คณะรัฐมนตรีพิจารณามติคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ตามที่คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการฯ ทั้ง 3 ข้อดังนี้
1. การประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าน่าน และเวียงพระธาตุแช่แห้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า
2. แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน
3. การแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าน่าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
ทั้งนี้ คณะกรรมการ ฯ ชี้แจงว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ ได้จัดทำแผนแม่บทและมีหัวแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองน่านเก่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้มีการอนุรักษ์อาคาร สถานที่ คูน้ำ-คันดินและกำแพงเมือง ศาสนสถาน รวมทั้งภูมิทัศน์ที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อมโดยรวม
1.2 เพื่อให้มีการพัฒนาในพื้นที่บริเวณเมืองเก่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนแม่บทการอนุรักษ์ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเมืองเก่า
1.3 เพื่อให้บริเวณเมืองเก่าน่าน และเวียงพระธาตุแช่แห้ง ได้รับการคุ้มครอง ดูแลรักษาไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตลอดไป
1.4 เพื่อให้มีองค์กรหลักในการบริหารจัดการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองน่าน
1.5 เพื่อให้เมืองเก่าน่าน และเวียงพระธาตุแช่แห้งได้รับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีคุณภาพระดับชาติ/ประเทศ
2. ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าที่ต้องเร่งร่างแผนอนุรักษ์และพัฒนา
2.1 พื้นที่ในเมืองน่าน เนื้อที่รวม 0.18 ตารางกิโลเมตร
2.2 พื้นที่เวียงพระธาตุแช่แห้ง เนื้อที่รวม 0.13 ตารางกิโลเมตร
3. ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การกำหนดพื้นที่เมืองเก่าประกอบด้วย 3 กลยุทธ์
3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างกลไกการบริหารจัดการเมืองน่านเก่าและพื้นที่โดยรอบเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์
3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างธรรมชาติ ศิลปกรรม และคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์
3.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ประโยชน์เมืองเก่าน่านอย่างรู้คุณค่าเพื่อประชาชนในเขตเมืองเก่า ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์
3.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์
3.6 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารอนุรักษ์และพัฒนาเมืองน่านเก่า ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์
4. คณะกรรมการฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548 เห็นชอบแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองน่านเก่าแล้ว ดังนั้น เพื่อให้บริเวณเมืองเก่าน่านได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม และดำรงคุณค่าความเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมสำคัญยิ่งของประเทศไว้ได้ตลอดไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--
1. การประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าน่าน และเวียงพระธาตุแช่แห้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า
2. แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน
3. การแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าน่าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
ทั้งนี้ คณะกรรมการ ฯ ชี้แจงว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ ได้จัดทำแผนแม่บทและมีหัวแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองน่านเก่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้มีการอนุรักษ์อาคาร สถานที่ คูน้ำ-คันดินและกำแพงเมือง ศาสนสถาน รวมทั้งภูมิทัศน์ที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อมโดยรวม
1.2 เพื่อให้มีการพัฒนาในพื้นที่บริเวณเมืองเก่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนแม่บทการอนุรักษ์ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเมืองเก่า
1.3 เพื่อให้บริเวณเมืองเก่าน่าน และเวียงพระธาตุแช่แห้ง ได้รับการคุ้มครอง ดูแลรักษาไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตลอดไป
1.4 เพื่อให้มีองค์กรหลักในการบริหารจัดการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองน่าน
1.5 เพื่อให้เมืองเก่าน่าน และเวียงพระธาตุแช่แห้งได้รับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีคุณภาพระดับชาติ/ประเทศ
2. ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าที่ต้องเร่งร่างแผนอนุรักษ์และพัฒนา
2.1 พื้นที่ในเมืองน่าน เนื้อที่รวม 0.18 ตารางกิโลเมตร
2.2 พื้นที่เวียงพระธาตุแช่แห้ง เนื้อที่รวม 0.13 ตารางกิโลเมตร
3. ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การกำหนดพื้นที่เมืองเก่าประกอบด้วย 3 กลยุทธ์
3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างกลไกการบริหารจัดการเมืองน่านเก่าและพื้นที่โดยรอบเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์
3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างธรรมชาติ ศิลปกรรม และคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์
3.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ประโยชน์เมืองเก่าน่านอย่างรู้คุณค่าเพื่อประชาชนในเขตเมืองเก่า ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์
3.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์
3.6 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารอนุรักษ์และพัฒนาเมืองน่านเก่า ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์
4. คณะกรรมการฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548 เห็นชอบแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองน่านเก่าแล้ว ดังนั้น เพื่อให้บริเวณเมืองเก่าน่านได้รับการคุ้มครองดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม และดำรงคุณค่าความเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมสำคัญยิ่งของประเทศไว้ได้ตลอดไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--