คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2551 โดยสรุปดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 ในปี 2545
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 123.6 สำหรับเดือนมีนาคม 2551 คือ 121.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
2.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.2
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม — เมษายน) ปี 2550 สูงขึ้นร้อยละ 5.3
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เทียบกับเดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามราคาตลาดโลกซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทุกชนิดสูงขึ้น ได้แก่ อาหารสดประเภทต่าง ๆ
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.4 สาเหตุสำคัญ จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก ส่งผลให้ราคาอาหารประเภทต่าง ๆ สูงขึ้น เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว สูงขึ้นตามความต้องการของการบริโภคทั้งในและต่างปะเทศด้วย นอกจากนี้ ไก่สด ไข่ ผักและผลไม้ราคาสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะผักสดสูงขึ้น ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักชี มะเขือเทศ มะนาว ขึ้นฉ่าย และต้นหอม เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวมีผลต่อการเพาะปลูก การขึ้นราคาอาหารสดส่งผลให้อาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง โจ๊ก เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื้อสุกรราคามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 สาเหตุหลักยังคงมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาวะราคาตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับสูง โดยบริษัทต่าง ๆ ปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศหลายครั้งทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ดัชนีหมวดน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 4.5 รวมถึงค่าโดยสารในท้องถิ่น ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนเมษายน 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.2 โดยสาเหตุมาจากการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงและภาวะตลาดทำให้ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 9.8 ได้แก่ ข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ ไก่สด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและ
ผลไม้ และเครื่องประกอบอาหาร
สำหรับดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 24.8 เป็นสำคัญ
5. ถ้าพิจารณาเทียบดัชนีราคาเฉลี่ย 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.3 โดยการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 7.6 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ ข้าวสารเจ้า และเครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช)
สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 26.3
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 107.6 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.6
6.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.1
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม — เมษายน) 2550 สูงขึ้นร้อยละ 1.6
โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง และค่าโดยสารรถเมล์เล็ก เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 ในปี 2545
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 123.6 สำหรับเดือนมีนาคม 2551 คือ 121.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
2.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.2
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม — เมษายน) ปี 2550 สูงขึ้นร้อยละ 5.3
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เทียบกับเดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามราคาตลาดโลกซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทุกชนิดสูงขึ้น ได้แก่ อาหารสดประเภทต่าง ๆ
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.4 สาเหตุสำคัญ จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก ส่งผลให้ราคาอาหารประเภทต่าง ๆ สูงขึ้น เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว สูงขึ้นตามความต้องการของการบริโภคทั้งในและต่างปะเทศด้วย นอกจากนี้ ไก่สด ไข่ ผักและผลไม้ราคาสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะผักสดสูงขึ้น ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักชี มะเขือเทศ มะนาว ขึ้นฉ่าย และต้นหอม เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวมีผลต่อการเพาะปลูก การขึ้นราคาอาหารสดส่งผลให้อาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง โจ๊ก เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื้อสุกรราคามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 สาเหตุหลักยังคงมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาวะราคาตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับสูง โดยบริษัทต่าง ๆ ปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศหลายครั้งทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ดัชนีหมวดน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 4.5 รวมถึงค่าโดยสารในท้องถิ่น ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนเมษายน 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.2 โดยสาเหตุมาจากการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงและภาวะตลาดทำให้ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 9.8 ได้แก่ ข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ ไก่สด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและ
ผลไม้ และเครื่องประกอบอาหาร
สำหรับดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 24.8 เป็นสำคัญ
5. ถ้าพิจารณาเทียบดัชนีราคาเฉลี่ย 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.3 โดยการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 7.6 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ ข้าวสารเจ้า และเครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช)
สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 26.3
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 107.6 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.6
6.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.1
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม — เมษายน) 2550 สูงขึ้นร้อยละ 1.6
โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง และค่าโดยสารรถเมล์เล็ก เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--