http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (23 กรกฎาคม 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับที่หมดความจำเป็นและไม่ เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. .... 6. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ เศรษฐกิจ-สังคม 7. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทยในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม 8. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบ กลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าก่อสร้าง อาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง ขนาด 68 ครอบครัว จำนวน 2 อาคาร และ อาคารที่จอดรถ สูง 8 ชั้น จำนวน 1 หลัง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 9. เรื่อง โครงการสลากการกุศลเพิ่มเติม 10. เรื่อง (ร่าง) ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่งวง) ใน ประเทศไทย 11. เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการเปิด การขยายเวลา และการปิดจุดผ่านแดนระหว่าง ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 12. เรื่อง รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 และรายงานผลการ ติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์ คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564 13. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 13 - 18 กรกฎาคม 2567) 14. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีป้องกันภาวะความพิการแต่ กำเนิด ต่างประเทศ 15. เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ 16. เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) 17. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักร ภูฏาน 18. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ 19. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 7 (Abu Dhabi Dialogue Seventh Ministerial Declaration) 20. เรื่อง การลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อบริหารจัดการโครงการ ฝึกอบรมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา 21. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียน ครั้งที่ 57 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 22. เรื่อง การจัดทำเอกสาร National Commitment สำหรับการประชุมสุดยอดว่า ด้วยกีฬาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sport for Sustainable Development Summit: S4SD Summit) ในห้วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส 23. เรื่อง การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำ โขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 15 การประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 และการรับตำแหน่งประธานร่วมของหุ้นส่วน ลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ในปี 2568 แต่งตั้ง 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) 25. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 26. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอ ภาคทางการศึกษา 27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ. 2545
? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการให้ ความคุ้มครองและช่วยเหลือแก่ผู้ให้ถ้อยคำ แจ้งข้อมูลหรือเบาะแส หรือแสดงความคิดเห็นแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในกรณีที่บุคคลถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ ถูกฟ้องคดี หรือถูกดำเนินการทางวินัยจากการให้ถ้อยคำดังกล่าว 2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอว่า 1. ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว ยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยบัญญัติเพิ่มเติมหลักการในการจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเข้มงวด รวมทั้งกลไกส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส โดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ พร้อมทั้งกำหนดกลไกในการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือแก่ผู้ให้ถ้อยคำ แจ้งข้อมูล หรือเบาะแส หรือแสดงความคิดเห็นแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในกรณีที่ประชาชนถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ ถูกฟ้องคดี หรือ ถูกดำเนินการทางวินัยจากการให้ถ้อยคำดังกล่าว 2. ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว โดยมีการรับฟังความคิดเห็นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี และในชั้นการตรวจพิจารณาของ สคก. ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ของ สคก. (www.krisdika.go.th) รวมทั้งจัดทำหนังสือเพื่อขอความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว 3. สำนักงาน ป.ป.ช. ได้เสนอแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ จำนวน 1 ฉบับ โดยออกเป็นร่างอนุบัญญัติที่ต้องออกตามมาตรา 132/2 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการให้ ความช่วยเหลือ การขอรับความช่วยเหลือ และการยกเลิกการให้ความช่วยเหลือ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 โดยบัญญัติเพิ่มเติมหลักการในการจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเข้มงวด รวมทั้งกลไกส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมใน การรณรงค์ ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส โดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ พร้อมทั้งกำหนดกลไกในการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือแก่ผู้ให้ถ้อยคำ แจ้งข้อมูลหรือเบาะแส หรือแสดงความคิดเห็นแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ ถูกฟ้องคดี หรือถูกดำเนินการทางวินัยจากการดำเนินการดังกล่าว รายละเอียดดังนี้ 1. แก้ไขเพิ่มเติมบทยกเว้นความรับผิดของผู้ให้ถ้อยคำ แจ้งข้อมูลหรือเบาะแส หรือแสดง ความคิดเห็น แก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เฉพาะส่วน ความรับผิดที่เกิดจากการให้ถ้อยคำ แจ้งข้อมูลหรือเบาะแส หรือแสดงความคิดเห็นดังกล่าว 2. กำหนดกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการให้ ความช่วยเหลือแก่บุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 132 3. กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยให้กระทำได้ตามความจำเป็น ซึ่งรวมถึงการให้ความช่วยเหลือโดยการส่งข้อมูลและมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองบุคคลที่ถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ ถูกฟ้องคดี หรือ ถูกดำเนินการทางวินัย ไปให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล หรือผู้บังคับบัญชา แล้วแต่กรณี เพื่อแจ้งว่าบุคคลดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 132 การให้ความช่วยเหลือทางคดีและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในระหว่างการดำเนินคดีทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา และการให้ความช่วยเหลือในการปล่อยชั่วคราวในคดีอาญา 4. กำหนดหลักเกณฑ์การปล่อยชั่วคราวบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 132 โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. สามารถให้ความช่วยเหลือในการปล่อยชั่วคราวไม่ว่าจะเป็นกรณีที่บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่กรณี 5. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 162 (2) โดยเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 132 6. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับบทบัญญัติมาตรา 132/1 มาตรา 132/2 และมาตรา 132/3 ให้สามารถนำมาใช้ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ให้ถ้อยคำ แจ้งข้อมูลหรือเบาะแส หรือแสดงความคิดเห็นแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับด้วย 2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับที่หมดความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับที่หมดความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. ..... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับที่หมดความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน จำนวน 23 ฉบับ ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ สคก. เสนอว่า 1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (13 กันยายน 2566) มอบหมายให้ สคก. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาทบทวนความจำเป็น เหมาะสมของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับต่าง ๆ ที่ยังคงมีผลใช้บังคับในปัจจุบัน โดยหากประกาศหรือคำสั่งใดสมควรให้คงมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไป หรือสมควรยกเลิก ให้ สคก. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วนภายในวันที่ 9 ตุลาคม 2566 2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (27 กุมภาพันธ์ 2567) รับทราบรายงานแนวทางการยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือของคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่สามารถยกเลิกได้โดยการตราพระราชบัญญัติกลางยกเลิก จำนวน 71 ฉบับ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ในฐานะประธานกรรมการเร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลเสนอ โดยมีมติให้ส่วนราชการพิจารณาทบทวนความจำเป็น เหมาะสมของประกาศและคำสั่งดังกล่าวไปยัง สคก. ภายใน 14 วัน และให้สำนักงานฯ แจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวไปยังคณะกรรมการเร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 3. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (26 มีนาคม 2567) รับทราบรายงานผลการพิจารณาทบทวนความจำเป็น เหมาะสมของประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามที่ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ในฐานะประธานกรรมการเร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลรายงาน และให้ สคก. ยกร่างกฎหมายกลางเพื่อยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยให้เร่งเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนเมษายน โดยที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับหมดความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดภาระและกระทบต่อสิทธิของประชาชนผู้อยู่ภายใต้บังคับประกาศและคำสั่งดังกล่าว และไม่สอดคล้องกับสภาพการทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นภาระงบประมาณของรัฐในการบังคับใช้กฎหมาย จึงเห็นควรยกเลิกประกาศและคำสั่งเช่นว่านั้นเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในภาพรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สคก. จึงได้รวบรวมผลการพิจารณาทบทวน ความจำเป็น เหมาะสม ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้องแจ้งมายัง สคก. โดยสรุปได้ว่า สามารถยกเลิกได้ทันที จำนวน 23 ฉบับ (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มีนาคม 2567) ดังนี้ 1. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2557 เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 2. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 เรื่อง การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 3. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ 25/2557 เรื่อง ให้มารายงานตัว หรือแจ้งเหตุขัดข้อง ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 4. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 26/2557 เรื่อง การดูแล และสอดส่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 5. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 29/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 6. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 35/2557 เรื่อง อำนาจในการอนุมัติงบประมาณของปลัดกระทรวง ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 7. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 41/2557 เรื่อง กำหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว เป็นความผิด ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 8. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 49/2557 เรื่อง ความผิดสำหรับการสนับสนุนการชุมนุมทางการเมือง ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 9. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 86/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 10. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2561 เรื่อง การกำหนดรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาอื่น ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 39/2559 เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2561 11. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4 /2558 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์สาธารณะและประชาชนโดยส่วนรวม ลงวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2558 12. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2558 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พุทธศักราช 2558 13. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 36/2558 เรื่อง แก้ไขคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 29/2558 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พุทธศักราช 2558 14. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2559 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พุทธศักราช 2559 15. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 35/2559 เรื่อง มาตรการในการแก้ไขปัญหาการครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินป่าภูทับเบิก ในท้องที่ตำบลวังบาล และตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 16. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 51/2559 เรื่อง การดำเนินการกับของที่เก็บในเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี และของที่ใช้เป็นยุทธภัณฑ์เพื่อบรรเทาสาธารณภัย ลงวันที่ 25 สิงหาคม พุทธศักราช 2559 17. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 54/2559 เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภาการศึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ ลงวันที่ 9 กันยายน พุทธศักราช 2559 18. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 57/2559 เรื่อง การปรับปรุงการบริหาร เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 14 กันยายน พุทธศักราช 2559 19. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 61/2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาบุคลากรด้านการบิน ลงวันที่ 6 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 20. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 78/2559 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พุทธศักราช 2559 21. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ลงวันที่ 17 มกราคม พุทธศักราช 2560 22. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 40/2560 เรื่อง มาตรการรองรับเพื่อให้การดำเนินการเดินอากาศเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ลงวันที่ 13 กันยายน พุทธศักราช 2560 23. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2561 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2561 สคก. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้แล้ว โดยได้รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฯ ผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ตั้งแต่วันที่ 1 - 16 เมษายน 2567 รวมทั้งได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนและหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้องมาประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบแล้ว นอกจากนี้ ได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายพร้อมทั้งเปิดเผยเอกสารดังกล่าว ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผ่านทางเว็บไซต์ www.law.go.th และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับที่หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้องเห็นว่า หมดความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน จำนวน 23 ฉบับ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (13 กันยายน 2566) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่จำเป็น อันจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายในภาพรวมของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพการทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นการลดอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อ สำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา อว. เสนอว่า 1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รวม 10 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) การศึกษา (3) นิติศาสตร์ (4) นิเทศศาสตร์ (5) บริหารธุรกิจ (6) รัฐประศาสนศาสตร์ (7) วิทยาศาสตร์ (8) ศิลปศาสตร์ (9) เศรษฐศาสตร์ และ (10) สาธารณสุขศาสตร์ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้เปิดสอนสาขาวิชาเพิ่มขึ้น 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยี และสาขาวิชาจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ จึงสมควรกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา รวมทั้งสีประจำสาขาวิชาสำหรับสาขาวิชาดังกล่าว 3. สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ดังนี้ 3.1. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563) 3.2 ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ได้มีมติรับทราบการใช้ชื่อปริญญาและสาขาวิชาของหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563) 3.3. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ครั้งที่ 11/2563 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) ทั้งนี้ การกำหนดชื่อปริญญาสาขาวิชาทางวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2565 กำหนดให้ใช้ชื่อสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ โดยเป็นปริญญาประเภทกึ่งวิชาชีพ ซึ่งต่างจากสาขาวิชาศิลปศาสตร์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับเดิม ที่เป็นปริญญาประเภทวิชาการ 4. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับทราบหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 และรับทราบหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 5. สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในการประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 มีมติอนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 6. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาสำหรับสาขาวิชาเทคโนโลยี และสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา 7 สีประจำคณะ มีดังต่อไปนี้ (1) สาขาวิชาบัญชี สีฟ้าเทา (2) สาขาวิชาการศึกษา สีฟ้า (3) สาขาวิชานิติศาสตร์ สีขาว (4) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สีน้ำเงิน (5) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สีชมพู (6) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สีน้ำตาล (7) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สีเหลือง (8) สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สีแสด (9) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สีเขียวหัวเป็ด (10) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สีชมพูส้ม มาตรา 3 ให้กำหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดังต่อไปนี้ ฯลฯ (3) สาขาวิชาเทคโนโลยี มีปริญญาสองชั้น คือ (ก) โท เรียกว่า ?เทคโนโลยีมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.ม.? (ค) ตรี เรียกว่า ?เทคโนโลยีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.บ.? ฯลฯ (8) สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีปริญญาสามชั้น คือ (ก) เอก เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.ด.? (ข) โท เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.ม." (ค) ตรี เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.บ.? ?มาตรา 7 สีประจำคณะ มีดังต่อไปนี้ (1) สาขาวิชาบัญชี สีฟ้าเทา (2) สาขาวิชาการศึกษา สีฟ้า (3) สาขาวิชานิติศาสตร์ สีขาว (4) สาขาวิชาเทคโนโลยี สีเขียว (5) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สีน้ำเงิน (6) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สีชมพู (7) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สีน้ำตาล (8) สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ สีแดงเลือดนก และประยุกต์ศิลป์ (9) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สีเหลือง (10) สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สีแสด (11) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สีเขียวหัวเป็ด (12) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สีชมพูส้ม 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการคลังเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง กรณีการจัดซื้อจัดจ้างจากรัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลในเครือของหน่วยงานของรัฐเดียวกัน โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของหน่วยงานของรัฐ ในรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่เป็นนิติบุคคลในเครือของหน่วยงานของรัฐเดียวกัน จากเดิม ?ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนทั้งหมด? เป็น ?ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด? เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจจากรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่เป็นนิติบุคคลในเครือของหน่วยงานเดียวกันมีความโปร่งใสมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันปรากฏว่ามีรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐบางแห่งไปจัดตั้งหรือไปถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีภารกิจหลักเพื่อรองรับการดำเนินการในภารกิจหรือกิจกรรมของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้จัดตั้งหรือไปเป็นผู้ถือหุ้นนั้นโดยตรง แล้วเลือกจัดซื้อจัดจ้างกับบริษัทตนที่จัดตั้งขึ้นหรือถือหุ้นอยู่โดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ตามข้อ 2 (4) (ก) ของกฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2561 เพื่อที่จะไม่ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หรือวิธีการคัดเลือก ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยมีเจตนาเพื่อใช้ช่องว่างของการถือหุ้นนิติบุคคลในเครือเพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกับผู้ประกอบการอื่น โดยเมื่อแก้ไขกฎหมายโดยเพิ่มอัตราร้อยละการถือหุ้นแล้วจะช่วยลดการใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงกับรัฐวิสาหกิจที่ถือหุ้นอยู่หรือกับนิติบุคคลที่เป็นบริษัทในเครือ (จากเดิมถือหุ้นร้อยละ 25 ของทุนทั้งหมดก็สามารถจ้างรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทในเครือด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจงได้ ซึ่งเมื่อแก้ไขกฎหมายแล้วจะไม่สามารถจ้างรัฐวิสาหกิจหรือ บริษัทเดิมด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจงได้อีก ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือก อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภายนอกเข้าแข่งขันได้ด้วย) ประกอบกับคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐเห็นชอบด้วยแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีความเห็นเพิ่มเติมว่าควรนำนิยามคำว่า ?รัฐวิสาหกิจ? ในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาปรับใช้กับร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ ซึ่งจะช่วยสร้างความชัดเจน และยากต่อการใช้ช่องว่างของกฎหมายเพื่อเอื้อต่อการทุจริต และเห็นควรกำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อรับรองสิทธิของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วย และกระทรวงคมนาคมมีข้อสังเกตว่าควรกำหนดให้มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ชัดเจนว่ารัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลในเครือหน่วยงานของรัฐเดียวกันแห่งใด ที่สามารถดำเนินภารกิจหรือกิจกรรมได้เพียงแห่งเดียว หรือเป็นกิจกรรมที่ผู้ประกอบการรายอื่น สามารถดำเนินการได้ในลักษณะทั่ว ๆ ไป ซึ่งสามารถใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) หรือวิธีคัดเลือกได้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กค. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไป โดยร่างกฎกระทรวงมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เพิ่มการถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคล ตามข้อ 2 (4) (ก) จากเดิม ?ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนทั้งหมด? เป็น ?ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด? เงื่อนไขเดิม เงื่อนไขใหม่ (ก) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มีหน่วยงานของรัฐถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมอยู่ด้วยในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุนทั้งหมดและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด (ก) รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มีหน่วยงานของรัฐถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนรวมอยู่ด้วยในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง พน. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไป ร่างกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. .... เป็นการยกเลิกกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ เพื่อให้ครอบคลุมถึงการประกอบกิจการทั้งท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกและท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล รวมถึงท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลว และให้สอดคล้องกับสภาพการประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อในปัจจุบันและเป็นตามมาตรฐานสากล มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. กำหนดให้ ?ก๊าซธรรมชาติ? หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมที่ประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนใหญ่ 2. กำหนดให้ ?ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ หมายความว่า ระบบที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายก๊าซธรรมชาติผ่านท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกหรือท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งประกอบด้วย สถานี ท่อ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติ 3. กำหนดให้ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่ไม่ถือเป็นระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อตามกฎกระทรวงนี้ เช่น พื้นที่พัฒนาร่วม โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และโรงผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว เป็นต้น 4. กำหนดให้ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องได้รับการเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือรายงานด้านสิ่งแวดล้อม และจัดทำรายงานการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่ได้รับความเห็นชอบ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด 5. กำหนดให้ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องมีแผนผังโดยสังเขปแสดงตำแหน่งที่ตั้งของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ แผนผังบริเวณแสดงแนวท่อ แบบก่อสร้างระบบการขนส่ง และรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัย 6. กำหนดให้การออกแบบ การก่อสร้าง ติดตั้ง และวัสดุอุปกรณ์ ของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ประกาศ โดยสมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานของประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป หรือมาตรฐานอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา 7. การกำหนดมาตรการความปลอดภัยของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่มีตำแหน่งที่มีโอกาสรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติต้องตั้งอยู่ห่างจากผนังถังเก็บน้ำมัน หรือถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสถานที่เก็บวัตถุที่ติดไฟหรือระเบิดได้ทุกชนิดที่อยู่เหนือพื้นดิน หรือแหล่งที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟได้ง่ายไม่น้อยกว่า 7.50 เมตร 8. กำหนดให้การออกแบบ การติดตั้ง การตรวจสอบระบบไฟฟ้า การต่อลงดิน ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า บริภัณฑ์ไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งสำหรับประเทศไทยของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานที่ประกาศโดยคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ มาตรฐานที่สถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกากำหนด หรือมาตรฐานอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา 9. กำหนดให้สถานีและแท่นประกอบการขนส่งก๊าซธรรมชาติ ต้องจัดให้มีป้ายห้ามและคำเตือนเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีและเครื่องหมาย เพื่อความปลอดภัยและต้องติดตั้งไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ได้แก่ ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามจุดไฟและก่อประกายไฟ และห้ามใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ สถานีต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.8 กิโลกรัม ที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบอย่างน้อยสองเครื่องไว้ ณ บริเวณที่มองเห็นและสามารถนำออกมาใช้ได้โดยง่าย 10. กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดให้มีการเตรียมการในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างน้อยต้องมีการจัดทำแผนฉุกเฉินและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งพร้อมทั้งจัดทำและจัดเก็บรายงานการฝึกซ้อม เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของกรมธุรกิจพลังงาน จัดทำป้ายขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อประสบเหตุฉุกเฉิน สำหรับบุคคลทั่วไปในพื้นที่เขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ 6. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศ พม. เสนอว่า 1. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 16/1 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศ กำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ และประกาศกำหนดให้สถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะใด ๆ ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรการดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 กำหนดมาตรการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เช่น 1.1 ให้สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ ได้แก่ สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อาคาร ที่พักอาศัยในเชิงพาณิชย์ประเภทหอพัก อาคารชุด หรือเกสต์เฮาส์ (Guest House) ที่ให้ผู้อื่นเช่า โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงาน เรือประมงต่างประเทศที่เข้ามาในน้ำน่านไทย อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 1.2 ให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ ต้องชี้แจงหรือจัดให้มีการอบรมลูกจ้างเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ต้องอนุญาตให้ใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสารระหว่างลูกจ้างกับบุคคลภายนอก 2. ต่อมาได้มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานร่วมรักษาการ เพิ่มความผิดและมาตรการในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และกำหนดลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดฐานบังคับใช้แรงงานหรือบริการ รวมทั้งกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสม ด้วยเหตุดังกล่าว พม. จึงได้เสนอร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ เพื่อปรับปรุงประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ให้สอดคล้องกับพระราชกำหนดดังกล่าว และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งร่างประกาศดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้ 2.1. กำหนดให้ พม. กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะตามกฎหมายนั้น กำกับ ดูแลให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดำเนินกิจการ ดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ ดังต่อไปนี้ (1) ชี้แจงหรือให้ความรู้แก่ลูกจ้าง หรือผู้รับบริการ อย่างน้อยปีละครั้ง (2) อนุญาตให้ลูกจ้างติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกได้ (3) ตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือ ในกรณีที่ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นใดกล่าวอ้างว่ามีการใช้กำลังบังคับหรือทำร้ายเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์หรือฐานบังคับใช้แรงงานหรือบริการ (4) อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะ ที่ตนเป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครอง (5) ควบคุม สอดส่อง และดูแล ไม่ให้มีการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์หรือฐานบังคับใช้แรงงานหรือบริการ (6) แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพบว่ามีการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์หรือฐานบังคับใช้แรงงานหรือบริการ หรือให้ข้อมูลข่าวสาร หรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ของบุคคลซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยหรือควรเชื่อได้ 2.2 กำหนดให้สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ ได้แก่ สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ อาคารที่พักอาศัยในเชิงพาณิชย์ประเภทหอพัก อาคารชุด หรือเกสต์เฮาส์ (Guest House) ที่ให้ผู้อื่นเช่า1 โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงาน เรือประมงต่างประเทศที่เข้ามาในน้ำน่านไทย อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 3. พม. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศดังกล่าว จำนวน 2 ครั้ง ผ่านระบบกลางทางกฎหมาย https://www.law.go.th ในวันที่ 18 กันยายน ถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2566 และในวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2567 และได้มีการแจ้งเวียนเพื่อประชาสัมพันธ์ทุกกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือแสดงความคิดเห็น ซึ่งผลการรับฟังความคิดเห็นปรากฏว่าเห็นชอบด้วยกับร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว 4. ร่างประกาศในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 25622 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562 ออกไปอีก 1 ปี (ครบกำหนดในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567) ดังนั้น มีความจำเป็นต้องเร่งออกร่างประกาศในเรื่องนี้ให้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 1 ปรับจากอาคารที่พักอาศัยในเชิงพาณิชย์ประเภทหอพัก อาคารชุด หรือเกสต์เฮ้าส์ (Guest House) ที่ให้ผู้อื่นเช่า เพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น 2 มาตรา 22 วรรคสอง บัญญัติให้กฎหมายที่มิใช่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย หรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ และบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชน ให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ แต่ในกรณีที่บทบัญญัติในเรื่องนั้น ให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับได้ โดยไม่ต้องมีกฎหรือดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ระยะเวลาสองปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกินหนึ่งปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว เศรษฐกิจ-สังคม 7. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทยในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) เสนอการใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ในเขตปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่รวมประมาณ 1,537 - 3 - 04 ไร่ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม เนื้อที่รวมประมาณ 1,917 - 3 - 75 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อให้ รฟท. สามารถดำเนินงานโครงการก่อสร้างได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด และ คปก. จะได้พิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง คปก. รายงานว่า 1. การดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม ของ รฟท. ทั้ง 2 โครงการ เป็นโครงการของรัฐที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 31 กรกฎาคม 2561, 28 พฤษภาคม 2562) ซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ และมีความจำเป็นต้องขอความยินยอมหรือขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อดำเนินการก่อสร้าง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ รายละเอียดโครงการ พื้นที่ของโครงการที่ต้องขอความยินยอมหรือขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (1) โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ เป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายใหม่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด 17 อำเภอ 59 ตำบล ประกอบด้วยจังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย โดยมีจุดเริ่มต้นที่สถานีเด่นชัย จังหวัดแพร่ และสิ้นสุดที่สถานีเชียงของ จังหวัดเชียงราย แบ่งเป็นทางรถไฟระยะทาง 323.10 กิโลเมตร อุโมงค์รถไฟจำนวน 4 แห่ง คือ อำเภอสอง 2 แห่ง มหาวิทยาลัยพะเยาและดอยหลวงรวม 14.415 กิโลเมตร คันทางคู่สูงเฉลี่ย 4 เมตร ป้ายหยุดรถไฟ จำนวน 13 แห่ง สถานีรถไฟขนาดเล็ก จำนวน 9 แห่ง และสถานีรถไฟขนาดใหญ่จำนวน 4 แห่ง รวมทั้งสิ้น 26 สถานี ลานบรรทุกตู้สินค้า จำนวน 5 แห่ง ถนนยกข้ามทางรถไฟ (Overpass) จำนวน 39 แห่ง ถนนลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) จำนวน 103 แห่ง พร้อมการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมและสร้างรั้วสองแนวข้างทางตลอดเส้นแนวทางรถไฟ ซึ่งต่อมา รฟท. ได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการดังกล่าว จำนวน 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย - งาว สัญญาที่ 2 ช่วงงาว - เชียงราย และสัญญาที่ 3 เชียงราย - เชียงของ 1,537 - 3 - 04 ไร่ (2) โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม เป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ จำนวน 2 เส้นทาง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด 19 อำเภอ 70 ตำบล ประกอบด้วยจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม โดยมีจุดเริ่มต้นที่สถานีบ้านหนองแวงไร่ จังหวัดขอนแก่น และสิ้นสุดที่สถานีสะพานมิตรภาพ 3 จังหวัดนครพนม โดยแบ่งเป็น (1) ทางรถไฟระดับดินระยะทาง 346 กิโลเมตร คันทางรถไฟสูงเฉลี่ย 4 เมตร และ (2) เป็นโครงสร้างทางรถไฟยกระดับ 9 กิโลเมตร ก่อสร้างป้ายหยุดรถไฟ จำนวน 12 แห่ง สถานีรถไฟขนาดเล็กจำนวน 9 แห่ง สถานีรถไฟขนาดกลาง จำนวน 5 แห่ง และสถานีรถไฟขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง รวมทั้งสิ้น 18 สถานี มีลานบรรทุกตู้สินค้า จำนวน 3 แห่ง มีย่านกองเก็บตู้สินค้า จำนวน 3 แห่ง ถนนยกข้ามทางรถไฟ (Overpass) จำนวน 81 แห่ง ถนนลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) จำนวน 245 แห่ง พร้อมการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมและสร้างรั้วสองแนวข้างทางตลอดเส้นแนวทางรถไฟ ซึ่งต่อมา รฟท. ได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการดังกล่าว จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 บ้านไผ่ - หนองพอก และสัญญาที่ 2 หนองพอก - สะพานมิตรภาพ 3 1,917 - 3 - 75 ไร่ รวมทั้งสิ้น 3,455 - 2 - 79 ไร่ 2. การดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟของ รฟท. ทั้ง 2 เส้นทาง จะต้องเข้าดำเนินการในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เนื้อที่รวมประมาณ 3,455 - 2 - 79 ไร่ โดย รฟท. ซึ่งเป็นผู้ประสงค์จะใช้ที่ดินจะต้องยื่นคำขอรับความยินยอมหรือขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินต่อ คปก. ก่อนส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการก่อสร้าง ทั้งนี้ก่อนที่ คปก. จะพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะต้องดำเนินการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติอนุมัติให้ใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวก่อน เพื่อให้ คปก. สามารถพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ รฟท. ใช้ที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินโครงการดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลและเป็นไปตามแนวนโยบายของรัฐต่อไป 3. จากการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมบางส่วน และส่งผลต่อเกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แต่ในขณะเดียวกัน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จะให้ รฟท. ซึ่งเป็นผู้ขอใช้ประโยชน์ที่ดิน เยียวยาหรือจ่ายค่าชดเชยการสูญเสียโอกาสจากการใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างทางรถไฟให้แก่เกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดินจาก ส.ป.ก. ตามข้อตกลงระหว่าง รฟท. กับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งกำหนดเป็นจำนวนเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นเพื่อค่าทดแทนความเสียหายจากการรอนสิทธิเกษตรกร หรือการสูญเสียโอกาสในการใช้ที่ดินของเกษตรกรบรรดาผู้มีสิทธิในที่ดินนั้น และเมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินตามกฎหมายแล้ว รฟท. จะต้องนำส่งค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้กับ ส.ป.ก. เพื่อนำเข้ากองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ตามระเบียบ คปก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการใช้และค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดย ส.ป.ก. จะนำค่าตอบแทนดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและประชาชนในเขตปฏิรูปที่ดินต่อไป 8. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง ขนาด 68 ครอบครัว จำนวน 2 อาคาร และอาคารที่จอดรถ สูง 8 ชั้น จำนวน 1 หลัง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงิน 300 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง ขนาด 68 ครอบครัว จำนวน 2 อาคาร และอาคารที่จอดรถ สูง 8 ชั้น จำนวน 1 หลัง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต สวัสดิการ และบรรเทาความเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับข้าราชการตำรวจต่อไป ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ สาระสำคัญของเรื่อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่า 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพื้นที่ การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนและการควบคุมฝูงชนหรือกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องระดมกำลังข้าราชการตำรวจไปปฏิบัติหน้าที่และภารกิจดังกล่าวได้ตลอด 24 ชั่วโมง และมีความจำเป็นที่จะต้องมีสถานที่พักที่อยู่ใกล้กับสถานที่ทำงานเพื่อให้สามารถเรียกระดมกำลังเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอาคารบ้านพักส่วนกลาง จำนวน 7 แห่ง รวมจำนวน 86 อาคาร ห้องพัก จำนวน 5,718 ห้อง ซึ่งไม่เพียงพ่อกับจำนวนข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน โดยมีผู้รอรับการจัดสรรที่พักอาศัย (ส่วนกลาง) จำนวน 3,963 คน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเช่าบ้านประมาณ 8.16 ล้านบาทต่อปี 2. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 นายกรัฐมนตรีได้เข้าตรวจเยี่ยมอาคารบ้านพักส่วนกลางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (เฉลิมลาภ) ซึ่งอาคารบ้านพักดังกล่าวมีอายุการใช้งานมานานกว่า 45 ปี (ก่อสร้างเมื่อปี 2522) ส่งผลให้สภาพอาคารมีความทรุดโทรมไม่เหมาะสมต่อการพักอาศัย และไม่คุ้มค่าต่อการซ่อมแซมปรับปรุง นายกรัฐมนตรีจึงมีดำริให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปรับปรุงแก้ไขแบบรูปรายการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้มีความทันสมัย สอดรับกับพื้นที่อาศัยในปัจจุบัน และจัดสรรสวัสดิการบ้านพักอาศัยให้กับข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย เพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบบริเวณที่พักอาศัย และลดขยะและมลภาวะ ต่อมาคณะกรรมการพิจารณากำหนดนโยบายการใช้ที่ดินและอาคารสถานที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ได้มีมติให้นำที่ดินราชพัสดุซึ่งเป็นพื้นที่ว่าง (บริเวณสนามฟุตบอล) ที่อยู่ในความครอบครองของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในบริเวณอาคารพักอาศัยส่วนกลางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (เฉลิมลาภ) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร มาพัฒนาตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีดังกล่าว 3. แต่เนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่สามารถปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณได้เนื่องจากมีภารกิจจำเป็น เช่น การติดตามจับกุมคนร้ายในคดีสำคัญ คดีที่ประชาชนให้ความสนใจ การแก้ปัญหาด้านจราจร การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงิน 300 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางและอาคารที่จอดรถ โดยกำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กำหนดแล้วเสร็จภายใน 12 เดือน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 อาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง จำนวน 2 อาคาร ประกอบด้วย อาคารสำหรับข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จำนวน 1 อาคาร และอาคารสำหรับข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร จำนวน 1 อาคาร มีห้องพักจำนวน 68 ห้องต่ออาคาร พื้นที่ใช้สอย จำนวน 3,995 ตารางเมตรต่ออาคาร ทั้งนี้ อาคารดังกล่าวมีลักษณะโครงสร้างแบบคอนกรีตสำเร็จรูป (precast) โดยสามารถลดผลกระทบทั้งในเรื่องมลภาวะทางเสียงและฝุ่นจากการก่อสร้าง พร้อมทั้งได้แยกงานระบบและพื้นที่ออกจากกัน (แต่ละอาคารมีระบบไฟฟ้า ระบบบำบัดน้ำเสีย ถนน และทางเข้าอาคารเป็นของตัวเอง ไม่มีการใช้ระบบและพื้นที่งานร่วมกัน) ตลอดจนมีการสร้างรั้วแบ่งแยกระหว่างอาคารชัดเจน ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแจ้งว่า ไม่เข้าข่ายโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รายละเอียด อาคารที่พักอาศัย ความสูง จำนวน 8 ชั้น สูง 22.80 เมตร จำนวนห้องพัก 68 ห้อง/อาคาร ขนาดห้องพัก* 45 ตารางเมตร พื้นที่ใช้สอย 3,995 ตารางเมตร/อาคาร พื้นที่ก่อสร้าง 6,055 ตารางเมตร *หมายเหตุ ห้องพักมาตรฐานขนาด 45 ตารางเมตร ประกอบด้วย ห้องนอน จำนวน 1 ห้อง ห้องน้ำ จำนวน 1 ห้อง ห้องโถงและพื้นที่ครัวและซักล้าง พร้อมครุภัณฑ์พื้นฐานเข้าอยู่ได้ทันที เช่น ตู้เสื้อผ้า เตียงนอน ที่นอนสปริง 3.2 อาคารที่จอดรถ จำนวน 1 หลัง ความสูง 8 ชั้น (22.40 เมตร) จอดรถได้ 136 คัน 4. สำนักงบประมาณได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 300 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง ขนาด 68 ครอบครัว จำนวน 2 อาคาร และอาคารที่จอดรถ สูง 8 ชั้น จำนวน 1 หลัง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร แล้ว 9. เรื่อง โครงการสลากการกุศลเพิ่มเติม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและมอบหมายตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้ 1. การออกสลากการกุศล (สลากฯ) เพื่อสนับสนุนโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากฯ (คณะกรรมการฯ) จำนวน 11 โครงการ วงเงินรวม 837.65 ล้านบาท 2. ให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (สำนักงานสลากฯ) ดำเนินการ ดังนี้ 2.1 เป็นผู้จัดพิมพ์ จัดจำหน่าย และจ่ายเงินรางวัลสลากฯ (ตามข้อ 1) 2.2 ประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการออกสลากฯ การขออนุญาตการออกสลากฯ โดยปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการนำส่งเงินให้หน่วยงานเจ้าของโครงการตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ โดยให้ผู้รับใบอนุญาตการออกสลากฯ เสียภาษีการพนันเหลือร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายตามข้อ 12 (4) ของกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2543) 2.3 จัดทำแผนการออกสลากฯ และแผนการใช้เงินของแต่ละโครงการและรายงานต่อคณะกรรมการฯ เพื่อประโยชน์ในการกำกับ ติดตามการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2.4 บริหารการจ่ายเงินให้หน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากฯ ตามความเหมาะสมและเร่งด่วนเพื่อให้โครงการสลากฯ สามารถเบิกจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็ว 3. ให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการ ดังนี้ 3.1 กำหนดระยะเวลาในการผูกพันวงเงินของโครงการที่ได้รับการสนับสนุน และหากเกิดกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการไม่สามารถผูกพันวงเงินได้ตามกำหนด ให้คณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบการขอขยายระยะเวลาผูกพันวงเงินหรือหากคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการดังกล่าวไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกวงเงินสนับสนุนโครงการดังกล่าว 3.2 เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการใช้เงินภายในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนโดยจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงเป็นกิจกรรมที่แตกต่างจากโครงการที่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 มีมติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากฯ (โครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ) โดยให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 และปรับปรุงสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้ 1.1 เห็นชอบกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการสลากฯ เพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้ (1) กำหนดวงเงินที่จะให้การสนับสนุนแต่ละโครงการไม่เกินโครงการละ 200 ล้านบาท และหน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอขอรับการสนับสนุนได้หน่วยงานละ 1 โครงการ (2) ให้หน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากฯ ต้องเป็นหน่วยงานที่ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการสลากการกุศลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 และวันที่ 7 มีนาคม 2566 (3) ให้โครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ มีระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินเพื่อดำเนินโครงการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2568 (4) โครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ ต้องไม่เป็นโครงการที่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่บรรจุอยู่ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2567 1.2 มอบหมายฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ระยะเวลาการยื่นข้อเสนอโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ และหลักเกณฑ์ฯ บนเว็บไซต์ของ สคร. และสำนักงานสลากฯ โดยกำหนดระยะเวลาการยื่นขอรับการสนับสนุนภายใน 45 วันหลังจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 1.3 มอบหมายคณะทำงานกลั่นกรองโครงการสลากฯ กลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ ที่ยื่นข้อเสนอโครงการ โดยจัดลำดับความสำคัญตามความจำเป็นและความพร้อมของการดำเนินโครงการ รวมถึงแผนการเบิกจ่ายเงินและกระจายตัวของวงเงิน ที่จะได้รับการสนับสนุน 2. สคร. และสำนักงานสลากฯ ได้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่หลักเกณฑ์ฯ และรายละเอียดของข้อมูลโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ ตามมติคณะกรรมการฯ ดังกล่าวในเว็บไซต์ของ สคร. และสำนักงานสลากฯ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 พร้อมทั้งกำหนดให้หน่วยงานที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนยื่นขอรับการสนับสนุนตามรายละเอียดข้อมูลโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ มายัง สคร. ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2567 โดย ณ วันที่ 26 มกราคม 2567 มีหน่วยงานยื่นข้อเสนอโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ จำนวนรวมทั้งสิ้น 25 โครงการ วงเงิน 3,698.65 ล้านบาท 3. คณะกรรมการฯ ในการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 และครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 มีมติเห็นชอบผลการกลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินฯ จำนวน 11 โครงการ วงเงิน 837.75 ล้านบาท ตามที่คณะทำงานกลั่นกรองโครงการสลากฯ เสนอ และเห็นชอบให้นำเสนอ กค. เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการที่ได้รับการสนับสนุน โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ โครงการ หน่วยงาน เจ้าของโครงการ วงเงิน (ล้านบาท) (1) โครงการก่อสร้างโรงอาหารคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย โดยให้การสนับสนุนค่าก่อสร้างโรงอาหารขนาดเล็ก 260 ที่นั่ง พร้อมโต๊ะอาหาร จำนวน 44 ตัว และเก้าอี้ จำนวน 88 ตัว โรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช 4.13 (2) โครงการก่อสร้างหลังคาคลุมลานอเนกประสงค์ โดยให้การสนับสนุนค่าก่อสร้างหลังคาคลุมลานอเนกประสงค์ สำหรับนักเรียน ครู บุคลากร และประชาชนในพื้นที่ เพื่อใช้ทำกิจกรรม โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 19.01 (3) *โครงการขอสนับสนุนเครื่องมือและครุภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับอาคารวัฒนเวชและศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะโรค โดยให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับ 7 ศูนย์ความเชี่ยวชาญ และ 6 หน่วยบริการ จำนวน 38 รายการ โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี 100.50 (4) โครงการพัฒนาการตรวจและรักษาผู้ป่วยโดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมส่องกล้องตรวจรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์จำนวน 5 รายการ โรงพยาบาลเกาะสมุย 10.10 (5) โครงการพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานและระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครเชียงราย โดยให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดหาครุภัณฑ์จำนวน 42 รายการ ในการให้บริการประชาชนในศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 4 แห่ง รวมถึงจัดหาครุภัณฑ์ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพแก่คนในชุมชนทั้ง 65 ชุมชน เทศบาลนครเชียงราย 22.93 (6) โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับงานวินิจฉัยโรคทางพยาธิวิทยา และนวัตกรรมทางการธนาคารเลือด โดยให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศและอำนวยความสะดวกในการให้บริการทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และจัดหาครุภัณฑ์จำนวน 14 รายการ จัดจ้างเป็นสัญญาเดียว มูลนิธิสถาบันพยาธิวิทยา 47.00 (7) *โครงการเพิ่มศักยภาพบริการทางการแพทย์โรงพยาบาลหัวไทร สู่ความเป็นโรงพยาบาลชั้นนำ โดยให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมที่ 5 ก่อสร้างอาคารโรงซ่อมบำรุงพัสดุ โรงพยาบาลหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 8.51 (8) *โครงการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นและปรับปรุงอาคารสถานที่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และพัฒนาศักยภาพในการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลทหารผ่านศึก โดยให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรม 2 กิจกรรม ดังนี้ (8.1) จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์และครุภัณฑ์ที่จำเป็นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาล ระยะเวลาดำเนินการภายในปี 2567 และ (8.2) การปรับปรุงอาคารสถานที่ภายในโรงพยาบาลทหารผ่านศึก และศูนย์อายุรวัฒน์ทหารผ่านศึก และผู้สูงอายุ องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ 162.84 (9) โครงการพัฒนาศักยภาพการผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจ มะเร็งและอุบัติเหตุ โดยให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ จำนวน 35 รายการ สำหรับผ่าตัดในห้องผ่าตัดและห้องตรวจสวนหัวใจชั้น 5 ห้องผ่าตัดเพิ่มและห้องพักฟื้น ชั้น 6 และ 7 ที่ยังไม่มีงบประมาณสำหรับครุภัณฑ์ ระยะเวลาดำเนินการปี 2567 - 2568 โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 196.20 (10) *โครงการสลากเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านการสร้างโอกาสทางการศึกษาสายอาชีพ และการเรียนรู้สำหรับผู้พิการ เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนงานจำนวน 2 แผนงาน ได้แก่ แผนงานที่ 1 แผนการพัฒนาและศึกษาต่อในระดับสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล/ผู้ช่วยทันตแพทย์ ประเภททุน 1 ปี) และแผนงานที่ 3 แผนการพัฒนาการเรียนรู้และอาชีพแก่เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน กองทุน เพื่อความเสมอภาค ทางการศึกษา 135.98 (11) *โครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดอาคารศัลยกรรม โดยให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ จำนวน 8 รายการ เพื่อทดแทนและเพิ่มศักยภาพในด้านการบริการทางการแพทย์ภายในห้องผ่าตัดอาคารศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์บริเวณชั้น 5 และ ชั้น 6 เพื่อให้บริการด้านการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัย นวมินทราธิราช 130.45 รวม 837.65** หมายเหตุ : *เป็นโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนเพียงบางส่วน รวม 4 โครงการ ส่วนโครงการที่เหลือจำนวน 7 โครงการ ได้รับเงินสนับสนุนเต็มจำนวน **กรอบวงเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 จำนวน 838.62 ล้านบาท คงเหลือวงเงินทั้งสิ้น 0.97 ล้านบาท 4. การดำเนินการโครงการสลากฯ จะช่วยสนับสนุนโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาด้านการสาธารณสุข การป้องกันและบรรเทาโรคติดต่ออันตราย และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมทั้งก่อประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐอย่างทั่วถึงในวงกว้างหรือได้รับการจัดสรรแต่ไม่เพียงพอให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงิน ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณสุขและบริการขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นรวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้อีกทางหนึ่ง 10. เรื่อง (ร่าง) ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่งวง) ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีรับทราบ (ร่าง) ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่งวง) ในประเทศไทย ตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ (สภช.) เสนอ และมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย สาระสำคัญของเรื่อง สภช. รายงานว่า 1. ได้รับเรื่องร้องทุกข์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไก่งวงราชบุรีและเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวง1 จำนวน 450 ฟาร์มทั่วประเทศว่าได้รับคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศในช่วงเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 40 ตัน มูลค่า 16 ล้านบาท แต่ไม่สามารถส่งออกได้ เนื่องจากยังไม่มีข้อกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสัตว์ปีก (ไก่งวง) แบบโรงเรือนยกพื้น จึงมีการชะลอการสั่งซื้อสินค้าออกไปจนกว่าจะดำเนินการแก้ไขประเด็นดังกล่าวให้แล้วเสร็จ 2. สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ (สกช.) ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลจัดประชุมรับฟังปัญหาอุปสรรค ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร และองค์กรเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวง ซึ่งพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวงประสบปัญหาการส่งออก ดังนี้ 2.1 โรงฆ่าสัตว์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวง เนื่องจากฟาร์มไก่งวงได้รับคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งโรงฆ่าสัตว์ปีกที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการฆ่าสัตว์ปีกทั่วประเทศ มีจำนวน 520 แห่ง แต่มีเพียง 1 แห่งที่ได้รับอนุญาตฆ่าสัตว์ปีก ประเภทไก่งวง คือ บริษัท วินไทยฟู้ด จำกัด ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสระแก้ว ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวง อีกทั้งเกษตรกรที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ ต้องมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นประกอบกับระยะทางขนส่งที่ค่อนข้างไกล อาจส่งผลให้ไก่งวงตายระหว่างการขนส่งได้ 2.2 ประเทศไทยยังไม่มีข้อกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสัตว์ปีก (ไก่งวง) แบบโรงเรือนยกพื้น ในปัจจุบันประเทศไทยมีการเลี้ยงไก่งวง 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) รูปแบบการเลี้ยงปล่อยอิสระ ซึ่งได้รับมาตรฐาน GAP2 เรียบร้อยแล้ว แต่มีข้อเสีย คือ ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงค่อนข้างมาก และ (2) การเลี้ยงแบบโรงเรือนยกพื้น ซึ่งยังไม่ได้รับรองมาตรฐาน GAP เหมาะสำหรับการเลี้ยงในพื้นที่ที่จำกัด สามารถเลี้ยงไก่งวงได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น มีต้นทุนที่ลดลงและจะทำให้เนื้อไก่งวงมีคุณภาพดี เนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นสาบ เนื่องจากไม่มีข้อกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสัตว์ปีก ประเภทไก่งวง แบบโรงเรือนยกพื้น ที่ได้มาตรฐานเพื่อการส่งออก จึงไม่สามารถส่งออกและจำหน่ายเนื้อไก่งวงให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิต แปรรูปเพื่อการส่งออกได้ ประกอบกับมีไก่งวงแช่แข็งที่ค้างในสต็อกรอจัดจำหน่าย จำนวน 150 ตันหรือ 33,500 ตัว โดยมีมูลค่ากว่า 60 ล้านบาท รวมทั้งมีไก่งวงที่รอการเข้าโรงฆ่า จำนวน 3,000 ตัว โดยมีมูลค่าประมาณ 5.4 ล้านบาท 3. ในคราวประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 6 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่งวง) ในประเทศไทย สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้ ลำดับ ข้อเสนอ มอบหมาย 1 ขอให้ภาครัฐเร่งอนุญาตให้โรงฆ่าสัตว์ปีก เพิ่มชนิดสัตว์ปีกประเภทไก่งวง ตามกฎกระทรวงกำหนดชนิดของสัตว์ที่ต้องอยู่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ พ.ศ. 2564 ข้อ 2 (1) เพื่อจำหน่ายในประเทศและเพื่อการส่งออก เนื่องจากปัจจุบันมีโรงฆ่าสัตว์ปีกที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการฆ่าสัตว์ปีก ประเภทไก่งวง เพียง 1 แห่ง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวง และเกษตรกรที่อยู่ภาคอื่น ๆ ที่ไม่มีโรงฆ่าสัตว์ปีกประเภทไก่งวง ต้องมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งระยะทางขนส่งที่ค่อนข้างไกล อาจส่งผลให้ไก่งวงตายได้ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (กษ.) 2 สนับสนุนให้มีโรงฆ่าสัตว์ปีก (ไก่งวง) ขนาดเล็กที่ได้รับมาตรฐานการส่งออกสำหรับเกษตรกรรายย่อยของหน่วยงานภาครัฐเพื่อรองรับอัตราการผลิตที่มีการขยายตัวในอนาคตและสามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้ กรมปศุสัตว์ กษ./องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 3 กำหนดมาตรฐานสำหรับฟาร์มสัตว์ปีก (ไก่งวง) แบบโรงเรือนยกพื้น (มาตรฐาน GAP) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต และยกระดับมาตรฐานเพื่อการส่งออก ปัจจุบันมาตรฐานสำหรับฟาร์มสัตว์ปีก (ไก่งวง) มีเพียงแบบปล่อยเลี้ยงแบบอิสระที่ได้รับมาตรฐาน GAP แต่การเลี้ยงไก่งวงแบบยกพื้นยังไม่มีมาตรฐาน GAP รับรอง เมื่อไม่ได้รับรองมาตรฐาน GAP จะไม่สามารถนำไก่งวงเข้าโรงฆ่ามาตรฐานเพื่อการส่งออกได้ รูปแบบการเลี้ยงไก่งวงแบบยกพื้นจะทำให้มีพื้นที่เลี้ยงไก่งวงได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น มีต้นทุนที่ลดลง อีกทั้งข้อดีของการเลี้ยงไก่งวงแบบโรงเรือนยกพื้น จะทำให้เนื้อไก่งวงมีคุณภาพดี เนื้อแน่นไม่มีกลิ่นสาบ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำนักงานมาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กษ. 4 ภาครัฐสนับสนุนการจัดทำพิธีสารว่าด้วยการส่งออกไก่งวง เพื่อเร่งการเปิดเสรีการค้าสินค้าไก่งวงและอำนวยความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างอาณาเขตของคู่ภาคี และเสริมสร้างกระชับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) 5 ขอให้ภาครัฐเร่งระบายไก่งวงที่ค้างสต็อกอย่างเร่งด่วน ปัจจุบันมีไก่งวงแช่แข็งค้างในสต็อก จำนวน 150 ตัน มูลค่า 60 ล้านบาท เนื่องจากไม่มีโรงฆ่าสัตว์ปีก (ไก่งวง) ที่ได้รับมาตรฐานเพื่อการส่งออกจึงไม่สามารถจำหน่ายเนื้อไก่ง่วงให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตแปรรูป เพื่อการส่งออกได้ พณ./ กรมปศุสัตว์ กษ. 4. ในอนาคตไก่งวงจะเป็นสัตว์ปีกทางเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่เพิ่มมูลค่าการตลาดภาคการเกษตรให้กับเกษตรกรและประเทศไทย เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวงมีรายได้เพิ่มมากขึ้น กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรม หากภาครัฐไม่เร่งแก้ไข ปรับปรุง ข้อจำกัดเรื่องกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานให้รองรับต่อการส่งออกสัตว์ปีก (ไก่งวง) จะส่งผลให้เกษตรกรและประเทศไทย สูญเสียโอกาสและรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่งวง (คาดการณ์ว่าในปี 2567 จะมีมูลค่าการสั่งซื้อไก่งวงประมาณ 64 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันได้มีการชะลอการสั่งซื้อจนกว่าจะได้รับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว) 1 ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวง จำนวน 8,324 ราย มีฟาร์มไก่งวงทั้งสิ้น 450 ฟาร์มทั่วประเทศ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวงได้รวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน จำนวน 15 กลุ่ม มีการดำเนินงานที่มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการผลิต ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ไก่งวงได้รับความนิยมบริโภคเป็นอย่างมากในกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ เช่น ประเทศลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เป็นต้น ผลผลิตไก่งวงของประเทศไทย ร้อยละ 90 ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดในต่างประเทศ และมีการจำหน่ายภายในประเทศเพียงร้อยละ 10 2 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) หมายถึง แนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด โดยกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน GAP จะครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ซึ่งมาตรฐาน GAP สำหรับฟาร์มปศุสัตว์ จะมีการกำกับดูแลให้มีความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร เริ่มตั้งแต่ระดับฟาร์มเลี้ยง อาหารสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์เพื่อยกระดับการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐาน คุ้มครองผู้บริโภค และเพื่อประโยชน์ในทางการค้า 11. เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการเปิด การขยายเวลา และการปิดจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอดังนี้ 1. รับทราบการเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา (หนองเอี่ยน - สตึงบท)1 อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยใช้ชื่อ บ้านหนองเอี่ยน - สตึงบท) โดยใช้สำนักงานชั่วคราวไปพลางก่อน 2. รับทราบการปรับเวลาเปิดทำการจุดผ่านแดนถาวรภูดู่2 อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ จากเดิมเวลา 06.00 - 20.00 น. ของทุกวัน เป็นเวลา 08.00 - 18.00 น. ของทุกวัน 3. รับทราบการขยายเวลาเปิด - ปิด จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ3 อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเวลา 07.00 - 22.00 น. 4. รับทราบการปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านปากห้วย4 ตำบลหนองผือ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยใช้ชื่อจุดผ่านแดนถาวรด้านอำเภอท่าลี่) 5. การดำเนินการใด ๆ บริเวณพื้นที่ชายแดน จะต้องระมัดระวังมิให้เกิดความเสียหายและผลกระทบต่อความมั่นคง โดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการก่อสร้างถนนหรือกระทำกิจการใด ๆ ตามบริเวณชายแดน) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 (เรื่อง การระงับการก่อสร้างถนนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์) อย่างเคร่งครัด 6. ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ออกประกาศตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแจ้งให้จังหวัดและส่วนราชการในพื้นที่รับทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน และให้ สมช. กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการเปิด การขยายเวลา และการปิดจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ (1) จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา (หนองเอี่ยน - สตึงบท) จังหวัดสระแก้ว (2) จุดผ่านแดนถาวรบ้านภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์ (3) จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ และ (4) จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากห้วย อำเภอห้วยลี่ จังหวัดเลย ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพิจารณาการเปิด - ระงับ หรือปิดจุดผ่านแดนประเภทต่าง ๆ (คณะอนุกรรมการฯ) ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 และครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 และคณะกรรมการร้อยกรองงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นประธานกรรมการในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ดังนี้ ข้อเสนอ เหตุผล การเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา (หนองเอี่ยน - สตึงบท) โดยใช้สำนักงานชั่วคราวไปพลางก่อน เพื่อลดความแออัดบริเวณจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก - ปอยเปต ในระหว่างที่การก่อสร้างอาคารสำนักงานของหน่วยงานหลักที่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมบริเวณชายแดนยังไม่แล้วเสร็จ การปรับเวลาเปิดทำการจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ จากเดิมเวลา 06.00 - 20.00 น. ของทุกวัน เป็นเวลา 08.00 - 18.00 น. ของทุกวัน เพื่อให้สอดคล้องกับเวลาทำการของด่านสากลภูดู่ แขวงไซยะบุลีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงานร่วมกัน การขยายเวลาเปิด - ปิด จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ จากเดิมเวลา 07.00 - 20.00 น. เป็นเวลา 07.00 - 22.00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการสัญจรข้ามแดนของประชาชนของทั้งสองประเทศที่เพิ่มมากขึ้น และมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา ต่าง ๆ ในจังหวัดศรีสะเกษและพื้นที่ใกล้เคียง การปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านปากห้วย ตำบลหนองผือ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย เนื่องจากด่านคอนผึ้ง เมืองแก่นท้าว แขวงไซยะบุลี ลาว ตรงข้ามกับจุดผ่านแดนถาวรบ้านปากห้วย ไม่มีการเปิดใช้งานมาเป็นระยะเวลา 19 ปี และปัจจุบันการสัญจรข้ามแดนบริเวณดังกล่าวจะใช้จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหือง ไทย - ลาว ซึ่งห่างไปเพียง 5.5 กิโลเมตร โดยให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ออกประกาศตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแจ้งให้จังหวัดและส่วนราชการในพื้นที่รับทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน หมายเหตุ: ชื่อจุดผ่านแดนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ดังนี้ 1 จุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน - สตึงบท (ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2560) อย่างไรก็ตามในประกาศฯ ได้กำหนดว่า เมื่อการก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จให้ประกาศนี้สิ้นผลการใช้บังคับ ซึ่งปัจจุบันสะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา (บ้านหนองเอี่ยน - สตึงบท) ณ จุดผ่านแดนชั่วคราวดังกล่าวได้สร้างเสร็จแล้ว โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 2 จุดผ่านแดนถาวรภูดู่ (ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2556) 3 จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ (ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2546) 4 จุดผ่านแดนถาวรด้านอำเภอท่าลี่ (ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2536) 12. เรื่อง รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 และรายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 และรายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สาระสำคัญ 1. รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 มีสาขาสิ่งแวดล้อมจำนวนทั้งสิ้น 11 สาขา โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1.1 สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขาที่มีแนวโน้มดีขึ้นหรือทรงตัว เช่น สาขาสิ่งแวดล้อม สาระสำคัญ (1) ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า - ป่าไม้ พบว่าพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีการปราบปรามการบุกรุกพื้นที่ป่า โดยจำนวนคดีและพื้นที่ที่ถูกบุกรุกมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ดีสถานการณ์ไฟป่ายังคงเป็นที่น่ากังวลโดยเฉพาะในภาคเหนือ - สัตว์ป่า พบว่าประชากรเสือโคร่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ต้องมีการปราบปรามการลักลอบล่าสัตว์ต่อไป (2) ทรัพยากรน้ำ พบว่ามีปริมาณฝนเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่าค่าปกติ และปริมาณน้ำใช้การสำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี พื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำจึงต้องมีการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเพิ่มศักยภาพการเก็บกักน้ำในฤดูฝนต่อไป (3) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง - พืชและปะการัง พบว่าพื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพมีปริมาณเพิ่มขึ้น แหล่งหญ้าทะเลมีสถานภาพสมบูรณ์ปานกลาง และสถานการณ์ปะการังฟอกขาวมีความรุนแรงในระดับต่ำ - สัตว์ทะเล พบการวางไข่ของเต่าทะเลเพิ่มขึ้นและการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากลดลง อย่างไรก็ดี ปริมาณสัตว์น้ำเค็มที่ได้จากการจับจากธรรมชาติมีแนวโน้มลดลง (4) ความหลากหลายทางชีวภาพ พบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกในไทย 30 ชนิด พบสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดใหม่ของโลกในไทย 11 ชนิด และพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดใหม่ของโลกในไทย 31 ชนิด อย่างไรก็ดี มีพรรณไม้และสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยเฉพาะนก) ที่ถูกคุกคามเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องมีการกำหนดมาตรการในการดูแลและอนุรักษ์ต่อไป (5) สถานการณ์มลพิษ - อากาศ ภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้นเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ โดยปริมาณฝุ่นละออง PM10 และ PM2.5 มีค่าเฉลี่ยรายปีทั้งประเทศไม่เกินมาตรฐาน ยกเว้นสระบุรี (หน้าพระลาน) ส่วนสารมลพิษชนิดอื่น ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ดี ก๊าซโอโซนมีแนวโน้มลดลง - ขยะมูลฝอย/ของเสียอันตราย/มูลฝอยติดเชื้อ/วัตถุอันตราย พบว่าขยะมูลฝอยได้มีการนำไปกำจัดอย่างถูกต้องและนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพิ่มขึ้น และการนำเข้าวัตถุอันตรายทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมลดลง อย่างไรก็ดี พบว่าของเสียอันตรายจากชุมชน กากของเสียอุตสาหกรรมและมูลฝอยติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้น (6) สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน พื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากรของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เมืองพัทยา และเทศบาลนคร มีค่าสูงกว่าเป้าหมายของประเทศระยะแรก (ไม่น้อยกว่า 5 ตารางเมตร/คน) แต่ทั้งนี้ยังต่ำกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ ตาราง 9 ตารางเมตร/คน ซึ่ง กทม. ได้มีการพัฒนาพื้นที่สีเขียวสาธารณะอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรใน กทม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 7.66 ตารางเมตร/คน และมีการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่ กทม. ไปแล้ว ในระยะทาง 34.82 กิโลเมตร (7) สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม - สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ พบว่าแหล่งธรรมชาติ ประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา (ภูเขา น้ำตก และถ้ำ) ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติในระดับดี - ศิลปกรรม พบว่าแหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นดำเนินงานตามภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่ามาอย่างต่อเนื่อง 1.2 สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขาที่ควรเฝ้าติดตาม เช่น สาขาสิ่งแวดล้อม สาระสำคัญ (1) ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน พบการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม โดยมีการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินประมาณ 11.36 ล้านไร่ ส่งผลให้ดินเกิดความเสื่อมโทรม เกิดการชะล้างพังทลายของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินมีแนวโน้มลดลง (2) ทรัพยากรแร่ พบว่าปริมาณการผลิตแร่ การใช้แร่ การนำเข้าแร่ และการส่งออกแร่ลดลงทั้งหมด รวมทั้งต้องมีการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรแร่ เนื่องจากฐานข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนบริหารจัดการแร่ของประเทศยังไม่สมบูรณ์และไม่เชื่อมโยงกัน (3) พลังงาน พบว่าไทยผลิตพลังงานได้ลดลง แต่มีการนำเข้าพลังงานและใช้พลังงานเพิ่มขึ้น (แม้ว่าจะมีการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นก็ตาม) รวมทั้งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน (4) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งโดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยค่อนข้างเสื่อมโทรม จึงต้องมีการสนับสนุนให้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือมีการรวบรวมน้ำเสียของชุมชนชายฝั่งเข้าสู่ระบบบำบัดให้ครอบคลุมพื้นที่ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ (5) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธรณีพิบัติภัย (ดินถล่ม) ซึ่งต้องมีการเตรียมพร้อมรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป 2. สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่ให้ ทส. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในปีก่อนหน้า รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ดังนั้น ในครั้งนี้ ทส. จึงได้รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564 ซึ่งมีข้อเสนอแนะทั้งสิ้น จำนวน 47 ข้อเสนอแนะ และได้ดำเนินโครงการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายตั้งแต่ พ.ศ. 2565 - 2566 โดยมีข้อเสนอแนะ ผลการดำเนินงาน และปัญหา อุปสรรค ที่สำคัญ เช่น สาขาสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างข้อเสนอแนะ ผลการดำเนินงาน และปัญหา อุปสรรค ที่สำคัญ (1) ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างอาชีพแก่ประชาชนที่คืนถิ่นกลับสู่ภาคเกษตรกรรมอันเกิดจากวิกฤตโรคโควิด-19 และปฏิรูประบบเกษตรกรรมที่ส่วนใหญ่เน้นการผลิตเชิงเดี่ยวเพื่อผลิตวัตถุดิบราคาถูกไปสู่ระบบเกษตรผสมผสานที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระยะยาว และเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงรับมือยุคหลังโรคโควิด-19 ผลการดำเนินงาน ได้มีการจัดทำ (1) แผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2566 - 2570 และ (2) แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาการเกษตรของไทย ปัญหา อุปสรรค เกษตรกรยังขาดความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และปัจจัยการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์และไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดการผลิตพืชอินทรีย์ได้ครบถ้วน (2) ทรัพยากรแร่ ข้อเสนอแนะ ให้มีการศึกษาหาแนวทางกำหนดหรือพิจารณาการบริหารจัดการแร่อย่างชัดเจนและเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่อย่างคุ้มค่ากับการสงวนรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยส่งผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพน้อยที่สุด ตลอดจนลดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ผลการดำเนินงาน ได้มีการส่งเสริมและต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่อพัฒนาของเสียเป็นแหล่งทรัพยากรทดแทน พัฒนาและยกระดับสถานประกอบการด้านเทคโนโลยีรีไซเคิล/อัพไซเคิล บ่มเพาะผู้ประกอบการในชุมชนเป้าหมายสู่การเป็นวิสาหกิจหรือสถานประกอบการ คัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมือง รวมทั้งปรับปรุงข้อมูลพื้นที่ศักยภาพแร่ในพื้นที่ทั่วประเทศ ปัญหา อุปสรรค การร้องเรียนโครงการด้านเหมืองแร่ เป็นประเด็นปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบกรณีเป็นผู้ครอบครองสารพิษอันตรายปล่อยให้รั่วไหลออกสู่ภายนอก และการประกอบกิจการทำเหมืองโพแทชและเกลือหิน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง (3) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมองค์ความรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหา การกัดเซาะได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า และไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่อื่น ๆ ผลการดำเนินงาน ได้มีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ปัญหา อุปสรรค ปัจจุบันมีคำขอโครงการให้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม/รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตามข้อกำหนดของกฎหมาย มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและนำมาใช้ประกอบกับการดำเนินโครงการเพื่อลดความขัดแย้งและลดข้อห่วงกังวล แต่การที่มีความเห็นต่างกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความคิดไม่สอดคล้องกัน ทำให้หลายโครงการต้องถูกชะลอหรือให้กลับไปทบทวนและให้นำกลับมาพิจารณาอีกครั้งในปีงบประมาณถัดไป ทำให้ไม่ทันต่อความเดือดร้อน (4) สถานการณ์มลพิษ ข้อเสนอแนะ จัดทำระบบฐานข้อมูลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้ครอบคลุมทุกแหล่งกำเนิด เพื่อให้มีระบบการติดตาม และเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่ควบคุมกำกับแหล่งกำเนิดมูลฝอยติดเชื้อ ผลการดำเนินงาน กรมอนามัยได้ออกประกาศ เรื่อง แบบบันทึกข้อมูลปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2565 กำหนดแบบบันทึกข้อมูลปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่กำจัดที่แหล่งกำเนิดมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและติดตามตรวจสอบการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้น ให้ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ปัญหา อุปสรรค ควรขับเคลื่อนและยกระดับมาตรฐานการจัดการมูลฝอยในสถานบริการสาธารณสุขและมาตรฐานกิจการให้บริการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ (5) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ข้อเสนอแนะ สร้างแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจก สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคาร์บอนเครดิตและพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ผลการดำเนินงาน ได้มีการจัดทำ (1) ร่างแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต (2) ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของภาคการเงินและภาคธุรกิจ (3) กำหนดนโยบายและมาตรการทางกฎหมายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและยั่งยืนของภาคเอกชน ปัญหา อุปสรรค สิทธิประโยชน์หรือผลตอบแทนให้แก่ผู้พัฒนาโครงการ/กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกควรได้รับการสนับสนุนให้เพียงพอ รวมถึงการดำเนินโครงการ/กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในวงกว้าง เนื่องจากยังเป็นการดำเนินงานแบบสมัครใจ 3. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานได้มีมติเห็นชอบร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 และร่างรายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564 แล้ว 13. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 13 - 18 กรกฎาคม 2567) คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 13 - 18 กรกฎาคม 2567) ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ สาระสำคัญและข้อเท็จจริง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขอสรุปสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 13 - 18 กรกฎาคม 2567 มีดังนี้ 1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำทะเลมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้สถานการณ์ลานีญาจากเดิมที่ จะเริ่มต้นในช่วงเดือนกรกฎาคม เปลี่ยนเป็นเดือนสิงหาคม และคาดการณ์ว่าจะมีสถานการณ์ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2568 วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ อ่าวไทย ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ในช่วงวันที่ 20 - 23 กรกฎาคม 2567 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง 2. สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 17 กรกฎาคม 2567) มีปริมาณน้ำ 39,886 ล้านลูกบาศก์เมตร (50%) น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 606 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้การ 15,723 ล้านลูกบาศก์เมตร (27%) สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve) 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำภูมิพล อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์และอ่างเก็บน้ำปราณบุรี และเฝ้าระวัง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุเก็บกัก จำนวน 79 แห่ง (จากทั้งหมด 369 แห่ง) ได้แก่ ภาคเหนือ 8 แห่ง (จาก 79 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31 แห่ง (จาก 189 แห่ง) ภาคกลาง 6 แห่ง (จาก 11 แห่ง) ภาคตะวันออก 13 แห่ง (จาก 44 แห่ง) และภาคตะวันตก 15 แห่ง (จาก 24 แห่ง) และภาคใต้ 6 แห่ง (จาก 22 แห่ง) 3. สถานการณ์อุทกภัย ในช่วงวันที่ 13 - 18 กรกฎาคม 2567 มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่การเกษตร 9 จังหวัด ได้แก่ (1) จังหวัดพะเยา เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ (2) จังหวัดแพร่ เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหล หลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ตำบลเตาปูน อำเภอสอง ได้รับความเสียหาย 10 ไร่ ปัจจุบันสถานการณ์ เข้าสู่สภาวะปกติ (3) จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในช่วงกลางคืน วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 02.00 น. ส่งผลให้แม่น้ำป่าสักเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ตำบลตาดกลอย อำเภอหล่มเก่า ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ (4) จังหวัดเลย เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในช่วงกลางคืนวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 04.00 น. ส่งผลทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมถนน 2 จุด ในบริเวณถนนบ้านนายางเหนือ-บ้านนายางใต้ และ ถนนผ่านฝายน้ำล้นหลังวัดศรีทัศน์ ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ (5) จังหวัดชัยภูมิ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุม ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 15 - 17 กรกฎาคม 2567 ทำให้เกิดน้ำหลากในพื้นที่ชุมชนและการเกษตร บริเวณพื้นที่อำเภอหนองบัวระเหว จำนวน 1 ตำบล (ตำบลวังตะเฆ่) และอำเภอแก้งคร้อ จำนวน 3 ตำบล (ตำบลหนองไผ่ ตำบลหนองสังข์ และตำบลช่องสามหมอ) ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอแก้งคร้อ (6) จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.30 น. ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนโนนสว่าง และชุมชนหมู่ 1 พัฒนา อำเภอบ้านไผ่ ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ (7) จังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.00 น. ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ จำนวนมากจนเกิน ความจุ ส่งผลให้ทำนบดินชั่วคราวขาด และมวลน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัยของประชาชน จำนวน 22,927 ไร่ โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวาปีปทุม 6 ตำบล (ตำบลหนองแสง ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลบ้านหวาย ตำบลนาข่า ตำบลแคน และตำบลหัวเรือ) และอำเภอบรบือ 5 ตำบล (ตำบลโนนราษี ตำบลกำพี้ ตำบลดอนงัว ตำบลบัวมาศ และ ตำบลหนองม่วง) ปัจจุบันสถานการณ์ระดับน้ำท่วมลดลง เนื่องจากเป็นน้ำไหลหลากผ่าน และไม่มีฝนตกเพิ่มเติมในพื้นที่ (8) จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร อำเภอเดชอุดม จำนวน 700 ไร่ (9) จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากมีฝนตกหนักในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ บริเวณอำเภอหนองหญ้าปล้อง ส่งผลทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำมีน้ำขังไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ลำห้วยแม่ประจันต์ได้ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรของราษฎร ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร จำนวน 70 ไร่ ระดับน้ำสูง 1.00 - 1.25 ม. โดยหากไม่มีฝนตกในพื้นที่เพิ่มเติม สถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติ ประมาณ 7 วัน 4. สถานการณ์อาคารชลศาสตร์เกิดการชำรุด (1) จังหวัดชัยภูมิ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุม ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง 2 วัน ตั้งแต่ วันที่ 15 - 16 กรกฎาคม 2567 ทำให้เกิดน้ำหลากในพื้นที่ประกอบกับปริมาณน้ำสะสมในลำน้ำและ จากเทือกเขาพังเหยไหลลงมาลำเชียงทา ส่งผลทำให้เกิดน้ำกัดเซาะผนังฝายน้ำล้นบ้านโนนม่วงขาด มีการพังทลายของหน้าดินอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง สะพานคอนกรีตบริเวณฝายขาดชำรุดพัง ทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถใช้เส้นทางสัญจรระหว่างหมู่บ้านได้ ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าให้การช่วยเหลือและดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุง โดยนำถุงบิ๊กแบ็คปิดกั้นน้ำไว้ชั่วคราว พร้อมจัดเตรียมเครื่องจักรกลสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชม. โดยหากไม่มีฝนตกในพื้นที่ คาดการณ์ว่าสถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม และพื้นที่อำเภอแก้งคร้อ เกิดน้ำป่าไหลหลากลงจากเทือกเขาภูผาแดง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำในพื้นที่ ตำบลบ้านแก้ง มวลน้ำไหลซัดพนังกันน้ำของฝายใหม่บ้านโนนส้มกบขาด จนทำให้มวลน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน จำนวน 1,000 ไร่ ครอบคลุมตำบลหนองไผ่ ตำบลหนองสังข์ และตำบลช่องสามหมอ ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ และเร่งแก้ไขปัญหา พร้อมมอบหมายเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด (2) จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.00 น. ทำนบดินชั่วคราวบริเวณอาคารระบายน้ำล้นของอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำขาด ยาวประมาณ 50 เมตร เนื่องจากเกิดฝนตกหนักทำให้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำจำนวนมากจนเกินความจุ ส่งผลให้มวลน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร และที่อยู่อาศัยของประชาชนเป็นบริเวณกว้าง โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวาปีปทุม 6 ตำบล (ตำบลหนองแสง ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลบ้านหวาย ตำบลนาข่า ตำบลแคน และตำบลหัวเรือ) และอำเภอบรบือ 5 ตำบล (ตำบลโนนราษี ตำบลกำพี้ ตำบลดอนงัว ตำบลบัวมาศ และ ตำบลหนองม่วง) เบื้องต้นได้มีการสำรวมความเสียหายแล้ว พบว่ามีบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 6 หลังถนนถูกน้ำท่วม 3 สายทาง พื้นที่การเกษตรประมาณ 22,927 ไร่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลือในการขนย้ายสิ่งของการอพยพ และดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัย และจัดทำป้ายเตือน ป้ายหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ถูกน้ำท่วมขัง ปัจจุบันสถานการณ์ระดับน้ำลดลง เนื่องจากเป็นน้ำไหลหลากผ่าน และไม่มีฝนตกเพิ่มเติมในพื้นที่ 5. การแจ้งเตือนของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในช่วงวันที่ 13 - 18 กรกฎาคม 25567 สทนช. ได้ออกประกาศ แจ้งเตือน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 9 ? 17 กรกฎาคม 2567 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ต้องเฝ้าระวังบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ลุ่มต่ำ และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขัง ในบริเวณพื้นที่ 28 จังหวัด ดังนี้ ภาคเหนือ จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จ.แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จ.เลย อุดรธานี ขอนแก่นหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ยะลา และนราธิวาส (2) ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2567 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 15 - 20 กรกฎาคม 2567 ร่องมรสุมกำลังแรงจะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ลุ่มต่ำ และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน ในบริเวณพื้นที่ 43 จังหวัด ดังนี้ ภาคเหนือ จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จ.แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 19 จังหวัด ได้แก่ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ระนอง พังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล ยะลา และนราธิวาส (3) สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ในช่วงวันที่ 20-27 กรกฎาคม 2567 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราว บริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ 6. การจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) สทนช. ได้ติดตามสภาพอากาศและการคาดการณ์ พบว่า ในช่วงวันที่ 12 - 16 กรกฎาคม 2567 อิทธิพลของร่องมรสุมกำลังแรงที่จะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคตะวันออกมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขังได้ สทนช. จึงจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล ณ สำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกและลุ่มน้ำบางปะกง ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จังหวัดระยอง เพื่อร่วมบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์อุทกภัย โดยจัดตั้งศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 และดำเนินการปฏิบัติงานจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกและลุ่มน้ำบางปะกง มีมติให้ดำเนินงาน ดังนี้ (1) ขอให้ จังหวัดระยอง สั่งการให้หน่วยงานในจังหวัด รายงานการตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องมือที่พร้อม/ไม่พร้อม เพื่อรับมือสถานการณ์และหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา (2) ขอให้ จังหวัดชลบุรี บูรณาการทำงานร่วมกับ จังหวัดระยอง สำหรับการระบายน้ำผ่านคลองวังจันทร์และปลวกแดง เพื่อแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบล่วงหน้า (3) ขอความอนุเคราะห์ กรมชลประทาน ส่งเครื่องสูบน้ำมาช่วยในพื้นที่ ประตูระบายน้ำคลองทับมา ร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ผลักดันเรื่องของบประมาณในการซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำที่ใช้งานไม่ได้ (4) ขอให้ เทศบาลเมืองพัทยา ทบทวนงบประมาณการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการระบายน้ำ เมืองพัทยา เพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้ขับเคลื่อนโครงการฯ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล มีมติให้ดำเนินงานดังนี้ (1) ขอให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 (2) ขอให้ทุกจังหวัดสำรวจ และนำเครื่องจักรเครื่องมือไปประจำจุดเสี่ยง รวมถึงติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง ติดตาม ประเมิน และรวบรวมข้อมูลปริมาณฝนสะสมในพื้นที่เสี่ยงที่อยู่ในความรับผิดชอบที่จะส่งผลให้เกิดอุทกภัย เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลสำหรับการติดตามเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนให้ถึงประชาชนให้ทันท่วงทีหรือโดยเร็วที่สุด 7. ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมและจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่ เสี่ยงภัยพิบัติ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฤดูฝน ควบคุม ป้องกัน แจ้งเตือนประชาชน ซักซ้อมแผนก่อนเผชิญเหตุ เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้น และลดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พร้อมเร่งฟื้นฟูให้กลับสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็ว 14. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 247 วรรคสอง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. กสม. แจ้งว่า นับตั้งแต่ปี 2564 ประเทศไทยประสบปัญหาอัตราการเกิดของเด็กน้อยกว่าอัตราการเสียชีวิต สะท้อนให้เห็นถึงภาวะอนามัยเจริญพันธุ์ที่ลดลงตามสถิติขององค์การอนามัยโลกมีทารกที่คลอดออกมาแล้วพิการแต่กำเนิดอยู่ที่ร้อยละ 3 ? 5 ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตในเด็ก หรือต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อรายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก สภาพจิตใจของผู้ปกครอง ตลอดจนงบประมาณทั้งของรัฐและผู้ปกครองในการดูแลไปตลอดอายุขัยของเด็ก โดยปัญหาความพิการแต่กำเนิดสามารถป้องกันได้ใน 3 ระยะ ได้แก่ (1) ก่อนการตั้งครรภ์ (2) ระหว่างการตั้งครรภ์ และ (3) หลังคลอดบุตร ซึ่งผลการวิจัยและเอกสารวิชาการทางการแพทย์มีส่วนสำคัญต่อการลดความพิการแต่กำเนิดของทารก ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ขยายสิทธิการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ของทารกในครรภ์ ให้แก่หญิงไทยในทุกช่วงวัยตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา แต่ในทางปฏิบัติยังพบปัญหาการเข้าถึงสิทธิและความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับบริการ จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี กสม. จึงมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อันเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด เพื่อให้สอดคลองกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรี 2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) รับทราบข้อเสนอแนะกรณีการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด ตามที่ กสม. เสนอ และมอบหมายให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สปสช. สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ สธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง สธ. รายงานว่า ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พม. อว. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มท. รง. ศธ. สปสช. สสส. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามข้อ 2 แล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะของ กสม. สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม 1. มาตรการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิดก่อนการตั้งครรภ์ 1.1 ระยะสั้น ให้ สธ. สปสช. และ สปส. ปรับปรุงเพิ่มสิทธิการเข้าถึงบริการกรดโฟลิกของหญิงไทยที่เป็นผู้ประกันตนตามสิทธิประกันสังคมในสถานพยาบาลเอกชน รวมถึงขยายสิทธิให้สามารถเข้ารับบริการผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังค์หรือบริการส่งวิตามินทางไกล 1.กรมอนามัยได้เสนอขอเพิ่มสิทธิประโยชน์การป้องกันความพิการแต่กำเนิดด้วยยาเม็ดกรดโฟลิกโดยขอรับค่าใช้จ่ายเป็นรายการบริการ (Fee schedule) และกำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับหญิงไทยเตรียมความพร้อมตั้งครรภ์ ต่อคณะกรรมการกำหนดแนวทางค่าใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขระดับประเทศ 2. สปสช. ได้เสนอขออนุมัติสิทธิประโยชน์เพื่อให้ครอบคลุมคนไทยทุกสิทธิ และจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมต่อคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3. การเข้ารับบริการสามารถใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังค์ ได้เหมือนกับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายการ Fee schedule รายการอื่น 4. สปสช. และ สปส.ได้ประสานหน่วยบริการในระบบให้จัดบริการเชิงรุกให้ผู้ประกันตนได้รับการป้องกันความพิการแต่กำเนิดพร้อมกับบริการอื่น ๆ เช่น บริการตรวจสุขภาพประจำปี ประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน 5. การเพิ่มการเข้าถึงกรดโฟลิกในกลุ่มวัยเรียนวัยรุ่น ในสถานศึกษา ผ่านโครงการ Health station ของกรมอนามัย โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และการได้รับยาเม็ดโฟลิกสัปดาห์ละ 1 เม็ด รวมทั้งการบันทึกใน health record 6. มท. ได้จัดทำคู่มือการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย (จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน) ในระดับพื้นที่ เพื่อให้ส่วนราชการระดับกรม หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายทุกระดับใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกช่วงวัยตั้งแต่ช่วงการเตรียมพร้อมการตั้งครรภ์ 1.2 ระยะกลาง พิจารณาขยายสิทธิไปยังแรงานต่างด้าวที่เป็นผู้ประกันตน ควบคู่ไปกับการดำเนินการเชิงรุกผ่านการส่งเสริมการแจกกรดโฟลิกในสถานประกอบการขนาดใหญ่ เพื่อส่งเสริมมาตรการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด 1.3 ระยะยาว พิจารณาขยายสิทธิ์ไปยังกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายให้ได้รับสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกับประชาชนคนไทยเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของหญิงวัยเจริญพันธุ์และป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิดของเด็กที่จะเกิดในอนาคต และสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ประกันตนและมีสิทธิการรักษาประกันสังคมสามารถเข้าถึงบริการของหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตามประกาศของ สปสช. 2. มาตรการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิดระหว่างการตั้งครรภ์ 2.1 ระยะสั้น ให้ สธ. สปสช. และ สปส. พิจารณาปรับปรุงเพิ่มวงเงินถัวเฉลี่ยให้ครอบคลุมการตรวจคัดกรอง ดาวน์ซินโดรม เพื่อจูงใจให้หญิงตั้งครรภ์เข้าตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทุกราย รวมถึงเพิ่มตัวเลือกให้หญิงตั้งครรภ์เลือกตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมโดยกรรมวิธี Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT)1 โดย เสียค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่ไม่ครอบคลุมและขยายสิทธิไปยังแรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิดังกล่าว 2.2 ระยะกลาง พิจารณาขยายสิทธิไปยังกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายให้ได้รับสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกับประชาชนชาวไทยและสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 1. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ได้เริ่มคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ทุกสิทธิด้วยวิธี Quadruple test (QT)2 การขอเพิ่มการคัดกรองด้วยวิธี NIPT เพิ่มเติมจากวิธี QT โดย สปสช. ขอให้ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติที่ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยกำหนด และ สปสช. ได้พิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับบริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 2. สปส. กำหนดให้เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนต่างด้าวเหมือนสิทธิของคนไทย แต่ให้เบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนประกันสังคมแรงงานต่างด้าว 3. ราชวิทยาลัยสูติแพทย์นรีแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างศึกษาเรื่องความเป็นไปได้ในการตรวจคัดกรอง ดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์ด้วยวิธี NIPT 2.3 ระยะยาว พิจารณาเปลี่ยนแปลงการตรวจคัดกรองเบื้องต้นจากการตรวจแบบ QT มาเป็นแบบ NIPT โดยเริ่มจากกลุ่มเสี่ยง 35 ปีขึ้นไป เป็นประชาชนชาวไทยทั่วไป แล้วขยายสิทธิการรักษาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนาการให้บริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้น 1. อว. เห็นว่า การคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมโดยวิธี NIPT ควรพิจารณาอย่างระมัดระวัง คำนึงถึงถึงความสามารถในการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจคัดกรอง รวมถึงระบบรองรับการให้บริการต่อเนื่อง 2. สปสช. เห็นว่า วิธีการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ด้วย NIPT มีราคาไม่แตกต่างจาก QT มากนัก ถ้ามีหน่วยบริการที่รับตรวจคัดกรองด้วยวิธี NIPT เพียงพอ ครอบคลุมทุกเขตสุขภาพ สปสช. จะพิจารณาอนุมัติการคัดกรองด้วยวิธี NIPT เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน 3. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 3.1 ให้ สธ. และ อว. ศึกษาแนวทางการผสมกรดโฟลิกในอาหาร และการออกกฎหมายเกี่ยวกับมารดาและเด็กตามรายงานและข้อเสนอแนะของ กสม.และผู้ตรวจการแผ่นดิน 1. อว. เห็นด้วยกับหลักการที่จะส่งเสริมการผสมกรดโฟลิกในส่วนผสมอาหาร และควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้แนวทางที่เหมาะสมในบริบทของคนไทย 2. ปัจจุบันกรมอนามัยยังไม่มีนโยบายเสริมกรดโฟลิกในอาหาร หากรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ให้ได้ 400 กรัมต่อวัน ปริมาณโฟเลตที่ได้รับจะเพียงพอกับความต้องการของร่างกายของคนไทย และโฟเลตหรือวิตามินบี 9 พบในอาหารธรรมชาติ หรือในฟอร์มของกรดโฟลิก ซึ่งสังเคราะห์และเตรียมขึ้นในรูปยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปริมาณโฟเลตที่หญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ควรได้รับต่อวันคือ 0.30 มิลลิกรัม หญิงตั้งครรภ์ 0.55 มิลลิกรัมและหญิงให้นมบุตร 0.45 มิลลิกรัม ปริมาณสูงสุดที่รับประทานได้อย่างปลอดภัยในคนไม่มีโรคประจำตัว คือ ไม่เกินวันละ 1 มิลลิกรัม 3. การได้รับกรดโฟลิกในปริมาณที่สูง (มากกว่าวันละ 1 มิลลิกรัม) ก่อให้เกิดอันตรายได้ ปัจจุบันมีการศึกษาสนับสนุนว่าการได้รับกรดโฟลิกในปริมาณสูงที่ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ 4. การสำรวจผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อและห้างค้าปลีกในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเมื่อเดือนมกราคม 2567 พบว่า มีอาหารและผลิตภัณฑ์กว่า 20 ชนิดที่เสริมกรดโฟลิกตั้งแต่ร้อยละ 15 ? 200 ของปริมาณกรดโฟลิกที่ควรได้รับต่อวัน เช่น น้ำดื่มเสริมวิตามิน เครื่องดื่มต่าง ๆ นมยูเอชที โยเกิร์ต ไข่ไก่ ขนมปังโฮลวีท และอาหารเช้าซีเรียล 5. การที่จะเสริมกรดโฟลิกในอาหารมีข้อควรพิจารณา ดังนี้ 5.1 กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเสริมสารอาหารอยู่ในเฉพาะกลุ่มเท่านั้น คือ กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์และมีหลักฐานสนับสนุนว่า พฤติกรรมบริโภคของประชาชนทั่วไปสามารถได้รับโฟเลตในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย ดังนั้น การส่งเสริมให้ได้รับโฟเลตเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิดในปัจจุบันจึงเหมาะกับการให้เสริมด้วยยาเสริมวิตามิน 5.2 ด้านความปลอดภัย ถึงแม้จะมีเกณฑ์ข้อกำหนดปริมาณสารอาหารที่จะเติมลงในอาหารแต่เนื่องจากไม่สามารถควบคุมปริมาณที่ประชาชนจะได้รับจากอาหารได้ อีกทั้งในการศึกษาวิจัยยังมีข้อถกเถียงกันในประเด็นที่หากได้รับโฟเลตในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานพบว่า มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด 5.3 กระบวนการผลิตอาหารเสริมกรดโฟลิกและต้นทุนการผลิต 3.2 ให้ สธ. และ สสส. ประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์และความจำเป็นต่อการบริโภคกรดโฟลิกของหญิงวัยเจริญพันธุ์ การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของหญิงตั้งครรภ์ และการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อมาตรการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิดให้กับประชาชน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ แบ่งเป็น 2ทาง 1. สำหรับผู้ให้บริการ/หน่วยบริการ 1.1 ส่งเสริมการให้บริการรูปแบบคลิปวิดิโอให้ความรู้แก่บุคลากรสาธารณสุขรวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 1.2 ประกาศประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุขในการดูแลรักษาโรคหายากในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ/ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ผ่านทางสื่อออนไลน์ และเว็บไซต์ของ สปสช. 1.3 จัดทำคู่มือปฏิบัติงานการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดทางห้องปฏิบัติการ 2. สำหรับประชาชน YouTube การคัดกรองภาวะพร่อง ไทรอยด์ฮอร์โมแต่กำเนิด และโรคพันธุกรรมเมตตาโบลิก 3. แผนการประชุมร่วมกันของ สธ. และ สสส. เรื่องความร่วมมือการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ประโยชน์และความจำเป็นต่อการบริโภคกรดโฟลิกของหญิงวัยเจริญพันธุ์การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของหญิงตั้งครรภ์ และการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อมาตรการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิดให้กับประชาชน 3.3 ให้ ศธ. บรรจุเนื้อหาประโยชน์และความจำเป็นต่อการบริโภคกรดโฟ ลิกของหญิงวัยเจริญพันธุ์ในเนื้อหาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาเป็นเนื้อหาหลักสูตรแกนกลางของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศธ. มีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ที่ให้สถานศึกษานำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ และเนื้อหาประโยชน์และความจำเป็น ต่อการบริโภคกรดโฟลิกของหญิงวัยเจริญพันธุ์อยู่ในสาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และสามารถไปจัดกิจกรรมได้ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) กิจกรรมแนะแนว 2) กิจกรรมนักเรียน เช่น กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมชุมชุม 3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ พม. มีข้อเสนอเพิ่มเติมว่า ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดว่า คนพิการอาจยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด ณ สำนักงานทะเบียนกลางสำนักงานทะเบียนจังหวัด หรือสถานที่อื่นตามระเบียบที่คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติกำหนด เพื่อขอมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ 1Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) คือ การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดมารดาที่สามารถคัดกรองความเสี่ยงของทารกในครรภ์ที่จะเกิดกลุ่มอาการดาวน์ หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมอื่น ๆ ความแม่นยำประมาร้อยละ 99 2 Quadruple test (QT) คือ การตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ของสตรีตั้งครรภ์ เพื่อตรวจสารชีวเคมีในเลือด ความแม่นยำประมาณร้อยละ 80 - 85 ต่างประเทศ 15. เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอรายงานผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส) ของรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะผู้บริหารระดับสูง พณ. สาระสำคัญของเรื่อง พณ. รายงานว่า 1. ฝรั่งเศสเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 3 ของไทยในสหภาพยุโรป มีสัดส่วนการค้าสูงถึงร้อยละ 1.16 อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 10 ประเทศเป้าหมายของรัฐบาล ที่ต้องการเร่งขยายเศรษฐกิจการค้า และเป็นตลาดหลักของไทยตามนโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุกของรัฐบาล 2. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของ พณ. ได้เดินทางเยือนฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 15 - 20 พฤษภาคม 2567 เพื่อเร่งขยายการค้าและสนับสนุนให้การส่งออกของไทย ในปี 2567 เป็นไปตามเป้าหมาย ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า ตลอดจนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในตลาดฝรั่งเศส รวมถึงการผลักดัน Soft Power ของไทย โดยมีรายละเอียดกิจกรรม เช่น 2.1 การส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจบันเทิงไทยและสร้างเครือข่ายในงาน Cannes Film Festival 2024 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้จัดกิจกรรม Thai Night ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธาน มีบุคลากรสำคัญในกลุ่มอุตสาหกรรมภาพยนตร์เข้าร่วมกว่า 250 ราย กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ซีรีส์ และบริการเกี่ยวเนื่อง แนวคิดของปีนี้ คือ Inspiring Thailand โดยชูจุดแข็ง ใน 4 ด้าน ได้แก่ บุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทาง (Talents) สถานที่ถ่ายทำที่สวยงาม (Locations) เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย (Production) และบริการเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Post-Production) 2.2 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Marche du Film 2024 และพบหารือผู้ประกอบการธุรกิจภาพยนตร์และธุรกิจบันเทิงไทย โดยมีการจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้า (Business Matching) ซึ่งมีนักลงทุน ผู้สร้าง ผู้ซื้อ ผู้จัดงานจากต่างชาติเข้าร่วมเจรจาการค้าจำนวน 211 ราย จาก 39 ประเทศ เกิดการนัดหมายเจรจาการค้า จำนวน 343 คู่ และคาดการณ์มูลค่าการเจรจาการค้าทั้งสิ้น 1,469.18 ล้านบาท ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สหราชอาณาจักร และอินเดีย ธุรกิจที่ได้รับความสนใจ คือ การซื้อขายลิขสิทธิ์เพื่อนำไปฉายในประเทศต่าง ๆ การเข้ามาถ่ายทำในไทย และการใช้บริการ Post-Production Services 2.3 การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์อาหารไทย และตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ในฝรั่งเศส ผ่าน Influencer ที่มีชื่อเสียง รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์อาหารไทย โดยมีการมอบประกาศนียบัตร Thai SELECT ให้แก่ร้านอาหารไทยในเมืองคานส์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และผลักดัน Soft Power ของไทยผ่านอาหารไทย 3. การเดินทางเยือนฝรั่งเศสของรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในครั้งนี้ จะช่วยผลักดันและขยายโอกาสตลาดภาพยนตร์แอนิเมชัน และธุรกิจบันเทิงของไทยในตลาดฝรั่งเศสและนานาชาติ คาดการณ์มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,469 ล้านบาท ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์อาหารไทย และตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ให้ชาวยุโรปรู้จักอาหารไทยในวงกว้าง ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่รัฐบาลและ พณ. ผลักดัน 16. เรื่อง รายงานผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ของรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการและรายงานผลการดำเนินงานให้ พณ. ทราบต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง พณ. รายงานว่า 1. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง พณ. ได้เดินทางเยือนจีนและ สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 27 - 29 เมษายน 2567 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้ากับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนจีนในเขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน1 และเพื่อผลักดันผลประโยชน์ของไทยในการสร้างความร่วมมือและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้ารวมทั้งส่งเสริมการลงทุนระหว่างสองประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียด เช่น 1.1. หารือกับผู้ว่าการเขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ดังนี้ (1) การส่งออกโคมีชีวิตและเนื้อสัตว์แช่แข็งจากไทยไปจีน: ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายจีนช่วยผลักดันการเจรจาเพื่อจัดทำพื้นที่เขตปลอดโรคเพื่อการส่งออกโคมีชีวิต ไปยังจีน ภายใต้หลักการ Regionalization ให้สำเร็จ โดยขณะนี้ กรมปศุสัตว์ไทยอยู่ระหว่าง การเจรจากับ General Administration of Customs China (GACC) และฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายจีน เตรียมความพร้อมสำหรับโรงชำแหละและห้องเย็นเพื่อรองรับการนำเข้าโคมีชีวิตและเนื้อสัตว์แช่แข็งผ่านเส้นทางแม่น้ำโขง จากด่านท่าเรือเชียงแสน (ไทย) ไปยังด่านท่าเรือกวนเหล่ย (จีน) ซึ่งฝ่ายจีนเห็นด้วยกับไทยว่าเส้นทางดังกล่าวสามารถประหยัดระยะเวลาในการขนส่ง โดยกรมปศุสัตว์ไทยกับ GACC จะต้องหารือร่วมกันในประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้ จีนอยู่ระหว่าง ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือกวนเหล่ยให้มีศักยภาพรองรับการค้าในอนาคต (2) การอำนวยความสะดวกในการขนส่งผลไม้จากไทยไปจีน: ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายจีนอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าจากไทยผ่านด่านโม่ฮาน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนตู้คอนเทนเนอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงฤดูกาลผลไม้ และขอขยายระยะเวลาเปิด - ปิดด่าน จากเดิม 08.00 ? 18.00 น. เป็น 08.00 ? 21.00 น. เพื่อลดความแออัดของรถบรรทุกบริเวณหน้าด่าน (3) การลดค่าธรรมเนียมสำหรับอากาศยานในการใช้สนามบิน ของไทย: ฝ่ายจีนขอให้ฝ่ายไทยช่วยประสานงานกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เรื่องการลดค่าธรรมเนียมสำหรับอากาศยานในการใช้สนามบินของไทย รวมทั้งการอุดหนุน ด้านการตลาดสำหรับการเปิดเส้นทางการบินสิบสองปันนา - กรุงเทพฯ ซึ่งฝ่ายไทยรับประเด็นดังกล่าว มาพิจารณาประสานงานกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ต่อไป (4) การเดินเรือจากท่าเรือกวนเหล่ยไปท่าเรือเชียงแสน: ฝ่ายจีนขอให้ฝ่ายไทยช่วยผลักดันและฟื้นฟูการขนส่งผู้โดยสารผ่านเส้นทางแม่น้ำโขง และขอให้ฝ่ายไทยช่วยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือเชียงแสนเพื่อรองรับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าระหว่างสองประเทศ รวมทั้งการขุดลอกแม่น้ำโขงให้สามารถเดินเรือได้ ในช่วงที่น้ำน้อย ตามข้อตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง - แม่น้ำโขง 1.2 หารือกับนายอ่อนจัน คำพาวง รองเจ้าแขวงหลวงน้ำทาและผู้บริหารด่านบ่อเต็น ในประเด็นการอำนวยความสะดวกในการขนส่งผลไม้จากไทยไปจีน โดยฝ่ายไทยขอให้ฝ่าย สปป.ลาว ขยายระยะเวลาเปิด-ปิดด่าน จากเดิม 08.00 - 18.00 น. เป็น 08.00 ? 21.00 น. และขอให้พิจารณารายงานจำนวนรถบรรทุกที่ผ่านด่านบ่อเต็น และส่งให้ไทยทุกเดือน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ คณะกรรมการ จัดการจุดตรวจปล่อยของ สปป.ลาว จะเสนอให้จีนพิจารณาร่วมกัน 1.3 เยี่ยมชมด่านรถไฟโม่ฮานและลานตรวจสินค้าจำเพาะผลไม้ ณ ด่านรถไฟโม่ฮาน โดยฝ่ายจีนนำเสนอขั้นตอนและวิธีการควบคุมและตรวจสอบสินค้า ทุเรียน และมังคุด จากไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานการตรวจสอบและประสิทธิภาพ ของหน่วยงาน GACC ที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง 1.4 หารือกับรองผู้ว่าการเขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา และคณะนักธุรกิจสิบสองปันนา ดังนี้ (1) ภาคเอกชนของสิบสองปันนาให้ความสนใจเรื่องการนำเข้าสินค้าจากไทย โดยการเปิดตลาดสินค้าใหม่ ๆ เช่น โคมีชีวิต สุราพื้นบ้าน เนื้อสัตว์แช่แข็งและผลไม้ชนิดใหม่ ๆ ผ่านเส้นทางแม่น้ำโขง การลงทุนและหาผู้ร่วมทุนในไทยด้านการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ การขนส่งและโลจิสติกส์ การท่องเที่ยวในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และการพัฒนา เทคโนโลยีการป้องกัน/กำจัดยุง เป็นต้น (2) ภาคเอกชนของสิบสองปันนาเสนอให้ไทยพิจารณาร่วมกับจีน และ สปป.ลาว พัฒนาเส้นทางทางด่วนห้วยทราย - บ่อเต็น และจัดหาเครนยกตู้สินค้าที่ท่าเรือเชียงแสน รวมถึงขยายเวลาเปิดด่านท่าเรือเชียงแสนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแม่น้ำโขง ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง เป็นผู้ประสานงานต่อในรายละเอียด รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฝ่ายไทยในแต่ละด้านต่อไป 1.5 หารือกับผู้ว่าการมณฑลยูนนาน ดังนี้ (1) ฝ่ายไทยได้ขอให้ผู้ว่าการมณฑลยูนนานช่วยประสาน และผลักดันในประเด็นต่าง ๆ ที่ได้หารือไว้ (ตามข้อ 1.1 - 1.4) เพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย (2) ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายจีนพิจารณาผลักดันให้การรถไฟจีนได้มีการบริหารจัดการเรื่องแคร่รถไฟสำหรับบรรทุกตู้สินค้าให้มีเพียงพอต่อความต้องการขนส่ง ในเส้นทางรถไฟจีน - ลาว ? ไทย2 เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น (3) ฝ่ายจีนตอบรับให้การสนับสนุนประเด็นที่ฝ่ายไทยขอความร่วมมือ โดยจะกำกับดูแลให้การขนส่งมีความสะดวกทั้งเส้นทางรถ เรือ และราง รวมถึงจะพัฒนาการค้าและเส้นทางโลจิสติกส์ในทั้งสามส่วน คือ ถนน R3A3 แม่น้ำโขง และรถไฟไทย - ลาว - จีน ทั้งนี้ ขอให้ไทยพิจารณาเปิดตลาดผลไม้จีน เช่น บลูเบอรี่ ด้วย ซึ่งฝ่ายไทย รับประเด็นดังกล่าวมาดำเนินการ โดยมอบหมายกรมการค้าต่างประเทศประสานหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) พิจารณาในเรื่องดังกล่าว 2. พณ. ได้เสนอแนวทางการดำเนินงานขั้นต่อไป โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการหารือข้างต้น ดังนี้ หน่วยงาน การดำเนินการ พณ. (1) กรมการค้าต่างประเทศร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ติดตาม และประเมินผลการขยายระยะเวลาทำการของด่านโม่ฮานและบ่อเต็น รวมทั้ง การบริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงฤดูกาลผลไม้ การพิจารณาเพิ่มแคร่บรรทุกตู้สินค้าของรถไฟจีน-ลาว-ไทย ณ ด่านรถไฟโม่ฮาน (2) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยสำนักงานส่งเสริมการค้า ในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง ประสานภาคเอกชนที่เข้าร่วมประชุมหารือ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการเจรจาธุรกิจ รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวระหว่าง ผู้ประกอบการไทยและจีน กษ. (1) กรมปศุสัตว์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามผลการเจรจา เปิดตลาด โคมีชีวิตและเนื้อโคแช่แข็งกับ GACC ของจีน ในประเด็นข้อเสนอ การส่ง โคมีชีวิตและเนื้อสัตว์แช่แข็งผ่านทางแม่น้ำโขงจากท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงรายเข้าสู่จีนที่ท่าเรือกวนเหล่ย รวมทั้งวางแผน/กำกับดูแล/เตรียมความพร้อม เรื่องสถานที่กักกันสัตว์ให้ปลอดโรคก่อนส่งออกไปจีน ตลอดจนเตรียมความพร้อม รองรับการตรวจปล่อยสินค้าปศุสัตว์และเกษตร ณ ท่าเรือเชียงแสน (2) กรมวิชาการเกษตรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาข้อเสนอ ของฝ่ายจีนในการขอให้ไทยเปิดตลาดนำเข้าผลไม้ (บลูเบอรี่) จากจีน กระทรวงคมนาคม (1) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย/บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาข้อเสนอเรื่องการลดค่าธรรมเนียม สำหรับอากาศยานในการใช้สนามบินของไทย รวมทั้งอุดหนุนด้านการตลาด สำหรับการเปิดเส้นทางการบินสิบสองปันนา - กรุงเทพฯ (2) การท่าเรือแห่งประเทศไทย/กรมเจ้าท่า ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือเชียงแสนเพื่อรองรับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าระหว่าง ไทย - จีน รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ กฎระเบียบ และข้อจำกัดในการขุดลอกแม่น้ำโขงให้สามารถเดินเรือได้ ในช่วงที่น้ำน้อย ตามข้อตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำ ล้านช้าง - แม่น้ำโขง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยว กระทรวงการคลัง กรมศุลกากรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมรองรับการขนส่งสินค้าโคมีชีวิตและเนื้อโคแช่แข็ง รวมทั้งผลไม้ผ่านด่านท่าเรือเชียงแสนไปยังท่าเรือกวนเหล่ย กระทรวงการต่างประเทศ กรมเอเชียตะวันออกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนกรมปศุสัตว์ ในการติดตามความคืบหน้าเรื่องการกำหนดให้ท่าเรือกวนเหล่ย มณฑลยูนนาน เป็นด่านที่สามารถนำเข้าผลไม้จากไทยไปจีนได้เพิ่มเติม และการเจรจาเปิดตลาดโคมีชีวิตและเนื้อโคแช่แข็งกับ กับ GACC ของจีน กระทรวงมหาดไทย (มท.) จังหวัดเชียงรายให้การสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ 1เป็นประตูการค้าสำคัญเชื่อมโยงการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศจากไทยไปจีนที่สามารถกระจายสินค้าไทย ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ตามนโยบายข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) ที่เน้นความเชื่อมโยง และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในเอเชีย ตะวันออกกลาง และยุโรป โดยการขนส่งสินค้าจากไทย ไปยังมณฑลยูนนาน ผ่านเส้นทางหลัก 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางถนน R3A เส้นทางรถไฟไทย - ลาว - จีน และเส้นทางแม่น้ำโขง 2เริ่มต้นจากด่านรถไฟหนองคาย (จังหวัดหนองคาย) ไปยังรถไฟลาว-จีน ที่สถานีเวียงจันทน์ใต้ (สปป.ลาว) และเข้าสู่ เขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ที่ด่านรถไฟโม่ฮาน (จีน) โดยเส้นทางนี้เป็นเส้นทางส่งออก ผลไม้สำคัญทางราง ซึ่งในช่วงฤดูกาลผลไม้ ผู้ประกอบการไทยมักจะประสบปัญหาปริมาณแคร่สำหรับบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอ 3เริ่มต้นจากด่านเชียงของ (จังหวัดเชียงราย) ไปยังเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (สปป.ลาว) และเข้าสู่เขตปกครองตนเอง ชนชาติไตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ที่ด่านโมฮาน (จีน) โดยเส้นทางนี้เป็นเส้นทางขนส่งผลไม้ที่สำคัญของไทยไปจีน ทั้งนี้ ในช่วงฤดูกาลผลไม้ ผู้ประกอบการไทยมักจะประสบปัญหาความแออัดของรถบรรทุกบริเวณหน้าด่านโม่ฮาน ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งสินค้า ตลอดจนขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ 17. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรภูฏาน คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบบันทึกการหารือว่าด้วยการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรภูฏาน (บันทึกการหารือฯ) 2. เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรภูฏาน (ร่างความตกลงฯ) และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ คค. ดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง 3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามร่างความ ตกลงฯ และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวด้วย 4. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของไทย 5. มอบให้ กต. ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยืนยันการมีผลใช้บังคับของร่างความ ตกลงฯ ต่อไป โดยให้ กต. สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ที่ผ่านมาประเทศไทยและราชอาณาจักรภูฏานได้มีการเจรจาหารือเกี่ยวกับการบริการเดินอากาศระหว่างกัน ระหว่างวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2562 ณ กรุงทิมพู ราชอาณาจักรภูฏาน ซึ่งในการเจรจาหารือดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะจัดทำความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรภูฏาน (ความตกลงฯ) ฉบับใหม่ เพื่อมาแทนที่ความตกลงฯ ฉบับเดิม ที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2536 โดยได้ปรับปรุงข้อกำหนดและสิทธิทางการบินระหว่างทั้งสองประเทศให้มีความเป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศที่ประเทศไทยได้จัดทำกับประเทศอื่น ๆ ที่ผ่านมา [เช่น ประเทศแคนาดา เบลเยียม สหราชอาณาจักร และศรีลังกา] โดยร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1.1 เพิ่มข้อบทที่สำคัญที่ไม่ปรากฏในความตกลงฯ ฉบับเดิม จากเดิม 22 ข้อบท (เช่น การกำหนดสิทธิของสายการบิน การใช้กฎหมายและข้อบังคับ ค่าภาระ พิกัดอัตราค่าขนส่ง ภาษีศุลกากร กิจกรรมเชิงพาณิชย์ เป็นต้น) เพิ่มเป็น 30 ข้อบท (ข้อบทที่เพิ่มมา เช่น ความปลอดภัยการบิน การรักษาความปลอดภัยการบิน การเก็บภาษี การแข่งขันที่เป็นธรรม ความจุ การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน/ข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือ เป็นต้น) 1.2 ปรับปรุงข้อบทเดิมเพื่อให้เกิดความชัดเจน มีความทันสมัยยิ่งขึ้นและรองรับต่อสภาวการณ์การบินในปัจจุบัน เช่น ข้อบท การปรับปรุง (1) การให้สิทธิ - ปรับปรุงสิทธิในการบินของสายการบิน โดยตัดถ้อยคำที่ระบุเรื่องการให้สิทธิแก่สายการบินในการรับขนจากจุดในประเทศที่สาม - เพิ่มการให้สิทธิแก่สายการบินอื่นของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ความตกลงฉบับนี้ ให้สามารถบินผ่านและลงจอดในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่งได้ (สิทธิที่ 1 และ 2) (2) การกำหนดสายการบินและการอนุญาตดำเนินการ ปรับปรุงให้แต่ละฝ่ายสามารถกำหนดสายการบินที่ดำเนินการตามความตกลงได้หลายสายการบิน (จากเดิมกำหนดได้ 1 สายการบิน) (3) การระงับ การเพิกถอน และการจำกัดการอนุญาตดำเนินการ เพิ่มเงื่อนไขให้สามารถระงับการออกใบอนุญาตดำเนินการของสายการบินได้ในกรณีที่สายการบินไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในเรื่องของความปลอดภัยการบินและการรักษาความปลอดภัยการบิน (4) ค่าภาระ เพิ่มแนวทางให้มีการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดค่าภาระระหว่างกัน (5) พิกัดอัตราค่าขนส่ง ปรับปรุงแนวทางการขออนุมัติพิกัดอัตราค่าขนส่ง โดยกำหนดให้แต่ละฝ่ายไม่ต้องยื่นขออนุมัติพิกัดอัตราค่าขนส่งต่อเจ้าหน้าที่การเดินอากาศ (จากเดิมกำหนดให้ต้องขออนุมัติพิกัดอัตราค่าขนส่งต่อเจ้าหน้าที่การเดินอากาศก่อน) (6) ใบพิกัดเส้นทางบิน ปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบินเป็นแบบเปิด (ไม่ได้กำหนดสถานที่ในแต่ละจุดของเส้นทางการบิน) 2. ผลจากการเจรจาหารือข้างต้นส่งผลให้มีเอกสารจำนวน 3 ฉบับ ที่กระทรวงคมนาคมขอเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบและให้ความเห็นชอบมาในครั้งนี้ ได้แก่ (1) บันทึกการหารือว่าด้วยการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรภูฏาน (บันทึกการหารือฯ) (2) ร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่ และ (3) ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูต รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ เอกสารต่างประเทศ เสนอคณะรัฐมนตรี สาระสำคัญ ลักษณะการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (1) บันทึกการหารือฯ รับทราบ เป็นเอกสารสรุปผลการหารือร่วมกันเกี่ยวกับบริการเดินอากาศระหว่างสองประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เห็นว่าไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2) ร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่ เห็นชอบ เป็นการกำหนดข้อบทต่าง ๆ เกี่ยวกับสิทธิการบินและการบริการเดินอากาศระหว่างกัน โดยมีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายต้องปฏิบัติ - กต. และ สคก. เห็นว่า เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย - คค. แจ้งว่า ไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสองและวรรคสามของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (3) ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูต เห็นชอบ เป็นการยืนยันผลการหารือเพื่อให้ข้อกำหนดในบันทึกการหารือฯ มีผลใช้บังคับ - คค. และ สคก. เห็นว่า เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย - สคก. เห็นว่าไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสองและวรรคสามของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3. คค. แจ้งว่า ที่ผ่านมา ระหว่างปี 2562 - 2567 มีสายการบินของภูฏานทำการบินแบบประจำระหว่างไทย - ภูฏาน จำนวน 2 สายการบิน (ได้แก่ Druk Air และ Bhutan Airlines) ในส่วนของฝ่ายไทยไม่มีสายการบินทำการบินในเส้นทางนี้ ซึ่งจากข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวภูฏานที่เดินทางเข้าประเทศไทย โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวชาวภูฏานเดินทางมาประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2565 อย่างมีนัยสำคัญ [มีนักท่องเที่ยวชาวภูฏาน ในปี 2566 จำนวน 20,356 ราย ส่วนในปี 2565 มีจำนวน 8,732 ราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 133)] ดังนั้นการจัดทำความตกลงฯ ฉบับใหม่ รวมถึงการปรับปรุงสิทธิรับขนการจราจร จากเดิม 28 เที่ยวต่อสัปดาห์ เป็น 35 เที่ยวต่อสัปดาห์ จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในเรื่องการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันราชอาณาจักรภูฏานมีแนวโน้มจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลงอย่างมากแล้ว ดังนั้น จึงเห็นควรให้ คค. เร่งประสานงานกับสายการบินต่าง ๆ ของประเทศไทย เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (Feasibility) รวมถึงจังหวะเวลาที่มีความเหมาะสมในการเปิดเส้นทางการบินไทย - ภูฏาน เพื่อให้สายการบินของประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงฯ ฉบับใหม่ ได้อย่างเต็มที่ 18. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแรงงานและการจ้างงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ด้านการจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ1 (Employment Permit System: EPS) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ รง. สามารถพิจารณาและดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. รง. กับกระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ระบบ EPS มาแล้ว จำนวน 6 ฉบับ (คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว) โดยบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีกรอบความร่วมมือที่ชัดเจนในการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการสรรหาแรงงาน การทดสอบภาษาและการทดสอบฝีมือแรงงาน การกำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน การตรวจลงตราและการเข้าเมือง การทำงานและการพำนักในสาธารณรัฐเกาหลี ตลอดจนการเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อทำงานครบระยะเวลาที่กำหนด เพื่อเป็นการป้องกันการอยู่ในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างผิดกฎหมาย โดยบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับล่าสุด ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 ได้สิ้นสุดการบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 แต่ยังคงมีผลบังคับใช้ระหว่างที่มีการดำเนินการเพื่อต่ออายุ เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องขอให้มีการสิ้นสุดการมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ ตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับแรกในปี 2547 จนถึงวันที่ 22 มกราคม 2567 พบว่า มีการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งสิ้น 94,764 คน โดยทำงานในภาคอุตสาหกรรม 68,357 คน (ร้อยละ 72.13) ภาคเกษตรและปศุสัตว์ 10,450 คน (ร้อยละ 11.03) ภาคก่อสร้าง 9,326 คน (ร้อยละ 9.84) ภาคประมง 23 คน (ร้อยละ 0.02) และได้รับการคัดเลือกให้ไปทำงานซ้ำ (Re-Entry) จำนวน 6,608 คน (ร้อยละ 6.97) 2. รง. และกระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ ได้เจรจาเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ (ฉบับที่ 7) มาอย่างต่อเนื่อง โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับทั้ง 6 ฉบับที่ผ่านมา แต่มีการเพิ่มเติมรายละเอียดบางประการ เช่น ฝ่ายสาธารณรัฐเกาหลีได้เสนอขอปรับแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ โดยเพิ่มเติมการกำหนดเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งนี้ คณะทำงานพิจารณาและจัดทำร่างข้อตกลงที่เกี่ยวกับบันทึกความเข้าใจการจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี ภายได้ระบบ EPS ได้พิจารณาบันทึกความเข้าใจฯ ที่สาธารณรัฐเกาหลีเสนอขอปรับแก้จนได้ข้อยุติแล้ว รวมทั้งได้แจ้งให้ฝ่ายสาธารณรัฐเกาหลีทราบด้วยแล้วซึ่งต่อมากระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ แจ้งว่า ได้ทบทวนและเห็นชอบในเนื้อหาตามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับสุดท้ายแล้ว โดยมีสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ สรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด เช่น (1) สาระสำคัญ (ภาพรวม) - วัตถุประสงค์ : เพื่อรักษากรอบความร่วมมือที่ชัดเจนระหว่างทั้งสองฝ่ายและเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพในกระบวนการจัดส่งและรับคนงานจากไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี โดยกำหนดบทบัญญัติสำหรับทั้งสองฝ่ายเพื่อปฏิบัติตามเกี่ยวกับการจัดส่งแรงงานภายใต้ระบบ EPS ตามกฎหมายการจ้างงานแรงงานต่างชาติ และอื่น ๆ ในสาธารณรัฐเกาหลี - กำหนดให้กรมการจัดหางานในฐานะหน่วยงานผู้ส่งมีอำนาจในการสรรหาและจัดส่งคนงาน และกำหนดให้ HRD Korea ในฐานะหน่วยงานผู้รับ มีอำนาจในการจัดการบัญชีรายชื่อคนหางานและรับคนงาน - กระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ จะนำระบบ Point System มาใช้ในการคัดเลือกคนงาน และกำหนดให้ HRD Korea เป็นหน่วยงานทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่ามีความเป็นกลางในการดำเนินการ - คุณสมบัติของผู้ที่สมัครสอบ EPS-TOPIK จะต้องเป็นบุคคลที่มีอายุระหว่าง 18 - 39 ปี (แม่เกิน 39 ปี ในวันแรกที่ลงทะเบียนสมัครสอบ) และผู้ที่สอบผ่าน EPS-TOPIK จะต้องเข้ารับการทดสอบทักษะและสมรรถภาพร่างกายเนื่องจากเป็นไปตามข้อบังคับภายใต้ระบบ Point System (ผลสอบมีอายุ 2 ปี นับจาก วันประกาศผลสอบ) (2) การให้ความรู้ก่อนการเดินทาง กรมการจัดหางานจะดำเนินการให้ความรู้ก่อนการเดินทางแก่แรงงานทันทีที่ได้เซ็นสัญญาการจ้างงานแล้ว เพื่อให้แรงงานสามารถเดินทางเข้าสาธารณรัฐเกาหลีภายในเวลาที่กำหนด กรณีพบว่าแรงงานคนใดที่เดินทางถึงสาธารณรัฐเกาหลีแล้วไม่ได้รับการอบรมก่อนการเดินทางหรือได้รับการอบรมจากหน่วยงานที่ไม่ได้รับมอบหมาย กระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ สามารถส่งแรงงานคนดังกล่าวกลับและดำเนินมาตรการที่จำเป็น โดยคนงานต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการกลับมาของตนเองรวมถึงค่าโดยสารเครื่องบิน (3) การสนับสนุนกระบวนการจัดส่งและรับ เช่น (1) กระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ หรือ HRD Korea อาจจัดตั้งศูนย์สาธารณรัฐเกาหลี EPS ในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดส่งและรับคนงานไทย (2) ศูนย์สาธารณรัฐเกาหลี EPS อาจช่วยเหลือประสานงาน กำกับดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการจัดส่งคนงานโดยการหารือร่วมกันกับ รง. และกรมการจัดหางานในส่วนของข้อกำหนดต่าง ๆ (4) การจ้างงานและการพำนักอาศัย - คนงานได้รับอนุญาตให้ทำงานเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่เดินทางเข้าประเทศ และสามารถขยายระยะเวลาการทำงานออกไปได้อีกไม่เกิน 1 ปี 10 เดือน - คนงานที่สมัครใจเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดสัญญาจ้างจะกลับเข้าไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีได้อีกเมื่อผ่านไปแล้ว 6 เดือน ส่วนคนงานที่มีความตั้งใจในการทำงานโดยไม่เคยเปลี่ยนสถานที่ทำงานเลยจะสามารถกลับเข้าไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีได้อีกหลังจากเดินทางออกไปแล้ว 1 เดือน และได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้ารับการทดสอบด้วยระบบ Point System ตลอดจนการอบรมก่อนและหลังเดินทางตามที่นายจ้างที่มีคุณสมบัติร้องขอ - ในกรณีที่คนงานเดินทางออกจากสาธารณรัฐเกาหลีโดยได้ยื่นเรื่องขอรับเงินประกันการเดินทางออกนอกประเทศและประกันค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศ รัฐบาลไทย (ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ สาธารณรัฐเกาหลี) และกระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ จะดำเนินการอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้มั่นใจว่าคนงานได้รับเงินประกันคืนภายใน 3 ปี (5) การป้องกันการคอร์รัปชันและมาตรการต่อต้านการอยู่อย่างผิดกฎหมายของแรงงาน - รง. จะร่วมมือกับกระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ อย่างจริงจัง ในการดำเนินการตรวจสอบกระบวนการจัดส่งแรงงานอย่างครบวงจร ซึ่งรวมถึงการสมัครรับคัดเลือกและการจัดหางาน การจ้างงานและการพำนักอาศัยและการเดินทางกลับของคนงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระบบ EPS - ในกรณีพบความผิดปกติในกระบวนการจัดส่ง หรืออัตราการหนีงาน หรือการพักอาศัยแบบผิดกฎหมายของคนงานไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศผู้ส่งทุกประเทศ กระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ จะดำเนินมาตรการที่จำเป็น เช่น ลดจำนวนคนงานที่ได้รับการจัดสรร ระงับการจัดส่งแรงงานเป็นการชั่วคราว หรือยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ได้ (6) บทบัญญัติทั่วไป - ข้อโต้แย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในการแปลความหรือการปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจฯ นี้ จะได้รับการแก้ไขโดยการหารือร่วมกัน - กรณีทบทวนหรือเพิ่มเติมบทบัญญัติ ดำเนินการโดยการเห็นชอบร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร - กระทรวงแรงงานและการจ้างงานฯ สามารถร้องขอให้ รง. สนับสนุนสิ่งที่จำเป็นจากต่างประเทศให้แก่แรงงานเมื่อเดินทางถึงสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น โรคระบาด เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความต่อเนื่องของกระบวนการ EPS และเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อภายใต้สถานการณ์นั้น (7) การบังคับใช้ มีผลบังคับใช้ในวันที่ลงนามของทั้งสองฝ่าย เป็นเวลา 2 ปี โดยระหว่างการดำเนินการเพื่อต่ออายุ บันทึกความเข้าใจฯ ยังคงมีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่ ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจฉบับนี้สามารถพักใช้หรือยกเลิกได้โดยการร้องขออย่างเป็นทางการจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือหากการเจรจาต่อรองล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร 1ระบบอนุญาตจ้างแรงงานต่างชาติ คือ นโยบายการบริหารจัดการแรงงานต่างชาติของสาธารณรัฐเกาหลี หรือนโยบายใบอนุญาตทำงาน เพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือของสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และปัญหาแรงงานต่างชาติลักลอบเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมาย 19. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 7 (Abu Dhabi Dialogue Seventh Ministerial Declaration) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 7 (Abu Dhabi Dialogue Seventh Ministerial Declaration) (ร่างปฏิญญาร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ รง. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วยตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงแรงงานได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 7 (Abu Dhabi Dialogue Seventh Ministerial Declaration) (ร่างปฏิญญาร่วมฯ) ซึ่งสำนักเลขาธิการการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue (ADD) ได้นำเสนอระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี ADD ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 10 - 11 กุมภาพันธ์ 2567 ณ นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งการประชุมระดับรัฐมนตรี ADD เป็นการประชุมหารือระหว่างประเทศสมาชิกกระบวนการโคลัมโบ (ประเทศผู้ส่งแรงงาน) 11 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอัฟกานิสถาน สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม กับกลุ่มประเทศรอบอ่าวอาหรับ (ประเทศผู้รับแรงงาน) รวม 7 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรบาห์เรน รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสาธารณรัฐเยเมน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลพัฒนาขีดความสามารถ ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของแรงงาน ณ ประเทศปลายทาง เพื่อให้การเคลื่อนย้ายแรงงานที่ไปทำงานตามสัญญาจ้างชั่วคราวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศต้นทางที่ส่งออกและประเทศปลายทางที่รับแรงงาน โดยภายหลัง การประชุมระดับรัฐมนตรี ADD ครั้งที่ 7 เสร็จสิ้น สำนักงานเลขาธิการ ADD ได้นำส่งร่างปฏิญญาร่วมฯ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567) เพื่อขอให้ประเทศสมาชิก ADD พิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติม และรับรองร่างปฏิญญาร่วมฯ โดยไม่มีการลงนาม ก่อนนำไปใช้ปฏิบัติเป็นแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศต้นทางผู้ส่งแรงงานและประเทศปลายทางผู้รับแรงงานต่อไป โดยร่างปฏิญญาร่วมฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็น ความร่วมมือที่ ADD จะให้ความสำคัญต่อไปในอนาคต ได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการเคลื่อนย้ายแรงงานในกรอบความร่วมมือเอเชียและกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ (2) การเคลื่อนย้ายแรงงานและทักษะเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมสู่เศรษฐกิจสีเขียว (3) การทำความเข้าใจและการจัดการแรงงานต่างชาติชั่วคราว (Gig Workers)ในประเทศสมาชิก ADD โดยการจัดการกับผลกระทบทางกฎหมาย สังคมและอาชีพ และ (4) การปลดล็อกบทบาทของทักษะและความหลากหลายเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานในประเทศสมาชิก ADD 20. เรื่อง การลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อบริหารจัดการโครงการฝึกอบรมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการของร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) เพื่อบริหารจัดการโครงการฝึกอบรมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงคมนาคม (คค.) ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีเคยมีมติ (3 มิถุนายน 2551) อนุมัติในหลักการให้กระทรวงคมนาคม (คค.) ดำเนินการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่าง ICAO กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยโครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีผลใช้บังคับเป็นเวลา 3 ปี และปัจจุบันได้สิ้นสุดระยะเวลาบังคับใช้แล้ว ในครั้งนี้ คค. จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการของร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อบริหารจัดการโครงการฝึกอบรมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการฝึกอบรมด้านการบินในภูมิภาค ซึ่งการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว จะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ เช่น บุคลากรของไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบิน ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานของอุตสาหกรรมและบริการการบินของประเทศไทย 2. เดิม ICAO ได้เสนอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินในภูมิภาคสำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยให้ประเทศไทยเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และใช้ทรัพยากรด้านสถานที่และบุคลากรของสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) ในการฝึกอบรม และ ICAO จะเป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรที่ฝึกอบรม ผู้เชี่ยวชาญ การอนุมัติหลักสูตรการฝึกอบรมมาตรฐาน (Standard Training Packages : STPs) สำหรับโครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินจากประเทศกำลังพัฒนา 3. ในครั้งนี้ คค. มีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการฝึกอบรมด้านการบินในภูมิภาค จึงมอบหมายให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ประสานกับ ICAO จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ ภายใต้ความร่วมมือกับ สบพ. ในการจัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรม1 เพื่อบริหารจัดการโครงการฝึกอบรมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดความร่วมมือเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตรการฝึกอบรมของ กพท. และให้ทุนแก่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด (1) คู่ภาคี ประกอบด้วย - รัฐบาลไทย โดย กพท. ภายใต้ความร่วมมือกับ สบพ. - ICAO โดยสำนักพัฒนาขีดความสามารถและการปฏิบัติการ (Capacity Development and Implementation Bureau) (2) ขอบเขตความร่วมมือ - รัฐบาลไทยและ ICAO จะร่วมกันกำหนดขอบเขตการฝึกอบรมที่จะจัดให้ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อพึงปฏิบัติของ ICAO และเพื่อให้การบินพลเรือนสามารถฟื้นตัวได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ - รัฐบาลไทยและ ICAO จะร่วมกันกำหนดประเทศกำลังพัฒนาที่จะส่งผู้แทนเข้าร่วมการฝึกอบรม โดยประเทศกำลังพัฒนาจะต้องเป็นประเทศสมาชิก ICAO ที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดยเฉพาะในด้านการฝึกอบรมด้านการบิน - ICAO จะเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกเสนอชื่อผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม หลังจากนั้นจะแจ้งผลการคัดเลือกให้ประเทศสมาชิกทั้งหมดที่ได้เสนอชื่อทราบ - สบพ. จะติดต่อประสานงานโดยตรงกับผู้สมัครจากประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับคัดเลือก ในเรื่องการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมของผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือกตามลำดับ (3) ทุนการฝึกอบรม ทุนการฝึกอบรมจำนวน 51 ทุน วงเงิน 156,471.11 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.54 ล้านบาท)2 ซึ่งจะได้รับเงินทุนจากรัฐบาลไทย3 โดยประเทศของผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือกให้รับทุนการฝึกอบรมจะต้องรับผิดชอบค่าโดยสารเครื่องบินสำหรับผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือก (4) ข้อผูกพันภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่มีเจตนาที่จะสร้างภาระผูกพันทางกฎหมายใด ๆ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ (5) การแก้ไข เปลี่ยนแปลงและความขัดแย้งภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรของคู่ภาคีทั้งสองฝ่าย และความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะได้รับการแก้ไขโดยการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างคู่ภาคีทั้งสองฝ่าย (6) ระยะเวลาบังคับใช้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้ในวันที่ลงนาม และสิ้นสุดเมื่อใดก็ได้โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 6 เดือน โดยโครงการฝึกอบรมสำหรับประเทศกำลังพัฒนาจะเริ่มดำเนินการภายใต้วันที่ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว มีผลบังคับใช้ และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 หรือเมื่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ สิ้นสุดลง 4. ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว เช่น (1) ช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการฝึกอบรมของอุตสาหกรรมและบริการการบินในภูมิภาค ผ่านการส่งเสริมให้บุคลากรของไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานของอุตสาหกรรมและบริการการบินของไทย (2) ส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรด้านการบินในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และ (3) การส่งบุคลากรเข้ามาศึกษาและฝึกอบรม ณ ประเทศไทยจะนำมาซึ่งแหล่งนำรายได้เข้าสู่ประเทศที่สำคัญอีกด้วย 1สบพ. ได้จัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมมีการส่งเสริมในเรื่องการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และหลักสูตรที่ สบพ. มีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ (1) หลักสูตรการฝึกอบรมในด้านการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมของการบิน (ICAO CORSIA Verification) จำนวน 16 คน และอบรมจำนวน 3 วัน (ภายในเดือนเมษายน - มิถุนายน 2567) (2) หลักสูตรการจัดการด้านความปลอดภัย (ICAO Safety Management for Practitioners) จำนวน 20 คน และอบรมจำนวน 5 วัน (ภายในเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2567) (3) หลักสูตรการจัดการด้านความปลอดภัย (ICAO State Safety Programme) จำนวน 15 คน และอบรมจำนวน 6 วัน (ภายในเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2567) 2ทุนการฝึกอบรม 5.54 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ค่าธรรมเนียมหลักสูตร (รวมค่าอาหารกลางวันและค่าที่พัก) ประมาณ 4.80 ล้านบาท (2) ค่าธรรมเนียมหรือค่าดำเนินการของ ICAO ประมาณ 0.57 ล้านบาท และ (3) ค่าเบี้ยเลี้ยง ประมาณ 0.17 ล้านบาท 3เงินทุนมาจากเงินรายได้ของ กพท. เช่น (1) ค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ (2) ค่าใบรับรองและใบอนุญาต และ (3) ค่าธรรมเนียมการสอบและการบริการ 21. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 57 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 57 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้ 1.1 ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 57 (Joint Communiqu? of the 57th ASEAN Foreign Ministers? Meeting) 1.2 ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ? สหราชอาณาจักร: การเสริมสร้างความเชื่อมโยงเพื่ออนาคตที่เจริญรุ่งเรืองและยั่งยืน (ASEAN - UK Joint Ministerial Statement: Enhancing Connectivity for a Prosperous and Sustainable Future) (ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน - สหราชอาณาจักรฯ) 1.3 ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ? จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (ASEAN - China Foreign Ministers? Joint Statement on Strengthening Humanitarian Mine Action Cooperation) (ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียน ? จีนฯ) 1.4 ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและรัสเซียเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย (Joint Statement of ASEAN and Russia Foreign Ministers Commemorating the 20th Anniversary of Russia?s Accession to the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia) (ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและรัสเซียฯ) 1.5 ร่างแถลงการณ์ของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกว่าด้วยการเพิ่มพูนความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านความปลอดภัยของเรือโดยสาร (ARF Statement on Enhancing Regional Cooperation on Ferry Safety) (ร่างแถลงการณ์ของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกฯ) 1.6 ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย (แอลจีเรีย) [Letter of Consent for the Accession to the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) by the People?s Democratic Republic of Algeria] (ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ โดยแอลจีเรีย) 1.7 ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยราชรัฐลักเซมเบิร์ก (ลักเซมเบิร์ก) [Letter of Consent for the Accession to the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) by the Grand Duchy of Luxembourg] (ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ โดยลักเซมเบิร์ก) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ กต. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก 2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารในข้อ 1.1 ? 1.5 3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามร่างเอกสารในข้อ 1.6 ? 1.7 สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้ขอนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 57 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยแบ่งเป็น (1) ร่างเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมรับรอง จำนวน 5 ฉบับ (ตามข้อ 1.1 ? 1.5) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาในการส่งเสริมความร่วมมือและต่อยอดการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ และ (2) ร่างเอกสารที่จะมี การลงนาม จำนวน 2 ฉบับ (ตามข้อ 1.6 - 1.7) ซึ่งเป็นเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะลงนามให้ความยินยอมฝ่ายเดียวของไทยต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแอลจีเรียและลักเซมเบิร์ก โดยการรับรองและลงนามในร่างเอกสารทั้ง 7 ฉบับดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในประเด็นที่ประเทศไทยต้องการเพิ่มพูนศักยภาพ เช่น การเสริมสร้างความเชื่อมโยง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความสมานฉันท์ทั้งในภูมิภาคและในระดับโลก ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักการของอาเซียนและแนวนโยบายของรัฐบาล 22. เรื่อง การจัดทำเอกสาร National Commitment สำหรับการประชุมสุดยอดว่าด้วยกีฬาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sport for Sustainable Development Summit: S4SD Summit) ในห้วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารประกาศความมุ่งมั่นระดับประเทศ (National Commitment) ของประเทศไทย สำหรับการประชุมสุดยอดว่าด้วยกีฬาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sport for Sustainable Development Summit: S4SD Summit) โดยหากมีการแก้ไขร่างเอกสาร National Commitment ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญ 1. กระทรวงการต่างประเทศได้รับหนังสือสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย นำส่งสารจากนายเอมานูว์แอล มาครง (Emmanuel Macron) ประธานานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส และนาย Thomas Bach ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เรียนเชิญนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม Sports for Good - Investing in tomorrow?s generations (S4G Summit) ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 และต่อมาฝ่ายฝรั่งเศสได้แจ้งเปลี่ยนแปลงชื่อการประชุมใหม่เป็น ?Sport for Sustainable Development - Faster, Higher, Stronger - Together For a Better Future?Summit (S4SD Summit) 2. ฝ่ายฝรั่งเศสได้เชิญประเทศที่สนใจเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว และเชิญประเทศต่าง ๆ ร่วมสนับสนุนข้อริเริ่มโดย (1) แสดง National Commitment เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการศึกษาและการจ้างงาน สุขภาวะและโภชนาการ ความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วม การระดมทุน และการวัดผลสัมฤทธิ์ และความยั่งยืนและมรดกสืบทอด และ (2) จัดทำวีดิทัศน์โดยหัวหน้ารัฐบาล โดยขอให้หัวหน้ารัฐบาลพิจารณากล่าวเป็นภาษาไทยว่า ?ประเทศไทยยึดมั่นและมุ่งมั่น เพื่อเยาวชน กีฬา และการพัฒนาที่ยั่งยืน? (For youth, sport and sustainable development, Thailand commits.) ซึ่งวีดิทัศน์ดังกล่าวจะปรากฏควบคู่กับ National Commitment บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของการประชุม S4SD Summit ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดทำวีดิทัศน์ดังกล่าวของนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการต่างประเทศได้นำส่งให้ฝ่ายฝรั่งเศสด้วยแล้ว 3. เมื่อคำนึงถึงพลวัตเชิงบวกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะภายหลังการเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสของนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนมีนาคม 2567 และเดือนพฤษภาคม 2567 และโดยที่การประชุมดังกล่าวมุ่งเน้นประเด็นเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำร่างเอกสาร National Commitment เพื่อสนับสนุนข้อริเริ่มดังกล่าว 4.ประโยชน์และผลกระทบ: ร่างเอกสาร National Commitment เป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและพันธกรณีของประเทศไทยในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเด็นสุขภาวะสำหรับเยาวชน การศึกษาและโภชนาการ และการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือเสริมสร้างสันติภาพ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมบทบาทและภาพลักษณ์พหุภาคีนิยมของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ ทั้งนี้เอกสารดังกล่าวไม่มีรูปแบบหรือถ้อยคำที่จะก่อให้เกิดพันธกรณีทางกฎหมายเพิ่มเติมต่อประเทศไทยแต่อย่างใด 23. เรื่อง การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 15การประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 และการรับตำแหน่งประธานร่วมของหุ้นส่วน ลุ่มน้ำโขง -สหรัฐฯ ในปี 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างยุทธศาสตร์กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ค.ศ. 2024 และร่างแผนดำเนินการหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ค.ศ. 2024-2026 เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 15 และของการประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 ตามลำดับ ทั้งนี้หากจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารทั้งสองฉบับข้างต้น ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของราชอาณาจักรไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก 2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรอง ร่างเอกสารในข้อ 1 ในที่ประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 15 และที่ประชุมรัฐมนตรี หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายแจ้งที่ประชุม รัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 ว่าราชอาณาจักรไทยเห็นพ้องที่จะรับตำแหน่งประธานร่วมของ MUSP ร่วมกับสหรัฐอเมริกาต่อจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปี 2568 สาระสำคัญ 1. การประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 15 1.1 กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 มีประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับความเป็นอยู่และการพัฒนาของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ลดช่องว่างการพัฒนา และส่งเสริมการรวมตัวของประชาคมอาเซียน มีความร่วมมือ 3 สาขา ตามยุทธศาสตร์ กรุงโตเกียว ค.ศ. 2018 ได้แก่ (1) การพัฒนาความเชื่อมโยงที่ดีและมีประสิทธิภาพ (2) การสร้างสังคมที่มี ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และ (3) การสร้างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสีเขียว 1.2 การประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 15 จะจัดขึ้น ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ที่เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นประธานร่วม โดยที่ประชุมจะรับรองเอกสารผลลัพธ์ ?ร่างยุทธศาสตร์กรอบความร่วมมือ ลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ค.ศ. 2024? ซึ่งเป็นเอกสารกำหนดแนวทางความร่วมมือในระยะ 5 ปี ต่อเนื่องจากยุทธศาสตร์กรุงโตเกียว ค.ศ. 2018 ใน 3 เสา ได้แก่ (1) การเป็นสังคมที่มีความยืดหยุ่นและเชื่อมโยงกันในโลกหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิค-19) (2) การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และ (3) การตอบสนองเชิงรุกต่อประเด็น ความมั่นคงรูปแบบใหม่ เช่น การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การบริหารจัดการน้ำ ความมั่นคงทางอาหาร และ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 2. การประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 2.1 สหรัฐอเมริกาประกาศข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative: LMI) เมื่อปี 2552 โดยมีประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสหรัฐอเมริกา และได้ยกระดับ LMI เป็นกรอบความร่วมมือ MUSP เมื่อปี 2563 เพื่อตอบรับกับความท้าทายใหม่ ๆ และส่งเสริมความเป็นยุทธศาสตร์ ความมุ่งมั่น และประสิทธิภาพของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีความร่วมมือ 4 สาขาหลัก ได้แก่ (1) ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ (2) การใช้และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (3) ความมั่นคงรูปแบบใหม่ รวมถึงความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด สัตว์ป่าและพืชป่า ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การหลอกลวงทางออนไลน์ และอาชญากรรมทางไซเบอร์อื่น ๆ การรับมือและเตรียมพร้อมต่อภัยพิบัติ และ (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2.2 การประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 จะจัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ที่เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอมริกาเป็นประธานร่วม โดยที่ประชุมจะรับรองเอกสารผลลัพธ์ ?ร่างแผนดำเนินการหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ค.ศ. 2024 -2026? ซึ่งกำหนดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่สหรัฐฯ จะดำเนินการภายใต้ MUSP ในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า การระบุหลักการความเป็นแกนกลางของอาเซียน ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล การเคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และความร่วมมือที่มีกฎเกณฑ์เป็นพื้นฐานโครงสร้างและสาขาความร่วมมือ 4 สาขา รวมทั้งโครงการของสหรัฐฯ ที่จะดำเนินการในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงภายใต้ MUSP ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ปรับปรุงสาระและถ้อยคำของร่างแผนดำเนินการฯ ฉบับล่าสุด โดยมุ่งให้ความสำคัญกับอนุภูมิภาคฯ ชัดเจนมากขึ้น ตลอดจนกำหนดกรอบเวลาของการดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่แผนดำเนินการฯ จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2026 2.3 นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 จะหารือเกี่ยวกับข้อเสนอการส่งมอบตำแหน่งประธานร่วมของ MUSP ในส่วนของประเทศลุ่มน้ำโขงในปี 2568 จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้แก่ราชอาณาจักรไทย เพื่อทำหน้าที่ประธานร่วมกับสหรัฐอเมริกา โดยตามหลักการ ที่ระบุในเอกสารจัดตั้ง MUSP จะต้องมีการหมุนเวียนประเทศลุ่มน้ำโขงที่ทำหน้าที่ประธานร่วมในกรอบ MUSP ทุกปี ตามลำดับตัวอักษร อย่างไรก็ดีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ทำหน้าที่ประธานร่วมตั้งแต่ปี 2565 โดยไม่สามารถส่งมอบตำแหน่งให้แก่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาได้ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาไม่ประสงค์ทำหน้าที่ร่วมกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาด้วยเหตุสถานการณ์ทางการเมืองในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา แต่ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส MUSP เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ที่เมืองวังเวียง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประธานร่วม (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหรัฐอเมริกา) ได้เสนอให้มีการส่งมอบตำแหน่งประธานร่วมใน ปี 2568 จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยข้ามสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาไปยังประเทศลุ่มน้ำโขงลำดับถัดไป คือ ราชอาณาจักรไทย ซึ่งผู้แทนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา แจ้งว่า ไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอดังกล่าวเฉพาะในครั้งนี้ 3. ประโยชน์และผลกระทบ 1) ร่างยุทธศาสตร์กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ค.ศ. 2024 เป็นประโยชน์ต่อราชอาณาจักรไทยและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความเชื่อมโยง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความร่วมมือทางวิชาการ และการลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนา โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก และสนับสนุนความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียน 2) ร่างแผนดำเนินการหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ค.ศ. 2024-2026 เป็นประโยชน์ต่อ ราชอาณาจักรไทยและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในด้านการพัฒนาความเชื่อมโยงในทุกมิติ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการลดความเหลื่อมล้ำทางการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก 3) การรับตำแหน่งประธานร่วมของ MUSP ของราชอาณาจักรไทยในปี 2568 จะเป็นการส่งเสริมบทบาทนำของราชอาณาจักรไทยในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะการกำหนดวาระการประชุมและประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ ที่ประเทศลุ่มน้ำโขงให้ความสำคัญ เพื่อให้ความร่วมมือในกรอบ MUSP เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราชอาณาจักรไทยและประเทศลุ่มน้ำโขง เป็นการแก้ไขปัญหาการส่งมอบตำแหน่งประธานร่วม MUSP บนหลัก ฉันทามติของประเทศสมาชิก รวมทั้งยังเพื่อให้ความร่วมมือสามารถเดินหน้าต่อไปได้ แต่งตั้ง 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 1. นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 25. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอการแต่งตั้ง นายมหัทธนะ อัมพรพิสิฏฐ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก แทนผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝากเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ เนื่องจากขอลาออก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป 26. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จำนวน 3 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 ดังนี้ 1. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการ 2. นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 3. นายสรวิศ ไพบูลย์รัตนากร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาสังคม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป 27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 7 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข จำนวน 6 คน รวมจำนวน 13 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเติมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2567 ดังนี้ 1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 7 คน 1.1 นายวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ด้านประกันสุขภาพ 1.2 ศาสตราจารย์ปิยะมิตร ศรีธรา ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 1.3 นายพรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ด้านการแพทย์แผนไทย 1.4 นายประทีป ธนกิจเจริญ ด้านการแพทย์ทางเลือก 1.5 นางมานิดา ภู่เจริญ ด้านการเงินการคลัง 1.6 นายสุวิช ชูตระกูล ด้านกฎหมาย 1.7 รองศาสตราจารย์อภิญญา เวชยชัย ด้านสังคมศาสตร์ 2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข จำนวน 6 คน 2.1 นายวิชัย อัศวภาคย์ สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว 2.2 นางสาวโชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ สาขาจิตเวช 2.3 นายธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ สาขาการแพทย์แผนไทย 2.4 ศาสตราจารย์คลินิกสุพรรณ ศรีธรรมมา สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน 2.5 นางวัชรา ริ้วไพบูลย์ สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู 2.6 ศาสตราจารย์ภิเศก ลุมพิกานนท์ สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป