สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มิถุนายน 2567

ข่าวการเมือง Tuesday June 18, 2024 15:12 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 18 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย                                                  การยกเว้นรัษฎากร  (การปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับ                                                  ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง)
                    2.           เรื่อง           ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของ                                        ข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ?.
                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองบัว ตำบล                                        หนองนาคำ ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลบ้านจั่น และตำบลโนนสูง อำเภอเมือง                                                  อุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลเหนือเมือง และ                                        ตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. ....
          5.                     เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง                                                             จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ....
          6.                     เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนองครักษ์                                                   จังหวัดนครนายก พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    7.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง กฎหมายด้านการอุดมศึกษา                                                   วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา                                                             วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา
                    8.           เรื่อง           รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไป                                                  พลางก่อน
                    9.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่าย                                        ภาครัฐ ครั้งที่ 1/2567 และครั้งที่ 2/2567 และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่าย                                                  งบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ   พ.ศ. 2567
                    10.           เรื่อง           โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อน                                        กระเสียว
                    11.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ                                                   ลูกจ้าง หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชา                                                  อุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่อง                                        ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567                                         โดยไม่ถือเป็นวันลา
                    12.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
                    13.           เรื่อง           ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการ                                                  นายกรัฐมนตรี
                    14.           เรื่อง           รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    15.           เรื่อง            รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนเมษายนและ 4 เดือนแรกของปี                                         2567
                    16.           เรื่อง           รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2565
                    17.           เรื่อง           ข้อเสนอแผนงาน/โครงการของจังหวัดสืบเนื่องจากการตรวจราชการของ                                                  นายกรัฐมนตรี (จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัด                                                            นครศรีธรรมราช)

ต่างประเทศ
                    18.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค

ลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 26 (The 26th GMS Ministerial Conference)

                    19.           เรื่อง           การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 19 ที่กรุงเตหะราน
                    20.           เรื่อง           (ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร                                        ไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
                    21.           เรื่อง           การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง                                                  สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ ? เลสเตว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตรา                                                  ประเภทท่องเที่ยวสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา
                    22.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างความยินยอมร่วมกันเพื่อต่ออายุแถลงการณ์ร่วมแสดง                                                  เจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่ง                                        ราชอาณาจักรไทย และกระทรวงดิจิทัลและคมนาคมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐ                                                  เยอรมนี

แต่งตั้ง
                    23.           เรื่อง           คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงการอุดมศึกษา                                                   วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)

?

กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                     ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                      กค. เสนอว่า
                     1. โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ได้มีการเพิ่มอัตราค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป โดยให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้าย (จากเดิมกำหนดอัตราค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน แต่ไม่มีการกำหนดอัตราค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป)
                     2. คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2566 ได้จัดทำข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2566 โดยขอให้รัฐเร่งรัดให้ได้ข้อสรุปในแนวทางจัดระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุให้ลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจได้มีระบบสวัสดิการจากรัฐเทียบเคียงกับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 รวมถึงการให้ลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้จากค่าตอบแทนความชอบด้วยหลักเกณฑ์ เช่นเดียวกับการลดหย่อนเงินได้ก้อนสุดท้ายหรือลดหย่อนเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างเอกชนได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง และขอให้รัฐบาลลดหย่อนภาษีเงินได้ก้อนสุดท้ายที่ลูกจ้างออกจากงานทุกกรณี (ให้ได้รับการยกเว้น 1 ล้านบาท)
                     3. กค. ได้มีมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยดังกล่าว โดยได้กำหนดให้ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นจำนวนเงินไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ตามข้อ 2 (51) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)1 ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
                     4. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างกรณีถูกเลิกจ้างมีหลักการที่จะดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ได้เพิ่มเติมอัตราค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้มากกว่าลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี โดยให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย จึงเห็นควรแก้ไขข้อ 2 (51) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ เช่นกัน นอกจากนี้ เนื่องจากได้มีการกำหนดเพดานของค่าชดเชยที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกิน 300,000 บาท ไว้ตั้งแต่ปี 2542 เมื่อพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเห็นควรปรับเพิ่มเพดานของค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากไม่เกิน 300,000 บาท เป็นไม่เกิน 600,000 บาท โดยการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง) ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวยังคงไม่รวมถึงกรณีค่าชดเชยที่ได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุ หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างเช่นเดิม เนื่องจากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง มุ่งเน้นให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ มิใช่การเกษียณอายุหรือการสิ้นสุดสัญญาจ้างตามปกติ ประกอบกับได้มีการบรรเทาภาระภาษี สำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับกรณีเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างอยู่แล้ว
                     5. สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงที่ กค. เสนอ สรุปได้ ดังนี้
                               5.1 แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 2 (51) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยปรับเพิ่มเพดานของค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก ค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้าง หรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท เป็น ค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 600,000 บาท
                               5.2 ให้ใช้บังคับสำหรับเงินค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
กฎหมายเดิม          ร่างกฎหมายที่เสนอ
(51) ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้าง หรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป          (51) ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้าง หรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 600,000 บาท สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป
                     6. กค. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว เห็นว่าจะทำให้สูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละประมาณ 660 ล้านบาท แต่จะส่งผลให้ลูกจ้างและพนักงานที่เดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้างได้รับการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างที่ได้รับจากนายจ้าง ทั้งนี้ กรมสรรพากรอาจต้องมีการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยที่ได้รับในปีภาษี 2566 ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีในปี 2567 ซึ่งสามารถดำเนินการได้
*พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 118 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้ (6) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
1กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ข้อ 2 ให้กำหนดเงินได้ต่อไปนี้เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (51) ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุ หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

2. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ?.
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                      ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างระเบียบ
                      กค. เสนอว่า
                     1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) เห็นชอบกับรายงานผลการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เรื่อง การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอและให้สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยรายงานผลการศึกษาดังกล่าวมีข้อเสนอ สรุปได้ ดังนี้
                               1.1. การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุทุกคุณวุฒิให้แตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิการศึกษา ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี และปรับอัตราเงินเดือนของคุณวุฒิอื่น ๆ ให้สอดคล้องกัน รวมทั้งปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุดังกล่าวภายในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ จะทยอยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิ และปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 2 ครั้ง
                               1.2 การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ กค. โดยกรมบัญชีกลางเห็นควรพิจารณาปรับเพดานเงินเดือนขั้นสูง ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็น เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท
                     2. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และทหารกองประจำการ สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน และสอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชย ผู้ได้รับผลกระทบซึ่งเป็นไปตามกับมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 1 กค. โดยกรมบัญชีกลางจึงได้ดำเนินการยกร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. .... โดยยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวม 6 ฉบับ และปรับปรุงบทอาศัยอำนาจโดยอาศัยอำนาจออกตามความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถูกยกเลิกโดยผลของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยยังคงหลักการเดิม และปรับอัตราเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว โดยการปรับเพดานเงินเดือนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว สำหรับข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งมีเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึง 14,600 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วต้องไม่เกิน เดือนละ 14,600 บาท และการปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว สำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และทหารกองประจำการ ซึ่งมีเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 11,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนหรือค่าจ้างอีกจนถึงเดือนละ 11,000 บาท สำหรับการปรับอัตราเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว สรุปได้ ดังนี้
ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ
และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

ผู้มีสิทธิได้รับ

เงินดือน/ค่าจ้าง
          เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว

รวม
          วันที่ระเบียบมีผลใช้บังคับและวันเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการ
1. ข้าราชการและลูกจ้างประจำ ที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี          ขั้นสูง




ตั้งแต่วันที่
1 พฤษภาคม 2567
เป็นต้นไป

          ไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท   (เดิม 13,285 บาท)          2,000 บาท
(เท่าเดิม)          ไม่เกินเดือนละ 14,600 บาท   (เดิม 13,285 บาท)
          ขั้นต่ำ
          ไม่ถึงเดือนละ 11,000 บาท   (เดิม 10,000 บาท          ไม่จำกัด
          ไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท   (เดิม 10,000 บาท)
2. ลูกจ้างชั่วคราวที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี          ไม่ถึงเดือนละ 11,000 บาท   (เดิม 10,000 บาท          ไม่จำกัด
          ไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท   (เดิม 10,000 บาท)
3. ทหารกองประจำการซึ่งได้รับเงินเดือนในระดับ พ.1          ไม่ถึงเดือนละ 11,000 บาท   (เดิม 10,000 บาท)          ไม่จำกัด
          ไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท    (เดิม 10,000 บาท)
รวมทั้งได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าครองชีพชั่วคราว โดยกำหนดให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จบำนาญ เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่ม และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน หรือระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่ กค. กำหนด แล้วแต่กรณีโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้เก็บหลักฐานการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวไว้ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินเดือนข้าราชการ หรือค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการที่ กค. กำหนดในปัจจุบัน
                     3. ทั้งนี้ กค. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐฯ แล้ว คาดว่าในการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และทหารกองประจำการ จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 200 ล้านบาทต่อเดือน หรือประมาณ 2,400 ล้านบาทต่อปี โดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่าย (งบบุคลากร) ซึ่งจะช่วยให้บุคคลดังกล่าวสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ
จึงได้เสนอร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ....  มาเพื่อดำเนินการ

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองบัว ตำบลหนองนาคำ ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลบ้านจั่น และตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองบัว ตำบลหนองนาคำ ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลบ้านจั่น และตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย



                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอว่า
                    1. สืบเนื่องจาก คค. ได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านจั่น ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลหนองนาคำ ตำบลหนองบัว และตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2562 เพื่อสร้างและขยายทางหลวงชนบทถนนสาย ก 7 ถนนสาย ง 8 และถนนสาย จ ตามโครงการผังเมืองรวมอุดรธานี และถนนต่อเชื่อม และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด ซึ่งมีระยะเวลาบังคับใช้กำหนด 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2562 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2566
                    2. ลักษณะของโครงการก่อสร้างและขยายทางหลวงชนบท ถนนสาย ก 7 ถนนสาย ง 8 และถนนสาย จ ตามโครงการผังเมืองรวมอุดรธานี และถนนต่อเชื่อม โดย
                              (1) ถนนสาย ก 7 และถนนสาย ง 8 เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจรพร้อมเกาะกลาง ชนิดผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก ช่องทางจราจรกว้างช่องละ 3.25 ? 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 3.00 เมตร ทางเท้ากว้างข้างละ 2.90 เมตร เขตทางกว้างประมาณ 16.00 ? 30.00 เมตร
                              (2) ถนนสาย จ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ชนิดผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร ทางเท้ากว้างข้างละ 3.90 เมตร เกาะกลางแบบยกกว้าง 8.50 ? 27.70 เมตร เกาะกลางแบบร่องกว้าง 9.00 เมตร เขตทางกว้างประมาณ 60.00 เมตร
รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 15.17 กิโลเมตร มีที่ดินที่ถูกเวนคืนประมาณ 367 ไร่ มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนประมาณ 243 รายการ
                    3. กรมทางหลวงชนบทได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการดำเนินโครงการ ซึ่งจากผลการวิเคราะห์พบว่า ถนนสาย ก 7 และถนนสาย ง 8 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่า 164.66 อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจโครงการ (ERR) มีค่า 14.18 % อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อทุน (B/C Ratio) มีค่า 1.20 และถนนสาย จ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่า 70.26 อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจโครงการ (EIRR) มีค่า 13.33 % อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อทุน (B/C Ratio) มี 1.09 ซึ่งถือได้ว่าโครงการดังกล่าวนี้ มีความเหมาะสมในการดำเนินการ และหากพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางอ้อมที่เกี่ยวกับการรองรับการขยายตัวของเมืองและการพัฒนาพื้นที่ในอนาคตโครงการจะมีความเหมาะสมมากขึ้นอีก
                    4. กรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าว ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งผลการรับฟังความคิดเห็นโดยรวมต่อโครงการมีประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการคิดเป็นร้อยละ 71.80
                    5. ในการดำเนินโครงการเพื่อสร้างและขยายทางหลวงชนบท ถนนสาย ก 7 ถนนสาย ง 8 และถนนสาย จ ตามโครงการผังเมืองรวมอุดรธานี และถนนต่อเชื่อมใช้เงินงบประมาณประจำปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย โดยใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการประมาณ 2,040 ล้านบาท (ค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 800 ล้านบาท และค่าก่อสร้างประมาณ 1,240 ล้านบาท) ซึ่งกรมทางหลวงชนบทได้มีแผนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและเบิกจ่ายเงินค่าทดแทนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568- 2569 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2569 - 2571
                    6. โดยที่พระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1. ได้สิ้นผลบังคับใช้ในวันที่ 6 เมษายน 2566 ทำให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาตามแผนการดำเนินการที่กำหนดไว้
                    7. ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองบัว ตำบลหนองนาคำ ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลบ้านจั่น และตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เพื่อสร้างและขยายทางหลวงชนบทถนนสาย ก 7 ถนนสาย ง 8 และถนนสาย จ ตามโครงการผังเมืองรวมอุดรธานีและถนนต่อเชื่อม มีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปีโดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ โดยร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการดำเนินการเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัดต่อเนื่องจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลบ้านจั่น ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลหนองนาคำ ตำบลหนองบัว และตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2562 ซึ่งยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
                    8. สำนักงบประมาณพิจารณาแล้ว เห็นควรที่กรมทางหลวงชนบทจะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจะต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญด้วย
                    9. คค. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) [เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย] โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบร่างแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาแล้วพบว่า สอดคล้องกับคำบรรยายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2541 และแนวเขตที่ดินที่ปรากฏในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัว ตำบลหนองนาคำ ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลบ้านจั่น และตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลเหนือเมือง และตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลเหนือเมือง และตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงคมนาคมเสนอเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลเหนือเมือง และตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 บ้านไผ่ ? อุบลราชธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 232 ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด (ทางแยกบ้านโนนเมือง) (ทางแยกต่างระดับ)  ทั้งนี้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด โดยมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการภายในระยะเวลา 5 ปี และดำเนินกระบวนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินตลอดทั้งโครงการ ทั้งนี้ เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้สามารถเข้าดำเนินการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 บ้านไผ่ ? อุบลราชธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 232 ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด ทางแยกบ้านโนนเมือง)  ซึ่งมีระยะทางประมาณ 0.447 กิโลเมตร
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอว่า
                    1. เนื่องจากกรมทางหลวงมีแผนการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 บ้านไผ่ - อุบลราชธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 232 ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด (ทางแยกบ้านโนนเมือง) ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับในท้องที่ตำบลเหนือเมือง และตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด มีจุดเริ่มต้น ที่ กม. 106+853 - กม.107+300 วงเงินการก่อสร้าง 700 ล้านบาท มีปริมาณทรัพย์สินที่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ประกอบด้วย ที่ดินประมาณ 23 แปลง สิ่งปลูกสร้างประมาณ 13 ราย และต้นไม้ยืนต้นประมาณ 7 ราย รวมค่าทดแทนในการเวนคืนเป็นเงินประมาณ 136,452,414 บาท (งบประมาณ ปี พ.ศ. 2568 ? 2570)
                    2. โครงการดังกล่าวได้มีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการดำเนินงานทางแยกจุดตัดทางหลวงบนทางหลวงหมายเลข 23 กับทางหลวงหมายเลข 232 (แยกบ้านโนนเมือง) เป็นจุดตัดทางแยกที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางขนส่งสินค้า โดยมีความกว้างเขตทางของทางหลวงหมายเลข 23 และ 232 คือ 40.0 เมตร และ 60.0 เมตร ตามลำดับ ปัจจุบันทางแยกดังกล่าวเป็นสี่แยกที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุม ซึ่งได้มีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ อัตราผลตอบแทนการลงทุน (EIRR) ของโครงการ เท่ากับ 12.09 % จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 บ้านไผ่ - อุบลราชธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 232 ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด (ทางแยกบ้านโนนเมือง) เพื่อให้การสร้างทางหลวงดังกล่าว เป็นไปตามแผนการที่กำหนดไว้ รวมทั้งเพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจร และการขนส่งทางบก อันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน
                    3. กรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าว ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2561 แล้ว ซึ่งผลการรับฟังความคิดเห็นโดยรวมต่อโครงการมีประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการคิดเป็นร้อยละ 85 ซึ่งสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กรมทางหลวงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
                    4. คค.ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยได้จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินเพื่อกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลเหนือเมือง และตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ประกอบด้วยชื่อโครงการ รายละเอียดโครงการ แผนบริหารโครงการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับ และกระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาฯ แล้ว พบว่า สอดคล้องกับคำบรรยายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบล ในท้องที่ตำบลเหนือเมือง และตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย)
                    5. คค. จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลเหนือเมือง และตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 บ้านไผ่ - อุบลราชธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 232 ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด (ทางแยกบ้านโนนเมือง) ทั้งนี้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด โดยมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการภายในระยะเวลา             5 ปี และดำเนินกระบวนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินตลอดทั้งโครงการ ทั้งนี้ เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้สามารถเข้าดำเนินการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 บ้านไผ่ - อุบลราชธานีตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 232 ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด (ทางแยกบ้านโนนเมือง) ซึ่งมีระยะทางประมาณ 0.447 กิโลเมตร

5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี          พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวง
                    1. มท. เสนอว่ากรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในท้องที่ตำบลหนองโอ่ง ตำบลอู่ทอง ตำบลกระจัน ตำบลเจดีย์ ตำบลจรเข้สามพัน และตำบลยุ้งทะลาย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โดยเป็นผังพื้นที่เปิดใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม โดยส่งเสริมอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง
                    2. ในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) ครั้งที่ 11 /2560 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ได้มีมติเห็นชอบผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. .... และนำไปปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็นปรากฏว่าไม่มีผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง และได้นำเสนอคณะกรรมการผังเมืองเพื่อทราบ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561
                    3. ต่อมาได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ 2562 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ และได้แก้ไขรูปแบบการประกาศใช้บังคับกฎหมายในส่วนของผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทำผังขึ้นใหม่ โดยให้ดำเนินการประกาศใช้บังคับเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย (เดิมประกาศใช้บังคับเป็นกฎกระทรวง) ประกอบกับมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ บัญญัติให้บรรดาผังเมืองรวมที่อยู่ระหว่างดำเนินการวางและจัดทำตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการผังเมืองกำหนด และในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบให้ผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทำผัง ซึ่งคณะกรรมการผังเมือง  (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) ได้ให้ความเห็นชอบแล้วและอยู่ในขั้นตอนการยกร่างกฎหมาย ให้ดำเนินการออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อใช้บังคับต่อไป
                    4. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. .... ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติว่า ?เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 29 แล้ว ไม่มีผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดยื่นคำร้องตามมาตรา 30 หรือมีแต่คณะกรรมการผังเมืองสั่งยกเลิกคำร้องดังกล่าวหรือเมื่อกรมโยธาธิการและผังเมืองไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้วแต่ละกรณี ดำเนินการเพื่อออกประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น แล้วแต่ละกรณี โดยไม่ชักช้า ในการนี้ ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองนำประกาศกระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน? ทั้งนี้ ในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมก่อนที่จะได้จัดทำเป็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผังเมืองซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านอื่น ๆ   ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
                    5. กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองโอ่ง ตำบลอู่ทอง ตำบลกระจัน ตำบลเจดีย์ ตำบลจรเข้สามพัน และตำบลยุ้งทะลาย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคม และการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ซึ่งมีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
                              5.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริการ การปกครอง การค้า การพาณิชย์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
                              5.2 อนุรักษ์โบราณสถานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีและพื้นที่โดยรอบ
                              5.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
                              5.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    6 กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 12 ประเภท ดังนี้

ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย
 (สีเหลืองมีเส้นทแยงสีขาว)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณรอบคูเมืองโบราณอู่ทองและบริเวณริมสองฝั่งคลองระบายน้ำจรเข้สามพัน ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์วิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมริมน้ำที่คงคุณค่าในระยะยาวอาคารที่ก่อสร้างต้องมีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัย เช่น โรงงานทุกจำพวกที่กฎหมายว่าด้วยโรงงาน การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า คลังน้ำมัน คลังก๊าซปิโตรเลียม สถานที่เก็บวัตถุไวไฟ กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล เป็นต้น รวมทั้งให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งตามสภาพธรรมชาติของลำคลองไม่น้อยกว่า 6 เมตร

2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่น (สีเหลือง)            - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการอยู่อาศัยชั้นดี กำหนดไว้ที่บริเวณพื้นที่พัฒนาใหม่ที่ต่อเนื่องกับพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนจากศูนย์กลางหลักด้านการค้า การบริการ ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัย เช่น การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า คลังน้ำมัน สถานที่เก็บวัตถุไวไฟ กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล โรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การเพาะเชื้อเห็ด การทำนมสด การทำแป้ง การทำน้ำเชื่อม เป็นต้น

3. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนจากการพัฒนาพื้นที่บริเวณศูนย์กลางหลักด้านการค้า การบริการ การท่องเที่ยว และการนันทนาการแก่ชุมชน ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัย เช่น การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า คลังน้ำมัน สุสานและฌาปนสถาน กำจัดขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล โรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การบรรจุเนื้อสัตว์ การคั่วกาแฟ  การทำเครื่องประดับ เป็นต้น
4. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าและบริการแก่ชุมชน และการท่องเที่ยวระดับอำเภอ ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัย เช่น การเลี้ยงสัตว์ เพื่อการค้า คลังน้ำมัน คลังก๊าซปิโตรเลียม การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม การซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ โรงงานอุตสาหกรรม ที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง การซ่อมนาฬิกา เป็นต้น

5. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อการสงวนรักษาพื้นที่ที่มีคุณค่าด้านเกษตรกรรม การสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติ และการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการทำการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่น                 คลังน้ำมัน การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม                การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การกะเทาะเมล็ดพืช การฆ่าสัตว์ การผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น

6. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม           (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันการขยายตัวของเมืองเข้าใกล้กับบริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติและเป็นการสงวนพื้นที่เพื่อการเกษตร อาคารที่ก่อสร้างต้องมีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อพื้นที่ เช่น โรงงานทุกจำพวก ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โรงแรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม สถานที่เก็บวัตถุไวไฟ กำจัดขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล เป็นต้น และกำหนดให้มีที่ว่าง ริมฝั่งคลองหรือแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 6 เมตร

7. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนรักษาพื้นที่โล่งเพื่อการนันทนาการของชุมชน หรือเกี่ยวข้องกับการนันทนาการและเพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมของลำคลอง อาคารที่ก่อสร้างต้องมีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่โล่ง เช่น การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การอยู่อาศัยประเภท ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวม เป็นต้น

8. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาตะโกปิดทองและป่าเขาเพชรน้อย สำหรับที่ดินเอกชนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เกษตรกรรม หรือสาธารณประโยชน์ โดยห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก หรืออาคารอยู่อาศัยรวม เป็นต้น

9. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา หรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น โรงเรียนวัดยางยี่แส โรงเรียนภาวนาภิมณฑ์พิทยา โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม เป็นต้น

10. ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน)           - คือ เมืองโบราณอู่ทองสมัยทวารวดี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อาคารที่ก่อสร้างต้องมีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น โรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โรงแรม การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าสถานที่เก็บวัตถุไวไฟ กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล ให้มีที่ว่างหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 ไม่น้อยกว่า 10 เมตรเป็นต้น

11. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันศาสนา การศึกษา สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น             วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม วัดเขาทำเทียม วัดอู่ทอง                 วัดท่าพระยาจักร์ เป็นต้น

12. ที่ดินประเภทสถาบันราชการการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการของรัฐ กิจการเกี่ยวกับการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น สำนักงานเทศบาลตำบลท้าวอู่ทอง โรงพยาบาลอู่ทอง สำนักงานสาธารณสุขอำเภออู่ทอง เป็นต้น
                    7. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
                    8. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง เพื่อประโยชน์ในการดำรงรักษาที่โล่งไว้ เพื่อสาธารณประโยชน์และสภาพแวดล้อมอันจะเป็นการรักษาสภาพภูมิทัศน์ที่ดีของชุมชน รวมทั้งเพื่อป้องกันภัยพิบัติ เป็นที่โล่งเพื่อการสงวนรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติ
                    9. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 ถนนสาย ค 3  ถนนสาย ค 4 ถนนสาย ง ถนนสาย จ 1
ถนนสาย จ 2 และ ถนนสาย จ 3 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                              9.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
                              9.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                              9.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
                    10. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้เหมาะสมเพียงพอกับการให้บริการและได้มาตรฐาน
                    11. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภคเพื่อการระบายน้ำ เพื่อเป็นมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่

6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนองครักษ์ จังหวัดนครนายก      พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนองครักษ์  จังหวัดนครนายก พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวง
                    1. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมชุมชนองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 (ผังพื้นที่เปิดใหม่) โดยมีสาระสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การดำรงเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    2. ในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560 ได้มีมติเห็นชอบผังเมืองรวมชุมชนองครักษ์ จังหวัดนครนายก และนำไปปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็น ปรากฏว่าไม่มีผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง และได้นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการผังเมืองเพื่อทราบ
                    3. ต่อมาได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรูปแบบการประกาศใช้บังคับกฎหมายในส่วนของผังเมืองรวมที่องค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นผู้วางและจัดทำผัง และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ประกาศใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น (มาตรา 33) ซึ่งเดิมประกาศใช้บังคับเป็นกฎกระทรวง และกรณีผังเมืองรวมที่ได้ดำเนินการวางและจัดทำตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในวันก่อนที่พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ประกาศใช้บังคับ ตามมาตรา 1101 ที่ให้คณะกรรมการผังเมืองกำหนดการดำเนินการต่อไปสำหรับผังเมืองรวมนั้น ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 ได้มีมติให้ผังเมืองรวมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้วางและผู้จัดทำ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการยกร่างกฎหมายให้ดำเนินการออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อใช้บังคับต่อไป
                    4. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนองครักษ์ จังหวัดนครนายก พ.ศ. .... ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติว่า ?เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 29 แล้ว ไม่มีผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดยื่นคำร้องตามมาตรา 30 หรือมีแต่คณะกรรมการผังเมืองสั่งยกคำร้องดังกล่าวหรือเมื่อกรมโยธาธิการและผังเมืองไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า ในการนี้ ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองนำประกาศกระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน? ทั้งนี้ ในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมก่อนที่จะได้จัดทำเป็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผังเมือง ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
                    5. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนองครักษ์ จังหวัดนครนายก พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                                5.1 กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลบางปลากด ตำบลทรายมูล ตำบลคลองใหญ่ และตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินโครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้
                                        5.1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนองครักษ์ให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง การค้าและการบริการในระดับอำเภอ
                                        5.1.2 ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และการขยายตัวของชุมชน
                                        5.1.3 พัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
                                        5.1.4 ดำรงรักษาพื้นที่ที่มีคุณค่าทางการเกษตรให้เป็นแหล่งผลิตอาหารอย่างเพียงพอ ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐาน
                                        5.1.5 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
                                        5.1.6 ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมที่มีคุณค่าทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์
                              5.2 กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้

ประเภท           วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยบริเวณรอบนอกชุมชนเมือง รองรับกิจกรรมเพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว ห้องแถว ตึกแถว โดยการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมจะต้องไม่เป็นอาคารขนาดใหญ่ และ                   ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบ                           ต่อสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการอยู่อาศัย
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)          มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย รองรับความต้องการที่อาศัยใกล้ศูนย์กลางชุมชนและแรงงานสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการวินาศภัยทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว ห้องแถว ตึกแถว สถาบันราชการ โดยการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมให้มีขนาดพื้นที่อาคารไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการอยู่อาศัย
3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก  (สีแดง)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรม              พาณิชยกรรมและการอยู่อาศัยหนาแน่นบริเวณศูนย์กลางชุมชน ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อพาณิชย กรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่  โดยการห้ามการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่พิเศษ คลังเชื้อเพลิงที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซึ่งส่งผลต่อสุขอนามัยชุมชน สุสานและฌาปนสถาน คลังสินค้า กำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ
4. ที่ดินประเภทคลังสินค้า (สีเม็ดมะปราง)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นพื้นที่กิจการคลังสินค้า               การบรรจุสินค้า อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยไม่มีการผลิต และอุตสาหกรรมบริการชุมชนที่ไม่ก่อเหตุรำคาญ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ โดยห้ามประกอบกิจการคลังเชื้อเพลิง ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงเด็กหรือคนชรา โรงเรียน การกำจัดมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุและโรงงานทุกจำพวก เว้นแต่โรงงานเกี่ยวกับคลังสินค้า
5. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ โดยห้ามประกอบกิจการคลังเชื้อเพลิง โรงแรม การจัดสรรที่ดินประเภทต่าง ๆ
6. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
  (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม                การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม สถาบันราชการ                การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การป้องกันน้ำท่วม และการอนุรักษ์และการรักษาสภาพแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ โดยห้ามประกอบกิจการคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความหนาแน่นต่าง ๆ เช่น โรงแรม  โรงมหรสพ การกำจัดมูลฝอย
7. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล)          - เป็นพื้นที่เขตดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
8. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)           - มีวัตถุประสงค์เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ                             การนันทนาการ หรือที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือสาธารณประโยชน์เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยห้ามประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ห้ามก่อสร้างอาคารเกิน 300 ตารางเมตร
9. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น โรงเรียนวัดเชี่ยวโอสถ โรงเรียนองครักษ์
10. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นพื้นที่ศาสนาในปัจจุบัน เช่น วัดเชี่ยวโอสถ วัดสว่างอารมณ์
11. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น โรงพยาบาลองครักษ์ สำนักงานเกษตรอำเภอองครักษ์
                              5.3 กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) และที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
                              5.4 กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 ถนนสาย ข 4 ถนนสาย ข 5 ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 ถนนสาย ค 3  ถนนสาย ค 4 ถนนสาย ค  5 และถนนสาย ค 6 ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด  ดังต่อไปนี้
                                        5.4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการ
                                        5.4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                                        5.4.3 การเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารใหญ่


1มาตรา 110 บัญญัติว่า บรรดาผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะที่อยู่ระหว่างดำเนินการวางและจัดทำตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการผังเมืองกำหนดโดยไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
เศรษฐกิจ-สังคม
7. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง กฎหมายด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง กฎหมายด้าน                         การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง กฎหมายด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการดังกล่าวได้พิจารณาสภาพปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย การจัดทำกฎหมายลำดับรอง และการตรากฎหมายของ อว. และได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเร่งรัดและผลักดันในการจัดทำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และการออกกฎหมายแต่ละฉบับให้มีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน รวมถึงดำเนินการเพื่อเกิดการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลขึ้นในสถาบันอุดมศึกษา
                    2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (31 ตุลาคม 2566) รับทราบรายงานตามข้อ 1 มอบหมายให้ อว. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    อว. ได้รวบรวมผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 2 แล้ว โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณา
1. เร่งรัดการออกกฎหมายลำดับรองของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแต่ละฉบับ
ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับ โดยควรแจ้งความคืบหน้าหรือสถานะของกฎหมายลำดับรองแต่ละฉบับให้ทราบด้วย          - อว. ได้มีการรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามกฎหมายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อที่ประชุมคณะทำงานสนับสนุนข้อมูลกฎหมายการอุดมศึกษาฯ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้มีการขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาจนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
- กค. เห็นว่า ควรเร่งรัดการออกฎหมายลำดับรองของพระราชบัญญัติแต่ละฉบับให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับ เนื่องจากมีผลกระทบต่อหน่วยงานเป็นจำนวนมาก และควรแจ้งความคืบหน้าหรือสถานะของกฎหมายลำดับรองของแต่ละฉบับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
- สงป. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
2. เร่งรัด ผลักดันการออกกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนพัฒนาความเป็นเลิศและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางของสถาบันอุดมศึกษาให้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็ว          - อว. เห็นว่า การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวตามข้อเสนอแนะมีบทบาทสำคัญในการผลิตบัณฑิตและกำลังคนที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูงเพียงพอต่อความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ  ซึ่ง อว.ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา จำนวน 4 ฉบับ ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 มกราคม 2565) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา จำนวน 4 ฉบับ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้ง 4 ฉบับเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างเสนอรัฐสภา แต่เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 จึงทำให้                                      ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับดังกล่าว ซึ่งรัฐสภายังไม่ได้ให้ความเห็นชอบตกไป ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ทั้ง 4 ฉบับ อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี1
- กค. เห็นควรเร่งรัดและผลักดันกฎหมายการจัดตั้งกองทุนฯ ให้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็ว
- สงป. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
3. ควรผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   แต่ละฉบับ  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันแต่มีปัญหาขาดความเชื่อมโยงกัน โดยให้กฎหมายดังกล่าว มีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน          - อว. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนและกำกับดูแลในด้านการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ฯ การออกกฎหมายลำดับรองล่าช้าไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดอาจส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในด้านการดำเนินการในเรื่องที่ต้องเชื่อมโยงกันตามกลไกของกฎหมายแต่ละฉบับ ซึ่งปัจจุบันได้กำกับดูแลให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ฯ ของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ
- กค. เห็นว่า ผลของการบังคับใช้กฎหมายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ฯ พบปัญหาการออกกฎหมายลำดับรองที่ไม่เป็นไปตามระยะเวลาของบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติแต่ละฉบับ และขาดความเชื่อมโยง ดังนั้น เห็นควรเร่งรัดและผลักดันการออกกฎหมายลำดับรองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้มีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน รวมถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา

- สงป. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
4. การจัดทำประมวลจริยธรรม
          4.1 ดำเนินการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา          - อว. ได้จัดการอบรมหลักสูตรส่งเสริมคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาและผู้บริหารระดับสูงในสถาบันอุดมศึกษาและได้แจ้งให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถาบันอุดมศึกษาให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติตาม หลักธรรมาภิบาลโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และให้รายงานผลการดำเนินการให้สำนักงานปลัด อว. ทราบ เพื่อจะได้นำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำ good governance university report และพัฒนาไปสู่การมอบรางวัล good governance university award
- กค. เห็นควรให้มีการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาบูรณาการความร่วมมือและองค์ความรู้ในการดำเนินงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ควรมีกลยุทธ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางดำเนินงานโดยอาศัยแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) เสริมสร้างธรรมาภิบาล และระบบการบริหารจัดการที่ดีของสถาบันอุดมศึกษา
- สงป. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
          4.2 การดำเนินการในเรื่องร้องเรียนควรดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และควรดำเนินการภายในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติก่อน หากเรื่องใดไม่สามารถยุติได้ และพิจารณาว่าเป็นการ ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรง จึงค่อยส่งเรื่องมาให้ อว. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป





          - อว. เห็นด้วยกับข้อเสนอเนะของคณะ                  กรรมาธิการฯ และเห็นควรให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาดำเนินการแก้ไขปรับปรุงประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือพระราชบัญญัติการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และควรสื่อสารกับบุคลากรและผู้ร้องเรียนให้เข้าใจในสาระสำคัญและเจตนารมณ์ในการออกแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และกระบวนการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรกำหนดแนวทางในการจัดการปัญหาเรื่องข้อร้องเรียนภายในสถาบันอุดมศึกษา และประกาศให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
          4.3 ให้เร่งรัดการจัดทำประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา          - กค. และ สงป. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
- อว. เห็นว่า สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งจะต้องดำเนินการจัดทำประมวลจริยธรรมเกี่ยวกับบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานตนเอง โดยอย่างน้อยต้องมีมาตรฐานกลางที่คณะกรรมการข้าราชการ
พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษากำหนด และควรพิจารณาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา
          พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
- กค. เห็นว่า ควรเร่งรัดการจัดร่างประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา บุคลากรและผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้มีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล
- สงป. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

1ครม. มีมติ (7 พ.ค. 2567) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่าง พ.ร.บ. การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่..)  พ.ศ. .... ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน 4 ฉบับ ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่ อว. เสนอ

8. เรื่อง รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อนตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สงป. รายงานว่า
                    1. เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศในราชกิจจาบุเบกษา เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 สงป. จึงได้ดำเนินการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน
จำแนกรายจ่าย          แผนการใช้จ่ายฯ          จัดสรร          ผลการเบิกจ่าย1          ผลการใช้จ่าย2 (ก่อหนี้)
          จำนวน          ร้อยละ3          จำนวน          ร้อยละ4          จำนวน          ร้อยละ5          จำนวน          ร้อยละ6
ภาพรวม          1,878,556.52          58.98          1,837,718.05          97.83          1,611,838.64          85.80          1,647,803.15          87.72
รายจ่ายประจำ          1,693,116.33          67.19          1,681,551.09          99.32          1,512,669.51          89.34          1,524,823.12          90.06
รายจ่ายลงทุน          185,440.19          27.89          156,166.96          84.21          99,169.13          53.48          122,980.03          66.32
                    2. สำหรับผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายและผลการปฏิบัติงานของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ 6 ยุทธศาสตร์และ 1 รายการ สรุปได้ ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง          จำนวน (ล้านบาท)          ร้อยละ
จัดสรร          174,123.04          -
ผลการเบิกจ่าย          113,944.30          65.44
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)          127,430.18          73.18
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน          (1) ด้านความพร้อมของกองทัพ กองทัพมีความพร้อมในการเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการมีนโยบาย มาตรการและแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคง
(2) ด้านการแก้ไขปัญหาภาคใต้ มีการจัดประชุมหารือกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบกลไกทวิภาคี การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม จำนวน 30 ชุมชน และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4,559 ราย
(3) ด้านการค้ามนุษย์ มีการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหาย จำนวน 148 ราย มีการออกหนังสือคนประจำเรือสำหรับต่างด้าวให้แก่แรงงานประมงเพื่อป้องกันปัญหาประมงผิดกฎหมาย จำนวน 28,835 ราย
(4) ด้านการต่างประเทศ มีการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในการเสริมสร้างความมั่นคงที่ครอบคลุม (Comprehensive Security) ในกรอบอาเซียน
2.2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน          จำนวน (ล้านบาท)          ร้อยละ
จัดสรร          164,641.20          -
ผลการเบิกจ่าย          132,554.66          80.51
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)          143,276.11          87.02
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน          จากการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยภาครัฐได้มีการดำเนินมาตรการ              ต่าง ๆ เช่น การจัดทำแผนผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ นโยบายสนับสนุนศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง การผลักดันการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ และกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศโดยประสบผลสำเร็จ เช่น (1) มูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ จำนวน 7,612.74 ล้านบาท (2) มูลค่าการเจรจาการค้า จำนวน 38,077 ล้านบาท (3) มูลค่าการค้าของผู้ประกอบการฐานราก จำนวน 2,569.28 ล้านบาท (4) มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนมูลค่าไม่น้อยกว่า 400,466 ล้านบาท เป็นต้น อีกทั้งภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายลดค่าครองชีพของประชาชน โดยการจัดหาสินค้าราคาประหยัดเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน จำนวน 888 ครั้ง สามารถลดรายจ่ายในการซื้อสินค้าเป้าหมายที่จำเป็น ร้อยละ 30
2.3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์          จำนวน (ล้านบาท)          ร้อยละ
จัดสรร          322,105.05          -
ผลการเบิกจ่าย          288,627.72          89.61
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)          291,393.40          90.47
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน          (1) มีผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้สำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 จำนวน 4,699,216 คน
(2) ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 110.81 ได้รับการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพและสวัสดิการ
(3) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 144.37 ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ (ดิจิทัล/ภาษาอังกฤษ) ตลอดจนมีการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย
(4) ผู้สูงอายุ จำนวน 5,559 คน ได้รับการพัฒนาทักษะ ส่งเสริมการมีงานทำ และได้รับสวัสดิการด้านแรงงาน จำนวน 3,532 คน
(5) แรงงาน จำนวน 566,396 คน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
(6) บุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ จำนวน 150 คน ได้รับการฝึกอบรมและเข้ารับการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ
(7) มีการพัฒนาโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้มีคุณภาพมาตรฐานผ่านการรับรอง HA ขั้น 3 ร้อยละ 97.64
2.4 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม          จำนวน (ล้านบาท)          ร้อยละ
จัดสรร          502,800.28          -
ผลการเบิกจ่าย          466,773.41          92.83
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)          467,509.13          92.98
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน          (1) การกระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร โดยมีเกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน จำนวน 16,003 ราย
(2) ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทมีที่อยู่อาศัยและสิทธิในที่ดินเป็นของตนเองเพิ่มขึ้น จำนวน 18,186 ครัวเรือน รวมถึงการพิสูจน์สิทธิของประชาชนที่มีปัญหาข้อพิพาทในเขตที่ดินของรัฐได้รับการแก้ไขปัญหาจนเป็นที่ยุติ จำนวน 581 แปลง
(3) จำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในปีปัจจุบันได้รับการดำเนินการจนได้ข้อยุติ ร้อยละ 34.04
(4) จำนวนแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม จำนวน 24,633,584 คน
(5) กลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางได้รับการคุ้มครองทางสังคม เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จำนวน 2,887,281 คน
(6) ผู้พิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิทธิ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการสาธารณะที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต จำนวน 187,417 คน
2.5 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม          จำนวน (ล้านบาท)          ร้อยละ
จัดสรร          39,055.75          -
ผลการเบิกจ่าย          27,184.24          69.60
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)          31,866.54          81.59
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน          (1) ดูแลรักษาพื้นที่ป่าให้เป็นป่าธรรมชาติ จำนวน 98.36 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ประเทศ
(2) มีเป้าหมายพัฒนาศักยภาพพื้นที่ทางธรรมชาติให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จำนวน 9 แห่ง
(3) ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย รวมถึง จัดการคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
(4) จัดการแก้ไขปัญหาขยะทะเล จำนวน 102.62 ตัน
(5) ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรรวมทั้งสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 16,500 ราย ส่งผลให้ลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ไม่น้อยกว่าจำนวน 15,072 ไร่ ครัวเรือนเกษตรได้รับประโยชน์จากการลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 1,507 ครัวเรือน
(6) มีเป้าหมายในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำบาดาล จำนวน 323 แห่ง ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องจำนวน 34,584 ครัวเรือน รวมทั้งการปฏิบัติการฝนหลวงทำให้มีปริมาณน้ำฝนในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ จำนวน 120.51 ล้านลูกบาศก์เมตร
2.6 ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ          จำนวน (ล้านบาท)          ร้อยละ
จัดสรร          431,526.55          -
ผลการเบิกจ่าย          405,624.27          94.00
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)          409,009.60          94.78
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน          (1) หน่วยงานภาครัฐมีการเชื่อมโยง โดยผ่านเครือข่ายสื่อสารภาครัฐ จำนวน 2,169 หน่วยงานและมีการเชื่อมโยงหน่วยงาน/ระบบสำคัญด้วย DG Links จำนวน 301 หน่วยงาน
(2) มีระบบงานสำคัญที่ติดตั้งอยู่บน DGA Cloud เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐหรือภาคประชาชน จำนวน 3 ระบบ และมีการพัฒนา/ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและการให้บริการให้เป็นดิจิทัล จำนวน 19 ระบบ
(3) นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการให้บริการประชาชน อาทิ ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์
(4) มีการปรับปรุง/ทบทวน กฎหมาย กฎ ระเบียบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม หลักการสิทธิมนุษยชน และสามารถปกป้องคุ้มครองสิทธิของตัวเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
2.7 รายการค่าดำเนินการภาครัฐ          จำนวน (ล้านบาท)          ร้อยละ
จัดสรร          203,466.18          -
ผลการเบิกจ่าย          177,130.04          87.06
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)          177,318.19          87.15
                    อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน พบว่า ผลการปฏิบัติงานและใช้จ่ายงบประมาณต่ำกว่าแผนฯ ที่กำหนดไว้ โดย สงป. ได้รวบรวมปัญหาและอุปสรรคจากการใช้จ่ายงบประมาณและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ดังนี้
ปัญหาและอุปสรรค          (1) หน่วยรับงบประมาณบางหน่วยมีการใช้จ่ายงบประมาณจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีก่อนเป็นลำดับแรกและดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน เป็นลำดับถัดมา ส่งผลให้การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ต่ำกว่าแผนที่กำหนด
(2) หน่วยรับงบประมาณมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณหรือลงนามในสัญญาแล้ว แต่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ เนื่องจากผู้รับจ้างรอเบิกจ่ายวงเงินทั้งสัญญาในคราวเดียวหลังดำเนินการแล้วเสร็จ หรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามงวดงาน เนื่องจากมีการปรับกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลและขาดการบูรณาการของหน่วยงานภายใต้แผนงานบูรณาการ รวมถึงขาดความพร้อมด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณในภาพรวมไม่บรรลุเป้าหมายตามแผนที่กำหนด
(3) สำหรับรายจ่ายลงทุนที่หน่วยรับงบประมาณดำเนินการล่าช้ายังไม่เข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง พบว่าบางหน่วยอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ กำหนดราคากลาง จัดทำขอบเขตของงาน (TOR) และปรับแบบรูปรายการให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง หรือมีการประกาศประกวดราคาแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นเสนอราคา บางรายการมีผู้ยื่นเสนอราคาเพียงรายเดียว หรือมีผู้ยื่นเสนอราคาแต่ไม่ตรงตามคุณลักษณะที่กำหนด จึงต้องเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ รวมถึงราคาพัสดุ/ครุภัณฑ์ วัสดุก่อสร้างและค่าแรงปรับราคาสูงขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับคุณลักษณะ/แบบรูปรายการ ส่งผลให้การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
ข้อเสนอแนะ          (1) เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 จึงเห็นควรให้หน่วยรับงบประมาณเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ สงป. และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ โดยเร่งรัดการก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายงบประมาณรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่เป็นรายจ่ายลงทุนรายการใหม่ ให้หน่วยรับงบประมาณจัดส่งรายละเอียดประกอบที่เกี่ยวข้องให้ สงป. พิจารณาความเหมาะสมของราคาควบคู่ไปกับการดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และเมื่อได้ผลการจัดซื้อจัดจ้างแล้วหากไม่เกินวงเงินที่ สงป. ให้ความเห็นชอบ ให้แจ้ง สงป. ทราบและดำเนินการทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันต่อไปได้ รวมทั้งพิจารณากำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานให้รวดเร็วขึ้นเพื่อให้ทันการเบิกจ่ายภายในเดือนกันยายน 2567 ทั้งนี้ หากคาดว่ามีรายการงบประมาณที่จะไม่สามารถก่อหนี้ได้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้หน่วยรับงบประมาณแจ้ง สงป. เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขเป็นรายกรณีในโอกาสแรก เพื่อให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด และป้องกันมิให้เงินพับตกไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณ
(2) เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จึงเห็นสมควรมอบหมายให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีที่ควบคุม กำกับ และดูแลหน่วยรับงบประมาณ หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย กำกับดูแล รวมถึงติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

1 วงเงินงบประมาณที่จ่ายไปแล้ว
2 วงเงินงบประมาณที่จ่ายไปแล้ว รวมกับใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (Purchase Order: PO) (ใบจองเงินเพื่อกันไว้เบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ)
3 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
4 ร้อยละ/แผนการใช้จ่ายฯ
5 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณที่จัดสรร
6 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณที่จัดสรร

9. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2567 และครั้งที่ 2/2567 และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ   พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ (คณะกรรมการฯ) เสนอผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2567 และครั้งที่ 2/2567 และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณ และรัฐวิสาหกิจนำมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไปเป็นแนวทางในการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ) ในขณะนั้น เป็นประธานในที่ประชุม มีมติรับทราบรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 และเห็นชอบการกำหนดมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1,322,916 ล้านบาท ดังนี้


หน่วย : ล้านบาท
รายการ          วงเงินจัดสรร/วงเงินกันฯ/แผนการใช้จ่าย(1)          การเบิกจ่าย          การใช้จ่าย(2)
                    จำนวน          ร้อยละ          จำนวน          ร้อยละ
(1) งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน(3)          1,816,497          1,174,265          64.64          1,210,797          66.66
          (1.1) รายจ่ายประจำ          1,666,102          1,104,510          66.29          1,116,464          67.01
          (1.2) รายจ่ายลงทุน          150,395          69,755          46.38          94,333          62.72
รายจ่ายลงทุนไม่รวมงบกลาง          150,006          69,597          46.40          94,164          62.77
(2) เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี(4)          160,130          70,723          44.17          159,783          99.78
(3) เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
(ไม่รวมเงินงบประมาณ)          226,030          77,928          34.48
รวมทั้งสิ้น          2,202,657          1,322,916          60.06
          ที่มา : ข้อมูลจากการรวบรวม ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
          หมายเหตุ :           (1) แผนการใช้จ่ายเงินที่หน่วยงานคาดว่าจะใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                              (2) ข้อมูลการใช้จ่าย ได้จาก PO + เบิกจ่าย + สำรองเงิน (มีหนี้) จากระบบ New GFMIS Thai ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
                              (3) งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน เป็นวงเงินงบประมาณที่สำนักงบประมาณอนุมัติจัดสรร 8 เดือน
                              (4) ข้อมูลเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ) (1 ตุลาคม 2566 - 31 มกราคม 2567)
                                        ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ รวม 95 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2,033,537 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือน มกราคม 2567 เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 39,027 ล้านบาท (จากแผนการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 117,257 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 33.28 ของแผนการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                              1.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ
                                        ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          วงเงินจัดสรร          เบิกจ่ายแล้ว          ใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว)
                    จำนวน          ร้อยละ          จำนวน          ร้อยละ
รายจ่ายประจำ          1,666,102          1,104,510          66.29          1,116,464          67.01
รายจ่ายลงทุน          150,395          69,755          46.38          94,333          62.72
รวมทั้งสิ้น          1,816,497          1,174,265          64.64          1,210,797          66.66
                              1.3 การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
                                        (1) เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (งบประมาณปี พ.ศ. 2566) มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 70,723 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.17 มีการใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว) จำนวน 159,783 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.78 ของวงเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 160,130 ล้านบาท
                                        (2) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ
ปัญหาอุปสรรค          ข้อเสนอแนะ
(1) ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีการยกเลิกการดำเนินการและเริ่มต้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น กรณีมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว หรือผู้เสนอราคาไม่ผ่านคุณสมบัติ ทำให้ต้องยกเลิกการประกวดราคาและประกาศเชิญชวนใหม่ หรือผู้รับจ้างขาดสภาพคล่อง ขาดแคลนแรงงาน ทำให้หน่วยงานยกเลิกสัญญา
(2) ด้านการเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนดำเนินการ บางโครงการต้องชะลอการดำเนินการ เนื่องจากไม่สามารถส่งมอบพื้นที่บางส่วนได้หรืออยู่ระหว่างขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่          (1) ให้หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณกำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถก่อหนี้และเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
 (2) หน่วยงานที่ขอตั้งงบประมาณควรประสานงานและเตรียมความพร้อมด้านพื้นที่ เมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณจะได้ดำเนินการได้ทันที
 (3) เนื่องจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีความล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลให้เบิกจ่ายไม่ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรมบัญชีกลางจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้รวดเร็วขึ้น ดังนี้ (1) ให้หน่วยงานของรัฐเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนที่เป็นเรื่องภายในของหน่วยงานของรัฐไว้ก่อน และ (2) กำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินก่อนมีการตรวจรับทรัพย์สินหรือตรวจรับงานเพื่อให้มีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วขึ้น
                              1.4 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2567 ณ สิ้นเดือนมกราคม 2567 รัฐวิสาหกิจมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุน จำนวน 38,543 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 123 ของแผนการเบิกจ่าย หรือร้อยละ 16 ของกรอบงบลงทุน สรุปได้ ดังนี้
ประเภท
รัฐวิสาหกิจ          ผลการเบิกจ่าย
(ล้านบาท)          ผลการเบิกจ่ายจำแนกรายแห่ง
สูงสุด 3 อันดับ
ปีงบประมาณ          32,293
(ร้อยละ 116 ของแผนการเบิกจ่าย
หรือร้อยละ 26 ของกรอบงบลงทุน)          (1) การรถไฟแห่งประเทศไทย
(2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
(3) การประปานครหลวง
ปีปฏิทิน          6,251
(ร้อยละ 182 ของแผนการเบิกจ่าย
หรือร้อยละ 5 ของกรอบงบลงทุน)          (1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(2) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
(3) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
รวม          38,543
(ร้อยละ 123 ของแผนการเบิกจ่าย
หรือร้อยละ 16 ของกรอบงบลงทุน)          -
                              1.5 การเบิกจ่ายเงินโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้
                                        (1) โครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (จำนวน 95 โครงการ) ณ สิ้นเดือนมกราคม 2567 มีผลเบิกจ่าย จำนวน 39,027 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.28 ของแผนการเบิกจ่ายโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 117,257 ล้านบาท
                                        (2) การดำเนินการของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เช่น 1) การจัดทำแผนการติดตามโครงการพัฒนา และโครงการประจำปี และรายงานผลการติดตามและการเบิกจ่ายเงินลงทุนของโครงการพัฒนาและโครงการเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ 2) การติดตามสถานะโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้และผลการเบิกจ่ายเงินลงทุนเป็นรายเดือน และ 3) การเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ร่วมกับหน่วยงานเจ้าของโครงการและแหล่งเงินกู้ (Monitoring) เป็นต้น
                    2. มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐประจำปีงบประมาณ                     พ.ศ. 2567 (ปรับปรุงจากผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2567 ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 เป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                    พ.ศ. 2567 ดังนี้
หน่วย : ร้อยละ
รายการ          รวม          ไตรมาสที่ 1          ไตรมาสที่ 2          ไตรมาสที่ 3          ไตรมาสที่ 4
          เบิกจ่าย          ใช้จ่าย          เบิกจ่าย          ใช้จ่าย*          เบิกจ่าย          ใช้จ่าย*          เบิกจ่าย          ใช้จ่าย*          เบิกจ่าย          ใช้จ่าย
รายจ่ายภาพรวม          93          100          24          28          41          47          51          82          93          100
รายจ่ายประจำ          98          100          29          33          47          53          58          82          98          100
รายจ่ายลงทุน          75          100          7          11          15          24          21          80          75          100
หมายเหตุ : * มีการปรับเพิ่มเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ไตรมาสที่ 1 - 3
                              2.2 แนวทางการเร่งรัดให้หน่วยรับงบประมาณดำเนินการ เช่น
                                        (1) กรณีเป็นรายจ่ายที่ต้องดำเนินการหรือเบิกจ่าย โดยสำนักงานในส่วนภูมิภาค ให้หน่วยรับงบประมาณเร่งดำเนินการส่งเงินจัดสรรต่อไปยังสำนักงานในส่วนภูมิภาคภายใน 5 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติเงินจัดสรร เพื่อดำเนินการใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันต่อไป
                                        (2) กรณีหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับทุนหมุนเวียนที่ไม่เป็นนิติบุคคล ให้จัดสรรไปยังทุนหมุนเวียนทันทีเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                     พ.ศ. 2567 ประกาศใช้บังคับ
                                        (3) รายการปีเดียว ให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณากำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานให้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในเดือนกันยายน 2567
                                        (4) รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่เป็นรายจ่ายลงทุนรายการใหม่                  ควรดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2567
                                        (5) ให้หัวหน้าหน่วยรับงบประมาณ รวมทั้งทุนหมุนเวียนภายใต้สังกัด กำกับดูแลบริหารจัดการเร่งรัดการดำเนินการ เพื่อให้สามารถก่อหนี้และเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมทั้งรายงานผลให้กรมบัญชีกลางทราบทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไป เพื่อรายงานคณะกรรมการฯ และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                              2.3 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เช่น
                                        (1) กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบงบลงทุน และพิจารณากำหนดให้เป้าหมายดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดของผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ
                                        (2) เพิ่มการเบิกจ่ายในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2567 (Front - Loaded) และหลีกเลี่ยงการกระจุกตัวของการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสสุดท้าย
                                        (3) ให้กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจกำกับดูแลให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบลงทุนให้ได้ตามเป้าหมาย และดำเนินการตามมาตรการข้างต้นอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพลังงานที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่มีกรอบงบลงทุนประจำปี 2567 คิดเป็นสัดส่วนรวมกันมากกว่าร้อยละ 85 ของกรอบงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด
                                        ทั้งนี้ ให้รัฐวิสาหกิจรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจทุกวันที่ 5 ของเดือนเพื่อรายงานคณะกรรมการฯ และคณะรัฐมนตรีต่อไป

10. เรื่อง โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว กำลังผลิตติดตั้งรวม 6.75 เมกะวัตต์ โดยมีวงเงินขออนุมัติ 959.76 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) เงินตราต่างประเทศ 243.83 ล้านบาท และ (2) เงินบาท 715.93                     ล้านบาท โดยให้สามารถเกลี่ยงบประมาณระหว่างโครงการได้ ทั้งนี้ ให้ถือว่า กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี 2567 ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พน. รายงานว่า
                    1. โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว (โครงการฯ) เป็นโครงการฯ ที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 ? 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (แผน PDP2018 Rev.1) ซึ่งทั้ง 4 โครงการ เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ติดตั้งท้ายเขื่อนของ                          กรมชลประทาน โดยเป็นการดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกับเขื่อนเพื่อให้สามารถบริหารการจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่กระทบต่อวัตถุประสงค์หลักเดิมของการสร้างเขื่อน รวมทั้งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่น ๆ
                    2. กฟผ. ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของทั้ง 4 โครงการ โดยคณะกรรมการการไฟฟ้า                  ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติเห็นชอบรายงานการศึกษาดังกล่าวแล้ว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ภาพรวมของโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั้ง 4 โครงการ
ประเด็น          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์          เพื่อช่วยเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ภายในประเทศ และดำเนินการตามนโยบายภาครัฐตามแผน PDP2018 Rev.1 และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)1 รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนตามนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของประเทศไทย
แผนการเบิกจ่ายเงิน          ปี พ.ศ.          วงเงิน (ล้านบาท)
2567          495.28
2568          358.21
2569          106.27
รวม          959.76

แหล่งเงิน          เงินรายได้ของ กฟผ. ร้อยละ 40 และแหล่งเงินทุนอื่น ๆ (เงินกู้) ร้อยละ 60
โดย กฟผ. จะพิจารณาแหล่งเงินทุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ ดังนี้
          (1) ค่าใช้จ่ายในส่วนเงินบาท ใช้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งรวมกันจากธนาคาร/สถาบันการเงินในประเทศ การออกพันธบัตรลงทุนในประเทศ การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและเงินรายได้ของ กฟผ.
          (2) กรณีที่จำเป็นต้องใช้เงินตราต่างประเทศ ใช้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งรวมกันจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ธนาคาร/สถาบันเพื่อการนำเข้า ? ส่งออก ธนาคาร/สถาบันการเงินต่างประเทศและ/หรือในประเทศ การออกพันธบัตรลงทุนต่างประเทศ
การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม          (1) โครงการฯ ไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบในด้านต่าง ๆ ดังนี้
          - รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA)
          - รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ กิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง (Environmental and Health Impact Assessment: EHIA)
          - รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE)
          - รายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (Environmental Site Assessment: ESA)
(2) โครงการฯ ต้องจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า (รายงานสิ่งแวดล้อมฯ) ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2563
    [ปัจจุบันโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคองและเขื่อนลำปาวได้รับความเห็นชอบรายงานสิ่งแวดล้อมฯ เรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนห้วยแม่ท้อและเขื่อนกระเสียวอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมฯ]
                              2.2 รายละเอียดของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเป็นรายโครงการ
ประเด็น          สาระสำคัญ
(1) โครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนลำตะคอง
ที่ตั้งโครงการ          ตั้งอยู่ท้ายอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิมของเขื่อนลำตะคอง บ้านคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
ข้อมูลด้านเทคนิค          (1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1,500 กิโลวัตต์ (1.50 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด 22 กิโลโวลต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะทาง 2.50 กิโลเมตร ความถี่ระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที
(2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 1.58 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 400 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 1.50 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง 2.00 เมกะโวลต์ ? แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง
ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ          (1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2566 ? พฤศจิกายน 2568)2
(2) กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Scheduled Commercial Operation Date: COD): ภายในปี 2568
วงเงินลงทุน           รวมทั้งสิ้น 215.80 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 55.79 ล้านบาท
(2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 160.01 ล้านบาท
แผนการเบิกจ่ายเงิน          ปี พ.ศ.          วงเงิน (ล้านบาท)
          2567          148.61 (รวมกับวงเงินลงทุนของปี พ.ศ. 2566 จำนวน 45.82 ล้านบาท)
          2568          67.19
          รวม          215.80
การผลิต/ขายพลังงานไฟฟ้า          - ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 10.48 ล้านหน่วย/ปี
- ขายพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 10.32 ล้านหน่วย/ปี
ผลตอบแทนทางการเงิน           - อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.18
- มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Cost of Capital: WACC) ร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 14.98 ล้านบาท
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ          - อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return: EIRR)            อยู่ที่ร้อยละ 8.37
- อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio: B/C Ratio) อยู่ที่ 1.27
ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย          2.43 บาท/หน่วย
ระยะเวลาคืนทุน          16 ปี 10 เดือน
การขออนุญาตใช้พื้นที่          อยู่ระหว่างขอใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์
ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า           ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 75,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 1.50 เมกะวัตต์)
ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 209,600 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 10.48 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 6.29 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ             30 ปี
ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน          - ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ                     15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี
- ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.01730 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.30 บาทต่อหน่วย) และ                   (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย
(2) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปาว
ที่ตั้งโครงการ          ตั้งอยู่พื้นที่ราบฝั่งขวาริมคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาของเขื่อนลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ข้อมูลด้านเทคนิค          (1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 2,500 กิโลวัตต์ (2.50 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด
22 กิโลวัตต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ระยะทาง
0.1 กิโลเมตร ความถี่ของระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที
(2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 2.63 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 187 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 2.50 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง 3.00 เมกะโวลต์ ? แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง
ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ          (1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2566 ? พฤศจิกายน 2568)2
(2) COD: ภายในปี 2568
วงเงินลงทุน          รวมทั้งสิ้น 405.64 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 90.97 ล้านบาท
(2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 314.67 ล้านบาท
แผนการเบิกจ่ายเงิน          ปี พ.ศ.          วงเงิน (ล้านบาท)
          2567          273.72 (รวมกับวงเงินลงทุนของปี พ.ศ. 2566 จำนวน 95.08 ล้านบาท)
          2568          131.92
          รวม          405.64
การผลิต/ขายพลังงานฟ้า           - ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 14.37 ล้านหน่วย/ปี
- ขายพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 14.15 ล้านหน่วย/ปี
ผลตอบแทนทางการเงิน           - อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.16
- NPV ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 27.48 ล้านบาท
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ           - EIRR อยู่ที่ร้อยละ 8.19
- B/C Ratio อยู่ที่ 1.27
ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย          3.10 บาท/หน่วย
ระยะเวลาคืนทุน          16 ปี 10 เดือน
การขออนุญาตใช้พื้นที่           กรมธนารักษ์อนุญาตให้ กฟผ. เช่าที่ราชพัสดุเรียบร้อยแล้ว
ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า           ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 125,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 2.50 เมกะวัตต์)
ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 287,400 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 14.37 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 8.62 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี
ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน           - ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ                    15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี
- ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.0064 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.28 บาทต่อหน่วย) และ                       (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย
(3) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนห้วยแม่ท้อ
ที่ตั้งโครงการ          ตั้งอยู่ท้ายเขื่อนบริเวณอาคารควบคุมการส่งน้ำลงลำน้ำเดิมของเขื่อนห้วยแม่ท้อ                  อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
ข้อมูลด้านเทคนิค           (1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1,250 กิโลวัตต์ (1.25 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด                        22 กิโลโวลต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ระยะทาง 1.0 กิโลเมตร ความถี่ของระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที
(2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 1.32 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 500 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 1.25 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง                       1.75 เมกะโวลต์ ? แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง
ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ           (1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2567 ? พฤศจิกายน 2569)
(2) COD: ภายในปี 2569
วงเงินลงทุน          รวมทั้งสิ้น 161.18 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 48.91 ล้านบาท
(2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 112.27 ล้านบาท
แผนการเบิกจ่ายเงิน           ปี พ.ศ.          วงเงิน (ล้านบาท)
          2567          34.98
          2568          75.72
          2569          50.48
          รวม          161.18
การผลิต/ขายพลังงานไฟฟ้า          - ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 6.41 ล้านหน่วย/ปี
- ขายพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 6.31 ล้านหน่วย/ปี
ผลตอบแทนทางการเงิน          - อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.18
- NPV ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 11.20 ล้านบาท
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ           - EIRR อยู่ที่ร้อยละ 8.56
- B/C Ratio อยู่ที่ 1.28
ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย           3.00 บาท/หน่วย
ระยะเวลาคืนทุน          16 ปี 10 เดือน
การขออนุญาตใช้พื้นที่          อยู่ระหว่างขอใช้ประโยชน์ในที่ป่าสงวนแห่งชาติจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า           ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 62,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 1.25                     เมกะวัตต์)
ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 128,200 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 6.41 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 3.85 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ               30 ปี
ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน          - ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ                       15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี
- ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.02100 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.32 บาทต่อหน่วย) และ                    (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย
(4) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกระเสียว
ที่ตั้งโครงการ          ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิมของเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
ข้อมูลด้านเทคนิค           (1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1,500 กิโลวัตต์ (1.50 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด 22 กิโลโวลต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร ความถี่ของระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที
(2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 1.58 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 428 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 1.50 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง                   2.00 เมกะโวลต์ ? แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง
ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ          (1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2567 ? พฤศจิกายน 2569)
(2) COD: ภายในปี 2569
วงเงินลงทุน          รวมทั้งสิ้น 177.14 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 48.16 ล้านบาท
(2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 128.98 ล้านบาท
แผนการเบิกจ่ายเงิน           ปี พ.ศ.          วงเงิน (ล้านบาท)
          2567          37.96
          2568          83.39
          2569          55.79
          รวม          177.14
การผลิต/ขายพลังงานไฟฟ้า           - ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 7.95 ล้านหน่วย/ปี
- ขายพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 7.83 ล้านหน่วย/ปี
ผลตอบแทนทางการเงิน          - อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.18
- NPV ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 12.33 ล้านบาท
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ           - EIRR อยู่ที่ร้อยละ 8.52
- B/C Ratio อยู่ที่ 1.27
ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย          2.66 บาท/หน่วย
ระยะเวลาคืนทุน          16 ปี 10 เดือน
การขออนุญาตใช้พื้นที่           อยู่ระหว่างขอใช้ประโยชน์ในที่ป่าสงวนแห่งชาติจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า           ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 75,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 1.50 เมกะวัตต์)
ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 159,000 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 7.95 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 4.77 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ                 30 ปี
ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน          - ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ                       15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี
- ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.01370 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.31 บาทต่อหน่วย) และ                    (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย
                    3. ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ ดังนี้
                              3.1 เพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศตามแผน PDP2018 Rev.1 เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดและในภูมิภาค ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นไปตามนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero greenhouse gas emission)
                              3.2 ประชาชนในประเทศได้ใช้พลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพ เนื่องจากสามารถเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้รวดเร็วภายในเวลา 5 นาที และสามารถเพิ่มหรือลดพลังงานได้ตามความต้องการของระบบไฟฟ้า และไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
ผลประโยชน์โครงการฯ          เฉลี่ยต่อปี          รวมตลอดอายุโครงการ 30 ปี          หน่วย
(1) ทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ          254,630          7,638,900          ล้านบีทียู
          62.13          425.39          ล้านบาท
(2) สนับสนุนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยการขาย REC3           1.93          5.10          ล้านบาท
(3) ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์          20,166          604,971          ตันคาร์บอนไดออกไซด์
                              3.3 ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กองทุนพัฒนาไฟฟ้า4 เป็นต้น
                              3.4 ส่งเสริมงานวิจัยเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและพัฒนาความรู้ของบุคลากร กฟผ.
                              3.5 เป็นการบูรณาการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                              3.6 ส่งเสริมงานประชาสัมพันธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ กฟผ.
1 แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 (AEDP2015) มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 6 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง (2) การปรับมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (3) การแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน                            (4) การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid (5) การประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน และ (6) การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร
2 พน. แจ้งว่า จะเริ่มก่อสร้างโครงการฯ ในปี 2567
3 Renewable Energy Certificate (REC) หรือ ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน เป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ช่วยสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านการซื้อและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีหน่วยการซื้อขายคือ REC (ไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 REC)
4 กองทุนพัฒนาไฟฟ้า คือ กองทุนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้มีการให้บริการไฟฟ้าไปยังท้องที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น พัฒนาชุมชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย โดยคำนึงถึงความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า

11. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้าง หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยไม่ถือเป็นวันลา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอดังนี้
                    1. ให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ             พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างวันที่ 18 - 30 กรกฎาคม 2567 เป็นเวลา 13 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงาน และได้รับเงินเดือนตามปกติ
                    2. ให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นสตรี ที่เข้าร่วมบวชชีพรหมโพธิถวายเป็นพระราชกุศลในครั้งนี้ สามารถลาปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 13 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลาเสมือนเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงาน และได้รับเงินเดือนตามปกติ ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี                    (4 ธันวาคม 2550) ในส่วนของการลาปฏิบัติธรรม ครั้งหนึ่งตลอดอายุราชการเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน และยกเว้นการปฏิบัติธรรมในสถานที่ปฏิบัติธรรม ตามประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เรื่อง แนวทางและขั้นตอนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ในการให้ข้าราชการเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นสตรี ไปถือศีลและปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรม ที่ พศ. รับรอง ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551
                       โดยการยกเว้นตามประกาศ พศ. ให้ วธ. ประสานการดำเนินการกับ พศ. เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
                    สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบท 73 รูป และบวชชีพรหมโพธิ 73 คน เห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของ       สำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 ? 2567 คณะรัฐมนตรีเคยมีมติอนุมัติให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจลาบรรพชาอุปสมบทตามโครงการเฉลิมพระเกียรติหรือถวายพระราชกุศลในโอกาสต่าง ๆ ที่สำคัญ โดยไม่ถือเป็นวันลา มาอย่างต่อเนื่อง
                    2. วธ. ร่วมกับวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี คณะพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย - เนปาล และมูลนิธิพระธรรมวิทยากรไทยในแดนพุทธภูมิ ดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พุทธสังเวชนียสถาน สาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย) และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (เนปาล) ระหว่างวันที่ 18 ? 30 กรกฎาคม 2567 รวม 13 วัน ซึ่งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ได้มีมติเห็นชอบให้โครงการฯ ของ วธ. เข้าร่วมเป็นโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ แล้ว ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานจ้างเหมาบริการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไปผู้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฯ โดยเป็นผู้บรรพชาอุปสมบท จำนวน 73 รูป และบวชชีพรหมโพธิ (สตรี) จำนวน 73 คน กำหนดดำเนินโครงการฯ ณ (1) วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ตำบลศีรษะจรเข้น้อย จังหวัดสมุทรปราการ                         (2) วัดไทยพุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร อินเดีย (3) โพธิมณฑลใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เมืองคยา รัฐพิหาร อินเดีย และ (4) พุทธสังเวชนียสถาน อินเดีย และเนปาล โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบ คือ (1) สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม        (2) วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี (3) คณะพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย - เนปาล (4) มูลนิธิพระธรรมวิทยากรไทยในแดนพุทธภูมิ ใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 5,239,260 บาท แบ่งเป็น งบประมาณของ วธ. จำนวน 1,000,000 บาท และมูลนิธิพระธรรมวิทยากรไทยในแดนพุทธภูมิ จำนวน 4,239,260 บาท โดยมีรายละเอียดกำหนดการโดยสรุป ดังนี้
กิจกรรม          ระยะเวลาดำเนินการ
- จัดพิธีขลิบผม มอบผ้าไตรจีวรแก่ผู้บวชพระ และมอบผ้าขาวแก่ผู้บวชชี ปฐมนิเทศ ซ้อมพิธีการ ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี          18 ? 19 กรกฎาคม 2567
- ซ้อมขานนาค/ซ้อมบวชชีพรหมโพธิ และอบรมการรักษาศีล ณ วัดไทยพุทธ    คยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย
- พิธีบรรพชาสามเณร/บวชชีพรหมโพธิ ศีล 10 และอุปสมบท ณ ปริมณฑล ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ปฏิบัติธรรม ฟังบรรยายธรรมะ ศึกษาพุทธประวัติ ณ สังเวชนียสถาน           20 ? 28 กรกฎาคม 2567
ทำพิธีลาสิกขา/ลาศีล          29 กรกฎาคม 2567
เดินทางกลับ           30 กรกฎาคม 2567
                    3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนา และร่วมบำเพ็ญกุศลโดยการเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตภาวนาถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 วธ. เห็นสมควรส่งเสริมให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีความประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิถวายเป็นพระราชกุศล มีโอกาสเข้าร่วมโครงการฯ โดยทั่วกัน โดยให้ได้รับสิทธิในการเข้าร่วมบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิเป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงาน และได้รับเงินเดือนตามปกติ (เป็นดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง)1 ซึ่งจะส่งผลให้
                              3.1 ผู้ที่เคยลาบรรพชาอุปสมบทระหว่างรับราชการหรือปฏิบัติงานมาแล้ว ก็สามารถลาบรรพชาอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศลในครั้งนี้ได้อีก และจะได้รับเงินเดือนตามปกติระหว่างการลา
                              3.2 ผู้ที่ไม่เคยลาบรรพชาอุปสมบทระหว่างรับราชการหรือปฏิบัติงานมาก่อน และได้ลาบรรพชาอุปสมบทถวายพระราชกุศลในครั้งนี้ จะได้รับเงินเดือนตามปกติในระหว่างการลา และจะไม่เสียสิทธิในการลาอุปสมบทที่จะได้รับเงินเดือนระหว่างการลาในอนาคต
                              3.3 สตรีที่เข้าร่วมบวชชีพรหมโพธิถวายเป็นพระราชกุศลในครั้งนี้สามารถลาปฏิบัติธรรม เป็นเวลา 13 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน และโดยที่ระยะเวลาดังกล่าวไม่เป็นตามมติคณะรัฐมนตรี (4 ธันวาคม 2550) ที่ให้ถือเป็นหลักการว่าให้ข้าราชการพลเรือนสตรีมีสิทธิไปถือศีลและปฏิบัติธรรม ณ สถานปฏิบัติธรรมที่ได้รับการรับรองจาก พศ. ครั้งหนึ่งตลอดอายุราชการเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า                   1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน โดยไม่ถือเป็นวันลา นอกจากนี้ สถานปฏิบัติธรรมของโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิในครั้งนี้กำหนดดำเนินการ ณ พุทธสังเวชนียสถาน อินเดียและเนปาลซึ่งไม่ได้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่       พศ. ให้การรับรองตามประกาศ พศ. เรื่อง แนวทางและขั้นตอนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างของหน่วยงานภาครัฐที่เป็นสตรี ไปถือศีลและปฏิบัติธรรม ในสำนักปฏิบัติธรรมที่ พศ. รับรอง ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ดังนั้น วธ. จึงขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (4 ธันวาคม 2550) และประกาศดังกล่าวด้วย
1 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 39 บัญญัติให้การลาหยุดราชการของข้าราชการ                พลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
   พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือนเงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 31 บัญญัติให้การอุปสมบทนั้นมีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไม่ให้ถือเป็นวันลาของข้าราชการ และ                 ให้ข้าราชการผู้นั้นลาอุปสมบทโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
   ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 ข้อ 6 กำหนดให้กรณีมีเหตุพิเศษซึ่งจะต้องวางหลักเกณฑ์และขั้นตอนวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลาประเภทใดเพิ่มเติมหรือแตกต่างไปจากที่ระเบียบนี้กำหนดให้ดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี

12. เรื่อง ขอความเห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สภากาชาดไทย หรือเหล่ากาชาดจังหวัด หรือกิ่งกาชาดอำเภอ ซึ่งเป็นตัวแทนของสภากาชาดไทย ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากบำรุงสภากาชาดไทยประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้มอบให้สภากาชาดไทย เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลาก ซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายตามข้อ 12 (4) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ ตามที่สภากาชาดไทยเสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                     สภากาชาดไทยรายงานว่า
                    1. ที่ผ่านมาสภากาชาดไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา จัดทำสลากบำรุงสภากาชาดไทยในทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย
                    2. การเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากบำรุงกาชาดไทย1 ตามบัญชี ข. หมายเลข 16 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503)  ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ข้อ 12 (4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2543) กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจการสาธารณกุศล โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย (หากไม่ใช่การออกสลากกินแบ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจการสาธารณกุศล ผู้รับใบอนุญาตฯ ต้องเสียภาษีร้อยละ 5 หรือร้อยละ 10 แล้วแต่กรณี2) และในครั้งนี้ สภากาชาดไทยจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้สภากาชาดไทย ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากบำรุงสภากาชาดไทย ประจำปี 2567 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลากเช่นเดียวกับทุก ๆ ปีที่ผ่านมา
1หมายถึงสลากกินแบ่งในบัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 หมายเลข 16 คือ สลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือการเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง
2กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503)ฯ ข้อ 12 (3) กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือการเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ต้องเสียภาษีร้อยละ 10 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี (กรุงเทพมหานคร) และร้อยละ 5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย สำหรับจังหวัดอื่น

13. เรื่อง ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี  ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดประชุมโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) เป็นประธานเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 และวันที่ 4 มิถุนายน 2567 กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)  สมาคมธนาคารไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไหย ตลอดจนกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อบูรณาการทำงานและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาภัยออนไลน์
                    สำหรับผลการดำเนินงานที่สำคัญในระยะ 30 วัน มีดังนี้
                    1. การปราบปรามจับกุมอาชญากรรมออนไลน์
                    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการปราบปรามจับกุมอาชญากรรมออนไลน์
และมีคดีที่สำคัญ รวมทั้งเร่งรัดจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้อง ในช่วงวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2567 เทียบกับการดำเนินงานช่วงที่ผ่านมา ดังนี้
                    1) การจับกุมคดีอาชญากรรมออนไลน์รวมทุกประเภท ในเดือนพฤษภาคม 2567 มีจำนวน 2,295 คน ลดลงร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับการจับกุมเฉลี่ย 2,495 คนต่อเดือน ในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2567
                    2) การจับกุมคดีเว็บพนันออนไลน์ ในเดือนพฤษภาคม 2567 มีจำนวน 991 ราย ลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับการจับกุมเฉลี่ย 1,064 คนต่อเดือน ในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2567
                    3) การจับกุมคดีบัญชีม้า ชิมม้า ในเดือนพฤษภาคม 2567 มีจำนวน 199 ราย ลดลงร้อยละ 17                 เมื่อเทียบกับการจับกุมเฉลี่ย 240 คนต่อเดือน ในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2567
                    4) การจับกุมครั้งสำคัญของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในห้วงเดือนพฤษภาคม 2567  อาทิ (1) การจับกุมคดี พนันออนไลน์ เว็บไซต์ บ้านหวย. com โดยจับกุมผู้ต้องหาได้ 9 ราย เงินหมุนเวียนประมาณ 80 ล้านบาทต่อเดือน โดยสามารถยึดทรัพย์เพื่อตรวจสอบมูลค่าประมาณ 70 ล้านบาท (2) ปฏิบัติการ ?HANG UP? บุกทลายเว็บพนันใหญ่ ?หวานเจี๊ยบ? มีเงินหมุนเวียนหนึ่งพันล้านบาทต่อเดือน (3) ปฏิบัติการแก๊ง Call Center หลอกลวงข้ามชาติเมืองโอเสม็ด ประเทศกัมพูชา โดยได้ดำเนินการจับกุมผู้ต้องหาแล้ว 12 ราย โดยมีการกำหนดเป้าหมายว่า ในรอบ 1 สัปดาห์ต้องหลอกผู้เสียหายให้ได้ขั้นต่ำ 20 ล้านบาท รายได้หมุนเวียน
ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 80 ล้านบาท และ (4) การจับกุมและขยายผลกระบวนการหลอกลงทุนคริปโต 530 ล้านบาท ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับการพนันออนไลน์จำนวน 2 เครือข่าย ซึ่งมียอดเงินหมุนเวียนกว่า 13,000 ล้านบาท จับกุม 25 ราย โดยยึดทรัพย์สินกว่า 125 ล้านบาท
                    กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดำเนินการจับกุมคดีที่สำคัญได้แก่ คดีเว็บพนันออนไลน์เครือข่าย                    (แม่มนต์) เมื่อวันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 โดยมีวงเงินหมุนเวียนในบัญชีกว่า 150 ล้านบาท
                    2. การปิดกั้นโซเซียลมีเดีย เว็บผิดกฎหมาย และเว็บพนัน
                    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เร่งรัดปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ในช่วงวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2567เทียบกับการดำเนินงานช่วงที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
                              1) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายทุกประเภท ในเดือนพฤษภาคม 2567 จำนวน 15,758 รายการ เพิ่มขึ้น 9.3 เท่า จากเดือนพฤษภาคม 2566 ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายทุกประเภท จำนวน 1,687 รายการ
                              2) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ประเภทพนันออนไลน์ในเดือนพฤษภาคม 2567 จำนวน 6,459 รายการ เพิ่มขึ้น 82.8 เท่า จากเดือนพฤษภาคม 2566  ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ประเภทพนันออนไลน์ จำนวน 78 รายการ
                    3. มาตรการแก้ไขปัญหาบัญชีม้า เร่งอายัดและตัดตอนการโอนเงิน
                              1) ระงับบัญชีม้าแล้วกว่า 800,000 บัญชี แบ่งเป็นสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินปิด 344,079 บัญชี ธนาคารระงับ 300,000 บัญชี และศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ระงับ 171,794 บัญชี
                              2) กำหนดมาตรการและเงื่อนไขการเปิดบัญชีใหม่ เพื่อป้องกันการนำไปกระทำความผิดโดยเพิ่มกระบวนการพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง Customer Due Diligence หรือ CDD โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงธนาคารต้องตรวจสอบให้เคร่งครัดมากขึ้นก่อนอนุมัติ  ปิดบัญชี โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการออกหนังสือเวียนแล้ว เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
                              3) กวาดล้างบัญชีม้าจากการใช้รายชื่อเจ้าของบัญชีม้า และรายชื่อผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทำการปิดบัญชีธนาคารทุกธนาคารจากชื่อบุคคลดังกล่าว โดยตั้งเป้าระงับ/ปิดบัญชีม้ามากกว่า 12,000 คนต่อเดือน หรือ 100,000 บัญชีต่อเดือน
                    4. มาตรการแก้ไขปัญหาซิมม้าและซิมที่ผูกกับโมบายแบงก์กิ้ง
                    ผลการดำเนินงานสำคัญถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2567 ดังนี้
                    1) การระงับเลขหมายโทรศัพท์ที่มีการโทรออกเกิน 100 ครั้งต่อวัน จำนวน 42,298 เลขหมาย มีผู้มายืนยันตัวตน 372 เลขหมาย และไม่มายืนยันตัวตน 41,926 เลขหมาย
                    2) การกวาดล้างซิมม้าและซิมต้องสงสัย โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนและผลการดำเนินงาน ดังนี้
                              2.1) กลุ่มผู้ถือครองซิมการ์ดมากกว่า 100 ซิม โดยมีจำนวนเลขหมายที่เข้าข่ายจำนวน               5.0 ล้านเลขหมาย ซึ่งครบกำหนดการยืนยันตัวตนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 มีผู้มายืนยันตัวตนแล้วจำนวน 2.6 ล้านเลขหมาย และไม่มีผู้มายืนยันตัวตน จำนวน 2.4 ล้านเลขหมาย โดยในกลุ่มที่ยังไม่มายืนยันตัวตน ถูกระงับซิมไปแล้วทั้งสิ้น 2.3 ล้านเลขหมาย
                              2.2) กลุ่มผู้ถือครองซิมการ์ดตั้งแต่ 6-100 เลขหมายต่อค่ายมือถือ จะต้องยืนยันตัวตนภายในวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 ซึ่งมีเลขหมายที่เข้าข่าย 4.0 ล้านเลขหมาย มีผู้มายืนยันตัวตนแล้ว 1.0 ล้านเลขหมาย และยังไม่มายืนยันตัวตน จำนวน 3.0 ล้านเลขหมาย
                    3) การตรวจสอบซิมที่ใช้กับโมบายแบงกิ้ง โดยกระบวนการตรวจสอบดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จในระยะเวลา 120 วัน หรือประมาณเดือนตุลาคม 2567 โดยในระหว่างดำเนินการประชาชนยังสามารถใช้งานโมบายแบงก์กิ้งได้ตามปกติ ในส่วนของข้อยกเว้นต่าง ๆ ที่ปรากฏตามสื่อยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชน และจะมีการแจ้งรายละเอียดให้ประชาชนทราบโดยเร็ว
                    4) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ มีความเข้มงวดในการเปิดใช้ซิมใหม่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การลงทะเบียนและยืนยันตัวตนของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อป้องกันการนำซิมไปใช้กระทำผิดกฎหมาย
                    5. การดำเนินการเรื่องเสาโทรคมนาคม สายสัญญาณอินทอร์เน็ต และสายโทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน
                    สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคม
แห่งชาติ ได้มีหนังสือให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตรวจสอบการให้บริการโทรคมนาคมบริเวณชายแดนที่มีความเสี่ยง และทำการรื้อถอน ปรับทิศทาง หรือลดกำลังส่งสายอากาศเพื่อให้มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมเฉพาะภายในประเทศ ในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก อ.แม่สาย อ.เชียงของ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี อ.เมือง จ.ระนอง โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่                19 มิถุนายน 2567
                    6. การแก้กฎหมายเร่งด่วน
                              1) การแก้กฎหมายพิเศษแบบเร่งด่วนใน 3 ประเด็น ดังนี้ (1) เร่งรัดการคืนเงินให้ผู้เสียหาย (2) การเพิ่มโทษการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล และ (3) การป้องกันการโอนเงินแบบผิดกฎหมายของคนร้ายโดยการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล
                              2) มาตรการปรับปรุงกฎระเบียบ/แนวปฏิบัติเพื่อการป้องกันการโอนเงินแบบผิดกฎหมายของคนร้าย โดยการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะที่เป็นแพลตฟอร์มซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศที่ผิดกฎหมาย ดังนี้
                                        2.1) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผลักดันให้มีการยกระดับหลักเกณฑ์ด้านการฟอกเงินของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านการฟอกเงินของ Financial Action Task Force (FATF)
                                        2.2) สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) ได้จัดทำแนวทางปฎิบัติงาน เรื่องการพิจารณาบัญชีต้องสงสัยว่าถูกใช้ในการกระทำผิด เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ (guideline) สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการพิจารณาคัดกรองการเปิดบัญชีและการทำธุรกรรมที่ต้องสงสัยว่าถูกใช้ในการกระทำความผิด
                              3) การแก้ไขปัญหาการซื้อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์แบบใช้บริการเก็บเงินปลายทาง (COD) โดยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้จัดรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. ?.
                    7. การเพิ่มบทบาท ความรับผิดชอบให้ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)                        ผู้ให้บริการโทรคมนาคม (Mobile Operator) และภาคธนาคาร (Banking)
                    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้หารือร่วมกับบริษัท ไลน์ประเทศไทยแพลตฟอร์ม Meta และ X เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์เชิงรุก ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และการปิดกั้น URL ที่ผิดกฎหมายแบบเชิงรุก
                    8. การบูรณาการข้อมูลโดยศูนย์ AOC และการแก้ปัญหาข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล
                    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จับมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ ลงนามบันทึกข้อตกลงเมื่อวันที่  28 พฤษภาคม 2567 เห็นชอบให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC) หรือศูนย์ AOC        1441 เป็นระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อบูรณาการข้อมูลแบบอัตโนมัติ (Automation) และใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อรองรับการดำเนินการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีหรืออาจมีการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้ศูนย์ AOC 1441 เป็นศูนย์กลางของการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ที่มีความคล่องตัว รวดเร็ว แม่นยำ ทันต่อสถานการณ์ ในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และศูนย์ AOC 1441 ขณะนี้ได้ใช้ AI (Artificial Intelligence) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ ตรวจสอบ ข้อมูลบัญชีม้า บัญชีต้องสงสัย เพิ่มความแม่นยำในการทำงานยิ่งขึ้น
                    นอกจากนี้ การแก้ปัญหาข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลมีความคืบหน้าอย่างชัดเจนจากการตรวจสอบการเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งรัฐและเอกชน โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลลดลงเหลือ 1.21% ในเดือนพฤษภาคม 2567 ลดลงมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับการรั่วไหลที่ 31.4% ในเดือนพฤศจิกายน 2566 เป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากการเร่งเดินหน้าเชิงรุก ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลครบทุกมิติ
                    ในภาพรวมการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดจับกุมคนร้ายกวาดล้างบัญชีม้า และซิมม้า  เร่งการอายัดบัญชีธนาคาร ตัดเส้นทางการเงิน การปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายและเว็บพนันออนไลน์ ผลงานมีความชัดเจนต่อเนื่อง มูลค่าความเสียหายจากคดีออนไลน์ต้นเดือนมิถุนายน 2567  ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เหลือเฉลี่ยวันละ 76ล้านบาท อีกทั้งการปรับปรุงการทำงานร่ามกัน เพื่อมุ่งลดข้อขัดข้องในด้านกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประเมินได้ว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญให้จำนวนผู้เสียหายและมูลค่าความเสียหายจากคดีออนไลน์ลดลงในระยะต่อไป

14. เรื่อง รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                      1. เห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของหน่วยรับงบประมาณ
                     2. เห็นชอบให้สำนักงบประมาณนำรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ที่กำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำร่างกฎหมายไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยสำนักงบประมาณจะขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นระยะเวลา 7 วัน ระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน 2567
                     ทั้งนี้ คำขอรับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 122,000 ล้านบาท [แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ จำนวน 24,400 ล้านบาท และ (2) รายจ่ายลงทุน จำนวน 97,600 ล้านบาท] โดยมีแหล่งที่มาของเงิน ประกอบด้วย (1) รายได้รัฐบาล จำนวน 10,000 ล้านบาท และ (2) งบประมาณขาดดุล จำนวน 112,000 ล้านบาท
                      สาระสำคัญ
                     ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งกำหนดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 นั้น เพื่อดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักงบประมาณขอเสนอ ดังนี้
                      1. หน่วยรับงบประมาณ เสนอคำของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด รวมคำขอทั้งสิ้น จำนวน 122,000 ล้านบาท เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ สำนักงบประมาณได้พิจารณาถึงเหตุผล ความจำเป็น ความพร้อมของหน่วยรับงบประมาณ และความสอดคล้องกับแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อเติมเงินในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง กระจายไปทุกพื้นที่ให้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจถึงระดับฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนและภาคธุรกิจ โดยดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ที่ให้ความเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ที่ให้ความเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ทั้งนี้ เพื่อเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนดให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้กระทำได้เมื่อมีเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินระหว่างปีงบประมาณ โดยไม่สามารถรองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไปได้และให้ระบุที่มาของเงินที่จะใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมด้วย ดังนั้น การดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ดังกล่าว จะต้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการใช้จ่ายให้ทันภายในวันที่ 30 กันยายน 2567 ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ได้กำหนดคุณสมบัติกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่จะเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องเป็นผู้มีอายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน สัญชาติไทย มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี และมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้ตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับสถานการณ์ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จึงอาจพิจารณาผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการที่เป็นประชาชนกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเป้าหมายในโครงการ Digital Wallet ทั้งนี้ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว
                     2. วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                     วงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 จำนวน 122,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 3,480,000 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 3,602,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 417,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ประกอบด้วย
                               2.1 โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้
                                         (1) รายจ่ายประจำ จำนวน 24,400 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายประจำตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 2,540,468.6 ล้านบาท จะทำให้มีรายจ่ายประจำ จำนวน 2,564,868.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 162,328.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71.2 ของวงเงินงบประมาณรวม ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 75.4
                                         (2) รายจ่ายลงทุน จำนวน 97,600 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายลงทุนตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 710,080.5 ล้านบาท จะทำให้มีรายจ่ายลงทุน จำนวน 807,680.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 118,200.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.4 ของวงเงินงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 21.7
                               2.2 รายได้รัฐบาล จำนวน 10,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ที่กำหนดไว้ จำนวน 2,787,000 ล้านบาท จะทำให้มีรายได้สุทธิทั้งสิ้น จำนวน 2,797,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 307,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
                               2.3 งบประมาณขาดดุล จำนวน 112,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับประมาณการขาดดุล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ที่กำหนดไว้ จำนวน 693,000 ล้านบาท จะมีการขาดดุลงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 805,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 110,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 และคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 4.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
                      3. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สรุปดังนี้
                                3.1 จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ ตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 เป็นกลุ่มงบประมาณรายจ่ายงบกลาง (1 รายการ) วงเงินรวมทั้งสิ้น 122,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของวงเงินงบประมาณ
                               3.2 สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล จำนวน 142 ประเด็น ตามนโยบายระยะสั้น การสร้างรายได้ นโยบาย Digital Wallet วงเงินรวมทั้งสิ้น 122,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของวงเงินงบประมาณ
                               3.3 จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ได้ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำหรับรายการค่าดำเนินการภาครัฐ จำนวน 122,000 ล้านบาท
                     4. การยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ในส่วนของคำแนะนำของคณะกรรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย โดยให้มีการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นระยะเวลา 7 วัน ระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน 2567 ตามปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อประโยชน์สำคัญของประเทศเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 สำนักงบประมาณจึงขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว


15. เรื่อง  รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนเมษายนและ 4 เดือนแรกของปี 2567
          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนเมษายนและ 4 เดือนแรกของปี 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
          1.          สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนเมษายน 2567
          การส่งออกของไทยในเดือนเมษายน 2567 มีมูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (834,018 ล้านบาท) ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 11.4 การส่งออกของไทยพลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่มีการฟื้นตัวที่ดีจากอัตราเงินเฟ้อของโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการผลิตทั่วโลก โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นหลายรายการ ขณะที่ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง แต่อานิสงส์ด้านราคาส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรบางรายการยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การส่งออก 4 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 3.7
          มูลค่าการค้ารวม
          มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนเมษายน 2567 มีมูลค่าการค้ารวม  48,198.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.8 การนำเข้า มีมูลค่า 24,920.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.3 ดุลการค้า ขาดดุล 1,641.7  ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 194,664.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว                         ร้อยละ 3.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออก มีมูลค่า 94,273.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 1.4                   การนำเข้า มีมูลค่า 100,390.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.9 ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 6,116.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
          มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนเมษายน 2567 มีมูลค่าการค้ารวม 1,737,212 ล้านบาท ขยายตัว                ร้อยละ 13.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 834,018 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.7                  การนำเข้า มีมูลค่า 903,194 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.2 ดุลการค้า ขาดดุล 69,176 ล้านบาท ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 6,933,245 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.0 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                     การส่งออก มีมูลค่า 3,338,028 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.2 การนำเข้า มีมูลค่า 3,595,217 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.7 ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 257,190 ล้านบาท
          การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.0 โดยสินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ 3.8 ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 12.7 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 91.5 (ขยายตัวในตลาดอิรัก อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐฯ และจีน) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 36.2 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 14.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา ลิเบีย และอิสราเอล) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 52.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอิตาลี) ไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 17.2 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ ไอร์แลนด์ และเยอรมนี) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 10.5 (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา เมียนมา เวียดนาม ลาว และมาเลเซีย) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 21.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และลาว) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 23.2 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเนเธอร์แลนด์) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 29.8 (หดตัวในตลาดจีน ฮ่องกง สหรัฐฯ มาเลเซีย และเวียดนาม) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 9.6 (หดตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ บังกลาเทศ แอฟริกาใต้ และรัสเซีย) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 9.1 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ เมียนมา และฟิลิปปินส์) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 4.7 (หดตัวในตลาดอินเดีย เวียดนาม เกาหลีใต้ กัมพูชา และฟิลิปปินส์) ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว                        ร้อยละ 0.8
          การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
          มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.2 มีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 20.4 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ ซาอุดีอาระเบีย และอินโดนีเซีย) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 62.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 58.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมนี อินเดีย และฮ่องกง) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 12.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม ออสเตรเลีย เยอรมนี และอินเดีย) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 23.3 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐฯ อินโดนีเซีย แคนาดา และเกาหลีใต้) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 32.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก ไต้หวัน และมาเลเซีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 5.7 (หดตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเมียนมา) แผงวงจรไฟฟ้า หดตัวร้อยละ 9.2 (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ จีน ไต้หวัน สหรัฐฯ และฟิลิปปินส์) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หดตัว                ร้อยละ 15.9 (หดตัวในตลาดฮ่องกง เวียดนาม จีน สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย) ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.8
          ตลาดส่งออกสำคัญ
          ตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน สอดคล้องกับสัญญาณการขยายตัวของภาคการผลิตโลก อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังตลาดจีน และญี่ปุ่นยังคงหดตัว ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 6.7 โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ  ร้อยละ 26.1 และ CLMV ร้อยละ 5.1 กลับมาขยายตัวในตลาดอาเซียน (5) ร้อยละ 3.7 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 20.2 แต่หดตัวต่อเนื่องในตลาดจีน ร้อยละ 7.8 และญี่ปุ่น ร้อยละ 4.1 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 14.4 โดยตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 18.6 และกลับมาขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 13.0 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 17.8 แอฟริกา ร้อยละ 32.1 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 41.9 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 8.6 ขณะที่สหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 33.7 (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 68.5 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 79.3
          2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
          การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนเมษายน อาทิ
(1) การส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร การบรรลุข้อตกลงขายข้าวล็อตแรก ในรูปแบบรัฐต่อรัฐกับอินโดนีเซีย ปริมาณ 55,000 ตัน โดยเริ่มส่งมอบตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป ตามนโยบาย ?รักษาตลาดเดิม เพิ่มตลาดใหม่ ในการส่งออกไปต่างประเทศ? นอกจากนี้มีการผลักดันให้ผู้ส่งออกกล้วยหอมทองจากจังหวัดนครราชสีมา ใช้สิทธิ์ตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ให้มากขึ้น มีเป้าหมายการส่งออกจำนวน 120 ตันต่อเดือน และมีแผนที่จะส่งออกให้ได้ถึง 8,000 ตันต่อปี ในอนาคต (2) การเจรจาความตกลงเพื่อเปิดตลาดสินค้าใหม่ ไทย-บังกลาเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ทั้งสองประเทศร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงเริ่มการเจรจา FTA ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยบังกลาเทศสนใจจะนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากไทยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร อาทิ น้ำตาลทราย น้ำมันพืช และถั่วต่าง ๆ และ (3) การอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคการส่งออกผลไม้ไปจีน การหารือกับผู้ว่าการมณฑลยูนนาน เพื่อขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่าน 3 เส้นทาง คือ ทางรถ ทางราง และทางเรือ ในช่วงฤดูการส่งออกผลไม้ของไทย
                    แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะยังสามารถเติบโตได้ดีจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เติบโตตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และปัญหาเงินเฟ้อที่เริ่มบรรเทาลง ส่งผลดีต่อกำลังซื้อในหลายประเทศ ขณะที่สภาพอากาศแปรปรวนสร้างแรงผลักดันต่อราคาสินค้าเกษตรและความต้องการนำเข้าเพื่อความมั่นคงทางอาหาร แต่กดดันปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดโลก นอกจากนี้ยังมีความไม่แน่นอนจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มขยายวงกว้าง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามประเมินสถานการณ์เป็นระยะ และจะทำงานร่วมกับทูตพาณิชย์ในแต่ละประเทศเพื่อแสวงหาแนวทางสร้างโอกาสและลดอุปสรรคในการส่งออกต่อไป

16. เรื่อง รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้
                    1. รับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2565 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
                    2. เห็นชอบข้อเสนอการดำเนินการต่อไปและมอบหมายให้ส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นในกำกับของฝ่ายบริหารดำเนินการตามข้อเสนอต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
                    3. ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการรับความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของเรื่อง
                    ก.พ.ร. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉนับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 71/10 (10) บัญญัติให้ ก.พ.ร. มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของ ก.พ.ร. จึงได้จัดทำรายงานการพัฒนาระบบราชการประจำปี 2565 เพื่อเสนอผลการพัฒนาระบบราชการในภาพรวมของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนราชการจังหวัด และองค์การมหาชน รวมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ พร้อมทั้งมีข้อเสนอการดำเนินการต่อไปเพื่อยกระดับและขับเคลื่อนการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รองรับต่อการพัฒนาระบบราชการในระยะต่อไป
                    2. ในคราวประชุม ก.พ.ร. ครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2565 ตามข้อ 1 และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป และเห็นชอบข้อเสนอการดำเนินการต่อไป โดยให้ฝ่ายเลขานุการ ก.พ.ร. รับความเห็นชอบของที่ประชุมไปพิจารณาปรับข้อเสนอการให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อให้ส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ดำเนินการตามข้อเสนอต่อไป
                    3. รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2565 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาบริการภาครัฐเพื่อประชาชน สะท้อนจากผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของภาครัฐเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องกันตั้งแต่ปี 2562 โดยรวมร้อยละ 81.69 การให้บริการของเจ้าหน้าที่ร้อยละ 82.97 การบริการออนไลน์ร้อยละ 82.59 สถานที่ร้อยละ 81.25 ขั้นตอนและระยะเวลาร้อยละ 81.19 และดัชนีการให้บริการออนไลน์ (Online Service index: OSI) ภายใต้ดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E - Government Development Index: EGDI) ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Very Hight มีค่าดัชนีเท่ากับ 0.7763 อยู่ในอันดับที่ 47 จาก 193 ประเทศ โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
                                        3.1.1 การผลักดันการให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป (e-Service) รายหน่วยงานและการขับเคลื่อน e-Service ตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล (Agenda e-Service) โดยมีบริการ e-Service แล้ว จำนวน 1,395 บริการ เช่น ระบบการรับชำระภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ระบบการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทาง  (Ease of Traveling) ผ่าน Web Portal ที่รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวในประเทศไทย
                                        3.1.2 การเชื่อมโยงบริการภาครัฐแบบครบวงจร (End to End Service) ผ่านแพลตฟอร์มกลางบริการภาครัฐ ได้แก่
                                                  (1) ระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการยื่นขออนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร โดยเปิดให้บริการแล้วกว่า 130 ใบอนุญาต 25 ประเภทธุรกิจ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 23 ใบอนุญาต 10 ประเภทธุรกิจ ใน 76 จังหวัด เช่น ใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ด้านปศุสัตว์ ใบรับรองแหล่งการผลิต GAP ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
                                                  (2) ระบบศูนย์กลางการบริการประชาชนในการติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (Citizen Portal) ผ่านแอปพลิเคชัน ?ทางรัฐ? ให้บริการแล้ว 82 บริการ ครบคลุมงานบริการตลอดช่วงชีวิตของประชาชน
                                                  (3) แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (Thailand National Digital Trade Platform: NDTP) ซึ่งเป็นระบบบริการสำหรับภาคเอกชนในการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในและนอกประเทศ
                                        3.1.3 การพัฒนาบริการภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวก โดยลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตลงเฉลี่ย ร้อยละ 44 ใน 100 ใบอนุญาต เช่น การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และ                      การให้บริการงานจดแจ้งในรูปแบบออนไลน์ 107 งานบริการ เช่น การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง รวมถึงการผลักดันการทบทวนกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
                                        3.1.4 การพัฒนาบริการภาครัฐให้ง่ายต่อการประกอบธุรกิจ ได้มีการประชุมร่วมกับผู้แทนหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทยและปรับเปลี่ยน 10 ข้อเสนอเพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ประเทศที่ประกอบธุรกิจได้ง่ายที่สุด (Ten for Thailand) โดยมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน
                                        3.1.5 การพัฒนาระบบนิเวศที่สร้างเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย ตามประเห็นนโยบายสำคัญ ประกอบด้วย การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) ระดับท้องถิ่น การเปิดเผยข้อมูลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน (School Open Data) โดยบูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ในลักษณะ One Data เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถใช้ประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศ รวมถึงการทดลองแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน กรณีการแก้ไขปัญหาขยะทะเล
                                        3.1.6 การทบทวนขั้นตอนและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบริการภาครัฐ โดยการเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 และการเสนอปรับปรุงพระราชบัญญัติ  การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
                                        3.1.7 การส่งเสริมการพัฒนาบริการภาครัฐผ่านกลไกการให้รางวัล มีหน่วยงานส่งผลงานสมัครรางวัลเลิศรัฐ จำนวน 1,623 ผลงาน ได้รับรางวัล 238 รางวัล มีหน่วยงานได้รับรางวัลเกียรติยศเลิศรัฐ จำนวน 2 รางวัล คือ กรมควบคุมโรคและกรมสรรพากร รางวัลเลิศรัฐยอดเยี่ยม จำนวน 2 รางวัล คือ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและกรมสุขภาพจิต และรางวัลพิเศษ สานพลังร่วมใจ ต้านภัยโควิด มอบให้กับหน่วยงานที่มีผลงานโดดเด่นในการขับเคลื่อนเพื่อรับมือกับ สภาวะวิกฤติโควิด-19 จำนวน 11 รางวัล ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่พัฒนาต่อยอดไปสู่การเสนอรับรางวัล UNPSA ขององค์การสหประชาชาติ จำนวน 39 ผลงาน
                              3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐให้ทันสมัย ยืดหยุ่น รองรับการเปลี่ยนแปลง สะท้อนได้จากความสำเร็จในการขับเคลื่อนการนำร่องถ่ายโอนงานภาครัฐให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทน (Sandbox) ได้ตามเป้าหมาย จำนวน 6 งาน และความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการในรูปแบบ e-Service ของที่ว่าการอำเภอ/ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 90.41 ความพึงพอใจโดยรวมร้อยละ 91.14 การให้บริการของเจ้าหน้าที่ร้อยละ 90.95 ขั้นตอน/กระบวนการร้อยละ 89.99 และสถานที่/สิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 89.56 โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
                                        3.2.1 การขับเคลื่อนให้หน่วยงานภาครัฐปรับบทบาทภารกิจและขนาดภาครัฐให้เหมาะสม (Rightsizing) ต่อการพัฒนาประเทศ โดยขับเคลื่อนการนำร่องถ่ายโอนงานภาครัฐให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทน (Sandbox) ตามข้อเสนอของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำนวน 8 งาน และได้ถอดบทเรียนเพื่อขยายผลไปยังหน่วยงานอื่นลักษณะงานคล้ายคลึงกันต่อไป เช่น งานตรวจสอบและรับรอง งานออกใบรับรอง งานทดสอบมาตรฐาน และงานขึ้นทะเบียน
                                        3.2.2 การพัฒนาแนวทางการจัดโครงสร้างและรูปแบบที่หลากหลาย มีส่วนราชการปรับปรุงโครงสร้างตามแนวทางการมอบอำนาจแล้วเสร็จ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และมีการปรับปรุงแนวทางการมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรมเพื่อความยืดหยุ่น คล่องตัว รวมถึงกำหนดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี (9 สิงหาคม 2565)
                                        3.2.3 การมีระบบประเมินความเหมาะสม ความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการจัดส่วนราชการและองค์การมหาชน คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนได้มีมติเมื่อวันที่                    11 กรกฎาคม 2565 เห็นชอบกรอบการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (11 ตุลาคม 2565) เห็นชอบหลักการให้องค์การมหาชนทุกประเภทต้องได้รับการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก 3 ปี
                                        3.2.4 การสร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการในระดับพื้นที่ โดยขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Provinces: HPP) การปลดล็อกข้อจำกัดหรืออุปสรรคของการบริหารงานในพื้นที่ การขับเคลื่อนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 และการจัดทำแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) เพื่อเป็นเครื่องมือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณ และได้รับการดูแลทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติจากคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดจนมีความเข้มแข็ง สามารถให้บริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                                        3.2.5 การทบทวนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดตั้งและปรับเปลี่ยนรูปแบบหน่วยงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น โดยการจัดทำร่างพระราชบัญญัติยกระดับการบริหารงานภาครัฐให้มีความทันสมัย พ.ศ. .... เพื่อสนับสนุนการจัดโครงสร้างของส่วนราชการให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงานของภาครัฐอย่างแท้จริง

                              3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐ สะท้อนได้จากผลการจัดอันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของสหประชาชาติ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 55 จาก 193 ประเทศ ผลการประเมินสถานะในการเป็นระบบราชการ 4.0 ของส่วนราชการจังหวัด และองค์การมหาชน มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2562 โดยในปี 2565 มีหน่วยงานผ่านการประเมินในระดับก้าวหน้าถึงร้อยละ 72 ซึ่งแสดงถึงประสิทธิผลของการปฏิบัติราชการที่เชื่อมโยงกับความต้องการและการบรรลุเป้าหมายของประเทศ ซึ่งเป็นผลจากการขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนี้
                                        3.3.1 การพัฒนาการเป็นภาครัฐระบบเปิด (Open Government) โดยขับเคลื่อนการพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐให้เป็นดิจิทัล (Digitize Data) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ปี 2565 มีชุดข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐบนระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) จำนวน 10,402 ชุดข้อมูล รวมทั้งการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ (Government Data Exchange: GDX)  ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกลางรับส่งข้อมูลสำหรับให้บริการประชาชน เช่น ข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลนิติบุคคล และเอกสารการอนุมัติอนุญาตต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนไม่ต้องยื่นเอกสารที่ภาครัฐมีอยู่แล้ว ปัจจุบันมีข้อมูลที่สามารถแลกเปลี่ยนได้แล้ว 55 ข้อมูลจาก 11 หน่วยงาน นอกจากนี้ยังมีศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ data.go.th ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ปัจจุบันมีชุดข้อมูลที่เผยแพร่แล้วจำนวน 7,712 ชุดข้อมูลจาก 1,252 หน่วยงาน มีผู้ใช้สะสม 3,075,242 คน เข้าใช้งานรวม 11,763,520 ครั้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2565)
                                        3.3.2 การพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการ โดยการจัดทำแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐภายใต้พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 และการขยายผลนวัตกรรมการทำงานใหม่ เช่น การใช้เครื่องมือสะกิด (Nudge) เพื่อกระตุ้นให้มีการยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเวลา การใช้การมีส่วนร่วมของประชาชนเชิงรุก (Active Citizen) พัฒนาระบบบริจาคออนไลน์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                                        3.3.3 การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ในหน่วยงาน โดยการพัฒนาและจัดสรรนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) ไปยังส่วนราชการต่าง ๆ
จำนวน 39 คน และเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หลักสูตรพัฒนาสมรรถะในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล กิจกรรมสร้างการสื่อสารภาครัฐแนวใหม่ (PR in Action) นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้พัฒนาระบบการจ้างงานภาครัฐรูปแบบใหม่โดยปรับปรุงระบบการบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงเข้ารับราชการ (Lateral Entry) และระบบการจ้างพนักงานราชการ เพื่อให้ส่วนราชการมีความคล่องตัวในการสรรหากำลังคนคุณภาพ
                                        3.3.4 การสร้างกลไกป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเป็นระบบและพัฒนาระบบติดตามประเมินผล ได้มีการแปลงข้อเสนอแนะขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ด้านความซื่อตรงในภาครัฐไปสู่การปฏิบัติในการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างสังคมแห่งความซื่อตรงโดยจัดทำต้นแบบหน้าจอ (Dashboard) ที่แสดงข้อมูลการร้องเรียนเรื่องทุจริตและการดำเนินการของภาครัฐสำหรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ภาพรวมในระดับประเทศมีผลคะแนนเฉลี่ย 87.57 คะแนน สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 6.32 คะแนน โดยมีหน่วยงานผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติหรือมีคะแนนไม่น้อยกว่า 85 คะแนน ถึง 85 หน่วยงาน หรือคิดเป็นร้อยละ 70.52
                                        3.3.5  การสร้างการบูรณาการการทำงานร่วมกัน หน่วยงานภาครัฐได้นำรูปแบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมไปใช้ในการบริหารราชการโดยมีจำนวนหน่วยงานที่ให้ความสำคัญและสนใจสมัครรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างผลงานที่โดดเด่น เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษในผลงานการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันการเกิดอาชญากรรมคดีพิเศษ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำในผลงานระบบสารสนเทศทรัพยากรน้ำสู่ต้นแบบการจัดการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก   กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในผลงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาโรคโควิด-19
                                        3.3.6 การปรับปรุงระบบการประเมินและระบบการตรวจสอบและประเมินผลส่วนราชการ โดยการกำหนดตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs) ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) และตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs)
                                        3.3.7 การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยการส่งเสริมธรรมาภิบาลในประชาคมอาเซียนผ่านการจัดประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 10 หัวข้อ ?Reshaping Trust in Government: Towards Open, Innovative and Digital Governments Southeast Asia? และได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) ในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในภาครัฐและความโปร่งใสตามมาตรฐานสากล
                              3.4 ข้อเสนอดำเนินการต่อไป
                                        ผลการพัฒนาระบบราชการในปี พ.ศ. 2565 มีประเด็นการพัฒนาที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564 - 2565) หรือสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จตามแผนแต่ยังไม่แสดงถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับประชาชนได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องเร่งยกระดับและขับเคลื่อนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้รองรับต่อการพัฒนาระบบราชการในระยะต่อไป ซึ่งมุ่งเน้นสู่การเป็นรัฐที่ล้ำหน้า (Digital & Innovative Government) และรัฐที่เปิดกว้าง (Open Government) ดังนี้
                                        3.4.1 การพัฒนาบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จผ่านระบบออนไลน์ (Fully Digital) โดยให้หน่วยงานภาครัฐเร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 เรื่อง แนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ที่เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐนำงานบริการมาให้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง (Biz Portal และ Citizen Porta) โดยให้หน่วยงานที่ยังไม่มีช่องทางการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์นำงานบริการมาพัฒนาบนแพลตฟอร์มกลางดังกล่าวเป็นทางเลือกแรก และให้หน่วยงานที่มีงานบริการที่พัฒนาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว นำงานบริการมาเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง ซึ่งจะทำให้สามารถนำระบบพื้นฐาน (Common Service) จากแพลตฟอร์มกลางดังกล่าวมายกระดับบริการให้เป็น Fully Digital เพื่อให้บริการประชาชนได้แบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One Stop Service) ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้สำรวจงานบริการของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งสถานะการให้บริการในรูปแบบออนไลน์แล้วเสร็จและอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนการนำงานบริการดังกล่าวมาให้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางโดยจะกำหนดลักษณะหรือประเภทของงานบริการเป้าหมาย รวมทั้งกรอบระยะเวลาดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามแผนต่อไป
                                        3.4.2 การขับเคลื่อนภาครัฐระบบเปิด (Open Govermment) โดยให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามแนวทางการเป็นภาครัฐระบบเปิดผ่านแนวทางการดำเนินการที่สำคัญใน 2 เรื่อง คือ (1) การเปิดเผยและเชื่อมโยงชุดข้อมูลที่สำคัญของหน่วยงาน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเห็นฐานข้อมูลชุดเดียวกัน อันนำไปสู่การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในลักษณะ One platform โดยมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่สำคัญจากหน่วยงานต่าง ๆ และ (2) การขยายการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์มการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ ?บอกเรา ถึงรัฐ? (ww.idea4gov.com) ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ความต้องการแนวคิด และข้อเสนอการดำเนินการ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในแต่ละพื้นที่
                                        3.4.3 การขับเคลื่อนการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
                                                  (1) ให้จังหวัด กระทรวง/กรม กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566 เรื่อง ข้อเสนอการกระจายอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่เห็นชอบข้อเสนอการกระจายอำนาจตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
อย่างเคร่งครัด (เช่น ให้สำนักงบประมาณใช้แผนพัฒนาจังหวัดเป็นแนวทางในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ)
                                                  (2) ให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และหน่วยงานอื่นของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ที่จะดำเนินกิจการหรือปฏิบัติงานใด ๆ ในพื้นที่จังหวัด ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการและแนวทางของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 อย่างเคร่งครัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนไม่ว่าจะเป็นวิกฤตหรือปัญหาเชิงนโยบายระดับชาติในพื้นที่เพื่อให้เกิดการระดมสรรพกำลังจากส่วนราชการต่าง ๆ ในการสนับสนุนให้การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลเรื่องผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) บรรลุผลสัมฤทธิ์

17. เรื่อง ข้อเสนอแผนงาน/โครงการของจังหวัดสืบเนื่องจากการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรี (จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดนครศรีธรรมราช)
                       คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการของจังหวัด จำนวน 9 โครงการ ภายในกรอบวงเงิน 272,718,200 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการของจังหวัดนครพนม จำนวน 3 โครงการ ภายในวงเงิน 108,193,200 บาท จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5 โครงการ ภายในวงเงิน 134,525,000 บาท และจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 โครงการ ภายในวงเงิน 30,000,000 บาท โดยให้ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ทั้งนี้ ขอให้จังหวัดจัดทำโครงการและรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ตามขั้นตอนต่อไป โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ ตามนัยของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 รวมทั้งให้จังหวัดนำโครงการบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดนครพนม (17 กุมภาพันธ์ 2567) นครราชสีมา (24 มีนาคม 2567) และนครศรีธรรมราช (8 เมษายน 2567) และได้มีข้อสั่งการให้จังหวัดจัดทำข้อเสนอแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนของประชาชนและพัฒนาพื้นที่ตามนโยบายรัฐบาล ต่อมาทั้งสามจังหวัดดังกล่าวข้างต้น ได้จัดทำข้อเสนอแผนงาน/โครงการตามข้อสั่งการฯ จำนวน 9 โครงการ ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ แต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและไม่อยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งงบประมาณอื่นและได้ผ่านการพิจารณากลั่นกรองและเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัด (กรอ. จังหวัด) แล้ว สรุปได้ ดังนี้
แผนงาน/โครงการ          หน่วยดำเนินการ
(1) จังหวัดนครพนม จำนวน 3 โครงการ โดยโครงการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) และแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม ประกอบด้วย
          (1.1) โครงการสร้างอัตลักษณ์เมือง (DNA) และ Marketing ภายใต้ 5 Must (Visit, Eat, Shop, Mu, Rest) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดและการยกระดับเมืองรองสู่เมืองหลักโดยมีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ เช่น จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยว 5 เส้นทาง พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนและบริการการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน 60 ผลิตภัณฑ์           - สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม
- หอการค้าจังหวัดนครพนม
          (1.2) โครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม โดยการปรับปรุงอนุสรณ์สถานฯ เพื่อให้มีความมั่นคงแข็งแรง สร้างความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว          ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองนครพนม
          (1.3) โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านนาขมิ้น ตำบลนาขมิ้น อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม เป็นงานก่อสร้างระบบกระจายน้ำเพื่อนำน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนกระจายไปสู่พื้นที่เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการอุปโภค-บริโภคเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1,400 ไร่ มีประชาชนได้รับประโยชน์ 320 ครัวเรือน          โครงการชลประทานนครพนม
(2) จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5 โครงการ แบ่งเป็นโครงการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 โครงการ เพื่อทดแทนของเดิมที่ชำรุดเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้เพื่อให้การคมนาคมขนส่งในพื้นที่ดังกล่าวมีความสะดวกและรวดเร็ว และโครงการเกี่ยวกับการยกระดับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข 1 โครงการ โดยโครงการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) และแผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย
          (2.1) โครงการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองผักขม ตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ความยาว 20 เมตร จำนวน 1 แห่ง          แขวงทางหลวงชนบทนครราชสีมา
          (2.2) โครงการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กบ้านทองหลาง ตำบลในเมือง-บ้านหัวทำนบ ตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ความยาว 60 เมตร จำนวน 1 แห่ง          แขวงทางหลวงชนบทนครราชสีมา
          (2.3) โครงการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมเชิงลาดสะพาน ถนนสายบ้านวังม่วง-บ้านกระเบื้อง ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ความยาว 60 เมตร จำนวน 1 แห่ง          แขวงทางหลวงชนบทนครราชสีมา
          (2.4) โครงการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองสะแก บ้านหนองรัง ตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ความยาว 15 เมตร และความยาว 20 เมตร จำนวน 2 แห่ง          แขวงทางหลวงชนบทนครราชสีมา
          (2.5) โครงการพัฒนาระบบบริการและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อยกระดับการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา (ครุภัณฑ์ทางการแพทย์)          สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
(3) จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 โครงการ โดยโครงการมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี และสงขลา) และแผนพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่
โครงการปรับปรุงถนน นศ.4073 แยกทางหลวงหมายเลข 4014- หาดในเพลา อำเภอขนอม และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทาง 14.17 กิโลเมตร           แขวงทางหลวงชนบทนครศรีธรรมราช
                    2. หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอแผนงาน/โครงการของจังหวัด (ตามข้อ1.) จะต้องเป็นแผนงาน/โครงการที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันทีหากได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และเป็นแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยเป็นรายจ่ายที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ แต่มีภารกิจจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ รวมทั้งเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาของ กรอ. จังหวัด ของแต่ละจังหวัด ได้แก่
                              2.1 โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในส่วนที่ขาดหายหรือชำรุดทรุดโทรมที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและไม่มีงบประมาณรองรับมาก่อน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและการสร้างรายได้ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
                              2.2 โครงการที่เสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่งเสริมการดำเนินการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีความรับผิดชอบทุกระดับเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างเท่าเทียมและมีส่วนร่วม
                              2.3 โครงการส่งเสริม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคและการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก สนับสนุนการเข้าถึงทุกพื้นที่ในจังหวัด การบูรณาการภาครัฐ ภาคเอกชน และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อก้าวสู่สังคมคุณภาพ
                              2.4 โครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และไม่มีความซ้ำช้อนกับแผนงาน/โครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว
                              2.5 โครงการพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวและบริการเชิงบูรณาการและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
                    3. นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้ สลน. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการโครงการของจังหวัดนครพนม นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช โดยให้แต่ละจังหวัดขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งให้จังหวัดนำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

ต่างประเทศ
18. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค
ลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 26 (The 26th GMS Ministerial Conference)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ [Greater Mekong Subregion (GMS)] ครั้งที่ 26 (การประชุมฯ)
                    2. เห็นชอบการมอบหมายภารกิจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. รายงานว่า
                    1. รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ) ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์)] และเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ ในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ กรุงเนปยีดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพ        เมียนมา (เมียนมา) ได้ให้การรับรอง (โดยไม่มีการลงนาม) ร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 12 ธันวาคม 2566) เรียบร้อยแล้ว โดยที่ประชุมได้มีการแก้ไขเอกสารจำนวน 1 ฉบับ (ร่างข้อเสนอแนวคิดฯ) ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดวันที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS จากเดิมวันที่ 14 ธันวาคม 2566 เป็นวันที่ 15 ธันวาคม 2566 เพื่อความถูกต้องของข้อมูลในเอกสาร ซึ่งสาระสำคัญของเอกสารไม่แตกต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้ข้างต้น
                    2. ในการประชุมดังกล่าวรัฐมนตรีหรือผู้แทนของประเทศลุ่มน้ำโขงได้มีข้อเสนอ/ข้อคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
ผู้แทน          สาระสำคัญ
ประเทศไทย
รองเลขาธิการ
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ
(นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ)          1) ให้เร่งขยายการลงทุนในนวัตกรรมเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีดิจิทัล และเงินทุนสีเขียวในภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ การเกษตร การท่องเที่ยว
(2) เร่งจัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
(3) สนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานอย่างยั่งยืนผ่านการพัฒนาตลาดพลังงานระดับภูมิภาค การใช้พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และโครงข่ายไฟฟ้าแบบสมาร์ทกริด (Smart Grid)
(4) เน้นย้ำความสำคัญของการผลักดันความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (CBTA) ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
รองเลขาธิการคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน
(นายนัท อุนวอนรา)          (1) ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการศึกษาต่าง ๆ ภายใต้แผนงาน GMS ที่ดำเนินการแล้วเสร็จและกำลังดำเนินการอยู่ เนื่องจากจะนำไปสู่การวางกรอบการดำเนินงานและแผนปฏิบัติการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
(2) เน้นย้ำถึงความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเพื่อรับมือความท้าทายร่วมกันและใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างกัน
(3) ส่งเสริมความเชื่อมโยงทางกายภาพและดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
สาธารณรัฐประชาชนจีน
รองอธิบดีกรมความร่วมมือเศรษฐกิจ
และการเงินระหว่างประเทศ
กระทรวงการคลัง
(นายหลู จิน)          (1) ควรให้ความสำคัญต่อเวทีหารือระดับผู้ว่าราชการจังหวัดในระเบียงเศรษฐกิจ GMS เนื่องจากเป็นกลไกการมีส่วนร่วมของรัฐบาลระดับท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการดึงดูดการลงทุนในอนุภูมิภาค
(2) เนันย้ำว่าการจัดตั้งเครือข่ายองค์ความรู้ควรส่งเสริมให้สถาบันวิจัยและองค์กรคลังสมองในระดับท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด
สาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
แผนการและการลงทุน
(นางพอนวัน อุถะวง)          เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมการมีส่วนร่วมในระดับรัฐบาลท้องถิ่น และการค้าการลงทุน ที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาคมร่วมกันของแผนงาน GMS
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงแผนการและการลงทุน
(นายตัน ค๊อก เฟือง)          ประเทศสมาชิกควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและแบ่งปันข้อมูลผลการดำเนินงานระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ

เมียนมา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุน
และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศ
(นายคันซอ)          เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือภายใต้แผนงาน GMS

                    3. สศช. เห็นว่า การขับเคลื่อนการดำเนินการตามผลของการประชุมดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อผลักดันประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันของอนุภูมิภาคในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงควรมอบหมายภารกิจหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนตามผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ตัวอย่างหน่วยงาน
การขับเคลื่อนแผนงาน GMS ในภาพรวม
(1) ติดตามผลการดำเนินงานของโครงการความร่วมมือแผนงาน GMS เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
          -          สศช.
-          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนงาน GMS กับข้อริเริ่มและกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก
เช่น ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้างเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนใหมในการพัฒนาที่กว้างขึ้น
          -          สศช.
-          กระทรวงการต่างประเทศ
(3) การศึกษาเกี่ยวกับการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและรัฐบาลท้องถิ่นต่อการขับเคลื่อนการพัฒนา GMS
          -          สศช.
-          กระทรวงมหาดไทย (มท.)
(4) การจัดทำกรอบการลงทุนของภูมิภาค GMS พ.ศ. 2567 ? 2569 เพื่อรับรองว่า โครงการจะมีความพร้อมทั้งในแง่ของความเป็นไปได้ การนำไปปฏิบัติ และการจัดหาเงินทุนเพื่อดำเนินโครงการ           -          สศช.
-          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การขับเคลื่อนประเด็นความร่วมมือรายสาขา
(1) สาขาคมนาคมขนส่ง เช่น การจัดทำแผนความพร้อมในด้านมาตรฐานเทคโนโลยี ความปลอดภัย และคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมของรถไฟ การเจรจากรอบข้อตกลงสำหรับการเชื่อมต่อการขนส่งทางรางข้ามพรมแดน
          -          กระทรวงคมนาคม
-          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) สาขาการค้าและการลงทุน เช่น แสวงหาโอกาสพัฒนาความร่วมมือกับคณะทำงานด้านเกษตรและด้านสุขภาพ
          -          กระทรวงพาณิชย์
-          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(3) สาขาพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น เร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด สนับสนุนโครงข่ายไฟฟ้าแบบ Smart Grid อำนวยความสะดวกในการซื้อขายพลังงานในระดับอนุภูมิภาค เร่งศึกษาการจัดการผลกระทบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม
          -          กระทรวงพลังงาน
-          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(4) สาขาการท่องเที่ยว เช่น เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว
          -          กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(5) สาขาสุขภาพ เช่น เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพในระดับภูมิภาค            -          กระทรวงสาธารณสุข
-          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

19. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 19 ที่กรุงเตหะราน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบการรับรอง 1) ร่างปฏิญญาเตหะราน 2) ร่างเอกสารแนวทางหลักในการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการ ACD และ 3) ร่างกฎระเบียบสำหรับกลไกการดำเนินงานภายใต้ ACD เป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 19 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรอง                 ร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 19
                    ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD) จัดตั้งขึ้นโดยข้อริเริ่มของประเทศไทยเมื่อปี 2545 เพื่อเป็นเวทีหารือระดับนโยบายของภูมิภาคที่จะช่วยส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในเอเชีย ปัจจุบันกรอบ ACD มีสมาชิกรวม 35 ประเทศจากอนุภูมิภาคทั้งหมดของเอเชีย1
                    การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 19 จะจัดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2567 ที่กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน โดยมีรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีต่างประเทศหรือผู้แทนของประเทศสมาชิก 35 ประเทศเข้าร่วม โดยที่ประชุมฯ จะรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ 3 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างปฏิญญาเตหะราน (Tehran Declaration) 2) ร่างเอกสารแนวทางหลักในการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการ ACD (Guiding Principles on the Functioning of the ACD Secretariat) และ 3) ร่างกฎระเบียบสำหรับกลไกการดำเนินงานภายใต้ ACD (Rules of Procedure of the ACD)
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างปฏิญญาเตหะราน ภายใต้หัวข้อหลัก ?การมุ่งสู่ประชาคมเอเชียผ่านการยกระดับกรอบความร่วมมือเอเชีย? (Towards an Asian Community through Enhanced ACD) มีสาระสำคัญเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกภายใต้กรอบ ACD มีสาระสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะการผลักดันการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ACD Blueprint ค.ศ. 2021 - 2030 การเพิ่มเสาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นความท้าทายระดับโลก
                    2. ร่างเอกสารแนวทางหลักในการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการ ACD มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสำนักเลขาธิการ ACD เช่น สถานที่ตั้ง บทบาทหน้าที่ และองค์ประกอบสำนักเลขาธิการฯ การคัดเลือก และแต่งตั้งเลขาธิการฯ โดยกำหนดคุณสมบัติและวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว พร้อมทั้งกำหนดกฎและข้อบังคับการบริหาร สิ่งอำนวยความสะดวก งบประมาณ และภาษาที่ใช้ เป็นต้น
                    3. ร่างกฎระเบียบสำหรับกลไกการดำเนินงานภายใต้ ACD มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดข้อบังคับการประชุม ACD อาทิ การจัดการประชุมต่าง ๆ ของ ACD ประธานการประชุมฯ กระบวนการจัดทำข้อตัดสินใจและข้อเสนอแนะ องค์ประชุม วาระการประชุม สถานที่และบทบาทของสำนักเลขาธิการ ACD
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    การดำเนินการตามร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 3 ฉบับสอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศของประเทศไทยในการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งยังสะท้อนถึงความพร้อมในการรักษาพลวัตและขับเคลื่อนเวทีดังกล่าวเพื่อสานต่อเป้าหมายของประเทศไทยที่ส่งเสริมการรวมตัวกันของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนมุ่งสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยให้มีสถานะโดดเด่นมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ
1 ACD มีสมาชิก 35 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ราชอาณาจักรบาห์เรน สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ราชอาณาจักรภูฏาน บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูซา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐคาซัคสถาน สาธารณรัฐเกาหลี รัฐคูเวต สาธารณรัฐคีร์กิช สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย มองโกเลีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เนปาล รัฐสุลต่านโอมาน สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน รัฐปาเลสไตน์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ รัฐกาตาร์ สหพันธรัฐรัสเซีย ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

20. เรื่อง (ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น [(ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ] พร้อมเอกสารแนบ ข้อ Attachment 1-3 และมอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทน เป็นผู้แทนฝ่ายไทยลงนามใน (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. (ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น [(ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ] เป็นการปรับปรุงความร่วมมือทวิภาคี Joint Crediting Mechanism (LCM) กับประเทศญี่ปุ่น (ความร่วมมือทวิภาคีฯ) ที่คณะรัฐมนตรีเคยเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2558 โดยยังคงมีสาระสำคัญเช่นเดิม คือเป็นการจัดตั้งกลไก Joint Crediting Mechanism (JCM) เพื่อส่งเสริมให้ประเทศญี่ปุ่นสนับสนุนเงินลงทุนและเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับโครงการต่าง ๆ (เช่น การปรับปรุงระบบการผลิต การกำจัดของเสีย การเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงาน) ที่ดำเนินการโดยภาครัฐหรือเอกชนของประเทศไทยเพื่อแลกกับการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตจากการดำเนินโครงการให้กับประเทศญี่ปุ่น [ปริมาณการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละโครงการ เช่น อาจกำหนดให้แบ่งปันคาร์บอนเครดิตให้กับฝ่ายญี่ปุ่นในสัดส่วนเดียวกับสัดส่วนเงินสนับสนุนจากฝ่ายญี่ปุ่นต่อเงินลงทุนของโครงการ (เช่น สนับสนุนเงินร้อยละ 30 เพื่อดำเนินโครงการ จะได้รับถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตร้อยละ 30 ของปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ลดลงจากการดำเนินโครงการ)1] ทั้งนี้ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด โดยรัฐบาลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยุติ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ และแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน2
                    2. ส่วนเอกสารแนบ ข้อ Attachment 1-3 เป็นส่วนหนึ่งของ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
เอกสารแนบ (Attachment)          สาระสำคัญ
Attachment 1 คือ กฎเกณฑ์ของการดำเนินงานกลไกเครดิตร่วมภายใต้ Premium T-VER [สำหรับโครงการใหม่ที่เริ่มดำเนินการภายหลัง (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ มีผลใช้บังคับ]          เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการร่วม ผู้ตรวจประเมินโครงการ การพัฒนาระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะใช้คำนวณปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจกรรมโครงการ การรับรองผู้ตรวจประเมินโครงการซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความใช้ได้ของเอกสารข้อเสนอโครงการที่จะนำไปใช้ขอขึ้นทะเบียนโครงการ และทวนสอบความถูกต้องของปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจกรรมโครงการ และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ
Attachment 2 คือ กฎเกณฑ์ของ JCM สำหรับโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้ว [สำหรับโครงการเดิมตามความร่วมมือทวิภาคีฯ ฉบับเดิม]
Attachment 3 ระเบียบวิธีปฏิบัติของคณะกรรมการร่วม สำหรับกลไกเครดิตร่วม          เป็นการกำหนดองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และกฎกติกาของคณะกรรมการร่วม โดยกำหนดให้คณะกรรมการร่วมประกอบด้วย ผู้แทนจากรัฐบาลญี่ปุ่น รัฐบาลไทย และบุคคลอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากแต่ละฝ่าย รวมจำนวนฝ่ายละไม่เกิน 10 คน
                    3. ประโยชน์ที่จะได้รับ กลไกเครดิตร่วม (JCM) ซึ่งเริ่มดำเนินงานนับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ทำให้ผู้พัฒนาโครงการในประเทศไทยได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการก่อสร้าง จัดซื้อ ติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่ทันสมัย หรือรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 2,855 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุนรวม 9,084 ล้านบาท และยังทำให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย โดยประเทศไทยต้องถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากโครงการ ร้อยละ 50 ให้กับฝ่ายญี่ปุ่นเป็นการตอบแทน คณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ฝ่ายไทยจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ภายหลังการลงนามบันทึกความ                    ร่วมมือฯ ฉบับปรับแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ ดังนี้
                              1) คัดเลือกโครงการที่มีคุณลักษณะครบถ้วนตามข้อกำหนดของแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต3 และผู้พัฒนาโครงการต้องได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ และกำหนดให้แบ่งปันคาร์บอนเครดิตให้กับฝ่ายญี่ปุ่นในสัดส่วนเดียวกับสัดส่วนเงินสนับสนุนจากฝ่ายญี่ปุ่นต่อเงินลงทุนของโครงการ4 ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยหลังจากปรับบัญชีก๊าซเรือนกระจกแล้วมีค่าลดลง
                              2) กำหนดให้ผู้พัฒนาโครงการต้องขอขึ้นทะเบียนโครงการและขอรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากโครงการตามมาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) แทนการขอขึ้นทะเบียนและขอรับรองคาร์บอนเครดิตตามมาตรฐานของญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้การกำกับดูแลโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่จะมีการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศอื่นเป็นไปอย่างมีเอกภาพ
?????????????_________________________________
1เป็นไปตามความเห็นของที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ [(รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] ในการประชุม ครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566
2เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความร่วมมือทวิภาคี Joint Crediting Mechanism (JCM) กับประเทศญี่ปุ่น (ฉบับเดิม) และ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ ที่เสนอในครั้งนี้
3เป็นโครงการที่งทุนในด้านเทคโนโลยีที่ประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการได้เอง เช่น โครงการเกี่ยวกับการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) ไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ ส่วนโครงการประเภท Solar Rooftops ที่ประเทศไทยดำเนินการได้เองจะไม่ได้รับการพิจารณา
4เช่น หากฝ่ายญี่ปุ่นให้การสนับสนุนเงินลงทุนร้อยละ 30 ในการดำเนินโครงการ ให้แบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองร้อยละ 30 ให้กับฝ่ายญี่ปุ่น

21. เรื่อง การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ - เลสเตว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยวสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. ร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ - เลสเต (ติมอร์) ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยวสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ขอให้ กต. สามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมอบหมายเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทน เห็นชอบให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามที่ได้รับมอบหมาย
                    3. ให้ กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของความ             ตกลงฯ
(จะมีการลงนามความตกลงฯ ระหว่างการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความมั่นคงของติมอร์ ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. ติมอร์มีความประสงค์จะจัดทำความตกลงฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างประชาชนของไทยและติมอร์เพื่อการท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำหรับการเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์1 ติมอร์จึงได้เสนอขอจัดทำความตกลงฯ พร้อมกับนำเสนอร่างความตกลงฯ เพื่อขอให้ฝ่ายไทยพิจารณา ซึ่งต่อมาทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ/ไม่ขัดข้องต่อร่างความตกลงฯ และพร้อมลงนามในร่างความตกลงดังกล่าว
                    2. ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
ข้อตกลง          (1) ความตกลงฉบับนี้มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้บุคคลสัญชาติไทยและบุคคลสัญชาติติมอร์เดินทางเข้าดินแดนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว โดยไม่ต้องมีการขอรับการตรวจลงตรา เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน
(2) บุคคลสัญชาติติมอร์ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาเพื่อเดินทางเข้ามาพำนักในไทยด้วยวัตถุประสงค์การท่องเที่ยว ตามระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน จะต้องไม่ทำงานใด ๆ ไม่ว่าการทำงานนั้นจะเป็นการดำเนินกิจการของตนเอง หรือกิจการงานส่วนตัวอื่นใดในไทย
(3) บุคคลสัญชาติไทยผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาเพื่อเดินทางเข้าและพำนักในติมอร์ด้วยวัตถุประสงค์การท่องเที่ยว ตามระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน จะต้องไม่ทำงานใด ๆ ไม่ว่าการทำงานนั้นจะเป็นการดำเนินกิจการของตนเอง หรือกิจการงานส่วนตัวอื่นใดในติมอร์
(4) คู่ภาคีของแต่ละฝ่ายสามารถสงวนสิทธิในการปฏิเสธการเข้าเมือง การลดระยะเวลาพำนักหรือยกเลิกการพำนักของบุคคลที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราภายใต้ความตกลงนี้บนพื้นฐานของความมั่นคงของชาติ การสาธารณสุข ความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ หรือการเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนา
(5) ประเด็นที่ไม่ได้ระบุในความตกลงนี้ให้ดำเนินการภายใต้กฎหมายภายในของติมอร์และกฎหมายภายในของไทย
การดำเนินการเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง          (1) คู่ภาคีต้องจัดส่งตัวอย่างหนังสือเดินทางธรรมดาของตนผ่านช่องทางการทูตภายใน 30 วันหลังการลงนามความตกลงฉบับนี้
(2) กรณีที่มีการนำหนังสือเดินทางธรรมดารูปแบบใหม่มาใช้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหนังสือเดินทางที่ใช้อยู่ คู่ภาคีต้องแจ้งอีกฝ่ายหนึ่งทราบเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ และนำส่งตัวอย่างหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่อย่างน้อย 30 วัน ก่อนการเริ่มนำหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่มาใช้อย่างเป็นทางการ
(3) ระยะเวลาอายุการใช้งานของหนังสือเดินทางของบุคคลสัญชาติของคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องมีอายุอย่างน้อย 6 เดือนก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่ดินแดนของคู่ภาคีอีกฝ่าย
ผลบังคับใช้          มีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 วันนับจากวันที่ได้รับการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้ายโดยคู่ภาคีว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนภายในที่จำเป็นของตนเพื่อให้ความตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้จนกว่าจะถูกบอกเลิกโดยคู่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง
การแก้ไข/ระงับการปฏิบัติ/บอกเลิกความตกลง          (1) สามารถแก้ไขหรือทบทวนและเพิ่มเติมความตกลงนี้เมื่อใดก็ได้ โดยความยินยอมร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรของคู่ภาคี
(2) ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจระงับการปฏิบัติตามความตกลงฉบับนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ การรักษาความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ หรือสาธารณสุข โดยการระงับและการเพิกถอนการระงับดังกล่าวจะต้องทำโดยการบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อภาคีอีกฝ่ายหนึ่งผ่านช่องทางการทูตอย่างน้อย 30 วันล่วงหน้า
(3) คู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถบอกเลิกการใช้บังคับความตกลงฉบับนี้ โดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 90 วัน ไปยังภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง
การระงับข้อพิพาท          ข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดจากการอนุวัติหรือการปฏิบัติตามความตกลงนี้ จะได้รับการระงับโดยการเจรจาและปรึกษาหารือระหว่างคู่ภาคี
                    3. ประโยชน์ที่ได้รับ: ความตกลงฯ จะเป็นประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยจะมีผลเชิงบวกต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย - ติมอร์ ในภาพรวมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนความสัมพันธ์ระดับประชาชน
                    4. กต. แจ้งว่า ร่างความตกลงฯ มีถ้อยคำและบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างความตกลงฯ จึงเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนามและดำเนินการให้มีผลผูกพัน แต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
หมายเหตุ: 1 แผนงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์ (Roadmap for Timor - Leste's Full Membership in ASEAN) ระบุให้ติมอร์จัดทำความตกลงทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่พลเมืองอาเซียนตามแนวทางที่ระบุไว้ในกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตรา (ASEAN Framework Agreement on Visa Exemption)

22. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างความยินยอมร่วมกันเพื่อต่ออายุแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงดิจิทัลและคมนาคมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างความยินยอมร่วมกันเพื่อต่ออายุแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงดิจิทัลและคมนาคมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ร่างความยินยอมร่วมกันฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างความยินยอมร่วมกันฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลยพินิจของ คค. โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว
[จะมีพิธีลงนามเอกสารความยินยอมร่วมกันเพื่อต่อยอดผลสำเร็จจากการเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนี) ของนายกรัฐมนตรีภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. แถลงการณ์ร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและกระชับความร่วมมือด้านระบบราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาการขนส่งทางรถไฟและระบบขนส่งมวลชนในเมืองภายใต้กลไกคณะทำงานร่วมระบบรางไทย ? เยอรมนี และคณะทำงานกลุ่มย่อยตามกิจกรรมความร่วมมือใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ด้านการวิจัยและพัฒนา (2) ด้านการประกอบการเดินรถ และ (3) ด้านอุตสาหกรรมระบบราง และมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์          เพื่อพัฒนาและกระชับความร่วมมือด้านระบบราง
ขอบเขตความร่วมมือทางวิชาการ          - สนับสนุนความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมระบบราง ผู้ให้บริการเดินรถภายในประเทศ และผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ องค์กรที่อยู่ในภาคส่วนของระบบราง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย เช่น การหาความเป็นไปได้ที่จะแลกเปลี่ยน ให้ความรู้ และฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค
- สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมระบบรางสำหรับโครงการความร่วมมือในขอบเขตการขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนในเมือง เช่น การสนับสนุนให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้ระบบรางในประเทศไทยมีความทันสมัยอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ค่าใช้จ่าย          แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วมฯ ของตนเอง เว้นแต่จะมีการตกลงกันโดยทั้งสองฝ่ายเป็นการล่วงหน้า
บททั่วไป          ไม่มีเจตนาให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายใด ๆ
การมีผลใช้บังคับระยะเวลาการสิ้นสุดและการแก้ไข          - มีผลใช้บังคับในวันที่ทั้งสองฝ่ายลงนาม
- แถลงการณ์ร่วมฯ มีอายุ 3 ปี
- อาจมีการต่ออายุได้อีกคราวละ 2 ปี ตามความเห็นชอบร่วมกันของทั้งสองฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษร
- สามารถแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกได้โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
- การสิ้นสุดของแถลงการณ์ร่วมฯ จะไม่กระทบต่อกิจกรรมซึ่งเริ่มดำเนินการแล้ว หรือได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายแล้ว
ทั้งนี้ แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวได้สิ้นสุดการมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562
                    2. ต่อมา คค. และกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ จำนวน 2 ครั้ง1 ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายไทยและฝ่ายเยอรมนีได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ภายใต้แถลงการณ์ร่วมดังกล่าว เช่น
                              2.1 การจัดตั้งสมาคมระบบรางไทย - เยอรมนี (German ? Thai Railway Association: GTRA) เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ การพัฒนาบุคลากรและการวิจัยต่าง ๆ รวมทั้งขับเคลื่อนความร่วมมือด้านระบบรางให้มีความยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ สมาคมดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564
                              2.2 ความร่วมมือทางวิชาการ เช่น (1) การจัดทำหลักสูตรปริญญาโทร่วมสาขาวิศวกรรมระบบรางและโครงสร้างพื้นฐาน (หลักสูตรนานาชาติ) ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัย RWTH Aachen แห่งเยอรมนี และ (2) ความร่วมมือในการแปลตำราทางวิชาการภาษาเยอรมันเป็นตำราภาษาไทยชื่อ ?วิศวกรรมเทคโนโลยีระบบราง? (Schienenfahrzeugtechnik) ซึ่งตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
                              2.3 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัย                  การพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากร โดยมีภาคอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการด้านรถไฟฟ้า และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวทั้งสิ้น 8 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่                  1 พฤศจิกายน 2566 ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ในหัวข้อ ?Interconnectivity of Thai Rail Systems?
                    ทั้งนี้ คค. เห็นว่า การได้รับสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงความร่วมมือและการลงทุนด้านอุตสาหกรรมระบบรางภายใต้แถลงการณ์ร่วมฯ เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย รวมทั้งมีความสอดคล้องกับนโยบายของไทย ซึ่งการดำเนินการภายใต้แถลงการณ์ร่วมฯ สามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน
                    3. เพื่อให้การดำเนินงาน กิจกรรม และโครงการภายใต้การพัฒนาความร่วมมือเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คค. จึงเสนอให้มีการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวต่อเนื่องไปอีก 2 ปี (เป็นการต่ออายุครั้งที่ 3) โดยได้ระบุให้ความยินยอมร่วมกันเพื่อต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2568 โดยให้มีการต่ออายุต่อเนื่องไปโดยอัตโนมัติครั้งละ 2 ปี จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งยกเลิก
                    4. คค. เห็นว่า ร่างความยินยอมร่วมกันฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานกิจกรรมและโครงการภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงความร่วมมือและการลงทุนด้านอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย โดยไม่มีพันธะผูกพันทางกฎหมายในระดับรัฐบาล จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                    5. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าร่างความยินยอมร่วมกันฯ ซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงดิจิทัลและคมนาคมแห่งเยอรมนี มีสาระสำคัญเป็นการแสดงความเห็นชอบร่วมกันที่จะต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ ต่อเนื่องไปโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลาครั้งละ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 อันเป็นการดำเนินการตามข้อ 5 (2) ของแถลงการณ์ร่วมฯ โดยสาระสำคัญของความร่วมมือยังคงเป็นเช่นเดิมตามที่กำหนดไว้ในแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งเป็นเอกสารที่ไม่มีเจตนาให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 ของแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว กรณีจึงไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทยตามมาตรา 4 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 กรณีจึงต้องเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินการต่อไป
1 (1) การต่ออายุครั้งที่ 1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 โดยให้ความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564
   (2) การต่ออายุครั้งที่ 2 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 โดยให้ความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมฯ เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566

แต่งตั้ง
23. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 3 คณะ ดังนี้
                     1. คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) (ชื่อเดิม คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลโครงการสนับ      สนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย)
                     2. คณะกรรมการบริหารโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) (ชื่อเดิม คณะกรรมการบริหารโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย)
                     3. คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป

                      รายละเอียดองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ดังนี้
                     1. คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.)
                      องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่
                     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รองประธานกรรมการ โดยกรรมการประกอบด้วย คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และประธานสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยมี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1. กำหนดนโยบาย กรอบและทิศทางการพัฒนาโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ในภาพรวม
                     2. เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ให้บรรลุตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
                     3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ในการดำเนินงานโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ได้ตามความเหมาะสม

                      2. คณะกรรมการบริหารโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.)
                     องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่
                     ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ประธานสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ผู้แทนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนสำนักงบประมาณ และผู้แทนสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1. กำหนดหลักการ หลักเกณฑ์ ให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการดำเนินการโครงการ วมว. ระยะที่ 3
                     2. กำหนดแนวทางและกลไกการบริหารจัดการในภาพรวม เพื่อให้การดำเนินการของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมดำเนินงานโครงการ วมว. มีการจัดการหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
                     3. กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงแนวทางและพัฒนากลไกบริหารจัดการ ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
                     4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตามความจำเป็น
                     5. ดำเนินการเรื่องอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

                     3. คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น
                     องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่
                     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษา นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ที่ปรึกษา ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น สำนักงานประเทศไทย ประธานหอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์กิตติชัย                   ไตรรัตนศิริชัย รองศาสตราจารย์รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ และนายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ โดยมี ผู้อำนวยการโครงการสถาบันไทยโคเซ็น สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน                2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1. กำหนดเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางในการพัฒนาสถาบันไทยโคเซ็น เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
                     2. กำหนดแผนงานบริหารโครงการและงบประมาณในภาพรวมให้เป็นไปตามนโยบายและทิศทางการพัฒนาสถาบันไทยโคเซ็น
                     3. กำกับดูแลการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลโครงการสถาบันไทยโคเซ็น
                     4. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
                     5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น รวมทั้งมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคลดังกล่าว ทำการแทนแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
                     6. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มอบหมาย

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางนันท์ฐิตา ศิริคุปต์ รองอธิบดีกรมศุลกากร ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร (นักวิชาการศุลกากรทรงคุณวุฒิ) กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางสาวสุภาภรณ์                   โรจนรุ่งทวี ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการคลัง) สูง] กองกฎหมาย กรมบัญชีกลาง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและระเบียบการคลัง (นิติกรทรงคุณวุฒิ) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

26 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง                    ว่าที่ร้อยตรี พีรพล มั่นจิตต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง                 รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ