คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ต่อไปอีก 1 ปี โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ตามนัยมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2547 อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ต่อไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2548 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
กระทรวงคมนาคมได้รับรายงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ดังนี้
1. การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย เงินกู้โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน 500 ล้านบาท และเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 300 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) แล้ว โดยวงเงินกู้ดังกล่าวจะครบกำหนดอายุสัญญาวันที่ 29 มีนาคม 2548
2. คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยในการประชุมครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 ได้มีมติเห็นชอบงบประมาณทำการประจำปี 2548 โดยมีประมาณการรายได้จากการดำเนินงานเป็นเงิน 9,300 ล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายเป็นเงิน 13,839 ล้านบาท (ประกอบด้วย รายจ่ายดำเนินงาน รายจ่ายบำเหน็จบำนาญส่วนที่ไม่เกินกว่าร้อยละ 25 ของเดือน ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเงินกู้) ซึ่งจะมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานเป็นเงิน 4,539 ล้านบาท และเมื่อรวมรายจ่ายบำเหน็จบำนาญส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 25 ของเงินเดือนอีกจำนวน 1,250 ล้านบาท (ซึ่งเดิมที่ปรากฏในงบการเงินของกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงาน แต่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยนำมารวมไว้ในงบการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย) ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานทั้งสิ้น 5,789 ล้านบาท ดังนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีวงเงินกู้ 800 ล้านบาท ไว้สำหรับใช้ในกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทยประสบปัญหาการขาดทุนหมุนเวียนในช่วงใดช่วงหนึ่ง เพื่อมิให้การดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงัก
กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว เห็นชอบตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเสนอ เนื่องจากเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดเงินสดหมุนเวียนของการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยมิให้การดำเนินงานต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงัก เพราะรายได้จากการดำเนินงานไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2548 การรถไฟแห่งประเทศไทยคาดว่าจะมีปริมาณการรายได้จำนวน 9,300 ล้านบาท และประมาณการรายจ่ายจำนวน 13,839 ล้านบาท และเมื่อรวมรายจ่ายบำเหน็จบำนาญส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 25 ของเงินเดือนอีก 1,250 ล้านบาท จะทำให้มีผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงาน จำนวน 5,789 ล้านบาท และทำให้ขาดเงินสดหมุนเวียน จำนวน 4,398 ล้านบาท ตามประมาณการฐานะเงินสดปีงบประมาณ 2548 ดังนั้น จึงเห็นสมควรสนับสนุนให้การรถไฟแห่งประเทศไทยต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ต่อไปอีก 1 ปี โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 มีนาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2547 อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ต่อไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2548 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
กระทรวงคมนาคมได้รับรายงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ดังนี้
1. การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย เงินกู้โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน 500 ล้านบาท และเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 300 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) แล้ว โดยวงเงินกู้ดังกล่าวจะครบกำหนดอายุสัญญาวันที่ 29 มีนาคม 2548
2. คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยในการประชุมครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 ได้มีมติเห็นชอบงบประมาณทำการประจำปี 2548 โดยมีประมาณการรายได้จากการดำเนินงานเป็นเงิน 9,300 ล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายเป็นเงิน 13,839 ล้านบาท (ประกอบด้วย รายจ่ายดำเนินงาน รายจ่ายบำเหน็จบำนาญส่วนที่ไม่เกินกว่าร้อยละ 25 ของเดือน ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเงินกู้) ซึ่งจะมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานเป็นเงิน 4,539 ล้านบาท และเมื่อรวมรายจ่ายบำเหน็จบำนาญส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 25 ของเงินเดือนอีกจำนวน 1,250 ล้านบาท (ซึ่งเดิมที่ปรากฏในงบการเงินของกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงาน แต่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยนำมารวมไว้ในงบการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย) ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานทั้งสิ้น 5,789 ล้านบาท ดังนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีวงเงินกู้ 800 ล้านบาท ไว้สำหรับใช้ในกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทยประสบปัญหาการขาดทุนหมุนเวียนในช่วงใดช่วงหนึ่ง เพื่อมิให้การดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงัก
กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว เห็นชอบตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเสนอ เนื่องจากเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดเงินสดหมุนเวียนของการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยมิให้การดำเนินงานต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงัก เพราะรายได้จากการดำเนินงานไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2548 การรถไฟแห่งประเทศไทยคาดว่าจะมีปริมาณการรายได้จำนวน 9,300 ล้านบาท และประมาณการรายจ่ายจำนวน 13,839 ล้านบาท และเมื่อรวมรายจ่ายบำเหน็จบำนาญส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 25 ของเงินเดือนอีก 1,250 ล้านบาท จะทำให้มีผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงาน จำนวน 5,789 ล้านบาท และทำให้ขาดเงินสดหมุนเวียน จำนวน 4,398 ล้านบาท ตามประมาณการฐานะเงินสดปีงบประมาณ 2548 ดังนั้น จึงเห็นสมควรสนับสนุนให้การรถไฟแห่งประเทศไทยต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ต่อไปอีก 1 ปี โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 มีนาคม 2548--จบ--