชาชน รัฐบาลควรช่วยเหลือกลุ่มประชาชนที่มีฐานะยากจน เปราะบาง หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เท่านั้น           คณะกรรมการนโยบายฯ ได้เห็นชอบกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่จะเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่สำคัญของโครงการฯ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ โดยเป็นกลุ่มประชากรที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน สัญชาติไทย ณ เดือนที่ลงทะเบียนมีอายุเกิน 16 ปี ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี และเป็นผู้มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
                    อย่างไรก็ตาม โดยที่ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในหลายประเด็นมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากำหนดรายละเอียดโครงการฯ เช่น การประเมินความเสี่ยงแนวทางหรือมาตรการในการบริหารความเสี่ยง และการป้องกันการทุจริตในการดำเนินโครงการฯ การพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสม ตลอดจนระยะเวลาและงบประมาณที่ต้องใช้ในการพัฒนาระบบ รวมถึงการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้กับโครงการฯ ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการฯ จะมีการประชุมเพื่อพิจารณากำหนดรายละเอียดโครงการฯ ให้ชัดเจนและครบถ้วน โดยจะนำความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เสนอมาประกอบการพิจารณาด้วยเพื่อให้การดำเนินโครงการฯ มีความโปร่งใส คุ้มค่า เกิดประสิทธิ

ต่างประเทศ
18. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 13
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 13 (แถลงการณ์ร่วมฯ) (Joint Statement of The Thirteenth ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ขอให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน มีหนังสือแจ้งผลการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและรับรองแล้วตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า
                    1. ระหว่างวันที่ 20 - 22 พฤศจิกายน 2566 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ มีการจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 13 (The Thirteenth ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: The 13th  AMRDPE)1 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แนวคิด ?การเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยใช้ชุมชนเป็นฐานรากและการคุ้มครองทางสังคมเพื่อการบรรเทาความยากจน? โดยมีสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นประธานการประชุมฯ
                    2. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนของประเทศไทยเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม The 13th  AMRDPE เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งในการประชุมฯ มีวาระเพื่อพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1  ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ทบทวน ประสานนโยบายและโครงการด้านการพัฒนาชนบท การบรรเทาความยากจนและการคุ้มครองทางสังคม รวมถึงด้านสุขภาพ
                              2.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เน้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการคุ้มครองทางสังคม โดยมุ่งเป้าที่การพัฒนาคนยากจนและกลุ่มเปราะบาง
                              2.3 สนับสนุนเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียน โดยนำรูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานรากมาปรับใช้ในภูมิภาค เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างหมู่บ้านและเปิดช่องทางให้หมู่บ้านสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาสู่การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการขจัดความยากจนในอาเซียน
                              2.4 เสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างมาตรการนโยบายด้านการพัฒนาชนบท การบรรเทาความยากจนและการคุ้มครองทางสังคม รวมทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนา    ที่ยั่งยืน
                              2.5 สร้างความเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งกับประเทศอาเซียนบวกสาม ประเทศคู่เจรจา และหุ้นส่วนอาเซียนอื่น ๆ เพื่อขยายขอบเขตการแบ่งปันความรู้และสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาชุมชน รวมถึงการระดมทรัพยากรต่าง ๆ
                              2.6 รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับชุมชน โดยเฉพาะคนยากจนและ กลุ่มเปราะบางให้ได้รับการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                              2.7 ยืนยันคำมั่นสัญญาในการเข้ามามีส่วนร่วมของกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งผู้หญิงและ            คนพิการ เพื่อชับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างครอบคลุมและยืดหยุ่น
                              2. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และระหว่างสามเสาประชาคมอาญเซียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพันธมิตรของอาเชียน ในการขับเคลื่อนแผนฏิบัติการอาเซียน และแผนแม่บทอาเซียน                               ด้านการพัฒนาชนบท รวมถึงกรอบงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1การประชุม The 13th  AMROPE เป็นการประชุมภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและ                ขจัดความยากจนซึ่งการประชุมจัดขึ้นเพื่อกำหนดกรอบแผนงานความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อขจัดความยากจน รวมทั้งการออกแถลงการณ์หรือปฏิญญาระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน                  โดยประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันดำรงตำแหน่งประธานและเจ้าภาพจัดการประชุมทุก ๆ 2 ปี

17. เรื่อง ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons ? TPNW) ครั้งที่ 1 (Second Meeting of States Parties ? 2MSP)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ ดังนี้
          1. ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์1 (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons ? TPNW) ครั้งที่ 2 (Second Meeting of States Parties: 2MSP)                       (ร่างปฏิญญาฯ) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้คณะผู้แทนไทยที่เดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 ดำเนินการได้ตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
          2. ให้เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กในฐานะหัวหน้า คณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 หรือผู้แทน ร่วมรับรองปฏิญญาฯ ตามข้อ 1
เรื่องเดิม
คณะรัฐมนตรีมีมติ (12 กันยายน 2560) เห็นชอบให้ประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อห้ามการพัฒนา ทดลอง ใช้ ผลิต สร้าง หรือจัดหาอาวุธนิวเคลียร์มาด้วยประการอื่นใด ครอบครอง หรือสะสมอาวุธนิวเคลียร์หรือระเบิดนิวเคลียร์อื่น ๆ และมอบหมายให้ สมช. เป็นหน่วยประสานงานหลักระดับชาติของการดำเนินการตามพันธกรณีของสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ โดยประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันในสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่  22 มกราคม 2564
สาระสำคัญ
สมช. รายงานว่า
สหรัฐอเมริกาได้เป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 ระหว่าง                วันที่ 27 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2566 โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าว ได้เสนอให้รัฐภาคีที่เข้าร่วมการประชุมร่วมรับรองเอกสารจำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างปฏิญญาฯ เพื่อเป็นเอกสารการประชุมดังกล่าว                     โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
จุดมุ่งหมาย          - เพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้หมดสิ้นไปและอนุวัติการตามสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการตามแนวทางของแผนปฏิบัติการเวียนนา (Vienna Action Plan)                ซึ่งได้รับการรับรองในระหว่างการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ครั้งที่ 1 เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเป็นโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ของสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์
ประเด็น         ที่ให้ความสำคัญ          - แสดงความกังวลต่อผลกระทบด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรง           ต่อการอยู่รอดของมนุษย์ อาทิ ความสูญเสียชีวิตและการพลัดถิ่น ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวภาวะเศรษฐกิจสังคม ความมั่นคงทางอาหาร และสุขภาพของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต
- อาวุธนิวเคลียร์ถือเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ และแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงปลอดภัยของประชาคมระหว่างประเทศที่ลดน้อยถอยลง โดยวิธีเดียวที่จะเป็นการป้องกันมิให้มีการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในอนาคตคือการกำจัดอาวุธชนิดดังกล่าวให้หมดไป
- การขู่หรือการใช้อาวุธนิวเคลียร์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎบัตรของสหประชาชาติ และยังเป็นการบ่อนทำลายความสงบสุขและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยรัฐภาคีประฌามการกระทำดังกล่าวไม่ว่าท่าทีของคำขู่ดังกล่าวนั้นจะเป็นไปอย่างชัดเจนหรือไม่
- ปฏิเสธแนวคิด?รัฐที่มีความรับผิดชอบต่ออาวุธนิวเคลียร์ (Responsible Nuclear States)?           โดยเห็นว่าการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของแต่ละรัฐที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของภัยคุกคามที่อาจก่อให้เกิด  การทำลายล้างสูง (Mass Destruction) และการลอยตัวอยู่เหนือผลประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสูงสุดของมวลมนุษยชาติถือเป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืนหรือยอมรับได้
การขับเคลื่อน
ที่เกี่ยวข้อง          -          จัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการดำเนินการตามสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์อย่างมีประสิทธิผลผ่านข้อเสนอแนะทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิคที่เป็นปัจจุบันที่สุด ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกระบวนการการพิจารณาและการตัดสินใจของรัฐภาคี
-          ปฏิบัติตามหน้าที่และข้อตกลงภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty: NPT) และสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ อาทิ สัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty: CTBT) และสนธิสัญญาที่จัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Weapons Free Zone)


1 สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่เกี่ยวกับการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย โดยการห้ามพัฒนา ทดลอง ผลิต จัดเก็บในคลัง ติดตั้ง ถ่ายโอน ใช้ หรือขู่ที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงสนับสนุนหรือส่งเสริมกิจกรรมใด ๆ ข้างต้น ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดก็ตาม ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีรัฐภาคีจำนวน 69 แห่งที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญา TPNW แล้ว จากจำนวนรัฐภาคี 93 แห่งที่ได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ อาทิ ไทย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ออสเตรีย เม็กซิโก โบลิเวีย แอฟริกาใต้ และนิวซีแลนด์

18. เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) ของ                             รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และคณะผู้บริหารระดับสูง                             ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 17 ของการส่งออกทั้งหมด และเป็น 1 ใน 10 ประเทศเป้าหมายเชิงรุกของรัฐบาลที่ต้องการจะสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าตามนโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เดินทางเยือนสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 17-22 มกราคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดและผลักดันให้เกิดการนำเข้าสินค้าไทย                 ในสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าข้าวและอาหารไทยรวมถึงเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายพันธมิตรและความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน ตลอดจนแสวงหาผู้นำเข้ารายใหม่ในตลาดสหรัฐฯ ภารกิจหลักในการเดินทางครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 ภารกิจ ดังนี้
                              2.1  การสร้างเครือข่ายพันธมิตรการค้าและการลงทุน ได้แก่ (1) ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างภาคเอกชนในการซื้อขายสินค้าข้าวและอาหารไทย ตามนโยบายรัฐบาล                    ที่ พณ. เร่งดำเนินการ เพื่อส่งเสริมและผลักดันสินค้าไทยสู่ตลาดโลก ซึ่งจะสร้างรายได้เข้าประเทศรวม 1,435 ล้านบาท ภายใน 1 ปี และ (2) หารือผู้นำเข้ารายสำคัญและเยี่ยมชมบริษัทนำเข้า กระจายสินค้า ค้าส่งสินค้าเกษตรแปรรูปและอาหารไทยรายใหญ่ในสหรัฐฯ โดยมีประเด็นหารือสำคัญ คือ การเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากผู้ประกอบการไทย การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการสินค้าเกษตรและการกระจายสินค้า เพื่อนำไปปรับใช้กับสินค้าเกษตร ช่วยเหลือเกษตรกรในการวางแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตรล่วงหน้าตามนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งยังได้หารือถึงแนวทางการขยายโอกาสการส่งออกสินค้าอาหารไทย
                              2.2 การส่งเสริมภาพลักษณ์ซอฟท์พาวเวอร์ผ่านอาหารไทย ได้แก่ (1) การมอบประกาศนียบัตรตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ให้แก่ร้านอาหารไทยในฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ รวม 9 ร้าน (2) ร่วมเป็นสักขีพยานการเปิดตัวสินค้าอาหารไทยชนิดใหม่ของบริษัทเอกชนไทยในสหรัฐฯ เพื่อวางจำหน่ายในห้าง Costco ซึ่งมีมากกว่า 600 สาขา ทั่วประเทศ (3) เยี่ยมชมร้านอาหารไทย ร้าน ฟาร์มเฮ้าส์ คิดเช่น ไทย คูซีน (Farmhouse
Kitchen Thai Cuisine) ที่ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT และพบกับอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งมาทำคอนเทนต์เกี่ยวกับอาหารไทย เพื่อประชาสัมพันธ์อาหารและร้านอาหารไทยโดยเจาะกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ และ (4) พบปะผู้ประกอบร้านอาหารไทยในตลาดนัดกลางคืน ?สยาม ไนท์ มาร์เก็ต?  (Siam Night Market) ซึ่งเป็นตลาตนัดกลางคืนที่กำลังได้รับความนิยมในนครลอสแอนเจลิส เป็นแหล่งรวมอาหารไทยแนวสตรีทฟู้ด โดยมีคนไทยมาตั้งร้านจำหน่ายอาหารไทยให้คนในพื้นที่ เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์อาหารไทยให้แก่คนรุ่นใหม่ในสหรัฐฯ
                              2.3 การผลักดันและส่งเสริมการขายสินค้าไทย ร่วมกับห้างค้าปลีกสหรัฐฯ และบริษัทผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายข้าวหอมมะลิไทยเพื่อเพิ่มและขยายโอกาสในการส่งออกสินค้าข้าวไทย ซึ่งในช่วงการจัดกิจกรรม ตลอด 1 สัปดาห์ มูลค่าการขายเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติร้อยละ 20 ทั้งนี้ คาดการณ์มูลค่าการนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยทั้งปีประมาณ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
                    3. ผลจากการเดินทางเยือนในครั้งนี้ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำเข้าสหรัฐฯ ว่าไทยได้ให้ความสำคัญกับตลาดสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ถึงภาพลักษณ์สินค้าข้าวไทย และอาหารไทย คาดว่าจะผลักดันและส่งเสริมการส่งออกสินค้าข้าวและอาหารไทย เข้าตลาดสหรัฐฯ มูลค่าไม่ต่ำกว่า  1,750 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งขยายการค้าและการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

19. เรื่อง ผลการเดินทางเข้าร่วมการประชุม Global Forum for Food and Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 16 และการประชุมระดับรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน ครั้งที่ 16 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการเดินทางเข้าร่วมการประชุม Global Forum for Food and Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 16 และการประชุมระดับรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน ครั้งที่ 16 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนี) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุม GFFA ครั้งที่ 161 ระหว่างวันที่ 17 ? 22 มกราคม 2567 ณ กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี โดยแบ่งเป็น 2 การประชุม ดังนี้
                              1.1 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials? Meeting : SOM) ซึ่งมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์) เข้าร่วมประชุม เพื่อจัดทำร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีฉบับสุดท้าย (Final Communique) ซึ่งจะใช้เป็นเอกสารสำหรับรัฐมนตรีเกษตรพิจารณาและรับรองในการประชุมระดับรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน ครั้งที่ 16 ทั้งนี้ ได้มีการปรับแก้และเพิ่มเติมข้อความให้สอดคล้องกับนโยบายของแต่ละประเทศและสามารถเห็นชอบในประเด็นสำคัญร่วมกัน
                              1.2 การประชุมระดับรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน ครั้งที่ 16 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ ?ระบบอาหารเพื่ออนาคต : รวมพลังเพื่อโลกที่ปราศจากความหิวโหย? (Food Systems for Our Future : Joining Forces for a Zero Hunger World) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมการประชุมและร่วมรับรองเอกสารแถลงการณ์2 (Communique) โดยไม่การลงนาม
                    2. นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ เช่น                      (1) เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเกษตรและอาหารระดับนานาชาติ (International Green Week 2024 : IGW 2024) โดยเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการจัดแสดงสินค้าเกษตรและอาหารไทย ภายใต้หัวข้อ ? Local To Global? จัดโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ภายในงานมีร้านค้าจากประเทศไทยเข้าร่วมจัดแสดงสินค้าเกษตรและอาหารไทย เช่น กล้วยอบกรอบ มะพร้าวอบแห้ง ชาสมุนไพร เครื่องแกงกะหรี่แช่แข็ง และเส้นพาสต้าจากข้าวน้ำตาลต่ำ เป็นต้น (2) เข้าชม Innovation Forum ซึ่งมีบริษัท Start Up ของไทยร่วมนำเสอนนวัตกรรมการปลูกผักในระบบโรงเรือนแนวตั้งที่มีการควบคุมมาตรฐานในทุกขั้นตอน (3) หารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีประเทศต่าง ๆ  เช่น หารือร่วมกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (นาย Harvick Hansnul Qalb) โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องผลักดันให้เกิดความร่วมมือด้านการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกัน โดยเฉพาะสินค้าข้าว 2 ล้านตัน สืบเนื่องจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีของไทยและประธานาธิบดีอินโดนีเซียในระหว่างการประชุม ASEAN ? Japan เมื่อปลายปีที่ผ่านมาและ (4) ศึกษาดูงานตลาดสินค้าเกษตรและอาหารไทย ณ ร้านค้า Vinh-Loi กรุงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นร้านค้าจำหน่ายสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องอุปโภคไทยรายใหญ่ในเยอรมนี โดย Mr.Chieu Duc Truong ผู้บริหารสูงสุด ได้นำเสนอข้อมูลว่า สินค้าผัก ผลไม้สดและแช่แข็งของไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากผู้บริโภคท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกะเพรา โหระพา มะพร้าวน้ำหอม มะม่วงน้ำดอกไม้ ลำไย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรของไทยยังประสบปัญหา อาทิ สารเคมีตกค้าง คุณภาพเนื้อลำไยไม่สม่ำเสมอ และการแข่งขันสูงขึ้นในตลาดจากค่าระวางขนส่งของไทยที่สูงกว่าคู่แข่งร้อยละ 60 ? 70 โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญและได้มีความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปแล้ว ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลักดันการขยายตลาดสินค้าเกษตรและอาหารไทยในสหภาพยุโรปให้มากขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ  ให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า
                    3. การเดินทางเข้าร่วมการประชุม GFFA ครั้งที่ 16 ทำให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างพันธมิตรเพื่อพัฒนาสู่ความมั่นคงทางอาหารและยุติความหิวโหย นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสในการรับทราบข้อมูลปฐมภูมิจากผู้นำเข้าท้องถิ่นเพื่อใช้ประกอบ การจัดทำนโยบายพัฒนาและแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า อันจะส่งผลให้สามารถเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทยที่ส่งออกไปยังเยอรมนี รวมถึงตลาดในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
1 การประชุม GFFA ครั้งที่ 16 มีวัตถุประสงค์และความมุ่งหวังร่วมกันเพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของภาคการเกษตรและความมุ่งมั่นที่จะใช้การเกษตรที่มีระบบการผลิตที่ยั่งยืน ช่วยให้ประชากรทุกกลุ่มเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีคุณภาพรวมถึงการลดอาหารเหลือและขยะอาหาร เพื่อแก้ไขปัญหาความหิวโหย สร้างความมั่นคงทางอาหารและระบบโภชนาการที่ดีตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ในปี 2030
2 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (16 มกราคม 2567) เห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (2024 Zero Draft Communique) ในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน ครั้งที่ 16 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ด้วยการดำเนินงานใน 4 ประเด็น ดังนี้ (1) สนับสนุนการผลิตอย่างยั่งยืน (2) ส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน (3) การลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และ (4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มคนเปาะบาง

21. เรื่อง ขออนุมัติให้ความเห็นชอบต่อคณะทำงานฝ่ายไทยของคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายไทยของคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า เนื่องจากการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ถือเป็นความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป แม้จะไม่มีการลงนามในเอกสารบันทึกความเข้าใจแต่เป็นนโยบายในระดับประเทศ และเกิดจากความเห็นชอบร่วมกันของทั้งสองฝ่ายของรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรป ตั้งแต่ปี 2562 และมีการประชุมร่วมกันอย่างต่อเนื่องตลอดมา ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการประมง IUU ร่วมกับสหภาพยุโรปอันจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศและการค้าสินค้าประมงในตลาดโลก จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานฝ่ายไทยของคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมชุดใหม่ทดแทนชุดเดิมที่สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 เพื่อเป็นกลไกในการทำความร่วมมือระดับปฏิบัติการกับสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศในการต่อต้านการประมง IUU ผ่านมาตรการทางการค้าของสหภาพยุโรปในการป้องกันการนำเข้าสินค้าประมง IUU เข้าสู่ตลาด
                    สาระสำคัญ
                    1. การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรปในการต่อต้านการทำประมง IUU ผ่านการจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายไทยของคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดยมีข้อกำหนดคณะทำงานร่วมฯ ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้เดิมเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน โดยจะไม่มีการลงนามในเอกสารสัญญาหรือบันทึกความเข้าใจในความร่วมมือดังกล่าว
                    2. การจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายไทยของคณะทำงานร่วมฯ ที่กรมประมงเสนอจะเป็นคณะทำงานด้านเทคนิคในระดับกรม โดยมีอธิบดีกรมประมงเป็นประธานเนื่องด้วยสอดคล้องกับประเด็นการต่อต้านป้องกันยับยั้งการทำประมง IUU ที่เป็นการกิจหลักของกรมประมง และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงานได้แก่ กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมศุลกากร กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด กรมยุโรป กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และมีผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ กรมประมงเป็นคณะทำงานและเลขานุการ ทั้งนี้ คณะทำงานฝ่ายไทยของคณะทำงานร่วมฯ มีอำนาจหน้าที่หลัก คือ การกำหนดนโยบาย ประเด็น ท่าที และเจรจาหารือความร่วมมือกับคณะทำงานฝ่ายคณะกรรมาธิการยุโรป ในการต่อต้านการทำประมง IUU ภายใต้กรอบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายประมง การควบคุม ติดตาม และเฝ้าระวังการทำการประมง (MCS) การตรวจสอบย้อนกลับ และ/หรือประเด็นที่คณะทำงานทั้งสองฝ่ายจะตกลงหารือร่วมกัน การกำหนดองค์ประกอบผู้แทนคณะทำงานฝ่ายไทยของคณะทำงานร่วมฯ ในการเจรจากับคณะทำงานของคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ในแต่ละครั้งของการเจรจา ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับประเด็นการเจรจา การกำกับดูแล ให้ความเห็นชอบ ประสานงาน และดำเนินการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปฯ เป็นต้น

23. เรื่อง ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons - TPNW) ครั้งที่ 2  (Second Meeting of States Parties - 2MSP)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ ดังนี้
                    1. ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์1 (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons - TPNW) ครั้งที่ 2  (Second Meeting of States Parties: 2MSP)                             (ร่างปฏิญญาฯ) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้คณะผู้แหนไทยที่เดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 ดำเนินการได้ตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    2. ให้เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 หรือผู้แทน ร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ ตามข้อ 1
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สมช. รายงานว่า
                    สหรัฐอเมริกาได้เป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2566 โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าว ได้เสนอให้รัฐภาคีที่เข้าร่วมการประชุมร่วมรับรองเอกสาร จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างปฏิญญาฯ เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว โดย                               ร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ สรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ          รายละเอียด
จุดมุ่งหมาย          ? เพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้หมดสิ้นไปและอนุวัติการตามสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการตามแนวทางของแผนปฏิบัติการเวียนนา (Vienna Action Plan)  ซึ่งได้รับการรับรองในระหว่างการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ครั้งที่ 1 เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเป็นโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ของสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์
ประเด็นที่ให้ความสำคัญ          ? แสดงความกังวลต่อผลกระทบด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากอาวุธนิวเคลียร์                   ซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการอยู่รอดของมนุษย์
? อาวุธนิวเคลียร์ถือเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ
? การชูหรือการใช้อาวุธนิวเคลียร์ไม่ว่จะเป็นรูปแบบใดถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรของสหประชาชาติ
? ปฏิเสธแนวคิด ?รัฐที่มีความรับผิดชอบต่ออาวุธนิวเคลียร์ (Responsible Nuclear States)? โดยเห็นว่าการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของแต่ละรัฐที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของภัยคุกคามที่อาจก่อให้เกิดการทำลายล้างสูง (Mass Destruction) และการลอยตัวอยู่เหนือผลประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสูงสุดของมวลมนุษยชาติถือเป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืนหรือยอมรับได้
การขับเคลื่อนที่เกี่ยวข้อง          ? จัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการดำเนินการตามสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเลียร์อย่างมีประสิทธิผลผ่านข้อเสนอแนะทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิคที่เป็นปัจจุบันที่สุด ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกระบวนการการพิจารณาและการตัดสินใจของรัฐภาคี
? ปฏิบัติตามหน้าที่และข้อตกลงภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty: NPT) และสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ อาทิ สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty: CTBT) และสนธิสัญญาที่จัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์
(Nuclear Weapons Free Zones)
?__________
1สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกเกี่ยวกับการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย โดยการห้ามพัฒนา ทดลอง ผลิต จัดเก็บในคลัง ติดตั้ง ถ่ายโอน ใช้ หรือขู่ที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงสนับสนุนหรือส่งเสริมกิจกรรมใด ๆ ข้างต้น ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดก็ตาม ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีรัฐภาคีจำนวน 69 แห่ง ที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญา TPNW แล้ว จากจำนวนรัฐภาคีทั้งหมด 93 แห่งที่ได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ อาทิ ไทย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ออสเตรีย เม็กซิโก โบลิเวีย แอฟริกาใต้ และนิวซีแลนด์

24. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 19 (The nineteenth session of the United Nations Forum on Forests - UNFF19)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูงในการประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 19 (The nineteenth session of the United Nations Forum on Forests -                 UNFF19) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขถ้อยคำในร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูงในส่วนที่ไม่กระทบต่อสาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้ง มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ (United Nations Secretariat) มีหนังสือแจ้งกำหนดการการประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 19 (The nineteenth session of the United Nations Forum on Forests - UNFF19) ระหว่างวันที่ 6-10 พฤษภาคม 2567 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในรูปแบบพบปะกัน (in-person) และกำหนดให้มีการประชุมผู้บริหารระดับสูง (High-Level  Segment - HLS) ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 โดยผลัพธ์ของการประชุมฯ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูงในการประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 19 (Declaration of the High-Level Segment - HLS of the 19th session of the United Nations Forum on Forests)
                    2. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 19 (The nineteenth session of the United Nations Forum on Forests -UNFF19) ประกอบด้วย เอกสารจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างข้อมติรวม (Omnibus Resolution) และ (2) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูง (High-Level Segment) ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูงดังกล่าวเป็นเอกสารที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของภาคการป่าไม้ต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้ยังได้ขอความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อยับยั้งการสูญเสียและการเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่า โดยการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์องค์การสหประชาชาติด้านป่าไม้ พ.ศ. 2560-2573พร้อมทั้งหารือแนวทางร่วมกันเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ภาคป่าไม้ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศความหลากหลายทางชีวภาพ และการแปรสภาพเป็นทะเลทราย รวมไปถึงภัยคุกคามอื่น ๆ ต่อป่าไม้ เช่น ไฟป่า โรคและแมลง น้ำท่วม ความแห้งแล้ง และมลพิษ เป็นต้น ที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคนที่ครอบคลุมทุกเพศและทุกวัย  วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการเงินภาคป่าไม้ โดยคำนึงถึงองค์ความรู้ท้องถิ่นในการจัดการระบบนิเวศป่าไม้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมการใช้ผลิตผลป่าไม้ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีและการสนับสนุนทางด้านการเงินให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้านป่าไม้ อันจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ มีการปรับปรุงระบบติดตาม ประเมินผล รายงานและระบบสารสนเทศด้านป่าไม้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดการด้านป่าไม้  ส่งเสริมการลงทุนและนวัตกรรมการเงินด้านป่าไม้ตามความสมัครใจ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการบังคับใชักฎหมายป่าไม้และ                  ธรรมาภิบาล ตลอดจนการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องไปสู่สาธารณะ รวมไปถึงการสะท้อนการดำเนินงานของภาคีสมาชิกให้กับผู้บริหารระดับสูงทราบ ตลอดจนความเชื่อมโยงกับพันธกรณีระหว่างประเทศ               อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคป่าไม้
                    3. องค์ประกอบคณะผู้แทนไทย ในการประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 19                         (The nineteenth session of the United Nations Forum on Forests - UNFF19) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    การให้ความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ  สมัยที่ 19 (The nineteenth session of the United Nations Forum on Forests - UNFF 19) มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของประเทศไทย โดยถือเป็นการย้ำเจตจำนงและความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการมีส่วนร่วมกับสมาชิกสหประราชาติ ในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินความร่วมมือด้านการป่าไม้กับภาคีสมาชิกต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยจะได้มีโอกาสในการชี้แจงยุทธศาสตร์และนโยบายด้านป่าไม้ รวมถึงผลการดำเนินงานด้านการป่าไม้ของประเทศไทยให้สมาชิกภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติได้รับทราบ รวมทั้งหารือร่วมกัน เพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ รวมถึงการรับการสนับสนุนในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน เช่น การป้องกันรักษาป่า การจัดการไฟป่า การฟื้นฟูป่าไม้ การจัดการป่าชุมชน การส่งเสริมเศรษฐกิจภาคป่าไม้ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นต้น

25. เรื่อง การขยายระยะเวลาการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติอินเดียและไต้หวัน เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติในหลักการในการกำหนดให้สาธารณรัฐอินเดียและไต้หวันเป็นรายชื่อประเทศ/ดินแดนในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดให้ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารแทนหนังสือเดินทางของสาธารณรัฐอินเดีย/ไต้หวัน ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน เป็นกรณีพิเศษ โดยมีเงื่อนไขให้มีผลบังคับใช้ชั่วคราวเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่                    11 พฤษภาคม - 11 พฤศจิกายน 2567 (6 เดือน) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมิติเศรษฐกิจและการต่างประเทศกับสาธารณรัฐอินเดียและไต้หวันในภาพรวม โดยเฉพาะด้านความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย
                    2. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดให้ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของสาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน เป็นกรณีพิเศษ และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดให้ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของไต้หวัน ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน เป็นกรณีพิเศษ รวม 2 ฉบับ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกระทรวงมหาดไทยดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประกาศหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    3. มอบหมายให้หน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกำกับติดตามและประเมินผลกระทบจากการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ ทั้งนี้ หากมีผลกระทบต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติ หน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กต. เสนอว่า
                    1. ปัจจุบันผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางชาวอินเดียและไต้หวันสามารถรับการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (รหัส TR) จากสถานเอกอัครราชทูตสถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเป ซึ่งสามารถพำนักในราชอาณาจักรได้ 60 วัน และขอขยายระยะเวลาพำนักกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้อีก 30 วัน รวมทั้งสามารถขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On Arrival: VOA) โดยสามารถพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นเวลา 15 วัน
                    2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (31 ตุลาคม 2566) เห็นชอบการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติอินเดียและไต้หวัน และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 - วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ตามที่ กต. เสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดำเนินการโดยแยกประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็น 2 ฉบับ เนื่องจากฐานอำนาจในการดำเนินการต่างกัน ต่อมามีประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 2 ฉบับ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 - วันที่ 10 พฤษภาคม 2567
                    3. จากข้อมูลสถิติของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในช่วงเดือนมกราคม 2567 มีนักท่องเที่ยวอินเดียและไต้หวันเยือนไทยจำนวน 162,831 คน และ 83,376 คน ตามลำดับ มากกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 57.60 และ 40.64 ตามลำดับ และในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวอินเดียรวมจำนวน 1.62 ล้านคน และนักท่องเที่ยวไต้หวันจำนวน 724,594 คน โดยนักท่องเที่ยวอินเดียนับเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวอันดับ 4 ของประเทศไทย รองจากมาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐเกาหลี ขณะที่นักท่องเที่ยวไต้หวันนับเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวอันดับ 9 ในกลุ่มนักท่องเที่ยวเอเชียและแปซิฟิก รองจากมาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง และปัจจุบันมีประเทศหรือดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และสามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยได้เป็นเวลาไม่เกิน 30 วัน
                    4. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติอินเดียและไต้หวัน และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน เป็นกรณีพิเศษ เพิ่มเติมอีก 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2567 จนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 (เดิมระยะเวลาจะสิ้นสุดลงในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567)
                    5. ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 พิจารณาแล้วไม่ขัดข้องต่อการขยายมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางอินเดียและไต้หวันเพื่อการท่องเที่ยวออกไปอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน และเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 กต. ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ททท. ที่ประชุมฯ รับทราบนโยบายของรัฐบาลในการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราให้กับชาวต่างชาติ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ส่งเสริมการค้าการลงทุน และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และไม่ขัดข้องต่อการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติอินเดียและไต้หวัน ให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2567 - วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567
                    6. กต. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการสูญเสียรายได้ จากการยกเว้นการตรวจลงตรา ดังนี้
                              6.1 การยกเว้นการตรวจลงตราให้กับนักท่องเที่ยวชาวอินเดียจะสูญเสียรายได้แผ่นดินประมาณ 1,609 ล้านบาท จากนักท่องเที่ยวชาวอินเดียรวมประมาณ 848,200 คน ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราแบบ Visa on Arrival (VOA) ประมาณ 749,100 คน (1,498 ล้านบาท) ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (TR) สำหรับเข้า - ออกหนึ่งครั้ง (single entry) 98,600 คน (108.4 ล้านบาท) และค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (TR) สำหรับเข้า - ออกหลายครั้ง (multiple entries) 500 คน (2.6 ล้านบาท)
                              6.2 การยกเว้นการตรวจลงตราให้กับนักท่องเที่ยวชาวไต้หวันจะสูญเสียรายได้แผ่นดินประมาณ 549 ล้านบาท จากนักท่องเที่ยวชาวไต้หวันรวมประมาณ 357,073 คน ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราแบบ Visa on Arrival (VOA) ประมาณ 32,335 คน (65 ล้านบาท) ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (TR) สำหรับเข้า - ออกหนึ่งครั้ง (single entry) 356,967 คน (484 ล้านบาท) และค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (TR) สำหรับเข้า - ออกหลายครั้ง (multiple entries) 106 คน                          (7 แสนบาท)




แต่งตั้ง
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                    1. นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    2. นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ  จากฐานชีวภาพ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ รวม 7 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
                    1. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส                                                  ประธานกรรมการ
                    2. รองศาสตราจารย์สิรี ชัยเสรี ด้านการบริหารเศรษฐกิจการเกษตร  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    3. นางรวีวรรณ ภูริเดช ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    4. ศาสตราจารย์ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    5. นางรัตนา เล็งศิริวัฒน์ ด้านการเงิน                                           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    6. นายสุเมธ เหล่าโมราพร ด้านบริหารธุรกิจและการตลาด                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    7. นายทศพล ทังสุบุตร ด้านนิติศาสตร์                                        กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

29. เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2516 (เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าว และคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2518 (เรื่อง แต่งตั้งกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489)
                    2. แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พุทธศักราช 2489 ชุดใหม่ จำนวน 10 ตำแหน่ง ดังนี้
                    1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์                    ประธานกรรมการ
                    2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์                    รองประธานกรรมการ
                    3. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทน                    กรรมการ
                    4. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทน          กรรมการ
                    5. อธิบดีกรมการค้าภายใน หรือผู้แทน                    กรรมการ
                    6. อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ หรือผู้แทน                    กรรมการ
                    7. ผู้แทนกรมการปกครอง                                        กรรมการ
                    8. ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ                              กรรมการ
                    9. ผู้แทนกรมการข้าว                                        กรรมการ
                    10. ผู้อำนวยการกองที่รับผิดชอบสินค้าข้าว กรมการค้าภายใน   กรรมการและเลขานุการ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น จำนวน 4 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้
                    1. นายณัฐภูมิ เปาวรัตน์                              ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจการคลังสินค้า
                    2. นายฉัตรชัย ศักดิ์ศิลปชัย                    ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจการไซโล
                    3. นายวรพันธ์ ประเสริฐยิ่ง                    ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจการห้องเย็น
                    4. นายกษาปณ์ เงินรวง                              ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจการธนาคารพาณิชย์
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

31. เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
                    1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
                              1) นายภูมิธรรม                              เวชยชัย
                              2) นายสุริยะ                              จึงรุ่งเรืองกิจ
                              3) นายพิชัย                              ชุณหวชิร
                              4) นายอนุทิน                              ชาญวีรกูล
                              5) พลตำรวจเอก พัชรวาท                    วงษ์สุวรรณ
                              6) นายพีระพันธุ์                              สาลีรัฐวิภาค
                    2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้
                    1) นายวิชัย ไชยมงคล                    ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                    2) พลเรือโท นิกร เพชรวีระกุล          ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                    3) นายกิตติกร โล่ห์ สุนทร          ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                    4) นางจินตรา หมีทอง                    ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายสันติ พร้อมพัฒน์)]
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

33. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน                   9 คณะ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอดังนี้
                      1. คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง
                     2. คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
                      3. คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ
                      4. คณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนตามแนวทางในการป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล
                      5. คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
                      6. คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ
                      7. คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร
                      8. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา
                     9. คณะกรรมการประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและการเกษตรต่างประเทศ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

                     รายละเอียดองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ดังนี้
                      1. คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                     พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานกรรมการ นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี       รองประธานกรรมการ โดยกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายรอยล จิตรดอน และนายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ โดยมี อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ นายวัฒนา สุกาญจนาเศรษฐ์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และสนับสนุนให้การดำเนินการโครงการฝนหลวงเป็นไปตามพระราชประสงค์ เพื่อความสัมฤทธิ์ผลภายในกรอบพระบรมราโชบายตำราฝนหลวง และข้อแนะนำทางเทคนิคพระราชทาน
                     2) ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง และการปฏิบัติการฝนหลวงก้าวหน้า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
                     3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น

                     2. คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                       รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป นายกสมาคมอุตสาหกรรมสับปะรดไทย นายกสมาคมชาวไร่สับปะรดไทย และผู้แทนกลุ่มเกษตรกรทำไร่พงศ์ประศาสน์ (นายสุวิทย์ สุขชิต) โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย นายพรชัย พูลสุขสมบัติ นายศราวุฎ เรืองเอี่ยม นายสุรศักดิ์ เหลืองอร่ามกุล และนายศิริ ชมชาญ โดยมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) กำหนดนโยบายในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาสับปะรดของประเทศ
                     2) สนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สับปะรด
                     3) สั่งการและหารือประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการสนับสนุนนโยบายของคณะกรรมการฯ
                     4) ติดตามการดำเนินงานยุทธศาสตร์สับปะรด และรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ
                     5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานได้ตามความจำเป็น

                     3. คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                     รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายกฤษฎา เกิดสมจิตต์ ผู้แทนเกษตรกร นายกันตพงษ์ แก้วกมล ผู้แทนเกษตรกร นายขจรรัฐ สุระโคตร ผู้แทนเกษตรกร นายจงสฤษดิ์ คุ้นวงศ์ ผู้แทนภาคเอกชน นายชาญวิทย์ กาญจนวัฒน์ ผู้แทนภาคเอกชน  นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ผู้แทนภาคเอกชน นายชมชวน บุญระหงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายบำเพ็ญ เขียวหวาน ผู้ทรงคุณวุฒิ และนายสุทธิศักดิ์ แก้วแกมจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 4 คน (อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) กำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนปฏิรูปประเทศ เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศ
                     2) ดำเนินการบูรณาการแนวทาง มาตรการ แผนงานและงบประมาณกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์
                     3) จัดระบบการประสานและการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อกำกับดูแล และเร่งรัดการดำเนินงานของส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

                     4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคล เพื่อมอบหมายให้ดำเนินการใดตามที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อช่วยปฏิบัติงานด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ทั้งระบบตามความเหมาะสม

                     4. คณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนตามแนวทางในการป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมาย รองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 12 ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 13 ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14 อธิบดีกรมชลประทาน ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ หรือผู้แทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ หรือผู้แทน ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน หรือผู้แทน นายบุญมี โสภังค์ ผู้แทนกลุ่มสมัชชาสุ่มน้ำมูล นางบุรี อาจโยธา ผู้แทนกลุ่มสมาพันธ์เกษตรอีสาน นายทองวัน อาจสาลี ผู้แทนกลุ่มพัฒนาเขื่อนราศีไศล นางวันเพ็ญ แสงศร ผู้แทนกลุ่มอิสระ นายวิพล อุปสิทธิ์ ผู้แทนกลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรแม่มูลยั่งยืน และนายอำคา โพธิ์ศรี ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรฝายราศีไศล โดยมีรองอธิบดีกรมชลประทาน ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง กรมชลประทาน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) พิจารณากลั่นกรองแนวทางตามแผนในการป้องกันแก้ไข และฟื้นฟูผลกระทบตามผลการศึกษากระทบทางสังคมโครงการฝายราษีไศลและการแก้ไขผลกระทบอย่างยั่งยืน ที่คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการศึกษาไว้แล้วให้นำไปสู่การปฏิบัติจริง
                     2) พิจารณาและเสนอการขับเคลื่อนแผนงานในการป้องกันแก้ไขและฟื้นฟู ซึ่งได้รับการเห็นชอบร่วมกัน ที่มีขั้นตอนปฏิบัติ ระยะเวลา งบประมาณ หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ชัดเจนแล้ว ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำแผนการขับเคลื่อนที่ได้พิจารณาแล้ว เข้าขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำไปดำเนินการต่อไป
                     3) ติดตาม ดูแล สนับสนุน การปฏิบัติงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
                     4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                     5) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามความเหมาะสมภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการ
                     อนึ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานภายใต้คำสั่งนี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงาน มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะเดินทาง      (หากมี) โดยอนุโลมตามระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                     5. คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                     รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่า               การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่า               การกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายกสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลือง และรำข้าว นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย นายกสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มประเทศไทย นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม นายกสมาคมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม  และนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก โดยมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ
                     หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) เสนอนโยบาย แผนการบริหาร การจัดการ การพัฒนาการผลิตและการตลาดพืชน้ำมัน และน้ำมันพืชต่อคณะรัฐมนตรี
                     2) กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการ และเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต การจำหน่าย การแปรรูป การนำเข้า การส่งออก การใช้ทดแทนพลังงาน รวมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
                     3) เร่งรัด ส่งเสริม และประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน เกษตรกร อุตสาหกรรมน้ำมันพืช และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
                     4) มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเป็นรายสินค้าที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น

                     6. คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                     นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นายกสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย นายกสมาคมน้ำยางข้นไทย นายกสมาคมยางพาราไทย นายกสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมการยางแห่งประเทศไทย นายกสมาคมสหพันธ์ขาวสวนยางแห่งประเทศไทยนายกสมาคมเครือข่ายเกษตรกร สถาบันเกษตรกรยางพาราไทย ประธานคณะกรรมการเครือข่ายขาวสวนยางระดับประเทศ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และนายประเสริฐ อัคราจินดากุล ผู้แทนคนกรีดยาง โดยมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


                      หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
                      1) เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาและแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ กำหนดมาตรการระยะสั้น และระยะยาวให้เชื่อมโยง ทั้งการผลิต การตลาด และการแปรรูป อย่างครบวงจร โดยครอบคลุมการขึ้นทะเบียนเกษตรกร การพัฒนาการผลิต การพัฒนาระบบตลาด การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า การควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน การวิจัยพัฒนา และเพิ่มการใช้ยางในประเทศ รวมทั้งแนวทางการเจรจาของไทยเกี่ยวกับยางพาราระหว่างประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
                     2) กำหนดและเสนอมาตรการเพื่อดูแลระดับราคายางพาราให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสม โดยเน้นกลไกตลาด เสนอแผนปฏิบัติการ รวมทั้งงบประมาณที่ต้องใช้ในการดูแลระดับราคายาง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องและคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นขอบและอนุมัติตามขั้นตอน
                     3) ติดตามและกำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ มาตรการ และแผนปฏิบัติการ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
                     4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการยางพาราต่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ
                     5) เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือขอเอกสารหลักฐาน โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ
                     6) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

                     7. คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง หรือผู้แทน อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือผู้แทน อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา หรือผู้แทน เจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ หรือผู้แทน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือผู้แทน ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน อธิบดีกรมการข้าว อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร อธิบดีกรมหม่อนไหม เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร และผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โดยมีผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการและเลขานุการผู้อำนวยการสำนักแผนงานและโครงการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                                หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) กำหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร
                     2) พิจารณาระบบการบริหารจัดการภัยพิบัติด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ
                     3) บูรณาการแผนงาน/โครงการ งบประมาณในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                     4) อำนวยการ กำกับ ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร และการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติให้เป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ
                     5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลผู้ช่วยปฏิบัติงานตามความจำเป็นและเหมาะสม

                     8. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                     รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 14อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมเจ้าท่า ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นายกฤษกร ศิลารักษ์ นายบุญเลื่อน วงศ์ประเทศ และนางผ่องศรี สืบวงค์ โดยมีรองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) พิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินทุกประเภทและให้ความเห็นชอบผลการตรวจสอบทรัพย์สินเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติจ่ายค่าทดแทน
                     2) กำกับและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานรวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ
                     3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อมอบหมายให้ดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้อง ตามความจำเป็น
                     4) ปฏิบัติงานอื่นที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการนี้
                     ทั้งนี้ ในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ให้กรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานที่ได้รับแต่งตั้งได้รับเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะเดินทาง อนุโลมตามระเบียบราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากกรมชลประทาน

                     9. คณะกรรมการประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและการเกษตรต่างประเทศ
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                       ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนกรมป่าไม้ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมการข้าวอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และเลขาธิการคณะกรรมการประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและการเกษตรต่างประเทศ โดยมีผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักการเกษตรต่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่ และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) ติดต่อประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization - FAO) โครงการอาหารโลก (World Food Programme - WEP) กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development- IFAD) ศูนย์พัฒนาชนบทแบบผสมผสานสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค (Centre for Integrated Rural Development for Asia and the Pacific - CIRDAP) และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐบาล และเอกชนของประเทศไทย ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ FAO, WEF, IFAD, และ CIRDAP) รวมทั้ง จัดหา เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านอาหาร การเกษตร และพัฒนาชนบท
                     2) ติดตามผลการดำเนินขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับอาหาร การเกษตร และการพัฒนาชนบท
                     3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเฉพาะเรื่องได้ตามความเหมาะสม

34. เรื่อง  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  166/2567 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  166/2567 เรื่อง  มอบหมายให้                              รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
          ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2566 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฎิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ลงวันที่ 13 กันยายน 2566 นั้น
          โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 27 เมษายน 2567 เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วย
ความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 11  มาตรา 12 มาตรา 41  มาตรา 42  มาตรา 48  และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7  พฤษภาคม 2567 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เห็นควรยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2566 ลงวันที่ 13 กันยายน 2566 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
          ส่วนที่ 1           คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
          1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ตามลำดับ  ดังนี้
          1.1          นายภูมิธรรม                      เวชยชัย
          1.2          นายสุริยะ                    จึงรุ่งเรืองกิจ
          1.3          นายพิชัย                    ชุณหวชิร
          1.4           นายอนุทิน                    ชาญวีรกูล
          1.5          พลตำรวจเอก พัชรวาท          วงษ์สุวรรณ
          1.6          นายพีระพันธุ์                    สาลีรัฐวิภาค
          2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน

          ส่วนที่  2            นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                    ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้


ลำดับที่          รองนายกรัฐมนตรี          รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ
1          นายภูมิธรรม     เวชยชัย            1. นายสุริยะ                จึงรุ่งเรืองกิจ
                      2. นายพิชัย                  ชุณหวชิร
2          นายสุริยะ         จึงรุ่งเรืองกิจ            1. นายพิชัย                        ชุณหวชิร
                     2. นายอนุทิน                 ชาญวีรกูล
3           นายพิชัย          ชุณหวชิร               1. นายอนุทิน                 ชาญวีรกูล
                      2. พลตำรวจเอก พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ
4          นายอนุทิน        ชาญวีรกูล            1. พลตำรวจเอก พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ
                      2. นายพีระพันธุ์              สาลีรัฐวิภาค
5          พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ            1. นายพีระพันธุ์              สาลีรัฐวิภาค
                      2. นายภูมิธรรม               เวชยชัย
6          นายพีระพันธุ์     สาลีรัฐวิภาค            1. นายภูมิธรรม               เวชยชัย
                      2. นายสุริยะ                  จึงรุ่งเรืองกิจ

          ส่วนที่  3  นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                    ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้

ลำดับที่          รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี          รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ
1           นายจักรพงษ์      แสงมณี          1.  นายพิชิต                ชื่นบาน
                    2.  นางสาวจิราพร         สินธุไพร
2          นายพิชิต          ชื่นบาน          1.  นางสาวจิราพร         สินธุไพร
                    2.  นายจักรพงษ์           แสงมณี
3          นางสาวจิราพร   สินธุไพร          1.  นายจักรพงษ์           แสงมณี
                    2.  นายพิชิต                ชื่นบาน

                    ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  7  พฤษภาคม  พ.ศ. 2567  เป็นต้นไป

35. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  167/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  167/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
          ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 229/2566 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจ
ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่
13 กันยายน 2566 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 245/2566 ลงวันที่ 25 กันยายน 2566 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 381/2566 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2566 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 6/2567 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  นั้น
          โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 27 เมษายน 2567 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 เห็นควรยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 229/2566 ลงวันที่ 13 กันยายน 2566 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 245/2566 ลงวันที่ 25 กันยายน 2566 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 381/2566 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2566 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 6/2567 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้                        รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับ  ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1  นิยาม

                    ในคำสั่งนี้
                    ?กำกับการบริหารราชการ? หมายความว่า  กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี
มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือ
การปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติ
ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 กันยายน 2566 เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี
ที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีอนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
?สั่งและปฏิบัติราชการ? หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการ หรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
                    ?กำกับดูแล?  หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ

ส่วนที่ 2
          1.          รองนายกรัฐมนตรี  (นายภูมิธรรม   เวชยชัย)
          1.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                        1.1.1          กระทรวงกลาโหม
                                        1.1.2          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                    1.1.3          กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
                    1.1.4          กระทรวงพาณิชย์
                                        1.1.5          สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                                        1.1.6          สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
                                        1.1.7          กรมประชาสัมพันธ์
                                        1.1.8          สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

                    1.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                        1.2.1          ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                        1.2.2          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ                                                                                          1.2.3          สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
          1.3          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    1.3.1          สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
                    1.3.2          สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                    1.3.3          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                    1.3.4          สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
          1.4  ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.3  ยกเว้น
                    1.4.1          เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
                    1.4.2          การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
                    1.4.3          การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
                    1.4.4          การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
                    1.4.5          การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
                    1.4.6            การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
                    1.4.7           เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม

ส่วนที่ 3
2.    รองนายกรัฐมนตรี  (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ)
          2.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    2.1.1          กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                    2.1.2          กระทรวงคมนาคม
                    2.1.3          กระทรวงวัฒนธรรม
                    2.1.4          กระทรวงสาธารณสุข
                    2.1.5            สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                    2.1.6          สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
                    2.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่ง และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              -          สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
          2.3          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    2.3.1          สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
                    2.3.2          สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
          2.4  การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี
          2.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7

ส่วนที่ 4
3.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายพิชัย  ชุณหวชิร)
          3.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    3.1.1            กระทรวงการคลัง
                                        3.1.2          กระทรวงการต่างประเทศ
                                        3.1.3          สำนักงบประมาณ
                    3.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่ง
และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                        3.2.1          สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
                              3.2.2          สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    3.2.3          สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                    3.2.4          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
                    3.2.5          สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และ
การสร้างความสามัคคีปรองดอง
          3.3          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้                                        3.3.1          สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
                    3.3.2          สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
                    3.3.3          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
                    3.4           ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.3 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7

ส่วนที่ 5
4.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล)
          4.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    4.1.1            กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
                    4.1.2          กระทรวงมหาดไทย
                    4.1.3          กระทรวงแรงงาน
                                        4.1.4          กระทรวงศึกษาธิการ
                    4.2          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    -            สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
                    4.3  ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 ถึงข้อ 4.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7

ส่วนที่ 6
5.   รองนายกรัฐมนตรี  (พลตำรวจเอก พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ)
          5.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    5.1.1          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                              5.1.2           กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          5.2          ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 5.1 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณี
ในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7

ส่วนที่ 7

 6.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค)
          6.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                        6.1.1           กระทรวงพลังงาน
                    6.1.2            กระทรวงยุติธรรม (ยกเว้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
                    6.1.3           กระทรวงอุตสาหกรรม
                    6.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการ และ
สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    -           สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
          6.3          ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 6.1  ถึงข้อ 6.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1  ถึงข้อ 1.4.7

ส่วนที่ 8

          7.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นายจักรพงษ์  แสงมณี)
                    7.1           การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                              7.1.1          สำนักงบประมาณ
                              7.1.2          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
7.2          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
-           สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

ส่วนที่ 9

          8.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นายพิชิต  ชื่นบาน)
                    8.1           การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              8.1.1          สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                              8.1.2          สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
                              8.1.3          สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
                              8.1.4          สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                              8.1.5          สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
          8.2          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                     -           สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

ส่วนที่ 10
          9.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นางสาวจิราพร  สินธุไพร)
                    9.1           การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              9.1.1          กรมประชาสัมพันธ์
                               9.1.2          สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
          9.2          การมอบหมายให้กำกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
                    -          บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
9.3  การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    -          สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ส่วนที่ 11

          10.  รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ  ดังนี้
                    10.1                    การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
                    10.2                    การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น
เป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
                    10.3                    การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
                    10.4                    การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
          11.          รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจปฏิบัติแทนนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการ
ในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ
          12.          ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย ยกเว้น อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย  ชุณหวชิร) เป็นประธาน
          13.          ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ
          14.           เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม
          15.           ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้น
ในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง
ของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
                    ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  7  พฤษภาคม  พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

36. เรื่อง  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  168/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                              คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  168/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้                  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
          ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 246/2566 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 25 กันยายน 2566 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 253/2566 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2566 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 270/2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2566 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 292/2566  ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 382/2566 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี นั้น
          โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 27 เมษายน 2567  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 246/2566 ลงวันที่ 25 กันยายน 2566 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 253/2566 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2566 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 270/2566    ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2566 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 292/2566 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 382/2566 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2566 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
ส่วนที่ 1

          1.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายภูมิธรรม  เวชยชัย)
                    1.1  การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                               1.1.1          คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
                              1.1.2          คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                              1.1.3          คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                              1.1.4          คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                              1.1.5          คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                              1.1.6          คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
                              1.1.7          คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
                              1.1.8          คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
                    1.2  การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              1.2.1          คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
                              1.2.2          คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมาย
                                        เพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
                              1.2.3          คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
                    1.3  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                              1.3.1          คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
                              1.3.2          คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                              1.3.3          คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
                              1.3.4          คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
                              1.3.5          คณะกรรมการกำลังพลสำรอง
          1.4  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    1.4.1          คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
                    1.4.2          คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
1.4.3          คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
                    1.4.4          คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
                    1.4.5          คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
                              1.4.6                    คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย
                              สำนักนายกรัฐมนตรี
                                1.4.7                    คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทาน
                              เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
          1.4.8          คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
                    1.4.9          คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
                    1.4.10          คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
                    1.4.11          คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
                    1.4.12          คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
          1.5  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการคณะกรรมการ      ต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    1.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
                    1.5.2          รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                    1.5.3          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถ
                              ในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
                    1.5.4          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่
                              แบบบูรณาการ
          1.6  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    1.6.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
                    1.6.2          รองประธานกรรมการคนที่ 1 ในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ

ส่วนที่ 2

2.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ)
          2.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
2.1.1          คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
2.1.2          คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
2.1.3          คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
2.1.4          คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
                              2.1.5          คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
                              2.1.6          คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
                              2.1.7          คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2.1.8          คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
2.1.9          คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
             2.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    2.2.1          คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
2.2.2          คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
                                        2.2.3                    คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
                                        2.2.4                    คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
          2.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    2.3.1          คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
                    2.3.2           คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
                    2.3.3          คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
                              2.3.4          คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
                    2.3.5          คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
                    2.3.6          คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
                    2.3.7          คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
                    2.3.8          คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
                    2.3.9          คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
                    2.3.10          คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ
                    2.3.11          คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
                    2.3.12          คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
          2.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    2.4.1          คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
          2.4.2          คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
                    2.4.3          คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ
                    2.4.4          คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
                    2.4.5          คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ
2.4.6          คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
          2.5   การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    2.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                    2.5.2          อุปนายกสภาลูกเสือไทย
                    2.5.3          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
          2.6          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
2.6.1          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
2.6.2          กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนน
ราชดำเนิน
2.6.3          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ
ในภูมิภาค

ส่วนที่ 3

                    3.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายพิชัย  ชุณหวชิร)
          3.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.1.1          คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
          3.1.2          คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
          3.1.3          คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
          3.1.4          คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
                    3.1.5          คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
          3.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1          คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
3.2.2          คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3.2.3          คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
3.2.4          คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                    3.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
3.3.1          คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
                    3.3.2          คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                    3.3.3          คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
          3.3.4          คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง
                    3.3.5          คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
                    3.3.6          คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
          3.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    3.4.1          คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
          3.4.2          คณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติราชการ
                    3.4.3          คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
                    3.4.4          คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
                    3.4.5          คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ
                    3.4.6          คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
                    3.4.7          คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน
                              โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
          3.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
3.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    3.5.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ
                              ภาคตะวันออก
                    3.5.3          รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
                    3.5.4          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
                    3.6          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    3.6.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
                    3.6.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
                              3.6.3          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                              3.6.4          รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สิน
                              ทางปัญญาแห่งชาติ
                              3.6.5          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ
                                        ในภูมิภาค

ส่วนที่ 4

4.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล)
          4.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.1.1          สภานายกสภาลูกเสือไทย
          4.1.2          คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
4.1.3          คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
          4.2          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    4.2.1          คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
                    4.2.2          คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ
                    4.2.3          คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
          4.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
4.3.1          คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
4.3.2          คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ
4.3.3          คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
4.3.4          คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
4.3.5          คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
                    4.3.6          คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
                    4.3.7           คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
4.3.8          คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
4.3.9          คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
          4.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    4.4.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
                    4.4.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
                    4.4.3          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
                    4.4.4          รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
                              นวัตกรรมแห่งชาติ
                    4.4.5          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
          4.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    4.5.1          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
                              4.5.2                    กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
                                                  ของประเทศ


ส่วนที่ 5

5.  รองนายกรัฐมนตรี  (พลตำรวจเอก พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ)
          5.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
5.1.1          คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
5.1.2           คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
5.1.3          คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
5.1.4          คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
5.1.5          คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
          5.2          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
5.2.1          คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
  5.2.2          คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ
5.2.3          คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน
5.2.4          คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
5.2.5          คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว
5.2.6          คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
            5.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    5.3.1          คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
                    5.3.2          คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
5.3.3          คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
                    5.3.4          คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
                    5.3.5          คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
                    5.3.6          คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
                    5.3.7          คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
                    5.3.8          คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
          5.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    5.4.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
                    5.4.2          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
             5.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    5.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนา
          เขตเศรษฐกิจพิเศษ
5.5.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
5.5.3          กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
                    4.5.4          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 6

6.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค)
          6.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.1.1          คณะกรรมการกฤษฎีกา
6.1.2          คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
          6.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-           คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
          6.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    6.3.1          คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
                    6.3.2          คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ
                    6.3.3          คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ
                    6.3.4          คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
             6.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    -          คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม
          6.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    6.5.1          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
                    6.5.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
                    6.5.3          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง
                              และขนาดย่อม
          6.5.4          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
   6.6           การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

                    6.6.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
                    6.6.2          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 7

7.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นายจักรพงษ์  แสงมณี)
          7.1          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-          คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
          7.2          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    7.2.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                    7.2.2          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
          7.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    7.3.1          รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
7.3.2          รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
7.3.3          กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
                    7.3.4          กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

ส่วนที่ 8

8.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นายพิชิต  ชื่นบาน)
          8.1   การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-           คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
          8.2  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    8.2.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม
                    8.2.2          กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัด
                              ชายแดนภาคใต้
                    8.2.3          กรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
                    8.2.4          กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
          8.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    8.3.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
                    8.3.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
                    8.3.3          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน

ส่วนที่ 9

9.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นางสาวจิราพร  สินธุไพร)
          9.1  การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-           คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
           9.2          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    -          กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
           9.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    9.3.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
                    9.3.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
                    9.3.3          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
                    9.3.4          รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ

ส่วนที่ 10

          10.  เมื่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
          11.  ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และ                การบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณา และข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควร
ให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
          12.  ในส่วนการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีคนใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไป
ตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนั้น
                    ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  7  พฤษภาคม พ.ศ. 2567  เป็นต้นไป


37. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  169/2567 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  169/2567 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
          ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 254/2566 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2566 นั้น
          โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 27 เมษายน 2567 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ลงวันที่ 10 กันยายน 2561 เห็นควรยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 254/2566 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2566 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1.  พื้นที่
                              1.1  รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม  เวชยชัย) กำกับและติดตาม
การปฏิบัติราชการ ดังนี้
1)          เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ
2)          เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย   จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
                                                                      3) เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ
และจังหวัดอุบลราชธานี
          1.2  รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ) กำกับและติดตาม
การปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด
2) เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
3) เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และ
จังหวัดอุทัยธานี
          1.3  รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย  ชุณหวชิร) กำกับและติดตาม
การปฏิบัติราชการ ดังนี้
          1) เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล
          2) เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
          3) เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
                    1.4   รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล) กำกับและติดตาม
การปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา
  2) เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
          3) เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่
          1.5  รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
2) เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
                    3) เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
          1.6  รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการ ดังนี้
                    1) เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม
และจังหวัดสมุทรสาคร
                                                                      2) เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี
และจังหวัดสระแก้ว
                    3) เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร
          2.  การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย
          3.  ให้รองนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
          4.  ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่
รองนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทนแล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
          5.  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย
          6.  ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของ
รองนายกรัฐมนตรี จากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
                    ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  7  พฤษภาคม  พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ