สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 กรกฎาคม 2567

ข่าวการเมือง Tuesday July 9, 2024 18:41 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (9 กรกฎาคม 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมในการให้บริการของศุลกากรที่เกี่ยวกับการ                                        ผ่านแดน ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองตะกั่วป่า                                         จังหวัดพังงา พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 60 ปี                                                             มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของ                                        คนประจำเรือ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัด                                                  กาญจนบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัด                                                  กาญจนบุรี พ.ศ. 2560)
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567                                         พ.ศ. ....
                    7.          เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผา                                                  ไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งและ                                        การออกใบรับรองและอัตราค่าธรรมเนียม พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุ                                                  กัมมันตรังสี พ.ศ. ....
                    9.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ....
                    10.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. ....
                    11.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุ                                        นิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกาก                                                  กัมมันตรังสี พ.ศ. ....
                    12.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีใน                                        การขนส่ง พ.ศ. ....
                    13.           เรื่อง           การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย                                        เพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. ?.

เศรษฐกิจ-สังคม
                    14.           เรื่อง           ขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารจอดรถ 10 ชั้น พื้นที่อาคาร 16,603                                                   ตารางเมตร โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 หลัง
                    15.           เรื่อง           ขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 7 ชั้น 96 ห้อง พื้นที่ใช้สอย                                         3,908 ตารางเมตร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว                                                   จำนวน 2 หลัง
                    16.           เรื่อง           การปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายการเงิน                                                  อุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู
                    17.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2567 และแนวโน้มไตรมาสที่                                         2/2567 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2567
                    18.           เรื่อง           (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2567-2570)
                    19.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริม                                        และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ                                         ระเบียบหรือคำสั่ง กรณีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการ                                        ชันสูตรพลิกศพ
                    20.            เรื่อง           รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5                                                   หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เรื่อง                                                   ความเดือดร้อนจากการดำเนินโครงการเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร และ                                        เขื่อนธาตุน้อย)
                    21.           เรื่อง           ผลการพิจารณา ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการ                                        แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รวม 11 ญัตติ
                    22.           เรื่อง           สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนพฤษภาคม 2567
                    23.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 3/2567
                    24.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินมาตรการลดภาระ                                        ค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคมถึง                                                  เมษายน 2567
                    25.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ประจำปี                                        งบประมาณ พ.ศ. 2567-2570
                    26.           เรื่อง           รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามแนวทางการประเมิน Business Ready                                          (B-READY) ของธนาคารโลก
                    27.           เรื่อง           โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ปีงบประมาณ                                                   พุทธศักราช 2568 ? 2570

ต่างประเทศ
                    28.            เรื่อง           การถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
                    29.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ
                    30.           เรื่อง           การต่ออายุความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap                                                   Agreement) ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังญี่ปุ่น
                    31.           เรื่อง          ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

แต่งตั้ง
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก (กระทรวง                                        การต่างประเทศ)
                    33.           เรื่อง           คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนัก                                                  นายกรัฐมนตรี)
                    34.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงวัฒนธรรม)
                    35.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    36.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    37.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการต่อสัญญาจ้างผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
                    38.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาด
                    39.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง) ?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมในการให้บริการของศุลกากรที่เกี่ยวกับการผ่านแดน ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมในการให้บริการของศุลกากรที่เกี่ยวกับการผ่านแดนตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป

ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

กค. เสนอว่า

1. โดยที่มาตรา 5 (3) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติ และยกเว้นค่าธรรมเนียม

2. ต่อมาได้มีกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรฯ ข้อ 1 (11) บัญญัติให้กำหนดค่าธรรมเนียมในการให้บริการของศุลกากรที่เกี่ยวกับการผ่านแดนตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ดังนี้

1) รถกระบะบรรทุก รถตู้บรรทุก และรถบรรทุก คันละ 300 บาท

2) รถพ่วง รถกึ่งพ่วง รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว และรถลากจูง คันละ 500 บาท

3. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ตลอดจนช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในประเทศ และในภูมิภาค จึงเห็นควรยกเว้นค่าธรรมเนียมในการให้บริการของศุลกากรเกี่ยวกับการผ่านแดนตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ สำหรับรถบรรทุกขนส่งสินค้า รวม 7 ประเภท ได้แก่ รถกระบะบรรทุก รถตู้บรรทุก รถบรรทุก (อัตราค่าธรรมเนียมคันละ 300 บาท) รถพ่วง รถกึ่งพ่วง รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว และรถลากจูง (อัตราค่าธรรมเนียมคันละ 500 บาท) กค. โดยกรมศุลกากรได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมในการให้บริการของศุลกากรที่เกี่ยวกับการผ่านแดนตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 พ.ศ. .... มาด้วยแล้ว

4. กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กค. โดยกรมศุลกากรได้รายงานการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการให้บริการของศุลกากรที่เกี่ยวกับการผ่านแดนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567 ที่เป็นจำนวนเงินโดยไม่ได้ประมาณการ ดังนี้

ปี          จำนวนเงิน (บาท)
2565          64,854,856
2566          68,872,460
2567          41,679,155
รวม          175,406,571

(ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567) อย่างไรก็ตาม การยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ตลอดจนช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในประเทศ และในภูมิภาค อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวม

1 มาตรา 302 พระราชบัญญัติศุลกากรฯ
             ผู้ใดนำของเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำออกนอกราชอาณาจักรให้ยื่นใบขนสินค้าตามแบบ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
            ของตามวรรคหนึ่งไม่อยู่ภายใต้ความรับผิดที่จะต้องเสียอากร หากได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง และได้นำของออกไปนอกราชอาณาจักรภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
            การผ่านแดนที่มีการข้ามแดนทางบกให้กระทำได้ต่อเมื่อมีความตกลงระหว่างประเทศ

2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 (ผังเดิมสิ้นสุดการใช้บังคับเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2552) โดยมีสาระสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดำรงเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    2. ในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 9/2561 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 ได้มีมติเห็นชอบผังเมืองรวมเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และนำไปปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็น ปรากฏว่ามีผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องจำนวน 13 เรื่อง และได้นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 10/2562 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 เพื่อพิจารณาคำร้องดังกล่าว ซึ่งมีมติให้ตามคำร้องด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน จำนวน 2 เรื่อง ด้านข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน จำนวน 1 เรื่อง และให้ตามคำร้องบางส่วนด้านข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินจำนวน 1 เรื่อง
                    3. ต่อมาได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรูปแบบการประกาศใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับผังเมืองรวมที่องค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำให้ประกาศเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น จากเดิมที่ต้องประกาศเป็นกฎกระทรวง และกรณีตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 มาตรา 1101 ที่ประชุมคณะกรรมการ ผังเมือง ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ได้มีมติให้ผังเมืองรวมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้วางและจัดทำ ซึ่งคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการยกร่างกฎหมาย ให้ดำเนินการออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อใช้บังคับต่อไป
                    4. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง  การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พ.ศ. .... ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง                  แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติว่า ?เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 29 แล้ว ไม่มีผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดยื่นคำร้องตามมาตรา 30 หรือมีแต่คณะกรรมการผังเมืองสั่งยกคำร้องดังกล่าวหรือเมื่อกรมโยธาธิการและผังเมืองไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือ เจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า ในการนี้ ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองนำประกาศกระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน? ทั้งนี้ ในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมก่อนที่จะได้จัดทำเป็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผังเมือง ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
                    5. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                                5.1 กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ให้ท้องที่ตำบลบางนาสี ตำบลตะกั่วป่า ตำบลโคกเคียน ตำบลบางม่วง ตำบลบางไทร และตำบลตำตัว อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้
                                        5.1.1 อนุรักษ์เมืองตะกั่วป่าซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม
                                        5.1.2 ส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติ
                                        5.1.3 ส่งเสริมและพัฒนาให้ชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลางการบริหาร                            การปกครอง การศึกษา การคมนาคมและการขนส่งของอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
                                        5.1.4  ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรมและการบริหารให้สัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจของชุมชน
                                        5.1.5 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
                                        5.1.6 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                              5.2 กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้

ประเภท           วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)          - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยเบาบาง กำหนดให้ก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยได้ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และให้สร้างอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่และกำหนดความสูงของอาคารไม่เกิน 15 เมตร
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)          - เป็นพื้นที่บริเวณชุมชนต่อเนื่องกับพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางในการรับรองการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับย่านพาณิชยกรรม โดยกำหนดให้สามารถสร้างอาคารเพื่อการอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว โดยมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ
3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก   (สีแดง)          - เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชย กรรมและการบริการชุมชนเพื่อรองรับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ การค้า การบริการที่ให้บริการแก่ประชาชน เช่น ตลาด ร้านค้า โรงแรม รวมทั้งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าวและการอยู่อาศัยในเขตชุมชน กำหนดไว้เป็น 2 ย่าน คือ ย่านรองรับการพัฒนาชุมชนโดยทั่วไป และย่านเมืองเก่าตะกั่วป่าที่คำนึงถึงมรดกทางวัฒนธรรม
4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)          - เป็นพื้นที่กันชนระหว่างย่านที่อยู่อาศัยเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป และรองรับชุมชนในอนาคต มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เพื่อเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์
5. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม                      (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล)          - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น ส่วนที่ดินของเอกชน กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม             การอยู่อาศัย หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น ซึ่งมีข้อจำกัดให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการใด ๆ ได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร
6. ที่ดินประเภทอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว               (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีขาว)          - เป็นพื้นที่กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ                    การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอยู่อาศัย                     การท่องเที่ยวเฉพาะ การบริการด้านที่พักประเภทโรงแรมและบังกะโล เกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการใช้ประโยชน์ที่ดินจากแนวชายฝั่งทะเลในระยะ 75 เมตร กำหนดให้ประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 7 เมตร และในระยะเกิน 75 เมตร จากแนวชายฝั่งทะเลกำหนดให้ประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร รวมทั้งการอยู่อาศัยและการท่องเที่ยวเฉพาะการบริการด้านที่พักประเภทโรงแรมและบังกะโล ในระยะ 225 เมตรจากแนวชายฝั่งทะเล ให้มีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต และในระยะเกิน 225 เมตร จากแนวชายฝั่งทะเล ให้มีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต
7. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)           - เป็นที่ดินพื้นที่โล่งซึ่งเป็นที่ดินของรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนไว้เป็นที่โล่งสำหรับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสาธารณประโยชน์ กรณีที่ดินของเอกชน กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอยู่อาศัย เกษตรกรรม โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงและขนาดของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
8. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)           - มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษา หรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติ อื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี และกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายกำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การอยู่อาศัย ประเภทบ้านเดี่ยว หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
9. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนเทศบาลบ้านย่านยาว โรงเรียนบ้านบางม่วง
10. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน เช่น วัดย่านยาว วัดคงคาภิมุข
11. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันราชการ การดำเนินกิจการของรัฐที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น เรือนจำอำเภอตะกั่วป่า ศาลจังหวัดตะกั่วป่า
                              5.3 กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชย กรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
                              5.4 กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ก 6 ถนนสาย ก 7 ถนนสาย ก 8 ถนนสาย ก 9 ถนนสาย ก 10 ถนนสาย ก 11 ถนนสาย ก 12 ถนนสาย ก 13 ถนนสาย ก 14 ถนนสาย ก 15 ถนนสาย ก 16 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย            ข 3 ถนนสาย ข 4 ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                                        5.4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการ
                                        5.4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                                        5.4.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารใหญ่
1มาตรา 110 บัญญัติว่า บรรดาผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะที่อยู่ระหว่างดำเนินการวางและจัดทำตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการผังเมืองกำหนดโดยไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 60 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 60 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กค. เสนอว่า
                    1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งตามนโยบายของรัฐ โครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2501 เพื่อขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงในภาคเหนือ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507 เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2507 และในวันที่ 21 มกราคม 2567 จะครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ขอความร่วมมือกรมธนารักษ์ กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยและการศึกษาของชาติ รวมทั้งเผยแพร่พระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายประเทศและนานาประเทศ และเป็นที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว
                    2. กค. ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกดังกล่าว มาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    3. กค. จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ มาเพื่อดำเนินการ โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา ยี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 21 มกราคม 2567
                    4. ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้ากระหม่อมแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง         เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 กค. จึงได้ยืนยันเรื่องดังกล่าวมาเพื่อพิจารณาดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้                                                                                                     2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                    1. กฎกระทรวงระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ พ.ศ. 2559 กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตที่เรือประมงมีขนาดตั้งแต่ 6 ตันกรอสขึ้นไป ต้องจัดให้มีคนประจำเรืออย่างน้อย 1 คน ซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ได้กำหนดนิยาม ?คนประจำเรือ? หมายความว่า ลูกเรือหรือคนที่มีหน้าที่ประจำอยู่ในเรือประมง แต่ไม่รวมถึงผู้ควบคุมเรือ
                    2. กฎกระทรวงตามข้อ 1 มีผลใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานแล้วและข้อเท็จจริงปรากฏว่า          คนประจำเรือส่วนใหญ่เป็นคนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานสามารถเปลี่ยนเรือประมงหรือสลับลำเรือประมงภายในเจ้าของเรือประมงเดียวกันได้ กรณีนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแรงงานประมงที่ทำงานบนเรือประมงลำใดลำหนึ่งแล้วจะทำให้เรือประมงลำนั้นไม่มีผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเจ้าของเรือจะไม่สามารถนำเรือประมงลำที่ไม่มีผู้ผ่านการอบรมออกไปทำการประมงได้ในรอบนั้น ทั้งนี้ การอบรมจะต้องเป็นการอบรมจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐซึ่งไม่ได้มีอยู่มากในประเทศ และจะต้องมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมเพียงพอด้วยจึงจะสามารถจัดอบรมได้ จึงทำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ประกอบการเสียโอกาสในการนำเรือประมงออกไปทำการประมง เนื่องจากต้องรอให้คนประจำเรืออย่างน้อย 1 คน ผ่านการอบรมจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น การเพิ่มผู้ควบคุมเรือให้เป็นผู้ที่สามารถเข้ารับการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้จะเป็นผลดีในการย้ายเรือประมง เนื่องจากผู้ควบคุมเรือจะอยู่ประจำที่เรือประมง ไม่มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนบ่อย จึงทำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ประกอบการสามารถนำเรือออกไปทำการประมงได้โดยไม่ต้องเสียสิทธิหรือต้องรอเวลาสำหรับการอบรมคนประจำเรือ
                    3. กษ. มีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวให้สัมพันธ์สอดคล้องกับบริบทการทำประมงที่เปลี่ยนแปลงไปในสภาวการณ์ปัจจุบัน แต่ยังคงยึดหลักการคุ้มครองสวัสดิภาพของคนประจำเรือ ป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมายในภาคการประมง อีกทั้งเพื่อให้ผู้ควบคุมเรือสามารถเป็นบุคคลตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้ เนื่องจากผู้ควบคุมเรือประมงสามารถอยู่ประจำเรือได้ตลอดเวลาที่ทำการประมง ลดค่าใช้จ่ายใน   การให้ลูกจ้างที่อยู่บนเรือไปอบรมเพิ่มขึ้น และผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่ามีคนบนเรืออย่างน้อย   1 คนที่ได้รับการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้นเพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถใช้ผู้ควบคุมเรือที่ทำงานอยู่บนเรือประมง ซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐแทนการใช้คนประจำเรือได้
                    4. กรมประมงได้จัดการประชุมร่วมกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยในการพิจารณาหารือร่างกฎหมายประมงลำดับรอง ครั้งที่ 5/2566 ในวันพุธที่ 6 ธันวาคม 2566 ทางสมาคมฯ ได้เสนอการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าว โดยเปลี่ยนถ้อยคำจาก ?คนประจำเรือ? เป็น?คนบนเรือ? ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบตามที่สมาคมฯ เสนอ และในการประชุมคณะอนุกรรมการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับภาคประมง ครั้งที่ 1/2566 ในวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 ร่วมกับสมาคมฯ ซึ่งในการประชุมสมาคมฯ ได้สนอแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวและที่ประชุมเห็นชอบตามที่สมาคมฯ เสนอ และกรมประมงได้ดำเนินการปรับแก้ไขและยกร่างกฎกระทรวงฯ เรียบร้อยแล้ว และได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว รวมทั้งได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางระบบกลางทางกฎหมาย (https://www.law.go.th) และได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย โดยได้เผยแพร่เอกสารดังกล่าวผ่านช่องทางระบบกลางทางกฎหมายแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ พ.ศ. 2559 เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถใช้ผู้ควบคุมเรือที่ทำงานอยู่บนเรือประมงซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐแทนการใช้คนประจำเรือได้
กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2559          ร่างกฎกระทรวงฯ ที่เสนอ
- ข้อ 15 ผู้ได้รับใบอนุญาต ต้องจัดให้มีคนประจำเรืออย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ          - ข้อ 15 ผู้ได้รับใบอนุญาต ต้องจัดให้มีคนบนเรืออย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้การรับรองจากหน่วยงานของรัฐ

5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2560)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศ
                    มท.เสนอว่า
                    1. โดยที่กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2560 ข้อ 3 (4) กำหนดให้ที่ดินในบริเวณหมายเลข 4.1 ที่กำหนดไว้เป็นสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว ให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม และข้อ 9 (1) กำหนดให้ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การอยู่อาศัย สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันราชการ            การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ ที่ดินประเภทนี้ ในบริเวณหมายเลข 4.1 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกท้ายกฎกระทรวงนี้ ฯลฯ
                    2. ต่อมากรมโยธาธิการและผังเมืองได้รายงานสภาพปัญหาจากการประกาศใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2560 ว่าภายหลังจากประกาศใช้บังคับกฎกระทรวงดังกล่าว ปรากฏว่าสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดกาญจนบุรีในปัจจุบัน ตลอดจนนโยบายของภาครัฐได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงผังเมืองให้สอดคล้องกับนโยบายการภาครัฐที่จะรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและให้สอดคล้องกับกรอบแผนพัฒนาภาคกลาง (พ.ศ. 2566 ? 2570) และนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง ? ตะวันตก
                    3. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ และได้แก้ไขรูปแบบการประกาศใช้บังคับกฎหมายในส่วนของผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทำผังขึ้นใหม่ โดยให้ดำเนินการประกาศใช้บังคับเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย (เดิมประกาศใช้บังคับเป็นกฎกระทรวง) ประกอบกับมาตรา 111 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ บัญญัติให้การแก้ไขหรือยกเลิกกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ให้กระทำได้โดยประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น และในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2560 และนำไปปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็นระหว่างวันที่       19 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 17 มกราคม 2566 เมื่อครบกำหนดปิดประกาศปรากฏว่าไม่มีผู้ยื่นข้อคิดเห็น และได้นำเสนอการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวต่อคณะกรรมการผังเมืองในการประชุม ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 โดยให้กรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา
                    4. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2560 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม โดยกำหนดให้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ในที่ดินบริเวณหมายเลข 4.1 สามารถดำเนินการหรือประกอบกิจการโรงงานบางประเภท ซึ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่ ที่ไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ได้แก่ โรงงานลำดับที่ 2 (โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตผลเกษตรกรรม) โรงงานลำดับที่ 4 (โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งมิใช่สัตว์น้ำ) โรงงานลำดับที่ 8 (โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผัก พืช หรือผลไม้) โรงงานลำดับที่ 9 (โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเมล็ดพืช หรือหัวพืช) โรงงานลำดับที่ 11 (โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับ น้ำตาล      ซึ่งทำจากอ้อย บีช หญ้าหวาน หรือพืชอื่นที่ให้ความหวาน) โดยให้มีระยะห่างตามแนวขนานริมฝั่งตามสภาพธรรมชาติของคลองประปาฝั่งตะวันตกและคลองทวนไม่น้อยกว่า 200 เมตร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายหรือโครงการของรัฐบาล ตาม (ร่าง) กรอบแผนพัฒนาภาคกลาง (พ.ศ. 2566 ? 2570) พัฒนากาญจนบุรี ? ราชบุรี ? เพชรบุรีตอนบน ให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ และนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง ? ตะวันตก (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี) กำหนดกรอบการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าการเกษตรที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำในด้านอุตสาหกรรมการเกษตร เกษตรอาหารแปรรูปและอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูง สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรกรรมโดยทิศทางการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2566 ? 2570 สอดรับกับนโยบายการพัฒนาดังกล่าวที่เน้นการพัฒนาเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรมสีเขียว ยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
                    5. มท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติว่า ?เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 29 แล้ว ไม่มีผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดยื่นคำร้องตามมาตรา 30 หรือมีแต่คณะกรรมการผังเมืองสั่งยกคำร้องดังกล่าวหรือเมื่อกรมโยธาธิการและผังเมืองไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ดำเนินการเพื่อออกประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า ในการนี้ ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองนำประกาศกระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน? แล้ว ทั้งนี้ ในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมก่อนที่จะได้จัดทำเป็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผังเมือง ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านอื่น ๆ             ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว

6. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว พร้อมเอกสารประกอบงบประมาณ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
                      ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ
                      สงป. เสนอว่า
                      1.  คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (2 กรกฎาคม 2567) รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... และให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... และให้สำนักงบประมาณดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... และเอกสารประกอบงบประมาณ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                     2. เพื่อดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สงป. ได้ดำเนินการ ดังนี้
                               2.1 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 77 วรรคสอง บัญญัติให้ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอนเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว       รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กำหนดโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป สงป. จึงได้เผยแพร่รายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... ผ่านทางเว็บไซต์ของ สงป. (https://www.bb.go.th) เรียบร้อยแล้ว
                               2.2 สงป. ได้จัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... และเอกสารประกอบงบประมาณ รวม 3 เล่ม เรียบร้อยแล้ว
                     3. ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนไม่เกิน 122,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ โดยประมาณการเงินที่พึงได้มาสำหรับจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จากภาษีและรายได้อื่นโดยเป็นแหล่งเงินจากการจัดเก็บรายได้ที่เดิมไม่ได้กำหนดไว้ในประมาณการ จำนวน 10,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 112,000 ล้านบาท

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งและการออกใบรับรองและอัตราค่าธรรมเนียม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งและการออกใบรับรองและอัตราค่าธรรมเนียม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้รับความเห็นของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังไปประกอบการตรวจร่างฯ ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอเป็นการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ที่จะขายในราชอาณาจักรต้องแจ้งรายการส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ ซึ่งเป็นการกำหนดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการห้ามใช้สารปรุงแต่ง เนื่องจากปัจจุบันการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบมีการเติมสารปรุงแต่งหลายชนิด ก่อให้เกิดสารเสพติดผลิตภัณฑ์ยาสูบเพิ่มขึ้นจึงจำเป็นต้องควบคุมและตรวจสอบส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบที่เป็นอันตราย เช่น สารชูรส สารชูกำลัง กัญชาหรือสารที่ทำให้เกิดสีอันอาจจูงใจหรือดึงดูดให้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ รวมถึงกำหนดปริมาณสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ (เดิมไม่ได้กำหนดปริมาณ) ได้แก่ ทาร์ ต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อมวน นิโคติน ต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อมวน และคาร์บอนมอนอกไซด์ ต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อมวน และกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการตรวจสอบส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ดังกล่าว รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันเกิดจากประกาศห้ามขายหรือห้ามนำเข้า และค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการทำลายผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวเนื่อง (กำหนดขึ้นใหม่) รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้ง การออกใบรับรอง และการออกใบแทนใบรับรอง และกำหนดให้ใบรับรองมีอายุ 3 ปี ตลอดจนกำหนดค่าธรรมเนียมใบรับรองอัตราฉบับละ 100,000 บาท และใบแทนใบรับรองอัตราฉบับละ 2,000 บาท (กำหนดขึ้นใหม่ เดิมกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้) ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่เกินตามที่กำหนดไว้ท้ายพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ ยังกำหนดให้เปิดเผยข้อมูล ส่วนประกอบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของผลิตภัณฑ์ยาสูบในกรณีที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยหรือความปลอดภัยของสาธารณชน (กำหนดขึ้นใหม่) ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการควบคุม ตรวจสอบ และเปิดเผยรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ อันเป็นการคุ้มครองสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของประชาชน และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดระยะเวลามีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งกำหนดระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับสำหรับยกเว้นการปฏิบัติเรื่องการควบคุมสารที่ใช้ในการปรุงแต่ง และสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ปรับตัวเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
                    ร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งและการออกใบรับรองและอัตราค่าธรรมเนียม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ          - กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ ต้องไม่มีสารที่ใช้ในการปรุงแต่งในส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและปริมาณสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ ดังนี้
          1. ต้องไม่มีสารที่ใช้ในการปรุงแต่ง ดังต่อไปนี้
                    1.1 สารชูรส สารแต่งกลิ่นผัก ผลไม้ สมุนไพร เครื่องเทศ ขิง อบเชย พืชตระกูลมินต์ (Mint) เบนซาลดีไฮด์ (Benzaldehyde) มอลทอล (Maltol) วานิลลิน (Vanillin) กานพลู หรือสารอื่นใดที่ทำให้เกิดรสชาติหรือกลิ่นของกานพลูหรือสารอื่นใดที่ทำให้เกิดรสชาติหรือกลิ่นอันอาจจูงใจหรือดึงดูดให้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรืออาจทำให้การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบง่ายขึ้น ยกเว้นเมนทอลและชะเอม
                    1.2 สารที่ทำให้เกิดสีอันอาจจูงใจหรือดึงดูดให้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควันหรือไอระเหยที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ ยกเว้นสารที่ทำให้เกิดสีของมวนบุหรี่ซึ่งเป็นการดำเนินการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ
                    1.3 ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแปรรูปผักหรือผลไม้ วิตามิน กรดอะมิโน กรดไขมันจำเป็น สารอาหารเกลือแร่ สารเพิ่มภูมิต้านทาน สารลดอนุมูลอิสระ หรือสารอื่นใดที่ทำให้เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบมีประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือลดอันตรายต่อสุขภาพ ยกเว้นโกโก้ที่จำเป็นต้องใช้ปรับปรุงคุณภาพใบยาสูบโดยไม่ก่อให้เกิดรสหรือกลิ่นที่เด่นชัดกว่ารสชาติหรือกลิ่นตามธรรมชาติของใบยาสูบ
                    1.4 สารชูกำลัง กาเฟอีน กัวรานา ทอรีน กลูคูโรโนแลคโทน หรือสารอื่นใดที่ทำให้เข้าใจว่าเพิ่มพลังงานและความมีชีวิตชีวา
                    1.5 กัญชา กัญชง สารสกัดแคนนาบิไดออล หรือสารสกัดเตตราไฮโดรแคนนาบินอล
          2. ต้องมีสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบไม่เกินปริมาณ ดังต่อไปนี้
                    2.1 ทาร์ (Tar) ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อมวน
                    2.2 นิโคติน (Nicotine) ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อมวน
                    2.3 คาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อมวน
2. การแจ้ง การออกใบรับรอง อายุใบรับรอง และการออกใบแทนใบรับรอง          - กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบต้องแจ้งรายการส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบเพื่อขอใบรับรอง ก่อนนำผลิตภัณฑ์ยาสูบออกจากแหล่งผลิตภายในราชอาณาจักรหรือก่อนนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยต้องแนบผลการตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด พร้อมด้วยข้อมูลเอกสาร และหลักฐาน อาทิ เลขทะเบียนนิติบุคคล ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาสูบ ใบแสดงรายการส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่ใช้ในการปรุงแต่ง
- กำหนดให้การยื่นคำขอ การออกใบรับรอง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใบรับรองและการออกใบแทนใบรับรอง ดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
- เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้วให้ตรวจสอบรายละเอียดในคำขอ ข้อมูล เอกสารและหลักฐานว่ามีความถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ถูกต้องให้แจ้งผู้แจ้งให้แก้ไขภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ หากผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและครบถ้วน ให้คืนคำขอ เอกสาร และหลักฐาน พร้อมทั้งแจ้งเหตุแห่งการคืนคำขอเป็นหนังสือให้ทราบด้วย ในกรณีที่คำขอถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้นายทะเบียน (ปลัด สธ. หรือผู้ซึ่งปลัด สธ. มอบหมาย) พิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน
- กำหนดให้ใบรับรอง มีอายุ 3 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนออกให้ กรณีต้นฉบับใบรับรอง ชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบรับรอง ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงเหตุดังกล่าว และให้ใบแทนใบรับรองมีอายุเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามต้นฉบับใบรับรอง
3. การตรวจสอบ การเก็บรักษาข้อมูล และการเปิดเผยต่อสาธารณชน          กำหนดให้กรมควบคุมโรค มีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลการแจ้งไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบมาตรฐานส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ และเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของประชาชน โดยไม่ต้องส่งคืนแก่ผู้แจ้ง และกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลการแจ้งต่อสาธารณชนได้ ในกรณีที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยหรือความปลอดภัยของสาธารณชน
4. ค่าใช้จ่าย และอัตราค่าธรรมเนียม
          - กำหนดค่าใช้จ่ายที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายจากการตรวจวิเคราะห์ส่วนประกอบฯ ค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นจากการตรวจสอบที่อาจมีขึ้นในขั้นตอนการออกใบรับรองและภายหลังการออกใบรับรอง ค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นจากการประกาศห้ามขายหรือห้ามนำเข้า หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการดังกล่าว และค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นจากการทำลายผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการดังกล่าว
- กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้
          (1) ใบรับรอง ฉบับละ 100,000 บาท
          (2) ใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 2,000 บาท
5. บทเฉพาะกาล          - กำหนดให้การแจ้งรายการส่วนประกอบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ได้แจ้งไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฯ ให้ถือว่าเป็นการแจ้งตามกฎกระทรวงนี้ และให้ใช้ได้ต่อไป 3 ปีนับแต่วันที่ออกใบรับรองตามกฎกระทรวงดังกล่าว
- กำหนดภายในระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยกเว้นการควบคุมสารที่ใช้ในการปรุงแต่ง และการควบคุมปริมาณสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ
6. วันที่มีผลใช้บังคับ          เมื่อพ้น 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ
                    อว. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไปได้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ มาเพื่อดำเนินการโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. กำหนดคำนิยามของ ?ผู้ขอรับใบอนุญาต? หมายความว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครอง หรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี
                    2. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                              2.1 ลักษณะของสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการฯ
                                        (1) ต้องมีโครงสร้างที่มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันระดับรังสีให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดและสามารถรองรับน้ำหนักเครื่องมือที่บรรจุวัสดุกัมมันตรังสีและส่วนประกอบทั้งหมด
                                        (2) ต้องไม่มีวัตถุอันตรายอื่นและอาหารเก็บรวมอยู่และมีมาตรการหรือระบบป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว
                                        (3) ต้องได้รับการประเมินและออกแบบตามมาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางรังสีของการใช้ประโยชน์วัสดุกัมมันตรังสีนั้นและเป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 91
                                        (4) ต้องมีการประเมินความปลอดภัยทางรังสี โดยบริเวณที่ปฏิบัติงานทางรังสีต้องมีปริมาณรังสีที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ ไม่เกิน 400 ไมโครซีเวิร์ตต่อสัปดาห์ และบริเวณที่มีผลกระทบถึงประชาชนทั่วไปต้องมีปริมาณรังสีที่ประชาชนทั่วไปได้รับไม่เกิน 20 ไมโครซีเวิร์ตต่อสัปดาห์
                              2.2 ห้ามมิให้ตั้งสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการวัสดุกัมมันตรังสีประเภทโรงงานฉายรังสีทางอุตสาหกรรมภายในระยะ 500 เมตร จากเขตพระราชฐานเว้นแต่ในกรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ อาจเปลี่ยนแปลงได้
                              2.3 ในกรณีที่สถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการวัสดุกัมมันตรังสีประเภทโรงงานฉายรังสีทางอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ใกล้เขตบ้านจัดสรรหรือที่ดินจัดสรรเพื่อการพักอาศัย ตึกแถวหรือบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย หรืออาคารชุดพักอาศัย ศูนย์การค้า โรงเรียนหรือสถานศึกษา วัดหรือศาสนสถาน สถานพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำการของหน่วยงานของรัฐหรือเขตอนุรักษ์และเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางรังสีและมาตรการด้านความปลอดภัยทางรังสีตามกฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561 และกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561
                    3. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ที่เหมาะสมกับชนิดของรังสีที่เกิดขึ้นจากวัสดุกัมมันตรังสีและลักษณะการใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับแผนป้องกันอันตรายทางรังสี (ตามข้อ 5) ดังต่อไปนี้
                              3.1 เครื่องสำรวจรังสีหรือเครื่องเฝ้าระวังปริมาณรังสี โดยต้องได้รับการสอบเทียบมาตรฐานของเครื่องสำรวจรังสีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งตรวจสอบสภาพตามวิธีการและระยะเวลาที่กำหนดตามคู่มือการใช้งาน
                              3.2 อุปกรณ์วัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคล โดยต้องประเมินการได้รับรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีทุกคนเป็นประจำอย่างน้อยทุก 3 เดือน กรณีผู้ปฏิบัติงานทางรังสีสำหรับงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ให้ประเมินการได้รับรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีเป็นประจำทุกเดือน
                              3.3 มาตรวัดรังสีแบบพกพาตามประเภทของวัสดุกัมมันตรังสี
                              3.4 เครื่องมืออื่น ๆ ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับแผนป้องกันอันตรายทางรังสี
                    4. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีในระดับและประเภทของการขอรับใบอนุญาต (ใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้)
                    5. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีแผนป้องกันอันตรายจากรังสีสำหรับการปฏิบัติงาน โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กำหนด เช่น สายการบังคับบัญชาด้านความปลอดภัยทางรังสี การจัดแบ่งพื้นที่ในการปฏิบัติงานและมาตรการควบคุมการเข้าออกพื้นที่อย่างชัดเจน มาตรการความปลอดภัยทางรังสี แผนงาน และขั้นตอนวิธีปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับรังสีน้อยที่สุด แผนการตรวจวัดรังสี แผนการดำเนินงานเมื่อเลิกใช้วัสดุกัมมันตรังสี
                    6. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีแผนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามประเภทของวัสดุกัมมันตรังสีตามกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561
                    7. กำหนดให้ในกรณีที่มีการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีวิธีการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีที่ปลอดภัยและวิธีปฏิบัติกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินระหว่างการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีที่เป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 91 และมาตรา 99

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ....                ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ เป็นร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้วัสดุนิวเคลียร์ เช่น พลูโทเนียม ยูเรเนียม ตามปริมาณที่ร่างกฎกระทรวงนี้กำหนด ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครอง ใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน โดยต้องแจ้งปริมาณที่ครอบครองต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อให้มีการกำกับดูแลที่เหมาะสมกับปริมาณ ความเข้มข้น และองค์ประกอบของวัสดุนิวเคลียร์หรือลักษณะการใช้วัสดุนิวเคลียร์แต่ละชนิด เพื่อประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจและไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    อว. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไปได้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้วัสดุนิวเคลียร์ ดังต่อไปนี้ ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครอง ใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน แต่ต้องแจ้งปริมาณที่ครอบครองต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
                    1. พลูโทเนียมที่มีพลูโทเนียม 238 ไม่เกินร้อยละ 80 โดยน้ำหนัก ปริมาณไม่เกิน 15 กรัม                              2. พลูโทเนียมที่มีพลูโทเนียม 238 เกินร้อยละ 80 โดยน้ำหนัก ทุกปริมาณ
                    3. ยูเรเนียม 233 ปริมาณไม่เกิน 15 กรัม                                                                                          4. ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป โดยน้ำหนัก ปริมาณไม่เกิน   15 กรัม
                    5. ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป แต่ต่ำกว่าร้อยละ 20                  โดยน้ำหนัก ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม                                                                                                                        6. ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 สูงกว่าปริมาณในธรรมชาติ แต่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ลงมา โดยน้ำหนัก ปริมาณน้อยกว่า 10 กิโลกรัม                                                                                                              7. ยูเรเนียมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ปริมาณไม่เกิน 10 ตัน                                                                      8. ยูเรเนียมด้อยสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ขึ้นไป แต่ไม่เกินร้อยละตามปริมาณในธรรมชาติ โดยน้ำหนัก ปริมาณไม่เกิน 10 ตัน                                                                                                    9. ยูเรเนียมด้อยสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ลงมา โดยน้ำหนัก ปริมาณไม่เกิน   20 ตัน                                                                                                                                                      10. ไอโซโทปยูเรเนียมอื่น ปริมาณไม่เกิน 10 ตัน                                                                                11. ทอเรียม ปริมาณไม่เกิน 20 ตัน

10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. ....               ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ เป็นร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต โดยกำหนดให้ผู้ที่มีวัสดุนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง เช่น ยูเรเนียม 233 ปริมาณไม่เกิน 15 กรัม ยูเรเนียมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ปริมาณไม่เกิน 10 ตัน ทอเรียม ปริมาณไม่เกิน 20 ตัน เป็นต้น ต้องแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ดังกล่าวต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และกำหนดหน้าที่ผู้แจ้งต้องจัดทำรายงานแสดงปริมาณการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ โดยต้องเสนอรายงานดังกล่าวต่อเลขาธิการทุกรอบ 1 ปีนับแต่วันที่ออกใบรับแจ้ง รวมทั้งต้องแจ้งยกเลิกการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ เมื่อมิได้ครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ตามที่ได้แจ้งไว้ โดยให้ผู้แจ้งยื่นคำขอยกเลิกการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานต่อเลขาธิการภายใน 30 วันนับแต่วันที่มิได้ครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ดังกล่าว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบ/ไม่ขัดข้องในหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
                    ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ออกไปอีก 1 ปี นับแต่วันที่ครบกำหนด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    อว. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไปได้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ดังนี้
                    1. กำหนดให้ผู้ที่มีวัสดุนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง จะต้องยื่นคำขอแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอต่อเลขาธิการภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีไว้ในครอบครองซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ดังกล่าว
                    2. กำหนดวิธีการตรวจสอบและการออกใบรับแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์
                              2.1 กรณีเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้ยื่นคำขอภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอเอกสารและหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนดังกล่าว
                              2.2 กรณีเอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องและสามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วน หากผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมเอกสารหรือหลักฐานดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป และให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบและมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
                    3. กำหนดหน้าที่ผู้แจ้งต้องจัดทำรายงานแสดงปริมาณการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ โดยต้องเสนอรายงานดังกล่าวต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติทุกรอบ 1 ปี นับแต่วันที่ออกใบรับแจ้ง
                    4. กำหนดวิธีการในการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในใบรับแจ้ง ซึ่งต้องไม่เกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของวัสดุนิวเคลียร์ที่มีไว้ในครอบครอง โดยให้ยื่นคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่ระบุไว้ในแบบคำขอต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว
                    5. การขอรับใบแทนใบรับแจ้งกรณีที่ใบรับแจ้งชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย โดยให้ผู้แจ้งยื่นคำขอรับใบแทนใบรับแจ้งพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย ทั้งนี้ ใบแทนใบรับแจ้งให้ใช้แบบใบรับแจ้ง โดยระบุคำว่า ?ใบแทน? ด้วยตัวอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบรับแจ้ง
                    6. การขอยกเลิกการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้แจ้งมิได้ครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ตามที่ได้แจ้งไว้ โดยให้ผู้แจ้งยื่นคำขอยกเลิกการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติภายใน 30 วันนับแต่วันที่มิได้ครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ดังกล่าว

11. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี                      วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของ กระทรวงสาธารณสุขไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง                                                                                อว. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี     พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไปได้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. ....  มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอโอนใบอนุญาตและการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี ดังนี้
                    1. กำหนดให้การโอนใบอนุญาตและการรับโอนใบอนุญาตให้กระทำได้กับใบอนุญาต ดังนี้                                        (1) ใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุกัมมันตรังสี
                              (2) ใบอนุญาตทำ มีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า หรือส่งออกเครื่องกำเนิดรังสี
                              (3) ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุนิวเคลียร์
                              (4) ใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้ง เพื่อก่อสร้าง เพื่อดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์
                              (5) ใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้ง เพื่อก่อสร้าง เพื่อดำเนินการสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมตรังสี
ทั้งนี้ การโอนใบอนุญาตแต่เพียงบางส่วนจะกระทำมิได้
                    2. กำหนดให้การยื่นคำขอ การแจ้งหรือส่งข้อมูลเอกสารหลักฐาน การติดต่อ หรือการออกเอกสารใด ๆ และการชำระค่าธรรมเนียม ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ หากมีเหตุไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับมาที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ หรือส่งโดยวิธีการอื่นตามที่เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                    3. ผู้รับโอนใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ และต้องมีศักยภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยศักยภาพสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตในแต่ละประเภท เช่น ต้องไม่เป็นคนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องมีศักยภาพทางเทคนิคเพียงพอในการดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสีที่ขออนุญาต
                    4. กำหนดให้ผู้ประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยใบอนุญาตที่จะโอน และเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในแบบคำขอโอนใบอนุญาต
                    5. กรณีการพิจารณาการโอนใบอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอ ข้อมูล เอกสารหลักฐาน                ถ้าถูกต้องครบถ้วนให้ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอ
                              5.1 ในกรณีที่เลขาธิการมีคำสั่งอนุญาต ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ เพื่อให้มาชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วัน และให้จัดทำใบอนุญาตใหม่และส่งให้ผู้รับโอนให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน แต่หากผู้ยื่นคำขอไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลา ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ส่วนในกรณีที่เลขาธิการมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอทราบพร้อมเหตุผล รวมทั้งแจ้งสิทธิและระยะเวลาอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการให้ผู้ยื่นคำขอทราบด้วย ทั้งนี้ การพิจารณาคำขอรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 45 วัน
                              5.2 ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นชอบตามความเห็นของเลขาธิการว่าควรอนุญาต ให้เลขาธิการมีคำสั่งอนุญาตและแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อให้มาชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วัน และให้จัดทำใบอนุญาตใหม่และส่งให้ผู้รับโอนให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน แต่หากผู้ยื่นคำขอไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลา ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ส่วนในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้เลขาธิการมีคำสั่งไม่อนุญาต และแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอทราบพร้อมเหตุผล รวมทั้งแจ้งสิทธิและระยะเวลาอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการให้ผู้ยื่นคำขอทราบด้วย ทั้งนี้ การพิจารณาคำขอรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1 ปี
                    6. กำหนดให้ผู้รับโอนต้องวางหลักประกันและการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกันภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต และให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติคืนหลักประกันที่ผู้โอนได้วางไว้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหลักประกันจากผู้รับโอน โดยใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้รับโอนมีอายุเท่าที่เหลืออยู่ของใบอนุญาตเดิม

12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    อว. เสนอว่า
                    1. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้ปรับปรุงแก้ไขร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว เฉพาะในส่วนของตารางท้ายกระทรวง ตารางที่ 1 ค่าพื้นฐานของนิวไคลด์กัมมันตรังสี ซึ่งเป็นข้อมูลทางเทคนิค เพื่อให้ถูกต้องตรงกับเอกสาร Regulations for the Safe Transport of Radioactive Material : Specific Safety Requirements No. SSR-6 (SSR-6) ซึ่งกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยทางรังสีในการขนส่ง ดังนี้
ร่างกฎกระทรวงที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว          ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ปรับปรุงแก้ไข          ประเด็น/เหตุผล
ขีดจำกัดกัมมันตภาพที่ได้รับการยกเว้นสำหรับการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี (เบ็กเคอเรล)          ขีดจำกัดกัมมันตภาพได้รับการยกเว้น (เบ็กเคอเรล)          แก้ไขหัวตาราง
-          แบเรียม-135เอ็ม          เพิ่มข้อมูลในตารางระหว่างแบเรียม-133เอ็ม กับ แบเรียม-140 (ก)
1?100          1?101          แก้ไขขีดจำกัดความเข้มข้นกัมมันตภาพที่ได้รับการยกเว้น (เบ็กเคอเรล/กรัม) ของสตรอนเซียม-83
1?105          1?106?          แก้ไขขีดจำกัดกัมมันตภาพที่ได้รับการยกเว้น (เบ็กเคอเรล) ของเทลลูเรียม-121เอ็ม
                    2. ร่างกฎกระทรวงนี้มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี เพื่อให้ผู้ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์           กากกัมมันตรังสี เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ซึ่งประสงค์จะขนส่งวัสดุดังกล่าว และผู้รับขนส่งวัสดุดังกล่าว มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้การขนส่งนั้น ๆ เป็นไปอย่างปลอดภัย สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 กำหนดหน้าที่ของผู้ส่งของ (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ครอบครองวัสดุ) ก่อนการขนส่งต้องปฏิบัติ เช่น การจำแนกประเภทวัสดุที่ขนส่ง การเลือกใช้แบบหีบห่อให้เหมาะสมกับประเภทวัสดุที่ขนส่ง การจ่าหน้าและติดป้ายหีบห่อ และการเตรียมเอกสารกำกับการขนส่ง รวมถึงจะต้องพร้อมแสดงใบรับแจ้งการขนส่งและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อผู้รับขนส่งก่อนการขนส่งวัสดุขึ้นและการถ่ายวัสดุลง เป็นต้น
                              2.2 กำหนดหน้าที่ของผู้รับขนส่ง (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งประกอบการขนส่ง และให้หมายความรวมถึงผู้รับขนส่งที่ได้รับมอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งด้วย ไม่ว่าจะมีการมอบหมายกันไปกี่ทอดก็ตาม) เช่น การตรวจสอบเอกสาร การจัดวางของที่ขนส่งและการตรวจสอบการปนเปื้อน การวัดระดับรังสีและค่ากัมมันตภาพ ดัชนีการขนส่ง และดัชนีความปลอดภัยภาวะวิกฤต การติดป้าย และกรณีผู้รับขนส่งไม่สามารถส่ง
                              2.3 กำหนดระดับของมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย โดยแบ่งตามความอันตรายของวัสดุกัมมันตรังสีหรือกากกัมมันตรังสี ซึ่งมี 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับจัดการแบบรอบคอบ 2) ระดับพื้นฐาน              3) ระดับขั้นสูง รวมถึงกำหนดการแจ้งเหตุและการรายงานปัญหาต่อสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีและกากกัมมันตรังสี
                              2.4 กำหนดวิธีการป้องกันการเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบในระหว่างการขนส่ง              โดยผู้รับขนส่งต้องจัดให้มีการคุ้มครองทางกายภาพต่อการเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ โดยมิชอบในระหว่างการขนส่งเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เช่น การลดระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งให้น้อยที่สุด การปกป้องวัสดุนิวเคลียร์ในระหว่างการขนส่ง การประเมินภัยคุกคาม และการใช้ระบบการขนส่งที่มีมาตรการคุ้มครองทางกายภาพตามการประเมินภัยคุกคาม หลีกเลี่ยงเส้นทางขนส่งในพื้นที่ที่มีภัยธรรมชาติ การก่อความไม่สงบ หรือมีภัยคุกคาม เป็นต้น                                                            2.5 กำหนดวิธีการค้นหาและการนำกลับมาซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วที่สูญหายหรือถูกลักไปในระหว่างการขนส่ง เช่น จัดให้มีการตรวจสอบหีบห่อที่บรรจุระหว่างขนส่งและขณะส่งมอบ และจัดให้มีมาตรการสำหรับกรณีไม่พบหีบห่อในขณะอยู่ในความควบคุมของผู้รับขนส่ง และต้องดำเนินการทันทีเมื่อเกิดเหตุกรณีดังกล่าว และผู้ส่งของ ผู้รับขนส่ง และผู้รับของซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตหรือผู้มีไว้ในครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ ต้องให้ความร่วมมือในการค้นหาและการนำกลับมาซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ รวมทั้งให้ความร่วมมือในการสอบสวนและดำเนินคดี                                                                                                              3. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีผลใช้บังคับก่อนที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566) อย่างไรก็ตาม อว. ได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และแก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่ อว. เสนอ

13. เรื่อง การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. ?.
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กำหนดจำนวนคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... จำนวน 32 ท่าน ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
                      ทั้งนี้ สงป. เสนอว่า
                     1. การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 มิได้กำหนดจำนวนไว้ แนวปฏิบัติที่ผ่านมาการกำหนดจำนวนคณะกรรมาธิการฯ จึงเป็นไปตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในการประชุม วาระที่ 1 โดยในปีงบประมาณที่มีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ ที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นคณะกรรมาธิการฯ ปี 2554 มีจำนวนกรรมาธิการฯ 45 ท่าน ปี 2552 และปี 2548 มีจำนวนกรรมาธิการฯ 35 ท่าน
                     2. การตั้งคณะกรรมาธิการฯ ในสัดส่วนคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร                 พ.ศ. 2562 ข้อ 91 วรรคสอง กำหนดไว้ว่า ?การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ให้ตั้งจากบุคคลที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อมีจำนวนไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด จำนวนนอกจากนั้นให้ที่ประชุมเลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอ โดยให้มีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภา?
                     3. สงป. พิจารณาแล้วเห็นว่า การพิจารณารายละเอียดร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... ในขั้นกรรมาธิการ เป็นช่วงเวลาเดียวกับการพิจารณารายละเอียดร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังนั้น เพื่อให้การร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด จึงเห็นสมควรกำหนดจำนวนกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. .... จำนวน 32 ท่าน โดยกำหนดสัดส่วนของคณะกรรมาธิการฯ ดังนี้
                               3.1 กรรมาธิการฯ ที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อ จำนวน 8 ท่าน ซึ่งเป็นจำนวนไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวนคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ หรือจำนวนไม่เกิน 8 ท่าน
                                3.2 กรรมาธิการฯ ในสัดส่วนพรรคการเมือง จำนวน 24 ท่าน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักการประชุม) ได้ประสานและแจ้งแนวทางการกำหนดสัดส่วนกรรมาธิการฯ แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล จำนวน 16 ท่าน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน จำนวน 8 ท่าน ซึ่งจะมีการคัดเลือกตามกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป
                               3.3 กรรมาธิการฯ ในสัดส่วนที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อจำนวนไม่เกิน 8 ท่าน เห็นสมควรให้คณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดตามความเหมาะสมต่อไป


เศรษฐกิจ-สังคม
14. เรื่อง ขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารจอดรถ 10 ชั้น พื้นที่อาคาร 16,603 ตารางเมตร โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 หลัง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม ก่อสร้างอาคารจอดรถ 10 ชั้น1 พื้นที่อาคาร 16,603 ตารางเมตร โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน        1 หลัง วงเงิน 118,141,600 บาท2 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                    1. โรงพยาบาลนครปฐมเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 860 เตียง มีพื้นที่ใช้สอยอาคาร จำนวน 65,636 ตารางเมตร โดยมีสถานที่จอดรถยนต์ 4 ลาน จอดรถได้ทั้งหมด 250 คัน และที่จอดรถจักรยานยนต์ จอดได้ประมาณ 200 คัน แต่มีอัตราหมุนเวียนการใช้ที่จอดรถประมาณ 1,000 คันต่อวัน ทำให้พื้นที่จอดรถไม่เพียงพอเกิดปัญหาการจราจรที่หนาแน่น ส่งผลให้ผู้ป่วย ผู้เข้ามารับบริการ และเจ้าหน้าที่ได้รับความเดือดร้อนและทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการรับ ? ส่งผู้ป่วย ดังนั้น คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลนครปฐม (นายแพทย์สุรชัย โชคครรชิตไชย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครปฐม เป็นประธาน) มีมติเห็นชอบให้ใช้เงินบำรุง3 เพื่อก่อสร้างอาคารจอดรถ 10 ชั้น พื้นที่อาคาร 16,603 ตารางเมตร โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 หลัง ระยะเวลาก่อสร้าง 545 วัน
                    2. กระทรวงการคลัง (กค.) (กรมบัญชีกลาง) พิจารณาแล้ว อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) (โรงพยาบาลนครปฐม) ใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารจอดรถ 10 ชั้น พื้นที่อาคาร 16,603 ตารางเมตร โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 หลัง วงเงิน 118,141,600 บาท อย่างไรก็ดี เนื่องจากระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 วรรคสอง กำหนดให้ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายในรายการเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินแต่ละรายการเกินกว่า 30 ล้านบาท ให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ก่อน และข้อ 12 วรรคสอง กำหนดให้การก่อหนี้รายการค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างที่เกินกว่า 1 ปี ให้ขอความเห็นชอบจาก สงป. ก่อน และหากเป็นรายการที่ก่อหนี้ผูกพันเกินกว่า 1 ปี และมีวงเงินเกินกว่า 100 ล้านบาท ให้ขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ดังนั้น เห็นควรให้ สป.สธ. ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าว
                    3. สงป. พิจารณาแล้วเห็นชอบให้ สป.สธ. ดำเนินการก่อสร้างอาคารจอดรถ 10 ชั้น พื้นที่อาคาร 16,603 ตารางเมตร โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 หลัง ในวงเงิน 118,141,600 บาท โดยใช้จ่ายจากเงินบำรุงโรงพยาบาลนครปฐม ทั้งนี้ ขอให้ สป.สธ. ดำเนินการเสนอเรื่องขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562 และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ และต่อรองราคาจนถึงที่สุดด้วย
1 สธ. แจ้งว่า อาคารจอดรถ 10 ชั้น สามารถจอดรถยนต์ได้ประมาณชั้นละ 53 คัน
2 แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 118,141,600 บาท แบ่งเป็น เงินบำรุง พ.ศ. 2567 จำนวน 23,628,320 บาท และเงินบำรุง พ.ศ. 2568 จำนวน 94,513,280 บาท
3 ณ วันที่ 29 กันยายน 2566 โรงพยาบาลนครปฐมมีเงินบำรุงคงเหลือ จำนวน 1,097,307,178.13 บาท

15. เรื่อง ขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 7 ชั้น 96 ห้อง พื้นที่ใช้สอย 3,908 ตารางเมตร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จำนวน 2 หลัง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 7 ชั้น 96 ห้อง พื้นที่ใช้สอย 3,908 ตารางเมตร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จำนวน 2 หลัง ในวงเงิน 147,550,100 บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                    1. เนื่องจากปัจจุบันโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว มีบุคลากรทั้งหมด จำนวน 1,265 คน และจะมีบุคลากรที่จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2566 ? 2568 มาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล จำนวนมากกว่า 100 คน ในขณะที่ที่พักอาศัยในโรงพยาบาลรองรับได้เพียงจำนวน 500 คน ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับเจ้าหน้าที่ ดังนั้น คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว (นายแพทย์สมคิด ยึนประโคน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว เป็นประธาน) จึงมีมติเห็นชอบให้ใช้เงินบำรุง1 เพื่อก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 7 ชั้น       96 ห้อง พื้นที่ใช้สอย 3,908 ตารางเมตร จำนวน 2 หลัง ระยะเวลาก่อสร้างหลังละ 580 วัน
                    2. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (จังหวัดสระแก้ว) ได้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) (กค.) และสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขออนุมัติใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว เพื่อก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ซึ่ง กค. และ สงป. พิจารณาแล้วอนุมัติ/เห็นชอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่โดยใช้จ่ายจากเงินบำรุงโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว โดย สงป. เห็นว่าให้ดำเนินการก่อสร้างในวงเงิน 147,550,100 บาท2
1 ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566 มีเงินบำรุงคงเหลือ จำนวน 674,814,208,18 บาท
2 แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 147,550,100 บาท แบ่งเป็น เงินบำรุง พ.ศ. 2567 จำนวน 17,184,640 บาท และเงินบำรุง พ.ศ. 2568 จำนวน 130,365,460 บาท

16. เรื่อง การปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายการเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายการเงินอุดหนุนรายบุคคล ในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
                    สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เห็นสมควรให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณหรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในโอกาสแรกก่อน โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป เห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป สำหรับการอุดหนุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็ก กรณีโรงเรียนเอกชนที่มีนักเรียนไม่เกิน 200 คน เป็นเวลา 4 ปี (เดือนพฤษภาคม 2567 ถึงเดือนกันยายน 2570) เห็นสมควรให้กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการศึกษาจากการที่เคยได้รับความช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 ว่ามีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด เพื่อให้คณะรัฐมนตรีรับทราบก่อนเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวอีกครั้ง นอกจากนี้การกำหนดขนาดโรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ควรใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้การจัดกลุ่มขนาดโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
                    ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดกลไกและมาตรการในการส่งเสริม กำกับ ตรวจสอบ การจ่ายเงินอุดหนุนจัดการเรียนการสอนในส่วนที่เป็นเงินอุดหนุนสมทบเป็นเงินเดือนครู ในโรงเรียนเอกชนทั้งประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงศึกษาธิการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายการเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยปรับฐานเงินเดือนครูในการคำนวณเงินอุดหนุน จากอัตรา 15,050 บาท เป็นอัตรา 18,150 บาท ภายในระยะเวลา 2 ปี เริ่มดำเนินการเดือนพฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ตามแนวทางการปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาพื้นฐาน รายการเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (26 มิถุนายน 2550) ที่อนุมัติหลักการให้การอุดหนุนเป็นเงินรายหัวนักเรียนโรงเรียนเอกชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู โดยมีการปรับเพิ่มเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูได้ในกรณีปรับเพิ่มในอัตราเดียวกันกับการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบการปรับเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินอุดหนุนสมทบเป็นเงินเดือนครูโรงเรียนเอกชนเพิ่มรวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง ในช่วงปี 2547-2560 (คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2560) และเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (28 พฤศจิกายน 2566) ที่เห็นชอบการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้นทุกคุณวุฒิ ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท ภายใน 2 ปี ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงเห็นควรปรับเพิ่มเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูเพื่อให้ครูในโรงเรียนเอกชนได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าวุฒิที่ทางราชการกำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น รวมทั้งขออนุมัติการอุดหนุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็ก (จำนวนนักเรียนไม่เกิน 200 คน) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567 ถึงเดือนกันยายน 2570 และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการศึกษาแนวทางการให้ความช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กที่มีความเหมาะสมต่อไป รวมทั้งขอความเห็นชอบในหลักการให้ใช้งบประมาณสำหรับดำเนินการดังกล่าว โดยมีรายละเอียดอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ปรับเพิ่ม สรุปได้ ดังนี้
                    1. การปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานรายการเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู
หน่วย : บาท/คน/ปี
ระดับชั้น          ระยะที่ 1
(ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567)          ระยะที่ 2
(ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2568)          รวม 2 ระยะ
(1) โรงเรียนเอกชนทั่วไปประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษา [ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)] (อัตราส่วนครูต่อนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา/ประถมศึกษา 1 ต่อ 25 คน และระดับมัธยมศึกษาและระดับ ปวช. 1 ต่อ 20)
   (1.1) ระดับก่อนประถมศึกษา-ประถมศึกษา          696.00          792.00          1,488.00
   (1.2) ระดับมัธยมศึกษาและ ปวช.          870.00          990.00          1,860.00
(2) เงินอุดหนุนเพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชนทั่วไปเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็ก (มีการปรับอัตราโดยการเพิ่มสัดส่วนครูต่อนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา/ประถมศึกษา จาก 1 ต่อ 25 คน เป็น 1 ต่อ 16 คน และระดับมัธยมศึกษาและระดับ ปวช. จาก 1 ต่อ 20 คน เป็น 1 ต่อ 16)
   (2.1) ระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา          391.50          445.50          837.00
   (2.2) ระดับมัธยมศึกษาและ ปวช.           217.50          247.50          465.00
                    2. งบประมาณเพื่อใช้สำหรับปรับอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคล
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ พ.ศ.          แหล่งเงินงบประมาณ          โรงเรียนเอกชนทั่วไปประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษา
(ระดับ ปวช.)          โรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก          รวม
2567
(ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567)           งบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2567           655.81          21.10          676.91
2568 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567-กันยายน 2568)           งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568           2,320.22          74.65          2,394.87
2569
เป็นต้นไป
(เป็นงบประมาณที่คาดว่าจะขอเพิ่มเติมเพื่อปรับฐานเงินเดือน จาก 15,050 บาท/เดือน เป็น 18,150 บาท/เดือน)           ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป  (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เป็นต้นไป สำหรับโรงเรียนเอกชนทั่วไปและปีงบประมาณ พ.ศ. 2569-2570 สำหรับโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก)           3,365.00          108.26          3,473.26

17. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2567 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2567 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2567
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2567 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2567 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2567 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอดังนี้
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีค่าอยู่ที่ 100.93 ลดลงร้อยละ 3.58 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเป็นการปรับตัวลดลงเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน ตามการชะลอตัวเศรษฐกิจโลก โดยการผลิตเพื่อส่งออกยังคงชะลอตัว เช่นเดียวกับเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งมีการปรับตัวลดลงในสินค้าที่มีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรม หลังจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลดลง และรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นน้อย สวนทางกับภาวะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่ชะลอตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อาทิ ยานยนต์จากสินค้ารถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เป็นหลัก จากกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนตัวลง หนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อกระทบต่อการออกรถยนต์ใหม่ ประกอบกับผู้บริโภคบางส่วนหันไปซื้อรถยนต์มือสองที่มีราคาถูกกว่า ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่กระทบต่อการบริโภคและการลงทุน ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ชะลอตัว และ น้ำมันปาล์ม จากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ สาเหตุหลักมาจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งยาวนาน ส่งผลให้ปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยลง สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปีโตรเลียม จากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ทิศทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางมีมากขึ้น ปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจนเป็นการผลิตเพื่อรองรับการเพาะปลูกในช่วงถัดไป ประกอบกับสามารถนำเข้าแม่ปุ๋ยได้เพิ่มขึ้นซึ่งในช่วงเดียวกันของปีก่อนเกิดปัญหาขาดแคลนแม่ปุ๋ยและมีราคาแพง และ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่ และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจากสินค้าเกือบทุกรายการ ยกเว้นเครื่องดื่มกาแฟสำเร็จรูปจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ระดับ 90.34 ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากฐานของปีก่อนต่ำ เนื่องจากเดือนเมษายน ปี 2566 ค่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมค่อนข้างต่ำ (MPI เดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ 87.35) และภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับอานิสงส์ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม และการกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนเมษายน 2567 ขยายตัวเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. เครื่องปรับอากาศ ขยายตัวร้อยละ 24.19 ตามความต้องการบริโภคมากขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดและผู้ผลิตพัฒนาสินค้าตรงตามความต้องการของผู้บริโภค อาทิ กรอง PM 2.5 โดยขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ (+18.64%) และตลาดส่งออก (+15.54%) ไปสหรัฐฯ ยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง
                    2. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 4.78 จากน้ำมันเครื่องบิน ก๊าซหุงต้ม และแก๊สโซฮอล์ 91 เป็นหลัก โดยน้ำมันเครื่องบินและแก๊สโซฮอล์ 91 ขยายตัวตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ปีนี้คึกคักกว่าปีก่อน ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาเพิ่มขึ้น
                    3. อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 18.11 จากอาหารสัตว์เลี้ยง อาหารไก่ และอาหารสุกร เป็นหลัก โดยอาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวจากตลาดส่งออก (+36.25%) ตามความนิยมในการเลี้ยงสุนัขและแมว เนื่องจากคำสั่งซื้อจากตลาดยุโรปเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาหารไก่และอาหารสุกร ก็เพิ่มขึ้นตามปริมาณการเลี้ยงของเกษตรกร
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในเดือนเมษายน 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                    1. ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 17.16 จาก Integrated Circuits (IC) และ PCBA เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลก
                    2. ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 6.82 จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง อีกทั้งสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ โดยหดตัวทั้งตลาดในประเทศ (-27.97%) และตลาดส่งออก (-6.81%)
                    3. ปูนซีเมนต์ หดตัวร้อยละ 7.39 จากพื้นสำเร็จรูป และเสาเข็มคอนกรีต เป็นหลักตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
                    แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2/2567
                    อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์การผลิตจะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา และอาจส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม การเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของภาครัฐที่คาดว่าจะกลับมาดำเนินการได้ตามการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ
                    อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 9.06
เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า เช่น จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 7.57 จากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) การผลิตชิปขั้นสูง และการพัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน รวมทั้ง การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำของอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ
                    อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูป ขั้นปฐม                      (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ยางรถยนต์ และถุงมือยาง จะขยายตัว ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยยางแปรรูปขั้นปฐมและถุงมือยางจะขยายตัวจากความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ยางรถยนต์จะขยายตัวจากความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลักโดยเฉพาะในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้
                    อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสงกรานต์ ในส่วนของภาคการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว จากความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้า เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย

18. เรื่อง (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2567-2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2567-2570)           (ร่างยุทธศาสตร์ฯ) และมอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินภารกิจของหน่วยงานต่อไปตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ก.พ.ร. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556-2561) สิ้นสุดลง สำนักงาน ก.พ.ร. ไม่ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ในช่วงปี 2562-2563 เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) และได้มีการจัดทำแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2565) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดในแต่ละช่วงเวลา โดยมีแผนแม่บทซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาระบบราชการในแผนแม่บทประเด็นที่ 20 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ นอกจากนี้ ได้มีการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ โดยมีแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงเห็นว่า แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศดังกล่าวมีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการในภาพรวมสำหรับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐแล้ว จึงไม่ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ในช่วงปี 2562-2563
                    2. ต่อมาสำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564-2565)         โดยเห็นว่า ควรมีการรวบรวมกรอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการไว้ในที่เดียวกัน ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อยู่ระหว่างจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) โดยมีหมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาระบบราชการ ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ฯ (พ.ศ. 2564-2565) เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเห็นเป้าหมายในภาพรวมของการพัฒนาระบบราชการ และกำหนดจุดมุ่งเน้นในการดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเป็นการเตรียมการรองรับการพัฒนาระบบราชการในระยะต่อไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ด้วย อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป้าหมายและแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ เป็นการถ่ายทอดมาจากแผนแม่บทประเด็นที่ 20 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน สำนักงาน ก.พ.ร. จึงไม่ได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยได้เสนอ ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 และ ก.พ.ร. มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564-2565) และให้สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งเวียนเพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อไป
                    3. เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของยุทธศาสตร์ฯ (พ.ศ. 2564-2565) สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ฯ (พ.ศ. 2567-2570)1 โดยมีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ แผนแม่บทประเด็นที่ 20 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) (ในประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง รวมทั้งการพัฒนาและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย ตลอดจนเตรียมพร้อมรองรับภัยคุกคามและวิกฤตการณ์ระดับชาติ) โดยมีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการวิเคราะห์ทิศทางการพัฒนาระบบราชการของประเทศที่มีขีดสมรรถนะด้านประสิทธิภาพภาครัฐสูง ประเด็นปัญหาและความท้าทาย รวมถึงการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ร่างยุทธศาสตร์ฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              3.1 วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดภาพรวมและค่าเป้าหมาย สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
วิสัยทัศน์          ภาครัฐที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน
เป้าหมาย          รัฐที่ล้ำหน้า (Digital & Innovative Government) และรัฐที่เปิดกว้าง (Open Government) โดยมุ่งพัฒนาภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีความทันสมัย สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาการทำงานและการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรัฐบาลเปิดที่เชื่อมต่อการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น รวมทั้งปรับบทบาทภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน ที่ปลดล็อกข้อจำกัดของประชาชนทั้งในมิติทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การปลดล็อกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพหรือประกอบธุรกิจ การดึงดูดการลงทุน การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันและการเข้าถึงทางธุรกิจ อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ดีต่อประชาชน ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และส่งผลให้เกิดความเชื่อถือไว้วางใจของประชาชนต่อภาครัฐ
ตัวชี้วัดภาพรวมและค่าเป้าหมาย          - ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของภาครัฐ2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
- ดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government Development Index: EGDI)3 ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 40 ของโลก และมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 0.82 (คะแนนเต็ม 1)
- อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (IMD Competitiveness Ranking) ด้านประสิทธิภาพภาครัฐ (Government Effectiveness) ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 204
                              3.2 ยุทธศาสตร์ (เพื่อขับเคลื่อนไปสู่วิสัยทัศน์และเป้าหมายตามข้อ 3.1) จำนวน 3 ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดรายยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แนวทางการขับเคลื่อนตัวอย่างโครงการสำคัญ (Flagship Project)5 และหน่วยงานรับผิดชอบ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับบริการภาครัฐโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
เป้าหมาย : ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก ประหยัด ตอบโจทย์ มีทางเลือกในการรับบริการที่หลากหลาย ทั่วถึง และครอบคลุมความต้องการของประชาชนทุกกลุ่ม ในขณะที่ภาครัฐสามารถส่งมอบบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : (1) ความสำเร็จในการลดบทบาทการให้บริการของภาครัฐโดยการถ่ายโอนภารกิจให้ภาคส่วนอื่นดำเนินการแทนหรือร่วมดำเนินการกับภาครัฐ (ความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนร้อยละ 100)
          (2) ดัชนีการให้บริการภาครัฐออนไลน์ (Online Service Index: OSI) ตามผลการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของสหประชาชาติ ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 40 ของโลก และมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 0.82
          (3) จำนวนงานบริการภาครัฐปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ (Fully Digital) (ตั้งแต่การยื่นคำขอบริการ การชำระค่าธรรมเนียม และการรับเอกสารหรือใบอนุญาตที่ทางราชการออกให้) จำนวน 1,452 กระบวนงาน (จาก 2,420 กระบวนงาน ที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัลได้ตามคู่มือมาตรฐานกลาง)6
          (4) ร้อยละของการใช้บริการภาครัฐผ่านแพลตฟอร์มกลางบริการภาครัฐ (Biz Portal และ Citizen Portal)7 เทียบกับการใช้บริการภาครัฐผ่านช่องทางอื่น ๆ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 ภายในปี 2570
กลยุทธ์          แนวทางการขับเคลื่อน
1. ลดบทบาทการให้บริการของภาครัฐและเปิดให้ภาคส่วนอื่นร่วมให้บริการหรือให้บริการแทนภาครัฐ          1.1 ยกเลิกภารกิจการให้บริการสาธารณะที่ภาคส่วนอื่นทำได้ดีกว่าภาครัฐและส่งเสริมบทบาทภาคส่วนอื่นแทน
          1.2 ปรับระเบียบจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ภาคส่วนอื่นสามารถเข้ามาให้บริการแทนภาครัฐหรือให้บริการร่วมกับภาครัฐได้
2. ยกระดับงานบริการที่ภาครัฐยังต้องดำเนินการเองเป็นดิจิทัลแบบเบ็ดเสร็จในลักษณะ End to End Service8 และตอบสนองประชาชนเชิงรุก          2.1 ปรับปรุงกระบวนการบริการเป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม
          2.2 พัฒนาบริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (End to End Service) ในการประกอบธุรกิจและสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับในแต่ละช่วงชีวิตผ่านระบบดิจิทัล
          2.3 ยกระดับการให้บริการที่ตอบสนองประชาชนเชิงรุก
          - แจ้งสิทธิการได้รับบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานให้ประชาชนทราบและบริการประชาชนโดยไม่ต้องติดต่อขอรับบริการจากภาครัฐด้วยตนเอง เช่น สิทธิการได้รับเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด สิทธิการได้รับการรักษาพยาบาล สิทธิการได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
          - ปรับระบบการอนุมัติ อนุญาตต่าง ๆ เป็นระบบใบอนุญาตหลัก (Super License) ที่ผู้รับบริการสามารถขออนุญาตประกอบธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรได้ใน 1 ใบอนุญาต
3. ปรับบริการภาครัฐรายหน่วยงานเข้าสู่แพลตฟอร์มกลางของงานบริการภาครัฐและเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน          3.1 ยกระดับแพลตฟอร์มกลางภาครัฐที่สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับลักษณะงานบริการที่แตกต่างกัน
          3.2 เชื่อมโยงงานบริการของทุกหน่วยงานกับแพลตฟอร์มกลางภาครัฐ โดยต้องมีการเชื่อมโยงหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในการให้บริการประชาชนระหว่างหน่วยงาน
          3.3 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์สูงสุดจากแพลตฟอร์มกลางของงานบริการภาครัฐ เช่น งานบริการที่มีขั้นตอน/กระบวนการเหมือนกันทั้งในส่วนกลาง จังหวัดและท้องถิ่น และสามารถให้บริการผ่านระบบเทคโนโลยีได้ อาจให้บริการโดยตรงสู่ประชาชนผ่านแพลตฟอร์มกลาง โดยไม่จำเป็นต้องผ่านจังหวัด ท้องถิ่นหรือตัวกลางอื่น ๆ
ตัวอย่างโครงการสำคัญ : 1) โครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลกลางแห่งชาติ ซึ่งเป็นการบูรณาการหรือเชื่อมโยงช่องทางการยืนยันตัวตนเพื่อใช้บริการออนไลน์ของทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ [โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) (กรมการปกครอง) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า] 2) โครงการยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและการลงทุน โดยเป็นการศึกษาและขับเคลื่อนการเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทยตามแนวทางการประเมิน Business Ready (B-READY) ของธนาคารโลก (โดยสำนักงาน ก.พ.ร. และส่วนราชการที่มีงานบริการภาคธุรกิจ) และ 3) โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มบริการกลางภาครัฐ โดยพัฒนาเป็นช่องทางหลักให้ผู้รับบริการเข้าถึงทุกงานบริการของรัฐได้ภายในช่องทางเดียวอย่างครบวงจร (โดย สพร. สำนักงาน ก.พ. และส่วนราชการที่มีงานบริการประชาชน)
หน่วยงานรับผิดชอบ : กระทรวงการคลัง (กค.) พณ. มท. สำนักงาน ก.พ.ร. สพร. สพธอ. หน่วยงานที่มีงานบริการประชาชน และหน่วยงานที่มีอำนาจอนุมัติ อนุญาต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ลดบทบาทภาครัฐและเปิดการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่น
เป้าหมาย : ภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาท ภารกิจ ลดบทบาทภาครัฐส่วนกลาง กระจายอำนาจการบริหารในระดับพื้นที่ และเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นอันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ดีต่อประชาชน
ตัวชี้วัด : (1) ความสำเร็จในการปรับปรุงโครงสร้างภาครัฐให้เหมาะสม สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (ความสำเร็จของการดำเนินการตามแผน ร้อยละ 100)
          (2) ดัชนีการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Participation Index: EPI) ตามผลการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของสหประชาชาติ มีคะแนนไม่ต่ำกว่า 0.82
กลยุทธ์          แนวทางการขับเคลื่อน
1. กระจายอำนาจและลดบทบาทภาครัฐส่วนกลาง          1.1 แบ่งอำนาจ มอบอำนาจ และถ่ายโอนอำนาจจากภาครัฐส่วนกลางลงไปในระดับพื้นที่ ตลอดจนปรับโครงสร้างภาครัฐให้มีขนาดที่เหมาะสม โดยการถ่ายโอนภารกิจที่ภาครัฐไม่จำเป็นต้องดำเนินการเองให้ภาคส่วนอื่นที่มีศักยภาพดำเนินการแทนหรือดำเนินการร่วมกับภาครัฐ และการยุบรวม/ยุบเลิก หรือปรับบทบาทหรือภารกิจภาครัฐที่หมดความจำเป็นหรือไม่คุ้มค่าในการดำเนินการ รวมทั้งควบคุมอัตรากำลังของบุคลากรภาครัฐให้สมดุลกับบทบาทภารกิจ
          1.2 เสริสร้างศักยภาพของจังหวัดและท้องถิ่นให้พร้อมรับการถ่ายโอนอำนาจ/ภารกิจจากภาครัฐส่วนกลาง
          1.3 ยกระดับบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้ว่า CEO) ให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ได้ตามเป้าหมายนโยบายสำคัญของรัฐบาล เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจน การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
          1.4 ปลดล็อกกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้จังหวัดและท้องถิ่นสามารถบริหารทรัพยากร/แก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่มีศักยภาพดำเนินการเองได้
2. เปิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน          2.1 เปิดข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ให้ภาคส่วนอื่นเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้รวมถึงเพื่อเป็นการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
          2.2 พัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย9เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen)
          2.3 บริหารงานในรูปแบบภาครัฐเครือข่ายที่ยึดประเด็นปัญหาเป็นตัวตั้งโดยภาครัฐเป็นฝ่ายสนับสนุนและเปิดให้ภาคส่วนอื่นที่มีความชำนาญเข้ามามีบทบาทร่วม
ตัวอย่างโครงการสำคัญ : 1) โครงการปรับบทบาทภาครัฐแนวใหม่เพื่ออนาคต เป็นการทบทวนบทบาทภารกิจของภาครัฐ การปรับโครงสร้างภาครัฐให้รองรับภารกิจใหม่ และเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาร่วมจัดบริการสาธารณะหรือให้บริการแทนภาครัฐ (สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงาน ก.พ.) และ 2) โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยพัฒนาแพลตฟอร์มการมีส่วนร่วมที่สร้างพื้นที่และเครื่องมือให้ภาครัฐและประชาชนใช้ในการให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น รวมทั้งการตัดสินใจและดำเนินงานร่วมกัน [สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)]
หน่วยงานรับผิดชอบ : มท. สปน. สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สพร. และทุกส่วนราชการ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ขับเคลื่อนผลิตภาพภาครัฐด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล
เป้าหมาย : ภาครัฐมีความทันสมัย สามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาการทำงานและการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : (1) ความสำเร็จในการปรับกระบวนงานภาครัฐที่สำคัญเข้าสู่ดิจิทัล (ร้อยละ 100)
          (2) ความสำเร็จในการปรับข้อมูลภาครัฐเป็นดิจิทัลที่มีมาตรฐาน และสามารถใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของภาครัฐ (ร้อยละ 100)
          (3) หน่วยงานภาครัฐผ่านการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 ระดับก้าวหน้าขึ้นไป (ร้อยละ 85)
กลยุทธ์          แนวทางการขับเคลื่อน
1. ยกระดับการทำงานด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล รวมถึงการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ          1.1 ปรับเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ได้มาตรฐานและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้
          1.2 สร้างทักษะการใช้ข้อมูล (Data Literacy) และวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล (Data Culture)10 ในการทำงานและการตัดสินใจให้แก่บุคลากรภาครัฐทุกระดับรวมถึงทักษะทางด้านดิจิทัล (Digital Skill) ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน
          1.3 ใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ เช่น ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการคาดการณ์อนาคต
          1.4 พัฒนากลไกสร้างนวัตกรรมทางการบริหารและระบบนิเวศในการทำงาน ที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมในหน่วยงาน
2. ปรับระบบงาน งบประมาณ บุคลากร และโครงสร้างภายในหน่วยงานให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว          2.1 ปรับระบบงบประมาณให้หน่วยงานภาครัฐสามารถบริหารงบประมาณได้อย่างยืดหยุ่น มุ่งเน้นผลลัพธ์ สามารถตอบโจทย์ที่สำคัญและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที
          2.2 ปรับระบบงาน บุคลากร และโครงสร้างภาครัฐให้เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัว สามารถปรับเปลี่ยนไปตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป มุ่งเน้นระบบการทำงานแบบแนวราบ11 โดยพัฒนากลไกให้หน่วยงานภาครัฐสามารถทดลองแนวทางการจัดโครงสร้างเพื่อความยืดหยุ่น คล่องตัว (OD Regulatory Sandbox)12 ตลอดจนการจัดตั้งหน่วยงานเสมือนจริง13 กรณีเป็นภารกิจที่มีความสำคัญจำเป็น โดยกำหนดประเภทและระยะเวลาคงอยู่ และให้มีการประเมินผลเมื่อครบกำหนดว่าจะจัดตั้งถาวร ยุบเลิกหรือขยายระยะเวลา
          2.3 พัฒนาระบบนิเวศการทำงานที่ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพและเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ รวมทั้งปรับภาพลักษณ์ของระบบราชการเพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ
3. ปรับระบบงานภาครัฐให้มีความโปร่งใส ไร้ทุจริตคอร์รัปชัน          3.1 ปรับกระบวนงานภาครัฐให้เป็นดิจิทัลโดยทบทวนและออกแบบกระบวนการทำงานใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการร่วมกันระหว่างบุคลากรและระบบเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเพื่อให้การปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยลดโอกาสในการเรียกรับผลประโยชน์ ลดปัญหาการใช้ดุลพินิจ และสามารถติดตามสถานะการดำเนินการได้ทุกขั้นตอน
          3.2 เร่งปรับกระบวนการทำงานด้วยแพลตฟอร์มที่ใช้ร่วมกัน เช่น ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปรับกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและช่วยลดต้นทุน
          3.3 พัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่สามารถวัดผลการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
          3.4 พัฒนาระบบ/แพลตฟอร์มสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน
ตัวอย่างโครงการสำคัญ : 1) โครงการขับเคลื่อนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ โดยเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ เข้าสู่ส่วนกลางเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการตัดสินใจดำเนินนโยบายสำคัญของรัฐบาล [โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) (สำนักงานสถิติแห่งชาติและสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ)] 2) โครงการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานภาครัฐสู่องค์กรดิจิทัล โดยเร่งการพัฒนากระบวนงานที่มีลักษณะคล้ายกันในหลายหน่วยงานให้เป็นดิจิทัล (โดย สพร. และสำนักงาน ก.พ.) และ 3) โครงการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ โดยพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐที่สามารถวัดผลการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม เชื่อมโยงกับระบบการเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน (โดยสำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร.)
หน่วยงานรับผิดชอบ : ดศ. สลน. สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สพร. และทุกส่วนราชการ
                    4. ประโยชน์ของร่างยุทธศาสตร์ฯ
                              4.1 เป็นการวางทิศทางและเป้าหมายการขับเคลื่อนระบบราชการในภาพรวมที่ยั่งยืนและเป็นรูปธรรม
                              4.2 เป็นแนวทางสนับสนุนให้หน่วยงานพัฒนาระบบการทำงานให้มีความทันสมัย สามารถตอบสนองความคาดหวังของประชาชน รองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต
                              4.3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริการภาครัฐเพื่อตอบโจทย์ประชาชนและประชาชนมีทางเลือกในการรับบริการที่หลากหลาย ทั่วถึง สะดวก ประหยัด และครอบคลุมความต้องการของประชาชนทุกกลุ่ม
                    5. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ในคราวประชุม ครั้งที่ 8/2566 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ฯ และขอให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำความเห็นของสภาพัฒนาฯ ไปพิจารณาปรับรายละเอียดของร่างยุทธศาสตร์ฯ ให้มีความชัดเจนก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ฯ ตามความเห็นของ สศช. และปรับปรุงให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาลแล้ว โดย ก.พ.ร. ในคราวประชุม ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 มีมติเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ฯ ฉบับปรับปรุงดังกล่าวเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินภารกิจของหน่วยงานต่อ ไป
1 ในช่วงปี 2566 ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2567-2570) ตามขั้นตอนแนวทางการเสนอแผนระดับที่ 3 นั้น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เผยแพร่ทิศทางการพัฒนาระบบราชการในระยะ 5 ปีตาม (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ ที่ ก.พ.ร. มีมติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2566 ควบคู่กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580)
2 เป็นการสำรวจข้อมูลความพึงพอใจจากประชาชนผู้ใช้บริการจากหน่วยงานของรัฐทั่วประเทศ [ส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)] โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ทั้งนี้ ในปี 2566 ผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชนอยู่ที่ร้อยละ 83.24 เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีร้อยละ 81.69
3 ดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EDGI) เป็นการสำรวจและประเมินสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จำนวน 193 ประเทศ ทุก 2 ปี โดยสำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ โดยในปี 2565 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 55 (คะแนน 0.766 คะแนน) ซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศเวียดนาม (อันดับ 86/0.678 คะแนน) เมียนมา (อันดับ 134/0.499 คะแนน) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (อันดับ 159/0.376 คะแนน) จากการประสานสำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในร่างยุทธศาสตร์ฯ เป็นการถ่ายทอดมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในหมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชนที่กำหนดค่าเป้าหมายไว้ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 40 ของโลกและมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 0.82 (คะแนนเต็ม 1)
4 อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นการประเมินขีดความสามารถของประเทศในเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ 2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ 3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และ 4) โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจัดทำและเผยแพร่เป็นประจำทุกปีโดย International Institute for Management Development (IMD) โดยสถานการณ์ในด้านประสิทธิภาพภาครัฐ (Government Effectiveness) ในปี 2566 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 24 ดีขึ้นจากปี 2565 ที่อยู่ในอันดับที่ 31 และเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน พบว่า ประเทศไทยเป็นรองเพียงแค่ประเทศสิงคโปร์ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 7 ทั้งนี้ จากการประสานสำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า การกำหนดค่าเป้าหมายไว้ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 20 เพื่อให้ใกล้เคียงกับอันดับของประเทศไทยในช่วงปี 2563-2564 ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 23 และ 20
5 โครงการสำคัญ (Flagship Project) เป็นการยกระดับโครงการที่อยู่ภายใต้แผนงานของส่วนราชการให้สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการและมีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6 กำหนดค่าเป้าหมายโดยอิงตามค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดในแผนแม่บทฯ ประเด็นที่ 20 ที่กำหนดให้มีสัดส่วนกระบวนงานที่ปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัลต่อกระบวนงานทั้งหมดที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัลได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ภายในปี 2570
7 Biz Portal คือ ศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ และ Citizen Portal คือ ศูนย์กลางในการบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร
8 End to End Service คือ การให้บริการดิจิทัลหรือบริการทางออนไลน์แบบครบวงจร โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้บริการและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน
9 ระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย คือ รูปแบบที่สำนักงาน ก.พ.ร. พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนภารกิจที่ไม่สามารถดำเนินการสำเร็จได้โดยภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว โดยยกระดับการทำงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของประชาชน ผ่านความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาสำคัญร่วมกัน
10 วัฒนธรรมการใช้ข้อมูล (Data Culture) คือ การส่งเสริมให้ภาครัฐนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานแทนการใช้ความรู้สึกหรือประสบการณ์จากการดำเนินงานที่ผ่านมา
11 ระบบการทำงานแบบแนวราบ เป็นการออกแบบให้องค์กรไม่มีลำดับชั้นในการตัดสินใจสูงมากนักและการทำงานภายในองค์กรอยู่ในระดับเดียวกันมากที่สุด บุคลากรได้รับความไว้วางใจในการตัดสินใจและมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่เพื่อลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและช่วยลดความผิดพลาดในการสื่อสาร
12 แนวทางการจัดโครงสร้างเพื่อความยืดหยุ่น คล่องตัว (OD Regulatory Sandbox) คือ กลไกในการพัฒนาองค์กรในลักษณะของพื้นที่ทดลองโดยการผ่อนปรนข้อจำกัดและกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค
13 จากการประสานสำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า หน่วยงานเสมือนจริงเป็นการตั้งหน่วยงานขึ้นมาในลักษณะคณะทำงานตามภารกิจสำคัญ ซึ่งมีโครงสร้าง มีการใช้งบประมาณ และมีกฎหมายในการจัดตั้ง โดยมีหัวหน้าภารกิจที่สามารถดึงบุคลากรจากหน่วยงานของรัฐมาร่วมดำเนินงานได้ ทั้งนี้ เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดจะมีการประเมินความจำเป็นในการคงอยู่ของหน่วยงานเสมือนจริงดังกล่าว

19. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือคำสั่ง กรณีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการชันสูตรพลิกศพ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง กรณีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการชันสูตรพลิกศพ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) รับทราบต่อไป
                     เรื่องเดิม
                    1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรฐานการให้ความเห็นเชิงวิชาการของแพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ และปัญหาเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพซึ่งอาจกระทบต่อสิทธิในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงกรณีไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือกระบวนการตรวจสอบซ้ำเพื่อเป็นหลักประกันและยืนยันความถูกต้องของผลการชันสูตรที่ชัดเจน
                    2. กสม. เห็นว่า กระบวนการชันสูตรพลิกศพตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในกรณีเจ้าหน้าที่เห็นว่าการตายไม่ผิดธรรมชาติก็อาจทำให้ไม่เข้าสู่กระบวนการชันสูตรพลิกศพ และไม่มีการผ่าศพหรือแยกธาตุ จึงควรกำหนดให้ญาติผู้ตายสามารถร้องขอให้เจ้าหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพหรือผ่าศพได้ กฎหมายยังขาดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ชัดเจน เช่น ไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ซ้ำอย่างชัดเจน กฎหมายมิได้กำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขให้บุคคลที่เกี่ยวข้องขอทราบผลการชันสูตรพลิกศพหรือผลการผ่าพิสูจน์ได้ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนที่มิอาจเปิดเผยได้ ไม่มีกำหนดเวลาเกี่ยวกับการคืนศพ จึงควรมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ชัดเจนอันจะทำให้เจ้าหน้าที่มีกรอบการปฏิบัติงาน และบุคคลทั่วไปได้รับรู้และเข้าใจความจำเป็น บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติว่าแพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพจะต้องมาจากหน่วยงานใด จึงทำให้ขาดหลักประกันความเป็นกลางและความอิสระ รวมทั้งขาดการบูรณาการจัดการองค์ความรู้ด้านนิติเวชศาสตร์และมาตรฐานการชันสูตรพลิกศพ โดยในบางพื้นที่อาจมีกรณีที่แพทย์ไม่อาจไปปฏิบัติหน้าที่ได้ นอกจากนี้ ภายหลังจากที่พนักงานผู้ชันสูตรพลิกศพได้จัดทำสำนวนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้นแล้ว ควรให้เป็นบทบาทขององค์กรตุลาการในการพิจารณาคำโต้แย้งคัดค้านรายงานผลการชันสูตรพลิกศพที่พนักงานผู้ชันสูตรพลิกศพจัดทำเสร็จสิ้น
                    3. กสม. ได้มีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง กรณีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการชันสูตรพลิกศพเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
                    4. ที่ผ่านมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. ว่า เมื่อได้รับข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว ให้รายงานรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาสั่งการให้มีหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของ กสม. ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้รายงานสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมต่อคณะรัฐมนตรีต่อไปซึ่งรองนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ สธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้ สลค. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะของ กสม. ในเรื่องดังกล่าวตามข้อ  4 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กห. กค. อว. มท. ยธ. สคก. ตช. ศย. อส. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ แพทยสภา          ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย และ กสม. เมื่อวันที่ 22  มกราคม 2567 ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้

ข้อเสนอแนะของ กสม.          สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
1. ข้อเสนอแนะมาตรการระยะสั้น คณะรัฐมนตรีควรมอบหมาย ดังนี้
1.1 ให้ สธ. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ตช. และแพทยสภาร่วมกันพิจารณาแนวทางในการตรวจพิสูจน์ซ้ำเพื่อให้มีมาตรฐานและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน          - แนวทางในการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ซ้ำ
   1. ให้ปฏิบัติโดยยึดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 1511 ประกอบกับประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 10 การชันสูตรพลิกศพบทที่ 1 อำนาจและหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ข้อ 62 และประกาศราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย วาระ พ.ศ. 2562 ? 2564 ชุดที่ 17 ที่ 25/2563 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 25633
2 . ให้มีการยกระดับประกาศราชวิทยาลัยฯ โดยให้แพทยสภาออกประกาศเป็นข้อบังคับแพทยสภาเพื่อการบังคับใช้ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน โดยให้ราชวิทยาลัยฯ เสนอเรื่องต่อแพทยสภาต่อไป
1.2 ให้ สธ. ยธ. กค. และ ตช. ร่วมกันพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการขนส่งศพเพื่อทำการผ่าพิสูจน์           - ให้ สธ. แต่งตั้งคณะทำงานสำหรับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านงบประมาณของนิติเวชร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ และแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อสนับสนุนค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของแพทย์และค่าบริการสาธารณสุขด้านนิติเวชเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป

1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 151 บัญญัติให้เมื่อมีการจำเป็นเพื่อพบเหตุของการตาย เจ้าพนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพมีอำนาจสั่งให้ผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใด หรือจะให้ส่งทั้งศพหรือบางส่วนไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้
2 ประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 10 การชันสูตรพลิกศพ บทที่ 1 อำนาจและหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ข้อ 6 วรรคหนึ่งกำหนดให้ในการชันสูตรพลิกศพนั้น เมื่อมีความจำเป็นเพื่อพบเหตุของการตาย เจ้าพนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพมีอำนาจสั่งให้ผ่าศพ แล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ เศษหรือบางส่วนของศพไปยังแพทย์ หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐก็ได้
3 ประการราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย วาระ พ.ศ. 2562 ? 2564 ชุดที่ 17 ที่ 25/2563 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2563 กำหนดแนวทางปฏิบัติในการผ่าศพซ้ำ กรณีการร้องขอให้ผ่าซ้ำ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. หน่วยงานที่ถูกร้องขอจะรับทำได้ ต้องมีห้องปฏิบัติการการชันสูตรศพที่ผ่านการรับรองโดยราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
2. หน่วยงานที่ถูกร้องขอต้องจัดตั้งคณะกรรมการ ซึ่งเป็นแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยต้องประกอบด้วยกรรมการสองกลุ่ม ได้แก่ กรรมการจากหน่วยงานที่ถูกร้องขอ กับกรรมการภายนอก
3. คุณสมบัติของกรรมการมี ดังนี้
3.1 เป็นแพทย์ที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรจากแพทยสภาในสาขานิติวิทยาศาสตร์
3.2 หลังจากได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแล้ว ต้องปฏิบัติงานในสาขานิติเวชศาสตร์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี (และขณะที่เป็นกรรมการยังปฏิบัติงานในสาขานิติวิทยาศาสตร์อยู่)
3.3 ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ร้องขอให้ทำการผ่าศพซ้ำ และผู้เสียชีวิต
4. ให้คณะกรรมการประสานขอข้อมูลการผ่าศพครั้งก่อน เท่าที่ทำได้
5. ผู้ผ่าศพครั้งก่อน หรือตัวแทน สามารถเข้าร่วมสังเกตการณ์กระบวนการผ่าศพได้
6. การสรุปผลการผ่าศพซ้ำ หากไม่สามารถหาฉันทามติได้ ให้กรรมการแต่ละคนแสดงความเห็นไว้ในรายงาน

20.  เรื่อง รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของ                รัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เรื่อง ความเดือดร้อนจากการดำเนินโครงการเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบสรุปผลการดำเนินการ กรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เรื่องความเดือดร้อนจากการดำเนินโครงการเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และแจ้งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทราบต่อไป
                    2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ (31 ตุลาคม 2566) รับทราบรายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 (เรื่อง ความเดือดร้อนจากการดำเนินโครงการเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย) ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผผ.) เสนอ และให้ กษ. รับข้อเสนอแนะของ ผผ. ในเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ กษ. สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวมแล้วส่งให้                     สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานสรุปผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ ผผ. ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ ผผ. [ตามมติ
ผลการดำเนินการ
คณะรัฐมนตรี (31 ตุลาคม 2566)]          ผลการดำเนินงาน
1. ให้กรมชลประทานและ กษ. เร่งรัดการประชุมและพิจารณารับรองรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อเสนอของบประมาณภายในปี 2567 โดยขอให้กรมชลประทานและ กษ. เสนอเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดสรรงบกลางในการเยียวยาความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบ ในอัตราเหมาจ่าย 7,000 บาท ต่อไร่ต่อปี และค่าสูญเสียโอกาสในอัตรา 3,000 บาทต่อไร่ต่อปี ตั้งแต่ปี 2543-2547
          - เดิมมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 388/2562 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2562 แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด โครงการฝายยโสธร-พนมไพร และโครงการฝายธาตุน้อย                          มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้แทนกลุ่มราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นกรรมการ
- คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมและพิจารณาเห็นชอบรายชื่อและพื้นที่ของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ดและโครงการฝายยโสธร-พนมไพรแล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 และมีมติให้ฝายเลขานุการ (สำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน) แจ้งไปยังคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด และโครงการฝายยโสธร-พนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายยโสธร-พนมไพร จังหวัดยโสธร ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเพื่อจัดเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนนำเสนอคณะกรรมการต่อไป  รวมทั้งเร่งดำเนินการในส่วนที่ยังมีการอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
- คณะกรรมการดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องได้หมดวาระลงภายหลังจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566
- เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและลงนามในร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด โครงการฝายยโสธร-พนมไพร และโครงการฝายธาตุน้อย หากนายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งดังกล่าวแล้ว* กรมชลประทานจะได้ดำเนินการเร่งรัดการประชุมและพิจารณารับรองรายชื่อผู้ได้รับ
ผลกระทบเพื่อเสนอของบประมาณภายในปี พ.ศ. 2567 ต่อไป
2. ให้กรมชลประทานพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมภายหลังจากการสร้างเขื่อนในลำน้ำชีทั้งระบบ โดยการดำเนินการดังกล่าวขอให้พิจารณาถึงหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ          กรมชลประทานได้ดำเนินการว่าจ้างสถาบันที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการดำเนินโครงการ (POST-EIA) เริ่มปฏิบัติงานเมื่อเดือนตุลาคม 2561 และปิดโครงการศึกษาเมื่อเดือนกันยายน 2562
- เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565  คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด โครงการฝายยโสธร-พนมไพร และโครงการฝายธาตุน้อย ได้ประชุมและพิจารณาเห็นชอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม โดยที่ประชุมมีมติให้คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด และโครงการฝายยโสธร-พนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายยโสธร-พนมไพร จังหวัดยโสธร ไปดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ผู้แทนโครงการชลประทานและผู้แทนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ เพื่อเร่งรัดดำเนินการคำนวณพื้นที่น้ำท่วมในแต่ละปีของที่ดินโดยเร่งด่วน และดำเนินการในส่วนของผู้ที่ยื่นคำร้องใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสนอคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด โครงการฝายยโสธร-พนมไพรและโครงการฝายธาตุน้อยต่อไป
3. ให้กรมชลประทานและ กษ. เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในด้านบริหารจัดการน้ำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปโดยรวดเร็ว โดยขอให้ดำเนินการ
ศึกษาและแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างอาคารและองค์ประกอบเขื่อน การแก้ปัญหาผลกระทบจากคันกั้นน้ำและโครงการสูบน้ำขนาดใหญ่ และกำหนดมาตรการ
ฟื้นฟูระบบนิเวศโดยกำหนดให้มีผู้แทนจาก สทนช. ทส. และผู้เกี่ยวข้อง
เข้ามาเป็นคณะทำงานเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา          กรมชลประทานขอหารือกับ สทนช. ทส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะดำเนินการแจ้งรายงานให้ทราบต่อไป

*นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 377/2566 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด โครงการฝายยโสธร-พนมไพร และโครงการฝายธาตุน้อย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ

21. เรื่อง ผลการพิจารณา ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รวม 11 ญัตติ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณา ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รวม 11 ญัตติ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ได้เสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รวม 11ญัตติ มาเพื่อดำเนินการ โดยได้ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ได้แก่ กุ้ง ปลา พืชผล พืชสวน พืชไร่ และปศุสัตว์ (สุกร ไก่ โค และกระบือ) เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และอาหารสัตว์ รวมทั้งมีการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย รวมทั้งโรคระบาดที่เกิดจากสัตว์ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ จึงมีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล เช่น ควรเข้าไปควบคุมต้นทุนการผลิต ควบคุมการนำเข้าจากต่างประเทศ ควบคุมการผูกขาด เร่งสร้างความร่วมมือด้านเขตการค้าเสรี (FTA) ผลักดันนโยบาย ?ตลาดนำนวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้? โดยทำ Profile Market เพื่อผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดควรมีการแก้ไขปัญหาแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร รวมทั้งทบทวนการจัดโซนนิ่งในการทำเกษตรกรรมเพื่อตอบโจทย์คุณภาพของสินค้าและเป็นการลดรายจ่ายในการปลูกพืชที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ทำให้ได้สินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นง่ายต่อการตลาดในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีนโยบายการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกร
                    2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (2 มกราคม 2567)
                              2.1 รับทราบญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รวม 11 ญัตติ ตามที่ สผ. เสนอ
                              2.2 มอบหมายให้ กษ. เป็นหน่วยงานหลักรับญัตติพร้อมทั้งข้อเสนอแนะไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    กษ. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 มกราคม 2567 โดยสรุปผลการพิจารณา ได้ดังนี้
                    1. ได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยบริหารงบประมาณโครงการในการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร เช่น ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การจัดหาแหล่งน้ำชลประทานสำหรับพืชผลทางการเกษตร การปศุสัตว์ และการประมง เพื่อทำให้ผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของตลาด จัดทำแผนการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค โดยมุ่งเน้นตลาดนำการผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด และจัดทำข้อมูลความต้องการผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้วางแผนการผลิตที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคา
                    2. จัดทำมาตรการ/โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำและต้นทุนการผลิตสูง ด้วยการบริหารจัดการผลผลิต ทั้งการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ผลักดันการส่งออก รวมทั้งส่งสริมการบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยมาตรการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรที่สำคัญ มีดังนี้

สินค้าเกษตรที่สำคัญ          ผลการดำเนินการ
1. สินค้าข้าว          ? มีคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติกำกับดูแล โดยมีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/2567  จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
          1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 พฤศจิกายน 2566) โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรวงเงินสินเชื่อต่อตันจำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรจะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท  และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือกได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
          2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2566/67 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 พฤศจิกายน 2566) โดยให้ ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี  รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3.85 ต่อปี
3. โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2566/67 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 พฤศจิกายน 2566) โดยให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4. โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารโดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
2. สินค้ามันสำปะหลัง          ? มีคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลังกำกับดูแล โดยมีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี 2566/67 จำนวน 4  โครงการ ดังนี้
1. โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต๊อกมันสำปะหลัง ปี 2566/67 สนับสนุนดอกเบี้ยแก่ผู้ประกอบการ ลานมัน โรงแป้ง โรงงานเอทานอลที่กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้สามารถรับซื้อมันสำปะหลังและแปรรูปเก็บสต็อกโดยไม่ต้องเร่งระบายผลผลิต เพื่อดึงผลผลิต
ส่วนเกินออกจากตลาด โดยรัฐบาลชดเซยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี วงเงินงบประมาณ 300 ล้านบาท
2. โครงการยกระดับศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง โดยสนับสนุนเงินทุนให้แก่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย (วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน หรือกลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ ภายใต้การรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ) เพื่อจัดหาเครื่องสับมันสำปะหลังขนาดเล็กพร้อมเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ตากมันเส้น จำนวน 650 เครื่อง เครื่องละไม่เกิน 15,000 บาท ให้เกษตรกรสามารถแปรรูปหัวมันสำปะหลังสดเป็นมันเส้นด้วยตัวเองและจำหน่ายให้แก่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงานเอทานอล ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ ผู้ส่งออกได้โดยตรง งบประมาณ 10 ล้านบาท
3. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปี 2566/67 โดยให้ ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรใช้เป็นเงินทุนในการรับซื้อหัวมันสำปะหลังสด มันเส้นจากเกษตรกร และ/หรือสถาบันเกษตรกรที่มีสมาชิกประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก (สำหรับกรณีใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์) วงเงินสินเชื่อ 500 ล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.85 สถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1
4. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ปี 2566/67 โดยให้ ธ.ก.ส.สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาการผลิตของเกษตรกรโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยใช้อัตราดอกเบี้ยตามโครงการฯ ในอัตรา MRR1 (ปัจจุบัน 6.975%)  โดยคงอัตราดอกเบี้ยที่รัฐบาลรับภาระร้อยละ 3 และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ รับภาระในอัตรา MRR ? ๓% วงเงินงบประมาณ 41.40 ล้านบาท
3. สินค้าอ้อย          มีกระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลมาตรการและการแก้ไขปัญหาสินค้าอ้อยทั้งระบบ
4. สินค้ายางพารา          ? มีคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติกำกับดูแล โดยมีการยางแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งได้จัดทำมาตรการระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ประกอบด้วย
1. มาตรการระยะสั้น ได้แก่ (1) ช่วยเหลือค่าครองชีพให้เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยให้มีรายได้เพียงพอในการเลี้ยงชีพ (2) พัฒนาศักยภาพการผลิตและการแปรรูปและสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และ (3) ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนเพื่อยื่นขอใบรับรองมาตรฐานตามกฎหมาย EU-Deforestation2
2. มาตรการระยะปานกลาง ได้แก่ (1) เพิ่มการใช้ยางภายในประเทศ (2) แปรรูปยางพาราที่เหมาะกับพื้นที่ และส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตจากยางพาราขั้นต้นเป็นการแปรรูปชั้นกลาง (3) สร้างความยั่งยืนในการประกอบอาชีพ และพัฒนาเครื่องมือการขายคาร์บอนเครดิต3 เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่หลากหลาย (4) จัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการสร้างเครือข่ายและพันธมิตร เกษตรกรสถาบันเกษตรกร และตลาดกลาง และ (5) เร่งจัดทำใบรับรองมาตรฐานยางพาราและกำหนดคุณภาพของยางแปรรูปขั้นต้นให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปขั้นปลาย
3. มาตรการระยะยาว ได้แก่ (1) วิจัยและส่งเสริมการลงทุนแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา (2) สร้างระบบตลาดซื้อขายยางพาราของประเทศไทยที่ใช้ในการอ้างอิงของประเทศอื่น ๆ และ (3) ร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ผ่านสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ
5. สินค้าปาล์มน้ำมัน          ? มีคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติกำกับดูแล โดยมีมาตรการดูแลช่วยเหลือรายได้แก่เกษตรกร เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้
1. กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการรับซื้อผลปาล์มน้ำมัน โดยกำหนด ?ห้ามมิให้ผู้ประกอบการจุดรับซื้อผลปาล์มน้ำมัน (ลานเท) กระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ผลปาล์มน้ำมันร่วงอย่างไม่เป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะโดยใช้ ตะแกรง รางเท สำหรับลำเลียงทะลายปาล์มน้ำมันที่เป็นตะแกรง อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดสำหรับแยกผลปาล์มน้ำมันร่วง? ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพผลปาล์มน้ำมันและเพิ่มอัตราสกัดน้ำมันปาล์ม ส่งผลให้มีปริมาณน้ำมันปาล์มดิบทั้งระบบเพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยได้อย่างยั่งยืน
2. จัดทำโครงสร้างราคาผลปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวจะทำให้มีเกณฑ์โครงสร้างราคาที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา และราคาซื้อขายจะไม่ผันผวนและถูกกดราคา ทำให้เกษตรกรได้รับรายได้ที่เป็นธรรม
6. สินค้าผลไม้          ? มีคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กำกับดูแล โดยมีแนวทางการบริหารจัดการ ดังนี้
1. ระยะสั้น จัดตั้งศูนย์รวบรวม/กระจาย ระดับพื้นที่เพื่อเร่งกระจายผลผลิตสร้าง Platform ข้อมูลด้านการผลิตเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการขนส่งและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ และพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด
2. ระยะปานกลาง จัดทำแผนบริหารจัดการ เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตกระจุกตัวส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชื่อมโยงตลาดล่วงหน้า/เพิ่มช่องทาง
3. ระยะยาว ส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และประกันภัยพืชผลเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผลไม้ไทย รวมทั้งส่งเสริมให้ไทยเป็นแหล่งผลิตตลาดผลไม้เมืองร้อนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
7. สินค้าปศุสัตว์          ? กรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าปศุสัตว์ ดังนี้
1. ใช้กลไกกำกับดูแลของคณะกรรมการรายชนิดสัตว์ เช่น สินค้าสุกร ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการนโยบายสุกรและผลิตภัณฑ์ สินค้าโคกระบือ ขับเคลื่อน โดยคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคเนื้อ - กระบือ และผลิตภัณฑ์แห่งชาติ สินค้าไก่ ขับเคลื่อนโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด และสินค้าแพะ ขับเคลื่อนโดยคณะทำงานพัฒนาด้านแพะแกะ
2. ประกาศชะลอการนำเข้าหรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งโคกระบือหรือซากโคซากกระบือ
3. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารแก้ไขปัญหาการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรที่ผิดกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหา ป้องกันและปราบปรามสินค้าด้านการเกษตรที่ผิดกฎหมายต่าง ๆ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. ผลักดันการเปิดตลาดส่งออกโคและกระบือมีชีวิต รวมทั้งซากโคและซากกระบือไปยังสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และรณรงค์การบริโภคสินค้าเนื้อโคไทย
5. การบังคับใช้ระบบเบอร์หูแห่งชาติ (NID) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลโคเนื้อทั้งระบบสำหรับใช้ในการบริหารจัดการการผลิตและการตลาดทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
8. สินค้ากุ้ง          ? กรมประมง ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยมีมาตรการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. โครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่กู้เงินจาก ธ.ก.ส. ไปใช้ในการติดตั้งระบบอุปกรณ์ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) ระบบควบคุมเครื่องเติมอากาศอัจฉริยะ และปรับปรุงโครงสร้างฟาร์มหรือโครงสร้างบ่อ โดยชดเชยดอกเบี้ยให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี (ไม่เกิน 20 พฤษภาคม 2569)
2. โครงการส่งเสริมการใช้ระบบ Solar Cell เพื่อลดต้นทุนการผลิต
3. โครงการอาหารกุ้งทะเลธงเขียวเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเลสำหรับบริโภคภายในประเทศ ปี 2566 โดยขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารกุ้ง
4. กรมประมงได้ดำเนินการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 (แบบผง) และ ปม.2 (แบบน้ำ) เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกร เพื่อช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง และได้ดำเนินการควบคุมการนำเข้ากุ้งทะเลจากต่างประเทศก่อนอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย จะต้องถูกดำเนินการควบคุมโรคภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 รวมทั้งจัดทำแนวทางการเฝ้าระวังโรคในกุ้งทะเลครอบคลุม ทั้งห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่โรงเพาะฟัก โรงอนุบาล ฟาร์มเลี้ยง ตลอดจนสถานบรรจุสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก และเพื่อให้การตรวจพบโรคกุ้งที่เฝ้าระวังเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำและสามารถเข้าจัดการแก้ไขปัญหาโรคได้ทันท่วงที
5. กษ. ได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการผลักดันการขยายตลาดสินค้าเกษตรและประมงที่ไทยมีศักยภาพในเชิงรุก โดยเฉพาะในประเทศที่มีความตกลง FTA กับไทย รวมถึงอาศัยกลไกความร่วมมือที่มีอยู่ในการจับคู่ธุรกิจ
9. สินค้าปลากะพงขาว          ? กรมประมง ได้ดำเนินมาตรการ ดังนี้
1. ยกระดับมาตรการควบคุมการนำเข้า เพิ่มความเข้มงวดในการเปิดตรวจสินค้าทุกครั้ง หากพบสารตกค้างให้แจ้งด่านอาหารและยาในพื้นที่ เพื่อดำเนินการเปรียบเทียบปรับ และสั่งทำลายหรือดำเนินการอื่นใดตามเห็นสมควร
2. ส่งเสริมการผลิตปลากะพงขาวให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดส่งเสริมการใช้ระบบ Solar Cell เพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์ในการเลี้ยง เพื่อช่วยควบคุมคุณภาพน้ำ ควบคุมการเกิดกลิ่นโคลน ลดต้นทุนการใช้ยาและสารเคมี และลดต้นทุนการเปลี่ยนถ่ายน้ำ และส่งเสริมให้มีการขายผ่านร้านค้าของกรมประมง ?Fisherman Shop? (ออฟไลน์) ที่มีทุกจังหวัด หรือช่องทางออนไลน์ผ่าน ?Fisheries Shop? รวมทั้งกรมประมงอยู่ระหว่างการเจรจาทำข้อตกลงการส่งออกปลากะพงขาวกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
1MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารใช้ในการปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีใช้ได้สำหรับเงินกู้ทุกประเภทที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น ถือเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแบบลอยตัวที่ธนาคารพาณิชย์ใช้กันมากที่สุดในธุรกรรมการให้สินเชื่อ
2EU Deforestation-free products คือ กฎหมายที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออกสินค้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่าไม้เข้าสู่ตลาดของสหภาพยุโรป
3คาร์บอนเครดิต (Carbon credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมแต่ละโครงการสามารถลดหรือกักเก็บได้เมื่อได้รับการรับรองแล้วสามารถนำไปซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้ (ผู้ผลิตคาร์บอนเครดิตจะมาจากภาคพลังงาน การขนส่งเกษตรกรรม และป่าไม้)

22. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนพฤษภาคม 2567
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนพฤษภาคม 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ  ดังนี้
                     สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง
                    1. สรุปภาพรวมดัชนีเศษฐกิจการค้าเดือนพฤษภาคม 2567 ดังนี้
                    ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนพฤษภาคม 2567 เท่ากับ 108.84 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งเท่ากับ 107.19 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 1.54 (YoY) โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราวจากฐานราคาที่ต่ำในปีก่อน น้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ ตามสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลกรวมถึงผักสด และไข่ไก่ เนื่องจากสภาพอากาศร้อนส่งผลให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก
                    อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนเมษายน 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยสูงขึ้นร้อยละ 0.19 ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 6 จาก 129 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และอยู่ในระดับต่ำสุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย)
                    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้นร้อยละ 1.54 (YoY) ในเดือนนี้ มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
                    หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.13 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มอาหารสด อาทิ ผักสด (ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มะเขือ กะหล่ำปลี ขิง ผักชี) ผลไม้สด (มะม่วง องุ่น กล้วยหอม) ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ไข่ไก่ และไข่เป็ด กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน (กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว อาหารตามสั่ง ข้าวราดแกง) กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน)) และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร (น้ำตาลทราย น้ำพริกแกง มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ขณะที่ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร มะนาว ปลาทู น้ำมันพืช และกระเทียม เป็นต้น
                    หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.84 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง (แก๊สโซฮอล์ 91 95 และ E20 น้ำมันเบนซิน 95) กลุ่มเคหสถาน (ค่ากระแสไฟฟ้า) ค่าเช่าบ้าน) กลุ่มค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (แป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน ค่าแต่งผมสตรี) กลุ่มยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (สุรา บุหรี่ ไวน์) อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ น้ำมันดีเซล ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว สบู่ถูตัว เสื้อยืดบุรุษและสตรี และเสื้อเชิ้ตบุรุษ และสตรี เป็นต้น
                    เงินเฟ้อพื้นฐาน (เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก) สูงขึ้น ร้อยละ 0.39 (YoY)         เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเมษายน 2567 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.37 (YoY)
                    ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2567  สูงขึ้นร้อยละ 0.63 (MoM) ตามการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.37 ปรับสูงขึ้นตามราคาผักสด (มะเขือ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ ต้นหอม กะหล่ำปลี พริกสด) ไข่ไก่ เนื้อสุกร และผลไม้สด (แตงโม มะม่วง กล้วยน้ำว้า) ขณะที่ มะนาว ข้าวสารเจ้า ส้มเขียวหวาน และนมเปรี้ยว ราคาปรับลดลงจากเดือนที่ผ่านมา และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.09 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาปรับลดลง อาทิ ค่าโดยสารเครื่องบิน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า (น้ำยาซักแห้ง) และสารกำจัดแมลง เป็นต้น
                    ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เฉลี่ย 5 เดือน (มกราคม - พฤษภาคม) ของปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ลดลงร้อยละ 0.13 (AoA)
                    2. แนวโน้มเงินเฟ้อ
                    แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมิถุนายน 2567 คาดว่าจะปรับสูงขึ้นในอัตราชะลอตัว โดยมีสาเหตุสำคัญจาก (1) ผลกระทบจากฐานราคาต่ำของค่ากระแสไฟฟ้าลดลง (2) การต่ออายุมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของครัวเรือน อีก 4 เดือน (พ.ค. - ส.ค. 2567) (3) ราคาพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะผักสดมีแนวโน้มลดลง หลังสิ้นสุดสภาพอากาศร้อนจัด และเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ และ (4) การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ระดับต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการมีข้อจำกัดในการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาขายรวมทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่มีการทำโปรโมชันส่งเสริมการขาย ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้สินค้าบางชนิดยังอยู่ในระดับสูง ได้แก่ (1) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศที่กำหนดเพดานราคาไม่เกิน 33.00 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง และ (3) ความไม่แน่นอนจากผลกระทบของความขัดแยังทางภูมิรัฐศาสตร์ อาจทำให้ราคาน้ำมันและค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตาม
                    ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0-1.0 (ค่ากลางร้อยละ 0.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง
                    ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนพฤษภาคม 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.4 จากระดับ 51.9 ในเดือนก่อนหน้า และปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกหลังจากลดลงต่อเนื่อง 6 เดือน (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566) และอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18 (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับ ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.1 จากระดับ 44.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต                  (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 57.9 จากระดับ 56.8 สาเหตุการปรับเพิ่มขึ้นโดยรวม คาดว่ามาจาก                (1) ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้ (2) การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ปี 2567 จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังของปี 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้น และ (3) ภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคการผลิตในช่วงครึ่งปีหลังปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังกังวลเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า ราคาพลังงานและค่าครองชีพ และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง

23. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 3/2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้งและอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาครั้งที่ 77 พร้อมทั้งร่างประกาศฯ รวม 2 ฉบับ ดังนี้
                              1.1 ร่างประกาศ เรื่อง ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้งและอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง
                              1.2 ร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
                    2. รับทราบร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของเรื่อง
                    สมช. เสนอว่า
                    1. รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและประชาชนภายในเขตพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน จนถึงปัจจุบัน เป็นคราวที่ 76
                    2. สมช. ได้จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่                      25 มิถุนายน 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นประธานกรรมการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                              2.1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) ได้สรุปผลการปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อประกอบการพิจารณาขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ครั้งที่ 77 สรุปได้ดังนี้
                                        (1) สถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ในห้วงตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2567 ซึ่งเป็นห้วงที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ครั้งที่ 76 ปรากฏการก่อเหตุรุนแรง จำนวน 10 เหตุการณ์ เสียชีวิต 4 ราย และบาดเจ็บ 20 ราย รวม 22 ราย และจำนวน 62 ภาพข่าว (การประชุมวางแผน/สั่งการ 21 ภาพข่าว การเคลื่อนไหวเตรียมก่อเหตุ 35 ภาพข่าว และการขนย้ายอาวุธหรือวัตถุระเบิด 6 ภาพข่าว) ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าการก่อเหตุรุนแรงมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับห้วงระยะเวลาก่อนหน้า
                                        (2) ผลการปฏิบัติงานการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ จชต. เจ้าหน้าที่ได้ตรวจค้นและปิดล้อมตรวจค้นในพื้นที่ จชต.จำนวน 3,224 ครั้ง เจ้าหน้าที่ได้ใช้ประโยชน์จากสถานที่ควบคุมตัว โดยชี้แจงทำความเข้าใจและอบรมให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้องต่อผู้ต้องสงสัย ซึ่งควบคุมตัวที่หน่วยซักถามหน่วยข่าวกรองทางทหารและศูนย์พิทักษ์สันติ รวม 15 คน ซึ่งการควบคุมตัวดังกล่าวสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี โดยห้วงที่ผ่านมาสามารถดำเนินคดีได้ จำนวน 8 คน และมีการออกหมายจับตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 11 หมาย ในด้านสถิติคดีความมั่นคงมีคดีที่เข้าสู่ชั้นพิจารณาคดีของศาล จำนวน 13 คดี และในด้านสถิติผลคำพิพากษาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จชต. มีคดีที่เข้าสู่ชั้นพิจารณาคดีของศาล จำนวน 7 คดี
                                        (3) มาตรการลดผลกระทบต่อการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติการ โดยนำภาคประชาชนและสื่อมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือรับทราบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ และแนวทางที่ 2 การสร้างความโปร่งใสในการจับกุมและควบคุมตัวเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประชาชน และให้คลายความวิตกกังวลของญาติผู้ถูกควบคุมตัว รวมทั้งการสร้างความโปร่งใสในการออกคำสั่งเรียกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยปรับปรุงการออกคำสั่งเรียกให้มีรูปแบบที่โปร่งใสและเป็นที่ยอมรับของประชาชน
                                        (4) การประเมินผลการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ประเมินผลจากกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐพบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อการประกาศใช้พระราชกำหนดฯ คิดเป็นร้อยละ 66.20
                                        (5) ข้อดีและข้อเสียจากการปรับลดพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ดังนี้
                                                  (5.1) ข้อดีจากการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ มีการรวมศูนย์อำนาจในการแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการบูรณาการกำลังทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายพลเรือน ตำรวจและทหาร ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้รับการคุ้มครองเมื่อปฏิบัติตามหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติและไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกรณีที่จำเป็น อีกทั้งมีบทบัญญัติที่เปิดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจในการควบคุมตัวผู้กระทำความผิดได้มากกว่ากฎหมายปกติ
                                                  (5.2) ข้อเสียจากการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่มีระยะเวลาและพื้นที่จำกัดในการดำเนินการ ซึ่งการใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวมีขั้นตอนในการปฏิบัติ อาทิ การออกประกาศ คำสั่ง ทำให้การแก้ไขปัญหาในบางกรณีอาจไม่ทันการณ์ กฎหมายไม่มีข้อบัญญัติที่จะชดเชยให้กับผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่อีกทั้งเป็นกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
                              2.2 ปัจจุบันภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยังคงมีพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ จตช. รวม 18 อำเภอ ดังนี้
จังหวัด          พื้นที่ภายใต้ พ.ร.ก.
การบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. 48
(จำนวนอำเภอ)          พื้นที่ภายใต้ พ.ร.บ.
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 51
(จำนวนอำเภอ)          จำนวน
อำเภอ
ทั้งหมด
นราธิวาส          9          4          13
ปัตตานี          5          7          12
ยะลา          4          4          8
สงขลา          -          4          16
รวม          18          19          49
          37
                              2.3 ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า การขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ จชต. เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการป้องกัน ระงับ ยับยั้ง สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้มาตรการในการจับกุม และควบคุมตัวผู้กระทำความผิด เพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดี จนสามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งเป็นช่องทางในการสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานจึงมีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอในพื้นที่ จชต. ยกเว้น อำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้งและอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี และอำเภอเบตง อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 และสิ้นสุดในวันที่ 19 ตุลาคม 2567 โดยเป็นการขยายระยะเวลาการประกาศฯ เป็นครั้งที่ 77

24. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคมถึงเมษายน 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ใช้จ่ายงบประมาณในวงเงิน 1,939.75 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าไฟฟ้าเดือนมกราคมถึงเมษายน 2567 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน โดยเป็นกรอบวงเงินของ กฟน. จำนวน 1,583.45 ล้านบาท โดยให้ กฟน. จำนวน 356.30 ล้านบาท และเป็นกรอบวงเงินของ กฟภ. และ กฟภ. เบิกจ่ายเงินจากสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า
                    1. จากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาพลังงานของประเทศมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน มท. โดย กฟน. และ กฟภ. ได้ดำเนินการตามมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคมถึงเมษายน 2567 (ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าจำนวน 21 สตางค์ต่อหน่วย ก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งสามารถประมาณการงบประมาณที่ใช้ดำเนินการได้ ดังนี้
ใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือน          กฟน.          กฟภ.          รวม
          ผู้ใช้ไฟฟ้า
(ล้านราย)          วงเงิน
(ล้านบาท)          ผู้ใช้ไฟฟ้า
(ล้านราย)          วงเงิน
(ล้านบาท)          ผู้ใช้ไฟฟ้า
(ล้านราย)          วงเงิน
(ล้านบาท)
มกราคมถึงเมษายน 2567          2.38          356.30          15.35          1,583.45          17.73          1,939.75
                    2. สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ มท. โดย กฟน. และ กฟภ. ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในกรอบวงเงินจำนวนทั้งสิ้น 1,939.75 ล้านบาทแล้วโดยให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป โดยให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบฯ เพื่อขอทำความตกลงในรายละเอียดกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป
                    3. มท. แจ้งว่า การช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าไฟฟ้า/ค่าครองชีพแก่กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย ตามประกาศโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าในปัจจุบันของ กฟน. และ กฟภ.) ที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงช่วยให้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมสามารถขับเคลื่อนได้ในระยะต่อไป

25. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ประจำปีงบประมาณ                        พ.ศ. 2567-2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2570 (แผนอัตรากำลังฯ) จำนวน 130 อัตรา งบประมาณรวมทั้งสิ้น 40.25 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ทั้งนี้ แผนอัตรากำลังดังกล่าวจะส่งผลต่อการเพิ่มอัตรากำลังด้านบุคลากรและภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต จึงเห็นควรที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจะพิจารณาดำเนินการเท่าที่จำเป็น อย่างประหยัดและคุ้มค่า ตามภารกิจ และคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้จ่าย โดยเฉพาะรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่สถาบันมีอยู่ หรือสามารถนำมาใช้จ่ายได้เป็นลำดับแรก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างยั่งยืน ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    1. เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ได้มีการจัดตั้งมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
                              1.1 จัดสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
                              1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การค้นคว้าวิจัย และการดำเนินการกิจการพิเศษที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
                              1.3 ให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม วิจัย ของคณาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการ และพนักงาน สจล.
                              1.4 สนับสนุนการพัฒนาของโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
                              1.5 ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ มูลนิธิอาจจะบริจาคเงินและทรัพย์สินให้กับมูลนิธิอื่นได้หรือรับบริจาคจากมูลนิธิอื่นด้วย
                              1.6 ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
                    2. การจัดสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารมีเป้าหมายในการพัฒนาไปสู่การเป็นโรงพยาบาลแห่งอนาคต (Future Hospital)1 ซึ่งเป็นแนวคิดของโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยจำนวนมากไม่จำเป็นต้องนอนที่โรงพยาบาลและสามารถพักรักษาตัวที่บ้านได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งอนาคตจะมีห้องที่แพทย์และผู้เชี่ยวชาญสามารถใช้สำหรับการพูดคุยกับผู้ป่วยผ่านสมาร์ทโฟน ส่งผลให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคในระดับสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Healthcare)2 ไม่จำเป็นต้องมาพบหมอผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการสาธารณสุขระดับสูง (Tertiary Healthcare)3 ซึ่งการรักษาพยาบาลจะมีต้นทุนสูงและหากเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษจะยิ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลจะมีเครื่องตรวจร่างกายที่ทันสมัย มีห้องตรวจสำหรับติดตามอาการหลังผ่าตัดระยะสั้นและห้องฉุกเฉินเท่านั้น และข้อมูลทั้งหมดของคนไข้จะถูกวิเคราะห์โดยซอฟต์แวร์โปรแกรมที่ทันสมัย เช่น การอ่านฟิล์มจากเครื่องตรวจได้อย่างแม่นยำแทนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์สามารถตัดสินใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การเปลี่ยนโฉมนวัตกรรมทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะก่อให้เกิดเครือข่ายการแพทย์ระบบดิจิทัล (Digital Healthcare) ที่ครอบคลุมและเชื่อมต่อระบบการปฏิบัติงานทางการแพทย์ทุกแขนงด้วยดิจิทัลหรือคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ เช่น               การบริหารจัดการผู้ป่วย การจัดทำข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการด้านเวชภัณฑ์ การวินิจฉัยโรค โดยนำนวัตกรรมการบริการด้านสุขภาพมาใช้ในการให้บริการทางการแพทย์ในอนาคต (Innovative Hospital) ได้แก่ การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการแพทย์แห่งอนาคต (Future Medicine) มาใช้ในกระบวนการจัดการซึ่งจะเป็นรากฐานสำหรับระบบการแพทย์ที่มีคนไข้เป็นจุดศูนย์กลาง
                    3. ผลการดำเนินการที่ผ่านมา
                              3.1 โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการสลากการกุศลเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 665.10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร (อาคารหลังใหม่) จำนวน 1 หลัง พื้นที่ 29,834.60 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ประกอบด้วย
                              ชั้นใต้ดิน ได้แก่ ส่วนบริการและสนับสนุน
                              ชั้นที่ 1 ได้แก่ ส่วนบริการ OPD ส่วนวินิจฉัยและบำบัดรักษา ส่วนอเนกประสงค์และบริการกลาง (Service core)4
                              ชั้นที่ 2 ได้แก่ ส่วนพิเคราะห์และบำบัดโรค ส่วนอเนกประสงค์และบริการกลาง (Service core)
                              ชั้นที่ 3 ได้แก่ ส่วนวิจัยและทดสอบ และส่วนหอ IPD
                              ชั้นที่ 4 ได้แก่ ส่วนหอ IPD
                              ชั้นที่ 5 ได้แก่ ส่วนหอ IPD
ทั้งนี้ ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 โดยส่งมอบงวดงานแล้ว 11 งวดงาน จากทั้งหมด 15 งวดงาน และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการผู้ป่วยภายในเดือนสิงหาคม 2567
                              3.2 โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารเปิดให้บริการผู้ป่วยนอก
(Out-Patient Department: OPD) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 โดยใช้อาคารของ สจล. (อาคารหลังเดิม) เป็นที่ทำการสำหรับให้บริการในส่วนต่าง ๆ ได้แก่ คลินิกทั่วไป ศูนย์กายภาพบำบัดและฝังเข็ม แผนกรังสีวิทยา ศูนย์การนอนหลับ ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร ศูนย์ตรวจสมรรถภาพหัวใจ คลินิกกุมารเวชและโรคภูมิแพ้ และคลินิกให้คำปรึกษา/จิตเวช ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2566 มีผู้เข้ารับบริการ สรุปได้ ดังนี้
ผู้มารับบริการ          จำนวนผู้มารับบริการด้านสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณ (คน/ปี)
          พ.ศ. 2563          พ.ศ. 2564          พ.ศ. 2565          พ.ศ. 2566
ผู้ป่วย OPD          16,733          14,982          37,776          38,280
นอกจากนี้ ยังมีศูนย์วิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ประกอบด้วย งานวิจัยและนวัตกรรมและงานทดสอบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ โดยใช้เป็นศูนย์สำหรับการเรียนการสอนในพื้นที่ห้องปฏิบัติการ การบริการวิชาการร่วมกันของคณะแพทยศาสตร์และคณะต่าง ๆ รวมถึงการค้นคว้าวิจัย โดยเป็นการบูรณาการภารกิจตามนโยบายการใช้ทรัพยากรร่วมกันของ สจล. ซึ่งที่ผ่านมามีการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่มีความสำคัญในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เช่น ตู้ตรวจเชื้อชนิดความดันลบและชนิดความดันบวก หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC5 เครื่องสแกนอุณหภูมิด้วยระบบสแกนใบหน้าและปัญญาประดิษฐ์
                              3.3 ปัจจุบันโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารมีอัตรากำลังบุคลากรรวมทั้งสิ้น                     49 อัตรา แบ่งเป็น ฝ่ายบริหาร 10 อัตรา ฝ่ายบริการทางการแพทย์ 18 อัตรา บุคลากรแพทย์ 20 อัตรา (สังกัดคณะแพทยศาสตร์ สจล.) และฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม 1 อัตรา
                    4. การก่อตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารจะทำให้เกิดการกระจายระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยไปยังพื้นที่ห่างไกล ลดการกระจุกตัวของผู้ป่วยในเขตเมือง และให้บริการที่มีคุณภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ รวมทั้งจะช่วยในการผลิตแพทย์ การฝึกอบรมแพทย์ การกระจายตัวของแพทย์ และการรองรับการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมในการเปิดบริการโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร (อาคารหลังใหม่) ในเดือนสิงหาคม 2567 โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารจึงได้จัดทำแผนอัตรากำลังฯ ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริการทางแพทย์และฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขนาด 60 เตียง ซึ่งสภา สจล. มีมติเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 เห็นชอบแผนอัตรากำลังฯ ฉบับปรับปรุง เดือนมีนาคม 2567 ด้วยแล้ว สรุปได้ ดังนี้
                              4.1 วัตถุประสงค์
                                        (1) เป็นโรงพยาบาลสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วย นักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไปในขั้นทุติยภูมิ รวมถึงการป้องกันและฟื้นฟูโดยเฉพาะผู้สูงอายุ
                                        (2) เป็นศูนย์วิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์
                                        (3) เป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก
                                        (4) เป็นศูนย์กลางต้นแบบในการศึกษาดูงานให้แก่โรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่สนใจ
                              4.2 แผนการดำเนินงาน
                                        (1) อัตรากำลังที่เสนอขอตั้งใหม่ (อัตราใหม่พนักงานสถาบันเงินงบประมาณ6) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2570 (4 ปี) ซึ่งเป็นอัตรากำลังสายสนับสนุนทั้งหมด รวมจำนวน 130 อัตรา งบประมาณ 40.25 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.          อัตรา (คน)          งบประมาณ (ล้านบาท)
2567          22          6.86
2568          77          24.00
2569          15          5.33
2570          16          4.06
รวม          130          40.25
ทั้งนี้ อัตรากำลังสายสนับสนุนที่เสนอขอในครั้งนี้ ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร เช่น นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการพัสดุ ฝ่ายบริการทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร7 และฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ วิศวกร นักวิจัย โดยกรอบอัตรากำลังเป็นไปตามหลักเกณฑ์อัตรากำลังพึงมี
ของโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
                                        (2) แผนการขยายบริการและความต้องการอัตรากำลังฯ สรุปได้ ดังนี้
แผนการขยายบริการ          จำนวนเตียงสะสม (เตียง)          อัตรากำลังสายสนับสนุนที่เสนอขอ (คน)          งบประมาณ
(ล้านบาท)
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(1) บริการผู้ป่วยนอก 250 คนต่อวัน
(2) บริการผู้ป่วยใน 10 เตียง
รายละเอียดที่จะเปิดบริการเพิ่มเติม
ชั้น 1 ส่วนบริการผู้ป่วยนอก
          1) ส่วนต้อนรับและเวชระเบียน
          2) OPD-1 ห้องตรวจทั่วไป 9 ห้องตรวจ
          3) ส่วนงานเภสัชกรรม
          4) ส่วนงานการเงิน
          5) ส่วนงานรังสีวินิจฉัย (บริการ OPD)
ชั้น 2 ส่วนสำนักงาน แผนกงานห้องผ่าตัด
          1) ส่วนสำนักงานและห้องประชุม
          2) ห้องผ่าตัดใหญ่ 1 ห้อง
          3) ส่วนเทคนิคการแพทย์
ชั้น 3 หอผู้ป่วยใน (ให้บริการผู้ป่วยใน 10 เตียง) และหน่วยจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Department: CSSD)8]          10          22
(สะสม 22)          6.86
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
(1) บริการผู้ป่วยนอก 350 คนต่อวัน
(2) บริการผู้ป่วยใน 20 เตียง
รายละเอียดที่จะเปิดบริการเพิ่มเติม
ชั้น 1 ส่วนบริการผู้ป่วยนอก
           OPD-2 ห้องตรวจทั่วไป จำนวน 7 ห้องตรวจ
ชั้น 2 คลินิก หู ตา จมูก
          1) ห้องตรวจ หูตา จมูก 6 ห้องตรวจ
          2) ห้องผ่าตัดใหญ่ 1 ห้อง
          3) คลินิกฝังเข็มระงับปวด
          4) แผนกกายภาพบำบัด
ชั้น 3 แผนกวิจัยและทดสอบ
          1) ส่วนวิจัยทางการแพทย์
          2) ส่วนทดสอบเครื่องมือแพทย์
ชั้น 4 หอผู้ป่วยใน (ให้บริการผู้ป่วยใน 20 เตียง และคลินิกเฉพาะทาง)
          1) คลินิกส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทางเดินอาหาร
          2) คลินิกกระดูกและข้อ          30          77
(สะสม 99)          24.00
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569
(1) บริการผู้ป่วยนอก 450 คนต่อวัน
(2) บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 8 คนต่อวัน
(3) บริการผู้ป่วยใน 30 เตียง
รายละเอียดที่จะเปิดบริการเพิ่มเติม
ชั้น 1 ส่วนบริการผู้ป่วยนอก
          1) OPD-2 ห้องตรวจทั่วไป 7 ห้องตรวจ
          2) OPD-3 อุบัติเหตุและฉุกเฉิน 4 ห้องตรวจ
ชั้น 2 คลินิก หู ตา จมูก
          1) ห้องตรวจ หูตา จมูก 6 ห้องตรวจ
          2) ห้องผ่าตัดใหญ่ 1 ห้อง
          3) คลินิกกุมารเวชกรรม
          4) คลินิกประสาทและภูมิแพ้
ชั้น 5 หอผู้ป่วยใน (ให้บริการผู้ป่วยใน 30 เตียง และคลินิกเฉพาะทาง)
          - ศูนย์โรคปอดและการนอนหลับ          60          15
(สะสม 114)          5.33
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2570
(1) บริการผู้ป่วยนอก 500 คนต่อวัน
(2) บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 10 คนต่อวัน          60          16
(สะสม 130)          4.06
รวม          60          130          40.25
                              4.3 แผนอัตรากำลังฯ จำแนกตามสายงาน สรุปได้ ดังนี้
กลุ่ม/ฝ่าย          ปีงบประมาณ พ.ศ.
          2567          2568          2569          2570          2567-2570
          อัตรา
(คน)          เงินเดือน+เงินอื่น(ล้านบาท)          อัตรา
(คน)          เงินเดือน+เงินอื่น(ล้านบาท)          อัตรา
(คน)          เงินเดือน+เงินอื่น(ล้านบาท)          อัตรา
(คน)          เงินเดือน+เงินอื่น (ล้านบาท)          อัตรา
(คน)          งบประมาณ
(ล้านบาท)
(1) ฝ่ายบริหาร          1          0.30          2          0.59          1          0.30          1          0.30          5          1.48
(2) ฝ่ายบริการทางการแพทย์          20          6.27          74          23.12          13          4.74          15          3.76          122          37.89
(3) ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม          1          0.30          1          0.30          1          0.30          -          -          3          0.89
รวมเงินทั้งสิ้น          22          6.86          77          24.00          15          5.33          16          4.06          130          40.25
หมายเหตุ : เนื่องจากมีการปรับทศนิยมเป็นสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลกระทบต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง
                    5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                              5.1 รองรับผู้ใช้บริการการแพทย์และสาธารณสุขได้ ดังนี้
ผู้รับบริการ          การให้บริการในแต่ละปีงบประมาณ (คน/ปี)
          พ.ศ. 2567          พ.ศ. 2568          พ.ศ. 2569          พ.ศ. 2570
ผู้ป่วยนอก          54,000          72,000          90,000          108,000
ผู้ป่วยนอก          -          450          1,800          2,700
                              5.2 รองรับการฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกระหว่างปีการศึกษา 2567-2570 โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
หลักสูตร          นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกที่ผ่านการฝึกอบรมในแต่ละปีงบประมาณ (คน/ปี)
          พ.ศ. 2567          พ.ศ. 2568          พ.ศ. 2569          พ.ศ. 2570
แพทยศาสตรบัณฑิต
(หลักสูตรนานาชาติ)           49          57          61          65
                              5.3 ลดการนำเข้าเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ โดยมีผลสรุปค่าเป้าหมาย ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2570 ดังนี้
รายการ          การลดการนำเข้าเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ในแต่ละปีงบประมาณ (ล้านบาท/ปี)
          พ.ศ. 2567          พ.ศ. 2568          พ.ศ. 2569          พ.ศ. 2570
ลดการนำเข้าเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์           5          10          10          20
                    6. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา อัตรากำลัง จำนวน 130 อัตรา งบประมาณรวมทั้งสิ้น 40.25 ล้านบาท โดยขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปี ดังนี้
ปีงบประมาณ
พ.ศ.          อัตรากำลังที่เสนอขอตั้งใหม่
(คน)          เงินงบประมาณ (ล้านบาท)
                    เงินเดือนเริ่มต้น          เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข (พ.ต.ส.)          ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย          รวม
2567          22          5.52          0.55          0.79          6.86
2568          77          19.24          2.04          2.73          24.00
2569          15          3.99          0.64          0.70          5.33
2570          16          3.59          0.11          0.36          4.06
รวม          130          32.34          3.34          4.58          40.25
                    7. สธ. [สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.)] ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าแผนความต้องการอัตรากำลังฯ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาขีดความสามารถซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น
                              7.1 ควรจัดบริการของโรงพยาบาลให้มีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรที่รับผิดชอบและปัญหาสุขภาพตามบริบทของพื้นที่
                              7.2 ควรจัดทำแผนอัตรากำลังฯ ให้สนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงพื้นที่และสอดคล้องกับแผนกำลังคนตามการจัดระบบบริการโดยเขตสุขภาพ สธ. ปี 2563-2567 เพื่อให้มีกำลังคนด้านสุขภาพที่เหมาะสมเพียงพอต่อการให้บริการประชาชนตามบริบทของพื้นที่
                              7.3 ควรดำเนินการตามข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เช่น ขอให้กำหนดอัตราเงินเดือนของบุคลากรให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ที่กำหนดให้บุคลากรสายวิชาการได้รับค่าจ้าง 1.7 เท่า และบุคลากรสายสนับสนุนได้รับค่าจ้าง 1.5 เท่า ของอัตราเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ
ทั้งนี้ โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารได้ปรับปรุงแผนอัตรากำลังฯ ตามข้อเสนอแนะของ สป.สธ. เรียบร้อยแล้ว
1 อว. แจ้งว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารมีการดำเนินงานในลักษณะเดียวกันกับโรงพยาบาลทั่วไป โดยเปิดให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอก
2 สาธารณสุขมูลฐาน (Primary Healthcare) เป็นการให้บริการสาธารณสุขที่ดำเนินการโดยประชาชนด้วยกันเอง โดยมุ่งเน้นการรักษาอาการเจ็บป่วยพื้นฐาน เช่น อาการปวดหัว เป็นไข้ การทำแผล ซึ่งสามารถเข้าถึงบริการได้ผ่านกลไกในระดับชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
3 การจัดบริการสาธารณสุขระดับสูง (Tertiary Healthcare) เป็นการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการให้บริการเพื่อให้คำแนะนำและรักษาโรคที่มีความซับซ้อน เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
4 อว. แจ้งว่า ส่วนบริการกลาง (Service core) เป็นพื้นที่สำหรับการปฏิบัติงานของแผนก/ฝ่ายต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณสุข เช่น ฝ่ายบริหารโรงพยาบาล ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบริหารงานบุคคล
5 รังสีอัลตราไวโอเลตชนิด C (UVC) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สั้นที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 200-280 นาโนเมตร ซึ่งมีความสามารถในการการฆ่าเชื้อโรค ไวรัส และแบคทีเรีย
6 พนักงานสถาบันเงินงบประมาณ หมายถึง พนักงาน สจล. ที่จ้างด้วยเงินงบประมาณแผ่นดินตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการบริหารงานทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2562
7 อว. แจ้งว่า เนื่องจากบุคลากรฝ่ายบริการทางการแพทย์ไม่มีภาระงานในการจัดการเรียนการสอน จึงไม่ถือเป็นบุคลากรสายวิชาการ
8 หน่วยจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Department: CSSD) หมายถึง หน่วยงานซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดใช้ซ้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อก่อโรคปนเปื้อน ก่อนนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ดังกล่าวไปใช้ในการตรวจรักษาและ/หรือช่วยชีวิตผู้ป่วยอีกครั้ง

26. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามแนวทางการประเมิน Business Ready  (B-READY) ของธนาคารโลก
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการตามแนวทางการประเมิน Business Ready (B-READY) ของธนาคารโลก และการมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละด้านเร่งดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินBusiness Ready (B-READY) ของธนาคารโลกตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ก.พ.ร. รายงานว่า
                    1. ธนาคารโลกได้จัดทำรายงาน Doing Business ซึ่งเป็นรายงานประจำปีที่จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี                พ.ศ. 2546 เพื่อเสนอผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับจากธนาคารโลกมาอย่างต่อเนื่องและในรายงาน Doing Business 2020 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 21 จาก 190 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกได้แจ้งยกเลิกการจัดทำรายงาน Doing Business เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 เนื่องจากพบความผิดปกติงของข้อมูลในรายงาน Doing Business 2018 และ Doing Business 2020
                    2. ธนาคารโลกได้ประกาศแนวทางประเมิน Business Ready (B-READY) เพื่อใช้ทดแทนการประเมินเพื่อจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) โดยการเก็บข้อมูลการประเมิน Business Ready (B-READY) ในประเทศไทยของธนาคารโลกจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 และมีกำหนดประกาศผลการประเมินในปี 2569 ดังนั้นประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงบรรยากาศในการประกอบธุรกิจและการลงทุนให้พร้อมสำหรับการประเมินภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยเกณฑ์การประเมิน Business Ready                   (B-READY) สรุปได้ดังนี้
ขอบเขตการประเมินแบ่งตามวงจรธุรกิจออกเป็น 10 ด้าน
(1) การเข้าสู่ธุรกิจ (Business Entry)
(3) การเชื่อมต่อสาธารณูปโภค (Utility Connections)
(5) บริการทางการเงิน (Financial Services)
(7) การจัดเก็บภาษี (Taxation)
(9) การแข่งขันทางการตลาด (Market Competition)          (2) ที่ตั้งธุรกิจ (Business Location)
(4) แรงงาน (Labor)
(6) การค้าระหว่างประเทศ (International Trade)
(8) การระงับข้อพิพาท (Dispute Resolution)
(10) การล้มละลายทางธุรกิจ (Business Insolvency)
ตัวชี้วัดย่อย 798 ตัวชี้วัด
(เดิมตัวชี้วัดย่อยของ Doing Business มี 202 ตัวชี้วัด)

ประเมินภายใต้ 3 เสาหลัก (Pillars)
(1)          กรอบการกำกับดูแล
(Regulatory Framework)          (2)          การบริการสาธารณะ
(Public Services)          (3)          ประสิทธิภาพ
(Efficiency)
ให้ความสำคัญกับการประเมินใน 3 ประเด็นสำคัญ (Critical Themes) ที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกยุคใหม่ ได้แก่ (1) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (Digital Adoption) (2) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) และ (3) เพศสภาพ (Gender)
                    3. แนวทางการดำเนินการของภาครัฐเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน Business Ready (B-READY)
                    ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพื่อปรับปรุงบรรยากาศในการประกอบธุรกิจและการลงทุนให้พร้อมสำหรับการประเมิน Business Ready (B-READY) ของธนาคารโลก ดังนี้
                              3.1 เร่งดำเนินการปรับปรุงการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามตัวชี้วัดของการประเมิน Business Ready (B-READY) โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) และประเด็นเพศสภาพ (Gender) ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ที่ไม่เคยมีการประเมินในรายงาน Doing Business
                              3.2 พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนเป็นอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานและพัฒนาระบบหลังบ้าน (Bank Office) ของแต่ละหน่วยงานให้เชื่อมโยงกัน เพื่อลดขั้นตอน ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างแท้จริง
                              3.3 ปรับปรุงและพัฒนางานบริการประชาชนโดยคำนึงถึงบริบททั้งในมิติทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตด้วย
                              3.4  สื่อสารการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมิน Business Ready (B-READY) และความก้าวหน้าในการดำเนินการของภาครัฐให้ภาคเอกชนและประชาชนทราบอย่างต่อเนื่องก่อนที่ธนาคารโลกจะเริ่มเข้ามาสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2567
                    4. การดำเนินการที่ผ่านมาของสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน Business Ready (B-READY)
                    ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน Business Ready (B-READY) ดังนี้
                              4.1 จัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการประเมิน Business Ready (B-READY) และรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงบรรยากาศในการประกอบธุรกิจและการลงทุนของประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการจัดประชุมย่อย (Focus Group) ร่วมกับภาคเอกชนใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงงาน ด้านการแข่งขันทางการตลาด และด้านที่ตั้งธุรกิจ ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2566
                              4.2 ด้านโครงการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ระยะที่ 3  (Doing Business Phase 3) ร่วมกับธนาคารโลก เพื่อศึกษาแนวทางและจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยและเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน Business Ready (B-READY) ใน 3 ด้าน ได้แก่ การชำระภาษี ด้านการค้าระหว่างประเทศ และด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
                              4.3  สื่อสารการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมิน Business Ready (B-READY) และความก้าวหน้าในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสำหรับการประกอบธุรกิจและการลงทุนของประเทศไทยให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทราบ โดยได้จัดทำสื่อในรูปแบบ Infographic และวารสารรายไตรมาส ?Good Governance on the Move?
                    5. แนวทางการดำเนินการต่อไปของสำนักงาน ก.พ.ร.
                              5.1 ส่งเสริมการสื่อสารการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมิน Business Ready           (B-READY) ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง
                              5.2 วิเคราะห์ตัวชี้วัดตามแนวทางการประเมิน Business Ready (B-READY)                 เพื่อนำไปกำหนดเป็นตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนให้กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
                              5.3 เก็บข้อมูลการปฏิรูป (Reform) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินการปฏิรูปที่สอดคล้องกับกรอบการประเมิน Business Ready (B-READY) ด้วย
                              5.4 วิเคราะห์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนที่ได้จากประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงงาน ด้านการแข่งขันทางการตลาด และด้านที่ตั้งธุรกิจ นำไปประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับการประเมิน Business Ready (B-READY) และความต้องการของภาคเอกชน
                              5.5 นำผลการศึกษาและข้อเสนอแนะที่ได้จากโครงการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ระยะที่ 3 (Doing Business Phase 3) ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจของทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการชำระภาษี ด้านการค้าระหว่างประเทศ และด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ให้พร้อมสำหรับการประเมิน Business Ready (B-READY)
                              5.6 วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เกี่ยวกับการปฏิรูปภาครัฐเพื่อการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจจากกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะอยู่ในการเก็บข้อมูลด้วยการสำรวจระดับองค์กร (Enterprise Survey) ของธนาคารโลก เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำรายงาน Business Ready (B-READY)
                              5.7 จัดทำวารสารรายไตรมาส ?Good Governance on the Move? เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสำหรับการประกอบธุรกิจและการลงทุนของประเทศไทย
                              5.8 มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน Business Ready (B-READY) แต่ละด้าน มีรายละเอียดตามข้อ 6
                    6. การมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน Business Ready (B-READY)
                    เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงบรรยากาศในการประกอบธุรกิจและการลงทุนให้พร้อมสำหรับการประเมิน Business Ready (B-READY)  จึงเห็นควรมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละด้าน ดังนี้

ด้านและประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการปฏิรูป          หน่วยงานรับผิดชอบ
1. ด้านการเข้าสู่ธุรกิจ (Business Entry) เช่น การใช้เลขทะเบียนเดียวในการเริ่มต้นธุรกิจ ปรับปรุงแบบฟอร์มให้ง่าย รวมขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการขึ้นทะเบียนนายจ้างการแจ้งชื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง2 ลดข้อจำกัดและปรับปรุงขั้นตอนสำหรับผู้ประกอบการชาวต่างชาติ          - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เจ้าภาพหลัก)
- กรมสรรพากร
- สำนักงานประกันสังคม
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.)
2. ด้านที่ตั้งธุรกิจ (Business Location) เช่น ลดระยะเวลา ขั้นตอน และค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนทรัพย์สินและการขออนุญาตก่อสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อพิพาทด้านที่ดิน ลดข้อจำกัดและปรับปรุงขั้นตอนด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน และการขออนุญาตก่อสร้างสำหรับผู้ประกอบการชาวต่างชาติ อำนวยความสะดวกในการเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) มีการบังคับใช้กฎหมายอาคารอนุรักษ์พลังงาน           - กรมที่ดิน (เจ้าภาพหลัก)
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- กรมโยธาธิการและผังเมือง
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
.- กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
- กรุงเทพมหานคร
3. ด้านการเชื่อมต่อสาธารณูปโภค (Utility Services) เช่น ลดระยะเวลา ขั้นตอน และค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อสาธารณูปโภค ทบทวนการกำหนดอัตราค่าบริการการใช้ไฟฟ้า ประปา และอินเทอร์เน็ต จัดทำมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)           - การไฟฟ้านครหลวง (เจ้าภาพหลัก)
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
- การประปานครหลวง
- บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
4. ด้านแรงงาน (Labor) เช่น ทบทวนกฎระเบียบด้านแรงงานให้เป็นมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดี ลดขั้นตอน ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านแรงงาน ประกันสังคมและการจัดการกรณีพิพาทด้านแรงงาน          - กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (เจ้าภาพหลัก)
- สำนักงานประกันสังคม
5. ด้านบริการทางการเงิน (Financial Services) เช่น พัฒนากฎระเบียบที่ระบุเรื่องการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence: CDD)3 เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงและเก็บข้อมูลการเข้าถึงสินเชื่อ พัฒนาระบบชำระอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) เชื่อมโยงข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจ4 ระหว่างหน่วยงานเจ้าของข้อมูลทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจผ่านระบบหลักประกันทางอิเล็กทรอนิกส์ การรวบรวมข้อมูลเครดิตโดยดึงข้อมูลการชำระค่าสาธารณูปโภค          - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) (เจ้าภาพหลัก)
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- หน่วยงานเจ้าของข้อมูล ทรัพย์สินที่จะใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ
- บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด


6. ด้านการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) เช่น พัฒนาระบบNational Single Window (NSW)5 และ National Digital Trade Platform (NDTP)6  ให้เป็นมาตรฐานสากล พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือ ชายแดน และท่าอากาศยาน ลดข้อจำกัดในการจ้างงานชาวต่างชาติ และการเข้าสู่ตลาด พัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐาน มีความเป็นสากลและสามารถ คาดเดาได้ ทั้งด้านการค้าระหว่างประเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Digital Trade)          - กรมศุลกากร (เจ้าภาพหลัก)
- กรมการค้าต่างประเทศ
- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- กรมการจัดหางาน
- สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- หน่วยงานเจ้าของใบอนุญาตในการนำเข้าและส่งออก
7. ด้านการจัดเก็บภาษี (Taxation) เช่น ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านภาษีขยายการใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีการดำเนินการด้านภาษีสิ่งแวดล้อม ประสานงานร่วมกันกับสำนักงานประกันสังคมในการตรวจสอบบัญชีเงินเดือนของผู้ประกันตน           - กรมสรรพากร (เจ้าภาพหลัก)
- สำนักงานประกันสังคม
8. ด้านการระงับข้อพิพาท (Dispute Resolution) เช่น มีการกำหนดระยะเวลามาตรฐานในการจัดการคดีรวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการบังคับคดี มีกลไกการไกล่เกลี่ยอนุญาโตตุลาการ การระงับข้อพิพาททางเลือก7           - สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) (เจ้าภาพหลัก)
9. ด้านการแข่งขันทางการตลาด (Market Competition) เช่น มีมาตรการสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงตลาดของภาครัฐ ลดการใช้วิธีเฉพาะเจาะจงในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ตรวจสอบและพัฒนากฎระเบียบเพื่อป้องกันการผูกขาดทางการค้า          - กรมบัญชีกลาง (เจ้าภาพหลัก)
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
- สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สำนักงาน กขค.)
10. ด้านการล้มละลายทางธุรกิจ (Business Insolvency) เช่น มีกระบวนการล้มละลายแบบพิเศษสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ปรับปรุงกระบวนการล้มละลายและฟื้นฟูการให้มีประสิทธิภาพ จัดตั้งศาลชำนัญพิเศษด้านการล้มละลายหรือมีผู้พิพากษาเฉพาะด้านการล้มละลาย           - กรมบังคับคดี (เจ้าภาพหลัก)
- ศย.
                    7. ก.พ.ร. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 มีมติรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามแนวทางการประเมิน Business Ready (B-READY) ของธนาคารโลก และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป

1 ธนาคารโลกได้ตรวจสอบเป็นการภายในแล้วพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์โดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลก โดยการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ทำให้ข้อมูลของจีนในรายงาน Doing Business 2018 และข้อมูลของซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในรายงานตัว Doing Business 2020 ดีกว่าข้อมูลที่ควรจะเป็นและข้อมูลของอาเซอร์ไบจานในรายงาน Doing Business 2020 ด้อยกว่าที่ควรจะเป็น ต่อมาธนาคารโลกได้เผยแพร่รายงานผลการสืบสวนเรื่องดังกล่าวที่จัดทำโดยสำนักงานกฎหมายจากภายนอกพบว่า มีผู้บริหารระดับสูงของธนาคารโลกใช้อิทธิพลกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว
2ตามกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2563 ?ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง? หมายความว่าบุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือมีอำนาจควบคุมความสัมพันธ์ทางธุรกิจของลูกค้ากับสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 (บุคคลที่มีหน้าที่ต้องรายการการทำธุรกรรมต่อสำนักงาน ปปง. เช่น ผู้ประกอบอาชีพที่ปรึกษาการลงทุน ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ) หรือบุคคลที่ลูกค้าทำธุรกรรมแทน รวมถึงบุคคลผู้ใช้อำนาจควบคุมนิติบุคคลหรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมาย
 3การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence: CDD) เป็นมาตรการคัดกรองลูกค้าของสถาบันการเงินและผู้ประกอบการอาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอนุภาพทำลายล้างสูง โดยต้องมีกระบวนการในการระบุและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้า และประเมินและบริหารความเสี่ยงของลูกค้าทุกราย รวมทั้งตรวจสอบธุรกรรมที่ลูกค้าได้ทำขึ้นเพื่อบริหารและบรรเทาความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ผลการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องในกรอบด้านกฎหมายหลายประการ รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการทดสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงของลูกค้า
4พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ตราขึ้นเพื่อรองรับการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นประกันการชำระหนี้ในลักษณะที่ไม่ต้องส่งมอบการครอบครองแก่เจ้าหนี้โดย ?สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ? คือสัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้หลักประกัน ตราทรัพย์สินไว้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับประกัน เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่จำเป็นต้องมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้รับหลักประกัน และ ?หลักประกัน? ได้แก่ทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (1) กิจการ (2) สิทธิเรียกร้อง (3) อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า (4) อสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง (5) ทรัพย์สินทางปัญญา และ (6) ทรัพย์สินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
5ระบบ National Single Window (NSW) เป็นระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจสำหรับการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ เน้นการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ (Government to Government: G2G ) และหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน (Business to Government: B2G) โดยเชื่อมโยงข้อมูลแบบไร้เอกสารระหว่างกรมศุลกากรและผู้ประกอบการค้า ธนาคาร บริษัทเรือ สายการบิน หน่วยงานรัฐต่าง ๆ และรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการบริการแบบเบ็ดเสร็จจากการติดต่อเพียงจุดเดียวไม่ต้องกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน มีการใช้ข้อมูลร่วมกันกับทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง และการเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตและใบรับรองระหว่างหน่วยงานภาครัฐภายในประเทศและระหว่างประเทศมีกรมศุลกากรเป็นเจ้าภาพ
6แพลตฟอร์มการค้าระหว่างประเทศของไทย (National Digital Trade Platform: NDTP) เป็นแพลตฟอร์มกลางในการเชื่อมโยงและส่งผ่านข้อมูลไปยังระบบดิจิทัลของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาคการประกันภัย ภาคการเงิน การธนาคาร ภาคผู้ประกอบการ และภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ทั้งในและนอกประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานทางดิจิทัลเดียวกัน ที่มีความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลระบบ National Single Windows (NSW) เน้นการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาคเอกชน (Business to Business: B2B) ซึ่งจะเป็นการปรับเปลี่ยนระบบและกระบวนการทำงานจากการค้าแบบดั้งเดิมให้เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ ลดความซ้ำซ้อนในการกรอกข้อมูลในกระดาษ ลดเวลาและต้นทุนในการนำส่งเอกสารต้นฉบับแบบดั้งเดิม ยกระดับความโปร่งใสในกระบวนการของการค้าระหว่างประเทศโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจร มีภาคเอกชนเป็นเจ้าภาพ ดำเนินการโดยบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จำกัด ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้พัฒนาและให้บริการโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของไทยรวมทั้งระบบพร้อมเพย์ ขณะนี้การพัฒนาระบบยังอยู่ในระยะนำร่อง โดยที่ผ่านมามีการจัดทำระบบต้นแบบ (Prototype) เพื่อนำเสนอในช่วงการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเอเปคของไทยในปี พ.ศ. 2565
7การระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution) คือการระงับข้อพิพาทโดยไม่ใช้วิธีฟ้องศาล เป็นทางเลือกเพื่อให้ข้อพิพาทยุติได้อย่างรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ากระบวนการตัดสินของศาล มีวิธีที่สำคัญ เช่น (1) การเจรจา (Negotiation) โดยคู่กรณีเจรจากันเองโดยไม่มีบุคคลที่สาม (2) การไกล่เกลี่ย (Mediation) และการประนอมข้อพิพาท (Conciliation) โดยมีบุคคลที่สามซึ่งเป็นคนกลางเข้ามาช่วยเหลือเสนอแนะ หาทางออก โดยคู่กรณีเป็นผู้ตัดสินใจเอง (3) อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) โดยคู่กรณีตกลงกันให้บุคคลที่สามที่มีความเป็นกลางและเป็นอิสระเป็นผู้ทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าวและคู่กรณีจะต้องยอมรับคำวินิจฉัยชี้ขาดและผูกพันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้นด้วย

27. เรื่อง โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2568 ? 2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2568 ? 2570 (โครงการฯ) ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ยกเว้นการให้สิทธิประโยชน์ฯ ให้ กห. ไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำหรับเรื่องงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้ กห. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กห. รายงานว่า
                    1. กห. มีแผนปรับลดกำลังพลนายทหารชั้นนายพลในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ (ผทค.พิเศษ) ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผทค.) และนายทหารปฏิบัติการ (นปก.)1 ให้เหลือร้อยละ 50 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ? 2571 และต่อมามีแผนปฏิรูปการบริหารจัดการกำลังพลของ กห. กำหนดเป้าหมายการปรับลดกำลังพลลงร้อยละ 5 ของยอดกำลังพล ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2570 เพื่อให้เกิดความสมดุลของสัดส่วนกำลังพลในทุกระดับ มุ่งสู่ ?การเป็นกองทัพที่กะทัดรัด ทันสมัย มีการบริหารจัดการกำลังพลที่มีประสิทธิภาพ? ดังนั้น กห. จึงได้จัดทำแนวทางการดำเนินโครงการเกษียณอายุราชก่อนกำหนดของ กห. โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะสามารถแก้ไขปัญหาด้านกำลังพลของ กห. ได้ตรงจุด และจะส่งผลให้ กห. เกิดความสมดุลของสัดส่วนกำลังพลในทุกระดับ ประหยัดงบประมาณด้านบุคลากรภาครัฐในระยะยาว รวมทั้งทำให้การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการพัฒนากองทัพของ กห. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                    2. โครงการฯ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
หลักการ          จูงใจข้าราชการทหารที่ดำรงตำแหน่ง ผทค.พิเศษ ผทค. นปก. และประจำหน่วยให้ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุราชการโดยสมัครใจ เพื่อลดความคับคั่งของกำลังพลในกลุ่มชั้นยศสูง
วัตถุประสงค์          (1) เพื่อปรับขนาดอัตรากำลังพลของ กห. ให้มีความเหมาะสม เกิดความสมดุลระหว่างระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร
(2) เพื่อลดความคับคั่งของผู้ดำรงตำแหน่ง ผทค.พิเศษ ผทค. นปก. และประจำหน่วย ซึ่งเป็นกำลังพลในกลุ่มชั้นยศสูง
(3) เพื่อประหยัดงบประมาณด้านบุคลากรของรัฐระยะยาว
เป้าหมาย          ข้าราชการทหารชั้นยศพันเอก (พ.อ.) นาวาเอกและนาวาอากาศเอก (น.อ.) [อัตราเงินเดือน พ.อ. (พิเศษ) น.อ. (พิเศษ)] ขึ้นไป ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผทค.พิเศษ ผทค. นปก. และประจำหน่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และเป็นผู้มีเวลาราชการ 25 ปีขึ้นไป (ไม่รวมเวลาราชการทวีคูณ) นับถึงวันก่อนออกจากราชการตามโครงการฯ (วันที่ 30 กันยายน) และมีเวลาราชการเหลือ 2 ปีขึ้นไป นับตั้งแต่วันที่ออกจากราชการตามโครงการฯ (ออกจากราชการ 1 ตุลาคม) และจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวน หรือสอบหาข้อเท็จจริงทางวินัยพิจารณาโทษทางวินัย รายงานการลงโทษทางวินัย หรือพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย หรือไม่เป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
(2) ไม่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องปลดออกจากราชการในทุกกรณี หรือมีผลการสอบสวนพิจารณาให้ปลดออกจากราชการ แต่อยู่ในระหว่างดำเนินการปลดออกจากราชการ หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายเพราะทำหนี้สินขึ้น
(3) ถ้าเป็นผู้อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาศึกษา ฝึกอบรมหรือปฏิบัติการวิจัยและจะต้องยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการ สำหรับเวลาที่ยังปฏิบัติราชการชดใช้ไม่ครบ
(4) กรณีที่ทางราชการตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีหนี้สินกับทางราชการผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมีหนังสือยินยอมให้หักหนี้สินจากสิทธิประโยชน์ (เงินก้อนและหรือเงินบำนาญ) ที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับ
          ทั้งนี้ ผู้จะได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการตามโครงการฯ จะต้องมีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วนตั้งแต่วันที่ยื่นใบสมัครจนถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการ
หมายเหตุ:           1. กห. ประมาณการผู้เข้าร่วมโครงการรวมทุกเหล่าทัพปีละ 244 นาย (244 นาย x โครงการ 3 ปี = 732 นาย) และสามารถประหยัดงบประมาณได้ประมาณ 4,479,836,400 บาท
                    2. นาวาเอกและนาวาอากาศเอกใช้ตัวย่อเดียวกันคือ น.อ.
การดำเนินโครงการ/เงื่อนไข          (1) จัดสรรจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในตำแหน่ง ผทค.พิเศษ ผทค. นปก. และประจำหน่วยชั้นยศ พ.อ. และ น.อ. [อัตราเงินเดือน พ.อ. (พิเศษ), น.อ. (พิเศษ)] ขึ้นไปซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย แยกตามชั้นยศและตำแหน่งให้กับหน่วยขึ้นตรง กห. กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ
(2) ให้หน่วยขึ้นตรง กห. กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ และคัดเลือกกำลังพลเข้าร่วมโครงการตามเงื่อนไขที่กำหนด
(3) กรณีมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เป็นจำนวนมาก ให้พิจารณาจากปัจจัยตามลำดับ ดังนี้
          (3.1) ตำแหน่ง : ผู้ดำรงตำแหน่ง ผทค.พิเศษ ผทค. นปก. และประจำหน่วยเป็นลำดับแรกและกำลังพลผู้ดำรงตำแหน่งหลักเป็นลำดับรอง ทั้งนี้ การพิจารณาในกลุ่มผู้ดำรงตำแหน่งหลัก หากเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้าง กห. ให้พิจารณาเป็นลำดับแรก
          (3.2) อายุ : กำลังพลที่มีอายุมากเป็นลำดับแรก และกำลังพลที่มีอายุน้อยกว่าเป็นลำดับรอง
(4) กรณีมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการในระดับชั้นยศใดไม่ครบตามจำนวนที่จัดสรร ให้เพิ่มจำนวนผู้สมัครในระดับชั้นยศที่ต่ำกว่าให้ครบตามงบประมาณที่จัดสรรได้ แต่มิให้เพิ่มจำนวนผู้สมัครในตำแหน่งที่มีชั้นยศสูงกว่า
(5) ไม่ให้นำอัตราตำแหน่ง ผทค.พิเศษ ผทค. นปก. และประจำหน่วย ที่ว่างจากการเข้าร่วมโครงการฯ มาใช้สำหรับการบรรจุทดแทนกำลังพลในตำแหน่งอัตราแรกบรรจุทุกกรณี
(6) การนำอัตราตำแหน่ง ผทค.พิเศษ และ ผทค. ที่ว่างจากการเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อบริหารกำลังพลเข้าสู่ตำแหน่งดังกล่าว ผู้ที่จะปรับทดแทนจะต้องเป็นผู้เหลืออายุราชการไม่เกิน 1 ปี หรือจะเกษียณอายุราชการในปีงบประมาณนั้นเท่านั้น เพื่อ กห. จะดำเนินการปิดอัตราดังกล่าวต่อไป เช่น เมื่อมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (ออกจากราชการ 1 ตุลาคม 2567) ดังนั้น ผู้ที่จะถูกปรับเพื่อทดแทนในตำแหน่งดังกล่าว จะต้องเป็นผู้ที่เกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 (ออกจากราชการ 1 ตุลาคม 2568)
(7) ตำแหน่ง นปก. และประจำหน่วย ไม่ให้มีการบรรจุทดแทนทุกกรณี
(8) ห้ามบรรจุกลับเข้ารับราชการประจำ
(9) ห้ามทำสัญญาจ้างกลับเข้าเป็นพนักงานราชการ
สิทธิประโยชน์          อาทิ สิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินก้อน 7 ? 10 เท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย รวมเงินประจำตำแหน่ง (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินหรือค่าตอบแทนพิเศษอื่น ๆ ตามสูตรการคำนวณ ดังนี้
เงินก้อน = [5 + อายุราชการที่เหลือ (ปี)] x เงินเดือนเดือนสุดท้ายรวมเงินประจำตำแหน่ง (ถ้ามี)
แต่สูงสุดไม่เกิน 10 เท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย รวมเงินประจำตำแหน่ง (ถ้ามี)
หมายเหตุ: เงินเดือนเดือนสุดท้าย หมายถึง เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเดือนที่ได้เลื่อนครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการและเงินประจำตำแหน่ง แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มทุกประเภท (พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2551)
             เงินประจำตำแหน่ง หมายถึงเงินประจำตำแหน่งตามพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหาร พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ระยะเวลาโครงการ          3 ปีต่อเนื่อง เริ่มจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (ออกจากราชการ 1 ตุลาคม 2567) ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 (ออกจากราชการ 1 ตุลาคม 2569) (โดยไม่ของบกลางเพิ่มเติม)
แหล่งเงินงบประมาณ           (1) ใช้งบประมาณด้านบุคลากรของ กห. ดำเนินการภายในกรอบวงเงินงบประมาณที่ กห. จัดสรรในวงเงิน 600 ล้านบาท (โดยไม่ของบกลางเพิ่มเติม)
(2) แบ่งการดำเนินโครงการฯ ระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 ในวงเงิน จำนวน 200 ล้านบาท/ปี
โดยให้หน่วยขึ้นตรง กห. กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ จ่ายสิทธิประโยชน์เป็นเงินก้อนจากงบประมาณด้านบุคลากรและการจ่ายเงินบำนาญ บำเหน็จ บำเหน็จดำรงชีพให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ          (1) ลดความคับคั่งของกำลังชั้นยศสูงโดยเฉพาะ ผทค.พิเศษ ผทค. นปก. และประจำหน่วยชั้นยศ พ.อ. และ น.อ. [อัตราเงินเดือน พ.อ. (พิเศษ) น.อ. (พิเศษ)] ตามแผนปฏิรูปการบริหารจัดการกำลังพลของ กห.
(2) กห. มีขนาดอัตรากำลังพลที่มีความเหมาะสม เกิดความสมดุลระหว่างระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร ทำให้สามารถบริหารจัดการกำลังพลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ประหยัดงบประมาณด้านบุคลากรในระยะยาว
การรายงานผลการปฏิบัติ          หน่วยขึ้นตรง กห. กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ รายงานผลการดำเนินโครงการฯ รวมถึงปัญหาข้อขัดข้องให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (กรมเสมียนตรา) ภายใน 30 วัน หลังจากวันที่มีคำสั่งให้ข้าราชการทหารออกจากราชการของแต่ละปี เพื่อรวบรวมและสรุปผลนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
หมายเหตุ: 1ตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ได้แก่ นายทหารชั้นยศพลโท ? พลเอก พลเรือโท ? พลเรือเอก และพลอากาศโท ? พลอากาศเอก
             ตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายทหารชั้นยศพลตรี พลเรือตรี และพลอากาศตรี
             ตำแหน่งนายทหารปฏิบัติการ ได้แก่ นายทหารชั้นยศพันเอก นาวาเอก และนาวาอากาศเอก ที่ได้รับอัตราเงินเดือนพันเอก (พิเศษ) นาวาเอก (พิเศษ) และนาวาอากาศเอก (พิเศษ) ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะและเชี่ยวชาญพิเศษ
             ตำแหน่งประจำหน่วย ได้แก่ นายทหารชั้นยศพันเอก นาวาเอก และนาวาอากาศเอก ที่ได้รับอัตราเงินเดือนพันเอก (พิเศษ) นาวาเอก (พิเศษ) และนาวาอากาศเอก (พิเศษ)

ต่างประเทศ
28.  เรื่อง การถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก         (อนุสัญญาฯ) และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ต่อองค์การสหประชาชาติต่อไปตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เป็นหนึ่งในสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน                           มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่เกี่ยวข้องกับเด็กในด้านต่าง ๆ 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิในการพัฒนา และสิทธิในการมีส่วนร่วม มีหลักการสำคัญ คือ หลักการไม่เลือกปฏิบัติและหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยสาระสำคัญของอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 (ข้อ 1-41) หลักการและเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ที่เด็กพึงได้รับ เช่น สิทธิและเสรีภาพของเด็กโดยทั่วไป การคุ้มครองร่างกาย            ชีวิต เสรีภาพ และสวัสดิภาพของเด็ก ส่วนที่ 2 (ข้อ 42-45) หลักเกณฑ์และแบบพิธีซึ่งประเทศที่ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาฯ ต้องปฏิบัติตาม และส่วนที่ 3 (ข้อ 46-54) กลไกของอนุสัญญาฯ ซึ่งกำหนดวิธีการติดตามดูแลการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ และการมีผลบังคับใช้ของอนุสัญญาฯ ปัจจุบันมีประเทศที่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ จำนวน 197 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567)
                    2. ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 โดยขณะนั้นได้ตั้งข้อสงวนไว้ จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ (1) ข้อ 7               ว่าด้วยการจดทะเบียนการเกิด สถานะบุคคลและสัญชาติ (2) ข้อ 22 ว่าด้วยเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง และ (3) ข้อ 29 ว่าด้วยการจัดการศึกษา ต่อมาภายหลังการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาและสถานะบุคคล ประเทศไทยได้ถอนข้อสงวน ข้อ 29 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (12 พฤศจิกายน 2539)] เนื่องด้วยการศึกษาของประเทศไทยมีความหลากหลายและมีการจัดการศึกษาให้แก่ทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ และข้อ 7 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (21 กันยายน 2553)] เนื่องด้วยประเทศไทยได้มีนโยบายและการดำเนินงานเพื่อประกันให้มีการปฏิบัติตามสิทธิขั้นพื้นฐานแก่เด็กทุกคนในประเทศไทย ทั้งในด้านกฎหมาย (เช่น การจดทะเบียนการเกิดและการได้สัญชาติ)                   ด้านการศึกษาและด้านสุขภาพอนามัย (เช่น การจัดการศึกษาและบริการด้านสุขภาพอนามัยแก่บุคคลที่ขาดหลักฐานทะเบียนราษฎร) โดยยังคงเหลือข้อสงวนอีก 1 ข้อ คือ ข้อ 22 ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศสุดท้ายของรัฐภาคีที่ยังคงตั้งข้อสงวนข้อนี้ไว้
                    3. จากการที่ประเทศไทยได้นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 3-4               ต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ1 เมื่อปี 2555 ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส  ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยถอนข้อสงวน ข้อ 22 และรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยภายใต้กลไกการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐบาลภายใต้สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Universal Periodic Review: UPR)2 ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รอบที่ 1 เมื่อปี 2554                ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยพิจารณาถอนข้อสงวนภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี โดยประเทศไทยรับข้อเสนอแนะดังกล่าวต่อที่ประชุม และในการรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยภายใต้กลไก UPR รอบที่ 2 เมื่อปี 2559 ประเทศฝรั่งเศสเสนอแนะให้ประเทศไทยถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ
                    4. รายละเอียดข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย 2 วรรค ดังนี้
                              4.1 วรรคแรก ?รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมที่จะประกันว่าเด็กที่ร้องขอสถานะเป็นผู้ลี้ภัย หรือที่ได้รับการพิจารณาเป็นผู้ลี้ภัยตามกฎหมายหรือกระบวนการภายในหรือระหว่างประเทศที่ใช้บังคับ ไม่ว่าจะมีบิดา มารดาของเด็กหรือบุคคลอื่นติดตามมาด้วยหรือไม่ก็ตาม จะได้รับการคุ้มครองและความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมที่เหมาะสมในการได้รับสิทธิที่มีอยู่ตามที่ระบุไว้ในอนุสัญญานี้ และในตราสารระหว่างประเทศอื่น ๆ             อันเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหรือมนุษยธรรมซึ่งรัฐดังกล่าวเป็นภาคี?
                              โดยข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ไม่ได้กำหนดหรือให้คำจำกัดความของผู้ลี้ภัย แต่ให้อ้างอิงตามหลักกฎหมายหรือกระบวนการภายในหรือระหว่างประเทศใช้บังคับโดยให้แต่ละประเทศสามารถกำหนดคำนิยามของเด็กภายในกรอบกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และไม่ได้กำหนดความหมายของคำว่า มาตรการที่เหมาะสม แต่ได้กำหนดให้แต่ละประเทศใช้ดุลนิจในการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมรวมถึงกำหนดให้ประเทศภาคีให้ความร่วมมือในการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็ก โดยไม่ได้กำหนดมาตรการที่เหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ
                              4.2 วรรคสอง ?เพื่อวัตถุประสงค์นี้ รัฐภาคีจะให้ความร่วมมือตามที่พิจารณาว่าเหมาะสมแก่ความพยายามใด ๆ ของทั้งองค์การสหประชาชาติ และองค์การระดับรัฐบาล หรือองค์การที่มิใช่ระดับรัฐบาลอื่นที่มีอำนาจ ซึ่งร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติในการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กเช่นว่า และในการติดตามหาบิดา มารดา หรือสมาชิกอื่นของครอบครัวของเด็กผู้ลี้ภัย เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นสำหรับการกลับไปอยู่ร่วมกันใหม่เป็นครอบครัวของเด็ก ในกรณีที่ไม่สามารถค้นพบบิดา มารดา หรือสมาชิกอื่น ๆ ของครอบครัวเด็กนั้นจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับเด็กที่ถูกพรากจากสภาพครอบครัว ทั้งที่เป็นการถาวรหรือชั่วคราว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ดังเช่นที่ได้ระบุไว้ในอนุสัญญาฯ นี้?
                              โดยข้อ 22 กำหนดให้ประเทศภาคีให้ความร่วมมือในการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กร่วมกับองค์การสหประชาชาติและองค์การระดับรัฐบาล หรือองค์การที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาลอื่นที่มีอำนาจตามความเหมาะสม โดยไม่ได้กำหนดมาตรการที่เหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ ดังนั้น กลไกหรือมาตรการที่ประเทศดำเนินการอยู่ก่อน จึงถือเป็นมาตรการที่เหมาะสม
                    5. สาเหตุของการตั้งข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ
                    ในช่วงที่ประเทศไทยพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ปี 2531-2535 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป พยายามชักนำรัฐภาคีของอนุสัญญาฯ ให้เข้าเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 ทำให้เกิดความเข้าใจว่าหากไม่มีข้อสงวน ข้อ 22 จะทำให้ประเทศไทยมีข้อผูกพันในการจัดหาที่พักพิงและการดูแลผู้ลี้ภัยในการตั้งถิ่นฐานถาวรที่ไม่เป็นไปตามการดำเนินการตามกรอบกฎหมายภายในประเทศที่มีอยู่ในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยตามหลักมนุษยธรรมได้ จึงเป็นเหตุผลให้ประเทศไทยยังคงตั้งข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ไว้
                    6. พม. ได้จัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์ความพร้อมของประเทศไทยต่อการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              6.1 คำนิยามและขอบเขตของกลุ่มเป้าหมายภายใต้อนุสัญญาฯ ไม่ได้มีการจำกัดความไว้ชัดเจน ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้รัฐภาคีสามารถนิยามคำว่า ?เด็กลี้ภัย? และสามารถกำหนดขอบเขตของกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมตามกฎหมายและมาตรการที่ใช้อยู่ภายในประเทศได้ โดยเมื่อปี 2564 ประเทศไทย (กรมกิจการเด็กและเยาวชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ได้มีการกำหนดนิยามคำว่า ?เด็กลี้ภัย?3 ?ตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ คือ ?เด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ? และมีคำจำกัดความ คือ ?บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยอายุไม่ถึง 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้นที่เข้ามาหรือพำนักอยู่ในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนา โดยมีเหตุอันจะเชื่อได้ว่าจะได้รับอันตรายจากการถูกประหัตประหาร?
                              6.2 สถานการณ์เกี่ยวกับเด็กที่ได้รับสิทธิตามข้อ 22 ในประเทศไทย ประเทศไทยให้การช่วยเหลือบุคคลที่หลบหนีจากการประหัตประหารบนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรมมากว่า 70 ปี ซึ่งมีจำนวนกว่าล้านคนเคยพักพิงอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวก่อนเดินทางกลับประเทศต้นทางหรือไปสู่ประเทศที่สาม โดยมีการจำแนกเด็กเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
                                        (1) กลุ่มเด็กผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา จากเหตุการณ์ความรุนแรงในเรื่องของความขัดแย้งทางการเมืองและชาติพันธุ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในเมียนมาตั้งแต่ปี 2531 ชาวเมียนมาได้หนีภัยการสู้รบเข้ามาแสวงหาที่พักพิงในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นประชากรเด็กจำนวนประมาณ 32,000 คน คิดเป็นร้อยละ 41 ของประชากรผู้หนีภัยการสู้รบทั้งหมด ซึ่งประเทศไทยได้มีการให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่พักพิงชั่วคราว จำนวน 9 แห่ง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี ซึ่งมีการให้บริการขั้นพื้นฐาน เช่น การศึกษา การฝึกอาชีพ การบริการสุขภาพ รวมถึงพัฒนากลไกคัดกรองผู้หนีภัยการสู้รบ
                                        (2) กลุ่มเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงในเขตเมือง ประชากรกลุ่มนี้มีความหลากหลายและเพิ่มมากขึ้นในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดใหญ่ในประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ตาก โดยมีทั้งกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เดินทางเข้าประเทศไทยมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและพำนักต่อในประเทศภายหลังเอกสารตรวจลงตราหมดอายุ และกลุ่มที่เดินทางเข้าประเทศไทยผิดกฎหมายโดยผ่านเส้นทางธรรมชาติ ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้ประมาณการว่า มีประชากรเด็กจำนวน 1,800 คน คิดเป็นร้อยละ 35 ของประชากรผู้ลี้ภัยในเขตเมืองทั้งหมด ซึ่งมาตรการช่วยเหลือที่ผ่านมาผู้ลี้ภัยในเขตเมืองจำนวนหนึ่งได้รับการคัดกรองเป็นบุคคลในความห่วงใยของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและองค์การพัฒนาเอกชนให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมนอกจากนี้ ในด้านการศึกษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองสิทธิในการจัดการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี ให้เด็กทุกคนในประเทศไทย ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงด้วย
                              6.3 ความพร้อมของประเทศไทยในการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ประเทศไทยมีความพร้อมต่อการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากการที่ประเทศไทยได้ตีความข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ให้เป็นไปภายใต้กรอบการดำเนินการรองรับการคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยที่ประเทศไทยดำเนินการอยู่แล้ว ทั้งด้านกลไก มาตรการ กฎหมาย พันธกรณี กติกา และตราสารระหว่างประเทศที่ประเทศไทยรองรับ (เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งมีข้อบทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเด็กลี้ภัยอยู่ด้วย) ส่งผลให้การดำเนินการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยของประเทศไทยเป็นมาตรการที่เหมาะสมตามอนุสัญญาฯ ข้อ 22 เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งให้ความคุ้มครองเด็กทุกคนอย่างครอบคลุมและไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะยังมีข้อห่วงใยเกี่ยวกับการถอนข้อสงวน ข้อ 22 บางประการ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลระบุตัวตนเด็ก การกำหนดบริการด้านสาธารณสุขที่ชัดเจนในประเด็นการเข้าถึงบริการ ระบบคัดกรอง แนวทางการส่งต่อบริการ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง แต่ประเทศไทยได้ดำเนินการขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนบริการสำหรับเด็กที่ได้การรับรองสิทธิตามข้อ 22 โดยจะได้มีการตอบสนองต่อข้อห่วงใยในประเด็นต่าง ๆ เพื่อยกระดับการดูแลเด็กทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้พัฒนาระบบการดูแลเด็กในอนาคต
                              6.4 แผนปฏิบัติการการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ4 ได้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการ ตัวชี้วัดหลัก และกรอบระยะเวลาอย่างเป็นขั้นตอนในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิเด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ เพื่อยกระดับการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          กรอบระยะเวลา          หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
การสำรวจกรอบกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ และการดำเนินการที่เหมาะสมตามที่หน่วยงานดำเนินการอยู่แล้วรวมถึงการกำหนดแนวทางการพัฒนากรอบกฎหมาย นโยบาย การดำเนินการภายหลังการถอนข้อสงวนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล          3-6 เดือน          - พม.
- กระทรวงมหาดไทย (มท.)
- กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)
- กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
- กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
- สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)
การจัดประชุมส่วนราชการเพื่อกำหนดโครงสร้างและกลไกการประสานงานเพื่อรองรับการดำเนินการคุ้มครองสิทธิสำหรับเด็กที่ได้รับการรับรองตามอนุสัญญาฯ และพัฒนาแนวทางการดำเนินการของโครงสร้างและกลไก
การประสานงานสำหรับเด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามอนุสัญญาฯ ภายหลังการถอนข้อสงวน          3-6 เดือน
          พม.
การจัดประชุมส่วนราชการเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบข้อมูลและทะเบียนประวัติการให้บริการ การจัดสรรงบประมาณและการส่งเสริมทัศนคติของบุคลากรในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิเด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามอนุสัญญาฯ          3-6 เดือน          - พม.
- มท.
- ยธ.
- ศธ.
- สธ.
การนำเสนอข้อมูลความพร้อมของประเทศไทยต่อการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ต่อคณะรัฐมนตรี การจัดทำตราสารเพื่อถอนข้อสงวน และการจัดส่งตราสารเพื่อเสนอต่อองค์การสหประชาชาติ          6 เดือน-1 ปี
          - กต.
- พม.

                    ทั้งนี้ จากผลการศึกษาข้างต้นพบว่า การถอนข้อสงวน ข้อ 22 ไม่ได้ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเข้าเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 แต่ประการใดและไม่ได้ส่งผลให้ประเทศไทยต้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยโดยวิธีหรือการดำเนินการอื่นใด ซึ่งขัดต่อกรอบกฎหมายที่มีในประเทศ โดยการดำเนินมาตรการการช่วยเหลือเด็กผู้ลี้ภัยจะเป็นไปตามหลักการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม และไม่ได้ส่งผลให้ประเทศไทยต้องผูกมัดการดำเนินงานตามแนวทางหรือกฎหมายในการให้ความช่วยเหลือเด็กผู้ลี้ภัยใด ๆ ที่นอกเหนือจากกรอบกฎหมายที่มีอยู่ในประเทศ เห็นได้จากที่ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเกือบทั้งหมดได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ในขณะที่จำนวนรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยนั้นไม่ได้มีการรับรองจากประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติเพื่อเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีในทุกประเทศ เช่น ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซียหรือประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ก็ไม่ได้เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951
                    7. ประโยชน์จากการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ
                              7.1 เด็กทุกคนจะได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างปราศจากการเลือกปฏิบัติยึดประโยชน์ของเด็กเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งได้รับความคุ้มครองและดูแลช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้
                              7.2 หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์การระหว่างประเทศด้านเด็กในประเทศไทย สามารถดำเนินงานในด้านของเด็กในบริบทการโยกย้ายถิ่นฐานได้อย่างครอบคลุม
                              7.3 เป็นการส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยและเด็กในบริบทการโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งสอดคล้องกับคำมั่นที่ประเทศไทยได้ให้ไว้ในเวทีระหว่างประเทศและเป็นการพัฒนาภาพลักษณ์ที่ดีและมุมมองด้านบวกของประเทศไทย รวมถึงลดการแทรกแซงหรือการตั้งคำถามโดยไม่จำเป็นในประเด็นสิทธิมนุษยชน
                    8. คณะกรรมการส่งเสริมเด็กและเยาวชนแห่งชาติในการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่                         16 กุมภาพันธ์ 2567 เห็นชอบการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ และมอบหมายให้ พม. นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
                    9. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มาเพื่อสนับสนุนเรื่องการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ มาจากงบประมาณแผ่นดิน หมวดงบดำเนินงาน งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกรมกิจการเด็กและเยาวชน ตามที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงบประมาณ (สงป.)
1บทบัญญัติข้อ 44 ของอนุสัญญาฯ กำหนดให้รัฐภาคีจัดทำรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติภายใน 2 ปี นับจากวันที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ และทุก ๆ 5 ปี หลังจากนั้น
2เป็นกลไกภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติจัดทำรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสิทธิทางการเมือง สิทธิพลเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงสิทธิของบุคคลภายในประเทศ เพื่อเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีข้อยกเว้น ทั้งนี้ จะมีการรายงานฯ ทุก ๆ 4 ปีครึ่ง
3กรมกิจการเด็กและเยาวชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การร่วมกำหนดนิยามความหมาย ?เด็กลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง? เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 โดยที่ประชุมได้มีมติร่วมกันในคำนิยามดังกล่าว
4จากการประสาน พม. แจ้งว่า ได้มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ไปแล้วตามขั้นตอน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการตามกระบวนการภายในประเทศคือการนำเสนอข้อมูลความพร้อมของประเทศไทยต่อการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

29. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence Ministers' Meeting Retreat: ADMM Retreat) (การประชุม ADMM Retreat) ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยเดินทางเข้าร่วมการประชุม ADMM Retreat ซึ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ณ เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว เมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม 2567 ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ที่ประชุมฯ ได้แลกเปลี่ยนมุมมองในหัวข้อ ?ทิศทางของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers' Meeting: ADMM)  ภายหลัง ค.ศ. 2025 เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงทั้งในปัจจุบันและอนาคต? โดยเฉพาะบริบททางภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน การแข่งขันของมหาอำนาจและภัยคุกคามด้านความมั่นคงส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของภูมิภาคโดยตรง จึงจำเป็นต้องกำหนดทิศทาง ADMM ในอนาคตให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการสร้างความแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นในภูมิภาค รวมทั้งได้หารือประเด็นการขยายจำนวนสมาชิกของ ADMM-Plus ในการส่งเสริมขีดความสามารถของอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของร่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2045 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเน้นย้ำการคำนึงถึงประโยชน์ของอาเซียนที่จะได้รับจากการขยายสมาชิก การส่งเสริมบทบาทของ ADMM การกำหนดกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน ตลอดจนผลกระทบและผลผูกพันระยะยาวในการธำรงไว้ซึ่งความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) และความเป็นเอกภาพของอาเซียน (ASEAN Unity) ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ เห็นพ้องว่าประเด็นดังกล่าวจำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแบบองค์รวมในทุกมิติ จึงเห็นชอบให้คณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียนศึกษาและหารือในรายละเอียด ก่อนนำเสนอตามกระบวนการของ ADMM ต่อไป
                    2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียนให้การรับรองแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนว่าด้วยผลสำเร็จของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ภายใต้การดำเนินงานตามแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคง ค.ศ. 2025 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 โดยเอกสารมีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าว เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม ADMM Retreat ที่สะท้อนผลความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของ ADMM ในฐานะองค์กรเฉพาะสาขาด้านการป้องกันประเทศในการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างอาเซียนและประเทศคู่เจรจา รวมทั้งภาคีนอกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
                    2. การหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย โดยเห็นพ้องให้ดำรงความร่วมมือทางการทหาร เช่น การแลกเปลี่ยนการเยือน การฝึกร่วม และการแลกเปลี่ยนที่นั่งศึกษา ให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นตลอดจนการใช้กลไกการหารือทวิภาคีในการแก้ไขปัญหาชายแดนร่วมกัน สำหรับประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ 56 ใน พ.ศ. 2567 (กห. คาดว่าจะจัดการประชุมเดือนกรกฎาคม 2567) นอกจากนี้ ประเทศมาเลเซียขอบคุณที่ได้เข้าร่วมการฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ (Cobra Gold) และขอเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเข้าร่วมงานแสดงนิทรรศการการป้องกันประเทศ ระหว่างวันที่ 6 ถึงวันที่                 9 พฤษภาคม 2567 ณ ประเทศมาเลเซีย รวมทั้งเสนอให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างกัน เพื่อยกระดับความร่วมมือให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
                    3. การหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ สปป.ลาว โดยทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงของภูมิภาคที่ส่งผลกระทบและจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น ปัญหาหมอกควัน ยาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งเน้นย้ำความสำคัญของกลไกการหารือในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุม GBC ไทย ? ลาว ซึ่งครอบคลุมการแก้ไขปัญหาชายแดนในทุกมิติ นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้แสดงความยินดีและพร้อมให้การสนับสนุน สปป.ลาว และสหพันธรัฐรัสเซีย ในฐานะประธานร่วมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในกรอบ ADMM-Plus วงรอบ พ.ศ. 2567-2570 ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง

30. เรื่อง การต่ออายุความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Agreement) ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังญี่ปุ่น
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบการต่ออายุความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Agreement) ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังญี่ปุ่นตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
*ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางญี่ปุ่น  (ในฐานะผู้แทนกระทรวงการคลังญี่ปุ่น) มีกำหนดลงนามในความตกลง BSA  ฉบับใหม่ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2567
                    สาระสำคัญ
1.          การจัดทำความตกลง BSA มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกทางการเงินในการให้ความช่วยเหลือ
ระหว่างกันในกรณีที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้นและเป็นส่วนเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่ได้รับจากความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM)
                    2. ธปท. และกระทรวงการคลังญี่ปุ่นได้จัดทำความตกลง BSA ฉบับแรกขึ้นเมื่อปี 2544 วงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้มีการปรับปรุงและต่ออายุมาอย่างต่อเนื่อง และมีความตกลง BSA มาแล้ว 5 ฉบับ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการต่ออายุความตกลง BSA ฉบับปัจจุบันเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ซึ่งจะหมดอายุลงในวันที่ 23 กรกฎาคม 2567
                    3. ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567  ได้เห็นชอบการต่ออายุความตกลง BSA ฉบับใหม่ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 โดยมีกำหนดจะลงนามในช่วงเดือนกรกฎาคม 2567
                    4. ความตกลง BSA ฉบับใหม่ มีสาระสำคัญเพื่อขยายอายุความตกลงปัจจุบันไปอีก 3 ปี ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2570 ซึ่งการต่ออายุความตกลง BSA ครั้งนี้ไม่กระทบสาระสำคัญอื่น ๆ ของความตกลง BSA โดยรายละเอียด ดังนี้
                              4.1 รูปแบบกลไก ประกอบด้วย (1) กลไกแก้ไขวิกฤต และ (2) กลไกป้องกันวิกฤต
                              4.2 รูปแบบการเบิกถอน ประกอบด้วย (1) การเบิกถอนสองทางสำหรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (Two-Way) และ (2) การเบิกถอนทางเดียวสำหรับสกุลเงินเยน (One-Way) ซึ่ง ธปท. สามารถเบิกถอนเป็นสกุลเงินเยนได้
                              4.3 วงเงินสูงสุดที่สามารถเบิกถอนได้ ประกอบด้วย (1) กรณีขอใช้วงเงินจาก BSAเพียงแหล่งเดียวจะสามารถเบิกถอนได้สูงสุด 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2) กรณีขอใช้วงเงินจากทั้ง BSA และ CMIM ที่ไม่เชื่อมโยงกับความช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund (IMF)  De-inked Portion) จะสามารถเบิกถอนได้สูงสุด 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ (3) กรณีขอใช้วงเงินจากทั้ง BSA และ CMIM ที่เชื่อมโยงกับความช่วยเหลือของ IMF (IMF Linked Portion) จะสามารถเบิกถอนได้สูงสุด 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
                              4.4 อัตราดอกเบี้ย (Reference Rate) เป็นไปตามความตกลง CMIM
                              4.5 อายุสัญญา มีอายุ 3 ปี
                              ทั้งนี้ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องลงนามในหนังสือรับทราบข้อผูกพัน ในกรณีที่ ธปท. ขอรับความช่วยเหลือจากความตกลง BSA นั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากความตกลงฉบับปัจจุบัน
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    1. การต่ออายุความตกลง BSA เป็นกลไกเสริมสภาพคล่องกรณีที่ไทยประสบปัญหาขาดสภาพคล่องหรือปัญหาดุลการชำระเงิน และจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินระหว่างไทยและญี่ปุ่น
                    2. การต่ออายุความตกลง BSA สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุลตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ กระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และรักษาบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคง ของประเทศไทย

31. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
1.          เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (30 มกราคม 2567) เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม
รัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 4 (The 4th ASEAN Digital Ministers? Meeting: The 4 th ADGMIN) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ฉบับ1 และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ ดศ. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ซึ่งต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเมื่อวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ (นางโจเซฟิน เตียว) ทำหน้าที่ประธานการประชุม
                    2. ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 การกล่าวถ้อยแถลงและแลกเปลี่ยนมุมมองภายใต้หัวข้อหลัก คือ ?การสร้างระบบนิเวศทางดิจิทัลที่ครอบคลุมและเชื่อถือได้? (Building an Inclusive and Trusted Digital Ecosystem) ของผู้แทนไทย สรุปได้ ดังนี้
                                        2.1.1 การนำเสนอนโยบาย ?The Growth Engine of Thailand? ในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่  (1) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล (2) การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล และ (3) การเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ด้านดิจิทัล
                                        2.1.2 การรับมือกับปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ ได้แก่ การออกพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 และการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center: AOC)
                                        2.1.3 การกล่าวขอบคุณอาเซียนที่สนับสนุนข้อเสนอของไทยในการจัดตั้งคณะทำงานอาเซียนด้านการป้องกันปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ [The ASEAN Working Group on Anti -  Online Scam (WG - AS)] เพื่อร่วมกันยกระดับความร่วมมือด้านการป้องกันและรับมือกับปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ของอาเซียนซึ่งเป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติระดับโลก ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมกันบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้ได้อย่างจริงจังและเร่งด่วน เพื่อบรรเทาความเสียหายแก่ประชาชนในภูมิภาคอาเซียน
                                        2.1.4 การกล่าวสนับสนุนความร่วมมือด้านดิจิทัลที่สำคัญ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ของอาเซียน
                              2.2 การรับรองปฏิญญาสิงคโปร์ (Singapore Declaration) และการกล่าวถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยได้ปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยยังคงไว้ซึ่งสาระสำคัญตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (30 มกราคม 2567) เห็นชอบไว้แล้ว ได้แก่
ย่อหน้า          รายละเอียดที่ปรับแก้ไข
ปฏิญญาสิงคโปร์ (Singapore Declaration)
3          ปรับเพิ่มถ้อยคำ ?removal? หรือ ?การรื้อถอน? สายเคเบิลใต้น้ำ เพื่อให้มีความครอบคลุม การอำนวยความสะดวกในการดำเนินการเกี่ยวกับเคเบิลใต้น้ำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
6          ปรับเพิ่มถ้อยคำ ?bridge the digital divide, enhance digital Iiteracy? หรือ ?การลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล ส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัล? เพื่อประโยชน์ของการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
11          ปรับเพิ่มถ้อยคำ ?welcome? เพื่อให้มีความถูกต้องและเหมาะสม
14          ปรับเพิ่มเรื่องการตระหนักถึงความสำคัญของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างประเทศประเภทบริการข้ามแดนอัตโนมัติในอาเซียน
15          ปรับเพิ่มเรื่องการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาโครงข่าย 5G ในอาเซียน
18          ปรับเพิ่มเรื่องการรับรองแผนการดำเนินการด้านดิจิทัลระหว่างอาเซียนและจีน (ASEAN -China 2024 Digital Work Plan) และเห็นพ้องที่จะร่วมกันพัฒนาข้อเสนอแนวคิดข้อริเริ่มจีน - อาเซียน ในด้านการอำนวยความสะดวกความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศด้านดิจิทัลที่ยั่งยืนและครอบคลุม (The China - ASEAN Initiative on Facilitating Cooperation in Building
Sustainable and Inclusive Digital Ecosystem)
20          ปรับเพิ่มข้อความการแสดงความยินดีกับโครงการ ASEAN Cyber Shield ซึ่งมีวัตถุประสงค์การสร้างสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ และการรับรองแผนการดำเนินการด้านดิจิทัลระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี ปี 2567 (The 2024 ASEAN - ROK Digital Work Plan)
22          ปรับเพิ่มถ้อยคำให้ความเห็นชอบต่อข้อเสนอแนวคิดโครงการ ASEAN AI Roadmap เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้าน Al สำหรับอาเซียนในอนาคต
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีกำหนดจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในช่วงเดือนมกราคม 2568 ณ กรุงเทพมหานคร
                    3. การอนุมัติงบประมาณจากกองทุน ASEAN ICT Fund2 ประจำปี 2567
                    ที่ประชุมอนุมัติงบประมาณจากกองทุน ASEAN ICT Fund สำหรับดำเนินงานโครงการภายใต้กรอบการประชุมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัล (ASEAN Digital Senior Officials' Meeting: ADGSOM) และกรอบการประชุมสภาหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแห่งอาเซียน ประจำปี 2567 จำนวน 15 โครงการ รวมเป็นเงินจำนวน 602,444.70 ดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้รับการอนุมัติจำนวน 1 โครงการ คือ โครงการ ASEAN Digital Awards 2025 เป็นเงินจำนวน 76,300 ดอลลาร์สหรัฐ
3. ผลการประชุม ADGMIN กับคู่เจรจา [จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สาธารณรัฐอินเดีย สหรัฐอเมริกา และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU] ที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              3.1 การรับรองแผนการดำเนินการด้านดิจิทัลระหว่างอาเซียน ? จีน อาเซียน - ญี่ปุ่น อาเซียน - เกาหลีใต้ และอาเซียน - อินเดีย สำหรับปี 2567
                              3.2 รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม/โครงการความร่วมมือตามแผนการดำเนินการด้านดิจิทัล สำหรับปี 2566 เช่น ความเชื่อมโยงและโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
                              3.3 รับทราบเอกสารความร่วมมือในประเด็นสำคัญระหว่างอาเซียนและ ITU ประจำปี 2567-2569 โดยมีประเด็นความร่วมมือสำคัญ เช่น ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ความเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การสร้างความเท่าเทียมทั่วถึงทางดิจิทัลนโยบายโทรคมนาคมและดิจิทัล
                    4. ผลการหารือทวิภาคี
ประเทศคู่เจรจา          ประเด็นการหารือ
จีน          หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะประเด็นด้านธรรมาภิบาล นโยบายคลาวด์ เทคโนโลยี 5G ที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม และการส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย
สิงคโปร์          หารือเกี่ยวกับการจัดการปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ (Anti - Online Scam) และการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ Start - Ups ของทั้งสองฝ่าย
- การพิจารณาเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Partnership Agreement: DEPA) ของไทย
- ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการต่ออายุบันทึกความเข้าใจระหว่าง ดศ. และกระทรวงการสื่อและสารสนเทศของสิงคโปร์
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)          - หารือเกี่ยวกับการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่บริเวณชายแดนและการป้องกันและปราบปรามการหลอกลวงออนไลน์ (Anti - Online Scam) โดยเฉพาะแก๊งคอลเซ็นเตอร์
- ติดตามความก้าวหน้าและการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่าง ดศ. และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่ง สปป.ลาว โดยทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาการหารือระดับรัฐมนตรีระหว่างกันต่อไป
- ไทยยินดีให้การสนับสนุน สปป.ลาว ในการแลกเปลี่ยนความรู้และการดำเนินการในเรื่องการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) รวมถึงการให้บริการของภาครัฐผ่านแอปพลิเคชัน เช่น เป๋าตัง ThaID เป็นต้น
กัมพูชา          - การติดตามการดำเนินการภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่าง ดศ. และกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งกัมพูชาว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam (แผนประทุษกรรมของกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติในคดีหลอกลงทุนสกุลเงินดิจิทัล) การบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันและปราบปราม
โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงานและหารือร่วมกันระหว่างไทยและกัมพูชา
- หารือเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อเพิ่มโอกาสและรายได้ให้กับทั้งสองประเทศ โดยจะมีการหารือในรายละเอียดต่อไป
มาเลเซีย          หารือในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยร่วมกันการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริมและยกระดับมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ และการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ                Start ? ups โดยมาเลเซียเสนอให้มีความร่วมมือสามฝ่าย ระหว่างมาเลเซีย บรูไนดารุสซาลาม และไทย รวมถึงการพิจารณาจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ร่วมกันต่อไป
                    5. ประโยชน์และผลกระทบ
                              5.1 ประเทศไทยมีบทบาทนำสำคัญในการยกระดับความร่วมมือและ การดำเนินงานของอาเซียน เพื่อจัดการและรับมือกับปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์เพื่อก่อให้เกิดการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านการจัดตั้งคณะทำงานอาเซียนด้านการป้องกันปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งมีกำหนดจะจัดการประชุมคณะทำงานดังกล่าว (ครั้งที่ 1) ในเดือนมีนาคม 2567 ณ กัมพูชา
                              5.2 การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ADGSOM ครั้งที่ 5 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงเดือนมกราคม 2568 ณ กรุงเทพมหานคร จะช่วยส่งเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศไทย และส่งผลตีต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวม รวมทั้งสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของประเทศไทยในเวทีอาเซียนด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน
                              5.3 ดศ. จะดำเนินการขยายความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งสองฝ่าย
1เอกสารการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล (2) ร่างปฏิญญาสิงคโปร์ (3) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (4) ร่างแนวปฏิบัติธรรมาภิบาลและจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ของอาเซียน - รายงานการศึกษาภูมิทัศน์ปัญญาประดิษฐ์ของอาเซียน (ระยะ 2) (5) ร่างแนวทางปฏิบัติร่วมระหว่างข้อสัญญามาตรฐานของสหภาพยุโรปและข้อสัญญาต้นแบบของอาเซียนสำหรับการโอนข้อมูลระหว่างประเทศ (ระยะ 2) (6) ร่างรายงานทบทวนการดำเนินงานระยะกลางของแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025 (7) ร่างเอกสารต้นแบบทางการเงินสำหรับการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ซองอาเซียน (8) ร่างเอกสารพื้นที่นำร่องด้านการกำกับดูแลเพื่ออำนวยความสะดวกของการไหลเวียนข้อมูลดิจิทัลข้ามพรมแดนสำหรับการใช้งานรถยนต์ไร้คนขับในอาเซียน  (9) ร่างเอกสารกรอบการดำเนินงานอาเซียนด้านโลจิสติกส์ของห่วงโซ่อุปทานเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับพื้นที่ชนบท (10) ร่างเอกสารการประเมินความเกี่ยวข้องระหว่างโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและทักษะด้านดิจิทัล และการไหลเข้าของการลงทุนจากต่างประเทศสู่ภาคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียน: การระบุทางเลือกด้านนโยบายเพื่อปรับปรุงการดึงดูดด้านการลงทุน (11) ร่างเอกสารการจัดทำมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติในภูมิภาคอาเซียน (12) ร่างเอกสารกรอบการดำเนินงานของคณะทำงานอาเซียนด้านการป้องกันปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์2 กองทุนไอซีทีอาเซียน (ASEAN ICT Fund) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนที่สามารถดำเนินโครงการและกิจกรรมการพัฒนาไอซีทีในด้านต่าง ๆ ได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว โดยที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนได้สนับสนุนเงินเข้ากองทุนฯ แล้ว จำนวนทั้งสิ้น 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเงินกองทุนฯ จะถูกจัดสรรให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เพื่อนำไปจัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมเป็นประจำทุกปี (โครงการที่ขอรับสนับสนุนจะต้องเป็นประโยชน์กับประเทศสมาชิกอาเซียน) ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยได้รับการสนับสนุนเงินเพื่อดำเนินโครงการแล้วรวมทั้งสิ้น 24 โครงการ วงเงินรวม 889,200 ดอลลาร์สหรัฐ (รวมโครงการในปีนี้ด้วย) เช่น โครงการ Develop guidelines and promote awareness on child and youth online risk and protection วงเงิน 18,500 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งดำเนินการในปี ค.ศ. 2020 โครงการ Study on ICT Startup Problems and Developing Policy for their Growth วงเงิน 44,200 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งดำเนินการในปี ค.ศ. 2021

แต่งตั้ง
32. เรื่อง การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก (กระทรวงการต่างประเทศ)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นายวิทิต มันตาภรณ์ เป็นสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก สืบต่อไปอีกวาระหนึ่ง โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

33. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 1 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องและเงินยังชีพรายเดือนแก่บุตรเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคง การรักษาความสงบเรียบร้อย และการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ ที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
                     องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่
                     ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกองบัญชาการกองทัพไทย ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และผู้แทนกรมบัญชีกลาง โดยมีผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1. พิจารณาการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ รวมทั้ง วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติในการช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์
                     2. กำหนดแนวทาง เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติในการขอรับการช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                      3. รวบรวมปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดเป็นระเบียบที่เกี่ยวข้อง สำหรับการให้ความช่วยเหลือในระยะยาวต่อไป
                      4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
                     5. ปฏิบัติงานอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงวัฒนธรรม)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการสูง) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิชาการละครและดนตรี (โขน ละคร และดนตรี) (นักวิชาการละครและดนตรีทรงคุณวุฒิ) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางกิจจาลักษณ์       ศรีนุชศาสตร์ รองอธิบดีกรมศุลกากร ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร (นักวิชาการศุลกากรทรงคุณวุฒิ) กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นางสาวรุจิกร แสงจันทร์ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

37. เรื่อง ขอความเห็นชอบการต่อสัญญาจ้างผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้ง นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข เป็นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยต่อไปอีกวาระหนึ่ง โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเงินเดือน 500,000 บาท รวมทั้งค่าตอบแทนพิเศษประจำปี และสิทธิประโยชน์อื่นที่ผู้รับจ้างจะได้รับ ตามมติคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 และครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ซึ่งกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบแล้ว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไปแต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

38. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาด
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอให้คณะกรรมการองค์การตลาดมีจำนวนกรรมการเกินกว่าสิบเอ็ดคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน ตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาด แทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก จำนวน 1 คน และแต่งตั้งเพิ่มเติม จำนวน 1 คน รวม 2 คน ดังนี้
                      1. นางสาวณัฐนิชา จงรักษ์ แทน รองศาสตราจารย์ชัยวัฒน์ อุตตมากร
                      2. นายธนันท์วรุตม์ ลิ้มทรงพรต
                      โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้ง ราย นางสาวณัฐนิชา               จงรักษ์ อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน              1 ราย คือ นายธนรัช จงสุทธานามณี ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่                  9 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ