http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (20 สิงหาคม 2567) เวลา 10.00 น. น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ เศรษฐกิจ-สังคม 1. เรื่อง แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 - 2570 ต่างประเทศ 2. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุม The 2nd Asia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting 3. เรื่อง ขอความเห็นชอบการรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และปฏิญญาร่วมอาเซียน-ซีมีโอ แต่งตั้ง 4. เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร 5. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) 6. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
? เศรษฐกิจ-สังคม 1. เรื่อง แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 - 2570 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้ 1. แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ1 พ.ศ. 2567 ? 2570 (แผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำฯ) 2. แผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำฯ เป็นวาระแห่งชาติ 3. ให้ กษ. ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 เรื่องแนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน .... เพื่อเสนอให้สามารถนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้โดยเร็วต่อไป สาระสำคัญ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน) มีมติเห็นชอบในหลักการของแผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำฯ4 โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าวประกอบด้วย 7 มาตรการ (14 กิจกรรม) มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด เช่น วัตถุประสงค์ (1) ควบคุม กำจัด และลดประชากรปลาหมอคางดำที่แพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยรวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำ (2) ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของแหล่งน้ำที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ (3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่ของทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชนและการมีส่วนร่วมในการรับมือกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่รอยต่อและพื้นที่ที่มีความเสี่ยง (4) ประชาสัมพันธ์และการสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนส่วนให้ทราบถึงผลกระทบและการดำเนินการร่วมแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ (5) พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านการประมงในการป้องกันสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกราน เป้าหมายและตัวชี้วัด (1) กำจัดประชาชนกรปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน (2) ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพตามความเหมาะสมของแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัว (3) ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม สร้างความรู้และแรงจูงใจให้ประชาชนทุกภาคส่วนตระหนักถึงผลกระทบ รวมทั้งจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำเพื่อกำจัดและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน (4) สร้างเครือข่ายจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนที่มีความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่รอยต่อและพื้นที่ที่มีความเสี่ยง (5) สร้างงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการประมง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคาดำและสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกราน ระยะเวลาดำเนินการ เดือนกรกฎาคม 2567 ? กันยายน 2570 งบประมาณ 450 ล้านบาท มาตรการ มาตรการที่ 1 การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด - วัตถุประสงค์ ควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำและบ่อสัตว์น้ำในพื้นที่ที่พบการแพร่ระบาด - ตัวชี้วัด กำจัดประชากรปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน - งบประมาณ 100 ล้านบาท - หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด และศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่ หัวข้อ/รายละเอียด เช่น กิจกรรมที่ 1 การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการจับออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติด้วยเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับภาพพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย ชาวประมง เครือข่ายชุมชนในพื้นที่แพร่ระบาด กิจกรรมที่ 2 การกำจัดปลาหมอคางดำจากบ่อเพราะเลี้ยงด้วยกากชา และส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่น กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรผู้เพราะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่แพร่ระบาด มาตรการที่ 2 การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง - วัตถุประสงค์ จัดหาพันธุ์สัตว์น้ำและปล่อยปลาผู้ล่าตามความเหมาะสมของแหล่งน้ำ - ตัวชี้วัด ปล่อยปลาผู้ล่าตามความเหมาะสมของแหล่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 5 ล้านตัว - งบประมาณ 50 ล้านบาท - หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และสถานบันการศึกษา หัวข้อ/รายละเอียด เช่น กิจกรรมที่ 1 การประเมินสถานภาพปลาหมอคางดำก่อน ? หลังปล่อยปลาผู้ล่าลงในแหล่งน้ำ พื้นที่เป้าหมาย แหล่งน้ำที่พบการแพร่ระบาด กิจกรรมที่ 2 การปล่อยปลาผู้ล่าเพื่อกำจัดลูกปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ พื้นที่เป้าหมาย แหล่งน้ำที่พบการแพร่ระบาด มาตรการที่ 3 การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ - วัตถุประสงค์ เพิ่มแหล่งรับซื้อปลาหมอคางดำที่ถูกจำกัดและหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำ - ตัวชี้วัด ปริมาณปลาหมอคางดำที่นำไปใช้ประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน - งบประมาณ 80 ล้านบาท - หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรมพัฒนาที่ดิน และกรมส่งเสริมการเกษตรฯ หัวข้อ/รายละเอียด เช่น กิจกรรมที่ 1 การจัดหาแหล่งกระจายและจำหน่ายปลาหมอคางดำที่ถูกกำจัดออกจากระบบนิเวศ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวิสาหกิจชุม โรงงานปลาป่น เกษตรกร กิจกรรมที่ 2 การหาแนวทางการนำปลาหมอคางดำไปใช้โยชน์ด้านต่าง ๆ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้แปรรูป เกษตรกร มาตรการที่ 4 การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน - วัตถุประสงค์ สร้างความรู้และการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการรับมือการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำให้กับประชาชนในพื้นที่เขตกันชนและพื้นที่ที่มีความเสี่ยง - ตัวชี้วัด (1) มีช่องทางการรับแจ้งการแจ้งการแพร่ระบาดไม่น้อยกว่า 1 ช่องทาง และ (2) เฝ้าระวังและป้องกันแหล่งน้ำที่ยังไม่พบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำไม่น้อยกว่า 4 จังหวัด - งบประมาณ 10 ล้านบาท - หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่และด่านตรวจสัตว์น้ำ มาตรการที่ 5 สร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ - วัตถุประสงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความตระหนัก ให้กับทุกภาคส่วนเพื่อเป็นการป้องกันและพร้อมรับมือการแพร่ระบาด และข้อมูลด้านกฎหมาย - ตัวชี้วัด มีสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ คู่มือประชาชน และคู่มือเจ้าหน้าที่เพื่อใช้รับมือปลาหมอคางดำ - งบประมาณ 10 ล้านบาท - หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มาตรการที่ 6 การพัฒนางานวิจัยและนวักรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ - วัตถุประสงค์ (1) พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และ (2) นำองค์ความรู้ไปจัดทำมาตรการในการแก้ไขปัญหา - ตัวชี้วัด (1) บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์เผยแพร่เป็นองค์ความรู้ในการจัดกรแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ (2) ระบบสารสนเทศที่สามารถวิเคราะห์ผลเชิงพื้นที่แบบเวลาจริง (Real Time ) และ (3) ระบบการจัดเก็บตัวอย่างสามารถใช้อ้างอิงประชาชนเป็นมาตรฐานสากล - งบประมาณ 100 ล้านบาท - หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง มาตรการที่ 7 การฟื้นฟูระบบนิเวศ -วัตถุประสงค์ ฟื้นฟูความหลากหลายและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ - ตัวชี้วัด (1) จำนวนสัตว์น้ำประจำถิ่นที่ปล่อยลงในแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 5 ล้านตัว และ (2) แหล่งอาศัยของสัตว์น้ำประจำถิ่นได้รับการฟื้นฟูไม่น้อยกว่า 16 แห่ง - งบประมาณ 100 ล้านบาท - หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง ประโยชน์และผลกระทบ (1) ลดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ (2) รักษาความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศในแหล่งน้ำธรรมชาติ (3) ฟื้นฟูและปกป้องชนิดพันธุ์สัตว์น้ำพื้นเมืองให้กลับมาดังเดิม สำนักงบประมาณเห็นสมควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง แนวทางจัดทำแผนระดับที่ 3 ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน .... เพื่อให้สามารถนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้โดยเร็วต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวจำนวน 450 ล้านบาทถ้วน เห็นควรให้กรมประมงใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับการจัดสรร หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณพ.ศ. 2562 มาดำเนินการในโอกาสแรกทั้งนี้ หากพิจารณาแล้วยังคงมีความจำเป็น ต้องขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ขอให้กรมประมงจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ และดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 และขอให้จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม ประหยัดและคุ้มค่า เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ต่างประเทศ 2. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุม The 2nd Asia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุม The 2nd Asia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง พร้อมอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ [จะมีการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในห้วงการประชุม The 2nd Asia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting (การประชุมฯ) ในวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย] ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น สรุปสาระสำคัญ วัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานร่วมกัน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวทางที่หลากหลายและความสามารถในการปฏิบัติได้จริงตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ โดยมุ่งเน้นความพยายามในการหารือเชิงนโยบายเพื่อแสวงหาแนวทางการผลัดดันเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานร่วมกัน ขอบเขตของความร่วมมือ (1) สนับสนุนความร่วมมือในด้านเงินทุน ทรัพยากรบุคคลและเทคโนโลยีในด้านก๊าซธรรมชาติและการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ตามความเหมาะสม (2) สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะผ่านการแบ่งปันความรู้และการหารือเชิงนโยบาย (3) จัดตั้งศูนย์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์แห่งเอเชีย เพื่อเป็นเวทีในการแบ่งปันข้อมูล ดำเนินการศึกษาเชิงนโยบายและโครงการเพื่อช่วยประเทศพันธมิตรของ AZEC ในการพัฒนาวิสัยทัศน์ แผนงานหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ แนวทางการส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอน/การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (1) ส่งเสริมไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เป้าหมาย : เพิ่มขีดความสามารถสูงสุดในการใช้พลังงานหมุนเวียนและส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในกลุ่มประเทศพันธมิตรของ AZEC ความร่วมมือ : เช่น สนับสนุนการพัฒนานโยบายและมาตรการเพื่อสนับสนุนพลังงานสะอาด ส่งเสริมโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ สนับสนุนการพัฒนากฎหมายสำหรับการดักจับและการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ส่งเสริมการทดแทนน้ำมันดีเซลด้วยพลังงานทดแทน (2) ส่งเสริมตลาดเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน เป้าหมาย : เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มประเทศพันธมิตรของ AZEC รักษาความมั่นคงด้านเชื้อเพลิงอย่างยั่งยืนโดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลและทรัพยากรอื่นในเอเชีย ความร่วมมือ : เช่น ศึกษาความเป็นไปได้ของเชื้อเพลิงที่ยั่งยืนซึ่งรวมไปถึงเชื้อเพลิงชีวภาพ ส่งเสริมโครงการสาธิตเพื่อสร้างตลาดเชื้อเพลิงที่ยั่งยืนแบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (3) สร้างอุตสาหกรรมยุคใหม่ เป้าหมาย: มุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในนิคมอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมยานยนต์ ความร่วมมือ: เช่น พิจารณาความเป็นไปได้ของการใช้เทคโนโลยีการดักจับ การกักเก็บ และการใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์/การรีไซเคิล ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนการพัฒนานโยบายและมาตรการที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ 3. เรื่อง ขอความเห็นชอบการรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และปฏิญญาร่วมอาเซียน-ซีมีโอ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ) จำนวน 3 ฉบับ และปฏิญญาร่วมว่าด้วย พื้นที่ร่วมด้านอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Joint Declaration on the Common Space in Southeast Asian Higher Education) (ปฏิญญาร่วมฯ) จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ 1.1 ร่างเอกสารถ้อยแถลงร่วมบุรีรัมย์ของการประชุมรัฐมนตรี ด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 (Buriram Joint Statement of the Thirteenth ASEAN Education Ministers Meeting) 1.2 ร่างเอกสารถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน บวกสาม ครั้งที่ 7 (Joint Statement of the Seventh ASEAN Plus Three Education Ministers Meeting) 1.3 ร่างเอกสารถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา ครั้งที่ 7 (Joint Statement of the Seventh East Asia Summit Education Ministers Meeting) 1.4 ปฏิญญาร่วมฯ 2. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และปฏิญญาร่วมฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ ศธ. สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง 3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้ความเห็นชอบ และรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ จำนวน 3 ฉบับ และปฏิญญาร่วมฯ จำนวน 1 ฉบับ ในการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (การประชุมฯ) ในช่วงการประชุมระดับรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 25 - 26 สิงหาคม 2567 4. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้ความเห็นชอบ และรับรองปฏิญญาร่วมฯ จำนวน 1 ฉบับ ในการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ครั้งที่ 53 ที่จะจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2568 5. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะประธานคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองเอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และปฏิญญาร่วมฯ รวม 4 ฉบับ ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในเดือนกันยายน 2567 6. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองเอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และปฏิญญาร่วมฯ รวม 4 ฉบับ ร่วมกับผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 44 ในเดือนตุลาคม 2567 สาระสำคัญของเรื่อง ศธ. รายงานว่า 1. ศธ. จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ระหว่างวันที่ 23 - 26 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่ประธานและหัวหน้า คณะผู้แทนไทยในการประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดส่งเอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมฯ จำนวน 3 ฉบับ ให้ประเทศสมาชิกพิจารณาเพื่อจะนำเสนอต่อที่ประชุมฯ รวมทั้งจะมีการเสนอ ปฏิญญาร่วมฯ ที่จัดทำขึ้นร่วมกันระหว่างอาเซียน ซีมีโอ จำนวน 1 ฉบับ ต่อที่ประชุมฯ และที่ประชุมสภาซีเมค ครั้งที่ 53 ในปี 2568 ต่อไป 2. เอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และปฏิญญาร่วมฯ รวม 4 ฉบับ มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้ เอกสาร สาระสำคัญ เช่น (1) ร่างถ้อยแถลงร่วมบุรีรัมย์การประชุมรัฐมนตรี ด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 (1.1) สมาชิกอาเซียนพร้อมดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 และเน้นย้ำบทบาทสำคัญของการศึกษาในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (1.2) สนับสนุนประเด็นสำคัญของประเทศไทยภายใต้หัวข้อ ?พลิกโฉม การศึกษาสู่ยุคดิจิทัล? รวมถึงเน้นย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือ และการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือเพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนที่มุ่งเน้นการบูรณาการ การมีส่วนร่วม และการพัฒนาที่ยั่งยืน และฟื้นฟู ข้อริเริ่มในภูมิภาค เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนในภูมิภาค (1.3) ขอบคุณสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในการจัดการประชุม ระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริม การเข้าถึง การพัฒนา และการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเท่าเทียมในภูมิภาคอาเซียน? ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญในการดำเนินการเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชน และความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการบูรณาการการดูแลเด็กปฐมวัยและการให้บริการด้านการศึกษา (1.4) ชื่นชมประเทศไทยที่เน้นย้ำนโยบาย ?เรียนดี มีความสุข? เพื่อจัดการ กับความท้าทายของครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง ที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ และความเป็นอยู่ของครูและนักเรียนให้ดีขึ้น (1.5) ตระหนักถึงการดำเนินการตาม ?ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่นของอาเซียน? ในการให้โอกาสการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทุกคน พร้อมดำเนินงานตาม ?ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน? (1.6) ตระหนักถึงประเด็นความท้าทายต่าง ๆ ของโลกและการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมรับกับงานในอนาคต (1.7) ขอบคุณความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 7 (2.1) สนับสนุนประเด็นสำคัญของประเทศไทย เรื่อง ?พลิกโฉมการศึกษา สู่ยุคดิจิทัล? เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กกลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ (2.2) ขอบคุณความร่วมมือที่เข้มแข็งของประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสาม และการดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามแผนงานด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม ปี 2561-2568 และแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนบวกสามปี 2566-2570 (2.3) เห็นถึงความสำคัญของทุนการศึกษาและการแลกเปลี่ยนบุคลากร ที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยขอขอบคุณสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เป็นผู้นำโครงการต่าง ๆ (2.4) ขอบคุณสาธารณรัฐเกาหลีสำหรับความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ในการเสริมสร้างความร่วมมือและการเป็นหุ้นส่วนกับโครงการต่าง ๆ (3) ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา ครั้งที่ 7 (3.1) สนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษา 14 สาขา ภายใต้แผนปฏิบัติการมะนิลาเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามปฏิญญากรุงพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่ม ด้านการพัฒนาของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (พ.ศ. 2561-2565) (แผนปฏิบัติการมะนิลาฯ) และหวังว่าจะได้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก พ.ศ. 2567-2571 (3.2) ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลด้านการศึกษา การรู้เท่าทันสื่อ และจริยธรรมด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงการพัฒนา ทักษะของเด็กและเยาวชน - (3.3) ตระหนักถึงความสำคัญของการเคลื่อนย้ายนักศึกษาและขอบคุณการสนับสนุนของประเทศสมาชิกของการประชุมเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) (3.4) ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประชุมสุดยอดอาเซียน ค.ศ. 2024-2028 และแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน (ค.ศ. 2021-2025) (3.5) ตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือของประเทศสมาชิกของ EAS ในการดำเนินการเพื่อให้เกิดคุณภาพด้านการศึกษาในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา (4) ปฏิญญาร่วมว่าด้วยพื้นที่ร่วมด้านอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและซีมีโอ โดยมีสาระสำคัญ เช่น (4.1) ตระหนักถึงความร่วมมือด้านการศึกษาและการวิจัยในภูมิภาค ผ่านแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน ค.ศ. 2021-2025 และประเด็นสำคัญด้านการศึกษาของซีมีโอ (4.2) ตระหนักว่าพื้นที่ร่วมกันเพื่อการอุดมศึกษาสามารถเป็นตัวเร่ง ในการส่งเสริมวาระการพัฒนาการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรม (4.3) ยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศสมาชิกซีมีโอ (4.4) พัฒนาการเคลื่อนย้ายทางวิชาการในระดับอุดมศึกษาผ่านข้อริเริ่มต่าง ๆ (4.5) ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของนักศึกษา นักวิชาการ และผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ จะมีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดและสนับสนุนค่านิยมและเป้าหมายร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาของภูมิภาค รวมทั้งใช้ประโยชน์ จากกลไกที่มีอยู่และองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติเพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การประชุมฯ ครั้งนี้ มีความสำคัญที่สุดในด้านการศึกษากับอาเซียน เนื่องจากเป็นการประชุมระดับผู้นำด้านการศึกษาของประเทศสมาชิกและคู่เจรจาทั้ง 8 ประเทศ และเป็นกลไกหลักในการตัดสินใจในด้านความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ตามแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน โดยเอกสารทั้ง 4 ฉบับ จะเป็นข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกและคู่เจรจาที่กำหนดทิศทางในการพัฒนาด้านการศึกษาและแนวทางความร่วมมือทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาค แต่งตั้ง 4. เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้การดำเนินการด้านนิติบัญญัติมีความต่อเนื่อง รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 285/2567 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) โดยมีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ เป็นประธานกรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป 5. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป 6. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการการเมือง จำนวน 6 ราย ดังนี้ 1. นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย) 2. นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) 3. นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร) 4. นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล) 5. พลตำรวจโท อภิรัต นิยมการ ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) 6. นายชื่นชอบ คงอุดม ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป