สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายภูมิธรรม เวชยชัย(รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 สิงหาคม 2567

ข่าวการเมือง Tuesday August 27, 2024 13:51 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (27 สิงหาคม 2567)  เวลา 10.00 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล                 ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยซึ่งมีปัญหากับ หลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม

2. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
3. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่าย                เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 600.35 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้                 (ค่า K) ของกรมทางหลวง
4. เรื่อง ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันเกินวงเงินที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
5. เรื่อง ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันเกินกว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
6. เรื่อง ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณเป็นเงินราชการลับ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (โครงการสืบสวนหาข่าวปราบปราม และขยายผล การจับกุมเครือข่ายนักค้ายาเสพติดรายสำคัญตาม                        แนวชายแดนตามมาตรา 5(10) ของประมวลกฎหมาย ยาเสพติด และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง และโครงการข่าวกรองเพื่อขยายผลจับกุมทำลายเครือข่ายยาเสพติดอาชญากรรมข้ามชาติ)
7. เรื่อง  รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมิถุนายนและครึ่งแรกของปี 2567

ต่างประเทศ 8. เรื่อง โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 9. เรื่อง การลงนามร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) เพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีใน Multilateral Convention to Facilitate the Implementation of the Pillar Two Subject to Tax Rule 10. เรื่อง ร่างกรอบความร่วมมือด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกันภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย ? มาเลเซีย ? ไทย (IMT - GT) 11. เรื่อง การแต่งตั้งประธานสภาวัคซีนของสถาบันวัคซีนนานาชาติ (President of IVI Global Council)

แต่งตั้ง

12. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
13. เรื่อง คำสั่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 288/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
14. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 289/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการ               ต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
15. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 290/2567 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค




?
กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยซึ่งมีปัญหากับ                      หลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ.ศ. .... ตามที่                สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เสนอ

1. สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

   โดยที่พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 33 บัญญัติให้คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยความเห็นชอบของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กำหนดหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับการทำวิจัยและนวัตกรรมและการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิชาการในบางกรณีอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือละเมิดหลักการของศาสนา กระทบต่อจารีตประเพณีหรือศีลธรรมของท้องถิ่นหรือของชาติ ละเมิดศีลธรรม หรือเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัย ซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่มีหน่วยงานเฉพาะในการกำกับดูแล ควบคุมซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อจริยธรรมการวิจัยของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ที่เป็นผู้ให้ทุนวิจัย และนักวิจัยที่ทำวิจัย ดังนั้น สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงมีความจำเป็น ต้องยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรม การวิจัยซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณีหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ.ศ. .... เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัย ซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม               จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้มีความชัดเจน และยังเป็นการส่งเสริมการวิจัยให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1.1 กำหนดคำนิยาม เช่น ?การวิจัย? ?นักวิจัย? ?หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม? ?จริยธรรมการวิจัย? และ ?คณะกรรมการ? ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
1.1.2 คณะกรรมการพิจารณาการวิจัยซึ่งอาจมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
                            (1) กำหนดให้คณะกรรมการฯ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) ประธานกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่างสูงด้านจริยธรรมการวิจัย ศาสนา วัฒนธรรม หรือจารีตประเพณี 2) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกราชบัณฑิตยสภา และประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ 3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 5 คน                              ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ด้านต่าง ๆ
(2) กำหนดให้คณะกรรมการฯ มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดลักษณะการวิจัยซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนาฯ สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามพระราชกฤษฎีกานี้ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทำวิจัยซึ่งมีปัญหา กับหลักศาสนาฯ สำหรับการวิจัย รวมทั้งตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดจากการใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกานี้
(3) กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และองค์ประชุม
(4) กำหนดให้ประธาน กรรมการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ
1.1.3 กำหนดลักษณะของการวิจัยซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนาวัฒนธรรม จารีตประเพณีหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนี้
(1) การวิจัยที่ขัดหรือแย้งหรือละเมิดหลักการสำคัญพื้นฐาน ของศาสนาใดศาสนาหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและน่าจะก่อให้เกิดความแตกแยก ความขัดแย้ง
(2) การวิจัยซึ่งน่าจะก่อให้เกิดความแตกแยก ความขัดแย้ง  การดูหมิ่นเกลียดชัง
การด้อยค่า การล้อเลียนวัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดี ของท้องถิ่นหรือของชาติ หรือการวิจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์อย่างยิ่งต่อวัฒนธรรม หรือจารีตประเพณี ของท้องถิ่นหรือของชาติ
(3) การวิจัยซึ่งขัดต่อศีลธรรมอันดีที่สำคัญของท้องถิ่นหรือประเทศอย่างชัดแจ้ง และน่าจะนำไปสู่การละเมิดศีลธรรมนั้นอย่างกว้างขวาง
(4) การวิจัยซึ่งน่าจะก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม การแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายในท้องถิ่นหรือสังคม การด้อยค่าหรือละเมิดชีวิต ร่างกาย เกียรติยศ ชื่อเสียงของมนุษย์ ความเสมอภาค สิทธิ หรือเสรีภาพ
(5) การวิจัยลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
1.1.4 กำหนดให้หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมและนักวิจัยดำเนินการวิจัยซึ่งมีปัญหากับ หลักศาสนาฯ ให้เป็นไปตามจริยธรรมการวิจัยทั่วไป หลักเกณฑ์ การวิจัย (เช่น รับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง จัดทำการวิเคราะห์ผลกระทบหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้น รวมทั้งความได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์ที่เกิดขึ้น) และข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัย (เช่น ต้องไม่สร้างความแตกแยก ละเมิดหลักสำคัญของศาสนา และไม่บิดเบือนข้อมูล)
1.1.5 กำหนดวิธีดำเนินการในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าโครงการวิจัยมีปัญหากับหลักศาสนาฯ
(1) ให้หน่วยงานซึ่งให้ทุนวิจัยหรือหน่วยงานซึ่งได้รับทำการวิจัย หน่วยงานต้นสังกัดของนักวิจัย หรือนักวิจัยส่งงานวิจัยนั้น ให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ซึ่งคณะกรรมการจะต้องพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้เรื่อง และอาจขยายระยะเวลาการพิจารณาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน แล้วให้แจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยไปยังหน่วยงานหรือนักวิจัย
(2) เมื่อคณะกรรมการพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า การวิจัยมีปัญหากับหลักศาสนาฯ โดยหากการวิจัยนั้นร้ายแรง ให้คณะกรรมการมีคำสั่งให้ยุติการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและยุติการวิจัย และหากการวิจัยมีประโยชน์ทางวิชาการหรือวิชาชีพ ควรวิจัยต่อไปได้ ให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อมิให้เกิดความเสียหายและให้หน่วยงานต้นสังกัดของนักวิจัยและนักวิจัยถือปฏิบัติได้
(3) ในกรณีที่นักวิจัยหรือหน่วยงานไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ การวิจัยหรือข้อกำหนดการวิจัย หรือคำวินิจฉัย หรือคำสั่งของคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการแจ้ง หน่วยงานในระบบวิจัย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาฯ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป และแจ้งหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการให้ทุนระงับการให้ทุนแก่นักวิจัยหรือหน่วยงานที่ได้รับทุนวิจัย
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567




เศรษฐกิจ-สังคม

2. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 344,652,887.84 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ

สาระสำคัญ

กก. รายงานว่า

1. มาตรการฯ (Cash Rebate ร้อยละ 15 - 20) ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีภาพยนตร์เข้าร่วมมาตรการดังกล่าวแล้ว จำนวน 71 เรื่อง สร้างรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ประมาณ 16,218 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ภายใต้มาตรการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว จำนวน 38 เรื่องรวมเป็นเงินจำนวน 1,056.69 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณประจำปีของ กก. (กรมการท่องเที่ยว) ทั้งนี้ กก. ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ ประมาณปีละ 160 - 180 ล้านบาท

2. กก. แจ้งว่า ปัจจุบันมีภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำเสร็จสิ้นในช่วงปี พ.ศ. 2565 - 2566 และได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์และช่องทางออนไลน์เรียบร้อยแล้ว จำนวน 7 เรื่อง โดยได้นำเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาใช้จ่ายและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยประมาณ 1,865 ล้านบาท ซึ่งกระจายรายได้ไปสู่ทีมงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 22,500 คน ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนสร้างผลกระทบในระบบเศรษฐกิจอัตรา 2.8 เท่า (ประมาณ 5,222 ล้านบาท) โดยภาพยนตร์ทั้ง 7 เรื่องดังกล่าว ได้ผ่านการตรวจสอบเอกสารทางการเงินและได้รับอนุมัติเงินคืนร้อยละ 20 จากคณะกรรมการพิจารณาการคืนเงิน

สำหรับมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว โดยมีวงเงินที่ต้องคืนให้แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 344,677,540.46 บาทสรุปได้ ดังนี้

ที่          ชื่อภาพยนตร์
(ประเทศ)          นำเงินมาลงทุน
ในประเทศไทย          วงเงินหลัง
ตรวจสอบเอกสาร
ทางการเงิน          วงเงินที่ต้องคืน
ให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินคืน          สถานะ
การดำเนินการ
1          MEG 2
(สหราชอาณาจักร)          361,467,064.20          347,682,647.25          69,536,529.45          ยื่นเอกสาร
22 กุมภาพันธ์ 2565
ได้รับอนุมัติ
22 มีนาคม 2566
2          The Blue
(สหราชอาณาจักร)          444,321,303.86          411,812,518.02          75,000,000.00          ยื่นเอกสาร
10 มีนาคม 2565
ได้รับอนุมัติ
20 มิถุนายน 2566
3          CI
(สิงคโปร์)          183,273,040.22          178,832,113.31          35,766,422.66          ยื่นเอกสาร
26 กรกฎาคม 2565
ได้รับอนุมัติ
20 มิถุนายน 2566
4          TSA
(สหรัฐอเมริกา)          139,138,077.51          121,763,557.01          24,352,711.40          ยื่นเอกสาร
2 มิถุนายน 2565
ได้รับอนุมัติ
24 สิงหาคม 2566
5          The Bride
(สหรัฐอเมริกา)          166,067,984.54          159,405,053.52          31,881,010.70          ยื่นเอกสาร
23 กุมภาพันธ์ 2566
ได้รับอนุมัติ
19 ธันวาคม 2566

6          ADRD
(ญี่ปุ่น)          184,260,682.95          175,655,866.55          35,131,173.31          ยื่นเอกสาร
5 กันยายน 2565
ได้รับอนุมัติ
19 ธันวาคม 2566
7          Sympathizer
(ฮ่องกง)          387,223,336.43          365,048,464.70          73,009,692.94          ยื่นเอกสาร
1 กุมภาพันธ์ 2566
ได้รับอนุมัติ
19 ธันวาคม 2566
          รวม          1,865,751,489.71                    344,677,540.46
หมายเหตุ โดยที่ภาพยนตร์ทั้ง 7 เรื่อง ได้ยื่นเอกสารขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการฯ ก่อนที่กรมการท่องเที่ยวจะออกประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการ ส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 ซึ่งประกาศบังคับใช้                              เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 โดยมีรายละเอียดเป็นการปรับเพิ่มกรอบวงเงินจ่ายคืนจากไม่เกิน 75 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 150 ล้านบาท ส่งผลให้ภาพยนตร์เรื่อง The Blue ได้รับอนุมัติเงินคืนไม่เกินกรอบวงเงินที่กำหนดไว้ตามประกาศฉบับเดิม คือ 75,000,000.00 บาท (ร้อยละ 2 ของวงเงิน 411,812,518.02 บาท คิดเป็น 82,362,503.60 บาท) ทั้งนี้    การขอรับสิทธิประโยชน์ภายใต้ประกาศฉบับใหม่ต้องเป็นภาพยนตร์ที่ยื่นขอรับสิทธิตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ซึ่งปัจจุบันมีภาพยนตร์จำนวน 15 เรื่อง ที่ยื่นขอรับสิทธิภายใต้มาตรการฯ แล้ว เช่น The White Lotus 3, Alien, Jurassic World 4

3. กก. ได้ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย สำหรับจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ จำนวน 7 เรื่อง ตามวงเงินดังกล่าวต่อสำนักงบประมาณ (สงป.) เรียบร้อยแล้ว โดย สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้ กก. (กรมการท่องเที่ยว) ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 344,652,887.84 บาท และให้กรมการท่องเที่ยวสมทบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 24,652.62 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 344,677,540.46 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว

                    4. กก. แจ้งว่า ประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศปีละเฉลี่ย 4,500 ล้านบาท (ข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2562 - 2566) โดยรายได้หลักมาจากภาพยนตร์ที่เข้าร่วมมาตรการฯ สัดส่วนถึง              ร้อยละ 50 - 60 ของรายได้ทั้งหมดเมื่อภาพยนตร์ที่มีเงินลงทุนสูงเลือกเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและกระจายรายได้แก่บุคลากรและผู้ประกอบการทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทั้งในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นนักแสดงหรือทีมงานชาวไทย สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ สตูดิโอ ธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์ในการถ่ายทำ ธุรกิจการให้บริการหลังการถ่ายทำ (Post - Production) รวมไปถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากประเทศไทยไม่สามารถจัดสรรงบประมาณคืนเงินให้ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศได้เพียงพอหรือจ่ายเงินคืนล่าช้าจะส่งผลอย่างยิ่งต่อภาพลักษณ์ของมาตรการฯ และความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย

3. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่าย                เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 600.35 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ของกรมทางหลวง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567                  งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 600.35 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ของกรมทางหลวง ตามที่ กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

                    คค. รายงานว่า กรมทางหลวงได้ตรวจสอบรายการเงินชดเชยค่า K ที่ค้างชำระกับผู้รับจ้างที่ดำเนินการในโครงการก่อสร้างทางหลวงต่าง ๆ เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โครงการก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงพิเศษ โครงการก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน เป็นต้น ซึ่งมียอดค้างชำระ                                  จำนวน 170 รายการ วงเงิน 1,592.73 ล้านบาท ให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยค่า K ที่ค้างชำระดังกล่าว โดยสรุปโครงการได้ ดังนี้
โครงการ          จำนวน (รายการ)          วงเงิน (ล้านบาท)
สัญญาที่มีวงเงินเกิน 50 ล้านบาท          160          1,589.10
สัญญาที่มีวงไม่เงินเกิน 50 ล้านบาท          10          3.63
รวม          170          1,592.73

                    สงป. ได้นำเรื่องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมทางหลวงเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  งบกลาง  รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 600.35                ล้านบาท เพื่อจ่ายเป็นเงินชดเชยค่า K ที่ค้างชำระของกรมทางหลวง จำนวน 59 รายการ (ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 111 รายการ วงเงิน 992.38 ล้านบาท)  โดยเบิกจ่ายในงบลงทุนลักษณะค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง สำหรับส่วนที่เหลือเห็นควรให้พิจารณาปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ   พ.ศ. 2567 จากโครงการ/รายการ ที่ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์และมีงบประมาณเหลือจ่าย หรือ รายการที่หมดความจำเป็น หรือ รายการที่คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  โดยการโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณีตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ต่อไป
การดำเนินการนี้จะเป็นการช่วยเหลือผู้รับจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดสภาพคล่องทางการเงิน และเร่งรัดโครงการก่อสร้างทางหลวงต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนการดำเนินงานซึ่งจะทำให้การจราจรมีความคล่องตัวมากขึ้น  ตลอดจนอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในการเดินทางในพื้นที่              ต่าง ๆ ของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป



4. เรื่อง ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันเกินวงเงินที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมประมงก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 9,917,982 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชำระ                   ค่าสาธารณูปโภคค้างเบิกข้ามปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)  เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

กษ. รายงานว่า กรมประมง ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอต่อการเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภค ทำให้ยังคงมีหนี้ค้างชำระค่าสาธารณูปโภค (เดือนพฤษภาคม ? กันยายน 2566) จำนวน 9,917,981.43 บาท โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

เดือน          จำนวน (บาท)
พฤษภาคม 2566          1,119,579.56
มิถุนายน 2566          1,737,702.45
กรกฎาคม 2566          5,095,029.73
สิงหาคม 2566          1,725,645.79
กันยายน 2566          240,023.90
รวม          9,917,981.43

สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาแล้วอนุมัติให้กรมประมงใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชำระค่าสาธารณูปโภคค้างเบิกข้ามปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 9,917,982 บาท ซึ่ง สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบแล้ว แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปีของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งต้องถือปฏิบัติตามข้อ 23 ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 ประกอบกับปีงบประมาณพ.ศ. 2566 กรมประมงไม่มีงบประมาณรายจ่ายคงเหลือเพียงพอ จึงเป็นการก่อหนี้ผูกพันเกินกว่างบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนั้น กรมประมงจะต้องขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 42 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ก่อนขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป

5. เรื่อง ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันเกินกว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) (กรมอุตุนิยมวิทยา) ก่อนหนี้ผูกพันเกินกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของ                      กรมอุตุนิยมวิทยาจำนวน 3,846,507.31 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้สาธารณูปโภคค้างชำระในปีงบประมาณ  พ.ศ. 2566

สาระสำคัญของเรื่อง

ดศ. รายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไม่เพียงพอต่อการเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภค จึงทำให้มีหนี้ค้างชำระ จำนวน 2 รายการ ได้แก่

รายการ          จำนวนเงิน (บาท)
(1) ค่าใช้บริการสื่อสารสัญญาณสำหรับใช้เชื่อมโยงรับ ? ส่ง ข้อมูลของระบบแจ้งเตือนฟ้าผ่า (Warning System) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2566 ? 30 กันยายน 2566 ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)          1,019,403.98
(2) ค่าไฟฟ้าค้างชำระ ประจำเดือนมิถุนายน ? กรกฎาคม 2566 จำแนกเป็น          2,827,103.33
     (2.1) การไฟฟ้านครหลวง          1,963,796.47
     (2.2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค          863,306.86
รวมทั้งสิ้น          3,846,507.31

                    ดศ. แจ้งว่าสำนักงบประมาณ (สงป.) ได้อนุมัติให้กรมอุตุนิยมวิทยาใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน                    3,846,507.31 บาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับทราบแล้ว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ในส่วนที่ต้องเบิกจ่ายในลักษณะค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปี โดยเบิกจ่ายในงบดำเนินงาน แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อ 23 ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 ประกอบกับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566                 กรมอุตุนิยมวิทยาไม่มีงบประมาณรายจ่ายคงเหลือเพียงพอที่จะใช้จ่ายได้ จึงเป็นการก่อหนี้ผูกพันเกินกว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาจะต้องขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 42 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้ในกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และมิใช่กรณีตามมาตรา 41 คณะรัฐมนตรีมีอำนาจอนุมัติให้หน่วยงานรับงบประมาณก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายได้ เป็นลำดับแรกก่อน จึงจะดำเนินการเบิกค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปีตามระเบียบกระทรวงการคลังต่อไป

6. เรื่อง ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณเป็นเงินราชการลับ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (โครงการสืบสวนหาข่าวปราบปราม และขยายผล การจับกุมเครือข่ายนักค้า             ยาเสพติดรายสำคัญตามแนวชายแดนตามมาตรา 5(10) ของประมวลกฎหมาย ยาเสพติด และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง และโครงการข่าวกรองเพื่อขยายผลจับกุมทำลายเครือข่ายยาเสพติดอาชญากรรมข้ามชาติ)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้

1. เปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ที่ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จำนวน 30 ล้านบาท ไปตั้งจ่ายเป็นงบรายจ่ายอื่น รายการเงินราชการลับ ตามรายการ ดังนี้

1.1 โครงการป้องกันยาเสพติด งบเงินอุดหนุน รายการเงินอุดหนุนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 5 ล้านบาท

1.2 โครงการปราบปรามยาเสพติด งบเงินอุดหนุน รายการเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับและเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานยาเสพติด จำนวน 25 ล้านบาท

2. ให้ใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 30 ล้านบาท ตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามข้อ 1.1 และ 1.2

สาระสำคัญ

                    กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ที่ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จากแผนงานบูรณาการ ป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด รายการโครงการปราบปรามยาเสพติดงบเงินอุดหนุน รายการเงินอุดหนุนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และโครงการปราบปราม                ยาเสพติด รายการเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับและเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติ               งานยาเสพติด วงเงินรวม 30 ล้านบาท เป็นเงินราชการลับ เพื่อดำเนินโครงการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
                     1) โครงการสืบสวนหาข่าวปราบปราม และขยายผลการจับกุมเครือข่ายนักค้ายาเสพติดรายสำคัญตามแนวชายแดนตามมาตรา 5 (10) ของประมวลกฎหมายยาเสพติด และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง วงเงิน 13.70 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการในการติดตามพฤติการณ์เครือข่ายการค้ายาเสพติด โดยเฉพาะเครือข่ายการค้ายาเสพติดตามแนวชายแดนและพื้นที่จุดเน้นตามมาตรา 5 (10) ของประมวลกฎหมาย              ยาเสพติดและสืบสวน ขยายผล ไปยังผู้อยู่เบื้องหลังและผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ทั้งในและต่างประเทศ (2) เพื่อหาข่าวสารยาเสพติดของเครือข่ายการค้ายาเสพติด โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวชายแดนและพฤติการณ์บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในการสนับสนุนการสืบสวน ขยายผล ผู้ที่หลบหนีหมายจับ และ                มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม และยึด/อายัดทรัพย์สินผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับ                ยาเสพติด (3) เพื่อลดระดับปัญหาการค้ายาเสพติดและการแพร่ระบาดยาเสพติดในประเทศ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้แก่ประชาชนจากการปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังของรัฐบาล (4) เพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ
                    2) โครงการข่าวกรอง เพื่อขยายผล จับกุมทำลายเครือข่ายยาเสพติดอาชญากรรมข้ามชาติ วงเงิน 16.30 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสืบสวนหาข่าวเชิงลึกและพฤติการณ์ของกลุ่มเครือข่ายการค้า             ยาเสพติดระดับสำคัญ ที่หลบหนีอยู่ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เครือรัฐออสเตรเลีย (ออสเตรเลีย) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ไต้หวัน มาเลเซีย และประเทศ               อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) เพื่อสนับสนุนหน่วยงานด้านความมั่นคงในการปฏิบัติการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (3) เพื่อลดการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการส่งออกยาเสพติดไปยังประเทศอื่น ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค (4) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้แก่ประชาชนในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังของรัฐบาลไทยและประเทศที่เกี่ยวข้อง (5) เพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ

ทั้งนี้การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณดังกล่าว เป็นการดำเนินการภายใต้แผนงานและวัตถุประสงค์เดิมโดยไม่ทำให้เป้าหมายผลผลิตหรือโครงการตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือแผนงานในเชิงบูรณาการเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญรวมทั้งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินราชการลับที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เรียบร้อยแล้ว โดยกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทยสำนักงบประมาณ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง ตามที่ ยธ. เสนอ

7. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมิถุนายนและครึ่งแรกของปี 2567
          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมิถุนายนและครึ่งแรกของ              ปี 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ


สาระสำคัญ

1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2567

          การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่า 24,796.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (892,766                  ล้านบาท) กลับมาหดตัวเล็กน้อย จากสินค้าผลไม้เข้าสู่ช่วงท้ายของฤดูกาล จึงมีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ดุลการค้าไทยเกินดุลต่อเนื่อง 2 เดือน ขณะที่บรรยากาศการค้าโลกเริ่มมีความวิตกกังวลต่อแนวโน้มการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ทั้งยังมีความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งในหลายประเทศ นอกจากนี้ ประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ยังส่งผลให้ความต้องการของเครื่องยนต์สันดาปฯ หดตัวลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้ การส่งออกครึ่งแรกของปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 3.1

มูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่าการค้ารวม 49,375.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.01 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 24,796.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 0.3 การนำเข้า มีมูลค่า 24,578.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.3 ดุลการค้า เกินดุล 218.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2567 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 295,822.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.5 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออก มีมูลค่า 145,290.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.0 การนำเข้า มีมูลค่า 150,532.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.0 ดุลการค้าครึ่งแรกของปี 2567 ขาดดุล 5,242.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่าการค้ารวม 1,788,023 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 892,766 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.0 การนำเข้า มีมูลค่า 895,256 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.6 ดุลการค้า ขาดดุล 2,489.7 ล้านบาท ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2567 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 10,628,494 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออก มีมูลค่า 5,191,014 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.4 การนำเข้า มีมูลค่า 5,437,480 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.3 ดุลการค้าครึ่งแรกของปี 2567 ขาดดุล 246,466 ล้านบาท

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 3.3 โดยสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 2.2 ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวร้อยละ 4.8 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 96.6 (ขยายตัวในตลาดอิรัก แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และโกตดิวัวร์) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 28.8 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย) ไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 4.0 (ขยายตัวในตลาดสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ และแคนาดา) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 13.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย มาเลเซีย อิตาลี และฟิลิปปินส์) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 6.0 (ขยายตัวในตลาดจีน ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแคนาดา) และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 147.7 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย เมียนมา อิตาลี และเวียดนาม) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 37.8 (หดตัวในตลาดจีน ฮ่องกง สหรัฐฯ เวียดนาม และมาเลเซีย) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 51.9 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ลาว และมาเลเซีย) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 9.5 (หดตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา เมียนมา จีน และสหรัฐฯ) และไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง หดตัวร้อยละ 13.4 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร) ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.3

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 0.3 มีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 13.5 (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่น เม็กซิโก และซาอุดีอาระเบีย) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 22.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และสาธารณรัฐเช็ก) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 7.2 (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย สิงคโปร์ เวียดนาม และเมียนมา) และเครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 20.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และเมียนมา) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 7.9 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย) เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 6.3 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ออสเตรเลีย และมาเลเซีย) เคมีภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 5.5 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ) แผงวงจรไฟฟ้า หดตัวร้อยละ 21.4 (หดตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 24.2 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เมียนมา และลาว) และเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 54.2 (หดตัวในตลาดแอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ) ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 2.0

ตลาดส่งออกสำคัญ

                    ภาพรวมการส่งออกไทยหดตัวเล็กน้อยตามความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า แต่การส่งออกไปหลายตลาดสำคัญยังขยายตัวได้ดี อาทิ สหรัฐฯ CLMV ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 1.3 ตามการหดตัวของการส่งออกสินค้าไปตลาดจีน ร้อยละ 12.3 ญี่ปุ่น ร้อยละ 12.3 และอาเซียน (5) ร้อยละ 2.0 แต่ขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ และ CLMV ร้อยละ 5.4 และร้อยละ 7.6 ตามลำดับ และกลับมาขยายตัวในตลาดสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 7.9                   (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 9.3 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 16.1 แอฟริกา ร้อยละ 25.1 ลาตินอเมริกา 30.5 ขณะที่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 4.5 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 20.7 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 20.0 (3) ตลาดอื่นๆ หดตัวร้อยละ 15.0

2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป

                               การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนมิถุนายน อาทิ                    (1) การหารือเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อขยายโอกาสทางการค้า โดยกระทรวงพาณิชย์ของไทยขอให้ญี่ปุ่นเพิ่มรายการนำเข้าสินค้ากล้วยหอมทอง และลดภาษีน้ำตาลทราย พร้อมกันนี้ยังได้ชักชวนนักลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องมือแพทย์ หุ่นยนต์ และพลังงานสะอาด มาลงทุนในไทยและในพื้นที่ EEC  (2) การนำผู้ประกอบการข้าวไทยเดินทางเยือนจีนเพื่อสร้างความเชื่อมั่น โดยกรมการค้าต่างประเทศนำสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเดินทางเยือนเมืองกวางโจวเพื่อพบปะผู้นำเข้า และผู้ประกอบการค้าข้าวในจีน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการค้าข้าว พร้อมจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ข้าวไทย และมีแผนที่จะใช้อินฟลูเอนเซอร์ และบล็อกเกอร์ มาช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางยอดนิยมของกลุ่มคนวัยรุ่นจีนอย่าง TikTok หรือ WeChat Channel

แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะขยายตัวได้ตามเป้าหมาย โดยมีปัจจัยบวกจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร และการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สนับสนุนความต้องการสินค้าที่เกี่ยวข้อง ขณะที่มีปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติที่ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดลดลง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงอยู่ สงครามกลางเมืองในหลายประเทศ ปัญหา ค่าระวางเรือที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจของคู่ค้าบางประเทศฟื้นตัวได้ค่อนข้างล่าช้า รวมถึงการเลือกตั้งในหลายประเทศสร้างความไม่แน่นอนทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอท่าทีนโยบายของรัฐบาลใหม่

ประโยชน์และผลกระทบ

รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เป็นการรายงานภาวะการค้าของประเทศไทยที่สำคัญ เป็นข้อมูลประกอบในการติดตามภาวะเศรษฐกิจ และกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ต่างประเทศ 8. เรื่อง โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้

1. โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ (โครงการฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 16 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบเงินอุดหนุนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)

                    2. ให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) มีอำนาจอนุมัติโครงการ แผนงาน และกิจกรรมภายใต้กรอบงบประมาณ งบเงินอุดหนุนรายการโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ                พ.ศ. 2567 และสามารถจ่ายเงินงประมาณสนับสนุนหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้านแต่ละประเทศ เพื่อให้มีการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ตามที่ได้รับจัดสรร

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ยธ. (สำนักงาน ป.ป.ส.) ได้ดำเนินการตามแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหา ยาเสพติดภายใต้ข้อตกลงที่ประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม) ซึ่งใช้เป็นกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการสกัดกั้นยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ตั้งแต่ต้นทางภายนอกประเทศมิให้เข้าสู่แหล่งผลิตในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ และสกัดกั้นยาเสพติดจากแหล่งผลิตที่จะออกสู่ไทยและประเทศอื่น ๆ โดยได้จัดทำโครงการฯ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินโครงการฯ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)

2. ยธ. โดยสำนักงาน ป.ป.ส. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (โครงการฯ) ซึ่งโครงการฯ มีวัตถุประสงค์ เช่น (1) เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสกัดกั้น ปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (2) เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมแม่น้ำโขงปลอดภัยให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยการสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 16 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบเงินอุดหนุน รายการโครงการฯ ของสำนักงาน ป.ป.ส. ที่ได้รับจัดสรรไว้แล้ว เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 5 แผนงาน ได้แก่ (1) การสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ (2) การสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ และการบำรุงรักษา (3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (4) การป้องกันและบำบัดรักษายาเสพติด (5) การบริหารจัดการและการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัย

3. ประโยชน์ที่ได้รับ: การสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมภายใต้แผนงานของโครงการฯ ตามที่ประเทศไทยได้ตกลงและเห็นชอบร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการสกัดกั้นเคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นไม่ให้เข้าสู่แหล่งผลิต และสกัดกั้นยาเสพติดจากแหล่งผลิตไม่ให้ออกไปยังประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ รวมถึงการปราบปรามเครือข่ายการค้าและลักลอบลำเลียงยาเสพติด อันจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทย ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนประเทศปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9. เรื่อง การลงนามร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) เพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีใน Multilateral Convention to Facilitate the Implementation of the Pillar Two Subject to Tax Rule

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) เพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีใน Multilateral Convention to Facilitate the Implementation of the Pillar Two Subject to Tax Rule (STTR Multilateral Instrument หรือ STTR MLI) (ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กค. โดยสรรพากรดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

                    1. Subject to Tax Rule (STTR) เป็นหนึ่งในหลักการภายใต้เสาหลักที่ 2 (Pillar 2) ของข้อเสนอการจัดเก็บภาษีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษี และโอนกำไรไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ [Base Erosion and Profit Shifting (BEPS)] โดย STTR เป็นการกำหนดขั้นต่ำของอัตราภาษีตามกฎหมาย (Nominal Tax Rate) ในอัตราร้อยละ 9 ของเงินได้ (Gross Income) สำหรับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงในการกัดกร่อนฐานภาษีและสามารถเคลื่อนย้ายเงินได้ง่าย เช่น ค่าสิทธิ ดอกเบี้ย สิทธิในการกระจายสินค้าเบี้ยประกันภัย และการให้บริการทางการเงิน โดยหลักการ STTR มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เขตเศรษฐกิจที่เป็นสมาชิกของกรอบความร่วมมือเพื่อป้องกัน BEPS (Inclusive Framework on BEPS) (กรอบความร่วมมือ BEPS) ที่ได้รับการพิจารณาว่าอยู่ในกลุ่มเขตเศรษฐกิจกำลังพัฒนาสามารถรักษาฐานภาษีที่เก็บจากบริษัทข้ามชาติสำหรับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าวได้รวมทั้งสามารถนำมาปฏิบัติได้โดยการเข้าร่วมการลงนามความตกลงแบบพหุภาคี (Multilateral Instrument) เพื่อแก้ไขอนุสัญญาหรือความตกลงเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อน [Multilateral Convention to Implement Treaty Related Measures to Prevent Base Erosion and Profit Shifting (MLI] (อนุสัญญา               พหุภาคีฯ MLI) ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ในการนำหลักการ STTR มาปรับใช้จะต้องพิจารณาอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้รับเงินได้ภายใต้ขอบข่ายของหลักการ STTR ซึ่งเมื่อปรับตามสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับและเมื่อรวมกับอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่ายตามอนุสัญญาฯ แล้วน้อยกว่าอัตราร้อยละ 9 ของเงินได้ (Gross Income) ประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้จ่ายเงินได้สามารถจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่ม (Additional STTR Tax) ให้ครบร้อยละ 9 ได้

2. ในคราวการประชุมกรอบความร่วมมือ BEPS ครั้งที่ 15 ซึ่งจัดขึ้น เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ณ สำนักงานใหญ่ OECD กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส สมาชิกกรอบความร่วมมือ BEPS ซึ่งรวมถึงไทยได้พิจารณารับรอง July 2023 Outcome Statement on the Two - Pillar Solution to Address the Tax Challenges Arising from the Digitalisation of the Economy โดยเอกสารตั้งกล่าวได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการและแนวทางการดำเนินการในอนาคตของหลักการ STTR ด้วย ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจที่ประสงค์จะนำหลักการ STTR มาปรับใช้จะต้องดำเนินการลงนามใน STTR MLI เพื่อแก้ไขอนุสัญญาฯ ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

3. กรมสรรพากรมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อแจ้งความเห็นต่อการพิจารณาลงนามใน STTR MLI โดยกรมสรรพากรเห็นควรให้ตอบรับการเข้าร่วมพิธีลงนาม STTR MLI ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2567 และแสดงความจำนงในการเข้าร่วมเป็นภาคีใน STTR MLI โดยการลงนามร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ (Letter of intent) ในโอกาสแรกก่อนและเนื่องจากหลักการ STTR เป็นหลักการใหม่ที่มีความซับซ้อน ดังนั้น กค. โดยกรมสรรพากรจำเป็นต้องศึกษาหลักการ STTR อย่างรอบคอบและรัดกุมก่อนนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ต่อไป ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้กรมสรรพากรพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ และรายงานความคืบหน้าการดำเนินการเพื่อนายกรัฐมนตรีทราบในโอกาสแรกด้วย (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้แจ้งเลขาธิการ OECD ทราบด้วยแล้ว)

4. ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการเข้าร่วมเป็นภาคีใน STTR MLI ของไทย โดยภายหลังการลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ กรมสรรพากรจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายเลขาธิการ STTR เพื่อนำหลักการ STTR มาปรับใช้เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศต่อไป ทั้งนี้ ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ จะส่งผลดีกับไทยในการแสดงความมุ่งมั่นที่จะให้ความร่วมมือกับนานาประเทศในการนำหลักการ STTR ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการภายใต้เสาหลักที่ 2 ของข้อเสนอการจัดเก็บภาษีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลมาปรับใช้ เพื่อปกป้องฐานภาษีจากบริษัทข้ามชาติและนำรายได้มาใช้ในการพัฒนาประเทศชาติ ลดแรงจูงใจของผู้เสียภาษีในการโอนกำไรจากไทยไปหรือเขตเศรษฐกิจที่มีอัตราภาษีต่ำ สร้างความเป็นธรรมในการบริหารจัดเก็บภาษีให้กับบริษัทที่ประกอบกิจการในไทย ตลอดจนการลดการแข่งชั้นของประเทศหรือเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยใช้อัตราภาษีเป็นเครื่องมือดึงดูดนักลงทุนเข้าไปลงทุนในประเทศหรือเขตเศรษฐกิจของตนอีกด้วย

10. เรื่อง ร่างกรอบความร่วมมือด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกันภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย ? มาเลเซีย ? ไทย (IMT - GT)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำร่างกรอบความร่วมมือด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย ? มาเลเซีย ? ไทย (IMT - GT) (ร่างกรอบความร่วมมือฯ) ที่จะมีการลงนามในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 30 ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย ? มาเลเซีย ? ไทย (IMT - GT) และขอความเห็นชอบให้กรมศุลกากร กค. สามารถปรับปรุงถ้อยคำในเอกสารดังกล่าวได้ ในกรณีที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมลงนามในร่างกรอบความร่วมมือฯ ในการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 30 ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย ? มาเลเซีย ? ไทย (IMT - GT) ตามที่ กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

กค. รายงานว่า

1. ร่างกรอบความร่วมมือฯ เป็นความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาล 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย และราชอาณาจักรไทย เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ง 3 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการริเริ่มการดำเนินการด้านการค้าในระดับอนุภูมิภาคและการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศุลกากรการตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน ซึ่งจะช่วยให้การเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างประเทศคู่สัญญา การปฏิบัติพิธีการด้านการศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกันง่ายขึ้น ทำให้กฎระเบียบข้อบังคับ และกระบวนการต่าง ๆ มีความโปร่งใสมากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อลดต้นทุนในการทำธุรกรรม เพิ่มความปลอดภัยทางการค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

2. ร่างกรอบความร่วมมือฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ เช่น

ประเด็น          สาระสำคัญ
ส่วนที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป
ขอบเขตการใช้บังคับ          - รับรองความสามารถและทรัพยากรของประเทศตนในการดำเนินมาตรการด้านการศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน
- กรอบความร่วมมือไม่ก่อให้เกิดสิทธิหรือพันธกรณีใด ๆ และไม่ถือเป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
ส่วนที่ 2 สิ่งอำนวยความสะดวกและพิธีการในการข้ามพรมแดน
ความพร้อมของการบริการ
สิ่งอำนวยความสะดวก และบุคลากร          จัดเตรียมการบริการสิ่งอำนวยความสะดวก และบุคลากร ณ จุดเข้า - ออก ที่กำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกเพื่อให้กระบวนการข้ามพรมแดนเป็นไปโดยราบรื่น
การบริหารจัดการชายแดนร่วมกัน          - อำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ และควบคุมบุคคล สินค้า และพาหนะ
- ให้บริการการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนนอกเวลาทำการเพื่อลดเวลาการรอคอย ณ พรมแดน โดยมีค่าธรรมเนียมที่สมเหตุสมผล
- ในระยะยาวจะใช้เอกสารและฐานข้อมูลการนำเข้า การส่งออก และการผ่านแดนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
การแลกเปลี่ยนข้อมูล          แลกเปลี่ยนข้อมูล โดยสอดคล้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ และกระบวนการภายในประเทศของตน
การประเมินและการจัดการความเสี่ยง          - ยกระดับการควบคุมด้านการศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน ณ จุดเข้า - ออกที่กำหนด ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติ และแนวทางการประเมินความเสี่ยงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
- ส่งเสริมการรับรองผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงต่ำและให้สิทธิประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกที่สอดคล้องกับการประเมิน และการตรวจสอบความเสี่ยง
ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน          เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการควบคุมและการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้าและบุคคลตามกฎหมาย กฎระเบียบ และกระบวนการภายในประเทศ
ส่วนที่ 3 การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของบุคคล
เอกสารการเดินทาง
การตรวจลงตรา และการอำนวยความสะดวก ด้านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง
  • รับรองว่าบุคคลใดที่เดินทางข้ามพรมแดนได้ถือเอกสารการเดินทาง
ที่มีอายุใช้ได้ประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังต่อไปนี้ :
(1) หนังสือเดินทางที่ออกตามมาตรฐานหนังสือเดินทางขององค์การ
การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
(2) เอกสารการเดินทางสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่องค์การสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาต
(3) เอกสารการเดินทางประเภทอื่น ๆ ที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง
- บุคคลใดที่เดินทางข้ามพรมแดนจะต้องได้รับการตรวจลงตรา ตามที่กลุ่มประเทศคู่สัญญากำหนดเว้นแต่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราตามความตกลงทวิภาคีหรือความตกลงระดับภูมิภาค
- หาแนวทางในการจัดการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการตรวจคน
เข้าเมืองที่เหมาะสม
การตรวจสุขภาพ
ผู้เดินทางข้ามแดน          บังคับใช้กฎหมายและข้อกำหนดของแต่ละประเทศที่เป็นไปตามข้อแนะนำของกฎอนามัยระหว่างประเทศภายใต้องค์การอนามัยโลก
การควบคุมทางศุลกากร สำหรับหีบห่อสัมภาระ
และของใช้ส่วนตัว          ดำเนินการควบคุมทางศุลกากรให้เป็นไปตามความตกลงระดับสากลและระดับภูมิภาคที่ประเทศตนเป็นภาคีและผูกพันตามเกณฑ์มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และแนวปฏิบัติเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคคล
การตรวจสอบด้านสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช
สำหรับของใช้ส่วนตัว          ของใช้ส่วนตัวของผู้ที่เดินทางข้ามแดนจะต้องถูกดำเนินการ                      ตามมาตรการสุขอนามัยและการบริหารความเสี่ยงและสุขอนามัยพืช
ส่วนที่ 4 การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้า
พิธีการศุลกากร

อำนวยความสะดวกและรับรองความปลอดภัยของการค้าข้ามพรมแดนภายในขอบเขตที่เป็นไปใต้ผ่านการปรับปรุงและเป็นไปในแนวทางเดียวกันของพิธีการนำเข้า ส่งออก และ ผ่านแดน ภายใต้ความตกลงระดับภูมิภาคเป็นไปตามมาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติที่มีอยู่ ข้อกำหนดด้านเทคนิค มาตรฐาน และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

  • นำมาตรฐาน คู่มือแนวทางปฏิบัติ และข้อแนะนำเกี่ยวกับมาตรการทางเทคนิคต่อการค้า และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชในระดับสากลมาปรับใช้ประกอบการดำเนินการตรวจสอบสินค้า
ตามกฎหมายและข้อกำหนดภายในประเทศ
- สนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคนิคในด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิคและมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เช่น แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านการนำเข้า และส่งออกสินค้า รวมถึงข้อกำหนดด้านการตรวจสอบ และกระบวนการอนุมัติ และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการอุบัติของโรคระบาดสัตว์ ศัตรูพืชกักกัน และประเด็นความปลอดภัยอาหารที่ส่งผลกระทบต่อการค้าของกลุ่มประเทศคู่สัญญา
การขนส่งสินค้าผ่านแดน          - ดำเนินการตามกระบวนการด้านการศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง
และการกักกันที่ทำให้พิธีการและการควบคุมสินค้าผ่านแดน มีความคล่องตัวและเรียบง่ายที่สุด ตามกฎหมายภายในประเทศ ข้อบังคับ และกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวย ความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน
ส่วนที่ 5 การจัดการเกี่ยวกับการดำเนินการ
ความโปร่งใสของกฎหมาย กฎ และข้อบังคับ
  • จัดให้มีข้อมูลเป็นภาษาทางการของกลุ่มประเทศคู่สัญญาและภาษาอังกฤษที่ครอบคลุมถึงกฎหมาย กฎระเบียบ กระบวนการภายในประเทศ ตลอดจนข้อมูลด้านเทคนิค รวมถึงค่าธรรมเนียม และค่าภาระติดพันที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้า และการเคลื่อนย้ายบุคคลข้ามพรมแดน
- ให้คำอธิบายเกี่ยวกับกฎ กฎระเบียบ และกระบวนการที่มีผลใช้บังคับเท่าที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการตอบข้อสอบถามสำหรับผู้ที่สนใจโดยปราศจากค่าใช้จ่าย หรือมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเทียบเท่ากับต้นทุนการให้บริการที่จัดให้ ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
การระงับข้อพิพาท          ข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดจากการดำเนินการและการตีความบทบัญญัติของกรอบความร่วมมือฉบับนี้จะถูกแก้ไขผ่านการหารือระหว่าง และภายในกลุ่มประเทศคู่สัญญาผ่านทางคณะทำงานย่อย ด้านการศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน โดยปราศจากบุคคลที่สามหรือคณะกรรมการระหว่างประเทศใด ๆ
ส่วนที่ 6 บทบัญญัติสุดท้าย
การมีผลใช้บังคับ
ระยะเวลาการมีผลใช้บังคับ
และการสิ้นผล
  • กรอบความร่วมมือฉบับนี้มีผลใช้บังคับในวันที่ลงนามและยังคงมีผลใช้บังคับจนกว่าประเทศคู่สัญญาประเทศใดประเทศหนึ่งแจ้งขอยุติความเป็นคู่สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
- ประเทศคู่สัญญาประเทศใดประเทศหนึ่งอาจขอยุติความเป็นคู่สัญญาจากกรอบความร่วมมือฉบับนี้ โดยการแจ้งความประสงค์ เป็นลายลักษณ์อักษรไปยังประเทศคู่สัญญาอื่น ๆ ผ่านช่องทางการทูต โดยจะต้องมีระยะเวลาอย่างน้อยหกเดือนก่อนวันสิ้นผล
- การสิ้นผลของกรอบความร่วมมือฉบับนี้ ไม่กระทบต่อ การดำเนินการและระยะเวลาของกิจกรรมแผนโปรแกรม และโครงการใด ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือฉบับนี้ ซึ่งได้รับการตัดสินใจร่วมกันในวันที่หรือก่อนวันที่กรอบความร่วมมือ ฉบับนี้สิ้นผลลง เว้นแต่กลุ่มประเทศคู่สัญญาจะตกลงเป็นอย่างอื่น
การทบทวนและการแก้ไข          - กรอบความร่วมมือฉบับนี้อาจถูกทบทวนโดยกลุ่มประเทศคู่สัญญา
เมื่อมีความจำเป็น เพื่อให้รับรองถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน
และการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ
- ประเทศคู่สัญญาอาจร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรให้มีการแก้ไข ส่วนใดส่วนหนึ่งของกรอบความร่วมมือฉบับนี้ โดยการแก้ไขดังกล่าว จะต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกลุ่มประเทศคู่สัญญา และจะถือเป็นส่วนหนึ่งของกรอบ ความร่วมมือฉบับนี้ การแก้ไขดังกล่าว จะมีผลใช้บังคับในวันที่ ได้เห็นชอบกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยกลุ่มประเทศสัญญา


3. ประโยชน์และผลกระทบ

3.1 ส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากการพัฒนาความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคภายใต้แผนงานการพัฒนา เขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) ในการดึงดูดความสนใจ ของภาคเอกชนและนักลงทุนให้เข้ามาดำเนินการหรือลงทุนในพื้นที่ของประเทศไทย

3.2 การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้าและบุคคล ภายในกลุ่มประเทศคู่สัญญาจะเรียบง่ายขึ้น ลดขั้นตอนและความยุ่งยากในการปฏิบัติพิธีการ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.3 เกิดความเข้มแข็งในการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัย ของห่วงโซ่อุปทานในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบุคคลในระดับอนุภูมิภาค

11. เรื่อง การแต่งตั้งประธานสภาวัคซีนของสถาบันวัคซีนนานาชาติ (President of IVI Global Council)

คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งนายโอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานสภาวัคซีนโลกของสถาบันวัคซีนนานาชาติ (President of IVI Global Council) และดำเนินการจัดประชุมสภาสถาบันวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Institute : IVI) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

สถาบันวัคซีนนานาชาติ ได้มีหนังสือทาบทามประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานสภาวัคซีนโลกคนแรกของสถาบันวัดซีนนานาชาติ ซึ่งมีวาระตำรงตำแหน่ง 2 ปี (พ.ศ. 2567-2568) พร้อมทั้งขอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในปี 2567 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือถึงสถาบันวัคซีนนานาชาติ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ตอบรับการเป็นประธานคนแรก โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำรงตำแหน่งประธานฯ และตอบรับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในประเทศไทย ซึ่งได้มีการจัดประชุมฯ ครั้งที่ 1/2024 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีนายโอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศดำรงตำแหน่งประธานสภาวัคซีนโลกของสถาบันวัคซีนนานาชาติ ของปลัดกระทรวงสาธารณสุขอย่างเป็นทางการ รวมทั้งหารือการปรับปรุง IVI GC Rules of Procedure และพิจารณาระเบียบวาระการประชุม IVI GC ครั้งที่ 2/2024 ซึ่งจะจัดขึ้นขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2567 ณ กรุงเทหมหานคร รูปแบบ onsite

ประโยชน์และผลกระทบ

การเป็นประธาน IVI Global Council จะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งเป็นโอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและขยายความร่วมมือด้านวัคซีนในประเด็น ดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาและการนำวัคซีนไปใช้ (Vaccine Development and Implementation)

2. ความเท่าเทียมของการเข้าถึงวัคซีน (Vaccine Equity and Access)

3. การเข้าถึงและการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีน (Vaccine R&D Capacity -Building) ในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ

4. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านวัคซีนของประเทศ (HRD)

แต่งตั้ง
12. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้

1. นายสมคิด เชื้อคง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

2. นางสาวธีราภา ไพโรหกุล ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

3. นายณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

13. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 288/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 288/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 217/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจ ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 นั้น

โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 170 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ได้มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 217/2567 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 นิยาม

ในคำสั่งนี้

?กำกับการบริหารราชการ? หมายความว่า กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 6 กันยายน 2566 เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีอนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ ?สั่งและปฏิบัติราชการ? หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการ หรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง

?กำกับดูแล? หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ

ส่วนที่ 2
          1.          รองนายกรัฐมนตรี  (นายภูมิธรรม   เวชยชัย)
          1.1           การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                        1.1.1          กระทรวงกลาโหม
                                        1.1.2          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                    1.1.3          กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
                    1.1.4          กระทรวงพาณิชย์
                                        1.1.5          กรมประชาสัมพันธ์
                                        1.1.6          สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
                                        1.1.7          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
                    1.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                        1.2.1          ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                        1.2.2          สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
          1.3          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    1.3.1          สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
                    1.3.2          สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                    1.3.3          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                    1.3.4          สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

1.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.3 ยกเว้น

                    1.4.1          เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
                    1.4.2          การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
                    1.4.3          การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
                    1.4.4          การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
                    1.4.5          การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
                    1.4.6            การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
                    1.4.7           เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม

ส่วนที่ 3
2.    รองนายกรัฐมนตรี  (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ)
          2.1           การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    2.1.1          กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                    2.1.2          กระทรวงคมนาคม
                    2.1.3          กระทรวงวัฒนธรรม
                    2.1.4          กระทรวงสาธารณสุข
                    2.1.5            สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                    2.1.6          สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
                    2.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่ง และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              -          สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
          2.3          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    2.3.1          สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
                    2.3.2          สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

2.4 การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี

2.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณี ในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7

ส่วนที่ 4
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร)
          3.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    3.1.1            กระทรวงการคลัง
                                        3.1.2          กระทรวงการต่างประเทศ
                                        3.1.3          สำนักงบประมาณ (ยกเว้นที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ)
                    3.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและ
ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                        3.2.1          สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
                              3.2.2          สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    3.2.3          สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                    3.2.4          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
                    3.2.5          สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
          3.3          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้                                        3.3.1          สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
                    3.3.2          สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
                    3.3.3          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
                    3.4           ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7

ส่วนที่ 5
4.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล)
          4.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    4.1.1            กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
                    4.1.2          กระทรวงมหาดไทย
                    4.1.3          กระทรวงแรงงาน
                                        4.1.4          กระทรวงศึกษาธิการ
                    4.2          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    -            สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

4.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 ถึงข้อ 4.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7

ส่วนที่ 6
5. รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)
          5.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    5.1.1          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                              5.1.2           กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          5.2          ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 5.1 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณี
ในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7

ส่วนที่ 7
6.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค)
          6.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                        6.1.1           กระทรวงพลังงาน
                    6.1.2            กระทรวงยุติธรรม (ยกเว้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
                    6.1.3           กระทรวงอุตสาหกรรม


                    6.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการ และ
สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    -           สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
          6.3          ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 6.1  ถึงข้อ 6.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณี
ในข้อ 1.4.1  ถึงข้อ 1.4.7

ส่วนที่ 8

7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี)

                              7.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                           7.1.1                    สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                                           7.1.2                    สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
                                                  7.1.3                    สำนักงบประมาณ
                                                  7.1.4                    สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
                                                  7.1.5                    สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

7.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้

                                        7.2.1            สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
                                         7.2.2          สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน))

ส่วนที่ 9

8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร)

                    8.1           การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              8.1.1          กรมประชาสัมพันธ์
                               8.1.2          สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
                              8.1.3          สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
          8.2          การมอบหมายให้กำกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
                    -          บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
8.3  การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    -          สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ส่วนที่ 10

9. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้

                    9.1                    การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
                    9.2                    การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น
เป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
                    9.3                    การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
                    9.4                    การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
                    10.          รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจปฏิบัติแทนนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการ
ในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ
                    11.          ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย
                    12.          ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อวินิจฉัยสั่งการ
                    13.           เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม
                    14.           ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

14. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 289/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 289/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 218/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจ ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 นั้น

โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 170 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ได้มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี

ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้ยกเลิกคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 218/2567 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจ ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

ส่วนที่ 1

1. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย)

1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

                              1.1.1          คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
                              1.1.2          คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                              1.1.3          คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                              1.1.4          คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                              1.1.5          คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                              1.1.6          คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
                              1.1.7          คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
                              1.1.8          คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ

1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

                              1.2.1          คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
                              1.2.2          คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมาย

เพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

                              1.2.3          คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ

1.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

                              1.3.1          คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
                              1.3.2          คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                              1.3.3          คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
                              1.3.4          คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
                              1.3.5          คณะกรรมการกำลังพลสำรอง

1.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

                    1.4.1          คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
                    1.4.2          คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
1.4.3          คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
                    1.4.4          คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
                    1.4.5          คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
                              1.4.6                    คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย

สำนักนายกรัฐมนตรี

                               1.4.7                    คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี

          1.4.8          คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
                    1.4.9          คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
                    1.4.10          คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
                    1.4.11          คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
                    1.4.12          คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน

1.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการคณะกรรมการ ต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

                    1.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
                    1.5.2          รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                    1.5.3          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถ

ในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย

                    1.5.4          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ

1.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

                    1.6.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
                    1.6.2          รองประธานกรรมการคนที่ 1 ในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ

2.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ)
          2.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
2.1.1          คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
2.1.2          คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
2.1.3          คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
2.1.4          คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
                              2.1.5          คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
                              2.1.6          คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
                              2.1.7          คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2.1.8          คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
2.1.9          คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
             2.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    2.2.1          คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
2.2.2          คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
                                        2.2.3                    คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
                                        2.2.4                    คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
          2.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    2.3.1          คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
                    2.3.2           คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
                    2.3.3          คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
                              2.3.4          คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
                    2.3.5          คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
                    2.3.6          คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
                    2.3.7          คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
                    2.3.8          คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
                    2.3.9          คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
                    2.3.10          คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ
                    2.3.11          คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
                    2.3.12          คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
          2.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    2.4.1          คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
          2.4.2          คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
                    2.4.3          คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ
                    2.4.4          คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
                    2.4.5          คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ
2.4.6          คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ

2.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

                    2.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                    2.5.2          อุปนายกสภาลูกเสือไทย
                    2.5.3          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
          2.6          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
2.6.1          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สิน
ทางปัญญาแห่งชาติ
2.6.2          กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
2.6.3          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ
ในภูมิภาค

ส่วนที่ 3

3. รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร)

          3.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.1.1          คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
          3.1.2          คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
          3.1.3          คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
          3.1.4          คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
                    3.1.5          คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
          3.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1          คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
3.2.2          คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3.2.3          คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
3.2.4          คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                    3.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
3.3.1          คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
                    3.3.2          คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                    3.3.3          คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
                              3.3.4            คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง
                    3.3.5          คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
                    3.3.6          คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
          3.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    3.4.1          คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
          3.4.2          คณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติราชการ
                    3.4.3          คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
                    3.4.4          คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
                    3.4.5          คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ
                    3.4.6          คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
                    3.4.7          คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน

โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย

          3.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
3.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    3.5.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ

ภาคตะวันออก

                    3.5.3          รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
                    3.5.4          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
                    3.6          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    3.6.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
                    3.6.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
                              3.6.3          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                              3.6.4          รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สิน

ทางปัญญาแห่งชาติ

                              3.6.5          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 4

4.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล)
          4.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.1.1          สภานายกสภาลูกเสือไทย
          4.1.2          คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
4.1.3          คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
          4.2          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    4.2.1          คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
                    4.2.2          คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ
                    4.2.3          คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
          4.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
4.3.1          คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
4.3.2          คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ
4.3.3          คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
4.3.4          คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
4.3.5          คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
                    4.3.6          คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
                    4.3.7           คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
4.3.8          คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
4.3.9          คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
          4.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    4.4.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
                    4.4.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
                    4.4.3          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
                    4.4.4          รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ

นวัตกรรมแห่งชาติ

                    4.4.5          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
          4.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              4.5.1                    กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

ของประเทศ

4.5.2                    กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 5

5.  รองนายกรัฐมนตรี  (พลตำรวจเอก พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ)
          5.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
5.1.1          คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
5.1.2           คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ

5.1.3          คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
5.1.4          คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
5.1.5          คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
          5.2          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
5.2.1          คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
  5.2.2          คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล
และชายฝั่งแห่งชาติ
5.2.3          คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน
5.2.4          คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
5.2.5          คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว
5.2.6          คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
            5.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    5.3.1          คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
                    5.3.2          คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
5.3.3          คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
                    5.3.4          คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
                    5.3.5          คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
                    5.3.6          คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
                    5.3.7          คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
                    5.3.8          คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
          5.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    5.4.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
                    5.4.2          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
             5.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
          5.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
5.5.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
5.5.3          กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
4.5.4          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 6

6.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค)
          6.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

6.1.1          คณะกรรมการกฤษฎีกา
6.1.2          คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
          6.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
-           คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
          6.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    6.3.1          คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
                    6.3.2          คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ
                    6.3.3          คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ
                    6.3.4          คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
             6.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    -          คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์ คนนิรนามและศพนิรนาม
          6.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    6.5.1          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
                    6.5.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
                    6.5.3          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อม

          6.5.4          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
 6.6           การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    6.6.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
                    6.6.2          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 7

          7.           รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์  แสงมณี)

7.1 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

                                                   -           คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
                              7.2            การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
            -                      คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
                    7.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    7.3.1                    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                    7.3.2                    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม
                    7.3.3                    กรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
                              7.3.4               กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                    7.3.5                    กรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
                    7.3.6                    กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
          7.4           การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                               7.4.1           รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืน
                               7.4.2          รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อ
เกษตรแห่งชาติ
                               7.4.3          กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
                     7.4.4          กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

ส่วนที่ 8

          8.            รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นางสาวจิราพร  สินธุไพร)
          8.1            การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-          คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
           8.2          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    -          กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
          8.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    8.3.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
                    8.3.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
                    8.3.3          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
                    8.3.4          รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
                    8.3.5                    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
                        8.3.6                    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
                         8.3.7                    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มี

โฉนดชุมชน

ส่วนที่ 9

9. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน

10. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณา และข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน

11. ในส่วนการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีคนใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไป ตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนั้น

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

15. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 290/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 290/2567 เรื่อง  มอบหมายให้                           รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 169/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 นั้น

โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 170 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ได้มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ลงวันที่ 10 กันยายน 2561 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 169/2567 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้ 1. พื้นที่

1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้

1)          เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ
2)          เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี

3) เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี

1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการ ดังนี้ 1) เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และ จังหวัดอุทัยธานี

1.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการ ดังนี้

1) เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล

2) เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง

3) เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน

1.4 รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการ ดังนี้ 1) เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา 2) เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์

3) เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่

1.5 รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้ 1) เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง 2) เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี

3) เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา

1.6 รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการ ดังนี้

1) เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร

2) เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว

3) เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร

2. การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย

3. ให้รองนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี

4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี ติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทนแล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป

5. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย

6. ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของ รองนายกรัฐมนตรี จากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ