คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานแผนแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาความยากจน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยึดหลักการ 4 ประการได้แก่
1.1 เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และปัญญา เพื่อการแก้ปัญหาความยากจน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 เน้นการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกษตรกรรู้จักการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ โดยมีการทำกินในแปลงที่ดินที่จัดให้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้
1.3 เน้นการนำที่ดินที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรยากจน ควบคู่กับการฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.4 เน้นการรวมกลุ่มเกษตรกรให้พึ่งพาช่วยเหลือกัน ในรูปสหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชน และสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือด้านการตลาด อันสามารถจะเชื่อมโยงไปสู่การส่งออกในรูปการทำ Contract Farming กับบริษัทเอกชน
2. แนวทางการดำเนินงานมี 2 รูปแบบ ได้แก่
2.1 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน (โรงเรียนแก้จน) โดยการพัฒนาต่อยอดจากโครงการ 1 ตำบล 1 ฟาร์ม ที่ดำเนินการแล้ว จำนวน 815 แปลง และโครงการแปลงเรียนรู้ควบคู่กับการผลิตเพื่อเลี้ยงชีพ (1 อำเภอ 1 แปลง) ที่ได้ดำเนินการแล้ว 798 แปลง ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมายภายในปี 2551 จะขยายศูนย์เรียรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนให้ครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศ อย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง ตลอดจนครอบคลุมหมู่บ้านยากจน จำนวน 16,735 แห่ง ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนของรัฐบาล โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
2.1.1 จัดหาที่ดินว่างเปล่าที่เป็นที่ดินของทางราชการ ที่ดินสาธารณประโยชน์หรือที่ดินของเอกชนที่ยินยอมให้ใช้ประโยชน์ เป็นต้น เพื่อจัดทำเป็นแปลงหมุนเวียนทำกินชั่วคราว และเป็นศูนย์ข้อมูลของแหล่งเรียนรู้ที่จะพัฒนาให้เกิดประกายความคิด ทักษะ การผลิต การจัดการ เพื่อนำไปพัฒนาปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตของเกษตรกร ในลักษณะ Learning by doing ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.1.2 เกษตรกรที่ลงทะเบียนคนจนและเข้าร่วมโครงการเมื่อผ่านการฝึกอบรมเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงแล้ว สามารถนำความรู้ที่ได้รับพร้อมกับทุนที่ศูนย์แบ่งให้จากรายได้ผลผลิตในแปลง ไปลงทุนต่อในที่ดินของตนเอง หรือที่เช่า หรือที่ทางราชการจัดให้ต่อไป
2.1.3 สนับสนุนให้สมาชิกที่ผ่านการฝึกอบรมรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อช่วยเหลือกันในการดำเนินการด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดต่อไปในอนาคตโดยใช้ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนเป็นศูนย์ประสานงาน
2.2 นิคมเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการจัดหาที่ดินให้เกษตรกรเข้าไปทำกินถาวรในที่ดินของ ส.ป.ก. ที่ยังไม่มีการออกเอกสารสิทธิ์ โดยจะดำเนินการ ดังนี้
2.2.1 รวมกลุ่มสมาชิกตามหลักสหกรณ์และให้สหกรณ์เช่าที่ดินแปลงรวมในระยะยาว จาก ส.ป.ก. ตลอดจนอาศัยเอกสารสัญญาเช่าดังกล่าวค้ำประกันการกู้ยืมเงิน เพื่อให้สหกรณ์มีทุนมาดำเนินการ
2.2.2 จัดรูปการใช้ที่ดินทั้งแปลงอย่างเป็นระบบ
2.2.3 ผลิตเป็น Cluster เพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP และทำ Contract Farming
2.2.4 สมาชิกแบ่งงานกันทำตามความถนัด ทั้งการผลิต การแปรรูป บรรจุภัณฑ์ โดยมีการทำ Branding ของนิคม
2.2.5 จัดให้มีกิจกรรมในมิติทางสังคมร่วมกันและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในนิคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีการจัดทำโครงการแปลงเรียนรู้ควบคู่การผลิตเพื่อเลี้ยงชีพ (1 อำเภอ 1 แปลง) ซึ่งจะพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน จำนวน 18 แห่งต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ตุลาคม 2548--จบ--
1. การแก้ไขปัญหาความยากจน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยึดหลักการ 4 ประการได้แก่
1.1 เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และปัญญา เพื่อการแก้ปัญหาความยากจน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 เน้นการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกษตรกรรู้จักการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ โดยมีการทำกินในแปลงที่ดินที่จัดให้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้
1.3 เน้นการนำที่ดินที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรยากจน ควบคู่กับการฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.4 เน้นการรวมกลุ่มเกษตรกรให้พึ่งพาช่วยเหลือกัน ในรูปสหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชน และสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือด้านการตลาด อันสามารถจะเชื่อมโยงไปสู่การส่งออกในรูปการทำ Contract Farming กับบริษัทเอกชน
2. แนวทางการดำเนินงานมี 2 รูปแบบ ได้แก่
2.1 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน (โรงเรียนแก้จน) โดยการพัฒนาต่อยอดจากโครงการ 1 ตำบล 1 ฟาร์ม ที่ดำเนินการแล้ว จำนวน 815 แปลง และโครงการแปลงเรียนรู้ควบคู่กับการผลิตเพื่อเลี้ยงชีพ (1 อำเภอ 1 แปลง) ที่ได้ดำเนินการแล้ว 798 แปลง ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมายภายในปี 2551 จะขยายศูนย์เรียรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนให้ครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศ อย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง ตลอดจนครอบคลุมหมู่บ้านยากจน จำนวน 16,735 แห่ง ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนของรัฐบาล โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
2.1.1 จัดหาที่ดินว่างเปล่าที่เป็นที่ดินของทางราชการ ที่ดินสาธารณประโยชน์หรือที่ดินของเอกชนที่ยินยอมให้ใช้ประโยชน์ เป็นต้น เพื่อจัดทำเป็นแปลงหมุนเวียนทำกินชั่วคราว และเป็นศูนย์ข้อมูลของแหล่งเรียนรู้ที่จะพัฒนาให้เกิดประกายความคิด ทักษะ การผลิต การจัดการ เพื่อนำไปพัฒนาปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตของเกษตรกร ในลักษณะ Learning by doing ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.1.2 เกษตรกรที่ลงทะเบียนคนจนและเข้าร่วมโครงการเมื่อผ่านการฝึกอบรมเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงแล้ว สามารถนำความรู้ที่ได้รับพร้อมกับทุนที่ศูนย์แบ่งให้จากรายได้ผลผลิตในแปลง ไปลงทุนต่อในที่ดินของตนเอง หรือที่เช่า หรือที่ทางราชการจัดให้ต่อไป
2.1.3 สนับสนุนให้สมาชิกที่ผ่านการฝึกอบรมรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อช่วยเหลือกันในการดำเนินการด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดต่อไปในอนาคตโดยใช้ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนเป็นศูนย์ประสานงาน
2.2 นิคมเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการจัดหาที่ดินให้เกษตรกรเข้าไปทำกินถาวรในที่ดินของ ส.ป.ก. ที่ยังไม่มีการออกเอกสารสิทธิ์ โดยจะดำเนินการ ดังนี้
2.2.1 รวมกลุ่มสมาชิกตามหลักสหกรณ์และให้สหกรณ์เช่าที่ดินแปลงรวมในระยะยาว จาก ส.ป.ก. ตลอดจนอาศัยเอกสารสัญญาเช่าดังกล่าวค้ำประกันการกู้ยืมเงิน เพื่อให้สหกรณ์มีทุนมาดำเนินการ
2.2.2 จัดรูปการใช้ที่ดินทั้งแปลงอย่างเป็นระบบ
2.2.3 ผลิตเป็น Cluster เพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP และทำ Contract Farming
2.2.4 สมาชิกแบ่งงานกันทำตามความถนัด ทั้งการผลิต การแปรรูป บรรจุภัณฑ์ โดยมีการทำ Branding ของนิคม
2.2.5 จัดให้มีกิจกรรมในมิติทางสังคมร่วมกันและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในนิคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีการจัดทำโครงการแปลงเรียนรู้ควบคู่การผลิตเพื่อเลี้ยงชีพ (1 อำเภอ 1 แปลง) ซึ่งจะพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน จำนวน 18 แห่งต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ตุลาคม 2548--จบ--