คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการลงนามร่างแผนกิจกรรมทวิภาคีระหว่างกระทรวงพาณิชย์และสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป (European Patent Office : EPO) และอนุมัติให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามในร่างแผนกิจกรรมความร่วมมือดังกล่าว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่าประธานสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปได้เข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 และหารือความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกระทรวงพาณิชย์ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) กับสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการบริหารจัดการการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรของไทยเป็นการเฉพาะ และหากประสบความสำเร็จ สำนักงานสิทธิบัตรยุโรปอาจจะใช้เป็นต้นแบบในการขยายความร่วมมือไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นต่อไป
หน้าที่หลักของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปได้แก่ การรับคำขอและจดทะเบียนสิทธิบัตร การตรวจสอบข้อมูลและคำขอสิทธิบัตร ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบและรับคำขอในระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty : PCT) และการรวบรวมข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนในรูปแบบต่าง ๆ ในระยะที่ผ่านมาสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปจึงมีกิจกรรมด้านความร่วมมือกับนานาประเทศมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมด้านความร่วมมือของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปเพื่อสร้างความสอดคล้องของระบบสิทธิบัตรในระดับสากล
โดยร่างแผนกิจกรรมความร่วมมือดังกล่าวมีสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อไทยในการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบการตรวจสอบสิทธิบัตรทำให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สำนักงานสิทธิบัตรยุโรปจะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องกับสากลด้วย และโดยที่ร่างแผนกิจกรรมความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการลงนามระดับประธานสำนักงานสิทธิบัตร ซึ่งมีตำแหน่งเทียบได้กับระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการ และความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในแง่การค้า การลงทุน และการส่งเสริมสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่าประธานสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปได้เข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 และหารือความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกระทรวงพาณิชย์ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) กับสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการบริหารจัดการการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรของไทยเป็นการเฉพาะ และหากประสบความสำเร็จ สำนักงานสิทธิบัตรยุโรปอาจจะใช้เป็นต้นแบบในการขยายความร่วมมือไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นต่อไป
หน้าที่หลักของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปได้แก่ การรับคำขอและจดทะเบียนสิทธิบัตร การตรวจสอบข้อมูลและคำขอสิทธิบัตร ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบและรับคำขอในระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty : PCT) และการรวบรวมข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนในรูปแบบต่าง ๆ ในระยะที่ผ่านมาสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปจึงมีกิจกรรมด้านความร่วมมือกับนานาประเทศมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมด้านความร่วมมือของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปเพื่อสร้างความสอดคล้องของระบบสิทธิบัตรในระดับสากล
โดยร่างแผนกิจกรรมความร่วมมือดังกล่าวมีสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อไทยในการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบการตรวจสอบสิทธิบัตรทำให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สำนักงานสิทธิบัตรยุโรปจะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องกับสากลด้วย และโดยที่ร่างแผนกิจกรรมความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการลงนามระดับประธานสำนักงานสิทธิบัตร ซึ่งมีตำแหน่งเทียบได้กับระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการ และความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในแง่การค้า การลงทุน และการส่งเสริมสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--