สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กรกฎาคม 2567

ข่าวการเมือง Tuesday July 16, 2024 17:54 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (16 กรกฎาคม 2567)  เวลา 10.00 น.  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี  เป็นประธาน               การประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1  ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..)                                         พ.ศ. .... (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร)
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

พ.ศ. ....

                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย                                                   ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    4.          เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า                                        คุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์ ใบอนุญาตค้า                                                  สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว และใบอนุญาตการ                                                  ได้มาซึ่งการครอบครองสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าดังกล่าว พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับ                                                  วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง

การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    7.           เรื่อง           มาตรการในการแก้ไขปัญหาการทุจริตแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2568

                    8.           เรื่อง           รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ

พ.ศ. 2558 ประจำปี 2565

                              9.          เรื่อง            รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 6 - 11 กรกฎาคม 2567)
                              10.           เรื่อง           ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการห้ามใช้ประโยชน์ใน                                                  พื้นที่ป่าชายเลนเพื่อดำเนินโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากบางปะกง                                        ไปโรงไฟฟ้าพระนครใต้
                    11.           เรื่อง           การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน                                        เฉพาะกิจ
                    12.           เรื่อง           แนวทางในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติเพื่อ                                                  รองรับการเกษียณผ่านโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ
                    13.           เรื่อง           การแยกบัญชีโครงการให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือ                                                  ประชาชนรายย่อยและโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up                                         ของธนาคารออมสินเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account :                                         PSA)
                    14.           เรื่อง           การเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายในการพิจารณาของ                                                  คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี                                        งบประมาณ พ.ศ. 2568
                    15.           เรื่อง           ปรับปรุงการมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ                                         พ.ศ. 2568
                    16.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาการดำเนินงานของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร                                        เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
                    17.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 1                                         ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    18.           เรื่อง           โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567

ต่างประเทศ

19.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน                               ครั้งที่ 11  และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
20.           เรื่อง           รายงานผลการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นของรองนายกรัฐมนตรีและ                                                  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
21.           เรื่อง           รายงานผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐ                                        ประชาชนจีนของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
22.           เรื่อง           การทบทวนแนวปฏิบัติการดำเนินการภายในของไทยในการพิจารณาให้ความ                                        เห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียน
23.           เรื่อง           การดำเนินการตามมติข้อตัดสินใจในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วย                                        การควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 16                               การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมี                                        ล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสัตว์บาง                                        ชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 11 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา                                        สตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 11
24.           เรื่อง           ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยว

ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 3

25.           เรื่อง           ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วย                              การพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable                                                   Development: HLPF)  ประจำปี ค.ศ. 2024
26.           เรื่อง           บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) ด้านความ                                        ร่วมมือในการกำกับการแข่งขันทางการค้าระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการ                                        แข่งขันทางการค้าและองค์กรกำกับดูแลแข่งขันทางการค้าแห่งสาธารณรัฐ                                        ฟิลิปปินส์ (Philippine Competition Commission)
27.           เรื่อง           ร่างแผนปฏิบัติการ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) สำหรับสาขาความร่วมมือด้าน                                        ทรัพยากรน้ำ ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง
                    28.           เรื่อง           ร่างตราสารแก้ไขและต่ออายุความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์                                                  และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา

แต่งตั้ง
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัด                                                  ประชุมและนิทรรศการ
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการ                                        ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....                       (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ ดังนี้

                       1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..)                  พ.ศ. .... (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)                   ตรวจพิจารณาแล้ว
                     2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญ                    ของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1.

ทั้งนี้ ศย. เสนอว่า

1. ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว ยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการกำหนดให้ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากร เพื่อให้คู่ความดำเนินคดีไปคราวเดียวไม่ต้องแยกไปดำเนินคดีในอีกศาลหนึ่ง และการให้ศาลภาษีอากรซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษด้านภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากรจะเป็นผลให้การดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากรมีความถูกต้องและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

                      2. ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว โดยมีการรับฟังความคิดเห็นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี และในชั้นการตรวจพิจารณาของ สศก. ได้มีการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ของ สคก. (www.krisdika.go.th) รวมทั้งจัดทำหนังสือเพื่อขอความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้จัดทำรายงาน                 การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562)                        เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว
                     3. ศย. ได้เสนอแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ข้อกำหนดคดีภาษีอากร                             (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งจะเป็นการกำหนดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลางโดยอนุมัติประธานศาลฎีกาออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญาได้
                     4. ศย. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอ พร้อมกับการขออนุมัติ                         ต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่าค่าใช้จ่าย                ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ และด้านลงทุนจะต้องใช้งบประมาณในระยะ 3 ปีแรก ประมาณ 108,082,038 บาท (กรณีที่ปรับปรุงอาคารที่ทำการศาล) หรือประมาณ 358,082,038 บาท (กรณีที่ก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่)

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดบทนิยามคำว่า ?คดีภาษีอากร? ใหม่ และกำหนดให้ศาลภาษีอากร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากร โดยให้คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร รวมทั้งอาจมีพระราชกฤษฎีกากำหนดมิให้คดีความผิดหนึ่งความผิดใด อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรก็ได้ ตลอดจนให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับในกระบวนการพิจารณาคดีด้วยโดยอนุโลม

2. แก้ไขเพิ่มเติมการรับทราบกำหนดนัดของศาลเฉพาะในคดีภาษีอากรที่มิใช่คดีอาญา

                     3. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในคดีภาษีอากร                  โดยให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม



2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา                           ผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สศก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ สธ. เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 8  สิงหาคม 2566 และ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการออกกฎกระทรวงขึ้นใหม่เพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษ และโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2553 ในส่วนการโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ (โดยยกเลิก ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 11 ของกฎกระทรวงฉบับเดิม) นอกจากนี้ ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวยังคงมีหลักการเช่นเดียวกับกฎกระทรวงฉบับเดิม และแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดบางประการ เช่น กำหนดคำนิยามคำว่า ?โฆษณา? และคำว่า ?ใบอนุญาต? ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และขยายขอบเขตของผู้มีสิทธิขออนุญาตในการโฆษณา โดยไม่จำกัดเฉพาะสถานพยาบาลที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการยื่นคำขออนุญาตให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนปรับปรุงแบบคำขอและใบอนุญาตต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด (เดิม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและ                    ยากำหนด) เป็นต้น ทั้งนี้ สธ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว ประกอบกับคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดเห็นชอบด้วยแล้ว
                     ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป                 จึงอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย                   พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองตามประมวลกฎหมายยาเสพติดภายในระยะเวลา 2 ปี                 นับแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมาย                 ยาเสพติดออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ร่างกฎกระทรวง   ในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 8 ธันวาคม 2567

ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                      1. สธ. ได้ยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา                         ผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. ยกเลิกบทบัญญัติ          ? ยกเลิกข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 10 และข้อ 11 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษ และโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2553
2. คำนิยาม          ? กำหนดนิยามคำว่า ?โฆษณา? หมายความว่า การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความ ภาพ เสียง หรือเครื่องหมายที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้
? กำหนดนิยามคำว่า ?ใบอนุญาต? หมายความว่า ใบอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับ                    การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
3. ผู้มีสิทธิขออนุญาต          ? ผู้ที่จะประสงค์โฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด (ไม่จำกัดเฉพาะสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) ให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การโฆษณาชื่อ คุณวุฒิ หรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล      ยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
(2) การโฆษณาชื่อ ที่ตั้ง หรือกิจการของสถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานพื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
(3) การโฆษณาเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์สมุนโทร เครื่องมือแพทย์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้เกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
(4) การโฆษณาแจ้งข่าวสารหรือแจ้งกิจกรรมในวันสำคัญ
4. การยื่นคำขอ           ? การยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาต พร้อมด้วยข้อมูล เอกสารหรือหลักฐาน เช่น หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอรับใบอนุญาตที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ และข้อความ เสียง ภาพ หรือภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียงหรือภาพที่ประสงค์จะโฆษณา
? การยื่นคำขอ การแจ้ง และการติดต่อใด ๆ และการออกเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยหากมีเหตุ              ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการดังกล่าวได้ ให้ดำเนินการ ณ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด สธ. หรือให้ยื่น ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งท้องที่นั้นตั้งอยู่ หรือสถานที่อื่น ตามที่ปลัด สธ. กำหนด
? แบบคำขอและใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่ปลัด สธ. กำหนด
5. การพิจารณาคำขออนุญาต           ? กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน                ให้ผู้อนุญาต (เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา) แจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด โดยหากผู้ขออนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป และให้ผู้อนุญาตจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
? กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานถูกต้องครบถ้วน                   ให้ผู้อนุญาตพิจารณาและออกใบอนุญาตให้ภายใน 30 วัน โดยให้แจ้งผลการพิจารณา              ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้

1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

มท. เสนอว่า

                      1. สืบเนื่องจากได้มีการออกกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือ               ตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นการรวบรวมและปรับปรุงข้อกำหนดเรื่องป้ายให้เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะของป้ายในขณะนั้น โดยมีการกำหนดความสูงและแนวร่นของป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร และป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรง ดังนี้
                                1.1 ป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร ยกเว้นป้ายชื่ออาคารที่สูงไม่เกิน 3 เมตร                    ให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้

1.1.1 จะต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกอาคาร

1.1.2 มีความสูงของป้ายไม่เกิน 6 เมตร และมีความสูงของป้ายและอาคารรวมกันไม่เกิน 30 เมตร เมื่อวัดจากระดับพื้น และ

1.1.3 มีพื้นที่ป้ายไม่เกิน 75 เมตร

                               1.2 ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรงต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดในทางราบจากขอบป้ายไปจนถึงกึ่งกลางของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้น มีความสูงไม่เกินกว่า    30 เมตร มีความยาวไม่เกิน 32 เมตร และห่างจากแนวเขตที่ดินของตนหรือป้ายอื่นไม่น้อยกว่าความสูงของป้าย เว้นแต่จะก่อสร้างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 6 เมตร และได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง    ด้านนั้น

2. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ที่ นร 0403/ (กร 2)/12844 ลงวันที่ 20 กันยายน 2565 แจ้งว่านายกรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กราบเรียนสรุปผลการประชุมหารือเรื่องสมาคมป้ายและโฆษณา ขอความอนุเคราะห์พิจารณามาตรการผ่อนผันการปฏิบัติเกี่ยวกับป้ายโฆษณาหรือสิ่งที่สร้างขึ้น สำหรับติดหรือตั้งป้าย โดยมอบให้กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณดำเนินการทบทวนกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้าย พ.ศ. 2558 เนื่องจาก

                               2.1 การกำหนดขนาดของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายในพื้นที่หรือที่ดินในปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการ หากกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างขึ้นในบริเวณด้านหน้าของป้ายที่มีความสูงเกินกว่า 30 เมตร จะทำให้บดบังการมองเห็นป้ายได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ กฎกระทรวงฯ ได้กำหนดขนาดป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นต้องมีความสูงไม่เกินกว่า 30 เมตร มีความยาว               ไม่เกิน 32 เมตร
                               2.2 ในกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่า 30 เมตร จะส่งผลให้ไม่สามารถติดตั้งป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารได้ เนื่องจากปัจจุบันกฎกระทรวงฯ ได้กำหนดขนาดของป้ายจะต้องมีความสูงไม่เกิน               6 เมตร และมีความสูงของป้ายและอาคารรวมกันไม่เกิน 30 เมตร เมื่อวัดจากระดับพื้น
                     3. คณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีคำสั่ง ที่ 6/2565 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการทบทวนกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2558 เพื่อพิจารณายกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับความสูง และแนวร่นของป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารและป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับ   ติดหรือตั้งป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อเป็นการผ่อนปรนให้ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่มีอยู่ก่อนกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2558 ใช้บังคับและมีความมั่นคงแข็งแรงสามารถขออนุญาตก่อสร้างได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด และคณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีมติเห็นชอบ              ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว
                     4. ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมขนาดความสูงของป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารและป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรง และผ่อนปรนข้อกำหนดบางประการให้ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่มีอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2558 ใช้บังคับและ                 มีความมั่นคงแข็งแรงสามารถขออนุญาตก่อสร้างได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ดังต่อไปนี้

4.1 แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับความสูงและแนวร่นของป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร และป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรง ดังนี้

                                         4.1.1 ป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกอาคาร มีความสูงของป้ายไม่เกิน 6 เมตร และมีพื้นที่ป้ายไม่เกิน 75 ตารางเมตร (ไม่นำความสูงของอาคารมาพิจารณาด้วย เพื่อให้พิจารณาแต่เฉพาะความสูงของป้าย) ปัจจุบันกำหนดให้ป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารต้อง                  ไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกอาคาร มีความสูงของป้ายไม่เกิน 6 เมตร และมีความสูงของป้ายและอาคารรวมกันไม่เกิน 30 เมตร เมื่อวัดจากระดับพื้น และมีพื้นที่ป้ายไม่เกิน 75 เมตร
                                         4.1.2 กำหนดขนาดความสูงของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งป้ายบนพื้นดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกิน 30 เมตร ยาวไม่เกิน 32 เมตร และต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินด้านที่ไม่อยู่ใกล้ถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าความสูงของป้าย เว้นแต่ในกรณีที่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 6 เมตร ต้องได้รับ                   ความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านนั้น (เพื่อให้ขนาดความสูงของป้ายที่ก่อสร้างริมถนนสาธารณะ ไม่ถูกจำกัดความสูงที่ต้องวัดในทางราบจากขอบป้ายไปจนถึงกึ่งกลางของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้น) ซึ่งปัจจุบันกำหนดให้ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรงต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่               วัดในทางราบ1 จากขอบป้ายไปจนถึงกึ่งกลางของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้น ต้องมีความสูงไม่เกิน 30 เมตร                  ยาวไม่เกิน 32 เมตร

4.1.3 ผ่อนปรนเงื่อนไขสำหรับป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่มีอยู่ก่อนกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้าย ฯ พ.ศ. 2558 ใช้บังคับ ให้สามารถขออนุญาตก่อสร้างได้ ดังนี้

                                         (1) ให้ดำเนินการตามข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะ ขนาด ระยะ ความสูง                    แนวร่น และพื้นที่ ตามที่กฎหมายกำหนดในขณะที่ก่อสร้างป้ายนั้น เช่น ป้ายที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2550                        จะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยในกรณีที่ป้ายนั้นเป็นป้ายที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารจะต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร และส่วนบนสุดของป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายต้องสูงไม่เกิน 6 เมตร จากส่วนสูงสุดของหลังคา หรือดาดฟ้าของอาคารที่ติดตั้งป้ายนั้น หรือในกรณีที่ป้ายนั้นเป็นป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดจากจุดที่ติดตั้งป้ายไปจนถึงกึ่งกลางถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้นที่สุด และมีความยาวของป้ายไม่เกิน 32 เมตร ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่ (1) ป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร และ (2) ต้องไม่เพิ่มพื้นที่และความสูงของป้าย
                                         (2) เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายดังกล่าว ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างภายใน                  180 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงใหม่ใช้บังคับ พร้อมหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดที่แสดงได้ว่าเป็นป้ายที่มีอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายฯ ใช้บังคับ ได้แก่ (1) หลักฐานการตรวจสอบป้ายตามมาตรา 32 ทวิ2                   (2) หลักฐานการเสียภาษีป้าย และ (3) หลักฐานอื่น ๆ ซึ่ง มท. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
1 กฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม                 อาคาร พ.ศ. 2558
ข้อ 16 กำหนดให้ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะเมื่อวัดในทางราบให้มีระยะห่างระหว่างขอบป้ายกับถนนสาธารณะ ดังนี้
(1) ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ขอบป้ายห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร
(2) ถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตร แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ขอบป้ายห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ
(3) ถนนสาธารณะที่มีความกว้างเกิน 20 เมตร ให้ขอบป้ายห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
2 มาตรา 32 ทวิ ปัญญัติให้เจ้าของอาคาร ดังต่อไปนี้
(1) อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
(2) อาคารชุมนุมคน
(3) อาคารตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคาร อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และการจัดแสงสว่าง ระบบการเตือน                  การป้องกันและการระงับอัคคีภัย การป้องกันอันตรายเมื่อมีเหตุชุลมุนวุ่นวาย ระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเครื่องกล หรือระบบอื่น ๆ ของอาคารที่จำเป็นต่อการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ที่มีผล               ต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน แล้วรายงานผลการตรวจสอบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์ ใบอนุญาตค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว และใบอนุญาตการได้มาซึ่งการครอบครองสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าดังกล่าว พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์ ใบอนุญาตค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว และใบอนุญาตการได้มาซึ่งการครอบครองสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าดังกล่าว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ทส.เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง การครอบครองและการนำเคลื่อนที่เพื่อการค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง และซากของสัตว์ป่าคุ้มครองและการค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2551 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตในการเพาะพันธุ์ การครอบครองและนำเคลื่อนที่เพื่อการค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากสัตว์ป่าโดยกำหนดประเภทของสัตว์ป่าที่ต้องขออนุญาตดำเนินการดังกล่าว ได้แก่ สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งมิได้กำหนดให้ครอบคลุมถึงสัตว์ป่าควบคุม ต่อมาพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มีบทบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา 116 บัญญัติให้บรรดากฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดังนั้น ส่งผลให้กฎกระทรวงดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
                    2. โดยที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 บัญญัติให้คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้รับโอนใบอนุญาตเพาะพันธุ์ ใบอนุญาตค้าและใบอนุญาตครอบครอง ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับปัจจุบันเกิดความนิยมมากขึ้นในการดำเนินการเกี่ยวกับการครอบครอง การเพาะพันธุ์ หรือการค้า ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว จนนำมาสู่การประกอบธุรกิจหรือการดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องดังกล่าว แต่ยังไม่มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลจากหน่วยงานภาครัฐที่เหมาะสม อีกทั้งยังมีความยุ่งยากและความซ้ำซ้อนของการขออนุญาตและการพิจารณาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้รับอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์ หากประสงค์จะค้าสัตว์ป่าก็ต้องได้รับใบอนุญาตค้าอีกใบหนึ่งด้วย อันส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ขอรับใบอนุญาตเกินสมควร ดังนั้น เพื่อให้มีมาตรการควบคุมและกำกับดูแลการเพาะพันธุ์ การค้า และการครอบครอง ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (อนุสัญญาไซเตส) รวมถึงเป็นการลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ทส. จึงมีความจำเป็นต้องยกร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์ ใบอนุญาตค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว และใบอนุญาตการได้มาซึ่งการครอบครองสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าดังกล่าว พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์การค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว การครอบครองสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าดังกล่าว รวมถึงสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าวที่เป็นสัตว์น้ำ ทั้งนี้ ในคราวประชุมคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
                    3. เนื่องจากร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ก่อนที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (27 พฤศจิกายน 2562) ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 อย่างไรก็ตาม ทส. ได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่ ทส. เสนอ
                    4. ทส. ได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 และแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (ฉบับที่ 2)                    พ.ศ. 2565 แล้ว โดยได้นำร่างกฎกระทรวงฯ รับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไชต์ระบบกลางทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 3 ? 17  เมษายน 2566 รวมทั้งได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็น พร้อมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไชต์ระบบกลางทางกฎหมาย

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์                           ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับ                     ความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานอัยการสูงสุดไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอว่า ได้พิจารณาร่างกฎกระทรวงที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว และยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวต่อไป โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เพื่อเป็นการกำหนดกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดและตำรับวัตถุออกฤทธิ์ให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย รวมทั้งเพื่อเป็นการควบคุมและกำกับดูแลไม่ให้เกิดการรั่วไหลของยาเสพติดและนำไปใช้ในทางที่ผิด สรุปได้ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. ผู้ซึ่งจะขอขึ้นทะเบียน          - ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 3 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4
2. การยื่นคำขอขึ้นทะเบียน          - การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยแนบข้อมูลและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การยื่นคำขอ การแจ้ง และการติดต่อใด ๆ และการออกเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยหากมีเหตุไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการดังกล่าวได้ ให้ดำเนินการ ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สธ. หรือสถานที่อื่น ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
3. การพิจารณาคำขออนุญาต          - กรณีที่คำขอขึ้นทะเบียน รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วนให้แจ้งให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยหากผู้ขอขึ้นทะเบียนไม่แก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ขอขึ้นทะเบียนไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไปและให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
- กรณีที่คำขอขึ้นทะเบียน รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้พิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 300 วัน โดยให้แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ
- กรณีที่ประสงค์จะต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียน ให้ยื่นคำขอภายใน 180 วัน                     ก่อนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนเดิมหมดอายุ และให้พิจารณาคำขอต่ออายุใบสำคัญ                     การขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน
4. อายุใบอนุญาต          - กำหนดให้อายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนมีอายุ 7 ปี (เดิมกำหนดให้มีอายุ 5 ปี)
5. ค่าธรรมเนียม          - ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(1) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับ ฉบับละ 5,000 บาท (เดิมฉบับละ 2,000 บาท)
(2) การอนุญาตให้แก้ไขรายการขึ้นทะเบียนตำรับ ฉบับละ 1,500 บาท (เดิมฉบับละ 1,000 บาท)
(3) การต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับ เท่ากับกึ่งหนึ่งของคำธรรมเนียมสำหรับใบสำคัญนั้น
- ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน สภากาชาดไทย และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง   การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทยและ                       สำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    สธ. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 48 บัญญัติให้ในการดำเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้ หากเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลใดจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน หรือการควบคุมโรค ให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้นั้นตามความจำเป็น ซึ่งการชดเชยความเสียหายดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการกำหนดมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยให้สอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (International Health Regulations 2005 : IHR) ซึ่งเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม สธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง                 การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. .... เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายในกรณีการดำเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลใดจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรค อันจะเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเสียหายของประชาชนที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
                              1.1 กำหนดให้ในกรณีที่มีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อแล้วเกิดความเสียหายขึ้น ให้ดำเนินการกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
                                        (1) ในกรณีที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้รายงานด้วยตนเอง ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นในเขตจังหวัด ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดรายงานต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รายงานต่อคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ต้องดำเนินการภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความเสียหาย
                                        (2) ในกรณีผู้เสียหายหรือทายาทโดยธรรมของผู้เสียหายได้ยื่นคำขอรับค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายด้วยตนเอง ให้ผู้เสียหายยื่นคำขอที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หากความเสียหายเกิดขึ้นในเขตจังหวัด หรือสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร หากเกิดความเสียหายขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร โดยต้องยื่นคำขอภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความเสียหาย โดยให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หรือผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รายงานต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
                              1.2 กำหนดให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่พิจารณากำหนดค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหายโดยให้คำนึงถึงสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ ประโยชน์ที่ผู้เสียหายได้รับ รวมถึงโอกาสที่ผู้เสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายในทางอื่นด้วย ซึ่งต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน และหากมีเหตุจำเป็นอาจขยายระยะเวลาออกไปอีกได้ไม่เกิน 30 วันนับแต่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โดยกำหนดให้พิจารณาค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหาย ดังนี้
                                        (1) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
                                        (2) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
                                        (3) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ให้จ่ายในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่จังหวัดที่ประกอบการงาน ณ วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
                                        (4) ในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครพิจารณากำหนดค่าทดแทน เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้เสียหายนั้น ดังต่อไปนี้
                                                  (4.1) ค่าทดแทน ให้จ่ายเป็นเงินจำนวนตั้งแต่ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
                                                  (4.2) ค่าจัดการศพ ให้จ่ายเป็นเงินจำนวน 20,000 บาท
                                                  (4.3) ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ให้จ่ายเป็นเงินจำนวนไม่เกิน 30,000 บาท
                                        (5) ค่าเสียหายอื่นนอกจาก (1) (2) (3) และ (4) ให้จ่ายเป็นเงิน ตามจำนวนที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 30,000 บาท                                                  (6) ในกรณีความเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของผู้เสียหาย ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครคำนึงถึงสภาพของทรัพย์สินนั้น ราคาตามท้องตลาด หรือราคาอ้างอิงจากทางราชการในวันที่เกิดความเสียหายและปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดความเป็นธรรม
                              1.3 ในกรณีที่กำหนดค่าชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือทรัพย์สินของผู้เสียหายแล้ว ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครดำเนินการ ดังนี้
                                        (1) ในกรณีที่ค่าทดแทนความเสียหายเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 400,000 บาท ให้เสนอเรื่องไปยังกรมควบคุมโรคเพื่อพิจารณากำหนดค่าทดแทนและดำเนินการเบิกจ่ายค่าทดแทนต่อไป
                                        (2) ในกรณีที่ค่าทดแทนความเสียหายเป็นจำนวนเงินเกินกว่า 400,000 บาท ให้เสนอเรื่องไปยังกรมควบคุมโรคเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติพิจารณากำหนดค่าทดแทน โดยให้                  กรมควบคุมโรคดำเนินการเบิกจ่ายค่าทดแทนต่อไป
                              1.4 ในกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือทรัพย์สินของผู้เสียหายต่อเนื่องกันหลายจังหวัดหรือระหว่างจังหวัดกับกรุงเทพมหานคร ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี รายงานต่อกรมควบคุมโรคภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือวันที่ได้รับคำขอจากผู้เสียหาย และให้กรมควบคุมโรคเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
                    2. สธ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมควบคุมโรค (www.law2.ddc.moph.go.th) และเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) และได้จัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎกระทรวงดังกล่าว รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็น และการวิเคราะห์ผลกระทบแก่ประชาชนเรียบร้อยแล้ว
                    3. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับจึงอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ออกไปอีก                           1 ปี นับแต่วันที่ครบกำหนด จนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567

เศรษฐกิจ-สังคม
7. เรื่อง มาตรการในการแก้ไขปัญหาการทุจริตแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบทั้ง 2 ข้อตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอและแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ทราบต่อไป ดังนี้
                    1. รับทราบสรุปผลการดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการในการแก้ไขปัญหาการทุจริตแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (มาตรการฯ) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำความเห็นจากที่ประชุมไปดำเนินการ
                    2. ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 เรื่อง มาตรการในการแก้ไขปัญหาการทุจริตแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงาน ป.ป.ท. รายงานว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2567) รับทราบมาตรการฯ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ และมอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อมาสำนักงาน ป.ป.ท. ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (12 มีนาคม 2567) โดยในครั้งนี้สำนักงาน ป.ป.ท. ได้รายงานผลการพิจารณาตามมาตรการฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 สำนักงาน ป.ป.ท. ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 73 หน่วยงาน ได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (3 เป้าหมาย                    8 ตัวชี้วัด 22 มาตรการ) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) (รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงาน ป.ป.ท. ในขณะนั้น) เป็นประธาน ซึ่งผลการพิจารณามาตรการฯ ในภาพรวมมีหน่วยงานที่เห็นด้วยกับมาตรการฯ และไม่ขอแก้ไข จำนวน 60 หน่วยงาน มีหน่วยงานที่ขอแก้ไข จำนวน 11 หน่วยงาน เช่น ขอปรับปรุงแก้ไขเป้าหมายและตัวชี้วัด กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ ขอปรับปรุงแก้ไขหน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินการ และมีหน่วยงานที่ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จำนวน 2 หน่วยงาน [สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และ สลค.] มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. การปรับปรุงแก้ไขในรายละเอียดตามมาตรการฯ (ส่วนที่ 5)
มาตรการฯ เช่น
[ตามมติคณะรัฐมนตรี (20 กุมภาพันธ์ 2567)]          ความเห็นของหน่วยงาน/มติของที่ประชุม
เป้าหมายที่ 1 : ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต
ตัวชี้วัดที่ 1.2 : สัดส่วนประชาชนที่มีวัฒนธรรมค่านิยมสุจริต มีทัศนคติและพฤติกรรมในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบต่อประชาชนทั้งหมด (ค่าเป้าหมาย : ร้อยละ 84)
มาตรการที่ 1 : ส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต และมีส่วนร่วมต่อการทุจริตและประพฤติมิชอบ
การดำเนินการ : สร้างการรับรู้และความตระหนักในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการบริหารภาครัฐ
หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน ก.พ.ร.
          ความเห็นของหน่วยงาน :
สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอขอแก้ไข เป้าหมายของการดำเนินการ
จากเดิม กลุ่มเป้าหมายมีการรับรู้การบริหารงานภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ เปิดเผย โปร่งใส และตอบสนองประชาชน เป็น กลุ่มเป้าหมายมีการรับรู้การพัฒนาระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตัวชี้วัด จากเดิม กลุ่มเป้าหมายผ่านการประเมินร้อยละ 80 เป็น กลุ่มเป้าหมายผ่านการประเมินร้อยละ 84
มติของที่ประชุม : รับข้อเสนอไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 1.3 : สัดส่วนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐต่อหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด (เกณฑ์ 85 คะแนนขึ้นไป) (ค่าเป้าหมาย : ร้อยละ 100)
มาตรการที่ 2 : การยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานระดับต่ำกว่ากรม1
การดำเนินการ : พัฒนาเครื่องมือและแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของหน่วยงานระดับต่ำกว่ากรมที่นำเครื่องมือฯ ไปปรับใช้ตามบริบทของหน่วยงาน โดยศึกษาวิเคราะห์ผลการประเมิน ITA ของหน่วยงานในประเด็นที่ต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การให้บริการ การอำนวยความสะดวก และตอบสนองต่อประชาชนได้ดียิ่งขึ้น
หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน ป.ป.ช. กค. (กรมสรรพากรและกรมศุลกากร) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) มท. (กรมที่ดิน) ศธ. [สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)] สธ. (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)          ความเห็นของหน่วยงาน :
กรมศุลกากร ไม่ขัดข้องต่อมาตรการฯ ทั้งนี้ เพื่อให้การประเมิน ITA ของหน่วยงานระดับต่ำกว่ากรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขอให้สำนักงาน ป.ป.ท. พิจารณาจัดทำเครื่องมือในการประเมินฯ เช่นเดียวกับที่ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมที่ได้เคยเสนอแก่สำนักงาน ป.ป.ช. ใน                          ร่างมาตรการฯ ครั้งที่ผ่านมา
มติของที่ประชุม : รับข้อเสนอไปดำเนินการ

เป้าหมายที่ 2 : คดีทุจริตและประพฤติมิชอบลดลง
ตัวชี้วัดที่ 2.1 : คดีทุจริตในภาพรวม (ค่าเป้าหมาย : ลดลงร้อยละ 30)
ตัวชี้วัดที่ 2.2 : คดีทุจริตรายหน่วยงาน [ข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ถูกชี้มูลเรืองวินัย (ทุจริต) และข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ถูกชี้มูลว่ากระทำการทุจริต (ค่าเป้าหมาย : ลดลงร้อยละ 30)
ตัวชี้วัดที่ 2.3 : คดีทุจริตที่เกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งท่างการเมือง (ค่าเป้าหมาย : ลดลงร้อยละ 40)
มาตรการที่ 7 : การพัฒนาและส่งเสริมจริยธรรมทางการเมือง
การดำเนินการ :
(1) พัฒนากลไกและแนวทางในการกำหนดให้
นักการเมืองแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต รวมถึงการพัฒนาค่านิยมของนักการเมืองและยกระดับการมีจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กกต. สผ. สว.และสถาบันพระปกเกล้า
          ความเห็นของหน่วยงาน :
สว. เสนอขอแก้ไขหน่วยงานรับผิดชอบ จากเดิม สำนักงาน กกต. สผ. สว. และสถาบันพระปกเกล้า เป็น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ สำนักงาน กกต. และหน่วยงานร่วมดำเนินการ คือ สถาบันพระปกเกล้า สผ. และ สว. ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (แผนปฏิบัติการฯ)
มติของที่ประชุม : รับข้อเสนอไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) กำกับดูแลการปฏิบัติตามจริยธรรมทางการเมือง
หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กกต. สผ. สว. และสำนักงาน ป.ป.ช.          ความเห็นของหน่วยงาน :
สว. เสนอขอแก้ไข (1) เป้าหมายของการดำเนินการ จากเดิม พรรคการเมืองสามารถปฏิบัติตามจริยธรรมทางการเมือง เป็น นักการเมืองหรือพรรคการเมืองสามารถปฏิบัติตามจริยธรรมทางการเมือง (2) ตัวชี้วัด จากเดิม ร้อยละการดำเนินงานของพรรคการเมืองในการปฏิบัติตามจริยธรรมทางการเมือง เป็น ร้อยละการดำเนินงานของนักการเมืองหรือพรรคการเมืองในการปฏิบัติตามจริยธรรมทางการเมือง และ (3) หน่วยงานรับผิดชอบ จากเดิม ได้แก่ สำนักงาน กกต. สผ. สว. และสำนักงาน ป.ป.ช. เป็น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ สำนักงาน กกต. และหน่วยงานร่วมดำเนินการ คือ สถาบันพระปกเกล้า สผ. และ สว. เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ
มติของที่ประชุม : รับข้อเสนอไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(3) ติดตามและประเมินผลการกำกับดูแลการปฏิบัติตามจริยธรรมทางการเมือง
หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กกต. สผ. สว. และสำนักงาน ป.ป.ช.
          ความเห็นของหน่วยงาน :
สว. เสนอขอแก้ไข (1) เป้าหมายของการดำเนินการ จากเดิม ดำเนินการติดตามและประเมินผลหน่วยงานหรือพรรคการเมืองสามารถปฏิบัติตามจริยธรรมทางการเมือง เป็น ดำเนินการติดตามและประเมินผลหน่วยงานหรือนักการเมืองหรือพรรคการเมืองสามารถปฏิบัติตามจริยธรรมทางการเมือง (2) ตัวชี้วัด จากเดิม ระดับความสำเร็จในการติดตามและประเมินผลหน่วยงานหรือพรรคการเมืองสามารถปฏิบัติตามจริยธรรมทางการเมือง เป็น  ดำเนินการติดตามและประเมินผลหน่วยงานหรือนักการเมืองหรือพรรคการเมืองสามารถปฏิบัติตามจริยธรรมทางการเมือง เนื่องจากเป็นลักษณะต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภาในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองจึงเห็นว่าต้องปรับให้สอดคล้องกับกฎหมายที่กำหนดไว้และ (3) หน่วยงานรับผิดชอบ จากเดิม ได้แก่ สำนักงาน กกต. สผ. สว. และสำนักงาน ป.ป.ช. เป็น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ สำนักงาน ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ท. และหน่วยงานร่วมดำเนินการ ให้ระบุหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ
มติของที่ประชุม : รับข้อเสนอไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาตรการที่ 9 : การสร้างความโปร่งใส่ในระบบงบประมาณของหน่วยง่านภาครัฐ
การดำเนินการ : พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความโปร่งใสในระบบงบประมาณ
หน่วยงานรับผิดชอบ : กค. (กรมบัญชีกลาง) สงป. สำนักงาน ก.พ. สศช.
          ความเห็นของหน่วยงาน :
สำนักงาน ก.พ. เสนอขอให้ตัดสำนักงาน ก.พ. ออกจากการเป็นหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เกี่ยวกับการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสร้างมาตรฐานที่โปร่งใสในระบบงบประมาณของหน่วยงานรัฐ เนื่องจากไม่มีความเกี่ยวข้องกับภารกิจดังกล่าว
มติของที่ประชุม : เห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
มาตรการที่ 10 : การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความโปร่งใส่ในการปฏิบัติงาน
การดำเนินการ : ขับเคลื่อนการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานและสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว สามารถลดระยะเวลาในการดำเนินงานหรือการพิจารณาอนุมัติ อนุญาตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หน่วยงานรับผิดชอบ : กค. (กรมบัญชีกลาง) ทส. (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) กระทรวงอุตสาหกรรม (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)
          ความเห็นของหน่วยงาน :
กค. (กรมบัญชีกลาง) เห็นว่าเนื่องจากกรมบัญชีกลางยังอยู่ระหว่างพัฒนาระบบฯ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถใช้งานได้จริงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 จึงเห็นควรนำตัวชี้วัด ?หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน พึงพอใจต่อการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 70? ไปกำหนดเป็นตัวชี้วัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 และขอเพิ่มตัวชี้วัด ?กรมบัญชีกลางสามารถเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างได้ตามมาตรฐานสากล Open Contracting Data Standard (OCDS)?
มติของที่ประชุม : เห็นชอบให้ปรับลดค่าเป้าหมายตัวชี้วัด ?หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน พึงพอใจต่อการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน? จากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 70 แต่ให้คงเป็นตัวชี้วัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเห็นชอบให้เพิ่มตัวชี้วัดตามที่กรมบัญชีกลางเสนอ
มาตรการที่ 11 : การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการตามมาตรการ ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
การดำเนินการ
(1) การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ?ข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารและอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว?
หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กสทช. มท. [องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร (กทม.) การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค] คค. (กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท) ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้งในส่วนรัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชน
          ความเห็นของหน่วยงาน :
สำนักงาน กสทช. เสนอขอให้ตัดสำนักงาน กสทช.ออกจากการเป็นหน่วยงานรับผิดชอบตามข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารฯ เนื่องจากภารกิจดังกล่าวไม่อยู่ในขอบเขตหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน กสทช. ทั้งนี้ หากเห็นควรคงสำนักงาน กสทช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดนิยามเป้าหมาย/ตัวชี้วัด เกณฑ์การวัดเชิงปริมาณต่อไป นอกจากนี้ ยังเห็นว่าที่ผ่านมาการจัดระเบียบสายสื่อสารมีปัญหาและอุปสรรค เช่น ศักยภาพและกำลังคนไม่เพียงพอ ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้ เนื่องจากหน่วยงานที่ทำหน้าที่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ไม่อนุญาตให้ดำเนินการ
มติของที่ประชุม : รับข้อเสนอไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ?ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน?
หน่วยงานรับผิดชอบ : กษ. [สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมปศุสัตว์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk Board)] มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กทม.) ศธ. (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สพฐ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน) สธ. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) สำนักงาน ป.ป.ท. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
          ความเห็นของหน่วยงาน :
กษ. (กรมปศุสัตว์) เห็นด้วยกับมาตรการฯ โดยมีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะฯ เช่น ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลโครงการฯ รายปี มีกลไกป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต เช่น มีคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงพื้นที่ระดับจังหวัด จัดชุดทำงานเฉพาะกิจเพื่อตรวจนับนมยูเอชทีที่จะส่งมอบให้กับเด็กนักเรียนในช่วงปิดเทอม เมื่อได้รับข้อมูลความเสี่ยงในการทุจริต จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และนำมาพัฒนาหลักเกณฑ์ในทุกปีการศึกษา ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า โครงการฯ ควรมีการวิเคราะห์กระบวนงานและการประเมินความเสี่ยงการทุจริตโดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงการทุจริตที่สำนักงาน ป.ป.ท. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการเพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนมาตรการฯ อีกทางหนึ่งด้วย
มติของที่ประชุม : รับข้อเสนอไปดำเนินการ
เป้าหมายที่ 3 : การดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ
- ไม่มีหน่วยงานขอปรับปรุงหรือแก้ไข -
ความเห็น/ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
ความเห็นของหน่วยงาน :
- สคก. เห็นด้วยกับมาตรการฯ เป็นส่วนใหญ่ และมีความเห็นเพิ่มเติมบางส่วน เช่น มาตรการที่กำหนดมีแผนงานจำนวนมากส่งผลต่อการดำเนินการให้สำเร็จตามแผนงานภายในหนึ่งปี การกำหนดแผนงานจึงควรมุ่งเน้นในส่วนที่เป็นมาตรการในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างของปัญหาการทุจริต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการบูรณาการข้อมูลแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเกิดความรวดเร็วในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต
- สลค. เห็นควรให้สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อลดความซับซ้อนในการดำเนินการ เช่น การกำหนดแนวทางการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงทุจริตให้เป็นมาตรฐานและมีหลักเกณฑ์แบบเดียวกัน รวมถึงเรื่องที่มีลักษณะเดียวกันควรใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เช่น การรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าพนักงานของรัฐ การรายงานการรับของขวัญ การรายงานข้อร้องเรียนการทุจริต
มติของที่ประชุม : รับข้อเสนอไปดำเนินการ
                    2. การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมส่วนอื่น ๆ ในเอกสารมาตรการฯ เช่น (1) ส่วนที่ 1 ข้อมูลสถานการณ์การทุจริต สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลผลการประเมินค่าคะแนน CPI ให้เป็นปัจจุบัน (ตามที่องค์กรโปร่งใสนานาชาติได้ประกาศไว้ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566) (2) ส่วนที่ 3 การดำเนินงานที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน (3) ส่วนที่ 6 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ สคก. เห็นว่าควรมีการพิจารณาอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจในการขับเคลื่อนมาตรการฯ ทั้งนี้ ส่วนที่ 2 ข้อมูลกฎหมาย ระเบียบ และแผนที่เกี่ยวข้อง และส่วนที่ 4 บทวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตแบบบูรณาการ ไม่มีหน่วยงานขอปรับหรือแก้ไขเพิ่มเติม
                    3. ที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับค่าคะแนน CPI ประจำปี พ.ศ. 25663 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนภาพลักษณ์การทุจริตหรือการรับรู้การทุจริตของประเทศต่าง ๆ โดยประเทศไทยได้รับคะแนน 35 คะแนน และอยู่ในลำดับที่ 108 ของโลก พบว่า ข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนที่ให้มีการแก้ไขเร่งด่วน คือ ปัญหาการเรียกรับสินบน ดังนั้น หน่วยงานต่าง ๆ ต้องแสวงหาวิธี แนวทาง และมาตรการใหม่ ๆ ที่จะสามารถขับเคลื่อนและยกระดับค่าคะแนน CPI ของไทยได้จริง
                    4. มติของที่ประชุม
                              4.1 ให้สำนักงาน ป.ป.ช. รับความเห็นของหน่วยงานไปพิจารณาปรับมาตรการฯ ให้สอดคล้องกับความเห็นจากที่ประชุม
                              4.2 หน่วยงานที่มีการดำเนินการสอดคล้องกับมาตรการฯ ซึ่งบรรจุในแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของหน่วยงานแล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ
                              4.3 การดำเนินการที่ยังไม่ถูกบรรจุในแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของหน่วยงาน ให้สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. จัดทำแผนขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนน CPI เพื่อขับเคลื่อนมาตรการในการแก้ไขปัญหาการทุจริตแบบบูรณาการในระยะต่อไป โดยให้แสวงหาวิธีการ แนวทางและมาตรการใหม่ๆ ที่จะสามารถขับเคลื่อนค่าคะแนน CPI ได้จริง
                              4.4 การดำเนินการผ่านองค์กรอิสระที่มีข้อสังเกตเกี่ยวกับขอบเขตของอำนาจและหน้าที่ขององค์กร ให้สำนักงาน ป.ป.ช. หารือร่วมกับองค์กรอิสระเพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนมาตรการฯ ต่อไป
1 สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร สถานีตำรวจ และอำเภอ
2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ
3 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 รับทราบรายงานผลการวิเคราะห์ดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี พ.ศ. 2566 (CPI 2023) และรายงานผลการขับเคลื่อนการยกระดับค่าคะแนน CPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามที่สำนักงาน ป.ป.ท. เสนอ




8. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2565 (รายงานผลการปฏิบัติงานฯ) ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ สทพ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. คณะกรรมการ สทพ. รายงานว่า คณะกรรมการ สทพ. ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่               4 กันยายน 2566 [โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายจุติ ไกรฤกษ์ ในขณะนั้น) ปฏิบัติหน้าที่ประธานในการประชุม] ได้มีมติเห็นชอบรายงานผลการปฏิบัติงานฯ และนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการ สทพ. ได้เห็นชอบรายงานดังกล่าวและให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
                    2. รายงานผลการปฏิบัติงานฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2565 พระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้มีกลไกคุณะกรรมการ 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการ สทพ.1 คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.2) และคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ3 มีผลการปฏิบัติงาน ดังนี้
คณะกรรมการ          ผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565
1. คณะกรรมการ สทพ.           - กำหนดมาตรการและแผนงานที่สำคัญ เช่น จัดทำข้อเสนอแนะและคู่มือตัวอย่างที่ดีในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เช่น การจัดให้มีห้องสุขาสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อให้หน่วยงานราชการและสถานประกอบการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ พิจารณาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ วลพ. จำนวน 4 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การจำกัดสิทธิการแต่งกายและไว้ทรงผมตามเพศสภาพในการเข้าเรียน สอบวัดผลการฝึกปฏิบัติงาน และการรับพระราชทานปริญญาบัตร รวมถึงการใช้รูปถ่ายตามเพศสภาพในการขอเอกสารทางการศึกษา (2) การจัดห้องพักในการอบรม การประชุม สัมมนา สำหรับผู้ที่แสดงออกแตกต่างจากเพศกำเนิด (3) การไม่สามารถใช้คำนำหน้านามตามเพศสภาพในบัตรประจำตัวประชาชน และ (4) การจำกัดสิทธิการใช้รูปถ่ายเครื่อง              แบบข้าราชการพลเรือนตามเพศสภาพในการทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ
- พัฒนากลไกและกระบวนการในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยเห็นชอบแผนปฏิบัติการและการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวงเงิน 6.8 ล้านบาท                          เพื่อช่วยเหลือ คุ้มครอง และป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ รวมทั้งส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
2. คณะกรรมการ วลพ.           รับพิจารณาคำร้องที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ จำนวน 3 เรื่อง โดยผู้ร้องเป็นเพศหญิง 1 ราย และผู้ที่แสดงออกแตกต่างจากเพศกำเนิด 2 ราย โดยมีประเด็นคำร้อง ดังนี้ (1) ข้อบังคับของหน่วยงานด้านกฎหมายจำกัดสิทธิการสวมกางเกงในการปฏิบัติหน้าที่ (มีคำวินิจฉัยแล้ว)4 (2) หน่วยงานภาครัฐไม่อนุญาตให้เปลี่ยนการปฏิบัติหน้าที่เวรกลางคืนเป็นกลางวันและไม่ให้ใช้                  รูปถ่ายตามเพศสภาพในบัตรประจำตัวข้าราชการ  (มีคำวินิจฉัยแล้ว)5/ และ                        (3) เจ้าหน้าที่สถาบันฝึกอบรมเรียกชื่อผู้แสดงออกแตกต่างจากเพศกำเนิดโดย                       ใช้คำนำหน้านามและสรรพนามแทนตัวตามเพศกำเนิด (อยู่ระหว่างการพิจารณา)
3. คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ          กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศได้รับงบประมาณประจำปี 2565 จำนวน 7.3 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายและก่อหนี้ผูกพัน จำนวน 5.7 ล้านบาท และคงเหลือ จำนวน 1.6 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินงานใน 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ (1) การขจัดการเลือกปฏิบัติและความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ               (เช่น การจัดกิจกรรมสานพลังเครือข่ายร่วมขจัดการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ : Gender Fair เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติหน่วยงานตัวอย่างด้านการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ) (2) กรสร้างความตระหนักเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศในสังคม (3) การสนับสนุนโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และ (4) การบริหารกองทุนฯ

                              2.2 ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ
                                        2.2.1 การดำเนินงานตามมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน6 มีหน่วยงานที่ถูกร้องว่ามีการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน จำนวน 11 หน่วยงาน โดยหน่วยงานดังกล่าวได้มีการดำเนินการตามแนวทางของมาตรการฯ แล้ว แบ่งเป็น                      (1) หน่วยงานที่มีการจัดตั้งกลไกร้องทุกข์ในหน่วยงานและแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและคณะกรรมการสอบวินัยเพื่อสอบสวนวินัยและพิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิด จำนวน 2 หน่วยงาน (2) หน่วยงานที่มีการพูดคุยปรับความเข้าใจและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร้อง จำนวน 1 หน่วยงาน (3) หน่วยงานที่อยู่ระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริง/สอบสวนทางวินัย จำนวน 5 หน่วยงาน และ (4) หน่วยงานที่มีการกำหนดแนวทางการดำเนินการจัดการการร้องเรียนประเด็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศของหน่วยงานในสังกัด                                  จำนวน 1 หน่วยงาน
                                        2.2.2 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) พบว่า หน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานมีการดำเนินงานสอดคล้องกับแผนงานหลักทั้ง 4 แผน ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมให้สังคมปรับหลักคิดความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในความเท่าเทียมระหว่างเพศ (2) ส่งเสริมให้มีการสร้างพลังเกิดขึ้นแก่เพศสภาพ (3) ส่งเสริมให้ทุกองค์กรมีนโยบาย กฎ ระเบียบ และกลไกต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และ (4) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมในการสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศ รวมทั้งสิ้น 154 โครงการ แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลยุทธ์และ                 เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในภาพรวมพบว่า แผนปฏิบัติการดังกล่าวยังไม่มีการจัดทำโครงการที่บูรณาการระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ตลอดจนโครงการส่วนใหญ่ที่ดำเนินการเป็นภารกิจหลักของ พม. ทำให้การขับเคลื่อนการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศยังไม่ครอบคลุมทุกภาคส่วนและยังมีประเด็นที่ต้องขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องอีก เช่น การพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ การพัฒนากลไกความร่วมมือและเครือข่าย                    ในการคุ้มครองป้องกันการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศที่ครอบคลุมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน
                    3. ข้อท้าทายและการดำเนินงานในระยะต่อไป เพื่อให้การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ                      มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฯ ได้อย่างมีประสิทธิผล ควรมี                    การดำเนินการ ดังนี้ (1) บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อร่วมกันจัดทำนโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (2) ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ทำให้เกิดการจำกัดสิทธิและเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ (3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษาทุกระดับ และสื่อมวลซนต่าง ๆ ในการเผยแพร่ สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และตระหนักในความเท่าเทียมระหว่างเพศอย่างต่อเนื่อง และ (4) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะ    ต่าง ๆ มาขับเคลื่อนให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
1คณะกรรมการ สทพ. มีอำนาจหน้าที่ เช่น กำหนดนโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้มีการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น กำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือชดเชยและเยียวยา หรือบรรเทาทุกข์แก่บุคคลซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
2คณะกรรมการ วลพ. มีอำนาจหน้าที่ เช่น วินิจฉัยปัญหาที่มีการยื่นคำร้องว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น                        ธรรมระหว่างเพศ  กำหนดมาตรการชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัยเพื่อคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์
3คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศมีอำนาจหน้าที่ เช่น บริหารกองทุน การรับ                   การจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินกองทุน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการระดมทุน การลงทุน การจัดหาผลประโยชน์ และการจัดการกองทุน
4ผลการวินิจฉัย คือ ให้ผู้ถูกร้องกำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ร้อง
5ผลการวินิจฉัย คือ ไม่รับคำร้องไว้พิจารณาเนื่องจากเป็นการยื่นคำร้องซึ่งผู้ร้องยังมิได้เป็นผู้ได้รับหรือจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
6คณะรัฐมนตรีมีมติ (16 มิถุนายน 2558) เห็นชอบร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน และให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (21 เมษายน 2563) เห็นชอบร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานที่ปรับใหม่ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ

9. เรื่อง  รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 6 - 11 กรกฎาคม 2567)
                              คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 6 - 11  กรกฎาคม
2567) ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เสนอ
สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ                 ขอสรุปสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 6 - 11 กรกฎาคม 2567 มีดังนี้
1.          สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน
                    ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สภาวะลานีญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการคาดการณ์ว่าจะมีสถานการณ์ต่อเนื่องจนถึงเดือนกันยายนปี 2568
                    วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน
ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง
                    ในช่วงวันที่ 14 ? 17 กรกฎาคม 2567 จะมีร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและ              ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ                               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
          2. สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ
                    ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 11 กรกฎาคม 2567) มีปริมาณน้ำ 39,579 ล้านลูกบาศก์เมตร (49%) น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 1,049 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้การ 15,437 ล้านลูกบาศก์เมตร (27%) มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve)) 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำภูมิพล อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์และอ่างเก็บน้ำปราณบุรี และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุเก็บกัก จำนวน 85 แห่ง (จากทั้งหมด 369 แห่ง) ได้แก่ ภาคเหนือ 6 แห่ง (จาก 79 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 39 แห่ง (จาก 189 แห่ง) ภาคกลาง 7 แห่ง (จาก 11 แห่ง) ภาคตะวันออก 13 แห่ง                    (จาก 44 แห่ง) และภาคตะวันตก 15 แห่ง (จาก 24 แห่ง) และภาคใต้ 5 แห่ง (จาก 22 แห่ง)
3. สถานการณ์อุทกภัย
                    (1) ในช่วงวันที่ 6 ? 11 กรกฎาคม 2567 มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชน 6 จังหวัด ได้แก่                  (1) จังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา (หมู่บ้านอุดมสุขและ ม.3 ต.สุรศักดิ์) เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในช่วงกลางคืนวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 21.00 น. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ปัจจุบันเข้าสู่สภาวะปกติ
                     (2) จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอท่าปลา เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ สถานีบ้านน้ำรี ต.น้ำหมัน อ.ท่าปลา ปริมาณฝนสะสม 106.5 มม. ปัจจุบันเข้าสู่สภาวะปกติ
                    (3) จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม เนื่องจากมีฝนตกหนักบนอุทยานแห่งชาติ                เขาใหญ่โดยวัดปริมาณน้ำฝนได้ 120.0 มม.  ส่งผลให้เกิดสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากทำให้ระดับน้ำในคลองหนองแก้วมีระดับเพิ่มสูงขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค. 67  ในช่วง เวลา 00.00 - 02.00 น. มีระดับมากกว่า +14.00 ม.รทก.ซึ่งเป็นระดับน้ำวิกฤติ ปัจจุบันเข้าสู่สภาวะปกติ
                    (4) จังหวัดเลย อำเภอนาด้วง เนื่องจากเกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องส่งผลให้สถานี                 อบต.ท่าสะอาดมีปริมาณฝนสะสม 70.88 มม. ทำให้ระดับน้ำในลำน้ำสวยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเข้าสู่สภาวะปกติ
                    (5) จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอปางศิลาทอง ตำบลปางตาไว (บริเวณพื้นที่หมู่ที่ 5) เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง โดยวัดปริมาณน้ำฝนบริเวณสถานีบ้านตากฟ้า เวลา 16.00 น. มีปริมาณฝนสะสม 83.5 มม. และบริเวณสถานีบ้านไพรสวรรค์ เวลา 16.00 น. มีปริมาณฝนสะสม 62.0 มม. ปัจจุบันเข้าสู่สภาวะปกติ
                              (6) จังหวัดชลบุรี อำเภอบางละมุง ฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในช่วงเช้าวันที่                    11 กรกฎาคม 2567 เวลาประมาณ 09.00 น. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่เมืองพัทยา โดยมีน้ำท่วมขังประมาณ                  15 - 20 ซม. ที่หน้าปั๊มบางจาก พัทยาใต้ ถนนสุขุมวิท ปัจจุบันเข้าสู่สภาวะปกติ และมีน้ำท่วมขังประมาณ 70-80 ซม. ที่ถนนเลียบทางรถไฟแยกเขาตาโลมุ่งหน้าแยกวัดธรรม โดยระดับลดลงอย่างรวดเร็ว รถยนต์สามารถสัญจรได้ปกติและคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
                    (7) จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี เนื่องจากเกิดฝนตกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และ                น้ำจากอุทยานแห่งชาติทับลาน  อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไหลมาสมทบ ในช่วงวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 หนักส่งผลให้เกิดน้ำท่วมถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (นาดี-กบินทร์บุรี) บริเวณหน้าวัดโคกอุดม บริเวณโรงแรมเอกรวี                 โดยปัจจุบันเข้าสู่สภาวะปกติ
4. การแจ้งเตือนของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
          ในช่วงวันที่ 6 ? 11 กรกฎาคม 2567  สทนช. ได้ออกประกาศ แจ้งเตือน 1 ฉบับ ได้แก่  สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ ช่วงวันที่ 9 - 17 กรกฎาคม 2567 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น  ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต้องเฝ้าระวังบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ลุ่มต่ำ และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน ในบริเวณพื้นที่
                                        ภาคเหนือ  ได้แก่  จ.แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์
                                        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่ จ.เลย อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี
                              ภาคตะวันออก ได้แก่  จ.ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
                              ภาคใต้ ได้แก่  จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ยะลา และนราธิวาส
5. ผลดำเนินการตามมาตรการฤดูฝน ปี 2567
                    (1) ผลการคาดการณ์กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจำนวน 30 จังหวัด                       113 อำเภอ 379 ตำบล และมีพื้นที่ฝนทิ้งช่วงในช่วงเดือนกรกฎาคม จำนวน 29 จังหวัด 77 อำเภอ 252 ตำบล
                    (2) ผลการทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ ปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าวทุ่งบางระกำและ10 ทุ่งลุ่มต่ำเจ้าพระยา ทุ่งบางระกำ ปลูกแล้ว 0.265 ล้านไร่ (100% ของแผน) 10 ทุ่งลุ่มต่ำเจ้าพระยา ปลูกแล้ว 0.920 ล้านไร่ (97% ของแผน), จัดหาบึงรับน้ำเพิ่มเติมปริมาณ 43,000 ลบ.ม. และทบทวนปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำและเกณฑ์การระบายน้ำ 89 แห่ง
                    (3) ผลการเตรียมความพร้อม เครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ อาคารชลประทานรวม 2,935 แห่ง พร้อมใช้งาน 2,670 แห่ง (90.97%) พร้อมใช้งานบางส่วน 229 แห่ง (7.80%) กทม.ติดตามอุโมงค์ระบายน้ำพร้อมใช้งาน                4 แห่ง สถานีสูบน้ำ พร้อมใช้งาน 188 แห่ง กรมชลประทาน ติดตามสถานีโทรมาตรขนาดเล็กพร้อมใช้งาน 424 แห่ง (94.64%) กรมทรัพยากรน้ำติดตามสถานีตรวจวัดพร้อมใช้งาน 1,903 สถานี กรุงเทพมหานครฯ ติดตามสถานีเครือข่ายตรวจวัดพร้อมใช้งาน 535 แห่ง
                    (4) ผลการตรวจสอบพร้อมติดตามความมั่นคงปลอดภัยคันกั้นน้ำ ได้ดำเนินการติดตาม                  การตรวจสอบความมั่นคงคันกั้นน้ำ ทำนบ และพบว่าพร้อมใช้งาน 5,023 กิโลเมตร
                    (5) ผลการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำอย่างเป็นระบบ ได้ดำเนินการกำจัดผักตบชวา 4.6 ล้านตัน (แผน 8.19 ล้านตัน)
                    (6) ผลการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ การตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย ได้เตรียมความพร้อมกลไกและเตรียมพร้อมสนับสนุนการดำเนินการภายใต้ศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำเมื่อเกิดสถานการณ์ได้ทันที โดยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ได้ดำเนินการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้า และสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีการชี้เป้าที่ตั้งศูนย์ส่วนหน้าฯ รองรับสถานการณ์อุทกภัย ปี 2567 ที่จังหวัดระยอง และ นครราชสีมา
                    (7) ผลการดำเนินการเร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 28,200 บ่อ และสูบน้ำเข้ากักเก็บในอ่างเก็บน้ำโสกขุมปูน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 140,000 ลบ.ม.
                    (8) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ชุมชนต่าง ๆ สามารถรับมืออุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านกลไกคณะกรรมการลุ่มน้ำและองค์กรผู้ใช้น้ำจำนวน 12 ลุ่ม
                    (9) ผลการสร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์ ได้ดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง
                    (10) ผลการติดตามประเมินผล ปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย สทนช. ได้ดำเนินการติดตามประชุมประเมินสถานการณ์ทุกสัปดาห์
          6. การลงพื้นที่ตรวจราชการ
                    นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายจักรพงษ์  แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 เพื่อติดตามความพร้อมมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 โดยลงพื้นที่ตรวจสอบแนวกำแพงป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ณ วัดไชยวัฒนาราม การเตรียมความพร้อมแผนเผชิญเหตุ ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และเป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้าและสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 โดยมีข้อสั่งการ ดังนี้
                    (1) ให้ สทนช. ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมศิลปากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนการจัดทำแนวคันป้องกันน้ำท่วมโบราณสถานที่ยังไม่ได้รับการป้องกัน
                    (2) สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะในช่วงที่มีแนวโน้มจะเกิดวิกฤตให้ใช้กลไกศูนย์ส่วนหน้าเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยเน้นการดำเนินการต่างๆ เช่น ประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน เพื่อเตรียมการล่วงหน้าให้ทันเวลา การใช้พื้นที่หน่วงน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อลดผลกระทบพื้นที่ท้ายน้ำ รวมถึงปรับแผนเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนน้ำที่หลากมา เป็นต้น
                    (3) มอบ สทนช. ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาอุทกภัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายพื้นที่โบราณสถานที่เป็นมรดกโลก พื้นที่เศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่เขตเมือง ต้องไม่ประสบอุทกภัย
                    (4) มอบ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันน้ำท่วมให้พร้อมใช้งานทุกแห่งอย่างมีประสิทธิภาพ
                    (5) มอบ สทนช. กรมทางหลวง และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ศึกษาแนวทางการยกระดับถนนทางหลวงอุดมสรยุทธ์ก่อนบริเวณคันกั้นน้ำท่วมของนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ให้เท่ากับระดับถนนเอเชีย และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
                    (6) มอบ สทนช. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือเพื่อกำหนดการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
                    (7) สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวมอบ สทนช. กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาภายใต้แผนหลักการแก้ไขปัญหาด้านบริหารน้ำของประเทศโดยเสนอเป็นวาระน้ำแห่งชาติ และดำเนินการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมต่อไป
7. การเตรียมการรับมือ
                    สำหรับในช่วงวันที่ 12 ? 16 กรกฎาคม 2567 อิทธิพลของร่องมรสุมกำลังแรงที่จะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ สทนช.ได้จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล ที่จังหวัดนครราชสีมา และศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก และลุ่มน้ำบางปะกง ที่จังหวัดระยอง โดยจะเริ่มจัดตั้งในวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 และจะดำเนินการจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ

10. เรื่อง ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อดำเนินโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากบางปะกงไปโรงไฟฟ้าพระนครใต้
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ที่ห้ามมิให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนในทุกกรณี เพื่อให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน บริเวณแม่น้ำบางปะกง ตำบลบางปะกง และตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ประมาณ 3 - 0 ? 75 ไร่ สำหรับดำเนินโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากบางปะกงไปโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (โครงการฯ) ได้ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                    สำหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทนไม่น้อยกว่า 20 เท่า ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ได้รับอนุญาต ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณีการดำเนินการโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ. 2556 เนื่องจาก พน. โดย ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้จากธุรกิจก๊าซธรรมชาติและธุรกิจต่อเนื่อง จึงเห็นสมควรให้ ปตท. พิจารณาใช้จ่ายจากเงินรายได้ พร้อมทั้งขอให้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญ
                    โครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากบางปะกงไปโรงไฟฟ้าพระนครใต้ เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 ? 2580 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 (ครั้งที่ 153) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (22 มิถุนายน 2564) รับทราบมติ กพช. ดังกล่าวแล้ว โดยโครงการดังกล่าวจะดำเนินการในลักษณะของการวางท่อใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ขนาดท่อ 36 นิ้ว ระยะทางประมาณ 57 กิโลเมตร ตั้งแต่สถานีควบคุมความดันก๊าซธรรมชาติ BP4 ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ไปจนถึงโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ในพื้นที่ตำบลบางโปรง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการไปบางส่วนแล้ว
                    อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบพื้นที่การวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติของโครงการฯ พบว่า พื้นที่บางส่วนผ่านพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี โดยตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำบางปะกง ขนาดเนื้อที่ 3 ? 0 ? 75 ไร่ (5,100 ตารางเมตร) ซึ่งยังคงมีสภาพเป็นป่าชายเลนและมีพันธุ์ไม้ป่าชายเลนขึ้นอยู่ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเสนอขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ซึ่งกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้พื้นที่ป่าชายเลน โดยให้ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนทุกกรณีเพื่อให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนสำหรับดำเนินโครงการดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง (ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวยังมิได้เริ่มดำเนินการ) ทั้งนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) แล้ว โดยให้ ปตท. ดำเนินการตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA อย่างเคร่งครัด

11. เรื่อง การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. การกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่อัตราร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน เป็นระยะเวลา 1 ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2567 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567
                    2. ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ....
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศฯ
                    กค. รายงานว่า
                    1. สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันเริ่มคลี่คลายลงและสภาวะเศรษฐกิจได้เริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่ยังคงส่งผลต่อกลุ่มลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ประชาชนรายย่อยที่เป็นกลุ่มเปราะบาง และกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากที่ยังอยู่ระหว่างการฟื้นตัวและอาจไม่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงเป็นกลสำคัญในการประคับประคองเศรษฐกิจและยังคงต้องให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีข้อสั่งการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง จัดทำข้อเสนอโครงการหรือมาตรการใหม่ที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จะสามารถส่งผ่านการลดอัตราเงินนำส่งดังกล่าวเพื่อไปช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้อย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรม
                    2. ดังนั้น เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระต้นทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจและกำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่งผ่านการลดอัตราเงินนำส่งไปช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ประชาชนรายย่อยที่เป็นกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงลูกหนี้นอกระบบ กค. พิจารณาแล้วเห็นควรขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวม 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ ธอท. จากเดิมอัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนออกไปอีก 1 ปี (เนื่องจากประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2566 สำหรับการนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2566 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ? 31 ธันวาคม 2566) สิ้นสุดการใช้บังคับแล้ว ทำให้การนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจอยู่ที่อัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี) สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี                   พ.ศ. 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 และกลับมาใช้อัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี สำหรับรอบการนำส่งเงินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป
                    3. คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2567                  เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ได้พิจารณาทบทวนอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และมีมติ ดังนี้
                              3.1 เห็นชอบการขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ ธอท. โดยปรับลดอัตราเงินนำส่งลงกึ่งหนึ่งจากร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ออกไป                  อีก 1 ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2567 [แต่ละปีมีกำหนดการนำส่งเงินออกเป็น 2 งวด โดยนำส่งเงิน                 ร้อยละ 0.0625 ต่องวด แบ่งออกเป็นงวดที่ 1 (เดือนมกราคม - มิถุนายน 2567) จะต้องนำส่งเงินภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนสิงหาคม 2567 และงวดที่ 2 (เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567) จะต้องนำส่งเงินภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2568]
                              3.2 มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมกองทุนฯ ยกร่างประเทศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                                        3.2.1 ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำเข้าส่งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566 (ร่างข้อ 3)
                                        3.2.2 กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจในอัตรา (ร่างข้อ 4) ดังต่อไปนี้
                                                  (1) ร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน สำหรับ                  การนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2567
                                                  (2) ร้อยละ 0.25 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน สำหรับ                  การนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป
                                        3.2.3 กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป                    (ร่างข้อ 2)
                              3.3 ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง ได้จัดทำรายละเอียดโครงการหรือมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามข้อ 1. โดยสามารถส่งผ่านการลดอัตราเงินนำส่งดังกล่าวเพื่อไปช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ลูกหนี้ประชาชนรายย่อยที่เป็นกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเศรษฐกิจฐานราก และลูกหนี้นอกระบบ ประกอบด้วย (1) การลดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราผ่อนปรนพิเศษให้แก่ลูกหนี้เป็นการทั่วไป เช่น ลดอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้รายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate: MRR) เป็นต้น (2) การลดอัตราดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยค้างรับตามสัญญา และ (3) การเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ที่ทำให้เงินต้นของลูกหนี้ปรับลดลงในทุกงวดที่ผ่อนชำระ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ได้ประมาณ 5 ล้านบัญชี

12. เรื่อง แนวทางในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติเพื่อรองรับการเกษียณ                   ผ่านโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการตามแนวทางในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อรองรับการเกษียณผ่านโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ (โครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์1 (Completely Aged Society) และในปี 2576 คาดว่าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด2 (Super ? Aged Society) ซึ่งแนวโน้มของผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นมีผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมีนัยสำคัญและเป็นการเพิ่มภาระงบประมาณในการดูแลด้านหลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุด้วย แม้ว่าปัจจุบันระบบบำนาญและระบบสนับสนุนการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุจะครอบคลุมประชากรวัยทำงานทุกกลุ่มทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ แต่ความท้าทายหลักยังเป็นเรื่องของความไม่ยั่งยืนทางการเงินจากแนวโน้มภาวะเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต และความไม่เพียงพอของรายได้ที่จะได้รับจากระบบการออมต่าง ๆ ในวัยสูงอายุ3 ดังนั้น เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด โดยเฉพาะการดูแลประชาชนกลุ่มแรงงานนอกระบบ4 ไม่ให้อยู่ในภาวะยากจนในวัยชรา ลดภาวะพึ่งพิงของประชาชน และลดภาระงบประมาณของรัฐในการดูแลผู้สูงอายุ5 รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนากลไกการออมเพื่อรองรับการเกษียณสำหรับแรงงานนอกระบบและสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มแรงงานนอกระบบมีการสะสมเงินออมได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อใช้จ่ายในวัยสูงอายุ
                    2. นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ กค. ศึกษาแนวทางส่งเสริมการออมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเพิ่มแรงจูงใจให้กลุ่มแรงงานนอกระบบที่ยังไม่มีการออมให้เกิดความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณ โดยให้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาในโอกาสแรก ประกอบกับพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 มีบทบัญญัติที่ยังไม่ครอบคลุมการส่งเสริมการออมสำหรับแรงงานนอกระบบทั้งหมดจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวเพื่อขยายให้ครอบคลุมผู้ประกันตนมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเป็นกลไกการออมสำหรับแรงงานนอกระบบในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    3. คณะกรรมการ กอช. ในการประชุมวาระพิเศษเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 มีมติเห็นชอบแนวทางในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก กอช. เพื่อรองรับการเกษียณแก่ประชาชน รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์ผู้สูงอายุและโครงสร้างประชากรในประเทศโดยใช้วิธีดำเนินโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว กอช. จะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายได้เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับหลักการโครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ โดยมีรายละเอียดโครงการสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          (1) ขยายโอกาสให้ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 และกลุ่มแรงงานนอกระบบมีทางเลือกในการออมแบบสมัครใจเพิ่มมากขึ้น
(2) กระตุ้นและเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบการออมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณ
(3) ลดภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางที่อาจจะกลายเป็นคนยากจนในวัยเกษียณอายุ
(4) ลดภาระทางการคลังในระยะยาวสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งสามารถลดการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ผู้มีสิทธิซื้อสลาก          สมาชิก กอช. ปัจจุบัน6 ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบที่มีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
เป้าหมายของโครงการ          การมีจำนวนสมาชิกประเภท ช.7 ไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ภายในระยะเวลา 3 ปี (คาดว่าจะมีสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 0.36 - 21 ล้านคนต่อปี)
รูปแบบการดำเนินโครงการ          (1) ออกสลากเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านใบต่องวด (ต่อสัปดาห์) หรือ 260 ล้านใบ   ต่อปี โดยกำหนดออกรางวัลทุกวันศุกร์ (รวม 52 งวดต่อปี) ในราคาขายใบละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 250 ล้านบาทต่องวด หรือ 13,000 ล้านบาทต่อปี
(2) กำหนดรูปแบบสลากเป็นสลากดิจิทัล (สลากขูดดิจิทัล) โดยผู้ซื้อลงทะเบียนการซื้อและซื้อผ่านช่องทางอ่อนไลน์ในลักษณะแอปพลิเคชันที่ผูกกับบัญชีธนาคาร
ทั้งนี้ จำกัดการซื้อสลากต่อคนได้สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน หรือคนละไม่เกิน 60 ใบต่องวด
(3) จำนวนเงินที่ซื้อสลากจะถูกเก็บเป็นเงินสะสมเฉพาะบุคคล โดยจะได้รับเงินที่ซื้อสลากคืนทั้งหมดในรูปแบบเงินบำเหน็จเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ รัฐบาลจะไม่สมทบเงินให้กับผู้ซื้อสลากและไม่รับประกันผลตอบแทนจากการซื้อสลาก
(4) กอช. ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน (ด้านการรับเงินซื้อสลากและเก็บเป็นเงินสะสมให้กับสมาชิกเป็นรายบุคคล) รวมทั้งบริหารจัดการและดูแลข้อมูลสมาชิกประเภท ข. เช่น การจ่ายเงินรางวัล การคืนเงินให้สมาชิกประเภท ข. และการจ่ายเงินให้กับผู้รับผลประโยชน์กรณีสมาชิกประเภท ข. เสียชีวิตก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
(5) คณะอนุกรรมการด้านการลงทุน (แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ กอช.) ทำหน้าที่กำกับดูแลและบริหารเงินสะสมที่สมาชิกประเภท ช. ซื้อสลาก โดยจะบริหารเงินลงทุนภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง รวมทั้งมุ่งเน้นการลดความผันผวนของมูลค่าเงินลงทุน ทั้งนี้ กอช. จะหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน (Operating fee) ตามมติคณะกรรมการ กอช.
(6) เมื่อสมาชิกประเภท ข. อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ กอช. จะจ่ายเงินบำเหน็จผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือจ่ายเงินบำเหน็จให้กับผู้รับผลประโยชน์ผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีสมาชิกประเภท ข. เสียชีวิต)
ตัวอย่าง การซื้อสลากทุกเดือน จำนวน 3,000 บาท หรือ 60 ใบต่อเดือน
ช่วงอายุ (ปี)          จำนวนปีที่ซื้อสลาก (ปี)          เงินบำเหน็จที่จ่ายคืนเมื่อครบอายุ 60 ปี บริบูรณ์ (ล้านบาท)
15 - 60          45          1.62
20 ? 60          40          1.44
25 ? 60          35          1.26
30 ? 60          30          1.08
35 ? 60          25          0.90
40 ? 60          20          0.72
45 ? 60          15          0.54
50 ? 60          10          0.36
55 - 60          5          0.18

เงินรางวัล          (1) เงินรางวัลกรณีถูกรางวัลจะได้รับเมื่อประกาศผลตามวันเวลาที่คณะกรรมการ กอช. กำหนด
(2) กำหนดรูปแบบรางวัลต่องวด (1 สัปดาห์) รวมเงินรางวัล 780 ล้านบาทต่อปี ดังนี้
ประเภทรางวัล          จำนวน (รางวัล)          จำนวนเงินรางวัล          รวมเงินรางวัล
รางวัลที่ 1          5          1 ล้านบาท          5 ล้านบาท
รางวัลที่ 2          10,000          1,000 บาท          10 ล้านบาท
(3) การออกรางวัลจะดำเนินการโดย กอช. ร่วมกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
(4) การรับเงินรางวัล กอช. จะจ่ายเงินรางวัลให้กับผู้ถูกรางวัลผ่านบัญชีพร้อมเพย์หมายเลขบัตรประชาชนไม่เกินวันถัดไป
งบประมาณ          (1) โครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ ในปีแรกใช้งบประมาณ 830 ล้านบาท ประกอบด้วย
          (1.1) เงินรางวัลจำนวน 780 ล้านบาทต่อปี
          (1.2) การพัฒนาระบบเทคโนโลยี แอปพลิเคชัน ระบบ Clearing และระบบงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 ล้านบาท
          (1.3) โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบทะเบียนสมาชิก บุคลากร ระบบงานเพิ่มเติม จำนวน 30 ล้านบาท
(2) ขอรับการสนับสนุนเงินรางวัลจากรัฐบาล งวดละ 15 ล้านบาท รวม 780 ล้านบาทต่อปี
(คิดเป็นร้อยละ 6 ของเงินซื้อสลากที่สะสมเข้ากองทุนประมาณปีละ 13,000 ล้านบาท) หรือในจำนวนที่มีความเหมาะสมกับปริมาณการออกสลาก และความต้องการของสมาชิกเป้าหมาย
ทั้งนี้ แนวทางในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกเพื่อรองรับการเกษียณ ผ่านโครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ ดังกล่าว เป็นแนวทางเบื้องต้น ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
                    4. กอช. พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ จะช่วยให้แรงงานทั้งในและนอกระบบเข้าเป็นสมาชิกมากขึ้น และมีเงินจำนวนหนึ่งไว้ใช้ยามเกษียณอายุเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่สูญเปล่าเมื่อไม่ถูกรางวัล รวมทั้งสามารถช่วยลดภาระทางการคลังของรัฐบาลได้ในระยะยาวและยั่งยืน โดยเฉพาะในการดูแลด้านหลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า (เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ) ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวจะเป็นกลไกที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานเข้าสู่ระบบการออมเงินอันเป็นการเพิ่มทางเลือกในการออมเงินเพื่อรองรับการเกษียณ และเมื่อประชาชนกลุ่มนี้เกษียณอายุหรือพ้นวัยทำงานแล้วจะมีแหล่งเงินรายได้เพิ่มเติมที่จะสามารถนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีพได้นอกเหนือจากช่องทางการออมเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ กอช. จะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการดำเนินโครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ ได้ เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ในส่วนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน อาทิ การจำแนกคำนิยาม ประเภทสมาชิก กอช. แบบปัจจุบันและแบบซื้อสลากสะสมทรัพย์ การกำหนดวัตถุประสงค์ของ กอช. ในการส่งเสริมการออมโดยการขายสลากสะสมทรัพย์เพื่อจูงใจให้มีการซื้อสลากเพื่อเป็นการสะสมเงินอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นต้น
1 สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ เป็นสังคมที่ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม 2566 พบว่าไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 13.06 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 20.17 ของประชากรรวมทั้งประเทศ และมีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 8.90 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของประชากรรวมทั้งประเทศ
2สังคมสูงอายุระดับสุดยอด เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ
3 ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศรายได้ปานกลาง อีกทั้งการออมเงินและการออมในรูปแบบต่าง ๆ ของประเทศในภาพรวมยังอยู่ระดับต่ำ โดยผลการสำรวจทักษะการเงินของไทยปี 2565 ของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าสัดส่วนของคนไทยที่มีการวางแผนและเริ่มการออมเพื่อการเกษียณอายุมีแนวโน้มลดลงจากปี 2563 ที่ร้อยละ 66.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 61.1 โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z ที่พบว่าร้อยละ 53.5 ยังไม่ได้คิดหรือวางแผนการออมเพื่อการเกษียณ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงความพร้อมในการเกษียณซึ่งสะท้อนผ่านผู้ที่มีการวางแผนการออมเพื่อการเกษียณและทำได้ตามแผนที่วางไว้นั้น พบว่ามีเพียงร้อยละ 15.7 โดย Gen Baby Boomer ขึ้นไปมีสัดส่วนผู้ที่มีความพร้อมในการเกษียณสูงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่น แต่ก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 21.8 เท่านั้น
4 ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2566 พบว่า ภาพรวมสถานการณ์แรงงานนอกระบบมีจำนวน 21 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวเป็นสมาชิกผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 39 จำนวน 1.78 ล้านคน (ร้อยละ 8.48) มาตรา 40 จำนวน 10.47 ล้านคน (ร้อยละ 52.24) และเป็นสมาชิก กอช. 2.60 ล้านคน (ร้อยละ 12.38) ในขณะที่อีก 5.65 ล้านคน (ร้อยละ 26.90) ยังไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคมและสมาชิก กอช.
5 ภาระด้านงบประมาณของรัฐในการจัดสรรเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นแบบขั้นบันไดตามอายุ คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 ? 69 ปี ได้รับ 600 บาทต่อเดือน อายุ 70 ? 79 ปี ได้รับ 700 บาทต่อเดือน อายุ 80 - 89 ปี ได้รับ 800 บาทต่อเดือน และอายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไปได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รัฐต้องจัดสรรงบประมาณเป็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจำนวนมากกว่า 87,600 ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 93,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2566 จำนวน 5,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.16)
6 ปัจจุบัน กอช. มีสมาชิกสะสม ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 2.616 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ยังอยู่ในวัยทำงานแต่เป็นแรงงานนอกระบบหรือประกอบอาชีพอิสระ และยังไม่เข้าสู่ระบบการออมเงินเพื่อการเกษียณ
7 ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และระเบียบประกันสังคมว่าด้วยการรับสมัครและขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 พ.ศ. 2561 สามารถจำแนกสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกได้ 2 ประเภท ดังนี้ (1) สมาชิกประเภท ก. คือ สมาชิกปัจจุบันของ กอช. ซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 บริบูรณ์ และเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 (ไม่ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ) สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญ (ข้าราชการ ข้าราชการ กรุงเทพมหานคร และข้าราชการส่วนท้องถิ่น) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือเป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงที่รัฐบาลจ่ายเงินสมทบ และ (2) สมาชิกประเภท ข. คือ บุคคลสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 2 และ 3 (ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ) หรือเป็นบุคคลอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวง โดยรัฐบาลไม่จ่ายเงินสมทบ

13. เรื่อง การแยกบัญชีโครงการให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อยและโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสินเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแยกบัญชีโครงการให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อย และโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสินเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าทั่วไปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ทำให้ค่าครองชีพของประชาชนและต้นทุนในการประกอบอาชีพปรับตัวสูงขึ้น และยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ทำให้กำไรลดลงและประสบกับปัญหาด้านสภาพคล่อง ดังนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขและบรรเทาลง ธนาคารออมสินจึงได้ดำเนินโครงการให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อยและโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up (ซึ่งเป็นโครงการที่ธนาคารออมสินดำเนินการเองโดยไม่ได้ของบประมาณจัดสรรเพิ่มเติม) โดยมีรายละเอียด                 สรุปได้ ดังนี้
                    1. โครงการให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อย
สินเชื่อ          รายละเอียด
(1) กลุ่มสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย 4 มาตรการ
   (1.1) สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ประกอบธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์และเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้สร้างโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท (2 มาตรการ)
          (1.1.1) สินเชื่อ GSB D ? Home กระตุ้นเศรษฐกิจ          - อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3.99 ต่อปี
- ระยะเวลากู้ไม่เกิน 4 ปี
          (1.1.2) สินเชื่อ  GSB D ? Home สร้างบ้านเพื่อคนไทย          - อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3.5 ต่อปี
- ระยะเวลากู้ไม่เกิน 4 ปี
   (1.2) สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับกลุ่มประชาชนรายย่อยที่ต้องการซื้อหรือปลูกสร้างที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและลดความเหลื่อมล้ำของการมีที่พักอาศัยเป็นของตนเอง วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท (2 มาตรการ)
          (1.2.1) สินเชื่อบ้านออมสินเพื่อคนไทย เพื่อซื้อ/ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย            - อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 1.95 ต่อปี
- วงเงินกู้ไม่เกิน 7 ล้านบาท
          (1.2.2) สินเชื่อ Top Up เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน หรือสิ่งจำเป็นอื่นในการเข้าอยู่อาศัย          - อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3.49 ต่อปี
(2) กลุ่มสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อบรรเทาผลกระทบและแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนด้วยการ Refinance สินเชื่อที่มีดอกเบี้ยสูงในตลาด มาใช้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของธนาคารออมสิน ภายใต้โครงการ ?สินเชื่อรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม? ที่ดำเนินการภายในปี 2567 ประกอบด้วย 4 มาตรการย่อย
   (2.1) สินเชื่อรีไฟแนนซ์สำหรับกลุ่มลูกค้าฐานราก  (2 รายการ)
          (2.1.1) สินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Re - Nano) เพื่อชำระหนี้สินเชื่อ Nano Finance ที่กู้ไปเพื่อลงทุนประกอบอาชีพ
          - อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี (จากเดิม สูงสุดร้อยละ 33 ต่อปี)
- วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย
- ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 8 ปี โดยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมค้ำประกันสินเชื่อ
          (2.1.2) สินเชื่อรีไฟแนนซ์ สินเชื่อส่วนบุคคล (Re P - Loan) เพื่อชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล (P - Loan) ของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบัน การเงิน (Non - Bank)           - อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (จากเดิม สูงสุดร้อยละ 25 ต่อปี)
- วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย - ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 5 ปี
   (2.2) สินเชื่อรีไฟแนนซ์สำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อยบุคคล (2 มาตรการ)
          (2.2.1) สินเชื่อรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต (Re Card) เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตของสถาบันการเงินหรือ Non - Bank มาผ่อนชำระในรูปแบบเงินกู้ระยะยาว          - อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 8.99 ต่อปี (จากเดิมสูงสุดร้อยละ 16 ต่อปี)
- วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย
- ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 7 ปี
          (2.2.2) สินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย (Re ? Home) เพื่อไถ่ถอนจำนองที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น           - อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 1.95 ต่อปี (จากเดิมร้อยละ 6 ? 7 ต่อปี
- วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย
- ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 40 ปี


                              2. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์           เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ในด้านการลงทุนและเสริมสภาพคล่อง
วิธีดำเนินงาน          ธนาคารออมสินสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 100,000 ล้านบาท ให้แก่สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อรายไม่เกิน 40 ล้านบาท (รวมทุกสถาบันการเงิน) ทั้งนี้ ภายใต้วงเงินดังกล่าวธนาคารออมสิน สามารถให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการโดยตรงในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดียวกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน          ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจสามารถยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อรวมในโครงการจะหมด แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน โดยให้เบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2569
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up เป็นไปตาม วัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์โครงการ จึงเห็นควรขอความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์โครงการ โดยให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการสอบทานกระบวนการอนุมัติสินเชื่อและสุ่มสอบทานสินเชื่อรายลูกหนี้ในโครงการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการ พร้อมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการสอบทานดังกล่าวเป็นการเฉพาะแยกจากธุรกรรม สินเชื่อประเภท                 อื่น ๆ เป็นประจำทุกไตรมาสและรวบรวมรายงานดังกล่าวไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการสอบทานสินเชื่อสำหรับการเข้าตรวจสอบสถาบันการเงินประจำปีของ ธปท.
                    3. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการกำกับดูแล การตรวจสอบและการประเมินผล การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการทำหน้าที่เป็นกลไกของรัฐเพื่อฟื้นฟูและช่วยเหลือกลุ่มประชาชนและธุรกิจเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น กค. จึงเห็นควรเสนอการแยกบัญชีโครงการให้สินเชื่อดังกล่าวของธนาคารออมสิน (ตามข้อ 1. ? 2.) เป็นบัญชี PSA
* บัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ หมายถึง บัญชีที่จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกผลการดำเนินโครงการตามนโยบายของรัฐที่ดำเนินการผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยการบันทึกบัญชีจะแยกออกจากบัญชีการดำเนินธุรกรรมตามปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ หากเกิดความเสียหายจากการดำเนินโครงการตามนโยบายของรัฐ ผลการดำเนินโครงการจะไม่ถูกนำไปรวมกับผลการดำเนินการตามปกติของสถาบันการเงิน            เฉพาะกิจ

14. เรื่อง การเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทาง หลักเกณฑ์ แผนและขั้นตอนการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 และแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา               ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นั้น
                    ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าเมื่อการพิจารณาแล้วเสร็จจะปรับลดงบประมาณรายจ่ายลงได้จำนวนหนึ่ง สำนักงบประมาณจึงขอเสนอแนวทางและขั้นตอนการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังนี้
                    1. แนวทางและหลักเกณฑ์การเสนอขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้หน่วยรับงบประมาณเสนอคำขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เฉพาะรายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างแท้จริง สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ นโยบายสำคัญของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ที่ต้องดำเนินการภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังนี้
                              1.1 เป็นรายจ่ายที่ต้องดำเนินการตามข้อผูกพันที่เกิดจากกฎหมาย สัญญา ข้อตกลงระหว่างประเทศ และค่าใช้จ่ายเพื่อการชำระหนี้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายตามสิทธิ
                              1.2 เป็นรายจ่ายที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ส่งเสริมการบริโภคและการลงทุนในประเทศ และเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ โดยเป็นโครงการ/รายการที่เป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
                              1.3 เป็นรายจ่ายเพื่อการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รายจ่ายเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน หรือรายจ่ายที่ประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรง ตลอดจนรายจ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของหน่วยรับงบประมาณ โดยรายการที่เสนอขอเพิ่มงบประมาณต้องเป็นรายการที่มีอยู่ในคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                              โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
                                        (1) ไม่ควรทำให้เกิดภาระรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                                        (2) ไม่ควรผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีในปีต่อ ๆ ไป
                                        (3) หน่วยรับงบประมาณมีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที
                                        (4) หน่วยรับงบประมาณต้องเสนอโครงการ/รายการ ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานนั้น ๆ
                                        (5) ดำเนินการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
                    2. แนวทางและหลักเกณฑ์การเสนอขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย เฉพาะรายการที่หน่วยรับงบประมาณเสนอขอตั้งงบประมาณไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังนี้
                              2.1 มีกฎหมายกำหนดให้โอนภารกิจ ทั้งกรณีที่มีการจัดตั้งหน่วยรับงบประมาณขึ้นใหม่และไม่มีการจัดตั้งหน่วยรับงบประมาณ และกรณีเปลี่ยนชื่อหน่วยรับงบประมาณ
                              2.2 มีพระราชกฤษฎีการวมหรือโอนส่วนราชการเข้าด้วยกันที่ออกตามมาตรา 8 ทวิของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                              2.3 รายการที่หน่วยรับงบประมาณ ทบทวนเสนอปรับลดงบประมาณในส่วนที่หมดความจำเป็น หรือสามารถชะลอการดำเนินการได้ เพื่อไปดำเนินการโครงการ/รายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างแท้จริงตามนโยบายรัฐบาล อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
                              โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
                                        (1) ให้หน่วยรับงบประมาณเสนอขอปรับลดงบประมาณรายจ่ายเฉพาะในส่วนที่เป็นกรณีตามข้อ 2.1 - 2.3
                                        (2) ให้หน่วยรับงบประมาณเสนอขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายตามวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่ได้ปรับลดตามข้อ (1)
                              ทั้งนี้ ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง และขอเพิ่มงบประมาณ จะนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และสภาผู้แทนราษฎรเป็น  ผู้พิจารณาตามขั้นตอนของฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป
                    3. ขั้นตอนในการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของหน่วยรับงบประมาณ
                              3.1 ให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำคำขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                       พ.ศ. 2568 ที่ได้มีการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วว่าการดำเนินงานนั้นไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและให้เสนอขอรับความเห็นชอบต่อนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับ หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดและส่งสำนักงบประมาณ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรายละเอียดคำขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายในระบบ e - Budgeting ภายในวันศุกร์ที่                   26 กรกฎาคม 2567
                              กรณีการเสนอขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายแผนงานบูรณาการ ให้หน่วยรับงบประมาณเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเห็นชอบก่อนเสนอหน่วยงานเจ้าภาพ เพื่อรวบรวมเสนอรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบแผนงานบูรณาการนั้น ๆ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และหน่วยงานเจ้าภาพส่งสำนักงบประมาณ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรายละเอียดคำขอเพิ่มงบประมาณในระบบ e- Budgeting ภายในวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567
                              สำหรับกรณีการเสนอเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่ได้มีการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วว่าการดำเนินงานนั้นไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เสนอขอรับความเห็นชอบต่อนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับ หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และรวบรวมจัดส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567
                              3.2 สำหรับหน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาล หน่วยงานขององค์กรอิสระหรือองค์กรอัยการ ให้ยื่นคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยตรง ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานดังกล่าวบันทึกข้อมูลรายละเอียดตามที่ได้ยื่นคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการฯ ในระบบ e-Budgeting ภายในวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 ด้วย เพื่อสำนักงบประมาณจะได้ประมวลภาพรวมการขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อไป
                              3.3 ให้สำนักงบประมาณพิจารณาและจัดทำข้อเสนอรายละเอียดการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบใน               วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2567 และนำเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นผู้พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

15. เรื่อง ปรับปรุงการมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติปรับปรุงการมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ                      ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอดังนี้
                    ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 อนุมัติการจัดทำงบประมาณรายจ่าย                   บูรณาการ และมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นั้น
                    เนื่องจากคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2567 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2567                            เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี มีผลทำให้ผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการเปลี่ยนแปลงไปจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติไว้
                    ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และ                 การกำกับดูแลการบริหารงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 10 แผนงาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ จึงเห็นสมควรปรับปรุงการมอบหมายรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ให้สอดคล้องกับการมอบหมายและมอบอำนาจรองนายกรัฐมนตรี ดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
                    1. นายภูมิธรรม เวชยชัย จำนวน 2 แผนงาน คือ
                              1) แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                              2) แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                    2. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ จำนวน 2 แผนงาน คือ
                              1) แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์
                              2) แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
                    3. นายพิชัย ชุณหวชิร จำนวน 1 แผนงาน คือ
                              1) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล
                    4. นายอนุทิน ชาญวีรกูล จำนวน 2 แผนงาน คือ
                              1) แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                              2) แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
                    5. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ จำนวน 1 แผนงาน คือ
                              1) แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
                    6. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค จำนวน 2 แผนงาน คือ
                              1) แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด
                              2) แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริหารแห่งอนาคต

16. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินงานของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินงานของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิต                 ภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุนฯ) ออกไปเป็นระยะเวลา 20 ปี (ตั้งแต่วันที่                    20 กรกฎาคม 2567 - 19 กรกฎาคม 2567) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงถึงความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน ความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    ทั้งนี้ เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (20 กรกฎาคม 2547) เห็นชอบในหลักการของการจัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุนฯ) เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีในการพัฒนาโครงสร้างด้านเกษตร โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2548 - 2567 ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 อย่างไรก็ตาม กองทุนดังกล่าวยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินงานต่อไป เนื่องจากในปัจจุบันกองทุนฯ เป็นแหล่งทุนเพียงแห่งเดียวที่เป็นกลไกของรัฐที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเปราะบางและยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ที่ให้ มีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อนำไปเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตร และในขณะนี้กองทุนฯ อยู่ระหว่างการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับคู่เจรจาหลายประเทศ และอาจมีการเจรจากรอบการค้าเสรีอื่น ๆ เพิ่มเติมในอนาคต ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จึงมีความจำเป็นต้องขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินงานของกองทุนฯ ออกไปอีก20 ปี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีต่อไป

17. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง                                                                                                              สปน. รายงานว่า ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนที่มีมาถึงนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567                                                            1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111* รวมทั้งสิ้น 32,517 ครั้ง คิดเป็น 17,050 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ จำนวน 13,525 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 79.33 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน  3,525 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 20.67
                              1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้
                                        (1) ส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (1,877 เรื่อง) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) (1,501 เรื่อง) กระทรวงมหาดไทย (มท.) (750 เรื่อง) กระทรวงการคลัง (681 เรื่อง) และกระทรวงคมนาคม (468 เรื่อง)
                                        (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (153 เรื่อง) การประปาส่วนภูมิภาค (107 เรื่อง) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (102 เรื่อง) การไฟฟ้านครหลวง (87 เรื่อง) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (75 เรื่อง)
                                        (3) จังหวัดและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (796 เรื่อง) จังหวัดนนทบุรี (276 เรื่อง) สมุทรปราการ (186 เรื่อง) ปทุมธานี (156 เรื่อง) และชลบุรี (145 เรื่อง)
                    2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีเรื่องร้องทุกข์จำนวน 17,050 เรื่อง มากกว่าไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 2,611 เรื่อง (มีเรื่องร้องทุกข์ จำนวน 14,439 เรื่อง)
                              2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่
                                        (1) การนำเข้าและส่งออกสัตว์นอกราชอาณาจักร โดยขอให้นำช้างพลายประตูผากับพลายศรีณรงค์ที่ถูกส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรีที่สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกากลับสู่ประเทศไทย ซึ่ง สปน. ได้ประสานส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทส. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และ มท. รับทราบเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาแล้ว จำนวน 1,710 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,690 เรื่อง (ร้อยละ 98.83)
                                        (2) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน เช่น การเปิดเพลงเสียงดัง การแสดงดนตรีสด การรวมกลุ่มดื่มสุรา การรวมกลุ่มแข่งรถจักรยานยนต์ การจัดคอนเสิร์ต การจัดงานวัด รวม 1,608 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,471 เรื่อง (ร้อยละ 91.48)
                                        (3) ไฟฟ้า เช่น ปัญหาไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง ไฟฟ้าตกบ่อยครั้ง ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขอติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง ขอให้ตรวจสอบการคิดอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงกว่าปกติ ขอผันผ่อนการชำระค่าไฟฟ้า รวม 791 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 683 เรื่อง (ร้อยละ 86.34)
                                        (4) การเสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ เช่น นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเงินดิจิทัล 10,000 บาท นโยบายแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ รวม 730 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 662 เรื่อง (ร้อยละ 90.68)
                                        (5) ถนน เช่น ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมถนน ต้องปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์หรือถนนคอนกรีต เนื่องจากถนนชำรุด มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อ มีฝุ่นละอองจากการสัญจรของรถบรรทุก รวม 566 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 389 เรื่อง (ร้อยละ 68.73)
                                        (6) โทรศัพท์ เช่น การให้บริการทางโทรศัพท์ของหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรอสายนาน มีการต่อสายไปยังหน่วยงานย่อยภายในหลายครั้ง และคู่สายเต็ม รวม 561 เรื่อง ดำเนินการจนได้                    ข้อยุติ 450 เรื่อง (ร้อยละ 80.21)
                                        (7) ประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น ขอให้แก้ไขปัญหามิจฉาชีพหลอกลวงประชาชน หลอกลวงให้โอนเงิน หลอกลวงให้ซื้อสินค้า หลอกลวงให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจ รวม 488 เรื่อง ดำเนินการ                จนได้ข้อยุติ 313 เรื่อง (ร้อยละ 64.14)
                                        (8) น้ำประปา เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่ไหลหรือไหลอ่อนเป็นบริเวณกว้าง การขอขยายเขตการให้บริการ ท่อน้ำประปาแตกชำรุด น้ำประปาขุ่นและมีตะกอน รวม 436 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 377 เรื่อง (ร้อยละ 86.47)
                                        (9) ประเด็นเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง เสรีภาพ เช่น ขอความช่วยเหลือกรณีการถูกข่มขู่คุกคาม ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกหมิ่นประมาท รวม 409 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 319 เรื่อง                      (ร้อยละ 78)
                                        (10) การจัดระเบียบการจราจร เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด การจอดรถกีดขวางทางจราจร ขอให้แก้ไขปัญหาระบบสัญญาณไฟจราจร ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่มีการจัดงานเทศกาล กิจกรรมประจำปีและการเดินทางกลับภูมิลำเนา รวม 354 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 300 เรื่อง (ร้อยละ 84.75)
                    3. ปัญหาและความต้องการของประชาชนที่ร้องทุกข์/หน่วยรับการประสานเรื่องร้องทุกข์ ดังนี้
                              3.1 การดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 ต้องอาศัยการบูรณาการความร่วมมือในการทำงานของเครือข่ายต่าง ๆ ประกอบด้วยผู้นำการขับเคลื่อนการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ประจำหน่วยงาน (Chief Complaint Executive Officer: CCEO) เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานเรื่องราวร้องทุกข์ และเครือข่ายสายข่าว ซึ่ง สปน. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาลกับหน่วยงานเครือข่ายในหลายโครงการ โดยได้รับข้อเสนอแนะให้ สปน. จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณหรือรางวัลให้แก่หน่วยงานที่สามารถจัดการเรื่องร้องทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นต้นแบบสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ และเป็นการสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                              3.2 กรณีช้างพลายที่ส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรี เป็นประเด็นที่ประชาชนแสดงความคิดเห็นจำนวนมากและต่อเนื่องจากปีงบประมาณที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจกับปัญหานี้และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเป็นเรื่องละเอียดอ่อน รัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญและตรวจสอบข้อเท็จจริงและสื่อสารให้ประชาชนมั่นใจในความเป็นอยู่ของช้างพลาย
                              3.3 กรณีปัญหาความเดือดร้อนในชีวิตประจำวันและการใช้บริการสาธารณูปโภค เช่น เหตุเดือดร้อนรำคาญจากเสียงดังรบกวน ปัญหาไฟฟ้า น้ำประปา ถนนและโทรศัพท์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงาน บูรณาการทำงานร่วมกันและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดอัตราการร้องเรียนซ้ำ
                              3.4 ประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน กลุ่มมิจฉาชีพยังคงมีวิธีการหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อจนสูญเสียเงินและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการเชิงรุกร่วมกับการป้องกันและปราบปราม พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กลโกง/กลลวงของกลุ่มมิจฉาชีพ ให้ประชาชนทราบอย่างทันท่วงที และครอบคลุมทุกช่องทางและทุกพื้นที่
                    4. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน ดังนี้
                              4.1 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและแจ้งความคืบหน้าให้ประชาชนทราบตามระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งหาแนวทางเพื่อป้องกันการร้องเรียนซ้ำในประเด็นเดิม
                              4.2 มอบหมายให้ สปน. จัดให้มีการมอบประกาศเกียรติคุณหรือรางวัลให้กับหน่วยงานภาครัฐที่ดำเนินการเรื่องร้องทุกข์เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อเป็นการสร้างต้นแบบที่ดี    (Best Practice) โดยจะพิจารณาจากการเข้ารับงานในระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์และผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์จนได้ข้อยุติ หรือแนวทางอื่นใดที่มีความเหมาะสมที่จะส่งผลให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม
                              4.3 มอบหมายให้ กต. ประสานทางการทูตเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง สภาพความเป็นอยู่ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของช้างพลาย และสื่อสารให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าช้างพลายได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี หรือหากมีความจำเป็นต้องนำช้างพลายกลับประเทศ ขอให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำกลับคืนสู่ประเทศต่อไป
                              4.4 หน่วยงานควรมีการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรเชิงรุกกรณีมีประเด็นที่เป็นกระแสสังคม อีกทั้งกรณีที่มีการดำเนินนโยบาย/มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ควรสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน
* ได้แก่ (1) สายด่วนของรัฐบาล 1111 (2) ตู้ ปณ. 1111/ไปรษณีย์/โทรสาร (3) ไลน์สร้างสุข (@PSC1111)                        (4) โมบายแอปพลิเคชัน PSC1111 (5) จุดบริการประชาชน 1111 และ (6) เว็บไซต์ (www.1111.go.th)

18. เรื่อง โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี (โครงการฯ) ปีการผลิต 2567 ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่                   13 มิถุนายน 2567 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ประกอบด้วย
                    1. วงเงินที่รัฐบาลอุดหนุนจำนวน 1,612.16 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) วงเงินงบประมาณที่รัฐบาลอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย Tier 1 จำนวน 1,569.32 ล้านบาท และ (2) วงเงินที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาล และเงินชดเชยจากรัฐบาลตามจำนวนที่จ่ายจริงรวมกับต้นทุนเงิน โดยคิดอัตราชดเชยด้วยอัตราต้นทุนทางการเงินจากรัฐบาล ในอัตราต้นทุนทางการเงินของ                ธ.ก.ส. ประจำไตรมาส บวก 1 (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 2.73) จำนวน 42.84 ล้านบาท
                    2. วงเงินที่ ธ.ก.ส. อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. จำนวน 690 ล้านบาท
                    สาระสำคัญ
                    เดิมกระทรวงการคลัง (กค.) (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการฯ1 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กษ. สำนักงาน คปภ. และสมาคมฯ) ตั้งแต่ปีการผลิต 2554 จนถึงปี 2565 โดยมี ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานกลางในการจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งโครงการฯ เป็นรูปแบบการประกันภัยข้าวนาปีสำหรับรายย่อย (Micro Insurance) ที่รัฐบาลจะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่เกษตรกรส่วนหนึ่ง และ ธ.ก.ส. จะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่เกษตรกรลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. อีกส่วนหนึ่ง ต่อมาได้มีการปรับรูปแบบการประกันภัยในปี 2562 โดยกำหนดเป็นการประกันภัยภาคพื้นฐาน (Tier 1) ซึ่งภาครัฐจะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยส่วนหนึ่ง และ ธ.ก.ส. จะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่เกษตรกรลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. อีกส่วนหนึ่ง และเพิ่มการประกันภัยภาคสมัครใจ (Tier 2) เพื่อให้เกษตรกรซื้อประกันภัยเองเพิ่มเติม ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง (5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
                    2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 พฤษภาคม 2565) เห็นชอบโครงการฯ ปีการผลิต 2565 ตามมติ นบข. ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมส่วนที่ 1 การรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และส่วนที่ 2 การรับประกันภัยภาคสมัครใจ (Tier 2) รวมจำนวน 29 ล้านไร่ ภายใต้วงเงินงบประมาณ จำนวน 1,925.07 ล้านบาท ตามที่ กค. เสนอ และให้ กค. รับความเห็นจาก สงป. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในการศึกษาแนวทางการปรับลดสัดส่วนการอุดหนุนของภาครัฐในการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการประกันภัยพืชผลมากขึ้น ซึ่ง กค. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ปีการผลิต 2566 เสนอ นบข. โดยกำหนดพื้นที่นำร่องให้เกษตรกรมีส่วนร่วมจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย 5 บาทต่อไร่ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้เกษตรกรเห็นถึงความสำคัญของการประกันภัย และจูงใจให้เกษตรกรในพื้นที่นำร่องเข้าร่วมโครงการฯ มากขึ้น รวมถึงปรับปรุงวิธีการอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับเกษตรกรลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. โดยให้การอุดหนุนสูงสุดไม่เกิน 30 ไร่ต่อราย เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมในการทำประกันภัยมากขึ้นด้วย แต่เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ทำให้การดำเนินโครงการฯ ที่เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (1) กำหนดไว้ว่าไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป เว้นแต่ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี ดังนั้นจึงทำให้ไม่มีการดำเนินโครงการฯ ในปีการผลิต 2566
                    3. ผลการดำเนินงานโครงการฯ ปีการผลิต 2565 ณ วันสิ้นสุดการจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 มีจำนวนเกษตรกรผู้เอาประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) จำนวน 1.93 ล้านราย จำนวนพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ 26.76 ล้านไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. จำนวน 26.50 ล้านไร่ และพื้นที่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่เกินสิทธิ์และเกษตรกรทั่วไป จำนวน 0.26 ล้านไร่) หรือคิดเป็นร้อยละ 93.91 ของจำนวนพื้นที่เป้าหมาย 28.50 ล้านไร่ และมีจำนวนผู้เอาประกันภัยเพิ่มเติม (Tier 2) จำนวน 6,865 ราย จำนวนพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ 89,496.75 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 17.90 ของพื้นที่เป้าหมาย 500,000 ไร่ โดยมีผลการจ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด 1,706.52 ล้านบาท แบ่งเป็น Tier 1 จำนวน 1,690.66 ล้านบาท และ Tier 2 จำนวน 15.86                    ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนของพื้นที่ไม่ประกาศภัย มีเกษตรกรประสบภัย จำนวน 18 ราย พื้นที่ 288.25 ไร่ จำนวนเงิน 0.16 ล้านบาท
                    4. นบข. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการฯ ปีการผลิต 2567 โดยให้ ธ.ก.ส. พิจารณาทบทวนเงื่อนไขการอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่เกษตรกรลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. และอัตราชดเชยต้นทุนทางการเงินให้สอดคล้องกับการดำเนินโครงการอื่น ๆ ของรัฐบาล2 ซึ่งหลักการโครงการฯ ปีการผลิต 2567 ดำเนินการรูปแบบเดียวกับโครงการฯ ที่ผ่านมา โดยให้เกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีของ ธ.ก.ส. ได้รับความคุ้มครองจากระบบการประกันภัยตามกฎจำนวนมาก3                  (Law of Large Numbers) และคงรูปแบบการรับประกันภัยส่วนเพิ่มเพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีส่วนร่วมในการรับภาระค่าเบี้ยประกันภัยเช่นเดียวกับการดำเนินงานโครงการฯ ในปีการผลิต 2562 - 2565 รวมทั้งเพิ่มเติมในส่วนของการเอาประกันภัยในพื้นที่นำร่องในราคาต่ำลง เพื่อจูงใจให้เกษตรกรจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพื้นที่นำร่องเป็นพื้นที่ความเสี่ยงภัยต่ำที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการทำประกันภัยโดยกำหนดเบี้ยประกันภัยที่จูงใจให้เกษตรกรร่วมจ่ายไม่เกิน 5 บาทต่อไร่ และผู้เอาประกันต้องเอาประกันภาคพื้นฐาน (Tier 1) ให้เต็มแปลงก่อน จึงจะสามารถเอาประกันภัยส่วนเพิ่ม (Tier 2) ในแปลงเพาะปลูกดังกล่าวได้                          ทั้งนี้ โครงการฯ ปีการผลิต 2567 มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          โครงการฯ ปีการผลิต 2567
(1) ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย          ธ.ก.ส.
(2) ผู้รับประกันภัย          บริษัทประกันวินาศภัยที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมการรับประกันผ่านสมาคมฯ
(3) ผู้เอาประกันภัย          เกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อ ที่ได้รับการสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัยจาก ธ.ก.ส. หรือเกษตรกรที่ไม่ได้รับการสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัยจาก ธ.ก.ส. และเกษตรกรทั่วไป
(4) ผู้รับประโยชน์          (4.1) กรณีเกษตรกรเป็นลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส.
          - เกษตรกรผู้เอาประกันภัย เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน
(4.2) กรณีเกษตรกรลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ซื้อเพิ่มเอง และเกษตรกรทั่วไป (ภาคสมัครใจ)
          - เกษตรกรผู้เอาประกันภัย
(5) อัตราเบี้ยประกันภัย Tier1 (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) และพื้นที่เป้าหมาย (รวม 20.5 ล้านไร่)           (5.1) ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. 115 บาท/ไร่ (พื้นที่เป้าหมาย 15 ล้านไร่)
          (5.2) เกษตรกรทั่วไป
             (5.2.1) พื้นที่ความเสี่ยงต่ำ (พื้นที่นำร่อง)* 70 บาท/ไร่ (พื้นที่เป้าหมาย 5 ล้านไร่)
             (5.2.2) พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง 199 บาท/ไร่           (5.2.2 ? 5.2.3 พื้นที่เป้าหมายไม่เกิน 5 แสนไร่)
             (5.2.3) พื้นที่ความเสี่ยงสูง 218 บาท/ไร่
(6) อัตราเบี้ยประกันภัย Tier2 (เกษตรกรจ่ายเพิ่มเอง) (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) และพื้นที่เป้าหมาย (รวม 5 แสนไร่)           (6.1) พื้นที่ความเสี่ยงต่ำ 27 บาท/ไร่
(6.1 ? 6.3 พื้นที่เป้าหมายไม่เกิน 5 แสนไร่)
          (6.2) พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง 60 บาท/ไร่

          (6.3) พื้นที่ความเสี่ยงสูง 110 บาท/ไร่
(7) ความคุ้มครอง Tier 1           ภัยธรรมชาติ 7 ภัย (ตามข้อ 1.) 1,190 บาท/ไร่
          ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด 595 บาท/ไร่
(8) ความคุ้มครอง Tier 2           ภัยธรรมชาติ 7 ภัย 240 บาท/ไร่
          ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด 120 บาท/ไร่
(9) ความคุ้มครองรวม (Tier 1 และ Tier2)          ภัยธรรมชาติ 7 ภัย 1,430 บาท/ไร่
          ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด 715 บาท/ไร่
(10) อุดหนุนเบี้ยประกันภัยของรัฐบาลและ ธ.ก.ส. (เฉพาะ Tier 1) (รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)           (10.1) ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. 124.12 บาท/ไร่
          - รัฐบาลอุดหนุน 78.12 บาท/ไร่
          - ธ.ก.ส. อุดหนุน 46 บาท/ไร่ (จำกัดพื้นที่สูงสุดไม่เกิน 30 ไร่/ราย) สำหรับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566 และ 2567
          (10.2) เกษตรกรทั่วไป
                    พื้นที่ความเสี่ยงต่ำ (พื้นที่นำร่อง)* 75.47 บาท/ไร่
          - รัฐบาลอุดหนุน 70.97 บาท/ไร่
          - เกษตรกรจ่าย 5 บาท/ไร่
                    พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง 214 บาท/ไร่
          - รัฐบาลอุดหนุน 84 บาท/ไร่
          - เกษตรกรจ่าย 130 บาท/ไร่
                    พื้นที่ความเสี่ยงสูง 234.33 บาท/ไร่
          - รัฐบาลอุดหนุน 85.33 บาท/ไร่
          - เกษตรกรจ่าย 149 บาท/ไร่
(11) ภาระงบประมาณ           2,302.16 ล้านบาท ประกอบด้วย วงเงินที่รัฐบาลอุดหนุนจำนวน 1,612.16 ล้านบาท [วงเงินงบประมาณที่รัฐบาลอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย Tier 1 จำนวน 1,569.32 ล้านบาท และวงเงินต้นทุนทางการเงินจากรัฐบาลในอัตราต้นทุนทางการเงินของ ธ.ก.ส. ประจำไตรมาสบวก 1 (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 2.73) จำนวน 42.84 ล้านบาท] และวงเงินที่ ธ.ก.ส.อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ลูกค้าสินเชื่อ    ธ.ก.ส. จำนวน 690 ล้านบาท
(12) การพิจารณาค่าสินไหมทดแทน          จ่ายตามระเบียบ กค.ฯ และจ่ายเพิ่มเติมกรณีแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรเกิดความเสียหายแต่มิได้อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ เกษตรกรจะต้องรายงานความเสียหายของแปลงเพาะปลูกให้สมาคมฯ ทราบผ่านแอปพลิเคชันมะลิซ้อน4
(13) ระยะเวลาจำหน่าย          เริ่มจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการฯ และกำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์แตกต่างกันตามภูมิภาค ดังนี้
(13.1) ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และ                    ภาคตะวันตก จำนวน 63 จังหวัด กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ไม่เกินวันที่                7 กรกฎาคม 2567
(13.2) ภาคใต้ จำนวน 14 จังหวัด กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2567
ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา
(14) ประโยชน์ที่ได้รับ          ช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร ทำให้มีเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติผ่านระบบประกันภัยและเป็นการต่อยอดความช่วยเหลือของภาครัฐตามระเบียบ กค.ฯ รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
หมายเหตุ :           *1. ที่ผ่านมาพื้นที่ความเสี่ยงต่ำไม่ค่อยมีเกษตรกรสนใจเข้าร่วม ดังนั้น การให้เบี้ยประกันภัยในราคาถูกกับเกษตรกรในพื้นที่นำร่องจะเป็นการจูงใจให้เกษตรกรจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่มมากขึ้น
                    2. ค่าเบี้ยประกันภัย ทุก 250 บาท คิดค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
                    3. คิดภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ของเบี้ยประกันภัยหลังจากรวมค่าอากรแสตมป์แล้ว
1 คณะรัฐมนตรีมีติ (14 มีนาคม 2566) เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2566 และมอบหมายให้ กษ. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการประกันภัยการเกษตรของประเทศ และดำเนินการนำเสนอโครงการประกันภัยดังกล่าวต่อ นบข. และคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปีการผลิต 2567 เป็นต้นไป โดยให้พิจารณาความเหมาะสมของงบประมาณการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินตามระเบียบ กค.ฯ และงบประมาณอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยการเกษตร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐต่อไป รวมทั้งขอให้พิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วย ตามที่ กค. เสนอ ทั้งนี้ ปลัด กษ. ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการดังกล่าว
2 ธ.ก.ส. ได้มีหนังสือทบทวนการกำหนดอัตราชดเชยต้นทุนจากรัฐบาล เป็นอัตราต้นทุนทางการเงินของ ธ.ก.ส. ประจำไตรมาสบวก 1 (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 2.73)
3 กฎจำนวนมาก (Law of Large Numbers) หมายถึง หากจำนวนของสิ่งที่เราต้องการทราบว่าจะมีโอกาสเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ขึ้นมีจำนวนมากเท่าใด จำนวนครั้งที่เกิดขึ้นจริงก็จะมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น ฯ ขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งกฎจำนวนมากเป็นหลักพื้นฐานของการประกันภัยเพื่อใช้ความน่าจะเป็นในการทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยบริษัทประกันภัยได้อาศัยกฎนี้ในการพิจารณารับความเสี่ยงให้มีจำนวนรายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยให้เพียงพอสำหรับการสูญเสียที่คาดไว้ในอนาคต
4 แอปพลิเคชันมะลิซ้อน คือแอปพลิเคชันที่ช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติแต่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ประกาศภัยพิบัติโดยช่วยลดขั้นตอนและลดระยะเวลาในการแจ้งรายงานความเสียหาย และใช้เก็บข้อมูลเกษตรกร รูปภาพความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติ ตำแหน่งของสถานที่ประสบภัย รวมทั้งยังช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบข้อมูลและดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยได้อย่างครอบคลุม


ต่างประเทศ

19. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 11  และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน [ASEAN Finance Ministers' and Central Bank  Governors' Meeting (AFMGM) ] ครั้งที่ 11 และ                การประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (การประชุมฯ) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    พณ. รายงานว่า
                    คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (2 เมษายน 2567) เห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 111 ต่อมาการประชุมฯ ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1-6 เมษายน 2567 ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) (กค. ได้มอบหมายที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน) โดยผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้



                              1. การประชุม AFMGM ครั้งที่ 11
                                        (1) เห็นชอบประเด็นที่สำคัญด้านเศรษฐกิจที่ สปป. ลาว ในฐานะประธานอาเซียนต้องการผลักดันในปี 2567 ซึ่งประกอบด้วย 3 แนวยุทธศาสตร์ ได้แก่ การบูรณาการและเชื่อมโยงเศรษฐกิจ การสร้างอนาคตที่ทั่วถึงและยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตดิจิทัล
                                        (2) ได้มีการหารือเพิ่มเติมในอีก 4 ประเด็น ได้แก่ แนวทางการปรับรูปแบบการดำเนินงานของคณะทำงานในอาเซียนเพื่อทบทวนงานที่ได้รับมอบหมายของคณะทำงานในอาเซียน แนวทางการจัดตั้งคณะทำงานระหว่างภาคส่วนในอาเซียน แนวปฏิบัติสำหรับความร่วมมือนอกภาคีสำหรับความร่วมมือด้านการเงินอาเซียน และความร่วมมือด้านบริการทางการเงินระหว่างอาเซียนและสหราชอาณาจักร รวมทั้งได้หารือในประเด็นสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภูมิภาคอาเซียน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนสามารถฟื้นตัวได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และมีภูมิคุ้มกัน โดยมีผู้แทนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศเข้าร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 11
                                        (3) รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินการตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 และความร่วมมือทางการเงินอาเซียนและแผนงานสำหรับปีงบประมาณ 2567-2568 ของคณะทำงานต่าง ๆ เช่น คณะทำงานการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน คณะทำงานด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน เป็นต้น
                                        (4) หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวเน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน (ASEAN Taxonomy) และนโยบายด้านการเงินที่ยั่งยืนอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความร่วมมือด้านการเงินการคลังอาเซียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาคมอาเซียน เช่น ปัญหามลพิษทางอากาศ
                                        (5) ในการประชุม AFMGM ครั้งที่ 11 ได้มีการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 11 ซึ่งในช่วงระหว่างการประชุมดังกล่าวได้มีการปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 11 โดยมีบางถ้อยคำแตกต่างจากฉบับร่างตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 เพื่อให้มีความเหมาะสมและสะท้อนข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยไม่กระทบสาระสำคัญ ไม่กระทบหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ เช่น การปรับรายงานประมาณการเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับรายงานล่าสุดของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน + 3 การเพิ่มถ้อยคำสนับสนุนให้มีการหารือเพื่อผลักดันการจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน  ครั้งที่ 2 เป็นต้น ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อประเทศไทยเพิ่มเติมในการเพิ่มประสิทธิผลของโครงการภายใต้ความร่วมมืออาเซียนทั้งด้านการคลังและสาธารณสุข
                              2. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน [ASEAN Finance Ministers' Meeting (AFMM)] ครั้งที่ 29
                                        (1) ติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือทางการเงินอาเซียนในประเด็นต่าง ๆ เช่น การปรับบทบาทของกองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียนโดยสนับสนุนเงินทุนเฉพาะโครงการที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (จะให้กู้เฉพาะโครงการที่สอดคล้องกับหลักการและเกณฑ์การเข้าร่วมของกองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน) การดำเนินการตามโครงการระบบศุลกากรผ่านแดนแบบเต็มรูปแบบ และการพัฒนา ASEAN Taxonomy เวอร์ชัน 3 และ 4 โดยมีการจัดทำเกณฑ์การจัดหมวดหมู่เพิ่มเติมอีก 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคการขนส่ง การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์
                                        (2) รับรองร่างขอบเขตการดำเนินงานของการจัดประชุมการคลังอาเซียน เพื่อเป็นเวทีหารือในประเด็นการบริหารการคลัง โดยจะจัดขึ้น ณ เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในเดือนกันยายน 2567 เป็นครั้งแรก
                                        (3) หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือด้านการเงินการคลังอาเซียนด้านความยั่งยืน เช่น การปรับบทบาทของการจัดประชุมการคลังอาเซียนให้สอดคล้องกับหลักการและเกณฑ์การเข้าร่วมของกองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน

1 ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 11 เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนในการร่วมกันส่งเสริมประชาคมอาเซียน โดยมีสาระสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนในด้านความเชื่อมโยงและการสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมความเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและหุ้นส่วนนอกภาคี ผ่านการรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องภายในภูมิภาค รวมทั้งมุ่งให้สอดคล้องกับแนวยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ของ สปป. ลาว ในฐานะประธานอาเซียน ปี 2567 ได้แก่ (1) การบูรณาการและเชื่อมโยงเศรษฐกิจ (2) การสร้างอนาคตที่ ทั่วถึงและยั่งยืนและ (3) การเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตดิจิทัล

20. เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการเดินทางเยือนกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ของรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะผู้บริหารระดับสูง ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. ญี่ปุ่นมีความสำคัญในฐานะคู่ค้าและเป็นนักลงทุนอันดับต้น ๆ ของไทยในปี 2566 ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทย และถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพสำคัญของไทยในด้านการลงทุน โดยลงทุนสะสมในไทยมากเป็นอันดับ 1 การค้าระหว่างไทย ? ญี่ปุ่น มีมูลค่า 55,860.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออก 24,669.70                 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  (ขยายตัวร้อยละ 0.05 เมื่อเทียบกับปี 2565) และการนำเข้า 31,191.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ                 (หดตัวร้อยละ 9.53 เมื่อเทียบกับปี 2565) โดยสินค้าส่งออกหลักไปญี่ปุ่น เช่น รถยนต์ และอุปกรณ์ส่วนประกอบ               ไก่แปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้าหลัก เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของ พณ. ได้เดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 9-12 พฤษภาคม 2567 เพื่อเข้าร่วมงานเทศกาลไทย ณ กรุงโตเกียว ครั้งที่ 24 (Thai Festival Tokyo 2024) และเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทย ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยในประเทศญี่ปุ่น เพื่อขยายศักยภาพวัฒนธรรมไทยกระจายไปสู่ผู้บริโภคทั่วโลก โดยได้เป็นประธานเปิดงานเทศกาลไทย ครั้งที่ 24 ร่วมกับผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (นายมาซาฮิโระ โคมูระ) การจัดงานในครั้งนี้ประกอบด้วยคูหากว่า 80 คูหา เช่น คูหาผ้าไทยใส่ให้สนุก ที่นำผ้าไทยจากผู้นำเข้าญี่ปุ่นและผู้ประกอบการไทยมาจัดแสดง คูหาผลไม้ไทย และคูหาซีรีส์วาย เพื่อส่งเสริมและยกระดับสินค้าและบริการของไทยผ่านภาพยนตร์และรีส์วาย ทั้งนี้ งานเทศกาลไทย ณ กรุงโตเกียว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2567 มีผู้เข้าชมงานประมาณ 350,000 คนต่อวัน
                              2.2 การขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าไทยทางออนไลน์พร้อมส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถส่งออกได้ โดยเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับ Rakuten ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำของญี่ปุ่น ที่มียอดผู้ใช้งานเกิน 50 ล้านคนต่อเดือน เพื่อเปิดร้าน TOPTHAI และส่งเสริมการขายสินค้าไทยในตลาดญี่ปุ่น ซึ่งการลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นการเร่งผลักดันผู้ประกอบการรายย่อย SMEs รายใหม่ ให้สามารถขยายตลาดไปยังประเทศญี่ปุ่นผ่านแพลตฟอร์ม Rakuten ได้เพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มการรับรู้และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าไทยในตลาดญี่ปุ่น เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้มากขึ้น โดยคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายได้รวมกว่า 600 ล้านเยนหรือประมาณ                     145 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสินค้าไทยที่ขายบนแพลตฟอร์ม Rakuten กว่า 2,000 รายการ สินค้าที่ได้รับความนิยม เช่น สินค้าอาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูป สินค้าสปา ข้าวหอมมะลิ สินค้าสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
                              2.3 การยกระดับการบูรณาการการทำงานระหว่างพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์                  ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาและขยายช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสม โดยมีการหารือกับประธาน CEO ของห้าง MUJI เพื่อต่อยอดการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับห้าง MUJI ทั้งในไทยและญี่ปุ่น ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและพาณิชย์จังหวัดได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการคัดเลือกสินค้าไทยไปจำหน่ายในสาขาของห้าง MUJI ซึ่งการร่วมมือกันในครั้งนี้ นับเป็นก้าวแรกที่บริษัทได้สนับสนุนนำสินค้าไทยที่มีศักยภาพจัดจำหน่ายผ่านร้าน MUJI และจะต่อยอดสู่การจำหน่ายในประเทศไทย ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งได้หารือกับผู้บริหารบริษัท KALDI (คาลดี้) ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกที่มีกว่า 270 สาขาในญี่ปุ่น โดยได้แนะนำสินค้าไทยที่มีศักยภาพไปจัดจำหน่ายในร้าน KALDI เพิ่มขึ้น เช่น กาแฟ ผลไม้ และสินค้าไทย
                              2.4 การสร้างหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ต่อยอดธุรกิจด้วยพันธมิตร(Strategic Partnership) ได้หารือกับประธานคณะกรรมการการค้าและเศรษฐกิจญี่ปุ่น ? ไทย ภายใต้สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น                  (เคดันเรน) และเชิญชวนให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในธุรกิจสีเขียวโดยแจ้งว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการปรับตัวเพื่อรองรับและส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้สอดรับกับกฎกติกาใหม่ ๆ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ใช้พลังงานสะอาด แต่ในการเปลี่ยนผ่านการผลิตรถยนต์จากรถเครื่องยนต์สันดาปไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าร่วมกันระหว่างไทย - ญี่ปุ่นจะมีผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยบางส่วน ประมาณ 800 บริษัท จะต้องผันตัวไปสู่อุตสาหกรรมอื่นจึงได้ขอทางเคดันเรนช่วยเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงไปสู่กลุ่มผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ รถไฟ อากาศยาน และ Automation Robotic ของญี่ปุ่น เพื่อให้เกิดการร่วมลงทุนและการค้าระหว่างสองประเทศในด้านดังกล่าวเพิ่มขึ้นต่อไป รวมทั้งขอให้ทางเคดันเรนช่วยผลักดันโครงการสีเขียวอื่น ๆ ผ่านสมาชิกในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดการแบ่งปันความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระหว่างสองประเทศด้วย ส่วนทางด้านเคดันเรนได้แจ้งว่า นักธุรกิจญี่ปุ่นมองไทยเป็นฐานหลักในการทำธุรกิจ มีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจที่แน่นแฟันต่อกันมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการญี่ปุ่นกว่า 5,800 บริษัท ทั้งภาคการผลิตไปจนถึงภาคบริการ ประกอบธุรกิจอยู่ในประเทศไทย โดยไทยเป็น Supply Chain ระดับโลกและได้เชิญชวนให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าและเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Trade and Economic Committee) ครั้งที่ 25 ในช่วงเดือนธันวาคม 2567 ณ กรุงโตเกียวด้วย
                    3. การเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นของรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับความร่วมมือด้านนวัตกรรมสินค้า/บริการ ซึ่งเป็นเป้าหมายผลักดันการส่งออกของไทย เกิดการขยายโอกาสทางการค้าในเชิงลึกและสานต่อความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ต่อยอดธุรกิจด้วยพันธมิตร (Strategic Partnership)

21. เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนจีนของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม) และสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทร ศรีสรรพางค์) และคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. เวียดนามเป็นคู่ค้าลำดับที่ 9 และตลาดส่งออกสำคัญลำดับที่ 11 ของไทยมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย - เวียดนาม (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2567) 2,987.90  ล้านดอลลาร์สหรัฐ (105,134.08 ล้านบาท) แบ่งเป็น การส่งออกมูลค่า 1,562.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (54,669.23 ล้านบาท) และการนำเข้ามูลค่า 1,425.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (50,434.85 ล้านบาท) จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของไทยในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 91 ของการส่งออกผลไม้ไทย โดยทุเรียนสดมีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด ซึ่งเดิมจีนเปิดตลาดทุเรียนสดให้แก่ไทยเพียงประเทศเดียว ต่อมาในปี 2565 จีนได้เริ่มเปิดตลาดให้แก่เวียดนามส่งผลให้ปัจจุบันสัดส่วนตลาดทุเรียนในจีนแบ่งเป็น นำเข้าจากไทยร้อยละ 65.19  และจากเวียดนามร้อยละ 34.55 อย่างไรก็ดี ไทยไม่มีพรมแดนติดกับจีนทำให้เวียดนามและจีนเป็นประเทศที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสินค้าเกษตรไทย เนื่องจากเป็นที่ตั้งของด่านชายแดนที่สำคัญซึ่งอยู่ในเส้นทางการขนส่งผลไม้จากไทยสู่จีนและไทยขนส่งผลไม้โดยใช้เส้นทางทางบกเป็นหลัก
                    2. ในปี 2567 คาดการณ์ว่าจะมีผลไม้ออกสู่ตลาดจำนวน 6.77 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 1.1 แสนตัน หรือร้อยละ 2 แบ่งเป็น การบริโภคภายในประเทศ 2.50ล้านตัน และการส่งออก 4.27 ล้านตัน พณ. ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบได้เตรียมมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2567 ไว้ล่วงหน้า จำนวน 6 มาตรการ 25 แผนงาน โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพทางการค้าผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ติดตามสถานการณ์ ประสานงาน และเจรจาแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้ากับผู้บริหารในด่านชายแดนที่สำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการส่งออกและการผ่านพิธีศุลกากร
                    3. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทรฯ) ได้เดินทางเยือนเวียดนามและจีน ระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 2567 เพื่อสำรวจเส้นทางขนส่งสินค้าผลไม้ เตรียมความพร้อมในการรองรับฤดูผลไม้ และป้องกันปัญหาการขนส่งผลไม้ที่ติดขัดบริเวณชายแดนเวียดนามตอนเหนือกับนตอนใต้ อีกทั้งยังเป็นการกระชับความร่วมมือและความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาคเอกชน ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการ ผู้กระจายสินค้ารายสำคัญเพื่อผลักดันการส่งออกให้ได้ตามเป้าหมาย ขยายส่วนแบ่งสินค้าเกษตรของไทยในตลาดต่างประเทศและประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยได้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น
                              3.1 สำรวจด่านรถไฟด่งดัง ด่านสากลหูหงิ และหารือกับประธานคณะกรรมการประชาชนและผู้บริหาร จังหวัดลางเชิน เวียดนาม โดยหารือถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูผลไม้ของไทยและ                 แนวทางแก้ไขปัญหาการติดขัดบริเวณหน้าด่าน (ด่านทางบกหูหงิและด่านรถไฟด่งดัง) พร้อมขอความร่วมมือใน                        การอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อยรถบริเวณด้านหน้าด่าน ขยายเวลาทำการในด่านหูหงิ จาก 8 ชั่วโมง เป็น 10 ชั่วโมง และทำการทุกวันไม่เว้นวันหยุด เพื่อให้การขนส่งผลไม้จากไทยไปจีนใช้เวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง ซึ่งฝ่ายลางเซินแจ้งว่าฝ่ายไทยอาจพิจารณาแนะนำให้ผู้ประกอบการกระจายสินค้าผลไม้ไปยังด่านอื่น ๆ ทั้งนี้ จังหวัดลางเซินยินดีให้ความร่วมมือและรับจะดูแลการตรวจปล่อยรถบรรทุกของไทยจากด่านที่รับผิดชอบให้เร็วที่สุด ภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
                              3.2 สำรวจด่านโหย่วอี้กวน ด่านรถไฟผิงเสียง และหารือกับรองนายกเทศมนตรี                  เมืองฉงจั่ว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ด่านโหย่วอี้กวนเป็นด่านทางบกที่มีพรมแดนติดกับประเทศเวียดนามและเป็นด่านที่นำเข้าผลไม้อาเซียนจำนวนสูงที่สุดของจีน ปัจจุบัน สินค้าเกษตร (ผักและผลไม้) จะได้รับสิทธิพิเศษในการผ่านช่องทาง Green Lane อย่างไรก็ตาม ศุลกากรแห่งชาติจีนจะสุ่มตรวจสารตกค้างและกักกันโรคพืช แมลงศัตรูพืชในผลไม้สดจากไทย ร้อยละ 30 ตามข้อตกลงพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีนระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรของจีน1 ส่วนกรณีไม่ได้ถูกสุ่มตรวจจะใช้เวลาดำเนินพิธีการศุลกากรที่เกี่ยวข้อง 20 นาที ขณะที่ด่านรถไฟผิงเสียงที่เชื่อมต่อกับด่านรถไฟด่งดังของประเทศเวียดนาม ให้บริการขนส่งสินค้าวันละ                   5 เที่ยวและสามารถเพิ่มรอบได้มากยิ่งขึ้นหากมีสินค้าปริมาณมาก ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นสถานการณ์และแนวทางการตรวจให้ผลไม้ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทรฯ) ได้ขอความร่วมมือให้ขยายเวลาทำการของด่านและเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ เพิ่มช่องทางรถเป็น 12 ช่อง (ขาเข้า จำนวน 6 ช่อง และขาออก จำนวน 6 ช่อง) ภายในเดือนมิถุนายน เพื่อให้การขนส่งผลไม้ไทยเข้าสู่ประเทศจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                              3.3 พบหารือกับกงสุล (ฝ่ายเกษตร) ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว โดยมอบหมายให้กงสุล (ฝ่ายเกษตร) พิจารณาผลักดันประเด็นการเปิดตลาดส่งออกผลไม้แช่แข็งไปยังจีน เช่น มังคุด มะม่วง มะพร้าว และลำไย เพิ่มเติมจากเดิมที่ไทยส่งออกได้เพียงทุเรียนแช่แข็ง เพื่อขยายตลาดสินค้าผลไม้ของไทย
                              3.4 พบหารือกับผู้บริหารบริษัทเอกชน ได้แก่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทตลาดเจียงหนาน และรองประธานกรรมการบริหารบริษัท Pagoda รวมทั้งได้เยี่ยมชมซูเปอร์มาร์เก็ต Freshippo ซึ่งมีประเด็นการหารือที่สำคัญเกี่ยวกับการขยายตลาดการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ไทยไปยังจีนทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในตลาดจีน การควบคุมมาตรฐานการผลิต การผลักดันสินค้าเกษตรอื่นเพิ่มเติมเข้าสู่ตลาด และการขอความร่วมมือให้สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรด้วย
                    4. พณ. ได้เสนอแนวทางการดำเนินงานขั้นต่อไป เช่น
                              4.1 พณ. โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ทั้ง 3 แห่ง (กรุงฮานอย                           เมืองหนานหนิง และเมืองกวางโจว) ติดตามสถานการณ์ด่านชายแดนและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการขนส่งผลไม้ไทยผ่านด่านไปยังจีน รวมถึงติดตามจำนวนรถและประสานแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งข้อมูลให้ภาคเอกชนทราบถึงความหนาแน่นของการจราจรหน้าด่านและนำไปใช้ในการประเมินสำหรับการเลือกเส้นทางขนส่งผลไม้
                              4.2 ติดตามความคืบหน้าการหารือระหว่างเวียดนามและจีนในส่วนของการขยายช่องทางผ่านด่านจาก 6 ช่อง เป็น 14 ช่อง และการเปิดช่องทางด่านอัจฉริยะ (ก่อสร้างโดยความร่วมมือของเวียดนามและจีน) ที่จะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ณ เส้นแบ่งเขตกิโลเมตรที่ 1088-1089 ด่านเตินแทง (เวียดนาม) ? ด่านผู่จ้าย (จีน)
                              4.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าเกษตรกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับห้างสรรพสินค้าที่มีชื่อเสียงอย่างต่อเนื่องพร้อมบูรณาการความร่วมมือกับพาณิชย์จังหวัดและกรมการค้าภายใน เพื่อผลักดันการกระจายและส่งออกผลไม้ไปยังตลาดต่างประเทศต่อไป
1คณะรัฐมนตรีมีมติ (8 กรกฎาคม 2563) เห็นชอบต่อร่างพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีน ระหว่าง กษ. ของไทย และสำนักงานศุลกากรของจีน ตามที่ กษ. เสนอ โดยมีรายละเอียดเป็นการกำหนดมาตรการกักกันโรคและตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกผลไม้ระหว่างไทยและจีน เช่น การจัดส่งข้อมูลทะเบียนรายชื่อสวนและโรงคัดบรรจุ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนของแต่ละฝ่าย การกำหนดวิธีการบรรจุ สุ่มตัวอย่างผลไม้ และปิดผนึกตู้สินค้า การจัดส่งข้อมูลใบรับรองสุขอนามัยพืชระหว่างกัน เป็นต้น

22. เรื่อง การทบทวนแนวปฏิบัติการดำเนินการภายในของไทยในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวปฏิบัติการให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียน 2 ประเภท ได้แก่ (1) เอกสารระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในนามอาเซียนในฐานะองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (2) แผนงาน (Work Plan) และแผนดำเนินการ (Plan of Action) ระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่ไทยต้องร่วมรับรอง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    โดยหากเอกสารทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเข้าข่ายตามเงื่อนไข 5 ประการตามที่ กต. กำหนด ให้ กต. หารือส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบของไทย โดยไม่ต้องนำเอกสารดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 4 (7) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี                        พ.ศ. 2548
                    เรื่องเดิม
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (1 ตุลาคม 2545) เห็นชอบการทำความตกลงกับต่างประเทศ                         การทำอนุสัญญา และสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่กำหนดให้ในกรณีที่กระทรวง ทบวงกรม จะจัดทำความตกลงกับต่างประเทศ ให้หน่วยงานดังกล่าวขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการลงนามความตกลงทุก ๆ ครั้ง โดยระบุบุคคลที่จะเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ตามที่ กต. เสนอ
                    2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 มิถุนายน 2558) เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอเกี่ยวกับ                        การดำเนินการจัดทำหนังสือสัญญาหรือเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือเกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างหนังสือสัญญาก่อนการดำเนินการลงนามทุกครั้ง ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงถ้อยคำหรือสาระสำคัญของหนังสือสัญญาที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติหรือเห็นชอบไปแล้วหากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้    ให้สามารถดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                    3. คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 มกราคม 2567) เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เพื่อให้การจัดทำความตกลงระหว่างประเทศทุกประเภท ทั้งในระดับรัฐบาลและระดับหน่วยงานเป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้องตาม   แนวปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีการและประเพณีปฏิบัติทางการทูต ในแต่ละกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดหัวหน้า               คณะผู้แทน ผู้ลงนาม และสักขีพยาน จึงขอให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะทำความตกลงระหว่างประเทศทุกประเภทดังกล่าว หารือกับ กต. ให้ถูกต้อง ชัดเจน ก่อนดำเนินการใด ๆ รวมทั้งให้ปฏิบัติตามกฎหมาย               กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย






                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ปัจจุบันมีเอกสารในกรอบอาเซียนที่ กต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 4 (7) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี                  พ.ศ. 2548 ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
                              1.1 ความตกลงที่ไทยลงนามในฐานะคู่ภาคี ซึ่งถือเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่น ความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศต่าง ๆ อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศที่ครอบคลุมอาเซียน - สหภาพยุโรป
                              1.2 เอกสารระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในนามอาเซียนในฐานะองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล โดยเอกสารประเภทนี้มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอก หรือการให้งบประมาณจากภาคีภายนอกเพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือกับอาเซียนตามกรอบแผนงานที่มีระหว่างกันอยู่แล้ว โดยไม่ก่อพันธกรณีต่อประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น ความตกลงให้การสนับสนุนทางการเงิน (Financing Agreement) และบันทึกความเข้าใจ (Memorandum                               of Understanding)
                              1.3 เอกสารที่ไทยต้องร่วมรับรอง (adopt) ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองเพื่อระบุแนวทางความร่วมมือในอาเซียน หรือระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกของอาเซียน เช่น แถลงการณ์ (Statement) หรือปฏิญญา (Declaration) ระดับผู้นำและรัฐมนตรี และแผนงาน (Work Plan) หรือแผนดำเนินการ (Plan of Action) ซึ่งมีกระบวนการจัดทำเอกสารในกรอบอาเซียน
                    2. เรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ขอเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารในกรอบอาเซียน 2 ประเภท ได้แก่ (1) เอกสารระหว่างอาเชียนกับภาคีภายนอกที่เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในนามอาเชียนในฐานะองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (2) แผนงาน (Work Plan) และ                      แผนดำเนินการ (Plan of Action) ระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่ไทยต้องร่วมรับรอง โดยหากเอกสารทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเข้าเงื่อนไข 5 ข้อ ตามที่ กต. กำหนด เช่น (1) เอกสารดังกล่าวต้องไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสืสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ (2) ไทยไม่ได้ร่วมลงนามในฐานะคู่ภาคี ฯลฯ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหารือกับ กต. (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เพื่อให้ความเห็นชอบโดยไม่ต้องนำเอกสารดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 4 (7) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
                    3. ประโยชน์ที่จะได้รับ: การทบทวนและกำหนดแนวปฏิบัติใหม่ในการดำเนินการภายในของไทยเพื่อให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียนจะเป็นการลดขั้นตอนการดำเนินการและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการภายในของไทยให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยให้โครงการความร่วมมือต่าง ๆ ในกรอบอาเซียนสามารถเริ่มดำเนินการได้ตามกำหนดเวลาและส่งเสริมบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในอาเซียนต่อไป

23. เรื่อง การดำเนินการตามมติข้อตัดสินใจในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 16 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 11 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 11
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองการเสนอให้มีการแก้ไขภาคผนวกที่ 3 ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีส่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ) และการแก้ไขภาคผนวก เอ ของอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ) ตามพันธกรณีในข้อบทที่ 22 การรับรองและการแก้ไขภาคผนวก ของทั้งสองอนุสัญญา รวมทั้งเห็นชอบการดำเนินการตามมติข้อตัดสินใจในการประชุมรัฐภาคีของสามอนุสัญญา และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอเรื่องนี้ เพื่อให้การดำเนินการของประเทศไทยเป็นไปตามมติข้อตัดสินใจในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ) สมัยที่ 11 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ) สมัยที่ 11 ในระหว่างวันที่ 1 - 12 พฤษภาคม 2566 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยขอให้มอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก) รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง สรุปดังนี้

ข้อตัดสินใจของรัฐภาคีอนุสัญญา
          การดำเนินการของประเทศไทย
          หมายเหตุ
เพิ่มรายชื่อสารเคมีในภาคผนวกที่ 3 ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ (สารเคมีที่ต้องแจ้งสำนักเลขาธิการอนุสัญญาก่อนการนำเข้า/ส่งออก)
1          เพิ่มสาร Terbufos (สารเคมีการเกษตร)          - กษ. (กรมวิชาการเกษตร) จะต้องแจ้งสำนักเลขาธิการอนุสัญญา ว่าประเทศไทยจะมีกลไกในการอนุญาตให้นำเข้าสาร Terbufos อย่างไร (กษ. จะรับไปพิจารณากำหนดต่อไป)
- กำหนดเวลา : ภายใน 21 กรกฎาคม 2567          ประเทศไทยยังไม่มีการใช้สารดังกล่าว
เพิ่มรายชื่อสารเคมีในภาคผนวก เอ ของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ (สารเคมีที่ต้องลดและ/หรือเลิกการผลิต และการใช้ และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน)
2          เพิ่มสาร Methoxychlor (สารเคมีการเกษตร)          - กษ. (กรมวิชาการเกษตร) ดำเนินมาตรการควบคุมเพื่อเลิกใช้สาร Methoxychlor โดยยกระดับเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง)
- กำหนดเวลา : ภายใน 1 ปี หลังจากประเทศไทยได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการอนุสัญญา (ปัจจุบันยังไม่ได้รับแจ้ง)          สารดังกล่าวถูกกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่ต้องขออนุญาตก่อนนำไปใช้งานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมในข้อ 5.4
3          เพิ่มสาร Dechlorane Plus (ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตพลาสติกทนไฟ)          - อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) ดำเนินมาตรการควบคุมเพื่อลดและเลิกใช้สาร Dechlorane Plus และ สาร UV-328 โดยกำหนดเป็นวัตถุอันตรายภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535  โดย อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) อาจพิจารณาแจ้งข้อยกเว้นพิเศษ (Specific exemption) ต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญา เพื่อกำหนดข้อยกเว้นพิเศษในการใช้งานสารดังกล่าวได้
- กำหนดเวลา : ภายใน 1 ปี หลังจากประเทศไทยได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการอนุสัญญา (ปัจจุบันยังไม่ได้รับแจ้ง)          สารดังกล่าวยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายและไม่มีข้อมูลการใช้งานในประเทศไทย
4          เพิ่มสาร UV-328 (ใช้ในเป็นส่วนผสมในกระบวนการเคลือบสี)                    สารดังกล่าวยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายแต่มีการนำเข้ามาใช้งานในบางอุตสาหกรรม
24. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยว ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 3
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีด้าน                       การท่องเที่ยว ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 3  (3rd  Ministerial Meeting on Tourism) เพื่อเป็นกรอบในการหารือกับ                ฝ่ายกัมพูขา ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน ให้การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ โดยไม่มีการลงนาม ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ดังกล่าว ในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินความสัมพันธ์ แต่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ชัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสามารถพิจารณาดำเนินการได้                   โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ประเทศไทย โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีด้านการท่องเทียว ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 3 ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมี                      นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนายสก โสเกน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา เป็นประธานร่วม
                    2. เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจัดการประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมทวิภาคีด้านการท่องเที่ยว ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 1/2567 โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยเข้าร่วม เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทย - พูชา รวมทั้งข้อมูลและข้อคิดเห็นที่ฝ่ายไทยควรหยิบยกขึ้นเพื่อหารือกับฝ่ายกัมพูชา ตลอดจนประเด็นที่คาดว่าฝ่ายกัมพูชาจะหยิบยกขึ้น                           หารือในช่วงการประชุมทวิภาคีฯ
                    3. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจัดทำและเสนอร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยว ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 3 ประกอบด้วย (1) แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ                         ด้านการท่องเที่ยว ปี พ.ศ. 2566 - 2568 ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูขา และ (2) ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยว ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 3 โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
                              - แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ปี พ.ศ. 2566 - 2568 ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชา เป็นแผนยุทธศาสตร์ ระยะสั้น                  ซึ่งกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ ผ่านการสนับสนุนให้เกิดการไหลเวี่ยนของนักท่องเที่ยวระหว่างกัน และเป็นการดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาล                 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Kingdom of Cambodia on Tourism Cooperation) โดยมีความร่วมมือ 5 หัวข้อ ประกอบด้วย (1) ความร่วมมือและการประสานงานข้ามพรมแดนเพื่ออำนวยความสะดวก                         ในการเดินทางและการผ่านแดน (Transboundary Collaboration and Cooperation on Facilitation on Travel and Border Crossing) (2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการตลาดร่วมกัน ภายใต้แนวคิด ?สองราชอาณาจักร หนึ่งจุดหมายปลายทาง? (Two Kingdoms One Destination Marketing Campaign) (3) การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว (Human Resource Development) (4) การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยว (Quality Tourism) และ                   (5) การลงทุนด้านการท่องเที่ยว (Tourism Investment) ทั้งนี้ ที่ประชุมทวิภาคีระดับคณะทำงานด้านการท่องเที่ยว ไทย ? กัมพูชา ครั้งที่ 6 ได้ให้การรับรองแผนปฏิบัติการร่วมดังกล่าวแล้ว ในการประชุมเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565    ณ จังหวัดเกาะกง ราชอาณาจักรกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันว่าควรปรับปรุงแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ให้มีความสอดคล้องกับบริบทด้านการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงนโยบายด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาลปัจจุบันของทั้งสองประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงได้เสนอปรับปรุงแผนปฏิบัติการฯ เพื่อให้ที่ประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยว ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 3 พิจารณาให้การรับรอง
                    - ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีด้านการห่องเที่ยว ไทย ? กัมพูชา ครั้งที่ 3 มีเนื้อหาที่มุ่งเน้นความคืบหน้าการดำเนินการของแผนปฏิปัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวฯ เช่น    (1) การส่งเสริมการอำนวยความสะดวกในการเดินทางและการเชื่อมโยงข้ามพรมแดนผ่านการพัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการเชื่อมโยงทางอากาศ ทางทะเล และทางบก (2) การจัดทำโครงการและกลยุทธ์การตลาดภายใต้หัวข้อหลัก ?สองราชอาณาจักร หนึ่งจุดหมายปลายทาง? ผ่านการอบรมเกี่ยวกับแพ็คเกจทัวร์ร่วมกัน การเดินทางเพื่อศึกษาดูงาน และงานแสดงสินค้าด้านการท่องเที่ยว (3) การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ผ่านการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะใหม่ (reskill) และยกระดับทักษะเดิม (upskill) ของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานด้านการท่องเที่ยว
                    ทั้งนี้ ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์และใช้เป็นกรอบในการดำเนินการของไทยและกัมพูชาที่จะมุ่งส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ โดยมิได้มีเจตนาให้เป็นความตกลงที่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ดังกล่าว จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 อีกทั้ง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เห็นว่า ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ มีความเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของไทย สามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นไปตามพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการนี้ไว้แล้ว

25. เรื่อง ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ประจำปี ค.ศ. 2024
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1.  เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ประจำปี ค.ศ. 2024 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและ/หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้  ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอีก
2.  เห็นชอบให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ หรือเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำ สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ร่วมรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมือง ระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ประจำปี ค.ศ. 2024
สาระสำคัญของเรื่อง
1. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council: ECOSOC) จัดการประชุม HLPF ประจำปี ค.ศ. 2024 ระหว่างวันที่ 8-18 กรกฎาคม 2567 ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาตินครนิวยอร์ก ภายใต้หัวข้อหลัก ?Reinforcing the 2030 Agenda and eradicating poverty in times of multiple crises: the effective delivery of sustainable, resilient and innovative solutions? โดยจะหารือเชิงลึกเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 5* เป้าหมาย รวมทั้งเป็นเวทีระดมสมองจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน SDGs ทั้งนี้                     ในการประชุมฯ จะมีการนำเสนอรายงานการทบทวน  การดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจ (Voluntary National Review: VNR) ของประเทศต่าง ๆ จำนวน 36 ประเทศ และในวันที่                              17 กรกฎาคม 2567 ที่ประชุมฯ จะรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration) เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
2. การประชุม HLPF จัดขึ้นปีละหนึ่งครั้งภายใต้การอุปถัมภ์ของ ECOSOC และทุก 4 ปีในระดับผู้นำภายใต้การอุปถัมภ์ของสมัชชาสหประชาชาติ  เพื่อทบทวนและติดตามผลการดำเนินการตาม วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development: 2030 Agenda) ซึ่งการประชุมระดับผู้นำครั้งล่าสุด คือ การประชุมระดับผู้นำว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Summit) เมื่อวันที่ 18-19 กันยายน 2566 ที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองฯ และเปิดโอกาสให้รัฐสมาชิกพิจารณาประกาศความมุ่งมั่นระดับประเทศ (National Commitments) เพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อน SDGs ให้ทันตามกำหนดเวลา  ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ และประกาศความมุ่งมั่นระดับประเทศในประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญในกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)
3. ร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุม HLPF ค.ศ. 2024 ที่สะท้อนเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับรัฐมนตรีของประเทศต่าง ๆ ที่จะร่วมกันดำเนินการเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และ SDGs มีสาระสำคัญเกี่ยวกับ (1) สถานการณ์ปัจจุบันและความท้าทายในการบรรลุ SDGs และ                        (2) การกำหนดแนวทางการดำเนินการและการลงทุนเพื่อสนับสนุนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ตามเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนการจัดทำ VNRs โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างปฏิญญาดังกล่าว ดังนั้น ร่างปฏิญญาฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตาม มาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
ประโยชน์และผลกระทบ
ร่างปฏิญญาฯ สะท้อนประเด็นที่รัฐสมาชิกสหประชาชาติให้ความสำคัญร่วมกันในการผลักดัน                  การบรรลุ SDGs ของโลกในภาพรวม

*ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 No Poverty เป้าหมายที่ 2 Zero hunger เป้าหมายที่ 13 Climate Action เป้าหมายที่ 16 Peace, Justice and Strong Institutions และเป้าหมายที่ 17 Partnerships for the Goals

26. เรื่อง บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) ด้านความร่วมมือในการกำกับการแข่งขันทางการค้าระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าและองค์กรกำกับดูแลแข่งขันทางการค้าแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Philippine Competition Commission)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าแห่งราชอาณาจักรไทย และองค์กรกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า แห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ฟิลิปปินส์) (Philippine Competition Commission : PCC) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ขอให้ สขค. สามารถพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
2. อนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวของฝ่ายไทย
(มีกำหนดลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างวันที่ 23 - 24 กรกฎาคม 2567 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย)
สาระสำคัญ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของแต่ละประเทศ ให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านความร่วมมือระหว่าง PCC และ สขค. ทั้งนี้ ความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือระหว่างกันจะต้องคำนึงถึงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรที่มีอยู่ตามความเหมาะสม และผลประโยชน์สำคัญของทั้งสององค์กร ตลอดจนต้องเคารพความเป็นอิสระในการดำเนินงานของทั้งสององค์กรตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ
การจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ เป็นประโยชน์ร่วมกันของไทยและฟิลิปปินส์ในการสร้างสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่เป็นธรรมสำหรับการค้าและการลงทุนในทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการลงทุนและการส่งออกสินค้าจากไทยไปฟิลิปปินส์ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต รวมถึงรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่กำหนดให้การส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารเป็นวาระหลักของประเทศ ดังนั้น บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนของไทยโดยเฉพาะในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารซึ่งไทยมีความเชี่ยวชาญและศักยภาพสูง

27. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) สำหรับสาขาความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) สำหรับสาขาความร่วมมือด้าน                  ทรัพยากรน้ำ ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง (ร่างแผนปฏิบัติการฯ)
                     2. อนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองต่อร่างแผนปฏิบัติการฯ
3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในร่างแผนปฏิบัติการฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ สนทช. สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
(ทั้งนี้ จะมีการรับรองร่างแผนปฏิบัติการฯ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 9 ในช่วงกลางปี 2567)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง (Mekong ? Lancang Cooperation : MLC) ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการผลักดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม ส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืน ในระดับภูมิภาค และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 ขององค์การ สหประชาชาติ ประกอบด้วย 3 เสาความร่วมมือหลัก ได้แก่ (1) การเมืองและความมั่นคง (2) เศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (3) สังคม วัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยน ระดับประชาชน และมีสาขาภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าวจำนวน 5 สาขา ได้แก่ (1) สาขาความเชื่อมโยง (2) สาขาการพัฒนาศักยภาพในการผลิต                      (3) สาขาความร่วมมือ ด้านทรัพยากรน้ำ (4) สาขาการเกษตรและการลดความยากจน และ (5) สาขาความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดน ซึ่งมีการจัดตั้งคณะทำงาน 6 คณะ (สาขาการเกษตรและการลดความยากจน แยกเป็น                    2 คณะ) และจัดทำแผนการดำเนินงานของแต่ละสาขาเพื่อผลักดันความร่วมมือของทุกสาขาให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด โดยสำหรับคณะทำงานสาขาความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) สำหรับสาขาความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) (ข้อเสนอในครั้งนี้) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน และเพื่อให้ประชาชนของประเทศสมาชิกสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง ? ล้านช้างผ่านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
                    ร่างแผนปฏิบัติการฯ เป็นแผนต่อเนื่องจากแผนฉบับเดิม (พ.ศ. 2561 - 2565) โดยมีการปรับปรุงและต่อยอดการดำเนินการตามแผนเดิม ซึ่งยังมีวัตถุประสงค์และสาขาความร่วมมือรวม 7 สาขาคงเดิม ดังนี้                       (1) การคุ้มครองทรัพยากรน้ำและการพัฒนาสีเขียว (2) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการและ                     การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ และผลประโยชน์ร่วมกัน (4) พื้นที่ชนบท การอนุรักษ์น้ำ และการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ (5) การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำอย่างยั่งยืนและความมั่นคงด้านพลังงาน (6) ความร่วมมือแม่น้ำข้ามพรมแดนและการแบ่งปันข้อมูลและ (7) การประสานงานกับสาขาความร่วมมืออื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ร่างแผนปฏิบัติการฉบับนี้ได้ปรับเพิ่มรายละเอียดของแผนให้เป็นปัจจุบันและ                   มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เช่น (1) คำนึงถึงความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (2) เพิ่มเติมประเด็นการพัฒนาสีเขียวอย่างยั่งยืน (green and sustainable development) และ (3) ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN 2030 Agenda for Sustainable Development) ในการพัฒนาให้ประชาชนเข้าถึงน้ำสะอาดโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล

28. เรื่อง ร่างตราสารแก้ไขและต่ออายุความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างตราสารแก้ไขและต่ออายุความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (ร่างตราสารฯ) ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างตราสารฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้ อว. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้ลงนามในร่างตราสารฯ
3. มอบหมายให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามในข้อ 2
                     สาระสำคัญ
                     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างตราสารแก้ไขและต่ออายุความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (ร่างตราสารฯ) โดยมีสาระสำคัญเป็นการต่ออายุความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา ไปอีกเป็นระยะเวลา 10 ปี ต่อเนื่องจากร่างตราสารต่ออายุความตกลงฉบับก่อนหน้าที่ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2566 โดยร่างตราสารฯ ที่เสนอในครั้งนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2566 ประกอบกับมีการแก้ไขข้อบทบางประการในความตกลงฯ ครอบคลุมข้อ 3 ข้อ 11 วรรค 1 และภาคผนวก 1) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือผู้แทนได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ลงนามในร่างตราสารฯ ภายในวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) (เป็นการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ (กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้) พิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างตราสารฯ เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนามและการดำเนินการให้มีผลผูกพัน และโดยที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย จึงเข้าข่ายลักษณะเรื่องที่ให้เสนอคณะรัฐมนตรีได้ตามมาตรา 4 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
ทั้งนี้ อว. ได้พิจารณาประเด็นการต่ออายุจากเดิมระยะเวลา 5 ปี เป็น 10 ปี และเห็นว่า การต่ออายุในระยะเวลาดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินกิจกรรม หรือโครงการภายใต้ความตกลงฯ ได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถวางแผนและบริหารจัดการ กิจกรรมและ/หรือโครงการต่าง ๆ ในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งร่างตราสารดังกล่าว จะเป็นการสานต่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาในสาขาความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญผ่านกิจกรรมความร่วมมือที่หลากหลาย บนพื้นฐานความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้                  แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ดังนั้น อว. จึงได้ปรับแก้ร่างตราสารฯ ฉบับภาษาอังกฤษและฉบับภาษาไทยของร่างตราสารฯ                  ตามข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้จัดส่งให้แก่ฝ่ายสหรัฐอเมริกาพิจารณาแล้วเมื่อวันที่                                 20 มิถุนายน 2567 ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยแจ้งว่าไม่มีข้อขัดข้องต่อการเสนอปรับแก้ของฝ่ายไทย

แต่งตั้ง
29. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ดังนี้
                     1. นายพสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ
                     2. นางสาวประชุม ตันติประเสริฐสุข กรรมการผู้แทนสมาคมส่งเสริมการประชุม นานาชาติ (ไทย)
                     3. นางสาวปนิษฐา บุรี กรรมการผู้แทนสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย)
                     4. นายเทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ กรรมการผู้แทนสมาคมโรงแรมไทย
                     5. นายยุทธศักดิ์ สุภสร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     6. นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)  ดังนี้
                      1. นายธีรลักษ์ แสงสนิท                                            ประธานกรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)
                      2. นายอาทิตย์ สุริยาภิวัฒน์                                  กรรมการ
                     3. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ           กรรมการ
                     4. นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์                       กรรมการ
                     5. นายบัณฑิต สะเพียรชัย                                กรรมการ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ