คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” ระยะที่ 5 ของการเคหะแห่งชาติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการให้การเคหะแห่งชาติดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” ระยะที่ 5 ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 — 2552 จำนวน 339,481 หน่วย วงเงินลงทุนโครงการรวมทั้งสิ้น 161,956.070 ล้านบาทโดยขอให้การเคหะแห่งชาติเร่งรัดการดำเนินงาน สำหรับค่าใช้จ่ายอุดหนุนจากรัฐตามโครงการระยะที่ 5 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 3,775,720,000 บาท เห็นสมควรให้การเคหะแห่งชาติปรับแผนการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงิน งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 4 จำนวน 6,000 ล้านบาท ไปดำเนินการก่อนได้ หากไม่เพียงพอให้ใช้จ่ายจากสัดส่วนการลงทุนที่เป็นเงินกู้ในส่วนที่การเคหะแห่งชาติรับผิดชอบตามจำนวนที่จำเป็นจะต้องใช้จริง โดยสอดคล้องกับความก้าวหน้าของงานและให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาด้วย
ทั้งนี้ โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 5 มีเป้าหมายดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549-2551 โดยกำหนดเป้าหมายการจัดสร้างที่อยู่อาศัยส่วนที่เหลือ จำนวน 339,481 หน่วย เพื่อพัฒนาโครงการในพื้นที่ที่มีความต้องการในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและภูมิภาค ในพื้นที่ทั้งในเขตอำเภอเมืองและเขตอำเภอที่มีความเจริญลำดับรอง ๆ รวมทั้งรองรับการขยายตัวตามแนวโครงข่ายการคมนาคมสายสำคัญจากย่านแหล่งงานในศูนย์กลางเมืองไปยังย่านที่อยู่อาศัยในเขตชานเมือง เช่น ตามแนวถนนวงแหวนรอบนอก บริเวณ Sub-Center พื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ พื้นที่รอบ วงแหวนอุตสาหกรรม พื้นที่เมืองหลัก เมืองรอง และเมืองเศรษฐกิจชายแดนในภูมิภาค ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งงานและใช้เวลาในการเดินทางระหว่างที่พักอาศัยกับแหล่งงานในเมืองน้อยลง ทั้งยังช่วยลดความแออัดในเขตเมือง และก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ยังไม่มีการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน 5 แนวทาง ได้แก่ (1) การจัดทำโครงการในที่ดินของการเคหะแห่งชาติ (2) การใช้ที่ดินของ ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ (3) การขายอาคารที่สร้างแล้วเสร็จคงเหลือในตลาด (4) จัดทำโครงการในที่ดินที่ซื้อ จากเอกชน (5) จัดซื้อโครงการแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) จากภาคเอกชน และเพื่อให้โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับ ผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2552 การเคหะแห่งชาติจึงเน้นใช้แนวทางจัดซื้อโครงการแบบเบ็ดเสร็จจากผู้ประกอบการภาคเอกชนเป็นหลัก และก่อสร้างด้วยระบบอุตสาหกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--
ทั้งนี้ โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 5 มีเป้าหมายดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549-2551 โดยกำหนดเป้าหมายการจัดสร้างที่อยู่อาศัยส่วนที่เหลือ จำนวน 339,481 หน่วย เพื่อพัฒนาโครงการในพื้นที่ที่มีความต้องการในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและภูมิภาค ในพื้นที่ทั้งในเขตอำเภอเมืองและเขตอำเภอที่มีความเจริญลำดับรอง ๆ รวมทั้งรองรับการขยายตัวตามแนวโครงข่ายการคมนาคมสายสำคัญจากย่านแหล่งงานในศูนย์กลางเมืองไปยังย่านที่อยู่อาศัยในเขตชานเมือง เช่น ตามแนวถนนวงแหวนรอบนอก บริเวณ Sub-Center พื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ พื้นที่รอบ วงแหวนอุตสาหกรรม พื้นที่เมืองหลัก เมืองรอง และเมืองเศรษฐกิจชายแดนในภูมิภาค ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งงานและใช้เวลาในการเดินทางระหว่างที่พักอาศัยกับแหล่งงานในเมืองน้อยลง ทั้งยังช่วยลดความแออัดในเขตเมือง และก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ยังไม่มีการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน 5 แนวทาง ได้แก่ (1) การจัดทำโครงการในที่ดินของการเคหะแห่งชาติ (2) การใช้ที่ดินของ ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ (3) การขายอาคารที่สร้างแล้วเสร็จคงเหลือในตลาด (4) จัดทำโครงการในที่ดินที่ซื้อ จากเอกชน (5) จัดซื้อโครงการแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) จากภาคเอกชน และเพื่อให้โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับ ผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2552 การเคหะแห่งชาติจึงเน้นใช้แนวทางจัดซื้อโครงการแบบเบ็ดเสร็จจากผู้ประกอบการภาคเอกชนเป็นหลัก และก่อสร้างด้วยระบบอุตสาหกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--