คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า มีความจำเป็นต้องตราร่างพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. .... ขึ้นใช้บังคับเพื่อรองรับภารกิจของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ครอบคลุมทุกภารกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการคุมประพฤติขึ้น และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุมประพฤติ ร่างมาตรา 5 — 6)
2. กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติ และให้มีผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่ ช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติตามที่อธิบดีกรมคุมประพฤติมอบหมาย อีกทั้งให้มีอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติและผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติด้วย ทั้งนี้ ได้กำหนดให้พนักงานคุมประพฤติและผู้ช่วยพนักงาน คุมประพฤติเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ร่างมาตรา 11- 13 และร่างมาตรา 15 — 18)
3. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการสืบเสาะและพินิจและการคุมความประพฤติ และการทำงานบริการสังคม (ร่างมาตรา 20 — 27)
4. กำหนดให้สำนักงานคุมประพฤติมีหน้าที่ดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และกำหนดวิธีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (ร่างมาตรา 28 - 33)
6. กำหนดให้มีกองทุนป้องกันอาชญากรรมและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุน มีอำนาจหน้าที่บริหารกองทุน และให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนมีอำนาจหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานของกองทุน รวมทั้งเรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องจาก บุคคลใด เพื่อประกอบการพิจารณาประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน (ร่างมาตรา 38 — 47)
7. กำหนดโทษแก่ผู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติ และโทษแก่เจ้าพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งนำความลับของผู้อื่นที่ล่วงรู้หรือได้มาเพราะการปฏิบัติหน้าที่ไปเปิดเผยนอกอำนาจหน้าที่ของตน (ร่างมาตรา 48 — 50)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า มีความจำเป็นต้องตราร่างพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. .... ขึ้นใช้บังคับเพื่อรองรับภารกิจของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ครอบคลุมทุกภารกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการคุมประพฤติขึ้น และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุมประพฤติ ร่างมาตรา 5 — 6)
2. กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติ และให้มีผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่ ช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติตามที่อธิบดีกรมคุมประพฤติมอบหมาย อีกทั้งให้มีอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติและผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติด้วย ทั้งนี้ ได้กำหนดให้พนักงานคุมประพฤติและผู้ช่วยพนักงาน คุมประพฤติเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ร่างมาตรา 11- 13 และร่างมาตรา 15 — 18)
3. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการสืบเสาะและพินิจและการคุมความประพฤติ และการทำงานบริการสังคม (ร่างมาตรา 20 — 27)
4. กำหนดให้สำนักงานคุมประพฤติมีหน้าที่ดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และกำหนดวิธีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (ร่างมาตรา 28 - 33)
6. กำหนดให้มีกองทุนป้องกันอาชญากรรมและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุน มีอำนาจหน้าที่บริหารกองทุน และให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนมีอำนาจหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานของกองทุน รวมทั้งเรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องจาก บุคคลใด เพื่อประกอบการพิจารณาประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน (ร่างมาตรา 38 — 47)
7. กำหนดโทษแก่ผู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติ และโทษแก่เจ้าพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งนำความลับของผู้อื่นที่ล่วงรู้หรือได้มาเพราะการปฏิบัติหน้าที่ไปเปิดเผยนอกอำนาจหน้าที่ของตน (ร่างมาตรา 48 — 50)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--