สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มิถุนายน 2567

ข่าวการเมือง Tuesday June 25, 2024 17:58 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (25 มิถุนายน 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
                                        (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา                                                  ความแพ่ง)
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..)
                                        พ.ศ. ?. และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสมุทรปราการและศาล                                        แรงงานจังหวัดระยอง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาต                                        ได้ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดา                                        ขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม                                         พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอให้จดทะเบียนเลิก                                        ภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืนค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์                                        ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน                                                   พ.ศ. 2540 พ.ศ ?.
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร                                                  รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระ                                        ราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พ.ศ. ....
                    9.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ                                                  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้า                                        เจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28                                         กรกฎาคม 2567 พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    10.           เรื่อง           การต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ของสำนักงานธนานุ                                                  เคราะห์
                    11.           เรื่อง           รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กองทุนยุติธรรม
                    12.           เรื่อง           การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและ                                                  บริการ พ.ศ. 2542
                    13.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เรื่อง                                         มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และกลไกการบริหารจัดการ
                    14.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่ง                                        หลังของปี พ.ศ. 2566
                    15.           เรื่อง           ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการ                                        เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ                                        การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดู                                                  แล้ง ปี 2567/2568
                    16.           เรื่อง           โครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายใต้มาตรการ                                        ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68
                    17.           เรื่อง           รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน                                        ภาครัฐ  (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ                                         พ.ศ. 2566
                    18.           เรื่อง           การปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียน                                                  วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น

ต่างประเทศ
                    19.           เรื่อง           ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อให้                                                  ความช่วยเหลือและอพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน                                        รัฐอิสราเอล (เพิ่มติม)
                    20.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่ง                                                            ราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงคมนาคมและการเคลื่อนย้ายอย่างยั่งยืนแห่ง                                                  ราชอาณาจักรสเปนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม
                    21.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic                                         Ministers Retreat) ครั้งที่ 30 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    22.           เรื่อง           การปรับแก้ไขตารางข้อผูกพันด้านบริการ ภายใต้องค์การการค้าโลกของไทย ที่                                                  ผูกพันวินัยในการใช้กฎระเบียบภายใน
                    23.           เรื่อง           ร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับ                                                  กระทรวงยุติธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
                    24.           เรื่อง           ร่างโครงการการดำเนินงานของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว                                        ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการ                                        ท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ปี พ.ศ. 2567 - 2572
                    25.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 13 และการประชุมที่                                        เกี่ยวข้อง

แต่งตั้ง
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาค                                                  ราชการ
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็น                                        หลัก (Cloud First Policy)
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....                  (แก้ไขเพิ่มเติมตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                     ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                      ยธ. เสนอว่า
                      1. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2548 กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สรุปได้ดังนี้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณ์ความแพ่ง ตาราง 5 ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
ค่าธรรมเนียม          จำนวน
1. ขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด          ร้อยละ 3 ของจำนวนเงินที่ขายหรือจำหน่าย
2. จ่ายเงินที่ยึดหรืออายัดแก่เจ้าหนี้          ร้อยละ 2 ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด
3. เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย          ร้อยละ 2 ของราคาทรัพย์สินที่ยึด
4. เมื่อยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย           ร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด หรือราคาทรัพย์สินที่อายัด
5. ขายโดยวิธีประมูลระหว่างคู่ความ          ร้อยละ 2 ของราคาประมูลสูงสุด
                      2. โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ได้ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการในทุกระดับ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญ ทำให้ลูกหนี้จำนวนมากอาจต้องตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และมีความรับผิดตามสัญญาหรือตามกฎหมายหลายประการ ส่งผลให้มีปริมาณการฟ้องร้องบังคับคดีเพิ่มมากขึ้นทั้งคดีแพ่งและคดีล้มละลาย กรณีเป็นปัญหาความเป็นธรรมของประชาชนที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม สมควรต้องมีมาตรการชั่วคราวเพื่อบรรเทาโดยเร่งด่วน เนื่องจากตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีสูงเกินไป ทำให้ลูกหนี้ต้องรับภาระในการจ่ายค่าธรรมเนียมบางประการที่ไม่จำเป็น เช่น การยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินหรือการอายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย และในด้านกฎหมายยังไม่ปรากฏมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ต้องถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งและคดีล้มละลายอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID - 19 ดังกล่าว
                     3. นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2548 มีผลบังคับใช้มาเป็นระยะเวลา 19 ปีแล้ว และปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและอัตราค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนั้น ยธ. จึงได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยลดภาระในการจ่ายค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีบางประการที่ไม่จำเป็น เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากการไม่สามารถชำระหนี้ได้ และยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น กำหนดค่าธรรมเนียมขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด ร้อยละ 2 ของจำนวนเงินที่ขายหรือจำหน่าย (ปัจจุบัน ร้อยละ 3 ของจำนวนเงินที่ขายหรือจำหน่าย) กำหนดค่าธรรมเนียมจ่ายเงินที่ยึดหรืออายัดแก่เจ้าหนี้ ร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด (ปัจจุบัน ร้อยละ 2 ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด) รวมทั้งยกเลิกค่าธรรมเนียมเมื่อยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้ว ไม่มีการขายหรือจำหน่าย (ปัจจุบัน ร้อยละ 2 ของราคาทรัพย์สินที่ยึด)
                     4. ยธ. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ผ่านทางระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) และทางเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี (www.led.go.th) ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 รวมทั้งได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็น พร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว
                     5. ยธ. ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
                               5.1 คณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ได้วางหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมโดยต้องคำนึงถึงปัจจัยในการเรียกเก็บ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการดำเนินการและการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ประโยชน์ที่บุคคลจะได้รับ หรือผลกระทบทางลบที่บุคคลนั้นก่อให้เกิดความสามารถของประชาชนในการจ่ายค่าธรรมเนียม การเทียบเคียงอัตราเดิมที่เคยเรียกเก็บหรืออัตราอื่นในลักษณะเดียวกันหรืออัตราของต่างประเทศ การได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น การพิจารณากำหนดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงต้องพิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยการกำหนดค่าธรรมเนียมนี้ต้องเป็นไปเท่าที่จำเป็น สอดคล้องกับสภาพการณ์ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต หรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้า เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน
                                5.2 การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดำเนินการยึด หรืออายัด โดยผิดหลงประการใด หากมีความเสียหายเกิดขึ้น ผู้ที่ได้รับความเสียหายสามารถเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารับผิดชอบได้ การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมตามร่างพระราชบัญญัตินี้จึงมิได้ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างแต่อย่างใด
                               5.3 การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ยธ. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้ ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วยแล้ว โดยกรมบังคับคดีได้สำรวจข้อมูลจำนวนค่าธรรมเนียมประเภทต่าง ๆ ตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 - 2567 (ข้อมูลถึงเดือนมกราคม 2567) พบว่าได้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเงินทั้งสิ้น 6,842,907,178.19 บาท เมื่อคำนวณเฉพาะค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย และค่าธรรมเนียมยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่ร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้ยกเลิก คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 95,461,667.64 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.40 ของค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งหมด และนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินเท่านั้น
                                อย่างไรก็ตาม การลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวสามารถช่วยสนับสนุนให้คู่ความเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี อันเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกระหว่างลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ในการเจรจาชำระหนี้ โดยลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะสามารถรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของตนไม่ให้ถูกขายทอดตลาดและสร้างความยุติธรรมแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะได้รับชำระหนี้อย่างเป็นธรรม
จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสมุทรปราการและศาลแรงงานจังหวัดระยอง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ ดังนี้
                      1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..)             พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ และศาลแรงงานจังหวัดระยอง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
                     2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
                      ทั้งนี้ ศย. เสนอว่า
                      1. เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดระยองมีปริมาณคดีแรงงานเข้าสู่ศาลเป็นจำนวนมากจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัดและจำนวนผู้ใช้แรงงานที่เพิ่มมากขึ้น1  แม้ในปัจจุบันจะมีการเปิดทำการสาขาของศาลแรงงานภาค 1 (สาขาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และภาค 2 (สาขาจังหวัดระยอง) อยู่แล้วก็ตาม แต่การเปิดทำการสาขาของศาลชั้นต้นดังกล่าว ต้องเกลี่ยอัตรากำลังของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในศาลนั้นมาปฏิบัติหน้าที่ ณ ที่ทำการสาขาทั้ง 2 สาขา ทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเกิดความล่าช้าและไม่สะดวกแก่คู่ความในท้องที่ เห็นสมควรให้มีการจัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดขึ้นในจังหวัดสมุทรปราการให้มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดสมุทรปราการ และจัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดระยองขึ้นในจังหวัดระยอง ให้มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดระยอง เพื่อให้การพิจารณาแรงงานเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว อันเป็นการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในท้องที่ได้ดียิ่งขึ้น และมีความพร้อมในด้านอัตรากำลังของผู้ปฏิบัติงานในศาลจังหวัดครบถ้วนทุกส่วนงานรองรับภารกิจดังกล่าว
                      2. ในการจัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสมุทรปราการและศาลแรงงานจังหวัดระยอง จะทำให้มีการจัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดขึ้นในท้องที่ของศาลแรงงานภาค 1 และภาค 2 ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องความทับซ้อนของอำนาจพิจารณาคดีระหว่างศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัด ทำให้ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักการให้เมื่อเปิดทำการศาลแรงงานจังหวัดในท้องที่ของศาลแรงงานภาคใด ห้ามมิให้ศาลแรงงานภาคดังกล่าวรับคดีที่อยู่ในท้องที่ของศาลแรงงานจังหวัดนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความทับซ้อนของอำนาจพิจารณาคดีระหว่างศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัด ตลอดจนเพื่อให้มีความชัดเจนในการแบ่งแยกเขตอำนาจการพิจารณาคดีของศาล โดยไม่รวมถึงอำนาจการบริหารงานศาลแรงงานจังหวัดในท้องที่ของศาลแรงงานภาค อีกทั้งศาลแรงงานเป็นศาลคดีชำนัญพิเศษที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เห็นสมควรให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาคเข้ามารับผิดชอบงานของศาลแรงงานจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นในเขตท้องที่ของศาลแรงงานภาคนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของศาลแรงงานจังหวัดเป็นไปด้วยความถูกต้อง เรียบร้อย และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนว่าจะได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
                      3. ศย. จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1. รวม 2 ฉบับ เสนอต่อคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รวม 2 ฉบับ ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2566 วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และมอบหมายให้ ศย. ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและเสนอร่างกฎหมายไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
                     4. ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รวม 2 ฉบับ ศย. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ                 พ.ศ. 2561
                               4.1 ศาลแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ โดยคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จำนวน 63,901,038 บาท ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการ จำนวน 10,821,312 บาท และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน จำนวน 363,955,360 บาท ทำให้จะต้องใช้งบประมาณในระยะ 3 ปีแรก ประมาณ 438,677,710 บาท อัตรากำลังข้าราชการตุลาการที่ต้องใช้ 6 อัตรา และอัตรากำลังข้าราชการศาลยุติธรรมที่ต้องใช้ 24 อัตรา
                               4.2 ศาลแรงงานจังหวัดระยอง โดยคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จำนวน 55,383,438 บาท ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการ จำนวน 8,215,704 บาท และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (ยังไม่สามารถจัดหาที่ดินซึ่งเป็นที่ราชพัสดุสำหรับใช้ก่อสร้างอาคารสถานที่ จึงไม่อาจระบุค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนในส่วนของการก่อสร้างอาคารศาลได้) จำนวน 11,092,360 บาท ทำให้จะต้องใช้งบประมาณในระยะ 3 ปีแรก ประมาณ 74,691,502 บาท อัตรากำลังข้าราชการตุลาการที่ต้องใช้ 4 อัตรา และอัตรากำลังข้าราชการศาลยุติธรรมที่ต้องใช้ 24 อัตรา
                      5. ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ศย. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย https://www.law.go.th เว็บไซต์ https: //lawsurvey.coj.go.th เว็บไซต์ ศย. https://www.coj.go.th หัวข้อ ร่างกฎหมายที่รับฟังความคิดเห็น และเว็บไซต์สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม https://jla.coj.go.th หัวข้อ รับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566 ถึงวันที่               18 กันยายน 2566 รวม 18 วัน และจัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายพร้อมทั้งเปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ https://lawsurvey.coj.go.th และระบบกลางทางกฎหมาย https://www.law.go.th ตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 รวมทั้งได้เสนอแผนกฎหมายลำดับรอง พร้อมกรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรอง (จำนวน 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการของศาลแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดระยองในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570) เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ รวม 2 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
                     สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                     1. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้เมื่อเปิดทำการศาลแรงงานจังหวัดในท้องที่ของศาลแรงงานภาคใด ห้ามมิให้ศาลแรงงานภาคดังกล่าวรับคดีที่อยู่ในท้องที่ของศาลแรงงานจังหวัดนั้นไว้พิจารณาพิพากษา และกำหนดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาครับผิดชอบงานของศาลแรงงานจังหวัดในท้องที่
                     2. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสมุทรปราการและศาลแรงงานจังหวัดระยอง พ.ศ. .... กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลแรงงานขึ้นในจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดระยอง
*โครงสร้างศาลแรงงาน ประกอบด้วย
1. ศาลแรงงานกลาง 1 แห่ง มีที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีเขตอำนาจในกรุงเทพมหานคร
2. ศาลแรงงานภาค 9 แห่ง โดยศาลแรงงานภาค 1 มีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี และมีเขตอำนาจในจังหวัดชัยนาท จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง (ปัจจุบันศาลแรงงานภาค 1 เปิดทำการสาขา ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ส่วนศาลแรงงานภาค 2 มีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี และมีเขตอำนาจในจังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว (ปัจจุบันศาลแรงงานภาค 2 เปิดทำการสาขา ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง) [อ้างอิงจากพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน ที่ตั้ง เขตศาล และวันเปิดทำการของศาลแรงงานภาค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานภาค 1 และศาลแรงงานภาค 7 พ.ศ. 2561 และพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน ที่ตั้ง เขตศาล และวันเปิดทำการของศาลแรงงานภาค (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558)]
1 สถิติจำนวนคดีรับใหม่ของศาลแรงงานภาค 1 (เฉพาะจังหวัดสมุทรปราการ) (1) ปี พ.ศ. 2563 มี 1,184 คดี (2) ปี พ.ศ. 2564           มี 3,076 คดี (3) ปี พ.ศ. 2565 มี 1,683 คดี และ (4) ปี พ.ศ. 2566 (มกราคม - กันยายน) มี 1,683 คดี
 สถิติจำนวนคดีรับใหม่ของศาลแรงงานภาค 2 (เฉพาะจังหวัดระยอง) (1) ปี พ.ศ. 2563 มี 971  คดี (2) ปี พ.ศ. 2564 มี 939 คดี          (3) ปี พ.ศ. 2565 มี 655 คดี และ (4) ปี พ.ศ. 2566 (มกราคม - กันยายน มี 600 คดี

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. ....                       รวม         2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    อว. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไปได้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ มาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. ....
                    กำหนดให้วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 4 ตามตารางท้ายกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 19 วรรคสอง1 หรือเรียกว่า วัสดุกัมมันตรังสีที่มีโอกาสเป็นอันตราย (Unlikely to be dangerous) ซึ่งมีค่ากัมมันตภาพน้อย (บุคคลธรรมดาสามารถดูแลรับผิดชอบให้มีความปลอดภัยได้) และมีลักษณะการใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
                              (1) การทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางรังสี                                                                      (2) การวัดความหนาแน่นกระดูก                                                                                                    (3) การรักษาต้อตา
เป็นวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้ หรือนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุกัมมันตรังสีได้
                    2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. ....
                    กำหนดให้เครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตทำ มีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้าหรือส่งออกได้ มีดังนี้
                              (1) เครื่องกำเนิดรังสีที่มีพลังงานสูงสุดของรังสีที่เกิดขึ้นต่ำกว่า 1 เมกะอิเล็กตรอนโวลต์ หรือเครื่องกำเนิดรังสีที่อุปกรณ์กำเนิดรังสีภายในทำงานที่ความต่างศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า 1 เมกะโวลต์ ที่มีลักษณะการใช้งานไม่ปิดมิดชิดหรือใช้งานกับคน เช่น เครื่องฉายรังสีเอกซ์ชนิดตื้น เครื่องฉายรังสีเอกซ์ชนิดลึก เครื่องเอกซเรย์ถ่ายภาพรังสีทางอุตสาหกรรม เครื่องเอกซเรย์ถ่ายภาพรังสีทางการศึกษาวิจัย เครื่องเอกซเรย์ตรวจสอบความปลอดภัย
                              (2) อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสีตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงว่าด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสีเป็นเครื่องกำเนิดรังสี2
1คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (2 พฤษภาคม 2560) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... (ซึ่งเป็นกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 19 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559) ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
2กฎกระทรวงอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสีเป็นเครื่องกำเนิดรังสี พ.ศ. 2565 บัญญัติให้อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสีดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องกำเนิดรังสี
(1) หลอดเอกซเรย์หรือหลอดเอกซเรย์พร้อมเรือนหลอด
(2) อุปกรณ์ผลิตคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องเร่งอนุภาค

4. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และให้ ดศ. หารือกระทรวงมหาดไทยเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างระเบียบ
                    ดศ. เสนอว่า
                    1. ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบการแจ้งข้อมูลที่สามารถแจ้งเตือนให้ประชาชนรับรู้กรณีเกิดเหตุร้าย เหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแจ้งเตือนฉุกเฉินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่                      (Cell Broadcast) ในการป้องกันและลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการแจ้งข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสามารถนำข้อมูลที่ได้รับแจ้งมาช่วยรองรับการตัดสินใจและสามารถบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงต้องมีแนวทางระเบียบและหลักเกณฑ์ในการดำเนินการที่ชัดเจนสำหรับการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม              ในการบูรณาการสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาการแจ้งข้อมูลแก่ประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
                    2. เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ดศ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ทำการทดสอบระบบ SMS แบบเฉพาะเจาะจง และต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 และวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ดศ. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงาน กสทช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (AIS TRUE NT) ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการระบบแจ้งเตือนด้วยระบบ                  Cell Broadcast มีมติเห็นชอบให้ ดศ. ทำหน้าที่บูรณาการและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเตือนด้วยระบบ Cell Broadcast โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีอำนาจหน้าที่สามารถแจ้งเตือนผ่านระบบกลาง (Cell Broadcast Entity : CBE) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที
                    3. ในการศึกษาเกี่ยวกับการเตือนภัยระดับชาติเพื่อแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนประกอบด้วยพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ? 2570 รวมถึงอำนาจหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ ของ ปภ.ไม่ครอบคลุมเหตุฉุกเฉิน (Emergency) ทั้งหมด นอกจากนี้ การเตือนภัยในภาวะฉุกเฉินในหลาย ๆ กรณีไม่ครอบคลุมตามอำนาจหน้าที่ของ ปภ. สำหรับโครงสร้างของข้อความแจ้งเตือนภัยประกอบด้วยข้อมูล 7 ส่วน ดังนี้
                              3.1 แหล่งที่มา (Source) ? ระบุชื่อหน่วยงานที่ส่งข้อความแจ้งเตือน
                              3.2 วันและเวลา (Timestamp) ? ระบุวันและเวลาที่ทำการส่งข้อความ
                              3.3 ภัย (Hazard) ? ระบุข้อมูลภัยที่เกิดขึ้น ควรใช้คำสั้น กระชับ ให้ข้อมูลสำคัญตรงประเด็นผู้รับสามารถเข้าใจได้โดยง่ายภายในไม่กี่วินาที ไม่ใช้คำที่จะก่อให้เกิดความตื่นตระหนก (เช่น กักบริเวณ)
                              3.4 คำแนะนำ (Guidance) ? ระบุข้อมูลคำแนะนำว่าจะให้ผู้รับทำอะไร (เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง) ควรใช้คำสั้น กระชับ ให้ข้อมูลสำคัญตรงประเด็น ผู้รับสามารถเข้าใจได้โดยง่ายภายในไม่กี่วินาที ไม่ใช้คำที่จะก่อให้เกิดความตื่นตระหนก (เช่น กักบริเวณ)
                              3.5 เวลาที่ยุติเหตุการณ์ (Termination Date & Time) ? ระบุข้อมูลเวลาที่ยุติเหตุการณ์ เช่น ฝนตกหนักมาก ... จนถึงเวลา ... หรือ การเตือนภัยนี้มีผลจนถึงวันที่ ... เวลา ...
                              3.6 URL ? ระบุ URL สำหรับแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม เช่น แผนที่ สถานที่หลบภัย ควรเป็นลิงก์บน Social Media ไม่ควรเป็นลิงก์เว็บไซต์หน่วยงาน เนื่องจาก Social Media สามารถรองรับการใช้งานที่หนาแน่นในช่วงวิกฤต ในขณะที่เว็บไซต์หน่วยงานอาจล่มได้
                    4. ดศ. จึงได้ยกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม              พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเพื่อให้ประชาชนได้รับการแจ้งข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย         หรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                              4.1 ให้ ดศ. จัดให้มีระบบการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อรับข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้อง และส่งต่อข้อมูลให้ประชาชนผ่านระบบของผู้ให้บริการการสื่อสารโทรคมนาคมไปยังอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมของประชาชนทั้งหมดหรือในพื้นที่ที่กำหนด
                              4.2 ให้ ดศ. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม โดยมีคณะทำงานบริหารจัดการระบบการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม (ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานคณะทำงาน ผู้แทนกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงาน กสทช. เป็นคณะทำงาน) มีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการใช้หรือเชื่อมต่อระบบหรือกระบวนการแจ้งข้อมูลของหน่วยงานของรัฐ กำหนดลักษณะ ประเภทข้อความ รูปแบบ และขั้นตอนทางเทคนิคการส่งผ่านข้อความแจ้งข้อมูล
                              4.3 ให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการแจ้งเตือนประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แจ้งข้อมูลโดยใช้ระบบการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย             กรมอุตุนิยมวิทยา กรมควบคุมมลพิษ กรมควบคุมโรค ตช.
                              4.4 เมื่อมีเหตุที่หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งข้อมูลแก่ประชาชนให้หน่วยงานของรัฐนั้นแจ้งข้อมูลแก่ประชาชนโดยใช้ระบบการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคมตามระเบียบนี้

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืนค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 พ.ศ ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืนค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมมาทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 พ.ศ ?. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                    1. การดำเนินโครงการจัดทำระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า กรณีที่ รฟม. มีความจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์ของเอกชนเพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว แต่ไม่จำเป็นต้องเวนคืนเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ รฟม. จะดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540             โดยวิธีการกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์โดยมีกำหนดเวลา สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่จำเป็นต้องใช้เป็นการชั่วคราวในระหว่างก่อสร้าง และโดยไม่มีกำหนดเวลาสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่จำเป็นต้องใช้เป็นการถาวร ซึ่งกรณีที่จดทะเบียนกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการขนส่งมวลชนโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่มิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ภายในกำหนดเวลา 10 ปี เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์นั้นได้  โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืนค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง รฟม. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืนค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 พ.ศ. ?.
                    2. โดยที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 25401 เพื่อรองรับในกรณีที่ได้มีการจดทะเบียนกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีกำหนดเวลาแต่มิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ ซึ่งร่างกฎกระทรวงฯ         จะช่วยแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าวที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีความประสงค์จะใช้สิทธิตามกฎหมายในการขอจดทะเบียนเลิกภาระดังกล่าว ประกอบกับการออกกฎกระทรวงฉบับนี้มีลักษณะเป็นการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะได้รับสิทธิจากกฎหมาย ตามมาตรา 22 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566)
                    3. คณะกรรมการ รฟม. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการตราร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    4. รฟม. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าวตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเรียบร้อยแล้ว
                    5. ประโยชน์และผลกระทบ
                              5.1 หน่วยงานด้านขนส่งมวลชนของรัฐจะต้องพิจารณากำหนดวาระในอสังหาริมทรัพย์ในที่ดินของเอกชน สำหรับใช้ในการจัดทำโครงการได้เพียงเท่าที่จำเป็นและเกิดประโยชน์สูงสุด และก่อภาระแก่ประชาชนให้น้อยที่สุด
                              5.2 ประชาชนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายและไม่ถูกจำกัดสิทธิในทรัพย์สินจากการดำเนินงานของรัฐมากเกินสมควร
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ
                    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืนค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ สรุปได้ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
กำหนดบทนิยาม          - ?ภาระในอสังหาริมทรัพย์? หมายความว่า ภาระที่ได้จดทะเบียนไว้ ณ สำนักงานที่ดินโดยไม่มีกำหนดเวลา
- ?เจ้าของ? หมายความว่า ผู้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้     ณ สำนักงานที่ดิน
ผู้มีสิทธิร้องขอ          - กำหนดให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์คนใดคนหนึ่ง (กรณีมีหลายคน) ขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์
การยื่นคำร้อง          - กำหนดให้เจ้าของผู้มีความประสงค์จะเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วน ยื่นคำร้องพร้อมเอกสารหรือหลักฐานตามแบบท้ายกฎกระทรวงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือโดยวิธีทางไปรษณีย์ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
การออกใบรับรองคำร้อง/การยุติเรื่อง          - กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกใบรับคำร้องเบื้องต้น ดังนี้
1. การตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารหรือหลักฐาน (ไม่เกิน                7 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง)
2. การแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องดำเนินการแก้ไขเอกสารหรือหลักฐาน (ไม่น้อยกว่า 180 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง) และแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายใน 15 วันทำการนับแต่วันที่ตรวจแล้วเสร็จหรือต้องแล้วเสร็จ
3. การยุติเรื่องในกรณีผู้ยื่นคำร้องไม่ดำเนินการแก้ไขเอกสารหรือหลักฐาน               ให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
4. การออกใบรับคำร้องก็ต่อเมื่อผู้ยื่นคำร้องได้ยื่นคำร้องถูกต้องครบถ้วน
การพิจารณาคำร้อง/ การแจ้งผล/การนำเงินมาคืน/การชะลอเรื่อง          - กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำร้องขอให้จดทะเบียนเลิกภาระ              ในอสังหาริมทรัพย์ให้แล้วเสร็จพร้อมแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องที่ถูกต้อง ซึ่งการพิจารณาจดทะเบียนดังกล่าวให้คำนึงถึงประโยชน์การใช้อสังหาริมทรัพย์ของหน่วยงานและบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
- กรณีที่จะจดทะเบียนดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผู้ยื่นคำร้องเพื่อกำหนดนัดหมายการจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน และนำเงินทดแทนตามส่วนที่จะจดทะเบียนดังกล่าวมาคืนก่อนการจดทะเบียน โดยสั่งจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็คหรือโดยวิธีการอย่างอื่นที่หน่วยงานเห็นสมควรไปพร้อมกับแจ้งผลการพิจารณา
- กรณีผู้ยื่นคำร้องรายใดไม่นำเงินทดแทนมาคืน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชะลอการ                จดทะเบียนไว้ก่อน และดำเนินการต่อไปเมื่อได้รับคืนค่าทดแทนครบถ้วนแล้ว
การจดทะเบียน          กำหนดให้หลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามที่กรมที่ดินกำหนด
บทเฉพาะกาล          กำหนดให้บรรดาคำร้องขอให้จดทะเบียนดังกล่าวที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้รับคำร้องนั้นไว้พิจารณาต่อไปตามกฎกระทรวงนี้

1 มาตรา 18 บัญญัติให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้ว หากมิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ภายในสิบปี เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์นั้นได้
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอให้จดทะเบียนเรื่องภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืนค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้นำบทบัญญัติมาตรา 15 มาใช้บังคับกับการจดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์โดยอนุโลม

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    อว. เสนอว่า
1. พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 มีบทบัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ต้องเป็นนิติบุคคลเว้นแต่วัสดุนิวเคลียร์บางประเภทที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจะเป็นบุคคลธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง1 ซึ่งปัจจุบันมีเพียงนิติบุคคลเท่านั้นที่สามารถขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ได้เนื่องจากยังไม่มีกฎกระทรวงที่กำหนดให้วัสดุนิวเคลียร์บางประเภทที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจะเป็นบุคคลธรรมดาก็ได้
2. โดยที่บทบัญญัติตามข้อ 1 ได้กำหนดข้อยกเว้นในการให้บุคคลธรรมดาสามารถขออนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ได้โดยหากภาครัฐเห็นว่าการประกอบกิจการ             การค้นคว้าวิจัย หรือเทคโนโลยีใหม่ใดอาจทำให้บุคคลธรรมดาประสงค์จะใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์             ก็สามารถกำหนดประเภทวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาสามารถขอรับใบอนุญาตได้โดยการออกเป็นกฎกระทรวง         ซึ่ง อว. พิจารณาแล้วเห็นว่า สามารถกำหนดยูเรเนียมด้อยสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ต่ำกว่าร้อยละ 0.5 ลงมาโดยน้ำหนัก และมีปริมาณตั้งแต่ 20 ตันขึ้นไปเป็นวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้2 เนื่องจากยูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าวปัจจุบันใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีเพราะมีความหนาแน่นสูง และใช้เป็นที่กำบังรังสีในกิจการอื่น ๆ จึงเป็นไปได้ที่บุคคลธรรมดาจะประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ซึ่งหากไม่กำหนดให้บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตครอบครองยูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าว จะทำให้บุคคลธรรมดาไม่สามารถใช้ประโยชน์จากวัสดุนิวเคลียร์ได้ ดังนั้น อว. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. ?. เพื่อกำหนดให้บุคคลธรรมดาสามารถขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งยูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าวได้
3. ในคราวประชุมคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
4. อว. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกระทรวงในเรื่องนี้ผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 22 กันยายน 2566 และได้ส่งแบบรับฟังความคิดเห็นให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอาจได้รับผลกระทบโดยตรงจำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) รวมทั้งจัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายด้วยแล้ว
5. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องออกกฎซึ่งอยู่ในบังคับของมาตรา 22 วรรคสอง ประกอบมาตรา 39 (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
1 พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559
มาตรา 8 (7) บัญญัติให้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโดยคำแนะนำของคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี หรือวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ตามมาตรา 28 หรือมาตรา 40
มาตรา 40 บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 36 ต้องเป็นนิติบุคคล เว้นแต่วัสดุนิวเคลียร์บางประเภทที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจะเป็นบุคคลธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตา 36 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ใดจะดำเนินการดังต่อไปนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
(1)           มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์
(2)           นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุนิวเคลียร์
2 หากเป็นกรณียูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าวที่มีปริมาณไม่เกิน 20 ตัน การดำเนินการจะเป็นไปตามร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ?. โดยขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว (เรื่องเสร็จที่ 266/2567) ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ผู้ที่จะดำเนินการเกี่ยวกับยูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าวที่มีปริมาณไม่เกิน 20 ตัน ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตแต่ต้องแจ้งปริมาณที่ครอบครองต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเป็นการล่วงหน้า และให้ดำเนินการต่อไปได้
                      ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     มท. เสนอว่า
                      1. สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มีนาคม 2563 วันที่ 9 มิถุนายน 2563 และวันที่                 5 กรกฎาคม 2565 มท. ได้มีมาตรการในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โดยออกเป็นกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ดังนี้
                                1.1 กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2563          เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และ
                               1.2 กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2565             เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567
ทั้งนี้ ปกติผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมต้องชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม ปีละ 40 บาทต่อห้องพัก ซึ่งมาตรการในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมดังกล่าว สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม ตามกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2563 คิดเป็นเงินจำนวน 47,354,200 บาท และตามกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2565 คิดเป็นเงินจำนวน 49,786,160 บาท
                      2. แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)              มีแนวโน้มจะคลี่คลายแต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งเป็นกิจการที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยวยังคงได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และยังคงส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดน้อยลง โดยเฉพาะโรงแรมขนาดเล็กบางรายที่ได้รับผลกระทบยังไม่อาจฟื้นตัวจนกลับมาดำเนินกิจการเป็นปกติได้ทั้งหมด และโดยที่กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2565 จะสิ้นผลใช้บังคับในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ดังนั้น เพื่อให้มาตรการในการเยียวยาช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มท. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... ขึ้น โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม ปีละ 40 บาทต่อห้องพัก ตามข้อ 1 (7) แห่งกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ และวิธีการชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ และวิธีการชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม                 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 เพื่อขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม ปีละ 40 บาทต่อห้องพัก ออกไปอีก 2 ปี ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมได้ประมาณ 54,199,440 บาท (ปีละ 27,099,720 บาท)
                      3. มท. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้วรายงานว่า มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 27,099,720 บาทต่อปี โดยพิจารณาจากจำนวนห้องพักของโรงแรมประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 677,493 ห้อง ค่าธรรมเนียมห้องละ 40 บาท แต่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาฯ
                    กค. เสนอว่า
                    1. เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่              28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2567 คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ได้มอบหมายให้กรมธนารักษ์ กค. จัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติ (เหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ) เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลนี้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร ทำด้วยเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยน้ำพระราชหฤทัยอันเต็มเปี่ยมที่มีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า          ทรงแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรให้มีความร่มเย็นเป็นสุข เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรและความอุดมสมบูรณ์แก่แผ่นดิน และเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศทั่วโลก
                    2. กรมธนารักษ์ กค. เห็นสมควรจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสดังกล่าว โดยในคราวประชุมคณะกรรมการเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึกครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 ได้มีมติเห็นชอบการมีเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กค. จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯ มาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดของลักษณะเหรียญ บุคคลผู้มีสิทธิประดับเหรียญ วิธีการประดับเหรียญ การสร้างเหรียญ และกิจการอื่นที่จำเป็นของเหรียญ ดังนี้
                              2.1 รายละเอียดของลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง                 32 มิลลิเมตร ทำด้วยเงิน ด้านหน้ากลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหา          วชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า ?พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว? ด้านหลังกลางเหรียญมีรูปตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ด้านหน้าขอบนอกเหรียญเบื้องบนมีเลข 10 ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเบื้องหลังประดิษฐานพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เบื้องล่างด้านขวามีเลข ?7? ด้านซ้ายมีเลข ?2? หมายถึง พระชนมพรรษา 72 พรรษา ด้านหลังขอบนอกเหรียญมีห่วงสำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบ กว้าง 32 มิลลิเมตร พื้นของแพรแถบเป็นสีขาวนวล หมายถึง น้ำพระราชหฤทัยอันบริสุทธิ์ผุดผ่องประกอบไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาที่เปี่ยมล้นที่พระองค์มอบสู่ประชาชนของพระองค์ ทั้งสองข้างมีริ้วสีเหลืองข้างละ 2 ริ้ว สีเหลือง เป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพ และเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ และมีริ้วสีม่วงข้างละ 1 ริ้ว สีม่วง เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ที่ทรงเคียงคู่บุญบารมีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ
                              2.2 บุคคลมีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้
                              2.3 วิธีการประดับเหรียญ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะประดับโดยใช้ห้อยคอหรือโดยใช้เป็นเข็มกลัดเสื้อโดยไม่มีแพรแถบก็ได้
                              2.4 การสร้างเหรียญและกิจการอื่นที่จำเป็น กรมธนารักษ์ กค. มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างและการจำหน่ายเหรียญ
                    3. ทั้งนี้ กค. ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติ (เหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ) ตามแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ
                    กค. เสนอว่า                                                                                                                         1. เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่                    28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2567 และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยน้ำพระราชหฤทัยอันเต็มเปี่ยมที่มีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ทรงแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรให้มีความร่มเย็นเป็นสุข เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรและความอุดมสมบูรณ์แก่แผ่นดินและเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศทั่วโลก
                    2. กรมธนารักษ์ กค. จึงเห็นสมควรจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลดังกล่าว และได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ มาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 รวม 5 ชนิด ดังนี้  (1) เหรียญกษาปณ์ทองคำ ชนิดราคาสองหมื่นบาท (ราคาจำหน่ายเหรียญละ ห้าหมื่นบาท) (2) เหรียญกษาปณ์เงิน ชนิดราคาหนึ่งพันบาท (ราคาจำหน่ายเหรียญละ สามพันบาท) (3) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคาห้าสิบบาท (ราคาจำหน่ายเหรียญละ ห้าสิบบาท)  (4) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท ประเภทขัดเงา (ราคาจำหน่ายเหรียญละ สองร้อยบาท) (5) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท ประเภทธรรมดา (ราคาจำหน่ายเหรียญละ ยี่สิบบาท)
                    3. ทั้งนี้ กค. ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

เศรษฐกิจ-สังคม
10. เรื่อง การต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ของสำนักงานธนานุเคราะห์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท ออกไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่                30 กันยายน 2569 เพื่อเป็นเงินทุนสำรองสำหรับหมุนเวียนรับจำนำและสำหรับใช้จ่ายในการบริหารเงินให้เกิดสภาพคล่องในกิจการของสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.)1 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 อนุมัติให้ พม. ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท ออกไปอีก 2 ปี โดยสัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2567 อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก สธค. ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีเงินทุนสำรองหมุนเวียนรับจำนำและอื่น ๆ เพื่อให้มีสภาพคล่องในกิจการ ประจำปีงบประมาณ 2568-2569 โดยการกู้เงินประเภทเบิกเกินบัญชี หาก สธค. ไม่ได้เบิกเงินมาใช้จะไม่เสียดอกเบี้ยจ่าย2 ซึ่ง สธค. มีความสามารถชำระหนี้เงินกู้ได้อย่างต่อเนื่องและสามารถนำส่งรายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนด จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารทางการเงินการคลังของรัฐในภาพรวม ทั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ในการประชุม ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีมติเห็นชอบการต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ออกไปอีกเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่                 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2569 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เห็นชอบการต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวของ สธค. แล้ว รวมทั้งวงเงินดังกล่าวได้รับการบรรจุไว้ในการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1 ด้วยแล้ว
                    2. พม. แจ้งว่า กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินงานที่ผ่านมา สธค. จะมีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำนวน 500 ล้านบาท เพื่อรองรับการดำเนินงานและลดความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น        ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน ประกอบกับ สธค. ยังคงมีผลประกอบการและมีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในเกณฑ์ดี ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงให้ความเห็นชอบให้ พม. ต่ออายุสัญญาเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าว โดย กค. ไม่ค้ำประกัน ตามนัยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ             พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ การกู้เงินดังกล่าวต้องกระทำด้วยความรอบคอบและคำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงการกระจายภาระการชำระหนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 รวมทั้งดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ             และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1 สำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) หรือโรงรับจำนำของรัฐ เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พม. มีนโยบายในการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ประสบปัญหาทางการเงินที่ต้องการนำเงินไปแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือเป็นทุนในการประกอบอาชีพ โดยการนำทรัพย์สินมาจำนำและเสียดอกเบี้ยในอัตราต่ำ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนอันจะนำมาสู่การสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิต และเป็นกลไกของรัฐในการตรึงระดับอัตราดอกเบี้ยรับจำนำไม่ให้โรงรับจำนำทั่วไปเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
2 ดอกเบี้ยจ่าย/ต้นทุนทางการเงิน เป็นค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการก่อหนี้สินของกิจการ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งนี้ จากการประสาน สธค. แจ้งว่า หากมีการเบิกเงินมาใช้จะเสียดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยประเภทเงินฝากประจำ 12 เดือน ในอัตราสูงสุด สำหรับผู้ฝากบัญชีทั่วไปของธนาคารออมสิน ร้อยละ 1.70 บวกร้อยละ 1.25

11. เรื่อง รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กองทุนยุติธรรม
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กองทุนยุติธรรม ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ยธ. รายงานว่า คณะกรรมการกองทุนยุติธรรมในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีมติเห็นชอบร่างรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กองทุนยุติธรรม โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. ความสำเร็จของการดำเนินงานตามมาตรฐานระยะเวลางานบริการของกองทุนยุติธรรม         มีประชาชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้ามาขอรับความช่วยเหลือจำนวนทั้งสิ้น 5,233 ราย (ส่วนกลาง จำนวน          866 ราย ส่วนภูมิภาค จำนวน 4,367 ราย) สามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้ทั้งสิ้น 4,921 ราย ได้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในมาตรฐานระยะเวลางานบริการ จำนวน 4,806 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.66
                    2. ความสำเร็จในการช่วยเหลือประชาชน กองทุนยุติธรรมได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งสิ้น 5,233 ราย เป็นเงินจำนวน 325.67 ล้านบาท1 โดยค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือประชาชนตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี 2566 จำนวน 183.95 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
ภารกิจ          เงินที่ได้รับจัดสรร
(ล้านบาท)          จำนวนเงินที่อนุมัติ
(ล้านบาท)          ร้อยละของวงเงินที่อนุมัติ
(1) การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี          40.75          46.16          113.28
(2) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย          124.08          119.04          95.94
(3) การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน          2.00          0.34          16.78
(4) การสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน          20.00          18.41          92.04
รวม          186.83          183.95          98.46
          ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566
                    3. ผลการดำเนินงานที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                              3.1 การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี เช่น
                                        (1) ให้ความช่วยเหลือโดยให้ทนายความกองทุนยุติธรรมยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านรายหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีกรณีเป็นผู้ค้ำประกันรถแทรกเตอร์ให้กับเพื่อนบ้าน แต่เพื่อนบ้านไม่สามารถชำระค่างวดให้แก่บริษัทไฟแนนซ์ จนเป็นเหตุทำให้บริษัทไฟแนนซ์ฟ้องร้อง และศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์ (ที่ดิน)
                                        (2) การให้ความช่วยเหลือโดยให้ทนายความดำเนินการฟ้องร้องเรียกให้ตัวแทนชำระหนี้เงินที่ยักยอกไปจากชาวบ้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน
                              3.2 การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น
                                        (1) การอนุมัติเงินกองทุนยุติธรรมใช้เป็นหลักประกันการปล่อยชั่วคราวให้แก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือ เพื่อออกมาหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทำของตัวเองหรือเพื่อหักล้างว่าตนเองไม่ได้มีส่วนในการกระทำความผิดและไม่ได้มีเจตนาในการกระทำความผิด กรณีเพื่อนที่นั่งซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ได้ลั่นไกปืนใส่ผู้อื่น
                                        (2) การให้ความช่วยเหลือในการปล่อยตัวชั่วคราว ค่าทนายความค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือได้มีเสรีภาพในการต่อสู้คดีเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตน
                              3.3 การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น
                                        (1) อนุมัติค่าขาดประโยชน์ทำมาหากินได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติให้แก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือ กรณีถูกคุมขังตามคำพิพากษาเกินกำหนด
                                        (2) การอนุมัติการช่วยเหลือค่าขาดประโยชน์ทำมาหากินได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ค่าทดแทนการถูกคุมขังให้แก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือ กรณีได้ถูกคุมขังระหว่างสอบสวนต้องหาว่าได้กระทำผิดฐานความผิดต่อชีวิตเนื่องจากใช้อาวุธปืนยิงบุคคลอื่นที่เข้ามาก่อเหตุในบ้าน โดยเป็นกรณีป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและศาลพิพากษายกฟ้อง
                              3.4 การสนับสนุนการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ดังนี้
                                        (1) โครงการอบรมความรู้กฎหมาย แก่ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                                        (2) โครงการอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายและการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการอำนวยความยุติธรรมของศูนย์ยุติธรรมชุมชน จังหวัดนครปฐม
                                        (3) โครงการให้ความรู้ทางกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมทางเลือกภายใต้หลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562
                    4. สำนักงานกองทุนยุติธรรมได้มีการพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ (1) การยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยด้วยหนังสือรับรองแทนการชำระเงินกองทุนยุติธรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานด้านกองทุนยุติธรรมผ่านระบบ LMS2 และ (3) การเชื่อมบริการกองทุนยุติธรรมกับแอปพลิเคชันทางรัฐ
                    5. การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน
หัวข้อ          น้ำหนัก
(ร้อยละ)          ผลการดำเนินงาน
การเงิน          20          ระดับค่าคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 5 โดยกองทุนยุติธรรมมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ รวม 53.49 ล้านบาท และจำนวนเงินที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับอนุมัติ 325.67 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการต่อวงเงินช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับอนุมัติเท่ากับร้อยละ 16.43 และมียอดหนี้ที่ต้องได้รับการชำระคืนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 396 คำขอเป็นเงินจำนวน 94.24 ล้านบาท โดยสามารถติดตามเงินคืนได้จำนวน 86.49 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.78
การสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย          15          ระดับค่าคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 5 เมื่อเทียบกับปีบัญชี 2565 มีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.67 คะแนน โดยระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการประเมินผลลัพธ์อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนและมีผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการส่วนกลางอยู่ที่ร้อยละ 96.64 และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการส่วนภูมิภาคอยู่ที่ร้อยละ 98.79
การปฏิบัติการ          30          ระดับค่าคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 4.96 เมื่อเทียบกับปีบัญชี 2565 มีคะแนนเพิ่มขึ้น 0.01 คะแนน โดยในปีบัญชี 2566 กองทุนยุติธรรมมีการดำเนินงานตามมาตรฐานระยะเวลางานบริการของกองทุนยุติธรรมได้แล้วเสร็จภายใน 21 วัน ส่วนกลางอยู่ที่ร้อยละ 98.73 และส่วนภูมิภาคอยู่ที่ร้อยละ 97.48 และมีการประชาสัมพันธ์ภารกิจของกองทุนยุติธรรมได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
การบริหารจัดการทุนหมุนเวียน           15          ระดับค่าคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 5 เมื่อเทียบกับปีบัญชี 2565 มีค่าคะแนนเท่าเดิม โดยในปีบัญชี 2566 กองทุนยุติธรรมสามารถดำเนินการการตรวจสอบภายในและการบริหารจัดการสารสนเทศและดิจิทัลได้ตามเป้าหมาย
การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ผู้บริหารทุนหมุนเวียน พนักงาน และลูกจ้าง          10          ระดับค่าคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 5 ซึ่งคะแนนด้านนี้ แปรผันตามความสามารถในการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานกองทุนยุติธรรม ทั้งนี้ ตัวชี้วัดย่อยด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลมีผลการประเมินดีขึ้นเนื่องจากกองทุนยุติธรรมสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรได้ตามเป้าหมาย พร้อมมีนวัตกรรมในการดำเนินงานเป็นรูปธรรม
การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล/กระทรวงการคลัง           10          ระดับค่าคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับ 4.88 มีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.09 คะแนน โดยกองทุนยุติธรรมมีการใช้จ่ายงบลงทุนเทียบกับแผนการใช้จ่ายภาพรวม ประจำปี คิดเป็นร้อยละ 100 และการใช้จ่ายภาพรวมเทียบกับแผนการใช้จ่ายภาพรวมประจำปี คิดเป็นร้อยละ 98.58 และสามารถดำเนินการจ่ายเงินและรับเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ครบถ้วนทุกกิจกรรม
                    ทั้งนี้ การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนยุติธรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีคะแนนเฉลี่ยรวม 4.97 คะแนน
                    6. รายงานการเงินของกองทุนยุติธรรม สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งได้ผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีกองทุนยุติธรรมแล้ว
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          ปี 2566          ปี 2565          เพิ่มขึ้น/(ลดลง)
(1) งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566
          รวมสินทรัพย์          794.48          878.11          (83.63)
          รวมหนี้สิน          1.51          1.11          0.4
          รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน          792.97          877.00          (84.03)
          รวมหนี้สินและสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน          794.48          878.11          (83.63)
(2) งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566
          รวมรายได้          21.22          21.20          0.02
          รวมค่าใช้จ่าย          105.25          96.49          8.76
          รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ          (84.03)          (75.29)          (8.74)
1 กองทุนยุติธรรมได้ออกหนังสือรับรองการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้ว จำนวน 141.72 ล้านบาท รวมเป็นยอดการอนุมัติวงเงินช่วยเหลือตามภารกิจทั้งสิ้น 325.67 ล้านบาท
2 LMS (Learning Management System) คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีเครื่องมือที่สำคัญสำหรับผู้สอน ผู้เรียน และผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบจัดการรายวิชา ระบบจัดการข้อมูลบทเรียน ระบบจัดการการสร้างเนื้อหารายวิชา ระบบจัดการเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ ระบบจัดการข้อมูลผู้เรียน ระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ และจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ การสื่อสาร Chat, E-mail, Web ? board รวมไปถึงการเก็บสำรองข้อมูลและการรายงานผล เป็นต้น (ที่มา: https: //lms.kkc.rmuti.ac.th)

12. เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายการสินค้าและบริการ จำนวน 57 รายการ (52 สินค้า 5 บริการ) เป็นสินค้าและบริการควบคุมตามมติคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เพื่อป้องกันการกำหนดราคาซื้อขาย ราคาจำหน่ายหรือการกำหนดเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม กกร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดให้สินค้าหรือบริการใดเป็นสินค้าหรือบริการควบคุมได้ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการกำหนดสินค้าและบริการควบคุมในปี 2566 และ 2567 มาแล้ว 3 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 57 รายการ (สินค้า 52 รายการและบริการ 5 รายการ) ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติ (16 มกราคม 2567) กำหนดให้การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมในคราวต่อไป ให้ กกร. พิจารณารวบรวมรายการสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องควบคุมทั้งหมดให้ครบถ้วน เพื่อให้สามารถพิจารณากำหนดระยะเวลาการควบคุมสินค้าและบริการทั้งหมดให้สิ้นสุดผลบังคับใช้พร้อมกันและให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็วต่อไปก่อนวันสิ้นสุดผลบังคับใช้ที่ได้กำหนดไว้
                    2. ที่ผ่านมา กกร. ได้ออกเป็นประกาศเรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุม รวม 3 ฉบับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ประกาศ          วันที่มีผลบังคับใช้          วันสิ้นสุดผลบังคับใช้
(1) ประกาศ กกร. ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2566 เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุม (จำนวน 51 รายการ)          1 กรกฎาคม 2566          30 มิถุนายน 2567
(2) ประกาศ กกร. ฉบับที่ 67 พ.ศ. 2566 เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม (จำนวน 1 รายการ)          31 ตุลาคม 2566          30 ตุลาคม 2567*
(3) ประกาศ กกร. ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2567 เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม (จำนวน 5 รายการ)          23 มกราคม 2567          30 มิถุนายน 2567
*หมายเหตุ : พณ. แจ้งว่า เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 ในครั้งนี้ประกาศ กกร. เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมได้รวมน้ำตาลทราย ซึ่งตามประกาศ กกร. ฉบับที่ 67 จะสิ้นสุดผลบังคับใช้ภายหลังสินค้าอื่น โดยจะกำหนดวันสิ้นสุดให้เป็นวันเดียวกันกับสินค้าและบริการที่เหลืออีก 56 รายการ ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 24 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่บัญญัติให้ กกร. พิจารณาทบทวนการใช้อำนาจประกาศกำหนดให้สินค้าหรือบริการใดเป็นสินค้าหรือบริการควบคุมได้อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หากเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจหรือข้อเท็จจริงที่อาศัยเป็นหลักในการพิจารณาใช้อำนาจของ กกร. เปลี่ยนแปลงไปหรือสิ้นสุดลงให้ กกร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีประกาศเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการใช้อำนาจนั้นโดยไม่ชักช้า
                    3. เนื่องจากประกาศ กกร. ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2566 และฉบับที่ 1 พ.ศ. 2567 กำลังจะสิ้นสุดผลบังคับใช้วันที่ 30 มิถุนายน 2567 รวมทั้งเพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 กกร. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ) จึงได้มีมติเห็นชอบให้คงรายการสินค้าและบริการควบคุม 57 รายการดังกล่าวต่อไปเพื่อให้ กกร. กำหนดมาตรการกำกับดูแลสินค้าและบริการให้มีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่องและสามารถกำกับดูแลสินค้าและบริการให้มีราคาที่เหมาะสมและมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งเพื่อป้องกันการกำหนดราคาซื้อ ราคาจำหน่ายหรือการกำหนดเงื่อนไขและวิธีการปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม
                    4. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่ พณ. เสนอ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบและปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อไปด้วย
รายการสินค้าและบริการควบคุมตามประกาศ กกร. เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุม จำนวน 3 ฉบับ1 (ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2566, ฉบับที่ 67 พ.ศ. 2566 และฉบับที่ 1 พ.ศ. 2567) จำนวน 57 รายการ
หมวด          รายการ
สินค้า
(1) หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์          (1) กระดาษทำลูกฟูก กระดาษเหนียว
(2) กระดาษพิมพ์และเขียน
(3) เศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก*
(2) หมวดบริภัณฑ์ขนส่ง          (4) ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์ (5) รถจักรยานยนต์ รถยนต์บรรทุก
(3) หมวดปัจจัยทางการเกษตร          (6) กากดีดีจีเอส2 (7) เครื่องสูบน้ำ (8) ปุ๋ย (9) ยาป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือโรคพืช (10) รถเกี่ยวข้าว (11) รถไถนา (12) หัวอาหารสัตว์ อาหารสัตว์
(4) หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม          (13) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (14) น้ำมันเชื้อเพลิง
(5) หมวดยารักษาโรคและเวชภัณฑ์          (15) ยารักษาโรค (16) เวชภัณฑ์ เกี่ยวกับการรักษาโรค
(17) หน้ากากอนามัย* (18) ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ*
(6) หมวดวัสดุก่อสร้าง          (19) ท่อพีวีชี (20) ปูนซีเมนต์ (21) สายไฟฟ้า (22) เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น
(7) หมวดสินค้าเกษตรที่สำคัญ          (23) ข้าวเปลือก ข้าวสาร (24) ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ (25) ข้าวโพด (26) ตันพันธุ์ ท่อนพันธุ์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ (27) ผลปาล์มน้ำมัน (28) มะพร้าวผลแก่ และผลิตภัณฑ์ (29) ยางพารา ได้แก่ น้ำยางสด ยางก้อน เศษยาง น้ำยางข้น ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ
(8) หมวดสินค้าอุปโภคและบริโภค          (30) กระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า (31) แชมพู (32) ผงซักฟอก น้ำยาซักฟอก (33) ผลิตภัณฑ์ล้างจาน (34) ผ้าอนามัย (35) ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเด็กและผู้ใหญ่ (36) สบู่ก้อน สบู่เหลว
(9) หมวดอาหาร          (37) กระเทียม (38) ไข่ไก่ (39) ทุเรียน (40) นมผง ผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว ไม่รวมถึงนมเปรี้ยว (41) น้ำมัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ทั้งที่บริโภคได้หรือไม่ได้ (42) แป้งสาลี (43) มังคุด (44) ลำไย (45) สุกร เนื้อสุกร (46) หอมหัวใหญ่ (47) อาหารกึ่งสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก (48) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (49) ไก่ เนื้อไก่* (50) น้ำตาลทราย**
(10) หมวดอื่น ๆ           (51) เครื่องแบบนักเรียน (52) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย*
บริการ
          (53) การให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า (54) บริการซื้อขายและหรือบริการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์ (55) บริการทางการเกษตร (56) บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาโรค และ (57) บริการรับชำระเงิน ณ จุดบริการ
          หมายเหตุ :           *เพิ่มเติมตามประกาศ กกร. ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2567 จำนวน 5 รายการ
                              ** เพิ่มเติมตามประกาศ กกร. ฉบับที่ 67 พ.ศ. 2566 จำนวน 1 รายการ
1 ประกาศ กกร. เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุม จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
(1) ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2566 จำนวน 51 รายการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566
(2) ฉบับที่ 67 พ.ศ. 2566 จำนวน 1 รายการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566
(3) ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2567 จำนวน 5 รายการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567
2 กากดีดีจีเอส (DDGs : Distillers Dried Grains) คือ ส่วนที่เหลือจากการผลิตเอทานอล โดยการหมักเมล็ดธัญพืช ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวไรย์ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ โดยการกลั่นแยกเอาเอทานอลออกไปแล้วนำกากที่เหลือไปทำให้แห้ง มีโปรตีนสูง ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบอื่น ๆ

13. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และกลไกการบริหารจัดการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ของสำนักงาน ก.พ.ร. โดยจังหวัดเป้าหมายที่สามารถกำหนดให้มีการประเมินตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตามตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประเด็นที่ 5 การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 39 จังหวัด และจังหวัดเป้าหมายที่ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะนำมากำหนดเป็นค่าเป้าหมายเนื่องจากมีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ1 ในระหว่างปี หรือยังไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ซึ่งจะนำมากำหนดให้มีการประเมินตัวชี้วัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน            15 จังหวัด
                    2. เห็นชอบข้อเสนอแนะโดยมอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเพิ่มเติม สำหรับจังหวัดที่ยังไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศให้แล้วเสร็จในปึงบประมาณ                       พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดค่าเป้าหมายสำหรับใช้ประเมินในปีถัดไป
                    และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ก.พ.ร. รายงานว่า สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.พ.ร. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (19 ธันวาคม 2566) ซึ่ง ก.พ.ร. ในการประชุม ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ได้พิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดให้การลดหรือการควบคุมปริมาณการปล่อยมลพิษทางอากาศ (PM2.5) เป็นตัวชี้วัด (KPIs) ที่สำคัญของแต่ละจังหวัด โดยนำมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 ของ ทส. ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ                (19 ธันวาคม 2566) มาเป็นกรอบในการพิจารณา สรุปได้ ดังนี้
                    1. จังหวัดเป้าหมายตามมาตรการฯ ที่สามารถกำหนดให้มีการประเมินตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตาม Joint KPIs ภายใต้ Agenda ประเด็นที่ 5 การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 39 จังหวัด โดยแบ่งเป็น
                              1.1 จังหวัดเป้าหมายที่ดำเนินการกำหนดเป็นตัวชี้วัดอยู่แล้ว2 จำนวน 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม
                              1.2 จังหวัดเป้าหมายที่จะกำหนดให้มีตัวชี้วัดในการประเมินเพิ่มเติม3 จำนวน 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา เลย หนองคาย อุบลราชธานี นครพนม เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ลพบุรี บุรีรัมย์ มุกดาหาร สกลนคร และอุดรธานี
                    2. จังหวัดเป้าหมายที่จะนำมากำหนดให้มีการประเมินตัวชี้วัดดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 15 จังหวัด เนื่องจากมีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในระหว่างปี 2567 ทำให้มีข้อมูลไม่ครบรอบปีที่จะนำมาใช้ในการประเมินตามตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) หรือยังไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ดังนี้
                              2.1 จังหวัดเป้าหมายที่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแล้วแต่ข้อมูลยังไม่เพียงพอ จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ สิงห์บุรี นครนายก บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
                              2.2 จังหวัดเป้าหมายที่ยังไม่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท อ่างทอง เพชรบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และหนองบัวลำภู
                    3. ข้อเสนอแนะให้กรมควบคุมมลพิษติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศสำหรับจังหวัดที่ยังไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดค่าเป้าหมายสำหรับใช้ประเมินในปีถัดไป
                    4. ประโยชน์ของการจัดการเพื่อดูแลปัญหาเรื่องฝุ่นพิษ PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดจะช่วยลดต้นทุนการสร้างความเสียหายต่อคุณภาพดิน น้ำ และการเติบโตของสิ่งมีชีวิตในป่า รวมทั้งความหลากหลายด้านชีวภาพ           ซึ่งสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมาย IGNITE THAILAND4 ของรัฐบาลในวิสัยทัศน์ที่ 3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) ในการยกระดับเกษตรกรรมส่งเสริมเกษตรกรไทยให้มีรายได้มากขึ้น 3-4 เท่า พร้อมที่จะเข้าสู่การเป็นครัวของโลก รวมทั้งจะช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากปัญหาฝุ่น PM2.5 เช่น ค่าเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยวที่เกิดจากการชะลอตัวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทย ค่าเสียโอกาสที่เกิดจากปัญหาสุขภาพจากการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ หรือค่าใช้จ่ายในการป้องกันมลพิษและการสวมใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งอาจสร้างความเสียหายโดยรวมถึง 5,500-10,000 ล้านบาทต่อปี
1 สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ คือ อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพและคุณภาพอากาศที่สามารถตรวจวัดมลพิษที่ปนเปื้อนในอากาศได้ตลอดทุกช่วงเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
2 สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า จังหวัดดังกล่าวได้กำหนดให้ตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นตัวชี้วัดระดับจังหวัดเพื่อใช้ในการประเมินตามกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อยู่แล้ว
3 สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า จังหวัดดังกล่าวมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่แล้วแต่ที่ผ่านมายังไม่ได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับจังหวัดเพื่อใช้ในการประเมินตามกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ เนื่องจากสำนักงาน ก.พ.ร. จะพิจารณากำหนดตัวชี้วัดในจังหวัดที่มีแนวโน้มสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 สูงมาก่อนเป็นลำดับแรก
4 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 นายกรัฐมนตรีประกาศวิสัยทัศน์ ?IGNITE THAILAND: จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง? มุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืนจำนวน               8 วิสัยทัศน์ (1) ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (2) ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (3) ศูนย์กลางอาหาร (4) ศูนย์กลางการบิน                 (5) ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค (6) ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (7) ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลและ (8) ศูนย์กลางทางการเงิน

14. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2566 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอและให้ กนง. รับความเห็นเพิ่มเติมของ กค. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    โดย กค. มีความเห็นเพิ่มเติมว่า เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ยังต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชนที่สูงขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 จากร้อยละ 0.50 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.50          ในปัจจุบัน1 รวมถึงความเปราะบางที่เกิดจากภาระหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) นอกจากนี้             เมื่อพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศพบว่า หลายประเทศมีทิศทางที่จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น โดยมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจควบคู่กับนโยบายการคลัง ดังนั้น กนง. ควรคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวในการพิจารณาดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้ทิศทางการส่งผ่านนโยบายการเงินสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและผลักดันให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เสนอรายงานผลการดำเนินงานของ กนง. ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2566 ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                    1. เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 ธันวาคม 2565) อนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลาง          ตามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กนง. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป้าหมายในช่วงดังกล่าวมีความเหมาะสมภายใต้บริบทที่อัตราเงินเฟ้อมีความไม่แน่นอนสูง และมีความยึดหยุ่นเพียงพอสำหรับรองรับความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในระยะปานกลางและเอื้อให้ดำเนินนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    2. ภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงินในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566
                              2.1 ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม : เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงโดยมีแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวโดยเฉพาะการใช้จ่ายในหมวดบริการ สำหรับภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยว แต่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อคนปรับลดลงจากจำนวนวันพักที่ลดลงและสัดส่วนนักท่องเที่ยวระยะสั้นที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคการส่งออกสินค้ายังคงฟื้นตัวช้าตามทิศทางการค้าโลกและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลก (ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งทำให้ภาคการผลิตขยายตัวต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ดี กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 และ 2568 มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นจากปี 2566 โดยมีแรงส่งสำคัญจากภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับแรงสนับสนุนจากการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้น ประกอบกับภาคการส่งออกสินค้าและภาคการผลิตที่จะกลับมาขยายตัวตามอุปสงค์ต่างประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวตามเศรษฐกิจโลกและการกลับมาของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลก
                              2.2 ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้ม : อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (อัตราเงินเฟ้อที่ครอบคลุมทุกหมวดสินค้าและบริการที่ใช้บริโภคทั่วไป) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.01 ซึ่งปรับลดลงจากช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.5 จากราคาอาหารสดที่ลดลง ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ อาทิ มาตรการลดค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันดีเซล ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (อัตราเงินเฟ้อที่หักราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก) เฉลี่ยครึ่งหลังของปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงจากช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.9 สำหรับในระยะต่อไป กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน และคาดว่าจะเริ่มกลับมาเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเป้าหมายในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 จากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทรงตัวตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ
                              2.3 เสถียรภาพระบบการเงินและภาวะการเงิน : ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพแต่ต้องติดตามพัฒนาการของคุณภาพสินเชื่อที่อาจได้รับแรงกดดันจากความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงของผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนบางส่วนที่ยังเปราะบางจากภาระหนี้ที่สูงขึ้นและรายได้ที่ฟื้นตัวช้า รวมถึงติดตามความสามารถในการระดมทุนของภาคธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง แต่ระบบธนาคารพาณิชย์และตลาดการเงินยังสามารถทำหน้าที่ตัวกลางจัดสรรสภาพคล่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ สำหรับภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นเล็กน้อย โดยต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนมีแนวโน้มสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ดี ในระยะต่อไป กนง. ประเมินว่าสินเชื่อภาคเอกชนจะฟื้นตัวสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
                    3. การดำเนินนโยบายการเงิน
                              3.1 การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย : กนง. มีมติ (2 สิงหาคม 2566 และ 27 กันยายน 2566) ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.5 และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาจนถึงสิ้นปี 2566 โดยอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มทยอยปรับขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 ช่วยป้องกันไม่ให้อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันและปัจจัยด้านอุปทานส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาสินค้าและบริการในวงกว้าง รวมถึงช่วยป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน และช่วยให้นโยบายการเงินมีขีดความสามารถเพียงพอในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า
                              3.2 การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน : ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 โดยส่วนหนึ่งมาจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเข้มงวดยาวนานขึ้น ส่วนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นหลังธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาสิ้นสุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ กนง. เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการในตลาดการเงินและความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ธปท. ได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและลดภาระด้านเอกสารหลักฐานให้ผู้ประกอบการต่างประเทศที่มีการค้าการลงทุนกับประเทศไทย
                              3.3 การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน : กนง. ได้สนับสนุนมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะมาตรการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมที่สนับสนุนให้ผู้ให้บริการทางการเงินต้องให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ตลอดวงจรหนี้ รวมถึงการดูแลหนี้เรื้อรัง นอกจากนี้ ยังสนับสนุนแนวทางการดูแลหนี้ครัวเรือนเพิ่มเติมที่จะดำเนินการควบคู่ไปด้วยในอนาคต ทั้งนี้ กนง. ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงินเพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) และดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินของไทย
1 ในคราวประชุม กนง. เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี

15. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน           ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน 7,606.4972 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 จำนวน 2,668 รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ โดยรายละเอียดของแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    1. ในคราวการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธานการประชุม ได้มีมติเห็นชอบมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2567 จำนวน 10 มาตรการ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 และมอบอำนาจให้ประธาน กนช. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดแผนงานภายใต้โครงการฯ เพื่อให้การเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์เป็นไปอย่างทันท่วงที โดยที่มาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2567 ประกอบด้วย 1) คาดการณ์ชี้เป้าและแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วง 2) ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำอย่างบูรณาการในระบบลุ่มน้ำและกลุ่มลุ่มน้ำ 3) เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ โทรมาตร บุคลากรประจำพื้นที่เสี่ยง และศูนย์อพยพให้สามารถรองรับสถานการณ์ในช่วงน้ำหลากและฝนทิ้งช่วง 4) ตรวจสอบและติดตามความมั่นคงปลอดภัย คันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำ 5) เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำอย่างเป็นระบบ 6) ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย และฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ 7) เร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทในช่วงฤดูฝน 8) สร้างความเข้มแข็ง เครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์ 9) สร้างการรับรู้ ศูนย์บริการข้อมูลสถานการณ์น้ำ และประชาสัมพันธ์ และ 10) ติดตามประเมินผล      ปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการและโครงการดังกล่าวข้างต้นแล้ว เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567
                    2. สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2567 จำนวน 10 มาตรการ ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 โดยได้แจ้งให้หน่วยงานเสนอแผนงานโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนสอดคล้องกับโครงการเพิ่มประสิทธิภาพฯ ซึ่งแผนงานโครงการข้างต้นได้ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมจากคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด และคณะกรรมการลุ่มน้ำตลอดจนจัดลำดับความสำคัญของแผนงานโครงการแล้วตามลำดับ ทั้งนี้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้พิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว ต่อมา สทนช. ได้ดำเนินการรวบรวม ตรวจสอบ และกลั่นกรองแผนงานโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด พบว่ามีแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถบรรเทาและป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้ง จำนวน 14,671 รายการ ในกรอบวงเงินงบประมาณ 36,681.7028 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุม กนช. โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นประธาน ได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่          7 มิถุนายน 2567
                    3. นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการให้หน่วยงานรับงบประมาณ ดำเนินการตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 จำนวน 4 กระทรวง 9 หน่วยงาน จำนวน 2,668 รายการ ภายในวงเงินงบประมาณ 7,606.4972 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สามารถจำแนกตามกระทรวงและหน่วยงาน ได้ดังนี้
ลำดับ          กระทรวง/หน่วยงาน          จำนวน
(โครงการ)          วงเงิน
(ล้านบาท)
          รวมทั้งสิ้น          2,668          7,606.4972
1          กระทรวงมหาดไทย          2,035          2,341.6364
1.1             กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น          963          1,514.7309
                    องค์การบริหารส่วนตำบล          839          1,303.9304
                    เทศกาลตำบล          124          210.8005
1.2             องค์การบริหารส่วนจังหวัด          1,034          766.8959
1.3             เทศบาลตำบล          3          35.0500
1.4             จังหวัด          35          24.9596
2          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์          399          2,276.0510
2.1             กรมชลประทาน          399          2,276.0510
3          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          233          2,987.2831
3.1             กรมทรัพยากรน้ำ          115          2,492.1763
3.2             กรมทรัพยากรน้ำบาดาล          118          495.1068
4          กระทรวงคมนาคม           1          1.5267
4.1             กรมเจ้าท่า           1          1.5267
                    4. สทนช. ได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาด้วยแล้ว ภายใต้กรอบวงเงินที่นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบไว้แล้วและจะแจ้งให้หน่วยรับงบประมาณเร่งรัดดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือเวียน มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญต่อไป
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จจะมีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 125,113 ไร่ มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 114.56 ล้านลูกบาศก์เมตร ประชาชนได้รับประโยชน์ประมาณ 67,470 ครัวเรือน และสามารถกำจัดผักตบชวา/วัชพืชน้ำได้ประมาณ 0.1463 ล้านตัน รวมถึงสามารถซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ให้สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ จำนวน 444 แห่ง
                    ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา
                    งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น         เพื่อดำเนินการตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน         ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 จำนวน 4 กระทรวง 9 หน่วยงาน จำนวน 2,668 รายการ ภายในกรอบงบประมาณ 7,606.4972 ล้านบาท

16. เรื่อง โครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเกษตรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 (โครงการฯ) วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 29,980.17 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ โดยในส่วนของแหล่งเงิน/งบประมาณ                 ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่           13 มิถุนายน 2567 มีมติเห็นชอบโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 (โครงการฯ) และมอบหมายให้ กษ. โดยกรมการข้าว จัดทำข้อมูลเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการฯ และงบประมาณต่อไป ซึ่งโครงการดังกล่าวช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามความต้องการของเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม โดยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสมทบค่าปุ๋ยและชีวภัณฑ์ในลักษณะ ?ปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง? เพื่อพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้เข้มแข็งและเกิดความยั่งยืนและลดภาระการเงินการคลังของประเทศ โดยมีรายละเอียดการดำเนินโครงการฯ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          (1) เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิตในการลดต้นทุนการผลิตข้าวแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68
(2) เพิ่มผลผลิตข้าวด้วยการใช้ปุ๋ยและสารชีวภัณฑ์ในนาข้าวในสูตรและอัตราที่เหมาะสมตามนิเวศน์และสภาพพื้นที่ สร้างเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้ปัจจัยการผลิตข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป็น 3 เท่าในระยะเวลา 4 ปี
กลุ่มเป้าหมาย           เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน (เกษตรกรที่ปลูกข้าวทั่วไปประมาณ         4.48 ล้านครัวเรือน พื้นที่ 54 ล้านไร่ และเกษตรกรที่ปลูกข้าวอินทรีย์ประมาณ 2 แสนครัวเรือน พื้นที่ 1.20 ล้านไร่) ทั้งนี้ ลูกค้า ธ.ก.ส. ที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้สามารถเข้าร่วมโครงการได้
ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ           ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ? 31 พฤษภาคม 2568
วิธีการดำเนินการและเงื่อนไขโครงการฯ           (1) สนับสนุนปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และชีวภัณฑ์ในราคาครึ่งหนึ่ง (เกษตรกรชำระเงินค่าปุ๋ยและชีวภัณฑ์ครึ่งหนึ่ง และรัฐบาลสมทบค่าปุ๋ยและชีวภัณฑ์อีกครึ่งหนึ่ง) ไม่เกินครัวเรือนละ 500 บาทต่อไร่ ไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 10,000 บาท ตามราคาปุ๋ยที่จ่ายจริง รวมมูลค่าปุ๋ยไม่เกิน 20,000 บาท ทั้งนี้ ปุ๋ยที่เข้าร่วมโครงการต้องเป็นปุ๋ยที่ได้รับการขึ้นทะเบียน หรือหนังสือสำคัญรับแจ้งถูกต้องตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และชีวภัณฑ์ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(2) เกษตรกร 1 ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกหลายพื้นที่ ใช้สิทธิ์รวมได้ ไม่เกิน 20 ไร่ และไม่ซ้ำซ้อน ตามที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 กับกรมส่งเสริมการเกษตร
(3) เกษตรกรต้องนำไปใช้จริง ห้ามนำไปจำหน่าย แจกจ่ายให้บุคคลอื่น
(4) สหกรณ์การเกษตรต้องส่งมอบปุ๋ยและชีวภัณฑ์ให้เกษตรกรให้แล้วเสร็จภายใน             30 วัน โดยหากเกษตรกรยังไม่ได้รับปุ๋ยและชีวภัณฑ์ ธ.ก.ส. จะคืนเงินที่เกษตรกรชำระทั้งหมดให้เกษตรกร
ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการฯ           (1) กรมส่งเสริมการเกษตรขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68
(2) กรมการข้าวประกาศรับสมัครคัดเลือกผู้ประกอบกิจการปุ๋ยและชีวภัณฑ์ในประเทศ ทำข้อตกลงกับผู้ประกอบกิจการปุ๋ยและชีวภัณฑ์จำหน่ายแต่ละสูตรปุ๋ย ราคาเดียวกัน ไม่เกินราคาควบคุม ราคาจำหน่ายชีวภัณฑ์ตามราคาควบคุมและกรมการข้าว โดยคณะทำงานกำหนดราคาควบคุมปุ๋ยและชีวภัณฑ์ของโครงการฯ เป็นผู้พิจารณาราคาปุ๋ย โดยอ้างอิงจากราคาท้องตลาดราคาหน้าโรงงาน และราคาขายปลีก
(3) กรมส่งเสริมสหกรณ์รับสมัครคัดเลือกสหกรณ์การเกษตรเข้าร่วมโครงการฯ
(4) สหกรณ์การเกษตรเลือกผู้ประกอบกิจการปุ๋ยและชีวภัณฑ์ที่กรมการข้าวคัดเลือกไว้ให้เป็นผู้จัดหาปุ๋ยและชีวภัณฑ์
(5) ธ.ก.ส. กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว พัฒนาระบบข้อมูลโครงการ Application
(6) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวขอใช้สิทธิตามระบบข้อมูลโครงการฯ ผ่าน Application ของ ธ.ก.ส.
(7) เกษตรกรชำระเงินสมทบค่าปุ๋ยและวภัณฑ์ตามที่แจ้งความประสงค์
(8) สหกรณ์การเกษตรตรวจสอบการใช้สิทธิผ่าน Application เพื่อดูข้อมูลความต้องการปุ๋ยและชีวภัณฑ์ ปริมาณ สูตร และวัน เวลาการรับปุ๋ยและชีวภัณฑ์และแจ้งผู้ประกอบกิจการปุ๋ยและชีวภัณฑ์
(9) ผู้ประกอบกิจการปุ๋ยและชีวภัณฑ์ส่งปุ๋ยและชีวภัณฑ์ให้สหกรณ์การเกษตรเพื่อให้สหกรณ์การเกษตรส่งต่อปุ๋ยและชีวภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ณ สถานที่ และเวลาตามแผนการส่งมอบปุ๋ยและชีวภัณฑ์
(10) กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบคุณภาพปุ๋ยและชีวภัณฑ์ตามโครงการของแต่ละผู้ประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการ
(11) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวรับปุ๋ยและชีวภัณฑ์ ณ จุดส่งมอบ ภายในระยะเวลาตามแผนส่งมอบปุ๋ยและชีวภัณฑ์
(12) สหกรณ์การเกษตรสรุปข้อมูลการกระจายปุ๋ยและชีวภัณฑ์ของเกษตรกรผ่านระบบ และตรวจสอบวงเงินค่าปุ๋ยและชีวภัณฑ์แจ้ง ธ.ก.ส.
(13) ธ.ก.ส. จ่ายเงินให้สหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์การเกษตรจ่ายเงินให้ผู้ประกอบกิจการปุ๋ยและชีวภัณฑ์
ปุ๋ยที่ขึ้นทะเบียนสำหรับนาข้าวภายใต้โครงการฯ           เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เลือกรับการสนับสนุนปุ๋ยที่ขึ้นทะเบียนสำหรับนาข้าวจำนวน 16 รายการ ดังนี้
(1) ปุ๋ยสูตร 25-7-14          (2) ปุ๋ยสูตร 20-8-20          (3) ปุ๋ยสูตร 20-10-12
(4) ปุ๋ยสูตร 30-3-3          (5) ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0          (6) ปุ๋ยสูตร 18-12-6
(7) ปุ๋ยสูตร 16-8-8          (8) ปุ๋ยสูตร 16-12-8          (9) ปุ๋ยสูตร 16-16-8
(10) ปุ๋ยสูตร 16-20-0          (11) ปุ๋ยสูตร 20-20-0          (12) ปุ๋ยสูตร 15-15-15
(13) ปุ๋ยสูตร 16-16-16 (14) ปุ๋ยสูตร 13-13-24
(15) ปุ๋ยอินทรีย์ที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรม หรือ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์
(16) ชีวภัณฑ์ที่ได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
กรอบวงเงินงบประมาณ          รวมทั้งสิ้น 29,980.17 ล้านบาท แบ่งเป็น
แหล่งเงิน          วงเงิน (ล้านบาท)
(1) เงินทุน ธ.ก.ส.2 สำรองจ่ายการดำเนินงานตามความต้องการโครงการฯ ในส่วนของ 500 บาทต่อไร่ ที่รัฐบาลสมทบ โดยจัดสรรงบประมาณชดเชยด้วยอัตราต้นทุนทางการเงินถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้า บวกค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ณ สิ้นไตรมาส (ปัจจุบันอัตราร้อยละ 3.62) และบวกต้นทุนเงินตามระยะเวลา
          (1.1) วงเงินจ่ายสมทบค่าปุ๋ยและชีวภัณฑ์ให้เกษตรกร
          (1.2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
                    (1.2.1) ค่าชดเชยต้นทุนเงิน
                    (1.2.2) ค่าบริหารโครงการ ร้อยละ 2 เป็นเวลา 3 เดือน
(2) งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2567 เป็นค่าดำเนินการของ กษ. ในการจัดหาปุ๋ยและชีวภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว และส่งมอบให้เกษตรกร เช่น ค่าบริหารจัดการปุ๋ยและชีวภัณฑ์ให้เกษตรกร ค่าใช้จ่ายสุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพปุ๋ยและชีวภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ กษ. จะดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อ สงป. ตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบกำหนดต่อไป           29,518.02






28,350.00

1,168.02
1,026.27
141.75

462.15
รวมทั้งสิ้น          29,980.17

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ          (1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน สามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวได้ร้อยละ 10 ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และมีอำนาจในการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเกษตรกรและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
(2) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน สามารถเข้าถึงปุ๋ยคุณภาพในราคาถูก สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว และยกระดับคุณภาพข้าว เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
(3) การใช้จ่ายในการซื้อปัจจัยการผลิต ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดการหมุนเวียน และสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว (โครงการไร่ละ 1,000 บาท) ได้ถึงปีละ 24,320 ล้านบาท (เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้งบประมาณช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีละ 54,300 ล้านบาท ? 29,980 ล้านบาท)
                    ทั้งนี้ สำนักงบประมาณมีความเห็นว่า สำหรับแหล่งเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 29,518.0200 ล้านบาท ซึ่งเป็นกรอบวงเงินที่รัฐต้องชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐ ตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เห็นสมควรให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยคำนึงถึงขอบเขตที่รัฐสามารถรับภาระได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะต้องไม่เกินสัดส่วนตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ตามนัยมาตรา 28          โดยมีข้อสังเกตว่าค่าบริหารโครงการ ร้อยละ 2 เป็นเวลา 3 เดือน ที่ผ่านมาไม่มีการชดเชยค่าบริหารโครงการในลักษณะดังกล่าว สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้นให้ ธ.ก.ส. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริง ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป อย่างไรก็ดีการชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ในอัตราชดเชยต้นทุนเงินถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้าบวกค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้านั้น ในการดำเนินโครงการตามมาตรการที่ผ่านมา รัฐบาลจะรับภาระชดเชยอัตราต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ในอัตราต้นทุนทางการเงินของ ธ.ก.ส. ประจำไตรมาส บวก 1 โดยให้มีการปรับเปลี่ยนอัตราต้นทุนทางการเงินตามอัตราที่แท้จริงทุกไตรมาส ซึ่งยังคงอยู่ในสัดส่วนที่รัฐบาลสามารถรับภาระได้ รวมถึงมีการใช้อัตราต้นทุนทางการเงินดังกล่าวกับมาตรการ/โครงการที่มีลักษณะการดำเนินการรูปแบบเดียวกัน จึงเห็นสมควรให้คงหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการชดเชยอัตราต้นทุนทางการเงินที่ต้องขอรับชดเชยจากภาครัฐเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
                    สำหรับแหล่งเงินในส่วนที่เหลือของโครงการ จำนวน 462.1495 ล้านบาท เป็นค่าดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการจัดหาปุ๋ยและชีวภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวและส่งมอบให้เกษตรกรที่จะเสนอขอใช้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เนื่องจากมีกิจกรรมที่เป็นภารกิจปกติของแต่ละหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562                      มาดำเนินการเป็นลำดับแรก ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้วยังคงมีความจำเป็นต้องขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ขอให้แต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการฯ จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ตามชั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
1 กษ. แจ้งว่า จะดำเนินโครงการฯ โดยใช้ Application ?BAAC? ของ ธ.ก.ส.
2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 คืน ธ.ก.ส. กรณีชำระเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ให้ใช้ต้นทุนถัวเฉลี่ยบวกค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน บวกต้นทุนตามระยะเวลา ซึ่งคำนวณจากต้นทุนเงินส่วนเพิ่มการออกพันธบัตรที่ กค. ไม่ค้ำประกันในแต่ละช่วงอายุ ตามที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการ และให้นำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจและแยกบัญชีการดำเนินงานตามโครงการนี้ออกจากการดำเนินงานปกติภายใต้ระบบบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA)

17. เรื่อง รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ  (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้
1.          รับทราบรายงานผลการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    2. เห็นชอบข้อเสนอแนะระดับนโยบายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาขับเคลื่อนและยกระดับการประเมิน ITA ในปีต่อไป รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    3. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงาน ก.พ.ร. ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และได้ประกาศผลการประเมินฯ ให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมินฯ และสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการประเมินเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 31/2567 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 แล้วมีมติเห็นชอบให้เสนอรายงานผลการประเมิน ITA ต่อคณะรัฐมนตรี สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. การประเมิน ITA เป็นเครื่องมือหนึ่งของการยกระดับและพัฒนาหน่วยงานภาครัฐตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2566 ? 2580)  (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยในปี 2566-2570 ได้กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมินจะต้องมีค่าคะแนน ITA 89 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และในส่วนแผนย่อยของแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่ เข้าร่วมการประเมินจะต้องมีค่าคะแนน ITA 85 คะแนนขึ้นไป เป็นจำนวนร้อยละ 1001 ของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ซึ่งการประเมินฯ ถือเป็นมาตรการด้านการป้องกันการทุจริตที่จะส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐได้มีการปรับปรุง พัฒนา แก้ไขและต่อยอดให้หน่วยงานมีความโปร่งใสและมีการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนได้ร่วมสะท้อนความคิดเห็นไปยังหน่วยงานรัฐ ซึ่งจะนำไปสู่การให้บริการที่โปร่งใสเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลต่อไปในอนาคต
                    2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีหน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมิน ITA จำนวน 8,323 หน่วยงานทั่วประเทศ ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการประเมิน ITA (Integrity and Transparency Assessment System: ITAS) (ระบบ ITAS) ที่เว็บไซต์ https://itas.nacc.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566-31 กรกฎาคม 2566 และได้ประกาศผลการประเมินเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 โดยครอบคลุมทุกประเภทของหน่วยงานภาครัฐทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ องค์กรอิสระ และ อปท. มีประชาชนที่เคยติดต่อรับบริการจากหน่วยภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน ITA จำนวน 1,006,246 คน ทั้งนี้ มีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ITA ตัวชี้วัด และระดับผลการประเมิน ITA ดังนี้
                              2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน (3 เครื่องมือ) และตัวชี้วัด (10 ตัวชี้วัด) สรุปได้ ดังนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน           ตัวชี้วัด
(1) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ) (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT)          ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ เป็นการประเมินการปฏิบัติงานโดยยึดหลักตามมาตรฐาน มีความโปร่งใส เป็นไปตามขั้นตอนและระยะเวลา ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ เป็นการประเมินการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานอย่างคุ้มค่า ตามวัตถุประสงค์
ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ เป็นการประเมินการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาที่เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ เป็นการประเมินพฤติกรรมของบุคลากรในการใช้ทรัพย์สินของราชการซึ่งหน่วยงานจะต้องมีการกำหนดแนวทางกำกับดูแล/ตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันมิให้มีการนำทรัพย์สินของราชการไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต เป็นการประเมินเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของผู้บริหารสูงสุดในการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจังและมีการนำผลการประเมิน ITA ไปปรับปรุงการทำงาน ส่งเสริมการให้ข้อมูล เบาะแส หรือร้องเรียนการทุจริต รวมทั้งตรวจสอบและลงโทษอย่างจริงจังกับการกระทำความผิด
(2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐ) (External Integrity and Transparency Assessment: EIT)          ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน เป็นการประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เป็นไปตามมาตรฐาน ขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นหลัก  ไม่มีการเลือกปฏิบัติ
ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร เป็นการประเมินเกี่ยวกับ              การเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานในเรื่องต่าง ๆ ต่อสาธารณชนผ่านช่องทางที่หลากหลาย และเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งจัดให้มีช่องทางรับความคิดเห็นของผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน เป็นการประเมินเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานของหน่วยงานให้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้เข้าไปมีส่วนร่วม ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น
(3) การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน (ตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ) (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT)          ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล เป็นการประเมินการเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงาน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน การบริหารงาน การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการส่งเสริมความโปร่งใส  ในหน่วยงานบนเว็บไซต์ของหน่วยงานเพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบ
ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต เป็นการประเมินการเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานบนเว็บไซต์ของหน่วยงานให้สาธารณชนได้รับทราบเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตและมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
                              2.2 ระดับผลการประมิน ITA (Rating Score) ดังนี้
 คะแนน          เงื่อนไข          ระดับ
95.00-100          เครื่องมือการประเมิน คือ IIT, EIT ส่วนที่ 1,
EIT ส่วนที่ 2, OIT จะต้องมีผลคะแนนทุกเครื่องมือ
95 คะแนนขึ้นไป          ผ่านดีเยี่ยม
85.00 ขึ้นไป          เครื่องมือการประเมิน คือ IIT, EIT ส่วนที่ 1,
EIT ส่วนที่ 2, OIT จะต้องมีผลคะแนนทุกเครื่องมือ
85 คะแนนขึ้นไป          ผ่านดี
85.00 ขึ้นไป          เครื่องมือการประเมิน คือ IIT, EIT ส่วนที่ 1,
EIT ส่วนที่ 2, OIT เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่ง
มีผลคะแนนน้อยกว่า 85 คะแนน          ผ่าน
70.00-84.99            ไม่มีเงื่อนไข          ต้องปรับปรุง
0-69.99          ไม่มีเงื่อนไข          ต้องปรับปรุงโดยด่วน
                    3. สรุปการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                              3.1 ผลการประเมิน ITA ในภาพรวมระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 90.19 คะแนน สูงกว่าปีที่ผ่านมา 2.62 คะแนน มีจำนวนหน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมิน ITA ผ่านค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ จำนวน 6,737 หน่วยงาน หรือคิดเป็นร้อยละ 80.94 (จาก 8,323 หน่วยงาน) (สูงกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 10.42) แต่ยังไม่สามารถบรรลุค่าเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้ (ร้อยละ 100) โดยมีผลการจัดระดับผลการประเมิน ดังนี้
ระดับ          จำนวน (หน่วยงาน)          ร้อยละ
ผ่านดีเยี่ยม          674          8.10
ผ่านดี          2,550          30.64
ผ่าน          3,513          42.21
ต้องปรับปรุง          1,389          16.69
ต้องปรับปรุงโดยด่วน          197          2.37
รวม          8,323          100.00
ทั้งนี้ มีหน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมิน ITA ไม่ผ่านค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ซึ่งมีผลการประเมิน ITA อยู่ที่ระดับต้องปรับปรุงและต้องปรับปรุงโดยด่วนจำนวน 1,586 หน่วยงาน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.06 โดยหน่วยงานดังกล่าวส่วนใหญ่มีผลคะแนนของตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย2
                              3.2 ผลการประเมิน ITA ตามตัวชี้วัด พบว่า ทั้ง 10 ตัวชี้วัด มีค่าคะแนนผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยตัวชี้วัดที่มีค่าคะแนนมากที่สุด คือ ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ มีคะแนน ITA อยู่ที่ 96.42 คะแนน และตัวชี้วัดที่มีค่าคะแนนน้อยที่สุด คือ ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน มีคะแนน ITA อยู่ที่ 87.17 คะแนน
                              3.3 ผลการประเมิน ITA ตามประเภทหน่วยงาน แบ่งออกเป็น 17 ประเภท โดยมีหน่วยงานภาครัฐ 6 ประเภท ที่มีหน่วยงานภายในทั้งหมดที่มีค่าคะแนน ITA ผ่านตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติฯ ได้แก่ หน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาล หน่วยงานของอัยการ หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ จังหวัด และ อปท. รูปแบบพิเศษ ทั้งนี้ แม้ว่าจะยังมีหน่วยงานในแต่ละประเภทไม่ผ่านค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ แต่ในภาพรวมพบว่าหน่วยงานส่วนใหญ่มีพัฒนาการสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สรุปได้ ดังนี้
ประเภทหน่วยงาน          จำนวนหน่วยงาน          คะแนนเฉลี่ย ปีงบประมาณ พ.ศ.          พัฒนาการ          ร้อยละที่ผ่าน
                    2566          2565
(1) หน่วยงานของรัฐสภา          3          94.49          95.55          -1.06          100.00
(2) หน่วยงานของศาล          3          95.77          90.06          +5.71          100.00
(3) หน่วยงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ          5          88.89          86.81          +2.08          80.00
(4) หน่วยงานของอัยการ          1          94.42          92.40          +2.02          100.00
(5) ส่วนราชการระดับกรม          159          89.90          90.51          -0.61          86.79
(6) องค์การมหาชน          59          87.01          91.90          -4.89          76.27
(7) รัฐวิสาหกิจ          51          93.22          92.85          +0.37          92.16
(8) หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ          17          92.67          91.31          +1.36          100.00
(9) กองทุน          12          86.76          89.54          -2.78          83.33
(10) สถาบันอุดมศึกษา          87          86.95          87.99          -1.04          68.97
(11) จังหวัด           76          93.72          93.01          +0.71          100.00
(12) องค์การบริหารส่วนจังหวัด          76          94.63          93.29          +1.34          97.37
(13) เทศบาลนคร          30          92.09          88.69          +3.40          93.33
(14) เทศบาลเมือง          195          91.23          89.30          +1.93          82.05
(15) เทศบาลตำบล          2,247          90.16          87.80          +2.36          81.13
(16) องค์การบริหารส่วนตำบล          5,300          90.11          87.04          +3.07          80.11
(17) อปท. รูปแบบพิเศษ           2          93.96          83.13          +10.83          100.00

หมายเหตุ : * แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ฯ กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 (ทุกหน่วยงาน) ต้องมีค่าคะแนน 85 คะแนนขึ้นไป
                    ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่มีผลการประเมินสูงสุดในประเภทต่าง ๆ เช่น (1) ประเภทหน่วยงานของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 97.43 คะแนน (2) ประเภทหน่วยงานของศาล สำนักงานศาลปกครองมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 97.74 คะแนน (3) ประเภทจังหวัด จังหวัดแพร่ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 99.72 คะแนน
                    4. การอภิปรายผลการประเมิน ITA เช่น (1) การประเมิน ITA เป็นเพียงการประเมินมาตรฐานการดำเนินงานในขั้นต่ำ เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในแง่ขอบเขตการศึกษาและข้อจำกัดในแง่กระบวนการศึกษาเชิงลึก (เช่น ไม่ครอบคลุมผู้บริหารในระดับรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการบริหารในฐานะผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน แต่ประเมินหน่วยงานระดับปฏิบัติหรือหน่วยงานธุรการที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลเท่านั้น มีข้อจำกัดด้านการตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น) (2) รูปแบบของปัญหาการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (แบบวัด OIT) ยังคงเดิม กล่าวคือหน่วยงานที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จึงส่งผลให้หน่วยงานไม่ได้คะแนนในแต่ละข้อคำถาม
                    5. ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ประกอบการขับเคลื่อนและยกระดับการประเมิน ITA  ในปีต่อไป ดังนี้
ประเด็นข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช.           หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1) ควรสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและมาตรฐานการประเมินที่กำหนดโดยควรให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ อปท. เป็นพิเศษ โดยเน้นไปที่หน่วยงานที่มีผลการประเมินในระดับต้องปรับปรุงเป็นหลัก (มีหน่วยงานที่ต้องปรับปรุง 1,389 แห่ง และหน่วยงานที่ต้องปรับปรุงโดยด่วน 197 แห่ง)          ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บริหาร อปท.
(2) ควรกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนนการประเมิน ITA และกำกับติดตามกระบวนการประเมิน ITA ภายในจังหวัดอย่างเป็นระบบ รวมถึงกำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ทั้งในระดับจังหวัดและรายหน่วยงาน โดยครอบคลุมประเด็น ดังนี้
(2.1) การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับระยะเวลาและขั้นตอนการประเมิน
(2.2) การกำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการ วิธีการกำกับติดตามภายในจังหวัด/หน่วยงาน
(2.3) การกำกับติดตามการนำเข้าข้อมูลในระบบ ITAS การตอบแบบวัด IIT EIT และ OIT ให้ครบถ้วนตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด
(2.4) การตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแต่ละขั้นตอน                    การประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ
(2.5)  การกำกับติดตามปัญหาอุปสรรคตลอดระยะเวลาการประเมิน          คณะกรรมการการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบจังหวัด
(3) ควรมีบทบาทในการกำกับติดตามการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ITA ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาและรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีไปยังปลัดกระทรวงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบถึงสถานะความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกำหนดแนวทางการสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานตามประเด็นที่ควรมุ่งเน้นต่อไป          ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตกระทรวงหรือเทียบเท่า
(4) ควรมีการกำหนดในการประเมิน ITA เป็นตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการของผู้บริหารที่ได้รับมอบหมายและผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากปัญหาการประเมิน ITA ของหน่วยงานส่วนใหญ่เป็นปัญหาเชิงระบบภายในหน่วยงาน เช่น กระบวนการที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การประเมิน การมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบการประเมินเป็นผู้ดำเนินการเพียงคนเดียว เมื่อเกิดการโยกย้ายบุคลากรส่งผลให้ทั้งฐานข้อมูลและการบริหารจัดการต้องนับหนึ่งไปทุกปี ทั้งนี้ การกำหนดตัวชี้วัดที่มีความครอบคลุมชัดเจนทุกระดับจะช่วยให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ อีกทั้งเป็นการผลักดันและสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาการดำเนินงานและการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐให้มีความโปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และเป็นการผลักดันให้        ทุกหน่วยงานดำเนินงานให้บรรลุตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ          ผู้บริหารสูงสุดของทุกหน่วยงาน

1คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (17 มกราคม 2566) เห็นชอบแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ 2566 -2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับแก้เป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบให้มีความท้าทายยิ่งขึ้น ซึ่งเดิมกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมินฯ ในปี 2566 จะต้องมีคะแนนการประเมินผ่านเกณฑ์ 85 คะแนน ?จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 84? เป็น ?จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 100? ในปี 2566 -2570
2 ข้อมูลจากการประสานสำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567

18. เรื่อง การปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเพื่อใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (นักเรียนทุน จ.ภ.) ระยะที่ 2 โดยผู้รับทุนจะเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานชดใช้ทุน หรือหน่วยงานของรัฐที่ผู้ให้ทุนกำหนด และรับเดือนตามที่หน่วยงานนั้น ๆ กำหนด เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนตามสัญญา โดย ?หน่วยงานชดใช้ทุน? ให้หมายความรวมรวมถึงภาคอุตสาหกรรม สถาบันไทยโคเซ็น และหน่วยงานของรัฐ ?ภาคอุตสาหกรรม? ให้หมายความถึง ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพและกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคตในประเทศไทย1 โดยไม่จำกัดภูมิภาคในประเทศไทยและไม่จำกัดสัญชาติของบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและ ?หน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร?2 ให้หมายความถึง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ กองทุนที่เป็นนิติบุคคล หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และหน่วยงานที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ
                    2. เห็นชอบให้ปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเพื่อใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุน จ.ภ. ระยะที่ 1 โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขการปฏิบัติงานเพื่อใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุน จ.ภ. ระยะที่ 2 ตามข้อ 1. เนื่องจากเป็นการให้ทุนการศึกษาในลักษณะเดียวกันกับการดำเนินงานโครงการทุนการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนทุน จ.ภ. ไปศึกษาต่อ ณ National Institute of Technology (KOSEN) ของประเทศญี่ปุ่น (สถาบันโคเซ็น)
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงศึกษาธิการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเพื่อใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (นักเรียนทุน จ.ภ.) ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ซึ่งผู้รับทุนจะเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานชดใช้ทุนหรือหน่วยงานของรัฐที่ผู้ให้ทุนกำหนดและรับเงินเดือนตามที่หน่วยงานนั้น ๆ กำหนด เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนตามสัญญา โดย ?หน่วยงานชดใช้ทุน? ให้หมายความรวมถึงภาคอุตสาหกรรม สถาบันไทยโคเซ็น และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้เพื่อให้เงื่อนไขการชดใช้ทุนของนักเรียนทุน จ.ภ. ทั้ง 2 ระยะ ซึ่งเป็นทุนประเภทเดียวกันมีแนวทางเหมือนกันและเป็นการขยายสถานที่การปฏิบัติงานเพื่อรองรับนักเรียนทุน จ.ภ. ที่สำเร็จการศึกษาให้สามารถเข้าปฏิบัติงานได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพื่อให้การจัดสรรทุนดังกล่าวเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการกำลังคนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษโดยมีรายละเอียด สรุปได้ ดังนี้
มติคณะรัฐมนตรี          เงื่อนไขการชดใช้ทุน (เดิม)          เงื่อนไขการชดใช้ทุน (เสนอในครั้งนี้)
          รายละเอียด          จำนวนปี          รายละเอียด          จำนวนปี
3 มกราคม 2561
(ระยะที่ 1)           ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงานราชการหรือปฏิบัติงานของราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานรัฐบาล          ไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของระยะเวลาที่ได้รับทุนการศึกษา          ผู้รับทุนปฏิบัติงานในหน่วยงานชดใช้ทุนหรือหน่วยงานของรัฐที่ผู้ให้ทุนกำหนด โดย ?หน่วยงานชดใช้ทุน? หมายถึง ภาคอุตสาหกรรมสถาบันไทยโคเซ็นและหน่วยงานของรัฐ           ไม่น้อยกว่า 1 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนตามสัญญา
4 ธันวาคม 2561
(ระยะที่ 2)           ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงานเป็นครูหรือบุคลากรทางการศึกษาในตำแหน่งวิศวกรปฏิบัติการในสถาบันไทยโคเซ็นหรือรับราชการในหน่วยงานของรัฐ           ไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของระยะเวลาที่ได้รับทุนการศึกษา
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอโดยมีความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมบางประการ เช่น ควรมีการกำหนดสัดส่วนของนักเรียนทุน จ.ภ. ที่จะชดใช้ทุนในสถานที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ                       ควรพิจารณาให้ตามความต้องการบุคลากรของหน่วยงานของรัฐให้กำกับของฝ่ายบริหารเป็นลำดับแรกก่อน
1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (17 พฤศจิกายน 2558) เห็นชอบในหลักการข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) จำนวน 5 อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ส่วนอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) จำนวน 5 อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมดิจิทัล
2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 ศธ. แจ้งยืนยันจะใช้คำว่า หน่วยงานของรัฐ แทนคำว่า หน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ซึ่งครอบคลุมหน่วยงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552

ต่างประเทศ
19. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อให้ความช่วยเหลือ
และอพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล (เพิ่มติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 291,953,797 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือและอพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล (เพิ่มเติม) แก่กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. สถานการณ์ความไม่สงบจากภาวะสงครามในรัฐอิสราเอลได้ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของคนไทยที่พำนักอยู่ในรัฐอิสราเอล จำนวนกว่า 30,000 คน ซึ่งจากจำนวนดังกล่าวมีคนไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณฉนวนกาซาอันเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงประมาณ 5,000 คน กต. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือและอพยพคนไทยออกจากรัฐอิสราเอลในระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2566 แล้ว จำนวน 7,470 คน โดยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานกับคนไทยในพื้นที่เพื่อดำเนินภารกิจดังกล่าว
                     2. กต. ได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินภารกิจการให้ความช่วยเหลือและอพยพคนไทยออกจากรัฐอิสราเอลตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 โดยที่ผ่านมา กต. ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นแล้ว รวม 3 รายการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 515,362,829.80 บาท ดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือและอพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล ครั้งที่ 1 วงเงิน 97,000,000 บาท (2) ค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือและอพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล ครั้งที่ 2 วงเงิน 319,043,700 บาท (3) เงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทยเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล ระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน 2566 แก่ผู้ที่ทดลองจ่ายค่าใช้จ่ายไปก่อน วงเงิน 99,319,129.80 บาท และในครั้งนี้ (ครั้งที่ 3) กต. ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (เพิ่มเติม) จำนวน 291,953,797 บาท สำหรับ กต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) และกระทรวงแรงงาน (รง.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือและอพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบด้วยแล้วตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) รวมทั้ง กห. ยธ. รง. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย

20. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงคมนาคมและการเคลื่อนย้ายอย่างยั่งยืนแห่งราชอาณาจักรสเปนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง คค. แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงคมนาคมและการเคลื่อนย้ายอย่างยั่งยืนแห่งราชอาณาจักรสเปน ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลยพินิจของ คค. โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. คค. แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและการเคลื่อนย้ายอย่างยั่งยืนแห่งราชอาณาจักรสเปน มีจุดมุ่งหมายที่จะกำหนดกรอบความร่วมมือในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม ขนส่ง        จึงได้มีการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อกำหนดขอบเขตและกระชับความร่วมมือในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่งของทั้งสองประเทศ
                    2. เรื่องนี้ คค. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง คค. แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงคมนาคมและการเคลื่อนย้ายอย่างยั่งยืนแห่งราชอาณาจักรสเปน ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ซึ่งร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่งในมิติต่าง ๆ ได้แก่ (1) ระบบราง (2) ถนน และการขนส่งทางบก (3) ท่าเรือ และการขนส่งทางน้ำ และ (4) การบินผ่าน การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ และการพัฒนาโครงการนำร่อง การให้คำปรึกษา คำแนะนำทางเทคนิคและความช่วยเหลือในการจัดทำและดำเนินโครงการ การวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดประชุม สัมมนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการฝึกอบรมและโครงการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศ โดย คค. แจ้งว่า การลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ และการดำเนินกิจกรรมภายใต้ขอบเขตความร่วมมือต่าง ๆ จะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ เช่น (1) ได้รับการแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ด้านระบบราง อาทิ การวางแผนและออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะทำให้บุคลากรของไทยมีความรู้ ความสามารถในการพัฒนามาตรฐานระบบรางของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน                           (2) ได้รับการสร้างความตระหนักรู้และความรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนนที่เป็นมาตรฐานระดับโลก ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีแนวทางในการลดอัตราผู้เสียชีวิตและอุบัติเหตุบนท้องถนน (3) เสริมสร้างการยกระดับความร่วมมือด้านท่าเรือ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานของท่าเรือและระบบโลจิสติกส์ทั้งในประเทศและภูมิภาค และ (4) การบินของไทยมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านการบิน (Aviation Hub) ของภูมิภาค
                    3. กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มิได้มีการใช้ถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และวรรค 8 ของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระบุว่าร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมาย และไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ส่วนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบตามที่ คค. เสนอ

21. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic Ministers Retreat) ครั้งที่ 30 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic Ministers Retreat: AEM Retreat) ครั้งที่ 30 และการประชุมที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. การประชุม AEM Retreat ครั้งที่ 30 และการประชุมที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567           ณ แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการประชุมเพื่อรายงานให้ทราบถึงภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนและประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจในปี 2567 รายงานความคืบหน้าการเจรจาต่าง ๆ เช่น ความคืบหน้าการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ความคืบหน้าการเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน รวมทั้งมีการรับรองกรอบการอำนวยความสะดวกด้านบริการของอาเซียน การหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนและการหารือทวิภาคีของไทยอย่างไม่เป็นทางการ โดยในส่วนของประเทศไทยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทร ศรีสรรพางค์) เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
(1) การประชุม AEM Retreat ครั้งที่ 30
          (1.1) บทบาทอาเซียนในเวทีโลกท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ : ที่ประชุมฯ ให้ความเห็นชอบแนวทางการดำเนินการ ดังนี้ (1) ปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ของโลก (2) หาตลาดและแหล่งวัตถุดิบใหม่ เช่น เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และละตินอเมริกา (3) ส่งเสริมและพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่องให้รองรับเศรษฐกิจยุคใหม่ และ (4) แสวงหาประโยชน์จากเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รายงานว่า ในปี 2567 เป็นช่วงสำคัญในการเรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา อาเซียนจึงควรรักษาบทบาทความเป็นกลางของอาเซียน ท่ามกลางปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ พัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ตลอดจนร่วมกันแก้ไขปัญหาโลกร้อนและมลภาวะ
          (1.2) ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ ปี 2567 : ที่ประชุมฯ เห็นชอบประเด็นภายใต้ AEM จำนวน             8 ประเด็น จากทั้งหมด 14 ประเด็น ซึ่งเน้นการเชื่อมโยงในภูมิภาคและการมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตของโลกตั้งแต่ต้นน้ำ - ปลายน้ำ เช่น การสรุปผลการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน และการมีผลบังคับใช้ของความตกลง FTA อาเซียน - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์
          (1.3) ความคืบหน้าการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน : ที่ประชุมฯ รายงานความคืบหน้าโดยได้สรุปข้อบทเพิ่มเติมภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ทั้งหมด 80 ข้อบท จาก 195 ข้อบท คิดเป็น ร้อยละ 41 และมอบคณะกรรมการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าอาเซียนหาข้อสรุปในประเด็นสำคัญ เช่น การเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติมกลไกทางเลือกในการระงับข้อพิพาทและการเปิดตลาดสินค้าหมุนเวียน             ซึ่งเน้นให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับประโยชน์ระหว่างกันให้มากที่สุด
          (1.4) ความคืบหน้าการเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน : ที่ประชุมฯ รายงานความคืบหน้าการเจรจา โดยมอบคณะกรรมการเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนให้เร่งการเจรจาและให้ประเทศสมาชิกหารือหน่วยงานภายในเพื่อมีท่าทีต่อการเจรจาในข้อบทสำคัญ เช่น การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ การคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ ความร่วมมือด้านความมั่งคงปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผลการเจรจาที่ทำให้กรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนมีคุณภาพสูง มองไปข้างหน้าและรองรับรูปแบบการค้าในอนาคต
          (1.5) ที่ประชุมรับรองกรอบการอำนวยความสะดวกด้านบริการของอาเซียน เพื่อเป็นกลไกในการเสริมสร้างการอำนวยความสะดวกในด้านการค้าบริการและสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจบริการของนักลงทุนอาเซียน (คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกรอบการอำนวยความสะดวกด้านบริการของอาเซียนเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567)
          (1.6) ความคืบหน้าการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน : ที่ประชุมฯ รายงานความคืบหน้าการเจรจาโดยได้ข้อสรุป 2 ข้อบท ได้แก่ (1) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ และ (2) วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprise: MSMEs) ในขณะที่ข้อบทที่มีความคืบหน้าเกินร้อยละ 50 ได้แก่ การแข่งขันและการคุ้มครองผู้บริโภคและมาตรฐานกฎระเบียบทางเทคนิคและกระบวนการตรวจสอบและรับรอง ทั้งนี้ ข้อบทที่ต้องเร่งเจรจา เช่น การค้าสินค้า พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า เศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียว รวมทั้งได้มอบคณะกรรมการร่วมกำกับการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน พิจารณาให้ความยืดหยุ่นระหว่างกันเพื่อให้สามารถหาข้อสรุปร่วมกัน ภายในปี 2567 โดยการเจรจาต้องไม่สร้างผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ หรืออุตสาหกรรมภายในของแต่ละประเทศ
          (1.7) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) : ที่ประชุมฯ รายงานความคืบหน้าการจัดตั้งหน่วยงานสนับสนุนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เพื่อเป็นกลไกในการกำกับดูแลการดำเนินการของประเทศภาคีให้เป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงฯ รวมถึงการจัดทำกระบวนการเปิดรับสมาชิกใหม่ ทั้งนี้ เร่งรัดให้สำนักเลขาธิการอาเซียนดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานสนับสนุนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและหาข้อสรุปกระบวนการเปิดรับสมาชิกใหม่โดยเร็ว
          (1.8) การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2588 และแผนยุทธศาสตร์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ที่ประชุมฯ มอบองค์กรรายสาขาด้านเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ AEM 14 สาขา จัดทำโครงร่างแผนยุทธศาสตร์รอบที่ 1 ให้สะท้อนถึงการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งและมองไปข้างหน้าให้มากยิ่งขึ้นให้สอดคล้องกับบริบทการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปให้แล้วเสร็จในปี 2568
          (1.9) การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับวาระความยั่งยืนของอาเซียน : ที่ประชุมฯ เห็นพ้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญกับการพัฒนาการดำเนินการที่เสริมสร้างความยั่งยืนในภูมิภาค ซึ่งความคืบหน้าการดำเนินการสร้างความยั่งยืนของอาเซียน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ความเป็นกลางทางคาร์บอน กรอบเศรษฐกิจหมุนเวียน และกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจภาคทะเล
(2) การหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน
          ภาครัฐของประเทศสมาชิกอาเซียนพร้อมสนับสนุนและให้ความร่วมมือโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและโครงการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงการค้าดิจิทัลในระดับภูมิภาคที่สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนนำเสนอในที่ประชุมฯ ซึ่งจะช่วยยกระดับการค้าของอาเซียนและมาตรฐานกฎระเบียบให้สอดรับกับรูปแบบการค้าใหม่ โดยไทยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ MSMEs ให้เข้าถึงตลาดเงินทุนและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่การค้าสมัยใหม่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ MSMEs ในอาเซียนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(3) การหารือทวิภาคีของประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ
          (3.1) ประเทศเวียดนาม (การอำนวยความสะดวกตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดนจากไทยไปจีน) : ประเทศไทยได้หารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประเทศเวียดนาม (นายเหวียน ชิง หยิด เติญ) โดยขอความร่วมมือเวียดนามในการอำนวยความสะดวกการตรวจปล่อยสินค้าผลไม้ของไทยไปจีนในช่วงฤดูกาลผลไม้ไทยที่เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป โดยเส้นทางขนส่งหลักจากด่านมุกดาหารและด่านนครพนมผ่านด่านฮูงี้และด่านหมงก๋ายของประเทศเวียดนาม ก่อนเข้าสู่ด่านโหยวอี้กวนและด่านตงชิงของจีนตามลำดับ ทั้งนี้ ประเทศเวียดนามยินดีจะให้ความร่วมมือเรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่
          (3.2) ประเทศเมียนมา (การลดปัญหาฝุ่นควัน PM2.5) : ไทยได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเมียนมา (ดร. คาน ซอว์) เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาโลกร้อนโดยเฉพาะปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 โดยประเทศไทยแจ้งว่า ได้มีการเดินหน้าแก้ไขปัญหาดังกล่าวในทุกภาคส่วนมาโดยตลอด ซึ่งได้ประสบผลสำเร็จในระยะแรก จึงอยากจะส่งต่อความสำเร็จด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีมายังเพื่อนบ้านในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรเช่นเดียวกับประเทศไทย ทั้งนี้ ประเทศเมียนมายินดีขอรับความร่วมมือจากประเทศไทยเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว
                    2. พณ. แจ้งว่า ปัจจุบันอาเซียนให้ความสำคัญที่จะร่วมมือกันในการเพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้กับการเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมเพื่อให้การค้าภายในภูมิภาคขยายตัวสองเท่าในปี 2568 ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการเพิ่มจำนวนชนชั้นกลาง และสร้างความเข้มแข็งให้กับ MSMEs ในภูมิภาคให้มากขึ้นเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก อีกทั้งสนับสนุนการใช้ความตกลงการค้าเสรีช่วยเชื่อมโยงกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาค ผ่านการยกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน และอาเซียนกับคู่เจรจา โดยเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้มากยิ่งขึ้น การยกระดับมาตรฐานอาเซียนให้ทันสมัย และรองรับประเด็นการค้าใหม่ ๆ โดยเฉพาะประเด็นด้านดิจิทัล และสิ่งแวดล้อม ซึ่งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ จะต้องเตรียมพร้อมรองรับและปรับตัวในเชิงรุก ทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบของภาครัฐ การเสริมสร้างทักษะและเปลี่ยนทักษะที่เกี่ยวข้องในภาคเอกชนและ MSMEs เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคต่อไป

22. เรื่อง การปรับแก้ไขตารางข้อผูกพันด้านบริการ ภายใต้องค์การการค้าโลกของไทย ที่ผูกพันวินัยในการใช้กฎระเบียบภายใน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องการปรับแก้ไขตารางข้อผูกพันด้านบริการ ภายใต้องค์การการค้าโลก [World Trade Organization (WTO)] ของไทย ที่ผูกพันวินัยในการใช้กฎระเบียบภายใน (ตารางข้อผูกพันฯ) ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    พณ. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (13 กันยายน 2565) ให้ความเห็นชอบร่างตารางข้อผูกพันด้านบริการภายใต้ WTO ของไทย ที่ผูกพันวินัยในการใช้กฎระเบียบภายใน1 ประเทศไทยได้ยื่นตารางข้อผูกพันดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 25652 ต่อมาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ประเทศอินเดียและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้คัดค้านการปรับปรุงตารางข้อผูกพันฯ ดังนั้น ตารางข้อผูกพันฯ จึงยังไม่ได้รับการรับรองโดยสมาชิก WTO และยังไม่มีผลใช้บังคับ ส่งผลให้ประเทศสมาชิกอื่น ๆ (รวมถึงประเทศไทย) ร่วมกันหารือกับประเทศอินเดียและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เพื่อให้เพิกถอนคำคัดค้านการปรับปรุงตารางข้อผูกพันฯ
                    2. ประเทศสมาชิกมีข้อสรุปร่วมกันในการปรับแก้ไขเอกสารในรูปแบบใบแก้ไขข้อผิดพลาด (Corrigendum) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยืนยันความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างประเทศสมาชิกเกี่ยวกับพันธกรณีใหม่ที่จะผูกพันเพิ่มเติม โดยเป็นการปรับแก้ไขถ้อยคำเชิงเทคนิคในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำของวินัยในตารางข้อผูกพันฯ แต่อย่างใด รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการตามวินัยภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องปรับแก้ไขกฎหมายปัจจุบัน ดังนี้
                              2.1 ประเทศไทยได้ยื่นเอกสารใบแก้ไขผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบภายในประเทศด้านบริการ ซึ่งปรากฏตามเอกสารแนบท้ายร่างตารางของประเทศไทย ได้แก่ วินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศด้านบริการ และวินัยทางเลือกเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศด้านบริการสำหรับบริการด้านการเงิน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำของวินัยตามตารางข้อผูกพันฯ ที่ได้จัดทำไว้แล้ว ดังนี้
สาขาหรือสาขาย่อย          ข้อจำกัด
การเข้าสู่ตลาด          ข้อจำกัดการประติบัติ
เยี่ยงคนชาติ          ข้อผูกพันเพิ่มเติม
ทุกสาขาที่รวมอยู่ในตารางนี้                              ไทยยอมรับ ?วินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศด้านบริการ?ระบุในส่วนที่สองของเอกสาร INF/SDR/23 ที่แนบท้ายให้เป็นข้อผูกพันเพิ่มเติมสำหรับทุกสาขาที่รวมอยู่ในตารางนี้ยกเว้นบริการด้านการเงิน
สอง ข้อผูกพันเฉพาะรายสาขา
เจ็ด บริการด้านการเงิน                              ไทยยอมรับ ?วินัยทางเลือกเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศด้านบริการสำหรับบริการด้านการเงิน? ระบุในส่วนที่สองของเอกสาร INF/SDR/2 ที่แนบท้ายให้เป็นข้อผูกพันเพิ่มเติม สำหรับบริการด้านการเงินที่รวมอยู่ในตารางนี้
                              2.2 ประเทศไทยได้ยืนยันความเข้าใจดังต่อไปนี้
                                        (1) การรับรองในปัจจุบันไม่ถือเป็นบรรทัดฐานสำหรับการผนวกรวมผลลัพธ์ใน WTO
                                        (2) ข้อผูกพันเฉพาะเพิ่มเติมไม่เป็นการลดสิทธิหรือปรับเปลี่ยนพันธกรณีภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการของสมาชิก WTO ซึ่งไม่ยอมรับข้อผูกพันเฉพาะเพิ่มเติม นอกจากนี้ข้อผูกพันเฉพาะเพิ่มเติมยังไม่ลดพันธกรณีใดภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการของสมาชิก WTO ที่ยอมรับข้อผูกพันเฉพาะเพิ่มเติม
                                        (3) ข้อผูกพันเฉพาะเพิ่มเติมไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดทำวินัยที่จำเป็นใดตามวรรคสี่ของข้อหกของความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ
                                        (4) การอ้างถึง ?หลายสมาชิก? หรือ ?สมาชิก? ที่รวมไว้ในวินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศด้านบริการ และวินัยทางเลือกเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศด้านบริการสำหรับบริการด้านการเงิน หมายถึง การอ้างถึงสมาชิก WTO ที่ยอมรับข้อผูกพันเฉพาะเพิ่มเติมเหล่านี้ การอ้างถึง ?หลายสมาชิกอื่น? หมายถึง การอ้างถึง ?สมาชิก WTO อื่น? การอ้างถึง ?องค์กรวิชาชีพของหลายสมาชิก? หมายถึง การอ้างถึง ?องค์กรวิชาชีพของสมาชิก WTO?
                    3. ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้ยื่นเอกสารใบแก้ไขข้อผิดพลาด (Corrigendum) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 จึงเป็นผลให้ประเทศอินเดียและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เพิกถอนคำคัดค้านต่อการปรับปรุงตารางข้อผูกพันฯ และเป็นผลให้ตารางข้อผูกพันฯ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งการปรับแก้ไขและการมีผลบังคับใช้ของเอกสารดังกล่าวจำเป็นต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่             13 กันยายน 2565
1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (13 กันยายน 2565) เห็นชอบร่างตารางข้อผูกพันฯ และมอบหมายให้ พณ. นำร่างตารางข้อผูกพันของประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการภายใต้ WTO เพื่อให้การปรับปรุงร่างตารางข้อผูกพันฯ มีผลผูกพันทางกฎหมาย ตามที่ พณ. เสนอ ทั้งนี้ ในการผูกพันสาขาบริการ ประเทศไทยได้จัดทำตารางข้อผูกพันเฉพาะการเปิดเสรีในสาขาบริการต่าง ๆ 2 ส่วน ได้แก่ การเข้าสู่ตลาด และการประติบัติเยี่ยงคนชาติ โดยจะให้ประเทศสมาชิกระบุข้อผูกพันเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากการเปิดเสรีสองส่วนข้างต้นที่เป็นผลจากการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับประเทศสมาชิกอื่นและแตกต่างกันไปในแต่ละสาขาบริการ เช่น กำหนดว่าผู้ที่จะประกอบธุรกิจบริการในประเทศไทยจะต้องได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ไม่ผูกพันหรือสงวนสิทธิในการเปิดเสรีในบางสาขาบริการ และกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้คนต่างชาติเข้ามาให้บริการในประเทศได้ โดยกำหนดเงื่อนไขว่าต้องดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบที่กรมการจัดหางานกำหนด เป็นต้น
2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 พฤศจิกายน 2564) เห็นชอบข้อเสนอท่าที่ไทยสำหรับการประชุมรัฐมนตรีของ WTO สมัยสามัญครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการประชุมภายใต้กรอบการหารือหลายฝ่ายเพื่อการจัดทำวินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศด้านการค้าบริการ โดยไทยมีท่าทีสนับสนุนการดำเนินการที่สำคัญได้แก่ (1) การประกาศสรุปผลการเจรจาจัดทำร่างวินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศ (2) การยื่นร่างตารางข้อผูกพันเพื่อนำร่างวินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศเข้ามาผูกพันไว้เป็นส่วนหนึ่งของตารางข้อผูกพันภายใต้ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของ WTO และ (3) การดำเนินการภายในเพื่อนำร่างวินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศมาผูกพันทางกฎหมายตามกระบวนการของ WTO ภายใน 12 เดือน
3 การปรับแก้ไขข้อความมีผลทำให้ตารางข้อผูกพันฯ ผูกพันเฉพาะประเทศสมาชิกกลุ่มถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยระเบียบภายในประเทศสำหรับภาคบริการ [Joint Initiative on Service Domestic Regulation (JI DR)] จำนวน 66 ประเทศที่ไทยร่วมเป็นสมาชิก (ไม่รวมถึงประเทศอินเดียและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้) โดยจะไม่ได้ผูกพันกับประเทศ WTO ทั้งหมด 164 ประเทศ (รวมประเทศอินเดียและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้)

23. เรื่อง ร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงยุติธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงยุติธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (Memorandum of Cooperation between the Ministry of Justice of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Justice of the Russian Federation) (บันทึกความร่วมมือฯ)
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความร่วมมือฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ขอให้ ยธ. หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
[จะมีการลงนามบันทึกความร่วมมือฯ ในห้วงการประชุมว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ครั้งที่ 12 (The 12th St. Petersburg International Legal Forum) ระหว่างวันที่ 26 - 28 มิถุนายน 2567 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    เมื่อปี 2551 กระทรวงยุติธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (ยธ. รัสเซีย) ได้เสนอความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง ยธ. กับ ยธ. รัสเซีย (Agreement on Cooperation between the Ministry of Justice of the Russian Federation and the Ministry of Justice of the Kingdom of Thailand) เพื่อให้ฝ่ายไทยพิจารณา       ซึ่งต่อมาทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อเป็นร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงยุติธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (Memorandum of Cooperation between the Ministry of Justice of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Justice of the Russian Federation) โดยร่างบันทึกความร่วมมือดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการยกร่างกฎหมาย นโยบายทางกฎหมาย แนวปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย การแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือทางวิชาการ การให้ความช่วยเหลือและการให้บริการทางกฎหมายระหว่าง ยธ. ของทั้งสองฝ่ายให้เป็นรูปธรรม โดย ร่างบันทึกความร่วมมือฯ ประกอบด้วยความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ  (1) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการยกร่างกฎหมายและนโยบายทางกฎหมายอื่น ๆ         (2) การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการยกร่างกฎหมาย แนวปฏิบัติในการใช้กฎหมายและการแลกเปลี่ยนวรรณกรรมทางกฎหมาย รวมทั้งเอกสารกฎหมายอื่น ๆ ที่เผยแพร่ตีพิมพ์ (3) การแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนของเจ้าหน้าที่ภาครัฐเพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงโครงสร้างองค์กรและภารกิจของคู่ภาคี (4) การแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือทางวิชาการและประสบการณ์การให้ความช่วยเหลือและการให้บริการทางกฎหมายเพื่อรองรับสิทธิและเสรีภาพอันชอบธรรมตามกฎหมายของบุคคลทั่วไปและนิติบุคคล (5) การให้ความช่วยเหลือระหว่างกันแก่สถาบันการศึกษาในด้านการจัดตั้งและพัฒนาโครงการและหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งการจัดเตรียมและดำเนินแผนการศึกษาสำหรับคู่ภาคี
                    ทั้งนี้ ยธ. แจ้งว่าร่างบันทึกความร่วมมือฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่มีการระบุพันธกรณีใดต่อผู้เข้าร่วมภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

24. เรื่อง ร่างโครงการการดำเนินงานของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ปี พ.ศ. 2567 - 2572
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ดังนี้
                      1. เห็นชอบต่อร่างโครงการการดำเนินงานของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ปี พ.ศ. 2567 - 2572 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างโครงการฯ ดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของฝ่ายไทย ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                     2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในโครงการการดำเนินงานของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ปี พ.ศ. 2567 - 2572
*กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคาดว่าจะมีการลงนามร่างโครงการการดำเนินงานฯ ในช่วงการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และภูมิภาคเอเชียใต้ ครั้งที่ 36 (36th CAP-CSA)       ในวันที่ 25 - 28 มิถุนายน 2567 ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
                     สาระสำคัญ
                     ร่างโครงการฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมและพิจารณาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ การแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด การพัฒนาและการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการตลาดร่วมกัน โดยเป็นไปตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2536 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยร่างโครงการฯ ประกอบด้วย 9 ย่อหน้า ดังนี้
                      ย่อหน้าที่ 1 ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดทำร่างโครงการการดำเนินงานฯ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกันในระดับทวิภาคี ได้แก่ การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง การวิจัย และการพัฒนา         การจัดการและการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว
                     ย่อหน้าที่ 2 ระบุขอบเขตความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ
                     ย่อหน้าที่ 3 ระบุแนวทางความร่วมมือด้านการพัฒนาและการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ โดยการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการเชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมบรรยายด้านการท่องเที่ยว
                     ย่อหน้าที่ 4 ระบุแนวทางการแลกเปลี่ยนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด โดยระบุจำนวนเจ้าหน้าที่และค่าใช้จ่ายที่ผู้เข้าร่วมต้องรับผิดชอบ
                     ย่อหน้าที่ 5 ระบุแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการตลาดร่วมกัน ผ่านการพัฒนาโปรแกรมการขายร่วมกัน เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ
                     ย่อหน้าที่ 6 ระบุแนวทางการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อเตรียมการและหารือเกี่ยวกับโปรแกรมกิจกรรมและโครงการเฉพาะด้านการท่องเที่ยวร่วมกัน
                     ย่อหน้าที่ 7 ระบุแนวทางการดำเนินการในกรณีที่มีความแตกต่างในการตีความ ผ่านการปรึกษาหารือระหว่างผู้เข้าร่วมของทั้งสองฝ่าย
                     ย่อหน้าที่ 8 ระบุแนวทางการแก้ไขโครงการ ผ่านการตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร
                       ย่อหน้าที่ 9 ระบุระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของร่างโครงการฯ ดังกล่าว และการแจ้งการต่ออายุของร่างโครงการการดำเนินงานฯ รวมถึงการระงับใช้ผ่านช่องทางทางการทูต ตามระยะเวลาที่ตกลงร่วมกัน

25. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ1 ครั้งที่ 13                    (the Thirteenth Ministerial Conference : MC13) (การประชุม MC13) และการประชุมที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ร่วมกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม MC13 ระหว่างวันที่ 26-29 กุมภาพันธ์ 2567  ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติอาบูดาบี กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีรัฐมนตรีด้านการค้าและผู้แทนระดับสูงของประเทศสมาชิกจำนวน 164 ประเทศ เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกเป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม
                    2. ในภาพรวมการประชุม MC13 มีรูปแบบการประชุมเป็นการหารือรายหัวข้อ (Working Session) ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถแสดงความคิดเห็นหรือกล่าวถ้อยแถลงโดยความสมัครใจในประเด็นต่าง ๆ โดยภายหลังการประชุม MC13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่ประชุมได้บรรลุฉันทามติและให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมซึ่งแตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2567)2 เห็นชอบไว้ โดยเปรียบเทียบได้ ดังนี้
ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม MC13
ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้          ผลลัพธ์การประชุม MC13
1. ร่างกฎเกณฑ์เรื่องการอุดหนุนที่นำไปสู่การทำประมงที่เกินศักยภาพและการทำประมงที่เกินขนาด และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง          ที่ประชุมไม่สามารถสรุปผลการเจรจาได้ เนื่องจากสมาชิกยังมีท่าทีที่แตกต่างกัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น สนับสนุนให้มีการแจ้งรายชื่อเรือประมงและผู้ประกอบการประมงที่ใช้แรงงานบังคับ เนื่องจากเห็นว่าการใช้แรงงานบังคับทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนในการทำประมงที่น้อยลง ส่วนจีน มาเลเซีย และไทยไม่สนับสนุนให้มีการแจ้งรายชื่อฯ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวอยู่นอกเหนือขอบเขตของ WTO ที่ดูเรื่องการค้าเป็นหลัก
2. ร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์3 ครั้งที่ 43 เป็นการประกาศเจตนารมณ์ของสมาชิกที่จะผลักดันการเจรจาปฏิรูปเกษตรให้มีความคืบหน้าและเป็นรูปธรรมรวมทั้งตระหนักถึงสถานการณ์และความขัดแย้งที่อาจกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก การใช้มาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้อจำกัดทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรใน 3 ประเด็นหลักภายใต้ WTO ได้แก่ (1) การเปิดตลาดที่จะมีการลดภาษีระหว่างสมาชิกอย่างค่อยเป็นค่อยไป (2) การลดการอุดหนุนที่บิดเบือนการค้าให้แก่สินค้าเกษตร และ (3) การให้สมาชิกปฏิบัติตามมติที่ให้ยกเลิกการอุดหนุนส่งออก          ที่ประชุมให้การรับรองเป็นเอกสารผลลัพธ์ และได้แสดงความยินดีต่อไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น                 รองประธานกลุ่มเคร์นส์ในวาระ 1 ปี และเป็น              รองประธานกลุ่มเคร์นส์ประเทศแรกที่จะช่วยขับเคลื่อนการเจรจาปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ WTO ได้อย่างเป็นรูปธรรม

3. ร่างรายงานผลดำเนินการตามปฏิญญาว่าด้วยเรื่องสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 13          ที่ประชุมให้การรับรองเป็นเอกสารผลลัพธ์ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น ปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามข้อบทการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างที่มีความแม่นยำมีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริงของความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า
4. ร่างข้อตัดสินใจรัฐมนตรีเรื่องแผนการดำเนินงานสำหรับเศรษฐกิจขนาดเล็ก
5. ร่างข้อตัดสินใจรัฐมนตรีเรื่องการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิก WTO ของสหภาพคอโมโรส
6. ร่างข้อตัดสินใจรัฐมนตรีเรื่องการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิก WTO ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
7. ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีเรื่องความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการลงทุนเพื่อการพัฒนา
8. ร่างคำขอให้มีข้อตัดสินใจระดับรัฐมนตรีเพื่อเพิ่มความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการลงทุนเพื่อการพัฒนาภายใต้ภาคผนวก 4 ของความตกลง WTO          ที่ประชุมให้การรับรองเป็นเอกสารผลลัพธ์

9. ร่างปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านกฎระเบียบเพื่อลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า
10. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรี WTO สมัยสามัญ ครั้งที่ 13 เอกสารดังกล่าวแสดงความมุ่งมั่นของสมาชิก WTO ที่จะผลักดันและเสริมสร้างระบบการค้าพหุภาคีภายใต้ WTO ในการรับมือกับความท้าทายทางการค้าโลกยุคใหม่ เช่น การเน้นย้ำบทบาทสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน การมีส่วนร่วมผู้ประกอบการ MSMEs4 และสตรีในภาคการค้า โดยยืนยันหลักการในการผลักดันและเสริมสร้างระบบการค้าพหุภาคี โดยมี WTO เป็นศูนย์กลาง เพื่อผลักดันให้เกิดการจัดการกับความท้าทายทางการค้าในปัจจุบัน และมุ่งมั่นดำเนินการปฏิรูป WTO เพื่อปรับปรุงการทำงานทั้งหมดของ WTO โดยเฉพาะการปฏิรูปกลไกการระงับข้อพิพาทรวมถึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี          ที่ประชุมให้การรับรองเป็นเอกสารผลลัพธ์ โดยเปลี่ยนชื่อ เป็น ปฏิญญารัฐมนตรีอาบูดาบี (Abu Dhabi Ministerial Declaration)
11. ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีของสมาชิกกำลังพัฒนาเรื่องการมีส่วนร่วมของระบบการค้าพหุภาคีเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม
ที่ประชุมไม่มีการนำเอกสารทั้งสองฉบับมาหารือในที่ประชุม เนื่องจากประเทศสมาชิกยังไม่สามารถหาข้อสรุปในประเด็นดังกล่าวได้
12. ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีเรื่องการหารือเรื่องมลพิษพลาสติกและการค้าพลาสติกอย่างยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

                    นอกจากนี้ ที่ประชุมมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์เพิ่มเติมอีก 4 ฉบับ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการเจรจาและท่าทีไทยซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้แล้ว5 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ดังนี้
กรอบเจรจาและท่าทีไทย          ผลลัพธ์การประชุม
การสนับสนุนสมาชิกที่พ้นสถานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ไทยสนับสนุนการหารือรายละเอียดแนวทางและมาตรการสนับสนุนสมาชิกที่พ้นสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Country :              LDCs) ตามข้อเสนอของกลุ่ม LDCs โดยให้สามารถร่วมฉันทามติในการขยายสิทธิประเด็นที่เกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างรวมถึงความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามความตกลง WTO แก่สมาชิกที่พ้นสถานะ LDCs โดยไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญแก่สมาชิกอื่นและมีกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม          ที่ประชุมให้การรับรอง โดยออกเป็นเอกสารผลลัพธ์ ?ข้อตัดสินใจรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่นขององค์การการค้าโลกสำหรับ
สมาชิกที่พ้นสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด?                       มีสาระสำคัญ เช่น สมาชิกที่พ้นจากสถานะ LDCs จะยังคงได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคและด้านการสร้างขีดความสามารถเฉพาะ มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี
การปฏิรูปกลไกการระงับข้อพิพาทของ WTO ไทยสนับสนุนการหารือแนวทางการปฏิรูปกลไกการระงับข้อพิพาทให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสนับสนุนให้มีกระบวนการหารือที่มีความร่วมมือของทุกสมาชิกอย่างครอบคลุม โปร่งใส

          ที่ประชุมให้การรับรอง โดยออกเป็นเอกสารผลลัพธ์ ?ข้อตัดสินใจรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูปกลไกการระงับข้อพิพาท? โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการหารือเพื่อให้มีกลไกการระงับข้อพิพาทที่ดำเนินการได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ และสมาชิกทุกรายสามารถเข้าถึงได้ภายในปี 2567
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Commerce)                        ไทยสนับสนุนการดำเนินการตามแผนงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการต่ออายุยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรสำหรับการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการชั่วคราว          ที่ประชุมให้การรับรอง โดยออกเป็นเอกสารผลลัพธ์ ?ข้อตัดสินใจรัฐมนตรีว่าด้วยแผนงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์? โดยมีสาระสำคัญ เช่น (1) ให้สมาชิกสานต่อการฟื้นฟูการดำเนินงานภายใต้แผนงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (2) ส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่าง WTO และองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและการฝึกอบรมแก่ประเทศกำลังพัฒนาและ LDCs และ (3) สมาชิกตกลงที่จะคงแนวปฏิบัติปัจจุบันในการยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการชั่วคราวไปจนถึง MC14
การต่ออายุการยกเว้นจากการฟ้องร้องภายใต้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO เป็นการชั่วคราวกรณีได้รับความเสียหายหรือเสียประโยชน์อันพึงได้รับจากพันธกรณีแม้มิได้ละเมิดความตกลง Trade - Related Aspects of Intellectual Property Rights (TRIPS)  ไทยสนับสนุนการต่ออายุการยกเว้นจากการฟ้องร้องภายใต้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO เป็นการชั่วคราว          ที่ประชุมให้การรับรอง โดยออกเป็นเอกสารผลลัพธ์ ?ข้อตัดสินใจรัฐมนตรีว่าด้วยการฟ้องร้องกรณีได้รับความเสียหายหรือเสียประโยชน์อันพึงได้รับจากพันธกรณีแม้มิได้ละเมิดความตกลงทริปส์? โดยที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันว่า สมาชิกจะไม่ดำเนินการฟ้องร้องใด ๆ ภายใต้ความตกลง TRIPS

                    3. การประชุม MC13 ครั้งนี้ถือเป็นการวางรากฐานสำคัญสำหรับอนาคตของ WTO เนื่องจากผลลัพธ์ต่าง ๆ จะถูกนำไปต่อยอดในการดำเนินการ โดยสมาชิก WTO จะต้องร่วมกันทำงานต่อไป เพื่อเสริมสร้างระบบการค้าโลกให้มีความยั่งยืน ครอบคลุมและโปร่งใส ซึ่งรวมถึงการหารือในประเด็นคงค้างต่าง ๆ ที่ยังต้องหาข้อยุติเพื่อเป็นผลลัพธ์ในการประชุมครั้งถัดไป นอกจากนี้ การเข้าร่วมประชุมและรับรองเอกสารผลลัพธ์ต่าง ๆ ยังเป็นการเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก โดยตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ และรักษาบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคและอนุภูมิภาครวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศไทยต่อไป
1การประชุม MC และการประชุมที่เกี่ยวข้องเป็นกลไกการดำเนินงานระดับสูงสุดของ WTO มีกำหนดจัดการประชุมทุก 2 ปี             เพื่อตัดสินใจในเรื่องสำคัญและกำหนดแนวทางความร่วมมือระดับพหุภาคีต่อประเด็นการค้าและที่เกี่ยวข้องการค้า โดยมีรัฐมนตรีด้านการค้าและผู้แทนระดับสูงของประเทศสมาชิก WTO จำนวน 164 ประเทศ เข้าร่วมการประชุม
2คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2567) เห็นชอบข้อเสนอท่าทีไทยและการร่วมรับรองเอกสารที่จะเป็นผลลัพธ์สำหรับการประชุม MC13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ฉบับ ตามที่ พณ. เสนอ
3กลุ่มพันธมิตรของประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การค้าสินค้าเกษตรมีความเสรีและเป็นธรรม ประกอบด้วยสมาชิก 19 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปารากวัย เปรู ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ ไทย อุรุกวัย เวียดนาม และยูเครน
4การประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprise) เป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดย MSMEs ครอบคลุมผู้ประกอบการในทุกกลุ่มธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจผลิตสินค้า ธุรกิจการค้า ธุรกิจบริการ
5คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2567) เห็นชอบข้อเสนอท่าทีไทยและการร่วมรับรองเอกสารที่จะเป็นผลลัพธ์สำหรับการประชุม MC13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ฉบับ

แต่งตั้ง
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายสยาม ศิรินธรปัญญา นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566
                     2. นายนพปฎล จันทร์ผ่องแสง ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านทันตกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2567
                     3. นายอรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ              (ด้านอนามัยผู้สูงอายุ) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2567
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
                       คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง รองนายกรัฐมนตรี               (นายพิชัย ชุณหวชิร) เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

28. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า รวม 7 คน แทนประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
                     1. พันตำรวจเอก อดิศร บุญประทีป            ประธานกรรมการ
                     2. นายฉัตรชัย ศักดิ์ศิลปชัย                      รองประธานกรรมการ
                     3. นายกฤษณ์ กระแสเวส                      กรรมการ
                     4. นายจิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร                     กรรมการ
                     5. นางสาวณัชชารีย์ ทินกร ณ อยุธยา            กรรมการ
                     6. นางปิยะนุช สัมฤทธิ์                                กรรมการ
                     7. นายมณเฑียร อินทร์น้อย                      กรรมการ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้
                     1. แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป
                      2. มอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเป็นผู้ดำเนินการกำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการใช้คลาวด์ การออกประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบบริหารจัดการความต้องการและจัดหาคลาวด์ กำกับดูแลสร้างระบบนิเวศน์และจัดซื้อจัดจ้าง ตามกรอบนโยบายที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งกรอบกฎหมายของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป
                      คณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy)
                      องค์ประกอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นายศุภกร คงสมจิตต์ นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ และนายฉัตริน จันทร์หอม              โดยมี เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ
                     1. ส่งเสริมการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy)
                      2. จัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลาวด์ โครงสร้างการบริหาร แนวทางการบริหารจัดการด้านการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารจัดการข้อมูล กระบวนการในการเลือกใช้คลาวด์ การโอนย้ายระบบงานของภาครัฐ และเสนอต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
                      3. เสนอแนะต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวทางการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) รวมทั้งเสนอมาตรการในการดำเนินการและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติการตามนโยบายดังกล่าว
                     4. กำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลตามหมวด 5 ภายในขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการเฉพาะด้าน แล้วรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
                     5. เชิญหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง ความเห็น หรือคำแนะนำ ตลอดจนส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการดำเนินงานได้
                      6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการเฉพาะด้านมอบหมาย
                     7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมายหรือตามที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการเฉพาะด้าน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ