คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจ่ายค่าสมาชิกกลุ่ม Egmont ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ สำหรับงบประมาณที่ต้องจ่ายชำระค่าสมาชิกประจำปีตามกฎบัตรกลุ่ม Egmont ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในปี 2551 ส่วนค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นสำนักงบประมาณ
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า
1. กลุ่ม Egmont เป็นกลุ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการสืบสวนทางการเงิน (Financial Intelligence Unit : FIU) ของประเทศต่าง ๆ มีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย โดยปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 106 ประเทศ
2. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม Egmont ในเดือนมิถุนายน 2544 ในการประชุมประจำปี ครั้งที่ 9 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2544 ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองในด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายจากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเพิ่มบทบาทของไทยในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การเข้าเป็นสมาชิก
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
3. ในการประชุมประจำปีกลุ่ม Egmont ครั้งล่าสุด ณ เขตการปกครองเบอร์มิวด้า ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2550 ที่ประชุมได้พิจารณารับรองกฎบัตร (Egmont Group of Financial Intelligence Units Charter) และมีมติให้สมาชิกทุกประเทศลงนามรับรอง โดยประเทศไทยมีเลขาธิการ ปปง. เป็นผู้ลงนามในฐานะหัวหน้าหน่วย FIU ซึ่งในการจัดทำกฎบัตรดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์ให้มีพันธะผูกพันตามกฎหมาย แต่ได้กำหนดหลักการและหน้าที่ของสมาชิก รวมทั้งกำหนดให้สมาชิกจ่ายค่าสมาชิกประจำปีซึ่งคำนวณตามสูตรโดยมีพื้นฐานจากอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในส่วนของประเทศไทยจะต้องจ่ายค่าสมาชิกจำนวนปีละ 5,113 ดอลลาร์สหรัฐ มีกำหนดภายในวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี โดยใน 3 ปีแรก (2551-2553) จะเป็นอัตราคงที่ หลังจากนั้นจะพิจารณาอีกครั้งหนึ่งตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการสมทบงบประมาณจากประเทศสมาชิกมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า
1. กลุ่ม Egmont เป็นกลุ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการสืบสวนทางการเงิน (Financial Intelligence Unit : FIU) ของประเทศต่าง ๆ มีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย โดยปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 106 ประเทศ
2. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม Egmont ในเดือนมิถุนายน 2544 ในการประชุมประจำปี ครั้งที่ 9 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2544 ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองในด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายจากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเพิ่มบทบาทของไทยในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การเข้าเป็นสมาชิก
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
3. ในการประชุมประจำปีกลุ่ม Egmont ครั้งล่าสุด ณ เขตการปกครองเบอร์มิวด้า ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2550 ที่ประชุมได้พิจารณารับรองกฎบัตร (Egmont Group of Financial Intelligence Units Charter) และมีมติให้สมาชิกทุกประเทศลงนามรับรอง โดยประเทศไทยมีเลขาธิการ ปปง. เป็นผู้ลงนามในฐานะหัวหน้าหน่วย FIU ซึ่งในการจัดทำกฎบัตรดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์ให้มีพันธะผูกพันตามกฎหมาย แต่ได้กำหนดหลักการและหน้าที่ของสมาชิก รวมทั้งกำหนดให้สมาชิกจ่ายค่าสมาชิกประจำปีซึ่งคำนวณตามสูตรโดยมีพื้นฐานจากอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในส่วนของประเทศไทยจะต้องจ่ายค่าสมาชิกจำนวนปีละ 5,113 ดอลลาร์สหรัฐ มีกำหนดภายในวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี โดยใน 3 ปีแรก (2551-2553) จะเป็นอัตราคงที่ หลังจากนั้นจะพิจารณาอีกครั้งหนึ่งตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการสมทบงบประมาณจากประเทศสมาชิกมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 พฤษภาคม 2551--จบ--