http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ 29 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกรมของส่วนราชการใน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (การปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความ ยั่งยืนของประเทศไทย) 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. .... 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและเนื้อที่ที่ดินที่จะใช้เป็นที่จัดตั้ง สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. .... 9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. .... 10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ พ.ศ. .... 11. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาต ได้ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดา ขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... 12. เรื่อง ร่างกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... 13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุ นิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกาก กัมมันตรังสี พ.ศ. .... 14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีใน การขนส่ง พ.ศ. .... 15. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง และการคำนวณค่าใช้จ่ายอันเกิด จากการสกัดกั้น หรือการปฏิบัติการโดยเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายทหาร เพื่อทำลาย อากาศยานจากภาคพื้น พ.ศ. .... เศรษฐกิจ-สังคม 16. เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ
พ.ศ. 2566 ? 2570
17. เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่ อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดใน ราชอาณาจักร 18. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็น สายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2566 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566) ต่างประเทศ 19. เรื่อง การลงนามข้อตกลงอาร์เทมิส (Artemis Accords) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับ ประเทศไทย 20. เรื่อง ขอความเห็นชอบการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ (Agreement for Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the United States of America concerning Peaceful Uses of Nuclear Energy)
(123 Agreement)
21. เรื่อง แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการ
ธนาคารกลางอาเซียน + 3 ครั้งที่ 27
22. เรื่อง การขอรับจัดสรรงบเงินอุดหนุนแก่ศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้าน การพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue) 23. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ องค์การอนามัยโลกต่อการจัดการประชุมสุขภาพช่องปากโลก (WHO Global Oral Health Meeting) 24. เรื่อง การต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบ หนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับ ภูมิภาค ของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law) ประจำปี 2567 25. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการ ทรัพยากรดิน และน้ำเพื่อความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน (The International Soil and Water Forum 2024) 26. เรื่อง การเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย NBSAP Accelerator Partnership 27. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง ฉบับใหม่ แต่งตั้ง 28. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) 30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) 31. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (Thai National Committee for International Humanitarian Law) 32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) 33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) 34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข) 35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม) 36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) 37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม) 38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม) 39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม) 40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย) 41. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข) 42. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงาน พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 43. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการจากผู้แทนสถาบันหรือบุคคลอื่นที่ เกี่ยวข้องกับการผังเมืองในคณะกรรมการผังเมือง (กระทรวงมหาดไทย) 44. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพลังงาน) 45. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์) 46. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์) 47. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน 48. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
กฎหมาย 1. เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกรมของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ คณะรัฐมนตรีรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการที่ดำเนินการในกรณีการมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรมโดยไม่เพิ่มจำนวนกอง (rearrange) ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกรมของส่วนราชการ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีผลอย่างเป็นรูปธรรม และได้ดำเนินการตามขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 แล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยแล้ว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง (สป.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รวมทั้งหน้าที่และอำนาจของ สป.ศธ. เนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 มีผลใช้บังคับ ทำให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยใน สป.ศธ. เปลี่ยนฐานะเป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศธ. ส่งผลให้ภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของ สป.ศธ. เปลี่ยนแปลงไป 1.1 สป.ศธ. มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติราชการ ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ จัดทำงบประมาณและบริหารราชการประจำทั่วไปของกระทรวง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง เช่น จัดสรรและพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรของกระทรวงเพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์ ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการ กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผล รวมทั้งรับเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นต้น 1.2 จัดตั้งส่วนราชการใน สป.ศธ. ดังต่อไปนี้ (1) สำนักอำนวยการ (2) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (3) สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (4) สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน (5) สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ (6) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (7) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (8) สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล (9) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (10) สำนักนิติการ 2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 โดยกำหนดให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน และกลุ่มพัฒนาระบบบริหารขึ้นในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ศธ. เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงาน สนับสนุนการปฏิบัติงาน และพัฒนาการบริหารของ สอศ. อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่และอำนาจมีประสิทธิภาพและประประสิทธิผลยิ่งขึ้น กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดังต่อไปนี้ (1) สำนักอำนวยการ (2) สำนักความร่วมมือ (3) สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา (4) สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา (5) สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา (6) สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ (7) สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดังต่อไปนี้ (1) สำนักอำนวยการ (2) สำนักความร่วมมือ (3) สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา (4) สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา (5) สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา (6) สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ (7) สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา (8) กลุ่มตรวจสอบภายใน (9) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 โดยกำหนดให้มีกลุ่มตรวจสอบภายในและกลุ่มพัฒนาระบบบริหารขึ้น ในสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ศธ. เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบการดำเนินงาน สนับสนุนการปฏิบัติงาน และการพัฒนาการบริหารของ สกศ. อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่และอำนาจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา ดังต่อไปนี้ (1) สำนักอำนวยการ (2) สำนักนโยบายและแผนการศึกษา (3) สำนักประเมินผลการจัดศึกษา (4) สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา (5) สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (7) สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา ดังต่อไปนี้ (1) สำนักอำนวยการ (2) สำนักนโยบายและแผนการศึกษา (3) สำนักประเมินผลการจัดศึกษา (4) สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา (5) สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (7) สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา (8) กลุ่มตรวจสอบภายใน (9) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ สาระสำคัญ สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเรียนรู้ฯ เสร็จแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการในกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อกำหนดหน้าที่ และอำนาจของแต่ละส่วนราชการให้เหมาะสมกับการดำเนินงานในปัจจุบัน เนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ได้มีผลใช้บังคับ ทำให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) ศธ. เปลี่ยนฐานะเป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศธ. ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมใน ศธ. 1. กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศธ. มีภารกิจเกี่ยวกับการจัด ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับและการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ แก่ประชาชน เพื่อให้บุคคลมีทักษะการเรียนรู้ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตที่สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก และมีโอกาสพัฒนาหรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัดหรือความจำเป็น 2. จัดตั้งส่วนราชการในกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศธ. ดังต่อไปนี้ (1) สำนักงานเลขานุการกรม (2) กองบริหารทรัพยากรบุคคล (3) กองมาตรฐานและส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิ (4) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (5) กองส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (6) ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ (7) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีรับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ สาระสำคัญ สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีฯ เสร็จแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อว. เสียใหม่ โดยยกเลิกกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2548 และแก้ไขชื่อ ?คณะเทคโนโลยี? เป็น ?คณะเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์? เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและการดำเนินงานในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการยกระดับคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนามหาวิทยาลัยที่จัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงการคลังเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (30 กรกฎาคม 2567) อนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการให้สิทธิประโยชน์ตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย ในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG) โดยให้ขยายวงเงินการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนจาก 100,000 บาทต่อปีภาษี เป็น 300,000 บาทต่อปีภาษี ทั้งนี้ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน และให้ลดเวลาถือครองหน่วยลงทุนเหลือไม่น้อยกว่า 5 ปี (จากเดิมต้องถือครองหน่วยลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 8 ปี) สำหรับหน่วยลงทุนที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 และกำหนดให้ไม่ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน) โดยวงเงินลงทุนของ Thai ESG จะไม่ถูกนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ปัจจุบันกำหนดเพดานลดหย่อนภาษี รวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท กรณีผู้มีเงินได้ซื้อกองทุน TESG ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันก่อนวันที่กฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงการคลังเสนอ มีผลใช้บังคับ ผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะได้รับสิทธิหักค่าลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในอัตราร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท และได้รับลดเวลาถือครองหน่วยลงทุนเหลือเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนด้วย (ส่วนกรณีที่ซื้อกองทุน TESG ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 และกรณีซื้อกองทุน TESG ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 เป็นต้นไป ผู้ซื้อกองทุนจะได้รับสิทธิหักค่าลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในอัตราร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาท เมื่อถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 8 ปีนับแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน) 2. โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ 1. ผู้มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ? บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง) 2. เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์ จากการซื้อหน่วยลงทุน TESG จากการขายหน่วยลงทุน TESG ? นำเงินได้มาซื้อหน่วยลงทุนใน TESG ? ต้องลงทุนใน TESG ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 ? ต้องถือหน่วยลงทุนใน TESG ไม่น้อยกว่า 5 ปี (จากเดิม ไม่น้อยกว่า 8 ปี) นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน (แต่ไม่รวมกรณีทุพพลภาพหรือตาย) ? ขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG ? ถือหน่วยลงทุนใน TESG มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี (จากเดิม ไม่น้อยกว่า 8 ปี) นับตั้งแต่วันที่ซื้อ หน่วยลงทุน (แต่ไม่รวมกรณีทุพพลภาพหรือตาย) 3. สิทธิประโยชน์ จากการซื้อหน่วยลงทุน TESG จากการขายหน่วยลงทุน TESG ? ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าซื้อ หน่วยลงทุนใน TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท (จากเดิม ไม่เกิน 100,000 บาท) สำหรับปีภาษีนั้น ๆ ? ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้ (เฉพาะกรณีที่คำนวณเงินหรือผลประโยชน์จากเงินที่ได้หักลดหย่อนกรณีซื้อหน่วยลงทุนใน TESG) 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงพลังงานเสนอ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการยกเลิกกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบกิจการระบบ การขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อเพื่อให้ครอบคลุมถึงการประกอบกิจการทั้งท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกและท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล รวมถึงท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (เดิมใช้กำกับดูแลเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในสถานะไอก๊าซ เช่น ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) แต่ไม่รวมถึงท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่อยู่นอกชายฝั่งทะเลจนถึงสถานีแรกบนฝั่ง) เพื่อให้มีความปลอดภัยในการประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัยหรืออันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อในปัจจุบันและสอดคล้องกับสภาพมาตรฐานสากล ทั้งนี้ คณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเชื้อเพลิงได้มีมติเห็นชอบและกระทรวงพลังงานได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายด้วยแล้ว 2. ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1) กำหนดให้ ?ก๊าซธรรมชาติ? หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมที่ประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนใหญ่ 2) กำหนดให้ ?ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ? หมายความว่า ระบบที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายก๊าซธรรมชาติผ่านท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกหรือท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งประกอบด้วย สถานี ท่อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติ 3) กำหนดให้ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่ไม่ถือเป็นระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อตามกฎกระทรวงนี้ เช่น พื้นที่พัฒนาร่วม โรงแยกก๊าชธรรมชาติและโรงผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว เป็นต้น 4) กำหนดให้ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องได้รับการเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือรายงานด้านสิ่งแวดล้อม และจัดทำรายงานการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่ได้รับความเห็นชอบ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศ 5) กำหนดให้ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องมีแผนผังโดยสังเขป แสดงตำแหน่งที่ตั้งของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ แผนผังบริเวณแสดงแนวท่อ แบบก่อสร้างระบบการขนส่ง และรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัย 6) กำหนดให้การออกแบบ การก่อสร้าง ติดตั้ง และวัสดุ อุปกรณ์ของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ประกาศโดยสมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานของประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป หรือมาตรฐานอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา 7) การกำหนดมาตรการความปลอดภัยของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่มีตำแหน่งที่มีโอกาสรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติต้องตั้งอยู่ห่างจากผนังถังเก็บน้ำมัน หรือถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสถานที่เก็บวัตถุที่ติดไฟหรือระเบิดได้ทุกชนิดที่อยู่เหนือพื้นดิน หรือแหล่งที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟได้ง่ายไม่น้อยกว่า 7.50 เมตร 8) กำหนดให้การออกแบบ การติดตั้ง การตรวจสอบระบบไฟฟ้า การต่อลงดิน ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า บริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งสำหรับประเทศไทยของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานที่ประกาศโดยคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขา อิเล็กทรอนิกส์ มาตรฐานที่สถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกากำหนด หรือมาตรฐานอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ในราชกิจจานุเบกษา 9) กำหนดให้สถานีและแท่นประกอบการขนส่งก๊าซธรรมชาติต้องจัดให้มีป้ายห้ามและคำเตือนเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยและต้องติดตั้งไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ได้แก่ ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามจุดไฟและก่อประกายไฟ และห้ามใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ สถานีต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.8 กิโลกรัม ที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบอย่างน้อยสองเครื่องไว้ ณ บริเวณที่มองเห็นและสามารถนำออกมาใช้ได้โดยง่าย 10) กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดให้มีการเตรียมการในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างน้อยต้องมีการจัดทำแผนฉุกเฉินและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งพร้อมทั้งจัดทำและจัดเก็บรายงานการฝึกซ้อมเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของกรมธุรกิจพลังงาน จัดทำป้ายขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อประสบเหตุฉุกเฉินสำหรับบุคคลทั่วไปในพื้นที่เขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและเนื้อที่ที่ดินที่จะใช้เป็นที่จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและเนื้อที่ที่ดิน ที่จะใช้เป็นที่จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว เป็นการยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและเนื้อที่ที่ดิน ที่จะใช้เป็นที่จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2549 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดลักษณะและเนื้อที่ที่ดิน ที่จะใช้เป็นที่จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จากการกำหนดเนื้อที่ที่ดินขั้นต่ำที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในแต่ละประเภท พึงมี เป็นการกำหนด ?พื้นที่ใช้สอย? ตามลักษณะการใช้ประโยชน์บนเนื้อที่ที่ดินของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแทน ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น รายละเอียด 1. บทนิยาม - ?พื้นที่ใช้สอย? หมายความว่า พื้นที่ทั้งภายในและภายนอกอาคารที่จัดไว้ตามลักษณะการใช้ประโยชน์เพื่อเป็นพื้นที่ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และต้องสอดคล้องกับการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการอุดมศึกษา - ?ผังแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ใช้สอย? หมายความว่า ผังบริเวณในการจัดพื้นที่ใช้สอยของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบทางกายภาพและการใช้ประโยชน์พื้นที่ใช้สอย ให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน - ?แผนการดำเนินงาน? หมายความว่า แผนการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือกฎกระทรวงว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อหรือเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แล้วแต่กรณี 2. ลักษณะและเนื้อที่ที่ดินที่จะใช้เป็นที่จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน - ที่ดินที่จะใช้เป็นที่จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ต้องติดต่อเป็นผืนเดียวกัน และมีเนื้อที่ที่เหมาะสมและเพียงพอ ต่อการจัดพื้นที่ใช้สอย รวมทั้งรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามแผนการดำเนินงาน ในกรณีที่ที่ดินไม่ได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน ต้องมีการบริหารจัดการและมีการเชื่อมโยงถึงกันในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านวิชาการ การบริหารจัดการห้องสมุด การให้บริการนักศึกษา การคมนาคมขนส่ง และต้องเอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษาและจัดกิจกรรมทางการศึกษาได้โดยสะดวก 3. การจัดพื้นที่ใช้สอยให้จำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ - ให้การจัดพื้นที่ใช้สอยจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ดังนี้ 1. เพื่อการจัดการศึกษา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีห้องเรียน ห้องบรรยายห้องปฏิบัติการ ห้องคอมพิวเตอร์ และพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ 2. เพื่อการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม เช่น ห้องปฏิบัติการวิจัย 3. เพื่อการบริการวิชาการแก่สังคมและการทะนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม ต้องมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ การวิจัย การสร้างนวัตกรรม เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม หรือการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน เผยแพร่ และต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 4. เพื่อเป็นที่ตั้งของส่วนงานภายใน ต้องมีพื้นที่ของส่วนงาน เช่น สำนักงาน คณะ สถาบัน หรือศูนย์ 5. เพื่อการสร้างสังคมและการใช้ชีวิตภายในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ต้องมีพื้นที่รองรับการทำกิจกรรมและการใช้ชีวิต เช่น ด้านกีฬา การออกกำลังกาย โภชนาการ ดนตรี และนันทนาการ 6. เพื่อเป็นพื้นที่สีเขียวตามแนวทางการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องมีพื้นที่สีเขียวในสัดส่วนที่เหมาะสมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนจะจัดให้มีพื้นที่ใช้สอยเพื่อดำเนินพันธกิจตามจุดเน้น ความเชี่ยวชาญ และการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ด้วยก็ได้ โดยจะต้องมีพื้นที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว 4. ผังแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ใช้สอย - กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งหรือผู้ขออนุญาตเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจัดทำผังแม่บทฯ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอยประเภทต่าง ๆ เนื้อที่และสัดส่วนของพื้นที่ใช้สอยในแต่ละประเภท อาคารและสิ่งปลูกสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ระบบการสัญจร ภูมิทัศน์ภายในพื้นที่ใช้สอย ที่สอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน หรือรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่กำหนด และสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของผู้ออกแบบผังแม่บทฯ ยื่นไปพร้อมกับคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนหรือคำขออนุญาตเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แล้วแต่กรณี 5. บทเฉพาะกาล - กำหนดให้รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะใช้เป็นที่จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้พิจารณาตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและเนื้อที่ที่ดิน ที่จะใช้เป็นที่จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2549 จนกว่าการพิจารณาคำขอดังกล่าวจะแล้วเสร็จ 7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ เป็นร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้บุคคลธรรมดาสามารถขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งยูเรเนียมด้อยสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ต่ำกว่าร้อยละ 0.5 ลงมาโดยน้ำหนัก และมีปริมาณตั้งแต่ 20 ตันขึ้นไป เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถนำวัสดุนิวเคลียร์ดังกล่าวมาใช้ในการประกอบธุรกิจ โดยยูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าว สามารถนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีและใช้เป็นที่กำบังรังสีในกิจการอื่น ๆ ได้ เช่น การประกอบธุรกิจในการผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี เป็นต้น 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. .... เป็นการกำหนดให้วัสดุนิวเคลียร์ ดังต่อไปนี้ ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครอง ใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน แต่ต้องแจ้งปริมาณที่ครอบครองต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 1. พลูโทเนียมที่มีพลูโทเนียม 238 ไม่เกินร้อยละ 80 โดยน้ำหนัก ปริมาณไม่เกิน 15 กรัม 2. พลูโทเนียมที่มีพลูโทเนียม 238 เกินร้อยละ 80 โดยน้ำหนักทุกปริมาณ 3. ยูเรเนียม 233 ปริมาณไม่เกิน 15 กรัม 4. ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป โดยน้ำหนัก ปริมาณไม่เกิน 15 กรัม 5. ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป แต่ต่ำกว่าร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม 6. ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 สูงกว่าปริมาณในธรรมชาติแต่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ลงมา โดยน้ำหนัก ปริมาณน้อยกว่า 10 กิโลกรัม 7. ยูเรเนียมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ปริมาณไม่เกิน 10 ตัน 8. ยูเรเนียมด้อยสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ขึ้นไป แต่ไม่เกินร้อยละตามปริมาณในธรรมชาติ โดยน้ำหนัก ปริมาณไม่เกิน 10 ตัน 9. ยูเรเนียมด้อยสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ลงมาโดยน้ำหนัก ปริมาณไม่เกิน 20ตัน 10. ไอโซโทปยูเรเนียมอื่น ปริมาณไม่เกิน 10 ตัน 11. ทอเรียม ปริมาณไม่เกิน 20 ตัน 9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงการแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ดังนี้ 1. กำหนดให้ผู้ที่มีวัสดุนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง จะต้องยื่นคำขอแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีไว้ในครอบครองซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ดังกล่าว 2. กำหนดวิธีการตรวจสอบและการออกใบรับแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ 2.1 กรณีเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้ยื่นคำขอภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เอกสารและหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนดังกล่าว 2.2 กรณีเอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องและสามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วน หากผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมเอกสารหรือหลักฐานดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป และให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ และมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ 2.3 กำหนดหน้าที่ผู้แจ้งต้องจัดทำรายงานแสดงปริมาณการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ โดยต้องเสนอรายงานดังกล่าวต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติทุกรอบ 1 ปี นับแต่วันที่ออกใบรับแจ้ง 2.4 กำหนดวิธีการในการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในใบรับแจ้ง ซึ่งต้องไม่เกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของวัสดุนิวเคลียร์ที่มีไว้ในครอบครอง โดยให้ยื่นคำขอแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่ระบุไว้ในแบบคำขอต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว 2.5 การขอรับใบแทนใบรับแจ้งกรณีที่ใบรับแจ้งชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย โดยให้ผู้แจ้งยื่นคำขอรับใบแทนใบรับแจ้งพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐาน ต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย ทั้งนี้ ใบแทนใบรับแจ้งให้ใช้แบบใบรับแจ้ง โดยระบุคำว่า ?ใบแทน? ด้วยตัวอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบรับแจ้ง 2.6 การขอยกเลิกการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้แจ้งมิได้ครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ตามที่ได้แจ้งไว้ โดยให้ผู้แจ้งยื่นคำขอยกเลิกการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติภายใน 30 วันนับแต่วันที่มิได้ครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ดังกล่าว 10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตและผู้มีไว้ในครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ต้องปฏิบัติ มีสาระสำคัญ ดังนี้ หลักเกณฑ์ รายละเอียด 1. คำนิยาม ??สถานประกอบการทางนิวเคลียร์? ให้หมายความรวมถึง สถานที่จัดเก็บและสถานที่ประกอบกิจการที่มีวัสดุนิวเคลียร์ ? ?การรักษาความมั่นคงปลอดภัย? หมายความว่า การป้องกัน การตรวจจับและการตอบสนองต่อการก่อวินาศกรรม การเข้าถึงโดยมิชอบ การเคลื่อนย้ายหรือการเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบ หรือการกระทำอื่นใดอันมีเจตนากระทำผิดกฎหมายต่อวัสดุนิวเคลียร์ สถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการ ที่มีวัสดุนิวเคลียร์หรือสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ? ?การเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบ? หมายความว่า การลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือการกระทำความผิดอื่นใดเกี่ยวกับทรัพย์ต่อวัสดุนิวเคลียร์ ??การก่อวินาศกรรม? หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อวัสดุนิวเคลียร์ สถานที่จัดเก็บ หรือสถานที่ประกอบกิจการที่มีวัสดุนิวเคลียร์ หรือสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ โดยเจตนาให้เกิดอันตรายไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ของบุคคลหรือต่อสิ่งแวดล้อม จากการรับรังสีหรือการแพร่กระจายของวัสดุกัมมันตรังสีหรือวัสดุนิวเคลียร์ ??ผู้รับใบอนุญาต? หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์ตามมาตรา 36(1) และผู้รับใบอนุญาตก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ตามมาตรา 55 ??ระบบการคุ้มครองทางกายภาพ? หมายความว่า การบูรณาการทั้งด้านบุคลากร วิธีการปฏิบัติ เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกันการเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบและการก่อวินาศกรรม 2. แผนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ?ต้องระบุสถานการณ์ที่เป็นไปได้โดยพิจารณาจากการประเมินภัยคุกคาม หรือภัยคุกคามที่ออกแบบเพื่อรับมือที่อาจทำให้การเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบ หรือการก่อวินาศกรรมกระทำได้สำเร็จ แผนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระบบการคุ้มครองทางกายภาพและแผนเผชิญเหตุที่สามารถตอบโต้การเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบและการก่อวินาศกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ?ต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าสามารถปฏิบัติตามแผนได้ 3. วิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ?วิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับวัสดุนิวเคลียร์หรือสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่กำหนดไว้ในระบบการคุ้มครองทางกายภาพ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ ?ผู้รับใบอนุญาตต้องทบทวนและทดสอบวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินว่าวิธีการดังกล่าวยังคงมีประสิทธิภาพ ?ผู้รับใบอนุญาตต้องดูแลอุปกรณ์และเครื่องมือที่กำหนดไว้ในวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา 4. ระบบการคุ้มครองทางกายภาพ ?ผู้รับใบอนุญาตต้องออกแบบระบบการคุ้มครองทางกายภาพให้สอดคล้องกับระบบความปลอดภัยเชิงวิศวกรรม โดยคำนึงถึงลักษณะพิเศษของการดำเนินการการป้องกันอัคคีภัย การป้องกันอันตรายจากรังสี และมาตรการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ?ในการออกแบบระบบการคุ้มครองทางกายภาพ ต้องคำนึงถึง - การป้องกันมิให้ผู้ซึ่งประสงค์จะเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบหรือ การก่อวินาศกรรมเข้าถึงเป้าหมาย - การป้องกันมิให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสถานประกอบการทางนิวเคลียร์มีโอกาสในการเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบหรือการก่อวินาศกรรม - การป้องกันสถานประกอบการทางนิวเคลียร์จากการโจมตีระยะไกล 5. พื้นที่ในสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ?ผู้รับใบอนุญาตต้องกำหนดพื้นที่ในสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ (1) พื้นที่หวงห้ามเด็ดขาด ต้องจัดให้มีการดำเนินการและมาตรการ เช่น มีเครื่องกีดขวางหรืออุปกรณ์ป้องกันการเข้าถึงวัสดุนิวเคลียร์ที่เป็นเอกเทศ มีทางเข้าออกทางเดียว (2) พื้นที่หวงห้าม ต้องจัดให้มีการดำเนินการและมาตรการ เช่น มีเครื่อง กีดขวางอย่างน้อย 2 ชั้น มีทางเข้าออกเท่าที่จำเป็นและมีการรักษาการทุกแห่ง มีการลาดตระเวนตรวจตราเป็นระยะ ๆ (3) พื้นที่หวงกัน ต้องจัดให้มีการดำเนินการและมาตรการ เช่น มีเครื่องกีดขวางล้อมอยู่โดยรอบ มีระบบสัญญาณเตือนภัยเพื่อเตือนให้ทราบเมื่อมีการเข้าใกล้ 6. สถานีเตือนภัย ?ต้องตั้งอยู่ในพื้นที่หวงห้าม ?มีหน้าที่เฝ้าระวัง บันทึก และประเมินสัญญาณเตือนภัย ตอบสนองต่อสัญญาณเตือน และติดต่อสื่อสารกับหน่วยกำลังตอบโต้และผู้เกี่ยวข้อง ?ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการทดสอบ ประเมินประสิทธิภาพ และซ่อมบำรุง อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารและอุปกรณ์เตือนภัยอย่างสม่ำเสมอเพื่อพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา 7. ผู้มีสิทธิผ่านเข้าออกพื้นที่ในสถานประกอบการนิวเคลียร์ ?ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการตรวจสอบและตรวจค้นบุคคลที่จะผ่านเข้าพื้นที่หวงกัน เพื่อป้องกันการก่อวินาศกรรม การเข้าถึงโดยมิชอบ หรือการนำวัสดุ หรืออุปกรณ์ต้องห้ามเข้าไปในพื้นที่หวงกัน ?เพื่อป้องกันการลักลอบนำวัสดุนิวเคลียร์ออกไปจากพื้นที่หวงห้ามเด็ดขาด ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการตรวจค้นบุคคลทุกคนที่ออกจากพื้นที่หวงห้ามเด็ดขาดอย่างน้อย 2 รอบ ?ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการตรวจสอบสิ่งของที่จะผ่านเข้าไปในพื้นที่หวงกัน และห้ามอนุญาตให้นำสิ่งของใด ๆ เข้าไปในพื้นพื้นที่หวงกัน ยกเว้นสิ่งของที่กำหนดไว้แล้วในตารางงานของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และมิใช่สิ่งของต้องห้าม 8.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในสถานประกอบการนิวเคลียร์ ?ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีมาตรการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบหรืออาจกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย บัญชีควบคุมวัสดุนิวเคลียร์ และระบบสนับสนุนอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยอย่างน้อยต้องสามารถรับมือได้ตามภัยคุกคามที่ออกแบบเพื่อรับมือ 9. การค้นหาและเอากลับมาซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ที่สูญหายหรือถูกเอาไปโดยมิชอบ ?ผู้รับใบอนุญาตและผู้มีไว้ในครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ต้องจัดให้มีวิธีการที่ทำให้ตรวจพบการสูญหายของวัสดุนิวเคลียร์ได้โดยเร็ว ?ต้องรายงานการสูญหายต่อ ปส. ทันทีที่ทราบถึงการสูญหายหรือถูกเอาไปโดยมิชอบ ? ต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมสำหรับค้นหาวัสดุนิวเคลียร์ที่สูญหายไปโดยเร็ว ?เมื่อพบวัสดุนิวเคลียร์ที่สูญหายหรือถูกเอาไปโดยมิชอบ ให้แจ้ง ปส. ทันทีที่พบ และจัดการดูแลรักษาวัสดุนิวเคลียร์นั้นให้อยู่ในสภาพเดิมในสถานที่ที่พบ ?ต้องให้ความร่วมมือกับสำนักงานและหน่วยงานอื่นของรัฐในการค้นหาและการเอากลับมา รวมถึงการสืบสวนและการดำเนินคดี 11. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... กำหนดให้วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 4 ตามตารางท้ายกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 19 วรรคสอง หรือเรียกว่า วัสดุกัมมันตรังสีที่มีโอกาสเป็นอันตราย (unlikely to be dangerous) ซึ่งมีค่ากัมมันตภาพน้อย (บุคคลธรรมดาสามารถดูแลรับผิดชอบให้มีความปลอดภัยได้) และมีลักษณะการใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) การทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางรังสี (2) การวัดความหนาแน่นกระดูก (3) การรักษาต้อตา เป็นวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้หรือนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุกัมมันตรังสีได้ 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... กำหนดให้เครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตทำมีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้าหรือส่งออกได้ มีดังนี้ (1) เครื่องกำเนิดรังสีที่มีพลังงานสูงสุดของรังสีที่เกิดขึ้นต่ำกว่า 1 เมกะอิเล็กตรอนโวลต์ หรือเครืองกำเนิดรังสีที่มีอุปกรณ์กำเนิดรังสีภายในทำงานที่ความต่างศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า 1 เมกะโวลต์ ที่มีลักษณะการใช้งานไม่ปิดมิดชิดหรือใช้งานกับคน เช่น เครื่องฉายรังสีเอกซ์ชนิดตื้น เครื่องฉายรังสีเอกซ์ชนิดลึก เครื่องเอกซเรย์ถ่ายภาพรังสีทางอุตสาหกรรม เครื่องเอกซเรย์ถ่ายภาพรังสีทางการศึกษาวิจัย เครื่องเอกซเรย์ตรวจสอบความปลอดภัย (2) อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสีตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงว่าด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสี 12. เรื่อง ร่างกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ศคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... เป็นการกำหนดศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสีต้องมีศักยภาพทางเทคนิคเพียงพอในการดูแลความปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสีที่ขออนุญาต โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. กำหนดคำนิยามของ ?ผู้ขอรับใบอนุญาต? หมายความว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครอง หรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี 2. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 ลักษณะของสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการฯ (1) ต้องมีโครงสร้างที่มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันระดับรังสีให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดและสามารถรองรับน้ำหนักเครื่องมือที่บรรจุวัสดุกัมมันตรังสีและส่วนประกอบทั้งหมด (2) ต้องไม่มีวัสดุอันตรายอื่นและอาหารเก็บรวมอยู่และมีมาตรการหรือระบบป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยที่อาจเกิจขึ้นได้ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว (3) ต้องได้รับการประเมินและออกแบบตามมาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางรังสีของการใช้ประโยชน์วัสดุกัมมันตรังสีนั้นและเป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 91 (4) ต้องมีการประเมินความปลอดภัยทางรังสี โดยบริเวณที่ปฏิบัติงานทางรังสีต้องมีปริมาณรังสีที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ ไม่เกิน 400 ไมโครซีเวิร์ตต่อสัปดาห์และบริเวณที่มีผลกระทบถึงประชาชนทั่วไปต้องมีปริมาณรังสีที่ประชาชนทั่วไปได้รับไม่เกิน 20 ไมโครซีเวิร์ตต่อสัปดาห์ 2.2 ห้ามมิให้ตั้งสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการวัสดุกัมมันตรังสีประเภทโรงงานฉายรังสีทางอุตสาหกรรมภายในระยะ 500 เมตร จากเขตพระราชฐาน เว้นแต่ในกรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ อาจเปลี่ยนแปลงได้ 2.3 ในกรณีที่สถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการวัสดุกัมมันตรังสีประเภทโรงงานฉายรังสีทางอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ใกล้เขตบ้านจัดสรรหรือที่ดินจัดสรรเพื่อการพักอาศัย ตึกแถวหรือบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย หรืออาคารชุดพักอาศัย ศูนย์การค้าโรงเรียนหรือสถานศึกษา วัดหรือศาสนสถาน สถานพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำการของหน่วยงานของรัฐหรือเขตอนุรักษ์และเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางรังสีและมาตรการด้านความปลอดภัยทางรังสีตามกฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561 และกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561 3. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ที่เหมาะสมกับชนิดของรังสีที่เกิดขึ้นจากวัสดุกัมมันตรังสีและลักษณะการใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับแผนป้องกันอันตรายทางรังสี ดังต่อไปนี้ 3.1 เครื่องสำรวจรังสีหรือเครื่องเฝ้าระวังปริมาณรังสี โดยต้องได้รับการสอบเทียบมาตรฐานของเครื่องสำรวจรังสีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งตรวจสอบสภาพ ตามวิธีการและระยะเวลาที่กำหนดตามคู่มือการใช้งาน 3.2 อุปกรณ์วัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคล โดยต้องประเมินการได้รับรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีทุกคนเป็นประจำอย่างน้อยทุก 3 เดือน กรณีผู้ปฏิบัติงานทางรังสีสำหรับงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ให้ประเมินการได้รับรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานรังสีเป็นประจำทุกเดือน 3.3 มาตรวัดรังสีแบบพกพาตามประเภทของวัสดุกัมมันตรังสี 3.4 เครื่องมืออื่น ๆ ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับแผนป้องกันอันตรายทางรังสี 4. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีในระดับและประเภทของการขอรับใบอนุญาต (ใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้) 5. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีแผนป้องกันอันตรายจากรังสีสำหรับการปฏิบัติงาน โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กำหนด เช่น สายการบังคับบัญชาด้านความปลอดภัยทางรังสี การจัดแบ่งพื้นที่ในการปฏิบัติงานและมาตรการควบคุมเข้าออกพื้นที่อย่างชัดเจน มาตรการความปลอดภัยทางรังสี แผนงาน และขั้นตอนวิธีปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับรังสีน้อยที่สุด แผนการตรวจวัดรังสี แผนการดำเนินงานเมื่อเลิกใช้วัสดุกัมมันตรังสี 6. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีแผนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามประเภทของวัสดุกัมมันตรังสีตามกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561 7. กำหนดให้ในกรณีที่มีการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีวิธีการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีที่ปลอดภัยและวิธีปฏิบัติกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินระหว่างการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีที่เป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 91 และ มาตรา 99 13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอโอนใบอนุญาตและการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี ดังนี้ 1. กำหนดให้การโอนใบอนุญาตและการรับโอนใบอนุญาตให้กระทำได้กับใบอนุญาต ดังนี้ (1) ใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุกัมมันตรังสี (2) ใบอนุญาตทำ มีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า หรือส่งออกเครื่องกำเนิดรังสี (3) ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุนิวเคลียร์ (4) ใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้ง เพื่อก่อสร้าง เพื่อดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ (5) ใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้ง เพื่อก่อสร้าง เพื่อดำเนินการสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี ทั้งนี้ การโอนใบอนุญาตแต่เพียงบางส่วนจะกระทำมิได้ 2. กำหนดให้การยื่นคำขอ การแจ้งหรือส่งข้อมูลเอกสารหลักฐาน การติดต่อ หรือการออกเอกสาร ใด ๆ และการชำระค่าธรรมเนียม ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ หากมีเหตุไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับมาที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ หรือส่งโดยวิธีการอื่นตามที่เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา 3. ผู้รับโอนใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ และต้องมีศักยภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยศักยภาพสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตในแต่ละประเภท เช่น ต้องไม่เป็นคนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องมีศักยภาพทางเทคนิคเพียงพอในการดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสีที่ขออนุญาต 4. กำหนดให้ผู้ประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยใบอนุญาตที่จะโอน และเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในแบบคำขอโอนใบอนุญาต 5. กรณีการพิจารณาการโอนใบอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอ ข้อมูล เอกสารหลักฐาน ถ้าถูกต้องครบถ้วนให้ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอ 5.1 ในกรณีที่เลขาธิการมีคำสั่งอนุญาตให้แจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ เพื่อให้มาชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วัน และให้จัดทำใบอนุญาตใหม่และส่งให้ผู้รับโอนให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน แต่หากผู้ยื่น คำขอไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลา ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ส่วนในกรณีที่เลขาธิการมีคำสั่ง ไม่อนุญาต ให้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอทราบพร้อมเหตุผล รวมทั้งแจ้งสิทธิและระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการให้ผู้ยื่นคำขอทราบด้วย ทั้งนี้ การพิจารณาคำขอรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 45 วัน 5.2 ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นชอบตามความเห็นของเลขาธิการว่าควรอนุญาต ให้เลขาธิการมีคำสั่งอนุญาตและแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อให้มาชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วัน และให้จัดทำใบอนุญาตใหม่และส่งให้ผู้รับโอนให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน แต่หากผู้ยื่นคำขอไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลา ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ส่วนในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้เลขาธิการ มีคำสั่งไม่อนุญาต และแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอทราบพร้อมเหตุผล รวมทั้งแจ้งสิทธิและระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการให้ผู้ยื่นคำขอทราบด้วย ทั้งนี้ การพิจารณาคำขอรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1 ปี 6. กำหนดให้ผู้รับโอนต้องวางหลักประกันและการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต และให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติคืนหลักประกันที่ผู้โอนได้วางไว้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหลักประกันจากผู้รับโอน โดยใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้รับโอนมีอายุเท่าที่เหลืออยู่ของใบอนุญาตเดิม 14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของเรื่อง ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. ....มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี เพื่อให้ผู้ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสี เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ซึ่งประสงค์จะขนส่งวัสดุดังกล่าว และผู้รับขนส่งวัสดุดังกล่าว มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้การขนส่งนั้น ๆ เป็นไปอย่างปลอดภัย สรุปได้ ดังนี้ 1. กำหนดหน้าที่ของผู้ส่งของ (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ครอบครองวัสดุ) ก่อนการขนส่งต้องปฏิบัติ เช่น การจำแนกประเภทวัสดุที่ขนส่ง การเลือกใช้แบบหีบห่อให้เหมาะสมกับประเภทวัสดุที่ขนส่ง การจ่าหน้าและติดป้ายหีบห่อ และการเตรียมเอกสารกำกับการขนส่ง รวมถึงจะต้องพร้อมแสดงใบรับแจ้งการขนส่งและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อผู้รับขนส่งก่อนการขนวัสดุขึ้นและการถ่ายวัสดุลง เป็นต้น 2. กำหนดหน้าที่ของผู้รับขนส่ง (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งประกอบการขนส่ง และให้หมายความรวมถึงผู้รับขนส่งที่ได้รับมอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งด้วย ไม่ว่าจะมีการมอบหมายกันไปกี่ทอด ก็ตาม) เช่น การตรวจสอบเอกสาร การจัดวางของที่ขนส่ง และการตรวจสอบการปนเปื้อน การวัดระดับรังสีและ ค่ากัมมันตภาพ ดัชนีการขนส่ง และดัชนีความปลอดภัยภาวะวิกฤติ การติดป้าย และกรณีผู้รับขนส่งไม่สามารถส่ง 3. กำหนดระดับของมามาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย โดยแบ่งตามความอันตรายของวัสดุกัมมันตรังสีหรือกากกัมมันตรังสี ซึ่งมี 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับจัดการแบบรอบคอบ 2) ระดับพื้นฐาน และ 3) ระดับขั้นสูง รวมถึงกำหนดการแจ้งเหตุ และการรายงานปัญหาต่อสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีและกากกัมมันตรังสี 4. กำหนดวิธีการป้องกันการเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบในระหว่างการขนส่ง โดยผู้รับขนส่งต้องจัดให้มีการคุ้มครองทางกายภาพต่อการเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบในระหว่างการขนส่งเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เช่น การลดระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งให้น้อยที่สุด การปกป้องวัสดุนิวเคลียร์ในระหว่างการขนส่ง การประเมินภัยคุกคาม และการใช้ระบบการขนส่งที่มีมาตรการคุ้มครองทางกายภาพตามการประเมินภัยคุกคาม หลีกเลี่ยงเส้นทางขนส่งในพื้นที่ที่มีภัยธรรมชาติ การก่อความไม่สงบ หรือมีภัยคุกคาม เป็นต้น 5. กำหนดวิธีการค้นหาและการนำกลับมาซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วที่สูญหายหรือถูกลักไปในระหว่างการขนส่ง เช่น จัดให้มีการตรวจสอบหีบห่อที่บรรจุระหว่างขนส่งและขณะส่งมอบ และจัดให้มีมาตรการ สำหรับกรณีไม่พบหีบห่อในขณะอยู่ในความควบคุมของผู้รับขนส่ง และต้องดำเนินการทันทีเมื่อเกิดเหตุกรณีดังกล่าว และผู้ส่งของ ผู้รับขนส่ง และผู้รับของซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตหรือผู้มีไว้ในครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ ต้องให้ความร่วมมือในการค้นหาและการนำกลับมาซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ รวมทั้งให้ความร่วมมือ ในการสอบสวนและดำเนินคดี 15. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง และการคำนวณค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการสกัดกั้น หรือการปฏิบัติการโดยเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายทหาร เพื่อทำลายอากาศยานจากภาคพื้น พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง และการคำนวณค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการสกัดกั้น หรือการปฏิบัติการโดยเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายทหาร เพื่อทำลายอากาศยานจากภาคพื้น พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง และการคำนวณค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการสกัดกั้น หรือการปฏิบัติการโดยเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายทหาร เพื่อทำลายอากาศยานจากภาคพื้น พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการคำนวณค่าใช้จ่ายในการสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นของผู้ควบคุมอากาศยานและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง และค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเพื่อปฏิบัติภารกิจการตรวจและพิสูจน์ฝ่าย การสกัดกั้น การเคลื่อนย้ายอากาศยาน การเก็บรักษาอากาศยาน สิ่งของ และหลักฐาน และการใช้อาวุธ เพื่อปฏิบัติการทำลายอากาศยาน ให้มีความครอบคลุม ชัดเจน ตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับความเป็นจริง รวมทั้งทำให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการสกัดกั้นหรือการปฏิบัติการเพื่อทำลายอากาศยานจากภาคพื้นเป็นแนวปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และเป็นที่รับรู้แก่ประชาชนทั่วไป ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. กำหนดให้ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องจากการสกัดกั้นหรือการปฏิบัติการเพื่อทำลายอากาศยานจากภาคพื้น (ตามมาตรา 22 (6) ได้แก่ 1.1 ค่าใช้จ่ายในการสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นของผู้ควบคุมอากาศยานและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่มีอำนาจปฏิบัติเกี่ยวกับอากาศยานและผู้ควบคุมอากาศยานและบุคคลอื่นที่อยู่ในอากาศยานในการจับ ควบคุม หรือสอบสวนเบื้องต้นผู้ควบคุมอากาศยานและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง 1.2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เพื่อปฏิบัติภารกิจการตรวจและพิสูจน์ฝ่ายการสกัดกั้น การเคลื่อนย้ายอากาศยาน การเก็บรักษาอากาศยาน สิ่งของ และหลักฐาน และการใช้อาวุธเพื่อปฏิบัติการทำลายอากาศยาน 2. ในการคำนวณค่าใช้จ่าย (มาตรา 22 (1) - (5) ได้แก่ การตรวจและพิสูจน์ฝ่าย การสกัดกั้น การเคลื่อนย้ายอากาศยาน การเก็บรักษาอากาศยาน สิ่งของ และหลักฐาน และการใช้อาวุธเพื่อปฏิบัติการทำลายอากาศยาน ให้หน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่มีภาระค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ คิดคำนวณค่าใช้จ่ายตามแบบอากาศยานแต่ละชนิดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 2.1 ข้อมูลค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงอากาศยานที่มีความทันสมัยหนึ่งวงรอบ การซ่อมบำรุงระดับโรงงาน และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงบริภัณฑ์หลักหนึ่งวงรอบการซ่อมบำรุง เช่น เครื่องยนต์ เครื่องช่วยหมุนติดเครื่องยนต์ (Auxiliary Power Unit : APU) และใบพัดอากาศยาน 2.2 ค่าแรงใช้หลักการคิดคำนวณจากค่าแรงในการซ่อมบำรุงของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (ชั่วโมงต่อคน) ในการตรวจซ่อมระดับหน่วย ระดับกลาง และระดับโรงงาน โดยคำนวณจาก ค่าแรงในการซ่อมบำรุง = จำนวนชั่วโมงคนใช้ในการซ่อมหนึ่งวงรอบการซ่อมบำรุงระดับโรงงาน ? ค่าแรงงานต่อชั่วโมงคน จำนวนชั่วโมงบินจริงของอากาศยานในหนึ่งวงรอบการซ่อมบำรุงระดับโรงงาน 2.3 คำนวณค่าแรงต่อชั่วโมงคน ตามระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การคิดค่าแรงต่อชั่วโมงคน และการคิดราคาค่าสร้าง หรือซ่อม 2.4 ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ (Operating Cost: O Cost) โดยนำข้อมูลความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและหล่อลื่น (Fuel and Oil) ที่กำหนดไว้ในเอกสารเทคนิคและคู่มือการซ่อมบำรุงของอากาศยานแต่ละแบบ โดยมีการคิดคำนวณ ดังนี้ (1) ค่าเชื้อเพลิง = อัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่อชั่วโมงบิน x ราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ยหนึ่งปีงบประมาณ (2) ค่าหล่อลื่น = อัตราความสิ้นเปลืองหล่อลื่นต่อชั่วโมงบิน x ราคาหล่อลื่นเฉลี่ยหนึ่งปีงบประมาณ 2.5 ค่าขนส่ง คำนวณจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งพัสดุและอะไหล่ สำหรับอากาศยานแต่ละแบบนำมาพิจารณากับชั่วโมงบินจริงของอากาศยานแบบนั้น ๆ 3. การคำนวณค่าใช้จ่ายตามข้อ 1. ให้หน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่มีภาระค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ คิดคำนวณค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 3.1 ค่าเดินทางในการตรวจและพิสูจน์ฝ่าย หรือสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นต่อคน (ค่าพาหนะ) (1) กรณีไม่ค้างคืน จ่ายวันละ 3,000 บาท (2) กรณีต้องค้างคืน จ่ายวันละ 6,000 บาท (3) กรณีวันหยุดราชการและไม่ค้างคืน จ่ายวันละ 6,000 บาท (4) กรณีวันหยุดราชการและต้องค้างคืน จ่ายวันละ 9,000 บาท 3.2 กรณีต้องเดินทางโดยสารเครื่องบิน หรือเช่าเหมาเรือหรือยานพาหนะอื่น ๆ จ่ายเท่าที่จ่ายจริง 3.3 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จ่ายเท่าที่จ่ายจริง (เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก) 3.4 การตรวจและพิสูจน์ฝ่าย หรือสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นที่ใช้เวลาไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้คิดอัตราค่าใช้จ่ายเท่ากับหนึ่งวัน และเวลาที่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้คิดอัตราค่าใช้จ่ายเท่ากับหนึ่งวัน (ใช้อัตราเดียวกับค่าเดินทางในการตรวจและพิสูจน์ฝ่าย หรือสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นต่อคน ตามข้อ 3.1) เศรษฐกิจ-สังคม 16. เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ พ.ศ. 2566 ? 2570 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดังนี้ 1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) และเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) (เป้าหมายระดับชาติฯ) และมอบหมายให้ ทส. โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) นำส่งแผนปฏิบัติการฯ และเป้าหมายระดับชาติฯ ดังกล่าว ให้สำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2. การขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณากลั่นกรองแผนระดับที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ วันที่ 15ธันวาคม 2563 เรื่อง แนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน... เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และวันที่ 27 เมษายน 2564 เรื่อง คู่มือแนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 และการเสนอแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน... ต่อคณะรัฐมนตรี สาระสำคัญ 1) ร่างแผนปฏิบัติการฯ ที่ ทส. เสนอ เป็นแผนหลักของประเทศด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 12 เป้าหมาย ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และขจัดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อคงไว้ซึ่งบริการจากระบบนิเวศ ประกอบด้วย 4 เป้าหมาย ดังนี้ เป้าหมายที่ 1 ลดการสูญเสียพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความสำคัญทั้งบนบกและในทะเล โดยการวางแผนเชิงพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ เป้าหมายที่ 2 อนุรักษ์ ฟื้นฟู ขยายพื้นที่คุ้มครอง เพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) เพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์และการเชื่อมต่อของระบบนิเวศ เป้าหมายที่ 3 อนุรักษ์และคุ้มครองชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามและชนิดพันธุ์ธรรมชาติ ลดปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่า และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกราน เป้าหมายที่ 4 ลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลพิษ รวมถึงเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง เพื่อฟื้นฟูและคงไว้ซึ่งบริการจากระบบนิเวศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เป้าหมาย ดังนี้ เป้าหมายที่ 5 ส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพบนพื้นฐานของบริการจากระบบนิเวศ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และรายได้ของประชาชน เป้าหมายที่ 6 ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนในภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมง การปศุสัตว์ การป่าไม้ และการท่องเที่ยว เป้าหมายที่ 7 จัดให้มีกลไกและมาตรการการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ รวมถึงความปลอดภัยทางชีวภาพจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างขีดความสามารถและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย 5 เป้าหมาย ดังนี้ เป้าหมายที่ 8 บูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในนโยบาย แผน และการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในทุกระดับ รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ เป้าหมายที่ 9 เพิ่มช่องทางและเงินทุนสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีกลไกทางการเงิน กลไกทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 10 พัฒนาระบบข้อมูลและองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีการเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน เพื่อใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจและการดำเนินงานในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ เป้าหมายที่ 11 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ และความร่วมมือ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านวิจัย วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ เป้าหมายที่ 12 พัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือด้านกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 2) เป้าหมายระดับชาติฯ จะต้องดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2573 โดยกำหนด เป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ จำนวน 4 เป้าหมาย ดังนี้ 2.1 มีพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) ของประเทศ ทั้งบนบกและในทะเล อย่างน้อยร้อยละ 30 2.2 ดัชนีสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Red List index) ไม่น้อยลง จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2568 2.3 มีมาตรการในการจัดการสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกรานที่มีลำดับความสำคัญสูงอย่างน้อยร้อยละ 35 2.4 สัดส่วนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET50 ที่เปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพโดยสมัครใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 17. เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ โดยให้รับความเห็นหน่วยงานไปพิจารณา ก่อนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป สาระสำคัญ เรื่องนี้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร เพื่อใช้ทดแทนหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร [ชนกลุ่มน้อย/กลุ่มชาติพันธุ์ (กลุ่มเป้าหมาย 19 กลุ่ม)] ที่รอการพิจารณากำหนดสถานะในปัจจุบัน จำนวน 483,626 คน ให้ได้รับสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ถาวร) หรือสัญชาติไทยอย่างรวดเร็ว โดยมีการปรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสถานะของบุคคลในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบแล้ว 1. กลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน หลักเกณฑ์เดิม (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564) หลักเกณฑ์ใหม่ที่เสนอขอปรับปรุงในครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมาย 1) บุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 (เลขประจำตัวประเภท 6) และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2554 (เลขประจำตัวประเภท 0 กลุ่ม 89) 2) บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายในปี พ.ศ. 2542 เด็กและบุคคลที่กำลังเรียนหรือจบการศึกษาแล้ว คนไร้รากเหง้า และคนที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศซึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ภายในวันที่ 18 มกราคม 2548 แต่ตกหล่นจากการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติตามมติคณะรัฐมนตรีในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2554 (เลขประจำตัวประเภท 0 กลุ่ม 00) กลุ่มย่อย 1.1 กลุ่มที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน (ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม) 1.2 กลุ่มเด็กและบุคคลที่ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรและกำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาหรือจบการศึกษาแล้วแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย 1.3 กลุ่มบุคคลไร้รากเหง้า 1.4 กลุ่มบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ - คงกลุ่มเป้าหมายเดิม - คุณสมบัติ 1. หลักเกณฑ์ทั่วไป 1) มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติและมีเลขประจำตัว 13 หลัก 2) มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย ติดต่อกันต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอมีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคงโดยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการการตำรวจสันติบาล เป็นต้น ซึ่งหลักเกณฑ์นี้กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานของกรมการปกครอง มท.) 3) มีความจงรักภักดีต่อประเทศไทยและเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 4) มีความประพฤติดี และไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของไทย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดไม่เคยรับโทษคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ 5) หากได้รับโทษคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง เว้นแต่โทษในคดียาเสพติดฐานเป็นผู้ค้าหรือผู้ผลิตให้ขยายระยะเวลาจาก 5 ปี เป็นไม่น้อยกว่า 10 ปี 6) ประกอบอาชีพสุจริตโดยมีใบอนุญาตทำงานหรือหนังสือรับรองจากนายอำเภอท้องที่ยกเว้นเด็กที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาอื่น ซึ่งต้องปฏิบัติกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และคนพิการ (แล้วแต่กรณี) 2. หลักเกณฑ์เฉพาะกลุ่ม กลุ่มย่อย หลักเกณฑ์ 1) กลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลานาน (ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม) ? ไม่สามารถกลับประเทศต้นทาง/ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวใด ๆ กับประเทศต้นทาง ? สามารถพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจได้ 2) กลุ่มเด็กที่ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรและกำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาหรือจบการศึกษาแล้ว แต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ? สำเร็จการศึกษาภาคบังคับหรือเทียบเท่าจากโรงเรียนหรือสถานศึกษาในประเทศไทยที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง ? ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น 3) กลุ่มคนไร้รากเหง้า ? หนังสือรับรองความเป็นคนไร้รากเหง้าจากหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนที่จดทะเบียนตามกฎหมายหรือขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานสงเคราะห์กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ? ได้รับการศึกษาตามหลักสูตรที่ทางราชการกำหนด หรือสามารถพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจได้ ยกเว้นกรณีคนพิการที่มีความบกพร่องทางการได้ยินทางการสื่อสาร ทางจิตใจและทางพฤติกรรม 4) กลุ่มบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ ? เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศ โดยมีผลงานหรือความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยมีหน่วยงานราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรมที่เกี่ยวข้องรับรองคุณประโยชน์และผลงาน การอนุญาต - ผ่านคณะอนุกรรมการพิจารณาให้สัญชาติไทย และให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย ระดับจังหวัด)/กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิจารณาให้สัญชาติไทยและให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายกรัฐมนตรี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ทั่วไป 1. หลักเกณฑ์ทั่วไป 1) มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติและมีเลขประจำตัว 13 หลัก 2) มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย ติดต่อกันต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอมีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย 3) ให้ผู้ยื่นคำขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเองเพื่อเร่งรัดคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว หากมีคุณสมบัติ ดังนี้ (*ปรับ ให้ผู้ขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเองแทนการสอบสวนผู้ขอและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือและแทนการส่งไปตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) 3.1) มีความจงรักภักดีต่อประเทศไทยและเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3.2) มีความประพฤติดี ไม่มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ไม่เคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ถึงที่สุดของศาลให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หากเคยได้รับโทษดังกล่าว ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง เว้นแต่โทษในคดียาเสพติดฐานเป็นผู้ค้าหรือผู้ผลิต ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ยกเว้นสำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี บริบูรณ์ 3.3) ไม่สามารถกลับประเทศต้นทาง/ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวใด ๆ กับประเทศต้นทาง 3.4) ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น - ยกเลิกหลักเกณฑ์เฉพาะกลุ่ม - การอนุญาต 1.ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคงภายใน เป็นผู้พิจารณาอนุญาตและออกหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร 2. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. นายอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาตและออกหนังสือ รับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ราชอาณาจักร 3. อธิบดีกรมการปกครอง มีอำนาจดำเนินการทั่วราชอาณาจักร *เพิ่มเงื่อนไข หากภายหลังปรากฏว่าบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้มีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือมีลักษณะไม่เป็นไปสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายหลักเกณฑ์ที่กำหนด อาจถูกถอนการอนุญาตให้มีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยตามมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522ประเภทไร้สัญชาตินอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าวโดยกระบวนการถอน การอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการปกครองกำหนด [(หมายเหตุ: การเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวสามารถบังคับใช้กับกลุ่มที่เคยได้รับอนุญาตให้สถานะต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและได้รับใบสำคัญ ถิ่นที่อยู่ และกลุ่มเป้าหมายที่รอการกำหนดสถานะบุคคล ในครั้งนี้ ทั้งนี้ กรมการปกครองแจ้งว่า เคยมีกรณีการเพิกถอนใบสำคัญถิ่นที่อยู่มาแล้วโดยเป็นการดำเนินการตามประกาศ มท. (ตามข้อ 5.7 ในเอกสารแนบท้าย 3)] กลุ่มเป้าหมาย บุตรของชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักร กลุ่มเป้าหมาย บุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร เป็นเวลานาน ที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้ สัญชาติไทย (เฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม ไม่รวมชาวต่างด้าวอื่น ๆ ) (ปรับ ให้เป็นบุตรของบุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2554 เพื่อให้ครอบคลุมการแก้ไขทุกกลุ่มและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันตามคุณสมบัติด้านล่าง) คุณสมบัติ 1. บิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ จะต้องได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ มีเลขประจำตัว 13 หลัก ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและต้อง เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่บุตรยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย 2. ต้องมีหลักฐานการเกิดในราชอาณาจักรไทยและทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ 3. ต้องไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น 4. ต้องพูดและเข้าใจภาษาไทย 5. มีความจงรักภักดีและเลื่อมใสระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 6. มีความประพฤติ ไม่มีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ไม่เคยต้องรับโทษความผิดคดีอาญาเว้นแต่ความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ หรือถ้าเคยรับโทษคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย คุณสมบัติ 1. บิดาหรือมารดาเป็นบุคคลที่ได้รับการสำรวจจะต้องได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ มีเลข จัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลระหว่างปีพ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2554 จะต้องได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ มีเลขประจำตัว 13 หลักตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและต้องเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่บุตรยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย 2. ต้องมีหลักฐานการเกิดในราชอาณาจักรไทยและมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ 3. ให้ผู้ยื่นคำขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเอง เพื่อเร่งรัดคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว หากมีคุณสมบัติ ดังนี้ 3.1) ต้องไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น 3.2) ต้องพูดและเข้าใจภาษาไทยกลาง หรือภาษาถิ่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้ขอ ยกเว้นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี คนพิการที่มีความบกพร่องทางการได้ยินทางการสื่อสารจิตใจ และทางพฤติกรรม 3.3) มีความจงรักภักดีและเลื่อมใสการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3.4) มีความประพฤติดี ไม่มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ไม่เคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หากเคยได้รับโทษดังกล่าว ต้องพ้นโทษมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง เว้นแต่โทษในคดียาเสพติดฐานเป็นผู้ค้าหรือผู้ผลิตต้องพ้นโทษ มาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ยกเว้นสำหรับเด็กที่มีอายุ ไม่เกิน 18 ปี การอนุญาต 1. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร - อายุไม่เกิน 18 ปี ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต - อายุเกิน 18 ปี อธิบดีกรมการปกครองเป็นผู้พิจารณาอนุญาต 2. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขตกรุงเทพมหานคร - อายุไม่เกิน 18 ปี นายอำเภอ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต - อายุเกิน 18 ปี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาต การอนุญาต 1. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขต กทม. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียนเป็นผู้พิจารณาอนุญาต 2. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. นายอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาต 3. อธิบดีกรมการปกครอง มีอำนาจดำเนินการทั่วราชอาณาจักร *เพิ่มเงื่อนไข หากภายหลังปรากฏว่าผู้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยคุณสมบัติไม่เป็นไปตามลักษณะหรือหลักเกณฑ์ข้างต้น อาจถูกเพิกถอนคำสั่งทางปกครองในการให้สัญชาติไทยดังกล่าว (สามารถถอนสัญชาติไทยของบุคคลดังกล่าวได้โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องพิจารณาที่ 9/2567) 2. สมช. แจ้งว่า หากมีการปรับแก้หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรแล้ว จะมีการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาใหม่เพื่อให้เร่งรัดกระบวนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการนี้ มท. ได้จัดทำตารางเปรียบเทียบ ขั้นตอนการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการกำหนดสถานะของกลุ่มเป้าหมายในการขอมีสถานะ เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน (การมอบใบสำคัญถิ่นที่อยู่) รวมถึงการขอสัญชาติไทยสำหรับบุตรคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 การดำเนินการขอมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย (ออกใบสำคัญถิ่นที่อยู่) การขอมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย (ใบสำคัญถิ่นที่อยู่) ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน ขั้นตอนการดำเนินงานใหม่ (หากปรับหลักเกณฑ์ฯ) ? ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน โดยมีการสอบปากคำผู้ขอและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือไม่เกิน 3 คน เพื่อรับรองคุณสมบัติ ? อำเภอหรือสำนักกิจการความมั่นคงภายใน (แล้วแต่กรณี) ตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสารหลักฐานและตรวจประวัติอาชญากรรมและพฤติการณ์ด้านความมั่นคง (กรณีอายุ เกิน 60 ปี ใช้การสอบสวนพยานบุคคลรับรอง) ดำเนินการ 30 วัน ? ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน โดยผู้ขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเอง ? อำเภอหรือสำนักกิจการความมั่นคงภายใน (แล้วแต่กรณี) ตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสาร หลักฐาน ดำเนินการ 1 วัน ? จังหวัดตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคงเมื่อได้รับผลการตรวจสอบนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาให้สัญชาติและให้สถานะคนต่างด้านเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชลกลุ่มน้อยระดับจังหวัด/กทม. ? กรมการปกครองตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคง เมื่อได้รับผลกระทบการตรวจสอบนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการการพิจารณาให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย ดำเนินการ 140 วัน ? เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายกรัฐมนตรีใช้ดุลพินิจพิจารณา ดำเนินการ 100 วัน ? การพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ - ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคงภายในเป็นผู้พิจารณาอนุญาต กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขต กทม. - นายอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาต กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. ดำเนินการ 3 วัน ? เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร 14) และทำบัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ดำเนินการ 1 วัน รวมระยะเวลาการดำเนินการ 270 วัน รวมระยะเวลาการดำเนินการ 5 วัน 2.2 การดำเนินการขอมีสัญชาติไทยของบุตรบุคคลต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้สัญชาติไทย การขอมีสัญชาติไทยของบุตรบุคคลต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้สัญชาติไทย ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน ขั้นตอนการดำเนินงานใหม่ (หากปรับหลักเกณฑ์ฯ) ? ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน โดยมีการสอบปากคำผู้ขอและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือจำนวน 2 คน เพื่อรับรองคุณสมบัติ ? อำเภอหรือสำนักบริหารการทะเบียน (แล้วแต่กรณี) ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม (ยกเว้นอายุไม่เกิน 18 ปี) ดำเนินการ 90 วัน ? จังหวัดตรวจคุณสมบัติเรื่องการกระทำความผิดที่เป็นโทษทางอาญาและพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคง (ยกเว้น อายุไม่เกิน 18 ปี) ? ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขต กทม. - อายุไม่เกิน 18 ปี ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต - อายุเกิน 18 ปี อธิบดีกรมการปกครองเป็นผู้พิจารณาอนุญาต ? สำหรับผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. - อายุไม่เกิน 18 ปี นายอำเภอ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต - อายุเกิน 18 ปี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาต ดำเนินการ 60 วัน ? ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานโดยผู้ขอยืนยันและรองรับคุณสมบัติของตนเอง ? อำเภอหรือสำนักบริหารการทะเบียน (แล้วแต่กรณี) ตรวจสอบคุณสมบัติเอกสารหลักฐาน ดำเนินการ 1 วัน ? ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขต กทม. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ? สำหรับผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. นายอำเภอ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ดำเนินการ 3 วัน ? ส่งสำนักบริหารการทะเบียนกำหนดเลขประจำตัวเป็นคนไทย ดำเนินการ 30 วัน ? เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) และทำบัตรประจำตัวประชาชนคนไทย ดำเนินการ 1 วัน รวมระยะเวลาการดำเนินการ 180 วัน รวมระยะเวลาการดำเนินการ 5 วัน 18. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2566 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566) คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2566 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ สาระสำคัญ 1. สาระสำคัญของแผนงานฯ และผลการดำเนินการที่ผ่านมา การไฟฟ้านครหลวง มีแผนดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ที่การไฟฟ้านครหลวงดูแลและรับผิดชอบระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ รวม 8 แผน ระยะทางรวม 236.1 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เห็นชอบให้ดำเนินการเพิ่มอีก 2 แผน ระยะทางรวม 77.4 กิโลเมตร รวมเป็นแผนงานที่การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการทั้งสิ้น 10 แผน ระยะทางรวม 313.5 กิโลเมตร ทำให้กรอบระยะเวลาดำเนินการเปลี่ยนจากเดิมมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2568 เป็นมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2572 ระยะทางที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 73.4 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 5 (ระยะที่ 2) ฉบับที่ 7 (ฉบับปรับปรุง) และฉบับที่ 8 (ฉบับปรับปรุง) (โครงการถนนสีลม ปทุมวัน และจิตรลดา) ระยะทางรวม 16.2 กิโลเมตร 2) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้า ฉบับที่ 4 (ระยะที่ 2) (พ.ศ. 2547 - 2550) (โครงการถนนพหลโยธิน ถนนพญาไท และถนนสุขุมวิท) ระยะทางรวม 24.4 กิโลเมตร 3) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินปี 2551 - 2556 (ฉบับปรับปรุง) (โครงการปทุมวัน จิตรลดา พญาไท (เพิ่มเติม) และโครงการนนทรี) ระยะทางรวม 14.3 กิโลเมตร และ 4) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน (โครงการรอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ระยะทาง 7.1 กิโลเมตร โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวถนนพหลโยธิน (ช่วงห้าแยกลาดพร้าว ถึง ถนนงามวงศ์วาน) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถนนจรัญสนิทวงศ์ ระยะทาง 7.1 กิโลเมตร และโครงการถนนสารสิน ระยะทาง 0.8 กิโลเมตร) ระยะทางรวม 18.5 กิโลเมตร สำหรับแผนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ มี 6 แผน ระยะทางรวม 240.1 กิโลเมตร ดังนี้ แผนงาน ระยะทางที่อยู่ ระหว่างดำเนินการ (กิโลเมตร) 1) แผนงานฯ ปี 2551 - 2556 (ฉบับปรับปรุง) 10.9 2) แผนงานฯ รัชดาภิเษก 22.5 3) แผนงานฯ เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน 108.8 4) แผนงานฯ ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด 20.5 5) แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนา โครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 1 34.6 6) แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนา โครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 2 42.8 รวม 240.1 2. ผลการดำเนินการตามแผนงานฯ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566) ดังนี้ 2.1 แผนงาน/โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ระยะทาง 240.1 กิโลเมตร 1) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ปี 2551 - 2556 (ฉบับปรับปรุง) ระยะทางรวม 25.2 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ 10.9 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ85.28 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ 84.97) (เร็วกว่าแผนร้อยละ 0.31) มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2570 ประกอบด้วย แผนงาน/โครงการ เป้าหมาย ระยะทาง (กิโลเมตร) สถานะ/ผลการดำเนินการ 1. โครงการพระราม3 10.9 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน รัชดาภิเษก ระยะทางรวม 22.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 38.09 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ 38.54) (ช้ากว่าแผนร้อยละ 0.45) มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2571 ประกอบด้วย แผนงาน/โครงการ เป้าหมาย ระยะทาง (กิโลเมตร) สถานะ/ผลการดำเนินการ 1. โครงการรัชดาภิเษก - อโศก 8.2 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2. โครงการรัชดาภิเษก - พระราม 9 14.3 3) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน ระยะทางรวม 127.3 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ 108.8 กิโลเมตร อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง และการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 50.80 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ 49.06) (เร็วกว่าแผนร้อยละ 1.74) มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2572 ประกอบด้วย แผนงาน/โครงการ เป้าหมาย ระยะทาง (กิโลเมตร) สถานะ/ผลการดำเนินการ 1. โครงการพื้นที่เมืองชั้นใน 11.8 อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง : ถนนวิทยุ (2.1 กม.) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง : ถนนพระราม 4 (2.3 กม.) ถนนอังรีดูนังต์ (1.8 กม.) ถนนชิดลม (0.7 กม.) ถนนสาทร (3.6 กม.) ถนนหลังสวน (1.3 กม.) 2. โครงการในพื้นที่เชื่อมโยงระบบส่งระหว่างสถานีไฟฟ้าต้นทาง 7.4 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง : ถนนเจริญราษฎร์ (3.8 กม.) ถนนเพชรบุรี (1.0 กม.) ถนนดินแดง (2.6 กม.) 3. โครงการในพื้นที่ก่อสร้างร่วมกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น 89.6 โครงการในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า (76.5 กิโลเมตร) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง : สายสีชมพู (17.6 กม.) สายสีเหลือง (15.8 กม.) สายสีน้ำเงิน (4.3 กม.) สายสีเขียวเหนือ (2.0 กม.) สายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-บางปิ้ง) (12.5 กม.) สายสีส้ม (สัญญา 3) (0.7 กม.) สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย (6.6 กม.) ประชาราษฎร์สาย 2 (1.4 กม.) (ถนนเพชรบุรี) (2.0 กม.) อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง : สายสีส้ม (ถนนรามคำแหง) (4.4 กม.) สายสีส้ม (ตะวันตก) (3.0 กม.) สายสีม่วง (6.2 กม.) โครงการในพื้นที่ร่วมกรุงเทพมหานคร (13.1 กิโลเมตร) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง : ถนนอรุณอัมรินทร์ (5.7 กม.) ถนนพรานนก (1.7 กม.) ถนนบรมราชชนนี (0.8 กม.) อยู่ระหว่างการจัดหาผู้รับจ้าง : ถนนประชาราษฎร์สาย 1 (1.1 กม.) ถนนทหาร (2.0 กม.) ถนนสามเสน (1.8 กม.) 4) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด ระยะทางรวม 20.5 กิโลเมตรอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 30.95 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ 29.97) (เร็วกว่าแผนร้อยละ 0.98) มีกำหนดการแล้วเสร็จภายใน ปี 2572 ประกอบด้วย แผนงาน/โครงการ เป้าหมาย ระยะทาง (กิโลเมตร) สถานะ/ผลการดำเนินการ 1. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนรัตนาธิเบศร์ (ถนนราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก) 4.4 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถึง ถนนติวานนท์ 10.6 3. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถนนสุขุมวิท (ซอยสุขุมวิท 81-ซอยสุขุมวิท 107) 5.5 5) แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 1 ระยะทางรวม 34.6 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 20.0 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ 20.0) (ปฏิบัติงานได้ตามแผน) มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2572 ประกอบด้วย แผนงาน/โครงการ เป้าหมาย ระยะทาง (กิโลเมตร) สถานะ/ผลการดำเนินการ 1. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ถนนศรีนครินทร์ (แยกสำสาลี-ถนนเทพารักษ์) 15.8 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงคลองถนน-ถนนรามคำแหง 18.8 6) แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 2 ระยะทางรวม 42.8 กิโลเมตร อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้างและออกแบบ คิดเป็นร้อยละ 5.52 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ4.62) (เร็วกว่าแผนร้อยละ 0.9) มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2572 ประกอบด้วย แผนงาน/โครงการ เป้าหมาย ระยะทาง (กิโลเมตร) สถานะ/ผลการดำเนินการ 1. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ถนนศรีนครินทร์ (แยกสำสาลี-ถนนเทพารักษ์) 12.6 อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง 2. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงคลองถนน-ถนนรามคำแหง 2.1 3. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีทอง ถนนสมเด็จเจ้าพระยา และถนนเจริญนคร 2.8 อยู่ระหว่างออกแบบ 4. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถนนเพชรเกษม (ถนนรัชดาภิเษก - ถนนกาญจนาภิเษก) 8.2 5. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเข้ม ถนนพระราม๔ (ถนนพญาไท - คลองผดุงกรุงเกษม) 1.5 6. โครงการตามเส้นทางเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีเขียว (ถนนเทพารักษ์ - ถนนสุขุมวิท) 4.3 7. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ถนนพหลโยธิน (ถนนงามวงศ์วาน - ซอยพหลโยธิน 54/2) 11.3 2.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ การไฟฟ้านครหลวงได้วางแผนการเบิกจ่ายเงินในปี 2566 จำนวนเงิน 6,351.070 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2566 ได้มีการเบิกจ่ายเงินรวม 2,980.830 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.93 ของแผนการเบิกจ่ายฯ และจะเร่งดำเนินการเบิกจ่ายในส่วนที่เหลือโดยเร็วที่สุด หน่วย : ล้านบาท แผนงาน งบประมาณลงทุน การเบิกจ่ายเงินในปี 2566 แผนการจ่าย ผลการจ่าย 1. แผนงานฯ ในปี 2551-2556 (ฉบับปรับปรุง) 9,088.80 755.39 433.41 2. แผนงานฯ รัชดาภิเษก 8,899.58 727.83 155.75 3. แผนงานฯ เพื่อรังรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน 48,717.20 3,509.61 2,140.34 4. แผนงานฯ ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด 3,673.40 568.27 250.59 5. แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 1 8,353.70 789.97 0.05 6. แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 2 9,972.90 - 0.69 รวม 88,705.58 6,351.07 (100%) 2,980.83 (46.93%) ประโยชน์ของการดำเนินโครงการ การดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง มีประโยชน์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการจ่ายไฟฟ้า และความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า 2. เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต 3. เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4. เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม ต่างประเทศ 19. เรื่อง การลงนามข้อตกลงอาร์เทมิส (Artemis Accords) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบข้อตกลง Artemis Accords) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย (ข้อตกลงฯ) 2. เห็นชอบการลงนามข้อตกลงฯ โดยให้ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงฯ และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม 3. มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) เป็นหน่วยงานปฏิบัติ (Implementor) และหน่วยงานหลักแห่งชาติ (National Focal Point) ของประเทศไทยในการดำเนินการใด ๆ ในข้อตกลงฯ และกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่อง และให้ สทอภ. พิจารณากลั่นกรองโครงการของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานที่จะดำเนินการในโครงการอาร์เทมิส (Artemis Program) ในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้า วิจัย และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เสนอคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) พิจารณาก่อนการดำเนินการต่อไป สาระสำคัญ ข้อตกลงอาร์เทมิสมีวัตถุประสงค์และขอบเขตเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันผ่านชุดหลักการ แนวปฏิบัติ และแนวทางปฏิบัติเพื่อยกระดับการกำกับดูแลการสำรวจและการใช้อวกาศ โดยพลเรือนด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโปรแกรมอาร์เทมิส แนวปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรมในอวกาศ และส่งเสริมการใช้อวกาศอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์สำหรับมวลมนุษยชาติ ทั้งนี้ การลงนามในข้อตกลงอาร์เทมิส จะช่วยยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศไทยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานด้านเศรษฐกิจอวกาศ และสามารถดำเนินธุรกิจอวกาศ กับหน่วยงานและภาคเอกชนในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งยกระดับความร่วมมือด้านอวกาศ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และเป็นการแสดงออกว่าประเทศไทยยึดมั่นในหลักการสำรวจอวกาศอย่างปลอดภัยและโปร่งใส โดยมีเป้าหมายทางสันติและเป็นไปตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านอวกาศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศและเครือข่ายพหุภาคีต่าง ๆ 20. เรื่อง ขอความเห็นชอบการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ (Agreement for Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the United States of America concerning Peaceful Uses of Nuclear Energy) (123 Agreement) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ (Agreement for Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the United States of America concerning Peaceful Uses of Nuclear Energy) (ความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ อว. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามความตกลงฯ และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ สาระสำคัญ อว.นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ (ความตกลงฯ) เพื่อทดแทนความตกลงระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทยด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางพลเรือนฉบับเดิมที่ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2557 ซึ่งความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 30 ปี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามความตกลงฯ รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) (เป็นการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556) ซึ่งความตกลงฯ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย และมีสารัตถะของความตกลงฯ เป็นการกำหนดแนวทางจัดหาวัสดุนิวเคลียร์ให้กับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยของประเทศไทย ทั้งนี้ ประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากความตกลงฯ ในด้านการจัดซื้อแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์สำหรับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสามารถส่งคืนแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วให้กับสหรัฐอเมริกาได้ อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ของประเทศไทยในการดำเนินการด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติและช่วยเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาในภาพรวม ซึ่งกระทรวงกลาโหม กระทรวงพลังงาน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นควรให้ความเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง 21. เรื่อง แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน + 3 ครั้งที่ 27 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน + 3 (Joint Statement of the 27th ASEAN + 3 Finance Ministers? and Central Bank Governors? Meeting) (การประชุม AFMGM + 3) ครั้งที่ 27 (แถลงการณ์ร่วมฯ) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว กค. จะได้ส่งหนังสือถึงประธานร่วม ในการประชุม AFMGM + 3 ครั้งที่ 27 เพื่อแจ้งรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ ต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง แถลงการณ์ร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน + 3 ในการเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงิน ผ่านโครงสร้างความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงินสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ในฐานะประธานร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเศรษฐกิจสาธารณรัฐเกาหลีในการประชุม AFMGM + 3 ครั้งที่ 27 ได้มีหนังสือเชิญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวในวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ณ เมืองทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย โดยที่ประชุมได้พิจารณาให้การรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญ เช่น 1) การพัฒนาและแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค (1) เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน + 3 ในปี 2566 เติบโตขึ้น ร้อยละ 4.3 (ในปี 2565 เติบโตขึ้นร้อยละ 3.2) โดยได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศ และเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในปี 2567 คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.5 ก่อนที่จะชะลอตัวลง เป็นร้อยละ 4.2 ในปี 2568 (2) ในส่วนของแนวโน้มระยะสั้นสำหรับอาเซียน + 3 อาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่สูงขึ้น และการชะลอตัว ของการเติบโตของคู่ค้ารายใหญ่ (3) นโยบายการเงินของอาเซียน + 3 ควรคงความเข้มงวดไว้โดยคำนึงถึงความเสี่ยงด้านบวกของอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงมีอยู่ รวมถึงการปฏิรูปโครงสร้างการลงทุนด้านการเพิ่มผลผลิตและความยืดหยุ่นจะมีความสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพการเติบโตและตอบสนองต่อความท้าทายเชิงโครงสร้างที่รออยู่ข้างหน้า 2) การเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินของภูมิภาค อาทิ (1) ทิศทางการดำเนินการในอนาคตของโครงสร้างความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค (2) มาตรการ CMIM* (3) สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน + 3 พัฒนากลยุทธ์ความช่วยเหลือทางวิชาการและกลยุทธ์การสื่อสาร เพื่อให้การดำเนินงานและการจัดการเชิงสถาบันสอดคล้องกับการดำเนินการตามทิศทางเชิงยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่ปี 2573 ได้ดียิ่งขึ้น (4) มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (5) การจัดหาเงินทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ 3) ข้อริเริ่มภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินอาเซียน +3 อาทิ เสริมสร้างและขยายความร่วมมือทางการเงินของอาเซียน+3 รวมถึงความก้าวหน้าของการดำเนินการโดยคณะทำงาน เช่น รายงานร่วมระหว่างประธานธนาคารพัฒนาเอเชียและอาเซียน +3 เรื่องการฟื้นฟูวิธีการทางการเงินสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและทนทานในอาเซียน + 3 และการจัดคลินิกการเงินนวัตกรรมของอาเซียนเพื่อสิ่งแวดล้อมในหัวข้อ อาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและทนทานในอาเซียน รวมถึงกรอบการกำกับดูแลเทคโนโลยีทางด้านการเงิน [Financial Technology (Fintech)] ระดับภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างการรวมการเงินผ่านการกระจายเทคโนโลยีทางด้านการเงินในภูมิภาค * มาตรการ CMIM เป็นความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน +3 ในการพัฒนากลไกความร่วมมือทางการเงินของภูมิภาคเพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากปัญหาดุลการชำระเงินและการขาดสภาพคล่องของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในระยะสั้น และเป็นส่วนเสริมความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund (IMF) 22. เรื่อง การขอรับจัดสรรงบเงินอุดหนุนแก่ศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ตั้งคำของบประมาณเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ กต. งบเงินอุดหนุน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue : ACSDSD) (ศูนย์อาเซียนฯ) ประจำปี 2568 เป็นต้นไป ปีละ 12 ล้านบาท โดยไม่ต้องเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญ 1. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการให้ กต. ตั้งคำของบประมาณ เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ กต. งบเงินอุดหนุน ประจำปี 2568 เป็นต้นไป ปีละ 12 ล้านบาท (เดิม พ.ศ. 2563 ? 2567 ไม่เกินปีละ 11 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการดำเนิน โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue: ACSDSD) (ศูนย์อาเซียนฯ) เช่น (1) การสนับสนุนการประชุมหารือระดมสมองระดับสูงว่าด้วยการส่งเสริม ความเกื้อกูลระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติ (High-Level Brainstorming Dialogue on Enhancing Complementarities between the ASEAN Community Vision 2025 and the UN 2030 Agenda for Sustainable Development) และการประชุมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในกรอบอาเซียน (2) การจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีประศาสน์การ (Governing Council) โดยการดำเนินงานของศูนย์อาเซียนฯ ที่ผ่านมามีผลการดำเนินการ เช่น (1) การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ร่วมกับหุ้นส่วนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐอิตาลี สมาพันธรัฐสวิส (2) การให้ทุนการศึกษา และทุนสนับสนุนงานวิจัย โดยตั้งแต่ปี 2563 - 2566 ให้การสนับสนุนทุนการศึกษา ระดับปริญญาเอกและทุนสำหรับจัดทำโครงการวิจัยมาแล้ว จำนวน 15 ทุน วงเงิน 13.06 ล้านบาท 2. กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้อง เห็นชอบในหลักการให้ กต. ตั้งคำของบประมาณฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์อาเซียนฯ สำหรับงบประมาณในการดำเนินการ โดย สงป. ขอให้ กต. ตั้งคำของบประมาณฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อาเซียนฯ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - 2572 ไม่เกินปีละ 12 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 60 ล้านบาท โดยให้ กต. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณฯ ต่อไป 23. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การอนามัยโลกต่อการจัดการประชุมสุขภาพช่องปากโลก (WHO Global Oral Health Meeting) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ต่อการจัดการประชุมสุขภาพ ช่องปากโลก (WHO Global Oral Health Meeting) (ความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ของไทย มอบหมายให้ สธ. เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก 2. อนุมัติให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ลงนามในความตกลงฯ 3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สาระสำคัญ 1. สธ. และ WHO จะร่วมกันจัดการประชุมฯ ระหว่างวันที่ 26 - 29 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของ สธ. ในการปฏิบัติตามมติเรื่องสุขภาพช่องปากในสมัชชาอนามัยโลก พ.ศ. 2564 และเพื่อเร่งการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพช่องปากโลก พ.ศ. 2566 - 2573 (Global Oral Health Action Plan 2023 - 2030) โดย WHO แจ้งว่ามีความจำเป็นต้องจัดทำเอกสารความตกลงฯ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในการจัดการประชุมฯ และการกำหนดรายการเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับ WHO เจ้าหน้าที่ของ WHO และผู้เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งสถานที่จัดการประชุม 2. สธ. แจ้งว่าการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ จะเป็นโอกาสอันดี ในการแสดงศักยภาพของประเทศไทยในเวทีโลก และการประชุมฯ ดังกล่าว เป็นเวทีสำคัญในการสร้างความร่วมมือและผลักดันนโยบายสำคัญด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะประเด็นสุขภาพช่องปากของประเทศไทยในเวทีสุขภาพโลก 24. เรื่อง การต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาค ของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law) ประจำปี 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติ ปี 2560 (หนังสือแลกเปลี่ยนฯ) ที่แก้ไขเพิ่มเติมปี 2565 สำหรับการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law) (การฝึกอบรมฯ) ประจำปี 2567 (ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ประจำปี 2567) ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน - 11 ธันวาคม 2567 2. อนุมัติให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ประจำปี 2567 ของฝ่ายไทย ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ประจำปี 2567 ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม ให้ กต. สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และโดยที่ฝ่ายสหประชาชาติแจ้งว่า ไม่จำเป็นต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ในกรณีนี้จึงไม่ต้องจัดทำ หนังสือมอบอำนาจเต็มให้ผู้ลงนาม สาระสำคัญ สหประชาชาติได้ทาบทามประเทศไทยผ่านทางคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เพื่อเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ ประจำปี 2567 (การฝึกอบรมฯ) โดยสหประชาชาติได้ส่งหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมดังกล่าว ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จึงได้จัดทำร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมฯ ประจำปี 2567 (ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ) ฉบับของไทยขึ้น เพื่อตอบหนังสือแลกเปลี่ยนของสหประชาชาติ โดยมีสาระสำคัญเป็นการยอมรับในการต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติ ปี 2560 ที่แก้ไขเพิ่มเติมปี 2565 สำหรับการฝึกอบรมฯ ประจำปี 2567 ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน - 11 ธันวาคม 2567 ณ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมกฎหมายระหว่างประเทศให้แก่ผู้ที่มีภูมิหลังด้านกฎหมาย หรือประสบการณ์ในการทำงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศจากภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก จำนวนไม่เกิน 30 คน โดยไทยสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมการอบรมได้ จำนวน 5 คน และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น ค่าที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมที่ได้รับทุนอย่างน้อย 20 คน ค่าอาหารเช้าและอาหารค่ำสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งหมด การจัดรถรับ - ส่ง ผู้เข้าร่วมการอบรมและวิทยากร และสถานที่จัดการฝึกอบรมฯ ประโยชน์ที่ได้รับ 1) การดำเนินความร่วมมือกับสหประชาชาติในการจัดการฝึกอบรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องนอกเหนือจากการเป็นการสนับสนุนการดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของไทยในเวทีพหุภาคีแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศของไทยและต่างประเทศ ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการสร้างเครือข่ายระหว่างนักกฎหมายระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกด้วยกัน 2) การเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกอบรมฯ อย่างสม่ำเสมอจะยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านกฎหมายระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ตลอดจนสะท้อน ให้เห็นถึงความร่วมมืออันดีระหว่างไทยกับสหประชาชาติ ซึ่งส่งเสริมบทบาทและภาพลักษณ์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ 25. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรดิน และน้ำเพื่อความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน (The International Soil and Water Forum 2024) คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรดิน และน้ำ เพื่อความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน (The International Soil and Water Forum 2024 : ISWF 2024) (การประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรีฯ) ระหว่างวันที่ 9 - 11 ธันวาคม 2567 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีหน่วยงานในสังกัด กษ. คือ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและสนับสนุนงบประมาณที่เกี่ยวข้อง โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของหน่วยงานในสังกัด กษ. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญ การประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรีฯ ระหว่างวันที่ 9 - 11 ธันวาคม 2567 กรุงเทพมหานคร มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด วัตถุประสงค์ (1) เสริมสร้างความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการดินและน้ำที่ยั่งยืนอย่างบูรณาการซึ่งเป็นรากฐานของการพลิกโฉมระบบเกษตรและอาหาร (2) นำเสนอประสบการณ์และความสำเร็จทั้งด้านเทคโนโลยี สถาบัน ธรรมาภิบาล สังคม และนวัตกรรมด้านการจัดการความขาดแคลนน้ำและความเสื่อมโทรมของดิน (3) การบูรณาการการจัดการดินและน้ำท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นบริบทโลกที่มีความท้าทายในปัจจุบัน (4) เป็นเวทีในการสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการดำเนินการร่วมกัน หน่วยงานเจ้าภาพร่วม (1) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) (2) กษ. ได้แก่ สำนักงานปลัด กษ. กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมฝนหลวง และการบินเกษตร และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หัวข้อการประชุม (1) หัวข้อหลัก คือ การจัดการทรัพยากรดิน และน้ำ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร อย่างยั่งยืน (Managing Water Scarcity and Reversing Land and Soil Degradation for Sustainable and Resilient Agrifood Systems) (2) หัวข้อย่อย ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการการขาดแคลนน้ำ (Managing Water Scarcity) 2) การจัดการการพังทลายของดิน (Managing Soil Erosion) 3) การพลิกฟื้นการเสื่อมโทรมของที่ดินและการส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ (Reversing Land Degradation, Restoring the Ecosystem) และ 4) การจัดการดินและน้ำที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Resilient Soil and Water Management) รูปแบบการประชุม ประกอบด้วย (1) การประชุมใหญ่ (Plenary) (2) การประชุมห้องย่อย (Breakout Room) (3) และการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 400 คน ประกอบด้วย ผู้นำระดับรัฐมนตรีหรือเทียบเท่าของแต่ละประเทศ จำนวน 20 คน และเจ้าหน้าที่อาวุโส นักวิชาการ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผู้เข้าร่วมประชุมอื่น ๆ รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง จำนวนประมาณ 380 คน ประโยชน์ (1) เป็นการแสดงบทบาทนำด้านการจัดการดินและน้ำของไทยให้นานาประเทศ ได้รับทราบ เพื่อเป็นจุดเริ่มของการต่อยอดความร่วมมืออันเป็นประโยชน์ระหว่างไทยกับภาคส่วนต่าง ๆ (2) นักวิชาการของไทยได้นำเสนอผลงานวิชาการด้านการบริหารจัดการดินและน้ำที่ยั่งยืน (3) ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนการดำเนินงาน ด้านการบริหารจัดการดินและน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (4) ได้เครือข่ายนักวิชาการของไทยและต่างชาติในด้านการจัดการดินและน้ำ กรอบวงเงินค่าใช้จ่าย จำนวน 11.04 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของหน่วยงานในสังกัด กษ. 26. เรื่อง การเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย NBSAP Accelerator Partnership คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย NBSAP Accelerator Partnership รวมทั้ง เห็นชอบต่อร่างหนังสือ letter of support การเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย NBSAP Accelerator Partnership โดยให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นผู้ลงนามในหนังสือ letter of support การเข้าร่วมการเป็นสมาชิกเครือข่ายฯ ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างหนังสือ letter of support ที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สาระสำคัญ 1. NBSAP Accelerator Partnership เป็นกลุ่มเครือข่ายพันธมิตรระดับโลก เพื่อสนับสนุนการจัดทำและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ (National Biodiversity Strategies and Action Plan: NBSAP) ในระดับที่ท้าทาย เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์และเป้าหมายของกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก และวิสัยทัศน์ระดับโลกในการอยู่อย่างสอดคล้องและปรองดองกับธรรมชาติ (Living in harmony with nature) ภายในปี ค.ศ. 2050 เครือข่ายฯ ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณูและการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสำนักงานเพื่อความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของนอร์เวย์ โดยมุ่งเน้นการยกระดับความท้าทายของ NBSAP และเร่งให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผน 2. (ร่าง) หนังสือ letter of support การเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย NBSAP Accelerator Partnership กล่าวถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ และขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติของประเทศไทยที่มีความสอดคล้องกับเป้าประสงค์และเป้าหมายตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ยืนยันว่าประเทศไทยมีความยินดีในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย NBSAP Accelerator Partnership และเห็นว่าการเข้าร่วมเครือข่ายฯ จะช่วยเสริมสร้างการขับเคลื่อนการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผน ส่งเสริมความสอดคล้องกันในเชิงนโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างใกล้ชิดกับเครือข่ายฯ เพื่อทำให้เกิดความก้าวหน้าในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในระดับชาติและระดับโลก โดยสอดคล้อง กับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของ NBSAP Accelerator Partnership ประโยชน์และผลกระทบ เช่น การที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย NBSAP Accelerator Partnership จะทำให้ประเทศสามารถเข้าถึงกลไกการดำเนินงานและการบริการที่จะได้รับเมื่อเข้าเป็นสมาชิก NBSAP Accelerator Partnership โดยเฉพาะในเรื่องของกลไกการจับคู่ (Matchmaking facility) และโปรแกรมกระบวนการ (Facilitator programme) จะช่วยยกระดับและขับเคลื่อนการดำเนินงานของประเทศไทย โดยเฉพาะแผนปฏิบัติการ ความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ (National Biodiversity Strategies and Action Plan: NBSAP) ในระดับที่ท้าทาย และมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายระดับโลกกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลฯ และมุ่งสู่การดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ (nature positive) โดยการเพิ่มการสนับสนุนทั้งในเรื่องของผู้เชี่ยวชาญ องค์ความรู้ นวัตกรรม และเงินทุนในการดำเนินงานตามแผนจากประเทศสมาชิกที่เป็นผู้ให้ทุน 27. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง ฉบับใหม่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง สกพอ. กับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ฉบับใหม่ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ สกพอ. สามารถพิจารณาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง 2. อนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่ สาระสำคัญ ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ฉบับใหม่ จัดทำขึ้นเพื่อใช้แทนบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับเดิม ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (15 ตุลาคม 2562 และ 14 กุมภาพันธ์ 2566) ให้ความเห็นชอบและให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้บันทึกความเข้าใจดังกล่าวไว้ ซึ่งร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่ ยังคงขอบเขตความร่วมมือในลักษณะเดียวกันกับบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับเดิม แต่ได้มีการขยายขอบเขตความร่วมมือด้านต่าง ๆ ในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น เช่น ด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล ด้านอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการดูแลสุขภาพองค์รวม นอกจากนี้ยังเพิ่มกลไกให้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่ สามารถต่ออายุอัตโนมัติทุก ๆ 3 ปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานระหว่างกัน ซึ่งการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่ ในครั้งนี้จะช่วยสานต่อความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศโดยเฉพาะความร่วมมือในด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มาลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แต่งตั้ง 28. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ การแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ ดังนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองฯ หน้าที่และอำนาจ คณะที่ 1 ด้านความมั่นคงกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นประธาน) พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อความมั่นคง การทหาร การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด การรักษาความสงบภายในประเทศ กฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญต่าง ๆ ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ด้านการต่างประเทศ การคมนาคม การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นประธาน) พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การคมนาคม การท่องเที่ยว กีฬา ศิลปะ หรือวัฒนธรรม รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือกำลังคนภาครัฐ ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ด้านสังคม แรงงาน และการศึกษา รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นประธาน) พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อ การพัฒนาสังคม แรงงาน หรือการศึกษา ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี ค ณ ที่ 4 ด้ น พ ลัง ง น อุตสาหกรรม และการพัฒนา คุณภาพชีวิต รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธาน) พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อ ภาคพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาคุณภาพชีวิตก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ด้านเศรษฐกิจและ การเกษตร รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร เป็นประธาน) พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือภาคการเกษตรในภาพรวม รวมถึงเรื่องการเงิน การคลัง ภาษีอากร สถาบันการเงิน นโยบายรัฐวิสาหกิจ การงบประมาณ การลงทุน ตลอดจนสินค้าเกษตร การดูแลช่วยเหลือเกษตรกร การค้า หรือการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 ด้านดิจิทัล สาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ ประโยชน์ที่ดินและการบริหาร จัดการน้ำ รองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นประธาน) พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การสาธารณสุข การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคหรือการประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐบาล ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี โดยให้จัดทำเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีต่อไป 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอแต่งตั้ง นายคณาวุฒิ สิติธีรพันธุ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นายสมศักดิ์ ภู่สกุล รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง (นักวิชาการคลังทรงคุณวุฒิ) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 2. นายชุมพล สุวรรณกิจบริหาร รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 31. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (Thai National Committee for International Humanitarian Law) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (Thai National Committee for International Humanitarian Law) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้ คณะกรรมการ ฯ มีองค์ประกอบ รวม 42 ตำแหน่ง โดยมี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานกรรมการ กรรมการ จำนวน 39 ตำแหน่ง เช่น ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และมีผู้อำนวยการกองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ และผู้อำนวยการกองสนธิสัญญา กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม มีหน้าที่และอำนาจ เช่น ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านนโยบายกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศแก่รัฐบาล เสนอแนะปรับปรุงกฎหมายภายในการบังคับใช้ การอนุวัติการ การปฏิบัติตาม และการวางนโยบายให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ตรวจสอบพันธกรณีของไทยภายใต้สนธิสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นควรเหมาะสม และปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามความจำเป็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นางสาววรากรณ์ รุ่งตระการ ที่ปรึกษาด้านระบบบริหารการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน และทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นางชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. นายประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 3. นายสิทธิชัย เสรีส่งแสง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 4. นายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 7 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นายณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นายอภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 3. นายสามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 4. นายสุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 5. นายวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 6. นายปิยะ ศิริลักษณ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 7. นายเอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 3. นายพรยศ กลั่นกรอง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 6 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างและตำแหน่งที่จะว่าง ดังนี้ 1. นางสาวภัทรัตน์ หงษ์ทอง ตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย 2. นายตุลย์ ไตรโสรัส ตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครรราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา 3. นางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง ตำแหน่ง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ก 4. นายจุลวัจน์ นรินทรางกูร ณ อยุธยา ตำแหน่ง อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ รัฐอิสราเอล ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ 5. นายไกร มหาสันทนะ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมพิธีการทูต ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 6. นายพงศ์ปราชญ์ มากแจ้ง ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 4 ราย ดังนี้ 1. นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2. นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์) 3. นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 4. นายวิเชียร จงชูวณิชย์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย (นายทรงศักดิ์ ทองศรี)] ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 41. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายสราวุธ อ่อนละมัย ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายเดชอิศม์ ขาวทอง) 2. นายมนตรี ปาน้อยนนท์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงสาธารณสุข (นายเดชอิศม์ ขาวทอง)] ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 42. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพิพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้ 1. นายสำราญ สาราบรรณ์ เป็นประธานกรรมการ 2. นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ (ด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์) เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3. นางสาวศิริพร บุญชู (ด้านการเกษตร) เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4. นายรัตนะ สวามีชัย (ด้านการบริหารจัดการ) เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี วัชระเกียรติศักดิ์ (ด้านการวิจัยและกระบวนการเรียนรู้) เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 6. รองศาสตราจารย์ร่วมจิตร นกเขา (ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและเทคโนโลยีสารสนเทศ) เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 43. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการจากผู้แทนสถาบันหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองในคณะกรรมการผังเมือง (กระทรวงมหาดไทย) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการจากผู้แทนสถาบันหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองในคณะกรรมการผังเมือง จำนวน 13 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการจากผู้แทนสถาบันหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้ 1. นายปรีชา รณรงค์ ด้านการผังเมือง 2. นายสมศักดิ์ ตั้งทรงศิริศักดิ์ ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ 3. นายสมเกียรติ สิริพิทักษ์เดช ด้านวิศวกรรมศาสตร์ 4. นายวีระพงษ์ บุญญานุสนธิ์ ด้านนิติศาสตร์ 5. นายพิชัย อุทัยเชฏฐ์ ด้านเศรษฐศาสตร์ 6. นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ด้านสังคมศาสตร์ 7. นายสุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร ด้านสิ่งแวดล้อม 8. นายสด แดงเอียด ด้านประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี 9. นายคณิต ธนูธรรมเจริญ ด้านเกษตรกรรม 10. นายอนวัช สุวรรณเดช ผู้แทนสถาบันหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง 11. นายวัฒนา เชาวสกู ผู้แทนสถาบันหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง 12. นายสมศักดิ์ จุฑานันท์ ผู้แทนสถาบันหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง 13. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ผู้แทนสถาบันหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง (ภาคประชาสังคม) ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 44. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพลังงาน) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 45. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงพาณิชย์) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง ข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายปัญญา ชวนบุญ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทร ศรีสรรพางค์) 2. นายกฤษฏ์ เพ็ญสุภา ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทร ศรีสรรพางค์)] ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 46. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง จ่าเอก ยศสิงห์ เหลี่ยมเลิศ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุชาติ ชมกลิ่น) ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 47. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน จำนวน 8 ราย ดังนี้ 1. นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน 2. นายประสงค์ พูนธเนศ ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง 3. นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง 4. นายพสุ โลหารชุน ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 5. นายคมสัน เหล่าศิลปเจริญ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นผู้ประกอบกิจการพลังงาน 6. นายขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์ ผู้แทนสภาวิศวกร 7. นายพงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ผู้แทนของอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 8. นายสมศักดิ์ สันธินาค ผู้แทนองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป 48. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอแต่งตั้ง ข้าราชการการเมือง จำนวน 5 ราย ดังนี้ 1) นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ 2) นายสาวอนงค์นาถ จ่าแก้ว ให้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ 3) นายธนสาร ธรรมสอน ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอัครา พรหมเผ่า)) 4) นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอิทธิ ศิริลัทธยากร)) 5) นายภูผา ลิกค์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอิทธิ ศิริลัทธยากร) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป