สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤษภาคม 2567

ข่าวการเมือง Tuesday May 21, 2024 14:51 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 21 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. .... และ

ร่างพระกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. ....

                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. ....
                                        ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....                                         และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ....

รวม 3 ฉบับ

                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงออเงิน
                                        เขตสายไหม แขวงสามวาตะวันตก แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา                                                   กรุงเทพมหานคร และตำบลลาดสวาย ตำบลบึงคำพร้อย ตำบลลำลูกกา

ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ....

          4.                     เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็น                                        พื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. ?.
          5.                     เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่เขตการปกครองพิเศษพัทยา อำเภอบางละมุง                                         จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. ....
          6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยในการดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์                              ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
          7.           เรื่อง           แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี                                        งบประมาณ พ.ศ. 2567
          8.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน                                        แห่งชาติกรณีปัญหามลภาวะทางอากาศในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน
          9.           เรื่อง           รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5                                         หน้าที่ของรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เรื่อง                                         มาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน
          10.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคมและ 3 เดือนแรกของ

ปี 2567

          11.                     เรื่อง           ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนใน                                                                      แผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2566 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
          12.           เรื่อง          โครงการแพลตฟอร์มการชำระเงิน (Payment Platform)
          13.           เรื่อง           การมอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้ราชอาณาจักรกัมพูชา
          14.           เรื่อง           รายงานประจำปี 2566 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ต่างประเทศ

                    15.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ระดับรัฐมนตรีว่าด้วยน้ำเพื่อความมั่งคั่ง                                                  ร่วมกัน (Ministerial Declaration on Water for Shared Prosperity) ซึ่งเป็น                                        เอกสารผลลัพธ์การประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 10
                    16.           เรื่อง           รายงานผลการเดินทางเยือนเมืองเซินเจิ้น-เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐ                                        ประชาชนจีนของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์


แต่งตั้ง
                    17.           เรื่อง           การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการ ภายหลัง                                                  ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกที่ประชุมกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ                                                   แผนกคดีบุคคล
                    18.           เรื่อง           คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงมหาดไทย)
                    19.           เรื่อง           คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงอุตสาหกรรม)
?

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. .... และร่างพระกฤษฎีกาปิดประชุม           สมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอดังนี้

1. ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. .... (ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2567) และ

2. ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. .... (โดยยังมิได้ระบุวันที่ปิดประชุม)

ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า

1. ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2567 ประกอบกับสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ปีที่ 2 จะเริ่มวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ? 30 ตุลาคม 2567 แต่โดยที่คณะรัฐมนตรีจะต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวาระที่ 1 ในวันที่ 19 ? 20 มิถุนายน 2567 ตามปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ (7 พฤษภาคม 2567) โดยเป็นระยะเวลาที่อยู่นอกสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 122 วรรคสามและวรรคสี่ บัญญัติให้เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พระมหากษัตริย์ จะทรงตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญก็ได้ ซึ่งการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ และที่ผ่านมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณหรือเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ดังนี้

ปี          พระราชกฤษฎีกา          ระยะเวลา          หมายเหตุ
2552          พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2552 และพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2552          8 วัน
(15 ? 22มิถุนายน 2552)          พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (วาระที่ 1) และกิจการอันเป็นหน้าที่ของรัฐสภา1
2553          พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2553 และพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2553          10 วัน
(24 พฤษภาคม ? 2 มิถุนายน 2553)          พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 (วาระที่ 1) และกิจการอันเป็นหน้าที่ของรัฐสภา2
2556          พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2556 และพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2556          3 วัน
(29 ? 31 พฤษภาคม 2556)          พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
2562          พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2562 และพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2562          4 วัน
(17 ? 20 ตุลาคม 2562)          พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (วาระที่ 1) และกิจการอันเป็นหน้าที่ของรัฐสภา3

                    ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 จึงเห็นสมควรให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2567 ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าว ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567                สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาในสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2567 (รวม 3 วัน) ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                   พ.ศ. 2568 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำหรับวันปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภานั้น เห็นสมควรให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรรับไปพิจารณาแล้วแจ้งผลให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบโดยด่วน ก่อนนำ               ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ต่อไป
                    2. สลค. ได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. .... (ตั้งแต่วันที่                19 มิถุนายน 2567) และร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. .... (โดยยังมิได้ระบุวันที่                 ปิดประชุม) รวม 2 ฉบับ ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้ตรวจพิจารณาและวางรูปแบบของร่างพระราชกฤษฎีกาไว้แล้ว
1สภาผู้แทนราษฎร (สผ.) และวุฒิสภา (สว.) พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (สผ. พิจารณาวันที่ 15 มิถุนายน 2552 และ สว. พิจารณาวันที่ 22 มิถุนายน 2552) โดย สผ. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (วาระที่ 1) ในวันที่ 17 ? 18 มิถุนายน 2552 (2 วัน)
2สผ.พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 (วาระที่ 1) ในวันที่                        26 ? 27 พฤษภาคม 2554 (2 วัน) และพิจารณาญัตติขอให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี                 ในวันที่ 31 กรกฎาคม ? 1 มิถุนายน 2553 และลงมติในวันที่ 2 มิถุนายน 2553
3สผ. และ สว. พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์          พ.ศ. 2562 (สผ. พิจารณาวันที่ 17 ตุลาคม 2562 และ สว. พิจารณาวันที่ 20 ตุลาคม 2562) โดยสผ. พิจารณา              ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (วาระที่ 1) ในวันที่ 17 ? 19 ตุลาคม 2562 (3 วัน)

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน              พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลใช้บังคับไปพร้อมกัน และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ สำหรับร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ..)              พ.ศ. ....  เป็นการยกเลิกการกำหนดให้นกชนหิน หรือนกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 410 ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 แต่โดยที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยให้ความเห็นว่า ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีหลักการเดียวกับร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้บังคับอีก
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง
                    ทส. ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวงตามที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว รวม 2 ฉบับ (เรื่องเสร็จที่ 882/2566 และเรื่องเสร็จที่ 881/2566) มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

                    1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... (เรื่องเสร็จที่ 882/2566) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) และนกชนหิน หรือนกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวน เพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่          สัตว์ป่าสงวน
(ตามบัญชีท้ายพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ)          สัตว์ป่าสงวน
(ตามร่าง พ.ร.ฎ.)

1.
2.

15.

1.
2.
3.
4.

1.


1.          สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
กระซู่ (Didermocerus sumatraensis)
กวางผา (Naemorhedus griseus)
ฯลฯ
-
สัตว์ป่าจำพวกนก
นกกระเรียน (Grus antigone)
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)
นกแต้วแล้วท้องดำ (Pitta gurneyi)
-
สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน
เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)

สัตว์ป่าจำพวกปลา
ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)



วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus)




นกชนหิน (Rhinoplax vigil)

                    2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... (เรื่องเสร็จที่ 881/2566) มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองตามบัญชีท้าย กฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางอนุกรมวิธานปัจจุบัน ทำให้จำนวนสัตว์ป่าคุ้มครอง จากเดิมจำนวน 1,316 รายการ คงเหลือ 1,306 รายการ โดยแบ่งเป็น 2 บัญชี ดังนี้ บัญชี 1 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่มิใช่สัตว์น้ำ ได้แก่ (1) จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 176 รายการ (2) จำพวกนก จำนวน 948 รายการ (3) จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 68 รายการ (4) จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 4 รายการ (5) จำพวกแมลง จำนวน 20 รายการ บัญชี 2 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ ได้แก่ (1) จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 21 รายการ (2) จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 20 รายการ (3) จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 6 รายการ (4) จำพวกปลา จำนวน 30 รายการ (5) จำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำนวน 13 รายการ ปรากฏตามตัวอย่าง ดังนี้

บัญชีท้ายกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2546 (ตาม พ.ร.บ. สงวนฯ พ.ศ. 2535) (จำนวน 1,316 ลำดับ)          บัญชีท้ายร่างกฎกระทรวง ที่ ทส. เสนอ (ตาม พ.ร.บ. สงวนฯ พ.ศ. 2562) (จำนวน 1,306 ลำดับ)          เหตุผล



ไม่มี
ฯลฯ          บัญชี 1 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่มิใช่สัตว์น้ำ ได้แก่
1. จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (จำนวน 176 ลำดับ)
ฯลฯ
ลำดับที่ 113 ค่างตะนาวศรี (Trachypithecus barbei)
ฯลฯ



เพิ่มรายการ
-นกจับแมลงท้องลาย (Muscicapa griseisticta)
-นกจับแมลงสีคล้ำ (Muscicapa sibirica)
       ฯลฯ          2. จำพวกนก (จำนวน 948 ลำดับ)
ฯลฯ
ลำดับที่ 340 นกจับแมลงสีคล้ำ (Muscicapa sibirica)
ฯลฯ

ยุบรวมนกจับแมลงท้องลายกับนกจับแมลงสีคล้ำ
-กิ้งก่าหัวแดง หรือกิ้งก่ารั้ว (Calotes versicolor)
-กิ้งก่าหัวสีฟ้า หรือกิ้งก่าสวน (Calotes mystaceus)
       ฯลฯ          3. จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน (จำนวน 68 ลำดับ)
ฯลฯ
ยกเลิกรายการ
ฯลฯ

-จงโคร่ง (Bufo asper)          4. จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (จำนวน 4 ลำดับ)
ฯลฯ
ลำดับที่ 4 จงโคร่ง (Phrynoidis asper)
ฯลฯ

ปรับลำดับและชื่อวิทยาศาสตร์
-ด้วงกว่างดาว (Cheirotonus parryi Gray)
      ฯลฯ          5. จำพวกแมลง (จำนวน 20 ลำดับ)
ฯลฯ
ลำดับที่ 1 ด้วงกว่างดาวหนามขาตรง (Cheirotonus parryi)
ฯลฯ

ปรับชื่อไทยและชื่อวิทยาศาสตร์
          บัญชี 2 บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ ได้แก่
1. จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (จำนวน 21 ลำดับ)
ลำดับที่ 1 โลมากระโดด (Stenella longirostris)
ฯลฯ
          2. จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน (จำนวน 20 ลำดับ)
ลำดับที่ 1 จระเข้น้ำเค็ม (Crocodylus porosus)
ฯลฯ
-กบเกาะช้าง (Linmonectes kohchangae หรือ Rana kohchangae)
ฯลฯ          3. จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (จำนวน 6 ลำดับ)
ลำดับที่ 1 กบเกาะช้าง (Limnonectes kohchangae)
ฯลฯ
ปรับชื่อวิทยาศาสตร์
-ปลากระเบนปีศาจครีบโค้ง (Mobula thurstoni)
ฯลฯ          4. จำพวกปลา (จำนวน 30 ลำดับ)
ลำดับที่ 1 ปลากระเบนปีศาจครีบโค้ง (Mobula thurstoni
ฯลฯ
ปรับลำดับ
-ปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ (Order) (Scleractinia) และในอันดับ (Order) (Stylasterina)
ฯลฯ          5. จำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (จำนวน 13 ลำดับ)
ฯลฯ
ลำดับที่ 6 ปะการังทุกชนิดในอันดับ (Order) (Stylasterina)
ฯลฯ

แยกออกจากรายการเดิม ปรับลำดับ ปรับชื่อไทยและชื่อวิทยาศาสตร์

                    รวมทั้ง เพิ่มรายการ จำนวน 8 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงฯ ดังนี้                    (1) ค่างตะนาวศรี (Trachypithecus barbei) (2) งูหางแฮ่มกาญจน์ (Trimeresurus kanburiensis) (3) ปลากระเบนปีศาจหางเคียว (Mobula tarapacana) (4) ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum)  (5) ปลาฉลามหัวค้อนยาว (Eusphyra blochii)  (6) ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ (Sphyrna zygaena)  (7) ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน (Sphyrna lewini)  (8) ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่ (Sphyrna mokarran)

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงออเงิน เขตสายไหม แขวงสามวาตะวันตก แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร และตำบลลาดสวาย ตำบลบึงคำพร้อย ตำบลลำลูกกา ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงออเงิน เขตสายไหม แขวงสามวาตะวันตก แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร และตำบลลาดสวาย ตำบลบึงคำพร้อย ตำบลลำลูกกา ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงคมนาคมเสนอเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงออเงิน เขตสายไหม แขวงสามวาตะวันตก แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร และ              ตำบลลาดสวาย ตำบลบึงคำพร้อย ตำบลลำลูกกา ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เพื่อสร้างทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ ? ถนนลำลูกกา) และสิ่งจำเป็นอื่นเพื่อประโยชน์ของทางพิเศษ หรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษ และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน                  ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ ? ถนนลำลูกกา) ระยะทาง 16.21 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 24,060.04 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงาน 20,333.23 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 3,726.81 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรของโครงข่ายถนนรังสิต ? นครนายก และโครงข่ายถนนโดยรอบที่ปัจจุบันมีปัญหาการจราจรหนาแน่นอย่างมาก ช่วยรองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนในการใช้เส้นทางสำหรับคมนาคมขนส่งได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าวทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นด้วย และคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้ว
                    กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว และได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว กรมการปกครองและสำนักงานโยธา (กรุงเทพมหานคร) ได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาฯ แล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือ                   ร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) และสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้               ตามความจำเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงออเงิน เขตสายไหม แขวงสามวาตะวันตก แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร และตำบลลาดสวาย ตำบลบึงคำพร้อย ตำบลลำลูกกา ตำบล                    บึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เพื่อสร้างทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ ? ถนนลำลูกกา) และสิ่งจำเป็นอื่นเพื่อประโยชน์ของทางพิเศษหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษ และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน ทั้งนี้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้              ใช้บังคับ

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ทส. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มาตรา 21 บัญญัติให้เพื่อป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
                     2. ปัจจุบันพื้นที่ระบบหาดบางเบิด ? เขาถ้ำธง ระบบหาดทุ่งทราย ระบบหาดทุ่งยาง ระบบหาดทุ่งเมือง และระบบหาดบ้านเกาะเตียบ บริเวณตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ตาม ได้มีการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ไม่เหมาะสมโดยไม่คำนึงถึงสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ ซึ่งทำให้เกิดการรบกวนสมดุลของตะกอนชายฝั่งจนอาจทำให้เสถียรภาพชายฝั่งพังลงจนทำให้ชายฝั่งเกิดการกัดเซาะ ประกอบกับปัจจุบันไม่มีมาตรการที่ใช้ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการกำกับ และควบคุมมิให้เกิดปัญหาดังกล่าว จึงเห็นควรกำหนดให้พื้นที่ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลออกไปในทะเลเป็นระยะทาง 1,000 เมตร ของตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งตามมาตรา 21 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ทส. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
                    3. ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2
                    4. ทส. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นผู้ที่มีส่วนได้เสียและประชาชนที่เกี่ยวข้องแล้ว และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นผ่านช่องทางระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th.) ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม ? 17 มิถุนายน 2566 รวม 29 วัน โดยได้เผยแพร่เอกสารดังกล่าวผ่านช่องทางระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th.) แล้ว และกรมการปกครองได้ตรวจสอบร่างแผนที่ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว พบว่าไม่สามารถตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองในแผนที่ท้ายร่างกฎกระทรวงฯ ได้ เนื่องด้วยในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่ อำเภอ... จังหวัด... ไม่มีคำบรรยายแนวเขตการปกครองลงไปในทะเล
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. ?. มาเพื่อดำเนินการ
                    ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                     1. กำหนดนิยามคำว่า ?แนวชายฝั่งทะเล?
                     2. กำหนดให้พื้นที่ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลออกไปในทะเลเป็นระยะ 1,000 เมตร ของตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ภายในแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายกฎกระทรวงเป็นเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
                     3. กำหนดให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ดังนี้
                              3.1 การปลูกป่าชายหาดหรือป่าชายเลน ต้องเป็นการดำเนินการเพื่อช่วยเสริม หรือทดแทนพันธุ์ไม้ โดยชนิดพันธุ์ไม้และบริเวณที่ปลูกให้เป็นไปตามสภาพธรรมชาติเดิม และต้องแจ้งให้อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทราบ
                               3.2 ห้ามถ่ายเททราย เติมทราย ปักเสาดักตะกอน วางโดมทะเล ถุงใยสังเคราะห์ กล่องกระชุหิน สร้างไส้กรอกทราย เขื่อนหินทิ้ง กำแพงป้องกันคลื่น สร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง และรอดักทราย
                     4. กำหนดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่โดยห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้าง ถนนบนสันทราย เนินทราย เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และห้ามถมที่ดินในทะเล
                     5. กำหนดให้มีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจ ก่อให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ดังนี้ (1) ข้อมูลทั่วไป (2) รายการตรวจสอบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม (3) รายการผลกระทบสิ่งแวดล้อม (4) รายการแสดงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
                     6. กรณีพบว่าโครงการหรือกิจกรรมส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีสัณฐาน หรือสภาพทางธรรมชาติของชายฝั่งเปลี่ยนไปจากเดิม ให้เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมรายงานต่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยเร็ว เพื่อที่จะได้กำหนดวิธีการใด ๆ เพื่อให้เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมปฏิบัติตามต่อไป ทั้งนี้ กฎกระทรวงฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่การดำเนินการเพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือ

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่เขตการปกครองพิเศษพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่กำหนดเขตพื้นที่เขตการปกครองพิเศษพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มาตรา 21 บัญญัติให้เพื่อป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
                     2. ปัจจุบันพื้นที่ระบบหาดหาดยินยอม 1 บริเวณเมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ที่ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ และจะปรับสภาพชายฝั่งให้เข้าอยู่ในสภาวะสมดุลอยู่ตลอดเวลาตามรอบฤดูกาล เป็นความสมดุลบนความเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ  เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนสมดุลของตะกอนชายฝั่งจนอาจทำให้เสถียรภาพชายฝั่งพังลงจนส่งผลทำให้ชายฝั่งเกิดการกัดเซาะ และป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน แต่ได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ไม่เหมาะสม โดยไม่คำนึงถึงสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ ซึ่งทำให้เกิดการรบกวนสมดุลของตะกอนชายฝั่งจนอาจทำให้เสถียรภาพชายฝั่งพังลงจนทำให้ชายฝั่งเกิดการกัดเซาะ ประกอบกับปัจจุบันไม่มีมาตรการที่ใช้ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มาตรการเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของสภาพธรรมชาติชายฝั่งและการกำหนดกิจกรรมของมนุษย์ที่เข้าไปรบกวนเสถียรภาพชายฝั่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการกำกับ และควบคุมมิให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จึงเห็นควรกำหนดให้พื้นที่ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลออกไปในทะเลเป็นระยะทาง 1,000 เมตร ของเขตการปกครองพิเศษพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ทส. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่เขตการปกครองพิเศษพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
                    3. ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2
                    4. ทส. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นผู้ที่มีส่วนได้เสียและประชาชนที่เกี่ยวข้องแล้ว และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นผ่านช่องทางระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th.) ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม ? 17 มิถุนายน 2566 รวม 29 วัน โดยได้เผยแพร่เอกสารดังกล่าวผ่านช่องทางระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th.) แล้ว และกรมการปกครองได้ตรวจสอบร่างแผนที่ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว พบว่าไม่สามารถตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองในแผนที่ท้ายร่างกฎกระทรวงฯ ได้ เนื่องด้วยเมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอาณาเขตตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตาม เมืองพัทยาได้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของร่างแผนที่ดังกล่าวแล้ว ขอรับรองว่า บริเวณทั้งหมดเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมืองพัทยาตามแผนที่ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดให้พื้นที่ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลออกไปในทะเลเป็นระยะทาง 1,000 เมตร ของเขตการปกครองพิเศษพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ดังนี้
                    1. กำหนดนิยามคำว่า ?แนวชายฝั่งทะเล?
                    2. กำหนดให้พื้นที่ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลออกไปในทะเลเป็นระยะ 1,000 เมตร ของเขตการปกครองพิเศษพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายกฎกระทรวงเป็นเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
                    3. กำหนดให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ดังนี้
                              (1) การปลูกป่าชายหาดหรือป่าชายเลน ต้องเป็นการดำเนินการเพื่อช่วยเสริมหรือทดแทนพันธุ์ไม้ โดยชนิดพันธุ์ไม้และบริเวณที่ปลูกให้เป็นไปตามสภาพธรรมชาติเดิม และต้องแจ้งให้อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทราบ
                              (2) ห้ามถ่ายเททราย เติมทราย ปักเสาดักตะกอน วางโดมทะเล ถุงใยสังเคราะห์ กล่องกระชุหิน สร้างไส้กรอกทราย เขื่อนหินทิ้ง กำแพงป้องกันคลื่น สร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งและรอดักทราย
                    4. กำหนดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่โดยห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้าง ถนนบนสันทราย เนินทราย เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และห้ามถมที่ดินในทะเล
                    5. กำหนดให้มีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ดังนี้ (1) ข้อมูลทั่วไป (2) รายการตรวจสอบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม (3) รายการผลกระทบสิ่งแวดล้อม (4) รายการแสดงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ
                    6. กรณีพบว่าโครงการหรือกิจกรรมส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีสัณฐาน หรือสภาพทางธรรมชาติของชายฝั่งเปลี่ยนไปจากเดิมให้เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมรายงานต่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยเร็ว เพื่อที่จะได้กำหนดวิธีการใด ๆ เพื่อให้เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมปฏิบัติตามต่อไป ทั้งนี้ กฎกระทรวงฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่การดำเนินการเพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือ

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยในการดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยในการดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    อว. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยในการดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย พ.ศ. ?. ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไปได้  จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย ดังนี้
                    1. กำหนดนิยามคำว่า ?สถานประกอบการ? ?ผู้รับใบอนุญาต? และ ?คณะกรรมการความปลอดภัย?
                    2. กำหนดหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย เช่น
                              2.1 ต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย เช่น การทบทวนการออกแบบสถานประกอบการ การจัดฝึกอบรม การจัดเก็บกากกัมมันตรังสี
                              2.2 ต้องจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่แสดงแผนภูมิการบังคับบัญชาและหน้าที่รับผิดชอบแต่ละตำแหน่ง
                              2.3 ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย ประกอบด้วย ผู้ชำนาญการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย โดยมีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาหรือเสนอแนะเรื่อง เช่น การออกแบบโครงสร้าง ระบบ และส่วนประกอบของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย เอกสารที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ขั้นตอนและวิธีการในการแก้ไข หรือควบคุมสถานการณ์เบื้องต้น รายงานการปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสี
                              2.4 ต้องจัดให้มีแผนดำเนินการต่าง ๆ เช่น แผนป้องกันอัคคีภัย แผนการตอบสนองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี  แผนป้องกันอันตรายอื่นจากการปฏิบัติงาน แผนจัดการความเสื่อมของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย และจัดให้มีการซักซ้อมตามแผนดังกล่าว
                              2.5 จะต้องเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยให้เป็นไปตามขีดจำกัดและเงื่อนไขการเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยตามที่ระบุไว้ในรายงานการวิเคราะห์ความปลอดภัยของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ฉบับสมบูรณ์และเงื่อนไขในใบอนุญาต
                              2.6 ต้องแจ้งให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติทราบถึงแผนและรายการการซ่อมบำรุง การทดสอบตามระยะเวลาและการตรวจสภาพเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย
                              2.7 ต้องวิเคราะห์ความปลอดภัยและจัดทำแผนการจัดการแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยและต้องตรวจสอบว่าแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
                              2.8 ต้องจัดให้มีการตรวจสอบวัดรังสีในสิ่งแวดล้อม
                              2.9 ต้องปฏิบัติตามแผนการหยุดเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยและดำเนินการทางเทคนิคเพื่อให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย

เศรษฐกิจ-สังคม
7. เรื่อง แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (23 เมษายน 2567) รับทราบและเห็นชอบหลักการของกรอบหลักการโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (โครงการ Digital Wallet) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    2. กค. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้หารือร่วมกับ สงป. เกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เพื่อนำมาใช้ในการ                       ดำเนินโครงการ Digital Wallet ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีผลการประชุมหารือสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 3,480,000                 ล้านบาท ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 และ สงป. ได้จัดสรรงบประมาณแล้วรวมทั้งสิ้น 3,457,941.24 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.37 โดยใช้จ่ายงบประมาณแล้ว จำนวน 1,749,963.43 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.61 ของงบประมาณที่จัดสรร ทำให้คงเหลืองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำหรับใช้จ่ายในระยะเวลา 5 เดือนที่เหลือไม่มาก ประกอบกับมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกรมบัญชีกลางที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างรายการปีเดียวและเบิกจ่ายภายในเดือนกันยายน 2567 และสำหรับรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ควรก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2567
                              2.2 การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยการปรับลดงบประมาณจากหน่วยรับงบประมาณที่เบิกจ่ายไม่ทันหรือหมดความจำเป็นให้แก่หน่วยรับงบประมาณอื่น จะทำได้ผ่านพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีข้อจำกัดในเรื่องวงเงินงบประมาณที่ได้จัดสรรไปแล้วและอาจส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ต้องหยุดชะงักและชะลอตัวลง เนื่องจากก่อนการจัดทำพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย หน่วยรับงบประมาณทุกหน่วยจะต้องชะลอการเบิกจ่าย การโอน หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรทุกกรณีจนกว่ากระบวนการพิจารณาการโอนงบประมาณจะแล้วเสร็จ (คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน) ดังนั้น การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยการจัดทำพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จึงเป็นวิธีการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่จะเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ
                              3. การจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                                        3.1 แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ                พ.ศ. 2567 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                                                  3.1.1 มุ่งเน้นดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อเติมเงินในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง กระจายไปทุกพื้นที่ให้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจถึงฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนและภาคธุรกิจ โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                                                  3.1.2 จัดทำงบประมาณเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวและส่งเสริมอัตรา                   การขยายตัวของเศรษฐกิจให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยและอัตราการขยายตัวตามศักยภาพโดยมุ่งเน้นการสร้างรายได้ ขยายโอกาส ดูแลคุณภาพชีวิตและความมั่นคง ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีสวัสดิการที่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการภาครัฐโดยการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี หรือแนวปฏิบัติใหม่ ๆ ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบราชการ
                                                  3.1.3 ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ                             แห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ                 พ.ศ. 2561 กฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีอย่างครบถ้วน
                                        3.2 ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567                โดยเป็นการกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่บทบัญญัติของกฎหมายกำหนดไว้

ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
วัน/เดือน/ปี          ขั้นตอนและกิจกรรม
การทบทวนและวางแผนงบประมาณ
(1)          21 พฤษภาคม 2567
          (ข้อเสนอในครั้งนี้)          คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบปฏิทินงบประมาณและ              แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ               พ.ศ. 2567
(2)          23 - 27 พฤษภาคม 2567

          28 พฤษภาคม 2567
          (2.1) คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐปรับปรุง           แผนการคลังระยะปานกลาง และนำเสนอคณะรัฐมนตรี
(2.2) คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุง                     แผนการคลังระยะปานกลาง
(3)          29 - 31 พฤษภาคม 2567





          4 มิถุนายน 2567          (3.1) กค. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทยและ สงป. ร่วมกันทบทวนการประมาณการรายได้ กำหนดนโยบาย กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ                   พ.ศ. 2567 และนำเสนอคณะรัฐมนตรี
(3.2) คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบาย                          วงเงินงบประมาณรายจ่ายและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
การจัดทำงบประมาณ
(4)          5 - 6 มิถุนายน 2567          หน่วยรับงบประมาณจัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่แสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและเผนการใช้จ่ายงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยรับงบประมาณ เป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ    พ.ศ. 2567 วงเงิน โครงสร้างงบประมาณ โดยให้ความสำคัญกับนโยบายรัฐบาล 142 ประเด็น ความต้องการของประชาชน รวมทั้งนำรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณเพื่อใช้ประกอบการจัดทำรายละเอียดคำของบประมาณเสนอนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบและส่ง สงป. ในรูปแบบเอกสารและผ่านระบบ e - Budgeting ภายในวันที่                        6 มิถุนายน 2567
(5)          7 - 11 มิถุนายน 2567

          18 มิถุนายน 2567          ( 5.1) สงป. พิจารณารายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และนำเสนอคณะรัฐมนตรี
(5.2) คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และมอบให้ สงป. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(6)          19 - 25 มิถุนายน 2567

          2 กรกฎาคม 2567          (6.1) สงป. ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(6.2) คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567 และให้ สงป. จัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบงบประมาณ
(7)          3 - 5 กรกฎาคม 2567


          9 กรกฎาคม 2567          (7.1) สงป. ดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบงบประมาณ
(7.2) คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบงบประมาณ และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร
การอนุมัติงบประมาณ
(8)          17 - 18 กรกฎาคม 2567          สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระที่ 1
(9)          31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2567          สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระที่ 2 - 3
(10)          6 สิงหาคม 2567          วุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(11)          13 สิงหาคม 2567          สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

8. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกรณีปัญหามลภาวะทางอากาศในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กรณีปัญหามลภาวะทางอากาศในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน  ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. กสม. ได้ติดตามสถานการณ์ปัญหามลภาวะทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ และพะเยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 เป็นต้นมา โดยที่ปัญหาดังกล่าว ได้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสิทธิของประชาชนที่จะมีสุขภาพที่ดีและมีมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่าสูงเกินมาตรฐานต่อเนื่องหลายปี และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2566 ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวม จากการเฝ้าระวังของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า ระหว่างปี 2563-2566 ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศสะสม 2.64 ล้านคน โดย 3 อันดับแรก อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง
                    2. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า ปัญหามลภาวะทางอากาศดังกล่าว มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนใน      วงกว้างและควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง จึงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ซึ่งจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ พบว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ยังมีข้อจำกัดและอุปสรรคหลายประการ เช่น การติดตามและควบคุมคุณภาพอากาศและ                               จุดความร้อนยังขาดการรวบรวมและประมวลข้อมูลอย่างเป็นระบบ การถ่ายโอนหน้าที่ในการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ยังขาดความชัดเจนในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อการแก้ไขปัญหาไม่เพียงพอ
                    3. คณะรัฐมนตรีมีมติ (24 ตุลาคม 2566) รับทราบข้อเสนอแนะ กรณีปัญหามลภาวะทางอากาศในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ตามที่ กสม. เสนอ และมอบหมายให้ ทส. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.)  สธ. สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ ทส. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะของ กสม. ในเรื่องดังกล่าวตามข้อ 2 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กค. อว. กษ. มท. สธ. สงป. สำนัก ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่                  8 ธันวาคม 2566 มีความเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ กสม. ในเรื่องดังกล่าวมีความเหมาะสมในหลักการ และเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมในหลายมิติ ส่วนใหญ่สอดคล้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? และมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 ตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 นอกจากนี้                ทส.  ได้ร่วมกับ กษ. ขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาการเผาในที่โล่ง จากห้ามเผาเด็ดขาดไปสู่การบริหารจัดการเชื้อเพลิง โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร ในการเปลี่ยนไฟเลวให้เป็นไฟดีและจากไฟดีให้เป็น                ไฟจำเป็น ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้

ข้อเสนอแนะของ กสม.          สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. ให้ศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสถานการณ์ไปยัง อปท. และดำเนินการขจัดอุปสรรคดังกล่าว เพื่อให้ อปท. สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ปรับปรุงกระบวนการการจัดสรรงบประมาณให้ อปท. เพื่อให้ได้รับเงินอุดหนุนโดยตรงสำหรับภารกิจป้องกันและควบคุมไฟป่าที่เพียงพอ รวมทั้งพิจารณาเพิ่มกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565


? การกระจายอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์ไฟป่าไปยัง อปท.มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจ ขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจ ขั้นตอน/วิธีปฏิบัติ ระยะเวลาดำเนินการและท้องถิ่นที่รับการถ่ายโอนไว้อย่างชัดเจนแล้วและได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภายหลังจากการถ่ายโอนภารกิจแล้ว อปท.จะมีอำนาจในการควบคุมไฟป่าตามภารกิจที่ได้รับถ่ายโอน ตลอดจนสามารถจับกุม ปราบปรามผู้กระทำผิดความผิดฐานเผาป่าภายในเขตพื้นที่ อปท. ที่รับผิดชอบได้ ปัจจุบันมีการถ่ายโอนภารกิจไปยัง อปท. แล้ว ร้อยละ 99 โดยมี อปท. เพียงร้อยละ 1  ยังไม่สามารถรับการถ่ายโอนภารกิจเนื่องจากยังไม่มีความพร้อม รวมทั้ง อปท.ที่รับการถ่ายโอนภารกิจแล้วยังไม่สามารถปฏิบัติภารกิจด้านการป้องกันและควบคุมไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิผลเนื่องจากขาดแคลนเจ้าหน้าที่และงบประมาณ
?  การจัดสรรงบประมาณให้ อปท.เพื่อให้ได้รับเงินอุดหนุนโดยตรงสำหรับภารกิจป้องกันและควบคุมไฟป่าที่เพียงพอ สงป. ได้จัดสรรงบประมาณให้กับ อปท. สำหรับภารกิจป้องกันและควบคุมไฟป่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2567 ผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและ สงป. มีแผนจัดสรรงบประมาณให้ อปท.โดยตรง โดยจะเริ่มในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2572 อปท.ทุกหน่วยงานจะเป็นหน่วยรับงบประมาณโดยตรงทั้งหมด ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ เช่น กรมป่าไม้ จำเป็นต้องเสริมสร้างศักยภาพให้กับ อปท. อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้ และทักษะในการปฏิบัติภารกิจในการป้องกันและควบคุมไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยและงบประมาณสำหรับดำเนินงาน สงป. ต้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ อปท. โดยตรงอย่างเพียงพอซึ่งอาจพิจารณาในเชิงพื้นที่ นอกจากนี้ ต้องพิจารณางบประมาณที่อาจซ้ำซ้อนกับหน่วยงาน รวมถึงอาจนำผลสัมฤทธิ์ที่ผ่านมาเพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้วย
? พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย             พ.ศ. 2550 ได้แบ่งระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยเป็น 2 ระดับ คือ ระดับนโยบาย (ส่วนกลาง) และระดับพื้นที่ (จังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น) โดยระดับนโยบายมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และระดับพื้นที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้อำนวยการจังหวัด โดยกลไกการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน  ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาควิชาการ
2. ทบทวนนโยบายห้ามเผาเด็ดขาด โดยพิจารณาความเหมาะสมในการบริหารจัดการมลภาวะทางอากาศที่คำนึงถึงบริบทเชิงพื้นที่และความจำเป็นของประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตลอดจนพัฒนาแอปพลิเคชันในการจัดการและควบคุมการเผาป่าหรือพื้นที่เกษตรกรรมให้สามารถใช้งานได้สะดวกมีประสิทธิภาพ และมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น          ? กษ. ได้วางแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ปี 2566/2567 โดยให้ดำเนินการเชิงรุก และเปลี่ยนนโยบายห้ามเผาเด็ดขาดเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร และการจัดการแปลงที่ปลอดการเผามุ่งสู่มาตรฐาน GAP เพื่อเพิ่มสินค้าคาร์บอนต่ำและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผ่านแนวทาง 3R ประกอบด้วย
1. Re-Habit: ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนนิสัย/พฤติกรรม การปลูกพืชเป็นการปลูกแบบไม่เผา
2. Replace with High value crops : ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนชนิดและวิธีการปลูกพืชบนพื้นที่สูง จากพืชที่ยังใช้ระบบการเผา
3. Replace with Alternate cops : ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนชนิดและวิธีการปลูกพืชบนพื้นราบ โดยเน้นการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและเป็นประโยชน์ต่อดิน ซึ่งสามารถลดการเผา ลดการใช้น้ำและลดปัญหาข้าวราคาตกต่ำเพื่อลดปัญหาฝุ่นควันภาคการเกษตรอย่างยั่งยืนภายใต้มาตรฐาน GAP PM2.5 Free โดย กษ. จะมีนโยบายให้เกษตรกรได้รับสิทธิพิเศษเป็นค่าตอบแทนรวมถึงสถาบันเกษตรกรที่รวบรวมผลผลิตที่ไม่เผาด้วยและจะขอความร่วมมือภาคเอกชนให้รับซื้อผลผลิตที่ไม่เผาในราคาที่สูงกว่า รวมทั้งจะสนับสนุนให้เกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูกทั้งในพื้นที่สูงและที่ราบให้ได้รับเงินทุนสนับสนุนช่วงรอเก็บเกี่ยว และจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วพร้อมทั้งจัดหาตลาดรองรับผลผลิต
? ทส. ได้จัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5                   ปี 2567 ภายใต้กรอบแนวคิดในการกำหนดพื้นที่แบบมุ่งเป้าโดยระบุพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่เกษตรที่ไฟไหม้ซ้ำซาก สร้างกลไกการทำงานให้ภาคเอกชนสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา เพื่อลดข้อจำกัดด้านงบประมาณ จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ  เพื่อสั่งการลงสู่ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด แก้ไขปัญหาฝุ่นพิษแบบถาวร ปรับปรุงแก้ไขกฏ/ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ยกระดับการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนให้เข้มข้นจากระดับภูมิภาคอาเซียนไปสู่ระดับทวิภาคี ใช้การสื่อสารเชิงรุก ตรงจุด ต่อเนื่อง บ่อยครั้ง
?  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ (ทสจ.เชียงใหม่) ในฐานะตัวแทนในระดับพื้นที่นำเสนอการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนนโยบายห้ามเผาเด็ดขาด โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกประกาศจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง กำหนดเขตการบริหารจัดการเชื้อเพลิงและเขตควบคุมการเผาของจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566
?  ในปี พ.ศ. 2564 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) กรมควบคุมมลพิษ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย ได้ร่วมกันพัฒนาระบบบริหารจัดการเชื้อเพลิงแอปพลิเคชัน Burn Check เพื่อลดฝุ่นละอองจากการเผาและผลกระทบต่อสุขภาวะผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยแอปพลิเคชัน Burn Check ได้พัฒนาแล้วเสร็จและได้ทดสอบระบบในพื้นที่ในปลายปี 2564 พร้อมทั้งได้ถูกใช้งานจริงในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือในช่วงปลายปี 2564 ในปี                   พ.ศ. 2565 สทอภ. ได้จัดฝึกอบรมการใช้งานแอปพลิเคชัน Burn Check  ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกเพื่อให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างถูกต้องและสามารถถ่ายทอดให้เกิดการขยายผลการใช้งานระบบสู่ชุมชน รวมทั้งกรมควบคุมมลพิษ ได้ประสานขอความร่วมมือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในการประชาสัมพันธ์พร้อมกับขยายการใช้งานแอปพลิเคชัน Burn Check                     ให้ทั่วประเทศ และในปัจจุบัน สทอก. และกรมควบคุมมลพิษยังคงทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการจัดอบรมให้กับจังหวัดที่มีความประสงค์จะใช้แอปพลิเคชัน Burn Check และในการพัฒนาต่อยอดแอปพลิเคชัน Burn Check  โดยมีแผนงานปรับปรุงระบบให้เข้าถึงประชาชนและสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นรวมถึงเล็งเห็นโอกาสของเกษตรกรในการสร้างรายได้จากเศษวัสดุทางการเกษตรจึงได้พัฒนาโมดูลการซื้อขายเศษวัสดุทางการเกษตร (เพิ่มเติม) เพื่อเป็นทางเลือกแทนการเผา เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กลับมาสู่ชุมชน ลดการเผา ลดปัญหาฝุ่นละอองทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ ได้อย่างยั่งยืน
3. ให้พิจารณาจัดทำตัวชี้วัดที่ทุกภาคส่วนเห็นพ้องต้องกันเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงแก้ไขการบริหารจัดการมลภาวะทางอากาศภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีและสะท้อนกลไกการทำงานแบบมีส่วนร่วมรวมทั้งกำหนดค่าเป้าหมายหรือความสำเร็จที่สามารถวัดผลได้ ดังนี้
          3.1 ด้านกฎหมายและนโยบาย เช่น                     การปรับปรุงระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายไปยังระดับพื้นที่ การเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหา การจัดทำงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ร่วมกับชุมชน
          3.2 ด้านกระบวนการ เช่น การถ่ายโอนภารกิจจากหน่วยงานส่วนกลางไปยัง อปท. การสร้างความร่วมมือการสื่อสารทำความเข้าใจ การเพิ่มจำนวนเครือข่ายแก้ไขปัญหา การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานและอาสาสมัคร
          3.3 ด้านผลลัพธ์ เช่น การพัฒนาและประเมินผลการนำเข้าข้อมูลที่ใช้ในการบริหารจัดการมลภาวะทางอากาศ การแสดงจุดความร้อน จุดเผาไหม้ สัดส่วนพื้นที่ที่เกิดไฟป่าหรือไฟในพื้นที่เกษตรกรรมจำนวนวันหรือช่วงเวลาที่ค่ามาตรฐาน PM2.5  อยู่ในเกณฑ์เตือนภัยหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพที่ลดลง หรือจำนวนผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินหายใจของแต่ละพื้นที่ลดลงจำนวนผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินหายใจในแต่ละพื้นที่          ? สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำตัวชี้วัดที่ทุกภาคส่วนเห็นพ้องต้องกันในประเด็นการลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5  และ PM10 ในด้านกฎหมายและนโยบายด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว
? มีการกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง เช่น ระดับความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่วิกฤต ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหา PM2.5  ของภาคคมนาคม จำนวนพื้นที่ที่ใช้ผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์ในการติดตาม วางแผนเพื่อทำให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และไม่เกิน 10 ไมครอน (PM1.0) เฉลี่ยรายปีลดลง และความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมติดตามคุณภาพอากาศและมลพิษ
? มีการกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง เช่น ร้อยละของจำนวนเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันและควบคุมไฟป่าที่ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีมาก ร้อยละของ อปท. ที่จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา PM2.5 ระดับความสำเร็จของคณะผู้แทนไทยในการผลักดันประเด็นการแก้ไขปัญหาจากหมอกควันข้ามแดนในกรอบประชุมอาเซียนระดับความสำเร็จของกิจกรรมในการดำเนินการของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางและกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติและพัฒนา Think Tank เมืองเชียงใหม่และเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือสู้                    ฝุ่นควัน
? มีการกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่ภาคเหนือลดลง ร้อยละที่ลดลงของจำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ร้อยละของจังหวัดเสี่ยงที่มีการเฝ้าระวังและการจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษอากาศ สัดส่วนจำนวนเที่ยว                    การเดินรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และร้อยละของปริมาณอ้อยที่ถูกลักลอบเผาในการผลิตน้ำตาลทราย


9. เรื่อง รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เรื่อง มาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เรื่อง มาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้แจ้งผู้ตรวจการแผ่นดินทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ (7 พฤศจิกายน 2566) รับทราบรายงานฯ ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผผ.) เสนอ และให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)  กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ มท. สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชุมหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ ผผ. เกี่ยวกับการดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียนของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่ง มท. ได้รวบรวมและสรุปผลการดำเนินการในภาพรวม                  สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ ผผ. [ตามมติคณะรัฐมนตรี
(7 พฤศจิกายน 2566)]          ผลการดำเนินการ/มติของที่ประชุม

1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เช่น
 (1) กำหนดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน เป็นอีกประเด็นหนึ่งของนโยนายระดับชาติ จัดตั้งคณะทำงานร่วมกันภายใต้กลไกคณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ของแต่ละจังหวัดเพื่อจัดทำแผนความปลอดภัยแก้ไขกฏระเบียบการพัฒนาระบบจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนให้มีความปลอดภัยอย่างยั่งยืนและกำหนดให้มียุทธศาสตร์หรือคณะทำงานด้านความปลอดภัยรถรับ-ส่งนักเรียนในทุกจังหวัด
(2) เน้นย้ำและทำความเข้าใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการกำหนดให้การจัดรถรับ-ส่งนักเรียนสำหรับเด็กนักเรียนยากจนและด้อยโอกาส เป็นภารกิจของ อปท. และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ          ? ผลการดำเนินการ
- มท. (อปท.) ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติในการควบคุมดูแลรถรับ-ส่งนักเรียนของสถานศึกษา (โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) และขอความร่วมมือให้สถานศึกษาในสังกัด อปท. ทุกแห่งถือปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวโดยเคร่งครัด เช่น (1) มีมาตรการในการควบคุม ตรวจสอบสภาพและลักษณะรถที่ใช้ในการรับ-ส่งนักเรียน  (2) ตรวจสอบคุณสมบัติและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการรับ-ส่งนักเรียน                  (3) อบรมให้ความรู้ ฝึกปฏิบัติในการช่วยเหลือหรือเอาตัวรอดขณะเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้                  (4) จัดทำทะเบียนข้อมูลและระบบหรือช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างสถานศึกษา ผู้ขับรถหรือผู้ควบคุมดูแลนักเรียนในรถรับ-ส่ง และผู้ปกครอง
- มท. [กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)] คณะกรรมการ ศปถ. ในการประชุมเมื่อวันที่                          3 พฤศจิกายน 2566 มีมติรับทราบข้อเสนอแนะฯ ของ ผผ. และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอแนะฯ ไปขับเคลื่อนดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจและรายงานให้คณะกรรมการ ศปถ. ทราบ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ในฐานะประธานกรรมการ ศปถ. ติดตามการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าว

2. ข้อเสนอแนะด้านบริหารจัดการ เช่น
 (1) ให้โรงเรียนมีการจัดทำระบบฐานข้อมูล
รถรับ-ส่งนักเรียน กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานเรื่องความปลอดภัยการเดินทางของนักเรียนโดยเฉพาะรถรับ-ส่งนักเรียน จัดทำทะเบียนข้อมูลรถรับ-ส่งนักเรียนแต่ละคัน ทบทวนและแก้ไขระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ. 2562 และบรรจุแผนงานจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนเป็นในภารกิจหลักของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
(2) กำหนดมาตรการให้โรงเรียนหรือสถานศึกษา
ทุกแห่งมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบ และกำกับดูแลมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน การออกหนังสือรับรองการเป็นรถรับ-ส่งนักเรียน
(3) พัฒนาหลักสูตรจุดความรู้เกี่ยวกับแนวทาง               การจัดการระบบรถรับ-ส่งนักเรียนปลอดภัยให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีองค์ความรู้และหลักวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง
(4) ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าเดินทาง (รถรับ-ส่งนักเรียน) ให้กับนักเรียนยากไร้
(5) ควรกำหนดมาตรการหรือแนวทางสนับสนุนเพื่อจูงใจให้ผู้ขับรถรับ-ส่งนักเรียนนำรถเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลผ่านการขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตการใช้รถรับ-ส่งนักเรียน
(6) ทบทวนกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบันให้มีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และควรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียนเป็นการเฉพาะเจาะจง
(7) สนับสนุนให้สำนักงานขนส่งจังหวัดจัดอบรมความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้ขับรถรับ-ส่งนักเรียน โรงเรียน และผู้ปกครอง และกำหนดแนวปฏิบัติในการอนุญาตให้ใช้รถรับจ้างรับ-ส่งนักเรียนให้สอดคล้องกับสภาพวิถีชีวิตของชุมชนในเต่ละพื้นที่
(8) จัดทำฐานข้อมูลรถรับ-ส่งนักเรียน พัฒนารูปแบบ วิธีการจัดเก็บข้อมูล และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการระบบรถรับ-ส่งนักเรียน โดยร่วมกับ ศธ. สำนักงานขนส่งจังหวัดให้เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน
(9) ควรมีการปรับแก้ไขการอนุญาตเป็นครั้งละ 1 ปีการศึกษา และกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของโรงเรียนและสถานศึกษาในการออกหนังสือรับรองฯ (10) ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในด้านความปลอดภัยเชิงป้องกันในการเดินทางโดยรถรับ-ส่งนักเรียนและสนับสนุนให้เกิดระบบบริหารจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนอัจฉริยะต้นแบบที่เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน
           ? ผลการดำเนินการ
- ศธ. (สพฐ.) ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันในการบริหารจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนให้มีมาตรฐานความปลอดภัย และนำไปสู่การปฏิบัติ เช่น
1) กำชับและติดตามสถานศึกษาทุกแห่งปฏิบัติตามระเบียบ ศธ.ฯ และใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการรถรับ-ส่งนักเรียน เช่น มีระบบฐานข้อมูลรถรับ-ส่งนักเรียน กำหนดแผนและปฏิบัติให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียนที่มีมาตรฐาน
2) สถานศึกษาในสังกัดอาจกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยรถรับ-ส่งนักเรียนเพิ่มเติมได้โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ ศธ.ฯ และหน่วยงานมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการควบคุม ตรวจสอบและกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรการดังกล่าว
3) พัฒนาหลักสูตรและสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยทางถนนเพื่อใช้เป็นหลักสูตรแกนกลางในการจัดการเรียนการสอนเป็นรายวิชาพื้นฐานและวิชาเลือก
4) การจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าเดินทาง                     (รถรับ-ส่งนักเรียน) ศธ. จะได้ประสานกับสำนักงบประมาณในเรื่องหลักการและแนวทางเพื่อให้เกิดความชัดเจนอีกครั้ง
คค. (กรมการขนส่งทางบก) ได้ดำเนินการ เช่น                            1) กำหนดแนวปฏิบัติในการอนุญาตให้รถรับจ้างรับ-ส่งนักเรียน เช่น กรณีเป็นรถตู้ ที่นั่งจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยครบถ้วน ต้องไม่ติดฟิล์มกรองแสงที่กระจก กรณีเป็นรถสองแถว ต้องมีประตูกั้นกันนักเรียนตกรถติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ
2) ทบทวนกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน สำหรับการรับ-ส่งนักเรียนขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยการกำหนดประเภทใบอนุญาตขับรถยนต์รับ-ส่งนักเรียน และกำหนดเกณฑ์มาตรฐานด้านความปลอดภัยเป็นการเฉพาะ
3) จัดอบรมให้แก่ผู้ขับรถและมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการเสริมสร้างความรู้เรื่องความปลอดภัยของ                    รถรับ-ส่งนักเรียน โดยการสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรมจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้                  รถใช้ถนน
4) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลรถที่ขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตใช้รถรับ-ส่งนักเรียนประมาณ 4,000 คัน แต่ยังไม่มีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับระบบข้อมูลของ ศธ. หรือโรงเรียน
5) ในประเด็นการกำหนดให้โรงเรียนและสถานศึกษามีหน้าที่และอำนาจออกหนังสือรับรองอนุญาตขับรถรับ-ส่งนักเรียน จะขอรับไปพิจารณาดำเนินการเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป
- ดศ. ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลเชื่อมต่อ                การบูรณาการรับ-ส่งนักเรียนในพื้นที่สำคัญตามโครงการ Smart School Bus แต่ยังพบประเด็นขัดข้อง เช่น ผู้ให้บริการรถรับส่งนักเรียนเอกชนส่วนใหญ่ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องข้อมูลของตนเอง รวมถึงจะต้องนำรถไปให้บริการอย่างอื่นด้วย จึงมีแผนที่จะรณรงค์ให้มีการติดตั้งเซนเซอร์และเปิดใช้งาน เพื่อจะได้นำข้อมูลมาประมวลผลและปรับปรุงบริการในอนาคต

3. ข้อเสนอแนะด้านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น แต่งตั้งคณะทำงานร่วมภายใต้กลไกคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการ ศปถ. กำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์หรือคณะทำงานด้านความปลอดภัยรถรับ-ส่งนักเรียนในทุกจังหวัดบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสร้างภาคีเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง          ? มติของที่ประชุม : เห็นชอบให้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1) ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันภายใต้กลไกคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการ ศปถ. และมีแผนยุทธศาสตร์หรือคณะทำงานด้านความปลอดภัยรถรับ-ส่ง นักเรียนในทุกจังหวัด โดยใช้แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565-2570 เป็นกรอบในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อความสอดคล้องกัน
2) จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ โดยพัฒนารูปแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูล และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบรถรับ-ส่งนักเรียนให้เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในด้านความปลอดภัยเพื่อให้การบริหารจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนมีความปลอดภัย
3) ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติให้กับโรงเรียนและสถานศึกษาและเสริมสร้างระบบเดินทางที่ปลอดภัยให้กับนักเรียนทุกคนโดยดำเนินการขับเคลื่อนหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ ?ทักษะคิด การเอาชีวิตรอดภัยบนท้องถนน? (Thailand Safe Youth Camp: TSY Camp) สำหรับเด็กและเยาวชนเน้นการปรับทัศนคติให้รับรู้อันตรายและความเสี่ยงการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง


10. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคมและ 3 เดือนแรกของปี 2567
          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคมและ 3 เดือนแรกของปี 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
          1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคม 2567
          การส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2567 มีมูลค่า 24,960.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (892,290 ล้านบาท) หดตัวที่ร้อยละ 10.9 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว
ร้อยละ 5.6 จากฐานการส่งออกที่สูงในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ยังคงรักษาระดับการส่งออกได้ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของมูลค่าการส่งออกย้อนหลัง 5 ปี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่เผชิญความไม่แน่นอนและขยายตัวต่ำ
จากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายพื้นที่ อีกทั้งการดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างเข้มงวดยาวนาน ส่งผลต่อกำลังซื้อ ปัญหาหนี้สิน และการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจ นอกจากนี้ สภาพอากาศแปรปรวนทำให้อุปทานของสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดล่าช้า ทั้งนี้ การส่งออก 3 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวที่ร้อยละ 0.2 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 1.3
          มูลค่าการค้ารวม
          มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมีนาคม 2567 มีมูลค่าการค้ารวม  51,084.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 24,960.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 10.9 การนำเข้า มีมูลค่า 26,123.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.6 ดุลการค้า ขาดดุล 1,163.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 3 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 146,465.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 1.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออก มีมูลค่า 70,995.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 0.2 การนำเข้า มีมูลค่า 75,470.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.8 ดุลการค้า 3 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 4,475.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
          มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมีนาคม 2567 มีมูลค่าการค้ารวม 1,837,118  ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 892,290 ล้านบาท  หดตัว  ร้อยละ 6.6 การนำเข้า มีมูลค่า 944,828 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.7 ดุลการค้า ขาดดุล 52,538 ล้านบาท ภาพรวม 3 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 5,196,033 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออก มีมูลค่า 2,504,009 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 4.2 การนำเข้า มีมูลค่า 2,692,023 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.2 ดุลการค้า 3 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 188,014 ล้านบาท
          การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 5.1 โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.1 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 9.9 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 30.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินโดนีเซีย โมซัมบิก มาเลเซีย และญี่ปุ่น) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 36.9 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสเปน) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 1.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย อิสราเอล ลิเบีย และแคนาดา) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 29.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี มาเลเซีย และออสเตรเลีย) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 20.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 9.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 19.1 (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม และญี่ปุ่น) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 16.7 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 45.6 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซีย)  ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 38.7 (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 50.2 (หดตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา มาเลเซีย กัมพูชา และจีน) ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว
ร้อยละ 0.3
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
          มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 12.3 มีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 4.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน เม็กซิโก และสหราชอาณาจักร) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ขยายตัวร้อยละ 3.9 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 12.4 (หดตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เม็กซิโก มาเลเซีย แอฟริกาใต้ และอินโดนีเซีย) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 10.5 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูขา และสิงคโปร์) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 11.8 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเยอรมนี) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 12.7 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ อิตาลี ฝรั่งเศส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไต้หวัน) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หดตัวร้อยละ 16.1 (หดตัวในตลาดอินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์) ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.3
ตลาดส่งออกสำคัญ
          ตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่หดตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปสหรัฐฯ ทวีปออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศ CLMV ยังขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ
สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 9.1 โดยหดตัวตลาดจีน ร้อยละ 9.7 ญี่ปุ่น ร้อยละ 19.3
สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 0.1 และอาเซียน (5) ร้อยละ 26.1 แต่ยังขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 2.5 และ CLMV ร้อยละ 0.5 (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 4.3 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 6.1 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 7.3 แอฟริกา ร้อยละ 11.9 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 10.2 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 14.2
และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 19.3 ขณะที่ตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 13.5 (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัว                        ร้อยละ 82.3 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 87.3
           2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
                     การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนมีนาคม อาทิ
(1) การเจรจาเพื่อเปิดตลาดสินค้าไทยในฮ่องกงและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า โดยผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ทั้งสองประเทศได้ร่วมหารือแนวทางการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ไทย แลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้าและบริการในการเปิดตลาดฮ่องกง และเชิญชวนผู้ประกอบการฮ่องกงที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุน พร้อมขอความร่วมมือฮ่องกงสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ Soft Power ของไทยให้มากขึ้น ทั้งอาหาร ผลไม้ ข้าวหอมมะลิไทย และธุรกิจบริการไทย เช่น โรงพยาบาล โรงแรม และธุรกิจบริการด้านสุขภาพและบริการสำหรับผู้สูงอายุ (2) การลงนามจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (EPA) ไทย-สาธารณรัฐเกาหลี โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เป็นสักขีพยานในการลงนามดังกล่าว ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเจรจา FTA ต่อไป โดยสินค้าที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ เนื้อไก่แช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ผลไม้เมืองร้อน อาทิ มะม่วง ฝรั่ง และมังคุด ผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ แป้ง ซอสและของปรุงรส ผลิตภัณฑ์ไม้ และเคมีภัณฑ์ ขณะที่ภาคบริการที่ได้รับประโยชน์ ได้แก่ การขนส่ง คลังสินค้า โรงแรม และภัตตาคาร เป็นต้น (3) การอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าผลไม้ไปจีน โดยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง ได้เข้าหารือกับผู้บริหารของจีน เพื่อเตรียมความพร้อมอำนวยความสะดวกให้กับผลไม้ไทยที่กำลังจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไป ซึ่งฝ่ายจีนยืนยันความพร้อมในการรองรับผลไม้ไทยผ่านช่องทางด่านสำคัญต่าง ๆ และยินดีให้ความช่วยเหลือและประสานงานในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อขัดข้องด้านการส่งออก
           แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะยังขยายตัวได้จากสินค้าเกษตรและอาหารที่ไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ท่ามกลางภาวะขาดแคลนอาหารทั่วโลกและ                   ภาวะสงครามในบางประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าอาหารยังอยู่ในระดับสูง สำหรับภาคการผลิตโลกยังคงทยอยฟื้นตัวส่งผลบวกต่อการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟน และเครื่องใช้ไฟฟ้า การทำงานของกระทรวงพาณิชย์ในการผลักดันการส่งออกสู่ตลาดใหม่ ๆ เพื่อชดเชยตลาดหลักที่ฟื้นตัวล่าช้า ขณะที่ยังมีปัจจัยท้าทายจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามประเมินสถานการณ์เป็นระยะ และจะทำงานร่วมกับทูตพาณิชย์ในแต่ละประเทศเพื่อหาแนวทางลดอุปสรรคในการส่งออกต่อไป

11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2566 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2566 จำนวน 5 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 3,052 ล้านบาท โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็น ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ โดยให้ กฟภ. จัดทำแผนการกู้เงินส่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเพื่อบรรจุวงเงินกู้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณตามความเห็นของกระทรวงการคลังต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า
                    1. กฟภ. ขอกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2566 จำนวน 5 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 3,052 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการ กฟภ. ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 มีมติเห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนในแผนงานดังกล่าว ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวเป็นแผนงานภายใต้กรอบและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กันยายน 2565) เห็นชอบด้วยแล้ว
                    2. รายละเอียดของแผนงานภายใต้กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 5 แผนงาน สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
แผนงานระยะยาวใหม่          ระยะเวลาดำเนินการ
(พ.ศ.)          วงเงินเต็มแผนงาน          เป้าหมายการเบิกจ่ายแต่ละปี          แหล่งเงินทุน
                              2566          2567          2568          2569          เงินกู้ในประเทศ          เงินรายได้
(1) แผนงานปฏิบัติการดิจิทัลด้านสื่อสารและโทรคมนาคมของ กฟภ. ปี 2566 : เป็นการกำหนดกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบสื่อสารของ กฟภ. โดยจะพัฒนาโครงข่ายสื่อสารของ กฟภ. ให้ครอบคลุม และมีความมั่นคง สนับสนุนกระบวนการบริการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของสายงานต่าง ๆ ช่วยสนับสนุนกระบวนการทำงานภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและยกระดับการบริการลูกค้าให้สะดวกรวดเร็ว และมีความทันสมัยยิ่งขึ้น
การดำเนินการ :
   - พัฒนาโครงข่าย IP Access Network1
   - ขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง2
   - ตรวจซ่อม และปรับปรุงสายเคเบิลใยแก้วนำแสง          2566-2568          401.33          211.74          141.68          47.91          -          300.00          101.33
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : โครงข่ายสื่อสารของ กฟภ. มีความครอบคลุมและมั่นคง สามารถรองรับระบบงานภายใน กฟภ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถยกระดับการให้บริการลูกค้าให้สะดวกรวดเร็วมีความทันสมัยยิ่งขึ้น
(2) แผนระยะยาวการก่อสร้างเคเบิลใต้ดิน (ระยะที่ 2) : เป็นการก่อสร้างและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าเหนือดินเป็นเคเบิลใต้ดินในพื้นที่ดำเนินการ จำนวน 74 จังหวัด3 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กฟภ. เพื่อเพิ่มความมั่นคงและเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามตามความประสงค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล และหน่วยงานภายนอกต่าง ๆ ที่มีความพร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณทางด้านงานโยธา
การดำเนินการ : ก่อสร้างระบบจำหน่ายแรงสูงใต้ดิน (22/33 kV) รวมประมาณ 37 กิโลเมตร          2566-2568          2,050.00          93.50          817.00          1,139.50          -          1,537.00          513.00
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : เพิ่มความมั่นคงและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า (Reliability) โดยลดจำนวนครั้งไฟฟ้าดับ (SAIFI) และระยะเวลาไฟฟ้าดับ SAIDI) และมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม รวมทั้งระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้ไฟ
(3) แผนงานก่อสร้างปรับปรุงอาคาร 2 และผังบริเวณ กฟภ. สำนักงานใหญ่ เพื่อขอรับการประเมินและการรับรองมาตรฐาน LEED4 เป็นการปรับปรุงอาคาร 2 เป็นสำนักงานยุคใหม่ (Modern-Office) และเป็นอาคารประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Office) ได้รับรองตามมาตรฐาน-LEED โดยปัจจุบันอาคาร 2 เป็นอาคารเก่าที่มีอายุการใช้งานประมาณ 40 ปี ซึ่งมีสภาพอาคารที่เสื่อมโทรม
การดำเนินการ : ก่อสร้างปรับปรุงอาคาร 2 และผังบริเวณ กฟภ. สำนักงานใหญ่          2566-2568          403.97          35.85          127.26          240.86          -          302.00          101.97
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : มีอาคารสำนักงานยุคใหม่ที่ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการอาคารโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษา
(4) แผนงานปรับปรุงประสิทธิภาพระบบควบคุมและป้องกันสถานีไฟฟ้าระยะที่ 2 : ที่ผ่านมา กฟภ. ได้ดำเนินการติดตั้งระบบควบคุมสถานีไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Substation Control System : CSCS) เพื่อใช้งานควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในสถานีไฟฟ้าต่าง ๆ โดยปัจจุบันมีสถานีไฟฟ้าที่ใช้งานระบบ CSCS จำนวน 653 สถานี ซึ่งมีหลายสถานีไฟฟ้าที่มีการใช้งานยาวนานเกินกว่า 10 ปี ทำให้อุปกรณ์หลักของระบบ CSCS เริ่มมีการชำรุดบ่อยครั้งและไม่สามารถซ่อมแซมแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ รวมถึงอุปกรณ์ดังกล่าวบริษัทผู้ผลิตได้ยกเลิกการผลิตไปแล้ว และอะไหล่รุ่นใหม่ไม่สามารถใช้ทดแทนรุ่นเก่าได้ จึงจำเป็นต้องรื้อถอนระบบ CSCS เดิมออกและติดตั้งระบบ CSCS ใหม่ทดแทน
การดำเนินการ : ปรับปรุงระบบ CSCS ที่มีการติดตั้งใช้งานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (นับถึงปีที่จะดำเนินการ) จำนวน 20 สถานีไฟฟ้า ซึ่งเก่าและเสื่อมสภาพ และมีประวัติการชำรุดของอุปกรณ์ตามข้อมูลที่เขตแจ้ง          2566-2569          457.735          28.17          248.80          160.80          14.97          343.00          114.73
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : ระบบ CSCS สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและ กฟภ. จะมีอะไหล่จากการซื้อถอนเพื่อนำไปซ่อมแซมแก้ไขปัญหาระบบ CSCS ในส่วนที่ขัดข้องชำรุดของผลิตภัณฑ์และรุ่นเดียวกันที่ยังติดตั้งใช้งานอยู่
(5) แผนงานปฏิบัติการดิจิทัลด้านระบบงานและแพลตฟอร์ม ปี 2566 : เป็นการพัฒนาแนวทางการบริหารและจัดการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและเป็นระบบ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องต่อทิศทางการดำเนินงานและแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีและส่งเสริมขีดความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
การดำเนินการ :
   - จัดหา/ทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
   - ปรับปรุงระบบเครือข่ายภายในสำนักงาน
   - ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (SOC Improvement for IT-OT)6
   - จัดหา/ทดแทนพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์          2566-2567          761.08          536.37          224.71          -          -          570.00          191.08
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : งานขององค์กรมีมาตรฐาน มีความมั่นคงปลอดภัยรองรับการเติบโตของธุรกิจ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลที่มีมาตรฐานสากล ลดความเสี่ยงในการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์
รวมทั้งสิ้น 5 แผนงาน          4,074.11          905.63          1,559.45          1,589.07          14.97          3,052.00          1,022.11

1 โครงข่าย IP Access Network เป็นเครือข่ายอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสถานีไฟฟ้า สำนักงานไฟฟ้ากับสำนักงานเขต และสำนักงานใหญ่เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2 โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นเครือข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพื่อใช้งานเชื่อมต่อระหว่างสถานีไฟฟ้ากับสถานีไฟฟ้า หรือสำนักงานไฟฟ้ากับสำนักงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
3 ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง
4 LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) เป็นการออกแบบเพื่อความเป็นผู้นำทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นระบบที่ถูกนำมาใช้ประเมินมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถแบ่งมาตรฐาน LEED ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ (1) อาคารสร้างใหม่ (New Buildings) มุ่งเน้นเรื่องการออกแบบและการก่อสร้าง เพื่อให้เป็นอาคารที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (2) อาคารใช้งาน (Existing Buildings) จะพิจารณาจากประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือ Performance ของการใช้อาคาร ซึ่งจะได้จากการวัดผลดำเนินการจริงและมาตรการควบคุม บำรุงรักษาการใช้งานอาคาร
5 วงเงินเต็มแผน 457.73 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) วงเงินลงทุน ปี 2566 จำนวน 286.34 ล้านบาท และ (2) วงเงินลงทุน ปี 2567 จำนวน 171.39 ล้านบาท (วงเงินลงทุน ปี 2567 รวมเงินสำรองปรับราคาร้อยละ 3 ของวงเงิน 166.40 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับ 4.99 ล้านบาท) แต่การเบิกจ่ายตั้งแต่ปี 2566 - 2569 ไม่รวมเงินสำรองปรับราคาร้อยละ 3 ทำให้มีวงเงินเบิกจ่ายคงเหลือ 452.74 ล้านบาท (28.17 + 248.80 + 160.80 + 14.97)
6 SOC Improvement for IT-OT เป็นศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Security Operation Center : SOC) เพื่อยกระดับการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้ครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีปฏิบัติการของ กฟภ.

12. เรื่อง โครงการแพลตฟอร์มการชำระเงิน (Payment Platform)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ สพร. เป็นผู้ดำเนินโครงการแพลตฟอร์มการชำระเงิน (Payment Platform)
                    2. เห็นชอบกรอบงบประมาณโครงการแพลตฟอร์มการชำระเงิน (Payment Platform) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 95 ล้านบาท
                    3. ให้หน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินร่วมมือกับ สพร. ในการสนับสนุนข้อมูลและร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระยะต่อไป
                    สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นเห็นควรให้ สพร. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณเป็นลำดับแรก หากไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการและใช้จ่ายโดยเร็วเห็นควรให้จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายรวมทั้งแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น               ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสถานการณ์ตามขั้นตอนต่อไป โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน                    ความประหยัด ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สพร. รายงานว่า
                    1. สพร. ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งกำหนดให้มีบริการพื้นฐาน (Common Services) ที่หน่วยงานรัฐสามารถใช้งานร่วมกันในรูปแบบบริการกลาง ดังนั้น สพร. จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการชำระเงิน (Payment Platform) ขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินกลางของประเทศไทยที่สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการทางการเงินที่หลากหลาย โดยโครงการดังกล่าวจะช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศไทย ลดต้นทุนของระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ยกระดับศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอันก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อทุกภาคส่วน ประกอบกับการดำเนินโครงการดังกล่าวยังสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่จะยกระดับการพัฒนาพื้นฐานทางสังคมด้วยกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีความโปร่งใสและเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานภาครัฐเพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพัฒนาระบบการบริการเดียวของภาครัฐ (SUPER APP) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์โครงการ          - เพื่อให้มีระบบแพลตฟอร์มการชำระเงินที่สามารถรองรับการบริหารจัดการการชำระเงินของภาครัฐให้กับประชาชนที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด ปลอดภัย เชื่อถือได้และเปิดกว้างให้เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้หลายรายและตอบโจทย์นโยบายรัฐบาลดิจิทัลของรัฐบาลได้
- เพื่อรองรับการให้เงินช่วยเหลือ/สนับสนุนจากรัฐถึงประชาชนที่สามารถเจาะจงเป้าหมายการรับเงินในแต่ละกรณี/ประเภท เพื่อให้ประชาชนได้รับเงินอย่างรวดเร็วและตรงตัวมากขึ้น
- เพื่อให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลของการจ่ายเงินช่วยเหลือและค่าชดเชยต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์นโยบายเกี่ยวกับเงินสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป
เป้าหมายของโครงการ          เป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินกลางของประเทศไทยที่สามารถรองรับการใช้งานของประชาชนและภาคธุรกิจผ่านการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการทางการเงินได้ทุกรายที่เข้าร่วมโครงการ
กรอบแนวคิดการพัฒนา          - ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนกลุ่มต่าง ๆ เช่น ประชาชนที่เดือดร้อนจากเหตุภัยพิบัติ เกษตรกร และผู้ประกอบธุรกิจด้านการเกษตรสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ผ่าน Government Super Application โดยข้อมูลการร้องขอจะถูกส่งไปยังแพลตฟอร์มการชำระเงิน
- ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้แอปพลิเคชันของธนาคารหรือแอปพลิเคชันทางการเงินหรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์รายใดก็ได้ที่เข้าร่วมโครงการในการชำระเงิน หรือรับชำระเงิน
- แพลตฟอร์มการชำระเงินสามารถตรวจสอบรายการให้เป็นไปตามกฎหรือกติกาตามที่ภาครัฐกำหนด ทั้งในส่วนผู้ชำระเงินและผู้รับชำระเงิน (Transaction Processing System) โดยธุรกรรมที่เกิดขึ้นภายในระบบการชำระเงินจะถูกบันทึกและเก็บข้อมูลในรูปแบบการเข้ารหัสผ่านบล็อกเชน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยด้านความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ          - พัฒนาแพลตฟอร์มการชำระเงิน (Payment Platform) สำหรับการให้บริการ
- ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของระบบให้บริการ ด้วยการทดสอบการเจาะระบบ (Penetration Test) และประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบ (Vulnerability Assessment) พร้อมปิดช่องโหว่ของความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
- สำรวจและร่วมกันทดสอบระบบการเชื่อมโยงเงินอิเล็กทรอนิกส์กับภาคีเครือข่ายภาคธุรกิจ สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่สนใจ
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ คู่มือวิธีการใช้งาน ในรูปแบบคลิปวิดีโอ อินโฟกราฟิก ทั้งในส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป ผู้ประกอบการ หน่วยงานของรัฐ และสถาบันการเงิน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ
ระยะเวลาดำเนินการ          ดำเนินการในระยะแรก จำนวน 160 วัน (ไม่รวมระยะเวลาการจัดซื้อจัดจ้าง)
ช่วงเวลา          การดำเนินการ
กรกฎาคม ? กันยายน 2567          จัดซื้อจัดจ้างและประชุมเชิงปฏิบัติการ
กรกฎาคม ? ธันวาคม 2567           ดำเนินการพัฒนาและทดสอบระบบ
ตุลาคม 2567 ? มีนาคม 2568           ให้บริการระบบและสนับสนุนการใช้งาน

งบประมาณ          จำนวน 95 ล้านบาท (สพร. จะขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป)
ประโยชน์และผลกระทบ          - ประชาชน/ผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากรัฐได้อย่างรวดเร็วและตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
- ประชาชน/ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้แอปพลิเคชันธนาคารหรือแอปพลิเคชันทางการเงินหรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้จากทุกรายที่เข้าร่วมโครงการ
- ผู้ประกอบการทางการเงินและกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงบริการมายังแพลตฟอร์มการชำระเงินกลางของประเทศได้
- ภาครัฐสามารถบริหารจัดการสิทธิสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย เชื่อถือได้ โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาเร่งด่วนกรณีเกิดปัญหาความเดือดร้อนและตอบสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาล
- ภาครัฐมีฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการวิเคราะห์และกำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชน/ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างการพัฒนาในต่างประเทศ          ประเทศต่าง ๆ ได้พัฒนาระบบแพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัล เช่น
ประเทศ          การดำเนินการ
สิงคโปร์          พัฒนาระบบเพย์นาว (PayNow) เป็นระบบ e-payment โดยเริ่มต้นเมื่อปี 2560 โดยประชาชนสามารถใช้ PayNow ชำระค่าบริการหรือสินค้าได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ และประชาชนสามารถเชื่อมบัญชีของธนาคารใดก็ได้แล้วเชื่อมบนโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งภาครัฐใช้เป็นช่องทางในการให้เงินช่วยเหลือแก่ประชาชน
อินเดีย          มีระบบการโอนเงินแบบดิจิทัลแห่งชาติ หรือ Bharat Interface for Money (BHIM) ซึ่งเป็นการชำระเงินแบบครบวงจรในระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนแนวคิด ?อินเดียดิจิตอล? ที่ส่งเสริมการใช้บริการชำระเงินดิจิทัลและการสร้างความเข้าถึงทางการเงิน
เอสโตเนีย          พัฒนาระบบ e-Government เพื่อให้บริการสาธารณะของรัฐผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เกือบทั้งหมด เช่น แจ้งเกิด ใบมรณะ บัตรประชาชน และธุรกรรมทางการเงิน

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล นัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 ได้มีมติอนุมัติหลักการโครงการดังกล่าวพร้อมกรอบงบประมาณ 95 ล้านบาท ด้วยแล้ว

13. เรื่อง การมอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้ราชอาณาจักรกัมพูชา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติให้ วธ. โดยกรมศิลปากรมอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) เพื่อเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย (รัฐบาลไทย) และกัมพูชา รวมทั้งเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา และแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นภาคีที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในความตกลงทวิภาคีอย่างเคร่งครัด
                    2. อนุมัติให้ วธ. โดยกรมศิลปากรดำเนินการขนส่งโบราณวัตถุ จำนวน 20 รายการ คืนให้กัมพูชา โดยเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวจากเงินนอกงบประมาณ (เงินกองทุนโบราณคดี) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการยกเว้นเงื่อนไขที่กำหนดในความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาในการต่อต้าน                         การเคลื่อนย้ายโดยผิดกฎหมายและการลักลอบขนข้ามแดนซึ่งสังหาริมทรัพย์ทางวัฒนธรรมและส่งคืนให้แก่ประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด (ความตกลงฯ) ข้อ 4 วรรคสอง ที่กำหนดให้ค่าใช้จ่ายทั้งปวงอันเนื่องมาจากการส่งคืนและการส่งมอบสังหาริมทรัพย์ทางวัฒนธรรม ให้เป็นภาระของภาคีที่ร้องขอ ซึ่ง วธ. เห็นว่า การยกเว้นในเรื่องภาระของค่าใช้จ่ายในการส่งคืนสังหาริมทรัพย์ทางวัฒนธรรมไม่กระทบต่อสาระสำคัญของความตกลงทวิภาคีดังกล่าว และยังเป็น                 การแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยในการส่งคืนสังหาริมทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่ถูกเคลื่อนย้ายจากกัมพูชาโดยผิดกฎหมาย และถูกนำข้ามแดนเข้ามาในประเทศไทย
                    3. มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อ 1.
                    สาระสำคัญ
                    เรื่องนี้สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2543 กรมศุลกากรได้ตรวจยึดโบราณวัตถุเขมรที่นำเข้าโดย                   ผิดกฎหมายซึ่งนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์ จำนวน 43 รายการและต่อมากรมศิลปากรได้มีการตรวจสอบและมอบโบราณวัตถุคืนให้ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) ตามมติคณะรัฐมนตรี (24 กุมภาพันธ์ 2552 และ 13 มกราคม 2558) แล้ว จำนวน 23 รายการ คงเหลือโบราณวัตถุอีก 20 รายการ ซึ่งกรมศิลปากรได้ตรวจสอบแล้วไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่มีถิ่นกำเนิดในกัมพูชาหรือไม่ เนื่องจากโบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ เป็นโบราณวัตถุที่สามารถพบได้ในโบราณสถานทั้งในประเทศไทยและกัมพูชา คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ (13 มกราคม 2558) ให้กรมศิลปากรแจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้รัฐบาลกัมพูชาทราบ โดยหากรัฐบาลกัมพูชาประสงค์จะขอรับโบราณวัตถุดังกล่าวคืน ขอให้รัฐบาลกัมพูชาจัดส่งหลักฐานยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าโบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ เป็นโบราณวัตถุที่มีถิ่นกำเนิดในกัมพูชา
                    ในครั้งนี้รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งคำร้องเพื่อขอรับคืนโบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ พร้อมทั้งส่งเอกสารและหลักฐานยืนยันสิทธิเรียกร้องในโบราณวัตถุดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบของกรมศิลปากร โดย ?คณะกรรมการกำหนดเงินรางวัลสำหรับผู้เก็บได้ซึ่งโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน รวมทั้งตรวจพิสูจน์ กำหนดอายุสมัย กำหนดค่าทรัพย์สิน และประเมินราคาของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สิ่งเทียมโบราณวัตถุ สิ่งเทียมศิลปวัตถุ?                   (รองอธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธาน) ยืนยันได้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ เป็นวัตถุที่มีแหล่งกำเนิดในกัมพูชา ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จึงขออนุมัติมอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้กัมพูชา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐบาลกัมพูชาได้ส่งคำร้องพร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานยืนยันสิทธิเรียกร้อง             ในโบราณวัตถุดังกล่าว และกรมศิลปากรได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นโบราณวัตถุที่มีแหล่งกำเนิดในกัมพูชา                          ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงสามารถพิจารณาอนุมัติตามที่ วธ. เสนอได้
                    รายละเอียดของโบราณวัตถุ 20 รายการ
                    ลำดับที่ 1 ส่วนองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
                    ลำดับที่ 2 ส่วนองค์พระพุทธรูปยืน ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
                    ลำดับที่ 3 ส่วนองค์เทวรูป ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
                    ลำดับที่ 4 ส่วนองค์เทวรูป ศิลปะเขมรแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 18
                    ลำดับที่ 5 ส่วนองค์พระพุทธรูปปางประทานอภัย ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
                    ลำดับที่ 6 ส่วนองค์เทวรูป ศิลปะเขมรแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17
                    ลำดับที่ 7 กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวน ? นครวัด พุทธศตวรรษที่ 16 ? 17
                    ลำดับที่ 8 กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
                    ลำดับที่ 9 กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
                    ลำดับที่ 10 กลีบขนุนรูปฤาษี ศิลปะเขมรแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17
                    ลำดับที่ 11 กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย ? นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 ? 17
                    ลำดับที่ 12 กลีบขนุนรูปฤาษี ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย ? นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 ? 17
                    ลำดับที่ 13 กลีบขนุนรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย ?                     นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 ? 17
                    ลำดับที่ 14 กลีบขนุนรูปฤาษี ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
                    ลำดับที่ 15 กลีบขนุนรูปพระยมทรงกระบือ ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
                    ลำดับที่ 16 กลีบขนุนรูปพระวรุณทรงหงส์ ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
                    ลำดับที่ 17 นาคปักรูปครุฑยุดนาค ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย ? นครวัดตอนต้น                     พุทธศตวรรษที่ 16 ? 17
                    ลำดับที่ 18 นาคปักรูปครุฑยุดนาค ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย ? นครวัดตอนต้น                       พุทธศตวรรษที่ 16 ? 17
                    ลำดับที่ 19 กลีบขนุนรูปเทพธิดายืนอยู่ในซุ้มใบระกา ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย ?                      นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 ? 17
                    ลำดับที่ 20 กลีบขนุนรูปเทพธิดายืนอยู่ในซุ้มใบระกา ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย ?                         นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 ? 17

14. เรื่อง รายงานประจำปี 2566 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำปี 2566 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
                    สาระสำคัญ
                    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า  รายงานประจำปี 2566 ของ สสวท. เป็น                 การดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2541 มาตรา 33 ที่บัญญัติให้ สสวท. จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อรัฐมนตรีโดยแสดงงบดุลบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องพร้อมกับรายงานของผู้สอบบัญชี รวมทั้งแสดงผลงานของ สสวท. ในปีที่ล่วงมาและแผนงานที่จะจัดทำในปีต่อไปภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับตั้งแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้รัฐมนตรีเสนอรายงานประจำปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ สรุปได้ ดังนี้
                              1. ผลการดำเนินการของ สสวท. ปี 2566
                                        1.1 การพัฒนาหลักสูตร สื่อ ต้นแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละช่วงวัย เช่น
                                                  (1) การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการการจัดการเรียนรู้เน้นการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา สามารถนำไปใช้ได้จริงและส่งเสริมให้เกิดสมรรถนะตามช่วงวัยของผู้เรียน เช่น การพัฒนาชุดกิจกรรมและคู่มือการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ? 6 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาที่เน้นการใช้ภาพและสัญลักษณ์ให้เหมาะสมกับพัฒนาการทางด้านภาษาของนักเรียน การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาในรูปแบบ e ? Book เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง หรือผู้ที่สนใจนำไปใช้เพื่อเสริมทักษะคณิตศาสตร์ควบคู่กับการเรียนในชั้นเรียน การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลประกอบบทเรียนออนไลน์เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเองในห้องเรียนหรือที่พักอาศัย รวมทั้งครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
                                                  (2) การวิจัย วัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีระดับประเทศและระดับนานาชาติ เช่น การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีร่วมกับนานาชาติ โดยมีการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยเทียบกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) ซึ่ง สสวท. ในฐานะศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติของประเทศไทย ได้เก็บข้อมูลนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8,509 คน จาก 280 โรงเรียน เพื่อประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์และด้านความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งอยู่ระหว่างเตรียมการประเมิน PISA 2025 ซึ่งจะเน้นการประเมินความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการประเมินเพิ่มเติมด้านการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล การวิจัยรูปแบบและแนวทางการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ จัดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจความคิดเห็นของครูผู้สอน และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม การพัฒนาเครื่องมือในการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษา              ต่อระดับอุดมศึกษาตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนของ สสวท. โดยพัฒนาข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
                                        1.2 การพัฒนาและขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้                           ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง ได้แก่
                                                  (1) การพัฒนาและปรับปรุงแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ โดยการดูแลบำรุงรักษาระบบและศึกษาแนวทางในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล จำนวน 2 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบอบรมครู เป็นแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ครูสามารถทบทวนความรู้หรือพัฒนาศักยภาพของตนเองทั้งด้านเนื้อหาวิชาการและเทคนิคการสอน และ 2) ระบบการสอนออนไลน์ เป็นระบบที่ให้บริการสำหรับครู นักเรียน และผู้ที่สนใจทำแบบทดสอบความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
                                                  (2) การขับเคลื่อนการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ โดยการบริหารจัดการและให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง จำนวน 3 ระบบ ได้แก่ ระบบคลังความรู้ SciMath1 ระบบอบรมครู และระบบการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี              ที่รวบรวมสื่อการเรียนรู้ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพและมีความถูกต้อง ซึ่งผ่านการคัดกรองโดยผู้เชี่ยวชาญและมีความสอดคล้องกับหลักสูตรในโรงเรียน
                                        1.3 การขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะด้วยวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีส่วนร่วมให้สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก เช่น
                                                  (1) การปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษา2 ตามแนวทาง สสวท. ได้แก่ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยจัดทำหลักสูตรอบรมครูด้วยระบบออนไลน์และมีการติดตามและประเมินครู และ 2) การส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างความตระหนักและพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่น การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนร่วมกับ 22 มหาวิทยาลัย มีครูและนักเรียนร่วมกิจกรรม จำนวน 2,523  คน การจัดอบรมพัฒนาศักยภาพครูในการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 3 หลักสูตร มีครูเข้ารับการอบรม รวม 840 คน
                                                  (2) การจัดทำหลักสูตรอบรมครูโค้ดดิ้ง3  เพื่อส่งเสริมพลังแห่งการเรียนรู้ จำนวน 4 หลักสูตร สื่อการเรียนรู้ 27 เรื่อง รวมทั้งมีการจัดอบรมครู จำนวน 38,431 คน
                                                  (3) การพัฒนาผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์4 ครูวิทยากรแกนนำ5 และครูเครือข่ายโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ให้สามารถขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ6 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินการ          จำนวน (คน)
1) การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาให้สามารถเป็นผู้นำวิชาการในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางฐานสมรรถนะ          1,072
2) การพัฒนาศักยภาพศึกษานิเทศก์เพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการจัดการเรียนรู้          767
3) การพัฒนาครูวิทยากรแกนนำและครูเครือข่าย สควค. ให้สามารถขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ          900
                                                  (4) การพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนโครงการพระราชดำริ เช่น การจัดประชุมปฏิบัติการการใช้บาร์โมเดล7 ในการ                แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาให้แก่ครูผู้สอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ 445 คน การจัดอบรมครูปฐมวัย ได้แก่ ครูจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ครูเครือข่ายท้องถิ่น 5 จังหวัดภาคใต้ และ                   ครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านปฐมวัยอื่น ๆ รวม 7,293 คน
                                                  (5) การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยพัฒนาโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี สสวท. จำนวน 230 โรงเรียน               ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การจัดประชุมวิชาการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
                                                  (6) การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ เช่น การพัฒนาชุดต้นแบบแผนการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัยและประถมศึกษา จำนวน 2 ฉบับ มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 5 โรงเรียน และนักเรียนเข้าร่วมโครงการรวม 70 คน การสร้างความร่วมมือนานาชาติเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนใน            ศตวรรษที่ 21 โดยจัดอบรม/เสวนาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศในรูปแบบออนไลน์รวม 4 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 538 คน และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ จำนวน 5 เครือข่าย
                                        1.4 การพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น
                                                  (1) ทุนสนับสนุนการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และครูเพื่อพัฒนาให้เป็น    ผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีและตอบสนองต่อความต้องการของประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้สนับสนุนทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) รวม 1,481 ทุน ทุนโอลิมปิกวิชาการ สมเด็จพระเจ้าที่นางเธอ เจ้าฟ้ากลัยาณิวัฒนา                  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ทุนโอลิมปิกวิชาการฯ) รวม 153 ทุน และทุนส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (ทุน สควค.) รวม 89 ทุน
                                                  (2) โอลิมปิกวิชาการ มีการดำเนินการ เช่น คัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมโครงการจัดอบรมให้ความรู้ รวม 205 คน คัดเลือกและจัดส่งผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย ครั้งที่ 23 จำนวน 8 คน คัดเลือกผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศประจำปี 2566 จำนวน 23 คน
                                                  (3) การผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยคัดเลือกผู้รับทุน สควค. ระยะที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 89 คน รวมทั้งบรรจุและติดตามผล                    การปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา พร้อมทั้งประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนต่อคุณลักษณะของครูโครงการ สควค.
                                        1.5 การพัฒนาความเป็นเลิศขององค์กรที่เน้นการใช้ดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อ               การพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ของประเทศอย่างมีคุณภาพ เช่น
                                                  (1) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถและสมรรถนะตามกลุ่มงานอย่างเป็นระบบ เช่น ส่งเสริมให้บุคลากร สสวท. เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมเสริมสร้างความผูกพันภายในองค์กร การเข้าร่วมประชุมสัมมนา ดูงาน หรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ
                                                  (2)  การเพิ่มสมรรถนะองค์กรเพื่อขยายขีดความสามารถการใช้ดิจิทัลและนวัตกรรม โดยพัฒนาการบริการและการบริหารดูแลบำรุงรักษาระบบสารสนเทศให้สามารถรองรับและ                           ขยายขีดความสามารถในการบริหารด้านดิจิทัลและนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
                                                  (3) การสร้างการยอมรับ เชื่อมั่น เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลผลิตของ สสวท. จัดทำสื่อส่งเสริมการเรียนรู้เผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ   จัดทำข่าวสารเพื่อเผยแพร่แก่สื่อมวลชน รวมทั้งบริหารจัดการเนื้อหาในเว็บไซต์ สสวท. และสำรวจความพึงพอใจของการรับข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของ สสวท.
                              2. แผนการดำเนินงานของ สสวท. ปี 2567 เช่น
                                        2.1 พัฒนาหลักสูตร สื่อ ต้นแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละช่วงวัยโดยเน้นการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และส่งเสริมให้เกิดสมรรถนะตามช่วงวัยของผู้เรียน ประกอบด้วย 8 โครงการ เช่น การพัฒนาสื่อนวัตกรรม   แชตบอตวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนและสื่อดิจิทัล วิชาคณิตศาสตร์ การผลิตสื่อต้นแบบและอุปกรณ์ประกอบการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนงานวิชาการ นอกจากนี้ มีการวิจัย วัดผล และประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีระดับประเทศและระดับนานาชาติ
                                        2.2 พัฒนาและขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง โดยพัฒนาและปรับปรุงแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ
                                        2.3 ขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะด้วยวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก โดยการกพัฒนาผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูวิทยากรแกนนำ และครูเครือข่าย สควค. ให้สามารถขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ การยกระดับคุณภาพจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และการพัฒนาครูตามมาตรฐาน สสวท.
                                        2.4 พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยให้ทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา และครู การจัดส่งผู้แทนไทยเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ และการบริหารการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
                              3. รายงานผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน8 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว9 เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                                                                                                              หน่วย : ล้านบาท
รายการ          ปี 2566          ปี 2565          เพิ่ม/(ลด)
(1) งบแสดงฐานะทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566
รวมสินทรัพย์          1,968.45          1,684.01          284.44
รวมหนี้สิน          274.26          302.34          (28.08)
รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน          1,694.19          1,381.68          312.51
(2) งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566
รวมรายได้          1,866.55          1,442.97          423.58
รวมค่าใช้จ่าย          1,554.04          1,553.47          0.57
รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ          312.41          (110.50)          202.01

1 ระบบคลังความรู้ SciMath เป็นเว็บไซต์ (www.scimath.org) สำหรับเผยแพร่สื่อประกอบหนังสือคู่มือครูและสื่อเพิ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งาน จำนวน 33,072 บัญชี
2 สะเต็มศึกษา เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมและคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่
3 หลักสูตรอบรมครูโค้ดดิ้ง คือ หลักสูตรที่กำหนดขึ้นเพื่อพัฒนาครูให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนโดยใช้วิธีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
4 ศึกษานิเทศก์ หมายถึง ผู้ทำหน้าที่แนะนำชี้แนะแนวทางให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้    มีทักษะในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
5 ครูวิทยากรแกนนำ หมายถึง ครูที่ได้รับการอบรมและพัฒนาให้มีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ และสามรถขยายผลของ              องค์ความรู้เหล่านั้นให้แก่ครูอื่น ๆ ต่อไป
6 การจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ คือ การส่งเสริมสมรรถนะที่สำคัญ 6 ด้าน ได้แก่ (1) การจัดการตนเอง                  (2) การสื่อสาร (3) การรวมพลังทำงานเป็นทีม (4) การคิดขั้นสูง (5) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และ (6) การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
7 บาร์โมเดล คือ การทำโจทย์ปัญหาโดยการวาดรูป ซึ่งเป็นการใช้รูปภาพแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นสัญลักษณ์แทนข้อมูลจากการแปลงจากโจทย์ปัญหาโดยวิเคราะห์หรือตีความจากโจทย์ปัญหา แล้วนำมาเชื่อมโยงกับความคิดและ                     หลักการทางคณิตศาสตร์
8 เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง
9 จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 สสวท. แจ้งว่าได้ส่งรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของ สสวท. ให้ สตง. ตรวจสอบเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 และ สตง. ได้แจ้งผลการตรวจสอบไปยัง สสวท. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567


          ต่างประเทศ
15. เรื่อง การขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ระดับรัฐมนตรีว่าด้วยน้ำเพื่อความมั่งคั่งร่วมกัน (Ministerial Declaration on Water for Shared Prosperity) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 10
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ระดับรัฐมนตรีว่าด้วยน้ำเพื่อความมั่งคั่งร่วมกัน (ร่างแถลงการณ์ฯ) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมน้ำโลกครั้งที่ 10 (การประชุมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับแก้ถ้อยคำในร่างแถลงการณ์ฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ สทนช. สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีหรือ                  ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรีเป็นผู้รับรองร่างแถลงการณ์ฯ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แจ้งว่า รัฐมนตรีประสานงานด้านกิจการทางทะเลและการลงทุนอินโดนีเซีย (นาย Luhut B. Pandjaitan) และประธานสภาน้ำโลก (นาย Loic Fauchon) ได้เชิญรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ในฐานะประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติในขณะนั้น เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 20 - 21 พฤษภาคม 2567 ในห้วงการประชุมฯ ณ เมืองบาหลี อินโดนีเซีย โดยรองนายกรัฐมนตรี            (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้มอบหมายเลขาธิการ สทนช. ให้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
                    2. การประชุมฯ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ ?น้ำเพื่อความมั่งคั่งร่วมกัน? (Water for Shared Prosperity) ซึ่งจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 20 ? 21 พฤษภาคม 2567 และจะมีการรับรองร่างแถลงการณ์ฯ เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม โดยร่างแถลงการณ์ฯ จัดทำขึ้นเพื่อประกาศเจตจำนงทางการเมืองโดยมีวัตถุประสงค์ในการผลักดันความท้าทายด้านทรัพยากรน้ำของโลกให้เกิดการขับเคลื่อนเป็นนโยบาย แผนงาน และ การดำเนินการต่าง ๆ โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเข้าถึงน้ำสะอาด การเสนอให้มีวันทะเลสาบโลก การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ  ความร่วมมือด้านวิชาการ และข้อริเริ่มของอินโดนีเซีย

16. เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนเมืองเซินเจิ้น-เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน                 ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                    คณะรัฐมมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการเดินทางเยือนเมืองเซินเจิ้น (เมืองเซินเจิ้น) - เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (ฮ่องกง) ของรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. ไทยและเมืองเซินเจิ้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดผ่านการลงนามข้อตกลงการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องกับกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2558 และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประทศได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งชาติจีน คณะกรรมการเทศบาลเมืองเซินเจิ้น (CCPIT Shenzhen) เพื่อกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกันเมื่อปี 2566 โดยเมืองเซินเจิ้นเป็นเมืองหน้าด่านของจีนที่มีศักยภาพด้านการค้าและการลงทุน จนได้รับการจัดตั้งให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ                  ด้านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีท่าเรือที่สำคัญในการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทย ส่วนฮ่องกงเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนซึ่งมีบทบาทในฐานะเป็นหน้าด่านของจีนที่เชื่อมโยงกับเส้นทางแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเป็นประตูการค้าของไทยในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยสู่จีนผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง - ฮ่องกง - มาเก๊า (Greater Bay Area) โดยฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 7 (คู่ค้าลำดับที่ 13) และเป็นตลาดส่งออกข้าวหลักลำดับที่ 3 ของไทย ในปี 2566 ข้าวไทยมีส่วนแบ่งตลาดฮ่องกงร้อยละ 57.7
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของ พณ. ได้เดินทางเยือนเมืองเซินเจิ้น - ฮ่องกง ระหว่างวันที่ 8 - 12 มีนาคม 2567 เพื่อสร้างสัมพันธ์ทางการค้ากับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจีนในเมืองเซินเจิ้น - ฮ่องกง และรับเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีซึ่งทรงเป็นองค์ประธานพิธีเปิดงาน Thai Night ในงาน FILMART 2024 พร้อมทั้งส่งเสริมการส่งออกสินค้าและ Soft Power ของรัฐบาลไทย รวมทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 พบหารือกับผู้บริหารระดับสูงภาครัฐและเอกชน เพื่อแสวงหาลู่ทางและขยายความร่วมมือการค้าการลงทุน เช่น พบหารือกับประธานและรองประธานบริษัท SHENZHEN ZHONGTAI RICE CO,. LTD, ซึ่งดำเนินกิจการค้าข้าวเป็นระบบอย่างครบวงจร บริษัทดังกล่าวยังเป็นผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิไทยรายใหญ่ของจีน โดยเป็นสินค้าที่ได้รับตราสัญลักษณ์ ?ข้าวหอมมะลิไทย? ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพและกฎระเบียบทางการค้าจากกรมการค้าต่างประเทศ พบหารือกับประธานและรองประธานบริษัท SHENZHEN GRANLUX ASSOCIATED GRAINS INC. ซึ่งมีระบบการบริหารจัดการข้าวที่ได้มาตรฐานและครบวงจร ทั้งนี้ กรมฯ สามารถผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าและสามารถตอบโจทย์ตลาดจีนที่มีความต้องการนำเข้าข้าวคุณภาพสูงได้ในอนาคต พบหารือกับรัฐมนตรีพาณิชย์และการพัฒนาเศรษฐกิจฮ่องกง เกี่ยวกับแนวทางการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMES ไทย รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้าและบริการในการเข้าตลาดฮ่องกง โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุน ตลอดจนขอความร่วมมือฮ่องกง                ในการสนับสนุน Soft Power ของไทยให้มากขึ้น และพบหารือกับคณะกรรมการบริษัท China Merchants Godown, Wharf & Transportation Co., Ltd และนายกสมาคมผู้ค้าข้าวฮ่องกง ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านระบบการบริหารจัดการคลังสินค้ามาตรฐานสูง (อาคารแนวตั้งควบคุมอุณหภูมิ) ของฮ่องกงและแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคซึ่งฝ่ายฮ่องกงได้ยืนยันที่จะนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณที่มากขึ้น รวมจำนวน 180,000 ตัน              ทั้งนี้ ไทยจะผลักดันให้เกิดการสร้าง ศูนย์ระบายสินค้าข้าวที่เมืองเซินเจิ้นด้วย
                              2.2 เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางการค้า (MOU) ระหว่างห้างสรรพสินค้าไทยกับผู้ส่งออกไทย จำนวน 10 บริษัท โดยการลงนาม MOU ดังกล่าว จะสนับสนุนธุรกิจ SMEs และธุรกิจชุมชนของไทยสู่ตลาดฮ่องกงซึ่งคาดการณ์ว่าจะนำเข้าสินค้าไทยประมาณ 3,000 ล้านบาท รวมทั้งได้เข้าร่วมเป็นประธานพิธีเปิดงานส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าไทย เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 โดยมีการนำสินค้าใหม่เข้ามาจำหน่ายเพิ่มในฮ่องกง จำนวน 250 รายการ (SKUs) มูลค่า 500 ล้านบาท ถือเป็นการขยายโอกาสทางการตลาดแก่ผู้ประกอบการไทยในการจำหน่ายสินค้าในฮ่องกง
                              2.3 เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางการค้า (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง โดยมีเป้าหมายการสร้างความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างกัน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้า 2) การสนับสนุนกิจกรรมทางการค้าเพื่อยกระดับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของธุรกิจ SMEs และ 3) การร่วมมือในการส่งเสริมการค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ช
                              2.4 เยี่ยมชมงาน FILMART 2024 และการเข้าร่วมงาน Thai Night เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่ตลาดโลก ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ เกิดการจับคู่เจรจาการค้า ไม่น้อยกว่า 200 นัดหมาย และเกิดมูลค่าเจรจาการค้า ไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาท
                              2.5 เข้าร่วมพิธีเปิดเทศกาลอาหารไทย (Thai Food Festival) พร้อมเยี่ยมชมการเรียนการสอนอาหารไทยและร่วมสาธิตการทำผัดกะเพราหมูให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย Hong Kong Polytechnic University
                    3. พณ. ได้เสนอแนวทางการดำเนินงานขั้นต่อไป
                              โดยจะให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประทศ ดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์ข้าวไทย สินค้าอาหารไทยและธุรกิจบริการอาหารไทย กิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับห้างสรรพสินค้าที่มีชื่อเสียง กิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าอาหารและธุรกิจ Thai SELECT และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่สำคัญในฮ่องกงอย่างต่อเนื่อง พร้อมบูรณาการความร่วมมือกับพาณิชย์จังหวัดและองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง
                    4. การเดินทางเยือนเมืองเซินเจิ้น-ฮ่องกง ของรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในครั้งนี้ ก่อให้เกิดการขยายโอกาสทางการค้าในเชิงลึกและสานต่อความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทยกับเมืองเซินเจิ้นและฮ่องกง รวมถึงการยกระดับความร่วมมือด้านนวัตกรรมสินค้า/บริการ ซึ่งเป็นเป้าหมายผลักดันการส่งออกของไทย



แต่งตั้ง
17. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการ ภายหลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกที่ประชุมกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ                   เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการ ภายหลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกที่ประชุมกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล (Hague Conference on Private International Law: HCCH) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
                      องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่
                     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงยุติธรรมและ                           รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้แทนกรมบังคับคดี ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนกรมการกงสุล ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้แทนสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ศาสตราจารย์พิเศษวิชัย อริยะนันทกะ และศาสตราจารย์ประสิทธิ์                      ปิวาวัฒนพานิช โดยมี ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และผู้อำนวยการกองพัฒนางานกฎหมายระหว่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่ได้รับมอบหมาย เจ้าหน้าที่                    กองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่ได้รับมอบหมาย และเจ้าหน้าที่กองพัฒนางานกฎหมาย ระหว่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
                      หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                      1. กำหนดกรอบนโยบายในภาพรวมเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการดำเนินการภายหลังจากที่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก HCCH
                      2. กำหนดยุทธศาสตร์และท่าทีไทยในการเจรจาประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์หลักของประเทศ รวมถึงสนับสนุนการเตรียมการเข้าร่วมประชุมหลักของ HCCH ของคณะผู้แทนไทย ทั้งในด้านสารัตถะและการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการประชุม Council on General Affairs and Policy (CGAP)
                     3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                     4. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการได้มีมติมอบหมาย

18. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงมหาดไทย)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 7 คณะ ดังนี้
                     1. คณะกรรมการพิจารณาตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอ
                      2. คณะกรรมการอำนวยการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
                      3. คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้ดูดทราย
                      4. คณะกรรมการพิจารณาให้สัญชาติไทยและให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดย ชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย
                     5. คณะกรรมการพิจารณาเรื่องการขอเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัด อำเภอ และตำบล หมู่บ้าน หรือสถานที่ราชการอื่น ๆ
                     6. คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 1
                     7. คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 2
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป


                     รายละเอียดองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรรมการ จำนวน 7 คณะ ดังนี้
                      1. คณะกรรมการพิจารณาตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                     ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย อธิบดีกรมการปกครอง ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์                                     ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนกรมที่ดิน และ                  ผู้แทนกรมการพัฒนาชุมชน โดยมีรองอธิบดีกรมการปกครอง ฝ่ายบริหารงานปกครอง เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง และผู้อำนวยการส่วนระบบการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                      1. พิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การจัดตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีความทันสมัยสอดคล้องกับแนวทางการบริหารภาครัฐแนวใหม่ โดยคำนึงถึงความเจริญเติบโตทางด้านเทคโนโลยี การคมนาคม การสื่อสาร ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนแนวนโยบาย การปฏิรูประบบราชการ และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) มาพิจารณาเชื่อมโยง เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรภาครัฐ และการจัดโครงสร้างหน่วยงานเหมาะสมกับสภาพปัญหาของแต่ละท้องที่
                     2. พิจารณาเหตุผลความจำเป็น และจัดลำดับความสำคัญในการจัดตั้งกิ่งอำเภอ และอำเภอ                   เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี ตลอดจนพิจารณาและจัดเตรียม การด้านแผนงาน งบประมาณ อัตรากำลัง และปัจจัยต่าง ๆ ในการบริหารด้านอื่น ๆ
                     3. ปรับปรุงกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ เพื่อให้หลักเกณฑ์ในเรื่องการจัดตั้งกิ่งอำเภอและ        อำเภอมีความเหมาะสมขึ้น

                      2. คณะกรรมการอำนวยการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด                         ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และนักวิชาการหรือผู้นำองค์กรภาคเอกชน จำนวนไม่เกิน 10 คน (เมื่อดำเนินการสรรหาตัวบุคคลได้แล้ว จะเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกครั้งหนึ่งต่อไป) โดยมีอธิบดีกรมการปกครอง เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมการปกครอง เป็นกรรมการและรองเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1. กำหนดแนวนโยบาย และมาตรการในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ สำหรับเป็นแนวทางในการจัดทำและบริหารการดำเนินงานโครงการระดับจังหวัด
                     2. กำหนดบทบาทและหน้าที่ รวมทั้งประสานการดำเนินงานของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
                     3. กำหนดแนวทางมาตรการ และวางแผนการสร้างความรู้ ความเข้าใจ วิธีคิด วิธีทำงานของข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติบรรลุตามเป้าหมาย
                     4. กำหนดแผนงานการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ และเป้าหมายให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
                     5. พิจารณาและกำหนดโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ เพื่อขอรับความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการ และการเงินจากภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งสั่งจ่ายเงินที่ได้มาจากการช่วยเหลือดังกล่าว
                     6. กำหนดแนวทางวิธีการติดตามประเมินผลการสนับสนุน และเร่งรัดการปฏิบัติงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
                     7. ประสานส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรต่าง ๆ ในการสนับสนุนงบประมาณ เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารสนเทศในการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
                      8. กำกับการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ของคณะกรรมการบริหารโครงการระดับจังหวัด หรือคณะกรรมการ คณะทำงานอื่น ๆ ของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติที่แต่งตั้งขึ้นมาในภายหลัง
                     9. ดำเนินการอื่นใดเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการได้ตามความจำเป็น

                      3. คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้ดูดทราย (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                      ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย อธิบดีกรมการปกครอง หรือผู้แทน อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หรือผู้แทน อธิบดีกรมเจ้าท่า หรือผู้แทน อธิบดีกรมชลประทาน หรือผู้แทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้แทน อธิบดีกรมที่ดิน หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตจังหวัดที่มีการขออนุญาตดูดทราย หรือผู้แทน ที่ปรึกษาด้านกฎหมายกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้อำนวยการสำนักจัดการที่ดินของรัฐ กรมที่ดิน เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินของรัฐ กรมที่ดิน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มจัดการที่ดินของรัฐ สำนักจัดการที่ดินของรัฐ กรมที่ดิน และหัวหน้ากลุ่มงานจัดการที่ดินของรัฐ สำนักจัดการที่ดินของรัฐ กรมที่ดิน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1. พิจารณาอนุญาตให้ทำการดูดทรายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตพื้นที่ระหว่างประเทศ
                     2. พิจารณาแก้ไขปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องเกี่ยวกับการดูดทรายทั้งปวง
                     3. พิจารณาวางระเบียบข้อบังคับตลอดจนแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูดทราย
                      4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ดูดทรายแทนคณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้ดูดทราย (กพด.) ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตของ กพด.
                     5. เชิญผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงต่าง ๆ
                      6. พิจารณาในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูดทราย

                     4. คณะกรรมการพิจารณาให้สัญชาติไทยและให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                     ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย อัยการสูงสุด หรือผู้แทน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือผู้แทน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย หรือผู้แทน อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม หรือผู้แทน อธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน อธิบดีกรมการปกครอง หรือผู้แทน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคที่เกี่ยวข้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือผู้แทน หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย กรมการปกครอง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง และผู้อำนวยการส่วนสัญชาติและการทะเบียน และบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย สำนักบริหารการทะเบียน โดยมี ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการส่วนประสานราชการ สำนักกิจการความมั่นคงภายใน หัวหน้ากลุ่มงานชนกลุ่มน้อย ส่วนประสานราชการ หัวหน้ากลุ่มงานมาตรฐานและระเบียบการทะเบียนบุคคลไม่มีสัญชาติไทย และสัญชาติ ส่วนสัญชาติและการทะเบียน และบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย สำนักบริหารการทะเบียน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                      หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                      1. พิจารณากลั่นกรองคำขอมีสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 โดยยึดหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และความมั่นคงของประเทศเป็นสำคัญ โดยกำหนดแนวทางการพิจารณา หรือแนวทางปฏิบัติ หรือรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่บุตรคนต่างด้าว รวมทั้งการตีความหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ [ปัจจุบันเป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่ชนกลุ่มน้อย ในคณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 แล้ว]
                      2. พิจารณากำหนดวิธีปฏิบัติในขั้นตอนการแปลงสัญชาติเป็นไทย และให้ความเห็นชอบ รายชื่อผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา และรายชื่อผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย โดยขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการแปลงสัญชาติเป็นไทย พร้อมกำหนดวิธีปฏิบัติในขั้นตอนและระยะเวลาในการแปลงสัญชาติเป็นไทย (ปัจจุบันเป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การขอถือสัญชาติไทยตามสามี และการขอกลับคืนสัญชาติไทย ในคณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 แล้ว]
                      3. พิจารณากลั่นกรองคำขอมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายให้สถานะ ฯ และคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้คณะกรรมการฯ กลั่นกรองเสียก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยยึดหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และความมั่นคงของประเทศชาติเป็นสำคัญ รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนการปฏิบัติในการให้สถานะคนต่างด้าวแก่ชนกลุ่มน้อยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
                     4. มีอำนาจในการออกหนังสือ ขอให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริงหรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการได้
                     5. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น

                     5. คณะกรรมการพิจารณาเรื่องการขอเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัด อำเภอ และตำบล หมู่บ้าน หรือสถานที่ราชการอื่น ๆ
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                      ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมศิลปากร ผู้แทนกรมแผนที่ทหาร และผู้แทนส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องในฐานะเจ้าของเรื่อง โดยมีผู้อำนวยการสำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อมีการขอเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน หรือสถานที่ราชการอื่น ๆ เช่น วัด สถานีรถไฟ โดยยึดหลักเกณฑ์เหตุผลในการขอเปลี่ยนชื่อ ต้องประกอบด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และรายละเอียดในอรรถาธิบายศัพท์ โดยชื่อที่เสนอขอเปลี่ยนแปลงต้องไม่ขัดต่อวัฒนธรรม และศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งนี้ รายละเอียดของหลักเกณฑ์อื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

                     6. คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 1
                      องค์ประกอบชุดใหม่
                      รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย) เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสวัสดิ์ ส่งสัมพันธ์ ศาสตราจารย์พิเศษกมลชัย รัตนสกาววงศ์ นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ นายธวัชชัย ฟักอังกูร นายสุพล ยุติธาดา ศาสตราจารย์พิเศษวรรณชัย บุญบำรุง นายพินัย อนันตพงศ์ นายเอกศักดิ์ ตรีกรุณาสวัสดิ์ นายวิชาญ ธรรมสุจริต                    นายโชติ เชื้อโชติ และผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยมีนิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ นิติกร สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และนิติกร สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1. พิจารณาตรวจสอบ กลั่นกรอง แก้ไขร่างพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และเรื่องอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาและรายละเอียดที่มีความยุ่งยากและมีความสลับซับซ้อน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ส่วนราชการ หน่วยงาน หรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเสนอ
                      2. พิจารณาเกี่ยวกับปัญหาในการกำหนดหลักการของกฎหมาย หรือประเด็นปัญหาข้อขัดแย้ง ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างส่วนราชการด้วยกันหรือระหว่างส่วนราชการกับเอกชน
                     3. พิจารณาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบกับประชาชนในวงกว้างรวมถึงเรื่องที่มีความยุ่งยากและมีความสลับซับซ้อน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ส่วนราชการ หน่วยงาน หรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเสนอ
                     4. เสนอแนะส่วนราชการ หน่วยงาน หรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดทำ ปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการต่าง ๆ ให้ทันสมัยสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
                     5. เรียกเจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่อง และเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง มาร่วมประชุมพิจารณาหรือชี้แจงแสดงความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยในการพิจารณาร่างกฎหมายและประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย
                     6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ได้ตามความจำเป็น

                     7. คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 2
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                     รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย) เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย นายวิชัย ศรีขวัญ นายทวีศักดิ์               วรพิวุฒิ นายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์ ศาสตราจารย์สุนทร มณีสวัสดิ์ นายนิพนธ์ ฮะกีมี นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์                   ว่าที่ร้อยตรี สิงห์โต พิเชฐวงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล นายณฐพร โตประยูร นายสุรเกียรติ ฐิตะฐาน และผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยมีนิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ นิติกร สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และ นิติกร สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
                      หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                      1. พิจารณาตรวจสอบ กลั่นกรอง แก้ไขร่างพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ส่วนราชการ หน่วยงาน หรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเสนอ
                     2. พิจารณาเกี่ยวกับปัญหาในการกำหนดหลักการของกฎหมาย หรือประเด็นปัญหาข้อขัดแย้งในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างส่วนราชการด้วยกันหรือระหว่างส่วนราชการกับเอกชน
                     3. พิจารณาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ส่วนราชการ หน่วยงาน หรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเสนอ
                     4. แสนอแนะส่วนราชการ หน่วยงาน หรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดทำ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการต่าง ๆ ให้ทันสมัยสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
                     5. เรียกเจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่อง และเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมพิจารณาหรือชี้แจงแสดงความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยในการพิจารณาร่างกฎหมายและประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย
                     6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการพิจารณา        ร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ได้ตามความจำเป็น

19. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้ง
คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 3 คณะ ดังนี้
                      1. คณะกรรมการว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า
                     2. คณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี
                     3. คณะกรรมการดัชนีอุตสาหกรรม
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

                     รายละเอียดองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ จำนวน 3 คณะ ดังนี้
                     1. คณะกรรมการว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                     ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานคณะกรรมการ กรรมการประกอบด้วย  เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมี ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1. กำหนดมาตรการ แนวทาง และวิธีการในการประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร)
                     2. เสนอแนะและกำหนดท่าทีของประเทศไทยในการเจรจาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร)
                     3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
                     4. เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจงให้ข้อมูลและข้อแนะนำเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ตามความจำเป็น
                     5. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ข้างต้นและตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

                      2. คณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี                (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                      อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ซึ่งอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย เจ้ากรมพระธรรมนูญ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร หรือผู้แทน เจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร หรือผู้แทน เจ้ากรมการพลังงานทหาร หรือผู้แทน เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก หรือผู้แทน เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก หรือผู้แทน ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย หรือผู้แทน อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร หรือผู้แทน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน อธิบดีกรมการแพทย์ หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้แทน อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทา                   สาธารณภัย หรือผู้แทน อธิบดีกรมท่าอากาศยาน หรือผู้แทน อธิบดีกรมศุลกากร หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือผู้แทน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล หรือผู้แทน ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้แทนการท่าเรือแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุอันตราย โดยมี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยการห้ามอาวุธเคมี เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยการห้ามอาวุธเคมี จำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1. ประสานงานกับส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลเคมีภัณฑ์ และรายงานการดำเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกรณีของอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี
                     2. พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับกฎหมายภายในประเทศ ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี
                     3. ควบคุมและกำกับดูแลการทำงานของหน่วยงานระดับชาติ (National Authority) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานแห่งชาติ ในการประสานงานกับองค์การห้ามอาวุธเคมีและรัฐภาคีอื่น และดำเนินการต่าง ๆ ตามพันธกรณีของอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี
                     4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่เห็นสมควร

                     3. คณะกรรมการดัชนีอุตสาหกรรม (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ ผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้แทนสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย ผู้แทนสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้แทนสถาบันอาหาร ผู้แทนสถาบันยานยนต์ ผู้แทนสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผู้แทนสถาบันพลาสติก ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ผู้อำนวยการกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และผู้อำนวยการกองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยมี ผู้อำนวยการกองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มดัชนีอุตสาหกรรมและการวิเคราะห์ กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และหัวหน้ากลุ่มข้อมูลและสถิติเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1. กำหนดนโยบาย ระเบียบและแนวทางในการสำรวจ รวบรวม การเก็บรักษา และการใช้ประโยชน์ข้อมูลประกอบกิจการอุตสาหกรรม และเทคนิควิธีการในการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม ในภาพรวมและรายสาขาอุตสาหกรรม และแนวทางในการจัดเก็บและบูรณาการฐานข้อมูลร่วมกัน (Single Form) ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อความมีเอกภาพ และมาตรฐานด้านข้อมูล เพื่อใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมภาคการผลิตอุตสาหกรรมของประเทศ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สอดคล้องกับสถานการณ์และโครงสร้างภาคการผลิตที่เปลี่ยนไป และเป็นระบบเตือนภัยของประเทศในระยะยาว
                      2. ให้ข้อคิดเห็น และคำปรึกษาแนะนำ เพื่อประกอบการดำเนินการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพ ถูกต้องทันการณ์ เป็นมาตรฐานสากลและเป็นที่เชื่อถือ
                     3. เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน เพื่อชี้แจงและให้ข้อมูลที่จำเป็น
                     4. แต่งตั้งบุคคลหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามแต่คณะกรรมการ ฯ จะเห็นสมควรและมอบหมาย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ