สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 พฤษภาคม 2567

ข่าวการเมือง Tuesday May 28, 2024 17:30 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (28 พฤษภาคม 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย                                        วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช                                        มงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยแบบ                                        พินัยกรรมตามมาตรา 1672
                    3.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่                                        และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอ                                        ท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว                                         จังหวัดพังงา พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครอง                                        ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในพื้นที่หมู่เกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัด                                        ระนอง พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่                                        และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่                                                   อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    9.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่                                                  รายงาน (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. .... (ขยายกำหนดระยะเวลาการขอให้รับรองสถานะการ                                        เป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎกระทรวงการขอและการออกหนังสือรับรอง                                                  สถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. 2566)

เศรษฐกิจ-สังคม
                    10.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผน                                                  ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทย เพื่อให้เกิด                                                  ประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา
                    11.           เรื่อง           รายงานประจำปี 2565 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา                                                   (องค์การมหาชน)
                    12.           เรื่อง           แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2
                    13.           เรื่อง           มาตรการและแนวทางการตรวจลงตราเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้น                                                  เศรษฐกิจของประเทศไทย
                    14.           เรื่อง           การรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
                    15.           เรื่อง           มาตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบ                                                  การศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout)

ต่างประเทศ
                    16.           เรื่อง           การเข้าร่วมเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อการไกล่เกลี่ยระหว่าง                                                  ประเทศ
                    17.           เรื่อง           ร่างวาระแห่งแอนติกาและบาร์บูดาสำหรับรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก                                         - ปฏิญญาฉบับใหม่เพื่อความเจริญรุ่งเรืองที่มีความยืดหยุ่น
                    18.           เรื่อง           การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ของประเทศไทย

แต่งตั้ง
                    19.           เรื่อง           แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                    20.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง)                                                   (กระทรวงคมนาคม)
                    21.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรม                                        ไทย
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานผู้แทนการค้าไทย
                    25.           เรื่อง           การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็น                                        ผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีและกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญ
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)                       พ.ศ. 2555 โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชาการจัดการ และกำหนดเพิ่มปริญญาโทและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชาเทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดสีประจำวิทยาลัยนานาชาติ และกำหนดสีประจำสถาบันวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และวัฒนธรรม ดังนี้
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555          ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          มาตรา 3 ให้กำหนดชื่อปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ดังต่อไปนี้          มาตรา 3 ให้กำหนดชื่อปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ดังต่อไปนี้
   (1) สาขาวิชาการจัดการ มีปริญญาสามชั้น คือ
          (ก) เอก เรียกว่า ?การจัดการดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?กจ.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
          (ข) โท เรียกว่า ?การจัดการมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?กจ.ม.?
          (ค) ตรี เรียกว่า ?การจัดการบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?กจ.บ.?
                              ฯลฯ
   (4) สาขาวิชาเทคโนโลยี มีปริญญาหนึ่งชั้น คือ ตรี เรียกว่า ?เทคโนโลยีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.บ.?              (5) สาขาวิชาเทคโนโลยี มีปริญญาสองชั้น คือ
          (ก) โท เรียกว่า ?เทคโนโลยีมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.ม.?
          (ข) ตรี เรียกว่า ?เทคโนโลยีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.บ.?
มาตรา 7 สีประจำคณะ มีดังต่อไปนี้          มาตรา 7 สีประจำคณะ วิทยาลัย และสถาบันมีดังต่อไปนี้
  (1) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม                    สีทับทิมแดง
  (2) คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์          สีชมพู
  (3) คณะบริหารธุรกิจ                              สีฟ้า
  (4) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          สีเหลือง
  (5) คณะวิศวกรรมศาสตร์                    สีเลือดหมู
  (6) คณะศิลปศาสตร์                              สีแสด
  (7) คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ                    สีม่วง            (1) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม                    สีทับทิมแดง
  (2) คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์          สีชมพู
  (3) คณะบริหารธุรกิจ                              สีฟ้า
  (4) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          สีเหลือง
  (5) คณะวิศวกรรมศาสตร์                    สีเลือดหมู
  (6) คณะศิลปศาสตร์                              สีแสด
  (7) คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ                    สีม่วง
  (8) วิทยาลัยนานาชาติ                              สีเงิน
  (9) สถาบันวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และวัฒนธรรม                                                  สีน้ำเงินเข้ม

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยแบบพินัยกรรมตามมาตรา 1672
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยแบบพินัยกรรม ตามมาตรา 1672 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    มท. เสนอว่า
                    1. การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง กำหนดให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน โดยกรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้น ลงไว้และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง และให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ โดยให้กรมการอำเภอลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้อง แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ ตามมาตรา 1658 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองจะทำนอกที่ว่าการอำเภอก็ได้ ตามมาตรา 1659 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพินัยกรรมจะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ ตามมาตรา 1660 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมและผนึกพินัยกรรม รวมทั้งลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกและนำไปแสดงต่อกรมการอำเภอ โดยมีพยานอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลว่าเป็นพินัยกรรมของตน
                              นอกจากนี้ มาตรา 1663 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ (เช่น ตกอยู่ในอันตราย ใกล้ความตาย) บุคคลสามารถทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้ โดยต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน โดยพยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอโดยมิชักช้า และให้กรมการอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยาน 2 คนนั้นต้องลงลายมือชื่อไว้
                    2. กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 16721 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
                              2.1 การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองหรือเอกสารลับโดยให้ทำคำร้องแสดงความจำนงตามแบบของพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอก็ได้ และกำหนดให้กรมการอำเภอเจ้าของท้องที่ซึ่งสถานที่ทำพินัยกรรมนั้นตั้งอยู่ เป็นผู้มีอำนาจรับทำพินัยกรรมในกรณีที่เป็นพินัยกรรมฝ่ายเมืองหรือเอกสารลับนอกที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
                              2.2 การตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก การถอนการตัดมิให้รับมรดก การสละมรดก ให้ผู้ประสงค์จะแสดงเจตนาทำคำร้องแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงานยื่นต่อกรมการอำเภอก็ได้
                              2.3 การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ได้แก่ ค่าทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองในที่ว่าการอำเภอ ฉบับละ 10 บาท ถ้าทำเป็นคู่ฉบับๆ ละ 5 บาท หากทำพินัยกรรมนอกที่ว่าการอำเภอ ฉบับละ 20 บาท ถ้าทำเป็นคู่ฉบับๆ ละ 10 บาท ค่าทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับฉบับละ 5 บาท เป็นต้น
                              2.4 ต่อมาได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียม เช่น ค่าทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองในที่ว่าการอำเภอ ฉบับละ 50 บาท ถ้าทำเป็นคู่ฉบับๆ ละ 10 บาท หากทำพินัยกรรมนอกที่ว่าการอำเภอ ฉบับละ 100 บาท ถ้าทำเป็นคู่ฉบับๆ ละ 20 บาท ค่าทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับ ฉบับละ 20 บาท เป็นต้น
                    3. โดยที่กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งเละพาณิชย์ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานแล้ว มีถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เช่น มฤดก พะยาน พินัยกรรม์ กรมการอำเภอ เป็นต้น ประกอบกับในคราวประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมและยกระดับการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการและการประกอบธุรกิจครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 มีมติให้เร่งรัดการดำเนินการในกลุ่มของการยกเลิกใบอนุญาต ยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือลดค่าธรรมเนียม โดยให้พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องการกำหนดค่าธรรมเนียมในกฎหมาย ซึ่ง ก.พ.ร. ได้ขอให้ดำเนินการเร่งรัดการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมตามมติของคณะอนุกรรมการฯ
                    4. มท. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวง ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยแบบพินัยกรรม ตามมาตรา 1672 เพื่อให้กฎหมายมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน สอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ รัฐรวมถึงการแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมการทำพินัยกรรม การทำหนังสือแสดงเจตนาตัดหรือถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกหรือสละมรดก และยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมการรับมอบการเก็บรักษาเอกสาร ค่าคัดกรองและรับรองสำเนา ค่าป่วยการพยาน รวมทั้งล่ามที่อำเภอจัดหาให้ เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับพินัยกรรมหรือการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพินัยกรรมมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเพื่อเป็นการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ มท. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
                              4.1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                              4.2 กำหนดนิยามคำว่า ?ที่ว่าการอำเภอ? ?อำเภอ? และ ?นายอำเภอ?
                              4.3 กำหนดเอกสารหลักฐานที่ผู้ประสงค์ทำพินัยกรรมต้องนำมาแสดงต่อนายอำเภอ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน เอกสารสินทรัพย์ที่จะทำพินัยกรรม หนังสือแสดงเจตนาจัดการทรัพย์มรดกของผู้ทำพินัยกรรม พยานบุคคลอย่างน้อย 2 คน เป็นต้น (เดิมกำหนดให้ทำคำร้องแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงานยื่นต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ)
                              4.4 กรณีมีเหตุสงสัยว่าผู้ขอทำพินัยกรรมเป็นบุคคลที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมได้ (อายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นบุคคลวิกลจริต) นายอำเภอสามารถเรียกตรวจเอกสารหรือสอบสวนพยานบุคคลเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นและให้บันทึกเหตุสงสัยไว้ในพินัยกรรมเพื่อเป็นหลักฐานด้วย (เดิมกำหนดให้กรมการอำเภอสอบสวนเหตุการณ์และรายละเอียดอันอาจเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาถึงความสามารถตามกฎหมายผู้นั้นโดยทำเป็นบันทึกประกอบด้วย)
                              4.5 กำหนดแบบพิมพ์แนบท้ายร่างกฎกระทรวงสำหรับจดทะเบียนพินัยกรรม โดยให้มีข้อความตามที่กำหนด เช่น วัน เดือน ปีที่ทำพินัยกรรมหรือที่นำพินัยกรรมมาจดทะเบียน ชื่อตัว - ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม วัน เดือน ปี ที่นายอำเภอส่งมอบพินัยกรรม เป็นต้น และอาจทำในรูปแบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบคอมพิวเตอร์ด้วยก็ได้
                    5. กำหนดแบบการทำพินัยกรรมด้วยวาจาให้นำหลักเกณฑ์การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองหรือเอกสารลับมาบังคับใช้ด้วยโดยอนุโลม
                    6. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการทำพินัยกรรม ดังนี้
ประเภทของพินัยกรรม          อัตราค่าธรรมเนียมปัจจุบัน          อัตราค่าธรรมเนียมใหม่
ค่าทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองในที่ว่าการอำเภอ          ฉบับละ 50 บาท
สำเนาคู่ฉบับ ๆ ละ 10 บาท          ฉบับละ 250 บาท
สำเนาคู่ฉบับ ๆ ละ 50 บาท
ค่าทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอ          ฉบับละ 100 บาท
สำเนาคู่ฉบับ ๆ ละ 20 บาท          ฉบับละ 500 บาท
สำเนาคู่ฉบับ ๆ ละ 50 บาท
ค่าทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ          ฉบับละ 20 บาท          ฉบับละ 250 บาท
ค่าทำหนังสือแสดงเจตนาตัด หรือถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกหรือสละมรดก          ฉบับละ 20 บาท          ฉบับละ 100 บาท
ค่ารับมอบเก็บรักษาเอกสาร          ฉบับละ 20 บาท           ยกเลิก
ค่าคัดและรับรองสำเนาพินัยกรรม          ฉบับละ 20 บาท
ค่าป่วยการพยานและล่ามที่ทางอำเภอจัดหา          ไม่เกินวันละ 50 บาท

1 กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2481
2 กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2503

3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไป
                    2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า
                    1. ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ซึ่งประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศวันที่ 31 มีนาคม 2559 ดังนั้น มีผลใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน 2559) และมีระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปี นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ (สิ้นสุดการใช้บังคับในวันที่ 31 มีนาคม 2564)
                    2. ต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศ ตามข้อ 1. รวม 2 ฉบับ1 โดยประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาฯ ฉบับปัจจุบันสิ้นสุดอายุการใช้บังคับในวันที่               31 มีนาคม 2568
                    3. เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา อย่างต่อเนื่องและป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่เกินขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อทำบ่อกุ้ง และการใช้ประโยชน์ด้านการประมงที่มีแนวโน้มเสียสมดุล การเกิดมลพิษและการปนเปื้อนของสารตกค้างที่ปล่อยลงสู่พื้นที่สาธารณะโดยมิได้ผ่านการบำบัดปัญหามลพิษทางน้ำและขยะ รวมทั้งการลักลอบเก็บไข่เต่ามะเฟือง เป็นต้น ประกอบกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาฯ ฉบับปัจจุบัน จะสิ้นสุดอายุการใช้บังคับในวันที่ 31 มีนาคม 2568 ทส. จึงได้ยกร่างประกาศ ตามข้อ 1 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 44 และมาตรา 45 ซึ่งบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีขออนุมัติเข้าดำเนินการเพื่อใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาในพื้นที่นั้นได้ และเพื่อกำหนดให้มีมาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมมากขึ้น โดยได้ปรับเปลี่ยนมาตรการจากประกาศเดิมตามตารางเปรียบเทียบมาตรการ ดังนี้
มาตรการเดิม          มาตรการใหม่
1. ห้ามก่อสร้างและประกอบกิจการโรงแรมอาคารอยู่รวม อาคารชุดมากกว่า 30 ห้อง ในพื้นที่อำเภอเกาะยาว (ไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE)/ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA)           - พื้นที่เกาะยาว กำหนดให้ก่อสร้างได้ไม่เกิน 79 ห้อง (ตำบลเกาะยาวน้อย ความสูงไม่เกิน 12 เมตร ตำบลเกาะยาวใหญ่ ความสูงไม่เกิน 16 เมตร) ทั้งนี้ จำนวนห้องตั้งแต่ 50 ? 79 ห้อง ต้องจัดทำรายงาน EIA
2. ห้ามก่อสร้างโรงงานทุกประเภทหรือทุกชนิดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน          - ไม่มีข้อห้ามก่อสร้างโรงงาน
- กำหนดมาตรการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ว่างตามกฎหมายควบคุมอาคารหรือกฎหมายผังเมือง
3. ไม่มีข้อกำหนดท้ายประกาศเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม          - กำหนดให้การก่อสร้างอาคารจำนวนห้องพัก 11 ? 49 ห้องต้องดำเนินตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามท้ายประกาศฯ
4. โรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุดที่มีจำนวนห้องพัก 30 ? 79 ต้องจัดทำ (IEE)           - กำหนดให้จำนวนห้องพัก 50 ? 79 ห้อง ต้องจัดทำรายงาน IEE
                    ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. กำหนดให้พื้นที่ที่ได้มีการกำหนดเขตอนุรักษ์และเขตควบคุมอาคารของจังหวัดพังงาเป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พื้นที่ภายในแนวเขตตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าอ่าวพังงา ในท้องที่ตำบลกระโสม ตำบลกะไหล ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา และตำบลเกาะยาวน้อย ตำบลเกาะยาวใหญ่ กิ่งอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2524 พื้นที่ภายในแนวเขตตามพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในท้องที่บางแห่งในจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล พ.ศ. 2534 เฉพาะท้องที่ในจังหวัดพังงา และพื้นที่ภายในแนวเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดพังงา ตามกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดพังงา พ.ศ. 2565 ที่ออกตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยกเว้น เขตทะเลชายฝั่งรอบบริเวณเกาะที่อยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และเกาะดอกไม้
                    2. กำหนดเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 บริเวณ ดังนี้
                              2.1 บริเวณที่ 1 เขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน
                                        2.1.2 บริเวณที่ 2 เขตสงวนและคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้
                                        2.1.3 บริเวณที่ 3 เขตน่านน้ำเพื่อคุ้มครองทรัพยากรทางทะเล ประมงและชายฝั่ง ได้แก่ พื้นที่ภายในแนวเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดพังงา
                                        2.1.4 บริเวณที่ 4 เขตคุ้มครองแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล
                                        2.1.5 บริเวณที่ 5 พื้นที่เกาะต่าง ๆ ยกเว้น บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 และบริเวณที่ 4
                                        2.1.6 บริเวณที่ 6 พื้นที่นอกเหนือจากบริเวณที่ 1 ถึงบริเวณที่ 5 และพื้นที่ที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายก่อนประกาศเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลนหรือก่อนประกาศเขตสงวนและคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้จะมีผลใช้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
                    3. กำหนดให้พื้นที่ตามข้อ 2.1 ห้ามกระทำการหรือกิจกรรมใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การทำประมงพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการประมง และการทำให้เกิดมลพิษขยะมูลฝอย สารแขวนลอย ที่มีผลทำให้คุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม การดำเนินกิจกรรมใดอันเป็นการรบกวนการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเล เป็นต้น
                    4. กำหนดการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร ในเขตพื้นที่ตามข้อ 2.1 เป็นโรงงานทุกประเภทหรือทุกชนิดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานต้องมีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เพื่อควบคุมมลพิษหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด รวมถึงห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง โรงเรือนหรืออาคารที่ใช้เลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าหรือเพื่อการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยมลพิษตามกฎหมาย
                    5. กำหนดให้การก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ โดยรอบเขตโบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในระยะ 100 เมตร ต้องมีความสูงไม่เกิน           6 เมตร
                    6. กำหนดให้การก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรือหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ต้องติดตั้งหรือจัดให้มีบ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสีย โดยต้องบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำทิ้งตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดก่อนปล่อยลงสู่ท่อหรือทางน้ำสาธารณะ และการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารที่มีลักษณะเป็นการขยายขนาดพื้นที่อาคารหรือเพิ่มจำนวนห้องพัก หรือเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมต้องดำเนินการตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมท้ายประกาศนี้
                    7. กำหนดให้ในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ ก่อนการดำเนินโครงการ หรือประกอบกิจการรวมทั้งขั้นตอนการขยายขนาดของโครงการหรือกิจการ ให้จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นหรือรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วแต่กรณี ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
                    8. กำหนดให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพังงาทำหน้าที่ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ประสาน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามประกาศนี้ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตลอดจนประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และภาคประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนำไปบรรจุในแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด หรือแผนงานและงบประมาณของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    9. กำหนดให้พื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หากมีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและเป็นมาตรการที่ไม่ต่ำกว่ามาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรือมีมาตรการที่ดีกว่าในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น
                    10. กำหนดให้การกระทำ กิจกรรม หรือกิจการใดที่ต้องห้ามตามประกาศนี้ ถ้าได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาตนั้น ทั้งนี้ ให้อนุญาตได้เฉพาะพื้นที่เดิมที่ได้รับอนุญาตไว้เท่านั้นและต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามที่ประกาศนี้กำหนด
                    11. กำหนดให้ร่างประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และมีระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปี นับแต่วันที่ร่างประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
1 (1) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. 2559 ให้มีผลใช้บังคับประกาศต่อไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 (สิ้นสุดอายุการใช้บังคับในวันที่ 31 มีนาคม 2566)
   (2) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2566 ให้มีผลใช้บังคับประกาศต่อไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 (สิ้นสุดอายุการใช้บังคับในวันที่ 31 มีนาคม 2568)

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอและให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จึงต้องมีการตราพระราชกฤษฎีกาได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจใหม่ เพื่อทดแทนพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 กำหนดให้ข้าราชการตำรวจจะได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในอัตราใดให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกากำหนด รวมทั้งเพื่อเป็นการปรับปรุงการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนและข้าราชการทหาร และสอดคล้องกับการกำหนดลักษณะงานบริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอเป็นการกำหนดประเภทตำแหน่งและการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจเพิ่มเติมจากพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2558 ที่จะถูกยกเลิก เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และกำหนดสิทธิและหลักเกณฑ์ของข้าราชการตำรวจให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตำรวจท้ายพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (อัตราเดียวกับบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตำรวจท้ายพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554) สรุปได้ดังนี้
                              1. กำหนดให้ข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร1ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและได้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการอีกประเภทหนึ่งอยู่ด้วยแล้ว นั้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารโดยไม่ตัดสิทธิการได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการที่ตนครองอยู่ เช่น ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชั้นยศ พ.ต.อ. รองศาสตราจารย์ ชั้นยศ พ.ต.ท. ฯลฯ (เดิม กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว) เพื่อให้สอดคล้องกับการได้รับเงินประจำตำแหน่งของผู้บริหารที่ครองตำแหน่งประเภทวิชาการด้วยของข้าราชการพลเรือนและข้าราชการทหารตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 และพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหาร พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                              2. กำหนดให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ พ.ต.ท. ขึ้นไป และดำรงตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.) โดยเพิ่มสายงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้ และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ จำนวน 5 สายงาน (ได้แก่ วิชาชีพเฉพาะกายอุปกรณ์ วิชาชีพเฉพาะกิจกรรมบำบัด วิชาชีพเฉพาะเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก วิชาชีพเฉพาะแพทย์แผนไทย และวิชาชีพเฉพาะเวชศาสตร์การสื่อความหมาย) จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 28 สายงาน เพื่อเป็นการรองรับการปรับปรุงภารกิจที่จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพเฉพาะดังกล่าวในอนาคต
                              3. กำหนดให้ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่ต้องปฏิบัติงานที่เป็นงานหลักของหน่วยงาน และต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช.) โดยเพิ่มลักษณะงานความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จำนวน 2 ด้าน ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ จากเดิมที่เคยมีอยู่ 46 ด้าน ได้แก่ ด้านการสืบสวนสอบสวน เพื่อให้สอดคล้องกับสายงานสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับการกำหนดลักษณะงานบริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                    สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่าการตราพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ไม่ส่งผลกระทบต่องบประมาณหมวดเงินเดือนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และจะลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของระบบค่าตอบแทนการปฏิบัติงานระหว่างข้าราชการตำรวจกับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร รวมทั้งเป็นการจัดทำระบบค่าตอบแทนของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเหมาะสมสอดคล้องกับการกำหนดลักษณะงานบริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ โดยสำนักงาน ก.พ. เห็นควรให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติวางแผนบริหารจัดการและกำหนดกรอบอัตรากำลังให้เหมาะสมกับความจำเป็นตามภารกิจ รวมทั้งกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งที่จะมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการตำรวจที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งอยู่เดิมและเป็นมาตรฐานเดียวกันกับข้าราชการประเภทอื่นด้วย และสำนักงบประมาณเห็นว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรใช้จ่ายงบประมาณตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน หรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
1 ประเภทบริหาร ตำแหน่งบริหารระดับสูง ได้แก่ พล.ต.อ., พล.ต.ท., พล.ต.ต., พ.ต.อ. อัตราเงินเดือน พ.ต.อ. (พิเศษ) ตำแหน่งบริหารระดับกลาง ได้แก่ พ.ต.อ.
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    1. ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ พ.ต.ท. ขึ้นไปและดำรงตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.) โดยเพิ่มสายงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.) จำนวน 5 สายงาน (ได้แก่ วิชาชีพเฉพาะกายอุปกรณ์ วิชาชีพเฉพาะกิจกรรมบำบัด วิชาชีพเฉพาะเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก วิชาชีพเฉพาะแพทย์แผนไทย และวิชาชีพเฉพาะเวชศาสตร์การสื่อความหมาย) จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 28 สายงาน รายละเอียดดังนี้
พ.ร.ฎ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2558          ร่าง พ.ร.ฎ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ....
1. มีลักษณะงานวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้ และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด โดยมีองค์กรตามกฎหมายทำหน้าที่ตรวจสอบ กลั่นกรอง และรับรองการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพดังกล่าว ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังนี้
(ก) วิชาชีพเฉพาะกายภาพบำบัด
(ข) วิชาชีพเฉพาะการทันตแพทย์
(ค) วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล
(ง) วิชาชีพเฉพาะการแพทย์
(จ) วิชาชีพเฉพาะการสัตวแพทย์
(ฉ) วิชาชีพเฉพาะจิตวิทยาคลินิก
(ช) วิชาชีพเฉพาะเทคนิคการแพทย์
(ซ) วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม
(ฌ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล
(ญ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้า
(ฎ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
(ฏ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโยธา
(ฐ) วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม
(ฑ) วิชาชีพเฉพาะสังคมสงเคราะห์


          (ก) วิชาชีพเฉพาะกายภาพบำบัด
(ข) วิชาชีพเฉพาะกายอุปกรณ์ (เพิ่ม)
(ค) วิชาชีพเฉพาะการทันตแพทย์
(ง) วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล
(จ) วิชาชีพเฉพาะการแพทย์
(ฉ) วิชาชีพเฉพาะการสัตวแพทย์
(ช) วิชาชีพเฉพาะกิจกรรมบำบัด (เพิ่ม)
(ซ) วิชาชีพเฉพาะจิตวิทยาคลินิก
(ฌ) วิชาชีพเฉพาะเทคนิคการแพทย์
(ญ) วิชาชีพเฉพาะเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (เพิ่ม)
(ฎ) วิชาชีพเฉพาะแพทย์แผนไทย (เพิ่ม)
(ฏ) วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม
(ฐ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล
(ฑ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้า
(ฒ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
(ณ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโยธา
(ด) วิชาชีพเฉพาะเวชศาสตร์การสื่อความหมาย (เพิ่ม)
(ต) วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม
(ถ) วิชาชีพเฉพาะสังคมสงเคราะห์
2. มีลักษณะงานวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้ และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังนี้
(ก) วิชาชีพเฉพาะการเดินเรือ
(ข) วิชาชีพเฉพาะฟิสิกส์รังสี
(ค) วิชาชีพเฉพาะรังสีการแพทย์
(ง) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมจราจร
(จ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมนิวเคลียร์
(ฉ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโลหการ          (ก) วิชาชีพเฉพาะการเดินเรือ                    คงเดิม
(ข) วิชาชีพเฉพาะฟิสิกส์รังสี                    คงเดิม
(ค) วิชาชีพเฉพาะรังสีการแพทย์                    คงเดิม
(ง) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมจราจร                    คงเดิม
(จ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมนิวเคลียร์          คงเดิม
(ฉ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโลหการ          คงเดิม
3. มีลักษณะงานวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้ และเป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีลักษณะในเชิงวิจัยและพัฒนา อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังนี้
(ก) วิชาชีพเฉพาะการผลิตไอโซโทป
(ข) วิชาชีพเฉพาะกีฏวิทยารังสี
(ค) วิชาชีพเฉพาะชีววิทยารังสี
(ง) วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์เคมี
(จ) วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์ฟิสิกส์
(ฉ) วิชาชีพเฉพาะวิชาการคอมพิวเตอร์
(ช) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมการเกษตร
(ซ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมอากาศยาน          (ก) วิชาชีพเฉพาะการผลิตไอโซโทป          คงเดิม
(ข) วิชาชีพเฉพาะกีฏวิทยารังสี                    คงเดิม
(ค) วิชาชีพเฉพาะชีววิทยารังสี                    คงเดิม
(ง) วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์เคมี                    คงเดิม
(จ) วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์ฟิสิกส์                    คงเดิม
(ฉ) วิชาชีพเฉพาะวิชาการคอมพิวเตอร์          คงเดิม
(ช) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมการเกษตร          คงเดิม
(ซ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมอากาศยาน          คงเดิม
                    2. ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่ต้องปฏิบัติงานที่เป็นงานหลักของหน่วยงาน และต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช.) โดยเพิ่มลักษณะงานความเชี่ยวชาญให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการสืบสวนสอบสวนและด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ จากเดิมที่เคยมีอยู่ 46 ด้าน รายละเอียดดังนี้
พ.ร.ฎ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2558          ร่าง พ.ร.ฎ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ....
ลักษณะงานที่อาศัยพื้นฐานของความรู้ ประสบการณ์ หรือการฝึกฝนทฤษฎี หรือหลักวิชาอันเกี่ยวข้องกับงานและเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน งานอนุรักษ์ตามภารกิจ หรืองานที่ต้องปฏิบัติ โดยผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์เป็นอย่างสูงเฉพาะด้าน อันเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวงการด้านนั้น ๆ และต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยมีคุณวุฒิการศึกษาตรงกับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนี้
          (1) ด้านการข่าว
          (2) ด้านการเงิน
          (3) ด้านการบิน
          (4) ด้านการฝึกอบรม
          (5) ด้านการสอน
          (6) ด้านการสอบสวน
          (7) ด้านการสืบสวน
          (8) ด้านจราจร
          (9) ด้านช่างศิลปกรรม
          (10) ด้านตรวจคนเข้าเมือง
          (11) ด้านตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
          (12) ด้านตรวจสอบบัญชี
          (13) ด้านตรวจสอบภายใน
          (14) ด้านถ่ายภาพทางการแพทย์
          (15) ด้านนิติการ
          (16) ด้านนิติวิทยาศาสตร์
          (17) ด้านป้องกันปราบปราม
          (18) ด้านมัณฑนศิลป์
          (19) ด้านวิเคราะห์งบประมาณ
          (20) ด้านวิเคราะห์งานบุคคล
          (21) ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน
          (22) ด้านวิจัยสังคมศาสตร์
          (23) ด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
          (24) ด้านวิชาการเงิน
          (25) ด้านวิชาการดนตรี
          (26) ด้านวิชาการตรวจสอบบัญชี
          (27) ด้านวิชาการทางการแพทย์
          (28) ด้านวิชาการบัญชี
          (29) ด้านวิชาการประชาสัมพันธ์
          (30) ด้านวิชาการโภชนาการ
          (31) ด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
          (32) ด้านวิชาการศึกษา
          (33) ด้านวิชาการสถิติ
          (34) ด้านวิชาการสอบ
          (35) ด้านวิชาการสัตวบาล
          (36) ด้านวิชาการสาธารณสุข
          (37) ด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม
          (38) ด้านวิชาการอาหารและยา
          (39) ด้านวิทยาศาสตร์
          (40) ด้านวิเทศสหการ
          (41) ด้านวิเทศสัมพันธ์
          (42) ด้านวิศวกรรม
          (43) ด้านส่งเสริมและสอนการพลศึกษา
          (44) ด้านสรรพาวุธ
          (45) ด้านสังคมสงเคราะห์
          (46) ด้านสัตววิทยา                    (1) ด้านการข่าว
          (2) ด้านการเงิน
          (3) ด้านการบิน
          (4) ด้านการฝึกอบรม
          (5) ด้านการสอน
          (6) ด้านการสอบสวน
          (7) ด้านการสืบสวน
          (8) ด้านการสืบสวนสอบสวน (เพิ่ม)
          (9) ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ (เพิ่ม)
          (10) ด้านจราจร
          (11) ด้านช่างศิลปกรรม
          (12) ด้านตรวจคนเข้าเมือง
          (13) ด้านตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
          (14) ด้านตรวจสอบบัญชี
          (15) ด้านตรวจสอบภายใน
          (16) ด้านถ่ายภาพทางการแพทย์
          (17) ด้านนิติการ
          (18) ต้านนิติวิทยาศาสตร์
          (19) ด้านป้องกันปราบปราม
          (20) ด้านมัณฑนศิลป์
          (21) ด้านวิเคราะห์งบประมาณ
          (22) ด้านวิเคราะห์งานบุคคล
          (23) ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน
          (24) ด้านวิจัยสังคมศาสตร์
          (25) ด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
          (26) ด้านวิชาการเงิน
          (27) ด้านวิชาการดนตรี
          (28) ด้านวิชาการตรวจสอบบัญชี
          (29) ด้านวิชาการทางการแพทย์
          (30) ด้านวิชาการบัญชี
          (31) ด้านวิชาการประชาสัมพันธ์
          (32) ด้านวิชาการโภชนาการ
          (33) ด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
          (34) ด้านวิชาการศึกษา
          (35) ด้านวิชาการสถิติ
          (36) ด้านวิชาการสอบ
          (37) ด้านวิชาการสัตวบาล
          (38) ด้านวิชาการสาธารณสุข
          (39) ด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม
          (40) ด้านวิชาการอาหารและยา
          (41) ด้านวิทยาศาสตร์
          (42) ด้านวิเทศสหการ
          (43) ด้านวิเทศสัมพันธ์
          (44) ด้านวิศวกรรม
          (45) ด้านส่งเสริมและสอนการพลศึกษา
          (46) ด้านสรรพาวุธ
          (47) ด้านสังคมสงเคราะห์
          (48) ด้านสัตววิทยา

5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในพื้นที่หมู่เกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                    1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในพื้นที่หมู่เกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม                และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    เรื่องเดิม
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มาตรา 22 บัญญัติให้ในกรณีที่ปรากฏว่าทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอาจถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเข้าขั้นวิกฤต หรือเป็นกรณีที่คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติเห็นว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสงวน คุ้มครอง หรืออนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์หรือสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งให้รัฐมนตรีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยไม่ชักช้าเพื่อขออนุมัติใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามมาตรา 23 และกำหนดหน่วยงานของรัฐที่จะเป็นผู้ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวตามความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นนั้น รวมถึงกำหนดประเภทของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครอง และกำหนดระยะเวลาที่จะใช้มาตรการคุ้มครองดังกล่าว ในกรณีที่มีความจำเป็นอาจกำหนดให้มีแผนที่แสดงแนวเขตพื้นที่ที่จะใช้มาตรการคุ้มครองด้วยก็ได้
2. ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในพื้นที่บริเวณหมู่เกาะพยาม ประกอบด้วย เกาะพยาม เกาะขาม และเกาะนุ้ย ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง มีแนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเลและสัตว์ทะเลหายาก ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล การทำประมง การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมทั้งจากการทิ้งขยะและน้ำเสียจากชุมชน ทำให้แนวปะการัง หญ้าทะเลและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลหายากถูกทำลายและได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเข้าขั้นวิกฤติ คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติเห็นว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสงวน คุ้มครอง และอนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์หรือสร้างความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ทส. จึงได้ยกร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่หมู่เกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง                     พ.ศ. .... เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่บริเวณดังกล่าว เพื่อสงวน คุ้มครอง และอนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ รวมทั้งการสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง และในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าว และให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    3. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในขณะนั้น สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ทส. รับร่างประกาศตามข้อ 2 ไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกระบวนการรับฟังความคิดเห็นให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ท้ายร่างประกาศดังกล่าวให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศ
                    ทส. เสนอว่า
                    1. ได้ดำเนินการตามข้อสั่งการตามข้อ 3 โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศดังกล่าวจากผู้มีส่วนได้เสีย เช่น หน่วยงานของรัฐ และประชาชนในพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และเปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 ด้วยแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างประกาศดังกล่าว และกรมการปกครองได้ตรวจสอบร่างแผนที่ท้ายประกาศในเรื่องนี้ด้วยแล้ว เห็นว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลทะเบียนเกาะของแต่ละพื้นที่ และเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมชื่อร่างประกาศจากเดิมที่ระบุเพียงชื่ออำเภอเมือง เป็น ?อำเภอเมืองระนอง?
                    2. ร่างประกาศในเรื่องนี้ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              2.1 กำหนดนิยาม เช่น ?แนวทะเลชายฝั่ง? ?ชายหาด? และ ?กิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ?
                              2.2 กำหนดให้หมู่เกาะพยาม ประกอบด้วย เกาะพยาม เกาะขาม และเกาะนุ้ย อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และพื้นที่ทะเลรอบเกาะดังกล่าว ภายในแนวเขตแผนที่ท้ายประกาศ เป็นพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ โดยจำแนกพื้นที่ออกเป็น 4 บริเวณเพื่อประโยชน์ในการกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเล และกำหนดหลักเกณฑ์ในแต่ละบริเวณ ดังนี้
                                        2.2.1 บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่บนแผ่นดินนับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินของเกาะพยาม กำหนดหลักเกณฑ์ เช่น ห้ามทิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล ปล่อยน้ำเสีย หรือทำให้เกิดมลพิษ ห้ามกระทำหรือดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดตะกอนลงสู่ทะเล ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อแนวปะการัง และห้ามวางร่ม โต๊ะ เตียงผ้าใบ หรือที่นั่งบนพื้นที่ชายหาด รวมถึงการขับขี่ยานพาหนะบนชายหาด ต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชายหาด
                                        2.2.2 บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลลงมาจนถึงแนวปะการังตามธรรมชาติและบริเวณต่อเนื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เช่น ห้ามดำเนินกิจกรรมกีฬาทางน้ำหรือกิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำที่มีหรืออาจมีผลกระทบกับบริเวณแนวปะการัง เว้นแต่เป็นการดำเนินการในบริเวณที่อธิบดีประกาศกำหนด ห้ามทำการประมง เว้นแต่การทำการประมงด้วยเครื่องมือเบ็ด ห้ามทิ้งสมอในบริเวณแนวปะการัง
                                        2.2.3 บริเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่แหล่งหญ้าทะเลและบริเวณต่อเนื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เช่น ห้ามทิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล ปล่อยน้ำเสีย หรือทำให้เกิดมลพิษที่เป็นการทำลาย ก่อให้เกิดความเสียหาย ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของแหล่งหญ้าทะเล สัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเล หรือสัตว์ทะเลหายาก ดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย หรืออาจเป็นอันตราย ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของแหล่งหญ้าทะเล สัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเล หรือสัตว์ทะเลหายาก ห้ามการทำประมงด้วยเครื่องมืออวนกระทุ้งน้ำ เบ็ดราวกระเบน และการใช้เครื่องปั๊มลมประกอบ
                                        2.2.4 บริเวณที่ 4 ได้แก่ พื้นที่ทะเลถัดจากบริเวณที่ 2 และบริเวณที่ 3 ออกไปภายในบริเวณเส้นตรงที่เชื่อมต่อจุดพิกัดตามประกาศนี้ กำหนดหลักเกณฑ์ เช่น ห้ามทิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล ปล่อยน้ำเสีย หรือทำให้เกิดมลพิษ กระทำหรือดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นการทำลาย หรือก่อให้เกิดความเสียหาย ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของแนวปะการัง สัตว์น้ำในแนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล ซากปะการัง กัลปังหา หรือสัตว์ทะเลหายาก
                    ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวมิให้ใช้บังคับแก่การใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือ นอกจากนี้กำหนดหลักเกณฑ์ในการนำเรือท่องเที่ยวเข้าพื้นที่ การจอดเรือกับทุ่น การห้ามจับหรือครอบครองปลาสวยงามตามบัญชีท้ายประกาศ
                              2.3 กำหนดให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดทำแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดูแล ติดตาม และตรวจสอบการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ กำหนดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยจำแนกตามเขตการใช้ประโยชน์ และสนับสนุนโครงการส่งเสริมองค์ความรู้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชน เยาวชน และกลุ่มอนุรักษ์ในการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์         การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งกำหนดพื้นที่ดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ กำหนดพื้นที่จอดเรือ กำหนดพื้นที่เข้าออกของเรือ หรือพื้นที่อื่นใด กำหนดรูปแบบทุ่นจอดเรือ ทุ่นแสดงแนวเขตให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
                              2.4 กำหนดให้การดำเนินการตามประกาศนี้ มิให้ใช้บังคับกับการปฏิบัติการของหน่วยงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การศึกษาและวิจัยทางวิชาการ หรือการดำเนินการหรือกิจกรรมใดเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ
                              2.5 กำหนดให้พื้นที่ในร่างประกาศนี้ หากมีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และเป็นมาตรการที่ไม่ต่ำกว่ามาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งนี้ ก็ให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น
                              2.6 กำหนดให้ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และมีระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงพลังงานไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไป
                    2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงานไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศ
                    ทส. เสนอว่า
                    1. ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2559 ซึ่งประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศวันที่ 31 มีนาคม 2559 ดังนั้น มีผลใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน 2559) และมีระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปี นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ (สิ้นสุดการใช้บังคับในวันที่ 31 มีนาคม 2564)
                    2. ต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศตามข้อ 1 รวม 2 ฉบับ [(1) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2564 ให้มีผลใช้บังคับประกาศต่อไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 (สิ้นสุดอายุการใช้บังคับในวันที่ 31 มีนาคม 2566)         (2) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2566 ให้มีผลใช้บังคับประกาศต่อไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 (สิ้นสุดอายุการใช้บังคับในวันที่ 31 มีนาคม 2568)] โดยประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาฯ ฉบับปัจจุบันจะสิ้นสุดอายุการใช้บังคับในวันที่ 31 มีนาคม 2568
                    3. เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ อย่างต่อเนื่องและป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการขยายตัวของชุมชน และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประกอบกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาฯ ฉบับปัจจุบัน จะสิ้นสุดอายุการใช้บังคับในวันที่ 31 มีนาคม 2568 ทส. จึงได้ยกร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. .... ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 44 และมาตรา 45 ซึ่งบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีขออนุมัติเข้าดำเนินการเพื่อใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาในพื้นที่นั้นได้ และเพื่อกำหนดให้มีมาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมมากขึ้น โดยได้ปรับเปลี่ยนมาตรการจากประกาศเดิมตามตารางเปรียบเทียบมาตรการ ดังนี้
มาตรการตามประกาศฯ
พ.ศ. 2559          มาตรการตามร่างประกาศฯ
พ.ศ. ....
1. กำหนดมาตรการควบคุมการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารที่มีความลาดชันไม่เกินร้อยละ 20 ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 40 เมตร และต้องปลูกต้นไม้ยืนต้นและพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเพื่อให้เป็นพื้นที่สีเขียวยั่งยืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่าง          - กำหนดมาตรการควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารหรือเปลี่ยนการใช้อาคารที่มีความลาดชัน ไม่เกินร้อยละ 35 ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเกิน 40 เมตร รวมทั้งเพิ่มมาตรการเกี่ยวกับที่ว่างน้ำซึมผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของที่ว่างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและต้องปลูกต้นไม้ยืนต้นเพื่อให้เป็นพื้นที่สีเขียวยั่งยืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่างที่น้ำซึมผ่านได้
2. ในพื้นที่เกาะพีพีดอนไม่ได้กำหนดมาตรการควบคุมการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารสำหรับผู้ที่มีที่ดินน้อย          - ในพื้นที่เกาะพีพีดอนเพิ่มมาตรการควบคุมก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารสำหรับผู้ที่มีที่ดินน้อยกว่า 100 ตารางวา (ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัย) ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
3. การก่อสร้างโครงสร้างที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม กิจการสาธารณูปโภคของรัฐหรือกิจการสาธารณูปโภค ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ ไม่ต้องขอรับความเห็นจากจังหวัดกระบี่เพื่อนำไปประกอบการขออนุญาต          - การก่อสร้างโครงสร้างที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม กิจการสาธารณูปโภคของรัฐ หรือกิจการสาธารณูปโภคที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ ต้องขอรับความเห็นจากจังหวัดกระบี่เพื่อนำไปประกอบการขออนุญาต และดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. กำหนดมาตรการเกี่ยวกับโรงงาน เช่น โรงงานทุกประเภทหรือทุกชนิด เว้นแต่ โรงงานจำพวกที่ 1 ต้องมีระยะห่างจากแนวชายฝั่งทะเลไม่น้อยกว่า 200 เมตร          - ตัดมาตรการเกี่ยวกับโรงงานออก เนื่องจากมีกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองกำหนดไว้แล้ว
5. ในการก่อสร้างโรงงาน ไม่ได้กำหนดให้โรงงานต้องมีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เพื่อควบคุมมลพิษ หรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด          - ในการก่อสร้างโรงงาน เพิ่มมาตรการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมโดยโรงงานต้องมีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เพื่อควบคุมมลพิษหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
6. การทำเหมืองไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นจากจังหวัดกระบี่เพื่อประกอบการขออนุญาต          - การทำเหมืองต้องเสนอขอรับความเห็นจากจังหวัดกระบี่เพื่อประกอบการขออนุญาต
7. ในการก่อสร้างอาคาร โรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวม ไม่มีข้อกำหนดท้ายประกาศเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม          - เพิ่มมาตรการก่อสร้างอาคาร โรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุดที่มีจำนวนห้องพัก 11 ? 49 ห้อง ต้องดำเนินตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามท้ายประกาศฯ
8. โรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุดที่มีจำนวนห้องพัก 30 ? 79 ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination :IEE)          - โรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุดที่มีจำนวนห้องพัก 50 ? 79 ห้อง ต้องจัดทำรายงาน IEE
4. ทส. โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอของจังหวัดกระบี่ 5 อำเภอระหว่างวันที่ 23 ? 25 ธันวาคม 2562 รวม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองท่อม อำเภอเกาะลันเตา และอำเภอเหนือคลอง และระหว่างวันที่ 21 ? 22 มกราคม 2563 รวม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกระบี่ และอำเภออ่าวลึก ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 577 คน และได้นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาวิเคราะห์จัดทำร่างประกาศฯ เสนอทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ก่อนนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างประกาศฯ และให้นำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป พร้อมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบและจัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศฯ โดยมีหลักฐานการเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายแล้ว
5. ในคราวประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566                              ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับร่างประกาศดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้ง ทส. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายประกาศฯ แล้วพบว่า แนวเขตการปกครองที่ปรากฏในแผนที่ท้ายประกาศดังกล่าวสอดคล้องกับคำบรรยายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง
ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม  และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
                    1. กำหนดให้พื้นที่ที่ได้มีการกำหนดเขตอนุรักษ์และเขตควบคุมอาคารของจังหวัดกระบี่เป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พื้นที่ภายในแนวเขตตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินสุสานหอยเจ็ดสิบห้าล้านปี หาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี  และเกาะใกล้เคียงในท้องที่ตำบลหนองทะเล ตำบลอ่าวนาง ตำบลไสไทย และตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2526 พื้นที่ภายในแนวเขตตามพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติสุสานหอยเจ็ดสิบห้าล้านปี หาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี  และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2539 พื้นที่ภายในแนวเขตตามพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในท้องที่บางแห่งในจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล พ.ศ. 2534 เฉพาะท้องที่ในจังหวัดกระบี่  และพื้นที่ภายในแนวเขตทะเลชายฝั่งตามกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2565 ที่ออกตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    2. กำหนดเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 บริเวณ ดังนี้
                              2.1 บริเวณที่ 1 เขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน ซึ่งไม่รวมป่าชายเลนในพื้นที่ที่มีเอกสิทธิ์
                              2.2 บริเวณที่ 2 เขตน่านน้ำทะเล ตามข้อ 3 (1) (2) และ (4) ยกเว้น พื้นที่บริเวณที่ 1
                              2.3 บริเวณที่ 3 พื้นที่เกาะต่าง ๆ ยกเว้น พื้นที่บริเวณที่ 1
                              2.4 บริเวณที่ 4 พื้นที่นอกจากบริเวณที่ 1 ถึงบริเวณที่ 3 ยกเว้น พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองกระบี่
                    3. กำหนดการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร ในเขตพื้นที่ตามข้อ 2. ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
                              3.1 พื้นที่ต้องมีความลาดชันตามปกติตามธรรมชาติไม่เกินร้อยละ 35
                              3.2 พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเกิน 40 เมตร ให้ทำได้เฉพาะอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร สำหรับอาคารทรงจั่วให้มีความสูงได้ไม่เกิน 9 เมตร โดยมีความสูงจากพื้นดินถึงยอดผนังของชั้นสูงสุดต้องไม่เกิน 6 เมตร
                              3.3 พื้นที่ที่มีความลาดชันเกินกว่าร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 35 ให้ทำได้เฉพาะอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร และให้ปรับระดับตามแนวนอนต่อแนวดิ่งได้ในอัตราส่วนไม่เกิน 2 : 1 ส่วน และห้ามปรับระดับโดยการขุดดินหรือถมดิน ลึกหรือสูงเกิน 1 เมตร และมิให้เคลื่อนย้ายหรือทำลายหินดานทั้งที่อยู่ใต้พื้นดิน ระดับพื้นดิน หรือโผล่เหนือพื้นดิน
                              3.4 พื้นที่ว่างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองกำหนด จะต้องมีที่ว่างน้ำซึมผ่านได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และมีพื้นที่สีเขียวยั่งยืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่น้ำซึมผ่านได้ โดยมีไม้ยืนต้นที่เป็นไม้ท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบหลัก
                              3.5 พื้นที่เกาะพีพีดอน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
                                        3.5.1 พื้นที่เกาะพีพีดอนในระยะต่อจากพื้นที่ตามกฎกระทรวง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด หรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเกาะลันตา อำเภอคลองท่อม อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง และอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 เข้าไปในแผ่นดินทั้งหมด ที่ไม่ใช่พื้นที่ตามข้อ 3.5.2 และ 3.5.3 ให้ทำได้เฉพาะอาคารอยู่อาศัยที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร และมีพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของที่ดินแปลงที่ขออนุญาต โดยพื้นที่ว่างดังกล่าวต้องเป็นที่ว่างที่น้ำซึมผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และต้องปลูกต้นไม้ที่เป็นไม้ยืนต้น เพื่อให้เป็นพื้นที่สีเขียวยั่งยืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่างที่น้ำซึมผ่านได้นั้น                                                                                                              3.5.2 พื้นที่ที่มีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 35 ให้ทำได้เฉพาะอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 8 เมตร ขนาดที่ดินแปลงที่ขออนุญาตต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 100 ตารางวา มีพื้นที่อาคารคลุมดินแต่ละหลังไม่เกิน 90 ตารางเมตร และมีพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของที่ดินแปลงที่ขออนุญาต โดยพื้นที่ว่างดังกล่าวต้องเป็นที่ว่างที่น้ำซึมผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และต้องปลูกต้นไม้ที่เป็นไม้ยืนต้น เพื่อให้เป็นพื้นที่สีเขียวยั่งยืนไม่น้อยกว่าร้อยละ               50 ของพื้นที่ว่างที่น้ำซึมผ่านได้นั้น
                                        3.5.3 ที่ดินที่มีพื้นที่น้อยกว่า 100 ตารางวา ให้ทำได้เฉพาะอาคารอยู่อาศัยไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนด (5) จะต้องมีที่ว่างน้ำซึมผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่างตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
                                        3.5.4 พื้นที่ที่มีความลาดชันเกินกว่าร้อยละ 35 ห้ามปรับสภาพพื้นที่ห้ามก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารใด ๆ
                              3.6 การวัดความสูงของอาคารให้เป็นไปตามกรณีพื้นที่ราบที่ไม่มีการปรับระดับพื้นดินหรือมีการปรับระดับพื้นดินต่ำกว่าถนนสาธารณะในบริเวณที่ก่อสร้าง ให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้าง กรณีที่มีการปรับระดับพื้นดินเท่ากับหรือสูงกว่าถนนสาธารณะ ให้วัดจากระดับถนนสาธารณะ กรณีที่มีห้องใต้ดินซึ่งค่าระดับเป็นลบ ให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างหรือระดับถนนสาธารณะแล้วแต่กรณี และกรณีที่พื้นดินเป็นเชิงลาดหรือมีการปรับระดับพื้นดินบนพื้นที่เชิงลาด ให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้าง ณ จุดที่ต่ำที่สุดของพื้นที่ใช้สอยของอาคารหลังนั้น
                              3.7 โครงสร้างที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม กิจการสาธารณูปโภคของรัฐ หรือกิจการสาธารณูปโภคที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ ต้องได้รับความเห็นจากจังหวัดกระบี่ เพื่อนำไปประกอบการขออนุญาต และดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
          4. กำหนดให้พื้นที่บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 3 และบริเวณที่ 4 ห้ามกระทำการหรือกิจกรรมใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การทำประมงพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการประมง และการทำให้เกิดมลพิษ ขยะมูลฝอย สารแขวนลอย ที่มีผลทำให้คุณภาพน้ำทะเล
เสื่อมโทรม การจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน เป็นต้น
          5. กำหนดให้ห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ในเขตพื้นที่ตามข้อ 2. เป็นอาคาร หรือประกอบกิจการโรงเรือนหรืออาคารที่ใช้เลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าหรือเพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ และอาคารนกแอ่นกินรัง เว้นแต่บริเวณพื้นที่ที่จังหวัดกระบี่กำหนดให้ดำเนินการได้ รวมถึงโรงงานทุกประเภทหรือทุกชนิดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ต้องมีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เพื่อควบคุมมลพิษ หรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
          6. กำหนดให้การก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ โดยรอบเขตโบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในระยะ 100เมตร ต้องมีความสูงไม่เกิน                 6 เมตร
          7. กำหนดให้การก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรือหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ต้องติดตั้งหรือจัดให้มีบ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสีย โดยต้องบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำทิ้งตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดก่อนปล่อยลงสู่ท่อหรือทางน้ำสาธารณะ และการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารที่มีลักษณะเป็นการขยายขนาดพื้นที่อาคารหรือเพิ่มจำนวนห้องพัก หรือเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมต้องดำเนินการตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมท้ายประกาศนี้
          8. กำหนดให้ในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ ก่อนการดำเนินโครงการ หรือประกอบกิจการ รวมทั้งขั้นตอนการขยายขนาดของโครงการหรือกิจการ ให้จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นหรือรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วแต่กรณี ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
          9. กำหนดให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระบี่ ทำหน้าที่ดูแล ติดตามตรวจสอบ ประสาน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามประกาศนี้ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตลอดจนประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และภาคประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนำไปบรรจุในแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด หรือแผนงานและงบประมาณของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป
          10. กำหนดให้พื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หากมีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและเป็นมาตรการที่ไม่ต่ำกว่ามาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือมีมาตรการที่ดีกว่าในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น
          11. กำหนดให้การกระทำ กิจกรรม หรือกิจการใดที่ต้องห้ามตามประกาศนี้ ถ้าได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต หรือต่ออายุใบอนุญาตนั้น ทั้งนี้ ให้อนุญาตได้เฉพาะพื้นที่เดิมที่ได้รับอนุญาตไว้เท่านั้น และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามที่ประกาศนี้กำหนด
          12. กำหนดให้ร่างประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป และมีระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปี นับแต่วันที่ร่างประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

7. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ในฐานะประธานกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เสนอ ดังนี้
                     1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
                     2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
                     สาระสำคัญ
                      ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่) พ.ศ. .... ที่รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ในฐานะประธานกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เสนอ เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ซึ่งมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่าง ในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แล้วเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 ในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การกำหนดวันออกเสียงประชามติ โดยอาจกำหนดให้มีการออกเสียงประชามติพร้อมกับกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือวันเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ การกำหนดคะแนนเสียงในการทำประชามติ ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติ โดยคะแนนเสียงข้างมากต้องมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงประชามติและต้องสูงกว่าคะแนนเสียงไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น โดยตัดเงื่อนไขที่กำหนดให้ต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติออก กำหนดวิธีการออกเสียงประชามติ โดยให้สามารถกระทำโดยการออกเสียงทางไปรษณีย์ การออกเสียงโดยเครื่องลงคะแนนเสียงอิเล็กทรอนิกส์ ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือโดยวิธีอื่นได้ กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการให้มีการแสดงความคิดเห็น โดยเมื่อได้ประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ และเท่าเทียมกันทั้งผู้ที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำประชามติ โดยการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวจะทำให้ประชาชนเกิดความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เนื่องจากไม่ต้องเดินทางไปใช้สิทธิหลายครั้ง และสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้มากขึ้น นอกจากนี้ การกำหนดให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระและเท่าเทียมกันทั้งผู้ที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำประชามติ เป็นหลักการที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี และกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดไตร่ตรองก่อนออกเสียงประชามติ
                     สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ และได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้จัดทำแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน 1 ฉบับ

8. เรื่อง ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    2. เห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อสำนักงบประมาณจะได้ดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเอกสารประกอบงบประมาณ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันที่ 11 มิถุนายน 2567 และนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ให้ความเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และมอบให้สำนักงบประมาณไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรคสอง และยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ในส่วนของคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย โดยให้มีการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นระยะเวลา 7 วัน ระหว่างวันที่ 8 - 14 พฤษภาคม 2567 รวมทั้งกำหนดให้คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นและพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 นั้น
                    เพื่อดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักงบประมาณขอเสนอ ดังนี้
                    1. ผลการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    สำนักงบประมาณได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามมาตรา 77 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยวิธีการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ผ่านเว็บไซต์สำนักงบประมาณ ระหว่างวันที่ 8 - 14 พฤษภาคม 2567
                    ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบและการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และได้จัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    2. ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    สำนักงบประมาณได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้นตามแบบการร่างกฎหมาย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว (หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0903/111 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2567)
                    การจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มีโครงสร้างแตกต่างจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยยกเลิกหมวดกฎหมาย จำนวน 1 หมวด ได้แก่ หมวด 8 งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังเนื่องจากไม่มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    ทั้งนี้ การปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว ไม่มีผลทำให้รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เปลี่ยนแปลงไปจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. .... (ขยายกำหนดระยะเวลาการขอให้รับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎกระทรวงการขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. 2566)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของกระทรวงการคลัง ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงของกระทรวงการคลัง ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เป็นร่างกฎกระทรวงที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงการขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. 2566 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดเวลาสิ้นสุดการยื่นคำขอหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงานจากหลักการที่คณะรัฐมนตรีมีมติ โดยขยายระยะเวลาการขอให้รับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีสหรัฐที่ต้องรายงาน (บัญชีทางการเงิน ได้แก่ เลขที่บัญชี ยอดเงินในบัญชี หรือมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ ดอกเบี้ยที่ได้รับหรือผลประโยชน์อื่น) สำหรับปีปฏิทินที่สิ้นสุดก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 (ปี พ.ศ. 2559-2566) จากวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567 (จากกฎกระทรวงเดิมภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2566 สำหรับปี พ.ศ. 2559-2565 และภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 สำหรับปี พ.ศ. 2566) ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะยื่นคำขอมีระยะเวลาเพียงพอในการดำเนินการตามที่ผู้แทนกรมสรรพากรเสนอและสอดคล้องกับข้อสังเกตของธนาคารแห่งประเทศไทย และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสงค์จะขอให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจรับรองสถานะว่าเป็นหรือไม่เป็นผู้มีหน้าที่รายงาน ซึ่งไม่สามารถดำเนินการตามที่กฎกระทรวงการขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. 2566 กำหนดได้ รวมทั้งเป็นการดำเนินการตามพันธกรณีตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติการตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ยืนยันให้ความเห็นชอบในร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาด้วยแล้ว โดยการขยายกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แต่อย่างใด
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงการขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เสร็จแล้วมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดเวลาสิ้นสุดการยื่นคำขอหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงานจากวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ตามที่ผู้แทนกรมสรรพากรเสนอเพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะยื่นคำขอมีระยะเวลาเพียงพอในการดำเนินการ ซึ่งสอดคล้องกับข้อสังเกตของ ธปท. โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ยืนยันให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวที่ สคก. ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว
                    2. ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงการขอและการออกหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. 2566 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น          ร่างกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... (มติ ครม. 9 เม.ย. 67)          ร่างกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. .... (สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว)          เหตุผล
การแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดเวลาสิ้นสุดการยื่นคำขอหนังสือรับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน          - ?ข้อ 6 การยื่นคำขอให้รับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 6 สำหรับปีปฏิทินที่สิ้นสุดก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 ให้ดำเนินการภายในวันที่ 30 เมษายน 2567?          - ?ข้อ 6 การยื่นคำขอให้รับรองสถานะการเป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 6 สำหรับปีปฏิทินที่สิ้นสุดก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 ให้ดำเนินการภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2567?          - เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์       จะยื่นคำขอมีระยะเวลาเพียงพอในการดำเนินการและสอดคล้องกับข้อสังเกตของ ธปท.

เศรษฐกิจ-สังคม
10. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาศึกษาและพบว่ายังมีปัญหาอุปสรรคในหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐศาสตร์ภาครัฐไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในการพัฒนาระบบสมาร์ท  กริด ด้านความมั่นคงของระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำยังประสบปัญหาความผันผวนตามธรรมชาติ ด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีการสื่อสาร อาทิ แพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายไฟฟ้ายังไม่มีความเป็นเอกภาพในการพัฒนา ด้านกฎหมาย การแก้กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการ และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การขออนุญาตในการดำเนินการต่าง ๆ ยังไม่มีการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งจากปัญหาอุปสรรคข้างต้นส่งผลให้การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ในประเทศยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและไม่สามารถพัฒนาระบบไฟฟ้าให้เกิดความมั่นคงได้เท่าที่ควร ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะ รวม 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 5 หน่วยงาน และ                      (2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ในขณะนั้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ พน. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน  30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    พน. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว โดยเห็นชอบกับข้อเสนอแนะของกรรมาธิการฯ และสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ          ผลการพิจารณา
1. ข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน  5 หน่วยงาน
          1.1 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เช่น ควรพิจารณาผลักดันหรือดำเนินการในการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน AI (Artificial intelligence technologies) ควรกำหนดรายละเอียดของแผนการขับเคลื่อนด้านสมาร์ทกริดให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัดเข้าร่วมในการพัฒนาระบบฯ
          ? สนพ. ได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามแผนการขับเคลื่อนดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565-2574 ซึ่งส่วนใหญ่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการพลังงาน โดยได้มีแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการตอบสนองด้านโหลด (Demaznd Response : DR ) และระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) นอกจากนี้จะมีการพิจารณานำระบบดิจิทัลมาช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อบริหารจัดการในกิจการไฟฟ้า
? สนพ. ได้ดำเนินการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายอย่างต่อเนื่อง และ สนพ. จะมีการพัฒนากระบวนการติดตามการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีการบูรณาการการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมกันให้เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือด้านสมาร์ทกริดเพิ่มมากขึ้น
          1.2 สำนักงานคณะกรรมการกำกับ
กิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เช่นควรปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการกำกับดูแล เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ท                  กริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 ให้เกิดความรวดเร็วและเป็นธรรม          ? สำนักงาน กกพ. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access Code TPA Code) โดยมีการดำเนินการ ดังนี้ ระยะที่ 1 สำนักงาน กกพ. เห็นว่ารายละเอียดเนื้อหาของร่าง TPA Code ของแต่ละการไฟฟ้ายังมีความแตกต่างกัน เนื่องจากการไฟฟ้าแต่ละแห่งมีแนวคิดที่ต่างกันทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและอัตราค่าบริการ สำนักงาน กกพ. จะต้องมีการศึกษาร่วมกับ กฟผ. กฟน และ กฟภ. เพื่อจะได้สร้างความเข้าใจร่วมกันและจะได้จัดทำร่าง TPA Code ให้มีความสอดคล้องกันโดยไม่เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน ระยะที่ 2 สำนักงาน กกพ. จะนำรูปแบบตลาดซื้อขายไฟฟ้าตามข้อเสนอของ สนพ. มาใช้เป็นกรอบการจัดทำ TPA Code     ระยะที่ 2 และจะได้มีการกำหนดอัตราค่าบริการ TPA Code ต่อไป ระยะที่ 3 เป็นระยะของการดำเนินการภายหลังจากดำเนินการนำร่าง TPA Code ตามข้อเสนอของ สนพ. แล้ว โดยสำนักงาน กกพ. จะศึกษารูปแบบของ TPA Framework และ TPA Code เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการในระยะถัดไป
          1.3 กฟผ. เช่น ควรพยากรณ์การผลิต
ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ครอบคลุม
ถึงผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก
(VSPP) ควรพัฒนาพลังงานทดแทนอื่น ๆ          ? กฟผ. ได้ดำเนินการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) เสร็จแล้ว และมีการพัฒนาระบบการพยากรณ์ให้มีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง กฟผ. มีแนวคิดที่จะขยายการดำเนินการพยากรณ์ไปยังกลุ่ม VSPP ตั้งแต่ปี 2565
? กฟผ. อยู่ระหว่างการศึกษาโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plan :VPP) โดยการนำแบตเตอรี่ในระดับโครงข่ายไฟฟ้า (Grid scale) มาทำหน้าที่เป็นโรงไฟฟ้าประเภทกำลังการผลิตสำรองพร้อมจ่าย (Spinning Reserve) ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ตามแผนจะช่วยลดการปล่อย CO2 ได้ประมาณ 700,000- 800,000 ตันต่อปี
? กฟผ. ได้ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนอื่น ๆ เช่น ได้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี Small Modular Reactor (SMR) (โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก) ไว้แล้ว รวมทั้งได้มีการประสานข้อมูลกับ สนพ. เพื่อร่วมกันพิจารณาถึงแนวทางในการดำเนินการต่อไป ได้ดำเนินการร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ศึกษาการนำไฮโดรเจนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า
          1.4 กฟน. เช่น ควรเปิดกว้างให้สามารถเลือกใช้มิเตอร์อัจฉริยะได้อย่างหลากหลาย          ? กฟน. ในปัจจุบันได้อยู่ระหว่างการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา เพื่อจัดทำข้อกำหนดกลาง โดยเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ผลิตมิเตอร์สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ได้หลายราย ไม่เกิดการผูกขาดและมีการแข่งขันด้านราคา
? กฟน. ได้อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลจากโครงการ Smart Metro Grid กับ Application เพื่อใช้ในการบริการข้อมูลต่าง ๆ เช่นให้บริการข้อมูลการใช้ไฟฟ้า 15 นาที ผ่าน Application Smart Life ทั้งปัจจุบันและย้อนหลัง เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ในการบริหารจัดการค่าไฟฟ้าให้ลดลง แจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องพร้อมระยะเวลาแก้ไขผ่าน Application Smart Life
? กฟน. ได้มีการส่งเสริมพนักงานเพื่อรองรับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสมาร์ทกริด ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ให้ทุนศึกษาระดับปริญญาโท - เอก สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน และพัฒนาระบบสมาร์ทกริดในภาพรวมของ กฟน. เชิญบริษัทมาแนะนำเทคโนโลยี รวมถึงส่งพนักงานไปศึกษาดูงาน และเข้าร่วมสัมมนาอย่าต่อเนื่อง
          1.5 กฟภ. เช่น ควรมีการจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ในประเทศและจัดทำเป็นแผนนำร่องการพัฒนาโครงการสมาร์ทกริด โดยคำนึงถึงแหล่งพลังงานในท้องที่นั้น ๆ เมื่อมีการนำมิเตอร์อัจฉริยะมาใช้ ผู้จำหน่ายไฟฟ้าควรบริหารจัดการค่าไฟฟ้าให้ลดลง          ? กฟภ. ในปัจจุบันการดำเนินโครงการนำร่องของ กฟภ. ได้มีการจัดลำดับความสำคัญรวมทั้งได้มีการพิจารณาแหล่งพลังงานในพื้นที่นั้น ๆ ว่าจะมีแหล่งพลังงานใดบ้างที่ กฟภ. จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักที่ กฟภ. พิจารณาจะเป็นเรื่องของการจ่ายไฟฟ้าและความมั่นคงระบบไฟฟ้า โดยในอนาคต กฟภ. อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมของโครงการสมาร์ทกริดและไมโครกริดในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่ง กฟภ. จะพิจารณาเลือกดำเนินการในพื้นที่ที่มีศักยภาพและเมื่อมีการติดตั้งระบบสมาร์ทมิเตอร์และมีระบบไมโครกริดแล้วจะต้องสามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ในอนาคตได้
? กฟภ. มีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการพลังงาน ในประเด็นของการนำข้อมูลสมาร์ทมิเตอร์มาใช้ในการบริหารจัดการค่าไฟฟ้า และเป็นทิศทางที่ กฟภ. อยู่ระหว่างดำเนินการเนื่องจากการดำเนินการของ กฟภ. จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก  แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นการที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ทั้งการลดการไฟฟ้าสูงสุดและลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า   ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่ลงทุนไปแล้วได้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
          2.1  ด้านเศรษฐศาสตร์ เช่น ควรมีการศึกษาเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการ
ดำเนินการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด ศึกษารูปแบบธุรกิจแนวใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด                    ? สนพ. ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ  ระยะปานกลาง สนพ. ได้มีการประมาณกรอบงบประมาณที่จะใช้ดำเนินการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดไว้แล้วซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการพลังงานแต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่แต่ละหน่วยงานจะดำเนินการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดจริง ๆ ก็สามารถปรับปรุงกรอบงบประมาณให้มีความเหมาะสมในการดำเนินการในแต่ละช่วงเวลาได้
? สนพ. อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า ซึ่งจะได้มีการพิจารณารูปแบบของตลาดซื้อขายไฟฟ้าที่เหมาะสมภายใต้โครงสร้างกิจการไฟฟ้าของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
? กกพ. จะดำเนินการศึกษารูปแบบของธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อใช้ประกอบการกำหนดกติกา หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจใหม่ เช่น TPA, ผู้รวบรวมโหลด (Load Aggregator), ธุรกิจใหม่ ๆ จากการเปิดตลาดซื้อขายไฟฟ้าเสรี
? กฟผ. ได้ดำเนินการคำนวณค่าใช้จ่าย ๆ รวมทั้งได้มีการศึกษาการลดต้นทุนในการดำเนินการด้านสมาร์ทกริดมาโดยตลอดและในการจัดทำแผนการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านสมาร์ทกริด กฟผ. ได้สนับสนุนข้อมูลต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้กับ สนพ.
? กฟผ. และ กฟภ. จะมีการดำเนินโครงการนำร่องระบบสมาร์ทกริดร่วมกันที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นโครงการแรกที่จะทำงานร่วมกันโดยปัจจุบันอยู่ระหว่างหารือร่วมกันในการออกแบบระบบต่าง ๆ
ทั้งนี้ ในอนาคตอาจจะมีโครงการสมาร์ทกริดอื่น ๆ ที่จะเป็นความร่วมมือกันระหว่าง กฟผ. กฟภ.  หรือ กฟน. เพื่อจะพัฒนาระบบสมาร์ทกริดให้สามารถช่วยรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศไทย
          2.2 ด้านความมั่นคงของระบบ เช่น ควรมีการประกาศเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อช่วยให้ กฟภ. สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ควรมีการศึกษาแหล่งพลังงานทางเลือกที่เหมาะสม อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม
          ? สนพ. ได้พัฒนาสมาร์ทกริดภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลางโดยจะมุ่งเน้นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความชาญฉลาดและมีความยืดหยุ่นให้สามารถรองรับการเข้ามา ของพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์  ต่าง ๆ ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล พลังงานขยะได้เพิ่มมากขึ้น
? กฟผ. ได้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและมีการประสานงานระหว่างทั้ง 3 การไฟฟ้าอยู่แล้ว  นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการบูรณาการฯ มาช่วยพิจารณาการลงทุน ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณาการลงทุน
? กฟภ. ได้มีแนวทางการประกาศเขตโครงข่ายไฟฟ้าในพื้นที่เขตอุทยานมีความเป็นไปได้ค่อนข้างยาก แต่ กฟภ. ขอรับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการพลังงานไปพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ การประกาศเขตโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟภ. จะเป็นการประกาศในพื้นที่ที่มีการวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำเป็นหลัก เพื่อต้องการการคุ้มครองจากพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550
          2.3 ด้านเทคโนโลยี เช่น ควรมีนโยบายดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร ที่ปรึกษา ด้านสมาร์ทเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยส่งเสริมการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานสนับสนุนให้มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสมาร์ทกริดในประเทศ          ?  สนพ. ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง ได้กำหนดเป้าหมายดำเนินการต่าง ๆ เช่น มีการดำเนินโครงการนำร่องในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการซื้อขายพลังงาน เช่น P2P (Peer to Peer) Trading และในระยะยาวได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ได้อย่างอิสระผ่านแพลตฟอร์มที่ควบคุมโดยภาครัฐ ผ่านเทคโนโลยี Blockchain และ P2P เป็นต้น
ทั้ง สนพ. จะได้มีการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการต่อไป
?  กฟผ. ในพื้นที่ EEC เป็นพื้นที่ที่มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงสูงอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่มีระบบไฟฟ้ามั่นคงและมีการให้บริการไฟฟ้าดีที่สุด ซึ่งการลงทุนระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ในพื้นที่ดังกล่าว อาจจะต้องมีการพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นอีกครั้ง ทั้งนี้ ตามข้อมูลของ กฟผ. จะมีพื้นที่อื่น ๆ ที่มีความต้องการ ESS ในการรองรับความผันผวนจากพลังงานหมุนเวียนมากกว่า EEC เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
? กฟน. ในการพัฒนาระบบ ESS กฟน. จะเป็นการดำเนินการในลักษณะของโครงการนำร่อง เพื่อดำเนินการศึกษาในการนำระบบ ESS มาช่วยในเรื่องของความน่าเชื่อถือได้ของระบบ  (Reliability) และความมั่นคงของระบบจากการที่มี Solar เข้ามาในระบบเป็นจำนวนมาก โดยการดำเนินการจะยังคงเป็นลักษณะนำร่องไปก่อน เพื่อเตรียมระบบต่าง ๆ รองรับไว้ เนื่องจากปัจจุบันระบบ ESS มีความคุ้มค่าเมื่อใดจะสามารถนำมาใช้งานได้มากขึ้น
?  ดศ. ในการพัฒนาต่อยอดด้าน Big Data และ AI จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงคือ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.) ซึ่งจะมีหน้าที่หลักในการพัฒนา Big Data และ AI โดย สวข. สามารถช่วยให้คำปรึกษา การฝึกอบรม และการทำ Prototype เกี่ยวกับ Big Data และ AI ที่จะนำมาใช้ในระบบสมาร์ทกริดได้สำหรับในส่วนของการพัฒนาแพลตฟอร์มสามารถประหารือร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ในขณะที่ NT ก็มีความพร้อมในการพัฒนาด้านแพลตฟอร์มเช่นกัน
?  อว. ในข้อเสนอด้านเทคโนโลย์ในหลาย ๆ ด้าน ทั้ง P2P และส่วนอื่น ๆ ภาคเอกชนอาจจะมีการดำเนินการไปบางส่วนแล้ว จึงควรเชิญภาคเอกชนมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแผนการพัฒนาด้านสมาร์ทกริดของประเทศในภาพรวมมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีการพัฒนาทั้งส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนในขณะเดียวกันภาคเอกชนจะได้มาช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสมาร์ทกริดของประเทศด้วย
          2.4 ด้านกฎหมาย เช่น กำหนดแนวทางการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาตต่าง ๆ ให้เกิดความรวดเร็วต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี          ? กกพ. อยู่ระหว่างการพิจารณาในการจัดทำใบอนุญาต 1 ใบที่สามารถเปิดให้ธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาดำเนินการภายใต้ใบอนุญาตดังกล่าวได้ ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคในเรื่องของใบอนุญาตสำหรับการดำเนินธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ ๆ ในอนาคต
? สนพ. ได้กำหนดนโยบายในการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าจาก Solar ในรูปแบบ Net Metering และหาข้อสรุปด้านภาษีร่วมกับกรมสรรพากร เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ และกำหนดแนวทางให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายรับไปดำเนินการ
          2.5 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าจึงควรผลักดันโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) เข้าไปใช้ในพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคง ลดการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้          ? สนพ. พื้นที่ภาคใต้ไม่ได้ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ให้มีความมั่นคงอยู่แล้วโดยการดำเนินการในระยะต่อไปอาจจะต้องมุ่งไปที่การพัฒนาระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และอาจมีการนำระบบสมาร์ทกริดมาช่วยเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้ามากกว่าการรองรับพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากศักยภาพพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ภาคใต้มีน้อย
? สนพ. ได้พัฒนาระบบสมาร์ทกริดภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง โดยจะมีการดำเนินการในทุกภูมิภาคของประเทศไทยและพื้นที่ภาคใต้ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายที่ กฟผ. และ กพภ. จะดำเนินการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด

11. เรื่อง รายงานประจำปี 2565 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำปี 2565 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (สคพ.)1 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
1.          สคพ. ได้จัดทำรายงานประจำปี 2565 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 สคพ. ได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมเพื่อสร้างความร่วมมือและเชื่อมโยงองค์ความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ SMEs ไทยให้มีศักยภาพสูงสามารถแข่งขันได้ในอาเซียน และผลักดันนโยบายส่งเสริม              ลดข้อจำกัดและอุปสรรคทางการค้าของ SMEs เช่น (1) กิจกรรมการนำเสนอรายงานการค้าและการพัฒนา ปี 2564 (2) โครงการฝึกอบรมระยะสั้นหลักสูตรด้านการค้าและการลงทุน ภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประจำปี 2565 (3) โครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการ : หลักสูตรทางลัดในการเจาะตลาดความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ประจำปี 2565 และ(4) โครงการประเมินมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) และผลกระทบต่อการค้าและความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มประเทศกัมพูชา เมียนมา เวียดนามและลาว (CLMV) กับประเทศไทย
                              1.2 สคพ. ดำเนินการสนับสนุนการจัดทำผลงานทางวิชาการที่เป็นบทความและได้เผยแพร่ข้อมูลวิชาการของสถาบันในรูปแบบข่าวและสกู๊ปผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ และข้อมูลกิจกรรมของสถาบันอื่น ๆ ผ่านโทรทัศน์และเว็บไซต์ สคพ.
                              1.3 สคพ. ได้พยายามขยายเครือข่ายการสร้างองค์ความรู้และการให้บริการวิชาการเพื่อการค้าและการพัฒนาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดย สคพ. สามารถจัดกิจกรรมฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา และดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น World Trade Organization (WTO) พณ. กระทรวงอุตสาหกรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น
                              1.4 ข้อมูลเปรียบเทียบงบแสดงสถานะการเงินของ สคพ. ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                                                            หน่วย : ล้านบาท
รายการบัญชี          ปี 2564          ปี 2565
รวมสินทรัพย์          62.74          59.39
รวมหนี้สิน          6.20          3.40
รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน          56.26          55.98
รวมรายได้          35.71          43.18
รวมค่าใช้จ่าย          41.05          43.36
                    2. สคพ. ได้มุ่งเน้นและผลักดันการดำเนินงานให้เป็นไปตามภารกิจและสอดคล้องกับพันธกิจได้เป็นอย่างดี ในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อการค้า และการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการให้บริการทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะด้านการค้าและการพัฒนาให้แก่บุคลากรในภูมิภาคและอนุภูมิภาค ทั้งนี้ ผลดำเนินงานตามภารกิจของ สคพ. ในปีงบประมาณ 2565 มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ที่ 244.04 ล้านบาท จากการนำรายงานวิจัย การนำองค์ความรู้จากการประชุมอบรม และสัมมนาไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการนำนโยบายที่ได้ไปปฏิบัติให้เกิดผล
1สคพ. เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนา โดยสอดคล้องเชื่อมโยงและสนับสนุนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน และใช้กิจกรรมการฝึกอบรมการประชุม การสัมมนา และการศึกษาวิจัย เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายและการเจรจาการค้า รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจในภาคเอกชน

12. เรื่อง แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ) และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐ นำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ต่อไป ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ
                      สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                     แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2531) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 (แผนการคลังระยะปานกลางฯ) ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ ส่วนที่ 2 สถานะและประมาณการการคลัง และส่วนที่ 3 เป้าหมายและนโยบายการคลัง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                      1. สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ
                      ในปี 2567 คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product:  GDP) จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.0 - 3.0 (ค่ากลางร้อยละ 2.5) และ GDP Deflator อยู่ที่ร้อยละ 0.8 สำหรับในปี 2568 คาดว่า GDP จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 (ค่ากลางร้อยละ 3.0) และ GDP Deflator อยู่ที่ร้อยละ 1.2 สำหรับในปี 2569 และ 2570 คาดว่า GDP จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 - 3.7 (ค่ากลางร้อยละ 3.2) และในปี 2571 และ 2572 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 (ค่ากลางร้อยละ 3.0) สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2569 และ 2570 คาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.9 -1.9 และช่วงร้อยละ 1.1 - 2.1 ตามลำดับ ส่วนในปี 2571 - 2572 มีแนวโน้มจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.3 - 2.3
                     2. สถานะและประมาณการการคลัง
                               2.1 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2567 (ทบทวน) - 2571เท่ากับ 2,797,000  2,887,000  3,040,000  3,204,000 และ 3,394,000 ล้านบาท ตามลำดับ
                               2.2 ประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2567 (ทบทวน) - 2571 เท่ากับ 3,602,000  3,752,700  3,743,000  3,897,000 และ 4,077,000 ล้านบาท ตามลำดับ
                                2.3 จากประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิและงบประมาณรายจ่ายดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2567 (ทบทวน) - 2571 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณจำนวน 805,000  865,700  703,000  693,000 และ 683,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.3 4.5 3.5 3.3 และ 3.1 ต่อ GDP ตามลำดับ
                               2.4 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 11,131,634 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.4 ของ GDP และประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2567 (ทบทวน) - 2571 เท่ากับร้อยละ 65.7 67.9 68.8 68.9 และ 68.6 ตามลำดับ
                     3. เป้าหมายและนโยบายการคลัง
                     ในการดำเนินนโยบายการคลังระยะปานกลาง ภาครัฐยังคงให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต โดยยังคงยึดหลักแนวคิด ?Revival? ที่มุ่งเน้นสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการรักษาวินัยการเงินการคลัง (Fiscal Discipline) อย่างเคร่งครัด ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal Consolidation) ผ่านการสร้างความเข้มแข็งด้านการคลังในด้านต่าง ๆ ทั้งในส่วนของการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็น ความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และความครอบคลุมจากทุกแหล่งเงินในการใช้จ่ายภาครัฐ ควบคู่ไปกับการทบทวนและยกเลิกมาตรการลด และยกเว้นภาษีให้มีเพียงเท่าที่จำเป็น การปฏิรูปโครงสร้าง และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ รวมถึงการบริหารจัดการหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดขนาดการขาดดุลการคลังและสร้างกันชนทางการคลัง (Fiscal Buffer) ในการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับการดำเนินนโยบายที่จำเป็น (Policy Space) ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป
                     สำหรับเป้าหมายการคลังของแผนการคลังฉบับนี้ ยังคงยึดเป้าหมายตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน กล่าวคือ รัฐบาลยังคงมุ่งเน้นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุลในระยะสั้น เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ และมุ่งเน้นการปรับลดขนาดการขาดดุลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในระยะปานกลาง ทั้งนี้ หากในระยะต่อไป ภาวะเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ภาครัฐสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวจะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยมีประมาณการสถานะการคลังในระยะปานกลางภายใต้สมมติฐานทางเศรษฐกิจ           ณ ปัจจุบัน ดังนี้
  หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ          2567          2567 (ทบทวน)          2568          2567          2570          2571
รายได้รัฐบาลสุทธิ
อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)           2,787,000

4.5           2,797,000

4.9          2,887,000

3.2          3,040,000

5.3          3,204,000

5.4          3,394,000

5.9
งบประมาณรายจ่าย
อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)          3,480,000

9.3          3,602,000

13.1          3,752,700

4.2          3,743,000

(0.3)           3,897,000

4.1          4,077,000

4.6
ดุลการคลัง
ดุลการคลังต่อ GDP (ร้อยละ)           (693,000)

(3.7)           (805,000)

(4.3)           (865,700)

(4.5)           (703,000)

(3.5)           (693,000)

(3.3)           (683,000)

(3.1)
หนี้สาธารณะคงค้าง
หนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP (ร้อยละ)           11,876,780

65.1          11,988,780

65.7          12,947,643

67.9          13,724,114

68.8          14,413,406

68.9          15,042,069

68.6
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)           18,655,983
          18,513,465          19,289,179          20,178,411          21,154,239          22,175,988
หมายเหตุ : อัตราการเพิ่มของประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ ปีงบประมาณ 2567 และประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ  ปีงบประมาณ 2567 (ทบทวน) เทียบกับผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิ ปีงบประมาณ 2566 ในขณะที่อัตราการเพิ่มของวงเงินงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 2567 และงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2567 (ทบทวน) เทียบกับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2566
ที่มา : กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                     ประโยชน์และผลกระทบ
                     การจัดทำแผนการคลังระยะปานกลางฯ จะเป็นแผนแม่บทหลักให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการคลังของประเทศในด้านต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal Consolidation) เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต

13. เรื่อง มาตรการและแนวทางการตรวจลงตราเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการในการดำเนินมาตรการและแนวทางการอำนวยความสะดวกการตรวจลงตราเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศไทย ทั้ง 3 ระยะโดยมอบหมายให้ กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
                    2. เห็นชอบต่อร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 4 ฉบับ ดังนี้
                              2.1 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศและดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ทำงานหรือการติดต่อธุรกิจระยะสั้น ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินหกสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ
                              2.2 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง
                              2.3 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ความเห็นชอบต่อร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อท่องเที่ยวและทำงานทางไกล เป็นกรณีพิเศษ
                              2.4 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อศึกษาและทำงาน เป็นกรณีพิเศษ
                    3. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็วต่อไป
                    4. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงแรงงาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบภายในที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้ง 4 ฉบับ
                    5. มอบหมายให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการเพื่อให้ระบบ Auto-gate มีความสมบูรณ์และพร้อมใช้งานสำหรับระบบ Electronic Travel Authorization (ETA) ที่จะเปิดให้บริการอย่างสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายน 2568
                    6. เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการตรวจลงตราโดยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ โดย กต. จะเสนอคำสั่งแต่งตั้งเพื่อนายกรัฐมนตรีลงนามและแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
                    7. เห็นชอบในหลักการเพื่อขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังในการอนุญาตให้ กต. หักเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมการกงสุล ในอัตราร้อยละ 50 หรือไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท เพื่อให้เพียงพอรองรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานการกงสุล ตั้งแต่งบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป (ปัจจุบันหักเก็บรายได้ในอัตราร้อยละ 30)
                    ข้อเท็จจริงและร่างประกาศ รวม 4 ฉบับ
                    กต. เสนอว่า
                    1. ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ในส่วนของการสนับสนุนเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมการเดินทางเข้าราชอาณาจักรของนักท่องเที่ยว และการประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision ?IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง? การทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub) เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของรัฐบาล จึงมีนโยบายที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Travelling) ดังนี้
                              1.1 ส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้าและการลงทุน
                              1.2 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการดึงดูดคนต่างชาติที่มีศักยภาพเข้าประเทศ
                              1.3 สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
                              1.4 เพื่อให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของผู้คนที่มีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ ให้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศร่วมกัน โดยที่มาตรการการตรวจลงตราเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพที่มีความประสงค์จะประกอบธุรกิจ ลงทุน ทำงาน หรือใช้ชีวิตในราชอาณาจักร นายกรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้ กต. ทบทวนมาตรการการตรวจลงตราและแนวทางการอำนวยความสะดวกแก่คนต่างด้าวที่ประสงค์เดินทางเข้าราชอาณาจักร
                    2. ที่ผ่านมาประเทศไทยมิได้มีการปรับปรุงมาตรการและแนวทางการตรวจลงตรามาเป็นระยะเวลา 22 ปีแล้ว ปัจจุบันสถานการณ์โลกทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์โลกในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องทบทวนมาตรการและแนวทางการตรวจลงตราให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว ซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบและการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางเข้าประเทศไทย รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ส่วนมากได้เริ่มดำเนินการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้บริการมากขึ้น
                    3. ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ในขณะนั้น) ได้นำคณะกระทรวงการต่างประเทศเข้าพบและหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอมาตรการและแนวทางการตรวจลงตรา ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศไทย และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์เดินทางเข้าราชอาณาจักร บนหลักการ 4 ประการ ได้แก่ (1) การเปิดกว้างและอำนวยความสะดวกในการเข้าเมืองของคนต่างด้าวโดยดำเนินการอย่างสมดุลกับการคัดกรอง (2) การปรับปรุงกระบวนการขั้นตอนให้ง่ายและสะดวกขึ้น (3) การพัฒนาระบบตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์ (e-Visa) และการขยายพื้นที่การให้บริการ (4) การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองและการใช้ระบบ Single Window Submission โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยนายกรัฐมนตรีเห็นชอบต่อมาตรการและแนวทางการตรวจลงตราทั้ง 3 ระยะ และมีบัญชาให้ กต. นำข้อสั่งการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    4. มาตรการและแนวทางการตรวจลงตรา ตามข้อ 3. ที่ กต. เสนอมีทั้งหมด 3 ระยะ สรุปได้ดังนี้
                              4.1 มาตรการระยะสั้น (ประกอบด้วย 5 มาตรการ เริ่มใช้เดือนมิถุนายน 2567) ได้แก่
                                        4.1.1 การให้สิทธิยกเว้นการตรวจลงตรา สามารถพำนักในประเทศไทยไม่เกิน 60 วัน (ผ.60) เป็นมาตรการฝ่ายเดียวของไทย และหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิ ผ.60 จะคำนึงถึงหลักประติบัติต่างตอบแทน มิติด้านการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มิติด้านความมั่นคง มิติด้านการท่องเที่ยว มิติด้านเศรษฐกิจ และพันธกรณีที่ไทยได้ทำความตกลงทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี จำนวน 93 ประเทศ/ดินแดน ได้แก่ อันดอร์รา ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม บาห์เรน บรูไน แคนาดา เช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส ฯลฯ ประกอบด้วย
                                                  (1) ประเทศที่ได้รับสิทธิ ผ.30 เดิม 57 ประเทศ/ดินแดน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย1 และ
                                                  (2) เพิ่มประเทศที่ได้รับสิทธิ ผ.30 ใหม่ 36 ประเทศ/ดินแดน ได้แก่
                                                            (2.1) รายชื่อประเทศ/ดินแดนที่ได้รับสิทธิตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival : VOA) จำนวน 13 ประเทศ/ดินแดน ได้แก่ ราชอาณาจักรภูฏาน สาธารณรัฐบัลแกเรีย สาธารณรัฐไซปรัส สาธารณรัฐฟีจี จอร์เจีย สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐคาซัคสถาน สาธารณรัฐมอลตา สหรัฐเม็กซิโก รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี โรมาเนีย สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน และไต้หวัน
                                                            (2.2) รายชื่อประเทศ/ดินแดนที่ได้รับสิทธิตามความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรา สามารถพำนักในประเทศไทยได้น้อยกว่า 60 วัน จำนวน 6 ประเทศ/ดินแดน ได้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเก๊า มองโกเลีย สหพันธรัฐรัสเซียและราชอาณาจักรกัมพูชา
                                                            (2.3) รายชื่อประเทศ/ดินแดนไม่เคยได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตราและตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival : VOA) จำนวน 17 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐแอลเบเนีย สาธารณรัฐโคลอมเบีย สาธารณรัฐโครเอเชีย สาธารณรัฐคิวบา เครือรัฐดอมินีกา สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐ เอกวาดอร์ สาธารณรัฐกัวเตมาลา จาเมกา ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน สาธารณรัฐคอซอวอ ราชอาณาจักรโมร็อกโก สาธารณรัฐปานามา สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก ราชอาณาจักรตองกา และ สาธารณรัฐโอเรียนทัลอุรุกวัย
                                                  4.1.2 การให้สิทธิ Visa on Arrival (VOA) เป็นมาตรการฝ่ายเดียวของไทย และหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิ VOA จะคำนึงถึงหลักประติบัติต่างตอบแทน มิติการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มิติด้านความมั่นคง มิติด้านการท่องเที่ยว มิติด้านเศรษฐกิจ และการไม่มีสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศนั้น
                                                  4.1.3 เพิ่มการตรวจลงตราประเภทใหม่ Destination Thailand Visa (DTV) สำหรับคนต่างด้าวที่มีทักษะและทำงานทางไกลผ่านระบบดิจิทัล (remote worker หรือ digital nomad) ซึ่งประสงค์จะพำนักในประเทศไทยเพื่อทำงานและท่องเที่ยวไปพร้อมกัน (workcation) โดยมีนายจ้างและลูกค้าอยู่ในต่างประเทศ รวมทั้งเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับคนต่างด้าวที่ต้องการทำกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและใช้บริการทางการแพทย์ แต่โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีการตรวจลงตราที่รองรับคนต่างด้าวกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีศักยภาพและจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
                                                  4.1.4 การปรับปรุงสิทธิสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนระดับปริญญาตรีขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจลงตรา Non-Immigrant Visa รหัส ED ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย เพื่อดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพและทักษะเข้าสู่ตลาดแรงงานของประเทศ
                                                  4.1.5 ควรให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการตรวจลงตราเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดนโยบายการตรวจลงตราของประเทศไทย โดยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) และกระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการ และมีหน้าที่ในการเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา การตรวจลงตราของประเทศ ตลอดจนการกลั่นกรองการเสนอการตรวจลงตราประเภทใหม่ และลดขั้นตอนต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าเมือง รวมทั้งการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้กระบวนการด้านการตรวจลงตราและการเข้าเมืองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                                        ดังนั้น เพื่อให้มาตรการและแนวทางตามข้อ 4.1.1 ? 4.1.4 บรรลุเป้าประสงค์ตามนโยบายของรัฐบาลอันเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของไทยโดยเร็ว เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศอย่างมาก และหลายประเทศได้นำมาตรการการตรวจลงตรามาใช้เป็นเครื่องมือในการดึงดูดนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ การค้าและการลงทุน ตลอดจนคนต่างด้าวที่มีศักยภาพที่นิยมการทำงานและท่องเที่ยวไปพร้อมกัน (workcation) จึงเห็นควรยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง รวม 4 ฉบับ ดังนี้
ร่างประกาศ          สาระสำคัญ
1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศและดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ทำงานหรือการติดต่อธุรกิจระยะสั้น ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินหกสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ          - เป็นการกำหนดรายชื่อประเทศ/ดินแดนที่ได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตรา สามารถพำนักในประเทศไทยไม่เกิน 60 วัน (ผ.60) เพื่อการท่องเที่ยว การติดต่อธุรกิจและการทำงานระยะสั้น จำนวน 93 ประเทศ/ดินแดน ได้แก่ อันดอร์รา ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม บาห์เรน บรูไน แคนาดา เช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส ฯลฯ (เดิม 57 ประเทศ/ดินแดน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ)
2. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง           - เป็นการปรับปรุงรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival: VOA) จำนวน 31 ประเทศ/ดินแดน ได้แก่ อาร์เมเนีย เบลารุส บัลแกเรีย ภูฏาน โบลิเวีย จีน คอสตาริกา ไซปรัส เอลซัลวาดอร์ เอธิโอเปีย ฟีจี จอร์เจีย อินเดีย คาซัคสถาน คีร์กีซ มอลตา เม็กซิโก นามิเบีย นาอูรู ปาปัวนิวกินี ปารากวัย ฯลฯ (เดิม จำนวน 19 ประเทศ)
3. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อท่องเที่ยวและทำงานทางไกล เป็นกรณีพิเศษ           - เพิ่มการตรวจลงตราประเภทใหม่ Destination Thailand Visa (DTV) เพื่อให้คนต่างด้าวประสงค์จะพำนักในประเทศไทยเพื่อทำงานและท่องเที่ยวไปพร้อมกัน (workcation) มีคุณสมบัติและสิทธิประโยชน์ ดังนี้
   1. คนต่างด้าวประสงค์จะเดินทางมาพำนักเพื่อการท่องเที่ยวระยะยาวและทำงานทางไกล ได้แก่ กลุ่มที่มีทักษะสูง (foreign talent) และกลุ่มอาชีพอิสระ (digital nomad/freelancer) หรือ (2) ประสงค์เข้ามาพำนักเพื่อทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การเรียนมวยไทยและศิลปะป้องกันตัว การเรียน ทำอาหาร การเรียนและฝึกซ้อมกีฬา การรักษาพยาบาล การอบรม การสัมมนา การจัดแสดงศิลปะ และดนตรี (ปัจจุบันสามารถขอได้เพียงประเภทนักท่องเที่ยวพำนักได้ 60 วัน และอยู่ได้ครั้งเดียว 30 วัน เท่านั้น การตรวจลงตรา DTV จึงตรงกับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว)
   2. ผู้ติดตามของคนต่างด้าวตาม 1. ซึ่งเป็นคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกิน 20 ปี
   3. คนต่างด้าวจะต้องมีหลักฐานทางการเงิน หรือหลักฐานการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการเดินทางหรือมีผู้ค้ำประกันวงเงินไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ตลอดระยะเวลาพำนักในประเทศไทย
   4. สิทธิประโยชน์ ได้รับการตรวจลงตราประเภท DTV สามารถพำนักในประเทศไทยได้ครั้งละไม่เกิน 180 วัน อัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา 10,000 บาท อายุการตรวจลงตรา 5 ปี และมีสิทธิขยายระยะเวลาพำนักในประเทศไทยได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 180 วัน โดยชำระค่าธรรมเนียม 10,000 บาท และขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราในประเทศได้ โดยการตรวจลงตราเดิมจะสิ้นสุด
4. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อศึกษาและทำงาน เป็นกรณีพิเศษ          1. เป็นการปรับปรุงสิทธิสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนระดับปริญญาตรีขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจลงตรา Non-Immigrant Visa รหัส ED
2. เป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยเพื่อดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพและทักษะเข้าสู่ตลาดแรงงานของประเทศ ดังนี้
   2.1 ขยายเวลาพำนักในประเทศไทยหลังสำเร็จการศึกษา 1 ปี เพื่อหางาน เดินทางท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ในประเทศไทยได้ แทนที่จะต้องเดินทางออกนอกประเทศทันทีที่สำเร็จการศึกษา โดยต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(อว.) มอบหมายมาแสดง เมื่อได้รับการจ้างงานในประเทศไทยก็สามารถติดต่อกรมการจัดหางานเพื่อขอใบอนุญาตทำงานและติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เพื่อขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์การตรวจลงตราจากเพื่อการศึกษา (Non-Immigrant รหัส ED) เป็นการตรวจลงตราเพื่อทำงาน (Non-Immigrant รหัส B) ได้ โดยไม่ต้องเดินทางออกนอกประเทศไทย
   2.2 ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาพำนักกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแทนนักศึกษาจนจบหลักสูตร และให้ยกเลิกการขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit) ซึ่งนักศึกษาต้องยื่นเรื่องกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุกครั้งก่อนเดินทางออกนอกประเทศไทยเพื่อรักษาสิทธิการได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทย
                              4.2 มาตรการระยะกลาง (ประกอบด้วย 3 มาตรการ เริ่มใช้เดือนกันยายน ? เดือนธันวาคม 2567) ได้แก่
                                        4.2.1 จัดกลุ่มและปรับลดรหัสกำกับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant) จากเดิม 17 รหัส เหลือ 7 รหัส โดยจะเริ่มดำเนินการภายในเดือนกันยายน ปี 2567 ดังนี้
                                                  (1) ประเภท Non-Immigrant รหัส B (Business)
                                                  (2) ประเภท Non-Immigrant รหัส ED (Education)
                                                  (3) ประเภท Non-Immigrant รหัส F (Official)
                                                  (4) ประเภท Non-Immigrant รหัส M (Mass Media)
                                                  (5) ประเภท Non-Immigrant รหัส O (Others)
                                                  (6) ประเภท Non-Immigrant รหัส L-A (Labor)
                                                  (7) ประเภท Non-Immigrant รหัส O (L-A)
                                        4.2.2  ปรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวพำนักระยะยาว (Long Stay) สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่ประสงค์ใช้ชีวิตบั้นปลายในประเทศไทย โดยจะเริ่มดำเนินการภายในเดือนกันยายน ปี 2567 ดังนี้
                                                  (1) ปรับลดเงินประกันสุขภาพสำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant) รหัส 0-A จากเดิมจำนวน 3,000,000 บาท ให้เหลือเท่าก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) คือ 40,000 บาทสำหรับผู้ป่วยนอก และ 400,000 บาท สำหรับผู้ป่วยใน
                                                  (2) เพิ่มประเทศ/ดินแดนที่คนต่างด้าวสามารถขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant) รหัส 0-X เพื่อพำนักระยะยาวในประเทศไทยจากเดิม 14 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาโดยให้เพิ่มประเทศ/ดินแดนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ประสงค์จะเข้ามาเพื่อการพำนักระยะยาว
                                        4.2.3 ขยายการเปิดให้บริการการตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์ (e-Visa) ปัจจุบัน กต. ให้บริการระบบ e-Visa ณ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ 47 แห่ง จากทั้งหมด 94 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 โดยจะขยายระบบ e-Visa ให้ครอบคลุมสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยทุกแห่งทั่วโลก ภายในเดือนธันวาคม ปี 2567
                              4.3 มาตรการระยะยาว (เริ่มใช้เต็มรูปแบบเดือนมิถุนายน 2568) ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบ Electronic Travel Authorization (ETA) สำหรับกลุ่มคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตรา เป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองคนต่างด้าว โดยการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยมีรายละเอียด ดังนี้
                                        4.3.1 เงื่อนไขการเปิดใช้ระบบ ETA ประกอบด้วย
                                                  (1) เฉพาะคนต่างด้าวที่ไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราเข้าประเทศไทย
                                                  (2) ขอรับ ETA ทุกครั้งที่เข้าประเทศไทย
                                                  (3) เมื่อถึงสนามบินสามารถสแกน QR Code เพื่อใช้ช่อง Auto-gate ที่สนามบิน
                                                  (4) สามารถขอรับตั้งแต่ก่อนเดินทางออกจากประเทศต้นทางหรือก่อนผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง
                                                  (5) ไม่มีค่าธรรมเนียม
                                                  (6) อื่น ๆ ตามที่ กต. กำหนด
                                        4.3.2 บุคคลที่ได้รับการยกเว้น ได้แก่
                                                  (1) ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการและหนังสือเดินทางของสหประชาชาติ (UN Laissez-Passer)
                                                  (2) ผู้ใช้ Border Pass ในการเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านพรมแดนทางบกและทางน้ำ
                                                  (3) อื่น ๆ ตามที่ กต. กำหนด
                                        4.3.3 กรอบระยะเวลาในการเปิดให้บริการระบบฯ แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
                                                  ระยะที่ 1 เปิดระบบให้บริการภายในเดือนธันวาคม 2567 (ระบบ ETA ชั่วคราว) พร้อมระบบ e-Visa ที่จะครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งจะยกเว้นให้ผู้ถือหนังสือเดินทาง 3 สัญชาติ ได้แก่ ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ที่เดินทางข้ามแดนทางบกไม่ต้องกรอกข้อมูลผ่านระบบ ETA
                                                  ระยะที่ 2 ภายในเดือนมิถุนายน 2568 เป็นระบบ ETA ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะรวมระบบ e-Visa และระบบ ETA ไว้ในระบบเดียวกัน (Single Window Submission) โดยคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิการยกเว้นการตรวจลงตราจะต้องลงทะเบียนก่อนเข้าประเทศไทยทุกคน ซึ่งรวมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
                    5. เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 กต.ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาให้ความเห็นต่อมาตรการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตรา ตามนโยบายและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และที่ประชุมมีมติรับทราบข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีและไม่มีข้อขัดข้องในหลักการต่อการดำเนินนโยบายดังกล่าว โดยเห็นควรให้ปรับเพิ่มเงื่อนไขหลักฐานทางการเงินสำหรับผู้ที่ประสงค์ยื่นขอรับการตรวจลงตราประเภท Destination Thailand Visa (DTV) เป็น 500,000 บาท เพื่อเป็นหลักประกันว่าคนต่างด้าวมีปัจจัยยังชีพตามสมควร สำหรับการพำนักอยู่ในประเทศตามวัตถุประสงค์ของการตรวจลงตรา และให้มีการจัดการประชุมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องต่อไป ประกอบกับเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 กต. ได้จัดการประชุมร่วมกับผู้แทนกระทรวงมหาดไทย และผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในการยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย จำนวน 4 ฉบับ ด้วยแล้ว
                    6. ประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการและแนวทางตามที่ กต. เสนอในครั้งนี้จะส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ที่นำรูปแบบการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตรามาเป็นมาตรการในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ดังนี้
                              6.1 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นผ่านมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา การตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง การตรวจลงตราประเภทใหม่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2567 ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งอ่าวไทย เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการบรรลุเป้าหมายรายได้รวมจากนักท่องเที่ยวของรัฐบาล
                              6.2 กลุ่มต่างชาติที่มีศักยภาพ อาทิ digital nomad และกลุ่มอื่น ๆ สนใจเข้ามาพำนักในประเทศไทยทั้งเพื่อท่องเที่ยว และใช้เป็นสถานที่ทำงานทางไกล ซึ่งจะสร้างโอกาสให้กลุ่มที่มีศักยภาพเหล่านี้อาจพิจารณาประกอบธุรกิจในไทยในระยะยาว ส่งผลให้ไทยเป็นศูนย์รวมกลุ่มคนที่มีศักยภาพในด้านต่าง ๆ มาใช้ชีวิตและประกอบธุรกิจในไทย ช่วยสร้างและกระจายรายได้ รวมทั้งจะก่อให้เกิดการจ้างงานและการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากขึ้น
                              6.3 สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ โดยสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งเริ่มเปิดภาคเรียนในเดือนมิถุนายน จึงส่งผลให้จำนวนนักศึกษาต่างชาติมีความสนใจเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ในช่วงก่อนเริ่มปีการศึกษา 2567
                    7. กต. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และ 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สรุปได้ดังนี้
                              7.1 การกำหนดรายชื่อประเทศและดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ทำงานหรือการติดต่อธุรกิจระยะสั้น ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 60 วันเป็นกรณีพิเศษ รวมทั้งสิ้น 93 สัญชาติ จะสูญเสียรายได้แผ่นดินประมาณ 12,300 ล้านบาทต่อปี (เทียบเคียงจากจำนวนนักท่องเที่ยว 93 สัญชาติ ปี 2566) แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราแบบ Visa on Arrival (VOA) จำนวน 4.5 ล้านคน (4,000 ล้านบาท) ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว (TR) จำนวน 3,300 ล้านบาท
                              7.2 ในกรณีของการอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ด้วยการยกเลิกการขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit) ที่นักศึกษาต้องไปยื่นเรื่องกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุกครั้งก่อนเดินทางออกนอกประเทศไทย คาดการณ์ว่ารัฐจะสูญเสียรายได้แผ่นดินประมาณ 152 ล้านบาท จากจำนวนนักศึกษาต่างชาติระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยในปี 2566 ประมาณ 40,000 คน
1 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน
  ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 2)

14. เรื่อง การรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่อง การรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    สลน. รายงานว่าเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ สลน. ดำเนินการเกี่ยวกับการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินงานฯ ผ่านระบบติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีของ สลน. (เป็นแพลตฟอร์มสำหรับจัดเก็บ ประมวล วิเคราะห์  และรายงานผลการดำเนินงานฯ และได้เปิดระบบฯ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินงานฯ มาตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2566) และให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบ ดังนี้
                    1. มอบหมายให้มีหน่วยงานเจ้าภาพหลักและหน่วยงานสนับสนุนของแต่ละนโยบายเพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล เช่น          หน่วยงานหลัก
(1) นโยบายที่จะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์
-          การสร้างความเข้าใจและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์          - กระทรวงกลาโหม (กห.)
- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)
- สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
- สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
-          การดำเนินโครการตามแนวพระราชดำริ          - กระทรวงมหาดไทย (มท.)
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
- สำนักงาน กปร.
(2) กรอบระยะสั้น : นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
- นโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet          - กระทรวงการคลัง (กค.)
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)
- กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
(3) กรอบระยะสั้น : นโยบายเร่งด่วน
- การแก้ปัญหาหนี้สินทั้งในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก          - ก.ค.
- กษ.
- กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
- สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
- การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน เช่น การบริหารจัดการราคาพลังงานให้เหมาะสม          - กระทรวงพลังงาน (พน.)
- มท.
- การผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เช่น การปรับปรุงขั้นตอนการขอวีซ่าและการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศเป้าหมาย           - กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
- สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
- การฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ           - กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(4) กรอบระยะกลางและระยะยาว : สร้างรายได้
- การใช้การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก เจรจาการค้า และปรับปรุงกระบวนการอนุมัติโครงการลงทุน เช่น การเปิดประตูการค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้สินค้าและบริการของประเทศไทย          - กต.
- พณ.
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม     การลงทุน
- การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมสีเขียว และอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ          - กห.
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
- ดศ.
- อก.
- สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
- การจัดทำ Matching Fund เพื่อร่วมลงทุนใน Start-up          - กค.
- อว.
- ดศ.
- สสว.
- การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าที่ถูกกฎหมายตามแนวชายแดน          - พณ.
- มท.
- การลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ          - กระทรวงคมนาคม
- การใช้หลักการ ?ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้? ในภาคเกษตร ปศุสัตว์ และประมง เช่น การสร้างรายได้ในภาคการเกษตร          - กษ.
- พณ.
- การดูแลจัดหา พัฒนา จัดสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไทย           - กระทรวงแรงงาน (รง.)
(5) กรอบระยะเวลากลางและระยะยาว : สร้างและขยายโอกาส
-          การเร่งดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิ์ในที่ดินทำกิน เช่น การบริหารจัดการที่ดินให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์          - กษ.
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
- มท.
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
-          การบริหารในรูปแบบของการกระจายอำนาจ (ผู้ว่า CEO) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่          - มท.
- สปน.
-          การปรับปรุงการทำงานของภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น          - ดศ.
- สำนักงาน ก.พ.ร.
- สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
-          การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว          - รง.
-          การสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์หรือ Soft Power ของประเทศ เช่น การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม          - พณ.
- มท.
- วธ.
-          การพัฒนาครู และดูแลนักเรียนทั้งสุขภาพกายและใจ          - อว.
- มท.
- ศธ.
(6) กรอบระยะเวลากลางและระยะยาว : ความมั่นคงและการต่างประเทศ ปราบปรามยาเสพติด ทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณสุข และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
-          การปรับโครงสร้างของหน่วยงานความมั่นคงให้เหมาะสมกับยุคสมัย          - กห.
- มท.
- สมช.
-          การวางบทบาทที่เหมาะสมในเวทีโลก คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ          - กต.
- พณ.
-          การร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยาเสพติด ตามหลักการเปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย          - กห.
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
-          การใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์และสุขภาพเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ          - กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

-          การดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตประชาชน           - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
- ทส.
- สธ.
-          การพัฒนาระบบสาธารณสุข เช่น ยกระดับ ?นโยบาย 30 บาทรักษา        ทุกโรค?          - สธ.
-          การดูแลคนทุกกลุ่มให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีด้วย ?สวัสดิการโดยรัฐ?          อย่างเท่าเทียม          - พม.
(7) การวางรากฐานและโครงสร้างพื้นฐานใหม่
-          การนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ          - อว.
- ดศ.
-          การดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เช่น ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย การสร้างสันติภาพและการปกป้องสิทธิมนุษยชน          - กต.
- ยธ.
- สธ.
- สศช.
-          การพัฒนาประเทศให้ทันสมัย และสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพทัดเทียมประเทศอื่น          - อว.
- ศธ.
-          การให้ความสำคัญกับกรอบวินัยการเงินการคลัง          - กค.
- สำนักงบประมาณ

                    2. ให้หน่วยงานตามข้อ 1 รายงานผลการดำเนินงานฯ ผ่านระบบติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีของ สลน. เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และลดการใช้กระดาษ
                    3. ให้กระทรวงหรือส่วนราชการเทียบเท่าระดับกระทรวง มอบหมายผู้แทนระดับรองปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า เป็น ?ผู้ประสานงานการติดตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (ปกตน.)? ทำหน้าที่ประสานงานกับ สลน. และรายงานผลการดำเนินงานเพื่อจัดทำผลงานรัฐบาลประจำปีร่วมกับ สลน. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) และ สศช. ต่อไป

15. เรื่อง มาตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา1 ให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) (มาตรการฯ) และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 มิถุนายน 2566) รับทราบรายงานประจำปี 2565 ของ กสศ. ซึ่งรวมถึงผลการดำเนินโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำรวม 12 จังหวัด เพื่อส่งเสริมกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ให้เกิดเป็นนวัตกรรมการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสในมิติต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือดูแลช่วยเหลือตามความเหมาะสมรายกรณี รวมทั้ง ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนาพื้นที่ตัวแบบตาม ?โครงการมาตรการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จังหวัดราชบุรี (Zero Dropout)?2
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กสศ. รายงานว่า
                    1. กสศ. ได้เริ่มดำเนินโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำตั้งแต่ปี 2562 ? 2563 เพื่อพัฒนาตัวแบบการติดตามช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาโดยดำเนินการครอบคลุม 20 จังหวัด เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก นครราชสีมา กาญจนบุรี นครนายก สุราษฎร์ธานี สงขลา และพบข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ (1) ไม่มีข้อมูลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาหรือมีข้อมูลแต่ขาดความสมบูรณ์และไม่เพียงพอที่จะใช้ในการค้นหา ติดตาม ช่วยเหลือ ดังนั้น กสศ. จึงได้ประสานสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเพื่อขอข้อมูลเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษา และนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลเด็กและเยาวชนไทยในช่วงอายุเดียวกันที่ไม่มีชื่อในระบบการศึกษา จำนวน 800,000 คน (ในขณะนั้น) ซึ่งคณะทำงานจังหวัดสามารถติดตามช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ประมาณ 20,000 คน (2) บทบาทของคณะทำงานระดับจังหวัดยังไม่มีกฎหมายรองรับหรือสนับสนุนให้มีการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ (3) การค้นหา ช่วยเหลือเด็ก เยาวชนรายกรณี โดยเครือข่ายสหวิชาชีพระดับตำบลอยู่ภายใต้ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
                    2. นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) มท. ศธ. และ กสศ. บูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลและทะเบียนนักเรียนรายบุคคลที่หลุดออกจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบเพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายด้านการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา3 ซึ่งต่อมาได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตามในปีการศึกษา 2566 มีเด็กและเยาวชนช่วงอายุ 3 ? 18 ปี ที่ไม่มีชื่อในระบบการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลที่ 1 ? มัธยมศึกษาปีที่ 6 และหลุดออกจากระบบการศึกษา จำนวน 1,025,514 คน4 แบ่งเป็น (1) เด็กและเยาวชนภาคบังคับ จำนวน 394,039 คน และ (2) เด็กปฐมวัยหรือสูงกว่าภาคบังคับ จำนวน 631,475 คน โดยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลตั้งต้นสำหรับการติดตามช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาเป็นรายบุคคลของคณะทำงานความร่วมมือในระดับพื้นที่ต่อไป ต่อมานายกรัฐมนตรีได้กล่าวในงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2567 สรุปได้ว่า รัฐบาลมุ่งมั่นให้เด็กทุกคนไม่หลุดจากระบบการศึกษาและมุ่งบรรลุเป้าหมาย Thailand Zero Dropout เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พัฒนาการเรียนที่ยืดหยุ่นให้ตรงตามความต้องการ เน้นทักษะอาชีพและทักษะชีวิต และให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีคุณค่าต่อไป ทั้งนี้ จะบรรลุผลสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เกิดระบบสารสนเทศแสดงข้อมูลของเด็ก เยาวชนทุกคนในระบบการศึกษา โดยเฉพาะข้อมูลของเด็กเยาวชนที่ขาดแคลนและต้องการโอกาส
                    3. กสศ. ได้จัดประชุมหารือร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พม. ดศ. มท. ศธ. และ สธ. เมื่อเดือนมกราคม ? มีนาคม 2567 เกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี (ตามข้อ 2) ทั้งนี้ ที่ประชุมได้จัดทำร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ5 และเห็นชอบให้ กสศ. เสนอมาตรการฯ ต่อคณะรัฐมนตรี
                    4. คณะกรรมการบริหาร กสศ. มีมติเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 เห็นชอบร่างมาตรการฯ จำนวน 4 มาตรการ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

มาตรการ          หน่วยงาน/คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
(1) มาตรการค้นหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาผ่านการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การค้นพบเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ดังนี้
1) บูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลของเด็กและเยาวชนระหว่างหน่วยงาน โดยเฉพาะข้อมูลของ ศธ. ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของ มท. รวมทั้งข้อมูลจากหน่วยงานอื่น          มอบหมายให้ ดศ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พม. มท. ศธ. สธ.
2) พัฒนาระบบสารสนเทศกลางในระยะยาวเพื่อรองรับการบูรณาการข้อมูลและการค้นหาให้มีประสิทธิภาพและแต่งตั้งคณะกรรมการกลางระดับชาติต่อไป โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นองค์ประกอบ          คณะกรรมการกลางระดับชาติ6
(2) มาตรการติดตาม ช่วยเหลือ ส่งต่อ และดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนแต่ละรายทั้งด้านการศึกษา สุขภาวะ พัฒนาการ สภาพความเป็นอยู่ และสภาพสังคม
1) จัดการศึกษาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการด้วยกลไกคณะกรรมการระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน          คณะกรรมการระดับจังหวัด7
2) ช่วยเหลือ ดูแล และส่งต่อเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาด้วยระบบการช่วยเหลือและส่งต่อสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาเป็นรายกรณี (Case Management System: CMS)8 และการบูรณาการของหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งนี้ การปฏิบัติงานระดับพื้นที่อาจจะดำเนินการโดยศูนย์ปฏิบัติการแบบเบ็ดเสร็จระดับตำบล ?ศูนย์ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับตำบล? โดยให้อยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลหรือเทศบาล          มอบหมายให้ มท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พม. ศธ. สธ. และ กสศ.
(3) มาตรการจัดการศึกษาและเรียนรู้แบบยืดหยุ่น9 มีคุณภาพและเหมาะสมกับศักยภาพของเด็กและเยาวชนแต่ละราย มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาและพัฒนาเต็มศักยภาพของตนเอง
1) จัดการศึกษาหรือการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น โดยให้การรับรองคุณวุฒิหรือเทียบโอนคุณวุฒิการศึกษา/ใบประกอบอาชีพหรือวิชาชีพระหว่างการจัดการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย           มอบหมายให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาหรือเรียนรู้ในสังกัด ศธ. ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น ดศ. มท. กระทรวงแรงงาน (รง.) หน่วยจัดการเรียนรู้ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรทางศาสนา หรือหน่วยงานอื่น ๆ
2) ยกระดับการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและองค์กรระดับพื้นที่ ท้องถิ่น ชุมชน องค์กรทางศาสนา ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับพื้นที่และสภาพสังคม
3) ส่งเสริมการจัดการศึกษาหรือเรียนรู้ควบคู่กับการทำงาน (Learn to Earn) ร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ/วิชาชีพของเด็กและเยาวชนในการทำงานจริงให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและให้มีรายได้เสริมในระหว่างการศึกษา
(4) มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษาหรือเรียนรู้ มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหรือการเรียนรู้ในลักษณะ Learn to Earn ให้เด็กและเยาวชนอายุ 15 ? 18 ปี ได้พัฒนาทักษะการทำงานที่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน เหมาะสมตามศักยภาพและมีรายได้เสริมระหว่างการศึกษา
1) ส่งเสริมหรือจูงใจผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจัดการศึกษาหรือการเรียนรู้ควบคู่กับการทำงานด้วยมาตรการหรือกลไกทางภาษี          มอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาดำเนินการต่อไป
2) สนับสนุนให้สถานประกอบการเข้าร่วมจัดการศึกษาหรือการเรียนรู้ควบคู่กับการทำงาน          มอบหมายให้ รง. พิจารณากำหนดมาตรการที่เหมาะสม

                    5. ประโยชน์ที่จะได้รับ
                              5.1 เกิดพื้นที่จังหวัดขับเคลื่อน Thailand Zero Dropout รวม 25 จังหวัด เพื่อดูแลกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษากลับเข้าสู่ระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นได้ จำนวน 20,000 คน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และจะครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป
                              5.2 สามารถดูแลกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาได้ จำนวน 100,000 คน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 500,000 คน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 และจำนวน 1,000,000 คน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 ซึ่งจะบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
1 เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา หมายถึง ประชากรวัยเรียนที่อยู่ในช่วงอายุ 3 ? 18 ปี และเด็กพิการตั้งแต่แรกพบความพิการถึง 18 ปี ครอบคลุมทั้งกลุ่มเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาแล้ว ได้แก่ เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และเด็กพิการที่ตกหล่น และกลุ่มเด็กที่เสี่ยงจะหลุดออกจากระบบการศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงจะหลุดออกจากระบบการศึกษาภายใน 1 ปีการศึกษาถัดไป
2 ปัจจุบันได้มีการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลและทะเบียนนักเรียนรายบุคคลที่หลุดออกจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบเพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายด้านการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของรัฐบาลซึ่งครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว ส่งผลให้ไม่มีโครงการดังกล่าวแล้ว
3 กสศ. แจ้งว่า เป็นการดำเนินการตามข้อสั่งการของ นรม. รายละเอียดปรากฏตามหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0403(กน)/9047 ลงวันที่ 27 กันยายน 2566 (เรื่อง การดำเนินงานตามนโยบายด้านความเสมอภาคทางการศึกษา)
4 ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566
5 กสศ. แจ้งว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติในครั้งนี้ จะมีการปรับปรุงร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือให้สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวต่อไป
6 ปัจจุบันยังไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการกลางระดับชาติ ซึ่งจะมีการกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าวต่อไป
7 กสศ. แจ้งว่า คณะกรรมการระดับจังหวัด คือ คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันแล้ว
8 กสศ. แจ้งว่า ระบบ CMS เป็นระบบสืบค้นเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ โดยความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่และเมื่อพิสูจน์ว่ากลุ่มเด็กและเยาวชนดังกล่าวว่ามีอยู่จริง จะมีการจัดทำแผนการช่วยเหลือดูแลรายกรณีต่อไป (Care Plan)
9 องค์กรยูเนสโกได้กำหนดให้การเรียนรู้แบบยืดหยุ่น ประกอบด้วย ได้แก่ (1) การเข้าถึงการเรียนได้อย่างยืดหยุ่น (2) เนื้อหาวิชาเรียนมีความยืดหยุ่น (3) การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นทั้งครูและผู้เรียน ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุน (4) การสอนและจัดวิธีการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น (5) ทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น และ (6) การประเมินผลแบบยืดหยุ่น อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีกรณีตัวอย่างการจัดรูปแบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น เช่น หนึ่งโรงเรียน สามระบบ ที่ดำเนินงานในจังหวัดนครพนมและราชบุรี โดยเป็นการกำหนดเนื้อหาวิชาเรียนแบ่งเป็น 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรแกนกลาง (วิชาการ) หลักสูตรอาชีพ (วิชาชีพ) และหลักสูตรชุมชน (วิชาชีวิต)

ต่างประเทศ
16. เรื่อง การเข้าร่วมเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อการไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติให้คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อการไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศ (The International Organization for Mediation) (IOMed: ไอโอเมด) โดยมีองค์ประกอบ ได้แก่ (1) กต. (2) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) (3) สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) (4) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) และ               (5) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
                    2. เห็นชอบกรอบการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อการไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศ (กรอบการเจรจาฯ)
                    3. เห็นชอบให้รับรองถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการจัดตั้งในอนาคตซึ่งองค์การเพื่อการไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศ (ถ้อยแถลงร่วมฯ)
                    4. มอบหมายให้ กต. ดำเนินการแจ้งความประสงค์ของไทยในการเข้าร่วมเจรจาอนุสัญญาฯ และรับรองถ้อยแถลงร่วมฯ กับฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) โดยวิธีการที่เหมาะสมต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) มีความประสงค์จะเข้าร่วมเจรจาอนุสัญญาว่ด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อการไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศ (IOMed) ซึ่งก่อตั้งโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) โดย IOMed จัดตั้งขึ้นในรูปแบบองค์การระหว่างรัฐบาลและมีสถานะเป็นนิติบุคคลเพื่อเป็นเวทีในการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยแห่งแรกสำหรับข้อพิพาท เช่น (1) ข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิก (2) ข้อพิพาทด้านการลงทุนและเชิงพาณิชย์ระหว่างรัฐสมาชิกกับเอกชนของอีกรัฐสมาชิก และ (3) ข้อพิพาทเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศระหว่างเอกชน โดยยึดหลักความสมัครใจของคู่พิพาทที่จะใช้ IOMed เป็นเวทีระงับข้อพิพาท ทั้งนี้ IOMed จะไม่รับข้อพิพาทที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน ซึ่งการเข้าร่วมการเจรจาฯ เป็นโอกาสที่ไทยจะมีบทบาทในการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงาน และทิศทางขององค์การดังกล่าว รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศของไทยในอนาคต ทั้งนี้ ในกรอบการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อการไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศ (กรอบการเจรจาฯ) ระบุไว้ว่าหากผลการเจรจาไม่เป็นประโยชน์ต่อไทย ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมเป็นภาคี IOMed แต่อย่างใด และการเข้าร่วมเจรจาจะไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมายให้ไทยต้องเข้าร่วมเป็นภาคีของ IOMed กต. จึงได้เสนอกรอบการเจรจาอนุสัญญาฯ และขออนุมัติให้คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมเจรจาอนุสัญญาฯ โดยมีองค์ประกอบ ได้แก่ (1) กต. (2) สำนักงานอัยการสูงสุด (3) สำนักงานศาลยุติธรรม (4) กระทรวงยุติธรรม และ                      (5) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ ในการเข้าร่วมเจรจาอนุสัญญาฯ ไทยจะต้องรับรองถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการจัดตั้งในอนาคตซึ่งองค์การเพื่อการไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศ (ถ้อยแถลงร่วมฯ) ก่อน ซึ่งถ้อยแถลงร่วมฯ มีรายละเอียด เช่น วัตถุประสงค์ เช่น [(1) ให้บริการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ (2) ส่งเสริมการใช้การไกล่เกลี่ยในการระงับข้อพิพาทแสวงหาและส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการไกล่เกลี่ย] หลักการการไกล่เกลี่ย การเข้าร่วมเป็นสมาชิก สำนักงานเตรียมการของ IOMed และขอบเขตของคดี
                    2. ประโยชน์ที่จะได้รับ: การเข้าร่วมเจรจาอนุสัญญาฯ จะทำให้ไทยสามารถมีส่วนในการกำหนดรายละเอียดในการจัดตั้ง IOMed ให้สอดคล้องกับนโยบายกฎหมาย และผลประโยชน์ของไทย เป็นช่องทางที่ไทยสามารถติดตามพัฒนาการล่าสุดในด้านการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย ซึ่งหากผลลัพธ์การเจรจานำไปสู่การจัดตั้ง IOMed ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อไทยโดยแท้ ก็จะเป็นเวทีการระงับข้อพิพาทอีกหนึ่งเวทีที่ไทยและผู้ลงทุนชาวไทยสามารถใช้ประโยชน์ได้ นอกเหนือจากเวทีการระงับข้อพิพาทผ่านการอนุญาโตตุลาการ เช่น ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการระงับข้อพิพาทการลงทุน (International Centre for Settlement of Investment Disputes: ICSID) และศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration: PCA) เป็นต้น

17. เรื่อง ร่างวาระแห่งแอนติกาและบาร์บูดาสำหรับรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก - ปฏิญญาฉบับใหม่เพื่อความเจริญรุ่งเรืองที่มีความยืดหยุ่น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยร่วมรับรองร่างวาระแห่งแอนติกาและบาร์บูดาสำหรับรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก - ปฏิญญาฉบับใหม่เพื่อความเจริญรุ่งเรืองที่มีความยืดหยุ่น(The Antigua and Barbuda Agenda for Small Island Developing States - a Renewed Declaration for Resilient Prosperity)                  ของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก ครั้งที่ 4 โดยหากมีการแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขออนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งให้รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยร่วมรับรองร่างเอกสารดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างวาระแห่งแอนติกาและบาร์บูดาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองเพื่อให้การสนับสนุนรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศเหล่านี้ เช่น ความมั่นคงทางอาหาร การบริหารจัดการน้ำ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรับมือกับผลกระทบจากภัยพิบัติ
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    ร่างวาระแห่งแอนติกาและบาร์นูดาฯ ของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก ครั้งที่ 4 สะท้อนประเด็นประเทศสมาชิกสหประชาชาติให้ความสำคัญร่วมกันในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการผลักดันการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกในภาพรวม

18. เรื่อง การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ของประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือแสดงความประสงค์ของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างหนังสือแสดงความประสงค์ดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งขออนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงความประสงค์ฯ และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานประสานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ของประเทศไทยตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กลุ่ม BRICS ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 โดยเป็นการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน (สมาชิกแรกเริ่ม 4 ประเทศ ภายใต้ชื่อกลุ่ม BRIC) สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2553 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่ม BRICS) สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (5 ประเทศหลัง เข้าเป็นสมาชิกใหม่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567) มีประชากรรวมกันทั้งหมดประมาณร้อยละ 39 ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติรวมกันประมาณร้อยละ 28.4 ของโลก ทั้งนี้ ในปี 2567 สหพันธรัฐรัสเซียเป็นประธานกลุ่ม ภายใต้หัวข้อหลัก ?Strengthening multilateralism for fair global development and security?
                    ประโยชน์และผลกระทบ เช่น 1. การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS จะช่วยยกระดับบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศโดยเป็นการกระชับความร่วมมือกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพจะก้าวขึ้นมามีบทบาททางเศรษฐกิจและการเมืองในอนาคต โดยเฉพาะด้านการค้า การลงทุน การเงิน ความมั่นคงด้านอาหารและความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งยังช่วยเพิ่มบทบาทของประเทศไทยในการกำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนา และการส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยง นอกจากนี้ การเข้าเป็นสมาชิก BRICS ยังช่วยเพิ่มโอกาสให้ประเทศไทยได้ร่วมสร้างระเบียบโลกใหม่ ที่กลุ่มประเทศตลาดใหม่และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีบทบาทสำคัญ มีความครอบคลุม และไม่มุ่งต่อต้านกลุ่มใด
                    2. ความร่วมมือในกลุ่ม BRICS แบ่งเป็น 3 เสา ได้แก่ (1) เสาด้านการเมืองและความมั่นคง (2) เสาด้านเศรษฐกิจและการเงิน และ (3) เสาด้านมนุษยธรรมและวัฒนธรรม โดยนอกจากจะมีการประชุมระดับผู้นำของ BRICS แล้ว แต่ละเสายังมีการจัดประชุมในระดับต่าง ๆ เช่น คณะทำงาน เจ้าหน้าที่อาวุโส ระดับรัฐมนตรี รวมกันประมาณ 200 การประชุมต่อปี และเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการต่าง ๆ ในลักษณะคล้ายกรอบอาเซียน ดังนั้น หากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยมีความพร้อม การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS จะเป็นโอกาสให้ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในการหารือกับประเทศสมาชิก ประเทศหุ้นส่วนและประเทศอื่น ๆ ที่เข้าร่วมในกลไกของกลุ่ม BRICS       เพื่อขยายความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย ยุติธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สาธารณสุข การคลัง การค้าและเศรษฐกิจ การจัดการภาษี การคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเหี่ยว การส่งเสริมบทบาทของยาวขนและสตรี การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

แต่งตั้ง
19. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
                      1. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี (13 กันยายน 2566) เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                      2. อนุมัติเป็นหลักการในการมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง (นายพิชัย ชุณหวชิร) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง) (กระทรวงคมนาคม)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. นายชาครีย์ บำรุงวงศ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก (นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. นายดนัย เรืองสอน วิศวกรใหญ่ที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านอำนวยความปลอดภัย) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมทางหลวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมท่าอากาศยาน
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

21. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี จำนวน 9 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 ดังนี้
                     1. นายเศกสันต์ คำตั๋น                                 ด้านการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ
                     2. พลเรือเอก สุรีพงศ์ แก้วทับ                       ด้านการขนส่งทางน้ำ
                     3. เรือเอก กานต์ เมนะรุจิ                     ด้านกิจการท่าเรือ
                     4. พลเรือเอก ปกครอง มนธาตุผลิน           ด้านกิจการการเดินเรือไทย
                     5. พลเรือตรี สุบิน บรรยง                      ด้านกิจการอู่เรือ
                     6. นายทรงศักดิ์ ผิวเกลี้ยง                     ด้านกฎหมายพาณิชยนาวี
                     7. นางสาวจารุภา วัฒน์ประกายรัตน์            ด้านการประกันภัยทางทะเล
                     8. นายณัฐพงษ์ รัตนสุวรรณทวี                      ด้านการค้าระหว่างประเทศ
                     9. นายดรุฒ คำวิชิตธนาภา                     ด้านสิ่งแวดล้อม
                     โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)

22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย จำนวน 3 คน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
                     1. นางญาใจ พัฒนสุขวสันต์
                     2. นายนพ ธรรมวานิช
                     3. นางพรรณวิลาส แพพ่วง
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

23. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นายศรัณยสัณฑ์ วีรกุลสุนทร และนายรัศม์ ชาลีจันทร์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว

24. เรื่อง การแต่งตั้งประธานผู้แทนการค้าไทย
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งให้หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย เป็นประธานผู้แทนการค้าไทย ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เสนอ
                     สาระสำคัญ
                      สลน. รายงานว่า เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (12 ธันวาคม 2566) รับทราบการแต่งตั้งหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 358/2566            ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ตามที่ สลน. เสนอ ต่อมานายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี                   ที่ 99/2567 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2567 (เรื่อง แต่งตั้งประธานผู้แทนการค้าไทย) แต่งตั้งหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร เป็นประธานผู้แทนการค้าไทย ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

25. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีและกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้
                      1. มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี) เป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรี
                      2. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอเรื่องผ่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี) เป็นผู้พิจารณากลั่นกรอง ก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี ในเรื่องต่อไปนี้
                                2.1 เรื่องการดำเนินคดีในศาลปกครองในกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี                     รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถูกฟ้องในคดีปกครอง
                                2.2 เรื่องการดำเนินคดีในศาลรัฐธรรมนูญในกรณีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
                               2.3 เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     สลค. เสนอว่า
                     1. ในการประชุมคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและมีมติอนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งใด ๆ ในเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว สลค. จะจัดทำร่างมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น ๆ แล้วเสนอให้รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจพิจารณาและลงนามรับรองความถูกต้องก่อน            จึงจะถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีที่จะแจ้งให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องและหน่วยงาน/บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบ ถือปฏิบัติ หรือดำเนินการต่อไป
                     2. การมอบหมายให้มีผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในหน่วยงาน สลค. เป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีที่ สลค. เสนอ โดยในครั้งล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพิชิต ชื่นบาน) เป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรี (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 พฤษภาคม 2567)
                     3. การพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายโดยเฉพาะในระดับพระราชบัญญัติ หรือการดำเนินคดีความต่าง ๆ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถูกฟ้อง จะต้องมีการตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมายอย่างรอบด้านและเพื่อให้การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความรอบคอบ ประกอบกับในครั้งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพิชิต ชื่นบาน) เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องลักษณะดังกล่าว ก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 พฤษภาคม 2567)

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                     1. นาย สุรชาติ เทียนทอง            ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์)
                     2. นายธันว์ วุฒิธรรม                      ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์)]
                      ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                     1. นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์                       ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                     2. นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ            ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                     โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้
                     1. นายณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช                       ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
                     2. นายชวรัชต์ อุรัสยะนันทน์                       ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี)
                     3. นายพลนชชา จักรเพ็ชร                      ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร)
                     โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบด้วยแล้ว

29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นายจักรพล                ตั้งสุทธิธรรม เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง                           ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ