คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานผลการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 9 ณ จังหวัดชลบุรี สรุปได้ดังนี้
1. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปประชุมเพื่อมอบนโยบายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 9 ณ จังหวัดชลบุรี โดยได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ผู้ตรวจราชการกระทรวงต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งได้ตรวจสภาพข้อเท็จจริงของโครงการแก้ไขปัญหาขยะ และโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่อำเภอสัตหีบ และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
2. จากการประชุมรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดภาคตะวันออก ตามประเด็นยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัด ปัญหาสำคัญของจังหวัด แนวทางการแก้ไข และผลสำเร็จที่ได้ดำเนินการแก้ไข ไปแล้ว สรุปผลการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการฯ ดังนี้
2.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด พบว่ากลุ่มจังหวัดฯ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัด โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเกษตรกรรม อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจังหวัดชลบุรีในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มฯ ได้จัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกขึ้น เพื่อรองรับการบริหารงานของกลุ่มฯ ซึ่งขณะตรวจราชการกลุ่มจังหวัดฯอยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และจัดทำแผนงาน/โครงการ เพื่อเสนอขอจัดตั้งงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2552
2.2 ปัญหาสำคัญของจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกประสบปัญหาต่างๆ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การขาดแคลนน้ำภาคเกษตรกรรม/อุตสาหกรรม/และประชาชน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและประมงชายฝั่งทะเล ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ปัญหาการค้าชายแดน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน เป็นต้น ซึ่งจังหวัดต่างๆ สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาฯ ไปแล้ว ดังนี้
(1) จังหวัดชลบุรี ประสบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำภาคเกษตรกรรม/อุตสาหกรรม/และประชาชน ปัญหาระบบเส้นทางการขนส่งสินค้า และปัญหาการบริหารจัดการขยะ โดยจังหวัดชลบุรีสามารถดำเนินการ แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สำคัญ ไปแล้ว ได้แก่ การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตเมืองพัทยา การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ยากไร้ การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในครัวเรือน การจัดระเบียบการค้าปลีกและค้าส่ง การจัดระเบียบการปราบปรามการบุกรุก ที่ดินป่าเขา การจัดระเบียบประมงชายฝั่งป่าชายเลน การจัดระเบียบสังคม การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
(2) จังหวัดระยอง ประสบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำภาคเกษตรกรรม/อุตสาหกรรม/และประชาชน การถมพื้นที่ทะเลบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การบุกรุกพื้นที่ชายฝั่งทะเล และปัญหามลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม โดยจังหวัดประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปแล้ว ได้แก่ การส่งเสริมธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดทำแผนลดและขจัดมลพิษ และการจัดตั้งกองทุนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษต่างๆ เป็นต้น
(3) จังหวัดจันทบุรี ประสบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาผลไม้ราคาตกต่ำเป็นประจำทุกปี ปัญหาการค้าไม้บริเวณชายแดน และปัญหาสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล ซึ่งจังหวัดจันทบุรีประสบผลสำเร็จในการดำเนินการแก้ไขปัญหาผลไม้ราคาตกต่ำ เมื่อปี 2550 ไปแล้ว โดยได้จัดทำแผนการตลาดผลไม้เพื่อเร่งระบายผลไม้ออก นอกจังหวัดจันทบุรี ยึดหลักการบริหารจัดการ 4 ประการ ประกอบด้วย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล การกระจายสินค้าในประเทศและต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย และการเตรียมการแทรกแซงกรณีราคาผลไม้ตกต่ำ
(4) จังหวัดตราด ประสบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ ปัญหาการทำประมงทะเล ปัญหาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง และปัญหาเศรษฐกิจซบเซาเนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่เข้าเมือง ทั้งนี้ จังหวัดตราดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปบางส่วนแล้ว ได้แก่ การแก้ไขปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ การจัดทำประมงทะเล และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง เป็นต้น
3. ข้อวินิจฉัยสั่งการ จากการรับฟังรายงานผลการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครับไปพิจารณาดำเนินการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
3.1 ปัญหาสำคัญของจังหวัด ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดพิจารณาคัดเลือกปัญหาที่จังหวัดจะสามารถดำเนินการแก้ไขได้เอง และปัญหาที่เป็นเรื่องในระดับนโยบายที่กระทรวงจะต้องดูแล อาทิเช่น “ปัญหาการค้าไม้บริเวณชายแดนจังหวัดจันทบุรี” ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ขอให้พิจารณาทบทวนประกาศกระทรวงพาณิชย์ นั้น ให้นำเสนอมาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขต่อไป รวมทั้งได้ขอให้ผู้แทนส่วนราชการในส่วนกลางสรุปปัญหาสำคัญต่างๆ นำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
3.2 ปัญหาที่ต้องดำเนินการในลักษณะบูรณาการระดับกลุ่มจังหวัด ได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้ง 4 จังหวัด และคณะทำงานฯ ประชุมปรึกษาหารือในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการบูรณาการอย่างเร่งด่วน
3.3 กรณีเรื่องเร่งด่วนและฉุกเฉิน กรณีที่ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน อาทิเช่น การป้องกันอุทกภัย/ภัยแล้งต่างๆ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีงบประมาณเร่งด่วนกรณีฉุกเฉิน สำหรับใช้ในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการส่วนภูมิภาค ได้สั่งการให้จังหวัดพิจารณาถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนแก่ประชาชน และสามารถเสนอขอสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวได้
3.4 นโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดกำกับดูแลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการในปีแรก ซึ่งได้แถลงต่อที่ประชุมรัฐสภาไปแล้ว ทั้ง 19 ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการต่อสู้เอาชนะยาเสพติดไปแล้ว และโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) รวมทั้งขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแลและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องการขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และการกักตุนสินค้าให้แก่ราษฎรเป็นกรณีพิเศษด้วย
3.5 การบริหารราชการกลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการระดับจังหวัดเร่งเตรียมความพร้อมในเรื่องการขอจัดตั้งงบประมาณของจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและนโยบายของรัฐบาล สืบเนื่องจากในขณะตรวจติดตามคณะทำงานยกร่าง พระราชกฤษฎีกาการบริหารราชการกลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการ ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ อยู่ระหว่างการยกร่างพระราชกฤษฎีกาฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้จังหวัดเป็นส่วนราชการที่สามารถขอจัดตั้งงบประมาณได้โดยตรง ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะผลักดันพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้ออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และทันการเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
3.6 การตรวจสภาพข้อเท็จจริงของโครงการต่างๆ ในพื้นที่ ได้สั่งการให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
3.6.1 โครงการเตาอัดขยะ ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พบว่าขณะนี้ก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากเตาอัดขยะดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศเยอรมันนี ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับการเก็บขยะรวมประเภทของไทยได้ และจังหวัดชลบุรีจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาขยะของอำเภอสัตหีบและอำเภอบางละมุง อย่างเร่งด่วน จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการบริหารจัดการขยะมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งประมาณการงบประมาณที่จะขอรับการสนับสนุน เสนอมาเพื่อพิจารณาหาแนวทางให้การสนับสนุนต่อไป
3.6.2 โครงการก่อสร้างถนน คสล. และวางท่อระบายน้ำ คสล. ซอยสัตหีบ สุขุมวิท 33 อำเภอสัตหีบ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลสัตหีบ นั้น ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอรายละเอียดมาเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
3.6.3 โครงการขุดลอกคลองเซิด อำเภอพานทอง พบว่าคลองเซิด มีสภาพตื้นเขินไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ จำเป็นต้องได้รับการขุดลอกอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้แก่ราษฎร โดยการขุดลอกคลองดังกล่าว ในเขตพื้นที่ 3 ตำบล ของอำเภอพานทอง ประกอบด้วย ตำบลบ้านเซิด ตำบลมาบโป่ง และตำบลพานทอง ซึ่งมีระยะทางยาวประมาณ 17 กม. วงเงินงบประมาณ 7 ล้านบาท จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสำรวจและจัดทำรายละเอียดรูปแบบรายการ นำเสนอมาเพื่อพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปประชุมเพื่อมอบนโยบายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 9 ณ จังหวัดชลบุรี โดยได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ผู้ตรวจราชการกระทรวงต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งได้ตรวจสภาพข้อเท็จจริงของโครงการแก้ไขปัญหาขยะ และโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่อำเภอสัตหีบ และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
2. จากการประชุมรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดภาคตะวันออก ตามประเด็นยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัด ปัญหาสำคัญของจังหวัด แนวทางการแก้ไข และผลสำเร็จที่ได้ดำเนินการแก้ไข ไปแล้ว สรุปผลการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการฯ ดังนี้
2.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด พบว่ากลุ่มจังหวัดฯ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัด โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเกษตรกรรม อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจังหวัดชลบุรีในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มฯ ได้จัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกขึ้น เพื่อรองรับการบริหารงานของกลุ่มฯ ซึ่งขณะตรวจราชการกลุ่มจังหวัดฯอยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และจัดทำแผนงาน/โครงการ เพื่อเสนอขอจัดตั้งงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2552
2.2 ปัญหาสำคัญของจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกประสบปัญหาต่างๆ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การขาดแคลนน้ำภาคเกษตรกรรม/อุตสาหกรรม/และประชาชน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและประมงชายฝั่งทะเล ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ปัญหาการค้าชายแดน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน เป็นต้น ซึ่งจังหวัดต่างๆ สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาฯ ไปแล้ว ดังนี้
(1) จังหวัดชลบุรี ประสบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำภาคเกษตรกรรม/อุตสาหกรรม/และประชาชน ปัญหาระบบเส้นทางการขนส่งสินค้า และปัญหาการบริหารจัดการขยะ โดยจังหวัดชลบุรีสามารถดำเนินการ แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สำคัญ ไปแล้ว ได้แก่ การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตเมืองพัทยา การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ยากไร้ การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในครัวเรือน การจัดระเบียบการค้าปลีกและค้าส่ง การจัดระเบียบการปราบปรามการบุกรุก ที่ดินป่าเขา การจัดระเบียบประมงชายฝั่งป่าชายเลน การจัดระเบียบสังคม การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
(2) จังหวัดระยอง ประสบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำภาคเกษตรกรรม/อุตสาหกรรม/และประชาชน การถมพื้นที่ทะเลบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การบุกรุกพื้นที่ชายฝั่งทะเล และปัญหามลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม โดยจังหวัดประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปแล้ว ได้แก่ การส่งเสริมธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดทำแผนลดและขจัดมลพิษ และการจัดตั้งกองทุนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษต่างๆ เป็นต้น
(3) จังหวัดจันทบุรี ประสบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาผลไม้ราคาตกต่ำเป็นประจำทุกปี ปัญหาการค้าไม้บริเวณชายแดน และปัญหาสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล ซึ่งจังหวัดจันทบุรีประสบผลสำเร็จในการดำเนินการแก้ไขปัญหาผลไม้ราคาตกต่ำ เมื่อปี 2550 ไปแล้ว โดยได้จัดทำแผนการตลาดผลไม้เพื่อเร่งระบายผลไม้ออก นอกจังหวัดจันทบุรี ยึดหลักการบริหารจัดการ 4 ประการ ประกอบด้วย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล การกระจายสินค้าในประเทศและต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย และการเตรียมการแทรกแซงกรณีราคาผลไม้ตกต่ำ
(4) จังหวัดตราด ประสบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ ปัญหาการทำประมงทะเล ปัญหาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง และปัญหาเศรษฐกิจซบเซาเนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่เข้าเมือง ทั้งนี้ จังหวัดตราดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปบางส่วนแล้ว ได้แก่ การแก้ไขปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ การจัดทำประมงทะเล และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง เป็นต้น
3. ข้อวินิจฉัยสั่งการ จากการรับฟังรายงานผลการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครับไปพิจารณาดำเนินการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
3.1 ปัญหาสำคัญของจังหวัด ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดพิจารณาคัดเลือกปัญหาที่จังหวัดจะสามารถดำเนินการแก้ไขได้เอง และปัญหาที่เป็นเรื่องในระดับนโยบายที่กระทรวงจะต้องดูแล อาทิเช่น “ปัญหาการค้าไม้บริเวณชายแดนจังหวัดจันทบุรี” ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ขอให้พิจารณาทบทวนประกาศกระทรวงพาณิชย์ นั้น ให้นำเสนอมาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขต่อไป รวมทั้งได้ขอให้ผู้แทนส่วนราชการในส่วนกลางสรุปปัญหาสำคัญต่างๆ นำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
3.2 ปัญหาที่ต้องดำเนินการในลักษณะบูรณาการระดับกลุ่มจังหวัด ได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้ง 4 จังหวัด และคณะทำงานฯ ประชุมปรึกษาหารือในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการบูรณาการอย่างเร่งด่วน
3.3 กรณีเรื่องเร่งด่วนและฉุกเฉิน กรณีที่ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน อาทิเช่น การป้องกันอุทกภัย/ภัยแล้งต่างๆ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีงบประมาณเร่งด่วนกรณีฉุกเฉิน สำหรับใช้ในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการส่วนภูมิภาค ได้สั่งการให้จังหวัดพิจารณาถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนแก่ประชาชน และสามารถเสนอขอสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวได้
3.4 นโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดกำกับดูแลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการในปีแรก ซึ่งได้แถลงต่อที่ประชุมรัฐสภาไปแล้ว ทั้ง 19 ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการต่อสู้เอาชนะยาเสพติดไปแล้ว และโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) รวมทั้งขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแลและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องการขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และการกักตุนสินค้าให้แก่ราษฎรเป็นกรณีพิเศษด้วย
3.5 การบริหารราชการกลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการระดับจังหวัดเร่งเตรียมความพร้อมในเรื่องการขอจัดตั้งงบประมาณของจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและนโยบายของรัฐบาล สืบเนื่องจากในขณะตรวจติดตามคณะทำงานยกร่าง พระราชกฤษฎีกาการบริหารราชการกลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการ ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ อยู่ระหว่างการยกร่างพระราชกฤษฎีกาฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้จังหวัดเป็นส่วนราชการที่สามารถขอจัดตั้งงบประมาณได้โดยตรง ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะผลักดันพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้ออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และทันการเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
3.6 การตรวจสภาพข้อเท็จจริงของโครงการต่างๆ ในพื้นที่ ได้สั่งการให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
3.6.1 โครงการเตาอัดขยะ ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พบว่าขณะนี้ก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากเตาอัดขยะดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศเยอรมันนี ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับการเก็บขยะรวมประเภทของไทยได้ และจังหวัดชลบุรีจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาขยะของอำเภอสัตหีบและอำเภอบางละมุง อย่างเร่งด่วน จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการบริหารจัดการขยะมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งประมาณการงบประมาณที่จะขอรับการสนับสนุน เสนอมาเพื่อพิจารณาหาแนวทางให้การสนับสนุนต่อไป
3.6.2 โครงการก่อสร้างถนน คสล. และวางท่อระบายน้ำ คสล. ซอยสัตหีบ สุขุมวิท 33 อำเภอสัตหีบ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลสัตหีบ นั้น ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอรายละเอียดมาเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
3.6.3 โครงการขุดลอกคลองเซิด อำเภอพานทอง พบว่าคลองเซิด มีสภาพตื้นเขินไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ จำเป็นต้องได้รับการขุดลอกอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้แก่ราษฎร โดยการขุดลอกคลองดังกล่าว ในเขตพื้นที่ 3 ตำบล ของอำเภอพานทอง ประกอบด้วย ตำบลบ้านเซิด ตำบลมาบโป่ง และตำบลพานทอง ซึ่งมีระยะทางยาวประมาณ 17 กม. วงเงินงบประมาณ 7 ล้านบาท จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสำรวจและจัดทำรายละเอียดรูปแบบรายการ นำเสนอมาเพื่อพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--