คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปผลการตรวจเยี่ยมจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้
วันที่ 10 พฤษภาคม 2551
- ฟังการบรรยายสรุปการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส
- ชมนิทรรศการพลิกฟื้นนาร้างเป็นนาดี นิคมปาล์มน้ำมัน การพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพ การเลี้ยงแพะในสวนปาล์ม
- เป็นสักขีพยานพิธีทำข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับ ศอ.บต. โครงการข้าว และโครงการส่งเสริม
การเลี้ยงแพะ
- เป็นประธานในพิธีมอบใบอนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดิน สปก. แก่ตัวแทนเกษตรกร จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี
จำนวน 103 คน
- เยี่ยมชมโครงการชลประทานบางนารา
- เยี่ยมชมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านรอตันบาตู
ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
วันที่ 11 พฤษภาคม 2551
- ชมนิทรรศการ “การเกษตรแนวใหม่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้”
- เปิดการสัมมนาและมอบนโยบายแก่ข้าราชการ 5 จังหวัดชายแดนใต้ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 400 คน
- ตรวจเยี่ยมโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการ
ขุดคลองระบายน้ำ และสร้างอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งระบบเตือนภัย
- ตรวจเยี่ยมสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 และตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่
สรุปปัญหา
1. ปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือ
1.1 ข้าราชการและประชาชนต้องการขวัญกำลังใจในการทำงาน ต้องการให้รัฐบาลดูแลเรื่องสวัสดิการ และช่วยเหลือในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรง
1.2 ในกรณีที่ลูกจ้างประจำเสียชีวิตต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ โดยรับบุตรหลานหรือญาติเข้ามาทำงานแทน หรือส่งเสียบุตรให้เรียนจนจบระดับปริญญาตรี
1.3 กรณีที่ลูกจ้างประจำเสียชีวิตอันเนื่องมาจากเหตุการณ์รุนแรง ต้องการให้มีตำแหน่งพนักงานราชการมาชดเชย เพื่อจะได้มี
ผู้ปฏิบัติงานต่อไป
1.4 ข้าราชการใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่เกษียณอายุราชการ ต้องการให้คงตำแหน่งไว้ดังเดิมเพื่อสามารถบรรจุแต่งตั้งผู้มา
ปฏิบัติงานแทน
1.5 ปัญหาเรื่องการช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องเครื่องสูบน้ำ เมื่อกรมชลประทานติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสร็จแล้ว ได้มอบให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล แต่มีปัญหาเรื่องเครื่องสูบน้ำสูญหาย และมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น รวมทั้งปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำแต่ละแห่งแตกต่างกัน บางแห่งเกษตรกรจ่ายเอง แต่บางแห่งให้บริการฟรี ซึ่งควรดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
2. ปัญหาการดำเนินงาน
2.1 โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- การบริหารจัดการระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลาจะต้องรวดเร็ว
- การบริหารจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลายังไม่บูรณาการเท่าที่ควร
- คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ยังไม่มีการประชุมทำให้งานล่าช้า
- งบประมาณไม่ต่อเนื่อง
2.2 การรับซื้อขายยางพารา
- ตลาดกลางซื้อขายยางยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงแหล่งปลูกยางพารา ปัจจุบันมีอยู่ 6 แห่ง คือ หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี
นครศรีธรรมราช ยะลา และอยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 แห่ง คือ หนองคาย และบุรีรัมย์
- มาตรฐานการคำนวณปริมาณเนื้อยางแห้ง (DRC) สำหรับโรงงานที่คิดจากเกษตรกรที่นำน้ำยางสดมาขาย เครื่องมือที่ใช้ไม่ได้มาตรฐานเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้พ่อค้ากดราคารับซื้อยางจากเกษตรกรได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--
วันที่ 10 พฤษภาคม 2551
- ฟังการบรรยายสรุปการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส
- ชมนิทรรศการพลิกฟื้นนาร้างเป็นนาดี นิคมปาล์มน้ำมัน การพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพ การเลี้ยงแพะในสวนปาล์ม
- เป็นสักขีพยานพิธีทำข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับ ศอ.บต. โครงการข้าว และโครงการส่งเสริม
การเลี้ยงแพะ
- เป็นประธานในพิธีมอบใบอนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดิน สปก. แก่ตัวแทนเกษตรกร จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี
จำนวน 103 คน
- เยี่ยมชมโครงการชลประทานบางนารา
- เยี่ยมชมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านรอตันบาตู
ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
วันที่ 11 พฤษภาคม 2551
- ชมนิทรรศการ “การเกษตรแนวใหม่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้”
- เปิดการสัมมนาและมอบนโยบายแก่ข้าราชการ 5 จังหวัดชายแดนใต้ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 400 คน
- ตรวจเยี่ยมโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการ
ขุดคลองระบายน้ำ และสร้างอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งระบบเตือนภัย
- ตรวจเยี่ยมสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 และตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่
สรุปปัญหา
1. ปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือ
1.1 ข้าราชการและประชาชนต้องการขวัญกำลังใจในการทำงาน ต้องการให้รัฐบาลดูแลเรื่องสวัสดิการ และช่วยเหลือในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรง
1.2 ในกรณีที่ลูกจ้างประจำเสียชีวิตต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ โดยรับบุตรหลานหรือญาติเข้ามาทำงานแทน หรือส่งเสียบุตรให้เรียนจนจบระดับปริญญาตรี
1.3 กรณีที่ลูกจ้างประจำเสียชีวิตอันเนื่องมาจากเหตุการณ์รุนแรง ต้องการให้มีตำแหน่งพนักงานราชการมาชดเชย เพื่อจะได้มี
ผู้ปฏิบัติงานต่อไป
1.4 ข้าราชการใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่เกษียณอายุราชการ ต้องการให้คงตำแหน่งไว้ดังเดิมเพื่อสามารถบรรจุแต่งตั้งผู้มา
ปฏิบัติงานแทน
1.5 ปัญหาเรื่องการช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องเครื่องสูบน้ำ เมื่อกรมชลประทานติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสร็จแล้ว ได้มอบให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล แต่มีปัญหาเรื่องเครื่องสูบน้ำสูญหาย และมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น รวมทั้งปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำแต่ละแห่งแตกต่างกัน บางแห่งเกษตรกรจ่ายเอง แต่บางแห่งให้บริการฟรี ซึ่งควรดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
2. ปัญหาการดำเนินงาน
2.1 โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- การบริหารจัดการระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลาจะต้องรวดเร็ว
- การบริหารจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลายังไม่บูรณาการเท่าที่ควร
- คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ยังไม่มีการประชุมทำให้งานล่าช้า
- งบประมาณไม่ต่อเนื่อง
2.2 การรับซื้อขายยางพารา
- ตลาดกลางซื้อขายยางยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงแหล่งปลูกยางพารา ปัจจุบันมีอยู่ 6 แห่ง คือ หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี
นครศรีธรรมราช ยะลา และอยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 แห่ง คือ หนองคาย และบุรีรัมย์
- มาตรฐานการคำนวณปริมาณเนื้อยางแห้ง (DRC) สำหรับโรงงานที่คิดจากเกษตรกรที่นำน้ำยางสดมาขาย เครื่องมือที่ใช้ไม่ได้มาตรฐานเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้พ่อค้ากดราคารับซื้อยางจากเกษตรกรได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--