สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ชุด นางสาวแพทองธาร ชินวัตร(นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 ตุลาคม 2567

ข่าวการเมือง Tuesday October 1, 2024 17:00 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (1 ตุลาคม 2567) เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

เศรษฐกิจ-สังคม
1.           เรื่อง           กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2568
2.           เรื่อง           ขออนุมัติขยายระยะเวลาและขยายกรอบวงเงินโครงการ โครงการคลองระบายน้ำหลาก

บางบาล - บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3.           เรื่อง           ขออนุมัติดำเนินโครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา  จังหวัดสุโขทัย
4.           เรื่อง           การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการแก้ไขปัญหา                    หนี้สินเกษตรกรตามโครงการแผนฟื้นฟูการเกษตร (ผกก.) และโครงการปรับโครงสร้างและระบบ                              การผลิตการเกษตร (คปร.)
5.           เรื่อง           ขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 160 ยูนิต 11 ชั้น (โครงสร้างต้านแผ่นดินไหว)                     โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 1 หลัง และขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้าง                              อาคารพักเจ้าหน้าที่ 160 ยูนิต 11 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 10,149 ตารางเมตร (โครงสร้างต้านแผ่นดินไหว)                     โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 1 หลัง
6.           เรื่อง           แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2568
7.           เรื่อง           การขอต่ออายุเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
8.           เรื่อง           การปรับปรุงอัตราเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกของคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนของ                    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
9.           เรื่อง           การมอบหมายให้กรมท่าอากาศยานมอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานตากให้กับ

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

10.           เรื่อง           ขอผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีสำหรับ                    โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4027 สายท่าเรือ - เมืองใหม่ ตอน บ้านเมืองใหม่ ? ทางแยก                    เข้าสนามบินภูเก็ต ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
11.           เรื่อง            รายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน
12.           เรื่อง           ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการพนันออนไลน์
13.           เรื่อง           การปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost UP

ของธนาคารออมสิน

14.           เรื่อง           การผ่อนผันให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และ                              ดำเนินการ ซ่อมแซม ปรับปรุง และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์

ต่างประเทศ

15.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง ? ล้านช้าง                               ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน                    ประจำประเทศไทย
16.           เรื่อง           การจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือ                    เดินทางราชการ/พิเศษระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐกาตาร์
17.           เรื่อง          เอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 3 ที่กรุงโดฮา
18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและ                              วัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 32 และร่างเอกสารผลลัพธ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
19.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และ                    การประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
20.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและ                              วัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 32 และร่างเอกสารลัพธ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
21.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ด้านแรงงานสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44

และ45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง

แต่งตั้ง

22.           เรื่อง           การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ                              ความมั่นคงของมนุษย์
23.           เรื่อง           การมอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
24.          เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
25.           เรื่อง           การแต่งตั้งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กระทรวงมหาดไทย)
26.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

27.            เรื่อง           แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                (กระทรวงการต่างประเทศ)
29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการพัฒนา                    สังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
30.           เรื่อง           แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
31.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหารสูง)
32.           เรื่อง            การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
33.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
34.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงศึกษาธิการ)
35.           เรื่อง            การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการต่างประเทศ)
36.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
37.           เรื่อง            การแต่งตั้งข้าราชการเมือง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
38.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
39.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงแรงงาน)
40.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพลังงาน)
41.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
42.            เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
43.           เรื่อง            การเปิดสถานกงสุลใหญ่ราชอาณาจักรกัมพูชา ณ จังหวัดสงขลา
44.           เรื่อง           การให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร   (Deputy                     Chief Executive Officer, DCEO) ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย (Ms. Yusrinawati Ibaruslan)

เศรษฐกิจ-สังคม
1. เรื่อง กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2568
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและรับทราบตามที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ                          (สภาพัฒนาฯ)  (สศช.)  เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีวงเงินดำเนินการ จำนวน 1,512,294 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 264,106 ล้านบาท ประกอบด้วย                (1) กรอบการลงทุนสำหรับงานตามภารกิจปกติและโครงการที่ได้รับอนุมัติตามขั้นตอนแล้ว วงเงินดำเนินการ จำนวน 1,212,294 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 214,106 ล้านบาท และ (2) กรอบการลงทุนสำหรับการเพิ่มเติม ระหว่างปี วงเงินดำเนินการ จำนวน 300,000 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 50,000 ล้านบาท เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการและให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ทันทีภายในปีงบประมาณ
                    2. เห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับวงเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2568 ให้สอดคล้องกับผลการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมงบกลาง หรืองบประมาณที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์วิธีการงบประมาณหรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ (สงป.) แล้ว และปรับเพิ่มกรอบวงเงินดำเนินการและกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี
                    3. เห็นควรมอบหมายให้สภาพัฒนาฯ โดยประธานสภาพัฒนาฯ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีภายใต้กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2568 ที่ได้รับความเห็นชอบไว้แล้ว เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินการ สำหรับโครงการลงทุนที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบตามขั้นตอนและการลงทุนที่ใช้เงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เห็นควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการได้เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ทั้งนี้ กำหนดเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของวงเงินอนุมัติเบิกจ่ายลงทุน
                    4. เห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระดับกระทรวง และระดับรัฐวิสาหกิจ โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจรับข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการ และเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนปี 2568 ให้ สศช. ทราบภายในทุกวันที่ 5 ของเดือน อย่างเคร่งครัด รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะและความก้าวหน้าการทำเป็นโครงการลงทุนทุกไตรมาส                           เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างต่อเนื่อง
                    5. รับทราบประมาณการงบทำการประจำปีงบประมาณ 2568 ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 89,086 ล้านบาท และประมาณการแนวโน้มการดำเนินงานช่วงปี 2569 - 2571 ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้นที่คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ 352,939 ล้านบาท และผลประกอบการจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณปีละ 90,808 ล้านบาท
                    6. เห็นชอบการปรับปรุงงบลงทุนประจำปีงบประมาณ 2567 โดยปรับเพิ่มวงเงินดำเนินการ จำนวน 1,965.81 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 987.59 ล้านบาท แบ่งเป็น
งบลงทุนของบริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด โดยปรับเพิ่มวงเงินดำเนินการและเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 973.81 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการระบบผลิตไฟฟ้าโดยใช้แสงอาทิตย์เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตน้ำเย็น PTC Chiller Plant บริเวณพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวและบ่อน้ำด้านทิศเหนือของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และโครงการระบบผลิตไฟฟ้าโดยใช้แสงอาทิตย์ บริเวณบ่อน้ำทิศใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังคาอาคารจอดรถโซน 2 หลังคาอาคารครัวการบินไทย และหลังคาอาคารโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และงบลงทุนของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด โดยปรับเพิ่มวงเงินดำเนินการ จำนวน 992.00 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน                   13.78 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารและที่พักอาศัยของกรมสรรพากร


                    สาระสำคัญ
                    สภาพัฒนาฯ รายงานว่า รัฐวิสาหกิจ จำนวน 46 แห่ง* ภายใต้สังกัด 15 กระทรวง ได้ส่งข้อเสนองบลงทุนประจำปีงบประมาณ 2568 ให้ สศช. พิจารณาตามนัยพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2550 ซึ่งสภาพัฒนาฯ ได้กำหนดแนวทางการพิจารณากลั่นกรองการลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2568 โดยเน้นให้ความสำคัญกับประเด็นต่าง ๆ เช่น (1) ความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์และนโยบายรัฐ (2) ความจำเป็นในการลงทุนตามภาระผูกพันและตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ และ (3) ความพร้อมในการดำเนินการทั้งด้านกายภาพและฐานะการเงิน ทั้งนี้ สภาพัฒนาฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณางบลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจ (คณะอนุกรรมการฯ) เพื่อพิจารณารายละเอียดข้อเสนอดังกล่าวก่อนเสนอสภาพัฒนาฯ พิจารณา รวมทั้งได้เชิญผู้แทนกระทรวงเจ้าสังกัดเข้าร่วมพิจารณาด้วย
* ไม่รวมรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทและบริษัทมหาชนจำกัด สถาบันการเงิน และธุรกิจประกันภัย

2. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาและขยายกรอบวงเงินโครงการ โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล -      บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการและเพิ่มกรอบวงเงิน โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากเดิม 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 - พ.ศ. 2566) วงเงิน 21,000,000,000 บาท เป็น 8 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 - พ.ศ. 2569) วงเงิน 25,400,000,000 บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    อนึ่ง เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ เห็นสมควรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานจะเร่งรัดดำเนินโครงการ       ให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการ ตลอดจนประโยชน์และความคุ้มค่าที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    เรื่องนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการและเพิ่มกรอบวงเงินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย กษ. แจ้งว่า สาเหตุที่ต้องมีการขอขยายระยะเวลาและเพิ่มกรอบวงเงินโครงการคลองระบายน้ำฯ  เนื่องจาก
ข้อเสนอ          สาเหตุ
1) ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากเดิม 5 ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566)
เป็น 8 ปี (ปีงประมาณ พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2569)
          - การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ส่งผลให้ผู้รับจ้างประสบปัญหาขาดแคลนวัสดุก่อสร้างเครื่องจักร - เครื่องมือไม่เพียงพอ และไม่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสถานที่ก่อสร้างได้ ทำให้งานก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนงานที่วางไว้
2) เพิ่มกรอบวงเงิน จากเดิม 21,000 ล้านบาท
(มติคณะรัฐมนตรี 8 มกราคม 2562) เป็น 25,400 ล้านบาท          - การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมแบบก่อสร้าง
- การเพิ่มองค์ประกอบโครงการ เช่น งานก่อสร้างกำแพงป้องกันตลิ่ง งานก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองระบายน้ำหลาก เป็นต้น
- ราคาวัสดุก่อสร้าง และอัตราราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติขยายกรอบวงเงินและระยะเวลาดำเนินการโครงการคลองระบายน้ำฯ แล้ว จะทำให้การก่อสร้างโครงการสามารถดำเนินการได้เสร็จสมบูรณ์ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น
1. ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจนถึงอ่าวไทย
2. เพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านการเกษตรในอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ และอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง 229,138 ไร่
3. เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภค-บริโภค (ความจุคลอง 65 ล้านลูกบาศก์เมตร) ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ 2 ฝั่งคลองระบายน้ำหลาก พื้นที่ 48 ตำบล 3 เทศบาล 362 หมู่บ้าน
4. ถนนบนคันคลองระบายน้ำหลากทั้ง 2 ฝั่ง ใช้เป็นเส้นทางคมนาคม เชื่อมโยงระหว่างอำเภอบางบาลและอำเภอบางไทรทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นในด้านโลจิสติกส์

3. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา  จังหวัดสุโขทัย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานดำเนินโครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา จังหวัดสุโขทัย ภายในกรอบวงเงิน 3,557,000,000 บาท  ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - พ.ศ. 2573) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.)  ทั้งนี้ ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ ขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ตามความสามารถในการใช้จ่ายและการก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณ ที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเคร่งครัดเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำยมยังไม่สามารถบริหารจัดการภายในลุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เนื่องจากไม่สามารถสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่บริเวณตอนบนของลุ่มน้ำยม ส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยในฤดูน้ำหลากและปัญหาภัยแล้งเป็นประจำโดยเฉพาะในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำยม ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทุกปี รวมทั้งสร้างความเสียหายไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำยม จังหวัดสุโขทัย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) โดยกรมชลประทานจึงได้วางแผนการดำเนินโครงการ 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จังหวัดสุโขทัย [ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 และปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการ] และ (2) โครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา จังหวัดสุโขทัย (โครงการฯ) (กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้) โดยเป็นการตัดยอดน้ำบางส่วนออกจากแม่น้ำสายหลักและควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยให้คงเหลือประมาณ 550  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเพียงพอกับศักยภาพของแม่น้ำยมในบริเวณตัวเมือง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่ไหลผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีปริมาณเฉลี่ย 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยปัจจุบันการบริหารจัดการน้ำของแม่น้ำยมผ่านจังหวัดสุโขทัย จะใช้ประตูระบายน้ำแม่น้ำยม (บ้านหาดสะพานจันทร์) ซึ่งเป็นประตูระบายน้ำแบบประตูบานโค้ง (Radial Gate) ขนาด 12.00 X 10.25 เมตร จำนวน 5 ช่อง สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,804  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำหน้าที่ควบคุมการระบายน้ำลงสู่ด้านท้ายน้ำให้สมดุลเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ด้านเหนือน้ำ ร่วมกับการระบายน้ำเข้าพื้นที่ฝั่งซ้าย และฝั่งขวา ดังนี้
                              1.1 ระบายน้ำผ่านคลองสาขา ในอัตรา 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
                              1.2 ระบายน้ำเข้าพื้นที่ฝั่งซ้าย ผ่านประตูระบายน้ำคลองหกบาทเข้าสู่คลองหกบาทในอัตรา 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยแบ่งการระบายน้ำออกเป็น 2 ทาง ได้แก่  (1) ระบายน้ำไปสู่คลองยม - น่าน ในอัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และ (2) ระบายน้ำไปสู่แม่น้ำยมสายเก่าในอัตรา 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
                              1.3 ระบายน้ำเข้าพื้นที่ฝั่งขวา ผ่านประตูระบายน้ำคลองน้ำโจน (คลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา) ในอัตรา 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ดังนั้น ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมจะไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยเกินกว่าความสามารถที่แม่น้ำยมในบริเวณดังกล่าวจะรองรับได้ 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ปริมาณน้ำไหลผ่าน 880 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ประกอบกับแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายหลักเพียงสายเดียวที่ยังไม่สามารถบริหารจัดการภายในลุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยเป็นประจำทุกปี อีกทั้งสภาพภูมิประเทศทางตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำยมมีสภาพลำน้ำแคบกว่าตอนบนทำให้เมื่อเกิดฝนตกหนักน้ำจากทางตอนบนจะไหลบ่าลงมาตอนกลางและตอนล่างอย่างรวดเร็ว เข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและพื้นที่เศรษฐกิจ เช่น เทศบาลเมืองสุโขทัย ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาท รวมทั้งไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่ออุปโภค - บริโภค และทำเกษตรกรรมได้อย่างเพียงพอในฤดูแล้ง โดยเฉพาะลุ่มน้ำยมตอนล่างในเขตพื้นที่จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดพิจิตรที่มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น
                    2. เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำยม จังหวัดสุโขทัยและช่วยให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่ไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยคงเหลือประมาณ 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเพียงพอกับศักยภาพของแม่น้ำยมในบริเวณตัวเมืองสุโขทัย กรมชลประทานได้วางแผนการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้
                              2.1 โครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จังหวัดสุโขทัย เป็นการปรับปรุงเพื่อให้สามารถระบายน้ำเข้าพื้นที่ฝั่งซ้าย ผ่านประตูระบายน้ำคลองหกบาท เข้าสู่คลองหกบาท ในอัตรา 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยแบ่งการระบายน้ำออกเป็น 2 ทาง ได้แก่ (1) ระบายน้ำไปสู่คลองยม - น่าน ในอัตรา 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และ (2) ระบายน้ำไปสู่คลองยมเก่าในอัตรา 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที [คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 อนุมัติการดำเนินโครงการปรับปรุงคลองยม - น่าน จังหวัดสุโขทัย วงเงิน 2,875 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2567) แล้ว ทั้งนี้ ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง]
                              2.2 โครงการฯ เป็นการปรับปรุงคลองตลอดความยาว 54.65 กิโลเมตร ให้สามารถระบายน้ำได้ในอัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (กษ. ขอเสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้) เนื่องจากที่ผ่านมาคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวามีสิ่งกีดขวางทางน้ำและลำน้ำแคบเป็นคอขวดหลายจุดทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ตามวัตถุประสงค์ จึงต้องมีการปรับปรุงและระบายน้ำลงแก้มลิงทุ่งทะเลหลวงที่มีพื้นที่แก้มลิง 3,850 ไร่ ความจุ 32.40 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำที่ไหลลงแก้มลิงทุ่งทะเลหลวงจะระบายลงแม่น้ำยมด้านท้ายตัวเมืองสุโขทัย
                    3. โครงการฯ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์
          (1) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำจากแม่น้ำยมที่ไหลเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ในอำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง และอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดวัดสุโขทัย
(2) เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำในคลองสำหรับการอุปโภค - บริโภค และเกษตรกรรม
ที่ตั้งโครงการฯ
          ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสุโขทัย จำนวน 12 ตำบล (3 อำเภอ) ได้แก่ ตำบลป่ากุมเกาะ                ตำบลวังพิณพาทย์  ตำบลวังไม้ขอน ตำบลนาทุ่ง ตำบลหนองกลับ ตำบลเมืองบางขลัง (อำเภอสววรรคโลก) ตำบลบ้านซ่าน ตำบลบ้านไร่ ตำบลวังใหญ่ ตำบลทับผึ้ง                           (อำเภอศรีสำโรง) ตำบลบ้านกล้วย ตำบลบลปากแคว (อำเภอเมืองสุโขทัย)
ลักษณะโครงการฯ
           (1) ปรับปรุงคลองตามแนวร่องน้ำเดิมหรือทางน้ำธรรมชาติ ตลอดความยาว 54.65 กิโลเมตร ดังนี้
ช่วงหลักกิโลเมตร          ความยาว (กิโลเมตร)          ความสามารถในการระบายน้ำ
(ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)
0+000 ถึง 5+835          5.87          100
5+835 ถึง 17+345          11.51          200
17 +345 ถึง 30+495          13.15          250
30 + 495 ถึง 47+755          17.26          300
47+755 ถึง 54+647          6.89          350
(2) ก่อสร้างถนนคันคลองทั้ง 2 ฝั่ง และปรับปรุงอาคารประกอบตามแนวคลองจำนวน               89 แห่ง

ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ          6 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2573)
วงเงินงบประมาณ          3,557 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ พ.ศ.          รวม
2568          2569          2570          2571          2572          2573
347.329          539.115          1,194.495          504.060          459.586          512.415          3,557.000



สถานภาพของโครงการฯ           (1) ด้านการศึกษาความเหมาะสม ดำเนินการศึกษาวางโครงการพิเศษ (Special Study Report) และทบทวนผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์แล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566
(2) ด้านการสำรวจ - ออกแบบ ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน                  พ.ศ. 2566
(3) ด้านการจัดหาที่ดิน จำเป็นต้องดำเนินการจัดหาที่ดินเพิ่มเติมจากพื้นที่แนวคลองเดิม จำนวน 850 แปลง เนื้อที่ 1,386 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการเสนอขอตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
(4) ด้านการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมกับประชาชน กรมชลประทานได้ประชาสัมพันธ์จัดให้มีมวลชนสัมพันธ์ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการและขั้นตอนการสำรวจออกแบบโดยให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนเพื่อนำไปสู่การกำหนดรูปแบบของโครงการโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน  ซึ่งประชาชนเห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการ ทั้งนี้ ในขั้นตอนระหว่างการก่อสร้างจะได้ดำเนินการชี้แจงและสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องภายใต้แผนอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์          ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ (ระดับอัตราคิดลดที่ร้อยละ 9) ดังนี้
(1) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เท่ากับร้อยละ 9.09
(2) มูลค่าปัจจุบันตอบแทนสุทธิ (NPV) เท่ากับ 24.28 ล้านบาท
(3) อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) เท่ากับ 1.01
ทั้งนี้ การวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนโครงการของภาครัฐซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดไว้ว่า หากโครงการมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงร้อยละ 9-12 ถือว่า มีความเหมาะสมในการลงทุน
ผลกระทบของโครงการฯ          การดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อที่ดินและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการฯ ซึ่ง กษ. โดยกรมชลประทาน ได้เตรียมมาตรการในการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สินรวมไว้ในแผนงานโครงการแล้ว
ประโยชน์ของโครงการฯ          (1) ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ครอบคลุม 12 ตำบล 3 อำเภอ 30 หมู่บ้าน โดยควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านพื้นที่เศรษฐกิจ สามารถป้องกันน้ำท่วมเมืองสุโขทัย ลดพื้นที่น้ำท่วมจังหวัดสุโขทัยลงได้
170,189 ไร่ และลดความเสียหายได้ประมาณปีละ 100 ล้านบาท
(2) เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในบริเวณคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา โดยมีพื้นที่รับประโยชน์ช่วงฤดูฝน  35,000 ไร่ และช่วงฤดูแล้ง 9,300 ไร่
(3) ประชาชนมีสภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


4. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการแผนฟื้นฟูการเกษตร (ผกก.) และโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร (คปร.)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการแผนฟื้นฟูการเกษตร (ผกก.) และโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร (คปร.) (การแก้ไขปัญหาหนี้สินฯ) ออกไปเป็นระยะเวลา 5 ปี จากเดิมจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 กันยายน 2567 เป็นสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 กันยายน 2572 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) โดยขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามและรายงานผลการชำระเงินคืนให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดของโครงการต่อคณะรัฐมนตรีด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะรัฐมนตรีได้มีติเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 เห็นชอบการขยายระยะเวลาแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร (คปร.) และโครงการแผนฟื้นฟูการเกษตร (ผกก.) ออกไปเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 กันยายน 2567 และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้งดคิดค่าบริหารสินเชื่อของต้นเงินกู้ทั้งหมด แต่เนื่องจากผลการดำเนินงานปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว พบว่ายังคงมีเกษตรกรเป็นหนี้ จำนวน 21,968 ราย ต้นเงินกู้ จำนวน 558.55 ล้านบาท ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดภายในวันที่ 30 กันยายน 2567 ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรได้มีเวลาในการชำระหนี้ เนื่องจากยังมีเกษตรกรบางส่วนที่มีความสามารถในการชำระหนี้ตามศักยภาพได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการรักษาวินัยการชำระหนี้ของเกษตรกร ประกอบกับการขยายระยะเวลาดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นในอนาคต กษ. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบขยายระยะเวลาการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการแผนฟื้นฟูการเกษตร (ผกก.) และโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร (คปร.) (การแก้ไขปัญหาหนี้สินฯ) ออกไปเป็นระยะเวลา 5 ปี จากเดิมจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 กันยายน 2567 เป็นสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 กันยายน 2572

5. เรื่อง ขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 160 ยูนิต 11 ชั้น (โครงสร้างต้านแผ่นดินไหว) โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 1 หลัง และขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 160 ยูนิต 11 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 10,149 ตารางเมตร (โครงสร้างต้านแผ่นดินไหว) โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 1 หลัง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) เห็นชอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ดำเนินการก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 160 ยูนิต 11 ชั้น (โครงสร้างต้านแผ่นดินไหว) โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 1 หลัง ในวงเงิน 217,589,000 บาท โดยใช้จ่ายจากเงินบำรุงโรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และเห็นชอบให้ สป.สธ. ดำเนินการก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 160 ยูนิต 11 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 10,149 ตารางเมตร (โครงสร้างต้านแผ่นดินไหว) โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 1 หลัง ในวงเงิน 210,210,700 บาท โดยใช้จ่ายจากเงินบำรุงโรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงสาธารณสุขเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้โรงพยาบาลสมุทรสาครและโรงพยาบาลปทุมธานีใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีเคยมีมติอนุมัติให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลดำเนินการก่อสร้างอาคารเพื่อช่วยในการดำเนินงานของโรงพยาบาลในลักษณะต่าง ๆ เช่น อาคารหอผู้ป่วย อาคารจอดรถ ร้านจำหน่ายอาหาร รวมถึงสหกรณ์การค้า และโดยที่เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามข้อ 12 ของระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้การใช้จ่ายเงินบำรุงของโรงพยาบาล หากเป็นรายการก่อหนี้ผูกพันเกินกว่า 1 ปี และมีวงเงินเกินกว่า 100 ล้านบาท ให้ขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จึงเข้าข่ายเรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีได้ตามนัยมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548ที่บัญญัติให้การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้เสนอได้เฉพาะเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีหรือให้ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี ประกอบกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
                    สธ. รายงานว่าโรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และโรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ประสบปัญหาที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ดังนี้
                    1. โรงพยาบาลสมุทรสาคร เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด ขนาด 602 เตียง และปัจจุบันมีพยาบาล จำนวน 670 คน ซึ่งต้องปฏิบัติงานในลักษณะเวรผลัด จำนวน 380 - 400 คน แต่โรงพยาบาลสามารถจัดที่พักในโรงพยาบาลได้เพียง 270 คนและที่พักดังกล่าวมีความแออัดในหลายห้อง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เกิดความเมื่อยล้า ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน เสียเวลาและเสียงอันตรายในการเดินทาง ดังนั้น คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลสมุทรสาคร (นายแพทย์ศุภฤทธิ์ เฮงคราวิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาครเป็นประธาน) จึงมีมติเห็นชอบให้ใช้เงินบำรุง เพื่อก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 160 ยูนิต 11 ชั้น โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 1 หลัง ระยะเวลาก่อสร้าง 960 วัน เป็นเงิน 217,898,400 บาท
                    2. โรงพยาบาลปทุมธานี เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 408 เตียง ให้บริการระดับตติยภูมิ ต่อมาได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2561 - 2565 เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ 18 ชั้น ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 โดยจะเปิดบริการเพิ่มเป็น 667 เตียง ส่งผลให้โรงพยาบาลปทุมธานีมีบุคลากรเพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันมีอาคารพักพยาบาลเพียง 2 อาคาร รวม 170 ห้อง แต่มีจำนวนผู้เข้าพักรวม 217 คน ทำให้ที่พักไม่เพียงพอต่อผู้พักอาศัย ประกอบกับอาคารพักดังกล่าว ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้เป็นอาคารพักอาศัยกว่า 40 ปี ทำให้สภาพของอาคารโดยรวมมีความทรุดโทรม ดังนั้น คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลปทุมธานี (นายแพทย์วีรพล กิตติพิบูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปทุมธานี เป็นประธาน) จึงมีมติอนุมัติให้ใช้เงินบำรุง เพื่อก่อสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ 160 ยูนิต 11 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 10,149 ตารางเมตร (โครงสร้างต้านแผ่นดินไหว) โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 1 หลัง ระยะเวลาก่อสร้าง 960 วัน วงเงิน 210,444,200 บาท เพื่อทดแทนอาคารพักพยาบาล 2 อาคารเดิมข้างต้น

6. เรื่อง แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติและรับทราบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ดังนี้
                              1.1 อนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่ประกอบด้วย (1) แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงินรวม 1,204,304.44 ล้านบาท (2) แผนการบริหารหนี้เดิม วงเงินรวม 1,783,889.64 ล้านบาท และ (3) แผนการชำระหนี้ วงเงินรวม 489,110.70 ล้านบาท
                              1.2 อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) และบริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ที่มีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการ (Debt Service Coverage Ratio : DSCR) ต่ำกว่า 1 เท่า สามารถกู้เงินและบริหารหนี้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 4 แห่ง ดังกล่าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการด้วย รวมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานที่บรรจุกรอบวงเงินกู้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2568 เร่งรัดการดำเนินการตามแผนฯ ดังกล่าวด้วย
                              1.3  รับทราบแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - 2572) และมอบหมายให้กระทรวงเจ้าสังกัดประสานงานกับรัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการในกลุ่มโครงการที่ยังขาดความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อเร่งรัดการดำเนินการและการลงทุนเพื่อเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐในระยะต่อไป
                    2. อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 (พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะฯ) มาตรา 7  แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน  ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 รวมทั้งขออนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ตามกฎหมายจัดตั้งของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 16 แห่ง ภายใต้กรอบวงเงินของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เองก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในการประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 มีมติเห็นชอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ               พ.ศ. 2568 สรุปได้ ดังนี้
          หน่วย : ล้านบาท
รายการ          แผนฯ ปี 2567
(ปรับปรุงครั้งที่ 3)          แผนฯ ปี 2568
ที่เสนอในครั้งนี้          เปลี่ยนแปลง
เพิ่ม/(ลด)
(1) แผนการก่อหนี้ใหม่           1,142,580.71          1,204,304.44          61,723.73
          (1.1) รัฐบาล          987,611.38          1,097,259.98          109,648.60
          (1.2) รัฐวิสาหกิจ          131,969.33          105,681.62          (26,287.71)
          (1.3) หน่วยงานอื่นของรัฐ          23,000.00          1,362.84          (21,637.16)
(2) แผนการบริหารหนี้เดิม          2,029,710.19          1,783,889.64          (245,820.55)
          (2.1) รัฐบาล          1,931,623.96          1,681,732.13          (249,891.83)
          (2.2) รัฐวิสาหกิจ          98,086.23          101,157.51          3,071.28
          (2.3) หน่วยงานอื่นของรัฐ          0.00          1,000.00          1,000.00
(3) แผนการชำระหนี้          454,168.87          489,110.70          34,941.83
          (3.1) แผนการชำระหนี้ของรัฐบาลและหนี้หน่วยงานของรัฐจากงบประมาณรายจ่าย           346,380.07          410,253.68          63,873.61
          (3.2) แผนการชำระหนี้จากแหล่งเงินอื่น ๆ           107,788.80          78,857.02          (28,931.78)


โดยสาระสำคัญของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) แผนการก่อหนี้ใหม่ เช่น การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  จำนวน 865,700 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2567 และการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่มีการขยายเวลากู้เงินออกไปภายหลังจากวันสิ้นปีงบประมาณสำหรับการเบิกจ่าย
กันเหลื่อมปี จำนวน 145,000 ล้านบาท (2) แผนการบริหารหนี้เดิม เช่น การปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้รัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 1,384,280.91 ล้านบาท และการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้รัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569-2572  จำนวน 279,876.76 ล้านบาท และ (3) แผนการชำระหนี้ เช่น แผนการชำระหนี้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วงเงิน 410,253.68 ล้านบาท นอกจากนี้ ในแผนฯ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  มีรัฐวิสาหกิจ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย การเคหะแห่งชาติ และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ที่มี *DSCR ต่ำกว่า 1 เท่า ที่ต้องเสนอขออนุมัติการกู้เงินต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งคณะกรรมการฯ ได้จัดทำแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง                       (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572) โดยมีโครงการลงทุนรวม 108 โครงการ และวงเงินลงทุนรวม 776,046.73                   ล้านบาท  ทั้งนี้ แผนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  ในครั้งนี้ยังอยู่ภายในกรอบกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

*Debt Service Coverage Ratio (DSCR) หมายถึง อัตราส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้
ของกิจการ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดทางการเงินที่ใช้ในการประเมินความสามารถในการชำระหนี้

7. เรื่อง การขอต่ออายุเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่ออายุเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วงเงินปีละ 30,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ภายใต้เงื่อนไขเดิม ประกอบด้วย กู้เบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม (Call Loan) โดยให้พิจารณาทำสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินที่เสนอรูปแบบที่มีต้นทุนต่ำที่สุดตามอัตราดอกเบี้ยตลาด โดยกระทรวงการคลัง (กค.) ไม่ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากการกู้เงินตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. วงเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line ที่ กฟผ. ได้รับความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16  มีนาคม 2564 และ 26 กรกฎาคม 2565 ซึ่งหมดอายุลงในวันที่ 11 กันยายน 2567 แต่ กฟผ. ยังมีความจำเป็นต้องใช้วงเงินกู้ดังกล่าว เพื่อรองรับการบริหารสภาพคล่องให้มีประสิทธิภาพและเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องในระหว่างเดือน สำหรับการดำเนินงานของ กฟผ. เนื่องจาก
                              1.1 การดำเนินงานของ กฟผ. จำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนที่สูงมาก โดยมีรายจ่ายประจำที่ต้องชำระ ได้แก่ ค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อกระแสไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายลงทุน และอื่น ๆ รวมทั้งรายจ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามนโยบายภาครัฐ เช่น นโยบายการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้า โดย กฟผ. ช่วยรับภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) แทนประชาชนไว้ก่อน ซึ่งปัจจุบัน กฟผ. รับภาระค่า Ft ค้างรับ ณ เดือนสิงหาคม 2566 จำนวน 95,777 ล้านบาท และมีภาระเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง รวม 72,000 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง จำนวน 17,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อบริหารภาระค่า Ft จำนวน 55,000 ล้านบาท
                              1.2 กฟผ. อาจได้รับความเสี่ยงที่ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจริงจะสูงกว่าประมาณการ ทำให้มีผลกระทบต่อประมาณการกระแสเงินสดของ กฟผ. อย่างต่อเนื่อง
                    2. คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่                    21 กุมภาพันธ์ 2567  มีมติเห็นชอบให้ กฟผ. ต่อเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line เป็นระยะเวลา 3 ปี ในวงเงิน            ปีละ 30,000 ล้านบาท นับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ภายใต้เงื่อนไขเดิม ประกอบด้วย กู้เบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงินการทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม (Call Loan) โดยพิจารณาทำสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินที่เสนอรูปแบบที่มีต้นทุนต่ำที่สุดตามอัตราดอกเบี้ยตลาดโดย กค. ไม่ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากการกู้เงินด้วยแล้ว

8. เรื่อง การปรับปรุงอัตราเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกของคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงอัตราเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกของคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จาก อัตราเท่าที่จ่ายจริงครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท และรวมกันปีละไม่เกิน 3,600 บาท เป็น อัตราเท่าที่จ่ายจริงโดยไม่จำกัดอัตราการเบิกในแต่ละครั้ง และรวมกันปีละไม่เกิน 5,000 บาท ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
การปรับปรุงอัตราเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกของคลินิก และโรงพยาบาลเอกชนของ กฟผ. ให้เป็นอัตราเท่าที่จ่ายจริงโดยไม่จำกัดอัตราการเบิก ในแต่ละครั้ง และรวมกันปีละไม่เกิน 5,000 บาท (อัตราค่ารักษาพยาบาลรวมกันของทั้งผู้ปฏิบัติงาน คู่สมรส บุตร และบิดามารดา) ที่เสนอในครั้งนี้ เป็นการปรับปรุงอัตราเงินช่วยเหลือซึ่งมิได้ ปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 2556 รวมระยะเวลากว่า 10 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับค่ารักษาพยาบาล ที่สูงขึ้นในปัจจุบัน และจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิเลือกเข้ารับการรักษาพยาบาลในคลินิก และโรงพยาบาลเอกชน กรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ ในการดำเนินงานของ กฟผ. เช่น (1) ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลนอกเวลา ทำงานได้ โดยไม่ต้องลางานเพื่อไปรอเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานเนื่องจากมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตรากำลังในการดำเนินงาน ของ กฟผ. เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ และ (2) ผู้ปฏิบัติงานได้รับการวินิจฉัยโรค และการรักษาพยาบาลในเบื้องต้นอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยไม่ให้มีความรุนแรงมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดระยะเวลาในการพักรักษาตัวและภาระงบประมาณเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นในระยะยาวประกอบกับเป็นการเสนอปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ทุกตำแหน่งในอัตราที่เท่ากัน จึงไม่มีผลกระทบต่อผู้ที่ได้รับสิทธิเดิมและไม่เป็นอุปสรรคต่อระบบแรงงานสัมพันธ์ของ กฟผ.

9. เรื่อง การมอบหมายให้กรมท่าอากาศยานมอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานตากให้กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ มอบหมายให้กรมท่าอากาศยาน (ทย.) มอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานตาก ให้กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (ฝล.) ตามนัยข้อ 1 (4) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2558 ประกอบข้อ 1 (5) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2556 ก่อน ทย. ฝล. และกรมธนารักษ์ (ธร.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญ
1.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร (ฝล.) ได้มีหนังสือถึง (ทย.) แจ้งความประสงค์ขอเป็นหน่วยงานใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานตากเพื่อการบินปฏิบัติการฝนหลวงและการบินเกษตรและขอรับโอนท่าอากาศยานตากเพื่อพัฒนาปรับปรุงให้เป็นศูนย์หลักในการปฏิบัติการบินดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อใช้สำหรับปฏิบัติการแก้ปัญหาภัยแล้ง ดับไฟป่า และแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่ง ทย. พิจารณาแล้วไม่ขัดข้องและเห็นว่าการมอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานตากให้กับ ฝล. จะไม่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน เนื่องจากปัจจุบันการให้บริการของท่าอากาศยานตาก ส่วนใหญ่เป็นการให้บริการอากาศยานของ ฝล. เพื่อทำการบินในภารกิจฝนหลวง และไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ทำการบินแบบประจำตั้งแต่ปี 2537 ประกอบกับประชาชนสามารถใช้บริการที่ท่าอากาศยานแม่สอดซึ่งให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ที่ทำการบินแบบประจำและเที่ยวบินที่เป็นการบินทั่วไปที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 107 กิโลเมตรได้ รวมทั้งมีข้อดี เช่น จะทำให้ทางราชการสามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ท่าอากาศยานตากได้อย่างเต็มที่ และเป็นการลดภาระการบริหารจัดการของ ทย. เพื่อให้ ทย. สามารถนำทรัพยากรไปพัฒนาท่าอากาศยานอื่นที่มีการให้บริการเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้ ทย. มอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานตากให้กับ ฝล. แล้ว ทย. จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎกระทรวงการใช้ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2563 เพื่อขอคืนการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานตากแก่กรมธนารักษ์ และดำเนินการจัดอัตรากำลังของท่าอากาศยานตากไปปฏิบัติงานท่าอากาศยานอื่น รวมทั้งดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ในส่วนของครุภัณฑ์ภายในท่าอากาศยานตากต่อไป

10. เรื่อง ขอผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีสำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4027 สายท่าเรือ - เมืองใหม่ ตอน บ้านเมืองใหม่ - ทางแยกเข้าสนามบินภูเก็ต ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอเพื่อยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
                    1. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 (เรื่อง การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนประเทศไทย)
                    2. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ)
                    3. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
                    4. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ     ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน เนื้อที่ 0-2-17 ไร่ สำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4027 สายท่าเรือ - เมืองใหม่ ตอน บ้านเมืองใหม่ ? ทางแยกเข้าสนามบินภูเก็ต ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ของกรมทางหลวง (โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4027) เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและดำเนินงานโครงการก่อสร้างตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4027 สายท่าเรือ - เมืองใหม่ จังหวัดภูเก็ต (โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4027) เพื่อเป็นเส้นทางเลี่ยงเมืองสำหรับรองรับการเดินทางจากสนามบินภูเก็ตเชื่อมต่อไปยังแหล่งชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวด้านทิศตะวันออกของจังหวัด โดยโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4027 จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ (1) ตอนบ้านพารา - บ้านเมืองใหม่ เป็นการก่อสร้างขยายทางเดิมให้เป็นขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 4.55 กิโลเมตร ซึ่งไม่ได้ตัดผ่านพื้นที่อนุรักษ์ และกรมทางหลวงได้รับงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อดำเนินการก่อสร้างแล้ว และ (2) ตอนบ้านเมืองใหม่ - ทางแยกเข้าสนามบินภูเก็ต เป็นการก่อสร้างทางแนวใหม่ระยะทางประมาณ 1.95 กิโลเมตร บริเวณทางแยกเข้าสนามบินภูเก็ต ซึ่งบางช่วง            ตัดผ่านพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี เนื้อที่ประมาณ 0-2-17 ไร่ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีรวม 4 ฉบับเกี่ยวกับการห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่     ป่าชายเลน ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่แล้วกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) จะดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการ ก่อสร้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2570 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง และมีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด หากจำเป็นต้องของบประมาณเพื่อปลูกป่าทดแทนและบำรุงรักษาป่าให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและค่าใช้จ่ายเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป เป็นต้น

11. เรื่อง  รายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานของส่วนราชการ ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                     สปน. รายงานว่า ได้รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงานโครงการจิตอาสาพระราชทานโดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2560-31 มีนาคม 2567) โดยมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้ว 7,163,068 คน จำแนกตามพื้นที่ (ภูมิลำเนา) เป็นกรุงเทพมหานคร 472,878 คน และส่วนภูมิภาค 6,690,190 คน โดยแบ่งออกเป็น เพศชาย 3,234,807 คน เพศหญิง 3,928,261 คน
                              2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ (18 หน่วยงาน) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 1,112,977 คน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา 904 สรุปได้ ดังนี้
การดำเนินการ/กิจกรรม          ส่วนราชการ          จำนวน (ครั้ง)
(1) จิตอาสาพัฒนา เช่น การปรับปรุงภูมิทัศน์และทำความสะอาดศาสนสถาน โรงเรียน ชุมชน สถานที่สาธารณะ การให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน การบริจาคโลหิต และหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ การมอบทุนการศึกษา สิ่งของให้แก่ผู้ยากไร้ผู้ป่วยติดเตียง การปลูกต้นไม้และพัฒนาแหล่งน้ำ (ตรวจคุณภาพน้ำ) การปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำ
ธรรมชาติ การตรวจเยี่ยมชุมชน          กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และกรมประชาสัมพันธ์          20,242
2) จิตอาสาภัยพิบัติ เช่น การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย วาตภัยและภัยแล้ง (มอบถุงยังชีพบริจาคสิ่งของ                น้ำดื่ม โรงครัว ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและทำความสะอาดพื้นที่) และการทำแนวป้องกันไฟป่า การอบรมการป้องกัน ระงับอัคคีภัยและภัยพิบัติต่าง ๆ          กห. กก. ทส. มท. ยธ. วธ. ศธ. และ ตช.           299
(3) จิตอาสาเฉพาะกิจ เช่น การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ การจัดเตรียมสถานที่และร่วมพิธีเนื่องในวันสำคัญ
การทำกิจกรรมถวายเป็นพระราชกุศล          กห. กต. กก. พม. ทส. มท. ยธ. วธ. ศธ. สธ. และ ตช.          156
(4) วิทยากรจิตอาสา 904  โดยเป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และกิจกรรมจิตอาสา สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจ                    การบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติในฐานปฐมพยาบาลการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และจำลองสถานการณ์ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุไฟไหม้          กห. กก. พม. ยธ. วธ. ศธ. สธ. และ ตช.           42
รวม          20,739

                    3. การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ. จอส. พระราชทาน) เช่น
                              (1) เข้าร่วมประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับ ศอญ. จอส. พระราชทาน พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 11 ครั้ง ประกอบด้วย 1) รับทราบสถานการณ์ในภาพรวม เช่น สภาพอากาศ                   สาธารณภัยที่สำคัญ ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำระดับน้ำแม่น้ำโขง สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 การเตรียมความพร้อมและการช่วยเหลือประชาชนที่เกิดเหตุอุทกภัยและอัคคีภัย การให้ความช่วยเหลือภาวะภัยแล้ง การจัดตั้งศูนย์อาชีวะอาสาร่วมด้วยช่วยประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ การดำเนินงานโครงการที่สำคัญ และกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ภารกิจจิตอาสาผ่านช่องทางต่าง ๆ และ 2) รายงานผลการดำเนินการกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ เช่น การลงพื้นที่การจัดกิจกรรม การสนับสนุนภารกิจ การเตรียมความพร้อมในการจัดประชุม และการประสานขอความร่วมมือหน่วยงานจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมงานจิตอาสาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
ในรูปแบบ Tik Tok
                              (2) ลงพื้นที่ติดตามความต่อเนื่องของโครงการจิตอาสาพระราชทาน เช่น 1) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร และบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ โดยการบริหารจัดการในบึงสีไฟ และการจัดการพื้นที่สวนสาธารณะการก่อสร้างเส้นทางจักรยานรอบบึงสีไฟระยะทาง 10.28 กิโลเมตร และ                 การก่อสร้างสนามจักรยาน BMX สนามจักรยานขาไถและสนามจักรยาน Pumptrack และมีข้อเสนอแนะขอให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชนร่วมกันบูรณาการการพัฒนาพื้นที่บึงสีไฟและบึงบอระเพ็ดให้เป็นพื้นที่แหล่งน้ำและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอย่างยั่งยืน 2) โครงการพัฒนาพื้นที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยมีการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำเกาะสีชัง การพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมระบบไมโครกริดและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเกาะสีชัง 3) โครงการพัฒนาคลองเปรมประชากร ขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากรการก่อสร้างบ้านมั่นคงดำเนินการได้ร้อยละ 27.69 การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งสามารถดำเนินการได้ร้อยละ 30.88 (ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด) และมีข้อเสนอแนะขอให้ส่วนราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ร่วมกันบูรณาการการพัฒนาคลองเปรมประชากร โดยเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย และการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ รวมทั้งการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทาง               ล้อ ราง เรือ 4) โครงการก่อสร้างสายพัฒนาคูน้ำริมถนนวิภาวดีรังสิต แบ่งเป็น 3 ระยะ ปัจจุบันสามารถดำเนินการได้ร้อยละ 78.66 พบปัญหาการรื้อย้ายสาธารณูปโภคและมีข้อเสนอแนะต่อกรมทางหลวง ในฐานะหน่วยรับผิดชอบกำกับติดตามการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อการสัญจรของประชาชน การปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวถนนวิภาวดีและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวริมถนนรวมทั้งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ              ภาคประชาชน
                              (3) จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขของประชาชน ได้แก่ 1) กิจกรรม ?พี่น้องรับรู้รวมใจรักษ์คลองเปรมประชากร? ณ สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงชุมชนวัดรังสิต จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567  โดยดำเนินกิจกรรมจิตอาสาปรับภูมิทัศน์ ทาสีรั้วกำแพง ณ โครงการเมืองเอก โครงการ 1 (ตรงข้ามเคหสถานบ้านมั่นคงชุมชนวัดรังสิต) มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เกิดความร่วมมือในการกระตุ้นการทำความดีช่วยเหลือดูแลกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเปราะบาง คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน               ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่ดี และ 2) บริการซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ?ศูนย์อาชีวะ ช่วยประชาชน (Fix it Center)? มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 500 คน ทั้งนี้ สปน. จะได้ประสานการดำเนินการในการจัดกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคี เป็นประโยชน์ต่อประชาชนชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยรวม อย่างต่อเนื่องต่อไป

12. เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการพนันออนไลน์
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการพนันออนไลน์ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ
                    ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์แห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติ โดยให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับพนันออนไลน์ และเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรี สรุปได้ ดังนี้
                    1) ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี
                              (1) ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ โดยมอบหมายรัฐมนตรีเป็นประธาน ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานด้านนโยบาย หน่วยงานด้านเทคโนโลยี หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลคลื่นความถี่ หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ และเสนอให้คณะกรรมการระดับชาติดังกล่าวพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น
                              (2) กำหนดเป็นนโยบายว่าการมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการพนันออนไลน์ให้ถือเป็นเรื่องร้ายแรงที่ต้องมีการดำเนินการโดยเร่งด่วน
                              (3) มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงาน ปปง. จัดทำนโยบายร่วมกันในการยกระดับความสำคัญของปัญหาการพนันออนไลน์ และดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ รณรงค์เพื่อให้ประชาชนเห็นโทษของการพนันและไม่ฝักใฝ่ในการเล่นการพนัน รวมถึงกระทำความผิดเกี่ยวกับการรับเป็นบัญชีม้า ตลอดจนการดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคดีพนันออนไลน์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องปรามการกระทำความผิดที่อาจเกิดขึ้น
                              (4) กำชับให้หน่วยงานภาครัฐต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัด และจัดทำโครงสร้างใหม่ดำเนินการย้ายฐานข้อมูลการทำงานของระบบราชการเข้าไปอยู่ใน Cloud Computing เพื่อให้เกิดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
                    2) ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้



หน่วยงาน          ข้อเสนอแนะ
อส.          ควรสร้างระบบบริหารจัดการภายในเพื่อให้มีการรองรับการดำเนินการสอบสวนและดำเนินคดีนอกราชอาณาจักรที่เป็นคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่มีจำนวนมากได้โดยรวดเร็วมากขึ้น
ตร.          กำหนดนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ในการสืบสวนสอบสวนคดีการพนันออนไลน์ และอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอื่น
ดศ.          (1) ควรลงทุนพัฒนาในเรื่องการปรับใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีเพื่อสืบค้น ตรวจจับเว็บไซต์พนันออนไลน์ รวมถึงเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
(2) จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบและติดตามผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หลังจากศาลมีหมายให้ปิดกั้นเว็บไซต์
(3) พิจารณาดำเนินการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์การพนันออนไลน์ โดยเฉพาะในส่วนของ Line Official Account: LINE OA เพื่อตัดการสื่อสารระหว่างผู้ประกอบการกับผู้เล่นพนัน
ธปท.          (1) ให้ ธปท. หารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย สถาบันการเงิน การธนาคาร สมาคมการเงิน                  การธนาคารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการตรวจสอบทางการเงิน เช่น สำนักงาน ปปง. กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตร. ในการพิจารณาลดหรือทบทวนมาตรการของสถาบันการเงินหรือธนาคารเกี่ยวกับช่องทางการปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ และยกระดับความเข้มข้นรัดกุมเกี่ยวกับหลักการตราจสอบความมีอยู่จริงของลูกค้าอย่างเข้มงวด รวมถึงการพิจารณาเงื่อนไขการเปิดบัญชีใหม่และการเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบ ตลอดจนมีการยกระดับในการปราบปรามเกี่ยวกับบัญชีม้า การดำเนินการตรวจสอบย้อนหลังบัญชีธนาคารที่ต้องสงสัยที่มีการเปิดกับธนาคารแต่ละแห่ง เพื่อพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงจัดทำฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบบัญชีม้าร่วมกันระหว่างธนาคาร รวมถึงกระบวนการขั้นตอนการดำเนินคดีกับบัญชีม้าเพื่อเป็นการป้องปรามการกระทำความผิด และเร่งรัด
กระบวนการเกี่ยวกับการปิดบัญชีหรือถอนชื่อบัญชีออกจากการเป็นผู้ที่สามารถมีบัญชีเป็นการทั่วไป (ขึ้น Blacklist) ในกลุ่มผู้ที่เป็นบัญชีม้าหรือยอมให้ใช้ชื่อตนเองเป็นบัญชีม้า
(2) ให้ ธปท. พิจารณาหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทยในการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเปิดบัญชีให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสถาบันการเงิน
(3) ให้ ธปท. สมาคมธนาคารไทย สถาบันการเงิน สำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เร่งรัดการดำเนินการวางหลักเกณฑ์การตรวจสอบ กรณีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับการเปิดบัญชี
ว่าบัญชีใดที่เข้าข่ายต้องสงสัย เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติและสิ่งบ่งชี้กรณีเหตุอันควรสงสัย                ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
พ.ศ. 2566
(4) ให้ ธปท. พิจารณาหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย สถาบันการเงิน สำนักงาน ปปง.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการจัดการปัญหาการพนันออนไลน์และดำเนินการเชิงรุก
เพื่อสร้างกลไกในการหยุดเส้นทางการเงินของพนันออนไลน์ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งแก้ไขข้อขัดข้องในทางปฏิบัติระหว่างหน่วยงานเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระงับยับยั้งสกัดกั้นเส้นทางการเงินที่ผิดกฎหมายของการพนันออนไลน์ ตลอดจนให้มีการบูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูล หรือ Blacklist ซึ่งสามารถให้สถาบันทางการเงินหรือธนาคารสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่าเป็นกลุ่มบัญชีของมิจฉาชีพหรือผู้ต้องสงสัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันปัญหาการพนันออนไลน์ หรือการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
(5) ให้ ธปท. หารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทยในการประชาสัมพันธ์และกำชับพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีความเคร่งครัด ระมัดระวัง และมีความรอบคอบในการเปิดบัญชีรวมถึงให้มีการรณรงค์ เผยแพร่ และสร้างความตระหนักรู้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และประชาชนให้รู้เท่าทันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

                    ทั้งนี้ ในส่วนของสำนักงาน ป.ป.ช. จะได้พิจารณาดำเนินการศึกษาเพื่อกำหนดให้เจ้าพนักงานของรัฐ
ที่มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ในทุกระดับให้มีหน้าที่ต้องยื่น

13. เรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost UP ของธนาคารออมสิน
                      คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยและกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอและป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
                      1. เห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost UP ของธนาคารออมสิน พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                      2. รับทราบโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยปี 2567 ภายใต้โครงการ PGS 11 ของ บสย.
                      สาระสำคัญของเรื่อง
                      กระทรวงการคลังขอเสนอการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost UP ของธนาคารออมสิน เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ประกอบการอิสระที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในการฟื้นฟูกิจการ จึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost UP ของธนาคารออมสิน โดยจัดสรรวงเงินโครงการจำนวน 50,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการเดิม โดยขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ประกอบอาชีพอิสระ ระยะเวลายื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567 โดยให้เบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2568 ทั้งนี้ ให้ธนาคารออมสิน สามารถจัดสรรวงเงินโครงการได้ตามความเหมาะสม
                    นอกจากนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยให้ได้รับสินเชื่อตามโครงการได้อย่างเพียงพอและช่วยให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อ บสย. ได้จัดทำโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยปี 2567 ภายใต้โครงการ PGS 11 ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยจ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการเพิ่มขึ้น เป็นไม่เกินร้อยละ 40 จากเดิมเฉลี่ยทั้งโครงการไม่เกินร้อยละ 30อัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันร้อยละ 1.25 ต่อปี รัฐบาลรับภาระค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการใน 3ปีแรก ระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี รับคำขอค้ำประกัน 30 เมษายน 2568 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถขอรับค้ำประกันสินเชื่อในโครงการย่อยอื่นภายใต้ โครงการ PGS 11 ได้ และเมื่อรวมวงเงินค้ำประกันของทุกสถาบันการเงินต้องไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อราย
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    การปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสินจะสามารถให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการฟื้นฟูกิจการ

14. เรื่อง การผ่อนผันให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และดำเนินการ ซ่อมแซม ปรับปรุง และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการผ่อนผันให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และดำเนินการ ซ่อมแซม ปรับปรุง และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                     1. ผ่อนผันให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าทำประโยชน์ ในพื้นที่ป่าไม้ (ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ) ได้เท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน เฉพาะในกรณีเร่งด่วน ฉุกเฉิน และจำเป็นอย่างแท้จริง จนกว่าจะได้รับอนุญาตตามระเบียบและกฎหมายที่ว่าด้วยการป่าไม้ โดยให้ส่วน ราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้โดยเร่งด่วนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ ได้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมป่าไม้) เร่งรัดพิจารณาการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐดังกล่าว ให้เสร็จสิ้นตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต โดยให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าปลูกป่าทดแทน และค่าบำรุงหรือปลูกสร้างป่าตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                    2. ผ่อนผันให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดกับต้นไม้ที่โค่นล้มอันเกิดจากเหตุภัยพิบัติสาธารณะเพื่อเป็นการบรรเทาแก่เหตุที่เกิดขึ้นไปพลางก่อนได้ เช่น ตัดทอนและนำเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ในสถานที่ปลอดภัย แล้วให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบ จัดทำบัญชี และอนุญาตให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนำไปช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติสาธารณะเป็นลำดับแรก หากคงเหลือจำนวน เท่าใด ให้นำไปใช้ประโยชน์ในราชการ หรือบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์ สำหรับการอนุญาตดังกล่าว ให้งดเว้นไม่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่าตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติ ให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                    3. ผ่อนผันให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุง และฟื้นฟู สิ่งก่อสร้างในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ไปพลางก่อน ทั้งนี้ เฉพาะพื้นที่ที่ประกาศเป็นภัยพิบัติ และให้ปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยไม่ชักช้าแต่ต้องไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ได้เข้าดำเนินการ
                    สาระสำคัญ
                    1. กรณีพื้นที่ป่าไม้ (ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ และป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ) ที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนของประชาชน ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องเข้าไปดำเนินการให้ทันท่วงที ไม่สามารถขออนุญาตได้ในขณะนั้น ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ได้เท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน เฉพาะในกรณีเร่งด่วน ฉุกเฉิน และจำเป็น อย่างแท้จริง จนกว่าจะได้รับอนุญาตตามระเบียบและกฎหมายที่ว่าด้วยการป่าไม้ โดยให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้โดยเร่งด่วนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ ได้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ เร่งรัดพิจารณา การขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ดังกล่าวให้เสร็จสิ้น ตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต โดยให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าปลูกป่าทดแทน และค่าบำรุงป่าหรือปลูกสร้าง สวนป่าตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                    2. สำหรับต้นไม้ที่โค่นล้มอันเกิดจากเหตุภัยพิบัติสาธารณะให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อเป็นการบรรเทาแก่เหตุที่เกิดขึ้นไปพลางก่อนได้ เช่น ตัดทอนและนำเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ในสถานที่ปลอดภัย แล้วให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบ จัดทำบัญชี และอนุญาตให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนำไป ช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติสาธารณะเป็นลำดับแรก หากคงเหลือจำนวนเท่าใด ให้นำไปใช้ประโยชน์ในราชการ หรือบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์ สำหรับการอนุญาตดังกล่าว ให้งดเว้นไม่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่าตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                    3. การดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุง และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณูปโภคกินพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์โดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐเพื่อการบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างเดิมหรือเพื่อการก่อสร้างใหม่แทนสิ่งก่อสร้างเดิมที่ชำรุด ตามระเบียบกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้กระทำการในอุทยานแห่งชาติวนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ตามมาตรา 22 วรรคสอง มาตรา 27 วรรคสาม และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 หรือตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วย การอนุญาตให้กระทำการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามมาตรา 53 วรรคสาม มาตรา 54 วรรคสอง มาตรา 55 วรรคสาม มาตรา 67 วรรคสอง และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2565 แล้วแต่กรณี กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐจะต้องยื่นคำขออนุญาตล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วันก่อนวันประสงค์เข้าดำเนินการพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีระยะเวลาการพิจารณาตามระเบียบฯ 45 วันก่อนที่จะเข้าดำเนินการได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้การฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วและเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    1. ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
                    2. ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ สามารถเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการบริการสาธารณะที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
                    3. ราษฎรหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติสาธารณะสามารถนำไม้ที่โคนได้ พิบัติสาธารณะไปใช้ประโยชน์ในการซ่อมแซมบ้านเรือน อาคารสำนักงานหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นได้

ต่างประเทศ

15. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง ? ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านข้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างกระทรวงมหาดไทย (มท.) กับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ ให้ มท. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง จัดตั้งขึ้นในปี 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนสำหรับการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก (ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย) ในสาขาหลักของกรอบความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ (1) ความเชื่อมโยง (2) ศักยภาพในการผลิต (3) เศรษฐกิจข้ามพรมแดน (4) ทรัพยากรน้ำ และ (5) การเกษตรและการขจัดความยากจน ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2561 มีหน่วยงานของประเทศไทยหลายหน่วยงานได้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนดังกล่าวเพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น โดยในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้เคยขอรับการสนับสนุนจากกองทุนดังกล่าวมาแล้ว 2 ครั้งในปี 2564 และ 2565 รวมจำนวน 2 โครงการ คิดเป็นวงเงิน 511,800 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 17.88 ล้านบาท) และในครั้งนี้ มท. ได้เสนอขอรับการสนับสนุน จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการ Frontier public health personnel capacity development for preparedness future severe human health threat in the region (โครงการพัฒนาศักยภาพนักสาธารณสุขแนวหน้าสำหรับเตรียมความพร้อมภัยคุกคามทางสุขภาพรุนแรงเขตพื้นที่ล้านช้าง) วงเงิน 239,479 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8.37 ล้านบาท) ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคระบาดอันตราย (เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคฝีดาษลิง โรคเมอร์ส เป็นต้น) โดยดำเนินการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์การป้องกันและควบคุมโรคระบาดอันตราย การอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นต้น

16. เรื่อง การจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ/พิเศษระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐกาตาร์
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. การจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ/พิเศษระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐกาตาร์ (กาตาร์) (Agreement on Exemption of Visa Requirements for Holders of Diplomatic and Official/Special Passports between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the State of Qatar)                             (ความตกลงฯ)
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามร่างความตกลงฯ ทั้งนี้                  ในกรณีมอบหมายผู้แทน ให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้ลงนามดังกล่าว
                    3. ให้ กต. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของร่างความตกลงฯ
                    4. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กต. สามารถดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผล และประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ จะมีการลงนามความตกลงฯ ในห้วงการประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue (ACD) Summit) ครั้งที่ 3 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 2 - 3 ตุลาคม 2567
                    สาระสำคัญ
                    ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการและหนังสือเดินทางพิเศษระหว่างประเทศไทยและกาตาร์ในการเดินทางเข้า เดินทางผ่าน พำนักใน และเดินทางออกจากดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นระยะเวลาสูงสุด 90 วัน นับตั้งแต่วันที่เดินทางเข้า โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นจะไม่ทำงานใด ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการของตนเองหรือกิจกรรมส่วนตัวอื่นในดินแดนของอีกฝ่าย
                    กต. แจ้งว่า ปัจจุบันผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการของประเทศไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปกาตาร์ต้องขอรับการตรวจลงตราซึ่งมีขั้นตอนและใช้เวลานาน ดังนั้นการจัดทำความตกลงฯ จึงเป็นประโยชน์ในการช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและช่วยกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ รวมทั้งความร่วมมือระหว่างภาครัฐของทั้ง 2 ประเทศเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ร่างความตกลงฯ เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนามและดำเนินการให้มีผลผูกพัน แต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา



17. เรื่อง เอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 3 ที่กรุงโดฮา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อการรับรองร่างปฏิญญาโดฮา (Doha Declaration) ว่าด้วยการทูตผ่านกีฬา (Sports Diplomacy) (ร่างปฏิญญาฯ) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue Summit: ACD Summit) (เอกสารผลลัพธ์ฯ) ครั้งที่ 3 ที่กรุงโดฮา ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    2. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาฯ ในที่ประชุมระดับผู้นำ ACD ครั้งที่ 3
(จะมีการรับรองร่างปฏิญญาฯ ในการประชุม ACD Summit ในวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์)
                    สาระสำคัญ
                    ร่างปฏิญญาโดฮาว่าด้วยการทูตผ่านกีฬา (ร่างปฏิญญาฯ) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 3 ตุลาคม 2567 ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับผู้นำของประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือเอเชียในการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการทูตผ่านกีฬาเพื่อส่งเสริมกรอบความร่วมมือเอเชียให้เป็นเวทีหารือและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความท้าทายและการแข่งขันเชิงภูมิรัฐศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ก้าวข้ามการเมืองและยอมรับความแตกต่าง การเน้นย้ำบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเงินและการค้า รวมถึงความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานของระบบคมนาคมและดิจิทัล

18. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 32 และร่างเอกสารผลลัพธ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสาร 5 ฉบับ ดังนี้
                              1.1 ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 32 [Joint Statement of the Thirty-Second ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council Meeting) (การประชุม ASCC ครั้งที่ 32)
                              1.2 ร่างฉบับสุดท้ายของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างเศรษฐกิจใส่ใจและความยืดหยุ่นต่อประชาคมอาเซียน (ร่างฉบับสุดท้ายของปฏิญญาอาเซียนฯ) ภายหลังปี พ.ศ. 2568
                              1.3 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวทางระดับภูมิภาคสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรด้านบริการสังคมในบริบทที่กว้างกว่าสำหรับภาคส่วนการศึกษา
                              1.4 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวทางระดับภูมิภาคสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรด้านบริการสังคมในบริบทที่กว้างกว่าในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ
                              1.5 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวปฏิบัติของอาเซียนสำหรับการพัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานระดับชาติเพื่อการตอบสนองแบบประสานงานต่อความรุนแรงต่อสตรีและเด็กหญิง
โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย (ไทย) ให้ พม. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Ministerial Meeting on Women: AMMW) ของไทย มีหนังสือไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในฐานะประธาน AMMW เพื่อแจ้งรับรองร่างฉบับสุดท้ายของปฏิญญาอาเซียนฯ ภายหลังปี พ.ศ. 2568  (ตามข้อ 1.2) อย่างเป็นทางการ ในโอกาสแรก
                    3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม ASCC ครั้งที่ 32 ให้การรับรอง (adopt) ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุม ASCC ครั้งที่ 32 และร่างฉบับสุดท้ายของปฏิญญาอาเซียนฯ ภายหลังปี พ.ศ. 2568 (ตามข้อ 1.1 - 1.2) ในวันที่ 26 กันยายน 2567 ณ นครหลวงเวียงจันทร์ สปป.ลาว
                    4. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (ASEAN Ministerial Meeting on Social Welfare and Development: AMMSWD) ของไทย มีหนังสือไปยังสหพันธรัฐมาเลเซีย ในฐานะประธานการประชุม AMMSWD เพื่อแจ้งรับรองร่างฉบับสุดท้ายของเอกสาร ตามข้อ 1.3 - 1.5 อย่างเป็นทางการ ในโอกาสแรก
                    สาระสำคัญ
                    1. การประชุม ASCC ครั้งที่ 32 ภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของ สปป.ลาว ในวันที่ 26 กันยายน2567 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว จะมีการเสนอร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุม ASCC ครั้งที่ 32 และร่างเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 5 ฉบับ โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ร่างเอกสารที่จะเสนอที่ประชุมพิจารณาให้การรับรองโดยไม่มีการลงนาม จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
                                        1.1.1 ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุม ASCC ครั้งที่ 32 สาระสำคัญ เช่น เน้นย้ำถึงการเสริมสร้างความเชื่อมโยงและความยืดหยุ่นของประชาคมอาเซียน และการบรรลุประเด็นที่สำคัญภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของ สปป.ลาว
                                        1.1.2 ร่างฉบับสุดท้ายของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างเศรษฐกิจใส่ใจและความยืดหยุ่นต่อประชาคมอาเซียนภายหลังปี พ.ศ. 2568  สาระสำคัญ เช่น เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทุกคน
                              1.2 ร่างเอกสารผลลัพธ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะเสนอต่อที่ประชุมเพื่อรับทราบ จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้
                                        1.2.1 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวทางระดับภูมิภาคสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรด้านบริการสังคมในบริบทที่กว้างกว่าสำหรับภาคส่วนการศึกษา สาระสำคัญ เช่น เป็นการสนับสนุนผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายและผู้ที่มีอำนาจในด้านการศึกษาและสวัสดิการสังคม ผู้อำนวยการและบุคลากรครูในโรงเรียน รวมถึงผู้บริหารและสมาชิกบุคลากรด้านบริการสังคมได้พิจารณาถึงวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดสรรงานให้แก่บุคลากรด้านบริการสังคมและการสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยง กับโรงเรียนและสภาพแวดล้อมก่อนช่วงปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
                                        1.2.2 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวทางระดับภูมิภาคสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรด้านบริการสังคมในบริบทที่กว้างกว่าในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ สาระสำคัญ เช่น เป็นการสนับสนุนผู้กำหนดนโยบาย ผู้ตัดสินใจ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานวางแผนของรัฐบาล และหน่วยงานจัดการภัยพิบัติและสภาพภูมิอากาศแห่งชาติรวมถึงในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และแรงงานบริการสังคมในวงกว้างที่มีต่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                        1.2.3 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวปฏิบัติของอาเซียนสำหรับการพัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานระดับชาติ เพื่อการตอบสนองแบบประสานงานต่อความรุนแรง ต่อสตรีและเด็กหญิง สาระสำคัญ เช่น เป็นการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานแบบประสานงานในระดับชาติสำหรับการตอบสนองต่อความรุนแรงต่อสตรีและเด็กหญิงโดยให้ความสำคัญกับสิทธิและการเข้าถึงการบริการที่เหมาะสมกับความต้องการรวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิง
                    ประโยชน์ที่จะได้รับ
                    การให้ความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุม ASCC ครั้งที่ 32 และร่างฉบับสุดท้ายของเอกสารผลลัพธ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของไทย ไม่มีผลผูกพันในเชิงงบประมาณโดยถือเป็นการย้ำเจตจำนงและความมุ่งมั่นของไทยในการร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนเสริมสร้างความเชื่อมโยงและความเข้มแข็งระดับภูมิภาค ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินความร่วมมือและรับรองหลักการเอกสารผลลัพธ์ด้านต่าง ๆ ที่จะนำเสนอต่อการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป

19. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. ร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง (ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ) จำนวน 18 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
2. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ในระดับผู้นำอาเซียน จำนวน 17 ฉบับ
3 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะต้องรับรอง จำนวน 1 ฉบับ
ทั้งนี้ [จะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ฯ รวม 18 ฉบับ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 11 ตุลาคม 2567 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 11 ตุลาคม 2567 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว กต. จึงขอเสนอร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ตามที่ได้ประสานและรวบรวมจากหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) รวม 18 ฉบับ โดยแบ่งเป็น (1) ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่จะรับรอง ในระดับผู้นำอาเซียน จำนวน 17 ฉบับ และ (2) ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่จะรับรองโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน จำนวน 1 ฉบับ ดังนี้
1.1 ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่จะรับรองในระดับผู้นำอาเซียน จำนวน 17 ฉบับ มีดังนี้
ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
1.ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ประชาคม ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2045
2.ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยมุมมองอาเซียนต่ออินโด - แปซิฟิกในสถาปัตยกรรมภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลางและมีความพร้อมต่ออนาคตข้างหน้า
3.ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยพลาสติกหมุนเวียน
4.ร่างกรอบความตกลงว่าด้วยระบบการประสานงานในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของอาเซียน
5.ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความปลอดภัย และความมั่นคงทางชีวภาพในภูมิภาค
6.ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองการใช้แรงงานเด็ก รวมถึงการขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก
7.ร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายทักษะ การยอมรับ และการพัฒนาแรงงานข้ามชาติอาเซียน
8. ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือในการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและสารตั้งต้น
9.ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน - จีนว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน
10.ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน - จีนว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาด้านเกษตรอัจฉริยะ
11.ร่างเอกสารข้อริเริ่มอาเซียน - จีนว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือ เพื่อสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่ยั่งยืนและครอบคลุม
12.ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านอาเซียน - สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
13.ร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน - แคนาดาว่าด้วยการเพิ่มทวีความเชื่อมโยงและความเข้มแข็งในอาเซียน
14.ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียน - สหรัฐอเมริกาว่าด้วยการส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ปลอดภัย มั่นคง และเชื่อถือได้
15.ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการครบรอบหนึ่งทศวรรษนโยบายรุกตะวันออกและปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาภูมิภาคอินโด - แปซิฟิกให้เปิดกว้าง มีเสถียรภาพ มั่นคงและเจริญรุ่งเรือง
16.ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน - อินเดียว่าด้วยการยกระดับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล
17.ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการส่งเสริมความเชื่อมโยงและความเข้มแข็ง
1.2 ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน จะร่วมรับรอง จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างบทเพิ่มเติมสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สนธิสัญญาฯ) มีสาระสำคัญเป็นเอกสารเพื่อแก้ไขข้อ 1 (เอ) ของสนธิสัญญาฯ เพื่อเพิ่มการระบุถึงติมอร์เลสเต (ติมอร์ฯ) ซึ่งจะส่งผลให้ติมอร์ฯ สามารถยื่นภาคยานุวัติสารเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาฯ ได้ต่อไป โดยเมื่อสมาชิกคณะกรรมาธิการเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับรองร่างบทเพิ่มเติมฯ แล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะต้องจัดทำตราสารการยอมรับ ต่อบทเพิ่มเติมฯ นำส่งให้แก่ไทยในฐานะผู้เก็บรักษาโดยจะมีผลใช้บังคับภายหลังการยื่นตราสารการยอมรับของประเทศลำดับที่ 7
ประโยชน์ที่ได้รับ : ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ จะเป็นประโยชน์กับไทยในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนและกับคู่เจรจา ในประเด็นที่ไทยต้องการเพิ่มพูนศักยภาพ เช่น การเสริมสร้างความปลอดภัยและความมั่นคง การพัฒนาแรงงาน การส่งเสริมการสาธารณสุข การเสริมสร้างความเชื่อมโยง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่ยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

20. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 32 และร่างเอกสารผลลัพธ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสาร 5 ฉบับ ดังนี้
                              1.1 ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 32 [Joint Statement of the Thirty-Second ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council Meeting) (การประชุม ASCC ครั้งที่ 32)
                              1.2 ร่างฉบับสุดท้ายของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างเศรษฐกิจใส่ใจและความยืดหยุ่นต่อประชาคมอาเซียน (ร่างฉบับสุดท้ายของปฏิญญาอาเซียนฯ) ภายหลังปี พ.ศ. 2568
                              1.3 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวทางระดับภูมิภาคสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรด้านบริการสังคมในบริบทที่กว้างกว่าสำหรับภาคส่วนการศึกษา
                              1.4 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวทางระดับภูมิภาคสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรด้านบริการสังคมในบริบทที่กว้างกว่าในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ
                              1.5 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวปฏิบัติของอาเซียนสำหรับการพัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานระดับชาติเพื่อการตอบสนองแบบประสานงานต่อความรุนแรงต่อสตรีและเด็กหญิง
โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย (ไทย) ให้ พม. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Ministerial Meeting on Women: AMMW) ของไทย มีหนังสือไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในฐานะประธาน AMMW เพื่อแจ้งรับรองร่างฉบับสุดท้ายของปฏิญญาอาเซียนฯ ภายหลังปี พ.ศ. 2568  (ตามข้อ 1.2) อย่างเป็นทางการ ในโอกาสแรก
                    3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม ASCC ครั้งที่ 32 ให้การรับรอง (adopt) ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุม ASCC ครั้งที่ 32 และร่างฉบับสุดท้ายของปฏิญญาอาเซียนฯ ภายหลังปี พ.ศ. 2568 (ตามข้อ 1.1 - 1.2) ในวันที่ 26 กันยายน 2567 ณ นครหลวงเวียงจันทร์ สปป.ลาว
                    4. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (ASEAN Ministerial Meeting on Social Welfare and Development: AMMSWD) ของไทย มีหนังสือไปยังสหพันธรัฐมาเลเซีย ในฐานะประธานการประชุม AMMSWD เพื่อแจ้งรับรองร่างฉบับสุดท้ายของเอกสาร ตามข้อ 1.3 - 1.5 อย่างเป็นทางการ ในโอกาสแรก
                    สาระสำคัญ
                    1. การประชุม ASCC ครั้งที่ 32 ภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของ สปป.ลาว ในวันที่ 26 กันยายน2567 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว จะมีการเสนอร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุม ASCC ครั้งที่ 32 และร่างเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 5 ฉบับ โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ร่างเอกสารที่จะเสนอที่ประชุมพิจารณาให้การรับรองโดยไม่มีการลงนาม จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
                                        1.1.1 ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุม ASCC ครั้งที่ 32 สาระสำคัญ เช่น เน้นย้ำถึงการเสริมสร้างความเชื่อมโยงและความยืดหยุ่นของประชาคมอาเซียน และการบรรลุประเด็นที่สำคัญภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของ สปป.ลาว
                                        1.1.2 ร่างฉบับสุดท้ายของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างเศรษฐกิจใส่ใจและความยืดหยุ่นต่อประชาคมอาเซียนภายหลังปี พ.ศ. 2568  สาระสำคัญ เช่น เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง             ทุกคน
                              1.2 ร่างเอกสารผลลัพธ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะเสนอต่อที่ประชุมเพื่อรับทราบ จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้
                                        1.2.1 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวทางระดับภูมิภาคสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรด้านบริการสังคมในบริบทที่กว้างกว่าสำหรับภาคส่วนการศึกษา สาระสำคัญ เช่น เป็นการสนับสนุนผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายและผู้ที่มีอำนาจในด้านการศึกษาและสวัสดิการสังคม ผู้อำนวยการและบุคลากรครูในโรงเรียน รวมถึงผู้บริหารและสมาชิกบุคลากรด้านบริการสังคมได้พิจารณาถึงวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดสรรงานให้แก่บุคลากรด้านบริการสังคมและการสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยง กับโรงเรียนและสภาพแวดล้อมก่อนช่วงปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
                                        1.2.2 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวทางระดับภูมิภาคสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนว่าด้วยบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรด้านบริการสังคมในบริบทที่กว้างกว่าในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ สาระสำคัญ เช่น เป็นการสนับสนุนผู้กำหนดนโยบาย ผู้ตัดสินใจ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานวางแผนของรัฐบาล และหน่วยงานจัดการภัยพิบัติและสภาพภูมิอากาศแห่งชาติรวมถึงในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และแรงงานบริการสังคมในวงกว้างที่มีต่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                        1.2.3 ร่างฉบับสุดท้ายของแนวปฏิบัติของอาเซียนสำหรับการพัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานระดับชาติ เพื่อการตอบสนองแบบประสานงานต่อความรุนแรง ต่อสตรีและเด็กหญิง สาระสำคัญ เช่น เป็นการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานแบบประสานงานในระดับชาติสำหรับการตอบสนองต่อความรุนแรงต่อสตรีและเด็กหญิงโดยให้ความสำคัญกับสิทธิและการเข้าถึงการบริการที่เหมาะสมกับความต้องการรวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิง
                    ประโยชน์ที่จะได้รับ
                    การให้ความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุม ASCC ครั้งที่ 32 และร่างฉบับสุดท้ายของเอกสารผลลัพธ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของไทย ไม่มีผลผูกพันในเชิงงบประมาณโดยถือเป็นการย้ำเจตจำนงและความมุ่งมั่นของไทยในการร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนเสริมสร้างความเชื่อมโยงและความเข้มแข็งระดับภูมิภาค ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินความร่วมมือและรับรองหลักการเอกสารผลลัพธ์ด้านต่าง ๆ ที่จะนำเสนอต่อการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป

21. รื่อง ขอความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ด้านแรงงานสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                      คณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อเอกสาร (for notation) ทั้ง 2 ฉบับ สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 ระหว่างวันที่ 6 - 11 ตุลาคม 2567 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน (ASEAN Labour Ministers Meeting : ALMN) ครั้งที่ 28 และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 28 -31 ตุลาคม 2567 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้แก่ 1) แนวทางอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติ (ASEAN Guidelines on Portability of Social Security Benefits for Migrant Workers) 2) แนวทางอาเซียนว่าด้วยการบรรจุงานและการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในภาคประมง (ASEAN Guidelines on the Placement and Protection of Migrant Fishers) ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
                      ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
                     สาระสำคัญ
                      กระทรวงแรงงานและการจ้างงาน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในฐานะประธานการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน (ASEAN Labour Ministers Meeting, ALMM) ระหว่างปี พ.ศ. 2565 - 2567 มีความประสงค์จะผลักดันเอกสาร 4 ฉบับ (2 ใน 4 ฉบับ คือ แนวทางอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติ และแนวทางอาเซียนว่าด้วยการบรรจุงานและการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในภาคประมง) เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ ครั้งที่ 45 (The 44th and 45th ASEAN Summits)
                      สาระสำคัญของเอกสารผลลัพธ์ มีดังนี้
                      1. แนวทางอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติ (ASEAN Guidelines on Portability of Social Security Benefits for Migrant Workers) เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างประเทศอาเซียนเพื่อกำหนดมาตรฐานและแนวทางในการจัดทำความตกลงด้านการประกันสังคมระหว่างประเทศ ในรูปแบบทวิภาคีหรือพหุภาคี ซึ่งหมายรวมถึงสัญญาระหว่างประเทศ (Agreement/Memorandum of Agreements: MOA) บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) และบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation: MOC) โดยให้ใช้ร่วมกันในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเปรียบเทียบตลอดจนเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติที่ย้ายถิ่นฐานภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนอันจะเป็นข้อมูลแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้เชี่ยวชาญจากภูมิภาคอื่น ๆ
                      2. แนวทางอาเซียนว่าด้วยการบรรจุงานและการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในภาคประมง (ASEAN Guidelines on the Placement and Protection of Migrant Fishers) เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างประเทศอาเซียนในการดูแลและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในเรือประมงให้มีสภาพการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสม มีความปลอดภัยในการทำงาน ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม เข้าถึงความยุติธรรมและการเข้าถึงความคุ้มครองทางสังคม ซึ่งรวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภาคประมงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือ
                      ประโยชน์และผลกระทบ
                      1. แนวทางอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติ จะช่วยส่งเสริมให้แรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียนได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการประกันสังคมระหว่างประเทศและอำนวยความสะดวกในการเปรียบเทียบ ตลอดจนเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติที่ย้ายถิ่นฐานภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนอันจะเป็นข้อมูลแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้เชี่ยวชาญจากภูมิภาคอื่น ๆ
                      2. แนวทางอาเซียนว่าด้วยการบรรจุงานและการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในภาคประมง จะช่วยส่งเสริมการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในภาคประมงในภูมิภาคอาเซียนให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย คุ้มครองให้มีสภาพการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสม มีความปลอดภัยในการทำงานได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม เข้าถึงความยุติธรรมและการเข้าถึงความคุ้มครองทางสังคม ซึ่งรวมถึงการให้ความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภาคประมงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือ

แต่งตั้ง

22. เรื่อง การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                    คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม                 (นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

23. เรื่อง การมอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
                    คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. นางมนพร เจริญศรี
                    2. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้
                    1. นายสมคิด เชื้อคง
                    2. นางสาวธีราภา ไพโรหกุล
                    3. นายณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป


25. เรื่อง การแต่งตั้งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กระทรวงมหาดไทย)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายจักรพงศ์ คำจันทร์                       เป็นผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ ตามมติคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค ในการประชุมครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 และครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนาม                   ในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
                    ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

26. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นายกำธร ชีพชัยอิสสระ เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แทน                นายสมัย โชติสกุล ประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป  และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

27.  เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้  ตามความในมาตรา 42  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                            (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ              พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างและตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ดังนี้
                    1. นายรองวุฒิ วีรบุตร ตำแหน่ง อัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ                             ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
                    2. นายเชษฐพันธ์ มากสัมพันธ์ ตำแหน่ง อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ให้ดำรงตำแหน่ง               รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    3. นางศิริลักษณ์ นิยม ตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ก ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้  ข้าราชการในลำดับที่ 1 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง และข้าราชการในลำดับที่            2-3  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศในลำดับที่ 1 ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับแล้ว
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป  ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ดังนี้
                    1. นางสาวสุนีย์ ศรีสง่าตระกูลเลิศ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    2. นายกิตติ อินทรกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                      รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป  ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

30. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้
                      1. นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล           ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
                                                                  (รองนายกรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย)
                      2. นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ           ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
                                                                  (รองนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
                      3. นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ           ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
                                                                  (รองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร)
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหารสูง)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายอนันต์ แก้วกำเนิด รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ              (นักบริหารสูง) ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหารสูง) ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

32. เรื่อง  การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                      คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอการรับโอนนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มาดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป  ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย ดังนี้
                      1. พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล ตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (ประเภทบริหาร ระดับสูง)  (ตำแหน่งเลขที่ 3) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (ประเภทบริหารระดับสูง) (ตำแหน่งเลขที่ 1) กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
                      2. นายโกมล พรมเพ็ง ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ประเภทบริหาร ระดับสูง) (ตำแหน่ง
เลขที่ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (ประเภทบริหาร
ระดับสูง) (ตำแหน่งเลขที่ 3) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
                      3. พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ ตำแหน่งรองอธิบดี (ประเภทบริหาร ระดับต้น) (ตำแหน่ง
เลขที่ 3) กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (ประเภทบริหาร ระดับสูง)
(ตำแหน่งเลขที่ 1) กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ                 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 6 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                      1. นายสุภชัย จันปุ่ม ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 13 สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                      2. นางสาววันเพ็ญ บุรีสูงเนิน ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                      3. นายพิเชฐร์ วันทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                   ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                      4. ว่าที่ร้อยเอก วิสาร ปัญญชุณห์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                      5. นายสง่า แต่เชื้อสาย ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
                      6. นายณรงค์ชัย เจริญรุจิทรัพย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                   รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

35. เรื่อง  การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นายดุสิต  เมนะพันธุ์                เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                      ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป



36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                      1. นายจักรพรรดิ์ คล่องพยาบาล ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                      2. นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

37. เรื่อง  การแต่งตั้งข้าราชการเมือง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้ง นายธเนศพล  ธนบุณยวัฒน์   เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                      1. นายพรรณธนู วรรมกางซ้าย ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
                     2. นายอัฐฐเสฏฐ จุลเสฏฐพานิช ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงแรงงาน)
                        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                      1. นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ   ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
                    2. นายอารี ไกรนรา     ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพลังงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เสนอแต่งตั้ง นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

41. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                      1. นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
                      2. นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป
42.  เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอแต่งตั้ง นายธนรัช                จงสุทธานามณี เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

43. เรื่อง  การเปิดสถานกงสุลใหญ่ราชอาณาจักรกัมพูชา ณ จังหวัดสงขลา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรณีการเปิดสถานกงสุลใหญ่ราชอาณาจักรกัมพูชา ณ จังหวัดสงขลา โดยมีเขตกงสุลครอบคลุม 12 จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต พังงา และสุราษฎร์ธานี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1.  ประเทศไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่     19 ธันวาคม 2493 ปัจจุบันความสัมพันธ์อยู่ในระดับดีมาก และผู้นำระดับสูงมีความใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยน               การเยือนอย่างสม่ำเสมอในทุกระดับ ขณะที่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ แรงงานกัมพูชายังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ตามสถิติ                      ณ เดือนพฤษภาคม 2567 มีแรงงานชาวกัมพูชาที่ทำงานอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยทั้งสิ้น 482,809  คน
                    2. เมื่อปี 2543 รัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาได้จัดตั้งสถานกงสุลใหญ่ ณ จังหวัดสระแก้ว                      เพื่อปฏิบัติงานด้านกงสุลและให้การดูแลคุ้มครองชาวกัมพูชาในประเทศไทยโดยปัจจุบันจำนวนแรงงานชาวกัมพูชาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในภาคการประมงในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย และเมื่อปี 2566 มีแรงงานประมงชาวกัมพูชาในประเทศไทย ประมาณ 33,001 คน ดังนั้น รัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาจึงประสงค์จัดตั้งสถานกงสุลใหญ่ราชอาณาจักรกัมพูชา ณ จังหวัดสงขลา
                    3. กต. ได้รับหนังสือกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศราชอาณาจักรกัมพูชาแจ้งความประสงค์ขอเปิดสถานกงสุลใหญ่ราชอาณาจักรกัมพูชา ณ จังหวัดสงขลา โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดสงขลา กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต พังงา และสุราษฎร์ธานี และตั้งอยู่บ้านเลขที่ 3/27 และ 5/8 หมู่ที่ 1 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ทั้งนี้ กต.ได้สอบถามความเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ                   กรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้รับแจ้งว่า ไม่ปรากฏข้อห่วงกังวลที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้  การเปิดสถานกงสุลใหญ่ราชอาณาจักรกัมพูชา  ณ  จังหวัดสงขลา  จะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้ใกล้ชิดมากขึ้น

44. เรื่อง การให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร   (Deputy Chief Executive Officer, DCEO) ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย (Ms. Yusrinawati Ibaruslan)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง Ms. Yusrinawati Ibaruslan ที่รัฐบาลมาเลเซียเสนอให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Deputy Chief Executive Officer, DCEO) ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567-30 กันยายน 2571 ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซียได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ขึ้นเพื่อร่วมกันแสวงประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย โดยตามโครงสร้างการบริหารงานองค์กรร่วมตามที่รัฐบาลทั้งสองได้ให้ความเห็นชอบไว้กำหนดให้มีการสลับหมุนเวียนตำแหน่งหัวหน้าและรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ระหว่างคนไทยและคนมาเลเซียทุก ๆ 4 ปี และการแต่งตั้งตำแหน่งดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศก่อน จึงจะสามารถดำเนินการแต่งตั้งได้
                    2. เนื่องจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Deputy Chief Executive Officer, DCEO) ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี (8 กรกฎาคม 2563) ซึ่งปัจจุบันมี นายสุพัฒน์ นภานพรัตน์แก้ว เจ้าหน้าที่ของประเทศไทยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ จะดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2567 โดยวาระถัดไปตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Deputy Chief Executive Officer, DCEO) ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย จะเป็นวาระของประเทศมาเลเซีย
                    3. พน. แจ้งว่ารัฐบาลมาเลเซียได้เสนอชื่อ Ms. Yusrinawati  lbaruslan ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านธุรกิจปิโตรเลียม มีภาวะผู้นำ และประสบการณ์ทำงานด้านการวางแผน การเงิน และการกำกับดูแลธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Deputy Chief Executive Officer, DCEO) องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย โดย พน. พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าวจึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ