http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (2 กรกฎาคม 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2567 ณ หอประชุมราชภัฏรังสฤษฏ์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... เศรษฐกิจ-สังคม 2. เรื่อง รายงานการดำเนินการตามผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อ พัฒนากลุ่มจังหวัด 3. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการรายจ่ายลงทุนเพื่อใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม (โครงการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข) 4. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 2 5. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้ พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 6. เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการดำเนินนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และ บริการนวัตกรรมในบัญชีนวัตกรรมไทย 7. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มี ผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ในห้วงวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 30 กันยายน 2566 8. เรื่อง ผลการยื่นประมูลสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัด นครราชสีมา พ.ศ. 2572 และโครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัด นครราชสีมา พ.ศ. 2572 9. เรื่อง แนวทางการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย 10. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 11. เรื่อง ผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เมื่อ วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 และวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567 ต่างประเทศ 12. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น ว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม แต่งตั้ง 13. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ 14. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา 15. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน) 17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร (นักบริหาร ระดับสูง) (สำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี) 18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์) 19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)
กฎหมาย 1. เรื่อง ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้ 1. รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. ?. 2. เห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... เพื่อสำนักงบประมาณจะได้ดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... และเอกสารประกอบงบประมาณ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 และนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป สาระสำคัญ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และมอบให้สำนักงบประมาณไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรคสอง ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ให้ความเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งกำหนดให้คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็น และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 นั้น เพื่อดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักงบประมาณขอเสนอ ดังนี้ 1. การรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. ?. สำนักงบประมาณได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... ตามมาตรา 77 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยการรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์สำนักงบประมาณ ระหว่างวันที่ 19 มิถุนายน - 25 มิถุนายน 2567 ทั้งนี้ ได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบและการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... และได้จัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... 2. ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... สำนักงบประมาณได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. ?. โดยได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้นตามแบบการร่างกฎหมายตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว (หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0903/139 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2567) การจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... มีโครงสร้างและองค์ประกอบของร่างพระราชบัญญัติฯ ที่กำหนดเฉพาะมาตรา ว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว ไม่มีผลทำให้รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เปลี่ยนแปลงไปจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 โดยมีรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. ..... เศรษฐกิจ-สังคม 2. เรื่อง รายงานการดำเนินการตามผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัด คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการดำเนินการตามผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัด (ผลการประชุมบูรณาการร่วมฯ) ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ สาระสำคัญ สงป. รายงานว่า 1. เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการตามผลการประชุมบูรณาการร่วมฯ (1) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (จังหวัดหนองบัวลำภู อุดรธานี เลย หนองคาย และบึงกาฬ) (2) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (จังหวัดระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา และสตูล) และ (3) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (จังหวัดพะเยา เชียงราย น่าน และแพร่) ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดระนอง และจังหวัดพะเยาตามลำดับ จำนวน 56 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 1,152.78 ล้านบาท 2. ต่อมา สงป. ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการโครงการตามผลการประชุมบูรณาการร่วมฯ (ตามข้อ 1) สรุปได้ ดังนี้ มติคณะรัฐมนตรี/ข้อเท็จจริง ความก้าวหน้าการดำเนินการ กลุ่มจังหวัด ภาคเอกชน วงเงินรวม (ล้านบาท) จัดสรรแล้ว คงเหลือ ที่ต้องจดสรร คณะรัฐมนตรีมีมติ (4 ธันวาคม 2566) รับทราบผลการประชุมบูรณาการร่วมฯ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และมีความเห็นเพิ่มเติมว่าในส่วนของโครงการของกลุ่มจังหวัดดังกล่าวให้ สงป. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากลั่นกรองโครงการของแต่ละจังหวัด โดยในครั้งนี้ สงป. แจ้งว่า มีโครงการของกลุ่มจังหวัดที่ผ่านการพิจารณาแล้ว จำนวน 25 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 299.80 ล้านบาท 299.80 จำนวน 5 โครงการ วงเงิน 43.21 ล้านบาท จำนวน 20 โครงการ1 วงเงิน 251.59 ล้านบาท2 จำนวน 172 โครงการอยู่ระหว่างพิจารณาความพร้อมและความคุ้มค่าของการลงทุน รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 มกราคม 2567) รับทราบผลการประชุมบูรณาการร่วมฯ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน รวมทั้งเห็นชอบในหลักการโครงการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด และโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน จำนวน 18 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 552.10 ล้านบาท 350 - จำนวน 13 โครงการ3 วงเงิน 350 ล้านบาท จำนวน 5 โครงการ วงเงิน 202.10 ล้านบาทอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 มีนาคม 2567) รับทราบผลการประชุมบูรณาการร่วมฯ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 รวมทั้งเห็นชอบในหลักการโครงการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด และโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน จำนวน 13 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 300.88 ล้านบาท 155 - จำนวน 9 โครงการ4 วงเงิน 155 ล้านบาท จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 145.88 ล้านบาทอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. 1 อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. จำนวน 1 โครงการ วงเงิน 11.59 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมของวงเงิน จำนวน 19 โครงการ วงเงิน 240 ล้านบาท 2 สงป. แจ้งว่า มีการปรับลดวงเงินตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวจ้อง จำนวน 5 ล้านบาท ทำให้คงเหลืองบประมาณที่ยังไม่ได้จัดสรร จำนวน 251.59 ล้านบาท 3 อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 100 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมของวงเงิน จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 250 ล้านบาท 4 อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 155 ล้านบาท 3. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการรายจ่ายลงทุนเพื่อใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (โครงการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ดำเนินงานโครงการรายจ่ายลงทุนเพื่อใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (โครงการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข) ทั้ง 5 โรงพยาบาล ดังนี้ ชื่อโรงพยาบาล กรอบวงเงินรวม (ล้านบาท) (1) โรงพยาบาลนนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 8,510.08 (2) โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ (3) โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี (4) โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี (5) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) จัดหาแหล่งเงินกู้ตามแผนหนี้สาธารณะ โดยอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณให้เป็นไปตามที่ กค. ทำความตกลงกับแหล่งเงินกู้ สาระสำคัญ 1. โครงการรายจ่ายลงทุนเพื่อใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม [โครงการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)] (โครงการฯ) เพื่อก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลและจัดหาครุภัณฑ์ของ 5 โรงพยาบาล กรอบวงเงิน 8,510.08 ล้านบาท ที่ สธ. เสนอในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่จะพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ยกระดับและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความทันสมัยตามหลักสากล และขยายเตียงการให้บริการและรองรับผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ ทั้งนี้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 ได้เห็นชอบในหลักการโครงการดังกล่าวรวมถึงกรอบวงเงินสำหรับดำเนินการแล้ว รวมทั้งได้มีการบรรจุโครงการอยู่ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 แล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้ โรงพยาบาล แผนการใช้จ่าย (ล้านบาท) การดำเนินโครงการ กรอบอัตรากำลังตามภาระงาน (FTE)1 (คน) รายการ ปี 2568 ปี 2569 - 2572 แพทย์ พยาบาล (1) โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ค่าสิ่งก่อสร้าง 109.76 439.06 พัฒนาระบบบริการและศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูงด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยการก่อสร้างอาคารและจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เช่น (1) เครื่องมือกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด (2) เครื่องมือภายในห้องผ่าตัด 36 155 ค่าครุภัณฑ์ - 356.63 (2) โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ค่าสิ่งก่อสร้าง 111.75 447.04 พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศ 5 ด้าน คือ (1) โรคหัวใจและหลอดเลือด (2) โรคมะเร็ง (3) อุบัติเหตุและฉุกเฉิน (4) ทารกแรกเกิด (5) การรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ โดยการก่อสร้างอาคารและจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง - - ค่าครุภัณฑ์ - 204.76 (3) โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ค่าสิ่งก่อสร้าง 122.99 491.74 - 137 ค่าครุภัณฑ์ - 395.48 (4) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ค่าสิ่งก่อสร้าง 778.23 3,112.93 151 400 ค่าครุภัณฑ์ - 563.50 (5) โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี ค่าสิ่งก่อสร้าง 93.89 775.54 จัดตั้งศูนย์ (1) ผ่าตัดมะเร็งเต้านมและเคมีบำบัด (2) ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง (3) ผ่าตัดเฉพาะทางด้านกระดูกข้อเท้าและเท้า (4) ศูนย์ฟอกไต โดยการก่อสร้างอาคารและจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ 17 75 ค่าครุภัณฑ์ - 189.62 ค่าบริหารจัดการโครงการ 86.28 303.37 เงินเผื่อเหลือเผื่อขาด 327.31 - รวม 1,630.21 6,879.87 8,510.08 หมายเหตุ: สำนักงาน ก.พ. แจ้งว่า สธ. ได้บริหารอัตรากำลังโดยวิธีการเกลี่ยและไม่เพิ่มกรอบอัตราข้าราชการ 2. ในส่วนภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้น สำนักงบประมาณเห็นควรให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ตามแผนหนี้สาธารณะ โดยอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังทำความตกลงกับแหล่งเงินกู้ ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวมีความจำเป็นต้องก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่า หนึ่งปีงบประมาณ สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรี จะอนุมัติให้ สธ. ดำเนินการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ ตามนัยมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 1 กรอบอัตรากำลังตามภาระงาน (Full time equivalent : FTE) หมายถึง ชั่วโมงการทำงานเต็มเวลาที่ต้องใช้ในงานนั้น ซึ่งในกรณีของเรื่องนี้ คือ การดำเนินโครงการของแต่ละโรงพยาบาล จะทำให้มีความต้องการอัตรากำลังเพิ่มขึ้นในจำนวนตามที่ สธ. ระบุ 4. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 2 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) เสนอดังนี้ 1. อนุมัติตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ดังนี้ 1.1 การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 ประกอบด้วย (1) แผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่มสุทธิ 275,870.08 ล้านบาท (จากเดิม 754,710.63 ล้านบาท เป็น 1,030,580.71 ล้านบาท) (2) แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับเพิ่มสุทธิ 33,420.32 ล้านบาท (จากเดิม 2,008,893.74 ล้านบาท เป็น 2,042,314.06 ล้านบาท) และ (3) แผนการชำระหนี้ ปรับเพิ่มสุทธิ 54,555.17 ล้านบาท (จากเดิม 399,613.70 ล้านบาท เป็น 454,168.87 ล้านบาท) 1.2 การบรรจุโครงการพัฒนา โครงการ และรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 จำนวน 32 โครงการ/รายการ 1.3 ให้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 2 แห่ง คือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่มีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการ [Debt Service Coverage Ratio (DSCR)] ต่ำกว่า 1 เท่า สามารถกู้เงินและบริหารหนี้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ปรับปรุง ครั้งที่ 2 โดยให้ ธพส.และ รฟท. รับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการด้วย รวมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานที่บรรจุกรอบวงเงินกู้ภายให้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ปรับปรุง ครั้งที่ 2 เร่งรัดการดำเนินการตามแผนฯ ดังกล่าวด้วย 1.4 ในส่วนของการชำระหนี้คืน ให้ดำเนินการตามกฎหมายตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยสำนักงบประมาณมีความเห็นว่า สำหรับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อการชำระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงินของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่รัฐบาลรับภาระ สำนักงบประมาณได้ดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดสัดส่วนต่าง ๆ เพื่อเป็นกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2563 ซึ่งกำหนดให้มีสัดส่วนงบประมาณเพื่อการชำระต้นเงินกู้ของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐซึ่งรัฐบาลรับภาระ ต้องตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละสองจุดห้า แต่ไม่เกินร้อยละสี่ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี รวมทั้งพิจารณาสถานการณ์ทางการเงิน ประมาณการรายรับ ฐานะทางการคลังของประเทศ และภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายในด้านต่าง ๆ 2. อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 รวมทั้งขออนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เองก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ สาระสำคัญ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท รายการ วงเงินปรับปรุง ครั้งที่ 1 ตามมติ คณะรัฐมนตรี (13 กุมภาพันธ์ 2567) วงเงินปรับปรุง ครั้งที่ 2 (ครั้งนี้) เปลี่ยนแปลง เพิ่ม/ลด (1) แผนการก่อหนี้ใหม่ 754,710.63 1,030,580.71 275,870.08 (1.1) รัฐบาล 603,211.38 875,611.38 272,400.00 (1.2) รัฐวิสาหกิจ 128,499.25 131,969.33 3,470.08 (1.3) หน่วยงานอื่นของรัฐ 23,000.00 23,000.00 0.00 (2) แผนการบริหารหนี้เดิม 2,008,893.74 2,042,314.06 33,420.32 (2.1) รัฐบาล 1,890,892.76 1,931,623.96 40,731.20 (2.2) รัฐวิสาหกิจ 118,000.98 110,690.10 (7,310.88) (2.3) หน่วยงานอื่นของรัฐ 0.00 0.00 0.00 (3) แผนการชำระหนี้ 399,613.70 454,168.87 54,555.17 (3.1) แผนการชำระหนี้ของรัฐบาล และหนี้หน่วยงานของรัฐ จากงบประมาณรายจ่าย 346,380.07 346,380.07 0.00 (3.2) แผนการชำระหนี้จากแหล่งเงินอื่น ๆ 53,233.63 107,788.80 54.555.17 โดยมีรายละเอียด เช่น (1) การปรับเพิ่มวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน) จำนวน 269,000 ล้านบาท (2) การปรับเพิ่มวงเงินปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้รัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - 2571 จำนวน 50,000 ล้านบาท (3) การปรับเพิ่มวงเงินแผนการชำระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 29,200 ล้านบาท และ (4) การปรับเพิ่มวงเงินแผนการชำระหนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 25,339.17 ล้านบาท เป็นต้น โดยในการปรับปรุงแผนฯ ครั้งนี้มีโครงการพัฒนาโครงการ และรายการที่ขอบรรจุเพิ่มเติมและต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน 32 โครงการ/รายการ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ คาดการณ์ว่าระดับประมาณการหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภายหลังการปรับปรุงแผนฯครั้งที่ 2 จะอยู่ที่ร้อยละ 65.06 (กรอบไม่เกินร้อยละ 70) และมีรัฐวิสาหกิจจำนวน 2 แห่ง ที่มีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการ [Debt Service Coverage Ratio (DSCR)] ต่ำกว่า 1 เท่า ที่ต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี คือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ซึ่งมี DSCR เท่ากับ 0.35 เท่า และการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งมี DSCR เท่ากับ 0.33 เท่า โครงการพัฒนา โครงการ และรายการที่ขอบรรจุเพิ่มเติมและต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน 32 โครงการ/รายการ สรุปได้ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท โครงการพัฒนา/โครงการ/รายการ หน่วยงาน แหล่งวงเงินกู้ วงเงิน แผนการก่อหนี้ใหม่ 1. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาพังงา - (ทับปุด) อำเภอเมืองพังงา - ทับปุด จังหวัดพังงา กปภ. ในประเทศ 8.19 2. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาขาณุวรลักษบุรี อำเภอขาณุวรลักษบุรี - คลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 4.34 3. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาชลบุรี - พนัสนิคม - (พานทอง) - (ท่าบุญมี) ระยะที่ 1 อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี 6.11 4. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาพนมสารคาม - บางคล้า - (แปลงยาว) - (คลองนา) - (เทพราช) (รองรับ EEC) อำเภอพนมสารคาม - บางคล้า - แปลงยาว - เมืองฉะเชิงเทรา - บ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2.47 5. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาอุดรธานี - หนองคาย - หนองบัวลำภู อำเภอเมืองอุดรธานี - เพ็ญ - หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี อำเภอเมืองหนองคาย - สระใคร จังหวัดหนองคาย อำเภอเมือง - โนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู 42.11 6. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขากันตัง - (สิเภา - ตากเมง) อำเภอกันตัง - สิเกา จังหวัดตรัง 37.15 7. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาเลย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 26.63 8. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาชัยนาท - (หันคา) (ระยะที่ 1) อำเภอเมืองชัยนาท - หันคา - เนินขาม จังหวัดชัยนาท 21.06 9. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขานครนายก อำเภอเมืองนครนายก - บางพลี จังหวัดนครนายก 2.61 10. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขานาทวี ระยะที่ 1 อำเภอนาทวี - จะนะ จังหวัดสงขลา 19.92 11. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาปราจีนบุรี (ประจันตคาม) - ศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี 16.81 12. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาสุไหงโก-ลก- (ตากใบ) (เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส) อำเภอสุไหงโก - ลก - แว้ง - ตากใบ จังหวัดนราธิวาส 63.80 13. โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 DCAP 795.00 14. แผนการชำระค่าสิทธิในการดำเนินงาน 700.00 15. วงเงินเบิกเกินบัญชี (OD) บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่นจำกัด 50.00 แผนการบริหารหนี้เดิม 16. ตั๋วเงินคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กค. ในประเทศ 40,000.00 17. พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4 ภายใต้กรอบ วงเงิน 449,000 ล้านบาท 18 พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 9 19. พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 13 20. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3 21. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 7 22. พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 8 23. พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 1 24. พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 12 25. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ครั้งที่ 15 26. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 1 27. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 6 28. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 8 29. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 6 30. ตัวสัญญาใช้เงิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1 31. ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1 32. สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1 5. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 คณะรัฐมนตรีมีติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2029 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2567 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (ประธาน คกง.) เสนอ ดังนี้ 1. อนุมัติให้จังหวัดตรังเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการพัฒนาวนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตัง เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสุขภาพ (โครงการพัฒนาวนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตังฯ) วงเงิน 20.9000 ล้านบาท จากเดิม เดือนธันวาคม 2566 เป็น เดือนเมษายน 2567 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้จังหวัดตรังเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform: eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) และเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด 2. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 10 (1 พฤศจิกายน 2566 - 31 มกราคม 2567) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด 3. รับทราบแนวทางการปิดบัญชี ?เงินกู้ตามพระราชกำหนด COVID - 19 (ปี 2564)? และการเตรียมแหล่งเงินรองรับกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริตของโครงการภายใต้ พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ต้องดำเนินโครงการและเบิกจ่ายเงินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี รวมถึงส่งเงินกู้เหลือจ่ายคืนเข้าบัญชี ?เงินกู้ตามพระราชกำหนด COVID ? 19 (ปี 2564)? ภายใน 3 เดือน นับจากวันที่สิ้นสุดการดำเนินโครงการพัฒนาวนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตังฯ ที่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการเบิกจ่ายตามมติคณะรัฐมนตรีให้หน่วยงานพิจารณาบริหารเงินงบประมาณของหน่วยงานเป็นลำดับแรก (รวมถึงกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริตของโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) สาระสำคัญของเรื่อง เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธาน คกง. ได้รายงานผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2567 โดยมีมติ ดังนี้ 1. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ของกระทรวงมหาดไทย (มท.) จำนวน 1 จังหวัด (จังหวัดตรัง) รวม 1 โครงการ (โครงการพัฒนาวนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตังฯ) กรอบวงเงิน 20.9000 ล้านบาท โดยขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2566 เป็นเดือนเมษายน 2567 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว และให้จังหวัดตรังเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความ เข้มแข็งฯ ปี 2565 ในระบบ eMENSCR และเบิกจ่ายเงินให้แล้วแสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ดำเนินการเสร็จแล้ว คงเหลือ การเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอน 2. เห็นชอบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 10 (1 พฤศจิกายน 2566 ? 31 มกราคม 2567) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ประเภทโครงการ จำนวนโครงการ รายละเอียด (1) โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 2,338 - กรอบวงเงินอนุมัติรวม 464,491.16 ล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 445,368.20 ล้านบาท (ร้อยละ 95.88 ของกรอบวงเงินอนุมัติ) ประกอบด้วย (1) แผนงานที่ 1 จำนวน 43 โครงการ1 (1) แผนงานที่ 2 จำนวน 31 โครงการ1 (1) แผนงานที่ 3 จำนวน 2,264 โครงการ1 (1.1) โครงการของส่วนราชการ 83 วงเงินอนุมัติรวม 459,824.12 ล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 441,140.24 ล้านบาท (ร้อยละ 95.94 ของกรอบวงเงินอนุมัติ) (1.2) โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 2,255 วงเงินอนุมัติรวม 4,667.04 ล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 4,227.96 ล้านบาท (ร้อยละ 90.59 ของกรอบวงเงินอนุมัติ) (2) โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 2 - โครงการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยกรมควบคุมโรค วงเงินอนุมัติรวม 34,680.16 ล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 28,604.96 ล้านบาท (ร้อยละ 82.48 ของกรอบวงเงินอนุมัติ) ดังนี้ (1) โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID ? 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 30,002,310 โดส (Pfizer) ปี พ.ศ. 2565 ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการส่งมอบวัคซีนและตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องของเอกสารการเบิกจ่าย (ปัจจุบันการดำเนินการดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว) (2) โครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ - คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 อนุมัติให้ สธ. (กรมควบคุมโรค) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ ในส่วนที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบจำนวน 19,074,400 โดส เป็นการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long ? acting antibody: LAAB)2 รุ่นใหม่ จำนวน 36,000 โดส ส่งผลให้กรอบวงเงินโครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ ลดลงจาก 18,382,4643 ล้านบาท เป็น 13,634.8712 ล้านบาท หรือลดลงจำนวน 4,747.5931 ล้านบาท - ณ เดือนมกราคม 2567 สธ. (กรมควบคุมโรค) อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการ เนื่องจากเห็นว่าอาจไม่สามารถเบิกจ่ายเงินส่วนที่เหลือได้ภายในเดือนมีนาคม 25673 (3) โครงการที่อยู่ระหว่างขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 วงเงินรวม 26.30 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่าย 12.80 ล้านบาท (ร้อยละ 48.65 ของกรอบวงเงินอนุมัติ) ดังนี้ (1) โครงการพัฒนาวนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตังฯ จังหวัดตรัง กรอบวงเงิน 20.90 ล้านบาท โดยสถานะ ณ เดือนมกราคม 2567 หน่วยงานรับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงวดงานส่วนที่เหลือได้ เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินโครงการ [ข้อเสนอในครั้งนี้] (2) โครงการปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวหาดอ่าวนางฯ จังหวัดกระบี่ กรอบวงเงิน 5.40 ล้านบาท ณ เดือนมกราคม 2567 ผู้รับเหมาได้ส่งมอบงานครบถ้วนแล้ว แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงวดงานที่เหลือได้ เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินโครงการ [มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบให้จังหวัดกระบี่ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นสิ้นสุดเดือนเมษายน 2567 แล้ว] รวม 2,342 ทั้งนี้ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามชั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ดังนี้ 2.1 กรณีโครงการแล้วเสร็จ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการคืนวงเงินเหลือจ่าย พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่ายให้ครบถ้วนก่อนจัดส่งรายงานผลสำเร็จของโครงการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) โดยเร็วตามขั้นตอนข้อ 21 และ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564) 2.2 กรณีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ สำหรับกรณีโครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ ให้กรมควบคุมโรคเร่งบริหารสัญญาโดยการเจรจากับบริษัท AZ เพื่อยุติสัญญาการจัดซื้อวัคซีน AZ ที่ยังไม่ได้ส่งมอบจำนวน 19,074,400 โดส ตามแนวทางที่กรมควบคุมโรคพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสม พร้อมทั้งปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขของข้อสัญญา โดยในกรณีที่ไม่สามารถยุติสัญญาการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าวได้ ให้กรมควบคุมโรคเตรียมหาแหล่งเงินอื่นสำหรับดำเนินการส่วนที่เหลือต่อไป 3. รับทราบแนวทางการปิดบัญชี ?เงินกู้ตามพระราชกำหนด COVD ? 19 (ปี 2564)? และการเตรียมแหล่งเงินรองรับกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริตของโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 สรุปได้ ดังนี้ 3.1 หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ต้องดำเนินโครงการและเบิกจ่ายเงินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี รวมถึงส่งเงินกู้เหลือจ่ายคืนเข้าบัญชี ?เงินกู้ตามพระราชกำหนด COVID - 19 (ปี 2564)? ภายใน 3 เดือน นับจากวันที่สิ้นสุด (เดือนเมษายน 2567) การดำเนินโครงการพัฒนาวนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตังฯ ที่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการเบิกจ่ายตามมติคณะรัฐมนตรี ให้หน่วยงานพิจารณาบริหารเงินงบประมาณของหน่วยงานเป็นลำดับแรก (รวมถึงกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริตของโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) 3.2 ให้ สบน. รวบรวมข้อมูลและนำส่งคืนคลังเพื่อรายงาน คกง. ทราบ หลังจากนั้น สบน. จะส่งเงินและแจ้งกรมบัญชีกลางปิดบัญชี ?เงินกู้ตามพระราชกำหนด COVID - 19 (ปี 2564)? ต่อไป 1แผนงานที่ 1: แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข แผนงานที่ 2: แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ค่าใช้จ่ายของประชาชน และแผนงานที่ 3: แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 2 LAAB (Long Acting Antibody) คือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว สำหรับใช้เพื่อการป้องกันและรักษาโรคโควิด 19 โดยใช้ในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ได้ไม่เพียงพอจากโรคต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับยา กดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยล้างไต รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ได้ ซึ่ง LAAB มีความแตกต่างจากวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 คือ LAAB เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะสามารถสร้างภูมิต้านทานได้ทันที ส่วนวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน (ใช้เวลาประมาณ 1 ? 2 สัปดาห์) หลังฉีดเข้าร่างกาย 3 สธ. แจ้งว่า ปัจจุบันบริษัท AstraZeneca (บริษัท AZ) ยังไม่สามารถขึ้นทะเบียน LAAB กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ จึงคาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในระยะเวลาสิ้นสุดโครงการเดือนมีนาคม 2567 (ตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566) ซึ่งกรมควบคุมโรคอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท AZ เพื่อขอยุติสัญญาการจัดซื้อวัคซีนฯ AZ ที่ยังไม่ได้รับมอบต่อไป 6. เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการดำเนินนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในบัญชีนวัตกรรมไทย คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาและความเห็นในภาพรวมของข้อเสนอแนะตามมาตรการป้องกันการทุจริตในการดำเนินนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในบัญชีนวัตกรรมไทยตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรับทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 เมษายน 2567) รับทราบข้อเสนอแนะตามมาตรการฯ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ และให้ กค. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) [สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ] กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติ โดยให้ กค. สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป 2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (11 มิถุนายน 2567) รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 (ตามข้อ 1) ตามที่ กค. เสนอ เช่น การสอบถามความเห็นตามข้อเสนอแนะของมาตรการฯ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 หน่วยงานการจัดประชุมเพื่อระดมความเห็นเพิ่มเติมภายหลังจากได้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 และให้ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้ กค. สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวม แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปภายใน 2 สัปดาห์ รวมทั้งให้แจ้งความคืบหน้าการดำเนินการในเรื่องนี้ของ กค. ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบด้วย สาระสำคัญของเรื่อง กค. รายงานว่า ได้พิจารณาข้อเสนอแนะตามมาตรการฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 11 ประเด็น มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นรวม 9 หน่วยงาน ได้แก่ (1) กต. (2) อว. (สวทช.) (3) พณ. (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) (4) มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) (5) สธ. (6) อก. [สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)] (7) สงป. (8) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ (9) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่ง กค. ได้มีหนังสือถึงหน่วยงานดังกล่าวเพื่อขอทราบความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแต่ละประเด็นปัญหาและได้จัดประชุมเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 เพื่อให้ได้ข้อยุติร่วมกันและได้มีการรับรองรายงานการประชุมเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 ทั้งนี้ สามารถสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. สรุปผลการพิจารณา (1) ประเด็นที่หน่วยงานต้องดำเนินการต่อ จำนวน 5 ประเด็น (1.1) การดำเนินนโยบายที่อาจมีอุปสรรค หากในอนาคตประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกความตกลงการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Government Procurement Agreement: GPA) และความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) (ปัจจุบันไทยยังไม่ได้เป็นภาคีสมาชิกแต่เป็นผู้สังเกตการณ์) ควรให้ กค. พณ. และ กต. นำแนวทางที่ประเทศไทยสามารถดำเนินการได้ 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การขอใช้มาตรการในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional measures) เช่น การใช้แต้มต่อซึ่งประกาศไว้ล่วงหน้า* เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในไทย และแนวทางที่ 2 การระบุข้อยกเว้นสำหรับภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มธุรกิจเป้าหมายมาใช้ประกอบการขับเคลื่อนนโยบายและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว ให้ กต. พณ. (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) และ กค. (กรมบัญชีกลาง) นำทั้ง 2 แนวทางไปใช้ประกอบการพิจารณาเจรจาต่อไป (1.2) ปัญหานวัตกรรมไทยไม่มีความชัดเจน ควรกำหนดแนวทางในการให้สิทธิพิเศษแก่ผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทยให้มีความแตกต่างกันตามระดับนวัตกรรมไทย ซึ่งอาจจำแนกระดับนวัตกรรมไทยออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับที่ 1 นวัตกรรมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ และระดับที่ 2 นวัตกรรมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและในการจำแนกระดับนวัตกรรมไทย ควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ชัดเจนและครอบคลุมถึงความเหมาะสมในประเด็นต่าง ๆ ให้ สวทช. นำข้อแนะไปดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สวทช. อยู่ระหว่างศึกษาเรื่องนี้และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป นอกจากนี้ ให้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร การจำแนกกลุ่มสินค้าบัญชีนวัตกรรมในรูปแบบ ที่ทำให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม ความเป็นไปได้ในการกำหนด Local Content ร้อยละ 50 รวมทั้งให้มีแนวทางการตรวจสอบด้วย (1.3) ผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทยยังไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากภาครัฐ ควรทบทวนหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากขึ้น โดยกำหนดแนวทางการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การร่วมกับ สมอ. กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม - ให้ สวทช. รับข้อเสนอแนะไปดำเนินการโดยให้ประสานกับ สมอ. เพื่อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับสินค้าบัญชีนวัตกรรมไทยที่เป็นสินค้าใหม่ที่ยังไม่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย - ให้ สมอ. ร่วมกับ สวทช. กำหนด มอก. ให้กับสินค้าที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยมากขึ้น - สวทช. อยู่ระหว่างการทบทวนหลักเกณฑ์การตรวจสอบคุณสมบัติผลงานนวัตกรรมครอบคลุมถึงสินค้าที่อยู่ในบัญชีเดิมและสินค้ารายการใหม่ที่กำลังจะขึ้นทะเบียนโดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน (1.4) ภาครัฐขาดการติดตามและประเมินผลการจัดซื้อ จัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในบัญชีนวัตกรรมไทย ที่มีประสิทธิภาพ ควรกำหนดแนวทางในการติดตาม และประเมินผลในเรื่องดังกล่าวให้มีความชัดเจน เช่น แนวทาง การติดตามและประเมินผลการใช้งบประมาณภาครัฐ ในการจัดซื้อ จัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในบัญชีนวัตกรรมไทย โดยเชื่อมโยงข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุส่งเสริม นวัตกรรม (สงป.) และระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย อิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement System: e-GP) (กรมบัญชีกลาง) เข้าด้วยกัน ทุกหน่วยงานเห็นด้วย โดยมอบ สวทช. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของสินค้าในบัญชีนวัตกรรมไทย ทั้งในด้านการใช้งานและคุณภาพ (1.5) การแข่งขันไม่เป็นไปตามกลไกการตลาดอย่างเป็นธรรมและความเสี่ยงในการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ขายรายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนแนวทางการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมโดยตรงจากผู้ประกอบการที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย ซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมนั้น ๆ ได้มีการกำหนดราคาไว้แล้ว รวมทั้งการให้สิทธิพิเศษแก่หน่วยงานของรัฐในการจัดซื้อ จัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย เพื่อป้องกันไม่ให้นโยบายดังกล่าวเป็นช่องว่างแห่งกฎหมายที่นำไปสู่ความเสี่ยงของการเป็นตลาดผู้ขาย การผูกขาด และการทุจริตเชิงนโยบาย - ให้ สวทช. ปรับลดระยะเวลาการส่งเสริมสนับสนุนให้เหมาะสมและกำหนดกรอบวงเงินรายได้ - ให้ สงป. ปรับปรุงราคาให้เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง (2) ไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณา จำนวน 5 ประเด็น (2.1) คุณสมบัติของผู้ขายผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทยไม่สอดคล้องกับคุณสมบัติของผู้เสนอราคากับหน่วยงานของรัฐควรกำหนดแนวทางการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้จำหน่ายและผู้แทนจำหน่ายให้มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับคุณสมบัติของผู้เสนอราคากับหน่วยงานของรัฐก่อนการประกาศขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย ไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณา เนื่องจากในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีการตรวจสอบการมีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่แล้ว ประกอบกับสำนักงาน ป.ป.ช. เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าว เป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่จะต้องกำชับให้มีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด (2.2) ผู้ประกอบการไม่แสดงข้อมูลโครงสร้างราคาต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทย ควรกำหนดแนวทางการให้สิทธิพิเศษแก่ผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทยเพิ่มเติม เช่น การกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องแสดงข้อมูลโครงสร้างราคาต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทย โดยมี สงป. เป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาความลับข้อมูล ไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณา เนื่องจากเป็นเรื่องที่ สงป. ดำเนินการอยู่แล้ว โดยผู้ประกอบการรายใดที่ไม่ยื่นแบบโครงสร้างราคาต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทยและเอกสารประกอบ ที่จำเป็น สงป. จะไม่ตรวจสอบราคา จัดทำและประกาศบัญชีนวัตกรรมไทยจนกว่าจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน (2.3) ระบบสืบค้นบัญชีนวัตกรรมไทยมีการกำหนดชื่อและรหัสผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทยไม่ตรงกับชื่อและรหัสสินค้าหรือบริการในระบบ e-GP ควรกำหนดแนวทางการปรับปรุงฐานข้อมูลในระบบสืบค้นบัญชีนวัตกรรมไทยของ สงป. ให้มีชื่อและรหัสตรงกับชื่อและรหัสสินค้าหรือบริการในระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลางและในระยะยาวอาจพิจารณาจัดทำหมวดรายการผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทยในระบบสืบค้นบัญชีนวัตกรรมไทยให้เป็นรหัสมาตรฐานสากล (UNSPSC) ไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณา เนื่องจาก (1) การตั้งชื่อผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทยของ สงป. และกรมบัญชีกลางมีความสอดคล้องกันอยู่แล้ว (2) ปัจจุบันระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลางรองรับการค้นหารหัสบัญชีนวัตกรรมไทยของ สปง. อยู่แล้ว (3) การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ของ สงป. ไม่ได้กำหนดให้ค้นด้วยรหัส UNSPSC แต่สามารถ ค้นได้ด้วยชื่อผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทยที่ สงป. กำหนด ส่วนการค้นหาในระบบ e-GP สามารถค้นได้ทั้งรหัส UNSPSC และชื่อผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทย (2.4) ภาครัฐขาดการซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติงานควรกำหนดแนวทางการซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมไทย เพื่อให้ถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณา เนื่องจากข้อหารือมีจำนวนน้อยและไม่ซับซ้อน รวมทั้งแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐไม่ขัดแย้งกับความเห็นของสำนักงาน ป.ป.ช. จึงยังไม่จำเป็นต้องซักซ้อมความเข้าใจในตอนนี้ประกอบกับหน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ได้ (2.5) ปัญหาการทุจริตในการจัดซื้อยาในบัญชีนวัตกรรมไทย ควรให้ สธ. และหน่วยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. ขับเคลื่อนข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เช่น การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมและกฎหมายอื่นที่มีความเกี่ยวข้องให้แก่บริษัทผู้จำหน่ายยาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณา เนื่องจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อย. และสำนักงาน ป.ป.ช. มีการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าวอยู่แล้ว โดยมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประกาศ สธ. เรื่อง เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของ สธ. พ.ศ. 2564 (3) ประเด็นที่ควรเน้นในการดำเนินการ จำนวน 1 ประเด็น การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดควรให้ สงป. มท. และ กค. (กรมบัญชีกลาง) กำหนดแนวทาง ในการกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ควรเน้นหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบโดยให้ความสำคัญเรื่องวงเงิน การตรวจสอบหน่วยงานที่ดำเนินการผิดบ่อยครั้งรวมทั้งควรมีวิธีการรายงานให้ภาคประชาชนทราบด้วย * สมาชิกความตกลงสามารถต่อรองเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้างระหว่างประเทศได้ตามความเหมาะสม โดยต้องมีการตกลงหรือหารือกันไว้ล่วงหน้า 7. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ในห้วงวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 30 กันยายน 2566 สาระสำคัญ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ในห้วงวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 30 กันยายน 2566 ตามที่คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เสนอ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดยศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศปช.) ได้ดำเนินการติดตามวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงการแจ้งเตือนเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อให้ความช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และได้เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ในห้วงวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 30 กันยายน 2566 ในการประชุม กมช. ครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรายงานดังกล่าวแล้ว สรุปได้ ดังนี้ 1. สถิติเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์รวมทั้งสิ้น 1,808 เหตุการณ์ สามารถจำแนกประเภทได้ ดังนี้ ประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ จำนวน (เหตุการณ์) ร้อยละ (1) การโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์ (Hacked Website) [ภาพพนันออนไลน์ (Gambling)] การโจมตีเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลเผยแพร่หน้าเว็บไซต์ (Website Defacement) การปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูล (Website Phishing) การฝังมัลแวร์อันตรายบนหน้าเว็บไซต์หน่วยงานที่อาจหลอกให้ผู้เข้าถึงดาวน์โหลดไปติดตั้งได้ (website Malware1) 1,056 59 (2) เว็บไซต์ปลอม (Fake Website) 310 17 (3) หลอกลวงการเงิน Online (Finance Scam) 111 6 (4) ข้อมูลรั่วไหล (Data Lesk) 103 6 (5) จุดอ่อนช่องโหว่ (Vulnerability) 84 5 (6) การละเมิดข้อมูล (Data Breach) 50 3 (7) การโจมตี Distributed Denial of Service (DDOS)2 33 2 (8) มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware)3 30 1 (9) อื่น ๆ 31 1 รวม 1,808 100 2. ประเภทของหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจาก ศปช. สรุปได้ ดังนี้ ประเภทหน่วยงาน (แบ่งตามภารกิจหรือบริการ) จำนวน (เหตุการณ์) ร้อยละ (1) หน่วยงานของรัฐ 1,309 71 (2) หน่วยงานเอกชน 247 13 (3) หน่วยโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ 202 11 (4) หน่วยงานควบคุมและกำกับดูแล 50 5 รวม 1,808 100 3. ผลการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนหน่วยงานในการช่วยแก้ไขและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ สรุปได้ ดังนี้ การดำเนินการ จำนวน การปฏิบัติตามมาตรการเชิงรุก (1) การแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ 71 รายงาน (2) การเผยแพร่ข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 447 รายงาน (3) การทดสอบความปลอดภัยของระบบเครื่องแม่ข่ายและเว็บไซต์ 115 หน่วยงาน การปฏิบัติตามมาตรการเชิงรับ (1) การแจ้งเตือนเหตุการณ์และให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา 1,808 หน่วยงาน (2) การตอบสนองและรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ 45 เหตุการณ์ (3) การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กระทบต่อหน่วยงานและประชาชน โดยการขอปิดกั้นการเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ที่ปลอมแปลงเป็นหน่วยงานสำคัญ 426 เว็บไซต์ การบริหารจัดการคุณภาพ (1) การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ 38 ครั้ง (ผู้เข้าร่วม 5,874 คน) (2) การทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทาง ไซเบอร์4 ร่วมกับ 5 หน่วยงาน 4. ผลการปฏิบัติงานที่สำคัญของ ศปช. ดังนี้ การดำเนินการ รายละเอียด (1) เฝ้าระวังและตอบสนองภัยคุกคามทางไซเบอร์ในห้วงการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค พ.ศ. 2565 ศปช. ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและตอบสนองภัยคุกคามทาง ไซเบอร์ (ศปก.ฝตซ.) เพื่อปฏิบัติภารกิจในห้วงการประชุม ซึ่ง ศปก.ฝตซ. ได้บูรณาการในการติดตามเฝ้าระวังร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ และได้ตรวจพบการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดกับระบบงานของหน่วยงานสำคัญจำนวน 1 เหตุการณ์ และการโจมตีที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ จำนวน 4 เหตุการณ์ (2) กรณีข้อมูลประชาชนรั่วไหล ศปช. ได้ตรวจพบการประกาศขายข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ในประเทศไทยที่หน้าเว็บไซต์สาธารณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถ เข้าถึงได้และอ้างว่าข้อมูลรั่วไหลมาจากหน่วยงานรัฐ ประกอบไปด้วย เลขบัตรประจำตัวประชาชน ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ จากเหตุการณ์ดังกล่าว กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช. สอท.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการสืบสวนโดยร่วมกับ ศปช. จนกระทั่งนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิด (3) ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับระบบเลือกตั้ง (ศซล.) ศซล. ได้ปฏิบัติภารกิจการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ในห้วงของการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างวันที่ 3-15 พฤษภาคม 2566 โดยเป็นศูนย์กลางในการรับแจ้งเหตุเกี่ยวกับ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับระบบเลือกตั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้ตรวจพบเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง จำนวน 4 เหตุการณ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการรับมือกับเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประชุมร่วมกันเพื่อจัดทำสรุปทบทวนหลังปฏิบัติงาน (AAR) โดยมีแนวทางการปรับปรุงและข้อเสนอแนะ ดังนี้ - เจ้าของระบบ ผู้ดูแลระบบ เจ้าหน้าที่ ควรมาประจำอยู่ในสถานที่ที่ใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการ - ใช้ส่วนกลางในการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงความเข้าใจให้ตรงกัน เพิ่มความพร้อมของข้อมูลพื้นฐาน มีการมอบหมายหน้าที่และบทบาทความรับผิดชอบที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น (4) การโจมตีด้วยการตั้งสถานีปลอม (False Base Station)5 บช.สอท. เป็นหน่วยงานหลักในการสืบสวนร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สกมช. เป็นต้น ร่วมปฏิบัติการจนนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิด ทั้งนี้ จากการสอบสวนผู้กระทำความผิดได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ไม่หวังดีจะใช้วิธีการนำเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station) ใส่ไว้ในรถยนต์แล้วขับออกไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่บริเวณใกล้เคียงแล้วส่งข้อความในลักษณะลิงก์ปลอมโดยอ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน (5) มาตรการเสริมเพื่อปราบปราม กลุ่มมิจฉาชีพแอปพลิเคชันดูดเงิน ศปช. นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตหลอกลวงประชาชน โดยได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมผลักดันให้จัดทำแบล็คลิสต์ (Blacklist) รายการของเซิร์ฟเวอร์ที่ควบคุมแอปพลิเคชันดูดเงินที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ทั้งนี้ ศปช. อยู่ระหว่างการพัฒนาไลน์ OA [LINE Official Account (LINE OA)] เวอร์ชันที่สามารถแจ้งข้อมูลจากหน่วยงานและประชาชนที่พบโดเมนปลอม ไลน์ปลอม เบอร์โทรศัพท์ของมิจฉาชีพ ไว้เป็นศูนย์กลางของประเทศเพื่อประโยชน์ใน การตรวจสอบของประชาชนและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย 5. ข้อแนะนำการปฏิบัติเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัย โดยผู้ดูแลระบบควรดำเนินการ ดังนี้ (1) ติดตั้ง Firewall เพื่อช่วยในการตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านเข้ามาและออกจากระบบเครือข่าย (2) ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ เช่น McAfee Internet Security (3) การใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัย โดยการตั้งรหัสผ่านควรใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ตัวเลข และอักขระพิเศษผสมผสานกัน (4) ฝึกอบรมให้ความรู้กับผู้ดูแลระบบ เพื่อให้เข้าถึงภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น (5) ประเมินความเสี่ยงและช่องโหว่ในระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงและช่องโหว่ที่มีในระบบ 6. แนวโน้มสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปี 2567 สรุปได้ ดังนี้ สถานการณ์ แนวโน้มสถานการณ์ ข้อแนะนำในการป้องกัน Hacked Website สถานการณ์ในอนาคตของ Hacked Website ยังคงเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีโอกาสพบเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ไม่หวังดีจะอาศัยช่องโหว่ของเว็บไซต์ทำการฝังเนื้อหาเว็บไซต์การพนันออนไลน์ เปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์ และฝังมัลแวร์ เนื่องจากมีโปรแกรมจัดการเว็บไซต์ หรือ Content Management System (CMS) รวมถึงคำสั่งและรหัสในโปรแกรมที่ใช้พัฒนาเว็บไซต์ที่ล้าสมัย และผู้ดูแลหน้าเว็บไซต์ไม่ได้พัฒนาหรืออัปเดตในส่วนของระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย - อัปเดตระบบและซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ - ทำการสำรองข้อมูลและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย - ใช้รหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา - ตรวจสอบเว็บไซต์เป็นประจำเพื่อค้นหาช่องโหว่และสังเกตการเปลี่ยนแปลง - ติดตั้ง Firewalls เพื่อตรวจจับและป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตและทำลายเว็บไซต์ Ransomware การโจมตีของ Ransomware มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และ ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการโจมตีเป็นรูปแบบบริการเรียกว่า ?Lock Bit 30? ซึ่งเป็น Ransomware ที่ให้บริการในลักษณะ Ransomware as a Service (RaaS) โดยนักพัฒนาจะปรับแต่ง Ransomware ตามความต้องการของผู้โจมตีที่จะนำไปใช้ เช่น การบล็อกผู้ใช้ไม่ให้เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแลกกับค่าไถ่ - สำรองข้อมูลเป็นประจำ - อัปเดตซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ - ติดตั้งอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัส - จำกัดสิทธิ์การเข้าถึงโดยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลเฉพาะเท่าที่จำเป็น - ตั้งค่าระบบให้มีการแจ้งเตือนเมื่อมีกิจกรรมที่ไม่ปกติเกิดขึ้นในระบบ - ไม่เปิดไฟล์หรือคลิกลิงค์ที่มาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่รู้จักและไม่ติดตั้งซอฟต์แวร์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ 1 มัลแวร์ (Malware) คือ ชื่อเรียกโดยรวมของเหล่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายต่อระบบหรือเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เช่น ไวรัส (Virus) วอร์ม (Worm) และโทรจัน (Trojan) เป็นต้น 2 การโจมตี DDOS คือการที่แฮกเกอร์จะทำการส่ง Traffic หรือคำขอเข้าถึงข้อมูลจากอุปกรณ์จำนวนมากและหลากหลายแหล่งที่มาไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการโจมตีพร้อม ๆ กัน ทำให้เว็บไซต์นั้นมีปริมาณTraffic มากกว่าที่ Server จะสามารถรองรับได้ส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถใช้งานได้ หรือ ?เว็บไซต์ล่ม? 3 Ransomware คือ มัลแวร์ที่ทำการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเปิดไฟล์หรือคอมพิวเตอร์ได้ จากนั้นก็จะส่งข้อความหาผู้ใช้หรือองค์กร เพื่อ ?เรียกค่าไถ่ (Ransom)? แลกกับการถอดรหัสเพื่อกู้ข้อมูลคืนมา มักพบเจอบ่อยในระดับองค์กรหรือหน่วยงานรัฐบาล 4 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือในการส่งเสริมสนับสนุนภารกิจได้ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้มีการดำเนินการเชิงปฏิบัติการ ที่มีลักษณะบูรณาการและเป็นปัจจุบันร่วมกันสร้างนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และมาตรการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทาง ไซเบอร์รวมทั้งดำเนินการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรในการยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดย ศปช. ได้ดำเนินการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ร่วมกับหน่วยงานทางไซเบอร์ จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ บริษัท ซอสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 5 อุปกรณ์ False Base Station หรือ FBS ซึ่งมิจฉาชีพจะนำไปวางไว้ตามแหล่งชุมชน หรือจุดให้บริการสาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า หน่วยงานราชการ ธนาคาร หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือต่าง ๆ โดยจะจำลองตัวเองเป็นหนึ่งเครือข่าย หากเป้าหมายอยู่ในรัศมีของสัญญาณจากอุปกรณ์นี้ โทรศัพท์มือถือก็จะหลุดจากเครือข่ายจริงชั่วขณะแล้วไปเกาะกับสัญญาเครือข่ายปลอม จากนั้นมิจฉาชีพก็จะส่งข้อความเข้ามาที่มือถือของเป้าหมาย โดยปลอมแปลงชื่อและเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้ข้อความถูกส่งรวมไปอยู่ในกล่องข้อความเดียวกับองค์กรที่ถูกแอบอ้าง ทำให้ผู้ที่ได้รับข้อความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นข้อความที่เชื่อถือได้ประกอบกับขาดความระมัดระวังทำให้อาจสูญเงินในบัญชีไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 8. เรื่อง ผลการยื่นประมูลสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 และโครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ อนุมัติ และเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบผลการประมูลสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 2. เห็นชอบให้ กษ. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 โดยเตรียมการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องและจัดทำแผนงานและงบประมาณต่อไป 3. อนุมัติองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (คณะกรรมการอำนวยการฯ) 4. เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดเอกสารสัญญาให้มีความรอบคอบ รัดกุม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับการดำเนินโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลก ดังนี้ มติคณะรัฐมนตรี รายละเอียด 16 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติหลักการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการยื่นประมูลสิทธิ์การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 (ระดับ B1) และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (ระดับ A1) ต่อ AIPH 4 มกราคม 2565 อนุมัติกรอบงบประมาณการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 วงเงินงบประมาณ 2,500 ล้านบาท และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 วงเงินงบประมาณ 4,281 ล้านบาท สาระสำคัญของเรื่อง กษ. รายงานว่า โครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 มีรายละเอียด ดังนี้ 1. การประมูลสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพ : 1.1 โครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 มี Theme: Nature & Greenery: Envisioning the Green Future ระดับการจัดงานประเภท A1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความก้าวหน้าด้านพันธุ์พืช เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตพืชสวน การแปรรูป และผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร ในการเป็นฐานเกษตรและอาหารที่เข้มแข็ง บนพื้นฐานของการพัฒนา รวมทั้งการสร้างสมดุลทางธรรมชาติ ด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทยเพื่อจัดให้เกิดการยกระดับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารทางด้านพืชสวนและการเกษตรกับนานาประเทศที่มาร่วมงานและส่งเสริมให้เกิดการขยายตลาดสินค้าการเกษตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่ง กษ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการยื่นประมูลสิทธิ์การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ) เพื่อพิจารณาจัดเตรียมข้อมูลการยื่นประมูลสิทธิ์การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 1.2 ผลการประมูลสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 ในการประชุม AIPH Spring Meeting 2024 ระหว่างวันที่ 3 ? 7 มีนาคม 2567 ในช่วงการประชุม AIPH International Horticultural Expo Conference เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ประเทศไทย โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตรและผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้เสนอความพร้อมการเป็นเจ้าภาพจัดงาน Korat Expo 2029 ซึ่งเป็นการจัดงานระดับ World Horticultural Expo (A1) และเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 AIPH ได้ประกาศผลประเทศเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2572 ในช่วงการประชุม AIPH General Meeting ว่าประเทศไทยได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ทั้งนี้ คณะกรรมการ AIPH ได้มีข้อแนะนำให้ควรเริ่มดำเนินการเตรียมการให้เร็วที่สุดจะทำให้งานมีประสิทธิภาพ 2 แผนการดำเนินงานต่อไป 2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฯ (เสนอในครั้งนี้) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ องค์ประกอบ (1) รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล กษ. ประธานกรรมการ (2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ (3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ (4) อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กรรมการและเลขานุการ (5) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ (6) รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรที่ได้รับมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการ (7) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (8) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (9) ปลัดกระทรวงการคลัง (10) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (11) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (12) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (13) ปลัดกระทรวงการคมนาคม (14) ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (15) ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (16) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (17) ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (18) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (19) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (20) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (21) อธิบดีกรมชลประทาน (22) อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (23) อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (24) อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ (25) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (26) ประธานกรรมการหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (27) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (28) ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (29) ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (30) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (31) นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย อำนาจหน้าที่ (1) กำหนดนโยบาย อำนวยการ กำกับ และติดตามผลการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (2) มอบหมายให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐสนับสนุนงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (3) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 เพื่อพิจารณาแผนงานและงบประมาณโครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (4) ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (5) คณะกรรมการอำนวยการฯ สามารถเบิกเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย 2.2. การชำระเงินค่าธรรมเนียมและการจัดทำสัญญามีรายละเอียด ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด ผู้รับผิดชอบ การชำระค่าธรรมเนียม (เมื่อได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดงาน) (1) หลังประกาศผล 1 เดือน ชำระค่าหนังสือค้ำประกันโดยธนาคาร (Financial Guarantee) 100,000 ยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) (2) ภายใน 6 เดือน ชำระค่าตอบแทนการให้ใช้สิทธิ (License Fee) 600,000 ยูโร (ประมาณ 30.5 ล้านบาท รวมภาษี) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว สสปน. การลงนามในสัญญา ลงนามภายใน 3 เดือน หลังประกาศว่าได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพ กษ. จังหวัดนครราชสีมา และ สสปน. กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (1) การเยี่ยมชมพื้นที่จริงของคณะกรรมการสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH Site inspection) ประจำปี 2567 (2) ก่อนการจัดงาน 4 ปี ดำเนินการรายงานต่อ สำนักนิทรรศการระหว่างประเทศ (Bureau International des Expositions: BIE และชำระค่าธรรมเนียม ประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว สสปน. 2.3 ประโยชน์และผลกระทบ ประเด็น รายละเอียด ผลกระทบทางเศรษฐกิจ - เงินทุนหมุนเวียนจากการจัดงาน - การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) - สร้างการจัดงาน - รายได้จากการจัดเก็บภาษี ผลกระทบทางสังคมจากการจัดงาน การจัดมหกรรมพืชสวนโลกในประเทศไทยถือเป็นงานระดับภูมิภาคที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้เดินทางมาเพื่อเข้าร่วมงาน รวมทั้งก่อให้เกิดการบูรณาการและทำงานร่วมกันของทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงจากค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการจัดงานของผู้จัดและค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมงานและเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอันเป็นผลจากการจัดงานอีกด้วย นอกจากผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการจัดมหกรรมพืชสวนโลก ยังส่งผลกระทบทางสังคมต่อประเทศไทยทั้งทางบวกและทางลบในประเด็นด้านต่าง ๆ ได้แก่ เสริมสร้างภาพลักษณ์ ชื่อเสียงและการรับรู้เกี่ยวกับประเทศไทย ทั้งในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่สีเขียวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในฐานะผู้นำด้านเกษตรกรรมและวนเกษตร ให้เป็นที่รับรู้และมีชื่อเสียงทั้งในระดับนานาชาติและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าภาคการเกษตรของประเทศไทย พัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการเกษตรและเทคโนโลยีด้านเกษตรกรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ 1การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (1) A1 : World Horticultural Exhibition ใช้พื้นที่จัดแสดง 500,000 ตารางเมตร ระยะเวลาจัดงาน 3 ? 6 เดือน (2) B : International Horticultural Exhibition ใช้พื้นที่จัดแสดง 250,000 ตารางเมตร ระยะเวลาจัดงาน 3 ? 6 เดือน (3) C : International Horticultural Show ใช้พื้นที่จัดแสดง 6,000 ตารางเมตร ระยะเวลาจัดงาน 4 ? 20 วัน และ (4) D : International Horticultural Trade Exhibition เป็นงานแสดงเพื่อธุรกิจการค้าพันธุ์พืชโดยไม่กำหนดจำนวนวันจัดงานขั้นต่ำ 2 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) (ค) บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีการประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อนเว้นแต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้พัสดุนั้นอันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ ซึ่งหากใช้วิธีการประกาศเชิญชวนทั่วไปจะทำให้ไม่ทันต่อความต้องการใช้พัสดุ ให้ใช้วิธีการคัดเลือก 9. เรื่อง แนวทางการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้ 1. แนวทางการหยุดการดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านคลังสินค้าทัณฑ์บน1 เพื่อขายสำหรับร้านค้าปลอดอากรขาเข้าของผู้ประกอบการ 2. ผลประโยชน์และผลกระทบของการหยุดการดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้านค้าปลอดอากรขาเข้าที่ กค. ได้ศึกษาไว้ในเบื้องต้น ทั้งนี้ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการติดตามและประเมินผลของการหยุดการดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้านค้าปลอดอากรขาเข้าอย่างใกล้ชิดต่อไป สาระสำคัญ 1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) เห็นชอบในหลักการการดำเนินมาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย (มาตรการฯ) และมอบหมายให้มีการดำเนินการศึกษารายละเอียด ผลประโยชน์และผลกระทบ ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ การคลัง และสังคม รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ตามที่ กค. เสนอ ซึ่งรวมถึงการพิจารณาความเหมาะสมในการยกเลิกการอนุญาตให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้านค้าปลอดอากรขาเข้า รวมถึงการยกเว้นอากรของที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากรสำหรับผู้โดยสารขาเข้าเพื่อส่งเสริมการบริโภคและการใช้สินค้าภายในประเทศ2 โดยมอบหมาย กค. พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินมาตรการดังกล่าว 2. กค. ได้พิจารณาแล้ว สามารถสรุปได้ ดังนี้ 2.1 หลักการ : ปัจจุบันผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรผ่านทางท่าอากาศยานนานาชาติ โดยทั่วไปสามารถซื้อสินค้าโดยได้รับสิทธิยกเว้นอากรตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) ของที่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซื้อเพื่อใช้เองเป็นการส่วนตัว หรือใช้ในวิชาชีพ ราคารวมกันไม่เกินสองหมื่นบาท (2) บุหรี่ปริมาณไม่เกินสองร้อยมวน หรือซิการ์ หรือยาเส้น ปริมาณไม่เกินอย่างละสองร้อยห้าสิบกรัม หรือหลายชนิดรวมกัน ปริมาณไม่เกินสองร้อยห้าสิบกรัม แต่บุหรี่ต้องมีปริมาณไม่เกินสองร้อยมวน และ (3) สุรา ปริมาณไม่เกินหนึ่งลิตร ทั้งนี้ การได้สิทธิซื้อสินค้าต่าง ๆ ภายในร้าน Duty Free ขาเข้า ย่อมทำให้โอกาสในการจับจ่ายในการบริโภคและการซื้อสินค้าภายในประเทศมีน้อยลง ดังนั้น กค. จึงมีแนวคิดที่จะศึกษาความเหมาะสมในการยกเลิกการอนุญาตให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้าน Duty Free ขาเข้า รวมถึงการยกเว้นอากรของที่ซื้อจากร้าน Duty Free สำหรับผู้โดยสารขาเข้า เพื่อส่งเสริมการบริโภคและการใช้สินค้าภายในประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงวงเงินใช้จ่ายในร้าน Duty Free ขาเข้าดังกล่าวมากระจายหมุนเวียนในประเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในภาพรวมได้มากยิ่งขึ้น 2.2 ข้อมูลและสถิติ : ร้าน Duty Free ขาเข้า3 ที่ตั้งอยู่ ณ ท่าอากาศยาน ภายในบริเวณพื้นที่ห้องผู้โดยสารขาเข้าเพื่อแสดงและขายให้แก่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้าน Duty Free ขาเข้า จำนวน 3 ราย ดำเนินกิจการในท่าอากาศยานนานาชาติ 8 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ (1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (2) ท่าอากาศยานดอนเมือง (3) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (4) ท่าอากาศยานภูเก็ต (5) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (6) ท่าอากาศยานอู่ตะเภา (7) ท่าอากาศยานสมุย และ (4) ท่าอากาศยานกระบี่ โดยจากสถิติของกรมศุลกากร ในปี 2566 มียอดจำหน่ายสินค้าปลอดอากรในร้าน Duty Free ขาเข้ารวมทั้งสิ้นเป็น จำนวน 3,021.75 ล้านบาท 2.3 แนวทางการดำเนินการ : 2.3.1 กค. ได้พิจารณาจากข้อกฎหมายแล้ว พบว่า ประกาศกรมศุลกากร ที่ 44/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เกี่ยวกับคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร (ประกาศกรมศุลกากรฯ) มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการระงับสิทธิการประกอบกิจการร้านค้าปลอดอากรตามข้อ 21 และ 22 ที่ได้กำหนดเกี่ยวกับการพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากรในกรณีที่ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขในการอนุญาต โดยมิได้บัญญัติเกี่ยวกับการสั่งระงับสิทธิในกรณีอื่น ๆ ไว้ 2.3.2 แต่จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านค้าปลอดอากรทั้ง 3 ราย ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากร โดยยินดีที่จะหยุดการดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้าน Duty Free ขาเข้าตามนโยบายของรัฐบาลจนกว่ารัฐบาลจะมีการยกเลิกนโยบายดังกล่าว 2.3.3 กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีผู้ประกอบการมีความยินดีในการหยุดดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้าน Duty Free ขาเข้า เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักการที่ กค. มีแนวคิดจะแปลงวงเงินใช้จ่ายในร้าน Duty Free ขาเข้ามาหมุนเวียนใช้จ่ายในประเทศได้ โดยไม่ต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อยกเลิกการอนุญาตจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้าน Duty Free ขาเข้า 3. กค. ได้ศึกษาผลประโยชน์และผลกระทบของการหยุดการดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้าน Duty Free ขาเข้า โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 ผลต่อการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ : นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในประเทศมากขึ้น และมีการกระจายการใช้จ่ายและการบริโภคสินค้าและบริการภายในประเทศอย่างกว้างขวาง โดยหากมีการหยุดการดำเนินการจำหน่ายสินค้าในร้านค้าปลอดอากรขาเข้า 1 ปี คาดว่าจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวต่อคนต่อทริปเพิ่มขึ้นประมาณ 570 บาท 3.2 ผลต่อการใช้จ่ายของผู้เดินทางชาวไทย : ผู้เดินทางชาวไทยอาจจะเลือกใช้จ่ายซื้อสินค้าปลอดอากรจากประเทศต้นทางเพื่อทดแทนหรือใช้จ่ายซื้อสินค้าประเภทเดียวกันในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยขึ้นกับปัจจัยในการตัดสินใจที่แตกต่างกัน 3.3 ผลต่อผู้ประกอบการภายในประเทศ : ผู้ประกอบการคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้าน Duty Free จะมีการสูญเสียรายได้อากรขาเข้าส่วนของการจำหน่ายสินค้าในร้าน Duty Free ขาเข้า อย่างไรก็ดี หากมีการหยุดการดำเนินการจำหน่ายสินค้าในร้าน Duty Free ขาเข้าเป็นระยะเวลา 1 ปี คาดว่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านค้าและผู้เกี่ยวข้องในภาคการท่องเที่ยว ตลอดจนร้านค้าทั่วไป เสมือนได้รับเม็ดเงินหมุนเวียนใหม่เพิ่มเติมสูงสุด 3,460 ล้านบาทต่อปี เป็นการสร้างโอกาสและส่งผลเชิงบวกต่อการผลิต การลงทุน และการจ้างงานได้ต่อไป 3.4 ผลต่อรายได้ของภาครัฐ : เม็ดเงินหมุนเวียนมีการกระจายสู่ผู้ประกอบการร้านค้าในวงกว้างเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดการขยายฐานการจัดเก็บภาษีของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม 3.5 ผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวม : กรณีที่มีการหยุดดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้าน Duty Free ขาเข้า เป็นระยะเวลา 1 ปี คาดว่าจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross Domestic Product: GDP) ขยายตัวได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.012 ต่อปี 1 คลังสินค้าทัณฑ์บน คือ พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเพื่อใช้สำหรับเก็บของ (คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป คลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว คลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับอู่ซ่อม หรือสร้างเรือ คลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับเก็บน้ำมัน) หรือแสดงและขายของที่เก็บ [คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร (Duty Free) คลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับจัดแสดงหรือนิทรรศการ คลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากรบนเที่ยวบิน] หรือผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการด้วยวิธีอื่นใดกับของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน (คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า คลังเสบียงทัณฑ์บน) 2 คือ การยกเลิกคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นพื้นที่แสดงและขายของ (ร้าน Duty Free ขาเข้า) เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหรือคนไทยที่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศเกิดการจับจ่ายซื้อของในประเทศแทนที่จะซื้อสินค้าจากในร้าน Duty Free ขาเข้าดังกล่าว 3 ร้านค้า Duty Free คือ คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรโดยเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายประเภทร้านค้าปลอดอากรขาเข้าที่อธิบดีกรมศุลกากรอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามความในมาตรา 116 (2) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติให้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนให้ดำเนินการแสดงและขายของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนได้ 10. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 คณะรัฐมนตรีมีติรับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ตามที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ เสนอดังนี้ สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง ในคราวประชุม กนป. ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุม 302 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นประธาน เพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ โดยสรุปมติที่ประชุม ดังนี้ 1. ทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานขับเคลื่อนกลไกบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 5 จังหวัดภาคใต้ 1.1 เห็นชอบให้ยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติที่ 2/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานขับเคลื่อนกลไกบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 5 จังหวัด ภาคใต้ 1.2 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกลไกบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ชุดใหม่ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นประธานอนุกรรมการ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้พิจารณาองค์ประกอบคณะอนุกรรมการฯ สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามเดิม ยกเว้นการแต่งตั้งคณะทำงานให้ประธานอนุกรรมการ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) มีอำนาจในการพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงาน โดยคณะทำงานที่จะแต่งตั้งใหม่นี้ ให้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมจาก 5 จังหวัด (ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และ นครศรีธรรมราช) เป็น 7 จังหวัด โดยเพิ่มเติม 2 จังหวัด คือ จังหวัดตรัง และ จังหวัดระนอง สำหรับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานให้อยู่ในดุลพินิจของประธานอนุกรรมการ 1.3 เมื่อประธานอนุกรรมการฯ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เห็นชอบองค์ประกอบคณะอนุกรรมการฯ แล้ว มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอประธาน กนป. พิจารณาลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ต่อไป 2. แนวทางแก้ไขปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ จากการประชุมหารือ 3 กระทรวง กรณีปัญหาราคาซื้อขายไบโอดีเซล (บี100) กับผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 มอบหมายกระทรวงพลังงาน พิจารณาขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 รับซื้อน้ำมันไบโอดีเซล (บี 100) ตามราคาประกาศจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเพื่อทราบต่อไป 3. การปรับเพิ่มความถี่ในการแจ้งข้อมูลรับซื้อ ผลิต และราคาผลปาล์มและน้ำมันปาล์มของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 3.1 เห็นชอบการปรับเพิ่มความถี่ในการแจ้งข้อมูล ได้แก่ (1) ปริมาณการรับซื้อ ปริมาณการใช้ ปริมาณคงเหลือ ราคารับซื้อผลปาล์ม และอัตราเปอร์เซ็นต์สกัดน้ำมันที่ผลิตได้ (2) ปริมาณผลิต ปริมาณการจำหน่ายและรายละเอียดการจำหน่าย ปริมาณคงเหลือ และสถานที่เก็บน้ำมันปาล์ม จากเดิม ให้แจ้งข้อมูล ณ วันสิ้นเดือนเป็นประจำทุกเดือน เป็น ให้แจ้งข้อมูลเป็นประจำทุกวัน ตามแบบแจ้งที่เลขาธิการ กกร. (อธิบดีกรมการค้าภายใน) กำหนด 3.2 มอบหมายกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ นำเสนอคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายให้สามารถมีผลบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ ให้มีการใช้มาตรการดังกล่าวในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน หากกำหนดเป็นข้อกฎหมายและมีการประกาศใช้แล้ว เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงและคลี่คลาย สามารถทบทวน แก้ไข ปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นหรือยกเลิกได้ทันที โดยให้กรมการค้าภายในรับข้อสังเกตและข้อเสนอจากที่ประชุม มาประกอบการพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการต่อไป 4. การคงมาตรการการใช้น้ำมันดีเซล B7 มอบหมายให้กระทรวงพลังงานพิจารณาคงมาตรการการใช้น้ำมันดีเซล B7 ต่อไป โดยมอบหมายฝ่ายเลขานุการ กนป. ทำหนังสือแจ้งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อทราบ และเสนอ กบง. เพื่อพิจารณาต่อไป 5. การพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 5.1 มอบหมายให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกลไกบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม คณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มด้านการผลิตคณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มด้านการตลาด คณะอนุกรรมการบริหารจัดการสมดุลน้ำมันปาล์ม และคณะอนุกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ พิจารณาดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน โดยมีประเด็นที่มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาตามบทบาท อำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) การบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกของเกษตรกรและการแปรรูปของโรงงานสกัด 2) การขยายพันธุ์ปาล์มคุณภาพ 3) การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคการ์โนเดอร์ม่า 4) การขึ้นทะเบียนคนตัดปาล์ม ผู้ประกอบการลานเท ตลอดจนการจัดให้มีข้อมูลจำนวนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และกำลังการผลิตของแต่ละโรงงาน 5) การจัดฝึกอบรมการเก็บเกี่ยวเพื่อยกระดับมาตรฐานผลปาล์มน้ำมันที่เข้า สู่ตลาด 6) การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องชั่งน้ำหนัก ตวง วัด และการจัดให้มีเครื่องชั่งกลาง 7) การศึกษาการจัดทำเครื่องตรวจวัดเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 8) การแปรรูป และการสร้างมูลค่าเพิ่มปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 9) การพิจารณาจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากน้ำมันปาล์ม เพื่อเป็นการช่วยดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ 5.2 มอบหมายฝ่ายเลขานุการ กนป. แจ้งคณะอนุกรรมการแต่ละคณะพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 6. การขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเพิ่มปาล์มน้ำมันในระยะเร่งด่วน มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พิจารณาดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าจากปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มที่มีมูลค่าสูง ประโยชน์และผลกระทบ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มมีความรวดเร็วและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการบริหารจัดการด้านราคาและปริมาณปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีข้อมูลประกอบการจัดทำแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาได้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้ราคาผลปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มมีเสถียรภาพ ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มได้รับความเป็นธรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ 11. เรื่อง ผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 และวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 และวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567 2. เห็นชอบในหลักการโครงการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด จำนวน 16 โครงการ กรอบวงเงิน 259,004,600 บาท โดยให้กลุ่มจังหวัดและจังหวัดขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด นำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามขั้นตอนต่อไป 3. เห็นชอบในหลักการของโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) จำนวน 8 โครงการ กรอบวงเงิน 247,153,400 บาท โดยให้ส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งจัดทำข้อเสนอโครงการ โดยให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างรอบคอบ รวมทั้งให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามขั้นตอนต่อไป 4. มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) ในส่วนที่เหลือจำนวน 84 โครงการ เพื่อบรรจุไว้ในแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป 5. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติที่ประชุม ไปพิจารณาเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 6. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 - 5 และรายงานผลการดำเนินการให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อไป สาระสำคัญและข้อเท็จจริง 1. เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกำหนดจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2567 ณ จังหวัดนครราชสีมา และติดตามการตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) และมอบหมายให้ สศช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงบประมาณ เป็นฝ่ายเลขานุการจัดการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เพื่อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัด ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดนครราชสีมา 2. ในช่วงระหว่างวันที่ 25 เมษายน 2567 - วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 สศช. ร่วมกับสำนักงบประมาณ และกระทรวงมหาดไทยได้ประสานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และภาคเอกชน ในการพิจารณากลั่นกรองโครงการที่เป็นความต้องการของพื้นที่ โดยในช่วงระหว่างวันที่ 12 - 14 มิถุนายน 2567 สศช. ร่วมกับสำนักงบประมาณ และกระทรวงมหาดไทยได้ลงพื้นที่ประชุมหารือเพื่อพิจารณาโครงการ ตามความต้องการของพื้นที่ที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันที 3. สศช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงบประมาณ ได้จัดการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 1 โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ และเมื่อวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ชั้น 4 จังหวัดนครราชสีมา โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานการประชุมฯ และมีผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้แทนสถาบันภาคเอกชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ได้แก่ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เข้าร่วมประชุมฯ โดยข้อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 สรุปได้ดังนี้ 3.1 ข้อเสนอโครงการที่มีความพร้อมและดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 จำนวน 16 โครงการ กรอบวงเงิน 249,004,600 บาท ดังนี้ (1) โครงการส่งเสริมศักยภาพคลัสเตอร์ไหมอีสาน กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์สู่สากล วงเงิน 9,000,000 บาท (2) โครงการ Triple Heritage Ring Road เพื่อพัฒนาและยกระดับสินค้าและบริการและสร้างอัตลักษณ์ของท้องถิ่นของผู้ประกอบการ ตามเส้นทาง 3 มรดกโลก เชื่อมโยงการท่องเที่ยวนครชัยบุรินทร์ วงเงิน 6,000,000 บาท (3) โครงการการสร้าง ?ศูนย์กลางการประกอบอาหารนครชัยบุรินทร์ (Nakornchaiburin Gastronomy Hub) เพื่อผลิตกำลังคนสำหรับรองรับอุตสาหกรรมอาหารและบริการ (ท่องเที่ยว) ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ วงเงิน 30,600,000 บาท (4) โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัยนครชัยบุรินทร์ กิจกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ในชุมชนนครชัยบุรินทร์ด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย วงเงิน 4,390,600 บาท (5) โครงการพัฒนาพื้นที่เขาใหญ่ เพื่อให้ได้รับการรับรองเป็น Blue Zone วงเงิน 6,000,000 บาท (6) โครงการ Locations For Filming Industry In Korat เพิ่มศักยภาพการแข่งขันและพัฒนาพื้นที่เมืองโคราชเป็นพื้นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ วงเงิน 6,000,000 บาท (7) โครงการส่งเสริมการผลิตและขยายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดจังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 5,600,000 บาท (8) โครงการระบบผลิตน้ำประปาขนาดใหญ่ กำลังการผลิต 10 ล้านลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (SIZE L) จำนวน 5 กิจกรรม (ผลิตน้ำประปาดื่มได้) วงเงิน 32, 400,000 บาท (9) โครงการยกระดับมาตรฐานเส้นทางคมนาคมสายหลัก (ขยายช่องทางจราจรถนนสายหลัก ให้เป็น 4 ช่องจราจร ตลอดสายทาง) กิจกรรม ขยายช่องทางจราจรให้เป็น 4 ช่องจราจร ถนน ทล.2354 (เทพสถิต-ซับใหญ่) กม. 49+000 - กม. 50+000 ระยะทาง 1 กิโลเมตร วงเงิน 40,000,000 บาท (10) โครงการยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน วงเงิน 3,000,000 บาท (11) โครงการแปลงขยะเศษอาหารและเศษวัชพืชเป็นปุ๋ยอินทรีย์ วงเงิน 7,000,000 บาท (12) โครงการบำรุงรักษาทางหลวง บูรณะทางผิวแอสฟัลต์ทางหลวง หมายเลข 348 ตอน ช่องตะโก น้อยสะแกกวน ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ วงเงิน 10,000,000 บาท (13) โครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกตามหลักอารยสถาปัตย์ในแหล่งท่องเที่ยวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง วงเงิน 12,050,000 บาท (14) โครงการงานขยายเขตจำหน่ายน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและรองรับการพัฒนา ทางเศรษฐกิจในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ วงเงิน 26,964,000 บาท (15) โครงการก่อสร้างถนนลาดยางแอสฟัลติกคอนกรีตสายแยกเขาขาว - จุดชมวิวผามะนาว ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (ตอนที่ 2) ระยะทาง 4.500 กิโลเมตร วงเงิน 33,800,000 บาท และ (16) โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาแบบ POG TANKS (SIZE L) วงเงิน 16,200,000 บาท มติที่ประชุม : เห็นชอบในหลักการโครงการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด จำนวน 16 โครงการ กรอบวงเงิน 249,004,600 บาท โดยให้กลุ่มจังหวัดและจังหวัดขอรับการจัดสรร จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด นำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามขั้นตอนต่อไป 3.2 ข้อเสนอประเด็นการพัฒนากลุ่มจังหวัดฯ และจังหวัดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) จำนวน 92 โครงการ ดังนี้ (1) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนากลุ่มจังหวัดฯ จำนวน 10 โครงการ ดังนี้ 1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 10 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการปรับปรุงก่อสร้างถนนเข้าสู่แหล่งท่องเทียว สายทางเข้าเขื่อนลำแชะ ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ผิวจราจรกว้าง 6.00 ม. ไหล่ทางกว้างข้างละ 0.00 - 1.00 ม. ระยะทาง 4.200 กม. (2) โครงการการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีชุมชน นครชัยบุรินทร์ (3) โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงานและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม : กิจกรรม ก่อสร้างโรงงานต้นแบบและการจัดการพื้นที่ : กิจกรรม เครื่องมือและวัสดุแบบหล่อต้นแบบ (4) โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการเป็นเมือง Low carbon city เพื่อดึงดูดการลงทุน ของ Green industry business (5) โครงการสร้างเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่า ?อาหาร SAN ดี? ประจำถิ่นนครชัยบุรินทร์ From Local to Global (6) โครงการยกระดับโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) ระยะที่ 1 (7) โครงการยกระดับโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) ระยะที่ 2 (8) โครงการศูนย์การจัดการคาร์บอนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Center of Carbon Management of Northeastern Region ระยะที่ 1 (9) โครงการศูนย์การจัดการคาร์บอนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Center of Carbon Management of Northeastern Region ระยะที่ 2 และ (10) โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ในเขตพื้นที่อิสานตอนล่าง (2) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 เรื่อง 48 โครงการ ดังนี้ 1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 43 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจชุมชน กับโครงข่ายคมนาคมหลักในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 18 กิจกรรม (2) โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจชุมชนกับโครงข่ายคมนาคมหลักในสายทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 54 กิจกรรม (3) โครงการพัฒนาเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในเขต พื้นที่เทศบาลตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา (4) โครงการพัฒนาศักยภาพศิลปะร่วมสมัย และละครเวที จังหวัดนครราชสีมา (5) การพัฒนากำลังคนด้านภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์โคราช และยกระดับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ด้วยอุตสาหกรรมบันเทิงยุคดิจิทัลสู่สาธารณะและสากล (6) โครงการจัดกิจกรรมการแข่งขันวอลเลย์บอล ?Nakhon Ratchasima Youth Volleyball festival 2024? (7) โครงการบริหารและพัฒนาโคราชจีโอพาร์คโลกยูเนสโก (8) โครงการขับเคลื่อน Soft Power โคราชเมืองศิลปะ (9) โครงการจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล รายการวอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย 2024 (2024 Asian Women's Club Volleyball Championship) (10) โครงการจัดสร้างศูนย์ประชุมและนิทรรศการจังหวัดนครราชสีมา (11) โครงการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบพัฒนาเส้นทาง 3 มรดกโลก Triple Heritage Ring Road (12) โครงการพัฒนาพื้นที่เขาใหญ่เป็น Blue Zone แห่งที่ 6 ของโลก (13) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณพื้นที่เขาเขื่อนลั่น ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (Sky Walk บริเวณพื้นที่เขาเขื่อนลั่น) (14) โครงการพัฒนากีฬาจังหวัด Sport City (15) โครงการแผนแม่บทการพัฒนาท่องเที่ยวดินแดนสามมรดก ยูเนสโกโคราช พ.ศ. 2568 - 2572 (Sustainable Tourism Development Master Plan For Korat Triple Heritage 2025 - 2029) (16) โครงการพัฒนาแหล่งทรัพยากรธรณี บ้านหนองน้ำแดง อำเภอ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (17) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และอาคารประดิษฐานพระนอนเมืองเสมา โบราณสถานเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (18) โครงการจัดสร้างอาคารศูนย์ข้อมูลรัฐศรีจนาศะ อารยธรรมโบราณอีสานใต้ ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (19) โครงการพัฒนาการจัดแสดงและเพิ่มศักยภาพศูนย์ข้อมูลรัฐศรีจนาศะ อารยธรรมโบราณอิสานใต้ (20) โครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์วัฒนธรรมคูเมืองกำแพงเมือง เสริมความมั่นคงประตูเมืองด้านทิศเหนือ (ประตูผี) อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (21) โครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งอำนวยความสะดวก (พื้นที่ให้บริการ) อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัด นครราชสีมา (22) โครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ประตูเมืองและคูเมืองพิมาย ด้านทิศตะวันออกอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (23) โครงการการเพิ่มศักยภาพการผลิตและยกระดับการเลี้ยงโคเนื้อสู่ฟาร์มมาตรฐาน (24) โครงการอีสานวากิวสู่ครัวโลก (25) โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการการทดสอบความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility EMC Test) (26) โครงการระบบระบายน้ำช่วงบ้านละกอ พร้อมอาคารประกอบ ตำบลศรีละกอ อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่ (27) โครงการแก้จน คนโคราช ด้วยสัมมาชีพ (28) โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ลำปรุ ซอย 2/10 (ข้างโรงเรียนเมรี่เทคโน) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (29) โครงการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการเข้าถึงอาชีพและสร้างรายได้ของกลุ่มเปราะบาง ด้วยตลาดนำ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเสริม ?โมเดลเห็ดดี มีแฮง? จังหวัดนครราชสีมา (30) โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไข ปัญหาความยากจนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 162 กิจกรรม (31) โครงการปรับปรุงคลองส่งน้ำ ระบบกระจายน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3 กิจกรรม (32) โครงการศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (33) โครงการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ หน่วยบริการปฐมภูมิเขตเมือง เพื่อลดความแออัดให้กับประชาชน ในเขตเมืองนครราชสีมา (34) โครงการพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย (โรงพยาบาลโชคชัย) เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และเพื่อลดความแออัดโรงพยาบาลศูนย์ (35) โครงการพัฒนาและยกระดับระบบบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลโนนสูง เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย (36) โครงการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้มีศักยภาพสูง เพื่อรองรับการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกนครราชสีมา 2572 (37) โครงการก่อสร้างอาคารห้องชุด ครอบครัว 12 ยูนิต (24 ห้อง) เพื่อบุคลากรโรงพยาบาลมกุฏคีรีวัน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (38) โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนคร นครราชสีมา ระยะที่ 3 (39) โครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำและกระจายน้ำพร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 2 กิจกรรม (40) โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากน้ำท่วมน้ำแล้งเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 8 กิจกรรม (41) โครงการก่อสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน 5 ชั้น (จำนวน 114 เตียง) โรงพยาบาลห้วยแถลงแห่งใหม่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา (42) โครงการการประชุมวิชาการกล้วยไม้โลก ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2572 และ (43) โครงการระบบผลิตน้ำประปาขนาดใหญ่ กำลังการผลิต 10 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (SIZE L) จำนวน 3 กิจกรรม (ผลิตน้ำประปาดื่มได้) 2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) นครราชสีมา เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค (2) การเปิดเส้นทางการบินพาณิชย์ ณ ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา (3) โครงการขับเคลื่อนศูนย์ประชุมและจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ นครราชสีมา (4) โครงการ Soft Power จังหวัดนครราชสีมา และ (5) การขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ NeEC - Bioeconomy? (3) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 2 เรื่อง 15 โครงการ ดังนี้ 1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 11 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการยกระดับมาตรฐานเส้นทางคมนาคมสายหลัก (ขยายของทางจราจรถนนสายหลัก ให้เป็น 4 ช่องจราจร คลอดสายทาง) จำนวน 4 กิจกรรม (2) โครงการศึกษาความเหมาะสม และการสำรวจออกแบบเพื่อปรับปรุงและยกระดับระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ จำนวน 7 กิจกรรม (3) โครงการเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และพัฒนา Land Mark จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 7 กิจกรรม (4) โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างครบวงจร จำนวน 5 กิจกรรม (5) โครงการพัฒนา แหล่งน้ำรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ จำนวน 23 กิจกรรม (6) โครงการยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน จำนวน 5 กิจกรรม (7) โครงการ Smart Economy (อบจ ชย.) (8) โครงการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน (ครอบครัวชัยภูมิเข้มแข็ง) (9) โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมผู้สูงอายุ จำนวน 3 กิจกรรม (10) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข จำนวน 4 กิจกรรม และ (11) โครงการจัดหาน้ำประปา POG พัฒนาคุณภาพชีวิต 2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย (1) ขอประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) - Phase 1 จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ คอนสาร/ภูเขียว/เกษตรสมบูรณ์/แก้งคร้อ และเมืองชัยภูมิ (ขอรับการสนับสนุนด้านวิจัยเพื่อพัฒนา (R&D)) (2) ขอจัดตั้ง ททท. สำนักงานชัยภูมิ (3) โครงการส่งเสริมด้านการตลาดการท่องเที่ยว จำนวน 3 กิจกรรม (ขอรับการสนับสนุนส่งเสริมด้านการตลาดการท่องเที่ยว) และ (4) โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์ของฝากของที่ระลึกจังหวัดชัยภูมิ (ขอรับการสนับสนุนด้านวิจัยเพื่อพัฒนา (R&D)) (4) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 1 เรื่อง 7 โครงการ ดังนี้ 1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 7 โครงการ ประกอบด้วย (1) ก่อสร้างขยายทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 348 อำเภอตาพระยา - อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะทาง 28.00 กิโลเมตร (2) ก่อสร้างขยายถนนลาดยางแอสฟัลติกคอนกรีต ทางหลวงหมายเลข 2445 ตอน บุรีรัมย์ - แสลงโทน ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะทาง 0.745 กิโลเมตร (3) โครงการการส่งเสริมและการพัฒนาตลาดการค้าชายแดน (4) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำรองรับการขยายตัวพื้นที่เขตเศรษฐกิจ (เพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำห้วยยาง ตำบลดอนอะราง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์) (5) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย การประปาส่วนภูมิภาคสาขาบุรีรัมย์ (6) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำรองรับการขยายตัวพื้นที่เขตเศรษฐกิจ และ (7) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำลำปะเทีย ลุ่มน้ำลำตะโคง บรรเทาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ (5) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 เรื่อง 12 โครงการ ดังนี้ 1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 9 โครงการ ประกอบด้วย (1) งานก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน กิจกรรมก่อสร้างเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง ทางหลวงหมายเลข 2076 ตอนท่าตูม-หนองฮู ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ระยะทาง 1.500 กิโลเมตร (2) โครงการซ่อมสร้างผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต สายบ้านลำเพ็ญ สะพานข้ามแม่น้ำมูลสีลาพิราม รหัสสายทาง รอ.018 อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1 แห่ง (3) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง บ้านตามีย์ ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปริมาตรดินขุดไม่น้อยกว่า 800,000 ลูกบาศก์เมตร (4) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองกระทุม พร้อมอาคารประกอบ ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปริมาตรดินขุดไม่น้อยกว่า 180,000 ลูกบาศก์เมตร (5) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำอำปึล บ้านใต้ฆ้อง ตำบลตาอ็อง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปริมาตรดินขุดไม่น้อยกว่า 800,000 ลูกบาศก์เมตร (6) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว บ้านสร้างบก ตำบลหนองบัวบาน อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปริมาตรดินขุดไม่น้อยกว่า 300,000 ลูกบาศก์เมตร (7) โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาแบบ POG TANKS (Size L) จำนวน 2 กิจกรรม (8) โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาแบบ POG TANKS (SIZE M) จำนวน 2 กิจกรรม และ (9) โครงการเครื่องแปลงขยะเศษอาหารและเศษวัชพืชโดยใช้จุลินทรีย์ (Food Waste and Weed Waste Recycling Machine) ณ ศูนย์คัดแยกขยะเทศบาลตำบลเมืองที อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย (1) ขอให้เร่งรัดผลักดันการพัฒนาด่านพรมแดนช่องจอม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัด สุรินทร์ (2) ขอให้เร่งรัดผลักดันการศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาท่าอากาศยานสุรินทร์ และ (3) ขอให้ผลักดันโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำห้วยเสนงและอำปึลจังหวัดสุรินทร์ 3.3 การพิจารณาข้อเสนอกลุ่มจังหวัดฯ ของภาคเอกชน (กรอ. กลุ่มจังหวัด) จำนวน 92 โครงการ โดย สศช. สำนักงบประมาณ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด และภาคเอกชน พบว่าข้อเสนอกลุ่มจังหวัดฯ ของภาคเอกชนที่มีความพร้อมดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี จำนวน 8 โครงการ กรอบวงเงิน 247,153,400 บาท ดังนี้ (1) โครงการปรับปรุงก่อสร้างถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว สายทางเข้าเขื่อนลำแขะ ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ผิวจราจรกว้าง 6.00 ม. ไหล่ทางกว้างข้างละ 0.00-1.00 ม. ระยะทาง 4.200 กม. วงเงิน 35,000,000 บาท (2) โครงการสร้างเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่า ?อาหาร SAN ดี? ประจำถิ่นนครชัยบุรินทร์ From Local to Global วงเงิน 14,653,400 บาท (3) โครงการระบบระบายน้ำช่วงบ้านละกอ พร้อมอาคารประกอบ ตำบลศรีละกอ อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่ วงเงิน 32,000,000 บาท (4) โครงการ ขับเคลื่อน Soft Power โคราชเมืองศิลปะ วงเงิน 8,500,000 บาท (5) โครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์วัฒนธรรมคูเมืองกำแพงเมือง เสริมความมั่นคงประตูเมืองด้านทิศเหนือ (ประตูผี) อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 7,000,000 บาท (6) โครงการเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และพัฒนา Land Mark จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 3 กิจกรรม วงเงิน 50,000,000 บาท (7) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำรองรับการขยายตัวพื้นที่เขตเศรษฐกิจ (เพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำห้วยยาง ตำบลดอนอะราง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์) วงเงิน 50,000,000 บาท และ (8) งานก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน กิจกรรมก่อสร้างเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง ทางหลวงหมายเลข 2076 ตอนท่าตูม-หนองฮู ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ระยะทาง 1.500 กิโลเมตร วงเงิน 50,000,000 บาท มติที่ประชุม : (1) เห็นชอบในหลักการของโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) จำนวน 8 โครงการ กรอบวงเงิน 247,153,400 บาท โดยให้ส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งจัดทำข้อเสนอโครงการ โดยให้ความสำคัญกับความคุ้มค่า และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างรอบคอบ รวมทั้งให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด นำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามขั้นตอนต่อไป (2) มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ กลุ่มจังหวัด) ในข้อ 3.2 ในส่วนที่เหลือจำนวน 84 โครงการ เพื่อบรรจุไว้ในแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป 3.4 ในการประชุมหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) กับผู้ว่าราชการจังหวัดและภาคเอกชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เมื่อวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ชั้น 4 จังหวัดนครราชสีมา มีข้อเสนอเพิ่มเติมจากภาคเอกชน จำนวน 4 เรื่อง ดังนี้ (1) การขอรับการสนับสนุนโครงการส่งเสริมและสร้างศูนย์กลางอุตสาหกรรมโคเนื้อครบวงจรในพื้นที่นครชัยบุรินทร์ และอีสานใต้ โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอน (2) การขอเร่งรัดผลักดันการยกระดับจุดผ่อนปรนทางการค้าช่องสายตะกู ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจุดผ่านแดนถาวร โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาตามขั้นตอน (3) การยกระดับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ให้เป็นศูนย์กลางวัตกรรมทางการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพ (Wellness and Medical hub) โดยมอบหมายให้กรมป่าไม้รับไปพิจารณาผ่อนผันการอนุญาตใช้พื้นที่ดำเนินการ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พิจารณามาตรการที่เอื้อต่อการลงทุนไปสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ โดยพิจารณากำหนดขอบเขตพื้นที่สำหรับการส่งเสริมเป็นการเฉพาะในลักษณะเดียวกันกับย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yothi Medical Innovation District: YMID) (4) การศึกษาความเป็นไปได้การดำเนินโครงการรถไฟท่องเที่ยวคุณภาพสูงเชื่อมโยงเส้นทางกรุงเทพฯ - นครชัยบุรินทร์ และหัวเมืองใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดหนองคาย เป็นต้น โดยมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป มติที่ประชุม มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์และผลกระทบ หากคณะรัฐมนตรีรับทราบและให้ความเห็นชอบการดำเนินงานตามผลการประชุมฯ จะเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยลนับสนุนการยกระดับกลุ่มจังหวัดฯ ให้เป็นประตูสู่ภาคอีสาน ศูนย์กลางการทองเที่ยวอารยธรรม และเกษตรมูลค่าสูง (Isan Gateway to Cultural Heritage and Bioeconomy Hub) โดยการยกระดับการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่มีความหลากหลายสู่ระดับสากล (World Class Tourism) มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปและเศรษฐกิจชีวภาพ (Future Food & Bioeconomy ให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับพื้นที่ การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง Logistics Hub เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจชุมชนและระหว่างภูมิภาค อันจะก่อเกิดการสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน (Well-being & Poverty Reduction) ให้คนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น ต่างประเทศ 12. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่นว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่นว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม (ร่างบันทึกความร่วมมือฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำในร่างบันทึกความร่วมมือฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ ทส. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฯ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ (จะมีพิธีลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฯ ระหว่างรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ในช่วงเช้าของวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 ณ กรุงเทพมหานครประเทศไทย) สาระสำคัญของเรื่อง 1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (8 พฤษภาคม 2561) เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น ว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม (บันทึกความร่วมมือฉบับเดิม) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในบันทึกความร่วมมือฉบับเดิมในโอกาสเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 16 - 18 พฤษภาคม 2561 โดยบันทึกความร่วมมือฉบับเดิม มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างอำนวยความสะดวกและพัฒนาความร่วมมือซึ่งกันและกันในสาขาสิ่งแวดล้อม ตามที่ ทส. เสนอ 2. เนื่องจากบันทึกความร่วมมือฉบับเดิมได้สิ้นสุดผลใช้บังคับลง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินแผนงาน/โครงการภายใต้บันทึกความร่วมมือฉบับเดิม ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM)1 โครงการขยะทะเลและการกัดเซาะชายฝั่ง โครงการจัดการมลพิษทางอากาศ โครงการจัดการขยะและของเสีย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ดังนั้น ทส. (ไทย) และกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งญี่ปุ่นจึงเห็นชอบร่วมกันที่จะจัดทำร่างบันทึกความร่วมมือฯ ฉบับใหม่ โดยปรับปรุงประเด็นความร่วมมือให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและจะขยายระยะเวลาความร่วมมือต่อเนื่องทุก 5 ปี 3. ร่างบันทึกความร่วมมือฯ ฉบับใหม่ มีสาระสำคัญใกล้เคียงกับบันทึกความร่วมมือฉบับเดิม โดยสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ (1) การเพิ่มขึ้นของสาขาความร่วมมือ (2) หน่วยประสานงานกลางของญี่ปุ่น และ (3) การระบุให้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ ฉบับใหม่ สามารถขยายระยะเวลาสิ้นสุดของผลใช้บังคับได้โดยอัตโนมัติทุก 5 ปี นอกจากนี้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ ฉบับใหม่ จะให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติอันจะนำไปสู่การบรรลุตามความตกลงปารีส2 กรอบงานคุนหมิง ? มอนทรีออล3 ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลกและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ 4. ร่างบันทึกความร่วมมือฯ ฉบับใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างอำนวยความสะดวกและพัฒนาความร่วมมือซึ่งกันและกันในสาขาสิ่งแวดล้อมและบันทึกความร่วมมือฯ ฉบับนี้ ไม่ใช่สนธิสัญญาและไม่ก่อให้เกิดสิทธิหรือข้อผูกมัดใดๆ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ 1JCM เป็นกลไกแบบทวิภาคีที่ประเทศญี่ปุ่นได้ริเริ่มขึ้นเพื่อช่วยให้ประเทศที่มีความร่วมมือสามารถใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำในการทำ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกโดยการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น 2ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 และควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อน การปฏิวัติอุตสาหกรรม 3กรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออล (Kunming - Montreal Global Biodiversity Framework) เป็นกรอบงานตามอนุสัญญาว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) ซึ่งกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความ หลากหลายทางชีวภาพที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ค.ศ. 2030 และการดำเนินงานภายใต้ความตกลงพหุภาคี ด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย 4 ด้าน ในปี ค.ศ. 2050 ได้แก่ (1) การปกป้องและฟื้นฟู (ลดอัตราการสูญพันธุ์ ของสายพันธุ์ที่ถูกคุกคามจากมนุษย์ลง 10 เท่า) (2) การพัฒนาไปกับธรรมชาติ (พื้นฟูระบบนิเวศที่กำลังเสื่อมถอยด้วยการพัฒนาที่ ยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต) (3) การแบ่งปันผลประโยชน์การใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเป็นธรรม และ (4) การลงทุนและการร่วมมือ (สมาชิกภาคีสามารถเข้าถึงความรู้ทางเทคนิค/วิทยาศาสตร์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อดำเนินการ ตามกรอบงานได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียม รวมถึงพยายามลดช่องว่างทางการเงินของสมาชิกภาคี) แต่งตั้ง 13. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากประธานกรรมการ ฯ เดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป 14. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา รวม 10 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ ประธานกรรมการ 2. นายอิสระ ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา 3. รองศาสตราจารย์กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย กรรมการผู้เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษา 4. นายกีร์รัตน์ สงวนไทร กรรมการผู้เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษา 5. นายจิตรนรา นวรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 6. ศาสตราจารย์พีระพงศ์ ทีฆสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7. รองศาสตราจารย์ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8. รองศาสตราจารย์รวิน วงศ์อุไร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9. รองศาสตราจารย์วรา วราวิทย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 10. ศาสตราจารย์สุรินทร์ คำฝอย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป 15. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 5 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 1. นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 2. นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 3. นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 4. นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 5. นายธนสุนทร สว่างสาลี อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพลังงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 1. นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 2. นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน 3. นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร (นักบริหาร ระดับสูง) (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอน นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ว่าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายพลัฏฐ์ ศิริกุลพิสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุชาติ ชมกลิ่น) 2. จ่าเอก ยศสิงห์ เหลี่ยมเลิศ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุชาติ ชมกลิ่น)] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป 19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอการแต่งตั้ง นายวิเชียร สุขสร้อย เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป