http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ 4 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน การประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออก ใบอนุญาตใช้เรือ และการประกันภัยเรือสำหรับโดยสาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เศรษฐกิจ-สังคม 3. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 4. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัด การศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถะสูง ของคณะกรรมาธิการ การศึกษา วุฒิสภา 5. เรื่อง รายงานประจำปี 2566 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา 6. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2567 (ครบ 6 เดือน) 7. เรื่อง การขอใช้งบประมาณคงเหลือจากการจ่ายค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย สำหรับงาน ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) 8. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการมอบหมายหน่วยงานให้ปฏิบัติหน้าที่ หน่วยประสานงานหลัก (National Designated Authority : NDA) ของกองทุน ภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF) 9. เรื่อง รายงานผลการวิเคราะห์ดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี พ.ศ. 2566 (Corruption Perceptions Index: CPI 2023) และรายงานผลการขับเคลื่อนการยกระดับค่า คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 10. เรื่อง มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ 11. เรื่อง แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 12. เรื่อง มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 13. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ?
3 มิถุนายน 2567)
ต่างประเทศ
14. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมายและยุติธรรมระหว่าง กระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบีย 15. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 12 16. เรื่อง การขับเคลื่อนความร่วมมือและการเข้าเป็นภาคีความตกลงในกรอบความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ อินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF) 17. เรื่อง การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 144 ว่าด้วยการ ปรึกษาหารือไตรภาคี (มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ) ค.ศ. 1976 แต่งตั้ง 18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการต่างประเทศ) 21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง) 22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ 23. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ และกรรมการผู้แทนองค์กร สวัสดิการชุมชน ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และมอบหมายให้ กต. แจ้งต่อ ฝ่ายสหภาพยุโรปเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ (Laissez?Passer) ที่ออกโดยสหภาพยุโรป ว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์มีผลใช้บังคับ ตามที่ กต. เสนอ
ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กต. เสนอว่า
1. โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 เห็นชอบความตกลงระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ ที่ออกโดยสหภาพยุโรปว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์ ตามที่ กต. เสนอ และมอบหมายให้ กต. และกระทรวงมหาดไทย (มท.) พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ และระเบียบในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ในโอกาสแรก
2. ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและสหภาพยุโรปได้ลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าว โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ ที่ออกโดยสหภาพยุโรป หรือ EU เป็นเอกสารการเดินทางของเจ้าหน้าที่ EU ที่สมบูรณ์เทียบเท่ากับหนังสือเดินทางสำหรับการเดินทางเข้ามาในไทย โดยผู้ที่ถือแลสเซ-ปาสเซ เข้ามาในไทยจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับในไทย
3. ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 1 กต. และ มท. จึงได้ร่วมกันยก ร่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้น ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 โดยปรับเพิ่มเฉพาะถ้อยคำว่า ?หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป? และ ?หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป? เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ดังนี้ กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ กต. เสนอ ข้อ 3 การตรวจลงตราประเภททูต ให้จำกัดเฉพาะ การขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) การปฏิบัติหน้าที่ทางทูตหรือกงสุล (2) การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ ข้อ 3 วรรคสอง ?ทั้งนี้ ให้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูต ยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตรา สำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือองค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ แล้วแต่กรณี? ? ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน ?ทั้งนี้ ให้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปยื่นขอรับการตรวจลงตรา ต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือองค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป แล้วแต่กรณี? ข้อ 4 การตรวจลงตราประเภทราชการ ?การตรวจลงตราประเภทราชการ ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ โดยผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการ ต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตรา สำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือองค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ แล้วแต่กรณี? ? ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน ?การตรวจลงตราประเภทราชการ ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ โดยผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการหรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือองค์การ หรือหน่วยงานสหประชาชาติ หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป แล้วแต่กรณี? ข้อ 10 การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ 10 (1) ?การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ เพื่อการอื่น นอกจากที่ระบุในข้อ 3 (1) หรือ (2) หรือข้อ 4? ? ให้ยกเลิกความในข้อ 10 (1) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน ?การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป เพื่อการอื่นนอกจากที่ระบุในข้อ 3 (1) หรือ (2) หรือข้อ 4?
ทั้งนี้ ผู้ถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปสามารถยื่นขอรับการตรวจลงตรา ตามบทบาทหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการพำนักในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (ก.) ประเภททูต (ข.) ประเภทราชการ และ (ค.) ประเภทอัธยาศัยไมตรี โดยจะบังคับใช้กับบุคคลในครอบครัวที่ถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปด้วย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตใช้เรือ และการประกันภัยเรือสำหรับโดยสาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
คค. เสนอว่า
1. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตใช้เรือ และการประกันภัยเรือสำหรับโดยสาร พ.ศ. 2552 ข้อ 4 กำหนดให้เจ้าของเรือที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตใช้เรือ ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานออกใบอนุญาตตามแบบที่กำหนด เช่น
1.1 กรณีที่เจ้าของเรือเป็นบุคคลธรรมดา ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้เรือ ให้ยื่นพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวของบุคคล หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางสำหรับชาวต่างประเทศของเจ้าของเรือ สำเนาใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ เป็นต้น
1.2 กรณีที่เจ้าของเรือเป็นนิติบุคคล ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้เรือ ให้ยื่นพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ได้แก่ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวของบุคคล หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางสำหรับขาวต่างประเทศของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของเรือ เป็นต้น
1.3 กรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตใช้เรือสำหรับโดยสาร ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้เรือ ให้ยื่นพร้อมด้วยสำเนาสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยที่มีผลคุ้มครองชีวิตและร่างกายของผู้โดยสาร พร้อมทั้งนำสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยฉบับจริงมาแสดง และยื่นเอกสารและหลักฐานตาม ข้อ 1.1 ในกรณีที่เจ้าของเรือเป็นบุคคลธรรมดา หรือ ข้อ 1.2 ในกรณีที่เจ้าของเรือเป็นนิติบุคคล เป็นต้น
2. ต่อมาได้มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอ และการออกใบอนุญาตใช้เรือ และการประกันภัยเรือสำหรับโดยสาร พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตใช้เรือ และการประกันภัยเรือสำหรับโดยสาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ข้อ 5 (4) กำหนดให้ในกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือประมง ให้ยื่นพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
2.1 หนังสือรับรองจากกรมประมงว่าผู้ยื่นคำขอนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะได้รับใบอนุญาตทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยการประมง หรือเรือประมงที่จะขอต่ออายุใบอนุญาตไม่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดี และ
2.2 ยื่นเอกสารและหลักฐานตาม ข้อ 1.1 ในกรณีที่เจ้าของเรือเป็นบุคคลธรรมดา หรือ ข้อ 1.2 ในกรณีที่เจ้าของเรือเป็นนิติบุคคล เป็นต้น
3. โดยที่กฎกระทรวงตามข้อ 1 และข้อ 2 กำหนดให้ต้องขอหนังสือรับรองจากกรมประมงก่อนทำการขอใบอนุญาตใช้เรือ ได้ใช้บังคับมาประมาณ 5 ปีแล้ว ปรากฏว่าสภาพการณ์ปัจจุบันการขอรับและการออกใบอนุญาตใช้เรือได้เปลี่ยนแปลงไป สถานการณ์การใช้เรือประมงโดยผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมได้คลี่คลายลง จึงควรปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่เป็นเจ้าของเรือประมง ในการขอใบอนุญาตใช้เรือ ซึ่งต้องขอหนังสือรับรองจากกรมประมงก่อนทำการขอใบอนุญาตใช้เรือจากกรมเจ้าท่า
4. คค. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอและการออกใบอนุญาตใช้เรือ และการประกันภัยเรือสำหรับโดยสาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้น มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกความในข้อ 5 (4) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตใช้เรือ และการประกันภัยเรือสำหรับโดยสาร พ.ศ. 2552 ซึ่งเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอ และการออกใบอนุญาตใช้เรือ และการประกันภัยเรือสำหรับโดยสาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เพื่อยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการยื่นหนังสือรับรองจากกรมประมงประกอบคำขอรับใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือประมง อันเป็นการบรรเทาภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการขออนุญาต โดยกำหนดเอกสารและหลักฐานเท่าที่จำเป็นและสอดคล้องกับสภาพการณ์ ดังนี้
กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2552 ร่างกฎกระทรวงฯ ที่เสนอ ? ข้อ 5 คำขอตามข้อ 4 ให้ยื่นพร้อมด้วยเอกสาร และหลักฐาน ดังต่อไปนี้ ฯลฯ (4) ในกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือประมง (ก) หนังสือรับรองจากกรมประมงว่าผู้ยื่นคำขอ ไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะได้รับใบอนุญาตทำการประมง ตามกฎหมายว่าด้วยการประมง หรือเรือประมงที่จะขอต่ออายุใบอนุญาตไม่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดี (ข) เอกสารและหลักฐานตาม (1) ในกรณีที่เจ้าของเรือ เป็นบุคคลธรรมดา หรือเอกสารและหลักฐานตาม (2) ในกรณีที่เจ้าของเรือเป็นนิติบุคคล แล้วแต่กรณี ฯลฯ ยกเลิก
ทั้งนี้ คค. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ จำนวน 122,000 ล้านบาท สำหรับเป็น งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ โดยมีแหล่งเงินจากการจัดเก็บรายได้ที่เดิมไม่ได้กำหนดไว้ในประมาณการเพิ่มเติม จำนวน 10,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 112,000 ล้านบาท
สาระสำคัญ
ตามที่สำนักงบประมาณร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อทบทวนประมาณการรายได้ กำหนดนโยบายกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ที่ได้เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นั้น สำนักงบประมาณขอเสนอ ดังนี้
1. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 รับทราบและเห็นชอบในหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยใช้จ่ายจาก 3 แหล่งเงิน ได้แก่ การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท การดำเนินการผ่านหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 172,300 ล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 อย่างไรก็ดี เนื่องจากมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนดให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้กระทำได้เมื่อมีเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินระหว่างปีงบประมาณ โดยไม่สามารถรองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไปได้ และให้ระบุที่มาของเงินที่จะใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ดังนั้น การดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet จะต้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการให้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้ทันภายในวันที่ 30 กันยายน 2567 และสอดคล้องตามมาตราดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จึงอาจพิจารณาผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการที่เป็นประชาชนกลุ่มเปราะบางผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 14.98 ล้านคน ตามขั้นตอนในโอกาสแรกก่อน
2. บทบัญญัติของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
2.1 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
มาตรา 7 กำหนดให้การกู้เงิน การลงทุน การตรากฎหมาย การออกกฎ หรือ การดำเนินการใด ๆ ของรัฐที่มีผลผูกพันทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ ต้องพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย
มาตรา 15 กำหนดให้การจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้นำแผนการคลังระยะปานกลางมาประกอบการพิจารณาด้วย และให้คำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ความเป็นธรรมทางสังคม นโยบายงบประมาณ เสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ ความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่าย การจัดเก็บรายได้แผ่นดิน สถานะของหนี้สาธารณะ และความสามารถในการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
มาตรา 21 กำหนดให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้กระทำได้เมื่อมีเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินระหว่างปีงบประมาณ โดยไม่สามารถรองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไปได้ และให้ระบุที่มาของเงินที่จะใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมด้วย
2.2 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
มาตรา 13 กำหนดให้การเสนองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมต่อรัฐสภาให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม โดยให้แสดงเหตุผลและเงินที่พึงได้มาสำหรับจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ขอตั้งด้วย
มาตรา 24 กำหนดให้ในการจัดทำงบประมาณประจำปี ให้สำนักงบประมาณ เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการกำหนดนโยบายงบประมาณประจำปี ประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย และวิธีการเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือการจัดการในกรณีที่ประมาณการรายได้สูงกว่าวงเงินงบประมาณ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
2.3 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 รับทราบและเห็นชอบหลักการของกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง
2.4 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่กำหนดให้ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณาทบทวนประมาณการรายได้ กำหนดนโยบาย กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 29 - 31 พฤษภาคม 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567
2.5 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทหลักให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต
3. วงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
3.1 วัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 สำหรับการดำเนินการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ของรัฐบาล ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยสามารถกระจายไปทุกพื้นที่ ให้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจถึงระดับฐานรากเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนและภาคธุรกิจ และเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศต่อไป
3.2 งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กำหนดไว้เป็น จำนวน 122,000 ล้านบาท สำหรับเป็น งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ โดยมีแหล่งเงินจากการจัดเก็บรายได้ที่เดิมไม่ได้กำหนดไว้ในประมาณการเพิ่มเติม จำนวน 10,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 112,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ กรอบวงเงินสูงสุดที่รัฐบาลกู้ได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 21 จะมีจำนวนรวม 815,056 ล้านบาท ซึ่งตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะมีการขาดดุลงบประมาณรวม จำนวน 805,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงยังมีกรอบวงเงินกู้คงเหลืออีก จำนวน 10,056 ล้านบาท
3.3 สมมติฐานทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.0 - 3.0 (ค่ากลาง ร้อยละ 2.5) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการที่เกี่ยวเนื่อง การขยายตัวในเกณฑ์ดีของอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุน และการกลับมาขยายตัวอย่างช้า ๆ ของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจากภาระหนี้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคการเกษตร ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจการเงินโลกที่อยู่ในเกณฑ์สูงและมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.1 - 1.1 (ค่ากลางร้อยละ 0.6) และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลร้อยละ 1.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
3.4 นโยบายงบประมาณ วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
1) โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้
(1) รายจ่ายประจำ กำหนดไว้เป็น จำนวน 24,400 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายประจำตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 2,540,468.6 ล้านบาท จะทำให้มีรายจ่ายประจำ จำนวน 2,564,868.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 162,328.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71.2 ของวงเงินงบประมาณรวม ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 75.4
(2) รายจ่ายลงทุน กำหนดไว้เป็น จำนวน 97,600 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายลงทุนตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 710,080.5 ล้านบาท จะทำให้มีรายจ่ายลงทุน จำนวน 807,680.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 118,200.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.4 ของวงเงินงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 21.7
2) รายได้รัฐบาล จำนวน 10,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้รัฐบาลสุทธิ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ที่กำหนดไว้ จำนวน 2,787,000 ล้านบาท จะทำให้มีรายได้สุทธิทั้งสิ้น จำนวน 2,797,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 307,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
3) งบประมาณขาดดุล จำนวน 112,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับประมาณการขาดดุล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ที่กำหนดไว้ จำนวน 693,000 ล้านบาท จะมีการขาดดุลงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 805,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 110,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ทั้งนี้ วงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จำนวน 122,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 3,480,000 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 3,602,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 417,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.1 ซึ่งเท่ากับกรอบวงเงินตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 สำหรับงบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ มีสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
รายละเอียดโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ปรากฏตามตาราง ดังนี้
โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หน่วย : ล้านบาท
โครงสร้างงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ร.บ. เพิ่ม/ - ลด จากปี 2565 พ.ร.บ. งบเพิ่มเติม รวมงบประมาณ เพิ่ม/ - ลด จากปี 2566 จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 1. วงเงินงบประมาณรายจ่าย - สัดส่วนต่อ GDP 1.1 รายจ่ายประจำ
- สัดส่วนต่องบประมาณ
- สัดส่วนต่องบประมาณ
- สัดส่วนต่องบประมาณ
- สัดส่วนต่องบประมาณ 3,185,000.0 17.8 2,402,539.7 75.4 - - 689,479.9 21.7 100,000.0 3.1 85,000.0 29,530.2 -596.7 77,546.5 - 2.7 1.2 -100.0 12.7 - 3,480,000.0 18.8 2,540,468.6 73.0 118,361.1 3.4 710,080.5 20.4 118,320.0 3.4 122,000.0 0.7 24,400.0 20.0 - - 97,600.0 80.0 - - 3,602,000.0 19.5 2,564,868.6 71.2 118,361.1 3.3 807,680.5 22.4 118,320.0 3.3 417,000.0 162,328.9 118,361.1 118,200.6 18,320.0 13.1 6.8 100.0 17.1 18.3 2. รายได้ - สัดส่วนต่อ GDP 2,490,000.0 13.9 90,000.0 3.8 2,787,000.0 15.1 10,000.0 0.1 2,797,000.0 15.1 307,000.0 12.3 3. วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล - สัดส่วนต่อ GDP 695,000.0 3.9 - 5,000.0 -0.7 693,000.0 3.7 112,000.0 0.6 805,000.0 4.3 110,000.0 15.8 4. กรอบวงเงินกู้สูงสุดเพื่อชดเชยการขาดดุลตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะฯ 717,000.0 17,000.0 2.4 790,656.0 815,056.0 98,056.0 13.7 5. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 17,922,000.0 544,000.0 3.1 18,513,500.0 18,513,500.0 18,513,500.0 591,500.0 3.3 หมายเหตุ : 1. รายจ่ายลงทุน จำนวน 807,680.5 ล้านบาท รวมรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ที่เป็นรายจ่ายลงทุน กรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 7,230.2 ล้านบาท
2. โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นไปตามมติที่ประชุม 4 หน่วยงาน (สงป. กค. สศช. ธปท.) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567
3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ตามแถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2567
4. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถะสูง ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถะสูง ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
เรื่องเดิม
1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถนะสูงของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่า การศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Tack สำหรับบุคคลที่มีสมรรถนะสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เรียนการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และศึกษาแนวทางการเทียบประสบการณ์บุคคลที่มีสมรรถนะสูง เช่น กีฬา ดนตรี และศิลปะ สู่การศึกษาระบบ Fast Track เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ กศน. สำหรับบุคคลที่มีสมรรถนะสูงจึงได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1.1 ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถนะสูง เช่น การกำหนดคุณวุฒิการศึกษาตามระดับสมรรถนะ ควรจัดตั้งคณะทำงานจัดทำกรอบคุณวุฒิการศึกษาตามระดับสมรรถะ เพื่อทำหน้าที่เทียบสมรรถนะกับคุณวุฒิการศึกษาให้กับบุคคลที่มีสมรรถนะสูง รวมถึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีแพลตฟอร์มสำหรับผู้มีสมรรถะสูงและคนไทยทุกระดับให้เข้ารับการพัฒนาและเทียบระดับสมรรถนะ
1.2 ข้อเสนอเชิงนโยบายการเทียบระดับการศึกษา เช่น การจัดการเรียนการสอนควรทำในรูปแบบออนไลน์ (Online) เพื่อแก้ไขสภาพปัญหาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในขณะนั้น สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ศธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงแรงงาน (รง.) และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข้อเท็จจริง
ศธ. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภาและได้มีความเห็นเพิ่มเติมโดยสรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของกรรมาธิการฯ ผลการพิจารณา 1. ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถนะสูง
1.1 ควรมีหลักการในการจัดทำกรอบคุณวุฒิทางการศึกษาโดยกำหนดให้สมรรถนะเป็นผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Learning Outcomes)
1) คุณวุฒิทางการศึกษา ประกอบด้วย (1) คุณวุฒิทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) คุณวุฒิทางการศึกษาระดับการศึกษาอาชีวศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและ (3) คุณวุฒิทางการศึกษาระดับการอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2) มาตรฐานอาชีพ ประกอบด้วย (1) มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (2) มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ของกระทรวงแรงงาน (3) กรอบสมรรถนะอาเซียนด้านการท่องเที่ยว และ (4) มาตรฐานวิชาชีพขององค์กรวิชาชีพหรือมาตรฐานอาชีพของสถานประกอบการ - ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการที่สอดรับกับข้อเสนอนี้ กล่าวคือ
1) อว. ได้ออกประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการดำเนินงานคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และได้ออกประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และอยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาระบบคลังหน่วยกิตกลางในระดับอุดมศึกษา รวมถึงได้จัดทำแนวทางในการส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตระดับอุดมศึกษาเพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการศึกษาในรูปแบบดังกล่าว
2) รง. ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตร Re - Skill และ Up- skill ซึ่งนำไปสู่กลไกการขับเคลื่อนระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ของภาคแรงงาน และด้านการขับเคลื่อนงานตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework : NQF)
3) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มีแนวคิดจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐบาลในการยกระดับทักษะความรู้ความสามารถ กำลังคนของชาติให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการที่จะเน้นสมรรถนะในการทำงาน และได้กำหนดกรอบคุณวุฒิการศึกษา (Professional Qualification Framework) ให้รองรับสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมและเป็นกลไกเชื่อมโยงเทียบเคียงระบบคุณวุฒิการศึกษาในระดับประเทศและระดับสากล
4) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้จัดทำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (18 เมษายน 2560) เพื่อใช้เป็นกลไกในการเชื่อมโยงระบบการเรียนรู้ของภาคการศึกษาให้ยึดโยงกับมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ตลาดแรงงานยอมรับ อีกทั้งได้จัดทำแผนปฏิบัติด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562-2565 เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาความร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอันจะนำไปสู่การจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐนตรี (29 ธันวาคม 2563)
1.2 ควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีแพลตฟอร์มสำหรับผู้มีสมรรถนะสูงและคนไทยทุกระดับให้เข้ารับการพัฒนาและเทียบระดับสมรรถนะโดยมีการออกแบบเพื่อให้คนไทย Up - Skill และ Re - Skill ได้ทุกที่ทุกเวลา ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต - ข้อเสนอดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ศธ. โดยได้ทดลองนำร่องจัดตั้งธนาคารหน่วยกิตระดับจังหวัดใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อสร้างระบบการสะสมและการเทียบโอนหน่วยการเรียนทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบให้มีความยืดหยุ่นหลากหลายในช่วงวัยเรียน และวัยทำงานโดยจะมีการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อพร้อมรองรับได้อย่างสะดวก และง่ายต่อการดำเนินการ 2. ข้อเสนอเชิงนโยบายการเทียบระดับการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ (Online) เพื่อแก้ไขสภาพปัญหาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีสมรรถนะสูงสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้อย่างต่อเนื่องทุกที่ทุกเวลา การจัดการศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบันโดยเฉพาะในมิติของการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เป็นมิติสำคัญที่ทั่วโลกและประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะความยากลำบากในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ข้อเสนอในด้านการส่งเสริม และการขยายการเทียบโอนให้แก่ผู้เรียนที่มีสมรรถนะสูงที่พลาด และขาดโอกาสจากการเรียนในระบบการศึกษา ทั้งในมิติของระดับการศึกษาที่ควรขยายฐานไปถึงระดับอุดมศึกษาและมิติในเชิงปริมาณที่ควรมีกฎระเบียบที่ยืดหยุ่นหลากหลายเพื่อสามารถส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีช่องทางพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ที่มีสมรรถะสูงสามารถนำศักยภาพของตนเองไปใช้พัฒนาสังคม และประเทศชาติให้ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำปี 2566 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญ
กสศ. รายงานว่า ได้ดำเนินภารกิจโดยมุ่งเน้นการ ?ร่วมคิด ร่วมสร้าง และร่วมเป็นเจ้าของ? กับภาคีทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 25611 และแผนกลยุทธ์ของ กสศ. (ปี 2565-2567) โดยมีกลุ่มผู้รับประโยชน์สามารถเข้าถึงการศึกษาและ การเรียนรู้ที่มีคุณภาพและได้รับการพัฒนาทักษะตนเองตามศักยภาพ รวม 2,909,960 คน-ครั้ง มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ 2 ภารกิจสรุปได้ ดังนี้ 1. ภารกิจสนับสนุนให้เข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ เป็นการค้นหาแนวทางจัดการปัญหาความ เหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพื่อสนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชากรวัยแรงงานผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสได้เข้าถึงการศึกษาหรือการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่เหมาะสม สรุปได้ ดังนี้ กลุ่มผู้รับประโยชน์ การดำเนินงาน (1) เด็กปฐมวัยและเด็กในช่วงชั้น การศึกษาภาคบังคับ (อายุ 3-14 ปี) กสศ. ร่วมกับ 6 หน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษา ได้แก่ (1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (3) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.) (4) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (5) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และ (6) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการพัฒนาระบบหลักประกันความเสมอภาคทางการศึกษา (การจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขหรือทุนเสมอภาค) เพื่อสนับสนุนและช่วย เหลือให้เด็กและเยาวชนกลุ่มยากจนพิเศษสามารถเข้าถึงและคงอยู่ในระบบการศึกษา ทั้งนี้ ได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมเด็กและเยาวชนในระดับชั้นอนุบาลจนถึงการศึกษาภาคบังคับ (อนุบาล 1-มัธยมศึกษาปีที่ 3) ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส โดยจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียน จำนวน 2,839,253 คน-ครั้ง ทั้งนี้ ในภาคเรียนที่ 2/2565 พบว่า เด็กร้อยละ 95.95 ยังคงอยู่ในระบบการศึกษา นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนำร่องใน 28 เขตพื้นที่การศึกษา (2) เยาวชนในระบบการศึกษาระดับชั้นสูงกว่าภาคบังคับ (อายุ 15-24 ปี) มีการช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนกลุ่มเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสให้ได้ศึกษาต่อในระดับสูงกว่าการศึกษาภาคบังคับและส่งเสริมการมีงานทำเมื่อสำเร็จการศึกษาโดยเป็นการให้ทุนการศึกษา 3 ประเภท ได้แก่ (1) ทุนนวัตกรรมสายอาชีพขั้นสูง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนที่เรียนดีมีฝีมือได้ศึกษาต่อและมีงานทำทันทีหลังสำเร็จการศึกษา (2) ทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพหรือทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนที่เรียนดีระดับประเทศได้ศึกษาต่อในสาขาวิชาชีพที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (3) ทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น ระดับปริญญาตรี เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน โดยมีผู้ได้รับทุนสะสมรวมทั้ง 3 ประเภท 9,991 คน นอกจากนี้ มีการพัฒนาต้นแบบสถาบันอาชีวศึกษา 105 แห่ง ใน 50 จังหวัด การเตรียมความพร้อมโรงเรียนปลายทางที่บัณฑิตครูรัก(ษ์)ถิ่นจะไปบรรจุเป็นครู 1,269 แห่ง ในพื้นที่ 62 จังหวัด และการพัฒนาต้นแบบสถาบันผลิตและพัฒนาครู 19 แห่ง ให้ตรงตามความต้องการของบริบทพื้นที่ (3) เยาวชนนอกระบบการศึกษาและประชากรวัยแรงงานผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส (อายุ 15-64 ปี) มีการยกระดับทักษะให้แก่กลุ่มเยาวชนนอกระบบการศึกษาและแรงงานนอกระบบ และมีการขยายผลการดำเนินงานโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้ขยายการเรียนรู้สำหรับเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไปยังศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน จำนวน 21 แห่ง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขยายความร่วมมือระดับท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบดูแลเยาวชนนอกระบบการศึกษา กรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการได้พัฒนารูปแบบการสร้างทักษะการเรียนรู้สำหรับกลุ่มคนพิการ
2. ภารกิจมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง เป็นการพัฒนาตัวแบบหรือต้นแบบในการพัฒนาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ รวมทั้งรูปแบบกลไกการทำงานในระดับพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สรุปได้ ดังนี้
แนวทางการพัฒนา การดำเนินงาน (1) การพัฒนาครู โรงเรียน และสถานศึกษา มีการดำเนินโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองและการขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง โดยได้พัฒนาครู นักจัดการเรียนรู้และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 19,050 คน จากโรงเรียน 1,270 แห่ง และมีนักเรียนในโรงเรียนได้รับประโยชน์ 127,000 คน นอกจากนี้ ได้ขยายผลการดำเนินงานโดยภาคีเครือข่ายและหน่วยงานต้นสังกัด ส่งผลให้มีเขตพื้นที่ต้นแบบทางการศึกษาจำนวน 21 เขต และต้นแบบโรงเรียนพัฒนาตนเองใน 10 จังหวัด อีกทั้งได้พัฒนาสมรรถนะครู 685 คน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนร่วมกับ บช.ตชด. เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ (2) การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ มีการพัฒนาตัวแบบการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพื่อให้การจัดการศึกษามีความสอดคล้องกับปัญหาและบริบทของพื้นที่ ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ดำเนินการมาแล้ว 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น สุรินทร์ ระยอง สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และปัตตานี และเพิ่มเติมอีก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย นครพนม และยะลา รวมทั้งได้พัฒนาตัวแบบระดับเทศบาล 5 แห่ง ได้แก่ (1) เทศบาลนครยะลา (2) เทศบาลนครตรัง (3) เทศบาลนครอุดรธานี (4) เทศบาลเมืองลำพูน และ (5) กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ (3) การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา มีการจัดทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จำนวน 22 ชิ้นงาน เพื่อตอบโจทย์เชิงนโยบายที่สำคัญของประเทศและมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบรวมถึงข้อเสนอเชิงนโยบาย เช่น (1) การฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียนจากภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (2) ?ห้องเรียนผู้ประกอบการ? นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตทักษะอาชีพร่วมกันระหว่างเครือข่ายโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนนานาชาติ (3) ข้อเสนอแนวทางการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการด้านการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาความไม่เสมอภาคของการจัดสรรทรัพยากรไปยังโรงเรียนที่มีบริบทแตกต่างกัน (4) การเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. ได้ส่งต่อข้อมูลผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้ได้รับโอกาสในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา รวมทั้งร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสถาบันอุดมศึกษาสนับสนุนทุนการศึกษาหรือการช่วยเหลือ อื่น ๆ แก่นักศึกษา จำนวน 1,780 คน และร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติออกแบบและพัฒนาระบบแจ้งเตือนเหตุทางสังคม ESS Help Me (Emergency Social Services) เพื่อส่งต่อข้อมูลและความช่วยเหลือแก่เด็กและเยาวชนด้อยโอกาสที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด
3. รายงานผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน2 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบแล้ว3 เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท
รายการ ปี 2566 ปี 2565 เพิ่ม/(ลด) (1) งบแสดงฐานะทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 รวมสินทรัพย์ 2,810.35 2,983.25 (172.90) รวมหนี้สิน 114.74 128.94 (14.20) รวมสินทรัพย์สุทธิ/ ส่วนทุน 2,695.60 2,854.31 (158.71) (2) งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 รวมรายได้ 6,178.48 5,906.70 271.78 รวมรายจ่าย 6,337.92 5,969.44 368.48 รายได้สูง/(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (159.44) (62.74) (96.70)
1พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา มาตรา 5 บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า ?กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา? มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายให้แก่เด็กและเยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสและผู้ด้อยโอกาสจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาหรือพัฒนาเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ เป็นต้น 2เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง 3กสศ. แจ้งว่า ได้ส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของ กสศ. ให้ สตง. ตรวจสอบเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 และ สตง. ได้แจ้งผลการตรวจสอบไปยัง กสศ. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 6. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2567 (ครบ 6 เดือน) คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2567 (ครบ 6 เดือน) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ สาระสำคัญและข้อเท็จจริง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2567 (ครบ 6 เดือน) เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมสะท้อนความคิดเห็นต่อการดำเนินงานที่ผ่านมาของรัฐบาล ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการบริหารประเทศ และความต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเร่งด่วน เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ใช้ในการติดตาม ประเมินผล และวางแผนกำหนดนโยบายให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาขน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติไปสัมภาษณ์ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ครัวเรือนละ 1 ราย จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 6,970 ราย ระหว่างวันที่ 22 เมษายน - 15 พฤษภาคม 2567 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. ประชาชนร้อยละ 83.9 ติดตาม/รับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล โดยระบุแหล่งข้อมูลที่ติดตามรับรู้มากที่สุด คือ โทรทัศน์ (ร้อยละ 69.6) รองลงมาได้แก่ เฟสบุ๊ค (ร้อยละ 46.2) เว็บไซต์ (ร้อยละ 23.8) ญาติ/คนรู้จัก (ร้อยละ 16.0) ไลน์ (ร้อยละ 15.5) เป็นต้น ขณะที่ร้อยละ 16.1 ไม่ติดตาม/ไม่รับรู้ ในจำนวนนี้ให้เหตุผล คือ ไม่สนใจ ไม่มีเวลาว่าง เป็นต้น เมื่อพิจารณากลุ่มอายุและระดับการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีอายุมากจะติดตาม/รับรู้ข่าวสารของรัฐบาลจากโทรทัศน์ ขณะที่ผู้ที่มีอายุน้อยจะติดตาม/รับรู้ข่าวสารของรัฐบาลจากสื่อออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก เว็บไซต์ เป็นต้น ส่วนผู้ที่มีการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปจะติดตาม/รับรู้ข่าวสารของรัฐบาลจากสื่อออนไลน์เช่นเดียวกัน 2. ประชาชนร้อยละ 44.3 มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลในระดับมาก - มากที่สุด (มากที่สุดร้อยละ 5.6 และมากร้อยละ 38.7) ปานกลางร้อยละ 39.6 และน้อย - น้อยที่สุดร้อยละ 14.1 (น้อยร้อยละ 11.1 และน้อยที่สุดร้อยละ 3.0) ขณะที่ร้อยละ 2.0 ไม่พึงพอใจเลย เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ประชาชนในภาคใต้ชายแดนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลในระดับมาก - มากที่สุด ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น สำหรับผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลในระดับมาก - มากที่สุด ในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปเช่นเดียวกับผู้มีรายได้น้อยมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลในระดับมาก - มากที่สุด ในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีรายได้มาก 3. นโยบาย/มาตรการ/โครงการของรัฐบาลที่ประชาชนมีความพึงพอใจมาก - มากที่สุดใน 5 อันดับแรก ได้แก่ นโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ (ร้อยละ 68.4) มาตรการพักหนี้เกษตรกร (ร้อยละ 38.9) มาตรการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว (ร้อยละ 33.1) มาตรการลดค่าไฟ (ร้อยละ 32.8) และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบ (ร้อยละ 29.3) เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนในทุกภาคมีความพึงพอใจในระดับมาก - มากที่สุดต่อนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ในสัดส่วนที่สูงกว่านโยบาย/มาตรการ/โครงการอื่น 4. ประชาชนร้อยละ 41.9 มีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาของประเทศในระดับมาก - มากที่สุด (มากที่สุดร้อยละ 5.2 และมากร้อยละ 36.7) ร้อยละ 39.6 ปานกลาง ขณะที่ร้อยละ 15.8 มีความเชื่อมั่นในระดับน้อย - น้อยที่สุด (น้อยร้อยละ 12.4 และน้อยที่สุดร้อยละ 3.4) ขณะที่อีกร้อยละ 2.7 ไม่เชื่อมั่นเลย เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ประชาชนในภาคใต้ชายแดนมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาของประเทศในระดับมาก - มากที่สุด ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น สำหรับผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาของประเทศในระดับมาก - มากที่สุด ในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปเช่นเดียวกับผู้มีรายได้น้อยมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาของประเทศในระดับมาก - มากที่สุด ในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีรายได้มาก 5. เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเร่งด่วน 5 อันดับแรก ได้แก่ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค - บริโภค (ร้อยละ 75.3) ลดค่าไฟฟ้า (ร้อยละ 46.6) แก้ปัญหาน้ำมันราคาแพง (ร้อยละ 29.5) แก้ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 26.3) และแก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ (ร้อยละ 16.9) เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนในทุกภาคต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเร่งด่วนในเรื่องการควบคุมราคาสินค้าอุปโภค - บริโภค ในสัดส่วนที่สูงกว่าเรื่องอื่น 7. เรื่อง การขอใช้งบประมาณคงเหลือจากการจ่ายค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย สำหรับงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) จำนวน 7 รายการ โดยใช้งบประมาณจำนวน 82.58 ล้านบาท จากวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 (เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาราษฎร 5 หมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ร้องเรียนขออพยพ) จำนวน 2,970.50 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย อพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน จำนวน 2,138.00 ล้านบาท และ (2) ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร จำนวน 832.50 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คาดว่าจะมีค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย เกิดขึ้นจริง จำนวน 1,719.04 ล้านบาท (ซึ่งครอบคลุมเพียงพอกับการจ่ายค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้ว) และมีงบประมาณคงเหลือ จำนวน 418.96 ล้านบาท 2. กรณีในอนาคตหากงบประมาณการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน ไม่เพียงพอ เห็นควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสามารถพิจารณาอนุมัติการใช้งบประมาณคงเหลือจากงบประมาณค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย ดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) เป็นรายกรณีตามความจำเป็น โดยไม่กระทบต่องบประมาณที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 สาระสำคัญของเรื่อง พน. รายงานว่า 1. พน. ได้รายงานผลการดำเนินงานในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎรตามมติคณะรัฐมนตรี (15 ตุลาคม 2556 และ 30 เมษายน 2562) ลำดับ รายการ ผลการดำเนินงาน 1 งานสำรวจตรวจสอบที่ดินและทรัพย์สิน ดำเนินการแล้วเสร็จ แปลงที่ 1 (บ้านเมาะหลวง) พื้นที่รองรับการอพยพราษฎรบ้านห้วยคิง - กฟผ. อยู่ระหว่างรอเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ ภายหลังจากจ่ายค่าชดเชย เยียวยาให้แก่ราษฎรจำนวน 63 ราย แล้ว แปลงที่ 2 และแปลงที่ 3 (บ้านท่าสี) พื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 4 หมู่บ้าน ของตำบลบ้านดง ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคแล้วเสร็จ ร้อยละ 96 ได้แก่ (1) งานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ: งานชดเชยต้นสัก งานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำ งานปรับพื้นที่ งานก่อสร้างถนนและสะพาน ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน งานก่อสร้างโรงเรียน ตลาด อาคารอเนกประสงค์ วัดบ้านดง วัดหัวฝาย และฌาปนสถาน (2 แห่ง) (2) งานที่ยังไม่แล้วเสร็จ: งานปรับปรุงภูมิทัศน์และงานปรับพื้นที่แปลงที่อยู่อาศัย 2 งานอนุมัติบัญชีประเมินราคาที่ดินและทรัพย์สิน อยู่ระหว่างดำเนินการ ดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สินงานอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน แล้ว จำนวน 849 ราย 1,817 แปลง หรือคิดเป็นร้อยละ 98.84 รวมเป็นเงิน 929.18 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566) 3 การจัดราษฎรเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่จัดสรร อยู่ระหว่างดำเนินการ - ดำเนินการส่งมอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการช่วยเหลือให้รับที่จัดสรรการอพยพราษฎรให้แก่ราษฎรใน 4 หมู่บ้าน ของตำบลบ้านดงแล้ว จำนวน 816 ราย/แปลง - ราษฎรกลุ่มดังกล่าวได้เข้าไปก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแปลงจัดสรรแล้วจำนวน 654 แปลง จากจำนวนแปลงทั้งสิ้น 816 แปลง หรือคิดเป็นร้อยละ 80.14 (ข้อมูล ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2566) 2. ภายหลังจากการดำเนินการข้างต้น (ตามข้อ 1.) พบว่ายังคงมีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค (เพิ่มเติม) จำนวน 7 รายการ และจะต้องใช้งบประมาณรองรับการดำเนินการทั้งสิ้น 82.58 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ลำดับ รายการ งบประมาณ (ล้านบาท) เหตุผลความจำเป็น 1 งานก่อสร้างโรงเรียนวัดหัวฝาย (เพิ่มเติม) เนื่องจากรูปแบบไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนด 27.87 ปัจจุบันการก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนวัดหัวฝายได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น 31.1 ล้านบาท แต่โดยที่รูปแบบการก่อสร้างโรงเรียนไม่เป็นไปตามมาตรฐานตามที่ สพฐ. กำหนดโดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้าภายใน ระบบประปาภายใน ระบบอินเทอร์เน็ต รางระบายน้ำ อาคารเรียน บ้านพักครู สนามฟุตบอล สนามเด็กเล่น ถังน้ำ รั้วมาตรฐาน ถนนภายใน และโรงจอดรถ จึงจำเป็นต้องของบประมาณก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคดังกล่าวเพิ่มเติม 2 การขยายเขตระบบไฟฟ้าเป็น 2 ข้างทาง [การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)] 7.00 กฟภ. ออกแบบก่อสร้างระบบจำหน่ายตามแนวถนนฝั่งเดียวตามแบบการก่อสร้างถนนกว้างไม่เกิน 12 เมตร แต่การก่อสร้างจริงถนนกว้างเกิน 12 เมตร ซึ่งตามระเบียบของ กฟภ. ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับมิเตอร์ พ.ศ. 2562 กำหนดว่า หากความกว้างของเขตทางมากกว่า 12 เมตร ต้องก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าทั้งสองฝั่งถนน เนื่องจาก การติดตั้งมิเตอร์จะสามารถติดตั้งได้โดยไม่มีการพาดสายข้ามถนนสาธารณะ จึงจำเป็นต้องของบประมาณเพิ่มเติม 3 งานก่อสร้างฌาปนสถานหมูที่ 7 10.00 ตามแผนงานงบประมาณการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน ระบุงบประมาณก่อสร้างสาธารณประโยชน์สำหรับ 4 หมู่บ้าน ไว้จำนวน 20 ล้านบาท โดยระบุงานก่อสร้างฌาปนสถานไว้เพียง 2 แห่ง (แห่งที่ 1 บ้านดงใช้ประโยชน์ และแห่งที่ 2 บ้านหัวฝายและบ้านหัวฝายหล่ายทุ่งใช้ประโยชน์ร่วมกัน) แต่ยังขาดฌาปนสถานบ้านสวนป่าแม่เมาะอีก 1 แห่ง จึงจำเป็นต้องของบประมาณก่อสร้างเพิ่มเติม ทั้งนี้ ในส่วนของบ้านห้วยคิงมีฌาปนสถานรองรับอยู่แล้ว 4 งานปรับปรุงลานคอนกรีตโรงจอดรถ และสาธารณูปโภค ห้องน้ำ ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณตลาดกลาง และอื่น ๆ 8.91 ตามแผนงานงบประมาณการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน ระบุงบประมาณไว้เฉพาะก่อสร้างอาคารตลาดเท่านั้นไม่รวมถนนคอนกรีตลานจอดรถและสาธารณูปโภคอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องของบประมาณเพิ่มเติม 5 งานก่อสร้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) แห่งใหม่ (ทดแทนของเดิม) งานปรับปรุงภูมิทัศน์ งานจัดสร้างบ่อน้ำพุและระบบไฟฟ้า 15.81 รพ.สต. เดิมตั้งอยู่บริเวณบ้านท่าสี ซึ่งสภาพพื้นที่มีความลาดเอียงและคับแคบ ไม่สะดวกแก่ผู้ใช้บริการ (ปัจจุบันใช้เป็นที่เก็บของ) จึงจำเป็นต้องย้ายมาอยู่ในพื้นที่แห่งใหม่ และต้องขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม 6 โรงจอดรถดับเพลิง 4 คัน พร้อมอาคารสำนักงาน (ทดแทนของเดิม) 2.50 โรงจอดรถเดิม (เป็นที่จอดรถกระเช้าและจอดรถขยะ) ตั้งอยู่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ราษฎรจึงมีความจำเป็นต้องย้ายมาอยู่ในพื้นที่ใกล้ชุมชนใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำและต้องขอรับจัดสรรงบประมาณก่อสร้างเพิ่มเติม 7 งานจัดหาปริมาณน้ำใช้เพิ่มเติม สำหรับพื้นที่รองรับการอพยพบ้านห้วยคิง (สามารถดำเนินการได้หลังแก้ไขปัญหาราษฎร 63 ราย แล้วเสร็จ) 10.50 ปริมาณน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคในบางปีมีจำนวนไม่เพียงพอ และหากมีการอพยพราษฎรบ้านห้วยคิงเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มเติมก็จะต้องหาน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคให้แก่ราษฎรเพิ่มมากขึ้นและต้องของบประมาณก่อสร้างเพิ่มเติม รวมงบประมาณทั้งสิ้น 82.58 ทั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน [หัวหน้าผู้ตรวจราชการ พน. (นายเพทาย หมุดธรรม) เป็นประธาน] ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบรายละเอียดการก่อสร้างพร้อมประมาณการราคาตามตารางข้างต้นแล้ว 3. โดยที่ กฟผ. จะต้องมีการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคเพิ่มเติม (ตามข้อ 2.) ดังนั้น กฟผ. จึงได้มีการจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายที่ กฟผ. จะต้องใช้ในการแก้ไขปัญหาอพยพราษฎรทั้ง 5 หมู่บ้าน เพื่อนำเงินคงเหลือมาใช้สำหรับการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท รายการค่าใช้จ่าย งบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรี (15 ตุลาคม 2556) ประมาณการค่าใช้จ่าย คงเหลือ (1) ค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย อพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน จำนวน 2,138.00 ล้านบาท จำแนกเป็น 1) ค่าชดเชยที่ดินและทรัพย์สินราษฎร 5 หมู่บ้าน จำนวน 1,323 ราย [เนื่องจากภายหลังที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 ตุลาคม 2556) มีราษฎรยกเลิกอพยพ/ไม่ยื่น สร.1 (คำขอให้สำรวจที่ดิน และทรัพย์สิน) /ยื่นซ้ำ จำนวน 135 ราย] 2,138.00 1,547.82 - 2) งบประมาณจ่ายค่าทดแทนราษฎรผู้ที่ผ่านอุทธรณ์ตามประกาศเรื่องการตรวจสอบร่องรอยการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิของกรมป่าไม้ 3 กลุ่ม จำนวน 13 ราย (กลุ่มที่ 1: เข้าทำประโยชน์ร้อยละ 100 ไม่มีผู้อุทธรณ์ กลุ่มที่ 2: ทำประโยชน์บางส่วน จำนวน 8 ราย กลุ่มที่ 3: ไม่ทำประโยชน์ร้อยละ 100 จำนวน 5 ราย) [เป็นการเรียกร้องเพิ่มเติมจากที่ได้รับตามข้อ 1) ข้างต้น] 21.22 - 3) งบประมาณสำหรับราษฎรที่ไม่ยื่นแบบฟอร์ม สร. 1 จำนวน 51 ราย 74.20 - 4) ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน 3.00 - 5) ค่าชดเชยเยียวยาฯ ราษฎร จำนวน 63 ราย (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562) 72.80 - รวม 2,138.00 1,719.04 418.96 (2) ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่จัดสรรสำหรับระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎรและพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ จำนวน 832.50 ล้านบาท จำแนกเป็น 1) ค่าก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค 526.50 526.50 0.00 2) ค่าชดเชยต้นสัก 306.00 305.70 0.30 รวม 832.50 832.20 0.30 รวมทั้งสิ้น 2,970.50 2,551.24 419.26 จากตารางข้างต้นพบว่า งบประมาณค่าก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและค่าชดเชยต้นสัก คงเหลือเพียง 0.30 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค (เพิ่มเติม) จำนวน 7 รายการ (ตามข้อ 2.) ที่ต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 82.58 ล้านบาท ดังนั้น พน. (กฟผ.) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอใช้งบประมาณคงเหลือจากการจ่ายค่ารื้อย้าย/ค่าชดเชย จำนวน 418.96 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้สำหรับงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค (เพิ่มเติม) จำนวน 7 รายการ 4. พน. แจ้งว่า การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน (เพิ่มเติม) จำนวน 7 รายการ จะส่งผลให้ราษฎรในพื้นที่เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคและมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลให้การดำเนินงานของโรงไฟฟ้า กฟผ. แม่เมาะ ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้าปริมาณ 19,000 ล้านหน่วยต่อปี (ประมาณร้อยละ 10 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ) และเป็นโรงไฟฟ้าหลักเพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานของรัฐ ซึ่งใช้ถ่านหินลิกไนต์ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงราคาต่ำในการผลิตไฟฟ้าสามารถดำเนินการผลิตไฟฟ้าได้อย่างเป็นปกติ โดยไม่เกิดปัญหาการชุมนุมประท้วงของกลุ่มราษฎรผู้อพยพ 8. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการมอบหมายหน่วยงานให้ปฏิบัติหน้าที่หน่วยประสานงานหลัก (National Designated Authority : NDA) ของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอดังนี้ มติคณะรัฐมนตรี จากเดิม เปลี่ยนเป็น 10 มีนาคม 2558 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง (National Focal Point) ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหน่วยประสานงานหลัก (National Designated Authority : NDA) ของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF1) กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง (National Focal Point) ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหน่วยประสานงานหลัก (NDA) ของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GCF) 13 มิถุนายน 2560 มอบหมายให้ สผ. เป็นผู้จัดทำกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจน รูปแบบวิธีการอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องกำหนดหรือบัญญัติขึ้นภายในประเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเป็นผู้พิจารณาโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่ต้องการขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุน GCF ให้ถูกต้องตามระเบียบราชการต่อไป มอบหมายกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้จัดทำกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนรูปแบบวิธีการอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องกำหนดหรือบัญญัติขึ้นภายในประเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเป็นผู้พิจารณาโครงการ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่ต้องการขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุน GCF ให้ถูกต้องตามระเบียบราชการต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ทส. รายงานว่า 1. ทส. โดย สผ. ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง (National Focal Point) ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยรวมถึงการปฏิบัติหน้าที่หน่วยประสานงานหลักของกองทุน GCF ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญในการสนับสนุนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศกำลังพัฒนา 2. สผ. ได้จัดทำกรอบการพิจารณาขอรับการสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ พ.ศ. 2560 (Thailand Country Programme 2017) และได้พัฒนาขั้นตอนการพิจารณาข้อเสนอโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุน GCF พ.ศ. 2560 (No-Objection Procedures for Green Climate Fund Climate Change Projects in Thailand 2017) เพื่อคัดกรองข้อเสนอโครงการและแผนงานที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน GCF 3. เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 (มีสาระสำคัญเป็นการเปลี่ยนชื่อกรมและย้ายภารกิจของ สผ. บางส่วนไปยังกรมดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ หน้าที่ และอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างทบทวนกรอบการพิจารณาขอรับการสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย พ.ศ. 2560 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution : NDC) จึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่หน่วยประสานงานหลักของ GCF จากเดิม สผ. เป็น กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม 4. คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในขณะนั้น เป็นประธาน] ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 มีมติเห็นชอบในหลักการให้เปลี่ยนแปลงหน่วยประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย จาก สผ. เป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และมอบหมายให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไป 1 กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GCF) เป็นกองทุนภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญา UNFCCC สมัยที่ 16 (COP16) เพื่อเป็นกลไกทางการเงินในการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาให้สนองตอบความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 9. เรื่อง รายงานผลการวิเคราะห์ดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี พ.ศ. 2566 (Corruption Perceptions Index: CPI 2023) และรายงานผลการขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี พ.ศ. 2566 (Corruption Perceptions Index: CPI 2023) และรายงานผลการขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอ สาระสำคัญ สำนักงาน ป.ป.ท. รายงานว่าคะแนนดัชนีการรับการทุจริต (CPI) มีความสำคัญต่อภาพลักษณ์การทุจริตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำนักงาน ป.ป.ท. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อยกระดับค่าคะแนน CPI จึงขอเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคะแนน CPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของประเทศไทย สรุปได้ ดังนี้ 1. รายงานผลการวิเคราะห์ค่าคะแนน CPI ประจำปี พ.ศ. 2566 (CPI 2023) 1.1 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ได้ประกาศผลคะแนน CPI 2023 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมการประเมินทั้งหมด 180 ประเทศ พบว่า 2 ใน 3 ของประเทศที่ได้รับการประเมินมีระดับคะแนนที่ต่ำกว่า 50 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 43 คะแนน มีประเทศที่ได้รับคะแนนสูงที่สุดใน 10 อันดับแรก คือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (90 คะแนน) สาธารณรัฐฟินแลนด์ (87 คะแนน) ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ (85 คะแนน) ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (84 คะแนน) สาธารณรัฐสิงคโปร์ (83 คะแนน) ราชอาณาจักรสวีเดนและสมาพันธรัฐสวิส (82 คะแนน) ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (79 คะแนน) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (78 คะแนน) และราชรัฐลักเซมเบิร์ก (78 คะแนน) สำหรับประเทศที่ได้รับคะแนนน้อยที่สุด คือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (13 คะแนน) สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (13 คะแนน) สาธารณรัฐโบลีวาร์แห่งเวเนซุเอลา (13 คะแนน) และสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย (11 คะแนน) 1.2 ไทยได้คะแนน CPI 35 คะแนน1 อยู่ในอันดับที่ 108 และอยู่ในอันดับที่ 4 ของอาเซียน รองจากสาธารณรัฐสิงคโปร์ (83 คะแนน) สหพันธรัฐมาเลเซีย (50 คะแนน) และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (41 คะแนน) ในภาพรวมคะแนนของไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีคะแนนลดลง ซึ่งมีจำนวน 63 ประเทศ ขณะที่ประเทศที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นมี 55 ประเทศ และมีประเทศที่คะแนนเท่าเดิม 62 ประเทศ สะท้อนว่า การประเมิน CPI ของไทยในสายตานานาชาติ ในปี 2566 ลดลงจากปี 2565 1.3 คะแนน CPI ของประเทศในอาเซียน ประเทศที่มีคะแนนลดลง ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (ลดลง 1 คะแนน) ไทย (ลดลง 1 คะแนน) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลดลง 1 คะแนน) ราชอาณาจักรกัมพูชา (ลดลง 3 คะแนน) และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ลดลง 3 คะแนน) ซึ่งสะท้อนถึงระดับความโปร่งใสที่ลดลงของกลุ่มประเทศเหล่านี้ ขณะที่ประเทศที่มีคะแนนเพิ่มสูงขึ้น 2 ประเทศ ได้แก่ สหพันธรัฐมาเลเซีย (เพิ่มขึ้น 3 คะแนน) และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (เพิ่มขึ้น 1 คะแนน) 1.4 สาเหตุสำคัญของคะแนน CPI ที่มีการเปลี่ยนแปลงในปี 2566 (1) คะแนนเพิ่มขึ้นในแหล่งการประเมิน 1 แหล่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นประสิทธิภาพการต่อต้านการทุจริต คือ PERC2 โดยไทยได้ 37 คะแนน (เพิ่มขึ้น 2 คะแนน จากปี 2565 ที่ได้ 35 คะแนน) สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพิ่มมากขึ้น (2) คะแนนลดลงในแหล่งการประเมิน 3 แหล่ง คือ WEF3 โดยไทยได้ 36 คะแนน (ลดลง 9 คะแนน จากปี 2565 ที่ได้ 45 คะแนน) BF (TI)4 ไทยได้ 33 คะแนน (ลดลง 4 คะแนน จากปี 2565 ที่ได้ 37 คะแนน) และ WJP5 ไทยได้ 33 คะแนน (ลดลง 1 คะแนน จากปี 2565 ที่ได้ 34 คะแนน) สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา อาจจะมีประเด็นสำคัญที่เป็นที่น่าสนใจของสังคม ในเรื่องการใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง ดังนั้น จึงควรมีการเร่งรัดกระบวนการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินการในประเด็นสำคัญให้สาธารณชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม 1.5 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติได้มีข้อเสนอแนะสำคัญ 6 ประเด็น ได้แก่ (1) เสริมสร้างความเป็นอิสระของกระบวนการยุติธรรม การป้องกันกระบวนการยุติธรรมจากการแทรกแซงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิบัติงานของกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมการแต่งตั้งโดยยึดหลักคุณธรรมมากกว่าเรื่องทางการเมืองและสร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมว่ามีบุคลากรที่มีคุณสมบัติและมีทรัพยากรที่เหมาะสม (2) มุ่งเสนอกลไกด้านความโปร่งใสและการตรวจสอบติดตาม โดยสร้างความเชื่อมั่นว่าเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษเพื่อให้มีการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกแทรกแซง อาจทำได้โดยการร้องเรียนและแจ้งเบาะแส การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและผลประโยชน์อื่นใดของผู้พิพากษา อัยการ และเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และทำให้มั่นใจว่าเงินเดือนที่ได้รับของเจ้าหน้าที่มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ (3) ปรับปรุงและพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนแรกที่จะป้องกันการได้รับการยกเว้นโทษอย่างไม่เป็นธรรมและการทุจริต จะต้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม โดยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว การทำให้ขั้นตอนง่ายและไม่ซับซ้อน ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงขั้นตอนและกระบวนการทางกฎหมายได้ ขยายความการเป็นผู้เสียหายจากการทุจริตให้หมายรวมถึงผู้เสียหายที่ไม่ใช่รัฐ และมอบอำนาจให้องค์กรภาคประชาสังคมริเริ่มและเปิดเผยคดีการทุจริตไม่ว่าจะเป็นคดีทุจริตทางอาญา แพ่งหรือกระบวนการทางปกครอง รวมไปถึงให้องค์กรภาคประชาสังคมเหล่านี้เป็นผู้รักษาผลประโยชน์แทนผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการทุจริต (4) เพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการยุติธรรม กระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใสจะสามารถสร้างความเชื่อมมั่นในระบบการทำงานของกระบวนการยุติธรรม และทำให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีความรับผิดชอบมากขึ้น การรับรองข้อมูลด้านการตัดสินคดีความต่าง ๆ การยุติข้อพิพาทนอกศาล การบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการด้านกฎหมายและกฎระเบียบด้านการบริหาร ให้เป็นที่เปิดเผยและให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและช่วยกลั่นกรองได้ การกระทำเช่นนี้จะช่วยลดอัตราการทุจริตและเสริมสร้างความเชื่อมั่นว่าการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการทุจริตเป็นไปอย่างถูกต้อง (5) ส่งเสริมความร่วมมือภายในกระบวนการยุติธรรม กระบวนการยุติธรรมหลักมีความซับซ้อน แต่การบริหารจัดการให้องค์ประกอบต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นสิ่งสำคัญ การกำหนดความรับผิดชอบที่ชัดเจนและเสริมกันถือเป็นสิ่งสำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ เนื่องจากมีการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกอย่างแพร่หลายในบางภูมิภาค การไตร่ตรองถึงการทำงานร่วมกันระหว่างกระบวนการยุติธรรมหลักและกระบวนการยุติธรรมทางเลือกเพราะอาจเป็นประโยชน์เช่นกัน (6) ขยายช่องทางการรับผิดในคดีความการทุจริตระหว่างประเทศ เมื่อมีการทุจริตข้ามชาติเกิดขึ้นในประเทศที่กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถหรือไม่ยินยอมที่จะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด สถาบันยุติธรรมในพื้นที่ปกครองโดยเขตอำนาจศาลต่างประเทศ ซึ่งมีหลักนิติธรรมที่แข็งแกร่งกว่าสามารถมีบทบาทสำคัญในการจัดการกรณีที่มีการยกเว้นโทษการกระทำทุจริตข้ามชาติ โดยมีการบังคับใช้มาตรการสำคัญ เช่น เขตอำนาจศาลเพิ่มเติมการคุ้มครองเบื้องต้นให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างชาติ ยืนหยัดที่จะสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาสังคมดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ติดตามการดำเนินคดีต่าง ๆ และเป็นตัวแทนของผู้ที่ได้รับความเสียหาย ให้คำจัดกัดความของความเสียหายในกระบวนการยุติธรรมที่ครอบคลุมความเสียหายอย่างรอบด้านและจำนวนผู้เสียหายที่ครบถ้วนมากขึ้น 2. รายงานผลการขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนน CPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2.1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงาน ป.ป.ท. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ศึกษาวิเคราะห์และกำหนดมาตรการเพื่อมุ่งยกระดับค่าคะแนน CPI ผ่านกลไกคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต6 (คณะอนุกรรมการฯ) ภายใต้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจรติแห่งชาติ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับค่าคะแนน CPI ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ผ่าน 4 แผนงาน 13 แนวทาง 36 มาตรการ ได้แก่ (1) แผนงานที่ 1 การป้องกันการติดสินบน 3 แนวทาง 16 มาตรการ (2) แผนงานที่ 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ 4 แนวทาง 5 มาตรการ (3) แผนงานที่ 3 การใช้งบประมาณและทรัพยากรภาครัฐอย่างคุ้มค่า 3 แนวทาง 11 มาตรการ และ (4) แผนงานที่ 4 ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการทุจริต 3 แนวทาง 4 มาตรการ และจัดทำร่างแผนปฏิบัติการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) เพื่อเป็นกรอบแผนการดำเนินการระยะยาวในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับค่าคะแนน CPI ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา (ตามขั้นตอนการจัดทำแผนระดับที่ 3) ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป 2.2 คณะอนุกรรมการฯ ได้กำหนดกรอบการขับเคลื่อนร่างแผนปฏิบัติการฯ โดยถ่ายทอดเป็นแผนการดำเนินงานรายปี และในแต่ละปีงบประมาณได้กำหนดประเด็นสำคัญเร่งด่วน (Quick Win) ที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายในระยะเวลาอันสั้น โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีผลการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้ (1) สำนักงาน ป.ป.ท. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนน CPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผ่าน 4 แผนงาน ประกอบด้วย 95 กิจกรรม/โครงการ โดยดำเนินการแล้วเสร็จ 92 กิจกรรม/โครงการ ดังนี้ 1) แผนงานที่ 1 การป้องกันการติดสินบน ดำเนินกิจกรรม/โครงการแล้วเสร็จ 44 กิจกรรม/โครงการ (จากทั้งหมด 47 กิจกรรม/โครงการ)7 เช่น โครงการขับเคลื่อนการประเมินความเสี่ยงการทุจริตภาครัฐ 2) แผนงานที่ 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ดำเนินกิจกรรม/โครงการแล้วเสร็จทั้งหมด 12 กิจกรรม/โครงการ เช่น โครงการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อตีแผ่และถอดบทเรียนคดีทุจริตประพฤติมิชอบ 3) แผนงานที่ 3 การใช้งบประมาณและทรัพยากรภาครัฐอย่างคุ้มค่า ดำเนินกิจกรรม/โครงการแล้วเสร็จทั้งหมด 19 กิจกรรม/โครงการ เช่น โครงการขับเคลื่อนการประเมินความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ และ 4) แผนงานที่ 4 ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการทุจริต ดำเนินกิจกรรม/โครงการแล้วเสร็จทั้งหมด 17 กิจกรรม/โครงการ เช่น โครงการเครือข่าย ป.ป.ท. เฝ้าระวังการทุจริต ?PACC Connect? (2) การดำเนินงานในประเด็นสำคัญเร่งด่วน (Quick Win) 1) การเสริมสร้างความโปร่งใสในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เช่น พัฒนาระบบบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ระยะที่ 4 เพื่อออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ (e-Licensing) จำนวน 44 รายการ ทบทวนและปรับปรุงระยะเวลาการอนุญาตของหน่วยงานของรัฐ (คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565) 2) การดำเนินการเพื่อสมัครเข้าเป็นภาคีสมาชิกความร่วมมือการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Partnership: OGP) ได้เปิดพื้นที่สาธารณะให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาใช้ประโยชน์ผ่านการจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน 3) การพัฒนาการขออนุมัติ อนุญาตต่าง ๆ ผ่านระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) เช่น ยกระดับการให้บริการในส่วนกลาง โดยพัฒนาระบบต้นแบบในการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ แล้วเสร็จ จำนวน 32 ใบอนุญาต 4) การเปิดเผยข้อมูลกระบวนการจัดสรรงบประมาณตามหลักสากล เช่น ส่งเสริมและผลักดันให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการงบประมาณตามแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่องค์กรทางด้านงบประมาณระหว่างประเทศ 5) การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ลดข้อจำกัดทางกฎหมาย ลดโอกาสในการใช้ช่องว่างทางกฎหมายและแสวงหาประโยชน์ เช่น ปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 25588 จัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. .... 3. กรอบแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนน CPI ระยะต่อไป จากผลการวิเคราะห์ค่าคะแนน CPI และรายงานผลการขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนน CPI ในปี 2566 พบข้อมูลที่มีนัยสำคัญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ท. จะได้เร่งรัดขับเคลื่อนการดำเนินการยกระดับค่าคะแนน CPI และจัดทำแผนปฏิบัติการฯ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินการในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับค่าคะแนน CPI ให้สูงขึ้น และสอดคล้องตามเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบต่อไป 1 ตั้งแต่ปี 2560-2565 ไทยได้คะแนน CPI ดังนี้ ปี 2560 ได้ 37 คะแนน ปี 2561-2563 ได้ 36 คะแนน ปี 2564 ได้ 35 คะแนน และปี 2565 ได้ 36 คะแนน 2 Political and Economic Risk Consultancy: PERC แหล่งการประเมินเกี่ยวกับการให้คะแนนการคอร์รัปชันในประเทศที่อาศัย/ทำงานอยู่เท่าใด 3 World Economic Forum Executive Opinion Survey: WEF แหล่งการประเมินเกี่ยวกับภาคเอกชนจะต้องจ่ายสินบนในการยกเว้นการยื่นเอกสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มธุรกิจนำเข้าส่งออก การให้บริการสาธารณูปโภค การชำระภาษีประจำปีการจดสัญญาและใบอนุญาตต่าง ๆ การตัดสินของฝ่ายตุลาการ มากน้อยเพียงใด 4 Bertelsmann Stiftung Transformation Index: BF (TI) แหล่งการประเมินเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิดถูกลงโทษอย่างไร และรัฐบาลประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างไร 5 World Justice Project Rule of Law Index Expert Survey: WJP แหล่งการประเมินเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐ (ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ตำรวจและทหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ) ใช้ทรัพยากรและอำนาจหน้าที่ของรัฐ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หรือไม่อย่างไร 6 คณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วยหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการเพื่อยกระดับค่าคะแนน CPI ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ จำนวน 26 หน่วยงาน มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะแนวทาง มาตรการ และกำหนดแผนระยะยาวในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับค่าคะแนน CPI 7 มีโครงการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ 3 กิจกรรม/ โครงการ เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องดำเนินงานต่อจากโครงการอื่นซึ่งยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ 1 โครงการ และเป็นโครงการที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 2 โครงการ 8 คณะรัฐมนตรีมีติ (2 เมษายน 2567) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา 10. เรื่อง มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับนิติบุคคล) 2. เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา) 3. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season) (เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง รวมทั้งช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของมาตรการและร่างกฎหมายในเรื่องนี้ กค. เสนอว่า 1. ปัจจุบันภาคการท่องเที่ยวไทยกำลังอยู่ในช่วงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ ในปี 2566 มีจำนวนประมาณ 28 ล้านคน เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในปี 2562 (ก่อนเกิดสถานการณ์ COVID-19) มีจำนวนประมาณ 39 ล้านคน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอีกหลายปัจจัย เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ประสบปัญหา และการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ตลอดจนความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์โลกซึ่งทำให้อาจส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 2. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสถานการณ์ COVID-19 และปัญหาเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีกับระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวม จึงเห็นควรเสนอมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อกำหนดการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับการท่องเที่ยวและการจัดอบรมสัมมนาในจังหวัดท่องเที่ยวรองและในจังหวัดท่องเที่ยวอื่นภายในประเทศ ในช่วง Low Season ซึ่งประกอบด้วย 2 มาตรการ ได้แก่ 1) มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับนิติบุคคล) และ 2) มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 2.1 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับนิติบุคคล) ประเด็น รายละเอียด 1. วัตถุประสงค์ - เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ และสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานด้านการท่องเที่ยว อีกทั้งสนับสนุนการบริโภคและส่งเสริมการจ้างงาน 2. กลุ่มเป้าหมาย - บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 3. ระยะเวลาดำเนินงาน - ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 4. สิทธิประโยชน์ทางภาษี - ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่งหรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนา1 ภายในประเทศที่จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็ม2 ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากรเท่านั้น ยกเว้นค่าขนส่ง โดยจะจ่ายให้แก่ผู้ที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ ซึ่งจะต้องได้รับใบรับ3 ในรูปแบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร - กำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการหักค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. หักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) (พื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก) 2. หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่ไม่ได้จัดขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดฯ (จังหวัดท่องเที่ยวหลัก) 3. ให้หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง ในกรณีไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใด เนื่องจากการจัดอบรมสัมมนาครั้งหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นในพื้นที่ต่อเนื่องกัน และให้หักรายจ่ายที่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใดตาม 1) หรือ 2) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 5. หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข - เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 429) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ และกำหนดเขตพื้นที่ท่องเที่ยวสำหรับการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศเพิ่มเติมจากจังหวัดท่องเที่ยวรอง ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 6. พื้นที่ในการให้สิทธิประโยชน์ - จังหวัดท่องเที่ยวรอง4 โดยแบ่งเป็นพื้นที่ทั้งจังหวัด 55 จังหวัดและพื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก 15 จังหวัด5 (หักรายจ่ายได้ 2 เท่า) - พื้นที่อื่น (จังหวัดท่องเที่ยวหลัก) เช่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชลบุรี และกรุงเทพมหานคร (หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า) 2.2 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา) ประเด็น รายละเอียด 1. วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ และสนับสนุนห่วง โซ่อุปทานด้าน การท่องเที่ยวอีกทั้งสนับสนุนการบริโภคและส่งเสริมการจ้างงาน 2. กลุ่มเป้าหมาย - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล 3. ระยะเวลาดำเนินงาน - ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 4. สิทธิประโยชน์ทางภาษี - ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลสามารถหักลดหย่อนค่าบริการได้ ดังนี้ 1) ค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว6 ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ 2) ค่าที่พักในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม 3) ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย 4) ค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม - สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท - ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็ม7 ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากรเท่านั้น 5. หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข - เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 349) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่าที่พัก สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองและในจังหวัดอื่นซึ่งมิใช่จังหวัดท่องเที่ยวรองประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 6. พื้นที่ในการให้สิทธิประโยชน์ - จังหวัดท่องเที่ยวรองเท่านั้น ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ตามข้อ 2.1 - 2.2 ดำเนินการออกเป็นร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. จำนวน 1 ฉบับ ซึ่ง กค. จึงได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาด้วยแล้ว 3. กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดการณ์ว่า 3.1 การดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับ นิติบุคคล) จะทำให้รัฐบาลสูญเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 1,200 ล้านบาท โดยคำนวณจากจำนวนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คาดว่าจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี จำนวน 2,000 ราย ซึ่งประมาณการค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการสัมมนารายละ 3 ล้านบาท รวมประมาณ 6,000 ล้านบาท 3.2 การดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา) จะทำให้รัฐบาลสูญเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประมาณ 581.25 ล้านบาท โดยคำนวณจากจำนวนบุคคลธรรมดาที่คาดว่าจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจำนวน 250,000 รายอย่างไรก็ตาม มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการทั้งในและนอกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนการบริโภคและส่งเสริมการจ้างงาน ซึ่งจะส่งผลดี ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 4. ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 กค. จึงได้ยืนยันเรื่องดังกล่าวมาเพื่อพิจารณาดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง 1 รายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนา เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดการ ค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการอบรมสัมมนา เช่น ค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าจ้างถ่ายเอกสาร ค่าบันทึกภาพและเสียง และ ค่าจัดทำสื่อที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรในการฝึกอบรม 2 ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 3 ตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร 4 อ้างอิงจากพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 757) พ.ศ 2565 โดยจังหวัดท่องเที่ยวรอง ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดชุมพร จังหวัดเชียงราย จังหวัดตรัง จังหวัดตราด จังหวัดตาก จังหวัดนครนายก จังหวัดนครพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดน่าน จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปัตตานี จังหวัดพะเยา จังหวัดพัทลุง จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดแพร่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดยโสธร จังหวัดยะลา จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดระนอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดเลย จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสกลนคร จังหวัดสตูล จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุโขทัย จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอ่างทอง จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดอุบลราชธานี 5 อ้างอิงจากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ท่องเที่ยวสำหรับการอบรมสัมมนา และการเดินทางท่องเที่ยวและที่พักเพิ่มเติมจากจังหวัดท่องเที่ยวรอง ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ 2561 โดยพื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก เช่น อำเภอเขาพนม อำเภอปลายพระยา และอำเภอลำทับ ในจังหวัดกระบี่ อำเภอบ้านบึง อำเภอพนัสนิคม อำเภอพานทอง และอำเภอหนองใหญ่ ในจังหวัดชลบุรี และอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอกุยบุรี อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 6 ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง อันได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 7 ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 11. เรื่อง แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (แผนปฏิบัติการฯ) และใช้พิจารณาในการจัดทำงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามความนัย มาตรา 17 (2) แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.25611 ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอ สาระสำคัญ 1. กนช. ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 [รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ในขณะนั้น เป็นประธาน] เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 ที่ประชุมมีมติ ดังนี้ 1.1 เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ภายใต้ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 - 2580) [(ร่าง) แผนแม่บทฯ] จำนวน 57,393 รายการ วงเงิน 392,510.9 ล้านบาท 1.2 ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 มาตรา 17 (2) ต่อไป 1.3 ให้ สนทช. นำแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เสนอต่อคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อไป 1.4 เห็นชอบให้ สทนช. เปิดระบบ Thai Water Plan เพื่อทบทวน/ปรับปรุงแผนและเสนอคณะกรรมการลุ่มน้ำพิจารณาให้ความเห็นโดยเร็วก่อนเสนอประธาน กนช. พิจารณาเห็นชอบ โดยไม่ต้องเสนอ กนช. อีกครั้ง เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันต่อปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 2. สทนช. ได้ดำเนินการรวบรวมและตรวจสอบแผนปฏิบัติการฯ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพิ่มเติม ส่งผลให้จำนวนรายการและกรอบวงเงินตามแผนดังกล่าวเพิ่มขึ้น โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ในขณะนั้น ในฐานะประธาน กนช. รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ในฐานะประธาน กนช. ในปัจจุบันได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำฯ ปี 2568 ที่ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ 2.1 ผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติการฯ : เพิ่มความจุกักเก็บน้ำ 1,544.86 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 7.5 ล้านไร่ และมีประชาชนได้รับประโยชน์ 5,623,955 ครัวเรือน รวมถึงมีพื้นที่ได้รับการป้องกัน 5.97 ล้านไร่ และมีเขื่อนป้องกันตลิ่งความยาว 552,817 เมตร 2.2 รายละเอียดของแผนปฏิบัติการฯ : ประกอบด้วยโครงการ/กิจกรรมด้านน้ำของหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยที่จะดำเนินการในปี 2568 ซึ่งโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวเหล่านั้นรวมถึงโครงการตามแผนงานเดิมที่ดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และแผนงานใหม่ที่จะเริ่มต้นดำเนินงานในปี 2568 ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการฯ ถูกจำแนกเป็น 2 กลุ่ม ตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ 2.2.1 กลุ่มที่ 1 คือ โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบเป้าหมายของ (ร่าง) แผนแม่บทฯ จำนวน 38,651 รายการ รวมวงเงิน 222,355.48 ล้านบาท ซึ่งโครงการ/กิจกรรมในกลุ่มนี้เป็นโครงการที่มีความสำคัญ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการและขอสับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 เป็นลำดับต้น 2.2.2 กลุ่มที่ 2 คือ โครงการ/กิจกรรมที่เกินกว่ากรอบเป้าหมายของ (ร่าง) แผนแม่บทฯ (หมายถึงโครงการที่มีความสำคัญในระดับรองลงมา) จำนวน 22,852 รายการ รวมวงเงิน 218,075.72 ล้านบาท ซึ่งโครงการ/กิจกรรมในกลุ่มนี้เป็นแผนงานสำรอง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอสนับสนุนงบประมาณตามความเหมาะสมต่อไป ด้านตาม (ร่าง) แผนแม่บทฯ รวม ตามกรอบเป้าหมาย (ร่าง) แผนแม่บทฯ เกินกรอบเป้าหมาย (ร่าง) แผนแม่บทฯ จำนวน (รายการ) วงเงิน (ล้านบาท) จำนวน (รายการ) วงเงิน (ล้านบาท) จำนวน (รายการ) วงเงิน (ล้านบาท) ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 9,785 36,862.70 4,594 22,221.30 5,191 14,641.41 ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม เช่น (1) การก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบประปา (2) การจัดหาน้ำสะอาดให้ครัวเรือนที่ไม่มีน้ำประปา (3) การก่อสร้างสระเก็บน้ำ/น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค (4) การก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานีสูบน้ำ ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (2) กระทรวงมหาดไทย (มท.) (การประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวง) (3) สทนช. ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 33,477 242,452.95 22,107 121,300.76 11,370 121,152.19 ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม เช่น (1) การปรับปรุงซ่อมแซมแก้มลิง/อ่างเก็บน้ำ/ฝายและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง (2) การขุดลอกแหล่งน้ำ/สระเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม (3) ก่อสร้าง/ซ่อมแซมธนาคารน้ำใต้ดิน (4) โครงการฝนหลวง ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) อปท. (2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) (กรมชลประทานและสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 7,597 131,838.90 2,578 55,930.62 5,019 75,908.28 ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม เช่น (1) การปรับปรุงระบบระบายน้ำ/ระบบป้องกันน้ำท่วม (2) การกำจัดวัชพืช (3) การก่อสร้าง/ปรับปรุง/ขุดลอกอ่างเก็บน้ำ ฝาย แก้มลิง และสถานีสูบน้ำ ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) อปท. (2) กรุงเทพมหานคร (2) กษ. (กรมชลประทาน) (3) กระทรวงคมนาคม (คค.) (กรมทางหลวง) (4) มท. (กรมป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย) ด้านที่ 4 การอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ ทรัพยากรน้ำ 9,388 15,868.48 8,676 11,291.62 712 4,576.87 ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม เช่น (1) การฟื้นฟูป่าไม้ (2) การปรับปรุงคุณภาพน้ำ (3) การขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ (4) การก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) อปท. (2) กรุงเทพมหานคร (3) กษ. (กรมชลประทานและกรมประมง) (4) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) ด้านที่ 5 การบริหารจัดการ 1,256 13,408.16 696 11,611.19 560 1,796.98 ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม เช่น (1) การจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับด้านทรัพยากรน้ำ (2) การเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับประเทศและระดับลุ่มน้ำ (3) พัฒนาระบบตรวจวัดและฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำ (4) การจัดทำผังน้ำ/ผังการระบายน้ำ ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) อปท. (2) กรุงเทพมหานคร (3) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (4) กษ. (5) ทส. (6) มท. (7) สทนช. รวมทั้งสิ้น 61,503 440,431.20 38,651 222,355.48 22,852 218,075.72 ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการฯ เป็นการรวบรวมโครงการด้านน้ำของหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศที่จะดำเนินการในแต่ละปีมารวมไว้ด้วยกันเพื่อเชื่อมโยงกับเป้าหมายด้านน้ำของประเทศตามที่ระบุในแผนแม่บทฯ โดยจะประกอบด้วย (1) โครงการ/กิจกรรมที่มาจากแผนงานเดิมในปีก่อน ๆ และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และ(2) โครงการที่เริ่มดำเนินการในปี 2568 ซึ่งในปี 2568 ประกอบด้วยแผนงานเดิม จำนวน 1,399 รายการ รวมวงเงิน 69,362.45 ล้านบาท และเป็นแผนงานใหม่ในปี 2568 จำนวน 60,104 รายการ รวมวงเงิน 371,068.74 ล้านบาท 2.3 งบประมาณและแหล่งงบประมาณที่ใช้ในดำเนินโครงการ/กิจกรรมด้านน้ำของประเทศไทย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568: โครงการ/กิจกรรมด้านน้ำของประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2568 ใช้งบประมาณทั่วประเทศจำนวน 440,431.2 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 1พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 มาตรา 17 (2) บัญญัติให้ กนช. มีหน้าที่และอำนาจตามพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการของหน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ และแผนงบประมาณการบริหารทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บท และเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาในการจัดทำงบประมาณประจำปี 12. เรื่อง มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอดังนี้ 1. รับทราบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 2. มอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยรายงานให้ กนช. ทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กนช. รายงานว่า 1. ตามปฏิทินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ให้หน่วยงานนำไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงาน สำหรับช่วงฤดูฝนเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี (ยกเว้นพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน และสิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี) ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ (1) ช่วงก่อนฤดู เป็นการเตรียมการและสร้างการรับรู้ (2) ช่วงระหว่างฤดู เป็นการวิเคราะห์ ติดตาม ประเมินสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยและการให้ความช่วยเหลือ และ (3) ช่วงสิ้นสุดฤดู เป็นการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล ซึ่งในช่วงก่อนฤดูฝนของทุกปีจะมีการจัดทำมาตรการรับมือฤดูฝน 2. ในครั้งนี้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับทุกภาคส่วนประชุมหารือกำหนดมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 จำนวน 10 มาตรการ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที รวมทั้งได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้งปี 2567/2568 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 2.1 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 จำนวน 10 มาตรการ ดังนี้ การดำเนินการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าและแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วง (เดือนมีนาคม 2567 เป็นต้นไป) (1) คาดการณ์ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำในลำน้ำ ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม พร้อมปรับข้อมูลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เตรียมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน (2) ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำจากฝนทิ้งช่วง เพื่อให้หน่วยงานนำไปกำหนดแผนปฏิบัติเพื่อเตรียมดำเนินในเชิงป้องกันล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยง (3) เพิ่มประสิทธิภาพ/ปรับแผนการแจ้งเตือนระยะยาว ระยะปานกลาง ระยะสั้น (เผชิญเหตุ) อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความถี่การแจ้งเตือนตามความรุนแรงของสถานการณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ สทนช. มาตรการที่ 2 ทบทวน ปรับปรุง เกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำอย่างบูรณาการในระบบลุ่มน้ำ และกลุ่มลุ่มน้ำ (ก่อนฤดูฝน ? ตลอดช่วงฤดูฝน) (1) ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ หลักเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) และเกณฑ์การระบายน้ำเขื่อน/อาคารระบายน้ำเชื่อมโยงกับระดับน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ (2) บริหารจัดการน้ำในภาพรวมของกลุ่มลุ่มน้ำ เช่น จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำ และติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำทุกขนาดเพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำหรือเกณฑ์ควบคุม (3) บริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำหลาก เช่น เตรียมความพร้อมการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ/แก้มลิง เป็นพื้นที่หน่วงน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก และจัดทำแผนการระบายน้ำ/แผนกักเก็บน้ำไว้ใช้ก่อนสิ้นฤดูฝน (4) วางแผน ปรับปฏิทิน และควบคุมพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูฝนให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ โดยกำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ช่วงน้ำหลากและฝนทิ้งช่วง พร้อมแจ้งแผนให้ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อว. กษ. ทส. กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) กทม. สทนช. และคณะกรรมการลุ่มน้ำ มาตรการที่ 3 เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ โทรมาตร บุคลากรประจำพื้นที่เสี่ยงและศูนย์อพยพให้สามารถรองรับสถานการณ์ในช่วงน้ำหลากและฝนทิ้งช่วง (ก่อนฤดูฝน ? ตลอดช่วงฤดูฝน) (1) เตรียมพร้อม วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง เช่น เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรในการเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมและช่วงฝนทิ้งช่วงให้สามารถให้ความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเข้าช่วยเหลือได้ทันสถานการณ์ รวมถึงติดตามวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและช่วงฝนทิ้งช่วงด้วยภาพถ่ายดาวเทียมและอากาศยานไร้คนขับ (UAV) (2) เตรียมความพร้อม ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ โทรมาตร ให้พร้อมใช้งาน เช่น ตรวจสอบสภาพความมั่นคง และซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำ รวมทั้งระบบระบายน้ำ และตรวจสอบสถานีโทรมาตร ซ่อมแซมให้มีสภาพพร้อมใช้งาน สามารถตรวจวัดแสดงผล และเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้ในการติดตามสถานการณ์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา (3) ปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ เช่น สำรวจ และจัดทำแผนดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ และปรับปรุงคูคลองเพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว (4) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำในพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง เช่น ลดการสูญเสียน้ำโดยการปรับปรุงวิธีการส่งน้ำและซ่อมแซมระบบการส่งน้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้น้ำ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด และปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงฝนทิ้งช่วง กระทรวงกลาโหม (กห.) อว. กษ. กระทรวงคมนาคม (คค.) ดศ. ทส. พน. มท. กทม. สทนช. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาตรการที่ 4 ตรวจสอบพร้อมติดตามความมั่นคงปลอดภัย คันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำ (ก่อนฤดูฝน ? ตลอดช่วงฤดูฝน) (1) ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรงของคันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เปราะบาง พร้อมทั้งซ่อมแซมและปรับปรุงให้มีสภาพพร้อมใช้งาน (2) เตรียมแผนเสริมความสูง หรือก่อสร้างคันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำชั่วคราวหากจำเป็น (3) จัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัย คันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำ ภายใต้คณะกรรมการลุ่มน้ำ ประกอบด้วยภาครัฐและภาคประชาชน อว. คค. กษ. พน. มท. และ สทนช. มาตรการที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำอย่างเป็นระบบ (ก่อนฤดูฝน ? ตลอดช่วง ฤดูฝน) (1) จัดทำแผนบูรณาการด้านเครื่องจักรเครื่องมือ/สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดวัชพืช ผักตบชวา และขยะในลำน้ำ (2) ดำเนินการขุดลอกคูคลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ (3) เชิญชวนประชาชนในชุมชนช่วยกันจัดเก็บหรือกำจัดวัชพืช ผักตบชวา และขยะในลำน้ำ (4) มอบหมายคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการ กำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาผักตบชวาในช่วงก่อนฤดูฝนและระหว่างฤดูฝน 2567 (5) จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำหลากกรณี ต่าง ๆ ในพื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่เปราะบาง อว. กษ. คค. ทส. มท. กทม. และ สทนช. มาตรการที่ 6 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ล่วงหน้าก่อนเกิดภัย และฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ (ตลอดช่วงฤดูฝน) (1) ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ และจัดเตรียมพื้นที่อพยพ (2) ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย เช่น ตั้งศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้า สำหรับเผชิญเหตุ เพื่อเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการสถานการณ์ (3) วางแผนกำหนดแนวทางการฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ กห. อว. กษ. ดศ. ทส. มท. นร. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสทนช. มาตรการที่ 7 เร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน (ภายในเดือนพฤษภาคม ? พฤศจิกายน 2567) (1) เร่งเก็บน้ำ/สูบทอยน้ำส่วนเกินในช่วงปลายฤดูฝนไปเก็บในลำน้ำ และแหล่งน้ำทุกประเภทไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง (2) บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ/แหล่งน้ำตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) หรือเต็มศักยภาพเก็บกัก (3) พัฒนาแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล เป็นต้น เพื่อใช้เป็นน้ำต้นทุนในช่วงฤดูแล้งถัดไป (4) ดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ในการสูบผันน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน กษ. ทส. พน. และมท. มาตรการที่ 8 สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์ (ก่อนฤดูฝน ? ตลอดช่วงฤดูฝน) (1) ให้องค์ความรู้ภาคประชาชนในการติดตาม เฝ้าระวัง และแจ้งข้อมูลในพื้นที่ (2) สร้างเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ เพื่อแจ้งข้อมูลสถานการณ์ (3) สร้างช่องทางในการส่งข้อมูล/แจ้งข้อมูลสถานการณ์ (4) ซักซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับท้องถิ่น ทส. มท. กทม. สทนช. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและคณะกรรมการลุ่มน้ำ มาตรการที่ 9 การสร้างการรับรู้ ศูนย์บริการข้อมูลสถานการณ์น้ำ และประชาสัมพันธ์ (ก่อนฤดูฝน ? ตลอดช่วงฤดูฝน) (1) สร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ช่วงฤดูฝน ปี 2567 ให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้และเข้าใจผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด องค์กรผู้ใช้น้ำ เครือข่ายต่าง ๆ และประชาชน (2) จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลสถานการณ์น้ำและดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยง (3) สร้างการรับรู้ที่เข้าใจง่าย เช่น รูปแบบภาษาถิ่น ทส. มท. นร. กทม. สทนช. และคณะกรรมการลุ่มน้ำ มาตรการที่ 10 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย (ตลอดช่วงฤดูฝน) (1) กำหนดประเด็นตัวชี้วัดการดำเนินการ(กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์) (2) ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนอย่างใกล้ชิด (3) ติดตามการดำเนินงานและสรุปผล เพื่อปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย สทนช. 2.2 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 สรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด วัตถุประสงค์ (1) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย ปี 2567 (2) เพื่อซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน (3) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 พื้นที่เป้าหมาย (1) พื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย ตามที่ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด (2) พื้นที่เสี่ยงที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนตามคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดพิจารณาเห็นสมควร ระยะเวลาดำเนินการ 120 วัน นับตั้งแต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ กิจกรรม และประเภท แผนงานโครงการ แบ่งกิจกรรมไว้ทั้งหมด 5 กิจกรรม เพื่อสรุป วิเคราะห์ กลั่นกรองและจัดกลุ่มแผนงานโครงการ ให้สอดคล้องกับการดำเนินการของแต่ละกิจกรรม ดังนี้ (1) การซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การควบคุมการระบายน้ำและการกักเก็บน้ำ ให้เกิดประสิทธิภาพรองรับสถานการณ์น้ำหลาก เช่น ซ่อมแซม/ปรับปรุงพนังกันน้ำ คันกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ คลองส่ง/ระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำ สถานีโทรมาตร เป็นต้น (2) การปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ และกำจัดผักตบชวา เป็นงานที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งสิ่งกีดขวางที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การระบายน้ำ การจัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ เช่น การกำจัดผักตบชวา/วัชพืชน้ำ เป็นต้น (3) การขุดลอกคูคลอง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เช่น ขุดลอกคู คลอง ลำน้ำ แก้มลิง เป็นต้น (4) การเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เป็นการเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานรองรับสถานการณ์น้ำหลาก เช่น ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น (5) การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อเก็บกักไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เป็นการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อรองรับน้ำส่วนเกินในช่วงฤดูฝน สำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งถัดไป เช่น สระ/อ่างเก็บน้ำ ระบบกระจายน้ำ ขุดเจาะบ่อบาดาล ปฏิบัติการฝนหลวง เป็นต้น การติดตามและประเมินผล (1) แผนงานโครงการที่ดำเนินการโดยจังหวัด หรือจังหวัดให้หน่วยงานอื่นเบิกจ่ายแทน ให้จังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ รวบรวมวิเคราะห์ สรุป จัดทำรายงานความก้าวหน้า (2) แผนงานโครงการที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบ รวบรวม วิเคราะห์ สรุปและจัดทำรายงานความก้าวหน้า (3) แผนงานโครงการที่ดำเนินการโดยส่วนราชการ ให้หน่วยงานต้นสังกัดของหน่วยงานรับงบประมาณ เป็นผู้รับผิดชอบ รวบรวม วิเคราะห์ สรุป จัดทำรายงานความก้าวหน้า โดยให้รายงานความก้าวหน้าการขอรับการจัดสรรงบประมาณ และรายงานผลการดำเนินงานให้ สทนช. ทราบ ทุกวันที่ 1 ของทุกเดือนจนกว่าการดำเนินโครงการจะแล้วเสร็จ หมายเหตุ: สทนช. จะไม่พิจารณาแผนงานโครงการที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเช่น งานด้านซ่อม/ปรับปรุงถนน หรืออาคารสิ่งปลูกสร้างบ้านที่พักอาศัย/สำนักงาน งานปรับปรุงภูมิทัศน์ เป็นต้น 3. กนช. ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 มีมติเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป โดยให้หน่วยงานเร่งดำเนินการ เช่น 3.1 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 หลังจาก กนช. ให้ความเห็นชอบมาตรการดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการดังกล่าวให้ สทนช. ทราบทุกวันที่ 5 ของเดือนโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูฝน เพื่อให้การขับเคลื่อนมาตรการเป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3.2 ให้หน่วยงานเตรียมแผนงานโครงการและความพร้อมของโครงการให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ทันต่อสถานการณ์และเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 13. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ? 3 มิถุนายน 2567) คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์น้ำปัจจุบันและการคาดการณ์ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตาม เตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและดำเนินการแก้ไขปัญหาในช่วงที่เกิดอุทกภัยฤดูฝน ปี 2567 อย่างใกล้ชิดเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้เกิดน้อยที่สุดตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ สาระสำคัญและข้อเท็จจริง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ? 3 มิถุนายน 2567 มีดังนี้ 1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน ปัจจุบันพบว่าปรากฏการณ์เอนโซ ได้เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางแล้วและจะคงสภาวะนี้ต่อไป โดยมีความน่าจะเป็นร้อยละ 69 ที่จะเปลี่ยนไปสู่สภาวะลานีญาในเดือนกรกฎาคม-กันยายน และจะต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางมีฝนตกหนักบางแห่ง 2. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ และการคาดการณ์ (1) สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาพรวมประเทศ สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 3 มิถุนายน 2567) มีปริมาณน้ำ 40,765 ล้านลูกบาศก์เมตร (51%) น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 1,941 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้การ 16,590 ล้านลูกบาศก์เมตร (29%) มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve)) 5 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ และอ่างเก็บน้ำปราณบุรี และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุเก็บกัก จำนวน 92 แห่ง (จากทั้งหมด 369 แห่ง)ได้แก่ ภาคเหนือ 12 แห่ง (จาก 79 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 42 แห่ง (จาก 189 แห่ง) ภาคกลาง 6 แห่ง (จาก 11 แห่ง) ภาคตะวันออก 15 แห่ง (จาก 44 แห่ง) และภาคตะวันตก 15 แห่ง (จาก 24 แห่ง) และภาคใต้ 2 แห่ง (จาก 22 แห่ง) (2) การคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง การคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในช่วงต้นฤดูแล้ง ปี 2567/68 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567) จะมีปริมาณน้ำ 41,933 ล้าน ลบ.ม. (88%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 32,848 ล้าน ลบม. มากกว่า 9,085 ล้าน ลบ.ม. (19%) 3. ผลดำเนินการตามมาตรการฤดูฝน ปี 2567 (1) ผลการคาดการณ์กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจำนวน 14 จังหวัด 35 อำเภอ 59 ตำบล และมีพื้นที่ฝนทิ้งช่วงในช่วงเดือน มิถุนายน จำนวน 47 จังหวัด 308 อำเภอ 1,476 ตำบล (2) ผลการทบทวน ปรับปรุง เกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ ได้ดำเนินการปรับเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จัดทำแผนการจัดสรรน้ำ แผนการเพาะปลูก และแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ พร้อมทั้งปรับแผนการเพาะปลูกพืชในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทบทวนปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำและเกณฑ์การระบายน้ำ 89 แห่ง (3) ผลเตรียมความพร้อม เครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำโทรมาตร บุคลากรประจำพื้นที่เสี่ยง ได้ดำเนินการเตรียมพร้อมบุคลากรและเครื่องจักรเครื่องมือ 7,308 หน่วย อาคารชลศาสตร์ 2,652 แห่ง โทรมาตร 535 แห่ง กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ 199 แห่ง ซึ่งลดอัตราน้ำสูญเสียให้ได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 24.35% และจากการดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงได้ปริมาณน้ำมาจำนวน 1,445 ล้านลูกบาศก์เมตร (4) ผลตรวจสอบพร้อมติดตามความมั่นคงปลอดภัยคันกั้นน้ำ ได้ดำเนินการติดตามการตรวจสอบความมั่นคงคันกั้นน้ำ ทำนบ จากการติดตามพบว่าพร้อมใช้งาน 4,698,563 เมตร (5) ผลการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำอย่างเป็นระบบ ได้ดำเนินการกำจัดผักตบชวา 3,628,766 ตัน ขุดลอกคลอง 364 กิโลเมตร และลอกท่อระบายน้ำ 4,145 กิโลเมตร (6) ผลการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ การตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย ได้เตรียมความพร้อมกลไกและเตรียมพร้อมสนับสนุนการดำเนินการภายใต้ศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำเมื่อเกิดสถานการณ์ได้ทันที (7) ผลการดำเนินการเร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 28,200 บ่อ และสูบน้ำเข้ากักเก็บในอ่างเก็บน้ำโสกขุมปูน 140,000 ลบ.ม. (8) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ชุมชนต่าง ๆ สามารถรับมืออุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ (9) ผลการสร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์ ได้ดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง (10) ผลการติดตามประเมินผล ปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย สทนช. ได้ดำเนินการติดตามประชุมประเมินสถานการณ์ทุกสัปดาห์ 4. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สทนช. ได้จัดทำประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2567 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2567 เพื่อเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และบริเวณชุมชนเมืองที่ เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน ช่วงวันที่ 4 - 11 มิถุนายน 2567 โดยมีพื้นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ (2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ ชัยภูมิ ขอนแก่น และอุดรธานี (3) ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จังหวัดจันทบุรี และตราด (4) ภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี 5. สถานการณ์อุทกภัย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567 ได้มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนมีสถานการณ์เกิดขึ้นที่ จ.พะเยา (1 อ. 1 ต.) น่าน (2 อ. 5 ต.) เชียงราย (1 อ. 2 ต.) และแม่ฮ่องสอน (1 อ. 2 ต.) มีผลกระทบ 49 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ 6. การลงพื้นที่ตรวจราชการ ด้วยรัฐบาลโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร เน้นย้ำจัดลำดับความสำคัญการบริหารจัดการน้ำ และการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นหลัก ในการนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามการเตรียมความพร้อมตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2567 ในวันที่ 3 มิถุนายน 2567 ณ บึงหนองบอน เขตประเวศ กทม. ซึ่ง สทนช. มอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ (1) ให้ กรมชลประทาน แก้ไขจุดเสี่ยงหรือปัญหาการระบายน้ำ ที่ทำให้น้ำด้านเหนือไม่สามารถไหลลงมาถึงสถานีสูบน้ำได้ ดำเนินการป้องกันระหว่างการก่อสร้าง ปตร.ท่าถั่ว ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และพิจารณาดำเนินโครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง และเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อพิจารณาต่อไป (2) ให้ กรุงเทพมหานครฯ เร่งรัดขุดลอกท่อระบายน้ำให้แล้วเสร็จภายใน มิถุนายน 2567 ดำเนินการเสนอโครงการส่วนต่อขยายบึงหนองบอนถึงคลองประเวศบุรีรมย์และคลองสี่ ให้ กนช. เพื่อพิจารณาต่อไป และดำเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ผลการดำเนินงาน สถานการณ์น้ำ และการแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง (3) ให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ดำเนินการจัดทำผังระบบโครงข่ายการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ต่างประเทศ 14. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมายและยุติธรรมระหว่างกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมายและยุติธรรมระหว่างกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (บันทึกความเข้าใจฯ) (ซาอุดีอาระเบีย) รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ขอให้ ยธ. หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 มกราคม 2567) เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี -ไทย ครั้งที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย ข้อริเริ่มความร่วมมือ (Initiative Card) จำนวน 78 ฉบับ รวมถึงข้อริเริ่มความร่วมมือด้านงานกฎหมายและการยุติธรรมระหว่าง ยธ. ของทั้งสองประเทศ (เสนอโดยฝ่ายไทย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านกฎหมายและการยุติธรรมระหว่าง ยธ. ของทั้งสองประเทศภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมายและการยุติธรรม ซึ่งจะร่วมมือในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ ยธ. ของทั้งสองประเทศผ่านเยือน การประชุม การสัมมนา และการฝึกอบรมหลักสูตรด้านงานกฎหมายและการยุติธรรม 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมซาอุดีอาระเบียมีกำหนดเดินทางเยือนไทยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 และร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ โดยมีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในมิติความร่วมมือด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล และความเชี่ยวชาญ การจัดการประชุม และการฝึกอบรมทางวิชาการ ตลอดจนการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับกิจการด้านกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย 3. เรื่องนี้กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ได้เสนอขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมายและยุติธรรมระหว่าง ยธ. แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (บันทึกความเข้าใจฯ) ต่อคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในห้วงการเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมซาอุดีอาระเบียในเดือนพฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ความเข้าใจ และความร่วมมือระหว่างคู่ภาคีผ่านการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ และการแบ่งปันข้อมูลในสาขาที่เกี่ยวข้องกับกิจการด้านกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย โดยจะร่วมมือกันในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขากฎหมาย กระบวนการยุติธรรม วิธีการปฏิบัติงานด้านกฎหมายและยุติธรรม ซึ่งประเทศไทยสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพัฒนาการดำเนินงานด้านกฎหมายและงานยุติธรรมที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีของสากล 15. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 12 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 12 จำนวน 3 ฉบับ (ร่างเอกสารฯ) ได้แก่ 1) ร่างถ้อยแถลงการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 12 (ร่างถ้อยแถลงฯ) 2) ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ?หลักการในการป้องกันและลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารในภูมิภาคเอเชีย ? แปซิฟิก? (ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายฯ) 3) ร่างแนวคิดโครงการ ?แพลตฟอร์มเอเปคเพื่อเผยแพร่โอกาสความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย ? แปซิฟิก? (ร่างแนวคิดโครงการฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของฝ่ายไทย ขอให้ กก. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง 2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารฯ (จะมีการร่วมรับรองร่างเอกสารฯ ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 12 ในวันที่ 9 มิถุนายน 2567 ณ เมืองอูรูบัมบา - กุสโก สาธารณรัฐเปรู) สาระสำคัญของเรื่อง 1. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 12 (การประชุมฯ ) จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบและรับรองผลการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเอเปค ปี พ.ศ. 2563 - 2567 รวมทั้งมอบนโยบายและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในสาขาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ซึ่งสาธารณรัฐเปรูในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในปีนี้ (พ.ศ. 2567) ได้กำหนดวาระการประชุมให้รัฐมนตรีท่องเที่ยว หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1) ร่างถ้อยแถลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อรับมือกับความท้าทายในภาคการท่องเที่ยวในปัจจุบัน รวมถึงการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นทางการและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีกรอบความร่วมมือ ประกอดบด้วย (1) สนับสนุนการนำนวัตกรรมและระบบดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืน โดยเปิดรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการ (2) เสริมสร้างระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและมั่นคงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่อ่อนไหวต่อผลกระทบจากภายนอก ซึ่งรวมถึงภัยธรรมชาติและวิกฤตสุขภาพโลกด้วย (3) การนำแนวทางการจัดการขยะที่สร้างสรรค์มาใช้ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การรีไซเคิล และการเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นพลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกิจกรรมการท่องเที่ยวและส่งเสริมหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (4) ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคการท่องเที่ยวและปฏิบัติตามแผนงานลาเชเรนา1 เพื่อให้สตรีมีบทบาทสำคัญในภาคการท่องเที่ยว (5) ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม การเชื่อมต่อดิจิทัลและแนวทางการท่องเที่ยวสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว ลดเวลาและต้นทุนในการเดินทาง (6) จัดตั้งช่องทางความร่วมมือท่องเที่ยวเอเปค เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนทั่วภูมิภาคเอเชีย ? แปซิฟิก ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการอำนวยความสะดวกในการเจรจา และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปค 2) ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายฯ เอกสารฉบับนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับโครงการวิจัยที่จัดทำขึ้นโดยสาธารณรัฐเปรูซึ่งได้ระบุเกี่ยวกับปัญหาของการทำอาหารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างขยะอาหารในภาคการท่องเที่ยว และได้มีข้อเสนอแนะซึ่งจะช่วยสนับสนุนหลักการของเอเปศสำหรับการป้องกันและลดการสูญเสีย และขยะอาหารในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (หลักการเอเปค) ให้เป็นรูปธรรม โดยปัจจุบันหลักการดังกล่าวอยู่ระหว่างการประเมินภายใต้กรอบความร่วมมือด้านนโยบายความมั่นคงทางอาหาร และยังคงสามารถปรับเปลี่ยนหลักการเอเปคได้ โดยข้อเสนอแนะต่อหลักการเอเปค เช่น (1) เพิ่มความพยายามในการระบุสาเหตุ (ปัจจัย) สำคัญที่ทำให้ขยะอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยปัญหาดังกล่าวครอบคลุมภาคการเกษตร ครัวเรือน บริการอาหาร และการค้าปลีก ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวให้คำนึงถึงความท้าทายทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง โครงสร้าง และสิ่งแวดล้อม (2) ส่งเสริมการจัดตั้งกลไกภายในประเทศเพื่อการเก็บรวบรวมและการสร้างข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้สามารถวัดปริมาณการสูญเสียและขยะอาหารตลอดห่วงโช่อุปทานอาหาร และวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการกำหนดนโยบายในภาคเกษตร ครัวเรือน บริการอาหาร และค้าปลีก 3) ร่างแนวคิดโครงการฯ เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยสาธารณรัฐเปรู ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในภาคการท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกัน การถ่ายทอดความรู้ การแลกเปลี่ยนโอกาสด้านความร่วมมือที่มีอยู่ และการจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก โดยเป้าหมายของแพลตฟอร์มมีสาระสำคัญ ได้แก่ (1) การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนโอกาสสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระหว่างเขตเศรษฐกิจและองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้การวางแผนและการดำเนินโครงการท่องเที่ยวมีความร่วมมือระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น(2) สนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพของผู้มีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชนในภาคการท่องเที่ยวผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ ซึ่งจะช่วยให้การท่องเที่ยวเป็นไปอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย 2. กก. แจ้งว่า ร่างเอกสารฯ จำนวน 3 ฉบับ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก และเป็นการแสดงถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในการฟื้นฟูการท่องเที่ยวและกระตุ้นการเจริญเดิบโตทางเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก อย่างครอบคลุมและยั่งยืน รวมถึงยังเป็นการสนับสนุนบทบาทเด่นของประเทศไทยในเวทีนานาชาติด้วย 1แผนปฏิบัติการลาเซเรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม ค.ศ. 2019 - 2030 (La Serena Roadmap for Women and Inclusive Growth) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงเป็นกำลังสำคัญในตลาดแรงงาน และมีความเป็นผู้นำเข้มแข็งและได้รับการส่งเสริมการศึกษา ทักษะต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม 16. เรื่อง การขับเคลื่อนความร่วมมือและการเข้าเป็นภาคีความตกลงในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบผลการเข้าร่วมกิจกรรมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF) และการรับรองถ้อยแถลงระดับผู้นำฯ 2. เห็นชอบต่อร่างความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (Agreement on the Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity) ร่างความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรืองว่าด้วยเศรษฐกิจที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity Agreement Relating to a Clean Economy) และร่างความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิพิกเพื่อความเจริญรุ่งเรืองว่าด้วยเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity Agreement Relating to a Fair Economy) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนมีการลงนาม ขอให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง 3. เห็นชอบการเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงฯ ข้างต้นทั้ง 3 ฉบับ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามร่างความตกลงฯ ข้างต้น ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทน เห็นชอบการมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้แทนดังกล่าวลงนามร่างความตกลงฯ 4. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความตกลงฯ ข้างต้นทั้ง 3 ฉบับ มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย 5. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการจัดทำสัตยาบันสารของความตกลงฯข้างต้นทั้ง 3 ฉบับ เพื่อมอบให้กับผู้เก็บรักษา (Depositary) ความตกลงฯ ต่อไป เมื่อฝ่ายไทยได้ดำเนินกระบวนการที่จำเป็นสำหรับการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ เสร็จสิ้นแล้ว สาระสำคัญ 1. ผลการเข้าร่วมกิจกรรมระดับผู้นำ IPEF การรับรองถ้อยแถลงระดับผู้นำ IPEF และการประชุมที่เกี่ยวข้อง สหรัฐอเมริกาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ การเจรจาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส IPEF ระหว่างวันที่ 5 - 12 พฤศจิกายน 2566 การประชุมระดับรัฐมนตรี IPEF ระหว่างวันที่ 13 - 14พฤศจิกายน 2566 และกิจกรรมระดับผู้นำ IPEF ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ณ นครซานฟรานซิสโก โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้นำ รัฐมนตรี และผู้แทนระดับสูงจากประเทศหุ้นส่วน IPEF 14 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม ฟีจี อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย สหรัฐฯ และเวียดนาม ที่ประชุมได้รับทราบพัฒนาการของการเจรจาและแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปตลอดจนการจัดทำข้อริเริ่มและการดำเนินโครงการความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมที่สำคัญอื่น ๆ อาทิ การเปิดตัวโครงการเร่งรัดการลงทุนตามข้อริเริ่ม Partnership for Global Infrastructure and Investment (PGI) IPEF Investment Accelerator และการจัดตั้งกองทุน IPEF Catalytic Capital Fund และการจัดกิจกรรม IPEF Clean Economy Investor Forum เพื่อสนับสนุนการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนด้านการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ร่วมกับผู้นำ IPEF รับรองถ้อยแถลงระดับผู้นำฯ ซึ่งโดยสรุปกล่าวถึงพัฒนาการที่สำคัญใน IPEF โดยเฉพาะการลงนามร่างความตกลงสำหรับเสาความร่วมมือที่ 2 ด้านห่วงโซ่อุปทาน (Pillar II: Supply Chain) เมื่อวันที่ 14 พฤจิกายน 2566 และการสรุปผลการเจรจาร่างความตกลงสำหรับเสาความร่วมมือที่ 3 ด้านเศรษฐกิจที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Pillar III: Clean Economy) และเสาความร่วมมือที่ 4 ด้านเศรษรกิจที่เป็นธรรม (Pillar IV: Fair Economy) พร้อมทั้งจะสานต่อการเจรจาร่างความตกลงสำหรับเสาความร่วมมือที่ 1 ด้านการค้า (Pillar I: Trade) ตลอดจนแสวงหาข้อริเริ่มความร่วมมือเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน อาทิ กลไกการหารือความร่วมมือด้านแร่สำคัญ (IPEF Critical Minerals Dialogue) กลไกความร่วมมือด้านพลังงานและเทคโนโลยี และการจัดตั้งเครือข่ายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ จะมีการจัดการประชุมระดับผู้นำ IPEF ทุก 2 ปี และการประชุมระดับรัฐมนตรีทุกปี ทั้งนี้ ถ้อยแถลงฯ ได้มีการปรับแก้ถ้อยคำในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญเพื่อให้ได้ฉันทามติ โดยไม่ขัดกับผลประโยชน์ของไทยและหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 2. การจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี IPEF ผ่านระบบทางไกล เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมกับสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในโอกาสที่นางจีนา เรมอนโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เดินทางเยือนประเทศไทย โดยมีรัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงจากประเทศหุ้นส่วน IPEF เข้าร่วมผ่านระบบทางไกล ที่ประชุมได้รับทราบพัฒนาการความร่วมมือที่สำคัญ โดยเฉพาะความคืบหน้าของการดำเนินโครงการความร่วมมือ Cooperative Work Program (CWP) ภายใต้ Pillar III การจัดตั้งกองทุน IPEF Catalytic Capital Fund การดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถตามกรอบ Capacity Building Framework (CBF) ภายใต้ Pillar IV ตลอดจนแผนการจัดกิจกรรม IPEF Clean Economy Investor Forum และการประชุมระดับรัฐมนตรี IPEF ณ สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 5 - 6 มิถุนายน 2567 3. ร่างความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (Agreement on the Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity) มีสาระสำคัญเพื่อจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนและติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือ IPEF ในระดับรัฐมนตรี ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission) ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานภายใต้ Pillar I-IV และคณะมนตรี IPEF (IPEF Council) ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานในภาพรวม รวมถึงพิจารณาข้อเสนอในการเจรจาร่างความตกลงหรือจัดตั้งกลไกเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังระบุให้มีการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี 1 ครั้งต่อปี รวมถึงแนวทางการจัดการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการตัดสินใจและการดำเนินการของกลไกคณะมนตรี IPEF และคณะกรรมาธิการร่วมจะเป็นไป โดยฉันทามติ และภาคีจะดำเนินการตามทรัพยากรที่มีและตามกฎหมายภายในของแต่ละภาคี 4. ร่างความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรืองว่าด้ายเศรษฐกิงที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อน (Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity Agreement Relating to a Clean Economy) ประกอบด้วย 9 หมวด รวม 38 ข้อ โดยมีสาระสำคัญเพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมความร่วมมือเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ กรอบการระดมทุน นโยบาย มาตรการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้เอื้อต่อการลงทุนที่ช่วยลดการปล่อยก๊ายเรือนกระจก กำจัดคาร์บอน และเพิ่มการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสาขาต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน การส่งเสริมเทคโนโลยีหรือแนวทางปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในภาคอุตสาหกรรมและภาคคมนาคม เทคโนโลยีกำจัดก๊าซเรือนกระจก การใช้ทรัพยากรที่ดิน น้ำ และมหาสมุทรอย่างยั่งยืน การออกมาตรการเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่าน และการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ตลอดจนให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังกำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการ IPEF Clean Economy Committee เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนและติดตามความคืบหน้า พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ภาคีจัดทำข้อเสนอโครงการความร่วมมือ Cooperative Work Program (CWP) ตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสาร Standard Template เพื่อดำเนินโครงการร่วมกันตามความสมัครใจ 5. ร่างความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรืองว่าด้วยเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (indo-Pacific Economic Framework for Prosperity Agreement Relating to a Fair Economy) ประกอบด้วย 4 หมวด รวม 35 ข้อ โดยมีสาระสำคัญเพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายหรือมาตรการด้านการต่อต้านการทุจริตและการบริหารจัดเก็บภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งร่วมถึงการต่อต้านการให้สินบนและการฟอกเงิน การติดตามทรัพย์สินคืนจากการทุจริต การส่งเสริมความโปร่งใสของการเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงและในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการให้การคุ้มครองที่เหมาะสมแก่แรงงานข้ามชาติ อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่โปร่งใส มีการแข่งขันอย่างเป็นธรม และเอื้อต่อการดึงดูดการลงทุน ตถอดจนเสริมสร้างศักยภาพและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ภาคีในการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและพันธกรณีภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีการจัดการประชุมรายปีเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนและติดตามความคืบหน้า พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ภาคีดำเนินโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถตามกรอบ Capacity Building Framework (CBF) ผ่าน Technical Assistance and Capacity Building Coordination Group (TACBCG) ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างความตกลงฯ ข้างต้นทั้ง 3 ฉบับเป็นไปตามกรอบการเจรจากรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก และกรอบการเจรจา (เพิ่มเติม) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีด้วยแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 และวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ตามลำดับ 17. เรื่อง การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 144 ว่าด้วยการปรึกษาหารือไตรภาคี (มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ) ค.ศ. 1976 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้ 1. การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 144 ว่าด้วยการปรึกษาหารือไตรภาคี (มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ) ค.ศ. 1976 2. ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการจัดทำสัตยาบันสารเพื่อการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ 3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานดำเนินการมอบสัตยาบันสารให้กับผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ในฐานะผู้เก็บรักษาอนุสัญญา (กำหนดการเดินทางไปมอบสัตยาบันสารให้กับผู้อำนวยการใหญ่ ILO ในระหว่างการประชุมใหญ่ ประจำปี ILO สมัยที่ 112 ระหว่างวันที่ 11 - 15 มิถุนายน 2567 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส) สาระสำคัญของเรื่อง อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 144 ว่าด้วยการปรึกษาหารือไตรภาคี (มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ) ค.ศ. 1976 เป็นหนึ่งในอนุสัญญาธรรมาภิบาลของ ILO* มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้รัฐสมาชิกที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ดำเนินกระบวนการปรึกษาหารือไตรภาคี (ระหว่างตัวแทนของรัฐบาล ตัวแทนของนายจ้าง และตัวแทนของลูกจ้าง) ในประเด็นที่เกี่ยวกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ โดยมีการกำหนดหน้าที่ให้รัฐสมาชิกต้องปฏิบัติและมีการใช้ถ้อยคำที่มุ่งหมายให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยกระบวนการปรึกษาหารือไตรภาคีดังกล่าวถือเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งเสริมการเจรจาทางสังคมในระดับประเทศและการมีส่วนร่วมของผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง ทั้งประเด็นด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ปัจจุบันมีรัฐสมาชิก ILO ที่ให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 144 แล้ว จำนวน 157 ประเทศ จาก 187 ประเทศ โดยเป็นประเทศในภูมิภาคอาเซียน จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม *อนุสัญญาธรรมาภิบาลของ ILO มีทั้งหมด 4 ฉบับ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลในด้านการทำงาน และการบริหารจัดการแรงงาน ประกอบด้วย (1) อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 81 ว่าด้วยการตรวจแรงงาน ค.ศ. 1947 (2) อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 129 ว่าด้วยการตรวจแรงงาน (เกษตรกรรม) ค.ศ. 1969 (3) อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 144 ว่าด้วยการปรึกษาหารือไตรภาคี (มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ) ค.ศ. 1976 และ (4) อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 150 ว่าด้วยการบริหารแรงงาน ค.ศ. 1978 แต่งตั้ง 18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นายธนวัต ศิริกุล รองอธิบดีกรมสารนิเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ 2. นางกนกวรรณ เพ่งสุวรรณ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมา ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส 3. นายสุเมธ จุลชาต อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาปูโต สาธารณรัฐโมซัมบิก ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามา ราชอาณาจักรบาห์เรน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศทั้ง 3 รายดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับแล้ว 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการต่างประเทศ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอการแต่งตั้ง นายดุสิต เมนะพันธุ์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป 21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอการแต่งตั้ง นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล)] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป 22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ จำนวน 13 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ดังนี้ 1. ด้านการผังเมือง จำนวน 5 คน 1.1 นางไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ 1.2 นายมณฑล สุดประเสริฐ 1.3 นายคธาทิพย์ เอี่ยมกมลา 1.4 นางสาวอรอาภา โล่ห์วีระ 1.5 นายรุจิโรจน์ อนามบุตร 2. ด้านเศรษฐศาสตร์ จำนวน 2 คน 2.1 นายชาญวิทย์ อมตะมาทุชาติ 2.2 นายชโยดม สรรพศรี 3. ด้านสังคมศาสตร์ จำนวน 2 คน 3.1 นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ 3.2 ร้อยตำรวจโท อาทิตย์ บุญญะโสภัต 4. ด้านภูมิศาสตร์ จำนวน 2 คน 4.1 นางสาวศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ 4.2 นางสาวพันธ์ทิพย์ จงโกรย 5. สาขาวิชาการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน 5.1 นายเสรี ศุภราทิตย์ ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ 5.2 นายพิเชฐ โสวิทยสกุล ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป 23. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ และกรรมการผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชน ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ และกรรมการผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ จำนวน 16 คน ตามมาตรา 7 (5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากกรรมการผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ และกรรมการผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนเดิม ได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้ 1. กรรมการผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ 1.1 พันตำรวจโท ธรรมนิศร โภคทรัพย์ ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ กรุงเทพมหานคร 1.2 นายยงยุทธ ใจชื่น ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ภาคกลาง 1.3 นายประจักษ์ อาษาธง ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.4 นายสมพร ไหมบุญแก้ว ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ภาคใต้ 1.5 นายภัคนันท์ เครือแก้ว ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ภาคเหนือ 1.6 นายวิชัย โชควิวัฒน ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ประเภทเครือข่าย 1.7 นายวีระ สมความคิด ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ประเภทเครือข่าย 1.8 รองศาสตราจารย์กฤตติกา แสนโภชน์ ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ประเภทเครือข่าย 2. กรรมการผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ 2.1 นางเสาวณี สุขาฎา ผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนกรุงเทพมหานคร 2.2 นายบรรจง พรมวิเศษ ผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนภาคกลาง 2.3 นายฐานิศร์ แสงพล ผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.4 นายอับดุลเล๊าะ วาแม ผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนภาคใต้ 2.5 นายสมศักดิ์ เทพตุ่น ผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนภาคเหนือ 2.6 นายบุญธรรม คงสกูล ผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนประเภทเครือข่าย 2.7 นายมณเฑียร สอดเนื่อง ผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนประเภทเครือข่าย 2.8 นายบุญส่ง ศรีสายัณห์ ผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนประเภทเครือข่าย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป