คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานข้อเท็จจริงกรณีการบุกรุกเข้าประกอบการค้าบนลานเอนกประสงค์ของชุมชนหัวหมากดังนี้
เดิมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 กรณีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2547 ได้มีเหตุการณ์กลุ่มวัยรุ่น จำนวน 150 คน เข้าบุกรุกรื้อทำลายแผงขายสินค้า ในบริเวณลานเศรษฐกิจชุมชนในหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง ถนนกรุงเทพกรีฑา เขตสะพานสูง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการเคหะแห่งชาติ ทำให้ผู้ประกอบการค้าได้รับความเดือดร้อนและทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างอุกอาจ จึงขอให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ในขณะนั้นรับไปสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดจับกุมผู้กระทำผิด รวมทั้งผู้บงการมาดำเนินคดีตามกฎหมายโดยด่วน และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (การเคหะแห่งชาติ) ดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ในการขายสินค้าดังกล่าวข้างต้นให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง ความเป็นมาของผู้บุกรุกเข้าประกอบการค้าบริเวณลานเอนกประสงค์ของชุมชน ดังนี้
1. ผู้ประกอบการค้าได้บุกรุกจับจองลานเอนกประสงค์ของชุมชนมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2541 ซึ่งในระยะแรก ๆ การเคหะแห่งชาติได้จัดระเบียบโดยการแบ่งพื้นที่เป็นล็อค ๆ และกันพื้นที่เป็นทางเดิน เพื่อความเป็นระเบียบพร้อมจัดเก็บเงินค่าทำความสะอาด ต่อมามีผู้ร้องเรียนไปที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ว่า การเคหะแห่งชาตินำลานเอนกประสงค์ของชุมชนไปจัดประโยชน์ จึงได้มีการเชิญผู้แทนของการเคหะแห่งชาติไปชี้แจงโดยการเคหะแห่งชาติรับว่า จะไม่จัดเก็บผลประโยชน์ใดๆ และจะดำเนินการย้ายผู้ประกอบการค้าไปอยู่ในบริเวณใหม่ (ฝั่งตรงข้ามลานเอนกประสงค์ของชุมชน) ต่อมาได้มีการโอนเรื่องนี้ไปที่ศาลปกครอง ซึ่งการเคหะแห่งชาติในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีได้ให้ถ้อยคำต่อศาลเมื่อเดือนมีนาคม 2545 ว่า การเคหะแห่งชาติจะจัดสร้างตลาดถาวรเพื่อรองรับผู้ประกอบการค้าทั้งชุมชน แต่การดำเนินการต้องใช้ระยะเวลา ในระหว่างนี้ การเคหะแห่งชาติได้จัดทำป้ายประกาศโดยชัดเจนว่า ลานเอนกประสงค์ของชุมชนเป็นพื้นที่ส่วนรวมและการประกอบการค้าในพื้นที่นี้ถือเป็นการบุกรุกพื้นที่ ดังนั้นจะต้องมีการย้ายผู้ประกอบการค้าออกไปโดยเร็ว โดยจะใช้พื้นที่ฝั่งตรงข้ามถนนแต่ให้ชะลอการรื้อย้ายไปก่อน เพื่อให้ตลาดใหม่สร้างเสร็จ ซึ่งจากการสำรวจผู้ประกอบการค้า ทั้งในตลาดเดิมและในส่วนที่บุกรุกลานเอนกประสงค์ของชุมชนมีจำนวนทั้งสิ้น 269 ราย
2. การเคหะแห่งชาติได้ประกาศหาผู้ลงทุนก่อสร้างตลาด ซึ่งบริษัทไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด เสนอเงื่อนไขดีที่สุด จึงได้รับอนุมัติให้ดำเนินการในเนื้อที่ 4-2-24.2 ไร่ ตามสัญญาเช่าที่ดินระยะเวลา 12 ปี ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2546 ประกอบด้วยส่วนของอาคารและลานโล่ง ในอาคารต้องเสียค่าเซ้งแผงและค่าเช่าแผง โดยบริษัทฯ เป็นผู้กำหนดราคาตามต้นทุนการก่อสร้างและการบริหารของบริษัทฯ เป็นสำคัญ ในส่วนลานโล่งจัดสำหรับรถเข็นซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าสถานที่ ค่าไฟฟ้า และค่ารักษาความสะอาด แผงละ 70 บาทต่อวัน ทั้งนี้ การเคหะแห่งชาติทำสัญญาในรูปแบบเดียวกันกับโครงการอื่น ๆ และตามสัญญาบริษัทฯ ต้องเป็นผู้ดำเนินการรื้อย้ายผู้ประกอบการค้าบนลานเอนกประสงค์ของชุมชนและบริเวณตลาดเก่าเพื่อปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นที่พักผ่อนในลักษณะลานเอนกประสงค์ของชุมชน สำหรับจัดกิจกรรมร่วมกันตามแบบที่การเคหะแห่งชาติกำหนด ในการนี้บริษัทฯ ได้ลงทุนก่อสร้างโดยใช้งบประมาณ 23 ล้านบาท และบริษัทฯ จะต้องใช้สิทธิ์ผู้ประกอบการค้าทั้ง 269 ราย ก่อนตามเงื่อนไขในสัญญา ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้ส่งบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการค้าให้บริษัทฯ เรียบร้อยแล้ว และผู้ประกอบการค้าส่วนหนึ่งได้ไปยื่นจองแผงในตลาดถาวรแห่งใหม่นี้ ทำให้พื้นที่ที่เคยประกอบการค้าในลานเอนกประสงค์ว่างลง แต่ได้มีการชักนำให้บุคคลอื่นเข้ามาประกอบการค้าแทน เมื่อบริษัทฯ จะเข้ามากันอาณาเขตทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ประกอบการค้าที่ต่อต้านกับตัวแทนของบริษัทฯ จนถึงขั้นแจ้งความดำเนินคดี
3. ผู้ประกอบการค้าบนลานเอนกประสงค์ของชุมชนที่ไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ได้ร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งแกนนำของผู้ประกอบการค้าที่เสียประโยชน์ เนื่องจากเป็นผู้ขายน้ำประปาและกระแสไฟฟ้าให้กับผู้ประกอบการค้าที่บุกรุกเหล่านี้ การเคหะแห่งชาติได้พยายามหาทางคลี่คลายปัญหา โดยประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการเคหะชุมชน สำนักงานเขตสะพานสูง สถานีตำรวจนครบาลประเวศ และตัวแทนของผู้ประกอบการค้าหลายครั้งเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างตลาดจนสร้างตลาดเสร็จ ซึ่งทุกหน่วยงานมีความเห็นสอดคล้องกันในการย้าย ผู้ประกอบการค้าออกจากลานเอนกประสงค์ของชุมชน เพื่อปรับปรุงให้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของส่วนรวมได้ แต่ผู้ประกอบการค้ายังคงต่อต้าน และขอให้สำรวจความต้องการของผู้อยู่อาศัยโดยแบบสอบถาม หากส่วนใหญ่เห็นด้วยก็จะยอมรื้อย้ายแต่โดยดี ในการนี้การเคหะแห่งชาติได้ทำตามความประสงค์ โดยสำรวจผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 3,325 ครอบครัว ซึ่งได้รับการตอบกลับจำนวน 1,322 ครอบครัว ผลสรุปว่าร้อยละ 81.62 เห็นด้วยกับการรื้อย้ายเพื่อการปรับปรุงลานเอนกประสงค์ของชุมชน แต่ในที่สุดผู้ประกอบการค้าก็ไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ที่บุกรุกแต่ประการใด
กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น การเคหะแห่งชาติได้เข้าตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุทันทีและได้รายงานผู้บังคับบัญชาในเบื้องต้น ต่อมาทราบว่าสื่อมวลชนได้แพร่ภาพและรายงานข่าวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ผู้จัดการ บริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ผู้เช่าพื้นที่จากการเคหะแห่งชาติเพื่อจัดสร้างตลาดมาตรฐานในเคหะชุมชนหัวหมากได้เข้ารายงานตัวต่อผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลประเวศ อีกทั้งการเคหะแห่งชาติได้รับเชิญเข้าร่วมชี้แจงพร้อมกับบริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ในรายการ “ถึงลูกถึงคน” เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 ทั้งนี้ได้มีการประชุมผู้บริหารเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งจัดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนในลำดับต่อมา
แนวทางแก้ไข
1. การเคหะแห่งชาติได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับบริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ตามหนังสือที่ พม 5117/1607 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2547 โดยเหตุมีหนี้ค้างชำระก่อนหน้านี้ ซึ่งบริษัทฯ ต้องส่งคืนพื้นที่ให้การเคหะแห่งชาติ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
2. บริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ได้มีหนังสือที่ 001/11/2547 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 โดยเสนอข้อเสนอ 3 ข้อ ให้การเคหะแห่งชาติพิจารณา คือ
2.1 ให้การเคหะแห่งชาติแก้ไขสัญญาเช่า โดยลดพื้นที่เช่าจาก จำนวน 4-2-24.2 ไร่ ลงเหลือ 3-3-4.2 ไร่ (6,016.8 ตร.ม.) และตลอดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาจะไม่มีค่าเช่ารายเดือน โดยบริษัทฯ จะชำระค่าสิทธิการเช่าตามสัญญา จำนวน 3,000,000 บาท (สามล้านบาท) และจะลดค่าเช่าแผงค้าในตลาดในอนาคตให้กับผู้เช่าที่ได้ทำสัญญาเช่าเซ้งแผงค้าไว้กับบริษัทฯ
2.2 บริษัทฯ ขอบริหารจัดการตลาดทั้งสอง โดยพ่อค้าแม่ค้าที่ย้ายมาจากลานเอนกประสงค์ตามที่การเคหะแห่งชาติสำรวจลงทะเบียนไว้ชำระค่าเช่ารายวันกับบริษัทฯ วันละ 20 บาทต่อแผง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าเก็บขยะเก็บตามความเป็นจริง โดยบริษัทฯ ขอลดอัตราค่าเช่าจากการเคหะแห่งชาติตามสัญญาในปีที่ 1-3 จากเดือนละ 90,000 บาท คงเหลือเดือนละ 40,000 บาท ส่วนปีที่ 4-12 ให้เป็นไปตามสัญญา
2.3 บริษัทฯ ขอส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้การเคหะแห่งชาติทั้งหมดพร้อมสิ่งปลูกสร้างลงบนที่เช่า โดยการเคหะแห่งชาติจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชย ค่าก่อสร้างโครงการ ค่าบริหารจัดการ ค่าเสียโอกาส และค่าดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้แก่บริษัทฯ
3. การเคหะแห่งชาติ ได้มีหนังสือ ที่ พม 5102/2598 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2547 แจ้งให้บริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ทราบแล้วว่า การเคหะแห่งชาติไม่อาจรับข้อเสนอทั้ง 3 ข้อของบริษัทฯ ได้และขอให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามหนังสือบอกเลิกสัญญาตามข้อ 1 โดยเคร่งครัด
4. ขณะนี้บริษัทฯ ยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่คืน และไม่ได้ชำระค่าเช่าที่ค้างตามหนังสือบอกเลิกสัญญา ซึ่งการเคหะแห่งชาติ ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุด อัยการพิเศษมีนบุรี ดำเนินการฟ้องคดีกับบริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด แล้วตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2547 ทั้งนี้เพื่อรักษาประโยชน์และภาพพจน์ของการเคหะแห่งชาติ
5. การเคหะแห่งชาติได้ประสานงานกับสำนักงานอัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลขอใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดี ขอศาลมีคำสั่งให้บริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ระงับการก่อสร้างเพื่อการเคหะแห่งชาติจะได้เข้าปรับปรุงพื้นที่จัดทำลานค้าตามข้อตกลงกับผู้ค้าต่อไป
6. สำหรับผู้ประกอบการค้าในตลาดถาวร จำนวน 82 ราย ซึ่งได้ทำสัญญาเช่าแผงกับบริษัทฯ ไว้แล้วนั้น การเคหะแห่งชาติยังไม่อาจที่จะเข้าไปดำเนินการใด ๆ ในขณะนี้ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้อัยการดำเนินคดีกับบริษัทฯ ต้องรอให้คดีถึงที่สุดก่อน แต่หากผู้ประกอบการค้าได้รับความเดือดร้อน เพราะเหตุไม่มีผู้เข้าไปซื้อของ และประสงค์ที่จะออกมาค้าขายในพื้นที่ลานโล่ง หากมีพื้นที่เหลือการเคหะแห่งชาติก็พร้อมที่จะจัดพื้นที่ให้ต่อไป
การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. สำหรับการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด การเคหะแห่งชาติได้ประสานงานกับ พ.ต.อ.เกริกกิตติ พิทักษากร ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลประเวศ ให้ข้อมูลว่าจำนวนผู้กระทำผิดทั้งหมดประมาณ 58 คน ขณะนี้จับได้แล้ว 38 คน ซึ่งรวมทั้งนายสามารถ สังข์โชติ ผู้จัดการตลาดด้วย ส่วนเด็กอีก 2 คน กันไว้เป็นพยานและออกหมายจับอีก 9 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนเพื่อขยายผล
2. การเคหะแห่งชาติได้แจ้งให้สำนักงานเขตสะพานสูงมีคำสั่งระงับการก่อสร้างตลาดของบริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด แล้ว
3. การเคหะแห่งชาติได้ส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุด อัยการพิเศษมีนบุรี เป็นผู้ดำเนินคดีกับบริษัทฯ และผู้บุกรุกซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายกับบริษัทฯ แล้ว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
เดิมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 กรณีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2547 ได้มีเหตุการณ์กลุ่มวัยรุ่น จำนวน 150 คน เข้าบุกรุกรื้อทำลายแผงขายสินค้า ในบริเวณลานเศรษฐกิจชุมชนในหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง ถนนกรุงเทพกรีฑา เขตสะพานสูง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการเคหะแห่งชาติ ทำให้ผู้ประกอบการค้าได้รับความเดือดร้อนและทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างอุกอาจ จึงขอให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ในขณะนั้นรับไปสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดจับกุมผู้กระทำผิด รวมทั้งผู้บงการมาดำเนินคดีตามกฎหมายโดยด่วน และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (การเคหะแห่งชาติ) ดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ในการขายสินค้าดังกล่าวข้างต้นให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง ความเป็นมาของผู้บุกรุกเข้าประกอบการค้าบริเวณลานเอนกประสงค์ของชุมชน ดังนี้
1. ผู้ประกอบการค้าได้บุกรุกจับจองลานเอนกประสงค์ของชุมชนมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2541 ซึ่งในระยะแรก ๆ การเคหะแห่งชาติได้จัดระเบียบโดยการแบ่งพื้นที่เป็นล็อค ๆ และกันพื้นที่เป็นทางเดิน เพื่อความเป็นระเบียบพร้อมจัดเก็บเงินค่าทำความสะอาด ต่อมามีผู้ร้องเรียนไปที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ว่า การเคหะแห่งชาตินำลานเอนกประสงค์ของชุมชนไปจัดประโยชน์ จึงได้มีการเชิญผู้แทนของการเคหะแห่งชาติไปชี้แจงโดยการเคหะแห่งชาติรับว่า จะไม่จัดเก็บผลประโยชน์ใดๆ และจะดำเนินการย้ายผู้ประกอบการค้าไปอยู่ในบริเวณใหม่ (ฝั่งตรงข้ามลานเอนกประสงค์ของชุมชน) ต่อมาได้มีการโอนเรื่องนี้ไปที่ศาลปกครอง ซึ่งการเคหะแห่งชาติในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีได้ให้ถ้อยคำต่อศาลเมื่อเดือนมีนาคม 2545 ว่า การเคหะแห่งชาติจะจัดสร้างตลาดถาวรเพื่อรองรับผู้ประกอบการค้าทั้งชุมชน แต่การดำเนินการต้องใช้ระยะเวลา ในระหว่างนี้ การเคหะแห่งชาติได้จัดทำป้ายประกาศโดยชัดเจนว่า ลานเอนกประสงค์ของชุมชนเป็นพื้นที่ส่วนรวมและการประกอบการค้าในพื้นที่นี้ถือเป็นการบุกรุกพื้นที่ ดังนั้นจะต้องมีการย้ายผู้ประกอบการค้าออกไปโดยเร็ว โดยจะใช้พื้นที่ฝั่งตรงข้ามถนนแต่ให้ชะลอการรื้อย้ายไปก่อน เพื่อให้ตลาดใหม่สร้างเสร็จ ซึ่งจากการสำรวจผู้ประกอบการค้า ทั้งในตลาดเดิมและในส่วนที่บุกรุกลานเอนกประสงค์ของชุมชนมีจำนวนทั้งสิ้น 269 ราย
2. การเคหะแห่งชาติได้ประกาศหาผู้ลงทุนก่อสร้างตลาด ซึ่งบริษัทไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด เสนอเงื่อนไขดีที่สุด จึงได้รับอนุมัติให้ดำเนินการในเนื้อที่ 4-2-24.2 ไร่ ตามสัญญาเช่าที่ดินระยะเวลา 12 ปี ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2546 ประกอบด้วยส่วนของอาคารและลานโล่ง ในอาคารต้องเสียค่าเซ้งแผงและค่าเช่าแผง โดยบริษัทฯ เป็นผู้กำหนดราคาตามต้นทุนการก่อสร้างและการบริหารของบริษัทฯ เป็นสำคัญ ในส่วนลานโล่งจัดสำหรับรถเข็นซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าสถานที่ ค่าไฟฟ้า และค่ารักษาความสะอาด แผงละ 70 บาทต่อวัน ทั้งนี้ การเคหะแห่งชาติทำสัญญาในรูปแบบเดียวกันกับโครงการอื่น ๆ และตามสัญญาบริษัทฯ ต้องเป็นผู้ดำเนินการรื้อย้ายผู้ประกอบการค้าบนลานเอนกประสงค์ของชุมชนและบริเวณตลาดเก่าเพื่อปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นที่พักผ่อนในลักษณะลานเอนกประสงค์ของชุมชน สำหรับจัดกิจกรรมร่วมกันตามแบบที่การเคหะแห่งชาติกำหนด ในการนี้บริษัทฯ ได้ลงทุนก่อสร้างโดยใช้งบประมาณ 23 ล้านบาท และบริษัทฯ จะต้องใช้สิทธิ์ผู้ประกอบการค้าทั้ง 269 ราย ก่อนตามเงื่อนไขในสัญญา ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้ส่งบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการค้าให้บริษัทฯ เรียบร้อยแล้ว และผู้ประกอบการค้าส่วนหนึ่งได้ไปยื่นจองแผงในตลาดถาวรแห่งใหม่นี้ ทำให้พื้นที่ที่เคยประกอบการค้าในลานเอนกประสงค์ว่างลง แต่ได้มีการชักนำให้บุคคลอื่นเข้ามาประกอบการค้าแทน เมื่อบริษัทฯ จะเข้ามากันอาณาเขตทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ประกอบการค้าที่ต่อต้านกับตัวแทนของบริษัทฯ จนถึงขั้นแจ้งความดำเนินคดี
3. ผู้ประกอบการค้าบนลานเอนกประสงค์ของชุมชนที่ไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ได้ร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งแกนนำของผู้ประกอบการค้าที่เสียประโยชน์ เนื่องจากเป็นผู้ขายน้ำประปาและกระแสไฟฟ้าให้กับผู้ประกอบการค้าที่บุกรุกเหล่านี้ การเคหะแห่งชาติได้พยายามหาทางคลี่คลายปัญหา โดยประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการเคหะชุมชน สำนักงานเขตสะพานสูง สถานีตำรวจนครบาลประเวศ และตัวแทนของผู้ประกอบการค้าหลายครั้งเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างตลาดจนสร้างตลาดเสร็จ ซึ่งทุกหน่วยงานมีความเห็นสอดคล้องกันในการย้าย ผู้ประกอบการค้าออกจากลานเอนกประสงค์ของชุมชน เพื่อปรับปรุงให้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของส่วนรวมได้ แต่ผู้ประกอบการค้ายังคงต่อต้าน และขอให้สำรวจความต้องการของผู้อยู่อาศัยโดยแบบสอบถาม หากส่วนใหญ่เห็นด้วยก็จะยอมรื้อย้ายแต่โดยดี ในการนี้การเคหะแห่งชาติได้ทำตามความประสงค์ โดยสำรวจผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 3,325 ครอบครัว ซึ่งได้รับการตอบกลับจำนวน 1,322 ครอบครัว ผลสรุปว่าร้อยละ 81.62 เห็นด้วยกับการรื้อย้ายเพื่อการปรับปรุงลานเอนกประสงค์ของชุมชน แต่ในที่สุดผู้ประกอบการค้าก็ไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ที่บุกรุกแต่ประการใด
กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น การเคหะแห่งชาติได้เข้าตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุทันทีและได้รายงานผู้บังคับบัญชาในเบื้องต้น ต่อมาทราบว่าสื่อมวลชนได้แพร่ภาพและรายงานข่าวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ผู้จัดการ บริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ผู้เช่าพื้นที่จากการเคหะแห่งชาติเพื่อจัดสร้างตลาดมาตรฐานในเคหะชุมชนหัวหมากได้เข้ารายงานตัวต่อผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลประเวศ อีกทั้งการเคหะแห่งชาติได้รับเชิญเข้าร่วมชี้แจงพร้อมกับบริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ในรายการ “ถึงลูกถึงคน” เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 ทั้งนี้ได้มีการประชุมผู้บริหารเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งจัดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนในลำดับต่อมา
แนวทางแก้ไข
1. การเคหะแห่งชาติได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับบริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ตามหนังสือที่ พม 5117/1607 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2547 โดยเหตุมีหนี้ค้างชำระก่อนหน้านี้ ซึ่งบริษัทฯ ต้องส่งคืนพื้นที่ให้การเคหะแห่งชาติ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
2. บริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ได้มีหนังสือที่ 001/11/2547 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 โดยเสนอข้อเสนอ 3 ข้อ ให้การเคหะแห่งชาติพิจารณา คือ
2.1 ให้การเคหะแห่งชาติแก้ไขสัญญาเช่า โดยลดพื้นที่เช่าจาก จำนวน 4-2-24.2 ไร่ ลงเหลือ 3-3-4.2 ไร่ (6,016.8 ตร.ม.) และตลอดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาจะไม่มีค่าเช่ารายเดือน โดยบริษัทฯ จะชำระค่าสิทธิการเช่าตามสัญญา จำนวน 3,000,000 บาท (สามล้านบาท) และจะลดค่าเช่าแผงค้าในตลาดในอนาคตให้กับผู้เช่าที่ได้ทำสัญญาเช่าเซ้งแผงค้าไว้กับบริษัทฯ
2.2 บริษัทฯ ขอบริหารจัดการตลาดทั้งสอง โดยพ่อค้าแม่ค้าที่ย้ายมาจากลานเอนกประสงค์ตามที่การเคหะแห่งชาติสำรวจลงทะเบียนไว้ชำระค่าเช่ารายวันกับบริษัทฯ วันละ 20 บาทต่อแผง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าเก็บขยะเก็บตามความเป็นจริง โดยบริษัทฯ ขอลดอัตราค่าเช่าจากการเคหะแห่งชาติตามสัญญาในปีที่ 1-3 จากเดือนละ 90,000 บาท คงเหลือเดือนละ 40,000 บาท ส่วนปีที่ 4-12 ให้เป็นไปตามสัญญา
2.3 บริษัทฯ ขอส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้การเคหะแห่งชาติทั้งหมดพร้อมสิ่งปลูกสร้างลงบนที่เช่า โดยการเคหะแห่งชาติจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชย ค่าก่อสร้างโครงการ ค่าบริหารจัดการ ค่าเสียโอกาส และค่าดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้แก่บริษัทฯ
3. การเคหะแห่งชาติ ได้มีหนังสือ ที่ พม 5102/2598 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2547 แจ้งให้บริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ทราบแล้วว่า การเคหะแห่งชาติไม่อาจรับข้อเสนอทั้ง 3 ข้อของบริษัทฯ ได้และขอให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามหนังสือบอกเลิกสัญญาตามข้อ 1 โดยเคร่งครัด
4. ขณะนี้บริษัทฯ ยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่คืน และไม่ได้ชำระค่าเช่าที่ค้างตามหนังสือบอกเลิกสัญญา ซึ่งการเคหะแห่งชาติ ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุด อัยการพิเศษมีนบุรี ดำเนินการฟ้องคดีกับบริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด แล้วตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2547 ทั้งนี้เพื่อรักษาประโยชน์และภาพพจน์ของการเคหะแห่งชาติ
5. การเคหะแห่งชาติได้ประสานงานกับสำนักงานอัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลขอใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดี ขอศาลมีคำสั่งให้บริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด ระงับการก่อสร้างเพื่อการเคหะแห่งชาติจะได้เข้าปรับปรุงพื้นที่จัดทำลานค้าตามข้อตกลงกับผู้ค้าต่อไป
6. สำหรับผู้ประกอบการค้าในตลาดถาวร จำนวน 82 ราย ซึ่งได้ทำสัญญาเช่าแผงกับบริษัทฯ ไว้แล้วนั้น การเคหะแห่งชาติยังไม่อาจที่จะเข้าไปดำเนินการใด ๆ ในขณะนี้ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้อัยการดำเนินคดีกับบริษัทฯ ต้องรอให้คดีถึงที่สุดก่อน แต่หากผู้ประกอบการค้าได้รับความเดือดร้อน เพราะเหตุไม่มีผู้เข้าไปซื้อของ และประสงค์ที่จะออกมาค้าขายในพื้นที่ลานโล่ง หากมีพื้นที่เหลือการเคหะแห่งชาติก็พร้อมที่จะจัดพื้นที่ให้ต่อไป
การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. สำหรับการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด การเคหะแห่งชาติได้ประสานงานกับ พ.ต.อ.เกริกกิตติ พิทักษากร ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลประเวศ ให้ข้อมูลว่าจำนวนผู้กระทำผิดทั้งหมดประมาณ 58 คน ขณะนี้จับได้แล้ว 38 คน ซึ่งรวมทั้งนายสามารถ สังข์โชติ ผู้จัดการตลาดด้วย ส่วนเด็กอีก 2 คน กันไว้เป็นพยานและออกหมายจับอีก 9 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนเพื่อขยายผล
2. การเคหะแห่งชาติได้แจ้งให้สำนักงานเขตสะพานสูงมีคำสั่งระงับการก่อสร้างตลาดของบริษัท ไวส์คิท คอนซัลแต้นท์ จำกัด แล้ว
3. การเคหะแห่งชาติได้ส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุด อัยการพิเศษมีนบุรี เป็นผู้ดำเนินคดีกับบริษัทฯ และผู้บุกรุกซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายกับบริษัทฯ แล้ว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--