http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (11 มิถุนายน 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับ ที่ ..) พ.ศ. ?. 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้ นิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยเยียวยา ที่ได้รับจากกรมประมงตามโครงการนำ เรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากร ประมงทะเลที่ยั่งยืน) 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐาน ว่ามีไว้ ในครอบครองเพื่อเสพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตรา ค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการ ยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. ?. 5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองหลังสวน จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก พ.ศ. .... 9. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. .... เศรษฐกิจ-สังคม 10. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อ โอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน 11. เรื่อง ข้อเสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในการบริหารจัดการ กองทุนเสมาพัฒนาชีวิต 12. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน กรณีการถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 13. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อ โอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน 14. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1
พ.ศ. 2566 ? 2580)
15. เรื่อง โครงการสินเชื่อ IGNITE THAILAND 16. เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 11 17. เรื่อง การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 18. เรื่อง การกำหนดให้การไหว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ประเภทการทักทายและการ แสดงความเคารพแบบไทย 19. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทาง ถนน 20. เรื่อง การดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 33 และ การแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส 21. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 4-9 มิถุนายน 2567) 22. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ และภาพรวม ปี 2566 23. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 24. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 25. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2567 26. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนเมษายน 2567 ต่างประเทศ 27. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย - อินเดีย
ครั้งที่ 10
28. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง ? ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 29. เรื่อง การเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้งทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP) แต่งตั้ง 30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ) 31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือน 32. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน ข้อมูลขนาดใหญ่ 33. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (ครั้งที่ 1) (กระทรวงยุติธรรม) 34. เรื่อง การมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) 36. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 216/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รอง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่ อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง 37. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 217/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รอง นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี 38. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 218/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รอง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธาน กรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และ กรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว 2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ อว. เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มวัตถุประสงค์ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ให้สามารถดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลงานวิจัยและนวัตกรรมหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาบุคลากรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เดิมสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเกี่ยวกับการทำวิจัยและให้บริการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่หน่วยงานของรัฐและวิสาหกิจเอกชน กล่าวคือ เป็นการรับจ้างในการทำวิจัย หรือให้บริการทางวิทยาศาสตร์แก่หน่วยงานของรัฐและวิสาหกิจเอกชน โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เองได้) รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ให้รองรับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เช่น เพิ่มอำนาจหน้าที่ในการจัดตั้ง หรือร่วมกับบุคคลอื่นจัดตั้งนิติบุคคล หรือลงทุนหรือร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เพื่อดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น เป็นต้น เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ และได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว รวมทั้งได้จัดทำแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน 4 ฉบับ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. เพิ่มวัตถุประสงค์ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ให้สามารถดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลงานวิจัยและนวัตกรรมหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาบุคลากรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของ วว. ให้รองรับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามข้อ 1 โดยให้ วว. สามารถรับค่าบำรุง ค่าใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รายได้ และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดที่ได้จากการดำเนินกิจการภายในอำนาจหน้าที่ การให้บริการทดสอบ ตรวจสอบ ตรวจวัด วิเคราะห์ สอบเทียบ ตรวจประเมิน ประเมินความเสี่ยง และรับรองระบบคุณภาพและผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานแห่งชาติและมาตรฐานอื่น พัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์ และบริการอื่นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การกู้ยืมเงิน ออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน หรือให้กู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สิน ถือหุ้น เข้าเป็นหุ้นส่วน และลงทุนหรือร่วมลงทุน ทั้งนี้ หากการดำเนินการดังกล่าวเป็นจำนวนเงินเกินคราวละ 20 ล้านบาท ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเพิ่มอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดตั้งหรือร่วมกับบุคคลอื่นจัดตั้งนิติบุคคล หรือลงทุน หรือร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเพื่อดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ วว. หรือเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น และการดำเนินกิจการอื่นใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ วว. 3. ปรับปรุงรายได้ของ วว. ให้ครอบคลุมรายได้หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ทั้งที่มาจากการให้กู้ยืมเงิน การลงทุน การร่วมลงทุน จากทรัพย์สิน และจากการดำเนินกิจการ ภายในอำนาจหน้าที่ รวมทั้งดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงิน การลงทุน และจากทรัพย์สินของ วว. 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยเยียวยา ที่ได้รับจากกรมประมงตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากร ประมงทะเลที่ยั่งยืน) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยเยียวยาที่ได้รับจากกรมประมงตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กค. เสนอว่า 1. ประเทศไทยได้รับประกาศเตือนใบเหลืองจากสหภาพยุโรปเกี่ยวกับมาตรการในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated fishing: IUU) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของประเทศไทย 2. ต่อมา ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย รวม 4 ฉบับ ได้แก่ 2.1 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2558 ลงวันที่ 29 เมษายน 2558 2.2 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 24/2558 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2558 2.3 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 53/2559 ลงวันที่ 9 กันยายน 2559 2.4 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2560 ลงวันที่ 4 เมษายน 2560 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ส่งผลให้เรือประมงที่ไม่มีทะเบียนเรือและเรือประมงที่มีทะเบียนเรือแต่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมง ไม่สามารถทำการประมงต่อไปได้ แต่ยังคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเรือตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา 3. ที่ผ่านมากรมประมงได้จัดทำโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบ เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 3.1 โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบฯ ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 มีเรือประมงออกนอกระบบ จำนวน 305 ลำ วงเงิน 764,454,100 บาท และมีเรือประมงไม่ประสงค์รับเงินเยียวยา จำนวน 1 ลำ เป็นเงิน 8,791,500 บาท ยังคงเหลือเรือประมงที่ได้รับสิทธิเยียวยา จำนวน 304 ลำ เป็นเงิน 755,662,600 บาท ซึ่งกรมประมงได้แบ่งจ่ายเงินให้แก่เจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบ ออกเป็น 2 ช่วง ซึ่งไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้ 1) ช่วงที่ 1 (ปี 2562) ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น 2) ช่วงที่ 2 (ปี 2563) ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ปีที่จ่ายเงินชดเชยเยียวยา เจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล รวม จำนวน (ลำ) เงินชดเชยเยียวยา (บาท) จำนวน (ลำ) เงินชดเชยเยียวยา (บาท) จำนวน (ลำ) เงินชดเชยเยียวยา (บาท) 2562 (ช่วงที่ 1) 249 464,327,900 3 5,276,000 252 469,603,900 2563 (ช่วงที่ 2) 41 274,256,000 11 11,802,700 52 286,058,700 รวม 290 738,583,900 14 17,078,700 304 755,662,600 3.2 โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบฯ ระยะที่ 2 ได้รับอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 มีเรือประมงออกนอกระบบ จำนวน 59 ลำ วงเงิน 287,181,800 บาท และมีเรือประมงไม่ประสงค์รับเงินเยียวยา จำนวน 3 ลำ เป็นเงิน 24,552,000 บาท และไม่ได้รับสิทธิการเยียวยา จำนวน 1 ลำ เป็นเงิน 841,400 บาท ดังนั้น ยังคงเหลือเรือประมงที่ได้รับสิทธิการเยียวยา จำนวน 55 ลำ เป็นเงิน 261,788,400 บาท ซึ่งกรมประมงได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด ซึ่งมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของการจ่ายเงินทั้ง 2 งวด ดังนี้ 1) งวดที่ 1 (ปี 2565) จ่ายเงินจำนวนร้อยละ 30 ของค่าชดเชย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแยกชิ้นส่วนเรือหรือการทำลายเรือประมง 2) งวดที่ 2 (ปี 2566) จ่ายเงินจำนวนร้อยละ 70 ของค่าชดเชย หลังจากเจ้าของเรือประมงได้ดำเนินการแยกชิ้นส่วนหรือทำลายเรือประมงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปีที่จ่ายเงินชดเชยเยียวยา เจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล รวม จำนวน (ลำ) เงินชดเชยเยียวยา (บาท) จำนวน (ลำ) เงินชดเชยเยียวยา (บาท) จำนวน (ลำ) เงินชดเชยเยียวยา (บาท) 2565 (งวดที่ 1) 49 67,103,790 6 11,432,730 55 78,536,520 2566 (งวดที่ 2) 156,575,510 26,676,370 183,251,880 รวม 49 223,679,300 6 38,109,100 55 261,788,400 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 49 2,236,793 6 381,091 55 2,617,884 ได้รับสุทธิ 49 221,442,507 6 37,728,009 55 259,170,516 ทั้งนี้ สำหรับการชดเชยเยียวยาจากโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบตามข้อ 3.1 และข้อ 3.2 กำหนดให้เจ้าของเรือต้องเป็นผู้ดำเนินการแยกชิ้นส่วนหรือทำลายเรือประมง จึงจะได้รับเงินชดเชยเยียวยาจากโครงการดังกล่าว 4. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีให้เจ้าของเรือประมง ในการมีทุนในการประกอบอาชีพอื่น และบรรเทาหนี้สินอันเกิดจากค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเรือ อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน จึงเห็นควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ให้แก่เจ้าของเรือประมงที่ได้รับเงินชดเชยเยียวยาจากกรมประมงในโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) และระยะที่ 2 โดยหากได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าของเรือประมงสามารถขอคืนภาษีอากรและภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไว้มากกว่ามูลค่าภาษีที่ตนเองมีหน้าที่ต้องจ่ายจริงภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี1 กค. จึงได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาด้วยแล้ว มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น รายละเอียด 1. ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ? บุคคลธรรมดา ? บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 2. สิทธิประโยชน์ทางภาษี ? ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการชดเชยเยียวยาจากกรมประมง เนื่องจากการเข้าร่วมโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) (ช่วงปี 2562 - 2563) และระยะที่ 2 (ช่วงปี 2565-2566) (บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเรือประมงไม่ต้องนำเงินชดเชยเยียวยาดังกล่าว มายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีภาษี)2 3. วันบังคับใช้ ? วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 5. กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว ดังนี้ 5.1 กรมสรรพากรคาดว่าจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ภาษีรวมประมาณ 58.6 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 48.1 ล้านบาท และภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 10.5 ล้านบาท 5.2 กรมสรรพากรต้องคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ประมาณ 2.6 ล้านบาท ซึ่งกรมสรรพากรสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าของเรือประมงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายได้รับการบรรเทาภาระภาษี และเจ้าของเรือประมงที่ได้รับเงินชดเชยเยียวยาสามารถนำเงินชดเชยเยียวยาดังกล่าวเต็มจำนวนไปใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพอื่น รวมทั้งบรรเทาภาระหนี้สินอันเกิดจากค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเรือ 1 การกำหนดเวลาขอคืนภาษี ตามมาตรา 27 ตรี การขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด 2 หากไม่มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเจ้าของเรือประมง เงินชดเชยที่กรมประมงจ่ายให้แก่เจ้าของเรือประมงจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร และมีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป จึงต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 50(4) และหากไม่มีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่นิติบุคคลเจ้าของเรือประมง เงินชดเชยที่กรมประมงจ่ายให้แก่เจ้าของเรือประมงจะเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 69 ทวิ 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ ในครอบครองเพื่อเสพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป สาระสำคัญ สธ. เสนอว่า 1. กฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. 2567 มีผลให้ใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งได้กำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ1 (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566) โดยที่ภายหลังจากกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมและมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการกำหนดปริมาณแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน และมีข้อร้องเรียนให้พิจารณาทบทวนปรับปรุงหรือยกเลิกกฎกระทรวงดังกล่าวรวมถึงปัญหาการตีความและการบังคับใช้ 2. ดังนั้น เพื่อเป็นหลักให้กับผู้ปฏิบัติงาน และเป็นแนวทางในการดำเนินการด้านยาเสพติดที่รัดกุม ชัดเจน และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน นายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งการให้ สธ. ดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงตามข้อ 1. ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย และหลักการ ?เปลี่ยนผู้เสพ เป็นผู้ป่วย? ที่ให้โอกาสผู้เสพได้พิจารณาให้เข้ารับการบำบัดรักษา ซึ่งต่อมา สธ. ได้แต่งตั้งคณะทำงานทบทวนกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. 2567 โดยที่ประชุมคณะทำงานดังกล่าวได้ประเมินผลกระทบจากกฎกระทรวงดังกล่าวพบว่าเกิดผลกระทบในด้านสังคม กฎหมาย และการแพทย์ จึงได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าว โดยแก้ไขเฉพาะปริมาณแอมเฟตามีน (ยาบ้า) และเมทแอมเฟตามีน (ยาไอซ์) โดยกำหนดให้ปริมาณแอมเฟตามีน มีปริมาณไม่เกิน 1 หน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 100 มิลลิกรัม และเมทแอมเฟตามีน มีปริมาณไม่เกิน 1 หน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 100 มิลลิกรัม หรือในกรณีที่เป็นเกล็ด ผง ผลึก มีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 20 มิลลิกรัม สธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ดังนี้ กฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษฯ พ.ศ. 2567 ร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษฯ พ.ศ. .... ข้อ 2 การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ในปริมาณเล็กน้อย ตามที่กำหนดดังต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ (1) ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ก) แอมเฟตามีน (amphetamine หรือ amfetamine) มีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินห้าร้อยมิลลิกรัม ฯลฯ (จ) เมทแอมเฟตามีน (methamphetamine หรือ metamfetamine) มีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินห้าร้อยมิลลิกรัม หรือในกรณีที่เป็นเกล็ด ผง ผลึก มีน้ำหนักสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยมิลลิกรัม ข้อ 2 การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ในปริมาณเล็กน้อย ตามที่กำหนดดังต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ (1) ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ก) แอมเฟตามีน (amphetamine หรือ amfetamine) มีปริมาณไม่เกินหนึ่งหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งร้อยมิลลิกรัม ฯลฯ (จ) เมทแอมเฟตามีน (methamphetamine หรือ metamfetamine) มีปริมาณไม่เกินหนึ่งหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งร้อยมิลลิกรัม หรือในกรณีที่เป็นเกล็ด ผง ผลึก มีน้ำหนักสุทธิไม่เกินยี่สิบมิลลิกรัม 3. สธ. ได้นำร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2. รับฟังความคิดเห็นของประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานปลัด สธ. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย รวมทั้งได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว 4. เรื่อง ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างข้อบังคับ คค. เสนอว่า 1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 มิถุนายน 2565) เห็นชอบในหลักการร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. .... ตามที่ คค. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 155 ง วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2565) 2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (27 มิถุนายน 2566) เห็นชอบร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. .... ตามที่ คค. เสนอ [เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนถ่ายระบบกับรถไฟฟ้าสายอื่น โดยคงอัตราค่าโดยสารตามข้อบังคับเดิม (ข้อ 1)] และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 156 ง วันที่ 30 มิถุนายน 2566 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566) 3. สืบเนื่องจากสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกำหนดให้มีการปรับอัตราค่าโดยสารทุก ๆ ระยะเวลา 24 เดือน นับตั้งแต่เริ่มการบริการที่ก่อให้เกิดรายได้ (วันที่ 3 กรกฎาคม 2547) โดยอัตราค่าโดยสารปัจจุบันจะครบกำหนด 24 เดือน ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ประกอบกับมาตรา 18 (13) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีอำนาจหน้าที่ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมการใช้ทรัพย์สิน การให้บริการและความสะดวกในกิจการรถไฟฟ้า ตลอดจนวิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร ค่าบริการและค่าธรรมเนียมดังกล่าว และกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสาร โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี 4. รฟม. จึงได้ยกร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระ ค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. .... เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยคำนวณอัตราค่าโดยสารใหม่ตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงตามความเป็นจริงของดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) โดยใช้ตัวเลขของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นข้อมูลในการคำนวณอัตราค่าโดยสารใหม่ตามสัญญาจะมีอัตราเริ่มต้น 17 บาท สูงสุด 45 บาท และจะมีผลบังคับใช้ 24 เดือน ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 จำนวนสถานีที่ใช้เดินทาง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 ขึ้นไป หน่วย/บาท อัตราค่าโดยสารใหม่ 17 20 22 25 27 30 32 35 37 40 42 45 อัตราค่าโดยสารตามข้อบังคับฯ ปี 2566 17 19 21 24 26 29 31 33 36 38 41 43 เปลี่ยนแปลง 0 1 1 1 1 1 1 2 1 2 1 2 ตารางเปลี่ยนอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล 5. ในคราวประชุมคณะกรรมการ รฟม. ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งอนุมัติหลักการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบจากรถไฟฟ้าสายอื่นมายังรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2569 เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้าและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้การปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทาน และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ก่อนวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 (ครบกำหนดการบังคับใช้ตามสัญญาในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567) 6. คค. จึงได้ยกร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารและการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญ เป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอัตราใหม่ตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 17 บาท สูงสุด 45 บาท เพื่อให้การปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานครเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทาน และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ก่อนวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว พร้อมเอกสารประกอบงบประมาณ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ ทั้งนี้ สงป. เสนอว่า 1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤษภาคม 2567) รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และ ให้ สงป. ดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และ เอกสารประกอบงบประมาณ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 11 มิถุนายน 2567 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป 2. เพื่อดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สงป. ได้ดำเนินการ ดังนี้ 2.1 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 77 วรรคสอง บัญญัติให้ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอนเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กำหนดโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป สงป. จึงได้เผยแพร่รายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ผ่านทางเว็บไซต์ของ สงป. (https://www.bb.go.th) เรียบร้อยแล้ว 2.2 สงป. ได้จัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังกล่าว และเอกสารประกอบงบประมาณ รวม 39 เล่มเรียบร้อยแล้ว สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ กำหนดให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นจำนวนไม่เกิน 3,752,700 ล้านบาท โดยจำแนกตามประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ กลุ่มงบประมาณ จำนวน (ล้านบาท) 1. รายจ่ายงบกลาง 805,745.0 2. รายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ 1,254,576.8 3. รายจ่ายบูรณาการ 206,858.5 4. รายจ่ายบุคลากร 800,969.6 5. รายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน 274,296.4 6. รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ 410,253.7 2. จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐสรุปได้ ดังนี้ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบฯ ปี 68 จำนวน (ล้านบาท) 1) ด้านความมั่นคง 405,412.8 2) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 398,185.9 3) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 583,023.4 4) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 923,851.4 5) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 137,291.9 6) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 645.880.9 โดยมีรายการค่าดำเนินการภาครัฐ จำนวน 659,053.7 ล้านบาท เพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น การชำระหนี้ภาครัฐ และเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองหลังสวน จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองหลังสวน จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลวังตะกอ ตำบลนาขา ตำบลแหลมทราย ตำบลขันเงิน ตำบลหลังสวน ตำบล ท่ามะพลา และตำบลพ้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรท้องถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจของชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารและการปกครอง ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ให้เพียงพอและได้มาตรฐาน รวมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท และกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้วและคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลวังตะกอ ตำบลนาขา ตำบลแหลมทราย ตำบลขันเงิน ตำบลหลังสวน ตำบลท่ามะพลา และตำบลพ้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนา การดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 1.2 ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรท้องถิ่น 1.3 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจของชุมชน 1.4 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารและการปกครองของอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 1.5 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 1.6 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 9 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) 4. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ (สีม่วงอ่อน) 5. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) 6. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) 7. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) 8. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) 9. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยเบาบาง เพื่อรองรับการขยายตัวของย่านพักอาศัยในอนาคต รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ในด้านต่าง ๆ ให้มีองค์ประกอบที่จำเป็นต่อชุมชนพักอาศัย ซึ่งกำหนดให้สามารถสร้างอาคารเพื่อการอยู่อาศัยได้ในหลายประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดอาคาร ซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ยกเว้นที่ดินในบริเวณหมายเลข 1.3 และหมายเลข 1.4 และกำหนดห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า โรงฆ่าสัตว์ การกำจัดมูลฝอย สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อประกอบกิจการโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การคั่ว บดหรือป่นกาแฟ หรือการทำกาแฟผง การทำน้ำดื่ม การทำน้ำแร่ การทำยานัตถุ์ การทำผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอเป็นเครื่องใช้ในบ้าน โรงงานซักรีด ซักแห้ง ซักฟอก รีด อัดหรือย้อมผ้า เครื่องนุ่งห่ม พรม หรือขนสัตว์ เป็นต้น - เป็นพื้นที่บริเวณชุมชนต่อเนื่องกับพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางในการรองรับการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับย่านพาณิชยกรรมซึ่งกำหนดให้สามารถสร้างอาคารเพื่อการอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ และกำหนดห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่ายคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าโรงฆ่าสัตว์ ไซโลเก็บผลิตผลทางการเกษตร การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อประกอบกิจการโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การคั่ว บด หรือป่นกาแฟหรือการทำกาแฟผง การตบแต่งหรือเย็บปักถักร้อยสิ่งทอ โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง การล้างหรืออัดฉีดยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ เป็นต้น - เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและการบริการชุมชนเพื่อรองรับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ การค้า การบริการที่ให้บริการแก่ประชาชน เช่น ตลาด ร้านค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน รวมทั้งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว และการอยู่อาศัยในเขตชุมชน ซึ่งที่ดินประเภทนี้เฉพาะในบริเวณหมายเลข 3.1 มีข้อจำกัดให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการใด ๆ ได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร เว้นแต่การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมหรือประกอบอุตสาหกรรม สำหรับในส่วนของข้อห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า โรงฆ่าสัตว์ การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำผลิตภัณฑ์จากผ้าใบ การตบแต่งหรือเย็บปักถักร้อยสิ่งทอ โรงงานซ่อมเครื่องมือไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้าน หรือใช้ประจำตัว เป็นต้น - เป็นพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคตซึ่งเป็นเขตพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม โดยมีการควบคุมและส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และเน้นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากภาคเกษตรกรรม หรืออุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร พืชพลังงาน อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการบริการชุมชนเป็นหลัก เช่น การเก็บรักษาหรือลำเลียงพืช เมล็ดพืช หรือผลิตผลจากพืชในไซโลโกดัง หรือคลังสินค้า การผลิตอาหารสำเร็จรูปจากเมล็ดพืชหรือหัวพืช โรงงานจัดหาน้ำ ทำน้ำให้บริสุทธิ์ หรือจำหน่ายน้ำไปยังอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น และกำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อคลังสินค้า โดยกำหนดห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ไว้ เช่น โรงแรม สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงเด็ก สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงคนชรา สถาบันการศึกษาหรือโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น - กำหนดให้เป็นพื้นที่กันชนระหว่างย่านที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรเป็นหลัก เช่น การทำสวนผลไม้ สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งที่ดินประเภทนี้ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ เช่น คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตเลียมเหลว โรงแรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การกะเทาะเมล็ดหรือเปลือกเมล็ดพืช การฆ่าสัตว์ การสี ฝัด หรือขัดข้าว การปอกหัวพืช หรือทำหัวพืชให้เป็นเส้น แว่น หรือแท่ง การทำน้ำเชื่อม การทำใบชาแห้งหรือใบชาผง โรงงานห้องเย็น เป็นต้น - เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนไว้เป็นที่โล่งสำหรับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสาธารณประโยชน์ กรณีที่ดินซึ่งเป็นของรัฐ ได้แก่ สวนเทิดพระเกียรติ สวนสาธารณะสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ชุมพร สำหรับกรณีที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับพื้นที่ ได้แก่ ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 20 เมตร กับริมฝั่งคลองลำพัน ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 20 เมตร กับริมฝั่งแม่น้ำหลังสวน ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 20 เมตร กับริมฝั่งห้วยปากท่านา ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 20 เมตร กับริมฝั่งคลองหนองหิน ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 20 เมตร กับริมฝั่งคลองหมาจันทร์ กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ซึ่งมิใช่การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เกษตรกรรมที่ไม่ใช่การเลี้ยงสัตว์และมีข้อจำกัดเรื่องความสูงและขนาดของอาคาร ซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนเมืองหลังสวน วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน โรงเรียนวัดวิเวการาม เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดเสกขาราม วัดวิเวการาม วัดขันเงิน เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันราชการ การดำเนินกิจการของรัฐที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคและสาธารณูปการหรือสาธารณประโยชน์ เช่น โรงพยาบาลหลังสวน ศาลจังหวัดหลังสวน หมวดการทางหลังสวน สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหลังสวน ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองหลังสวน เป็นต้น 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ (สีม่วงอ่อน) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 ถนนสาย ข 4 ถนนสาย ข 5 ถนนสาย ข 6 ถนนสาย ข 7 ถนนสาย ข 8 ถนนสาย ข 9 ถนนสาย ข 10 ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 และถนนสาย ค 3 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 4.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองหญ้าปล้อง ตำบลเขาขี้ฝอย ตำบลทัพทัน ตำบลทุ่งนาไทย และตำบลหนองกลางดง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาและดำรงรักษาพื้นที่เพื่อให้เป็นชุมชนศูนย์กลางเพื่อการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม ด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน รวมทั้งเพื่อให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการบริการในระดับอำเภอ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง และกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง รวมทั้งกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองหญ้าปล้อง ตำบลเขาขี้ฝอย ตำบลทัพทัน ตำบลทุ่งนาไทย และตำบลหนองกลางดง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมเพื่อให้เป็นชุมชนศูนย์กลางเพื่อการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม 1.2 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.3 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน 1.4 ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการบริการในระดับอำเภอ 1.5 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 9 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) 4. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ (สีม่วงอ่อน) 5. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) 6. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) 7. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) 8. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) 9. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยเบาบาง เพื่อรองรับการขยายตัวของย่านพักอาศัยในอนาคต รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ในด้านต่าง ๆ ให้มีองค์ประกอบที่จำเป็นต่อชุมชนพักอาศัย ซึ่งกำหนดให้สามารถสร้างอาคารเพื่อการอยู่อาศัยได้ในหลายประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดอาคาร ซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ยกเว้นที่ดินในบริเวณหมายเลข 1.3 และหมายเลข 1.4 และกำหนดห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า โรงฆ่าสัตว์ การกำจัดมูลฝอย สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อประกอบกิจการโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การคั่ว บดหรือป่นกาแฟ หรือการทำกาแฟผง การทำน้ำดื่ม การทำน้ำแร่ การทำยานัตถุ์ การทำผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอเป็นเครื่องใช้ในบ้าน โรงงานซักรีด ซักแห้ง ซักฟอก รีด อัดหรือย้อมผ้า เครื่องนุ่งห่ม พรม หรือขนสัตว์ เป็นต้น - เป็นพื้นที่บริเวณชุมชนต่อเนื่องกับพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางในการรองรับการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับย่านพาณิชยกรรมซึ่งกำหนดให้สามารถสร้างอาคารเพื่อการอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ และกำหนดห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่ายคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าโรงฆ่าสัตว์ ไซโลเก็บผลิตผลทางการเกษตร การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อประกอบกิจการโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การคั่ว บด หรือป่นกาแฟหรือการทำกาแฟผง การตบแต่งหรือเย็บปักถักร้อยสิ่งทอ โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง การล้างหรืออัดฉีดยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ เป็นต้น - เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและการบริการชุมชนเพื่อรองรับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ การค้า การบริการที่ให้บริการแก่ประชาชน เช่น ตลาด ร้านค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน รวมทั้งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว และการอยู่อาศัยในเขตชุมชน ซึ่งที่ดินประเภทนี้เฉพาะในบริเวณหมายเลข 3.1 มีข้อจำกัดให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการใด ๆ ได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร เว้นแต่การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมหรือประกอบอุตสาหกรรม สำหรับในส่วนของข้อห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า โรงฆ่าสัตว์ การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำผลิตภัณฑ์จากผ้าใบ การตบแต่งหรือเย็บปักถักร้อยสิ่งทอ โรงงานซ่อมเครื่องมือไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้าน หรือใช้ประจำตัว เป็นต้น - เป็นพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคตซึ่งเป็นเขตพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม โดยมีการควบคุมและส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และเน้นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากภาคเกษตรกรรม หรืออุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร พืชพลังงาน อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการบริการชุมชนเป็นหลัก เช่น การเก็บรักษาหรือลำเลียงพืช เมล็ดพืช หรือผลิตผลจากพืชในไซโลโกดัง หรือคลังสินค้า การผลิตอาหารสำเร็จรูปจากเมล็ดพืชหรือหัวพืช โรงงานจัดหาน้ำ ทำน้ำให้บริสุทธิ์ หรือจำหน่ายน้ำไปยังอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น และกำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อคลังสินค้า โดยกำหนดห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ไว้ เช่น โรงแรม สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงเด็ก สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงคนชรา สถาบันการศึกษาหรือโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น - กำหนดให้เป็นพื้นที่กันชนระหว่างย่านที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรเป็นหลัก เช่น การทำสวนผลไม้ สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งที่ดินประเภทนี้ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ เช่น คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตเลียมเหลว โรงแรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การกะเทาะเมล็ดหรือเปลือกเมล็ดพืช การฆ่าสัตว์ การสี ฝัด หรือขัดข้าว การปอกหัวพืช หรือทำหัวพืชให้เป็นเส้น แว่น หรือแท่ง การทำน้ำเชื่อม การทำใบชาแห้งหรือใบชาผง โรงงานห้องเย็น เป็นต้น - เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนไว้เป็นที่โล่งสำหรับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสาธารณประโยชน์ กรณีที่ดินซึ่งเป็นของรัฐ ได้แก่ สวนเทิดพระเกียรติ สวนสาธารณะสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ชุมพร สำหรับกรณีที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับพื้นที่ ได้แก่ ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 20 เมตร กับริมฝั่งคลองลำพัน ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 20 เมตร กับริมฝั่งแม่น้ำหลังสวน ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 20 เมตร กับริมฝั่งห้วยปากท่านา ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ20 เมตร กับริมฝั่งคลองหนองหิน ที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 20 เมตร กับริมฝั่งคลองหมาจันทร์ กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ซึ่งมิใช่การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เกษตรกรรมที่ไม่ใช่การเลี้ยงสัตว์และมีข้อจำกัดเรื่องความสูงและขนาดของอาคาร ซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนเมืองหลังสวน วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน โรงเรียนวัดวิเวการาม เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดเสกขาราม วัดวิเวการาม วัดขันเงิน เป็นต้น - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันราชการ การดำเนินกิจการของรัฐที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคและสาธารณูปการหรือสาธารณประโยชน์ เช่น โรงพยาบาลหลังสวน ศาลจังหวัดหลังสวน หมวดการทางหลังสวน สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหลังสวน ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองหลังสวน เป็นต้น 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง ให้เป็นไปดังต่อไปนี้ 4.1 ที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ลน.) เป็นพื้นที่บริเวณเขานาค เขาขี้ฝอย สวนสาธารณะ สระว่ายน้ำเทศบาลตำบลทัพทัน เขาแหลมและเขาโคกโค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือสาธารณประโยชน์หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น 4.2 ที่โล่งเพื่อการสงวนรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติ (ลร.) เป็นพื้นที่ในบริเวณแนวขนานระยะ 10 เมตร กับริมฝั่งห้วยขมิ้น ฝั่งใต้ และที่ดินในบริเวณแนวขนานระยะ 20 เมตร กับริมฝั่งแม่น้ำตากแดด ฝั่งใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสงวนรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น ซึ่งกำหนดไม่ให้มีการถมดิน ก่อสร้างหรือดำเนินการใด ๆ ในที่ดินอันเป็นการลดประสิทธิภาพของการระบายน้ำตามธรรมชาติ 4.3 ที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ลส.) เป็นพื้นที่บริเวณหนองโคกหม้อ (ล่าง) หนองหญ้าปล้อง หนองสำนักโก และหนองเขาขี้ฝอย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อเป็นการรักษาสภาพภูมิทัศน์ที่ดีของชุมชนหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น ซึ่งกำหนดไม่ให้กระทำการใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม 5. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 ถนนสาย ค และถนนสาย ง ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 5.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 5.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 5.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 6. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณโครงการคมนาคมและขนส่งประเภท คข. (สีส้มลายตาราง) ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น 7. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค เพื่อส่งเสริม ปรับปรุง และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้เหมาะสม เพียงพอกับการให้บริการและได้มาตรฐาน รวมถึงสามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคตได้ ซึ่งกำหนดให้เป็นโครงการกิจการสาธารณูปโภคประเภท สบ. (สีม่วงลายจุด) จำนวน 1 บริเวณ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่เพื่อการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ในบริเวณนั้น 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินจากการจำหน่ายสลากฯ ตัวเลขสามหลัก ซึ่งกำหนดให้สลากฯ ตัวเลขสามหลักเป็นสลากประเภทสมทบเงินรางวัล ประกอบด้วยหมายเลขให้เลือก 3 หลัก แต่ละหลักมี 10 หมายเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 9 (000 - 999 และไม่กำหนดหมายเลขไว้ในระบบล่วงหน้า ผู้ซื้อสามารถเลือกตัวเลขได้ตามต้องการ) โดยผู้ซื้อสามารถเลือกหมายเลขแต่ละหลักให้ครบ 3 หลัก และสามารถเลือกหมายเลขแต่ละหลักซ้ำกันได้ และในการออกรางวัลประเภทใด หากไม่มีผู้ถูกรางวัลในงวดนั้นให้นำเงินที่จัดสรรไว้สำหรับรางวัลประเภทนั้นสมทบไปเพื่อจ่ายเป็นเงินรางวัลสำหรับรางวัลประเภทเดียวกันในงวดถัดไป แต่ไม่เกินหนึ่งงวด และหากการออกรางวัลงวดถัดไปไม่มีผู้ถูกรางวัลในรางวัลประเภทนั้นอีก ให้นำเงินรางวัลสมทบในประเภทนั้นนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน สำหรับการจัดสรรเงินรางวัลให้สำนักงานสลากฯ จัดสรรในอัตราร้อยละ 60 จากการจำหน่ายสลากฯ ตัวเลขสามหลักในแต่ละงวด (ไม่สามารถระบุเงินรางวัลได้ชัดเจน เนื่องจากเงินรางวัลจะแปรผันตามจำนวนผู้ที่ซื้อสลากฯ) อย่างไรก็ตาม นอกจากการออกกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินจากการจำหน่ายสลากฯ ตัวเลขสามหลักแล้วนั้น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลยังได้ดำเนินการออกร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก เพื่อกำหนดประเภทและรูปแบบ วิธีการจำหน่าย รวมทั้งการจ่ายเงินรางวัลและประเภทของรางวัลด้วย ได้แก่ รางวัลสามตรง รางวัลสามสลับหลัก รางวัลสองตรงและรางวัลพิเศษ โดยมีวิธีการจำหน่ายในรูปแบบดิจิทัล (จำหน่ายโดยตัวแทนผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง) ซึ่งจะมีการออกรางวัล เดือนละ 2 ครั้ง ในวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน และเป็นรูปแบบใหม่ที่สำนักงานสลากฯ ยังไม่เคยดำเนินการมาก่อน ซึ่งร่างประกาศดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 25664 แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับ เนื่องจากสลากฯ ตัวเลขสามหลักเป็นสลากฯ ประเภทสมทบเงินรางวัล จึงต้องมีกฎกระทรวงว่าด้วยการสมทบเงินรางวัลตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากฯ พ.ศ. 2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น จึงต้องรอร่างกฎกระทรวงการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก พ.ศ. .... เพื่อประกาศใช้บังคับควบคู่กัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อรูปแบบของสลากฯ ได้หลากหลายมากขึ้นตามราคาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเป็นการช่วยให้การเสี่ยงโชคนอกระบบและผิดกฎหมาย (หวยใต้ดิน) ให้น้อยลงได้ รวมทั้งยังสามารถลดต้นทุนในการผลิตเนื่องจากมีวิธีการจำหน่ายเป็นแบบดิจิทัล ทำให้มีเงินนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินเพิ่มขึ้น ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กค. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไป โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินจากการจำหน่ายสลากฯ ตัวเลขสามหลัก ดังนี้ ประเด็น รายละเอียด 1. รูปแบบของสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก ? เป็นสลากประเภทสมทบเงินรางวัล ซึ่งประกอบด้วยหมายเลขให้เลือก 3 หลัก แต่ละหลักมี 10 หมายเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 9 (000 - 999 และไม่กำหนดหมายเลขไว้ในระบบล่วงหน้า) โดยผู้ซื้อสามารถเลือกหมายเลขแต่ละหลักให้ครบ 3 หลัก และสามารถเลือกหมายเลขแต่ละหลักซ้ำกันได้1 (เป็นรูปแบบใหม่ที่สำนักงานสลากฯ ยังไม่เคยดำเนินการมาก่อน) 2. การจัดสรรเงินรางวัล2 ? สำนักงานสลากฯ จัดสรรให้ร้อยละ 60 จากการจำหน่ายสลากฯ ตัวเลขสามหลักในแต่ละงวด (ไม่สามารถระบุเงินรางวัลได้ชัดเจนเนื่องจากเงินรางวัลจะแปรผันตามจำนวนผู้ที่ซื้อสลากฯ) 3. การสมทบรางวัล ? ในการออกรางวัลประเภทใดไม่มีผู้ถูกรางวัลในงวดนั้น ให้นำเงินที่จัดสรรไว้สำหรับรางวัลประเภทนั้นสมทบไปเพื่อจ่ายเป็นเงินรางวัลสำหรับรางวัลประเภทเดียวกันในงวดถัดไป แต่ไม่เกินหนึ่งงวด ? หากการออกรางวัลงวดถัดไปไม่มีผู้ถูกรางวัลในรางวัลประเภทนั้นอีก ให้นำเงินรางวัลสมทบในประเภทนั้นนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ สลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลักมีประเภทรางวัลตามที่กำหนดไว้ในร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก ดังนี้ ประเภทรางวัลของสลากฯ ตัวเลขสามหลักตามร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก3 คำอธิบาย 1. รางวัลสามตรง ? ผู้ซื้อจะต้องถูกทุกหมายเลขและตรงทุกตำแหน่ง 2. รางวัลสามสลักหลัก ? ผู้ซื้อจะต้องถูกทุกหมายเลขแต่สลับตำแหน่ง 3. รางวัลสองตรง ? ผู้ซื้อจะต้องถูกทุกหมายเลขและตรงทุกตำแหน่ง 4. รางวัลพิเศษ ? จะเป็นการสุ่มหมายเลขรางวัลพิเศษจากสลากฯ ที่ถูกรางวัลสามตรง จำนวน 1 รางวัล 2. คณะกรรมการสลากฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2566 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวตามที่ สคก. ได้ตรวจพิจารณาและมีการแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวงดังกล่าว สำนักงานสลากฯ จึงได้แก้ไขชื่อร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก (Numbers 3 : N3) เป็น ร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาล ตัวเลขสามหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตัวเลขสามหลัก พ.ศ. .... ตามที่ สคก. ตรวจพิจารณา และเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน 3. โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 กค. จึงได้ยืนยันเรื่องดังกล่าวมาเพื่อพิจารณาดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง 1 สำนักงานสลากฯ คาดว่าจะสามารถจำหน่ายสลากฯ ตัวเลขสามหลักได้อย่างต่ำ 40 ล้านฉบับต่องวด โดยจำหน่ายราคาฉบับละ 20 บาท ทั้งนี้ สลากฯ ตัวเลขสามหลัก จำหน่ายในรูปแบบดิจิทัล (ใช้ข้อมูลในระบบ) ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งจะมีการออกรางวัล เดือนละ 2 ครั้ง ในวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน (1 ปี จะมีการออกรางวัล 24 งวด) 2 การจัดสรรเงินรางวัลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากฯ พ.ศ. 2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ร้อยละ 60 เป็นเงินรางวัล 2) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 23 เป็นรายได้แผ่นดิน 3) ไม่เกินกว่าร้อยละ 17 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ซึ่งรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายสลากฯ ตัวเลขสามหลักด้วย 3 รวมประเภทของรางวัลทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่งไม่สามารถระบุจำนวนรางวัลได้ เนื่องจากจำนวนรางวัลจะแปรผันตามจำนวนผู้ที่ซื้อสลากฯ โดยในแต่ละงวดสำนักงานฯ จะประกาศสัดส่วนการจ่ายเงินรางวัลในแต่ละประเภทรางวัลล่วงหน้าก่อนการออกรางวัล 4 เห็นชอบร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลหกหลัก (Lottery 6 : L6) (ประกาศในราชกิจนุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566) และร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก (Numbers 3 : N3) รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และสำนักงานสลากฯ ได้แก้ไขชื่อร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก (Numbers 3 : N3) เป็น ร่างประกาศสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่อง กำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก) เพื่อให้สอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงการสมทบเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลตัวเลขสามหลัก พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน 9. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 1 พ.ศ. .... (ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2567) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่การเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด และเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2566 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก โดยให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ตามข้อ 1 และต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่ 12 ธันวาคม เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 กรกฎาคม 2566) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร จึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้ ปีที่ สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง 1 3 กรกฎาคม 2566 ? 30 ตุลาคม 2566 12 ธันวาคม 2566 ? 9 เมษายน 2567 2 3 กรกฎาคม 2567 ? 30 ตุลาคม 2567 12 ธันวาคม 2567 ? 10 เมษายน 2568 3 3 กรกฎาคม 2568 ? 30 ตุลาคม 2568 12 ธันวาคม 2568 ? 10 เมษายน 2569 4 3 กรกฎาคม 2569 ? 30 ตุลาคม 2569 12 ธันวาคม 2569 ? 10 เมษายน 2570 2. โดยที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. 2567 ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2567 ดังนั้น จึงเห็นสมควรให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่งสำหรับปี พ.ศ. 2567 ตั้งแต่ วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 เศรษฐกิจ-สังคม 10. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้แจ้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2567) รับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) (มาตรการป้องกันฯ) และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขตามมาตรา 35 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอและให้ ศธ. (สพฐ.) รับเรื่องนี้ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติ โดยให้ ศธ. สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ศธ. รายงานว่า ได้พิจารณารายงานผลการดำเนินการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 แล้วสรุปได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. สรุปผลการดำเนินการในภาพรวม 1. การกำชับให้หน่วยงานในสังกัดเคร่งครัดในการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 ศธ. และ สพฐ. ควรกำชับให้หน่วยงานในสังกัดเคร่งครัดการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เรื่อง มาตรการป้องกันฯ และกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. ที่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ทั้งนี้ ศธ. โดย สพฐ. สามารถพิจารณาดำเนินการศึกษาวิจัยร่วมกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เพื่อศึกษาข้อดีข้อเสีย ประโยชน์ ผลกระทบต่อการพัฒนาระบบการศึกษา สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อประกอบการกำหนดแนวทางการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ โดยหากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษาและไม่กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดช่องว่างในการเรียกรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ตอบแทนในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สพฐ. สามารถเสนอขอมีเงื่อนไขพิเศษได้ในอนาคต (1) ศธ. และ สพฐ. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เรื่อง มาตรการป้องกันฯ และได้นำเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ซึ่ง กพฐ. มีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ให้ยกเลิกเงื่อนไขพิเศษ จำนวน 3 ข้อ คงเหลือเงื่อนไขพิเศษ จำนวน 4 ข้อ และกำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาและแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา รวมทั้งได้เผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และสาธารณชนมาโดยตลอด พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ในการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการรับนักเรียนของสถานศึกษาสังกัด สพฐ. มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนภาคกลางและส่วนภูมิภาค (2) ในปีการศึกษา 2567 สพฐ. ยังคงกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนเช่นเดียวกับปีการศึกษา 2566 โดยในส่วนของแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขึ้นบัญชีสำรอง ได้มีการปรับให้บัญชีผู้สอบแข่งขันสิ้นสุดภายใน 7 วันทำการ1 นับจากวันประกาศเปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2567 ตามระเบียบ ศธ. ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2549 เพื่อให้โรงเรียนขึ้นบัญชีสำรอง 7 วันทำการ เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ สรุปได้ ดังนี้ (2.1) สพฐ. จัดประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 พร้อมทั้งแจ้งให้สถานศึกษาร่วมรับชมการถ่ายทอดสดการประชุมผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่อชี้แจงนโยบายการรับนักเรียนและการใช้งานระบบรายงานการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2567 ซึ่งได้เน้นย้ำการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. รวมทั้งแจ้งข้อมูลจากการตรวจติดตามการดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักเรียนของสำนักงาน ป.ป.ช. ปีการศึกษา 2563 ? 2566 และข้อพึงระวังกรณีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ 4 ข้อ ที่โรงเรียนกำหนด นอกจากนี้ คณะกรรมการรับนักเรียนระดับโรงเรียนได้กำชับให้สถานศึกษากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการรับและคัดเลือกนักเรียนเงื่อนไขพิเศษอย่างชัดเจน มีขอบเขตในการพิจารณาที่สามารถตรวจสอบได้ และไม่เป็นการใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง โดยได้ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการรับ การคัดเลือก และขอบเขตในการพิจารณาให้ผู้ปกครอง นักเรียน และสาธารณชนรับทราบ รวมทั้งประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับการพิจารณาตามเงื่อนไขพิเศษให้สาธารณชนทราบด้วย ทั้งนี้ กรณีที่นักเรียนเงื่อนไขพิเศษเป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส ให้ประกาศเฉพาะเลขประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือก โดยให้จัดทำฐานข้อมูลรายชื่อและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเป็นความลับเพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนของเด็กตามอนุสัญญาสิทธิเด็ก และกรณีการเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา ให้ดำเนินการตามประกาศ ศธ. เรื่องการเก็บเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาสังกัด สพฐ. รวมถึงการรับเงินเข้าสู่สถานศึกษา ให้จัดเก็บตามอำนาจการเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษาตามที่ สพฐ. กำหนด (2.2) สพฐ. ได้ยกร่างโครงการวิจัยเกี่ยวกับนโยบายการรับนักเรียนและการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสภาพการดำเนินนโยบายในปัจจุบัน ข้อดี ข้อเสีย และแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นดังกล่าว ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาระบบการศึกษา คุณภาพการศึกษา สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษา 2. การยกเลิกการเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในสังกัดกำหนดหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สพฐ. พิจารณายกเลิกการเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในสังกัดกำหนดหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน เนื่องจากการเปิดโอกาสดังกล่าวทำให้เกิดการใช้ดุลยพินิจของสถานศึกษาที่มีมาตรฐานในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน และอาจมีช่องว่างหรืออาจเกิดความเสี่ยงในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อแลกกับการเข้าเรียนในสถานศึกษาได้ง่ายขึ้น สพฐ. ได้รับทราบเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี (20 กุมภาพันธ์ 2567) เรื่อง รายงานผลการดำเนินการฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 แต่ไม่สามารถประกาศยกเลิกการเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในสังกัด สพฐ. กำหนดหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนได้ทันในปีการศึกษา 2567 เนื่องจากโรงเรียนได้ประกาศรับนักเรียนและเข้าสู่กระบวนการรับนักเรียนตามปฏิทินการดำเนินงานการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2567 (เดือนมกราคม ? กุมภาพันธ์ 2567) แล้ว อย่างไรก็ตาม สพฐ. ได้กำชับให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการ ดังนี้ (1) กำกับติดตามการรับนักเรียนปีการศึกษา 2567 ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม เป็นธรรม เสมอภาค โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยเฉพาะการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์การรับนักเรียนกรณีนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ 4 ข้อ2 แต่หากโรงเรียนเห็นว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงื่อนไขพิเศษนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ 4 ข้อ ให้เสนอคณะกรรมการรับนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้ความเห็นชอบก่อนประกาศรับสมัครนักเรียนต่อไป ทั้งนี้ การรับนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษรวมกับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของแผนการรับนักเรียนห้องปกติ (2) กำชับให้โรงเรียนที่มีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. รวมทั้งข้อพึงระวังกรณีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ 4 ข้อ ที่โรงเรียนกำหนด โดยคณะกรรมการรับนักเรียนระดับโรงเรียนต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการรับ การคัดเลือกนักเรียน ที่มีเงื่อนไขพิเศษอย่างชัดเจน มีขอบเขตในการพิจารณาที่สามารถตรวจสอบได้ ไม่เป็นการใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง และต้องประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการรับและการคัดเลือก และขอบเขตในการพิจารณาดังกล่าวให้ผู้ปกครอง นักเรียน และสาธารณชนรับทราบ ทั้งนี้ การประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้ประกาศเฉพาะเลขประจำตัวและให้จัดทำข้อมูลรายชื่อไว้เป็นความลับ หากมีการขอตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 (3) กำชับโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ทุกแห่งดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศ ศธ. เรื่อง การเก็บเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาสังกัด สพฐ. และหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว โดยการรับเงินเข้าสู่สถานศึกษา ให้จัดเก็บตามอำนาจการเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษา และห้ามไม่ให้ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ของสมาคมผู้ปกครองและครู หรือสมาคมศิษย์เก่า ทั้งนี้ การดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนสังกัด สพฐ. ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2564 ? 2566) และปีการศึกษา 2567 พบว่า ไม่มีนักเรียน ผู้ปกครอง บุคคล หรือหน่วยงานใด ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. แต่อย่างใด 3. การประกาศรายชื่อนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ การประกาศรายชื่อนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ ควรประกาศเฉพาะเลขประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือก เพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนของเด็กตามอนุสัญญาสิทธิเด็ก แต่ให้มีการจัดทำข้อมูลรายชื่อไว้เป็นความลับ และหากมีการขอตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 สพฐ. แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้แจ้งโรงเรียนในสังกัดทุกแห่งให้ประกาศผลนักเรียนที่ได้รับการพิจารณาตามเงื่อนไขพิเศษโดยให้ประกาศเฉพาะเลขประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือกและให้จัดทำข้อมูลรายชื่อไว้เป็นความลับ หากมีการขอตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 4. การสุ่มตรวจการดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ ให้ สพฐ. พิจารณาสุ่มตรวจการดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศเพื่อตรวจสอบ ติดตาม สังเกตการณ์และให้แนะนำเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียนเป็นประจำทุกปี สพฐ. ได้สุ่มตรวจการดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดมาโดยตลอด โดยในปีการศึกษา2564 ? 2566 ได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจในระดับชั้นที่มีการรับนักเรียนในวันรับสมัคร วันจับฉลากและวันสอบ/คัดเลือก โดยสุ่มตรวจโรงเรียนที่ได้รับความนิยมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและในปีการศึกษา 2567 มีกำหนดการลงพื้นที่สุ่มตรวจการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเช่นเดียวกับปีการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อเป็นการดำเนินการตามมาตรการป้องกันฯ รวมทั้งได้แจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตกำกับติดตามการดำเนินการรับนักเรียนในสังกัดด้วย 5. การจัดทำแนวทางการดำเนินงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาและให้ สพฐ. นำไปปฏิบัติ ให้ สพฐ. จัดทำแนวทางการดำเนินงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาและให้ สพฐ. นำไปปฏิบัติและรายงานผลการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันฯ ต่อสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นประจำทุกปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สพฐ. จะศึกษาวิจัยนโยบายการรับนักเรียนและการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบการศึกษา คุณภาพการศึกษา สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคทางการศึกษา และจะนำผลการศึกษาวิจัยไปสู่การปฏิบัติ กำกับ ติดตาม เก็บรวบรวมข้อมูล และปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจะศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สพฐ. จะรายงานผลการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันฯ ต่อสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นประจำทุกปี 1สพฐ. แจ้งว่า เดิมบัญชีผู้สอบแข่งขันสิ้นสุดใน 14 วันทำการ 2หลักเกณฑ์การรับนักเรียนกรณีนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ 4 ข้อ ประกอบด้วย (1) นักเรียนที่อยู่ในอุปการะของผู้บริจาคที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างเพื่อจัดตั้งโรงเรียน ซึ่งมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงร่วมกันมาก่อนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 (2) นักเรียนที่เป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส (3) นักเรียนที่เป็นบุตรผู้เสียสละเพื่อชาติหรือผู้ประสบภัยพิบัติที่ต้องได้รับการสงเคราะห์ดูแลเป็นพิเศษ และ (4) นักเรียนที่เป็นบุตรข้าราชการครูและบุคลากรของโรงเรียน 11. เรื่อง ข้อเสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในการบริหารจัดการกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณาข้อเสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในการบริหารจัดการกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต (กองทุนฯ) (ข้อเสนอแนะฯ) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 เมษายน 2567) รับทราบข้อเสนอแนะฯ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ และให้ ศธ. เป็นหน่วยงานหลัก รับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติ โดยให้ ศธ. สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ศธ. รายงานว่าได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กค. สงป. และ สตง. พิจารณาข้อเสนอแนะฯ ในภาพรวมแล้ว และได้เห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอแนะฯ โดยมีสาระสำคัญ 3 ประเด็น ประกอบด้วย (1) ระบบการบริหารจัดการและการคัดเลือกนักเรียนทุน (2) ระบบการบริหารเงินกองทุนและการเบิกจ่ายเงินกองทุน และ (3) ระบบการติดตามและประเมินผลและการรายงานผลการดำเนินการเงินกองทุน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการให้เกิดความโปร่งใสมีการเปิดเผย ตรวจสอบได้ในทุกกระบวนการ และเพื่อให้กองทุนฯ บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป รวมทั้งได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงของการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาการศึกษาอื่นด้วย โดยสรุปผลการดำเนินการได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. สรุปผลการดำเนินการในภาพรวม 1. ระบบการบริหารจัดการและการคัดเลือกนักเรียนทุน ให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ดำเนินการ ดังนี้ 1.1 กำหนดแนวทางหรือรูปแบบการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตของกองทุนฯ ในแต่ละกระบวนงานและกำหนดแนวทางในการควบคุม 1.2 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะการควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน [มติคณะรัฐมนตรี (25 กรกฎาคม 2566)] โดยเฉพาะข้อเสนอแนะที่ให้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับการกำหนดทุนการศึกษา คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับทุน และเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกพื้นที่เพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องทำหลักเกณฑ์หรือประกาศแนวทาง และคู่มือ เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานของรัฐ/เจ้าหน้าที่ที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้ปฏิบัติจะต้องยึดเป็นหลักในการใช้ดุลพินิจและควรมีหลักฐานหรือเอกสารที่ยืนยันว่ามีการใช้ดุลพินิจในลักษณะใด 1.3 สร้างความโปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ในการคัดเลือกผู้มีสิทธิ์ได้รับทุน โดยสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่ได้รับการอนุมัติจัดสรรทุนต้องประกาศรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลสาธารณะอย่างชัดเจน เช่น ประเภททุน จำนวนทุนหลักเกณฑ์การคัดเลือก รูปแบบการคัดเลือก โดยหากกำหนดให้มีการสอบด้วยข้อเขียนและสัมภาษณ์ ต้องประกาศผลคะแนนตามลำดับผู้มีสิทธิได้รับทุน รวมถึงอาจเปิดโอกาสให้ภาคีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินการระเบียบ วิธี มาตรฐานการคัดเลือกและร่วมตรวจสอบคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับทุน (1) สป.ศธ. มีคู่มือและแนวทางการดำเนินงานของกองทุนฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566) และได้ประกาศเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (2) มีการจัดทำประกาศ ศธ. เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาเสมาพัฒนาชีวิต และส่งให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพื่อแจ้งสถานศึกษาของผู้รับทุนทราบต่อไป (3) คณะกรรมการกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต(คณะกรรมการกองทุนฯ) มีมติเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 เห็นชอบการปรับแก้ไขระเบียบ ศธ. ว่าด้วยกองทุนฯ พ.ศ. 2565 เพื่อเปิดโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในการจัดสรรทุนให้กับผู้เรียนและครอบคลุมการศึกษาทุกระดับชั้นและทุกสังกัดโดยปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของกองทุนประเภททุนการศึกษา ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้เรียนที่ยากจนในทุกระดับชั้นและทุกสังกัดที่ไม่สามารถขอรับทุนการศึกษาจากแหล่งอื่นได้โดยให้พิจารณาเป็นอันดับแรก [เดิมเป็นการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนนักศึกษา ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งพบว่ามีผู้เรียนบางส่วนยากจนแต่ไม่มีคุณสมบัติในระดับการศึกษาที่กำหนด ทำให้ขาดโอกาสในการสมัครขอรับทุน อีกทั้งผู้ได้รับทุนการศึกษาส่วนใหญ่มีการขอรับทุนจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งแตกต่างจากผู้เรียนบางส่วนที่ไม่ได้รับทุนจากกองทุนใดเลย] (4) มีการจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงการควบคุมควบคุมภายใน และขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ เพื่อป้องกันการทุจริต รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานเป็นข้อมูลสาธารณะ 2. ระบบการบริหารเงินกองทุนและการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ ให้ สป.ศธ. ดำเนินการ ดังนี้ 2.1 ซักซ้อมความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารเงินและเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ เพื่อเน้นย้ำวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องและสอดคล้องกับระเบียบวิธีปฏิบัติและบทลงโทษที่เกิดจากการทุจริต 2.2 จัดทำปฏิทินการดำเนินการและกรอบระยะเวลาการเบิกจ่าย/โอนเงินที่ชัดเจนและอาจนำข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับการบริหารเงินกองทุนฯ และกระบวนการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ ได้แก่ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การเบิกจ่ายเงิน และการรายงานผลการใช้จ่าย มาจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศในลักษณะที่เข้าใจได้ง่าย เช่น จัดทำเป็นแผนผังหรือ Infographic เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจได้ง่ายและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง (1) สป.ศธ. ได้แจ้งเวียนหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารเงินกองทุนฯ แก่เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องตามคู่มือและแนวทางการดำเนินงานของกองทุนฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งจัดทำปฏิทินและระยะเวลาการเบิกจ่าย/โอนเงินที่ระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนโดยละเอียด (2) มีแผนจะจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศสำหรับจัดเก็บรายละเอียดสถานะของผู้รับทุนที่เป็นปัจจุบันเพื่อป้องกันการลาออกกลางคัน/ไม่สำเร็จการศึกษาและอาจมีการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกับ กยศ. ในอนาคต ทั้งนี้ในปัจจุบันกองทุนฯ สามารถตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานการเบิกจ่าย/การโอนเงินผ่านระบบ Krungthai Corporate Online ซึ่งสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทันที 3. ระบบการติดตามและประเมินผลและการรายงานผลการดำเนินการเงินกองทุนฯ ให้ สป.ศธ. ดำเนินการ ดังนี้ 3.1 เพิ่มความเข้มงวดในขั้นตอนการตรวจสอบติดตาม/ประเมินผลภายในหน่วยงาน เช่น ใช้กลไกของการตรวจสอบภายใน มีการสอบทานหน่วยงานเบิกจ่ายและหน่วยงานที่รับโอนเงิน เพิ่มบทบาทการตรวจสอบของคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะกรรมการกองทุนฯจังหวัด ที่บริหารจัดการในระดับพื้นที่ รวมถึงให้ความสำคัญกับข้อสังเกตและคำแนะนำจากหน่วยงานภายนอก เช่น สตง. 3.2 จัดทำข้อมูล/ข้อเท็จจริง เช่น รายละเอียดกองทุนฯ รายงานผลการดำเนินการประจำปี รายงานการเงินคงเหลือปฏิทินการดำเนินการ การติดตามผลสัมฤทธิ์ของผู้ได้รับทุน การส่งต่อนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาและการประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สื่อออนไลน์ เว็บไซต์ เพื่อให้ภาคประชาชนรับทราบการดำเนินงานของกองทุนฯ และสามารถมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลและเฝ้าระวังการทุจริต 3.3 เพิ่มช่องทางการรายงานผลการดำเนินงานกองทุนฯ ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เช่น ระบบออนไลน์ และไม่ต้องจัดทำข้อมูลรายงานในรูปแบบกระดาษ ซึ่งจะทำให้มีการรายงานผลการดำเนินโครงการต่อเนื่องและผู้ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินโครงการรับทราบความเคลื่อนไหวของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ที่เป็นปัจจุบันมากขึ้น 3.4 เพิ่มระบบการแจ้งเตือนข้อมูล เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนฯ ให้แก่ผู้ได้รับทุนเช่น รายงานการดำเนินงานกองทุนฯ สถานะการคัดเลือก สถานะการโอนเงิน โดยเลือกใช้ช่องทางที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ได้รับทุนเข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้ง่ายและเป็นการรักษาสิทธิ์ของการรับทุน 3.5 การกำหนดแนวทางและช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียของกองทุนฯ สามารถร่วมประเมินผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสามารถประเมินผลด้านประสิทธิภาพ ความพึงพอใจรวมถึงการให้ข้อเสนอแนะอื่น ๆ สป.ศธ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนฯ ซึ่งมีหน้าที่หนึ่งในการรายงานผลการดำเนินงานและประสานงานกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดผ่านแอปพลิเคชันไลน์และได้มอบหมายให้คณะกรรมการกองทุนฯ จังหวัดติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ระดับจังหวัด เพื่อรายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนฯ นอกจากนี้ ได้วางแผนการจัดทำระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับทุน รายงานผลการดำเนินการประจำปี รายงานการเงิน ยอดเงินคงเหลือ ปฏิทินการดำเนินการ การติดตามผลสัมฤทธิ์ของผู้ได้รับทุน รวมทั้งเพิ่มช่องทางการติดตามและรายงานผลผ่านระบบออนไลน์อย่างน้อย 3 ช่องทาง เช่น เว็บไซต์ของ ศธ. เว็บไซต์ของ สป.ศธ. และเฟซบุ๊กของหน่วยงานภายใน ศธ. 4. แหล่งที่มาของเงินทุน ให้ สป.ศธ. ตระหนักถึงความยั่งยืนของกองทุนฯ โดยคำนึงถึงประเด็นต่าง ๆ เช่น การพิจารณาขอรับการจัดสรรเงินทุนจากแหล่งเงินงบประมาณอื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้ทุนประเดิมจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อการศึกษาทั้งระบบ ทั้งนี้ ศธ. ควรนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปใช้กับกองทุนเพื่อการศึกษาอื่น ๆ ภายใต้สังกัดหน่วยงานอื่นด้วย สป.ศธ. มีการแจ้งเวียนข้อเสนอแนะฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี (9 เมษายน 2567) เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงของการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาการศึกษาอื่น ๆ ต่อไป 12. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. กสม. ได้ติดตามความก้าวหน้าเกี่ยวกับการถอนข้อสงวนข้อ 221 เกี่ยวกับเรื่องสถานะของเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงของอนุสัญญาฯ เพื่อส่งเสริมการดำเนินการของประเทศไทยให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยประเทศไทยได้เป็นภาคีอนุสัญญาฯ โดยการภาคยานุวัติเมื่อปี พ.ศ. 2535 และได้ตั้งข้อสงวนไว้ 3 ข้อ เพื่อยกเว้นการดำเนินการตามบทบัญญัติของอนุสัญญาในข้อนั้น ได้แก่ 1) ข้อ 7 ว่าด้วยสถานะบุคคล 2) ข้อ 22 ว่าด้วยสถานะของเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง และ 3) ข้อ 29 ว่าด้วยการจัดการศึกษา ซึ่งต่อมาประเทศไทยได้ถอนข้อสงวนข้อ 29 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 และข้อ 7 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553 ตามลำดับ ปัจจุบันคงเหลือเพียงข้อสงวนข้อ 22 และถือเป็นรัฐภาคีประเทศสุดท้ายที่ยังคงข้อสงวนข้อนี้ 2. กสม. เห็นว่า การไม่เลือกปฏิบัติเป็นหลักการสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองไว้ในข้อ 2 ของอนุสัญญาฯ โดยรัฐภาคีจะต้องเคารพและประกันสิทธิของเด็กทุกคนที่อยู่ในเขตอำนาจของรัฐภาคีนั้นโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติหรือสถานะอื่น ๆ รวมถึงสถานะการเข้าเมือง การเป็นผู้ลี้ภัยหรืออยู่ในสถานการณ์เฉกเช่นเดียวกับผู้ลี้ภัย ดังนั้น การที่ประเทศไทยยังคงข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ไว้ จะทำให้ถูกมองว่าประเทศไทยไม่มีนโยบายดูแลเด็กผู้ลี้ภัยหรือเด็กที่อยู่ในสถานการณ์เฉกเช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยที่อยู่ในเขตอำนาจของไทย ทำให้เด็กกลุ่มดังกล่าวไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานเช่นเด็กกลุ่มอื่นในประเทศ อันไม่สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้น กสม. จึงมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต่อคณะรัฐมนตรี 3. คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 มกราคม 2567) รับทราบข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ตามที่ กสม. เสนอ และมอบหมายให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ พม. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง พม. รายงานว่า ได้รวบรวมความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กต. มท. สมช. และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รวมทั้งได้ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมายจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 เป็นกรรมการ และเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาตามข้อเสนอแนะของ กสม. ในเรื่องดังกล่าวตามข้อ 3 แล้วเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งมีผลการพิจารณาในภาพรวมได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะของกสม. สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม 1. ประเทศไทยควรถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ โดยเร็ว เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์และยืนยันความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่จะคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่โดยเฉพาะหลักการไม่เลือกปฏิบัติและการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กตามอนุสัญญาฯ รวมถึงหลักการไม่ผลักดันบุคคลกลับไปสู่อันตราย ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีที่ประเทศไทยเป็นภาคี ทั้งนี้ หลักการดังกล่าวยังได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ด้วย - ประเทศไทยมีมาตรการและกลไกที่เพียงพอที่จะรองรับพันธกรณีภายใต้ ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ เนื่องจากเป็นการเน้นย้ำความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิบนฐานของการไม่เลือกปฏิบัติและประโยชน์สูงสุดของเด็กตามอนุสัญญาฯ และอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้ง คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาความพร้อมของประเทศไทยต่อการถอนข้อสงวนของอนุสัญญาฯ และคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติได้เห็นชอบการถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ด้วยแล้ว - การถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ2 ไม่เป็นการผูกมัดให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี เนื่องจากข้อ 22 ของอนุสัญญาฯกำหนดให้ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องให้การคุ้มครองต่อเด็กที่ร้องขอสถานะเป็นผู้ลี้ภัยหรือเป็นผู้ลี้ภัยตามกฎหมายหรือกระบวนการระหว่างประเทศหรือภายในที่เกี่ยวข้อง โดยจะได้รับการคุ้มครองและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมภายใต้สนธิสัญญาที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแล้วเท่านั้น - การถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ได้เคยปรากฏในข้อเสนอแนะภายใต้กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรอบที่ 2 ณ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งประเทศไทยรับทราบแล้ว และล่าสุดการถอนข้อสงวนฯ ได้เป็นหนึ่งในคำมั่นที่ประเทศไทยประกาศในการประชุม Global Refugee Forum ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 13 ? 15 ธันวาคม 2566 ณ นครเจนีวา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 เห็นชอบร่างคำมั่นฯ แล้ว 2. ควรประกันว่า การกำหนดความหมายของ ?เด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง? ในกรอบกฎหมายและนโยบายของประเทศไทยจะไม่ตัดสิทธิของเด็กกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในการได้รับความคุ้มครองตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ เช่น ไม่ควรกำหนดข้อยกเว้นกลุ่มเด็กที่เข้าข่ายคนต่างด้าวที่ มท. มีมาตรการหรือกระบวนการดำเนินการรับรองเป็นการเฉพาะ หรือกลุ่มเด็กที่เข้าข่ายแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดมาตรการหรือกระบวนการดำเนินการรับรองเป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ การคัดกรองตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 และประกาศคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การพิจารณาคัดกรองคำขอเป็นผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง ลงวันที่ 14 มีนาคม 2566 ควรอยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์ในประเทศที่เด็กจะถูกส่งตัวไป ว่าจะทำให้เด็กได้รับอันตรายต่อชีวิตหรือไม่เป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงสถานะทางกฎหมายของเด็ก เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติและวัตถุประสงค์ของข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ที่มุ่งคุ้มครองสิทธิให้กับเด็กทุกคน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบางต่าง ๆ - แนวทางการดำเนินการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ได้ระบุประเด็นคำนิยามและคำจำกัดความของเด็กตามอนุสัญญาฯ ข้อ 22ว่า 1. คำนิยาม ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ไม่ได้กำหนดคำนิยามของคำว่าเด็กลี้ภัย ซึ่งแต่ละประเทศสามารถกำหนดคำนิยามได้ตามกรอบกฎหมายภายในประเทศ โดยประเทศไทยเรียกว่า เด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ 2. คำจำกัดความ เด็กลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย อายุไม่ถึง 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้น ตามกฎหมายที่ใช้บังคับแต่เด็กนั้น ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักร และไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาโดยมีเหตุอันจะเชื่อได้ว่าจะได้รับอันตรายจากการถูกประหัตประหาร โดยจำแนกเด็กลี้ภัยในประเทศไทยเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 2.1 เด็กผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่ง ซึ่งได้รับการคุ้มครองและดูแลโดย มท. ซึ่งได้อนุญาตให้องค์การระหว่างประเทศและองค์การนอกภาครัฐเข้าไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและให้บริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่าง ๆ แก่เด็กกลุ่มนี้ด้วยแล้ว 2.2 เด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงในเมือง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจะเข้าสู่กระบวนการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 โดยระเบียบฯ ดังกล่าว ได้มุ่งคุ้มครองเด็กที่มีสถานะเป็นผู้ได้รับความคุ้มครองให้สามารถอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราว และเปิดโอกาสให้เด็กเข้าถึงสิทธิการศึกษาและบริการสาธารณสุขโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด - การดำเนินการของภาครัฐให้การดูแลเด็กทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงเด็กที่หนีภัยการประหัตประหารและไม่สามารถกลับประเทศต้นทางได้โดยดำเนินการตามมาตรการที่เหมาะสม เช่น เด็กที่เข้าข่ายคนต่างด้าวที่ มท. ได้กำหนดมาตรการดูแลเป็นการเฉพาะ เด็กแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดมาตรการเป็นการเฉพาะ และเด็กต่างด้าวที่ได้รับการดูแลตามระเบียบฯ ไม่ได้เป็นการเลือกปฏิบัติ แต่เป็นการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการดูแลเด็กกลุ่มต่าง ๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กซึ่งสอดคล้องกับอนุสัญญาฯ - สรุป การกำหนดความหมายของ ?เด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง? ในกรอบกฎหมายและนโยบายของประเทศไทยไม่ได้จำกัดสิทธิของเด็กกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในการได้รับความคุ้มครองตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ โดยได้มีมาตรการที่เหมาะสมในการรองรับเด็กแต่ละกลุ่ม โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก 1 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 22 กำหนดให้ 1. รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมที่จะประกันว่า เด็กที่ร้องขอสถานะเป็นผู้ลี้ภัย หรือที่ได้รับการพิจารณาเป็นผู้ลี้ภัยตามกฎหมายหรือกระบวนการภายในหรือระหว่างประเทศที่ใช้บังคับ ไม่ว่าจะมีบิดามารดาของเด็กหรือบุคคลอื่นติดตามมาด้วยหรือไม่ก็ตาม จะได้รับการคุ้มครองและความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมที่เหมาะสมในการได้รับสิทธิที่มีอยู่ตามที่ระบุไว้ในอนุสัญญานี้ และในตราสารระหว่างประเทศอื่น ๆ อันเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหรือมนุษยธรรม ซึ่งรัฐดังกล่าวเป็นภาคี 2. เพื่อวัตถุประสงค์นี้ รัฐภาคีจะให้ความร่วมมือตามที่พิจารณาว่าเหมาะสมแก่ความพยายามใด ๆ ของทั้งองค์การสหประชาชาติและองค์การระดับรัฐบาล หรือองค์การที่มิใช่ระดับรัฐบาลอื่นที่มีอำนาจ ซึ่งร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติในการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กเช่นว่า และในการติดตามหาบิดามารดาหรือสมาชิกอื่นของครอบครัวของเด็กผู้ลี้ภัย เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นสำหรับการกลับไปอยู่ร่วมกันใหม่เป็นครอบครัวของเด็ก ในกรณีที่ไม่สามารถค้นพบบิดามารดาหรือสมาชิกอื่น ๆ ของครอบครัว เด็กนั้นจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับเด็กที่ถูกพรากจากสภาพครอบครัว ทั้งที่เป็นการถาวรหรือชั่วคราวไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ดังเช่นที่ได้ระบุไว้ในอนุสัญญานี้ 2หมายเหตุ : พม. ได้เสนอเรื่อง การถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก มาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแล้วขณะนี้อยู่ระหว่าง สลค. จัดทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป 13. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้แจ้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2567) รับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) (มาตรการป้องกันฯ) และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขตามมาตรา 35 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอและให้ ศธ. (สพฐ.) รับเรื่องนี้ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติ โดยให้ ศธ. สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ศธ. รายงานว่า ได้พิจารณารายงานผลการดำเนินการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 แล้วสรุปได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. สรุปผลการดำเนินการในภาพรวม 1. การกำชับให้หน่วยงานในสังกัดเคร่งครัดในการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 ศธ. และ สพฐ. ควรกำชับให้หน่วยงานในสังกัดเคร่งครัดการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เรื่อง มาตรการป้องกันฯ และกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. ที่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ทั้งนี้ ศธ. โดย สพฐ. สามารถพิจารณาดำเนินการศึกษาวิจัยร่วมกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เพื่อศึกษาข้อดีข้อเสีย ประโยชน์ ผลกระทบต่อการพัฒนาระบบการศึกษา สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อประกอบการกำหนดแนวทางการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ โดยหากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษาและไม่กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดช่องว่างในการเรียกรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ตอบแทนในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สพฐ. สามารถเสนอขอมีเงื่อนไขพิเศษได้ในอนาคต (1) ศธ. และ สพฐ. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เรื่อง มาตรการป้องกันฯ และได้นำเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ซึ่ง กพฐ. มีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ให้ยกเลิกเงื่อนไขพิเศษ จำนวน 3 ข้อ คงเหลือเงื่อนไขพิเศษ จำนวน 4 ข้อ และกำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาและแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา รวมทั้งได้เผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และสาธารณชนมาโดยตลอด พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ในการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการรับนักเรียนของสถานศึกษาสังกัด สพฐ. มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนภาคกลางและส่วนภูมิภาค (2) ในปีการศึกษา 2567 สพฐ. ยังคงกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนเช่นเดียวกับปีการศึกษา 2566 โดยในส่วนของแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขึ้นบัญชีสำรอง ได้มีการปรับให้บัญชีผู้สอบแข่งขันสิ้นสุดภายใน 7 วันทำการ1 นับจากวันประกาศเปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2567 ตามระเบียบ ศธ. ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2549 เพื่อให้โรงเรียนขึ้นบัญชีสำรอง 7 วันทำการ เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ สรุปได้ ดังนี้ (2.1) สพฐ. จัดประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 พร้อมทั้งแจ้งให้สถานศึกษาร่วมรับชมการถ่ายทอดสดการประชุมผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่อชี้แจงนโยบายการรับนักเรียนและการใช้งานระบบรายงานการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2567 ซึ่งได้เน้นย้ำการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. รวมทั้งแจ้งข้อมูลจากการตรวจติดตามการดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักเรียนของสำนักงาน ป.ป.ช. ปีการศึกษา 2563 ? 2566 และข้อพึงระวังกรณีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ 4 ข้อ ที่โรงเรียนกำหนด นอกจากนี้ คณะกรรมการรับนักเรียนระดับโรงเรียนได้กำชับให้สถานศึกษากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการรับและคัดเลือกนักเรียนเงื่อนไขพิเศษอย่างชัดเจน มีขอบเขตในการพิจารณาที่สามารถตรวจสอบได้ และไม่เป็นการใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง โดยได้ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการรับ การคัดเลือก และขอบเขตในการพิจารณาให้ผู้ปกครอง นักเรียน และสาธารณชนรับทราบ รวมทั้งประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับการพิจารณาตามเงื่อนไขพิเศษให้สาธารณชนทราบด้วย ทั้งนี้ กรณีที่นักเรียนเงื่อนไขพิเศษเป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส ให้ประกาศเฉพาะเลขประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือก โดยให้จัดทำฐานข้อมูลรายชื่อและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเป็นความลับเพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนของเด็กตามอนุสัญญาสิทธิเด็ก และกรณีการเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา ให้ดำเนินการตามประกาศ ศธ. เรื่องการเก็บเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาสังกัด สพฐ. รวมถึงการรับเงินเข้าสู่สถานศึกษา ให้จัดเก็บตามอำนาจการเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษาตามที่ สพฐ. กำหนด (2.2) สพฐ. ได้ยกร่างโครงการวิจัยเกี่ยวกับนโยบายการรับนักเรียนและการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสภาพการดำเนินนโยบายในปัจจุบัน ข้อดี ข้อเสีย และแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นดังกล่าว ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาระบบการศึกษา คุณภาพการศึกษา สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษา 2. การยกเลิกการเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในสังกัดกำหนดหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สพฐ. พิจารณายกเลิกการเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในสังกัดกำหนดหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน เนื่องจากการเปิดโอกาสดังกล่าวทำให้เกิดการใช้ดุลยพินิจของสถานศึกษาที่มีมาตรฐานในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน และอาจมีช่องว่างหรืออาจเกิดความเสี่ยงในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อแลกกับการเข้าเรียนในสถานศึกษาได้ง่ายขึ้น สพฐ. ได้รับทราบเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี (20 กุมภาพันธ์ 2567) เรื่อง รายงานผลการดำเนินการฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 แต่ไม่สามารถประกาศยกเลิกการเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในสังกัด สพฐ. กำหนดหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนได้ทันในปีการศึกษา 2567 เนื่องจากโรงเรียนได้ประกาศรับนักเรียนและเข้าสู่กระบวนการรับนักเรียนตามปฏิทินการดำเนินงานการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2567 (เดือนมกราคม ? กุมภาพันธ์ 2567) แล้ว อย่างไรก็ตาม สพฐ. ได้กำชับให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการ ดังนี้ (1) กำกับติดตามการรับนักเรียนปีการศึกษา 2567 ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม เป็นธรรม เสมอภาค โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยเฉพาะการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์การรับนักเรียนกรณีนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ 4 ข้อ2 แต่หากโรงเรียนเห็นว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงื่อนไขพิเศษนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ 4 ข้อ ให้เสนอคณะกรรมการรับนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้ความเห็นชอบก่อนประกาศรับสมัครนักเรียนต่อไป ทั้งนี้ การรับนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษรวมกับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของแผนการรับนักเรียนห้องปกติ (2) กำชับให้โรงเรียนที่มีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. รวมทั้งข้อพึงระวังกรณีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ 4 ข้อ ที่โรงเรียนกำหนด โดยคณะกรรมการรับนักเรียนระดับโรงเรียนต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการรับ การคัดเลือกนักเรียน ที่มีเงื่อนไขพิเศษอย่างชัดเจน มีขอบเขตในการพิจารณาที่สามารถตรวจสอบได้ ไม่เป็นการใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง และต้องประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการรับและการคัดเลือก และขอบเขตในการพิจารณาดังกล่าวให้ผู้ปกครอง นักเรียน และสาธารณชนรับทราบ ทั้งนี้ การประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้ประกาศเฉพาะเลขประจำตัวและให้จัดทำข้อมูลรายชื่อไว้เป็นความลับ หากมีการขอตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 (3) กำชับโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ทุกแห่งดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศ ศธ. เรื่อง การเก็บเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาสังกัด สพฐ. และหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว โดยการรับเงินเข้าสู่สถานศึกษา ให้จัดเก็บตามอำนาจการเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษา และห้ามไม่ให้ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ของสมาคมผู้ปกครองและครู หรือสมาคมศิษย์เก่า ทั้งนี้ การดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนสังกัด สพฐ. ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2564 ? 2566) และปีการศึกษา 2567 พบว่า ไม่มีนักเรียน ผู้ปกครอง บุคคล หรือหน่วยงานใด ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. แต่อย่างใด 3. การประกาศรายชื่อนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ การประกาศรายชื่อนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ ควรประกาศเฉพาะเลขประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือก เพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนของเด็กตามอนุสัญญาสิทธิเด็ก แต่ให้มีการจัดทำข้อมูลรายชื่อไว้เป็นความลับ และหากมีการขอตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 สพฐ. แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้แจ้งโรงเรียนในสังกัดทุกแห่งให้ประกาศผลนักเรียนที่ได้รับการพิจารณาตามเงื่อนไขพิเศษโดยให้ประกาศเฉพาะเลขประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือกและให้จัดทำข้อมูลรายชื่อไว้เป็นความลับ หากมีการขอตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 4. การสุ่มตรวจการดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ ให้ สพฐ. พิจารณาสุ่มตรวจการดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศเพื่อตรวจสอบ ติดตาม สังเกตการณ์และให้แนะนำเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียนเป็นประจำทุกปี สพฐ. ได้สุ่มตรวจการดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดมาโดยตลอด โดยในปีการศึกษา2564 ? 2566 ได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจในระดับชั้นที่มีการรับนักเรียนในวันรับสมัคร วันจับฉลากและวันสอบ/คัดเลือก โดยสุ่มตรวจโรงเรียนที่ได้รับความนิยมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและในปีการศึกษา 2567 มีกำหนดการลงพื้นที่สุ่มตรวจการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเช่นเดียวกับปีการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อเป็นการดำเนินการตามมาตรการป้องกันฯ รวมทั้งได้แจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตกำกับติดตามการดำเนินการรับนักเรียนในสังกัดด้วย 5. การจัดทำแนวทางการดำเนินงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาและให้ สพฐ. นำไปปฏิบัติ ให้ สพฐ. จัดทำแนวทางการดำเนินงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาและให้ สพฐ. นำไปปฏิบัติและรายงานผลการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันฯ ต่อสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นประจำทุกปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สพฐ. จะศึกษาวิจัยนโยบายการรับนักเรียนและการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบการศึกษา คุณภาพการศึกษา สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคทางการศึกษา และจะนำผลการศึกษาวิจัยไปสู่การปฏิบัติ กำกับ ติดตาม เก็บรวบรวมข้อมูล และปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจะศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สพฐ. จะรายงานผลการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันฯ ต่อสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นประจำทุกปี 1สพฐ. แจ้งว่า เดิมบัญชีผู้สอบแข่งขันสิ้นสุดใน 14 วันทำการ 2หลักเกณฑ์การรับนักเรียนกรณีนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ 4 ข้อ ประกอบด้วย (1) นักเรียนที่อยู่ในอุปการะของผู้บริจาคที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างเพื่อจัดตั้งโรงเรียน ซึ่งมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงร่วมกันมาก่อนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 (2) นักเรียนที่เป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส (3) นักเรียนที่เป็นบุตรผู้เสียสละเพื่อชาติหรือผู้ประสบภัยพิบัติที่ต้องได้รับการสงเคราะห์ดูแลเป็นพิเศษ และ (4) นักเรียนที่เป็นบุตรข้าราชการครูและบุคลากรของโรงเรียน 14. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 ? 2580) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 ? 2580) [(ร่าง) แผนแม่บทฯ ปรังปรุงช่วงที่ 1] และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนงานรวมถึงแผนปฏิบัติการ รวมทั้งจัดทำรายละเอียดเป้าหมายรายลุ่มน้ำให้สอดคล้องกับ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ปรับปรุงช่วงที่ 1 ทั้งนี้ ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580) (แผนแม่บทฯ ฉบับเดิม) อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ พบว่า สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในช่วง 5 ปีแรกของแผนแม่บทฯ ฉบับเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น สถานการณ์โควิด ? 19 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ ดังนั้น สทนช. จึงได้ดำเนินการทบทวนแผนแม่บทฯ ฉบับเดิม และจัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 ? 2580) [(ร่าง) แผนแม่บทฯ ปรับปรุงช่วงที่ 1] (ข้อเสนอในครั้งนี้) เพื่อให้การดำเนินการในช่วง 15 ปี ต่อไป สามารถบรรลุผลได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมายในช่วง 5 ปี ถัดไป (ปี 2566 ? 2570) ที่ได้มีการปรับเป้าหมายในช่วงเวลาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการจริงที่ผ่านมา หรือเป็นไปตามความเหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นเส้นแนวฐาน (baseline) ของการดำเนินการของ สทนช. และหน่วยงานต่าง ๆ ต่อไป สาระสำคัญ 1. คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ปรับปรุงช่วงที่ 1 แล้ว โดย (ร่าง) แผนแม่บทฯ ปรับปรุงช่วงที่ 1 มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้ 1.1 หลักการและแนวคิดในการปรับปรุง (ร่าง) แผนแม่บทฯ ปรับปรุงช่วงที่ 1 เช่น 1.1.1 ลดช่องว่างปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด ที่ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำของประเทศ 1.1.2 ทบทวน ปรับปรุงตัวชี้วัด ค่าตั้งต้นการประเมิน (Base Line) ค่าเป้าหมายของแต่ละกลยุทธ์ แผนงาน ให้มีผลสะท้อนกับตัวชี้วัดของแผนระดับที่ 2 และ SDGs รวมถึงทบทวนกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 1.1.3 เพิ่มเติมหรือปรับปรุงแผนงาน/แผนงานย่อย โดยการคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ในอนาคต 1.1.4 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานราชการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ 1.2 วิสัยทัศน์ ?ประเทศไทยมีการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุลและมีพลวัต เพื่อความมั่นคงด้านน้ำในทุกมิติ? 1.3 เป้าหมายในภาพรวม 6 ประการ มีดังนี้ 1.3.1 ประชาชนทั้งในเมืองและชนบท มีน้ำอุปโภคและน้ำดื่มเพียงพอ ได้มาตรฐานสากลในราคาที่เหมาะสม มีการประหยัดน้ำทุกภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน รวมทั้งมีความสามารถในการบริหารจัดการน้ำระดับชุมชน และท้องถิ่น 1.3.2 สามารถจัดหาน้ำเพื่อการผลิต (เกษตร อุตสาหกรรม) ได้อย่างสมดุลระหว่างศักยภาพกับความต้องการ มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ผลิตภาพสูงขึ้น รวมทั้งสามารถจัดหาน้ำเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝนให้เพียงพอต่อการดำรงชีพและการทำการเกษตรในฤดูฝน 1.3.3 มีระบบป้องกันน้ำท่วมและอุทกภัยที่มีประสิทธิภาพ ทั้งโครงสร้างและการบริหารจัดการ มีผังการระบายน้ำทุกระดับ การบริหารพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่ชะลอน้ำ 1.3.4 ป่าต้นน้ำได้รับการฟื้นฟู สามารถชะลอการไหลบ่าของน้ำ มีการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำตามผังที่กำหนด มีการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ลาดชัน ทั้งในพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่เกษตร 1.3.5 การฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ชุมชนขนาดใหญ่ มีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม มีการจัดการโดยการป้องกันและลดน้ำเสียที่ต้นทาง ป้องกันน้ำเค็มและการกัดเซาะปากแม่น้ำในพื้นที่เฉพาะ 1.3.6 มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีธรรมาภิบาลทันสมัย มีกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ มีโครงสร้างองค์กรเหมาะสมในการบริหารจัดการน้ำทุกระดับ สามารถบริหารจัดการตามแผนยุทธศาสตร์ แผนแม่บท แผนปฏิบัติการ ระบบ และกลไกการจัดสรรน้ำ รวมทั้งมีระบบฐานข้อมูล ทรัพยากรมนุษย์และงานวิจัยเพียงพอในการตัดสินใจและบริหารจัดการ 1.4 (ร่าง) แผนแม่บทฯ ปรับปรุงช่วงที่ 1 ประกอบด้วย 5 ประเด็น 24 กลยุทธ์ ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้ ประเด็นและกลยุทธ์ ตัวอย่างเป้าหมายปี 2566 ? 2580 ตัวอย่างตัวชี้วัด ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค (1) พัฒนา/ขยายเขตระบบประปา เพิ่มประสิทธิภาพประปาหมู่บ้าน และจัดหาน้ำสะอาดให้ครัวเรือนที่ไม่มีประปา (2) พัฒนาระบบประปาเมือง/พื้นที่เศรษฐกิจ [พื้นที่การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เทศบาลนคร เทศบาลเมือง] (3) พัฒนาน้ำอุปโภคบริโภคให้ได้มาตรฐานและราคาที่เหมาะสมและให้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา (4) ประหยัดน้ำในทุกภาคส่วน (ลดการใช้ในภาคครัวเรือน ภาคบริการ และภาคราชการ) - ปรับปรุงประปาให้เป็นประปาน้ำสะอาด จำนวน 18,766 แห่ง - กปน. เพิ่มกำลังผลิตประปา 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน - กปภ. เพิ่มกำลังผลิตประปา 1.28 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน - จัดทำค่ามาตรฐานอัตราการใช้น้ำภายใน 2 ปี (1) สัดส่วนการเข้าถึงน้ำประปา (ครัวเรือนที่เข้าถึง/ครัวเรือนทั้งหมด) (2) สัดส่วนการเข้าถึงน้ำประปาที่ได้มาตรฐาน (ครัวเรือนที่เข้าถึงน้ำประปาที่ได้มาตรฐาน/ครัวเรือนทั้งหมด) หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กรมทรัพยากรน้ำบาดาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กปน. กปภ. ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต (1) จัดการความต้องการใช้น้ำ โดยบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งตามปริมาณน้ำต้นทุน และลดการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรม (2) เพิ่มประสิทธิภาพโครงการแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำเดิม โดยปรับปรุงโครงการชลประทานขนาดใหญ่/กลาง/เล็ก และเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในโครงการแหล่งน้ำเดิม (3) จัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน โดยพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบกระจายน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน (4) พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ/ระบบส่งน้ำใหม่/ระบบผันน้ำ เพื่อให้เกิดการจัดสรรน้ำไปยังพื้นที่ที่มีความต้องการ (5) เพิ่มผลิตภาพมูลค่าภาคการผลิต โดยให้มีโครงการนำร่อง เพื่อขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ (6) เพิ่มต้นทุนน้ำในอ่างเก็บน้ำและพื้นที่เกษตรโดยฝนหลวง - ลดการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรม ได้ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี - เพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำฤดูแล้ง 1,050 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 1.50 ล้านไร่ - เสริมระดับเก็บกักของอ่างเก็บน้ำเดิมจำนวน 20 แห่ง ปริมาณน้ำ 57 ล้านลูกบาศก์เมตร (1) ผลิตภาพจากการใช้น้ำ - ภาคการเกษตร (พื้นที่นอกเขตและพื้นที่ในเขตชลประทาน) - ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (GDP/ลูกบาศก์เมตร) (2) มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากภัยแล้งลดลง หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กรมชลประทาน อปท. กรมโรงงานอุตสหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย (1) เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ (2) ป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง โดยการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง (3) จัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ (4) สนับสนุนการปรับตัวและเผชิญเหตุอุทกภัย (5) ปรับปรุงเขื่อนเพื่อเพิ่มการระบายน้ำรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - กำจัดวัชพืชและขยะมูลฝอยในแม่น้ำสายหลัก/สาขาและแหล่งน้ำปิดไม่น้อยกว่า 6.5 ล้านตัน/ปี - ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง 1,500 กิโลเมตร - จัดทำแผนฉุกเฉินกรณีเขื่อนแตก/ระบายน้ำฉุกเฉิน และซ้อมหนีภัย (1) มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ลดลงต่อรอบปีการเกิดซ้ำ (2) สัดส่วนผู้เสียชีวิต/สูญหาย/ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางน้ำต่อประชากรรวมต่อรอบปีการเกิดซ้ำ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมเจ้าท่า อปท. กรุงเทพมหานคร ด้านที่ 4 การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ (1) อนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม (2) ป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำ (3) เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดและควบคุมการระบายน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม และการนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ (4) จัดสรรน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศและจัดทำแผนหลักป้องกันน้ำเค็ม/การกัดเซาะปากแม่น้ำในพื้นที่เฉพาะ (5) อนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ - ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม 525,000 ไร่ (ป่าสงวน/เขตอนุรักษ์) - ปรับปรุงบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบรวบรวมน้ำเสียเดิม 112 แห่ง - ปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ 18,250 ไร่ - ปริมาณน้ำเสียที่ได้รับการบำบัด 730 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี - จัดทำฐานข้อมูลลำน้ำ และแหล่งน้ำทั่วประเทศ พร้อมสถานการณ์ปัจจุบันภายใน 2 ปี (1) River Flow Management Index1 (2) สัดส่วนน้ำเสียที่เข้าระบบรวบรวมและบำบัดต่อปริมาณน้ำเสียทั้งหมด (3) ดัชนีความสมบูรณ์ของแม่น้ำ River Health Index2 (Composite indicator แหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล) (4) สัดส่วนการนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมควบคุมมลพิษ กรมประมง อปท. ด้านที่ 5 การบริหารจัดการ (1) สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย โดยการจัดทำ/ทบทวนระเบียบ ข้อบังคับด้านทรัพยากรน้ำ มีการติดตาม/ปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง (2) ส่งเสริม/พัฒนาองค์กรการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ/ กลไกความร่วมมือระหว่างประเทศด้านทรัพยากรน้ำ และเสริมสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์นโยบาย/แผนแม่บทฯ ตลอดจนบูรณาการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (3) จัดทำเครื่องมือในการบริหารจัดการ โดยจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พัฒนาระบบตรวจวัดและฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำ จัดทำผังน้ำและผังการระบายน้ำและส่งเสริมงานวิจัยเทคโนโลยี ตลอดจนนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (4) การจัดทำงบประมาณประจำปี โดยมีการใช้งบประมาณและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ - ชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง 6,000 หมู่บ้าน - สร้างต้นแบบชุมชนเกษตรอัจฉริยะ (smart farming) 60 ชุมชน - สำรวจข้อมูลระบบประปาปัจจุบัน เช่น อายุ กำลังผลิต แหล่งน้ำดิบ ครัวเรือนผู้ใช้น้ำ และคุณภาพน้ำภายในระยะเวลา 2 ปี - มีงบประมาณดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ที่วางไว้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 (1) มีแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทุกระดับ (2) ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น สทนช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ทส. กระทรวงมหาดไทย (มท.) อปท. 2. การขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติและติดตามประเมินผล 2.1 การถ่ายทอดแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับชาติลงสู่แผนแม่บท/แผนปฏิบัติการระดับลุ่มน้ำ 2.2 การจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้การแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องสภาพปัญหา เหมาะสมกับงบประมาณ พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยการดำเนินการให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการน้ำในชุมชนและการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ (Area based) รวมถึงความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนการพัฒนาในระดับต่าง ๆ 2.3 การเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อน โดยให้หน่วยงานอำนวยการขับเคลื่อน หน่วยงานปฏิบัติหลัก หน่วยงานปฏิบัติสนับสนุน กำหนดรายละเอียดการดำเนินการโครงการกรอบระยะเวลาและการติดตามประเมินผล 2.4 การจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการ มีการกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณเป็นรายลุ่มน้ำ ตามสภาพปัญหาและประเด็นการพัฒนาของลุ่มน้ำที่มีความแตกต่างกัน เพื่อให้คณะกรรมการลุ่มน้ำจัดสรรกรอบวงเงินรายจังหวัด ให้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดรวบรวมและกลั่นกรองโครงการที่จำเป็นเร่งด่วน มีความพร้อมตามกรอบแผนงาน และตามกรอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรร 2.5 การติดตามประเมินผล มีการดำเนินงานโครงการภายใต้กรอบแผนงบประมาณต่าง ๆ ดังนี้ (1) ภารกิจพื้นฐาน (Function) (2) ภารกิจยุทธศาสตร์ นโยบายเร่งด่วน แนวทางปฏิรูปภาครัฐ งบประมาณบูรณาการ (Agenda) (3) ภารกิจพื้นที่ ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัด กลุ่มจังหวัด (Area) (4) งบกลาง และ (5) เงินกู้ เพื่อสรุปผลการดำเนินการของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580) ให้สามารถแสดงผลที่ได้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ SDGs 3. ประโยชน์ตามประเด็นแผนแม่บทด้านต่าง ๆ 3.1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการน้ำอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน มีแนวทางและเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญในระยะ 20 ปี ได้แก่ ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน (เดิมและใหม่) 32,701 แห่ง 7.2 ล้านครัวเรือน จัดหาน้ำสำรอง 174.13 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มกำลังผลิตประปา 2.88 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน 3.2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต เพื่อรองรับเป้าหมายการพัฒนาการเศรษฐกิจ ลดความเสียหาย/เพิ่มรายได้ในพื้นที่เกษตร/เพิ่มผลิตในพื้นที่ที่มีน้ำมั่นคงแล้ว มีแนวทางและเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญในระยะ 20 ปี ได้แก่ การจัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน 2,739 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 5.12 ล้านไร่ พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ 4,505 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 4.66 ล้านไร่ 3.3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย เพื่อลดความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สิน ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีแนวทางและเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญในระยะ 20 ปี ได้แก่ ปรับปรุงลำน้ำสายหลัก 1,978.14 กิโลเมตร ป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง 380 แห่ง พื้นที่ได้รับการป้องกัน 779,985 ไร่ การจัดการพื้นที่น้ำท่วมลดน้ำหลาก 1,704 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนการปรับตัวและเผชิญเหตุ 37 ลุ่มน้ำสาขา การปรับปรุงเขื่อนเพื่อรองรับสภาพภูมิอากาศ 3.4 การอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้เกิดความสมดุล ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการ ขับเคลื่อนองค์กรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับนโยบาย มีแนวทางและเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญในระยะ 20 ปี ได้แก่ ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ 1.375 ล้านไร่ ลดการชะล้างพังทลายของดิน 2.65 ล้านไร่ พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย (เดิม/ใหม่) 759 แห่ง อนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ 3.5 การบริหารจัดการ ขับเคลื่อนองค์กรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับนโยบายและพื้นที่ กฎหมาย ระบบฐานข้อมูล เทคโนโลยี ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อยกระดับการจัดการน้ำในพื้นที่และลุ่มน้ำ เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนาใน 4 มิติแรก และให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 1 ดัชนีการจัดการการไหลในแม่น้ำ คือ การเปลี่ยนแปลงการไหลในแม่น้ำโดยทำการจำลองด้วยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ 2 ดัชนีสุขภาพของแม่น้ำ หรือ ค่า RHI เป็นค่าที่ได้มาจากการคำนวณปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความต้องการน้ำ สภาพภูมิอากาศ การเจริญเติบโตของประชากร การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรและปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เป็นต้น แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองเพื่อประเมินคุณภาพของแม่น้ำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ 15. เรื่อง โครงการสินเชื่อ IGNITE THAILAND คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อ IGNITE THAILAND และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 1,150 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการสินเชื่อ IGNITE THAILAND พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอสำหรับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมตามที่รัฐบาลประกาศวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นควรให้ขยายกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการ SMEs ที่จะมีสิทธิเข้าร่วมโครงการสินเชื่อ IGNITE THAILAND โดยให้รวมถึงวิสาหกิจชุมชน และ Micro SMEs ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ซึ่งวิสาหกิจชุมชน และ Micro SMEs นั้น จะต้องเกี่ยวข้องอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม 3 ประเภท คือ ด้านการท่องเที่ยว ด้านการแพทย์และสุขภาพ และด้านอาหาร สาระสำคัญของเรื่อง กค. รายงานว่า 1. ?IGNITE THAILAND จุดพลังรวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง? (IGNITE THAILAND) คือนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายใต้วิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดัน 8 กลุ่มอุตสาหกรรมของไทยสู่เป้าหมายการเป็นที่ 1 ในภูมิภาค ซึ่งจะให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 8 กลุ่ม ได้แก่ (1) ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub) (2) ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub) (3) ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) (4) ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) (5) ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค (Logistic Hub) (6) ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub) (7) ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Hub) และ (8) ศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub) เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกด้วยจุดแข็งของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ 2. เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมตามวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอสำหรับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ กค. จึงขอเสนอโครงการสินเชื่อ IGNITE THAILAND โดยมีสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสรุปได้ ดังนี้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข รายละเอียด วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนเงินทุนสำหรับเสริมสภาพคล่องหรือลงทุนปรับปรุง/ขยายกิจการให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมตามนโยบาย IGNITE THAILAND 3 กลุ่ม ได้แก่ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว (Tourism Hub) ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub) และศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) กลุ่มเป้าหมาย (1) ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศซึ่งมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน (2) เป็นผู้ประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (2.1) ศูนย์กลางการท่องเที่ยว (Tourism Hub) เช่น ผู้ประกอบการที่มีส่วนกระตุ้น Soft Power ด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เช่น เทศกาล คอนเสิร์ต ภาพยนตร์ ศิลปะ กีฬา เป็นต้น ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว เช่น บริษัททัวร์ รถรับจ้างนำเที่ยว รถเช่า ผู้ผลิตหรือขายของที่ระลึก โรงแรม โฮสเทล เกสต์เฮ้าส์ เป็นต้น ชุมชนหมู่บ้าน OTOP Home Stay เป็นต้น (2.2) ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub) เช่น สปา นวดแผนไทย แพทย์แผนไทย ผู้ประกอบการแปรรูปสมุนไพรเพื่อการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลขนาดเล็ก ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ศูนย์ Wellness Center เป็นต้น (2.3) ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) เช่น ผู้ประกอบการอาหารไทย ผู้ผลิตหรือแปรรูปอาหาร ผู้ประกอบการอาหารฮาลาล ผู้ประกอบการอาหารแห่งอนาคต เป็นต้น (2.4) เป็น Supply Chain ของธุรกิจ ตามข้อ (2.1) - (2.3) (3) ประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และปัจจุบันยังประกอบกิจการ (4) มีความสามารถในการชำระหนี้ตามที่ธนาคารออมสินกำหนด ทั้งนี้ เป็นการให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไมใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Refinance) ประเภทสินเชื่อ เงินกู้ระยะยาว วงเงินสินเชื่อโครงการ 5,000 ล้านบาท สำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มศูนย์กลางการท่องเที่ยว (Tourism Hub) วงเงิน 1,500 ล้านบาท (2) กลุ่มศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub) วงเงิน 1,500 ล้านบาท (3) กลุ่มศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) วงเงิน 2,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ธนาคารออมสินสามารถจัดสรรวงเงินในแต่ละกลุ่มได้ตามความเหมาะสม วงเงินสินเชื่อต่อราย ไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืม ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี ปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อโครงการ ปีที่ 1 ? 2 ร้อยละ 2.5 ต่อปี ปีที่ 3 ? 4 ร้อยละ MLR1 ? 1 ต่อปี ปีที่ 5 ? 10 ร้อยละ MLR ต่อปี กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหรรมขนาดย่อม (บสย.) อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นไปตามที่ธนาคารออมสินกำหนด หลักประกัน (1) หลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือ (2) บสย. ค้ำประกัน ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ IGNITE THAILAND การค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. (1) วงเงินค้ำประกันรวม 5,000 ล้านบาท (2) วงเงินค้ำประกันต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาท ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ข้อกำหนดหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อต่อรายและต่อกลุ่มลูกค้า (Single Guarantee Limit : SGL) ของ บสย. และการยื่นขอให้ค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า 200,000 บาท (3) อายุการค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี (4) ระยะเวลารับคำขอค้ำประกันนับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 (5) ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันในอัตราร้อยละ 1.75 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อตลอดอายุการค้ำประกัน โดยรัฐบาลจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการ SMEs ในปีที่ 1 - 2 อัตราร้อยละ 1.75 ต่อปี และปีที่ 3 - 4 อัตราร้อยละ 1 ต่อปี (6) บสย. จะจ่ายค่าประกันชดเชยตลอดการค้ำประกันสินเชื่อไม่เกินค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่ได้รับจากผู้ประกอบการ SMEs รวมกับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล รวมทั้งโครงการไม่เกินร้อยละ 30 ระยะเวลาการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อรวมในโครงการจะหมด แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน โดยให้ธนาคารออมสินเบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2569 กรอบวงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,150 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ธนาคารออมสินขอรับงบประมาณชดเชยจากรัฐบาล เพื่อชดเชยต้นทุนเงินในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 250 ล้านบาท (วงเงิน 5,000 ล้านบาท * ร้อยละ 2.5 ต่อปี * 2 ปี) โดยธนาคารออมสินจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป (2) บสย. ขอรับงบประมาณชดเชยจากรัฐบาล รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 900 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) ชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยเป็นเงินไม่เกิน 625 ล้านบาท (5,000 ล้านบาท * ร้อยละ 12.5) และ 2) ชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs เป็นเงินไม่เกิน 275 ล้านบาท (5,000 ล้านบาท * ร้อยละ 1 * 2 ปี + 5,000 ล้านบาท * ร้อยละ 1.75 * 2 ปี) เงื่อนไขอื่น ๆ (1) ธนาคารออมสินสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีปฏิบัติ ค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามระเบียบคำสั่งของธนาคารได้ (2) ธนาคารออมสินแยกบัญชีโครงการเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) (3) ธนาคารออมสินสามารถนำส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงและค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ได้รับชดเชย เพื่อบวกกลับในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจได้ (4) บสย. สามารถกำหนดรายละเอียดเงื่อนไขอื่น ๆ ของโครงการค้ำประกันสินเชื่อ IGNITE THAILAND ได้ตามความเหมาะสม โดยอยู่ภายใต้กรอบที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ประโยชน์ (1) สนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมตามวิสัยทัศน์ IGNTE THAILAND ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอ สำหรับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นเป็นกลไกในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND ของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม (2) มีผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,660 ราย (วงเงินสินเชื่อเฉลี่ย 3 ล้านบาทต่อราย) (3) ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท (1 เท่า) 3. กค. โดยธนาคารออมสินและ บสย. ได้จัดทำรายละเอียดการดำเนินการตามมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อประกอบการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว โดยในส่วนของการดำเนินการตามมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กค. แจ้งว่า ณ สิ้นวันที่ 25 มีนาคม 2567 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมียอดคงค้างจำนวน 999,500.55 ล้านบาท ดังนั้น หากมีการอนุมัติการดำเนินโครงการสินเชื่อ IGNITE THAILAND รวมจำนวน 1,150 ล้านบาท ซึ่งมื่อรวมที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จะส่งผลให้ยอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 1,014,446.55 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 31.85 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 32 ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดไว้และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 29 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนินโครงการดังกล่าว ธนาคารออมสินและ บสย. จะจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ได้รับมอบหมายแยกต่างหากจากบัญชีการดำเนินงานทั่วไป พร้อมทั้งเสนอรายงานผลการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อไป 1 MLR (Minimum Loan Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ เป็นต้น 16. เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 11 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (โครงการ PGS) ระยะที่ 11 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 7,125 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการ PGS ระยะที่ 11 โดยให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กำหนดโครงการย่อยภายใต้โครงการ PGS ระยะที่ 11 ที่เน้นให้ความสำคัญและความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่รัฐบาลสนับสนุน และผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ เห็นควรให้ บสย. ร่วมกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลผู้ประกอบการ SMEs ในมิติต่าง ๆ จากโครงการ PGS ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยนำมาปรับปรุงและเร่งพัฒนา Credit Scoring Model และ Risk-based Pricing Model อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ให้มีการประเมินความเสี่ยงของลูกค้าอย่างแม่นยำถูกต้อง ช่วยให้การกำหนดค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขการค้ำประกันมีความสอดคล้องกับความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละราย และพัฒนาไปสู่การพิจารณาอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อเป็นรายลูกค้า (Individual Guarantee) ต่อไป นอกจากนี้เนื่องจากโครงการ PGS ระยะที่ 11 เป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ดังนั้น เห็นควรให้ บสย. พิจารณางดเก็บหรือเก็บค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการจ่ายค่าประกันชดเชย ค่าจัดการค้ำประกัน ค่าดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อ เป็นต้น ด้วยความเหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มภาระทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้ประกอบการ SMEs และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ สาระสำคัญ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินอย่างเพียงพอสำหรับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาล IGNITE THAILAND1 ตลอดจนการปรับตัวเพื่อรับมือให้ทันกับสถานการณ์หรือวิกฤตที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กค. จึงขอเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการ PGS ระยะที่ 11 โดยมีสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสรุปได้ ดังนี้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข รายละเอียด วัตถุประสงค์ (1) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจและช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่สถาบันการเงินในการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEsโดยให้ความช่วยเหลือครอบคลุม ทั้งผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อย (2) เป็นกลไกในการสนับสนุนศักยภาพด้านเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกตามที่รัฐบาลประกาศวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND 8 ด้าน ได้แก่ การท่องเที่ยว การแพทย์และสุขภาพ อาหาร การบิน การขนส่งของภูมิภาค การผลิตยานยนต์แห่งอนาคต เศรษฐกิจดิจิทัล และการเงิน (3) เป็นกลไกในการช่วยเหลือสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเปราะบาง และผู้ประกอบการ SMEs ที่ประกอบธุรกิจทางด้านสนับสนุนสังคมและสิ่งแวดล้อม วงเงินค้ำประกันโครงการ 50,000 ล้านบาท โดย บสย. สามารถกำหนดเงื่อนไขและวงเงินค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs แต่ละกลุ่ม หรือแต่ละสถาบันการเงิน หรือโครงการย่อยแต่ละโครงการได้ตามความเหมาะสม รูปแบบการค้ำประกัน Portfolio Guarantee Scheme / Package Guarantee Scheme2 ระยะเวลารับคำขอค้ำประกันสินเชื่อ นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 อายุการค้ำประกันสินเชื่อ ไม่เกิน 10 ปี วงเงินค้ำประกันต่อราย ไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อรายรวมทุกสถาบันการเงิน ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ข้อกำหนดหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อต่อรายและต่อกลุ่มลูกค้า (Single Guarantee Limit : SGL) ของ บสย. และการยื่นขอให้ค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ค่าธรรมเนียมการค้ำประสินเชื่อ รวมทั้งโครงการเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปี และสามารถจัดสรรอัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่รัฐบาลจ่ายแทนผู้ประกอบการ SMEs ในแต่ละโครงการย่อยได้ตามความเหมาะสม ความรับผิดชอบในการจ่ายค่าประกันชดเชยของ บสย. (1) บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการไม่เกินค่าธรรมเนียม การค้ำประกันสินเชื่อที่ได้รับจากผู้ประกอบการ SMEs รวมกับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล เฉลี่ยทั้งโครงการไม่เกินร้อยละ 3 (2) บสย. สามารถจัดสรรเงินสำหรับการจ่ายค่าประกันชดเชยให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในแต่ละกลุ่มได้ตามความเหมาะสม (3) บสย. สามารถกำหนดเงื่อนไขในการแบ่งจ่ายค่าประกันชดเชยในแต่ละปีให้แก่สถาบันการเงินและกลไกการจัดสรรวงเงินค้ำประกันให้กับสถาบันการเงินได้ตามความเหมาะสม (4) บสย. จะเริ่มจ่ายค่าประกันชดเชยครั้งแรกในปีที่ 2 ของการค้ำประกันและในปีถัดไปจนสิ้นสุดการค้ำประกัน กรอบวงเงินค่าประกันชดเชยตลอดโครงการฯ รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 15,000 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) บสย. ขอรับเงินงบประมาณชดเชยจากรัฐบาลสำหรับการชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และการชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยจากรัฐบาลเป็นเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 7,125 ล้านบาท (ร้อยละ 14.25 x 50,000 ล้านบาท) (2) รายได้จากค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อในโครงการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการ SMEs เฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปีของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อในแต่ละปีตามรายรับที่เกิดขึ้นจริง เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 7,875 ล้านบาท (ร้อยละ 15.75 x 50,000 ล้านบาท) ผลเชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับ (1) มีผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 76,900 ราย (เฉลี่ย 0.65 ล้านบาทต่อราย) (2) ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท (1.2 เท่า) รายละเอียดเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ บสย. สามารถกำหนดรายละเอียดเงื่อนไขอื่น ๆ ของโครงการได้ตามความเหมาะสม โดยอยู่ภายใต้กรอบที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ กค. โดย บสย. ได้จัดทำรายละเอียดการดำเนินการตามมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อประกอบการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว โดยในส่วนของการดำเนินการตามมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กค. แจ้งว่า ณ สิ้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมียอดคงค้างจำนวน 968,322.404 ล้านบาท ดังนั้น หากมีการอนุมัติโครงการ PGS ระยะที่ 11 จำนวน 7,125 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จะส่งผลให้ยอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 980,597.404 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 28.177 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 32 ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดไว้ และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 29 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนินโครงการดังกล่าว บสย. จะจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินกิจกรรมมาตรการ หรือโครงการที่ได้รับมอบหมายแยกต่างหากจากบัญชีการดำเนินงานทั่วไป พร้อมทั้งเสนอรายงานผลการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อไป _____________________ 1 IGNTE THAILAND จุดพลังรวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง คือนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้วิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีโดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก 8 ด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ ศูนย์กลางอาหาร ศูนย์กลางการบิน ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล และศูนย์กลางทางการเงิน 2 Portfolio Guarantee Scheme / Package Guarantee Scheme หมายถึง โครงการที่ให้การค้ำประกันหรือการรับประกันการกู้ยืมเงินให้กับลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินจะเป็นผู้คัดกรองและส่งลูกค้ามายังองค์กรค้ำประกัน ระบบนี้จะให้สิทธิและความมั่นใจแก่สถาบันการเงินในการให้สินเชื่อโดยการรับประกันว่าหากผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ สถาบันการเงินจะได้รับการชดเชยบางส่วนหรือทั้งหมดของจำนวนเงินที่สูญเสีย 17. เรื่อง การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กำหนดจำนวนคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 72 ท่าน (เท่ากับจำนวนที่มติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ? 2567) ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ ข้อเท็จจริง สงป. เสนอว่า 1. การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 มิได้กำหนดจำนวนไว้ แนวปฏิบัติที่ผ่านมาการกำหนดจำนวนคณะกรรมาธิการฯ จึงเป็นไปตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการประชุม วาระที่ 1 โดยในปีงบประมาณที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นคณะกรรมาธิการฯ (ปี 2545 - 2549, ปี 2552 - 2557 และปี 2563) จำนวนกรรมาธิการฯ อยู่ระหว่าง 63 - 64 ท่าน และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2567 จำนวนกรรมาธิการฯ 72 ท่าน 2. การตั้งคณะกรรมาธิการฯ ในสัดส่วนคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 91 วรรคสอง กำหนดไว้ว่า ?การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญให้ตั้งจากบุคคลที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อมีจำนวนไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดจำนวนนอกจากนั้นให้ที่ประชุมเลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอ โดยให้มีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภา? 3. สงป. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมาเกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมาธิการฯ และเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 91 วรรคสอง จึงขอเสนอแนวทางเกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จำนวน 72 ท่าน เท่ากับจำนวนที่มติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ? 2567 โดยกำหนดสัดส่วนของคณะกรรมาธิการฯ ดังนี้ 3.1 กรรมาธิการฯ ที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อ จำนวน 18 ท่าน ซึ่งเป็นจำนวนไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวนคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ หรือจำนวนไม่เกิน 18 ท่าน 3.2 กรรมาธิการฯ ในสัดส่วนพรรคการเมือง จำนวน 54 ท่าน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักการประชุม) ได้ประสานและแจ้งแนวทางการกำหนดสัดส่วนกรรมาธิการฯ แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล จำนวน 34 ท่าน และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน จำนวน 20 ท่าน ซึ่งจะมีการคัดเลือกตามกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป 3.3 กรรมาธิการฯ ในสัดส่วนที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อจำนวนไม่เกิน 18 ท่าน เห็นสมควรให้คณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดตามความเหมาะสมต่อไป 18. เรื่อง การกำหนดให้การไหว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ประเภทการทักทายและการแสดงความเคารพแบบไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดให้การไหว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ประเภทการทักทายและการแสดงความเคารพแบบไทย ตามมติคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ (กอช.) เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง สปน. รายงานว่า 1. ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเอกลักษณ์ของชาติในมิติต่าง ๆ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 มีมติเห็นชอบให้เสนอการไหว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ โดยให้กำหนดว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทใด และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ (สปน.) เพิ่มเติมรายละเอียดในประเด็นสำคัญ ความหมาย ความหลากหลายและความลุ่มลึกของการไหว้ไทย1 ให้มีความสมบูรณ์ ก่อนนำเสนอ กอช. พิจารณา 2. จากการศึกษาพบว่า 2.1 การไหว้ เป็นท่าทางการพนมมือเพื่อแสดงความเคารพหรือแสดงความรู้สึกของคนไทยที่ปฏิบัติกันทั่วไปในสังคม จนกลายเป็นลักษณะนิสัยเฉพาะประการหนึ่งของคนไทย ซึ่งต่างจากกิริยาหรือการแสดงออกที่คล้ายคลึงกันในสังคมอื่น ๆ กิริยาการไหว้สันนิษฐานว่ามีมาแต่โบราณ ซึ่งอาจเริ่มต้นจากความเชื่อของมนุษย์ในเรื่องการมีอยู่ก่อนจิตวิญญาณหรืออำนาจเหนือธรรมชาติที่ทำให้มนุษย์เกรงกลัวและกระทำการบูชาด้วยวิธีต่าง ๆ ผ่านการแสดงออกทางร่างกาย ได้แก่ ศีรษะ ลำตัว แขน มือ และเท้า ในชั้นต้น การไหว้อาจเน้นไปที่ปัจเจกบุคคลทำความเคารพต่อผู้ที่อาวุโสหรือมีศักดิ์มากกว่า การแสดงอากัปกิริยาดังกล่าวนี้ ในอารยธรรมอินเดียโบราณ เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ?มุทรา? แปลว่าเครื่องหมายหรือตราประทับและยังอาจแปลว่าท่าทางการแสดงมือด้วยก็ได้ ซึ่งเป็นการแสดงกิริยาที่สัมพันธ์กับคติทางศาสนา สำหรับการแสดงมือเป็นลักษณะท่าไหว้ที่มีปรากฏในศิลปะอินเดีย จัดเป็นมุทราลักษณะหนึ่งเรียกว่า ?อัญชลีมุทรา? นิยมใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงความเคารพหรือทักทายกัน พร้อมกับกล่าวคำว่า ?นมัสเต? ทั้งนี้ นอกจากอัญชลีมุทราจะมีการปฏิบัติกันแพร่หลายในอินเดียแล้ว ยังมีการปฏิบัติกันในภูมิภาคเอเชียและที่อื่น ๆ ที่ได้รับอิทธิพลอารยธรรมอินเดียด้วย เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทักทายด้วยการประนมมือพร้อมกล่าวคำว่า ?สะบายดี? ราชอาณาจักร กัมพูชาทักทายด้วยการประนมมือ โค้งเล็กน้อย พร้อมกับกล่าวคำว่า ?ซัวสเด? และราชอาณาจักรไทยกล่าวทักทายว่า ?สวัสดี? ประกอบการไหว้2 2.2 การไหว้ของไทย สันนิษฐานว่าได้รับเข้ามาพร้อมกับการเข้ามาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธในดินแดนไทย การไหว้เป็นกิริยาทั้งแสดงความเคารพ แสดงการทักทายหรือแสดงความรู้สึกตามแต่โอกาสและบริบท ในมิติด้านศาสนาปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าการไหว้เป็นกิริยาแสดงความเคารพบูชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตั้งแต่ยุคแรกที่ศาสนาพุทธเข้ามาในไทย เช่น ภาพสลักพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม (ปฐมเทศนา) ศิลปะสมัยทวารทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 พบที่วัดไทร จังหวัดนครปฐม แสดงรูปพระพุทธเจ้าโปรดเหล่าปัญจวัคคีย์ ซึ่งเหล่าปัญจวัคคีย์ล้วนแสดงกิริยาเคารพด้วยการไหว้ อย่างไรก็ตาม แต่เดิมการไหว้ของไทยไม่ปรากฏแบบแผนท่วงท่าชัดเจน สามารถไหว้ได้ในหลายอิริยาบถไม่ว่าจะนั่งหรือยืน ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงอธิบายถึงลักษณะการไหว้ของคนไทยว่ามีหลายลักษณะไว้ในหนังสือ ?สาส์นสมเด็จ? เช่น (1) ไหว้มือเดียวไม่ว่าท่าใด ๆ แล้วแต่กรณี อย่างที่เรียกว่า ?เอางาน? (2) ไหว้สองมือ ไม่ว่าท่าใด ๆ แล้วแต่กรณี (3) ยืนไหว้ อย่างวันทาพระสถูปและอุปัชฌาย์ (4) นั่งหย่องไหว้ (5) นั่งคุกเข่าไหว้ (6) นั่งพับเพียบไหว้ (7) คุกเข่ากราบ (8) พับเพียบกราบ 2.3 ต่อมาในปี 2505 กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยกองวัฒนธรรมได้กำหนดให้การไหว้เป็นส่วนหนึ่งของมารยาทไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีหม่อมหลวงปีย์ มาลากุล เป็นผู้ให้คำแนะนำ และได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ ?มารยาทไทย? ซึ่งหนังสือดังกล่าวได้กำหนดให้การไหว้เป็นส่วนหนึ่งในมารยาทเรื่องการแสดงความเคารพ ต่อมากระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้มีการจัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือ ?มารยาทไทย มารยาทสังคม? มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ (1) การไหว้ประกอบด้วยกิริยา 2 ส่วนคือ 1) การประนมมือ (อัญชลี) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการกระพุ่มมือเล็กน้อย ให้ปลายนิ้วทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสองประกบเสมอกันแนบหว่างอก ปลายนิ้วเฉียงขึ้นพอประมาณ แขนแนบลำตัว ไม่กางศอกทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน ใช้ในเวลาฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา สนทนากับพระภิกษุ รับพรจากผู้ใหญ่ และรับความเคารพจากผู้ที่อายุน้อยกว่า และ 2) การไหว้ (วันทนาหรือวันทา) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือแล้วยกมือทั้งสองข้างขึ้นจรดใบหน้า ให้เห็นว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง ยิ่งโน้มตัวลงต่ำเท่าใด ยิ่งแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนหรือเคารพนบนอบเท่านั้น โดยปกติจะไหว้ผู้มีอาวุโสมากกว่า (2) ระดับของการไหว้ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (2.1) การไหว้ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ ให้ประนมมือ แล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้แนบส่วนของหน้าผาก (2.2) การไหว้ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้ที่มีอายุมาก ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ ให้ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมค้อมศีรษะลง ให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้แนบหว่างคิ้ว (2.3) การไหว้ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่วไปที่เคารพนับถือหรือผู้ที่มีอายุมากกว่าเล็กน้อย ให้ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลง ให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้แนบปลายจมูก สำหรับการไหว้ในระดับที่ 3 นี้ จะใช้แสดงความเคารพผู้ที่มีอายุเท่ากันหรือเพื่อนกันได้ด้วย โดยยืนตรงไหว้ไม่ต้องค้อมศีรษะลง (3) การไหว้ในกาลเทศะต่าง ๆ ได้แก่ การไหว้พระรัตนตรัย เป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ การไหว้เพื่อแสดงความรู้สึกหรือแสดงความเคารพ เช่น ไหว้ทักทาย ไหว้ขอบคุณ ไหว้ขอโทษ การไหว้เจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ สิ่งของ เช่น ไหว้ศาลหลักเมือง วัด โบสถ์ ไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่ ไหว้ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ และการไหว้ในพิธีกรรม เช่น ไหว้ครู ไหว้เครื่องดนตรีไทย ไหว้พ่อแก่หัวโขนเศียรครู 2.4 การไหว้ของไทยเป็นการแสดงออกทางสังคมหรือธรรมเนียมปฏิบัติที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยที่เราต่างคุ้นเคยและประพฤติปฏิบัติอยู่เสมอในชีวิตประจำวันซึ่งได้มีการปรับและพัฒนามาจากในอดีตจนมีความหลากหลาย ความลุ่มลึก และความหมายในการแสดงออกที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว โดยในปี 2554 วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้มีการขึ้นทะเบียนการแสดงความเคารพแบบไทย (เช่น ประนมมือ ไหว้ กราบ ถวายความเคารพ) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในสาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล ซึ่งการขึ้นทะเบียนดังกล่าวถือเป็นความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับการประกาศให้เรื่องการไหว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของไทย เนื่องจากการไหว้ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบัน ?การไหว้? ผู้กำหนดให้เป็นการแสดงความเคารพที่มีแบบแผนชัดเจนอันเป็นการช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ มิตรภาพ ความเข้าใจอันดีในสังคม และยังเป็นการแสดงความเคารพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยจะเห็นได้จากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) บรรดาผู้นำชาติต่าง ๆ หน่วยงานและองค์การระหว่างประเทศได้มีการแสดงความเคารพหรือให้คำแนะนำในการแสดงออกเรื่องการทักทายด้วยการไหว้ เพื่อเป็นการลดการสัมผัสระหว่างกัน 3. ในการประชุม กอช. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 มีมติเห็นชอบการกำหนดให้การไหว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ประเภทการทักทายและการแสดงความเคารพแบบไทย และให้ฝ่ายเลขานุการ (สปน.) นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติในราชกิจจานุเบกษาต่อไป เนื่องจากเห็นว่าการไหว้เป็นการแสดงออกทางสังคมหรือธรรมเนียมปฏิบัติ ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทย การเสนอให้การไหว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติจึงมีความเหมาะสมก่อให้เกิดการเรียนรู้ธรรมเนียมปฏิบัติอันงดงาม สะท้อนให้เห็นความหมายที่สื่อออกมาจากการปฏิบัติในเรื่องการไหว้ของไทย สร้างความภาคภูมิใจและเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งยังเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่สำคัญทางวัฒนธรรมของไทยที่จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในระดับสากล ตลอดจนต่อยอดไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) หรือประเด็นอื่นได้ 4. สปน. ได้ขอให้คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567 มีมติเห็นชอบในหลักการกำหนดให้การไหว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติและมอบหมายให้ สปน. (สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ) นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป 1ความหลากหลายและความลุ่มลึกของการไหว้ไทยที่แตกต่างจากประเทศอื่น ความหลากหลาย เช่น การไหว้ผู้อาวุโสเพื่อแสดงการทักทาย การไหว้เพื่อแสดงการขอโทษ ความลุ่มลึก เช่น การไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งที่มองไม่เห็น บุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว 2คำทักทายว่า ?สวัสดี? ประกอบการไหว้ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นผู้ริเริ่มใช้คำว่า ?สวัสดี? เป็นคำทักทายที่ใช้ในเวลาที่พบกัน โดยเริ่มใช้ในหมู่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่แรก เมื่อปี 2476 และนิยมกันแพร่หลาย ต่อมาในปี 2481 ขณะที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ได้มีประกาศกำหนดให้ใช้คำว่า ?สวัสดี? เป็นคำทักทายของคนไทย ด้วยเหตุนี้ ในเวลาทักทายกัน นอกจากการแสดงกิริยาไหว้แล้ว ยังตามด้วยคำว่า ?สวัสดี? อีกด้วย นับจากนั้น การแสดงกิริยาไหว้พร้อมกล่าวคำว่า ?สวัสดี? ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติที่เผยแพร่ไปสู่สังคมโลก 19. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนนตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ ดังนี้ สาระสำคัญและข้อเท็จจริง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2549 เห็นชอบการดำเนินการตามมาตรการและแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ให้ถือเป็นภารกิจสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน ตั้งงบบประมาณรองรับให้เหมาะสม คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่ 13 ธันวาคม 2566 เห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลและช่วงวันหยุด พ.ศ. 2567 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนใช้เป็นกรอบการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอเรื่อง การเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ แก่ประชาชนให้สามารถเดินทางอย่างคล่องตัวและปลอดภัยตลอดจนจัดเตรียมรถโดยสารสาธารณะให้เพียงพอและบริหารจัดการการจราจรและการใช้เส้นทางต่าง ๆ ให้เกิดความเรียบร้อย เหมาะสม และอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง การจราจร และการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวตลอดช่วงเทศกาลดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอเรื่อง การเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (เพิ่มเติม) โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพิ่มเติมต่าง ๆ ได้แก่ ประสานงาน วางแผน และปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแล อำนวยการความสะดวกในช่วงเทศกาลสงกรานต์เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด จัดเตรียมรถโดยสารให้เพียงพอ การบริหารจัดการการจราจร การรณรงค์ ?ห้ามดื่มแล้วขับ? และการอำนวยความสะดวกและความเรียบร้อยของสถานที่จัดกิจกรรม ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ดำเนินการตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 โดยร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ภายใต้ชื่อ ?ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ? ช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 11 - 17 เมษายน 2567 เสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ สถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 11 - 17 เมษายน 2567 (รวม 7 วัน) จำนวนครั้งการเกิดดอุบัติเหตุ (ครั้ง) จำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) (คน) จำนวนผู้เสียชีวิต (ราย) 2,044 2,060 287 การดำเนินงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ช่วงควบคุมเข้มข้นระหว่างวันที่ 11 - 17 เมษายน 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับเทศกาลสงกรานต์ เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง มีผลการดำเนินงานตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด ประกอบด้วย (1) การเกิดอุบัติเหตุ 2,044 ครั้ง ลดลงร้อยละ 5.44 ผู้บาดเจ็บ (admit) 2,060 คน ลดลงร้อยละ 3.95 ผู้เสียชีวิต 287 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.13 (2) การเกิดอุบัติเหตุใหญ่ 29 ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.29 (3) การเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ 150 ราย ลดลงร้อยละ 1.32 (4) ผู้เสียชีวิตจากพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.72 ดื่มแล้วขับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.54 ไม่สวมหมวกนิรภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.13 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ลดลงร้อยละ 4.55 และขับรถย้อนศร เพิ่มขึ้นร้อยละ 125 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 พบว่า มีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าในช่วงปกติ โดยจากข้อมูลสถิติการเดินทางของกรมทางหลวง พบว่า ปริมาณการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล ทั้งขาเข้า - ขาออก เพิ่มขึ้นจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 และจากข้อมูลสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า พื้นที่จัดงานเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 (ขนาดใหญ่) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และพื้นที่จัดงาน ที่หน่วยงานแจ้งในภาพรวม เพิ่มขึ้น 20 เท่า จากเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ทั้งนี้จากการดำเนินงาน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 (7 วัน) สถิติในภาพรวมจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ และผู้บาดเจ็บ (admit) ลดลง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้จำนวนการเกิดอุบัติเหตุ และผู้บาดเจ็บ (admit) ลดลง เป็นผลจากการดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และในระดับพื้นที่มีการดำเนินการมาตรการเชิงรุกโดยให้ท้องที่และท้องถิ่น ร่วมกับอาสาสมัคร จิตอาสา และประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน จัดตั้ง ?ด่านชุมชน? ?ด่านครอบครัว? และการเคาะประตูบ้าน เพื่อเฝ้าระวัง ตรวจตรา ป้องปราม และตักเตือนบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้มีความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน แต่เมื่อพิจารณาจำนวนสถิติผู้เสียชีวิต และอุบัติเหตุใหญ่พบว่า มีสถิติที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ตัดหน้ากระชั้นชิด และขับรถย้อนศร รวมทั้งการเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งมีดัชนีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนรถจักรยานยนต์และรถจักรยานยนต์พ่วงข้างเป็นยานพาหนะที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้รวบรวมข้อเสนอแนะจากการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนตลอดทั้งปี โดยได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน ดังนี้ 1. ให้กระทรวงคมนาคมส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยสนับสนุนการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากการใช้ยานพาหนะบนท้องถนนเป็นการเดินทางทางอากาศให้มากขึ้น จูงใจด้วยการเพิ่มเที่ยวบิน และลดอัตราค่าโดยสารให้เหมาะสม เพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลบนท้องถนนและระยะเวลาการเดินทาง ตลอดจนลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 2. ให้สำนักงานตำรวจแห่งขาติ เชื่อมโยงข้อมูลผู้กระทำความผิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีพบว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำ ให้พนักงานสอบสวนนำข้อมูลการกระทำผิดซ้ำประกอบพยานหลักฐานทางกฎหมาย และดำเนินการแจ้งพนักงานอัยการเพื่อเพิ่มโทษตามกฎหมาย รวมทั้งให้พิจารณาจัดตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงหรือนำเทคโนโลยีมาเชื่อมข้อมูลผู้กระทำความผิด 3. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย โดยนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในการบังคับใช้กฎหมายให้เพียงพอ กรณีดื่มแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด อาทิ เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ กล้องตรวจจับความเร็วแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น 4. ให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สนับสนุนองค์ความรู้และการให้ความรู้ด้านการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนนแก่บุคลากรและเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดและพื้นที่ เพื่อการปรับปรุงคุณภาพข้อมูล และการเลือกมาตรการแก้ปัญหา 20. เรื่อง การดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 33 และ การแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 33 และการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส จากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กองทุน กทปส.) ในสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ในวงเงินงบประมาณ จำนวน 435,000,000 บาท ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ สาระสำคัญและข้อเท็จจริง การดำเนินการเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 33 และการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2567 มีมติเห็นชอบในหลักการให้การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจัดหาลิขสิทธิ์เพื่อการถ่ายทอดสดรายการแข่งขันกีฬา 2 รายการดังกล่าว จำนวน 435,000,000 รวมภาษีที่เกี่ยวข้องจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และให้ กกท. เสนอเรื่องการดำเนินการดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายการดำเนินการต่อไป และเมื่อ กกท. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาลิขสิทธิ์เพื่อการถ่ายทอดสดฯ เรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการตามประกาศแนบท้ายของสำนักงาน กสทช. อย่างเคร่งครัด เพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนรวมถึงผู้ด้อยโอกาสได้มีโอกาสเข้าถึงการรับชมและร่วมส่งกำลังใจให้นักกีฬาทีมชาติไทยผ่านการถ่ายทอดสดครั้งนี้ ดังนั้น กกท. ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณฯ จากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เป็นลำดับแรก ทั้งนี้ มติคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2567 เห็นชอบในหลักการดำเนินการจัดหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาทั้ง 2 รายการดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนได้ติดตามให้กำลังใจนักกีฬาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่เนื่องด้วยกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ให้การสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระดับนานาชาติที่สำคัญหลายรายการ อาทิเช่น การแข่งขันวอลเลย์บอล รายการ Volleyball Nations League 2024 Finals และการแข่งขันกีฬาเอเซียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ซึ่งส่งผลให้มีงบประมาณไม่เพียงพอในการสนับสนุนการจัดหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา 2 รายการดังกล่าวได้ และขอให้ กกท. ดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงาน กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ และหากไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดังกล่าว หรือได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วน กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ จะเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติพิจารณาอีกครั้งและเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการดังกล่าว ของกองทุน กทปส. ในสำนักงาน กสทช. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงมีความจำเป็นต้องเสนอเรื่องเพื่อให้คณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อประกอบการพิจารณาการขอรับการสนับสนุนต่อไป ประโยชน์และผลกระทบ การดำเนินการเผยแพร่ผลการแข่งขันของนักกีฬาแต่ละประเทศในรูปแบบการถ่ายทอดสดให้ประชาชนได้รับชม เชียร์ และเป็นกำลังใจให้นักกีฬา ถือเป็นการส่งเสริม สนับสนุนกีฬาชาติที่สำคัญอีกทางหนึ่ง และจะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของนักกีฬาตัวแทนของแต่ละประเทศได้ การถ่ายทอดสดการแข่งขันทั้ง 2 รายการผ่านสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนรวมถึงผู้ด้อยโอกาสได้มีโอกาสรับชมเชียร์และให้กำลังใจนักกีฬาทีมชาติไทยผ่านการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาดังกล่าวกันได้อย่างทั่วถึง ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา หรือการสูญเสียรายได้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ขอรับสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 33 และการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส จากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) ในสำนักงาน กสทช. ในวงเงินงบประมาณ จำนวน 435,000,000 บาท เพื่อเป็นค่าลิขสิทธิ์และค่าดำเนินการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาดังกล่าว ทั้งนี้ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 33 และการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส สาธารณฝรั่งเศส จะจัดขึ้น ณ วันที่ 26 กรกฎาคม - 11 สิงหาคม และวันที่ 28 สิงหาคม - 8 กันยายน 2567 โดยหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบในข้อมูลแล้ว กกท. ต้องดำเนินการดังนี้ 1) เสนอเรื่องพร้อมมติคณะรัฐมนตรี เข้าสู่กระบวนการให้คณะกรรมการบริหาร กสทช. และคณะกรรมการบริหาร กองทุน กทปส. รับทราบและดำเนินการพิจารณาเรื่องการขอสนับสนุนงบประมาณ เพื่อดำเนินการจัดหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 33 ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม - 11 สิงหาคม 2567 และการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 8 กันยายน 2567 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส จำนวน 435,000,000 บาท 2) กกท. ดำเนินการประสานรายละเอียดกับผู้ถือลิขสิทธิ์ และผู้บริหารจัดการลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาทั้ง 2 รายการดังกล่าว อย่างเป็นทางการในประเทศไทย เพื่อดำเนินการร่างสัญญา รวมถึงเสนอรายละเอียดการร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็น ก่อนลงนามสัญญาและในกระบวนทั้งหมดในข้างต้นจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 33 ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 21. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 4-9 มิถุนายน 2567) คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 4-9 มิถุนายน 2567) ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เสนอ สาระสำคัญและข้อเท็จจริง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 4 ? 9 มิถุนายน 2567 มีดังนี้ 1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน ปัจจุบันพบว่าปรากฏการณ์เอนโซ ได้เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางแล้วและจะคงสภาวะนี้ต่อไป โดยมีความน่าจะเป็นร้อยละ 69 ที่จะเปลี่ยนไปสู่สภาวะลานีญาในเดือนกรกฎาคม-กันยายน และจะต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อม ความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน และประเทศไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง การคาดการณ์ฝน ในช่วงวันที่ 11 ? 15 มิถุนายน 2567 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง 2. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ และการคาดการณ์ (1) สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาพรวมประเทศ สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 9 มิถุนายน 2567) มีปริมาณน้ำ 40,496 ล้านลูกบาศก์เมตร (50%) น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 1,723 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้การ 16,326 ล้านลูกบาศก์เมตร (29%) มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve)) 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ และอ่างเก็บน้ำปราณบุรี และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุเก็บกัก จำนวน 91 แห่ง (จากทั้งหมด 369 แห่ง) ได้แก่ ภาคเหนือ 11 แห่ง (จาก 79 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 42 แห่ง (จาก 189 แห่ง) ภาคกลาง 6 แห่ง (จาก 11 แห่ง) ภาคตะวันออก 15 แห่ง (จาก 44 แห่ง) และภาคตะวันตก 15 แห่ง (จาก 24 แห่ง) และภาคใต้ 2 แห่ง (จาก 22 แห่ง) (2) การคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง การคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในช่วงต้นฤดูแล้ง ปี 2567/68 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567) จะมีปริมาณน้ำใช้การ 34,809 ล้าน ลบ.ม. (73%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 32,848 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า 1,961 ล้าน ลบ.ม.(4%) 3. การแจ้งเตือนของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (1) สทนช. ได้จัดทำประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2567 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2567 เพื่อเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน ช่วงวันที่ 4 ? 11 มิถุนายน 2567 โดยมีพื้นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ ชัยภูมิ ขอนแก่น และอุดรธานี ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จังหวัดจันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี (2) สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 6 - 12 มิถุนายน 2567 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำ ท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ 4. สถานการณ์อุทกภัย ในช่วงวันที่ 4 ? 9 มิถุนายน 2567 มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนโดยมีสถานการณ์เกิดขึ้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน (1 อ. 1 ต.) จ.ตาก (1 อ. 1 ต.) ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่การเกษตรที่ จ.สุพรรณบุรี (2 อ. 4 ต.) และนครปฐม (2 อ. 3 ต.) สถานการณ์น้ำมีแนวโน้มลดลง ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 671 ครัวเรือน 6,227 ไร่ 5. พื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2567 สทนช. บูรณาการข้อมูลร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ดังนี้ (1) พื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วง ช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2567 เดือนมิถุนายน มีพื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วง 30 จังหวัด 137 อำเภอ 584 ตำบล ดังนี้ - ภาคเหนือ 10 จังหวัด 26 อำเภอ 93 ตำบล - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 จังหวัด 100 อำเภอ 456 ตำบล - ภาคกลาง 1 จังหวัด 2 อำเภอ 3 ตำบล - ภาคตะวันออก 1 จังหวัด 5 อำเภอ 23 ตำบล - ภาคตะวันตก 1 จังหวัด 1 อำเภอ 2 ตำบล - ภาคใต้ 3 จังหวัด 3 อำเภอ 7 ตำบล เดือนกรกฎาคม มีพื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วง 19 จังหวัด 64 อำเภอ 244 ตำบล ดังนี้ - ภาคเหนือ 6 จังหวัด 11 อำเภอ 31 ตำบล - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัด 53 อำเภอ 213 ตำบล เดือนสิงหาคม มีพื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วง 19 จังหวัด 69 อำเภอ 232 ตำบล ดังนี้ - ภาคเหนือ 4 จังหวัด 14 อำเภอ 35 ตำบล - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด 48 อำเภอ 182 ตำบล - ภาคตะวันออก 1 จังหวัด 3 อำเภอ 6 ตำบล - ภาคตะวันตก 1 จังหวัด 2 อำเภอ 7 ตำบล - ภาคใต้ 1 จังหวัด 2 อำเภอ 2 ตำบล (2) พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2567 เดือนมิถุนายน มีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 14 จังหวัด 34 อำเภอ 55 ตำบล ดังนี้ - ภาคเหนือ 5 จังหวัด 14 อำเภอ 26 ตำบล - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด 4 อำเภอ 4 ตำบล - ภาคใต้ 6 จังหวัด 16 อำเภอ 25 ตำบล เดือนกรกฎาคม มีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 39 จังหวัด 159 อำเภอ 560 ตำบล ดังนี้ - ภาคเหนือ 11 จังหวัด 69 อำเภอ 266 ตำบล - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด 34 อำเภอ 137 ตำบล - ภาคกลาง 4 จังหวัด 9 อำเภอ 39 ตำบล - ภาคตะวันออก 5 จังหวัด 8 อำเภอ 14 ตำบล - ภาคตะวันตก 1 จังหวัด 1 อำเภอ 3 ตำบล - ภาคใต้ 9 จังหวัด 38 อำเภอ 101 ตำบล เดือนสิงหาคม มีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 63 จังหวัด 355 อำเภอ 1,568 ตำบล ดังนี้ - ภาคเหนือ 17 จังหวัด 139 อำเภอ 783 ตำบล - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด 118 อำเภอ 513 ตำบล - ภาคกลาง 8 จังหวัด 23 อำเภอ 53 ตำบล - ภาคตะวันออก 8 จังหวัด 26 อำเภอ 78 ตำบล - ภาคตะวันตก 3 จังหวัด 6 อำเภอ 9 ตำบล - ภาคใต้ 10 จังหวัด 43 อำเภอ 132 ตำบล 6. การลงพื้นที่ตรวจราชการ นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อรับฟังและช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน วันที่ 7 ? 9 มิถุนายน 2567 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง โดยได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยได้รับฟังปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ปัญหาคุณภาพน้ำไม่เหมาะสมต่อการบริโภคในพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานในพื้นที่ได้มีการขอรับงบประมาณเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องน้ำ และสามารถจัดสรรงบประมาณตามที่เสนอมาได้ เพื่อต่อยอด พัฒนาโครงการ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดและมีคุณภาพอย่างทั่วถึง แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค สร้างความมั่นคงทางด้านแหล่งน้ำให้แก่ประชาชน 22. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ และภาพรวม ปี 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ และภาพรวม ปี 2566 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ สาระสำคัญ สศช. ได้เสนอรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ และภาพรวม ปี 2566 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสี่ และภาพรวม ปี 2566 1.1 ด้านแรงงาน สถานการณ์แรงงานขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้น และการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น สรุปสถานการณ์ การจ้างงาน ภาพรวมการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 40.3 ล้านคน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.7 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของการจ้างงานทั้งในภาคเกษตรกรรม (ร้อยละ 1.0) และนอกภาคเกษตรกรรม (ร้อยละ 2.0) โดยเฉพาะสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 8.0 จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ชั่วโมงการทำงาน ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับจำนวนผู้ทำงานต่ำระดับ1 และผู้เสมือนว่างงาน2 ที่ลดลงร้อยละ 23.6 และ 6.8 ตามลำดับ โดยชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยในภาพรวมและภาคเอกชนอยู่ที่ 42.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1) และ 46.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2) ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนผู้ทำงานล่วงเวลา3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างแรงงานภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ 14,095 บาท/คน/เดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9) ขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ที่ 15,382 บาท/คน/เดือน (ลดลงร้อยละ 0.2) อัตราการว่างงาน มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 330,000 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.81 โดยผู้ว่างงานลดลงทั้งผู้ที่เคยทำงานและไม่เคยทำงานมาก่อนที่ร้อยละ 31.1 และ 26.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้ว่างงานระยะยาวยังลดลงต่อเนื่องที่ร้อยละ 46.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญและต้องติดตาม เช่น ความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต การขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และการพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับการใช้ AI เป็นต้น 1.2 ด้านหนี้สินครัวเรือน ไตรมาสสามของปี 2566 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.2 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.3 ซึ่งชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) อยู่ที่ร้อยละ 90.9 ทรงตัวจากไตรมาสก่อน (ครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ในเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคล) ด้านคุณภาพสินเชื่อด้อยลงทุกประเภทสินเชื่อโดยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) มีมูลค่า 1.52 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.79 ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.71 ในไตรมาส ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ เช่น การติดตามผลของการบังคับใช้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมในการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือน การเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ4 และการติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ 1.3 ด้านสุขภาพและการเจ็บป่วย ไตรมาสสี่ ปี 2566 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงถึงร้อยละ 170.0 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สูงที่สุด (เพิ่มขึ้น 6 เท่า เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นการระบาดอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสสาม) ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น การเฝ้าระวังการใช้ความรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช และโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทยที่ยังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นรวมทั้งผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ต่อสุขภาพของประชาชน โดยในปี 2566 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษทางอากาศ มีจำนวน 10.5 ล้านราย (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.6) 1.4 ด้านการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ไตรมาสสี่ ปี 2566 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 แบ่งเป็นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ในขณะที่การบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 0.7 สำหรับภาพรวมปี 2566 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามการฟื้นตัวของการบริโภคและการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตในกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจที่อาจดึงดูดให้มีการเปิดสถานบันเทิงเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้นักดื่มมีโอกาสเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และการสูบบุหรี่ที่อาจส่งผลต่อภูมิคุ้มกันโรคของผู้สูบบุหรี่ ซึ่งเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย 1.5 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไตรมาสสี่ ปี 2566 มีการรับแจ้งคดีอาญารวมทั้งสิ้น 100,996 คดี ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.5 เนื่องจากการลดลงของคดียาเสพติด ร้อยละ 16.7 ขณะที่คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และคดีชีวิตร่างกาย และเพศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 และ 15.1 ตามลำดับ ด้านการรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนนลดลงร้อยละ 11.4 โดยเป็นการลดลงของผู้เสียชีวิตร้อยละ 13.9 ผู้บาดเจ็บร้อยละ 11.4 และผู้ทุพพลภาพร้อยละ 23.8 ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น การถูกกลั่นแกล้ง (Bully) ในสถานศึกษา และการใช้โปรแกรม AI สร้างเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ไตรมาสสี่ ปี 2566 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียนลดลงร้อยละ 15.2 โดยเป็นการร้องเรียนด้านฉลากสินค้าสูงที่สุด ส่วนสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้รับเรื่องร้องเรียนลดลงร้อยละ 14.1 โดยส่วนใหญ่ยังคงมาจากบริการของกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำหรับปี 2566 การร้องเรียนโดยรวมเพิ่มร้อยละ 42.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก สคบ. โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าและบริการและผู้ประกอบการ ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น ผลกระทบของผู้บริโภคหลังการควบรวมกิจการโทรคมนาคม (เช่น ราคาค่าบริการรายเดือน ปัญหาคุณภาพสัญญาณ) และสินค้าปลอมและสินค้าไม่ได้มาตรฐานระบาดในท้องตลาด เป็นต้น 2. สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ สถานการณ์ รายละเอียด Influencer : เมื่อทุกคนในสังคม ล้วนเป็นสื่อ ประเทศไทยมีจำนวน Influencer กว่า 2 ล้านคน เป็นอันดับสองในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ได้ค่อนข้างสูง เฉลี่ยตั้งแต่ 800 - 700,000 บาท ขึ้นไปต่อโพสต์การแข่งขันผลิต Content และการให้ความสำคัญกับ Engagement ของ Influencer จะเน้นการสร้าง Content ให้เป็นกระแสโดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมก่อนเผยแพร่ ซึ่งอาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคมหลายประการ อาทิ การนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง การละเมิดสิทธิและการสร้างค่านิยมที่ผิดต่อสังคม ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีกฎระเบียบสำหรับกลุ่ม Influencer อย่างชัดเจน โดยแนวทางการกำกับดูแลส่วนใหญ่เน้นไปที่การตรวจสอบ เฝ้าระวังการนำเสนอ และการตักเตือน/แก้ไข ซึ่งอาจศึกษาจากกรณีตัวอย่างของกฎหมายและมาตรการของต่างประเทศเพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทสังคมต่อไป การกระทำผิดของเด็ก (Juvenile Delinquency) : เจาะเหตุพฤติกรรม เพื่อป้องกันความรุนแรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เด็กและเยาวชนก่อคดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ถึงร้อยละ 58.7 ซึ่งผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ยังเป็นนักเรียนที่อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยสาเหตุ/ปัจจัยที่เด็กและเยาวชนก่อความรุนแรง แบ่งออกได้เป็น 5 ปัจจัย คือ (1) ความเปราะบางของสถาบันครอบครัวจากการได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม (2) สังคมเพื่อนที่ไม่ดีและการถูกบูลลี่ (3) การอยู่อาศัยในแหล่งชุมชนที่มีปัญหา โดยเฉพาะแหล่งที่มีการซื้อขายยาเสพติด (4) การเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ไม่เหมาะสมได้ง่าย อาทิ กลุ่มสังคมออนไลน์ที่ผิดกฎหมายหรือที่มีเนื้อหารุนแรง (5) อาการทางจิตเวชหรือการใช้ยาเสพติด ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม (ครอบครัว สถาบันการศึกษา และชุมชน) และการคัดกรองสุขภาพจิตในเด็กและเยาวซนอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง เป็นต้น เพิ่มประสิทธิภาพข้าวไทยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร ข้าวถือเป็นสินค้าเกษตรที่ไทยสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกได้มากกว่าแสนล้านบาทต่อปี แต่ชาวนากลับเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอนและมีปัญหาความยากจน รวมทั้งยังเป็นอาชีพที่รัฐอุดหนุน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาในหลายด้าน ได้แก่ (1) ด้านราคา จากราคาข้าวที่มีความผันผวน ทำให้เกษตรกรไม่สามารถวางแผนการผลิตได้ รวมทั้งบางส่วนยังถูกกดราคาจากผู้รับซื้อ (2) ด้านต้นทุน จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างปี 2563-2565 พบว่า ต้นทุนการผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8.0 ต่อปี โดยเฉพาะปุ๋ยที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยปี 2565 ราคาปุ๋ยสูตรสำคัญเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.4 เท่า ขณะที่การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยังมีปัญหาเนื่องจากไม่สามารถควบคุมคุณค่าทางธาตุอาหาร รวมทั้ง ยังมีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ (3) ด้านผลผลิต โดยผลผลิตต่อไร่ของข้าวไทยอยู่ในระดับต่ำในปีเพาะปลูก 2564/2565 โดยผลผลิตต่อไร่ของไทยอยู่ที่ 311 กิโลกรัม ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกกว่า 1.5 เท่า และระหว่างปี 2556-2565 ผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปีหดตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยมีสาเหตุ เช่น การขาดเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ การได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวน้อย การเพาะปลูกข้าวอยู่ในพื้นที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น จึงควรคำนึงถึงการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์การส่งเสริมวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชมูลค่าสูงชนิดอื่นแทนการปลูกข้าว เป็นต้น 3. บทความ ?พลิกมุม PISA ปัจจัยที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทย? การศึกษาของไทยเริ่มส่งสัญญาณเข้าขั้นวิกฤต สะท้อนจากตัวชี้วัดทางการศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ โดยเฉพาะผลคะแนน PISA ที่ถือเป็นการประเมินสมรรถนะนักเรียนที่มีอายุ 15 ปีทั่วโลก ใน 3 ด้าน คือ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 3 ด้าน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD และเป็นคะแนนที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการเข้าร่วมการประเมิน (ปี 2543) โดยพบว่า ไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้างและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย ได้แก่ (1) ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (2) การกระจายทรัพยากรทางการศึกษามีความแตกต่างกันตามขนาดโรงเรียนและสังกัด (3) บทบาทของครอบครัวที่น้อยลง (4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กลดลง (5) ความรู้สึกไม่ปลอดภัยที่โรงเรียน และ (6) บรรยากาศในการเรียนที่ไม่เหมาะสมและไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา ดังนี้ (1) สถานศึกษาต้องได้รับการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาที่เสมอภาคโดยควรพิจารณาเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณและบุคลากรครูตามความต้องการและบริบทของสถานศึกษาร่วมด้วย (2) ภาครัฐต้องส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับผู้เรียน และมีกลไกรองรับเมื่อเด็กหลุดออกนอกระบบ โดยควรสนับสนุนให้สถานศึกษามีการดำเนินการหลักสูตรฐานสมรรถะได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความยืดหยุ่นในการจัดทำหลักสูตรรวมถึงใช้กลไกการเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น (3) การปรับสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และเป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยการมีพื้นที่การรับฟังความคิดเห็นส่งเสริมบทบาท การมีส่วนร่วม และสร้างบรรยากาศให้เด็กรู้สึกไว้วางใจและมีความคิดสร้างสรรค์และ (4) การสนับสนุนให้ครอบครัวมีบทบาทในการดูแลเด็กร่วมกับสถานศึกษา โดยมีพื้นที่การสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง เด็ก ครู ในการพูดคุยเรื่องเรียน ความต้องการ พฤติกรรม ศักยภาพและโรงเรียนควรมีข้อมูลของนักเรียนเพียงพอในการติดตามดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายคนตามสภาพปัญหา อีกทั้งต้องสังเกตความผิดปกติและไม่ปล่อยให้เด็กเผชิญปัญหาเพียงลำพัง 1ผู้ทำงานต่ำระดับ คือ ผู้ที่ทำงานต่ำกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และต้องการทำงานเพิ่ม (นับรวมผู้ที่ทำงาน 0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) 2ผู้เสมือนว่างงาน คือ ผู้มีงานทำ 0-20 ชั่วโมง/สัปดาห์ (ภาคเกษตร) และ 0-24 ชั่วโมง/สัปดาห์ (นอกภาคเกษตร) 3ผู้ทำงานล่วงเวลา คือ ผู้มีงานทำที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 4สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ: เป็นสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (Clean Loan) ที่ให้แก่บุลคลธรรมดา โดยไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ ซึ่งรวมถึงการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งในสินค้าที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้จำหน่ายเอง เช่น ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้างสรรพสินค้า โดยชำระค่าสินค้าด้วยเงินที่ได้จากการขอสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งหนึ่ง (ยกเว้นสินค้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์) 23. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 คณะรัฐมนตรีรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ สาระสำคัญ สศช. ได้เสนอรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้วเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากไตรมาสที่สี่ของปี 2566 โดยแบ่งเป็น 1.1 ด้านการใช้จ่าย การส่งออกบริการและการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี ขณะที่การส่งออกสินค้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐลดลง (รายละเอียดปรากฏตามตาราง) %YoY1 ไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ไตรมาสแรกของปี 2567 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน 7.4 6.9 การอุปโภคภาครัฐบาล -3.0 -2.1 การลงทุนรวม -0.4 -4.2 -ภาคเอกชน 5.0 4.6 -ภาครัฐ -20.1 -27.7 ปริมาณส่งออก 4.9 2.5 -สินค้า 3.4 -2.0 -บริการ 14.9 24.8 1.2 ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ ขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนสาขาการขายส่ง ขายปลีก และการซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาก่อสร้าง และสาขาเกษตรกรรมปรับตัวลดลง (รายละเอียดปรากฏตามตาราง) สาขาการผลิต %YoY ไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ไตรมาสแรกของปี 2567 สาขาการผลิตที่ขยายตัวเร่งขึ้น สาขาการไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ 6.3 10.9 สาขาการขนส่ง 7.0 9.4 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 9.8 11.8 สาขาการผลิตที่ชะลอตัว สาขาการเงิน 4.7 2.9 สาขาขายส่ง ขายปลีก และการซ่อม ยานยนต์ 5.1 43 สาขากิจกรรมวิชาชีพ 3.5 2.6 สาขาการผลิตที่ลดลง สาขาก่อสร้าง -8.8 -17.3 สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ -0.6 -3.5 สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม -2.4 -3.0 2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0-3.0 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการขยายตัวร้อยละ 1.9 ในปี 2566 ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 2.0 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.1-1.1 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP ข้อมูลจริง ประมาณการ ปี 2567 ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566 ณ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ณ 20 พฤษภาคม 2567 GDP 1.6 2.5 1.9 2.2-3.2 2.0-3.0 การบริโภคภาคเอกชน 0.6 6.2 7.1 3.0 4.5 การอุปโภคภาครัฐบาล 3.7 0.1 -4.6 1.5 1.7 การลงทุนรวมภาคเอกชน 2.9 4.7 3.2 3.5 3.2 การลงทุนรวมภาครัฐ 3.5 -3.9 -4.6 -1.8 -1.8 มูลค่าการส่งออก (รูปเงินดอลลาร์สหรัฐ) 19.2 5.4 -1.7 2.9 2.0 เงินเฟ้อ (ร้อยละ) 1.2 6.1 1.2 0.9-1.9 0.1-1.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด -2.0 -3.2 1.3 1.4 1.2 ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญในหลายปัจจัย อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวดังกล่าวยังมีความเสี่ยงและข้อจำกัดที่สำคัญซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ ปัจจัยสนับสนุน ข้อจำกัด/ปัจจัยเสี่ยง (1) การเพิ่มขึ้นของแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐในช่วงที่เหลือของปี (2) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (3) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ (4) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการลงทุนภาคเอกชนสอดคล้องกับการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุน รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม (5) การกลับมาขยายตัวอย่างช้า ๆ ของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก (1) ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงและการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย ส่งผลให้สถาบันการเงินระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น (2) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (3) ความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการค้าโลกที่อาจเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์การปรับทิศทางนโยบาย การเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน 3. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2567 สศช. เห็นว่า ในปี 2567 รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 3.1 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้สามารถเบิกจ่ายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด เพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว 3.2 การดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอสำหรับภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ประสบปัญหาการเข้าถึงสภาพคล่อง ควบคู่ไปกับการยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs 3.3 การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกรโดยให้ความสำคัญกับ (1) การติดตามและวางแผนแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (2) การเตรียมความพร้อมต่อปัญหาอุทกภัย (3) การฟื้นฟูภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งให้กลับมาฟื้นตัวโดยเร็ว (4) การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช (5) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เกษตรกรผ่านการส่งเสริมรูปแบบและพัฒนาระบบประกันภัยพืชผล และ (6) การเฝ้าระวัง ติดตาม การปราบปรามการลักลอบการนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย 3.4 การขับเคลื่อนการส่งออกควบคู่ไปกับการเร่งรัดปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ โดยมุ่งเน้น (1) การลดต้นทุนและแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก (2) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้น (3) การติดตาม เฝ้าระวังการทุ่มตลาดและการใช้มาตรการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการไทย (4) การเพิ่มผลิตภาพการผลิตผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อนำไปสู่การผลิตสินค้าที่มีศักยภาพและมีมูลค่าสูงขึ้น (5) การสร้างความเชื่อมั่นและเตรียมความพร้อมของระบบนิเวศที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และ (6) การดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อสูง 3.5 การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก 1YOY (Year on year) เป็นการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เปรียบเทียบระหว่างไตรมาสแรกของปี 2566 กับปี 2567 หรือการเปรียบเทียบรายได้ทั้งปีระหว่างปี 2566 และปี 2567 24. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 คณะรัฐมนตรีรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ สาระสำคัญ สศช. ได้เสนอรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ %YoY1 ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567 ทั้งปี ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี (ประมาณการ) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) 2.5 1.9 2.6 1.8 1.4 1.7 2.2-3.2 การลงทุนรวม2 2.3 1.2 3.1 0.4 1.5 -0.4 2.5 -ภาคเอกชน 4.7 3.2 2.8 1.4 3.5 5.0 3.5 -ภาครัฐ -3.9 -4.6 4.2 -2.1 -3.4 -20.1 -1.8 การบริโภคภาคเอกชน 6.2 7.1 5.9 7.3 7.9 7.4 3.0 การอุปโภคภาครัฐบาล 0.1 -4.6 -6.0 -4.3 -5.0 -3.0 1.5 -มูลค่าการส่งออกสินค้า 5.4 -1.7 -3.8 -5.0 -2.0 4.6 2.9 -ปริมาณการส่งออกสินค้า 1.2 -2.9 -5.7 -5.3 -3.1 3.2 2.4 -มูลค่าการนำเข้าสินค้า 14.0 -3.1 0.5 -6.6 -10.7 6.1 4.4 -ปริมาณการนำเข้าสินค้า 1.2 -3.6 -3.5 -4.8 -10.4 5.3 3.2 ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -3.2 1.3 2.7 -0.8 2.1 1.2 1.4 เงินเฟ้อ 6.1 1.2 3.9 1.1 0.5 -0.5 0.9-1.9 1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 มูลค่า GDP ขยายตัวร้อยละ 1.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่สาม โดยแบ่งเป็น 1.1 ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในทุกหมวด เช่น หมวดบริการ (เช่น กลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร) ซึ่งสอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากการจ้างงานและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและเครื่องมือที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาลและการลงทุนภาครัฐลดลง 1.2 ด้านภาคต่างประเทศ การส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 4.6 (สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว ยางพารา คอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม) สำหรับการนำเข้าสินค้าขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ร้อยละ 6.1 สอดคล้องกับการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้า 1.3 ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารสาขาการขายส่งและขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่สาขาการผลิต สินค้าอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม และสาขาก่อสร้างปรับตัวลดลง 1.4 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.81 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 32 ไตรมาส และต่ำกว่าร้อยละ 0.99 ในไตรมาสก่อนหน้าและต่ำกว่าร้อยละ 1.15 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.5 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 53.9 พันล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ 2.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 11,084,577.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.3 ของ GDP 2. เศรษฐกิจไทยปี 2566 เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2565 ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 6.2 ในปี 2565 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกบริการ ขยายตัวร้อยละ 3.2 และร้อยละ 38.3 ชะลอลงจากร้อยละ 4.7 และร้อยละ 59.9 ในปี 2565ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 1.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.4 ในปี 2565 และการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.9 ในปี 2565 ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง สาขาการขายส่งและการขายปลีก และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ขยายตัวร้อยละ 18.0 ร้อยละ 1.9 ร้อยละ 3.8 และร้อยละ 8.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 34.5 ร้อยละ 2.5 ร้อยละ 3.7 และร้อยละ 8.0 ในปี 2565 ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 3.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.7 ในปี 2565 และสาขาก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.6 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.4 ในปี 2565 รวมทั้งปี 2566 GDP อยู่ที่ 17.9ล้านล้านบาท (5.13 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นจาก 17.4 ล้านล้านบาท (4.95 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2565 และ GDP ต่อหัวของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 255,867.7 บาทต่อคนต่อปี (7,331.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี) เพิ่มขึ้นจาก 248,788.6 บาทต่อคนต่อปี (7,094.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี) ในปี 2565 สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.98 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.3 ของ GDP 3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.2-3.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนและการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.0 และร้อยละ 3.5ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 2.9 ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.9-1.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.4 ของ GDP 4. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2567 สศช. เห็นว่า ในปี 2567 รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 4.1 การติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวัง การทุ่มตลาด รวมทั้งการใช้มาตรการและวิธีการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากประเทศผู้ส่งออกสำคัญ ควบคู่ไปกับการทบทวนมาตรการทางภาษีให้มีความเหมาะสมและการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้า 4.2 การยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 4.3 การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้น รวมทั้งเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางในประเทศให้มีความพร้อมในการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมาย และสามารถเชื่อมโยงสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศกับห่วงโซ่การผลิตโลกได้มากขึ้น 4.4 การเร่งรัดผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2564-2566 มีการลงทุนจริงควบคู่ไปกับการเร่งอนุมัติโครงการที่ได้เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงก่อนหน้า รวมทั้งการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานสามารถเริ่มประกอบกิจการให้เร็วขึ้น และมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนากำลังแรงงาน 4.5 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยจัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี และการสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ Long - term resident visa (LTR) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อสูง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพที่สำคัญ 4.6 การดำเนินมาตรการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เกษตรกรผ่านการส่งเสริมรูปแบบและพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลจากความเสี่ยงของสภาพภูมิอากาศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้ายมากขึ้น ควบคู่ไปกับส่งเสริมให้มีการปลูกพืชและใช้วิธีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าสูง 4.7 การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐโดยให้ความสำคัญกับ (1) การเร่งรัดเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปีและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ยังไม่มีผลบังคับใช้ (2) การเร่งรัดกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไม่ให้ล่าช้าไปกว่าแผนที่กำหนดไว้ ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมของโครงการให้มีความพร้อมสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายได้โดยเร็วหลังจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับ และ (3) การติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ 1YoY (Year on Year) เป็นการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เปรียบเทียบระหว่างไตรมาสแรกของปี 2565 กับปี 2566 หรือการเปรียบเทียบรายได้ทั้งปีระหว่างปี 2565 และปี 2566 2การลงทุนรวม หมายถึง การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น 25. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2567 คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2567 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ สาระสำคัญและข้อเท็จจริง ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะสินค้ากึ่งคงทนและสินค้าคงทนปรับตัวลดลง เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก เช่น อาเซียน (5) CLMV ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวในกลุ่มรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมีนาคม 2567 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ 1. ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 22.63 จากบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ และเครื่องยนต์ดีเซลเป็นหลัก ตามการหดตัวของตลาดในประเทศ (-33.15%) เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนแอ หนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ปัญหาการผ่อนชำระหนี้ สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ 2. น้ำตาล หดตัวร้อยละ 25.26 จากน้ำตาลทรายดิบ กากน้ำตาล และน้ำตาลทรายขาว เป็นหลัก เนื่องจากผลผลิตอ้อยสดมีน้อยกว่าปีก่อนจากปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงทำให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบบางพื้นที่ 3. ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 15.33 จาก Integrated circuits (IC) เป็นหลัก ตามการชะลอตัวเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อการบริโภคและลงทุน อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมีนาคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 1. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 5.32 จากน้ำมันเครื่องบิน ก๊าซหุงต้ม และแก๊สโซฮอล์ 91 เป็นหลัก ตามความต้องการใช้ในการเดินทางที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว 2. แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 47.65 จากแป้งมันสำปะหลัง เป็นหลักตามปริมาณหัวมันสดเข้าสู่โรงงานมากกว่าปีก่อนหลังปัญหาโรคใบด่างเริ่มลดลง หัวมันสดได้ราคาดี เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก 3. อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 8.45 จากอาหารสัตว์เลี้ยง และอาหารสุกรสำเร็จรูป เป็นหลัก โดยอาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวจากตลาดส่งออก (+33.62%) ตามความนิยมในการเลี้ยงสุนัขและแมว สำหรับอาหารสุกรเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเลี้ยงหมูของเกษตรกรที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น 26. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนเมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนเมษายน 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง 1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนเมษายน 2567 ดังนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนเมษายน 2567 เท่ากับ 108.16 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2566 ซึ่งเท่ากับ 107.96 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.19 ( YoY) กลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 7 เดือน เป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นตามสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลกสินค้าเกษตรหลายรายการโดยเฉพาะผักสด และผลไม้สด ออกสู่ตลาดลดลงและราคาสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนมีนาคม 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยลดลงร้อยละ 0.47 ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 5 จาก 137 เขตเศรษฐกิจ ที่ประกาศตัวเลข และอยู่ในระดับต่ำอันดับ 2 ในอาเซียนจาก 8 ประเทศ ที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้นร้อยละ 0.19 (YoY) ในเดือนนี้ มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.28 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มอาหารสด อาทิ ผักสด (แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักชี ผักคะน้า ผักกาดขาว ต้นหอม) ผลไม้สด (กล้วยหอม องุ่น สับปะรด) ข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด และขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ทำการเกษตร ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง อาหารบริโภคในบ้าน (กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว อาหารว่าง ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) ตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ขณะที่ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร ปลาทู น้ำมันพืช และกระเทียม เป็นต้น หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.12 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง (แก๊สโซฮอล์ 95 91 และ E20 น้ำมันเบนซิน 95) ตามสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น ค่าของใช้ส่วนบุคคล (แป้งทาผิวกาย ยาสีฟันกระดาษชำระ) เนื่องจากสิ้นสุดโปรโมชัน ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (สุรา บุหรี่ ไวน์) อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันดีเซล ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เสื้อยืดบุรุษและสตรี และเสื้อเชิ้ตบุรุษและสตรี เป็นต้น เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 0.37 (YoY) ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายน 2567 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.85 (MoM) ตามการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.19 ปรับสูงขึ้นตามราคาผักสด (มะนาว ถั่วฝักยาว แตงกวา ผักชี ผักคะน้า ต้นหอม) ไข่ไก่ เนื้อสุกร ไก่สด ผลไม้สด (เงาะ ทุเรียน มังคุด) และกาแฟผงสำเร็จรูป ขณะที่ข้าวสารเจ้า แป้งข้าวเจ้า ปลาทู และกระเทียม ราคาปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.61 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (แก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 น้ำมันดีเซล) ตามสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลก และการสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ของใช้ส่วนบุคคล (โฟมล้างหน้า ยาสีฟัน ผ้าอนามัย) สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน) และค่าเช่าบ้าน อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้า สำคัญที่ราคาปรับลดลง อาทิ ค่าธรรมเนียมผ่านทางพิเศษ เสื้อเชิ้ตบุรุษ เครื่องถวายพระ และน้ำหอม เป็นต้น ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เฉลี่ย 4 เดือน (มกราคม - เมษายน) ของปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ลดลงร้อยละ 0.55 (AoA) 2. แนวโน้มเงินเฟ้อ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคม 2567 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นโดยมีสาเหตุสำคัญจาก (1) ฐานราคาค่ากระแสไฟฟ้าเดือนพฤษภาคม 2566 อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดของปี 2566 (2) ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้น ทั้งไข่ไก่ เนื้อสุกร ผัก และผลไม้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด และขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ (3) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรงตัวในระดับสูง ประกอบกับมีการปรับลดการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศ (4) ค่าเงินบาทอ่อนค่า ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น และ (5) ผู้ประกอบการมีแรงกดดันจากต้นทุนที่อยู่ในระดับสูง ทั้งอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ยังมีปัจจัยที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการบางชนิดยังคงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ (1) เศรษฐกิจขยายตัวในระดับต่ำ และ (2) การแข่งขันที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ รวมทั้งการเติบโตของการค้าอีคอมเมิร์ซทำให้มีการแข่งขันและใช้นโยบายส่งเสริมการค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะการปรับลดราคาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0 ? 1.0 (ค่ากลางร้อยละ 0.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนเมษายน 2567 ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.9 จากระดับ 54.1 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17 (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) เป็นการปรับลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) สาเหตุมาจาก (1) สถานการณ์เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ แม้ว่าจะได้รับปัจจัยหนุนมาจากเทศกาลสงกรานต์และ (2) ความกังวลต่อภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น อาทิ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาเนื่องจากใกล้เปิดภาคเรียน อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรสำคัญยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีหลายรายการ จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนียังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่น ต่างประเทศ 27. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย - อินเดีย ครั้งที่ 10 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย - อินเดีย ครั้งที่ 10 (การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ) (10th Joint Commission for Bilateral Cooperation between Thailand -India) และรับทราบการลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ และเห็นชอบมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กต. รายงานว่า 1. สาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการ ร่วมฯ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ณ กรุงนิวเดลี อินเดีย โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นประธานร่วม 2. ผลการหารือทวิภาคีกลุ่มเล็กและการหารือในช่วงงานเลี้ยงอาหารกลางวัน (ก่อนการประชุม) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (strategic partnership) และหารือแผนการเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ฝ่ายอินเดียขอให้ฝ่ายไทยช่วยผลักดันการเจรจาความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน ? อินเดีย (ASEAN - India Trade in Goods Agreement: AITIGA) ให้มีความคืบหน้า ขณะที่ฝ่ายไทยขอให้รื้อฟื้นการเจรจาเพื่อเพิ่มสิทธิความจุการบินสำหรับสายการบินพาณิชย์ของไทย รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนทัศนะในประเด็นพหุภาคี เช่น การแข่งขันของมหาอำนาจในภูมิภาคอินโด ? แปซิฟิก สถานการณ์ทะเลจีนใต้ ตลอดจนสถานการณ์ในเมียนมา 3. ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ สรุปได้ ดังนี้ 3.1 ฝ่ายไทยขอบคุณอินเดียสำหรับการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุมาประดิษฐานที่ประเทศไทยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2567 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือเพิ่มเติมผ่านการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่าย การจัดตั้งกรอบการหารือระหว่างปลัดกระทรวงกลาโหมคู่ขนานกับการหารือระหว่างปลัดกระทรวงการต่างประเทศ การจัดตั้งกรอบการหารือระหว่างกองบัญชาการกองทัพ และการจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือด้านอวกาศ ไซเบอร์ และความมั่นคงทางทะเล 3.2 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้เพิ่มการค้าการลงทุนระหว่างกันโดยจะพิจารณาแก้ไขปัญหาการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการค้ามูลค่า 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเร็ว และเชิญชวนนักลงทุนของอีกฝ่ายเข้ามาลงทุนในประเทศ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องการส่งเสริมความเชื่อมโยงทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำโดยฝ่ายอินเดียรับจะพิจารณามาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทย 3.3 ด้านพหุภาคี อินเดียเห็นว่า ทั้งสองประเทศต้องเป็นผู้นำในการเสริมสร้างความร่วมมือในกรอบบิมสเทคต่อไป ขณะที่ฝ่ายไทยแจ้งความประสงค์ที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนความร่วมมือในสาขานิเวศวิทยาทางทะเล (maritime ecology) ร่วมกับเครือรัฐออสเตรเลียในข้อริเริ่ม อินโด - มหาสมุทรแปซิฟิก (Indo - Pacific Oceans Initiative : IPOI) ของอินเดียด้วย 4. ภายหลังการประชุมฯ ทั้งสองฝ่ายร่วมลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ โดยมีการเจรจาหารือและเห็นพ้องปรับเปลี่ยนข้อความในร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้วเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เช่น ข้อ 4 ปรับเนื้อหาเรื่องการยกระดับความสัมพันธ์ และการเยือนระดับผู้นำ โดยยังไม่ระบุช่วงเวลา (จากเดิม ฝ่ายอินเดียคาดหวังที่จะต้อนรับนายกรัฐมนตรีไทยในการเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 เป็น ...ในช่วงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายสะดวกร่วมกัน) ข้อ 13 เพิ่มการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน - อินเดีย โดยมุ่งลดความซับซ้อน อำนวยความสะดวกสำหรับธุรกิจ และอยู่บนพื้นฐานของเอกสารกำหนดขอบเขต การทบทวนความตกลงฯ ข้อ 14 เพิ่มข้อความว่าอินเดียสนับสนุนให้ภาคเอกชนของไทยเข้ามาลงทุนในโครงการระเบียงอุตสาหกรรมแห่งชาติของอินเดีย 5. กต. เห็นว่า ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ มีประเด็นสำคัญ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) จะต้องร่วมดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป เช่น ประเด็น ประเด็นที่ต้องดำเนินการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเมือง/ความมั่นคง การสถาปนาความสัมพันธ์ไทย ? อินเดีย เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ติดตามการพิจารณาร่างแถลงการณ์ร่วมฯ กับฝ่ายอินเดีย กต. จัดประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือความมั่นคง (Joint Working Group on Security Cooperation) ครั้งที่ 13 พิจารณาวันและเวลาที่เหมาะสมในการจัดการประชุมฯ และประสานอินเดียให้ทราบในโอกาสแรก กห.สกมช. การลงนาม MOU ระหว่าง Indian Computer Emergency Response Team (CERT - In) กับ สกมช. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของฝ่ายอินเดีย ถึงความเป็นไปได้ที่จะให้มีการลงนามในช่วง ปลายปี 2567 หากมีการเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี สกมช. การทหาร การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างหน่วยงาน ด้านการทหาร หารือกับผู้ประสานงานของอินเดียถึงการจัดให้มี การเยือนในโอกาสต่อไป กห. การจัดตั้งกรอบการหารือระหว่างปลัด กระทรวงกลาโหมคู่ขนานกับการหารือระหว่างปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ประสานกับอินเดียเกี่ยวกับรายละเอียดและกำหนดการ ที่เหมาะสมในการจัดการประชุม กห. การจัดให้มีการลาดตระเวนร่วมทางน้ำ (Joint Naval Patrol) พิจารณาความเป็นไปได้และประโยชน์ที่ฝ่ายไทยจะได้รับ กห. เศรษฐกิจ การผลักดันให้อินเดียพิจารณายกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มีต่อสินค้าไทย ติดตามพัฒนาการและเรียกร้องให้อินเดียยกเลิก มาตรการต่าง ๆ กต. พณ. ชักชวนนักลงทุนอินเดียให้เข้ามาลงทุนในไทย พิจารณามาตรการหรือสิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูด นักลงทุนอินเดียตามความเหมาะสม พิจารณาจัดกิจกรรมในลักษณะ road show เพื่อแสดงศักยภาพของ EEC ในอินเดีย กต. สกท. สกพอ. การผลักดันการทบทวนความตกลงด้านการค้าสินค้า (ASEAN - India Trade in Goods Agreement: AITIGA) พิจารณาผลประโยชน์ของไทยในการทบทวน ความตกลงดังกล่าว กต. พณ. ความเชื่อมโยง โครงการถนนสามฝ่ายอินเดีย ? เมียนมา-ไทย พิจารณาประสานกับอินเดียและเมียนมาเพื่อให้มีการลงนามในความตกลงยานยนต์ถนนสามฝ่าย (IMT Motor Vehicle Agreement) ในโอกาสแรกและผลักดันการเจรจาเนื้อหาในพิธีสารแนบท้ายต่อไป กต. คค. การเพิ่มสิทธิความจุการบิน ฝ่ายไทยประสงค์เจรจาเพื่อเพิ่มสิทธิความจุให้แก่สายการบินพาณิชย์ของไทยในเที่ยวบินที่เดินทางไปอินเดีย กต. คค. กพท. โครงการแลนด์บริดจ์ ฝ่ายไทยเชิญชวนให้ภาครัฐและเอกชนอินเดียร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเรือระหว่างกัน คค. การส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือไทยกับอินเดีย และการจัดทำความร่วมมือ ด้านการเดินเรือใกล้ฝั่ง (Near Costal Voyage) พิจารณาความเป็นไปได้และประโยชน์ของไทยจากการมีความร่วมมือด้านการเดินเรือใกล้ฝั่งและพิจารณาแนวทางใช้ประโยชน์จากความตกลง ระหว่างท่าเรือให้เกิดประโยชน์สูงสุด คค. ความร่วมมือในกรอบพหุภาคี การประชุมผู้นำบิมสเทค ประสานกับประเทศสมาชิกเพื่อกำหนดวันจัดการประชุม กต. การแลกเสียงในกรอบสหประชาชาติ พิจารณาสนับสนุนอินเดียตามที่เห็นเหมาะสม กต. 28. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง ? ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบาย ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. กต. แจ้งว่า สถานเอกอัครราชทูตจีนฯ แจ้งผลการพิจารณาโครงการของประเทศไทยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี 2566 พร้อมทั้งเสนอขอลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ มีโครงการของ ทส. จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการ Improving Forest Fire Control and Management in LMC Countries : Thailand, Lao PDR and Cambodia (โครงการปรับปรุงการควบคุมและการจัดการไฟป่าในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง - ล้านช้าง : ไทย ลาว กัมพูชา) โดยกรมป่าไม้ 2. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เป็นการกำหนดรายละเอียดสำหรับการดำเนินโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี 2566 ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น 1) หลักการเบื้องต้น (1) มุ่งสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของประเทศสมาชิกแม่โขง ? ล้านช้าง (2) ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ในการปรึกษาหารือ การประสานงาน การร่วมมือกัน และการได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน (3) เคารพกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน (4) ร่วมกันติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุน 2) การยืนยันเงินงบประมาณและโครงการ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลจีนได้พิจารณาโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณในปี 2566 ที่เสนอโดยประเทศไทย โดยพิจารณาตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวปฏิบัติการยื่นขอรับการสนับสนุนงบประมาณและการบริหารจัดการโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นไปตามแนวทางและมาตรฐานสากล โดยมีโครงการของฝ่ายราชอาณาจักรไทยที่ได้รับการอนุบัติและได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 1 โครงการ ดังนี้ - โครงการ : โครงการ Improving Forest Fire Control and Management in LMC - Countries : Thailand, Lao PDR and Cambodia - งบประมาณ : 281,910 ดอลลาร์สหรัฐ หรือในวงเงินไม่เกิน 1.95 ล้านหยวน (ประมาณ 10 ล้านบาท) - ระยะเวลาโครงการ : 2 ปี - หน่วยงานดำเนินโครงการ : กรมป่าไม้ 3) การจัดสรรงบประมาณ : ฝ่ายจีนจะจัดสรรงบประมาณเต็มจำนวนให้ฝ่ายไทยภายใน 20 วันทำการหลังจากที่ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ 3. กองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง จัดตั้งขึ้นในปี 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนสำหรับการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก (ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย) ในสาขาหลักของกรอบความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ (1) ความเชื่อมโยง (2) ศักยภาพในการผลิต (3) เศรษฐกิจข้ามพรมแดน (4) ทรัพยากรน้ำ และ (5) การเกษตรและการขจัดความยากจน ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2561 มีหน่วยงานของประเทศไทยหลายหน่วยงานได้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนดังกล่าวเพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น โดยในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้เคยขอรับการสนับสนุนจากกองทุนดังกล่าวมาแล้ว 3 ครั้ง ในปี 2561 2562 และ 2565รวมจำนวน 4 โครงการ คิดเป็นวงเงิน 1,193,599 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 42.71 ล้านบาท) 29. เรื่อง การเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้งทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP) [ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ] ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ (ศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพมีกำหนดจะพิจารณาเอกสารการขึ้นทะเบียนและตรวจประเมินพื้นที่โดยผู้เชี่ยวชาญของอาเซียนภายในเดือนมิถุนายน 2567) สาระสำคัญของเรื่อง กห. รายงานว่า 1. ในการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) นำเสนอ (ร่าง) เอกสารการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเสนอต่อศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity: ACB) เพื่อดำเนินการตามกระบวนการของอาเซียน โดยขั้นตอนในการนำเสนอพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียน สผ. (ในฐานะผู้ประสานงานคณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ) จะจัดส่งเอกสารนำเสนอพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียนให้ศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (เลขานุการคณะกรรมการอุทยานมรดกแห่งอาเซียน) เพื่อส่งเอกสารนำเสนอให้แก่คณะผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและประเมินพื้นที่ และเสนอคณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพพิจารณาก่อนนำเข้าที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม และที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม (กำหนดการจัดประชุมภายในเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567) เพื่อให้การรับรองการขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกแห่งอาเซียนต่อไป 2. พื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ ตั้งอยู่ภายในบริเวณกองอำนวยการสถานพักผ่อน กรมพลาธิการทหารบก จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่ประมาณ 411 ไร่ จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกองทัพบกกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลสำนักงานประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 72 พรรษา แห่งองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ป่าดั้งเดิมและเพิ่มพื้นที่ป่า (ชายเลน) พื้นที่อ่าวไทยตอนใน ตลอดจนใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่นักเรียนและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน โดยเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน (เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาทั้งหมด 10 หลักเกณฑ์) สรุปได้ ดังนี้ หลักเกณฑ์ รายละเอียด หลักเกณฑ์ที่ 1 ความสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ มีพื้นที่ประมาณ 411 ไร่ ประกอบด้วย ระบบนิเวศสำคัญ 3 แบบ ได้แก่ 1) พื้นที่ลุ่มน้ำเค็ม มีลักษณะเป็นพื้นที่โล่งได้รับอิทธิพลของการขึ้น ? ลงของน้ำทะเล 2) หาดโคลน เป็นพื้นที่โล่งกว้าง จะมีนกอพยพมาหากินในฤดูกาลอพยพ เป็นดินโคลน ปากแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งอาศัยของสัตว์หน้าดินจำนวนมาก 3) ป่าชายเลน ครอบคลุมป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง และด้านหลังชายฝั่งระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปกคลุมด้วยพืชพรรณไม้ที่โดดเด่นและมีการเติบโตหรือเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง มีความหลากหลายของระบบนิเวศ หลักเกณฑ์ที่ 2 ความเป็นตัวแทนของภูมิภาค ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ มีระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพของประเทศที่อยู่ในเส้นทางการบินสายเอเชียตะวันออก ? ออสเตรเลีย (East Asian ?Australasian Flyway) และเป็นแนวกันชน (Buffer zone) ของระบบนิเวศที่ช่วยป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คลื่นลม และอิทธิพลของระดับน้ำทะเล รวมทั้งเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติผ่านกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หลักเกณฑ์ที่ 3 ความเป็นธรรมชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 พฤศจิกายน 2552 และ 20 กรกฎาคม 2553) ให้ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ (ส่วนของอ่าวไทย) และเป็น 1 ใน 15 พื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพของประเทศไทย หลักเกณฑ์ที่ 4 ความสำคัญต่อการอนุรักษ์อย่างสูง หลักเกณฑ์ที่ 10 ความสำคัญด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่มีค่าและใกล้สูญพันธุ์ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มีค่าและใกล้สูญพันธุ์ 41 ชนิด เช่น นกนางนวล นกแก้วโม่ง นกกระสาแดง นกเปล้าอกสีม่วงน้ำตาล นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2567 มีการบันทึกการค้นพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบนบกที่ระบุชนิดได้อย่างชัดเจนกว่า 300 ชนิด โดยส่วนใหญ่เป็นแมลง พบผีเสื้อถุงทองธรรมดา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 หลักเกณฑ์ที่ 5 พื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็นพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เช่น 1) ประกาศกองทัพบก เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ 2) มติคณะรัฐมนตรี (3 พฤศจิกายน 2552) เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ กำหนดให้ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ (ส่วนของอ่าวไทย) 3) มติคณะรัฐมนตรี (20 กรกฎาคม 2553) กำหนดให้ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็น 1 ใน 15 พื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพของประเทศไทย หลักเกณฑ์ที่ 6 แผนการบริหารจัดการที่ได้รับความเห็นชอบ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ ได้จัดทำแผนบริหารจัดการ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการเปิดโอกาสให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรได้ตามจุดประสงค์ของการจัดตั้ง โดยมีแผนการบริหารจัดการประกอบด้วย 11 แผนงานหลัก 10 แผนงานย่อย 53 โครงการ ซึ่งจะดำเนินการในห้วงระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2568 - 2572 เช่น 1) แผนงานการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองรักษา และการจัดการทรัพยากร 2) แผนงานการคุ้มครองรักษาและการจัดการทรัพยากรและมรดกทางวัฒนธรรม 3) แผนงานด้านการป้องกันพื้นที่ 4) แผนงานด้านการจัดการอุบัติภัยทางธรรมชาติ หลักเกณฑ์ที่ 7 ลักษณะการข้ามพรมแดน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็นพื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพ ของประเทศ (Flyway Network ซึ่งอยู่ในเส้นทางการบินของเอเชียตะวันออก - ออสเตรเลีย (East Asian - Australasian Flyway) ทำให้พื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์และระบบนิเวศซึ่งเป็นแหล่งพักพิง ที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของนกอพยพที่เชื่อมโยงกับพื้นที่อื่น ๆ ของภูมิภาคอาเซียนและเอเชียตะวันออก - ออสเตรเลีย ซึ่งเป็น 1 ใน 9 เส้นทางนกอพยพของโลก รวมทั้งเป็นระบบนิเวศป่าชายเลนที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อ (Ecotone) ระหว่างผืนแผ่นดินกับทะเลอ่าวไทยซึ่งอยู่ในภูมิภาคแนวเขตร้อนซึ่งมีความสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำ ดิน และแร่ธาตุต่าง ๆ จากบกและทะเล ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ตลอดจนเป็นแหล่งกำเนิดห่วงโซ่อาหาร (food chain) โดยเฉพาะเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญในป่าชายเลน หลักเกณฑ์ที่ 8 ความมีลักษณะเอกลักษณ์ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็นพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก (Important Bird & Biodiversity Area) ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน โดยอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเสนอชื่อเป็น พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) และพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการเข้าร่วมภาคีความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์นกน้ำอพยพ รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติหนึ่งเดียวที่อยู่ท่ามกลางเมืองที่กำลังเติบโตทางอุตสาหกรรม แต่พื้นที่นี้ยังสามารถมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมาได้เป็นเวลาหลายสิบปีโดยไม่ถูกทำลาย และยังให้ประโยชน์เชิงสังคมและวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย ในส่วนของประเทศไทยนับเป็นโอกาสดีที่จะได้เป็นพื้นที่แรกของโลกที่ดูแลโดยหน่วยงานภายนอกที่ไม่ได้มีภารกิจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง ที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks: AHP) ซึ่งสามารถเป็นแรงบันดาลใจและใช้เป็นแนวทางให้หน่วยงานอื่น ๆ หรือชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของตนได้ หลักเกณฑ์ที่ 9 ความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างวัฒนธรรม ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็นพื้นที่สำหรับประชาชนหรือคนในชุมชนได้มาจัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศ เช่น การทำบุญขึ้นปีใหม่ ประเพณีสงกรานต์ และวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ 3. ประโยชน์และผลกระทบ การเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มีความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติหนึ่งเดียวที่อยู่ท่ามกลางเมืองที่กำลังเติบโตทางอุตสาหกรรม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวยังคงความสมบูรณ์ทางนิเวศ (Ecological Completeness) มีความหลากหลายทางชีวภาพ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ตลอดจนสามารถให้ประโยชน์เชิงสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง เครือข่ายนกน้ำอพยพและแนวกันชนที่ช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ คลื่นลมและอิทธิพลจากน้ำทะเลควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนจำนวน 7 แห่ง ดังนี้ พื้นที่ ปีที่ได้รับการประกาศ หมายเหตุ 1) อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 2527 การเสนอพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียนทั้ง 4 แห่ง มิได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเนื่องจากเป็นการดำเนินการตั้งแต่ช่วงปี 2527 ? 2546 ซึ่งในขณะนั้นเรื่องลักษณะนี้ไม่ได้มีข้อกฎหมายกำหนดให้ต้องนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี 2) อุทยานแห่งชาติตะรุเตา 2527 3) กลุ่มอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน และอ่าวพังงา 2546 4) กลุ่มป่าแก่งกระจาน ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี 2546 5) อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ? เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 6) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง 2562 7) อุทยานแห่งชาติเขาสก 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 8) อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง ? ขุนน้ำนางนอน อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 9) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ? อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 10) อุทยานแห่งชาติภูกระดึง แต่งตั้ง 30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นางรัชนี พึ่งพาณิชย์กุล ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการสูง) สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือน จำนวน 7 คน เนื่องจากกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้ 1. นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบินพลเรือน 2. นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบินพลเรือน 3. นายโชติชัย เจริญงาม 4. นางชาริตา ลีลายุทธ มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบินพลเรือน 5. นายศุภนิจ จัยวัฒน์ 6. พลตำรวจตรี อุกฤษฏ์ ศรีเสือขาม 7. นางสาวเพียงออ เลาหะวิไลย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป 32. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ตามความในมาตรา 13 (1) และ (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566 รวม 6 คน ดังนี้ 1. นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานกรรมการ 2. นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านวิทยาการข้อมูล) 3. นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) 4. นายณปกรณ์ ธนสุวรรณเกษม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเศรษฐศาสตร์) 5. นางอรุณภรณ์ ลืมสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการตลาด) 6. นายศักดา นาคเลื่อน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหาร) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป 33. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (ครั้งที่ 1) (กระทรวงยุติธรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ พันตำรวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 14 มิถุนายน 2567 ต่อไปอีก (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2567 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2568 34. เรื่อง การมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการในการตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามลำดับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ 1. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ 2. นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป 35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นายวุฒิรักษ์ เดชะพงษ์พันธุ์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป 36. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 216/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 216/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังนี้ ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฎิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 นั้น โดยที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่7 พฤษภาคม 2567 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2567 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี 1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้ 1.1 นายภูมิธรรม เวชยชัย 1.2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 1.3 นายพิชัย ชุณหวชิร 1.4 นายอนุทิน ชาญวีรกูล 1.5 พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ 1.6 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน ส่วนที่ 2 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้ ลำดับที่ รองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ 1 นายภูมิธรรม เวชยชัย 1. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 2. นายพิชัย ชุณหวชิร 2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 1. นายพิชัย ชุณหวชิร 2. นายอนุทิน ชาญวีรกูล 3 นายพิชัย ชุณหวชิร 1. นายอนุทิน ชาญวีรกูล 2. พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ 4 นายอนุทิน ชาญวีรกูล 1. พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ 2. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 5 พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ 1. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 2. นายภูมิธรรม เวชยชัย 6 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 1. นายภูมิธรรม เวชยชัย 2. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ส่วนที่ 3 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้ ลำดับที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ปฏิบัติราชการแทนกัน 1 นายจักรพงษ์ แสงมณี นางสาวจิราพร สินธุไพร 2 นางสาวจิราพร สินธุไพร นายจักรพงษ์ แสงมณี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป 37. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 217/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 217/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 176/2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 นั้น โดยที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2567 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 176/2567 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 นิยาม ในคำสั่งนี้ ?กำกับการบริหารราชการ? หมายความว่า กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือ การปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 กันยายน 2566 เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี ที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีอนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ ?สั่งและปฏิบัติราชการ? หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการ หรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ?กำกับดูแล? หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ ส่วนที่ 2 1. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) 1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1.1.1 กระทรวงกลาโหม 1.1.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1.1.3 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 1.1.4 กระทรวงพาณิชย์ 1.1.5 กรมประชาสัมพันธ์ 1.1.6 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 1.1.7 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1.2.1 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.2.2 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ 1.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ 1.3.1 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) 1.3.2 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 1.3.3 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 1.3.4 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ 1.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.3 ยกเว้น 1.4.1 เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย 1.4.2 การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์ 1.4.3 การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ 1.4.4 การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล 1.4.5 การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี 1.4.6 การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ 1.4.7 เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม ส่วนที่ 3 2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) 2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 2.1.1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 2.1.2 กระทรวงคมนาคม 2.1.3 กระทรวงวัฒนธรรม 2.1.4 กระทรวงสาธารณสุข 2.1.5 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2.1.6 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา) 2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ - สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 2.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ 2.3.1 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) 2.3.2 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 2.4 การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี 2.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7 ส่วนที่ 4 3. รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร) 3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 3.1.1 กระทรวงการคลัง 3.1.2 กระทรวงการต่างประเทศ 3.1.3 สำนักงบประมาณ (ยกเว้นที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ) 3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและ ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 3.2.1 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 3.2.2 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 3.2.3 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 3.2.4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 3.2.5 สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และ การสร้างความสามัคคีปรองดอง 3.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ 3.3.1 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) 3.3.2 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) 3.3.3 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม 3.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7 ส่วนที่ 5 4. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) 4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 4.1.1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4.1.2 กระทรวงมหาดไทย 4.1.3 กระทรวงแรงงาน 4.1.4 กระทรวงศึกษาธิการ 4.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ - สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) 4.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 ถึงข้อ 4.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7 ส่วนที่ 6 5. รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) 5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 5.1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 5.1.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.2 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 5.1 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณี ในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7 ส่วนที่ 7 6. รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) 6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 6.1.1 กระทรวงพลังงาน 6.1.2 กระทรวงยุติธรรม (ยกเว้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ) 6.1.3 กระทรวงอุตสาหกรรม 6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการ และ สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ - สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 6.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 6.1 ถึงข้อ 6.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7 ส่วนที่ 8 7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี) 7.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 7.1.1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 7.1.2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 7.1.3 สำนักงบประมาณ 7.1.4 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 7.1.5 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 7.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ 7.2.1 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) 7.2.2 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)) ส่วนที่ 9 8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร) 8.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 8.1.1 กรมประชาสัมพันธ์ 8.1.2 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 8.1.3 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา) 8.2 การมอบหมายให้กำกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้ - บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 8.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ - สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ส่วนที่ 10 9. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้ 9.1 การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น 9.2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น เป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ 9.3 การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ 9.4 การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ 10. รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจปฏิบัติแทนนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการ ในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ 11. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย 12. ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ 13. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม 14. ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป 38. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 218/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 218/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 168/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจ ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 นั้น โดยที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 168/2567 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ ส่วนที่ 1 1. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) 1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 1.1.1 คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ 1.1.2 คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 1.1.3 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 1.1.4 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 1.1.5 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.1.6 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 1.1.7 คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ 1.1.8 คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ 1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1.2.1 คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ 1.2.2 คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา 1.2.3 คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ 1.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 1.3.1 คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.3.2 คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1.3.3 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 1.3.4 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 1.3.5 คณะกรรมการกำลังพลสำรอง 1.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1.4.1 คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค 1.4.2 คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ 1.4.3 คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ 1.4.4 คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน 1.4.5 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ 1.4.6 คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี 1.4.7 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี 1.4.8 คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ 1.4.9 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร 1.4.10 คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ 1.4.11 คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ 1.4.12 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน 1.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 1.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ 1.5.2 รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ 1.5.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 1.5.4 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่ แบบบูรณาการ 1.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 1.6.2 รองประธานกรรมการคนที่ 1 ในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ ส่วนที่ 2 2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) 2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 2.1.1 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก 2.1.2 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ 2.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี 2.1.4 คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2.1.5 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ 2.1.6 คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ 2.1.7 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2.1.8 คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ 2.1.9 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 2.2.1 คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ 2.2.2 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ 2.2.3 คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ 2.2.4 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ 2.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 2.3.1 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 2.3.2 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน 2.3.3 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 2.3.4 คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 2.3.5 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ 2.3.6 คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ 2.3.7 คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ 2.3.8 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ 2.3.9 คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย 2.3.10 คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ 2.3.11 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ 2.3.12 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ 2.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 2.4.1 คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ 2.4.2 คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2.4.3 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ 2.4.4 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ 2.4.5 คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ 2.4.6 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ 2.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 2.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.5.2 อุปนายกสภาลูกเสือไทย 2.5.3 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่ แบบบูรณาการ 2.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 2.6.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ 2.6.2 กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนน ราชดำเนิน 2.6.3 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ในภูมิภาค ส่วนที่ 3 3. รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร) 3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 3.1.1 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ 3.1.2 คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 3.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 3.1.4 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล 3.1.5 คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 3.2.1 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3.2.2 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 3.2.3 คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ 3.2.4 คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 3.3.1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 3.3.2 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 3.3.3 คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม 3.3.4 คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง 3.3.5 คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน 3.3.6 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม 3.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 3.4.1 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ 3.4.2 คณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติราชการ 3.4.3 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน 3.4.4 คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน 3.4.5 คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ 3.4.6 คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3.4.7 คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย 3.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 3.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 3.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก 3.5.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 3.5.4 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ 3.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 3.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหาร จัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ 3.6.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ 3.6.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3.6.4 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สิน ทางปัญญาแห่งชาติ 3.6.5 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ในภูมิภาค ส่วนที่ 4 4. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) 4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 4.1.1 สภานายกสภาลูกเสือไทย 4.1.2 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย 4.1.3 คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ 4.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 4.2.1 คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 4.2.2 คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ 4.2.3 คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 4.3.1 คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ 4.3.2 คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ 4.3.3 คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ 4.3.4 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 4.3.5 คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ 4.3.6 คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 4.3.7 คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ 4.3.8 คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ 4.3.9 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ 4.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 4.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ 4.4.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ 4.4.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก 4.4.4 รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ 4.4.5 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ 4.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 4.5.1 กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ 4.5.2 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ส่วนที่ 5 5. รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) 5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 5.1.1 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 5.1.2 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ 5.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ 5.1.4 คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ 5.1.5 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 5.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 5.2.1 คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 5.2.2 คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ 5.2.3 คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน 5.2.4 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ 5.2.5 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว 5.2.6 คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 5.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 5.3.1 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ 5.3.2 คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ 5.3.3 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก 5.3.4 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า 5.3.5 คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ 5.3.6 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ 5.3.7 คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ 5.3.8 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม 5.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 5.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 5.4.2 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ 5.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 5.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ 5.5.3 กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี 5.5.4 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ส่วนที่ 6 6. รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) 6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 6.1.1 คณะกรรมการกฤษฎีกา 6.1.2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ - คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ 6.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 6.3.1 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 6.3.2 คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ 6.3.3 คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ 6.3.4 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ 6.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ - คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม 6.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 6.5.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 6.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ 6.5.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม 6.5.4 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ 6.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 6.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ 6.6.2 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ส่วนที่ 7 7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี) 7.1 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ - คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ 7.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ - คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ 7.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ 7.3.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 7.3.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม 7.3.3 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ 7.3.4 กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ 7.3.5 กรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก 7.3.6 กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 7.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 7.4.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน 7.4.2 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อ เกษตรแห่งชาติ 7.4.3 กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน 7.4.4 กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ ส่วนที่ 8 8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร) 8.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ - คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 8.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้ - กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน 8.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 8.3.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ 8.3.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 8.3.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม 8.3.4 รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ 8.3.5 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ 8.3.6 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ 8.3.7 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มี โฉนดชุมชน ส่วนที่ 9 9. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน 10. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณา และข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน 11. ในส่วนการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีคนใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไป ตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป