สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ชุด นางสาวแพทองธาร ชินวัตร(นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 กันยายน 2567

ข่าวการเมือง Tuesday September 17, 2024 16:50 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 17 กันยายน 2567 เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.          เรื่อง          แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทน                                                  ราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ
                    2.           เรื่อง           การมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความ                                                  เห็นชอบหรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้อง                                                  ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือ                                                  วุฒิสภา ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัด ตามมาตรา 7 แห่งพระราช                                                  กฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
                    3.           เรื่อง          คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี
                    4.          เรื่อง            ร่างพระราชฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา                                                  ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลาการลดอัตรา                                                            ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
                    5.           เรื่อง           ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการ                                        กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ พ.ศ. 2567
เศรษฐกิจ-สังคม
                    6.          เรื่อง           การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 3
                    7.           เรื่อง           โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ
                    8.           เรื่อง           ขออนุมัติเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการ                                                  ก่อสร้างหอผู้ป่วยใน 7 ชั้น (จำนวน 156 เตียง) เป็นอาคาร คสล. 7 ชั้น พื้นที่
                                        ใช้สอยประมาณ 6,184 ตารางเมตร โรงพยาบาลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว                                         จังหวัดนครราชสีมา 1 หลัง
                    9.           เรื่อง           การขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                                        งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน                                        การดำเนินโครงการยกระดับและพัฒนาระบบบริการสุขภาพหน่วยงานในสังกัด                                                  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                    10.           เรื่อง           ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง                                                   รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กองทุนหลักประกันสุขภาพ                                                  แห่งชาติ)
                    11.           เรื่อง           การเพิ่มเงินค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา และ                                        ขออนุมัติใช้เงินงบกลาง
                    12.           เรื่อง          การขอขยายระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสม                                        ของเชื้อเพลิงชีวภาพ
                    13.          เรื่อง           ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง                                                   รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                    14.          เรื่อง           ขอความเห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบ                                                  อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือ                                                  จำเป็น เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567
                    15.           เรื่อง           ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง                                                   รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้จ่ายสำหรับงบกลาง                                                   รายการค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณี                                                  ฉุกเฉิน
ต่างประเทศ
                    16.          เรื่อง          การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง                                                  สาธารณรัฐคีร์กีซ ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือ

หนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการ

                    17.            เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ                                         สมัยสามัญ ครั้งที่ 79 และร่างคำมั่นเพื่ออนาคต พร้อมด้วยร่างเอกสารภาคผนวก                                         2 ฉบับ
                    18.           เรื่อง            ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ไทยได้ให้การรับรอง                                         และ/หรือให้ความเห็นชอบในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 56                                                   และการประชุมที่เกี่ยวข้อง การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน                                                   ครั้งที่ 24 และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุม

สุดยอดที่เกี่ยวข้อง

                    19.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่ง
                                        สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทาง                                                  การค้าที่แน่นแฟ้น และร่างแผนการดำเนินงานสหราชอาณาจักร-ไทย ฉบับที่ 2
                    20.           เรื่อง           ร่างความตกลงระหว่างทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศกับ
                                        คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การแต่งตั้ง                                                  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น International                                         Atomic Energy Agency Collaborating Centre - Anchor Centre
แต่งตั้ง
                    21.           เรื่อง          การมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทน                                                  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
                    22.           เรื่อง           แต่งตั้งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
                    23.          เรื่อง          คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  313/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้                                                  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทน                                                  นายกรัฐมนตรี
                    24.          เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 314/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้                                                  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่                                                  ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนัก                                        นายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และ                                                  กรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี                    25.          เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 315/2567 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี                                                   กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
          26.      เรื่อง      คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 320/2567 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี                                     รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายและมอบอำนาจให้
                                     รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทน                                                     นายกรัฐมนตรีในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง

                    27.          เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 311/2567  เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงาน                                        สภาผู้แทนราษฎร
กฎหมาย
1. เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ
                    ข้อเสนอ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ถือปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
2 มกราคม 2567 ตามที่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ที่ผ่านมาข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการกำหนดเกี่ยวกับกรณีที่คณะรัฐมนตรีจะขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณารับหลักการ โดยคณะรัฐมนตรีได้วางหลักเกณฑ์การดำเนินการตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา โดยกำหนดส่วนราชการที่ได้รับผิดชอบ ตลอดจนวิธีการในการพิจารณาของ
ส่วนราชการดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการของคณะรัฐมนตรีทันเสนอสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีขอรับร่างพระราชบัญญัติมาเพื่อพิจารณาก่อนรับหลักการ อันจะส่งผลให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่คณะรัฐมนตรีขอรับจากสภาผู้แทนราษฎรมาพิจารณาก่อนรับหลักการเป็นไปด้วยความรอบคอบ รวมทั้งให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมีความสอดคล้องกับทิศทางนโยบายของคณะรัฐมนตรีและกรอบของบประมาณ โดยให้ สคก. เชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินั้น และผู้แทนของ สศช. และ สงป. มาร่วมพิจารณา แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    ปัจจุบันข้อ 118 วรรคหนึ่ง แห่งข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เสนอ ถ้าคณะรัฐมนตรีขอรับร่างพระราชบัญญัตินั้นไปพิจารณาก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะลงมติรับหลักการ เมื่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติก็ให้รอการพิจารณาไว้ก่อน แต่ต้องไม่เกิน
60 วัน นับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีหลักการเช่นเดียวกับข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในอดีตที่ผ่านมา โดยได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 กำหนดแนวทางปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวอยู่ด้วย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวของรัฐบาลเป็นไปด้วยความรอบครอบ รวมทั้งให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมีความสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและกรอบของงบประมาณตลอดจนสามารถดำเนินการได้ทันเสนอสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีขอรับร่างพระราชบัญญัติมาเพื่อพิจารณาก่อนรับหลักการ จึงเห็นควรให้ส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติไว้

2. เรื่อง การมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบหรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัด ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (28 มกราคม 2563) ซึ่งมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัด ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 มกราคม 2563) เห็นชอบมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ
พระราชกฤษฎีกาให้การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัด ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
                    2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 กันยายน 2566) เห็นชอบให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ตามข้อ 1 ต่อไป ตามที่ สลค. เสนอ
                    3. โดยที่ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุม รัฐสภาสมัยวิสามัญ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น ซึ่งในบางครั้งจะมีระยะเวลาดำเนินการค่อนข้างจำกัดตามกรอบระยะเวลาและขั้นตอนของกฎหมาย ประกอบกับเป็นเรื่องที่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนอยู่แล้ว คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติตามข้อ 1 มอบหมายให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 เพื่อให้การปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

3. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบให้คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีชุดเดิม จำนวน 78 คณะ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 และหลังจากนั้นให้คณะกรรมการ ฯ ดังกล่าวสิ้นสุดลง
                    2. ในกรณีที่ส่วนราชการใดพิจารณาเห็นว่าคณะกรรมการ ฯ คณะใด (ตามข้อ 1) ยังคงมีภารกิจสำคัญและจำเป็นที่จะต้องคงอยู่ต่อไป  เพื่อให้การดำเนินการตามภารกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ให้ส่วนราชการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการคณะนั้น ๆ ขึ้นใหม่ โดยให้ตรวจสอบและปรับปรุงองค์ประกอบหน้าที่และอำนาจให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน แล้วส่งไปยัง สลค. โดยด่วนเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 (เรื่อง แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล) อย่างเคร่งครัด และหากเป็นกรณีที่มีการเสนอแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการในคณะกรรมการที่จะเสนอแต่งตั้งด้วย ให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องระบุชื่อ/ชื่อสกุล และตำแหน่ง (ถ้ามี) ของบุคคลที่จะเสนอแต่งตั้งให้ชัดเจน พร้อมทั้งจัดทำเอกสารต่าง ๆ ประกอบการพิจารณาด้วย ดังนี้
                              2.1 แบบสรุปประวัติของผู้ที่จะเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนั้นๆ
                              2.2 แบบตรวจสอบประวัติบุคคลเพื่อประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ
                    ทั้งนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการ ฯ ดังกล่าวข้างต้นให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป โดยไม่ต้องออกเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีหรือคำสั่งของส่วนราชการเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นอีก
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    โดยที่คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีชุดเดิม (ตามข้อ 1) จะต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 6) เรื่องเสร็จที่ 511/2533 ซึ่งได้พิจารณาเรื่อง การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการการเมือง โดยมีความเห็นว่า คณะกรรมการหรือคณะที่ปรึกษาต่าง ๆ ที่มีมติคณะรัฐมนตรีให้แต่งตั้งขึ้น หรือนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยมิใช่เป็นคณะกรรมการหรือคณะที่ปรึกษาตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือตามระเบียบปฏิบัติราชการประจำนั้น เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุด และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งในการบริหารราชการแผ่นดินไปเมื่อใด คณะกรรมการและคณะที่ปรึกษาต่าง ๆ ดังกล่าวย่อมพ้นจากตำแหน่งไปพร้อมกันด้วย โดยจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่เช่นเดียวกัน
                    ทั้งนี้ ระบบคณะกรรมการในกฎหมายที่ก่อให้เกิดผล ดังต่อไปนี้ เป็นการใช้ระบบคณะกรรมการโดยไม่จำเป็น
                              (1) ทำให้คณะกรรมการเป็นผู้บริหารงานโดยตรงหรือรับผิดชอบต่อการบริหารงานโดยตรง เว้นแต่เป็นผู้ควบคุมกำกับผู้บริหารในมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน
                              (2) ทำให้คณะกรรมการมีหน้าที่หรืออำนาจซ้ำซ้อนกับหน่วยงานหรือคณะกรรมการอื่น
                              (3) ทำให้การบริการประชาชนหรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดขั้นตอนมากขึ้นหรือเกิดความล่าช้า
                              (4) ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนมากร่วมเป็นกรรมการด้วย
                              (5) ทำให้เกิดผลเป็นการเบี่ยงเบนความรับผิดชอบ (accountability) ในผลของการกระทำได้โดยง่าย
                              (6) เป็นการตัดอำนาจของคณะรัฐมนตรี หรือเป็นการดำเนินการแทนคณะรัฐมนตรี
                    2) ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมาย เนื่องจากมติของคณะกรรมการจะมีผลผูกพันหน่วยงานที่มีผู้แทนเป็นกรรมการโดยตำแหน่งด้วย หน่วยงานของรัฐ จึงควรพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
                              (1) ควรหลีกเลี่ยงการกำหนดให้นายกรัฐมตรีเป็นประธานกรรมการเว้นแต่กฎหมายนั้นเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับนโยบายที่สำคัญหรือนโยบายระดับชาติ
                              (2) กรรมการโดยตำแหน่งให้กำหนดเท่าที่จำเป็น ในกรณีที่จำเป็นต้องมีกรรมการดังกล่าว ควรกำหนดเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของคณะกรรมการนั้นโดยตรง
                              (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้กำหนดเท่าที่จำเป็น ในกรณีที่จำเป็นต้องมีกรรมการดังกล่าว ควรกำหนดเฉพาะด้านที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของคณะกรรมการนั้นโดยตรง
                    3) การแต่งตั้งกรรมการต้องไม่แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีลักษณะการขัดกันแห่งผลประโยชน์

4. เรื่อง ร่างพระราชฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ร่างพระราชฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 646) พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 780) พ.ศ. 2566 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2567 โดยยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3 (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568 เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจากภาระหนี้สินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และยังมีความผันผวนในตลาดการเงินโลก ดังนั้น การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะเป็นการลดผลกระทบจากค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นการบริโภคของประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้ภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยและการลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศขยายตัวได้ตามเป้าหมาย และสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้แก่ภาคเอกชน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อลดภาษีมูลค่าเพิ่มโดยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3 (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) รวม 20 ฉบับ
                    ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่มีกระทบต่อการประมาณการรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อจัดทำวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เนื่องจากได้ประมาณการรายได้โดยใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) อยู่แล้ว
                    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                    1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนภายในประเทศและเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมาย
                    2) ภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยและการลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศขยายตัวได้ตามเป้าหมาย
                        3) อัตราภาษีไม่ทำให้ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น

5. เรื่อง ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ พ.ศ. 2567 ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
                    สาระสำคัญของระเบียบ
                    1. โดยที่รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการดำรงชีพ สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนและภาคธุรกิจควบคู่กับการรักษาระดับการบริโภคและการลงทุนในประเทศ รวมถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงมีการตั้งงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ ไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย [พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย (มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561)]
                    2. ดังนั้น เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจตามข้อ 1 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส สงป. จึงได้ออกระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. บทนิยาม (ข้อ 3)          ? คำว่า ?โครงการ? หมายถึง ?โครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพื่อการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนหรือภาคธุรกิจ หรือเพื่อการวางรากฐานเศรษฐกิจให้กับประเทศ?
2. การขอรับจัดสรรงบประมาณ
(ข้อ 5 ? ข้อ 7)          ? กำหนดให้หน่วยรับงบประมาณที่จะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ (ข้อ 5) และต้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการที่ขอรับจัดสรร โดยแสดงเป้าหมายและตัวชี้วัด เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการใช้จ่ายงบประมาณ และเพื่อใช้ในการกำกับดูแลและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมรายละเอียดประกอบ เช่น อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่ขอรับการจัดสรร (ข้อ 6)
? กำหนดให้หน่วยรับงบประมาณที่จะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการดังกล่าวต้องเสนอเรื่องให้รองนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแล หรือผู้ที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับดูแลโครงการแล้วแต่กรณี พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งคำขอให้ สงป. (ข้อ 7)
3. การจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณ (ข้อ 8 - ข้อ 9)          ? กำหนดให้ สงป. พิจารณาอนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
งบกลางรายการดังกล่าวตามวงเงินที่จะใช้จ่าย โดยสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ (ข้อ 8)
? กำหนดให้หน่วยรับงบประมาณที่ได้รับอนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการดังกล่าวใช้จ่ายตามรายการ วงเงิน และรายละเอียดอื่นใด ที่ สงป. กำหนด โดยการโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการและรายละเอียดที่ สงป. กำหนดจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความตกลงจาก สงป. และกรณีมีเงินจัดสรรเหลือจ่ายจากการดำเนินงานที่บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว หรือไม่สามารถดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติจัดสรร ให้แจ้ง สงป. เพื่อดำเนินการนำเงินจัดสรรส่งคืน (ข้อ 9)
4. การรายงานและประเมินผล (ข้อ 10 - ข้อ 11)          ? กำหนดให้หน่วยรับงบประมาณที่ได้รับอนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการดังกล่าวจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานและ
ผลการใช้จ่ายงบประมาณตามเป้าหมายหรือตัวชี้วัดที่กำหนดไว้หรือตามที่ได้ตกลงกับ สงป. ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณภายใน 15 วัน นับแต่สิ้นระยะเวลาในแต่ละเดือน (ข้อ 10)
? กำหนดให้เมื่อสิ้นสุดโครงการ หน่วยรับงบประมาณที่ได้รับอนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการดังกล่าวจัดทำรายงานที่แสดงถึงความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์การวัดของตัวชี้วัดผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้หรือตามที่ได้ตกลงกับ สงป. รวมถึงสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข เพื่อเสนอรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแล แล้วแต่กรณี และแจ้ง สงป. ทราบเพื่อรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป (ข้อ 11)

เศรษฐกิจ-สังคม
6. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 3
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่ คณะกรรมการนโยบายและกำกับบริหารหนี้สาธารณะ
(คณะกรรมการฯ) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติและรับทราบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ดังนี้
                              1.1 อนุมัติการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3 ได้แก่ แผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่มสุทธิ 112,000 ล้านบาท จากเดิม 1,030,580.71 ล้านบาท เป็น 1,142,580.71 ล้านบาท
                              1.2 อนุมัติรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3 จำนวน 1 รายการ ได้แก่ เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)                                        1.3 รับทราบการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3 ได้แก่
แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับลดสุทธิ 12,603.87 ล้านบาท จากเดิม 2,042,314,06 ล้านบาท เป็น
2,029,710.19 ล้านบาท
                    2. อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 7 แห่งพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 มาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการพื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 รวมทั้งขออนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาและการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของการปรับปรุงแผนฯ ปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 3 และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้พิจารณากู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เอง ก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
                    ข้อวิเคราะห์
                    1. คณะกรรมการฯ มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 เห็นชอบการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 3 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 แผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่ม 112,000 ล้านบาท จากเดิม 1,030,580.71 ล้านบาท เป็น 1,142,580.71 ล้านบาท โดยเป็นแผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล (รัฐบาลกู้มาใช้โดยตรง) ปรับเพิ่ม 112,000 ล้านบาท ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท
รายการ          วงเงินปรับปรุงครั้งที่ 2          วงเงินปรับปรุง ครั้งที่ 3 (ครั้งนี้)          เพิ่ม/(ลด)
แผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล (รัฐบาลกู้หนี้มาใช้โดยตรง)          771,458.40          883,458.40          112,000.00
กู้เงินในประเทศ          733,000.00          845,000.00          112,000.00
- เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม) ปรับเพิ่มวงเงินเพื่อให้สอดคล้องกับวงเงินภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567          0.00          112,000.00          112,000.00
รวม          112,000.00
                                        2. แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับลด 12,603.87 ล้านบาท จากเดิม 2,042,314.06 ล้านบาท เป็น 2,029,710.19 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ปรับลดแผนการบริหารหนี้จากเดิม 49,054.00 ล้านบาท เป็น 36,450.13 ล้านบาทดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          วงเงินปรับปรุงครั้งที่ 2          วงเงินปรับปรุง ครั้งที่ 3 (ครั้งนี้)          เพิ่ม/(ลด)
แผนการบริหารหนี้เดิมของรัฐวิสาหกิจ (หนี้ในประเทศ)          110,690.10          98,086.23          (12,603.87)
ธ.ก.ส. ปรับลดวงเงินกู้โครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตรปีการผลิต 2554/55 และโครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตร ปีการผลิต 2555/56 เนื่องจาก ธ.ก.ส. ได้ชำระหนี้จากงบประมาณเพื่อชำระต้นเงินกู้วงเงิน 12,601.37 ล้านบาท และเงินระบายข้าววงเงิน 2.5 ล้านบาท          49,054.00          36,450.13          (12,603.87)
รวม          (12,603.87)
                                        3. แผนการชำระหนี้ คงเดิมที่วงเงิน 454,168.87 ล้านบาท
                                        ระเบียบคณะกรรมการฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะพ.ศ. 2561
ข้อ 15 (3) กำหนดว่า หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแผนฯ ระหว่างปี กรณีโครงการพัฒนาหรือโครงการที่ไม่ได้บรรจุไว้ในแผนฯ ให้เสนอคณะกรรมการฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติคณะกรรมการฯ จึงอนุมัติโครงการพัฒนา โครงการ และรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3 จำนวน
1 รายการ ได้แก่ เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม) ดังนี้

                                                                                                    หน่วย : ล้านบาท
รายการ          หน่วยงาน          แหล่งเงินกู้          วงเงิน
แผนการก่อหนี้ใหม่
เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)          กค.          ในประเทศ          112,000.00
                    ทั้งนี้ แผนฯ ในครั้งนี้อยู่ภายในกรอบกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                              1. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ภายหลังการจัดทำแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ปรับปรุงครั้งที่ 3 ประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะยังอยู่ภายใต้กรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด ดังนี้
                                                                                                    หน่วย : ร้อยละ
กรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ          กรอบตามกฎหมาย
(ไม่เกินร้อยละ)          ประมาณการแผนฯ ปี 2567
ปรับปรุงครั้งที่ 2           ประมาณการ
แผนฯ ปี 2567
ปรับปรุงครั้งที่ 3
สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)          70.00          65.06          65.74
สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ          35.00          32.14          33.76
สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด          10.00          1.45          1.44
สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ          5.00          0.04          0.04
                              2. พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายใต้กรอบการดำเนินการที่กำหนด ดังนี้
                                                                                                    หน่วย : ล้านบาท
กรอบการกู้เงิน การค้ำประกัน และการให้กู้ต่อของ กค.          กรอบตามกฎหมาย           วงเงินในแผนฯ ปี 2567
ปรับปรุงครั้งที่ 3          กรอบคงเหลือ
การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และการกู้ปรับโครงสร้างหนี้ที่ กค. ค้ำประกัน
[มาตรา 21 และมาตรา 24 (2)]          815,056.00          805,000.00          10,056.00
การกู้เงินเพื่อบริหารสภาพคล่องเงินคงคลัง
 (มาตรา 21/1)          108,060.00          63,000          45,060.00
การกู้ต่างประเทศและการกู้มาให้กู้ต่อ (เงินตราต่างประเทศ) (มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 25)          348,000.00          38,458.40          309,541.60
การค้ำประกันและการกู้มาให้กู้ต่อ (เงินบาท)
 (มาตรา 25 และ มาตรา 28)          720,400.00          159,417.63          560,982.37


7. เรื่อง โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ  ดังนี้
                    1. เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ (โครงการฯ) โดยมอบหมาย กค. เป็นผู้ดำเนินโครงการ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการสิทธิและสวัสดิการคนพิการ
                    2. อนุมัติงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ ในวงเงินไม่เกิน 145,552.40 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงิน ดังนี้
                              2.1 งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ จำนวนไม่เกิน 122,000 ล้านบาท
                              2.2 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินไม่เกิน 23,552.40 ล้านบาท
                    3. เห็นชอบในหลักการการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่กลุ่มเป้าหมายได้รับตามโครงการฯ และมอบหมายให้ กค. โดยกรมสรรพากรพิจารณาดำเนินการยกร่างกฎหมายและเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    4. มอบหมายให้กรมบังคับคดีกำหนดแนวปฏิบัติเพื่ออนุญาตให้บุคคลล้มละลายหรือถูกพิทักษ์ทรัพย์ เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารและถอนเงินเป็นกรณีพิเศษเพื่อรับเงินตามโครงการฯ และเบิกถอนเงินดังกล่าวเพื่อใช้จ่าย
                    5. มอบหมายให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา รวบรวมและนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องของคนพิการให้แก่กรมบัญชีกลาง เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินให้แก่คนพิการตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ
                    6. มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวบรวมและนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง เด็ก และคนพิการ ให้แก่กรมบัญชีกลาง เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินตามโครงการฯ
                    7. มอบหมายให้ อปท.โดย สถ. กทม. และเมืองพัทยา รวบรวม ตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินการจ่ายเงินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการให้แก่คนพิการในพื้นที่ต่อสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
                    8. มอบหมายให้ พม. โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทำบัตรประจำตัวคนพิการหรือต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการให้แก่คนพิการ เพื่อให้กรมบัญชีกลางสามารถจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ภายในกำหนดเวลาการจ่ายเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ปี 2567
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงการคลังเสนอโครงการสิทธิและสวัสดิการคนพิการ1  เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ   และเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2567 โดยมีสาระสำคัญของโครงการสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ          โครงการฯ
          ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ          คนพิการ
วัตถุประสงค์          เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายให้มีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่ายที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการและความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มการบริโภคที่จะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบและกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศในช่วงปลายปี 2567
กลุ่มเป้าหมาย2          ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e - KYC) สำเร็จแล้ว ดังนี้
(1) ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของ กค. และไม่เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการ พม.
(2) เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม.
(3) เป็นคนพิการที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยาแต่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม.
โดย ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 มีผู้ที่ผ่าน
คุณสมบัติข้างต้นจำนวนไม่เกิน 12,405,754 ราย          คนพิการที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีบัตรประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุ
ตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม.
(2) มีบัตรประจำตัวคนพิการที่หมดอายุตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการ พม. ซึ่งจะต้องต่ออายุบัตรประจำตัว
คนพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ                กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบจึงจะได้รับสิทธิ
(3) ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูล
ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูล
ของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา และไม่มีบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะต้องทำบัตรประจำตัว
พิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ
จึงจะได้รับสิทธิ
(4) ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูล
ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการ พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการ
ตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา
มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่ได้ยืนยันตัวตน
(e-KYC) ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565
ของ กค. ซึ่งจะต้องทำบัตรประจำตัวคนพิการภายใน วันที่ 3 ธันวาคม 2567 และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ โดย ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 มีผู้ที่ผ่านคุณสมบัติข้างต้นจำนวนไม่เกิน 2,149,286 ราย
วิธีดำเนินการ          (1) กรมบัญชีกลางดำเนินการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10,000 บาทต่อคน โดยจะเริ่มทยอยจ่ายเงินตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ผ่านช่องทาง ดังนี้
          ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของกลุ่มเป้าหมาย สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกรณีผู้ป่วย     ติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปที่ไม่สามารถผูกพร้อมเพย์ได้ ให้จ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารตามที่ได้แจ้งความประสงค์ในหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่นหรือบุคคลอื่นไว้แล้ว ณ สำนักงานคลังจังหวัดหรือกรมบัญชีกลาง ตามแนวทางการจ่ายเงินของกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
(กองทุนฯ)          (1) ผ่านช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการที่ได้รับข้อมูลจาก อปท. กทม. และเมืองพัทยา
(2) ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของคนพิการกลุ่มดังกล่าว สำหรับคนพิการที่ไม่ปรากฏข้อมูลช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการตามข้อ (1)
          (2) ในกรณีที่กรมบัญชีกลางจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายไม่สำเร็จในครั้งแรกให้ดำเนินการ           ติดตามเพื่อจ่ายเงิน (Retry) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
          (2.1) ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2569
          (2.2) ครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567
          (2.3) ครั้งที่ 3 ภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2567
ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดการ Retry ครั้งที่ 3 แล้ว รัฐจะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการ
ประโยชน์          ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ และสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการถือเป็นผู้มีรายได้น้อยที่มีความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภค (Marginal Propensity to Consume: MPC) สูงกว่ากลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงกว่า ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้จ่ายเงินหมดทั้งจำนวน ทั้งนี้ คาดว่าการดำเนินโครงการฯ จะส่งผลให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.3 (ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) และ 0.05 (ผ่านคนพิการ) ต่อปี เมื่อเทียบกับกรณีไม่มีโครงการ
งบประมาณ          จำนวนไม่เกิน 124,059.54 ล้านบาท
ประกอบด้วย (1) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ จำนวน 122,000                ล้านบาท และ (2) งบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,059.54 ล้านบาทโดยจัดสรรให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังสำหรับกองทุนฯ และให้นำเงินที่เหลือดังกล่าวไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ต่อไป          จำนวนไม่เกิน 21,492.86 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                   พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยจัดสรรให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และให้นำเงินเหลือจ่ายดังกล่าวส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป

1สิทธิและสวัสดิการคนพิการ เช่น (1) เบี้ยความพิการ 800-1,000 บาทต่อเดือน (2) สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับคนพิการ (บัตรทองคนพิการ ท. 74) ได้ที่สถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง (3) สิทธิด้านการศึกษา โดยสามารถเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือเมื่อพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนจนถึงปริญญาตรี (4) สิทธิด้านอาชีพ โดยสามารถเข้ารับการฝึกอาชีพจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (5) คนพิการสามารถขอกู้ยืมเงินเพื่อทุนประกอบอาชีพได้ไม่เกิน 120,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ย (ผ่อนชำระภายใน 5 ปี) (6) การลดหย่อนค่าโดยสารขนส่งสาธารณะสำหรับคนพิการ และ (7) สิทธิการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ เช่น ปรับปรุงห้องน้ำ ติดตั้งราวจับ ปรับทางเดิน ในอัตราเหมาจ่ายไม่เกินรายละ 40,000 บาท เป็นต้น
2ไม่รวมถึงผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e - KYC) สำเร็จแล้ว ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัด พม. ที่ พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลาง

8. เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการก่อสร้างหอผู้ป่วยใน 7 ชั้น (จำนวน 156 เตียง) เป็นอาคาร คสล. 7 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 6,184 ตารางเมตร โรงพยาบาลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 1 หลัง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. ขออนุมัติเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างรายการหอผู้ป่วยใน 7 ชั้น (จำนวน 156 เตียง) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก (อาคาร คสล.) 7 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 6,184 ตารางเมตร โรงพยาบาลสีคิ้ว ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 1 หลัง (หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสีคิ้วฯ) จำนวน 51.46 ล้านบาท ซึ่งจากเดิมได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 106.3 ล้านบาท (ยังไม่รวมวงเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด) เป็นวงเงินก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 157.73 ล้านบาท โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 15.94 ล้านบาท ที่ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แล้ว ส่วนที่เหลือจำนวน 141.79 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ? 2570
                    2. ขออนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการก่อสร้างอาคารดังกล่าว จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ? 2569 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ? 2570
                    ทั้งนี้ การก่อสร้างหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสีคิ้วฯ จะรองรับการให้บริการผู้ป่วยในได้อย่างเพียงพอ และให้บริการผู้ป่วยในที่มีความต้องการเฉพาะได้มากขึ้นตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยวัณโรค โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ รวมถึงให้บริการพระสงฆ์อาพาธ ผู้ต้องขังที่ป่วย สามารถลดความแออัดของผู้ป่วยใน ลดการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล ลดภาระด้านเศรษฐกิจของประชาชนในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอใกล้เคียงในการไปใช้บริการโรงพยาบาลที่ห่างไกล รวมไปถึงอาคารหอผู้ป่วยในที่มีอยู่เดิม มีสภาพชำรุดทรุดโทรมไม่เป็นไปตามมาตรฐาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้น จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเข้ารับบริการของประชาชนและความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่ ส่งผลให้การบริการมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

9. เรื่อง การขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการยกระดับและพัฒนาระบบบริการสุขภาพหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                    ข้อเสนอ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวมวงเงินทั้งสิ้น 624.80 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการยกระดับและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (โครงการยกระดับและพัฒนาระบบบริการสุขภาพฯ) ตามที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                     สธ. รายงานว่าจากการสำรวจความต้องการครุภัณฑ์การแพทย์ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ยังพบว่าหน่วยงานในสังกัดทุกระดับทั่วประเทศยังมีความต้องการครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็น ประกอบกับ ไม่สามารถปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อนำมาดำเนินการได้  จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการยกระดับและพัฒนาระบบบริการสุขภาพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาครุภัณฑ์การแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (เช่น โรงพยาบาลประจำจังหวัดต่าง ๆ) ที่ สธ. เห็นว่ามีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันภายในเดือนกันยายน 2567
                    สงป. เสนอนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นรวมวงเงินทั้งสิ้น 624.80 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการยกระดับและพัฒนาระบบบริการสุขภาพฯ สำหรับจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ โดยให้เบิกจ่ายในงบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ [ตัวอย่างรายการครุภัณฑ์ เช่น ชุดตรวจสุขภาพระบบแพทย์ทางไกลแบบพกพา 672 ชุด (ชุดละ 50,000 บาท) เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแบบพกพาไม่ต้องชาร์จไฟฟ้า พร้อมระบบแพทย์ทางไกล 102 เครื่อง (ชุดละ 350,000 บาท) เครื่องช่วยนวดหัวใจและฟื้นคืนชีพผู้ป่วยอัตโนมัติ 161 เครื่อง (เครื่องละ 1 ล้านบาท) เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดันเคลื่อนย้ายได้ 48 เครื่อง (เครื่องละ 450,000 บาท)]

10. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) จำนวน 5,924.31 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ยกระดับ 30 บาท รักษาทุกโรค ?บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่? (นโยบายฯ) ประจำปีงบประมาณ 2567 สำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขของประชาชนให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยประชาชนสามารถเข้ารับบริการด้านสาธารณสุขได้ทุกที่ทั่วประเทศ ซึ่งนโยบายดังกล่าวประกอบด้วยบริการ ดังนี้
                    1. บริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร (OP Anywhere) : ผู้รับบริการตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถใช้บริการที่โรงพยาบาลอื่นนอกเหนือจากโรงพยาบาลที่ได้ลงทะเบียนไว้ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                    2. บริการสาธารณสุขในหน่วยนวัตกรรม : ผู้รับบริการตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถเข้ารับบริการในหน่วยบริการด้านสาธารณสุขประเภทอื่นจำนวน 8 ประเภท ได้แก่ ร้านยาชุมชนอบอุ่น คลินิกเทคนิคการแพทย์ คลินิกพยาบาล คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม รถทันตกรรมเคลื่อนที่ และคลินิกแพทย์แผนไทย
                    ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เริ่มดำเนินนโยบายฯ ในวันที่ 7 มกราคม 2567 ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด (ได้แก่ จังหวัดแพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส) และในปัจจุบันให้บริการครอบคลุมแล้ว 46 จังหวัด โดยในปัจจุบันผู้มีสิทธิตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีจำนวน 43,560,944 ราย

11. เรื่อง การเพิ่มเงินค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา และขออนุมัติใช้เงิน
งบกลาง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการเพิ่มเงินค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ตามร่างระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ....
                    2. อนุมัติให้ใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 52.84 ล้านบาท สำหรับรายการเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ดังนี้
                              2.1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 6.60 ล้านบาท
                              2.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 46.24 ล้านบาท
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) เห็นชอบในหลักการการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ การปรับเงินเพิ่ม การครองชีพชั่วคราว และแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ โดยในส่วนของการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ มีแนวทางดำเนินการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้นทุกคุณวุฒิ ซึ่งไม่รวมถึงข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ดังนั้น คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) จึงมีมติเมื่อวันที่
27 พฤษภาคม 2567 เห็นชอบร่างระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. .... โดยกำหนดให้ข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเป็นรายเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ข้างต้น โดยมีอัตราการจ่าย ดังนี้
อัตราการจ่ายต่อเดือน (บาท/คน/เดือน)          ระยะเวลาที่มีผลใช้บังคับ
3,500          ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567-30 เมษายน 2568
7,350          ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การคำนวณเงินเดือนและค่าครองชีพชั่วคราวที่จะปรับเพิ่มขึ้น สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ค่าครองชีพชั่วคราวที่จะปรับเพิ่มระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2567-30 เมษายน 2568 คำนวณจาก (เงินเดือน 25,000 บาท + เงินประจำตำแหน่ง 10,000 บาท) x ร้อยละ 10
                              1.2 ค่าครองชีพชั่วคราวที่จะปรับเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 เป็นต้น คำนวณจาก [(เงินเดือน 25,000 บาท + เงินประจำตำแหน่ง 10,000 บาท) x ร้อยละ 10] + [(เงินเดือน 25,000 + เงินเดือนที่ปรับเพิ่มขึ้น 2,500 บาท + เงินตำแหน่ง 10,000 + เงินประจำตำแหน่งที่ปรับเพิ่มขึ้น 1,000 บาท) x ร้อยละ 10]
                    2. ประมาณการเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการชั่วคราวข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา วงเงิน 52.84 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบประมาณรวม 6.60 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ? 30 กันยายน 2567 สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
ระยะเวลา          ค่าครองชีพชั่วคราวที่จะปรับเพิ่ม
(บาท/เดือน)          จำนวน
(คน)          งบประมาณที่ใช้
(ล้านบาท)
วันที่ 1 พฤษภาคม-30 กันยายน 2567 (5 เดือน)           3,500          197          3.45
วันที่ 1 กรกฎาคม-30 กันยายน 2567 (3 เดือน)          3,500          150          1.58
วันที่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2567 (2 เดือน)           3,500          150          1.05
วันที่ 1 กันยายน-30 กันยายน 2567 (1 เดือน)           3,500          150          0.53
รวมงบประมาณ (ล้านบาท)          6.60
                              2.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบประมาณรวม 46.24 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567-30 กันยายน 2568 สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
ระยะเวลา          ค่าครองชีพชั่วคราวที่จะปรับเพิ่ม
(บาท/เดือน)          จำนวน
(คน)          งบประมาณที่ใช้
(ล้านบาท)
วันที่ 1 ตุลาคม 2567-30 เมษายน 2568 (7 เดือน)           3,500          647          15.85
วันที่ 1 พฤษภาคม-30 กันยายน 2568 (5 เดือน)           7,350          647          23.78
วันที่ 1 กรกฎาคม- 30 กันยายน 2568 (3 เดือน)           7,350          150          3.31
วันที่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2568 (2 เดือน)           7,350          150          2.21
วันที่ 1 กันยายน-30 กันยายน 2568 (1 เดือน)           7,350          150          1.10
รวมงบประมาณ (ล้านบาท)          46.24
                    3. ประโยชน์ เพื่อให้การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทบรรลุวัตถุประสงค์ หลักการ และเป้าหมายเดียวกัน โดยมีความเป็นธรรมและไม่เหลื่อมล้ำ ซึ่งรวมถึงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาซึ่งเป็นตำแหน่งแรกบรรจุเช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น
12. เรื่อง การขอขยายระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                    1. ขยายระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพออกไปสองปี จนถึงวันที่ 24 กันยายน 2569
2. แผนการลดการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพและร่างประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และมาตรการ เพื่อลดการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ
สาระสำคัญของเรื่อง
1.  พน. แจ้งว่า การจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 น้ำมันดีเซล หมุนเร็วธรรมดา B10 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 ตามนัยมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 จะครบกำหนดในวันที่ 24 กันยายน 2567 แต่ พน. เห็นว่ายังคงมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวต่อไป เพื่อเป็นกลไกในการรักษา ระดับค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยการสร้างส่วนต่างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อป้องกันผลกระทบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มต่าง ๆ และยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้จากการขายพืชผลทางการเกษตร ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ ตามนัยมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562
2. สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ได้จัดทำแผนการลดการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ พ.ศ. 2568  - 2569 เพื่อให้การดำเนินงานในการลดการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 และเพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถดำเนินการตามพันธกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้
                              ทั้งนี้ ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว กบน. จะออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์    วิธีการ เงื่อนไข และมาตรการ เพื่อลดการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพตามรายละเอียดของแผนการลดการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวต่อไป

13. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                    คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินไม่เกิน 23,552.40 ล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
                    1. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนไม่เกิน 2,059.54 ล้านบาท โดยจัดสรรให้แก่ สป.กค. สำหรับกองทุนฯ และให้นำเงินที่เหลือดังกล่าวไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ต่อไป
                    2. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนไม่เกิน 21,492.86 ล้านบาท โดยจัดสรรให้แก่ สป.กค. และให้นำเงินเหลือจ่ายดังกล่าวส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการคลังมีความจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ เพื่อเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2567 ให้เป็นรูปธรรม
                    โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ ประกอบด้วย
 (1) โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ (2) โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ ดังนี้
                    1. โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
                              1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ผู้มีบัตรฯ) ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการลงทะเบียนฯ) ปี 2565 ให้มีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่ายที่จำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มการบริโภคที่จะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบและกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศในช่วงปลายปี 2567
                              1.2 กลุ่มเป้าหมาย
                              1) ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) สำเร็จแล้ว ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของกระทรวงการคลัง และไม่เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
                              2) ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) สำเร็จแล้ว เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของ พก. พม.
                              3) ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) สำเร็จแล้ว เป็นคนพิการที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการ ตามฐานข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา แต่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลของ พก. พม.
                              ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 จำนวนไม่เกิน 12,405,954 ราย อนึ่ง ไม่รวมถึงผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) สำเร็จแล้ว ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัด พม. ที่ พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลาง
                              1.3 วิธีดำเนินการ
                              1) กรมบัญชีกลางดำเนินการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10,000 บาทต่อคน
โดยจะเริ่มทยอยจ่ายเงินตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของกลุ่มเป้าหมาย สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกรณีผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่สามารถผูกพร้อมเพย์ได้ ให้จ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารตามที่ได้แจ้งความประสงค์ในหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่น หรือบุคคลอื่นไว้แล้ว ณ สำนักงานคลังจังหวัดหรือกรมบัญชีกลาง ตามแนวทางการจ่ายเงินของกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (กองทุนฯ)
                              2) ในกรณีที่กรมบัญชีกลางจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายไม่สำเร็จในครั้งแรกให้ดำเนินการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวจำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
                                        2.1) ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2567
                                        2.2) ครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567
                                        2.3) ครั้งที่ 3 ภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2567
                              ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดการ Retry ครั้งที่ 3 แล้ว รัฐจะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการ
                              1.4 ประโยชน์และผลกระทบ การดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีบัตรฯ และสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เนื่องจากผู้มีบัตรฯ ถือเป็น ผู้มีรายได้น้อยที่มี MPC สูงกว่ากลุ่มประชากรที่มีรายได้สูง ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้จ่ายเงินหมด ทั้งจำนวน ทั้งนี้ คาดว่าการดำเนินโครงการจะส่งผลให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.3 ต่อปีเมื่อเทียบกับกรณีไม่มีโครงการ
                              1.5 งบประมาณ วงเงินงบประมาณ รวมจำนวนไม่เกิน 124,059.54 ล้านบาท ประกอบด้วย
                              1) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ จำนวนไม่เกิน 122,000 ล้านบาท
                              2) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนไม่เกิน 2,059.54 ล้านบาทโดยจัดสรรให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (สป.กค.) สำหรับกองทุนฯ และให้นำเงินที่เหลือดังกล่าวไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ต่อไป
                    2. โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ
                              2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของคนพิการซึ่งเป็น
ผู้เปราะบางที่ขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ให้มีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่ายที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการและความจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภทในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มการบริโภคที่จะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบและกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศในช่วงปลายปี 2567 ได้อย่างรวดเร็ว
                              2.2 กลุ่มเป้าหมาย
                              1) คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของ พก. พม.
                              2) คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของ พก. พม. และไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะต้องต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ พก. พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ
                              3) คนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูลของ พก. พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา และไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งจะต้องทำบัตรประจำตัว
คนพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ พก. พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ
                              4) คนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูลของ พก. พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่ได้ยืนยันตัวตน (e-YC) ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะต้องทำบัตรประจำตัวคนพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ พก. พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ
                              ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 จำนวนไม่เกิน 2,149,286 ราย อนึ่ง ไม่รวมถึงคนพิการที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัด พม. ซึ่ง พม. แจ้งยืนยันข้อมูลคนพิการดังกล่าวให้กรมบัญชีกลาง
                              2.3 วิธีดำเนินการ
                              1) กรมบัญชีกลางดำเนินการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10,000 บาทต่อคน ผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้
                                        1.1) ช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการที่ได้รับข้อมูลจาก อปท. กทม. และเมืองพัทยา
                                        1.2) บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของคนพิการกลุ่มดังกล่าวสำหรับคนพิการที่ไม่ปรากฏข้อมูลช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการตามข้อ 1.1
                              2) กรมบัญชีกลางดำเนินการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10,000 บาทต่อคน โดยจะเริ่มทยอยจ่ายเงินตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป และในกรณีที่กรมบัญชีกลางจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายไม่สำเร็จในครั้งแรกให้ดำเนินการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวจำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
                                        2.1) ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2567
                                        2.2) ครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567
                                        2.3) ครั้งที่ 3 ภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2567
                              ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดการ Retry ครั้งที่ 3 แล้ว รัฐจะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการ
                              2.4 ประโยชน์และผลกระทบ การดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการ และสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากคนพิการโดยส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อยที่มี MPC สูง ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้จ่ายเงินหมดทั้งจำนวน ทั้งนี้ คาดว่าการดำเนินโครงการจะส่งผลให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.05 ต่อปี เมื่อเทียบกับกรณีไม่มีโครงการ
                              2.5 งบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนไม่เกิน 21,492.86 ล้านบาท โดยจัดสรรให้แก่ สป.กค. และให้นำเงินเหลือจ่ายดังกล่าวส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สำหรับผู้มีบัตรฯ จำนวนไม่เกิน 12,405,954 ราย และโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ สำหรับคนพิการจำนวนไม่เกิน 2,149,286 ราย โดยได้รับการสนับสนุนเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อคน รวมเป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวนไม่เกิน 14,555,240 ราย จะช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพให้ผู้มีบัตรฯ และคนพิการสามารถมีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่ายที่จำเป็นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ตลอดจนเพิ่มการบริโภคที่จะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบและกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศในช่วงปลายปี 2567 ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการดำเนินโครงการทั้ง 2 โครงการดังกล่าว จะทำให้มีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวนประมาณ 145,552.40 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.35 ต่อปี เมื่อเทียบกับกรณีไม่มีโครงการ นอกจากนี้เมื่อผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้น จะช่วยก่อให้เกิดการผลิต การค้าขาย การจ้างงาน และการคมนาคมขนส่งตามมา ซึ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจะเอื้อให้ภาครัฐสามารถจัดเก็บภาษีอากรได้เพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
                    5. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา หรือการสูญเสียรายได้
                    ประมาณการวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ รวมจำนวนไม่เกิน 145,552.40 ล้านบาท ประกอบด้วย
                    5.1 เงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ จำนวนไม่เกิน 122,000 ล้านบาท
                    5.2 เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนไม่เกิน 23,552.40 ล้านบาท

14.  เรื่อง ขอความเห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน
ปี 2567 และขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567
                    2. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน  กรณีอุทกภัย  จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 3,045,519,000 บาท เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยรับงบประมาณและจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน ให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป รวมทั้งให้สามารถถัวจ่ายข้ามจังหวัดได้
                    สาระสำคัญ
                    รัฐบาลได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเสนอขอค่าดำรงชีพเบื้องต้นแก่ครอบครัวผู้ประสบอุทกภัย เป็นกรณีพิเศษ ดังนี้
                              1) กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท
                              2) กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท
                              3) กรมีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 60 วัน ขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 9,000 บาท โดยมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผู้เสนอของบประมาณ และกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินดังกล่าว
                    หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567                              หลักเกณฑ์
                              1. เป็นกรณีอุทกภัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ทั้งกรณีน้ำท่วมโดยฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงการระบายน้ำ จนส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้
                              2. เป็นที่อยู่ที่ประสบอุทกภัย ตามข้อ 1 และได้รับผลกระทบกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                                        (1) ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
                                        (2) ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป
                    เงื่อนไข
                              1. ต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และ
                                        (1) มีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกให้ (ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 30) และ
                                        (2) ต้องผ่านการประชาคมหมู่บ้านของแต่ละพื้นที่ประสบสาธารณภัย และ
                                        (3) ผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) สำหรับกรุงเทพมหานคร ต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานคร
                    2. กรณีที่ประสบภัยหลายครั้ง ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว
                    ทั้งนี้ ให้จังหวัดที่ประสบภัยเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์และช่วยเหลือให้แล้วเสร็จ ภายใน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                      ครัวเรือนผู้ประสบภัย จำนวน 338,391 ครัวเรือน ตามข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ/พื้นที่ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/พื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 57 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นนทบุรี นครนายก นครปฐม นครพนม นครสวรรค์นครราชสีมา นครศรีธรรมราช น่าน
บึงกาฬ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พังงา พะเยา พิจิตร พิษณุโลกเพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยะลา ระยอง ราชบุรี ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สระแก้ว สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อุทัยธานี อุดรธานี อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และเพื่อให้การดำรงชีพของประชาชนเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

15. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้จ่ายสำหรับงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเงินงบประมาณรายรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,000,000,000.00 บาท เพื่อใช้จ่ายสำหรับงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงบประมาณได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาให้ความเห็นชอบให้กรมบัญชีกลางใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,000,000,000.00 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้ส่วนราชการมีเงินทดรองราชการหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่อง สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    เพื่อให้กรมบัญชีกลางมีงบประมาณงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน สำหรับชดใช้คืนเงินทดรองราชการฯ ให้แก่ส่วนราชการที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณ  และส่วนราชการมีวงเงินทดรองราชการหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่อง สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันท่วงที

ต่างประเทศ

16. เรื่อง การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคีร์กีซ ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคีร์กีซ (คีร์กีซ) ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการ (Agreement between the Cabinet of Ministers of the Kyrgyz Republic and the Government of the Kingdom of Thailand on Visa Exemption for Holders of Diplomatic and Service/Official Passports) (ความตกลงฯ)
                    2. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทน ให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว
                    3. เห็นชอบให้ กต. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ

                    ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                    สาระสำคัญ
                    1. คีร์กีซตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยประเทศไทยได้รับรองเอกราชของคีร์กีซเมื่อวันที่
26 ธันวาคม2534 และได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับคีร์กีซเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2535 รวมทั้งได้เริ่มการเจรจาร่างความตกลงฯ มาตั้งแต่ปี 2553 และมีการแลกเปลี่ยนร่างโต้ตอบความตกลงฯ ระหว่างกันมาโดยตลอด ทั้งนี้ ฝ่ายคีร์กีซได้แสดงความพร้อมที่จะลงนามร่างความตกลงดังกล่าวและเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาความเป็นไปได้ในการลงนามความตกลงฯ ในห้วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 79 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 21 - 27 กันยายน 2567
                    2. ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการระบุรายละเอียดและเงื่อนไขของการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการระหว่างไทยและคีร์กีซ โดยสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
ข้อตกลง
          (1) ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางพิเศษของคู่ภาคี (ไทยและคีร์กีซ) ที่มีอายุใช้ได้จะไม่ต้องรับการตรวจลงตราสำหรับการเดินทางเข้า ออก ผ่าน หรือพำนักอยู่ในดินแดนของภาคีอีกฝ่ายเป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน นับจากวันที่เดินทางเข้า โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องไม่ทำงานใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการของตนเองหรือกิจกรรมส่วนตัวอื่นในดินแดนของภาคีอีกฝ่าย
(2) ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางพิเศษของภาคีที่มีอายุใช้ได้ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นสมาชิกในคณะผู้แทนทางการทูต หรือกงสุลของภาคีหรือบุคคลที่เป็นผู้แทนของภาคีประจำองค์การระหว่างประเทศในดินแดนของภาคีอีกฝ่าย รวมถึงบุคคลในครัวเรือนของบุคคลดังกล่าวที่ถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางพิเศษที่มีอายุใช้ได้ของภาคีสามารถเดินทางเข้า พำนักอยู่ หรือออกจากดินแดนของภาคีอีกฝ่าย โดยไม่ต้องได้รับการตรวจลงตราเป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ระยะเวลาดังกล่าวจะต้องได้รับการขยายออกไปจนสิ้นสุดวาระการปฏิบัติหน้าที่เมื่อ กต. ของภาคีหรือสถานเอกอัครราชทูตของภาคีที่มีเขตอาณาครอบคลุมดินแดนของรัฐภาคีอีกฝ่ายได้ร้องขอ
(3) ภาคีฝ่ายหนึ่งจะต้องแจ้งภาคีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูตโดยทันทีหากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและข้อบังคับของตนที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับกับการเข้าเมืองการเดินทางและการพำนักอยู่ของคนต่างชาติ
(4) หน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐภาคีแต่ละฝ่ายจะมีสิทธิในการปฏิเสธการเดินทางเข้ามาหรือยุติการพำนักอยู่ของบุคคลใด ๆ ซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราภายใต้ความตกลงนี้บนพื้นฐานของความสงบเรียบร้อยสาธารณสุขและความมั่นคงแห่งชาติ
การดำเนินการ
เกี่ยวกับ
หนังสือเดินทาง
          (1) ภาคีจะต้องส่งตัวอย่างของหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการที่มีอายุใช้ได้ให้แก่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งผ่านช่องทางการทูตอย่างน้อย 30 วัน ก่อนการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ
(2) ในกรณีที่รัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้หนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการแบบใหม่ ภาคีดังกล่าวจะต้องส่งตัวอย่างของหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการแบบใหม่นั้นให้แก่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ผ่านช่องทางการทูตอย่างน้อย 30 วัน ก่อนการเริ่มใช้งาน
การระงับ
การมีผลใช้บังคับ
          ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจระงับการปฏิบัติตามความตกลงฯ ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย สาธารณสุขและความมั่นคงแห่งชาติ โดยภาคีนั้นจะต้องแจ้งเรื่องการระงับและการยกเลิกการระงับการปฏิบัติตามความตกลงฯ แก่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูตล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน
การแก้ไข          ความตกลงนี้อาจได้รับการแก้ไขได้โดยการตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรของคู่ภาคี
การระงับข้อพิพาท
          ข้อพิพาทใด ๆ อันเกิดจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติตามความตกลงนี้ จะได้รับการระงับโดยการเจรจาและการปรึกษาหารือระหว่างคู่ภาคี
ผลบังคับใช้
          ความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 60 นับจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้ายโดยคู่ภาคีว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการภายในที่จำเป็นของตนเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับเสร็จสิ้นแล้ว และความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 5 ปี และจะได้รับการต่ออายุอัตโนมัติครั้งละ 5 ปี จนกว่าจะได้รับการบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรจากภาคีอีกฝ่ายหนึ่งล่วงหน้าเป็นเวลา 90 วัน
                    3. กต. แจ้งว่า ได้สอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว โดยทุกหน่วยงานไม่มีข้อขัดข้องต่อการจัดทำความตกลงฯ

17. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 79 และร่างคำมั่นเพื่ออนาคต พร้อมด้วยร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)  เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างเอกสาร ดังนี้
1.1 ร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 79 (ท่าทีไทยฯ) (การประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ)
1.2 ร่างคำมั่นเพื่ออนาคต
1.3 ร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ ได้แก่
1.3.1 ร่างคำมั่นด้านดิจิทัลระดับโลก
1.3.2 ร่างปฏิญญาว่าด้วยอนุชนรุ่นหลัง
ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างเอกสารข้างต้นในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขออนุมัติให้ กต. พิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้อง ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
2. เห็นชอบให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมสุดยอดเพื่ออนาคตหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างคำมั่นเพื่ออนาคต (ตามข้อ 1.2) และร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ (ตามข้อ 1.3) รวม 3 ฉบับ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
1. การประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ จะเปิดสมัยการประชุมในวันที่ 10 กันยายน 2567
ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยการประชุมในช่วงสัปดาห์ผู้นำจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 - 30 กันยายน 2567 ซึ่งท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ร่างท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ มีสาระสำคัญเป็นกรอบแนวทางในการประชุมและเจรจาข้อมติซึ่งครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ตามระเบียบวาระ ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ ครอบคลุมข้อมูลภูมิหลังและท่าทีไทยต่อข้อมติต่าง ๆ ที่จะมีการหารือ ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ ภายใต้
9 หมวด
หมวด (เอ) การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืนและการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติ และผลการประชุมของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง
หมวด (บี) การรักษาสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ
หมวด (ซี) พัฒนาการในแอฟริกา
หมวด (ดี) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
หมวด (อี) การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
หมวด (เอฟ) การส่งเสริมความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ
หมวด (จี) การลดอาวุธ
หมวด (เอช) การควบคุมยาเสพติด การป้องกันอาชญากรรมและการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศทุกรูปแบบ
หมวด (ไอ) การบริหารและองค์กรอื่น ๆ
                    2. การประชุมสุดยอดเพื่ออนาคตในวันที่ 22 กันยายน 2567 จะมีการรับรองคำมั่นเพื่ออนาคต พร้อมด้วยร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างคำมั่นด้านดิจิทัลระดับโลกและร่างปฏิญญาว่าด้วยอนุชนรุ่นหลัง ซึ่งจะเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ร่างคำมั่นเพื่ออนาคต มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของรัฐสมาชิกสหประชาชาติในการส่งเสริมความร่วมมือที่มีสหประชาชาติเป็นแกนกลางใน 5 ด้าน ดังนี้ (1) การพัฒนาที่ยั่งยืนและการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนา (2) สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (3) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและ
ความร่วมมือด้านดิจิทัล (4) เยาวชนและอนุชนรุ่นหลัง (5) การเปลี่ยนแปลงธรรมาภิบาลโลก
2.2 เอกสารภาคผนวกของร่างคำมั่นเพื่ออนาคต มีจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างคำมั่นด้านดิจิทัลระดับโลกและร่างปฏิญญาว่าด้วยอนุชนรุ่นหลัง มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
 2.2.1 ร่างคำมั่นด้านดิจิทัลระดับโลก มีสาระสำคัญ เพื่อสร้างกรอบการทำงานระดับโลกที่ครอบคลุมการปิดช่องว่างด้านดิจิทัล ข้อมูล และนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เช่น (1) ลดช่องว่างในการเข้าถึงระบบดิจิทัลและเร่งรัดความก้าวหน้าตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) ขยายการมีส่วนร่วมและผลประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับทุกคน (3) ส่งเสริมพื้นที่ดิจิทัลที่ครอบคลุม เปิดกว้าง ปลอดภัย และมั่นคง
2.2.2 ร่างปฏิญญาว่าด้วยอนุชนรุ่นหลัง มีสาระสำคัญ เพื่อปกป้องความต้องการและผลประโยชน์ของอนุชนรุ่นหลัง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของคนรุ่นปัจจุบัน รวมถึงการตระหนักถึงบทบาทสำคัญของเด็กและเยาวชน ในฐานะตัวแทนของการเปลี่ยนแปลง รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
หลักการ เช่น          (1) ส่งเสริมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการสื่อสารกันระหว่างรุ่น
(2) ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน
(3) การส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างรับผิดชอบ และมีจริยธรรม
คำมั่น          (1) ส่งเสริมเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ
(2) สร้างสังคมที่สงบสุข ครอบคลุม และยุติธรรม
(3) ดำเนินนโยบายและโครงการเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ
(4) การให้เกียรติ ส่งเสริม และรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมรดก ทางวัฒนธรรม
การดำเนินการ          (1) ตระหนักถึงบทบาทหลักและความรับผิดชอบของรัฐบาลในทุกระดับที่สอดคล้องกับ
กรอบรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ในการปกป้องความต้องการและผลประโยชน์ของอนุชน
รุ่นหลัง
(2) ลงทุนในการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อวิกฤตและความท้าทายระดับโลกในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น
(3) การดำเนินแนวทางแบบองค์รวมภาครัฐมาใช้ในการประสานงาน ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เพื่อการพัฒนา ดำเนินการ และการประเมินผลของนโยบายในการคุ้มครอง ความต้องการและผลประโยชน์ของอนุชนรุ่นหลัง
(4) เสริมสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา                ภาควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภาคเอกชน และส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรุ่น เพื่อคุ้มครองความต้องการและผลประโยชน์ของอนุชนรุ่นหลัง
                              3. ประโยชน์ที่ได้รับ
                              3.1  ร่างเอกสารท่าทีไทยฯ เป็นเอกสารที่ใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการประชุมและเจรจาข้อมติซึ่งครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ตามระเบียบวาระของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ
3.2 ร่างเอกสารคำมั่นเพื่ออนาคต และร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ สะท้อนประเด็นที่รัฐสมาชิกสหประชาชาติแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะผลักดันสำหรับอนาคต

18. เรื่อง  ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ไทยได้ให้การรับรอง และ/หรือให้ความเห็นชอบในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 24 และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ไทยได้ให้การรับรอง และ/หรือให้ความเห็นชอบในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 24 และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ (1) ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (Joint Declaration on Economic Cooperation between the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) and the Member States of the European Free Trade Association (EFTA))  (2) ร่างแถลงการณ์ร่วมในการสรุปผลการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน อย่างมีนัยสำคัญ (Joint Statement on the Substantial Conclusion of the ASEAN - China Free Trade Area (ACFTA) Upgrade Negotiations) (3) ร่างถ้อยแถลงผู้นำอาเซียนบวกสามว่าด้วยการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาค (ASEAN Plus Three Leaders? Statement on Strengthening the Connectivity of Regional Supply Chains)  (4) ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระหว่างกัน (ASEAN Leaders? Declaration on Enhancing Supply Chain Connectivity)
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ข้อ 2.1 ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
                    3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้ความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ข้อ 2.2 และ ข้อ 2.3 ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ก่อนเสนอต่อนายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าว ในฐานะผู้นำอาเซียนต่อไป
                    4. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้ความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ข้อ 2.4 ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ก่อนเสนอรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบในฐานะ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอาเซียน และให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทน
ที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองในฐานะผู้นำอาเซียน ตามลำดับ
                    สาระสำคัญ
                    1. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในฐานะประธานอาเซียน ปี 2567 มีกำหนดจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และผู้นำอาเซียน ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ดังนี้
                              1.1 การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 15 - 22 กันยายน 2567
                              1.2 การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 6 - 7 ตุลาคม 2567
                              1.3 การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 9 - 11 ตุลาคม 2567
                    2. ในช่วงการประชุมตามข้อ 1 จะมีการรับรอง และ/หรือให้ความเห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ฯ ในระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอาเซียน และผู้นำอาเซียน จำนวน 4 ฉบับ โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                              2.1 ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (Joint Declaration on Economic Cooperation between the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) and the Member States of the European Free Trade Association (EFTA)) : เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนและประเทศสมาชิกเอฟตา ที่จะยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้เป็นไปอย่างยั่งยืนและครอบคลุม โดยการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนครอบคลุมประเด็น เช่น การค้าสินค้าและการอำนวยความสะดวกทางการค้า การค้าบริการ การลงทุน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และทรัพย์สินทางปัญญา และการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจครอบคลุมประเด็น เช่น การแข่งขัน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเกิดใหม่ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs)
                              2.2 ร่างแถลงการณ์ร่วมในการสรุปผลการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน อย่างมีนัยสำคัญ (Joint Statement on the Substantial Conclusion of the ASEAN-China Free Trade Area (ACFTA) Upgrade Negotiations) : เป็นแถลงการณ์ของผู้นำอาเซียนและจีนประกาศร่วมกัน ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญ ด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (Priority Economic Deliverables: PEDs) ภายใต้วาระการเป็นประธานอาเซียนของ สปป.ลาว ปี 2567
                              2.3 ร่างถ้อยแถลงผู้นำอาเซียนบวกสามว่าด้วยการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาค (ASEAN Plus Three Leaders? Statement on Strengthening the Connectivity of Regional Supply Chains) : เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของผู้นำอาเซียนบวกสามที่จะเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคให้เกิดความยืดหยุ่น ยั่งยืน และปลอดภัย รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของการเคลื่อนย้ายสินค้าการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและการค้าบริการอย่างเสรี และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการบูรณาการในระดับภูมิภาคผ่านความร่วมมือ รวมถึงการขับเคลื่อนประเด็นใหม่ ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจภาคทะเล และเศรษฐกิจสร้างสรรค์
                              2.4 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระหว่างกัน (ASEAN Leaders? Declaration on Enhancing Supply Chain Connectivity) : เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำเพื่อ (1) ยกระดับนวัตกรรม ความสามารถในการแข่งขัน และความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค (2) เร่งการเจรจาและการปรับปรุงข้อตกลงการค้าเสรีภายในและภายนอกของอาเซียน (3) เสริมสร้างการเชื่อมโยงจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค (4) ส่งเสริมการนำองค์ประกอบด้านความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาค เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนในอาเซียน (5) ขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้และการผสมผสานเทคโนโลยีขั้นสูง (6) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ (7) เพิ่มขีดความสามารถของ MSMES ในภูมิภาค ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ปี 2567
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง 4 ฉบับดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน คู่เจรจา และภาคีภายนอกของอาเซียน ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน และต่อยอดการดำเนินงานความร่วมมือภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา และภาคีภายนอกของอาเซียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทย และเสริมสร้างขีดความสามารถใหม่ ๆ อาทิ การเสริมสร้างการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระหว่างกัน การยกระดับความตกลง FTA ให้มีความทันสมัยและรองรับรูปแบบการค้าใหม่เพื่อนำไปสู่การขยายการค้าและการลงทุนในภูมิภาค การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านสีเขียว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีทางกฎหมายเพิ่มเติมต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

19. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้น และร่างแผนการดำเนินงานสหราชอาณาจักร-ไทย ฉบับที่ 2
                    คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้น และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว
                    2. เห็นชอบร่างแผนการดำเนินงานสหราชอาณาจักร-ไทย ฉบับที่ 2 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างเอกสารดังกล่าว
                    3. ทั้งนี้ หากในการหารือร่วมมีผลให้มีการปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารหรือมีการตกลงในประเด็นอื่น ๆ ด้านเศรษฐกิจการค้าที่นอกเหนือจากข้อ 4 ที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย หรือช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าสองฝ่าย โดยไม่มีการจัดทำเป็นความตกลงหรือหนังสือสัญญาขึ้นมา ขอให้กระทรวงพาณิชย์และผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการหารือดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบในภายหลัง
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงพาณิชย์ได้จัดการประชุมเตรียมการฝ่ายไทยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 และการประชุมเพื่อพิจารณาและขอรับความเห็นต่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ ว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้น (ETP) และแผนการดำเนินงานสหราชอาณาจักร-ไทย ฉบับที่ 2 รวมทั้ง ได้หารือกับกระทรวงธุรกิจและการค้าของสหราชอาณาจักรเพื่อดำเนินการจัดทำร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับข้างต้น โดยสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อร่างเอกสารฯ เป็นระยะ และสามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้แล้ว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ส่งร่างเอกสารดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา และได้ปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารฯ ให้เป็นไปตามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร   บริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้น (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland for an Enhanced Trade Partnership) เป็นบันทึกความเข้าใจที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ในกรอบระยะเวลา 2 ปี โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนาม เพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมการยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนของสองฝ่ายให้เป็นไปอย่างแน่นแฟ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แสวงหาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้า ช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า รวมถึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมความร่วมมือในสาขายุทธศาสตร์ที่สองฝ่ายเห็นประโยชน์ร่วมกัน มีเป้าหมายเพื่อช่วยขับเคลื่อนความสัมพันธ์ทางการค้าที่มีความทะเยอทะยานสูง และสนับสนุนเป้าหมายร่วมกันในการเพิ่มมูลค่าทางการค้าให้มีสถิติใหม่ที่สูงกว่าเดิม โดยเป็นการต่อยอดจากแผนการดำเนินงาน
สหราชอาณาจักร - ไทยฉบับแรก และขยายสาขาความร่วมมือใหม่ ๆ เพื่อริเริ่มสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน รวม 20 สาขา ได้แก่ (1) ยานยนต์ (2) ดิจิทัล (3) การศึกษา (4) มาตรฐาน (5) เกษตร อาหาร และเครื่องดื่ม (6) การลงทุน (7) มาตรการทางเทคนิค (8) สุขภาพ (9) ศุลกากร (10) การแข่งขัน การอุดหนุน และรัฐวิสาหกิจ (11) บริการทางการเงิน (12) พหุภาคี (13) ทรัพย์สินทางปัญญา (14) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (15) การค้าบริการ (16) มาตรการเยียวยาทางการค้า (17) สิ่งแวดล้อม (18) การเติบโตอย่างสะอาด (19) แรงงาน และ (20) การท่องเที่ยว
                    2. ร่างแผนการดำเนินงานสหราชอาณาจักร-ไทย ฉบับที่ 2 (UK-TH Workplan 2.0) เพื่อระบุกิจกรรมสำคัญและสาขาความร่วมมือที่สองฝ่ายประสงค์จะดำเนินการร่วมกันเพื่อผลักดันการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้น (ETP) ให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมบนพื้นฐานการได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย โดยระบุถึง กิจกรรมและสาขาความร่วมมือที่สองฝ่ายจะดำเนินการร่วมกันภายใต้กรอบ JETCO ในช่วง 2 ปี เช่น (1) ความร่วมมือด้านการค้า ประกอบด้วยการประชุมหารือความร่วมมือทางการค้าและการสนับสนุนการขยายกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างกัน (2) ยานยนต์ การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในด้านมาตรฐานและข้อกำหนดทางเทคนิคด้านยานยนต์ (3) ดิจิทัล เช่น สานต่อความร่วมมือและโครงการด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีที่มีอยู่ผ่านการดำเนินงานของคณะทำงานร่วม โครงการนำร่องการค้าดิจิทัล และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจดิจิทัล/เทคโนโลยีระหว่างเอกชนของไทยและสหราชอาณาจักร (4) มาตรฐาน การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันมาตรฐานของสหราชอาณาจักรและสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (5) เกษตร อาหาร และเครื่องดื่ม เช่น การประชุมหารือด้านการเกษตร การประชุมเชิงปฏิบัติการและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางอาหาร และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้า (6) การลงทุน เช่น การประชุมหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุน และ (7) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการที่ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมของ SMEs ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
                    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                    ร่างเอกสารฯ ทั้ง 2 ฉบับ จะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนความร่วมมือภายใต้กรอบคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย-สหราชอาณาจักร โดยแสดงถึงความมุ่งมั่นจากระดับนโยบายของสองฝ่ายในการส่งเสริมและยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า และการลงทุนให้เป็นไปอย่างแน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ผ่านการกำหนดกิจกรรมและรูปแบบความร่วมมือที่ต่อยอดจากแผนการดำเนินงานฯ ฉบับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขายุทธศาสตร์สำคัญที่สองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน ซึ่งจะส่งเสริมศักยภาพที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน และจะเป็นช่องทางสำคัญในการผลักดันไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันตามที่รัฐบาลของทั้งสองฝ่ายได้หารือกันไว้และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลไทยในการใช้การทูตเศรษฐกิจเชิงรุกเพื่อเปิดประตูการค้า โดยจะช่วยสนับสนุนการนำไปสู่การยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง ตอบสนองต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ รวมทั้งเป็นการวางรากฐานเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกันในอนาคต
20. เรื่อง ร่างความตกลงระหว่างทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การแต่งตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น International Atomic Energy Agency Collaborating Centre - Anchor Centre
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการจัดทำร่างความตกลงระหว่างทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การแต่งตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น International Atomic Energy Agency Collaborating Centre - Anchor Centre ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างความตกลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งเห็นชอบมอบหมายให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้แทนในการลงนามร่าง
ความตกลงดังกล่าว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. โครงการ Rays of Hope เป็นโครงการเรือธง (Flagship) ของ IAEA เพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกในการจัดตั้งหรือขยายขีดความสามารถของประเทศสมาชิกในการใช้เทคนิคทางนิวเคลียร์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาสุขภาพของมนุษย์ในกรอบ ?เวชศาสตร์รังสีวิทยาต่อต้านมะเร็ง? โดยจะใช้ประสบการณ์ของ IAEA และการจัดตั้งพันธมิตรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการเข้าถึงเวชศาสตร์การฉายรังสี โดย IAEA จะพิจารณาสนับสนุนประเทศสมาชิกในการจัดตั้งศูนย์มะเร็งแห่งแรก หรือปรับปรุงศูนย์มะเร็งในประเทศสมาชิกด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและขีดความสามารถที่มีอยู่
                    ภายใต้โครงการดังกล่าว IAEA ได้มีการจัดตั้ง Anchor Centre ซึ่งเป็นการรับรองสถาบันทางการแพทย์ของประเทศสมาชิก เพื่อใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับภูมิภาคในการศึกษา อบรม และดูงานทางด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์และฟิสิกส์การแพทย์ให้แก่ประเทศสมาชิกที่มีความสนใจโดย Anchor Centre จะต้องมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการดูแลสุขภาพในประเทศเป้าหมายระดับภูมิภาคที่เลือก ทั้งนี้ รูปแบบกิจกรรมของ Anchor Centre จะกำหนดภายใต้ความตกลงระหว่าง Anchor Centre และ IAEA
                    2. ร่างความตกลงระหว่าง IAEA กับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การแต่งตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น IAEA Collaborating Centre - Anchor Centre เป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือที่ไม่ผูกขาดระหว่างคู่สัญญา ในด้านการเสริมสร้างศักยภาพและระบบสุขภาพในรูปแบบ Anchor Centre โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ Anchor Centre จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ด้านการแพทย์รังสี สาขาการถ่ายภาพมะเร็ง (รังสีวิทยาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์) รังสีวิทยามะเร็ง และฟิสิกส์การแพทย์ แก่ประเทศสมาชิกของ IAEA ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศสมาชิกในภูมิภาคอื่น ตามแผนงานที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างความตกลงฉบับนี้และการรายงานผลการดำเนินงานให้ IAEA ทราบ โดยมีกิจกรรมภายใต้แผนงานครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น
                              - การฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย หรือแพทย์ประจำบ้านตามคำแนะนำของ IAEA ในสาขาความเชี่ยวชาญของ Anchor Centre
                              - การจัดหาผู้เซี่ยวชาญด้านรังสีวิทยา เวชศาสตร์นิวเคลียร์ และฟิสิกส์การแพทย์ให้กับ IAEA
                              - การให้คำแนะนำทางเทคนิคแก่ IAEA และประเทศสมาชิกเกี่ยวกับการสร้างขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้รังสีวิทยา เวชศาสตร์นิวเคลียร์ และมะเร็งวิทยารังสีทางคลินิก
                              - การสนับสนุนการจัดประชุมและการฝึกอบรมของ IAEA ในสาขารังสีวิทยา เวชศาสตร์นิวเคลียร์ และฟิสิกส์การแพทย์
                              - การสนับสนุนกิจกรรมของ IAEA ในการปรับปรุงคุณภาพในสาขารังสีรักษา
                              - การเสริมสร้างศักยภาพที่เกี่ยวข้อง
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    ร่างความตกลงดังกล่าวเป็นโอกาสสำคัญอย่างยิ่งในการที่ประเทศไทยจะได้ทำงานร่วมกับ IAEA ในการพัฒนางาน การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และการวิจัย รวมถึงการสร้างนวัตกรรมด้านรังสีทางการแพทย์ ได้แก่ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์และฟิสิกส์การแพทย์ ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งให้กับทั้งประเทศไทยและประเทศสมาชิกของ IAEA อีกทั้ง มีโอกาสที่ IAEA จะให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยในการพัฒนางานด้านรังสีทางการแพทย์ให้แก่ประเทศไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ การรับรองคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น Anchor Centre ภายใต้โครงการเรือธงด้านการรักษามะเร็ง (Flagship cancer initiative; Rays of Hope Anchor Centre) ของ IAEA ถือเป็นการจัดตั้งศูนย์แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่งตั้ง
21. เรื่อง การมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ  ดังนี้
                    1. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
                      2. นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล
                    ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

22. เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายวีริศ อัมระปาล ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
                      ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

23. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  313/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่  313/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
          ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี                 ตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่        3 กันยายน 2567  นั้น
          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7)               พ.ศ. 2550 และมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1  นิยาม

                    ในคำสั่งนี้
                    ?กำกับการบริหารราชการ? หมายความว่า  กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้
ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 กันยายน 2566 เกี่ยวกับ
การมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีอนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ
ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
 ?สั่งและปฏิบัติราชการ? หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการ หรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
                    ?กำกับดูแล?  หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ

ส่วนที่ 2
          1.          รองนายกรัฐมนตรี  (นายภูมิธรรม   เวชยชัย)
          1.1           การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                        1.1.1          กระทรวงกลาโหม
                                        1.1.2          กระทรวงยุติธรรม
                              1.1.3          สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                              1.1.4          สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                              1.1.5          สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
                    1.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                        1.2.1          สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                                        1.2.2          สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                                        1.2.3          สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
                                        1.2.4          สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
                                        1.2.5          สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
                                        1.2.6          ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
          1.3  ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.2 ยกเว้น
                    1.3.1          เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
                    1.3.2          การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
                    1.3.3          การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
                    1.3.4          การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
                    1.3.5          การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
                    1.3.6            การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
                    1.3.7           เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม

ส่วนที่ 3
2.    รองนายกรัฐมนตรี  (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ)
          2.1           การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    2.1.1          กระทรวงการต่างประเทศ
                    2.1.2          กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                    2.1.3          กระทรวงคมนาคม
                    2.1.4          กระทรวงวัฒนธรรม
                    2.1.5          สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                    2.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              2.2.1          สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
                                        2.2.2                              สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
          2.3          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    2.3.1          สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
                    2.3.2          สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
          2.4  การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี
          2.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณี
ในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7

ส่วนที่ 4
3.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล)
          3.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    3.1.1            กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
                    3.1.2          กระทรวงมหาดไทย
                    3.1.3          กระทรวงแรงงาน
                                        3.1.4          กระทรวงศึกษาธิการ
                    3.2          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    3.2.1            สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

                              3.3  ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณี
ในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7

ส่วนที่ 5
4.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค)
          4.1           การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                        4.1.1          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                    4.1.2           กระทรวงพลังงาน
                    4.1.3          กระทรวงอุตสาหกรรม
          4.2          ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.3.1
ถึงข้อ 1.3.7

ส่วนที่ 6
5.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายพิชัย  ชุณหวชิร)
          5.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    5.1.1            กระทรวงการคลัง
                    5.1.2           กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                                        5.1.3          กระทรวงพาณิชย์
                                        5.1.4          สำนักงบประมาณ (ยกเว้นที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรี
ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ)
                    5.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                        5.2.1          สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                              5.2.2          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
          5.3          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้                                        5.3.1           สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                    5.4           ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 5.1 ถึงข้อ 5.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7

ส่วนที่ 7
6.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายประเสริฐ  จันทรรวงทอง)
          6.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    6.1.1          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    6.1.2          กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
                    6.1.3          กระทรวงสาธารณสุข
                    6.1.4          กรมประชาสัมพันธ์
                    6.1.5          สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
                    6.1.6          สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
                    6.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              6.2.1          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
                                        6.2.2                              สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
                              6.3          การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    6.3.1          สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
                    6.3.2          สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
                    6.3.3          สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
                    6.3.4          สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
                    6.3.5          สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
                    6.3.6          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                    6.3.7          สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
                    6.3.8          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
          6.4          ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 6.1 ถึงข้อ 6.3 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณี
ในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7
ส่วนที่ 8
          7.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์  ศิรินิล)
                              7.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                        7.1.1                    สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                                        7.1.2                    สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
                                        7.1.3                    สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
                                        7.1.4                              สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                              7.1.5          สำนักงบประมาณ
                              7.1.6          สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                              7.1.7          สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)

ส่วนที่ 9
                     8.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นางสาวจิราพร  สินธุไพร)
                    8.1           การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              8.1.1          กรมประชาสัมพันธ์
                              8.1.2          สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
                              8.1.3          สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
          8.2          การมอบหมายให้กำกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
                    8.2.1          บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
8.3  การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    8.3.1          สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ส่วนที่ 10
          9.  รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ  ดังนี้
                    9.1                    การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
                    9.2                    การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น
เป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
                    9.3                    การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
                    9.4                    การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
          10.          รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจปฏิบัติแทนนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ
          11.          ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย
          12.          ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ
            13. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม
          14.           ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
                    ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  16  กันยายน  พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

24. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  314/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  314/2567 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
          ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี                    ตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่   3 กันยายน 2567  นั้น
          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย
การมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

ส่วนที่ 1
          1.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายภูมิธรรม  เวชยชัย)
                    1.1  การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                              1.1.1          สภาความมั่นคงแห่งชาติ
                              1.1.2          คณะกรรมการคดีพิเศษ
                              1.1.3          คณะกรรมการกฤษฎีกา
                              1.1.4          คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                              1.1.5          คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
                    1.2  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                              1.2.1          คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
                              1.2.2          คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
                              1.2.3          คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
                              1.2.4          คณะกรรมการกำลังพลสำรอง
                              1.2.5          คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
1.2.6          คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
          1.3  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    1.3.1          คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
                              1.3.2                              คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ประจำปี
1.3.3          คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
1.3.4          คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม
          1.4  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    1.4.1          รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ                              1.4.2          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
          1.5  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    1.5.1          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 2
2.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ)
          2.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
2.1.1          คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
2.1.2          คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
2.1.3          คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
2.1.4          คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
2.1.5          คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
             2.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    2.2.1          คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
                    2.2.2          คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
          2.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    2.3.1          คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                     2.3.2          คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
                    2.3.3          คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
                    2.3.4          คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                    2.3.5          คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
                    2.3.6          คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง
                    2.3.7          คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
                              2.3.8          คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
                    2.3.9          คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ
                    2.3.10          คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
          2.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    2.4.1          คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
                    2.4.2          คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ
          2.4.3          คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
                    2.4.4          คณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติราชการ
                    2.4.5          คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
          2.4.6          คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
2.4.7          คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
                              2.4.8                    คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย
                              สำนักนายกรัฐมนตรี
.                    2.4.9                    คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ
          2.5   การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    2.5.1          รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                    2.5.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
                    2.5.3          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา
จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.5.4          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    2.5.5          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถ
                              ในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
2.5.6          อุปนายกสภาลูกเสือไทย
                    2.5.7          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
          2.6          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    2.6.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
                    2.6.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
                    2.6.3                    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
2.6.4          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สิน
ทางปัญญาแห่งชาติ
                    2.6.5          รองประธานกรรมการคนที่ 1 ในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
                    2.6.6          กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน

ส่วนที่ 3
3.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล)
          3.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.1.1          สภานายกสภาลูกเสือไทย
          3.1.2          คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
3.1.3          คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
          3.2          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    3.2.1          คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
                    3.2.2          คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ
                    3.2.3          คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
          3.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
3.3.1          คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
3.3.2          คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ
3.3.3          คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
3.3.4          คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
3.3.5          คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
                    3.3.6          คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
                    3.3.7           คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
3.3.8          คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
3.3.9          คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
          3.3.10          คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
          3.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    3.4.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
                    3.4.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
                    3.4.3          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
                    3.4.4           รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
                    3.4.5          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
          3.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              3.5.1                    กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
                                        ของประเทศ
3.5.2                    กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 4
4.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค)
          4.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                              4.1.1          คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
4.1.2          คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
4.1.3          คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
4.1.4          คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
4.1.5          คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
          4.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.2.1           คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
          4.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    4.3.1          คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
                    4.3.2          คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ
4.3.3          คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
4.3.4          คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว
4.3.5          คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
4.3.6          คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
             4.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    4.4.1          คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ
                    4.4.2          คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
                    4.4.3          คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
                    4.4.4          คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
                    4.4.5          คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
          4.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    4.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
                    4.5.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม
                    4.5.3          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
                    4.5.4          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
          4.6           การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    4.6.1                    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
                          4.6.2          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 5
          5.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายพิชัย  ชุณหวชิร)
          5.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.1.1          คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
                    5.1.2          คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ
                    5.1.3          คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
                    5.1.4          คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
                    5.1.5          คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
                    5.1.6          คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
          5.1.7          คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
          5.1.8          คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
                    5.1.9          คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
          5.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                              5.2.1          คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
                              5.2.2          คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมาย
                                                  เพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
5.2.3          คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
5.2.4          คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
5.2.5          คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
5.2.6          คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                    5.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                                        5.3.1          คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
                                        5.3.2          คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
          5.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    5.4.1          คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
                    5.4.2          คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
                    5.4.3          คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
                    5.4.4          คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
                    5.4.5          คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
                    5.4.6          คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
                    5.4.7          คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
                    5.4.8          คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน
                              โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
          5.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    5.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
                    5.5.2          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
          5.6          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                              5.6.1                    รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                    5.6.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
                    5.6.3                    กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 6
6.            รองนายกรัฐมนตรี  (นายประเสริฐ  จันทรรวงทอง)
          6.1          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
6.1.1          คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
                                        6.1.2           คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                              6.1.3                    คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.1.4              คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
6.1.5          คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
6.1.6          คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
6.1.7          คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
6.1.8          คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
6.1.9          คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
6.1.10          คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
6.2          การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                    6.2.1          คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                                        6.2.2           คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
                    6.2.3          คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
                    6.2.4          คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
          6.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    6.3.1          คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
6.3.2          คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
6.3.3           คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
                    6.3.4          คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
                    6.3.5          คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
                    6.3.6          คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
                    6.3.7          คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
6.3.8          คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ
6.3.9          คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล
และชายฝั่งแห่งชาติ
6.3.10          คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน
            6.4          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    6.4.1          คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
                    6.4.2          คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
                                        6.4.3          คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
6.4.4          คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
                    6.4.5          คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
                    6.4.6          คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
                                        6.4.7          คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
          6.5          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    6.5.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ
                              ภาคตะวันออก
                    6.5.2          กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
             6.6          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    6.6.1                    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
                    6.6.2          รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สิน
ทางปัญญาแห่งชาติ
          6.6.3          กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทาน
                    เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
6.6.4          กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ส่วนที่ 7
          7.           รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์  ศิรินิล)
           7.1  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                                   7.1.1           คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
                              7.2            การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
            7.2.1            คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
                    7.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    7.3.1                    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                    7.3.2                    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม
                    7.3.3                    กรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
                               7.3.4                     กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                     7.3.5                    กรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
                     7.3.6                    กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
          7.4           การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    7.4.1           รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
                        7.4.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
                         7.4.3          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มี
            โฉนดชุมชน
                     7.4.4          รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                     7.4.5          รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
                               7.4.6          กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
                               7.4.7          กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

ส่วนที่ 8

          8.            รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นางสาวจิราพร  สินธุไพร)
          8.1            การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
8.1.1          คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
           8.2          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                    8.2.1          กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
          8.3          การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                    8.3.1          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
                    8.3.2          รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
                    8.3.3          รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
                    8.3.4          รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ

ส่วนที่ 9
           9.  เมื่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
          10.  ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณา และข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
          11.  ในส่วนการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีคนใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไป
ตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนั้น

                    ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  16  กันยายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

25. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 315/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 315/2567 เรื่อง  มอบหมายให้
รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
          ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2567  นั้น
          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบ
บูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ลงวันที่ 10 กันยายน 2561 จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1.  พื้นที่
                              1.1  รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม  เวชยชัย) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
          1) เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
          2) เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่
          3) เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี
1.2  รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย  จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
2) เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร
3) เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
1.3  รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดสมุทรสาคร
2) เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่ง
อันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล
3) เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
1.4  รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค) กำกับและติดตาม
การปฏิบัติราชการ ดังนี้
                      1) เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
                              2) เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
                                                                      3) เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่ง
อ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา
                    1.5  รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย  ชุณหวชิร) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ
          2) เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
                                                                      3) เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี
และจังหวัดสระแก้ว
1.6  รองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ  จันทรรวงทอง) กำกับและติดตาม
การปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด
                    2) เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
          3) เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ
และจังหวัดอุบลราชธานี
          2.  การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ
การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย
          3.  ให้รองนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
          4.  ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี
ติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทนแล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
          5.  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย
          6.  ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของ
รองนายกรัฐมนตรี จากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
                    ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  16  กันยายน  พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

26. เรื่อง  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 320/2567 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 320/2567 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                         ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2567  นั้น
          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับ
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่  17  กันยายน 2567 นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่ง
มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

          ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
          1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
เป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ตามลำดับ  ดังนี้
          1.1            นายภูมิธรรม          เวชยชัย
          1.2          นายสุริยะ          จึงรุ่งเรืองกิจ
          1.3          นายอนุทิน          ชาญวีรกูล
          1.4          นายพีระพันธุ์          สาลีรัฐวิภาค
          1.5                    นายพิชัย          ชุณหวชิร
          1.6                    นายประเสริฐ          จันทรรวงทอง

          2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
          ส่วนที่  2  การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                    ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้


ลำดับที่          รองนายกรัฐมนตรี          รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ
1          นายภูมิธรรม      เวชยชัย           1. นายสุริยะ                  จึงรุ่งเรืองกิจ
                     2. นายอนุทิน                 ชาญวีรกูล
2          นายสุริยะ         จึงรุ่งเรืองกิจ            1. นายอนุทิน                 ชาญวีรกูล
                     2. นายพีระพันธุ์              สาลีรัฐวิภาค
3           นายอนุทิน        ชาญวีรกูล            1. นายพีระพันธุ์              สาลีรัฐวิภาค
                      2. นายพิชัย                   ชุณหวชิร
4          นายพีระพันธุ์     สาลีรัฐวิภาค            1. นายพิชัย                   ชุณหวชิร
                      2. นายประเสริฐ              จันทรรวงทอง
5          นายพิชัย          ชุณหวชิร               1. นายประเสริฐ              จันทรรวงทอง
                      2. นายภูมิธรรม               เวชยชัย
6          นายประเสริฐ     จันทรรวงทอง            1. นายภูมิธรรม               เวชยชัย
                      2. นายสุริยะ                  จึงรุ่งเรืองกิจ

          ส่วนที่ 3  การมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการ
แทนนายกรัฐมนตรี
                    ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้

ลำดับที่          รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี          รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ปฏิบัติราชการแทนกัน
1          นายชูศักดิ์        ศิรินิล            นางสาวจิราพร         สินธุไพร
2          นางสาวจิราพร   สินธุไพร            นายชูศักดิ์               ศิรินิล

                    ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน  พ.ศ. 2567  เป็นต้นไป

27. เรื่อง  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 311/2567  เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 311/2567  เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
                    เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา ตลอดจนการประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ด้านนิติบัญญัติให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุน การดำเนินการของคณะรัฐมนตรีในการเสนอร่างกฎหมาย และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ อันจะส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อย จึงสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญเหมาะสม เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 184 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวกับกิจการของสภา
ขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) โดยมีองค์ประกอบหน้าที่
และอำนาจ ดังต่อไปนี้
                    1.  องค์ประกอบ
1.1          คณะที่ปรึกษา
          (1) รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์  ศิรินิล          ที่ปรึกษา/กรรมการ
          (2) นางมนพร  เจริญศรี          ที่ปรึกษา/กรรมการ
          (3) นายสมคิด  เชื้อคง          ที่ปรึกษา/กรรมการ
          (4) นายบุญสิงห์  วรินทร์รักษ์          ที่ปรึกษา/กรรมการ

1.2           คณะกรรมการ
          (1) นายวิสุทธิ์  ไชยณรุณ          ประธานกรรมการ
          (2) นายครูมานิตย์  สังข์พุ่ม          รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง
          (3) นายโอชิษฐ์  เกียรติก้องชูชัย          รองประธานกรรมการ คนที่สอง
          (4) นางสาวชนก  จันทาทอง          รองประธานกรรมการ คนที่สาม
          (5) นายอาสพลธ์  สรรณ์ไตรภพ          รองประธานกรรมการ คนที่สี่
          (6) นางพิชชารัตน์  เลาหพงศ์ชนะ          รองประธานกรรมการ คนที่ห้า

(7) นายประมวล  พงศ์ถาวราเดช          รองประธานกรรมการ คนที่หก
          (8) นายมนัสนันท์  หลีนวรัตน์          กรรมการ
          (9) นางสาวสกุณา  สาระนันท์          กรรมการ
          (10) นายวันนิวัติ  สมบูรณ์          กรรมการ
          (11) นายพลากร  พิมพะนิตย์          กรรมการ
          (12) นายวัชระพล  ขาวขำ          กรรมการ
          (13) นางสาวประภาพร  ทองปากน้ำ          กรรมการ
          (14) นางสาววิสาระดี  เตชะธีราวัฒน์          กรรมการ
          (15) นายชนินทร์  รุ่งธนเกียรติ          กรรมการ
          (16) นางสาวขัตติยา  สวัสดิผล          กรรมการ
          (17) นายวรวงศ์  วรปัญญา          กรรมการ
          (18) นางสาวลิณธิภรณ์  วริณวัชรโรจน์          กรรมการ
          (19) นายอัครนันท์  กัณณ์กิตตินันท์          กรรมการ
          (20) นายจิรวัฒน์  ศิริพานิชย์          กรรมการ
          (21) นายรวี  เล็กอุทัย          กรรมการ
          (22) นายศิรสิทธิ์  เลิศด้วยลาภ          กรรมการ
          (23) นางสาวแนน  บุณย์ธิดา  สมชัย          กรรมการ
          (24) นางสุขสมรวย  วันทนียกุล          กรรมการ
          (25) นายอดิพงษ์  ฐิติพิทยา          กรรมการ
          (26) นายธนา  กิจไพบูลย์ชัย          กรรมการ
          (27) นายสังคม  แดงโชติ          กรรมการ
          (28) นางสาวพิมพฤดา  ตันจรารักษ์          กรรมการ
          (29) นางสาวผกามาศ  เจริญพันธ์          กรรมการ
          (30) นายชลัฐ  รัชกิจประการ          กรรมการ
          (31) นายกรวีร์  ปริศนานันทกุล          กรรมการ
          (32) นายซาการียา  สะอิ          กรรมการ
          (33) นายวิทยา  แก้วภราดัย          กรรมการ
          (34) นายอัครเดช  วงษ์พิทักษ์โรจน์          กรรมการ
          (35) นายวิชัย  สุดสวาสดิ์          กรรมการ
          (36) นางสาวกานสินี  โอภาสรังสรรค์          กรรมการ
          (37) นายอนุชา  บูรพชัยศรี          กรรมการ
          (38) นายร่มธรรม  ขำนุรักษ์          กรรมการ
          (39) นายกาญจน์  ตั้งปอง          กรรมการ
          (40) นายพิทักษ์เดช  เดชเดโช          กรรมการ

(41) นายเสมอกัน  เที่ยงธรรม          กรรมการ

(42) นายอนุรักษ์  จุรีมาศ          กรรมการ
          (43) นายซูการ์โน  มะทา          กรรมการ
          (44) นายสมมุติ  เบ็ญจลักษณ์          กรรมการ
          (45) นายวรรณรัตน์  ชาญนุกูล          กรรมการ
          (46) นางพิมพกาญจน์  พลสมัคร          กรรมการ
          (47) นายศรัณย์  ทิมสุวรรณ          กรรมการและเลขานุการ

1.3           ผู้แทนส่วนราชการ
          (1)           ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี          กรรมการ
          (2)           ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา          กรรมการ
          (3)           ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร          กรรมการ
1.4           ฝ่ายเลขานุการ
          (1) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
          ด้านประสานกิจการภายในประเทศ
          สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี          กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

          (2)           ผู้อำนวยการกองประสานงานการเมือง
               สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี          กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
          (3)           ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 1
               กองประสานงานการเมือง
               สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี          กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
          (4)           เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
               ที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน          ผู้ช่วยเลขานุการ

          2.           หน้าที่และอำนาจ
                    2.1 พิจารณาดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความราบรื่นและเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา
                    2.2 ประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง
ในปัญหาต่างๆ ด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภาอื่นๆ ทั้งการเสนอร่างกฎหมายและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภา ให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น
                    2.3  พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานและมีมติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบหรือเห็นชอบแล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ มติของคณะกรรมการต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี พร้อมแจ้งคณะรัฐมนตรี
                    2.4  ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา คณะกรรมการสามารถพิจารณาวินิจฉัยที่จะเปลี่ยนแปลงมติของคณะกรรมการตามข้อ 2.3 ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น
                    2.5  ขอความร่วมมือส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
เข้าชี้แจงข้อเท็จจริง และจัดส่งเอกสารข้อมูลให้แก่คณะกรรมการ
                    2.6  ให้ประธานกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงาน
ในเรื่องต่างๆ ของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
                    2.7  ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
          3.           องค์ประชุม
                    การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม
                    ในการนี้ ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ
พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการโดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
          ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน  พ.ศ.  2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ