คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งปี 2551 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน
2550 ถึง 8 พฤษภาคม 2551 ประกอบด้วย สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ผล
กระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูแล้ง สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาตรน้ำในอ่างทั้ง
หมดรวมกัน 63,629 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 88 ของความจุอ่างขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีปริมาตรน้ำในอ่าง
ทั้งหมด 60,156 ล้าน ลบ.ม. (88% ของความจุอ่างขนาดใหญ่ทั้งหมด) อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีปริมาตรน้ำ 3,473 ล้าน ลบ.ม. (88% ของความ
จุอ่างขนาดกลางทั้งหมด)
ในช่วงฤดูแล้งปี 2550/2551 มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่า ร้อยละ 30 ที่ต้องเฝ้าระวังและติดตาม
อย่างใกล้ชิด จำนวน 4 อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง เขื่อนกิ่วลม เขื่อนป่าสักฯ และเขื่อนคลองสียัด ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2551
รายละเอียดดังนี้
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้
ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ
แม่กวง 49 19 34.5 13
กิ่วลม 31 28 27 24
ป่าสักฯ 267 28 264 28
คลองสียัด 94 22 64 15
การบริหารจัดการน้ำ และการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2550/2551
กรมชลประทานวางแผนการใช้น้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลางทั่วประเทศในช่วง ฤดูแล้งปี 2551
(1 พฤศจิกายน 2550—30 เมษายน 2551) ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ปริมาณน้ำต้นทุนสามารถใช้การได้จำนวน 37,913 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้
บริหารจัดการน้ำโดยระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศสิ้นฤดูแล้ง ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 จำนวน 25,281 ล้าน
ลบ.ม. คิดเป็น 104 % ของแผน (23,391 ล้าน ลบ.ม. เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 16,427 ล้าน ลบ.ม. การอุปโภค-บริโภค 1,738 ล้าน
ลบ.ม. การอุตสาหกรรมและอื่นๆ 5,226 ล้าน ลบ.ม.)
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
ผลการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550— 30 เมษายน 2551 มีพื้นที่ปลูกรวม จำนวน 16.68 ไร่
(เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 30%) แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 12.04 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 43%) และพืชไร่-ผัก จำนวน 4.64 ล้านไร่
(5%ของพื้นที่คาดการณ์) รายละเอียดดังนี้
เขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม
คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล
ในเขตชลประทาน 7.53 11.28 0.90 0.76 8.43 12.04
นอกเขตชลประทาน 2.50 2.78 1.90 1.86 4.40 4.64
รวม 10.03 14.06 2.80 2.62 12.83 16.68
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 — 7 พฤษภาคม 2551
ภัยแล้ง พื้นที่ประสบภัยรวม 17 จังหวัด เกษตรกร 11,143 ราย แบ่งเป็น
ด้านพืช เกษตรกร 9,551 ราย พื้นที่เสียหาย 143,039 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 126,483 ไร่ พืชไร่ 16,074 ไร่ และพืชสวน 482 ไร่
ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 1,592 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 46,204 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 21,257 ตัว สุกร-แพะ 1,603 ตัว สัตว์
ปีก 23,344 ตัว
ด้านประมง ไม่มีรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ
ภัยอื่นๆ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 7 พฤษภาคม 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 36 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 41,483 ราย พื้นที่คาดว่า
จะเสียหาย 189,382 ไร่ แบ่งเป็น
อุทกภัย 12 จังหวัด เกษตรกร 13,509 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 69,496 ไร่ (ช่วงอิทธิพลพายุนาร์กีส วันที่ 3-5 พ.ค. 51
จำนวน 1 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย)
วาตภัย 25 จังหวัด เกษตรกร 11,512 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 34,682 ไร่
พายุลูกเห็บ 6 จังหวัด เกษตรกร 7,659 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 26,365 ไร่
ศัตรูพืชระบาด 11 จังหวัด เกษตรกร 8,652 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 57,326 ไร่
อัคคีภัย 8 จังหวัด เกษตรกร 55 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 403 ไร่
ช้างป่าทำลายพืชผล 1 จังหวัด เกษตรกร 96 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 110 ไร่
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ ด้านอุปโภคบริโภค และ การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ ปี 2550/2551 แล้ว
58 จังหวัด จำนวน 804 เครื่อง โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 224 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด จำนวน 303
เครื่อง ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 126 เครื่อง ภาคตะวันออก 6 จังหวัด จำนวน 64 เครื่อง ภาคตะวันตก 3 จังหวัด จำนวน 46 เครื่อง
และภาคใต้ 5 จังหวัด จำนวน 41 เครื่อง
สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือแล้ว จำนวน 34 คัน คิดเป็นปริมาณน้ำทั้งหมด 32.27 ล้านลิตร เป็นการช่วยเหลือเพื่ออุปโภค
บริโภค 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 คัน และจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 9 คัน เป็นการช่วยเหลือสวนผลไม้ในภาคตะวันออก 4
จังหวัด จำนวน 23 คัน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 คัน จันทบุรี 13 คัน นครนายก 1 คัน และตราด 7 คัน
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
สนับสนุนเสบียงสัตว์ 80,340 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 300 ตัว
3. การปฏิบัติการฝนหลวง ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ —24 เมษายน 2551
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเริ่มปฏิบัติแล้ว จำนวน 8 หน่วย และ 5 ฐานเติมสารฝนหลวง ดังนี้
(1) ภาคเหนือตอนบน : หน่วยฯ เชียงใหม่ และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดตาก
(2) ภาคเหนือตอนล่าง : หน่วยฯ พิษณุโลก
(3) ภาคกลาง : หน่วยฯ นครสวรรค์/ลพบุรี, ฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์ และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี
(4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน : หน่วยฯ ขอนแก่น
(5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง : หน่วยฯ นครราชสีมา และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดอุบลราชธานี
(6) ภาคตะวันออก : หน่วยฯ ระยอง/สระแก้ว และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว/ระยอง
(7) ภาคใต้ตอนบน : หน่วยฯ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(8) ภาคใต้ตอนล่าง : หน่วยฯ สุราษฎร์ธานี
ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 8 พฤษภาคม 2551 ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 92 วัน 1,965 เที่ยวบิน มีฝน
ตกรวม 707 สถานี (จากสถานีวัดฝนทั้งหมด 1,149 สถานี) วัดปริมาณน้ำฝน 0.1-221.9 มิลลิเมตรในพื้นที่ 69 จังหวัด
ทั้งนี้ ขอยุติการรายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งปี 2551 เนื่องจากขณะนี้ได้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--
2550 ถึง 8 พฤษภาคม 2551 ประกอบด้วย สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ผล
กระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูแล้ง สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาตรน้ำในอ่างทั้ง
หมดรวมกัน 63,629 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 88 ของความจุอ่างขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีปริมาตรน้ำในอ่าง
ทั้งหมด 60,156 ล้าน ลบ.ม. (88% ของความจุอ่างขนาดใหญ่ทั้งหมด) อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีปริมาตรน้ำ 3,473 ล้าน ลบ.ม. (88% ของความ
จุอ่างขนาดกลางทั้งหมด)
ในช่วงฤดูแล้งปี 2550/2551 มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่า ร้อยละ 30 ที่ต้องเฝ้าระวังและติดตาม
อย่างใกล้ชิด จำนวน 4 อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง เขื่อนกิ่วลม เขื่อนป่าสักฯ และเขื่อนคลองสียัด ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2551
รายละเอียดดังนี้
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้
ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ
แม่กวง 49 19 34.5 13
กิ่วลม 31 28 27 24
ป่าสักฯ 267 28 264 28
คลองสียัด 94 22 64 15
การบริหารจัดการน้ำ และการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2550/2551
กรมชลประทานวางแผนการใช้น้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลางทั่วประเทศในช่วง ฤดูแล้งปี 2551
(1 พฤศจิกายน 2550—30 เมษายน 2551) ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ปริมาณน้ำต้นทุนสามารถใช้การได้จำนวน 37,913 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้
บริหารจัดการน้ำโดยระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศสิ้นฤดูแล้ง ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 จำนวน 25,281 ล้าน
ลบ.ม. คิดเป็น 104 % ของแผน (23,391 ล้าน ลบ.ม. เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 16,427 ล้าน ลบ.ม. การอุปโภค-บริโภค 1,738 ล้าน
ลบ.ม. การอุตสาหกรรมและอื่นๆ 5,226 ล้าน ลบ.ม.)
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
ผลการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550— 30 เมษายน 2551 มีพื้นที่ปลูกรวม จำนวน 16.68 ไร่
(เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 30%) แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 12.04 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 43%) และพืชไร่-ผัก จำนวน 4.64 ล้านไร่
(5%ของพื้นที่คาดการณ์) รายละเอียดดังนี้
เขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม
คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล
ในเขตชลประทาน 7.53 11.28 0.90 0.76 8.43 12.04
นอกเขตชลประทาน 2.50 2.78 1.90 1.86 4.40 4.64
รวม 10.03 14.06 2.80 2.62 12.83 16.68
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 — 7 พฤษภาคม 2551
ภัยแล้ง พื้นที่ประสบภัยรวม 17 จังหวัด เกษตรกร 11,143 ราย แบ่งเป็น
ด้านพืช เกษตรกร 9,551 ราย พื้นที่เสียหาย 143,039 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 126,483 ไร่ พืชไร่ 16,074 ไร่ และพืชสวน 482 ไร่
ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 1,592 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 46,204 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 21,257 ตัว สุกร-แพะ 1,603 ตัว สัตว์
ปีก 23,344 ตัว
ด้านประมง ไม่มีรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ
ภัยอื่นๆ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 7 พฤษภาคม 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 36 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 41,483 ราย พื้นที่คาดว่า
จะเสียหาย 189,382 ไร่ แบ่งเป็น
อุทกภัย 12 จังหวัด เกษตรกร 13,509 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 69,496 ไร่ (ช่วงอิทธิพลพายุนาร์กีส วันที่ 3-5 พ.ค. 51
จำนวน 1 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย)
วาตภัย 25 จังหวัด เกษตรกร 11,512 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 34,682 ไร่
พายุลูกเห็บ 6 จังหวัด เกษตรกร 7,659 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 26,365 ไร่
ศัตรูพืชระบาด 11 จังหวัด เกษตรกร 8,652 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 57,326 ไร่
อัคคีภัย 8 จังหวัด เกษตรกร 55 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 403 ไร่
ช้างป่าทำลายพืชผล 1 จังหวัด เกษตรกร 96 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 110 ไร่
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ ด้านอุปโภคบริโภค และ การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ ปี 2550/2551 แล้ว
58 จังหวัด จำนวน 804 เครื่อง โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 224 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด จำนวน 303
เครื่อง ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 126 เครื่อง ภาคตะวันออก 6 จังหวัด จำนวน 64 เครื่อง ภาคตะวันตก 3 จังหวัด จำนวน 46 เครื่อง
และภาคใต้ 5 จังหวัด จำนวน 41 เครื่อง
สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือแล้ว จำนวน 34 คัน คิดเป็นปริมาณน้ำทั้งหมด 32.27 ล้านลิตร เป็นการช่วยเหลือเพื่ออุปโภค
บริโภค 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 คัน และจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 9 คัน เป็นการช่วยเหลือสวนผลไม้ในภาคตะวันออก 4
จังหวัด จำนวน 23 คัน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 คัน จันทบุรี 13 คัน นครนายก 1 คัน และตราด 7 คัน
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
สนับสนุนเสบียงสัตว์ 80,340 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 300 ตัว
3. การปฏิบัติการฝนหลวง ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ —24 เมษายน 2551
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเริ่มปฏิบัติแล้ว จำนวน 8 หน่วย และ 5 ฐานเติมสารฝนหลวง ดังนี้
(1) ภาคเหนือตอนบน : หน่วยฯ เชียงใหม่ และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดตาก
(2) ภาคเหนือตอนล่าง : หน่วยฯ พิษณุโลก
(3) ภาคกลาง : หน่วยฯ นครสวรรค์/ลพบุรี, ฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์ และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี
(4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน : หน่วยฯ ขอนแก่น
(5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง : หน่วยฯ นครราชสีมา และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดอุบลราชธานี
(6) ภาคตะวันออก : หน่วยฯ ระยอง/สระแก้ว และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว/ระยอง
(7) ภาคใต้ตอนบน : หน่วยฯ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(8) ภาคใต้ตอนล่าง : หน่วยฯ สุราษฎร์ธานี
ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 8 พฤษภาคม 2551 ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 92 วัน 1,965 เที่ยวบิน มีฝน
ตกรวม 707 สถานี (จากสถานีวัดฝนทั้งหมด 1,149 สถานี) วัดปริมาณน้ำฝน 0.1-221.9 มิลลิเมตรในพื้นที่ 69 จังหวัด
ทั้งนี้ ขอยุติการรายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งปี 2551 เนื่องจากขณะนี้ได้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--