สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ชุด นางสาวแพทองธาร ชินวัตร(นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567

ข่าวการเมือง Tuesday November 19, 2024 18:25 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (19 พฤศจิกายน 2567) เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตหรือการรับรองให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า

ซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. ....

                    3.            เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า การค้าสัตว์ป่า

ซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า และการครอบครองสัตว์ป่าหรือ

ซากสัตว์ป่า พ.ศ. ....

                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมและหน่วยบริการ

เวชกรรมสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ....

                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรม                                         พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการเวชกรรม                                                  สิ่งแวดล้อม พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องสำอางที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค                                                  หรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ. ....
                    9.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการ

เผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์

การแจ้งและการออกใบรับรอง พ.ศ. ....

                    10.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร                                         พ.ศ. ....
                    11.           เรื่อง          ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะภาระและจำนวนเงินค่าทดแทนภาระใน                                                  อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่บนหรือเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำในกิจการขนส่งมวลชน

พ.ศ. ....

                    12.          เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต                                                  และการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียและผู้รับจ้างให้บริการ

บำบัดน้ำเสีย พ.ศ. ....

                    13.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น การเก็บรักษาค่าเสียหาย                                                  เบื้องต้นและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. ....
                    14.           เรื่อง           ร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วย                                                  หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

พ.ศ. ....

                    15.           เรื่อง           ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง สิทธิ                                                  ประโยชน์ในการทำธุรกรรมทางการเงินสำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริม                                                  เศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ....
                    16.          เรื่อง           ร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการ                                                  อุทธรณ์คำสั่งของเลขาธิการตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษ                                        ภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 พ.ศ. ....
                    17.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์                                                  เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ....
                    18.           เรื่อง            ร่างกฎกระทรวงการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืน                                        เงินค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ....
                    19.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้กิจการอื่นเป็นเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการเช่า                                        ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ....
                    20.           เรื่อง          ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยโครงการ                                                  อนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..)                                         พ.ศ. .....
                    21.           เรื่อง            ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการมอบให้เอกชนดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่แทน                                                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....
                    22.           เรื่อง           ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง กำหนด                                        ค่าบริการในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต ให้                                        ความเห็นชอบรับจดทะเบียน หรือรับแจ้งในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ....
                    23.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง โรงงานที่ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตาม                                        บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    24.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่อื่นของรัฐ พ.ศ. ....
                    25.           เรื่อง           ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไป                                        แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารในหรือ                                        ต่างกระทรวงหรือกรม พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ ? สังคม

                    26.           เรื่อง           ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม                                         (นม) โรงเรียน
                    27.           เรื่อง           ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย)                                                   วงเงิน 17,500 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ                                                   พ.ศ. 2568
                    28.           เรื่อง           ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการ                                                  นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2567
                    29.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการ                                        แห่งรัฐและคนพิการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินตามโครงการ

ต่างประเทศ

                    30.           เรื่อง           ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

ครั้งที่ 5 จำนวน 2 ฉบับ

                    31.           เรื่อง           ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีสำหรับการประชุม IAEA Ministerial Conference on                                         Nuclear Science, Technology and Applications and the Technical                                                   Cooperation Programme
                    32.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบยุทธศาสตร์คุนหมิงสำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบ                                        เกษตรอาหาร ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง                                         2030
                    33.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน

ครั้งที่ 30 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                    34.           เรื่อง           ร่างพิธีสารการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยและอุซเบกิสถาน ภายใต้กระบวนการ                                                  ภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของอุซเบกิสถาน
                    35.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Bangkok Declaration) ที่จะมี                                        การรับรองในการประชุมสุขภาพช่องปากโลก (WHO Global Health Meeting)
                    36.          เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรี

กลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 18 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับ

รัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 11

แต่งตั้ง

                    37.           เรื่อง           การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ                                        สังคม
                    38.            เรื่อง           แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

                    39.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    40.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน                                                  ประเทศเพื่อดำรงตำแหน่งแทนผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ (กระทรวงกลาโหม)
                    41.            เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ วาระปี พ.ศ. 2567                                         (กระทรวงยุติธรรม)
                    42.           เรื่อง           การสรรหากรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ                                        แทนตำแหน่งที่ว่าง  (สำนักงาน ป.ป.ท.)



?
กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ....                  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ อว. เสนอ (คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนให้มีความร่วมมือในการจัดการศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม และในด้านอื่น ๆ รวมถึงการใช้บุคลากรร่วมกัน การร่วมกันออกค่าจ่าย การใช้ทรัพยากรร่วมกัน อาทิ การจัดทำหลักสูตร การใช้ฐานข้อมูลงานวิจัย การใช้สถานที่และอุปกรณ์ทางการศึกษาร่วมกัน การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมร่วมกัน การรับและให้ทุนวิจัย การแบ่งปันประสบการณ์ของนักวิจัย ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริการ ด้านวิชาการแก่สังคม

2. ร่างกฎกระทรวงมีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้

ประเด็น          สาระสำคัญ
1. นิยาม
คำนิยาม          ? กำหนดนิยาม ดังนี้
- ?สถาบันอุดมศึกษา? หมายความว่า สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
- ?สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ? หมายความว่า สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของ อว. และสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่อยู่ในสังกัดของ อว.
- ?สถาบันอุดมศึกษาเอกชน? หมายความว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
- ?บุคลากร? หมายความว่า คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานสถาบันอุดมศึกษา และลูกจ้างของสถาบันอุดมศึกษา
- ?สภานโยบาย? หมายความว่า สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
2. บททั่วไป
การร่วมมือกันของสถาบันอุดมศึกษา          ? กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปอาจร่วมมือกันในเรื่อง ดังนี้
1. การจัดการศึกษา
2. การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์
3. การพัฒนาบุคลากร
4. การบริการวิชาการแก่สังคม รวมทั้งการให้ข้อมูลและความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้องและปราศจากอคติแก่สังคมและเพื่อประกอบการตัดสินใจในทางนโยบายของภาครัฐ
5. การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
6. การถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี
7. ความร่วมมืออื่นตามที่ปลัดกระทรวงประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รูปแบบและหลักการของความตกลงร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา          ? กำหนดให้ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา อาจทำในรูปแบบ
1. การทำข้อตกลงระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
2. การเข้าร่วมโครงการส่งเสริมความร่วมมือที่สำนักปลัดกระทรวงเป็น              ผู้ริเริ่ม หรือจัดให้มีขึ้น
ทั้งนี้ การทำข้อตกลงและการเข้าร่วมโครงการของสถาบันอุดมศึกษาต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษานั้นด้วย
? กำหนดให้ความตกลงร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาต้องเป็นไป              ตามหลักการ ดังนี้
1. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนด้านการอุดมศึกษา แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา รวมทั้งวัตถุประสงค์               การจัดการอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการอุดมศึกษา และพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาและกลุ่มของสถาบันอุดมศึกษาที่ตนสังกัด
2. การก่อให้เกิดการพัฒนาด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย การสร้างนวัตกรรม และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือในด้านวิชาการอื่น ๆ เพื่อพัฒนากำลังคนของประเทศและ                    การวางรากฐานการศึกษาเพื่อการพัฒนาในอนาคต
3. การใช้ทรัพยากรของสถาบันอุดมศึกษาให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่การอุดมศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมของประเทศ
4. ประโยชน์สูงสุดและการลดภาระของผู้เรียน
3. ความร่วมมือในการจัดการศึกษา
ความร่วมมือในการจัดการศึกษา          ? กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาอาจร่วมมือในการจัดการศึกษา ดังนี้
1. การจัดหลักสูตรการศึกษาร่วมกัน
2. การให้บุคลากรไปทำการสอนในสถาบันอุดมศึกษาที่มีความร่วมมือกัน
3. การให้ผู้เรียนไปลงทะเบียนเรียนในสถาบันอุดมศึกษาที่มี                          ความร่วมมือกัน
4. การนำบุคลากรซึ่งมีประสบการณ์และศักยภาพสูงจากสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศมาร่วมในการจัดการศึกษา
5. ความร่วมมืออื่นที่ปลัดกระทรวงประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบ                 ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
4. ความร่วมมือในการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม
ความร่วมมือในการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม          ? กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาอาจร่วมมือในการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ดังนี้
1. การรับหรือให้ทุนวิจัยร่วมกัน
2. การวิจัยหรือสร้างนวัตกรรมร่วมกัน
3. การให้บุคลากรหรือผู้เรียนไปทำการวิจัยและสร้างนวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษาที่มีความร่วมมือกัน
4. การนำบุคลากรซึ่งมีประสบการณ์และมีศักยภาพสูงจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาร่วมในการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม
5. การใช้ห้องปฏิบัติการ เครื่องมือ เครื่องใช้ และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่สนับสนุนการวิจัยและสร้างนวัตกรรมร่วมกัน
6. การใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยและนวัตกรรมร่วมกัน
7. การสร้างเครือข่ายวิจัยและนวัตกรรมของภาครัฐและภาคเอกชน                 เพื่อสนับสนุนและร่วมดำเนินการวิจัยและสร้างนวัตกรรม
8. ความร่วมมืออื่นตามที่ปลัดกระทรวงประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
5. ความร่วมมือในเรื่องอื่น ๆ
ความร่วมมือในเรื่องอื่น ๆ          ? กำหนดให้มีความร่วมมือในเรื่องอื่น ๆ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคอุตสาหกรรม ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานนั้น ๆ หรือตามโครงการส่งเสริมความร่วมมือที่สำนักงานปลัดกระทรวงเป็นผู้ริเริ่มหรือจัดให้มีขึ้น
6. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
การใช้ทรัพยากรร่วมกัน          ? กำหนดให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันในทุกด้าน โดยให้รวมถึงการใช้ที่ดิน อาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ ยานพาหนะ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สาธารณูปโภค ตลอดจนสถานพยาบาล โรงแรม กิจการ การอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือทรัพยากรอื่นของสถาบันอุดมศึกษาที่มีความร่วมมือกัน
? ในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นเกิดจากการใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือเกิดขึ้นต่อทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันนั้น ให้ดำเนินการ ดังนี้
1. การใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐความรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบของทางราชการ
2. การใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเอกชนด้วยกัน ความรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อตกลงระหว่างสถาบันอุดมศึกษาด้วยกันเอง หรือ                   ตามโครงการส่งเสริมความร่วมมือที่สำนักงานปลัดกระทรวงเป็นผู้ริเริ่มหรือจัดให้มีขึ้น
? กำหนดให้การออกค่าใช้จ่ายร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสถาบันอุดมศึกษาด้วยกันเอง หรือตามโครงการส่งเสริมความร่วมมือที่สำนักงานปลัดกระทรวงเป็นผู้ริเริ่มหรือจัดให้มีขึ้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
7. บทเบ็ดเตล็ด
หน้าที่ของคณะกรรมการอุดมศึกษา และสำนักงานปลัดกระทรวง          ? กำหนดให้คณะกรรมการอุดมศึกษามีหน้าที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความเห็นต่อรัฐมนตรี คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาหรือปลัดกระทรวง ในการส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
? กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงมีหน้าที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะ แก่สถาบันอุดมศึกษา และอาจจัดทำมาตรการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดให้แก่สถาบันอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน                 การจัดทำความร่วมมือตามกฎกระทรวงนี้
8. บทเฉพาะกาล
บทเฉพาะกาล          ? กำหนดให้บรรดาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ บันทึกความเข้าใจและข้อตกลงที่เรียกชื่ออย่างอื่นของสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมมือกันและมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดตามที่ได้ตกลงกันไว้ในบันทึกข้อตกลงนั้น



2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตหรือการรับรองให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตหรือการรับรองให้นำเข้าหรือส่งออก                 ซึ่งสัตว์ป่า  ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. .... ที่สำนักงกงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)                ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

สาระสำคัญของเรื่อง

                    1. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตหรือการรับรองให้นำเข้าหรือส่งออก ซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่าฯ                ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ  คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567) อนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยได้แก้ไขชื่อร่างเป็น ?ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตหรือการรับรองให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. ....? ซึ่งยังคงหลักการเดิม โดยเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุม และซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว โดยได้กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออก ซึ่งสัตว์ป่าสงวน ซากสัตว์ป่าสงวน หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ไม่ใช่สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ จะต้องเป็นไปเพื่อกิจการสวนสัตว์และเป็นการดำเนินการของผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์หรือเป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งสวนสัตว์ขึ้นเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ และการขอรับใบรับรอง ซึ่งได้กำหนดให้ผู้ใดประสงค์จะนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าที่มิใช่สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง และสัตว์ป่าควบคุม จะต้องมีใบรับรองซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม อาทิ                     เป็นผู้บรรรลุนิติภาวะ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่อยู่ระหว่างรับโทษจำคุก และกำหนดให้การยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรองให้ดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก รวมทั้งได้กำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับขั้นตอนระยะเวลาในการดำเนินการยื่นคำขอและการพิจารณาคำขอ เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นสำหรับเรื่องทางเทคนิคและรายละเอียดของเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ สามารถกำหนดในแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดได้ นอกจากนี้ ในการพิจารณาออกใบอนุญาตได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา เช่น พิจารณาวัตถุประสงค์ในการนำเข้าหรือการส่งออก ชนิดพันธุ์ และจำนวนสัตว์ป่าที่จะนำเข้าหรือส่งออก ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สถานภาพของสัตว์ป่าที่มีอยู่ในประเทศ ความปลอดภัยของสัตว์ป่าในประเทศ สวัสดิภาพของสัตว์ป่าในระหว่างการขนส่ง หลักฐานการได้มาที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นต้น และกำหนดอายุใบอนุญาตและใบรับรองมีอายุ 180 วันนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต เว้นแต่ใบรับรองการนำเข้าหรือส่งออกกรณีสัตว์น้ำให้มีอายุ 90 วันนับแต่วันที่ออกใบรับรอง

2. สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง สรุปได้ ดังนี้

ประเด็น          รายละเอียด
1. กำหนดบทนิยาม          - ?ใบอนุญาต? หมายความว่าใบอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าสงวน  สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ หรือสัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว แล้วแต่กรณี
- ?ใบรับรอง? หมายความว่า ใบรับรองการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าที่มิใช่สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จาก               ซากสัตว์ป่าดังกล่าว แล้วแต่กรณี
- ?อธิบดี? หมายความว่า อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชหรืออธิบดีกรมประมงเฉพาะที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ

2. ใบอนุญาตหรือใบรับรอง/วัตถุประสงค์          กำหนดประเภทของสัตว์ป่าที่ต้องขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรอง ดังนี้
- กรณีใบอนุญาต เป็นใบอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออก ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน  สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ หรือสัตว์ป่าควบคุมซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว และจะต้องเป็นไป
เพื่อกิจการสวนสัตว์
- กรณีใบรับรอง เป็นใบรับรองให้นำเข้าหรือส่งออก               ซึ่งสัตว์ป่าที่มิใช่สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว
3. กำหนดวิธีการยื่นคำขอ          การยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรองให้ยื่น                    ผ่านช่องทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
4. ผู้มีอำนาจพิจารณาใบอนุญาตหรือใบรับรอง          - อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กรณีสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าวที่มิใช่สัตว์น้ำ
- อธิบดีกรมประมง กรณีสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าวที่เป็นสัตว์น้ำ
5. หลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาต          เช่น พิจารณาวัตถุประสงค์ในการนำเข้าหรือการส่งออก ชนิดพันธุ์และจำนวนสัตว์ป่าที่จะนำเข้าหรือส่งออก ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สถานภาพของสัตว์ป่าที่มีอยู่ในประเทศ ความปลอดภัยของสัตว์ป่าในประเทศ    สวัสดิภาพของสัตว์ป่าในระหว่างการขนส่ง หลักฐาน      การได้มาที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นต้น
6. อายุใบอนุญาตและใบรับรอง          - ใบอนุญาตและใบรับรอง มีอายุ 180 วัน นับแต่วันที่ออกใบอนุญาตหรือใบรับรอง แล้วแต่กรณี
-ใบรับรอง กรณีนำเข้าหรือส่งออกสัตว์น้ำ                      มีอายุ 90 วัน นับแต่วันที่ออกใบอนุญาตหรือใบรับรอง แล้วแต่กรณี
7. บทเฉพาะกาล          - กำหนดให้บรรดาคำขอรับใบอนุญาต คำขอรับใบรับรอง และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบรับรอง ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ไช้บังคับและยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ และให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
- กำหนดใบอนุญาตหรือใบรับรองการนำเข้าหรือ             การส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า ที่ออกตามกฎกระทรวงขอใบอนุญาตหรือใบรับรองและการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองให้นำเข้า ให้ส่งออก หรือให้นำผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า พ.ศ. 2558 ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรอง




3.  เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า การค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า และการครอบครองสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่า พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า การค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า และการครอบครองสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่า พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ                  การขอและออกใบอนุญาตเพาะพันธุ์สัตว์ป่า การค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า และ                     การครอบครองสัตว์ป่า และซากสัตว์ป่า สรุปได้ ดังนี้

1. ใบอนุญาตมี 3 ประเภท ดังนี้

1.1 ใบอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์ (สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้หรือสัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์)

                              1.2 ใบอนุญาตค้าสัตว์ป่า (สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้และสัตว์ป่าควบคุม                              ที่ต้องขออนุญาตค้า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว)

1.3 ใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่า (สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้มาจากเพาะพันธุ์ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว)

2. กำหนดให้การยื่นคำขอ และการดำเนินการอื่นตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ให้ดำเนินการด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก

3. กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต เช่น เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ เป็นผู้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรือสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น

4. กำหนดผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต ได้แก่ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ หรืออธิบดีกรมประมง ในกรณีสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์น้ำแล้วแต่กรณี

5. กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคำขอ/หน้าที่ผู้ได้รับใบอนุญาตแยกตามประเภทใบอนุญาต ดังนี้

                              5.1 ใบอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์ การได้มาสัตว์ป่าที่จะเพาะพันธุ์จะต้องได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และต้องยื่นจัดทำโครงการเพาะพันธุ์ ซึ่งจะประกอบด้วย รายการชนิดและจำนวนสัตว์ป่า เครื่องมือและอุปกรณ์ วิธีการเพาะพันธุ์ และหลักฐานเกี่ยวกับสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานเพาะพันธุ์ และได้กำหนดหน้าที่ เช่น                ดูแลสวัสดิภาพของสัตว์ป่าให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์ป่านั้นจัดสถานที่เลี้ยงไม่ให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ                 แก่บุคคลที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง จัดทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ รวมถึงจะต้องจัดทำบัญชีแสดงชนิดและ                   จำนวนสัตว์

5.2 ใบอนุญาตค้าสัตว์ป่า เป็นการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุม โดยการพิจารณาออกใบอนุญาตค้าจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ เช่น ความเหมาะสมของสถานที่ค้า กรง คอก เป็นไปตามหลักสวัสดิภาพหรือความปลอดภัยที่เพียงพอตามชนิดและจำนวนสัตว์ป่า เป็นต้น และจะต้องจัดทำบัญชีรับและจำหน่าย และบัญชีสถิติเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ดำเนินกิจการ

5.3 ใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่า เป็นการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว โดยในการพิจารณาออกใบอนุญาตครอบครอง จะต้องมีการตรวจสอบสถานที่ครอบครอง และกรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสัตว์หรือซากสัตว์ป่าจะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือหากมีการเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปจัดแสดงหรือโฆษณา ต้องยื่นคำขออนุญาตตามที่อธิบดีกำหนด

6. กำหนดอายุใบอนุญาต ดังนี้

6.1 ใบอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์ มีอายุ 5 ปี

6.2 ใบอนุญาตค้า มีอายุ 2 ปี (เดิมมีอายุ 1 ปี)

6.3 ใบอนุญาตครอบครอง มีอายุ 3 ปี

                    7. กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง การครอบครองและการนำเคลื่อนที่เพื่อการค้า               ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง และซากของสัตว์ป่าคุ้มครองและการค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และผลิตภัณฑ์                 ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2551 ให้ยังคงใช้ต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมและหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม             พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมและ              หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมและหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียน การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมและหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม อายุการขึ้นทะเบียน การต่ออายุการขึ้นทะเบียน                            การออกใบแทนการขึ้นทะเบียน การเพิกถอนทะเบียน และการประเมินคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. วันที่ใช้บังคับ
กำหนดระยะเวลา          ? กำหนดวันใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 360 วันนับแต่วันประกาศใน                   ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เพื่อให้หน่วยบริการที่จะมาขอขึ้นทะเบียน                ซึ่งมีหลายประเภทและมีขนาดแตกต่างกัน สมควรให้มีระยะเวลาที่เพียงพอในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือสำหรับ               การให้บริการตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนมายื่นคำขอขึ้นทะเบียน
2. นิยาม
หน่วยบริการ          ? สถานบริการสาธารณสุข หน่วยงานหรือหน่วยบริการด้านสุขภาพที่ดำเนินการภายในสถานประกอบกิจการ หรือองค์กรที่ให้บริการด้าน               อาชีวเวชกรรมหรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมตามมาตรา                 25 วรรคหนึ่ง
หน่วยงานรับขึ้นทะเบียน          ? กรมควบคุมโรคหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยคุณสมบัติของหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่จะดำเนินการขึ้นทะเบียนแก่หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมหรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม                   ตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
3. บททั่วไป
การเผยแพร่รายชื่อหน่วยงานรับขึ้นทะเบียน          ? กำหนดให้กรมควบคุมโรคเผยแพร่รายชื่อหน่วยงานรับขึ้นทะเบียน                 ให้ประชาชนทราบ ณ ที่ทำการของกรมควบคุมโรค และโดยวิธีการ                ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการหรือช่องทางอื่นใดที่อธิบดีกรมควบคุมโรคกำหนด
4. การขอขึ้นทะเบียนและการขึ้นทะเบียน
กระบวนการขอขึ้นทะเบียนและการขึ้นทะเบียน          ? หน่วยงานใดประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมหรือหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมต้องจัดให้มีบุคลากรผู้ให้บริการและเครื่องมือสำหรับการให้บริการอาชีวเวชกรรมหรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน
? กำหนดให้หน่วยบริการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนต่อหัวหน้าหน่วยงานรับขึ้นทะเบียน ซึ่งมีที่ตั้งหรือที่ทำการของหน่วยงานในเขตท้องที่เดียวกันกับที่ตั้งของหน่วยบริการนั้น พร้อมด้วยข้อมูล เอกสาร และหลักฐาน เช่น หลักฐานแสดงการเป็นนิติบุคคล ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล หลักฐานที่แสดงการจัดตั้งองค์กรเป็นต้น
การตรวจสอบคำขอขึ้นทะเบียน          ? เมื่อหน่วยงานได้รับคำขอขึ้นทะเบียนให้หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบคำขอ รวมทั้งข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานว่ามีความถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนให้แจ้งให้หน่วยบริการที่ยื่นคำขอทราบทันที ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งหน่วยบริการที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนแก้ไขให้ครบถ้วน ถ้าเป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้ในขณะนั้นให้บันทึกความบกพร่องนั้นไว้และแจ้งให้หน่วยบริการแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่หัวหน้าหน่วยงานกำหนด
? ในกรณีคำขอขึ้นทะเบียน รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานถูกต้องครบถ้วนให้หัวหน้าหน่วยงานรับขึ้นทะเบียนพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนและตรวจสอบข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
? ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานรับขึ้นทะเบียนมีคำสั่งขึ้นทะเบียนให้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาและออกใบขึ้นทะเบียนให้แก่หน่วยบริการที่ขอขึ้นทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่ง
? ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานรับขึ้นทะเบียนมีคำสั่งไม่ขึ้นทะเบียนให้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา พร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ให้หน่วยบริการที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่ง
? ให้กรมควบคุมโรค และคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมจังหวัด หรือคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีประกาศรายชื่อหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่ออื่นใดตามที่เห็นสมควรเพื่อให้ประชาชนทราบ
5. อายุการขึ้นทะเบียน การต่ออายุการขึ้นทะเบียน และการออกใบแทนการขึ้นทะเบียน
อายุการขึ้นทะเบียน           ? ให้การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมหรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม มีอายุ 3 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งขึ้นทะเบียน
การต่ออายุการขึ้นทะเบียน           ? หน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนซึ่งประสงค์จะต่ออายุการทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่ออายุภายใน 90 วัน ก่อนการขึ้นทะเบียนสิ้นอายุ
การออกใบแทนการขึ้นทะเบียน          ? ในกรณีที่ใบขึ้นทะเบียนสูญหาย ถูกทำลาย หรือเสียหายในสาระสำคัญและหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนประสงค์จะยื่นคำขอรับใบแทนการขึ้นทะเบียนให้ยื่นคำขอต่อหัวหน้าหน่วยงานรับขึ้นทะเบียน พร้อมด้วยข้อมูล เอกสารและหลักฐาน ดังนี้ (1) ใบขึ้นทะเบียนหรือเลขที่ใบขึ้นทะเบียน กรณีใบขึ้นทะเบียน ถูกทำลาย หรือเสียหายในสาระสำคัญ (2) ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าใบขึ้นทะเบียนสูญหาย ถูกทำลาย หรือเสียหายในสาระสำคัญตามที่กำหนดในแบบคำขอรับใบแทนการขึ้นทะเบียน
ทั้งนี้ การออกใบแทนการขึ้นทะเบียนให้ใช้แบบใบแทนขึ้นทะเบียนเดิมและระบุคำว่า ?ใบแทน? ด้วยอักษรสีแดงไว้ที่ด้านซ้ายของใบขึ้นทะเบียนและให้ระบุวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนการขึ้นทะเบียนไว้ด้วย
การยกเลิกบริการอาชีวเวชกรรมหรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม          ? หน่วยบริการใดที่ประสงค์จะเลิกบริการอาชีวเวชกรรมหรือเวชกรรม สิ่งแวดล้อม ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อหัวหน้าหน่วยงานรับขึ้นทะเบียนไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันเลิกใช้บริการฯ
6. การเพิกถอนทะเบียน
การเพิกถอนทะเบียน          ? ให้หัวหน้าหน่วยงานรับขึ้นทะเบียนเพิกถอนทะเบียนในกรณีที่ปรากฏว่าหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และไม่เป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการโดยคำสั่งเพิกถอนทะเบียนให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้หน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่ง พร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น
7. การประเมินคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียน
การประเมินคุณภาพ          ? ให้คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมจังหวัดหรือให้คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะผู้ประเมินคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และการสาธารณสุขของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคซึ่งมีเขตพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดนั้น อย่างน้อย 1 คน และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพการให้บริการที่ได้ขึ้นทะเบียนในพื้นที่จังหวัดนั้น
? ให้คณะผู้ประเมินคุณภาพการให้บริการส่งรายงานผลการประเมินคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไปยังหน่วยงานรับขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการนั้น ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทำการประเมินคุณภาพแล้วเสร็จ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาต่ออายุการขึ้นทะเบียนหรือเพิกถอนทะเบียน แล้วแต่กรณี

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการ                  อาชีวเวชกรรม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

                    1. ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่                3 กันยายน 2567 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยมีการแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวงเป็น ?ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรม พ.ศ. ....? มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรฐานการให้บริการอาชีวเวชกรรมของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมในการดำเนินการ ตรวจสุขภาพแก่ลูกจ้างหรือแรงงานนอกระบบเพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ (เช่น โรคจากสารตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว โรคจากฝุ่นซิลิกา โรคจากภาวะอับอากาศ เป็นต้น) เช่น กำหนดให้หน่วยบริการ มี 6 ประเภท ได้แก่ (1) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ (2) สถานบริการสาธารณสุขของเอกชน (3) สภากาชาดไทย (4) หน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ (5) หน่วยงานหรือหน่วยบริการด้านสุขภาพที่ดำเนินการภายในสถานประกอบกิจการ (6) องค์กรที่ให้บริการด้านอาชีวเวชกรรม กำหนดให้ หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมให้บริการอาชีวเวชกรรมตามมาตรฐาน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการให้บริการตรวจสุขภาพและการเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพ เช่น ให้มีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อประเมินว่ามีสุขภาพเหมาะสมที่จะทำงาน (2) ด้านบุคลากร                    ผู้ให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรม เช่น ให้มีแพทย์ที่ผ่านหลักสูตรด้านอาชีวเวชศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 1 คน และ (3) ด้านเครื่องมือสำหรับให้บริการอาชีวเวชกรรม โดยกำหนดให้มีเครื่องมือสำหรับให้บริการอาชีวเวชกรรมตามจำนวนและคุณสมบัติตามที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนด ซึ่งต้องมีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่ามาตรฐานระดับประเทศหรือมาตรฐานระหว่างประเทศ โดยให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างหรือแรงงานนอกระบบโดยหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ หากผู้บริการอาชีวเวชกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่เสนอในครั้งนี้                   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ร่างกฎกระทรวง มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

ประเด็น          รายละเอียด
1.          วันใช้บังคับ
กำหนดระยะเวลา          ? กำหนดวันใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 360 วันนับแต่วันประกาศใน                ราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป เพื่อให้หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมซึ่งมีหลายประเภทและขนาด แตกต่างกัน สมควรให้มีระยะเวลาที่เพียงพอในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือสำหรับการให้บริการตามมาตรฐานที่กำหนด
2.          นิยาม
หน่วยบริการอาชีวเวชกรรม          ? สถานบริการสาธารณสุข หน่วยงาน หรือหน่วยบริการด้านสุขภาพ                      ที่ดำเนินการภายในสถานประกอบกิจการ หรือองค์กรที่ให้บริการด้านอาชีวเวชกรรม ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเพื่อให้บริการอาชีวเวชกรรม
แพทย์          ? ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
พยาบาล          ? ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและ              การผดุงครรภ์
3. ประเภทหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมและมาตรฐานการให้บริการ
หน่วยบริการอาชีวเวชกรรม
มี 6 ประเภท          (1) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
(2) สถานบริการสาธารณสุขของเอกชน (สถานพยาบาลตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานพยาบาล และสถานพยาบาลเคลื่อนที่ของสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล)
(3) สภากาชาดไทย
(4) หน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ
(5) หน่วยงานหรือหน่วยบริการด้านสุขภาพที่ดำเนินการภายใน                สถานประกอบกิจการ (หน่วยงานหรือหน่วยบริการด้านสุขภาพที่ดำเนินการ ภายในสถานประกอบกิจการที่มีจำนวนลูกจ้างตั้งแต่                200 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 999 คน และหน่วยงานหรือหน่วยบริการด้านสุขภาพที่ดำเนินการภายในสถานประกอบกิจการที่มีจำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป)
(6) องค์กรที่ให้บริการด้านอาชีวเวชกรรม
หน่วยบริการอาชีวเวชกรรม มี 3 ด้าน          (1) ด้านการให้บริการตรวจสุขภาพและการเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพ
(2) ด้านบุคลากรผู้ให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรม
(3) ด้านเครื่องมือสำหรับให้บริการอาชีวเวชกรรม
4. มาตรฐานด้านการให้บริการตรวจสุขภาพและเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพ
การให้บริการตรวจสุขภาพ          (1) การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ให้ตรวจสุขภาพตามลักษณะ ของความเสี่ยง การสัมผัสสิ่งคุกคามที่อาจมีผลต่อสุขภาพจากการทำงานที่ลูกจ้างหรือแรงงานนอกระบบรับผิดชอบอยู่ โดยการบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ และนำข้อมูลมาออกแบบการตรวจสุขภาพในระยะต่าง ๆ ได้แก่ การตรวจสุขภาพแรกรับเข้าทำงาน และการตรวจสุขภาพเมื่อออกจากงาน
(2) การตรวจสุขภาพให้เหมาะสมกับงาน ให้ตรวจสุขภาพก่อนที่ลูกจ้าง หรือแรงงานนอกระบบเข้าทำงาน เพื่อประเมินว่าลูกจ้างหรือแรงงานนอกระบบมีสภาวะสุขภาพเหมาะสมที่จะทำงานได้โดยไม่มีอันตราย  ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกจ้าง แรงงานนอกระบบ หรือบุคคลอื่น
(3) การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงาน ให้ตรวจสุขภาพเพื่อประเมิน ความพร้อมของร่างกายหลังจากลูกจ้างหรือแรงงานนอกระบบเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายทั้งกรณีที่เกิดจากการทำงานและไม่ได้เกิดจากการทำงาน เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพเทียบกับความสามารถในการทำงาน และเพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับ                สภาวะสุขภาพ
ทั้งนี้ ให้กรมควบคุมโรคจัดทำและเผยแพร่คู่มือหรือแนวทาง                  ในการดำเนินการให้แก่หน่วยบริการอาชีวเวชกรรม
5. มาตรฐานด้านบุคลากรผู้ให้บริการอาชีวเวชกรรมและบุคลากรผู้สนับสนุนการให้บริการอาชีวเวชกรรม
บุคลากรผู้ให้บริการอาชีวเวชกรรม          ? กำหนดจำนวนของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสนับสนุน                       การให้บริการอาชีวเวชกรรมตามจำนวนและคุณสมบัติ เช่น                   กรณีเป็นสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ให้มีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์หรือแพทย์ สาขาอื่น อย่างน้อย 1 คน พยาบาลอาชีว อนามัย อย่างน้อย 1 คน และพยาบาลวิชาชีพ อย่างน้อย 1 คน                 เป็นบุคลากรประจำการ
? กำหนดคุณสมบัติ เช่น แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ต้องได้รับ                        หนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงอาชีวเวชศาสตร์                 จากแพทยสภา และแพทย์สาขาอื่นต้องผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมความรู้พื้นฐานด้านอาชีวเวชศาสตร์ ที่กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ หรือสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยกำหนด หรือผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ของหน่วยงานอื่นที่กรมควบคุมโรครับรอง และกรณีพยาบาลอาชีวอนามัยต้องผ่านการฝึกอบรมที่สภาการพยาบาลอนุมัติหรือรับรอง เป็นต้น
6. มาตรฐานด้านเครื่องมือสำหรับให้บริการอาชีวเวชกรรม
เครื่องมือสำหรับให้บริการอาชีวเวชกรรม          ? หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมต้องจัดให้มีเครื่องมือสำหรับให้บริการ อาชีวเวชกรรมอาชีวเวชกรรมตามจำนวน และคุณสมบัติ                           ตามที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนด เช่น เครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน อย่างน้อย 1 เครื่อง ซึ่งต้องมีคุณสมบัติส่งสัญญาณเสียง                   บริสุทธิ์และได้รับการรับรองตามมาตรฐานสถาบันมาตรฐาน                              แห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1996 (American National Standards Institute (ANSI) S3.6-1996) เครื่องตรวจสมรรถภาพปอด อย่างน้อย 1 เครื่อง ซึ่งต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานสมาคมแพทย์โรคทรวงอกแห่งสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1994 (American Thoracic Society (ATS) 1994) เป็นต้น รวมถึงต้องดำเนินการโดยบุคลากรผู้ให้บริการอาชีวเวชกรรมตามที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดด้วย เช่น แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงอาชีวเวชศาสตร์ จากแพทยสภา                    และพยาบาลอาชีวอนามัยที่ผ่านการฝึกอบรมที่สภาการพยาบาลอนุมัติหรือรับรอง เป็นต้น




6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

                    1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม             พ.ศ. .... เป็นการกำหนดมาตรฐานการให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมที่หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมต้องใช้ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังสุขภาพแก่ประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษ (เช่น โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว โรคอื่นหรืออาการที่เกิดจากการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน) เช่น กำหนดให้หน่วยบริการ               มี 6 ประเภท ได้แก่ 1) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ (2) สถานบริการสาธารณสุขของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (3) สภากาชาดไทย (4) หน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ (5) หน่วยงานหรือหน่วยบริการด้านสุขภาพที่ดำเนินการภายในสถานประกอบกิจการ และ (6) องค์กรที่ให้บริการด้านเวชกรรมสิ่งแวดล้อม กำหนดให้หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน 3 ด้าน ได้แก่                      (1) ด้านการเฝ้าระวังโรคจากสิ่งแวดล้อมและเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพหรือสิ่งส่งตรวจอื่น เช่น ให้มีการตรวจคัดกรองสุขภาพให้แก่กลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ (2) ด้านบุคลากรผู้ให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมและบุคลากรผู้สนับสนุนการให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น ให้มีแพทย์ที่ผ่านหลักสูตรด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมหรือที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 1 คนและ (3) ด้านเครื่องมือสำหรับให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น                  ให้มีเครื่องมือสำหรับให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมกับรูปแบบการให้บริการ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่ามาตรฐานระดับประเทศหรือมาตรฐานระหว่างประเทศ โดยให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษจัดให้มีการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษโดยหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562                                ทั้งนี้ หากผู้บริการอาชีวเวชกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่เสนอในครั้งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

2. สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง มีรายละเอียดสรุปดังนี้

ประเด็น          รายละเอียด
1. วันที่ใช้บังคับ
กำหนดระยะเวลา          ? กำหนดวันใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 360 วันนับแต่วันประกาศใน                   ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เพื่อให้หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมซึ่งมีหลายประเภทและขนาดแตกต่างกัน สมควรให้มีระยะเวลาที่เพียงพอในการเตรียมการความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือสำหรับการให้บริการตามมาตรฐานที่กำหนด
2. นิยาม
หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม          ? สถานบริการสาธารณสุข หน่วยงาน หรือหน่วยบริการด้านสุขภาพที่ดำเนินการภายในสถานประกอบกิจการ หรือองค์กรที่ให้บริการ                   ด้านเวชกรรมสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเพื่อให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
แพทย์          ? ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
พยาบาล          ? ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
3. ประเภทหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานการให้บริการ
หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม มี 6 ประเภท          (1) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
(2) สถานบริการสาธารณสุขของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(3) สภากาชาดไทย
(4) หน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ
(5) หน่วยงานหรือหน่วยบริการด้านสุขภาพที่ดำเนินการภายในสถานประกอบกิจการ
(6) องค์กรที่ให้บริการด้านเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
การให้บริการหน่วยบริการ มี 3 ด้าน          (1) ด้านการเฝ้าระวังโรคจากสิ่งแวดล้อมและเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพหรือสิ่งส่งตรวจอื่น
(2) ด้านบุคลากรผู้ให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมและบุคลากรผู้สนับสนุนการให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
(3) ด้านเครื่องมือสำหรับให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
4. มาตรฐานด้านการเฝ้าระวังโรคจากสิ่งแวดล้อมและเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพหรือสิ่งส่งตรวจอื่น
การเฝ้าระวังโรคจากสิ่งแวดล้อม          ? กำหนดให้หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมต้องดำเนินการทบทวนข้อมูลการบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคจากสิ่งแวดล้อมเพื่อวางแผนการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษกรณี ดังนี้
1) ในกรณีที่พบว่าผลการประเมินระดับความเสี่ยงของการเกิด                     โรคจากสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูงและสูงมาก ให้หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมกำหนดรายการตรวจสุขภาพ ประเมินสุขภาพ และตรวจคัดกรองสุขภาพให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชน กลุ่มเปราะบาง ประชาชนกลุ่มรับสัมผัสสูง และต้องแจ้งผลการประเมินสุขภาพ ผลการตรวจคัดกรอง สุขภาพ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพเพื่อลดการสัมผัสมลพิษแก่ประชาชนเป็นรายบุคคล
2) ในกรณีที่พบว่าผลการประเมินระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคจากสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต่ำและระดับปานกลาง ให้หน่วยบริการเวชกรรม สิ่งแวดล้อมรวบรวม วิเคราะห์ และติดตามข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษในกลุ่มประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ให้กรมควบคุมโรคจัดทำและเผยแพร่คู่มือหรือแนวทาง                             ในการดำเนินการให้แก่หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
การเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพ                   หรือสิ่งที่ส่งตรวจอื่น          1) การควบคุมคุณภาพก่อนการวิเคราะห์ตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการให้ดำเนินการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมความพร้อม                   ผู้รับการตรวจ วิธีการเก็บตัวอย่าง วิธีการเก็บรักษาตัวอย่าง และการขนส่งตัวอย่าง
2) การควบคุมคุณภาพห้องปฏิบัติการ ให้ส่งตัวอย่างไปทำการวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
5. มาตรฐานด้านบุคลากรผู้ให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมและบุคลากรผู้สนับสนุนการให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
บุคลากรผู้ให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมฯ          ? กำหนดจำนวนของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสนับสนุน                            การให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น ให้หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมมีบุคลากร ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม แพทย์อาชีว    เวชศาสตร์ หรือแพทย์สาขาอื่น อย่างน้อย 1 คน พยาบาลอาชีวอนามัยหรือพยาบาลวิชาชีพ อย่างน้อย 1 คน
? กำหนดคุณสมบัติ เช่น แพทย์เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมต้องผ่านหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิตด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ต้องได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงอาชีวเวชศาสตร์ จากแพทยสภา แพทย์สาขาอื่นต้องผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่กรมควบคุมโรคกำหนดหรือรับรอง พยาบาลอาชีว อนามัยต้องผ่านหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลอาชีว อนามัยหรือสาขาการพยาบาลอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 4 เดือน หรือหลักสูตรพยาบาลศาสตร             มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาล   อาชีวอนามัยหรือสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติอาชีวอนามัย
6. มาตรฐานด้านเครื่องมือสำหรับให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
เครื่องมือสำหรับให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม          ? หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมจัดให้มีเครื่องมือสำหรับการให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมกับรูปแบบการให้บริการ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่ามาตรฐานระดับประเทศหรือมาตรฐานของต่างประเทศ เช่น มาตรฐานของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute (ANSI)) มาตรฐานของสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration (OSHA)) มาตรฐานของสมาคมแพทย์โรคทรวงอก                แห่งสหรัฐอเมริกา (American Thoracic Society (ATS)) หรือมาตรฐานของคณะทำงานเฉพาะกิจสมาคมระบบทางเดินหายใจยุโรป (European Respiratory Society Task Force (ATS/ERS)) รวมถึงต้องดำเนินการโดยบุคลากรผู้ให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมตามที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดด้วย ทั้งนี้ บุคลากรดังกล่าวต้องผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือสำหรับให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมที่กรมควบคุมโรค                     กรมการแพทย์  สภาการพยาบาล หรือสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยกำหนด หรือผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือสำหรับบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานอื่นที่                กรมควบคุมโรครับรอง

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ....               ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอคณะรัฐมนตรี ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว เป็นการกำหนดสิทธิการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบเฉพาะที่เป็นแรงงานไทย กับหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมโดยนายจ้าง เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ (เช่น โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบตะกั่ว) ประกอบด้วย กรณีก่อนเข้าทำงาน กรณีก่อนกลับเข้าทำงานหลังจากการเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย และกรณีฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้ ได้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียด เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ เช่น การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มทำงานและการตรวจสุขภาพให้เหมาะสมกับงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (เดิม ตรวจสุขภาพ แรกเข้าภายใน 30 วัน และตรวจสุขภาพเป็นระยะ) และการแจ้งผลการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้ผลการตรวจสุขภาพของแรงงาน นอกระบบ (เดิม ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการแจ้ง) สำหรับประเด็นสำคัญอื่นยังคงหลักการเดิม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เช่น กำหนดวันใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 360 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป การแจ้งผลการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบโดยวิธีอื่น เพื่อความสะดวกของแรงงานนอกระบบ เช่น แจ้งด้วยวาจา แจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

2. ร่างกฎกระทรวงฯ มีสาระสำคัญสรุป ดังนี้

ประเด็น          รายละเอียด
1) วันใช้บังคับ
กำหนดระยะเวลา          ? กำหนดวันใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 360 วันนับแต่วันประกาศใน                ราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับวันใช้บังคับของ                ร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและการกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมซึ่งมีหลายประเภทและ               มีขนาดแตกต่างกัน สมควรให้มีระยะเวลา ที่เพียงพอในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือสำหรับ การขึ้นทะเบียนและการให้บริการตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนที่จะดำเนินการตรวจสุขภาพแก่แรงงานนอกระบบ
2)          นิยาม
หน่วยบริการอาชีวเวชกรรม          ? หน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 25 ซึ่งให้บริการ                    อาชีวเวชกรรม (ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนตาม                 มาตรา 25)

โรคจากการประกอบอาชีพ          ? โรคจากการประกอบอาชีพที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา 7 (1) เช่น โรคจาก                 ภาวะอับอากาศ โรคจากแอสเบสตอส (ใยหิน)
3)          สิทธิการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ
กรณีก่อนเข้าทำงาน          ? การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานภายใน 30 วันนับแต่วันที่เริ่มทำงาน และการตรวจสุขภาพให้เหมาะสมกับงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
กรณีก่อนกลับเข้าทำงาน          ? การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังจากแรงงานนอกระบบ เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายทั้งที่เกิดจากการทำงานและไม่ได้เกิดจากการทำงาน ซึ่งหากกลับเข้าทำงานอาจเป็นเหตุให้อาการเจ็บป่วยหรือการประสบอันตรายนั้นมีความรุนแรงมากขึ้นและอาจเป็นอันตราย           ต่อตนเองหรือบุคคลอื่น
กรณีเหตุฉุกเฉิน          ? การตรวจสุขภาพกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนซึ่ง   หากปล่อยไว้จะก่อหรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขอนามัยของแรงงานนอกระบบ
4)           การแจ้งผลการตรวจสุขภาพ
วิธีการแจ้ง          ? ให้แจ้งเป็นหนังสือภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้ผลการตรวจสุขภาพ ของแรงงานนอกระบบ และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่แรงงานนอกระบบ หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมจะแจ้งโดยวิธีการหนึ่งวิธีการใดดังต่อไปนี้ด้วยก็ได้
(1) แจ้งด้วยวาจา
(2) แจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
(3) แจ้งโดยวิธีการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมควบคุมโรคกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องสำอางที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องสำอางที่                              ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องสำอางที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจฯ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (3 กันยายน 2567) อนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีการแก้ไขถ้อยคำเพียงเล็กน้อยและมิได้แก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ยังคงหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ กล่าวคือ กำหนดข้อความที่ต้องห้ามใช้ในการโฆษณาเครื่องสำอางเพิ่มเติมจากที่พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 กำหนดไว้ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเพิ่มเติมให้ข้อความดังต่อไปนี้ เป็นข้อความที่ต้องห้ามใช้ในการโฆษณาเครื่องสำอาง

1) ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่าใช้กับบริเวณภายในร่างกายมนุษย์ แต่ไม่รวมถึงข้อความที่ใช้ในการโฆษณาผ้าอนามัยชนิดสอดหรือที่ทำให้เข้าใจว่าใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก

2) ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่านำไปใช้ฉีดหรือใช้ร่วมกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ รุกล้ำเข้าไปในร่างกาย หรือข้อความที่ทำให้เข้าใจว่านำไปใช้ประกอบหรือใช้ร่วมกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อทำให้มีการผลักดันสารเข้าสู่ร่างกายลึกกว่าชั้นหนังกำพร้า (epidermis)

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ การแจ้งและการออกใบรับรอง พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ การแจ้งและการออกใบรับรอง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

                    1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ การแจ้งและการออกใบรับรอง พ.ศ. ....                         ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567) อนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งยังคงหลักการเดิม โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้ผลิตหรือ ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ที่จะขายในราชอาณาจักรต้องแจ้งรายการส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบเพื่อควบคุมและตรวจสอบส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบที่เป็นอันตราย เช่น  สารชูรส สารชูกำลัง กัญชา หรือสารที่ทำให้เกิดสีอันอาจจูงใจหรือดึงดูดให้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบเพิ่มขึ้น แต่ได้กำหนดเพิ่มเติมสำหรับข้อยกเว้นสารอื่นใดที่ทำให้เกิดรสชาติหรือกลิ่นเมนทอลหรือชะเอม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถใส่สารที่ใช้ในการปรุงแต่งที่จำเป็นในกระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดขึ้นรสชาติหรือกลิ่นของเมนทอลหรือชะเอมได้ ซึ่งเป็นการปรับแก้ที่สอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพิ่มอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสามารถออกประกาศเกี่ยวกับสารอื่นที่ห้ามใส่เป็นสารที่ใช้ในการปรุงแต่งเพิ่มเติม แทนการใช้ดุลยพินิจของนายทะเบียน (เดิมจะไม่ได้กำหนดให้มีการออกประกาศกำหนด จึงเป็นดุลยพินิจของปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ซึ่งเป็นนายทะเบียนในการพิจารณา) และกำหนดปริมาณสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้แก่ ทาร์ ต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อมวน นิโคติน ต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อมวน และคาร์บอนมอนอกไซด์ต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อมวน กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการแจ้ง การออกใบรับรอง และการออกใบแทนใบรับรอง และอายุใบรับรอง (มีอายุ 3 ปี) ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบส่วนประกอบ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำลายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ไม่เป็นตามที่กำหนด และค่าธรรมเนียมใบรับรองอัตราฉบับละ 100,000 บาท และใบแทนใบรับรองอัตราฉบับละ 2,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่เกินตามที่กำหนดไว้ท้ายพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้กำหนดระยะเวลามีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่การควบคุมสารที่ใช้ในการปรุงแต่งตามร่างข้อ 4 และสารที่เกิดจากการเผาไหม้ ตามร่างข้อ 5 จะมีผลใช้บังคับเมื่อครบกำหนด 4 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับเพื่อให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ปรับตัวเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย

2. ร่างกฎกระทรวงฯ รายละเอียดสรุป ดังนี้

ประเด็น          รายละเอียด
1. ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ          - กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ ต้องไม่มีสารที่ใช้ในการปรุงแต่ง ดังนี้
1. สารชูรส สารแต่งกลิ่น ผัก ผลไม้ สมุนไพร เครื่องเทศ ขิง อบเชย พืชตระกูลมินต์ (Mint) เบนซาลดีไฮด์ (Benzaldehyde) มอลทอล (Maltol) วานิลลิน (Vanilin) กานพลู หรือสารอื่นใดที่ทำให้เกิดรสชาติหรือกลิ่นของกานพลูหรือสารอื่นใดที่ทำให้เกิดรสชาติหรือกลิ่นอันอาจจูงใจหรือดึงดูดให้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรืออาจทำให้การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบง่ายขึ้น หรือสารอื่นใดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ยกเว้นเมนทอลและชะเอม และสารอื่นใดที่ทำให้เกิดรสชาติหรือกลิ่นของเมนทอลหรือชะเอม
2. สารที่ทำให้เกิดสีในผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควัน หรือไอระเหยที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ ยกเว้นสารที่ทำให้เกิดสีของมวนบุหรี่ซึ่งเป็นการดำเนินการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ
3. ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแปรรูปผักหรือผลไม้ วิตามิน กรดอะมิโน กรดไขมันจำเป็น สารอาหารเกลือแร่ สารเพิ่มภูมิต้านทาน สารลดอนุมูลอิสระ หรือสารอื่นใดที่ทำให้เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบมีประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือลดอันตรายต่อสุขภาพ ยกเว้นโกโก้ที่จำเป็นต้องใช้ปรับปรุงคุณภาพใบยาสูบ
4. สารชูกำลัง กาเฟอีน กัวรานา ทอรีน กลูคูโรโนแลดโทน หรือสารอื่นใดที่ทำให้เข้าใจว่าเพิ่มพลังงานและความมีชีวิตชีวา
5. กัญชา กัญชง สารสกัดแคนนาบิไดออล หรือสารสกัดเตตราไฮโดรแคนนาบินอล
2. ปริมาณสารสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ          - ต้องไม่เกินปริมาณ ดังต่อไปนี้
1. ทาร์ (Tar) ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อมวน
2. นิโคติน (Nicotine) ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อมวน
3. คาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อมวน
3. การแจ้ง การออกใบรับรอง อายุใบรับรอง และการออกใบแทนใบรับรอง          - กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบต้องแจ้งรายการส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบเพื่อขอใบรับรอง ก่อนนำผลิตภัณฑ์ยาสูบออกจากแหล่งผลิตภายในราชอาณาจักรหรือก่อนนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยต้องแนบใบรับรองผลการตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด พร้อมด้วยข้อมูลเอกสาร และหลักฐาน อาทิ เลขทะเบียนนิติบุคคล ตัวอย่างร่างออกแบบหีบใบแสดงรายการส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่ใช้ใน                        การปรุงแต่ง
- กำหนดให้การยื่นคำขอ การออกใบรับรอง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใบรับรองและการออกใบแทนใบรับรอง ดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
- เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแจ้งรายการส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสาร ที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบแล้วให้ตรวจสอบรายละเอียดในคำขอ ข้อมูล เอกสารและหลักฐานว่ามีความถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ถูกต้องให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบทันที และให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในกรณีที่คำขอ ถูกต้องและครบถ้วนแล้วให้นายทะเบียน (ปลัด สธ. หรือผู้ซึ่งปลัด สธ. มอบหมาย) พิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน
- กำหนดให้ใบรับรอง มีอายุ 3 ปีนับแต่วันที่ออก
4. การตรวจสอบและการเปิดเผย  ต่อสาธารณชน          - กำหนดให้กรมควบคุมโรค มีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลการแจ้งไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบมาตรฐานส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ และเพื่อคุ้มครอง สุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของประชาชน โดยไม่ต้องส่งคืนแก่                   ผู้ได้รับใบรับรอง และกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลการแจ้งต่อสาธารณชนได้ ในกรณีที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยหรือความปลอดภัยของประชาชน
5. ค่าใช้จ่าย และอัตราค่าธรรมเนียม          - กำหนดค่าใช้จ่ายที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายจากการตรวจสอบส่วนประกอบฯ ค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นจากการประกาศห้ามขายหรือห้ามนำเข้า ซึ่งมีส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือปริมาณสารที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่เป็นไปตามข้อ 1 และข้อ 2 หรือค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นจากการทำลายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้
(1) ใบรับรอง ฉบับละ 100,000 บาท
(2) ใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 2,000 บาท

10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อเป็นหลักประกันแก่คนโดยสารให้ได้รับความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายจากเหตุอันเนื่องจากการให้บริการรถไฟฟ้า ดังนี้

1. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2. กำหนดคำนิยามที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

2.1 ?ผู้รับประกันภัย? หมายความว่า ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย

2.2 ?คนโดยสาร? หมายความว่า ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการเดินทางที่ได้ใช้ตั๋วโดยสารหรือได้รับสิทธิผ่านเข้าไปและอยู่ในพื้นที่ให้บริการรถไฟฟ้าในส่วนที่คนโดยสารได้ผ่านการตรวจตั๋วโดยสารแล้ว

3. การทำประกันความเสียหาย ให้จัดทำเป็นกรมธรรม์ประกันภัยและกำหนดความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสารที่เกิดขึ้นจากเหตุอันเนื่องมาจากการให้บริการรถไฟฟ้า โดยผู้ทำประกันความเสียหาย จะแบ่งเป็น 1) โครงการที่ รฟม. เป็นเจ้าของ เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยทาง รฟม. จะเป็นผู้ทำประกันภัยเอง 2) โครงการรถไฟฟ้าที่ รฟม. ให้สัมปทานกับบริษัทเอกชน เช่น สายสีเหลืองบริษัทเอกชนผู้ได้รับสัมปทานมีหน้าที่จัดทำประกันภัยแทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

4. จำนวนเงินเอาประกันภัยที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยต้องไม่น้อยกว่า 100,000 บาท ต่อคนสำหรับเหตุที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง

5. การจัดให้มีการทำประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสารที่เกิดขึ้นจากเหตุอันเนื่องมาจากการให้บริการรถไฟฟ้า ต้องมีผู้รับประกันภัย ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป

6. การประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสารต้องมีอยู่ตลอดระยะเวลาที่ให้บริการรถไฟฟ้า

11. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะภาระและจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่บนหรือเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำในกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะภาระและจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่บนหรือเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำในกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

1. เนื่องจากการดำเนินโครงการระบบรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าฯ จะต้องมีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนในบริเวณแนวสายทางรถไฟฟ้า เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟฟ้าที่อยู่บนหรือเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ อย่างไรก็ตาม ในบริเวณอสังหาริมทรัพย์บางแห่งแม้จะเข้าใช้สอยและทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ได้ลดน้อยลงจากปกติ แต่ไม่มากจนถึงขนาดที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด เช่น ทางวิ่งของรถไฟฟ้าพาดผ่านบริเวณเหนือที่ดินบางส่วน เป็นต้น ในระยะหลังเจ้าของอสังหาริมทรัพย์บริเวณดังกล่าวจึงร้องขอให้การรถไฟฟ้าฯ ใช้วิธีการจ่ายค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่ได้เข้าไปใช้สอยแทนวิธีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน

2. ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดเงินทดแทนกรณีที่มีการก่อภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่บนหรือเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ (มีเพียงกฎกระทรวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ใต้พื้นดินเท่านั้น) ทำให้การรถไฟฟ้าฯ ไม่สามารถพิจารณากำหนดค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณดังกล่าวให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นได้

3. กระทรวงคมนาคมจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (23 เมษายน 2567) อนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญ

3.1 กำหนดหลักเกณฑ์การวินิจฉัยของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนว่าภาระที่เกิดขึ้นแก่อสังหาริมทรัพย์ลักษณะใดที่ถือว่าไม่ทำให้การใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ต้องลดน้อยลง ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ โดยการสร้างสิ่งก่อสร้างบนหรือเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำเพื่อดำเนินการขนส่งมวลชนต้องมีลักษณะครบถ้วน เช่น พื้นดินหรือพื้นน้ำที่หน่วยงานใช้ประโยชน์นั้นมีข้อห้ามหรือข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือกฎหมายอื่นใดที่มีข้อห้ามหรือมีข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะดำเนินการ มีผลใช้บังคับ และภาระที่เกิดขึ้นดังกล่าวมีลักษณะตามที่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดอยู่แล้ว

3.2 กำหนดหลักเกณฑ์การวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ว่าภาระที่เกิดขึ้นแก่อสังหาริมทรัพย์ลักษณะใดที่อาจถือได้ว่าทำให้ไม่อาจใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ได้ตามปกติซึ่งจะทำให้ต้องจ่ายค่าทดแทน โดยต้องไม่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น มีลักษณะสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานที่ยกระดับพาดผ่านพื้นดินหรือพื้นน้ำสูงจากระดับพื้นดินหรือพื้นน้ำน้อยกว่า 13 เมตร และสูงกว่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกสร้างบนพื้นดินหรือพื้นน้ำนั้นน้อยกว่า 5.50 เมตร

                              3.3 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์บนหรือเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำในอสังหาริมทรัพย์ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เข้าไปใช้สอยแต่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เช่น ให้พิจารณาขนาด ที่ตั้ง สภาพและลักษณะ                การใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสภาพการใช้ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงกับที่ดินนั้น
                    4. การกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ช่วยให้ประชาชนได้รับค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์แทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในจำนวนที่เหมาะสมและเป็นธรรม อีกทั้ง ยังช่วยประหยัดงบประมาณของหน่วยงาน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกำหนดค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่การรถไฟฟ้าฯ ต้องใช้จ่ายมีราคาที่ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ในระหว่างดำเนินการออกร่างกฎกระทรวงดังกล่าว การรถไฟฟ้าฯ ได้ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงกับเจ้าของ                   อสังหาริมทรัพย์ฯ เพื่อให้สามารถเข้าไปใช้สอยอสังหาริมทรัพย์และดำเนินโครงการระบบรถไฟฟ้าเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานและระยะเวลาที่กำหนด โดยภายหลังจากที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการตกลงเรื่องเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์เหนือพื้นดินต่อไป

5. สาระสำคัญในร่างกฎกระทรวง มีรายละเอียดสรุป ดังนี้

ประเด็น          รายละเอียด
1. คณะกรรมการ          - มีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทน
2. หลักเกณฑ์การวินิจฉัยว่าภาระที่เกิดขึ้นแก่อสังหาริมทรัพย์ลักษณะใดที่ถือว่าไม่ทำให้การใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ต้องลดน้อยลง ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์          - การสร้างสิ่งก่อสร้างบนหรือเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำเพื่อดำเนินการขนส่งมวลชน โดยต้องมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) พื้นดินหรือพื้นน้ำที่หน่วยงานใช้ประโยชน์นั้นมีข้อห้ามหรือข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือกฎหมายอื่นใดที่มีข้อห้ามหรือมีข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะดำเนินการมีผลใช้บังคับ และภาระที่เกิดขึ้นดังกล่าวมีลักษณะตามที่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดอยู่แล้ว
(2) สิ่งก่อสร้างของหน่วยงานที่ยกระดับพาดผ่านพื้นดินหรือพื้นน้ำตาม (1) สูงจากระดับพื้นดินหรือพื้นน้ำมากกว่า 13 เมตร และสูงกว่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกสร้างบนพื้นดินหรือพื้นน้ำนั้นมากกว่า 5.50 เมตร โดยสิ่งก่อสร้างนั้นจะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดปลูกสร้างลงในพื้นดินหรือพื้นน้ำนั้น และ
(3) สิ่งก่อสร้างตาม (2) ต้องไม่กระทบสิทธิที่เจ้าของพึงมีโดยปกติสุขและชอบด้วยกฎหมายในการใช้สอยพื้นดินหรือพื้นน้ำในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะดำเนินการ มีผลใช้บังคับ
3. หลักเกณฑ์การวินิจฉัยว่าภาระที่เกิดขึ้นแก่อสังหาริมทรัพย์ลักษณะใดที่อาจถือได้ว่าทำให้ไม่อาจใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ได้ตามปกติ ซึ่งจะทำให้ต้องจ่ายค่าทดแทน          - ต้องไม่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 2 (1) (2) และ (3)

4. หลักเกณฑ์การพิจารณาราคา ที่ดินที่จะนำมากำหนดค่าทดแทน
  • ให้คณะกรรมการคำนึงถึงลักษณะ และความมากหรือน้อยของข้อจำกัดสิทธิอันเป็นภาระในอสังหาริมทรัพย์อันพึงมีขึ้นแก่อสังหาริมทรัพย์ และหลักเกณฑ์ในเรื่องดังต่อไปนี้ประกอบกัน ดังนี้
1. ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดิน
2. ราคาประเมินที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ (พิจารณาจากราคาประเมินที่ดินที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่คณะกรรมการมีมติกำหนดเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์)
3. ขนาด ที่ตั้ง สภาพและลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
4. สภาพการใช้ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงกับที่ดินนั้น
5. สภาพและลักษณะของภาระอันพึงมีขึ้นแก่ที่ดินนั้นเนื่องจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการเข้าใช้ที่ดิน (พิจารณาจากจำนวนเนื้อที่ รูปแปลง และขนาดของที่ดิน ในส่วนที่ปลอดจากภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบการงานอันชอบด้วยกฎหมาย)
6. ผลประโยชน์หรือความเสียหายที่เจ้าของที่ดินได้รับจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการเข้าใช้ที่ดินในขณะนั้น
5. ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดิน          - กำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาจากราคาซื้อขายที่ดินที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินในบริเวณใกล้เคียงที่จดทะเบียนไว้กับสำนักงานที่ดินในวันที่คณะกรรมการมีมติกำหนดเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่ไม่มีการซื้อขายที่ดินในวันดังกล่าวหรือมีแต่คณะกรรมการเห็นว่า ราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดิน ให้ใช้ราคาซื้อขายที่ดินก่อนวันนั้นได้ โดยย้อนหลังไม่เกินสองปี แล้วนำราคาซื้อขายทั้งหมดดังกล่าวมาหาค่ามัธยฐาน เพื่อให้ได้ราคาใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ที่ดินในบริเวณใกล้เคียง หมายถึง ที่ดินที่มีที่ตั้ง สภาพ ทำเลและการใช้ประโยชน์ในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกับที่ดินที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในรัศมีไม่เกินสองกิโลเมตรจากที่ดินที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์
6. การพิจารณาขนาด ที่ตั้ง สภาพและลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดิน          - กำหนดให้คณะกรรมการคำนึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
1. การเข้าออกสู่ทางสาธารณะ
2. ข้อห้ามหรือข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือกฎหมายอื่นใดที่มีข้อห้ามหรือมีข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
3. ความผิดปกติของสภาพที่ดินไม่ว่าจะเป็นการถมหรือการขุดสระ หนองน้ำ หลุม หรือบ่อ หรือสภาพอื่นใดอันทำให้ที่ดินนั้นด้อยค่า
4. จำนวนเนื้อที่ รูปแปลง และขนาดของที่ดิน
5. ภาระผูกพันเหนือที่ดิน
ในการพิจารณาตาม 1 หรือ 4 ถ้าเป็นที่ดินหลายแปลงและเป็นของเจ้าของเดียวกันหรือเป็นของสามีหรือภริยาอยู่ชิดติดเป็นผืนเดียวกันให้ถือเสมือนเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน
ในกรณีที่ที่ตั้งและสภาพของที่ดินเป็นผลทำให้ราคาที่ดินที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นหรือต่ำลง ให้คณะกรรมการนำที่ตั้งและสภาพของที่ดินนั้นมาพิจารณาประกอบการกำหนดเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ด้วย
7. หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดราคาที่ดินที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์          - ให้คณะกรรมการพิจารณา ดังต่อไปนี้
1. นำราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินจากราคาซื้อขายที่ดินที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินในบริเวณใกล้เคียงที่จดทะเบียนไว้กับสำนักงานที่ดินและราคาประเมินที่ดินจากขนาด ที่ตั้ง สภาพและลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินมาพิจารณาหาราคาโดยเฉลี่ยของที่ดิน และให้ถือเอาราคาโดยเฉลี่ยดังกล่าวเป็นฐานในการกำหนดราคาที่ดินที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่ราคาโดยเฉลี่ยดังกล่าวต่ำกว่าราคา ที่ซื้อขายกันตามปกติ ให้ใช้ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินเป็นฐานในการพิจารณาราคาที่ดินที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์
2. นำขนาด ที่ตั้ง สภาพและลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสภาพการใช้ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงกับที่ดินมาพิจารณากำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของที่ดินที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์
3. กรณีที่มีเหตุอันจะต้องเพิ่มราคาที่ดิน เพราะสภาพและลักษณะของภาระอันเกิดขึ้นแก่ที่ดินในส่วนที่ปลอดจากภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบการงานอันชอบด้วยกฎหมายด้วย และผลประโยชน์หรือความเสียหายที่เจ้าของที่ดินได้รับจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการเข้าใช้ที่ดินในขณะนั้นให้เพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาตามข้อ 2 ข้างต้น
- กรณีที่ดินแปลงเดียวกันมีทั้งส่วนที่จะต้องเวนคืนตามกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ และส่วนที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์ หากมีการกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่จะต้องเวนคืนแล้ว ให้คณะกรรมการนำการกำหนดเงินค่าทดแทนดังกล่าวมาประกอบการพิจารณากำหนดราคาที่ดิน ส่วนที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์ด้วย
- กรณีที่ดินหลายแปลงและเป็นของเจ้าของเดียวกันหรือเป็นของสามีหรือภริยาอยู่ชิดติดเป็นผืนเดียวกัน ให้ถือเสมือนเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน

8. อัตราเงินค่าทดแทน
  • เมื่อทราบราคาที่ดินที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์แล้วให้กำหนดเงินค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 75 ของราคาที่ดินดังกล่าว
9. การกำหนดค่าทดแทนในกรณีทำให้เกิดภาระในอสังหาริมทรัพย์ชั่วคราว (รฟม.เข้าใช้เพื่อเตรียมก่อสร้าง หรือดำเนินการสร้าง ขยาย ปรับปรุงหรือบำรุงรักษากิจการขนส่งมวลชน)          - ให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงอัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นหรืออัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณใกล้เคียง และกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนฯ ด้วย


12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียและผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียและผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                    ทส. เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียและผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. ....  มาเพื่อดำเนินการอีกครั้งโดยได้เพิ่มเติมหลักการของผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสีย และแก้ไขชื่อจาก ?ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. ...? เป็น                             ?ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียและผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. ....? โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย และผู้รับจ้างให้บริการบำบัด                น้ำเสีย สรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. บทนิยาม          - ?ใบอนุญาต? หมายความว่า ใบอนุญาตเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย
- ?เจ้าพนักงานท้องถิ่น? หมายความว่า เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  แต่ไม่หมายความรวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- ?ผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย? หมายความว่า ผู้ควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
2. วิธีการยื่นขอและคุณสมบัติผู้ยื่นคำขอ          - กำหนดให้การยื่นคำขอ การแจ้ง และการอนุญาต ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
- กำหนดคุณสมบัติผู้ขออนุญาต ดังนี้

1. กรณีบุคคลธรรมดา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมหรือมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษประเภทผู้ควบคุมมลพิษทางน้ำ และไม่มีลักษณะต้องห้าม อาทิ เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ควบคุม เว้นแต่ระยะเวลาได้ล่วงพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

2. กรณีนิติบุคคล ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจหรือให้บริการเกี่ยวกับการบำบัด กำจัด หรือจัดการมลพิษ หรือตรวจสอบการบำบัด กำจัดหรือจัดการมลพิษ และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประเภทนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ ประเภทผู้ควบคุมลพิษทางน้ำและไม่มีลักษณะต้องห้าม อาทิ กรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลอย่างน้อยหนึ่งคน เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตอยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเว้นแต่ระยะเวลาได้ล่วงพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต - หน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งซึ่งวัตถุประสงค์ในการให้บริการรับบริหาร หรือจัดการระบบบำบัดน้ำเสียไม่ว่าจะเป็นการควบคุม ตรวจสอบ วิเคราะห์ ดำเนินการและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย (เช่น องค์การจัดการน้ำเสีย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย) ให้ถือว่าเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งไม่ต้องยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้แต่มีหน้าที่ต้องจดแจ้งการดำเนินการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

3. กระบวนการพิจารณาคำขอและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต           - เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบคำขอดังกล่าว ข้อมูลเอกสารหรือหลักฐานว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ ในกรณีที่คำขอรับใบอนุญาต หรือข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนให้บันทึก               ความบกพร่องนั้นไว้ และแจ้งให้ผู้ขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือส่งข้อมูลเอกสารหรือหลักฐานให้ครบถ้วน ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในกรณีที่ผู้ขอไม่ดำเนินให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป และให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
- เมื่อคำขอรับใบอนุญาต ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในกรณีพิจารณาแล้วมีคำสั่งอนุญาต ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ
และมาชำระค่าธรรมเนียมภายใน 15 วันทำการนับแต่วันที่มีคำสั่งในกรณีพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แจ้งผู้ขอรับใบอนุญาตทราบเป็นหนังสือพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ภายใน 15 วันทำการนับแต่วันที่มีคำสั่ง
- เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแล้ว ให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตให้แก่ผู้รับใบอนุญาต
- กำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
- กำหนดให้ผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียรายใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายใน 180 วันก่อนใบอนุญาตหมดอายุ โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
4. การสั่งพักและการเพิกถอนใบอนุญาต          - กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียผู้ใดมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ปฏิบัติการนอกเขตท้องที่ที่ได้รับใบอนุญาตไม่ได้จัดทำแผนงานเกี่ยวกับการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียฝ่าฝืนหน้าที่และอำนาจของผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย
- กำหนดเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียผู้ใดมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น เคยถูกสั่งพักใบอนุญาตเป็นผู้ควบคุมติดต่อกัน 2 ครั้งภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัยของประชาชน หรือสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
- คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้แจ้งให้ผู้ควบคุมระบบบำบัด                   น้ำเสียทราบเป็นหนังสือพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ (ภายใน 15 วันทำการ)
5. การควบคุมการปฏิบัติงาน          - กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานได้เฉพาะภายในเขตท้องที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
- กำหนดให้ผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียต้องจัดทำแผนงานเกี่ยวกับการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย
- กำหนดมีหน้าที่ เช่น ควบคุม ตรวจสอบ วิเคราะห์ ดำเนินการและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย เก็บสถิติและข้อมูลดังกล่าวในแต่ละวัน และจัดทำบันทึกรายละเอียดเป็นหลักฐานไว้ ณ สถานที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น รวมถึงจัดทำรายงานสรุป
ผลการทำงานเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่แหล่งกำเนิด
มลพิษนั้นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งแทนเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ เป็นต้น
6. ค่าธรรมเนียม          - กำหนดค่าธรรมเนียม ดังนี้
1. กรณีคำขอรับใบอนุญาตที่ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

1.1 ประเภทบุคคลธรรมดา ฉบับละ 20 บาท

1.2 ประเภทนิติบุคคล ฉบับละ 40 บาท 2. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หรือค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต

2.1 ประเภทบุคคลธรรมดา ฉบับละ 1,000 บาท

2.2 ประเภทนิติบุคคล ฉบับละ 4,000 บาท 3. ค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายหลังจากใบอนุญาตหมดอายุ

3.1 ประเภทบุคคลธรรมดา ฉบับละ 1,200 บาท

3.2 ประเภทนิติบุคคล ฉบับละ 4,800 บาท

7. วันที่มีผลใช้บังคับ          กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป


13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น การเก็บรักษาค่าเสียหายเบื้องต้นและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น การเก็บค่าเสียหายเบื้องต้น และการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                    ร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น การเก็บรักษาค่าเสียหายเบื้องต้นฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น การเก็บรักษาค่าเสียหายเบื้องต้น และการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก โดยไม่รวมการขนส่งทางระบบราง (กรณีที่เกิดความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก โดยใช้รถบรรทุกที่มีแท็งก์ติดตรึง) ที่ผู้ขนส่งเป็นผู้ทำประกันความเสียหาย เพื่อให้ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่               ผู้ได้รับความเสียหายจากวัตถุอันตราย หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้เข้าช่วยเหลือ บำบัด หรือบรรเทาความเสียหาย ที่เกิดขึ้นเนื่องจากวัตถุอันตรายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม หรือให้ใกล้เคียงกับสภาพเดิมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้


(1)          บทนิยาม ประกอบด้วยนิยาม 6 คำ ดังนี้
นิยาม          หมายถึง
1. การประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย          การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก โดยไม่รวมการขนส่งทางระบบราง (เช่น
การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก โดยใช้รถบรรทุกที่มีแท็งก์ติดตรึง ทั้งมี
เป็นการกำหนดให้สอดคล้องกับประกาศ อก. เรื่อง การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2559)
2. ผู้ได้รับความเสียหาย          ผู้ซึ่งได้รับความเสียหายต่อสุขภาพอนามัยและชีวิต ซึ่งเกิดจากการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย และหมายความรวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ได้รับความเสียหายที่ถึงแก่ความตายด้วย (เช่น บิดา มารดา บุตร หรือคู่สมรสของผู้ได้รับความเสียหาย)
3. ความเสียหายต่อสุขภาพอนามัย          ความเสียหายต่อร่างกายซึ่งกำหนดให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
4. หน่วยงานของรัฐ          กระทรวง กรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาครัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมถึงเมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือหน่วยงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5. เอกชนที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐ          นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐเข้าช่วยเหลือ เคลื่อนย้าย บำบัด บรรเทา หรือขจัดความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากวัตถุอันตรายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม หรือให้ใกล้เคียงกับสภาพเดิม
6. ผู้รับประกันภัย          บริษัทประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย

(2) หมวด 1 บททั่วไป เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่

1. จ่ายเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายต่อสุขภาพอนามัยและชีวิตโดยตรง (จ่ายให้คน)

2. จ่ายเพื่อชดเชยให้กับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับมอบหมายในการเข้าช่วยเหลือ เคลื่อนย้าย บำบัด บรรเทา หรือขจัดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม (จ่ายให้หน่วยงาน)

(3) หมวด 2 จำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น แบ่งเป็น 2 ส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในหมวด 1

1. ส่วนที่ 1 คือ ค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับผู้ได้รับความเสียหาย (จ่ายให้คนที่ได้รับความเสียหายต่อสุขภาพอนามัย หรือชีวิต) โดยกำหนดจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

2. ส่วนที่ 2 คือ จำนวนค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐ ในส่วนที่เป็นค่าวัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ ค่าใช้สอย และค่าจ้างผู้ปฏิบัติงาน (ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการช่วยเหลือ เคลื่อนย้าย บำบัด บรรเทา หรือขจัดความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากวัตถุอันตราย ณ บริเวณจุดเกิดเหตุ) โดยให้ได้รับตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 200,000 บาท (เป็นการกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้สอดคล้องกับที่ประกาศ อก. เรื่อง การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2559 กำหนด)

(4) หมวด 3 การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นของผู้รับประกันภัย เป็นการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น เช่น บุคคลที่มีสิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น [1) บุคคลธรรมดาที่ได้รับความเสียหาย 2) หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เข้าไปช่วยเหลือ] และระยะเวลาที่ในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น (ผู้ได้รับความเสียหายจะต้องร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 180 วันนับแต่วันเกิดเหตุ และหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เข้าไปช่วยเหลือจะต้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 30 วันนับแต่วันเกิดเหตุ)

(5) หมวด 4 การเก็บรักษาค่าเสียหายเบื้องต้นของหน่วยงานของรัฐ เป็นการกำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีหน้าที่และอำนาจในการเก็บรักษาค่าเสียหายเบื้องต้น โดยค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามมาตรา 69/1 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายฯ รวมทั้งกำหนดให้มีการเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินที่เป็นของรัฐเพื่อรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากผู้รับประกันภัย ตลอดจนจะต้องมีการตรวจสอบภายในตามมาตรฐานที่กระทรวงการคลังกำหนด

ในการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ครั้งที่ 6-2/2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามที่ อก. เสนอแล้ว

14. เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุม กพอ. เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ....              ซึ่ง กพอ. ให้ความเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ

สาระสำคัญ

ร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ที่จะให้บุคคลภายนอกที่มีความต้องการจะใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ สกพอ. มีอำนาจเข้าใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลภายนอกนำที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดังกล่าวไปดำเนินการหรือประกอบกิจการอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

ประเด็น          รายละเอียด
? ที่ดินที่ สกพอ. จะให้บุคคลภายนอกเข้าใช้ประโยชน์          ? เป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ สกพอ. มีอำนาจเข้าใช้ประโยชน์ เช่น พื้นที่ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 14,619 ไร่ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65
? เอกสารที่ต้องใช้ดำเนินการ          ? วัตถุประสงค์การใช้ที่ดิน (เช่น ระบุว่าต้องการใช้เพื่อประกอบธุรกิจ ทำพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยเพื่อทำกิจการสาธารณูปโภค เป็นต้น)
? รายละเอียดการใช้ที่ดิน (เช่น ข้อเสนอโครงการ แปลนก่อสร้างต่าง ๆ)
? ข้อมูลของผู้ประสงค์จะใช้ที่ดิน (เช่น มีสถานะเป็นหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือได้รับการสนับสนุนตามนโยบาย EEC)
? จำนวนและที่ตั้งที่ดินที่จะขอใช้ (ไม่มีการจำกัดจำนวนที่ดินที่จะขอใช้ประโยชน์แต่จะพิจารณาตามวัตถุประสงค์หรือแผนที่ผู้ประสงค์จะใช้ที่ดินเสนอมา)
? ระยะเวลาการขอใช้ที่ดิน (เช่น ขอใช้ที่ดินเพื่อสร้างตึกสำนักงานใหญ่ภูมิภาคของบริษัท A เป็นเวลา 20 ปี ทั้งนี้ มาตรา 52 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกฯ กำหนดให้การทำสัญญาให้เช่าที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษทำได้ไม่เกิน 50 ปี)
? ข้อเสนอด้านค่าตอบแทน (อาจเสนอค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นก็ได้ เช่น เมื่อครบสัญญาแล้วบริษัท A จะยกสิ่งก่อสร้างที่ได้สร้างตามสัญญาให้เป็นของ สกพอ. หรือเพื่อตอบแทนการเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินบริษัท A จะออกแบบและจัดทำระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ตามที่ สกพอ. ต้องการ)
? อำนาจของ สกพอ. ตามร่างระเบียบนี้          ? ออกประกาศกำหนดกรอบค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน โดยอย่างน้อยต้องคำนึงถึง
1. วัตถุประสงค์การใช้ที่ดิน (การใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ เพื่อกิจการสาธารณูปโภค หรือเพื่อเป็นศูนย์การแพทย์จะมีกรอบค่าตอบแทนที่แตกต่างกัน)
2. สภาพ ทำเล และที่ตั้งของที่ดิน
3. อัตราค่าเช่าตามปกติในท้องตลาด
4. มูลค่าอสังหาริมทรัพย์อื่นบนดินที่ตกหรือจะตกเป็นของสำนักงาน
5. ต้นทุนการดำเนินการของภาครัฐในการได้มาและพัฒนาที่ดิน (ก่อนที่จะนำมาให้บุคคลภายนอกใช้ประโยชน์)
6. ผลประโยชน์ตอบแทนอื่น (ตามที่บุคคลภายนอกเสนอเพื่อขอใช้ที่ดิน)
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะใช้ที่ดินนำไปพิจารณาประกอบการทำข้อเสนอขอใช้ที่ดินมาที่    สกพอ.
? แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้สิทธิใช้ที่ดิน จำนวนไม่เกิน 6 คน (เลขาธิการ       สกพอ. เป็นประธาน) โดยให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ เช่น
1. พิจารณาข้อเสนอการเข้าใช้ที่ดินที่บุคคลภายนอกเสนอ
2. เจรจาค่าตอบแทนตามกรอบที่ สกพอ. กำหนด
3. กำหนดเงื่อนไขการใช้ที่ดินหรือเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ที่ดิน (เช่น กำหนดห้ามโอนสิทธิการใช้ที่ดินให้ผู้อื่น กำหนดให้สิ่งปลูกสร้างที่สร้างเสร็จแล้วตกเป็นของ       สกพอ.)
4. จัดทำรายงานและเสนอความเห็นต่อเลขาธิการเกี่ยวกับการใช้หรือค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน
? การทำสัญญาให้ใช้ที่ดิน          ? เมื่อได้ผลการพิจารณาให้สิทธิใช้ที่ดินแก่บุคคลใดแล้ว ให้ สกพอ. จัดทำเป็นสัญญาให้ใช้ที่ดิน (อาจจะทำเป็นสัญญาเช่า หรือสัญญาต่างตอบแทนชนิดอื่น เช่น เพื่อตอบแทนการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน บริษัท A จะเป็นผู้จัดทำระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ต                    ตามที่ สกพอ. ต้องการ เป็นเวลา 10 ปี) โดยเลขาธิการ สกพอ. เป็นผู้มีอำนาจลงนามสัญญา
? ข้อกำหนดอื่น ๆ          ? ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จะต้องพิจารณาให้สิทธิใช้ที่ดินใหม่อีกครั้งหนึ่ง เช่น วัตถุประสงค์การใช้ที่ดิน (เช่น เปลี่ยนจากการใช้                เชิงพาณิชย์ เป็นการใช้เพื่อทำประโยชน์แก่สังคม) คุณสมบัติหรือสถานะของผู้มีสิทธิใช้ที่ดิน [เช่น จากเดิมเป็นหน่วยงานที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและต่อมาได้เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชน (จำกัด)] หรือกรณีอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการใช้ที่ดินอย่างมีนัยสำคัญซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาให้ใช้ที่ดิน
? กำหนดให้ สกพอ. รายงานผลการให้ใช้ที่ดินตามระเบียบนี้ต่อ กพอ. เพื่อทราบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง.

15. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง สิทธิประโยชน์ในการทำธุรกรรมทางการเงินสำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุม กพอ. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง สิทธิประโยชน์ในการทำธุรกรรมทางการเงินสำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... ซึ่ง กพอ. ให้ความเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ

สาระสำคัญ

                    สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ส่งร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง สิทธิประโยชน์ในการทำธุรกรรมทางการเงินสำหรับ                 ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้ว ซึ่ง ธปท.                     ไม่ขัดข้อง และ กพอ. ได้มติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 เห็นชอบร่างประกาศดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษได้รับสิทธิประโยชน์ในการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินทั้งหมดหรือบางส่วน และสามารถใช้เงินตราต่างประเทศเพื่อชำระ ค่าสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ สรุปได้ ดังนี้


ประเด็น          รายละเอียด
บททั่วไป (ร่างข้อ 4 - 5)
          ? ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการดูแลเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ การเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ให้ผู้ประกอบกิจการถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. ประกาศกำหนดภายใต้กฎหมายว่าด้วย                 การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน แทนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กพอ. ประกาศกำหนดในประกาศนี้
? ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินมีการกำหนดเรื่องใดให้มีผลเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบกิจการมากกว่าที่กำหนดไว้ในร่างประกาศนี้ ให้นำกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับ และให้ สกพอ. ประกาศให้ผู้ประกอบกิจการทราบด้วย
สิทธิในการได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ร่างข้อ 7 - 11)
          ? กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการสามารถโอนเงินตราต่างประเทศออกไปนอกประเทศได้ในกรณี 1) ส่งคืนเงินทุนและผลประโยชน์จากเงินทุนที่เคยนำเข้ามาลงทุนในกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ 2) ชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศ และ                  3) ชำระเงินตามสัญญาเกี่ยวกับการใช้สิทธิและบริการต่าง ๆ ในการประกอบกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์
? กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการสามารถสามารถโอนเงินตราต่างประเทศเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ เช่น ชำระเงินลงทุนในตราสารต่างประเทศ เป็นต้น
? กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการสามารถกู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศกับกิจการในเครือของผู้ประกอบกิจการหรือกิจการอื่นที่มีความสัมพันธ์ในเชิงห่วงโซ่อุปทานซึ่งได้รับการรับรองจาก สกพอ.
? ในกรณีผู้ประกอบการได้ส่งของออกนอกประเทศหรือดำเนินการอื่นใดที่ทำให้ได้มา ซึ่งเงินตราต่างประเทศแต่ละครั้งมีมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ผู้ประกอบกิจการได้รับยกเว้นการนำเงินได้เงินตราต่างประเทศกลับเข้ามาในประเทศ
สิทธิในการใช้เงินตราต่างประเทศเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ (ร่างข้อ 12)          กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการสามารถโอนเงินตราต่างประเทศ เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับกิจการที่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ กพอ. ให้แก่                     ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษอื่นได้
การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศกับนิติบุคคลรับอนุญาต (ร่างข้อ 13)

กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการ กิจการในเครือ และกิจการอื่นที่มีความสัมพันธ์ในเชิงห่วงโซ่อุปทานสามารถขาย แลกเปลี่ยนหรือให้กู้เงินตราต่างประเทศ หรือรับฝากหรือถอนเงินตราต่างประเทศจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศกับนิติบุคคลรับอนุญาต (ธนาคารพาณิชย์สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ) เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายกำหนดได้

16. เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการอุทธรณ์คำสั่งของเลขาธิการตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการอุทธรณ์คำสั่งของเลขาธิการตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ

สาระสำคัญ

1) กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ (ผู้ยื่นคำขอเพื่อให้ออกคำสั่งแล้วไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้น) มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น โดยผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ สกพอ. กำหนด/ยื่นเอง/ไปรษณีย์ลงทะเบียน

                     2) กำหนดให้คณะกรรมการๆ ดำเนินการพิจารณาอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้คณะกรรมการๆ มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบระยะเวลาอุทธรณ์ และให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปอีกไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาในครั้งแรก เว้นแต่ระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ในกฎหมายตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 กำหนดระยะเวลาไว้น้อยกว่า 30 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการพิจารณาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด ทั้งนี้ กำหนดให้คำวินิจฉัย อุทธรณ์ของคณะกรรมการฯ ต้องทำเป็นหนังสือ และ               คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ให้ถือเป็นที่สุด รวมทั้งหากระเบียบฉบับนี้ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาอุทธรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

3) ให้ สกพอ. แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นหนังสือให้ผู้อุทธรณ์ ทราบโดยผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไปรษณีย์ลงทะเบียน และให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์

17. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนียน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ

สาระสำคัญ

ร่างกฎกระทรวงเป็นการกำหนดให้การฝากเงินหรือการลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อคุ้มครองเงินฝากและเงินลงทุนของสหกรณ์ให้เหมาะสมต่อเสถียรภาพทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงและความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ โดยสรุปได้ ดังนี้

1. กำหนดนิยาม ดังนี้

(1) สหกรณ์ หมายความว่า สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ที่จดทะเบียนประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

(2) หลักทรัพย์ หมายความว่า หลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 25362

(3) หลักทรัพย์ของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ หมายความว่าหลักทรัพย์รัฐบาล หลักทรัพย์รัฐวิสาหกิจ และหมายความรวมถึงหลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย

(4) รัฐวิสาหกิจ หมายความว่า รัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ 2548

2. กำหนดกรอบการลงทุน ได้แก่ การซื้อหลักทรัพย์รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน การซื้อหุ้นของธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สหกรณ์ การซื้อหุ้นของชุมนุมสหกรณ์หรือสหกรณ์อื่น การซื้อหุ้นของสถาบันที่ประกอบธุรกิจอันทำให้เกิดความสะดวกหรือส่งเสริมความเจริญแก่กิจการของสหกรณ์โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ และฝากหรือลงทุนอย่างอื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนด รวมแล้วต้องไม่เกินทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรอง และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ก่อน

3. กำหนดหลักเกณฑ์กำกับการกระจุกตัวการลงทุน โดยกำหนดกรอบสัดส่วนการลงทุนในนิติบุคคล โดยสหกรณ์จะสามารถฝากเงินหรือลงทุนในนิติบุคคลแต่ละแห่งได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองของสหกรณ์ แต่จะไม่นับรวมถึงการฝากเงินในชุมนุมสหกรณ์ที่สหกรณ์นั้นเป็นสมาชิกและการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย

4. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสหกรณ์ โดยในกรณีที่สหกรณ์ทำการฝากเงินหรือลงทุนอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับแต่ไม่เป็นไปตามกรอบการลงทุนในข้อ 2 ให้ดำเนินการแก้ไขภายใน 10 ปี และกรณีที่เป็นการฝากเงินหรือการลงทุนของสหกรณ์ในนิติบุคคลแต่ละแห่งที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ตามข้อ 3 ยังคงสามารถฝากหรือลงทุนนิติบุคคลดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะครบกำหนดตามสัญญาการลงทุนในแต่ละสัญญา แต่ห้ามมิให้สหกรณ์ลงทุนเพิ่มจนกว่าจะมีสัดส่วนต่ำกว่าที่หลักเกณฑ์กำหนด(ไม่เกินร้อยละ 10 ของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองสหกรณ์) และในกรณีที่เป็นการฝากเงินหรือการลงทุนไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ให้สหกรณ์ดำเนินการแก้ไขภายใน 5 ปี

5. กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้จะช่วยให้รัฐมีบทบาทในการกำกับ ดูแลองค์กรของสหกรณ์ให้ทำหน้าที่อย่างถูกต้องเพื่อประโยชน์ของสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นคงในระบบสหกรณ์ ลดความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดทุน แต่ยังคงสามารถกระจายเม็ดเงิน ช่วยการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง สอดคล้องกับแนวคิดการคุ้มครองระบบสหกรณ์และเงินทุนของสหกรณ์ยังสามารถหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้ภายใต้หลักความระมัดระวัง ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงขบวนการสหกรณ์และได้ดำเนินการแก้ไขเนื้อหาบางเรื่องเพื่อลดภาระของสหกรณ์ และกำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อผ่อนระยะเวลาและวิธีการในการปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อมิให้กระทบต่อสถานการณ์เงินการลงทุนของสหกรณ์และเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการของสหกรณ์มากเกินควรและเป็นการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว จนถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567

18. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืนเงินค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืนเงินค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ร่างกฎกระทรวงการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์และการเรียกคืนเงินค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์ (จำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่จำเป็นต้องเวนคืน) และการเรียกคืนเงินค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ขอจดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีการจดทะเบียน กำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์แบบไม่มีกำหนดเวลา (ถาวร เช่น การก่อสร้างอุโมงค์) แต่มิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายและสามารถกลับไปใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนเองได้ดังเดิม ส่วนกรณีการจดทะเบียนกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์แบบมีกำหนดเวลา เช่น ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ขนาดใหญ่ในการก่อสร้าง เมื่อการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินการใช้ประโยชน์ในที่ดินเสร็จแล้วจะดำเนินการส่งคืนให้แก่เจ้าของที่ดิน

2. ร่างกฎกระทรวงฯ มีรายละเอียดสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ สาระสำคัญ

กำหนดบทนิยาม          ? "ภาระในอสังหาริมทรัพย์" คือ ภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
? "เจ้าของ" คือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่จุดทะเบียนกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
? "คำขอ" คือ คำขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์

ผู้มีสิทธิร้องขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์          ? เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ และทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
? กรณีที่มีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกหลายคน
เจ้าของหรือทายาทคนใดคนหนึ่งต้องมีหลักฐานแสดงได้ว่าเจ้าของหรือทายาทคนอื่น
รับทราบหรือได้ร่วมขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย
การยื่นขอ          ? การยื่นคำขอ การแจ้ง การยื่นเอกสารหรือหลักฐาน หรือการติดต่อใด ๆ
และการออกเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
? หากดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ ให้ดำเนินการ ณ ที่ทำการของหน่วยงานที่ดำเนินการ เช่น สำนักงานที่ดิน
? เจ้าของที่จะขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมเอกสารหลักฐาน
การออกใบรับคำร้อง / การยุติเรื่อง           ? กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับคำขอ ต้องตรวจสอบคำขอ เอกสาร
หรือหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วน
? กรณีที่คำขอ เอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าที่แจ้งผู้ยื่นคำขอแก้ไข้ให้ถูกต้อง พร้อมจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานกายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และหากผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป
? กรณีที่คำขอ เอกสารหรือหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอโดยเร็ว
การแจ้งผลการพิจารณา          ? กำหนดให้เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ เอกสารหรือหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว ต้องพิจารณาภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอถูกต้องครบถ้วนและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้อื่นคำขอทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่พิจารณาเสร็จ
? เมื่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับแจ้งผลการพิจารณาแล้ว ต้องคืนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่หน่วยงานที่ดำเนินการ พร้อมดอกเบี้ยและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินทราบเพื่อดำเนินการจดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคืนเงินค่าทดแทน
? การจดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้เป็นไปตามที่กรมที่ดินกำหนด

19. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้กิจการอื่นเป็นเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้กิจการอื่นเป็นเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

มท. เสนอว่า

1. ด้วยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 5 ได้บัญญัติให้ในพระราชบัญญัตินี้ ?เกษตรกรรม? หมายความว่า การทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยที่ผ่านมายังไม่มีการกำหนดกิจการอื่นไว้ในกฎกระทรวงฉบับใด และปัจจุบันการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น มีรูปแบบและวิธีการใหม่ที่แตกต่างไป ทำให้เกิดอุปสรรคในการตีความบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ขาดความชัดเจน เนื่องจากพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินฯ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทำให้บทนิยามคำว่า "เกษตรกรรม" ไม่ครอบคลุมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน

                    2. มท. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดให้กิจการอื่นเป็นเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ....  เพื่อกำหนดประเภทของกิจการอื่น ได้แก่ (1) ปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อการค้าเป็นปกติธุระ (2) ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (3) เพาะเห็ด (4) ปลูกหญ้าเพื่อค้าหรือเลี้ยงสัตว์ (5) ปลูกไม้ดอกหรือไม้ประดับ และ (6) เพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ เป็นเกษตรกรรม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และเพื่อให้เกษตรกรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั้ง 6 ประเภท ได้รับสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองในฐานะผู้เช่าที่ดินตามกฎหมายเช่นเดียวกับเกษตรกรที่ประกอบอาชีพตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมาก่อให้เกิดปัญหาในการตีความ "เกษตรกรรม" ของเจ้าหน้าที่ขาดความชัดเจน ประกอบกับกรณีผู้ให้เช่าที่ดินทำสัญญาเช่าที่ดินกับเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในบทนิยามตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเกินความจำเป็นและเอารัดเอาเปรียบ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรรมทั้ง 6 ประเภทตามร่างกฎกระทรวงฯ มีส่วนแบ่งทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศค่อนข้างสูง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรอื่น ๆ หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั้ง 6 ประเภทดังกล่าวมากขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้กิจการอื่นต่อไปนี้เป็นเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ได้แก่ การปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อการค้าเป็นปกติธุระ   การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การเพาะเห็ด การปลูกหญ้าเพื่อค้าหรือเลี้ยงสัตว์ การปลูกไม้ดอกหรือไม้ประดับและ                 การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ

20. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยังยื่นในอุทยานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการเพิ่มเติมรายชื่อโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ บัญชีข้อมูลประเภทและชนิดของทรัพยากรธรรมชาติภายในโครงการอนุรักษ์ฯ และแผนที่แสดงแนวเขตโครงการอนุรักษ์ตามร่างประกาศดังกล่าวในบัญชีและแผนที่ท้ายร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง โครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณามาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างประกาศ

ทส. ได้ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเช่นเดียวกับร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง โครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. โดยเพิ่มจำนวนโครงการอนุรักษ์ฯ อีก 16 แห่ง สรุปได้ ดังนี้

1. กำหนดแนวเขตพื้นที่เพื่อจัดโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติตามแผนที่ท้ายร่างประกาศนี้ จำนวน 16 แห่ง ดังนี้

(1) อุทยานแห่งชาติคลองพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

(2) อุทยานแห่งชาติคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

(3) อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์

(4) อุทยานแห่งชาติสามร้อยยอด จังหวัดประจวบศรีขันธ์

(5) อุทยานแห่งชาติตาพระยา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสระแก้ว

(6) อุทยานแห่งชาติแม่จริม จังหวัดน่าน

(7) อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

(8) อุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดพังงา

(9) อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น จังหวัดจันทบุรี

(10) อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ จังหวัดอุตรดิตถ์

(11) อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล

(12) อุทยานแห่งชาติแม่เมย จังหวัดตาก

(13) อุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

(14) อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล

(15) อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์

(16) อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี โดยให้โครงการมีกำหนดระยะเวลา 20 ปีนับแต่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

2. กำหนดให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดำเนินการสำรวจชุมชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ หรืออยู่อาศัยโดยรอบอุทยานแห่งชาติตามข้อ 1. ที่เข้ามาเก็บหาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ ในอุทยานแห่งชาติโดยเป็นการดำรงชีพตามวิถีชุมชนหรือวิถีชีวิตตั้งเดิม และให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติโดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์แห่งท้องที่นั้น ดำเนินการต่อไปนี้

(1) ประกาศรายชื่อชุมชน โดยปิดประกาศให้ประชาชนในเขตพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติทราบโดยทั่วกัน ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ที่ทำการเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ทำการกำนันหรือที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

(2) ประกาศกำหนดพื้นที่โครงการที่อนุญาตให้เข้าไปเก็บหาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ ซึ่งจะต้องอยู่ในแนวเขตพื้นที่โครงการฯ ตามข้อ 1 โดยประกาศดังกล่าวให้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี รวมทั้งจัดทำบัญชีประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ ฤดูกาลช่วงระยะเวลาการเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในท้ายร่างประกาศนี้

3. กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับอนุญาตเข้าไปในอุทยานแห่งชาติเพื่อเก็บหาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ในเขตพื้นที่โครงการ ดังนี้

(1) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของหมู่บ้านตามที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติได้สำรวจชุมชนตามข้อ 2

                              (2) การเก็บหาหรือการใช้ประโยชน์ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามประเภท ชนิด จำนวน                ปริมาณ ฤดูกาลช่วงระยะเวลาตามที่อุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งประกาศกำหนด ทั้งนี้ จำนวนสมาชิกในแต่ละครัวเรือนในการเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ดังกล่าว จะต้องสอดคล้องกับประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ ฤดูกาลช่วงระยะเวลา และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการแบ่งปัน การจัดสรร และการควบคุมดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ ซึ่งหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งจะประกาศกำหนด โดยผ่านการรับฟังความคิดเห็นของผู้แทนหัวหน้าครอบครัวและหัวหน้าครอบครัว และหารือร่วมกับนายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือนายก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการแบ่งปันฯ ดังกล่าว

4. กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติ ดังนี้

(1) เก็บหาหรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ภายในพื้นที่ที่กำหนด ตามประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ และฤดูกาลช่วงระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต และเป็นไปเพื่อการดำรงชีพอย่างเป็นปกติธุระ กล่าวคือ จะต้องเป็นไป เพื่อการบริโภคหรือการใช้สอยภายในครัวเรือน หากเก็บไปเพื่อการค้าขาย ห้ามใช้ยานพาหนะหรือสัตว์พาหนะในการขนส่ง เว้นแต่ เป็นชนิดที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกำหนดจำนวน ปริมาณที่สามารถใช้ยานพาหนะหรือสัตว์พาหนะในการขนส่งได้ และไม่สามารถให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่บุคคลในครัวเรือนเก็บหาหรือใช้ประโยชน์แทนได้

(2) ไม่เก็บหาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีลักษณะต้องห้ามเพื่อการสงวนหวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรธรรมชาตินั้นหรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติควบคุม หรือทรัพยากรธรรมชาติที่ใกล้สูญพันธุ์หรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ห้ามเก็บตามประกาศ แต่ละท้องที่ในจังหวัดนั้น

(3) ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โครงการ และโดยรอบโครงการ รวมทั้งร่วมฟื้นฟูสภาพพื้นที่ให้คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

(4) ไม่บุกรก แผ้วถาง หรือขยายพื้นที่เก็บหาหรือการใช้ประโยชน์เพิ่มเติมจากที่ได้รับอนุญาต

(5) ไม่เคลื่อนย้ายหรือทำลายหลักเขตหรือเครื่องหมายแสดงแนวเขตโครงการ ในกรณีที่พบว่าหลักเขตหรือเครื่องหมายชำรุดหรือสูญหายให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทันที

(6) ดำเนินการตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมดูแลโครงการ

5. กำหนดให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติมีอำนาจและหน้าที่ในการกำกับดูแล ตรวจสอบ และติดตามการเก็บหาหรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ในเขตพื้นที่โครงการ'เพื่อให้เป็นไปตามขอบเขตพื้นที่ ประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ และฤดูกาลช่วงระยะเวลาตามที่ประกาศ โดยหากมีการกระทำที่มีผลกระทบต่อสภาพธรรมชาติ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศ ให้มีคำสั่งระงับการกระทำดังกล่าว

6. กำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินโครงการ โดยให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติประเมินผลการดำเนินโครงการและรายงานให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากคณะกรรมการฯ ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ หรือไม่ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาต ให้อธิบดีฯ ตรวจสอบและพิจารณาทบทวนการดำเนินโครงการ และรายงานต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งให้ยุติการดำเนินโครงการ และสั่งการให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ นำพื้นที่นั้นมาฟื้นฟูสภาพหรือดำเนินการอนุรักษ์ให้คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่อไป

21. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการมอบให้เอกชนดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการมอบให้เอกชนดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ) เสนอ

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการมอบให้เอกชนดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

ประเด็น          รายละเอียด
1. ลักษณะภารกิจหรือกิจการที่มอบให้เอกชนดำเนินการแทน          ? ภารกิจหรือกิจการที่ อปท. ได้รับการถ่ายโอนตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ในกิจการหรือโครงการ ดังนี้

(1) การบำรุงรักษาและซ่อมแซมสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น ถนน สะพาน เขื่อนป้องกันตลิ่ง

(2) การปรับปรุง ดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น ทางเท้า ไหล่ทาง การกำจัดขยะ

          (3) การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สวัสดิการในสถานที่ให้บริการ                 แก่ประชาชน เช่น จัดหาสุขา ร้านค้า ที่จอดรถ

(4) การเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการต่าง ๆ เช่น ค่าใช้น้ำประปา ค่าใช้น้ำบาดาล ค่าบำบัดน้ำเสีย ? ภารกิจหรือกิจการที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ให้ความเห็นชอบให้เอกชนดำเนินการแทนได้ ซึ่งภารกิจหรือกิจการดังกล่าวมีลักษณะที่ อปท. ดำเนินการเป็นประจำหรืออย่างต่อเนื่อง

และเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทนสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือ          ค่าบริการจากผู้รับบริการหรือได้รับค่าตอบแทนจาก อปท. ได้ ทั้งนี้ ภารกิจหรือกิจการดังกล่าวต้องไม่เป็นการจัดซื้อจัดจ้างหรือมีลักษณะสัญญาร่วมทุน
2. หลักเกณฑ์ที่ใช้ประกอบการพิจารณาการมอบให้เอกชนดำเนินการแทน          ? เกิดประสิทธิภาพหรือมีความคุ้มค่ามากกว่าที่ อปท. ดำเนินการเอง
? ประชาชนในพื้นที่ได้รับสิทธิหรือประโยชน์หรือได้รับความสะดวก รวดเร็วมากกว่าที่ อปท. ดำเนินการเอง
? อปท. ได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนคุ้มค่ามากกว่าดำเนินการเองหรือ                       ลดงบประมาณในการดำเนินการของ อปท.
? ไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนมากขึ้นกว่าเดิม
3. ระยะเวลาการมอบภารกิจหรือกิจการให้เอกชนดำเนินการแทน          ? ไม่เกิน 3 ปี
4. ภารกิจหรือกิจการที่ไม่สามารถมอบให้เอกชนดำเนินการแทนได้           ? การใช้อำนาจตามกฎหมายในการออกคำสั่งทางปกครอง
5. ขั้นตอนการมอบหมายภารกิจหรือกิจการของ อปท. ให้เอกชนดำเนินการแทน          (1) จัดทำหลักการของภารกิจหรือกิจการ รายงานการศึกษาและวิเคราะห์ภารกิจหรือกิจการเสนอต่อสภา อปท. และ ผู้กำกับดูแล อปท. ตามลำดับ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
(2) ตราข้อบัญญัติติท้องถิ่นให้สอดคล้องกับการมอบให้เอกชนดำเนินการนั้น
(3) จัดทำร่างประกาศเชิญชวนการมอบให้เอกชนดำเนินการ ร่างเอกสารสำหรับ                การคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญามอบให้เอกชนดำเนินการ
(4) ให้มี "คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก" การมอบให้เอกชนดำเนินภารกิจหรือกิจการ
แทน อปท. ในแต่ละจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
อัยการจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่นที่มอบให้เอกชนดำเนินภารกิจ หรือกิจการแทน เป็นกรรมการ และให้มีปลัด อปท. ที่มอบให้เอกชนดำเนินภารกิจ หรือกิจการแทน เป็นกรรมการและเลขานุการ
          สำหรับกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือ               รองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ และให้มีปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการทำการคัดเลือกเอกชนให้ดำเนินภารกิจหรือกิจการแทน ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพิจารณามาคัดเลือกโดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์แก่ อปท. สูงสุด
6. ภารกิจหรือกิจการที่มอบให้เอกชนดำเนินการแทนเปลี่ยนแปลงไป           ? หาก อปท. เห็นสมควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภารกิจหรือกิจการ หรือกำหนดเงื่อนไขของการมอบภารกิจหรือกิจการเพิ่มเติม หรือยุติการมอบภารกิจหรือกิจการตามสัญญาที่มอบให้เอกชนดำเนินการแทน ให้เสนอสภา อปท. ให้ความเห็นชอบ
7. การกำกับดูแล          ? ให้ อปท. กำกับดูแลและติดตามให้มีการดำเนินงานงานตามที่กำหนดในสัญญาและรายงานผลการดำเนินงาน ความคืบหน้า รวมถึงรายงานปัญหาและแนวทางแก้ไข                 ต่อผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อทราบ โดยระยะเวลาที่ต้องรายงานต้องไม่เกิน 6 เดือนต่อหนึ่งครั้ง
8. บทเฉพาะกาล          ? ภารกิจหรือกิจการใดที่ อปท. มอบให้เอกชนเข้าดำเนินการแทน ซึ่ง อปท. ได้ดำเนินการทำสัญญาเสร็จเรียบร้อยแล้วในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้ใช้ได้ต่อไป และให้นำกฎกระทรวงนี้มาใช้บังคับในการดำเนินการตามสัญญาดังกล่าวด้วย

22. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง กำหนดค่าบริการในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบรับจดทะเบียน หรือรับแจ้งในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุม กพอ. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง กำหนดค่าบริการในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ รับจดทะเบียน หรือรับแจ้งในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... ซึ่ง กพอ. ให้ความเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ

สาระสำคัญ

กพอ. เสนอว่า

                    1. พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง (7) บัญญัติให้ กพอ. มีหน้าที่และอำนาจ ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้มาตรา 43 บัญญัติให้ในการดำเนินการหรือการกระทำใดภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย รวม 8 ฉบับ ได้แก่ 1) กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน                  2) กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร 3) กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร 4) กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข 5) กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง 6) กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ 7) กฎหมายว่าด้วยโรงงาน และ                  8) กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ให้ถือว่าเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต หรือให้ความเห็นชอบหรือเป็นผู้มีอำนาจในการรับจดทะเบียนหรือรับแจ้งตามกฎหมายนั้น และมาตรา 45 บัญญัติให้ในการอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต หรือให้ความเห็นชอบ รับจดทะเบียน หรือรับแจ้งตามมาตรา 43 เลขาธิการ กพอ. มีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย หรือค่าอื่นใด                ที่กฎหมายข้อบัญญัติ หรือเทศบัญญัติว่าด้วยการนั้นกำหนดไว้ และมีอำนาจเรียกเก็บค่าบริการในการดำเนินการดังกล่าวเพิ่มเติมได้ตามอัตราที่ กพอ. ประกาศกำหนด เช่น ใบอนุญาตจัดตั้งตลาด ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข) ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ตามกฎหมายว่าโรงงาน)

2. ดังนั้น กพอ. จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 เห็นชอบให้เสนอร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง กำหนดค่าบริการในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาตให้ความเห็นชอบ รับจดทะเบียน หรือรับแจ้งในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1) กำหนดให้ในการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาตให้ความเห็นชอบ รับจดทะเบียน หรือรับแจ้ง ตามมาตรา 43 เช่น กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักรให้เลขาธิการ กพอ. มีอำนาจเรียกเก็บค่าบริการจากผู้รับบริการ

                              2) กำหนดให้ค่าบริการเป็นไปตามบัญชีท้ายประกาศฉบับนี้ เช่น ใบรับแจ้งการขุดดิน/  ถมดิน (ตามกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน) จำนวน 1,000 บาท ใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง อาคาร                   (ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร) จำนวน 1,000 บาท ซึ่งผู้รับบริการต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าบริการด้วย ทั้งนี้ ให้เลขาธิการ กพอ. เรียกเก็บค่าบริการ พร้อมกับการยื่นคำขอของผู้รับบริการ

3) กำหนดให้ค่าบริการดังกล่าวให้จัดเก็บเป็นรายได้ของ สกพอ. ตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (2)1 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561

1มาตรา 24 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติให้รายได้ของสำนักงานมี เงิน พรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อันได้มาจากการลงทุน การประกอบกิจการ หรือการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน

23. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง โรงงานที่ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง โรงงานที่ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง โรงงานที่ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
                    1) การประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ของกรมราชทัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ฝึกทักษะการประกอบอาชีพให้ผู้ต้องขังเพื่อสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวเมื่อภายหลังพ้นโทษ ได้รับยกเว้นไม่ต้องแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 (มี 1 โรงงาน)
                    2) การประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ของกรมราชทัณฑ์ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องรับอนุญาตตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 (มี 126 โรงงาน)
                    3) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกอบกิจการโรงงานดังกล่าว ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้อนุญาตแล้วแต่กรณีทราบเป็นการล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนดำเนินการพร้อมด้วยข้อมูลเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และให้พนักงาน เจ้าหน้าที่หรือผู้อนุญาตออกหนังสือรับแจ้งให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานไว้เป็นหลักฐาน และให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการโรงงานตามข้อ 1 เป็นผู้ได้รับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานตามข้อ 2 เป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
                    4) ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ได้รับใบรับแจ้งประกอบกิจการโรงงาน หรือให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือได้รับอนุญาตให้ขยายโรงงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และยังประกอบกิจการโรงงานอยู่ในวันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับปฏิบัติตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ภายหลังที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้ผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงงานดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

24. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่อื่นของรัฐ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่อื่นของรัฐ
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่อื่นของรัฐ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งป่าชุมชน การจัดการป่าชุมชน การควบคุมดูแลป่าชุมชน การเพิกถอนป่าชุมชน และการอื่นที่จำเป็นในพื้นที่อื่นของรัฐ มีสาระสรุปได้ดังนี้
                    (1) กำหนดให้การจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่อื่นของรัฐจะกระทำได้ในพื้นที่ป่านอกเขตป่าอนุรักษ์ ได้แก่ เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นิคมสร้างตนเอง นิคมสหกรณ์ และที่ราชพัสดุ โดยการนำพื้นที่อื่นของรัฐดังกล่าวมาจัดตั้งเป็นป่าชุมชนได้ จะต้องได้รับความยินยอมหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่ปกครองดูแลฟื้นที่อื่นของรัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นก่อน
                    (2) กำหนดให้ชุมชนที่ประสงค์จะขอจัดตั้งป่าชุมชนจะต้องเป็นชุมชนที่อยู่ในอำเภอเดียวกันกับพื้นที่ป่าที่จะนำมาจัดตั้งเป็นป่าชุมชน และมีความสามารถดูแลรักษาป่าชุมชนนั้นได้ โดยการรวมตัวกันของบุคคลในชุมชนดังกล่าวเพื่อยื่นคำขอจัดตั้งป่าชุมชน ต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอที่ขอจัดตั้งป่าชุมชน ไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวนรวมกันตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป
                    (3) กำหนดให้คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาคำขอจัดจัดตั้งป่าชุมชน โดยในการพิจารณาอนุมัติจัดตั้งป่าชุมชน โดยในการพิจารณาอนุมัติจัดตั้งป่าชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชนจังหวัดอาจพิจารณาอนุมัติให้นำพื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่ระบุไว้ในคำขอมาจัดตั้งเป็นป่าชุมชนก็ได้ โดยในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอ ผู้คัดค้าน หรืออธิบดีกรมป่าไม้ ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการป่าชุมชนจังหวัด ให้บุคคลดังกล่าวสามารถอุทธรณ์มติดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ทั้งนี้ หากมีการอนุมัติให้จัดตั้งป่าชุมชน ให้อธิบดีกรมป่าไม้ ประกาศการอนุมัติจัดตั้งป่าชุมชนในราชกิจจานุเบกษา
                    (4) กำหนดให้การขอขยายเขตป่าชุมชนจะสามารถดำเนินการได้ ในกรณีที่ได้ดำเนินการป่าชุมชนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และเป็นป่าชุมชนที่อยู่ในกลุ่มป่าชุมชนดีมากในปีก่อนที่จะมีการยื่นคำขอ ทั้งนี้ พื้นที่ที่ขอขยายจะต้องอยู่ในอำเภอเดียวกันกับเขตป่าชุมชนเดิม
                    (5) กำหนดให้การจัดการป่าชุมชนกระทำโดยคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน ร่วมกับสมาชิกของป่าชุมชนนั้น โดยต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของป่าชุมชน และแผนจัดการป่าชุมชนที่ได้รับการอนุมัติพร้อมกับคำขอจัดตั้งป่าชุมชน โดยคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนมีหน้าที่และอำนาจต่าง ๆ เช่น ร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจัดให้มีหลักเขต ป้าย หรือเครื่องหมายอื่นในการแสดงแนวเขตป่าชุมชน ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชน ดูแลรักษาป่าชุมชน บำรุงและฟื้นฟูป่าชุมชน ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน สั่งให้ผู้ซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับออกจากป่าชุมชน หรือให้กระทำการหรืองดเว้นการกระทำการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับ เป็นต้น
                    (6) กำหนดให้สมาชิกป่าชุมชนมีสิทธิใช้ประโยชน์จากผลผลิต และบริหารป่าชุมชนซึ่งสอดคล้องกับแผนจัดการป่าชุมชน ได้แก่ (1) การเก็บหาของป่าในป่าชุมชน (2) การใช้ประโยชน์จากไม้โดยต้องไม่ใช้ประโยชน์จากไม้ทรงคุณค่า ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และให้ทำได้ตามความจำเป็นเพียงเฉพาะเพื่อใช้สอยในครัวเรือนของสมาชิกป่าชุมชน หรือใช้ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชนนั้น (3) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอื่นตามความจำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนของสมาชิกป่าชุมชน หรือใช้ในกิจกรรมสาธารณะภายในชุมชนนั้น และ (4) การใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในป่าชุมชน รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
โดยชุมชน
                    (7) กำหนดเกี่ยวกับการควบคุมดูแลภายในป่าชุมชน โดยห้ามบุคคลกระทำการ ดังต่อไปนี้
                              (7.1) ยึดถือ ครอบครอง หรือใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิน
                              (7.2) ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ขุดหาแร่ ล่าสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าชุมชน
                              (7.3) ใช้ประโยชน์จากไม้นอกเหนือไปจากกรณีที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
                              (7.4) ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง เว้นแต่เป็นกรณีที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน เช่น หอดูไฟป่า ฝายชะลอน้ำ เป็นต้น โดยต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการป่าชุมชนจังหวัดก่อน
ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการตรวจสอบการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ รวมทั้งสั่งให้บุคคลออกจากป่าชุมชนหรืองดเว้นการกระทำใด ๆ ในป่าชุมชน หากมีข้อเท็จจริงปรากฏหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นกระทำความผิดตามพระราชกฤษฎีกานี้
                    (8) กำหนดให้มีการเพิกถอนป่าชุมชนในกรณีดังต่อไปนี้
                              (8.1) หน่วยงานของรัฐผู้ปกครองดูแลพื้นที่นั้นไม่ประสงค์จะให้ใช้พื้นที่เพื่อจัดตั้งเป็นป่าชุมชนอีกต่อไป โดยหากคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนคัดค้านความเห็นของหน่วยงานของรัฐดังกล่าว ให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการป่าชุมชนจังหวัดเพื่อชี้ขาด
                              (8.2) อธิบดีกรมป่าไม้สั่งให้มีการเพิกถอนป่าชุมชนในกรณีที่ คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนขอให้เพิกถอน กรณีที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนทอดทิ้งไม่จัดการฟื้นฟูบำรุงชุมชนนั้นต่อไป กรณีที่คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนไม่ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้  อันจะเป็นเหตุให้ป่าชุมชนได้รับความเสียหายหรือมีเหตุไม่ควรไว้วางใจให้จัดการป่าชุมชนต่อไป และกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นทางด้านกิจการเพื่อความมั่นคงของประเทศ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

25. เรื่อง ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารในหรือต่างกระทรวงหรือกรม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารในหรือต่างกระทรวงหรือกรม   พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารในหรือต่างกระทรวงหรือกรม พ.ศ. .... มีสาระสรุปได้ดังนี้
                    (1) กำหนดให้บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                    (2) กำหนดหลักการของการแต่งตั้ง ได้แก่ การใช้ดุลพินิจในการแต่งตั้ง คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้ง การยินยอมของข้าราชการในการแต่งตั้งบางกรณีและการจัดกลุ่มตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
                    (3) กำหนดกรณีการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่
                              กรณีที่ 1 กรณีอยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุที่จะพิจารณาย้ายได้ ซึ่งเป็นการย้ายในประเภทและระดับเดียวกัน และการย้ายกรณีที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งประเภทและระดับนั้น ๆ มาแล้ว เช่น การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นในสายงานเดียวกัน หรือการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นในสายงานบริหาร ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ในสายงานอื่นที่มิใช่สายบริหาร
                              กรณีที่ 2 กรณีที่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดก่อน แล้วผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจึงจะดำเนินการย้ายได้ เช่น การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ในสายงานอื่นที่มีใช่สายงานบริหาร ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ในสายงานบริหาร ซึ่งต้องมีคณะกรรมการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมและสมัครเข้ารับการคัดเลือก
                    (4) กำหนดกรณีการโอนตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง ซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณี เช่นเดียวกับการย้าย และวางหลักการว่า การโอนให้กระทำได้ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้ง 2 ฝ่าย ได้ตกลงยินยอมการโอนนั้นแล้ว เว้นแต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุเป็นบุคคลเดียวกัน
                    (5) กำหนดกรณีการเลื่อน โดยให้เลื่อนจากตำแหน่งประเภทบริหารระดับดันขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เฉพาะตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท และมีการประเมินความเหมาะสมของบุคคลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด โดยคณะกรรมการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมจากรายชื่อที่ส่วนราชการเสนอมา
                    (6) กำหนดบทเฉพาะกาล โดยให้การย้าย การโอน หรือการเลื่อน ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดไว้เดิม ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ และกฎ ก.พ. นี้มีผลใช้บังคับแล้ว ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ใช้อยู่เดิมต่อไปจนแล้วเสร็จ และให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ใช้อยู่เดิมมาปฏิบัติไปพลางก่อนในระหว่างที่ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎ ก.พ. นี้ รวมถึง ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า ตามที่ ก.พ. กำหนดไว้เดิมมาใช้ จนกว่า ก.พ. จะกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าใหม่เมื่อกฎ ก.พ. นี้มีผลใช้บังคับ

เศรษฐกิจ ? สังคม
26. เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 [เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน] เพื่อขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เพิ่มขึ้นถุงหรือกล่องละ 0.46 บาท ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป ดังนี้
          ราคากลางเดิม          ราคากลางใหม่          หน่วย
นมโรงเรียนชนิดพาสเจอร์ไรส์          6.89          7.35          บาท/ถุง
นมโรงเรียนชนิด ยู เอช ที          8.13          8.59          บาท/กล่อง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรี             เมื่อวันที่6 ธันวาคม 2565 เพื่อปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เพิ่มขึ้นถุงหรือกล่องละ 0.46 บาท ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป ซึ่งการปรับราคารับซื้อน้ำนมโคตามประกาศดังกล่าว เนื่องจากมีการปรับเพิ่มราคากลางรับซื้อน้ำนมโคขึ้นกิโลกรัมละ 2.25 บาท จึงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตนมโรงเรียนเพิ่มขึ้นถุงหรือกล่องละ 0.46 บาท โดยคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนมีมติเห็นชอบการปรับเพิ่มราคากลางนมโรงเรียนดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ หากมีการปรับเพิ่มราคากลางนมโรงเรียนดังกล่าวจะส่งผลให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดซื้อนมโรงเรียน [(1) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น                (2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (3) กรุงเทพมหานคร และ (4) เมืองพัทยา] ต้องได้รับการอุดหนุนงบประมาณเพิ่มเติมทั้งสิ้น 777.44 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อนมโรงเรียนสำหรับเด็กนักเรียน จำนวน 6,500,298 คน เป็นเวลา260 วัน โดยหน่วยงานที่มีงบประมาณไม่เพียงพอจะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่อไป
                    2. กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมพิจารณาแล้ว              เห็นควรที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติหลักการ/ไม่ขัดข้อง/เห็นชอบ/เห็นด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็น/ข้อเสนอเพิ่มเติม เช่น สงป. มีความเห็น/ข้อเสนอ (1) ควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงแหล่งที่มาของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถได้รับงบประมาณทันการจัดซื้อในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 และไม่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (อก.) (2) งบประมาณที่เพิ่มขึ้นเห็นสมควรอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสนับสนุนอาหารเสริม (นม) ให้หน่วยรับงบประมาณทุกแห่งและขอให้ กษ. เป็นผู้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณในส่วนที่เพิ่มเติม (มท. ศธ.) (3) งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี รวมถึงพิจารณานำเงินรายได้หรือเงินสะสมมาสมทบในส่วนที่เพิ่มขึ้นในโอกาสแรกก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นใน                 ปีต่อไป ให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป (สงป.)

27. เรื่อง ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย) วงเงิน 17,500                 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอการกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 39 (4) โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้ค้ำประกัน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม ซึ่ง รฟท. จะดำเนินการกู้เงินได้ภายหลังจากวงเงินกู้ได้รับการบรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการกู้เงินให้ รฟท. พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องสำหรับการกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วงเงิน 17,500 ล้านบาท และให้ กค. พิจารณาเร่งรัดการกำหนดหลักเกณฑ์การขอรับการจัดสรรเงินชดเชยของรัฐวิสาหกิจตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป

28. เรื่อง ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2567
                             คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2567 ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอ ดังนี้
                      รัฐบาลที่มีนโยบายเร่งด่วนในการเร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม อาชญากรรมออนไลน์มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมาปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ยังคงมีความรุนแรง และสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้กับประชาชนในสังคมเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีประชาชนตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพเหล่านี้เป็นจำนวนมาก จากปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน
                     สาระสำคัญ
                     กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (คณะกรรมการฯ) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม                  (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน กสทช. สมาคมธนาคารไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อบูรณาการการทำงานและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาภัยออนไลน์ของรัฐบาลสำหรับ ผลการดำเนินงานที่สำคัญในระยะ 30วัน มีดังนี้
                    1. การแก้กฎหมายเร่งด่วนเพื่อช่วยผู้เสียหายและป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
                           กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เร่งดำเนินการยกร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ฉบับที่ 2 เพื่อตอบสนองนโยบายคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์และเพิ่มความรับผิดชอบผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และสถาบันการเงินโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                                   1) การเร่งคืนเงินผู้เสียหาย
                                   2) การเพิ่มสิทธิผู้เสียหายและเพิ่มความรับผิดชอบผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์
ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และสถาบันการเงิน
                                   3) การเพิ่มโทษการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล และบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย
                                   4) การป้องกันการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างผิดกฎหมาย
                                   5) การระงับการใช้ซิมต้องสงสัย
                    ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการปรับเป็นพินัยกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือ ISP ที่ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย โดยได้แจ้งข้อกล่าวหา ผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือ ISP จำนวน 4 ราย และได้มีคำสั่งปรับพินัยผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือ ISP จำนวน 4 ราย รวมมูลค่าทั้งสิ้น 677,500 บาท
                    2. การปราบปรามจับกุมอาชญากรรมออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการปราบปรามจับกุมอาชญากรรมออนไลน์และมีคดีที่สำคัญ รวมทั้งเร่งรัดจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้อง ในช่วงระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2567 เทียบกับการดำเนินงานช่วงที่ผ่านมา ดังนี้
                           1) การจับกุมคดีอาชญากรรมออนไลน์รวมทุกประเภท ในเดือนสิงหาคม 2567  มีการจับกุม จำนวน 1,945 ราย ซึ่งลดลงร้อยละ 22.04 เมื่อเทียบกับการจับกุมก่อนดำเนินการตามมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ในช่วงเดือนมกราคม ? มีนาคม 2567 ซึ่งมีการจับกุมเฉลี่ยจำนวน 2,495 คน ต่อเดือน
                          2) การจับกุมคดีเว็บพนันออนไลน์ ในเดือนสิงหาคม 2567 มีการจับกุม จำนวน 732 ราย ซึ่งลดลงร้อยละ 31.20 เมื่อเทียบกับการจับกุมก่อนดำเนินการตามมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ในช่วงเดือนมกราคม ? มีนาคม 2567 ที่มีการจับกุมเฉลี่ยจำนวน 1,064 คนต่อเดือน
                          3) การจับกุมคดีบัญชีม้า ชิมม้า ในเดือนสิงหาคม 2567 มีการจับกุม จำนวน 122 ราย ซึ่งลดลงร้อยละ 49.17 เมื่อเทียบกับการจับกุมก่อนดำเนินการตามมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งมีการจับกุมเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม ? มีนาคม 2567 จำนวน 240 คนต่อเดือน
                          4) การจับกุมครั้งสำคัญของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในห้วงเดือนสิงหาคม 2567 อาทิ                   (1) การจับกุมเว็บพนันออนไลน์ หวยแบงก็.com มีเงินหมุนเวียนมูลค่าประมาณ 11 ล้านต่อเดือน ยึดทรัพย์สินมูลค่า 16 ล้านบาท จับกุมผู้กระทำผิดจำนวน 2 ราย (2) ปฏิบัติการบุกตรวจค้น "4 บริษัทเทรดหุ้นต่างประเทศ" หลอกลวงผู้เสียหายทั่วประเทศรวมมูลค่าความเสียหายกว่า 70 ล้านบาท จับกุมผู้เกี่ยวข้องแล้วจำนวน 4 ราย
                      สำหรับกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดำเนินการจับกุมคดีที่สำคัญในเดือนสิงหาคม 2567  ได้แก่                 การจับกุมผู้ต้องหาเพิ่มเติม จำนวน 4 ราย อันเป็นผลมาจากการสืบสวนขยายผลอย่างต่อเนื่องในการจับกุมเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์รายใหญ่ เครือข่ายแม่มนต์ ซึ่งมีเงินหมุนเวียนกว่า 5,000 ล้านบาท
                     ทั้งนี้ ในภาพรวมการจับกุมในเดือนสิงหาคม 2567 พบว่า มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับการจับกุมในช่วงก่อนดำเนินการตามมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ในช่วงเดือนมกราคม ? มีนาคม 2567 โดยเฉพาะการจับกุมบัญชีม้า ชิมม้า ที่ลดลงถึงร้อยละ 49.17 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการอย่างต่อเนื่องต่อไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
                    3. การปิดกั้นโซเชียลมีเดีย เว็บผิดกฎหมาย และเว็บพนัน
                          กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการปิดกันโซเชียลมีเดีย เพจ และ
เว็บไซต์ผิดกฎหมายระยะเวลา 11 เดือน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567 เทียบกับ การดำเนินงานช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยสรุปผลได้ ดังนี้
                          1) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายทุกประเภท จำนวน 138,660 รายการ เพิ่มขึ้น 11 เท่า จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2566 ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายทุกประเภท จำนวน 12,591 รายการ
                          2) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ประเภทพนันออนไลน์ จำนวน 58,273 รายการ เพิ่มขึ้น 34.3 เท่า จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2566 ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ประเภทพนันออนไลน์ จำนวน 1,700 รายการ
                    4. มาตรการแก้ไขปัญหาบัญชีม้า เร่งอายัด และตัดตอนการโอนเงิน
                          1) การระงับบัญชีม้าสะสมถึงเดือนสิงหาคม 2567 มีการระงับบัญชีม้ารวมกว่า 1,000,000 บัญชี แบ่งเป็นสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ปิด 450,000 บัญชี ธนาคารระงับเอง 300,000 บัญชี และศูนย์ AOC ระงับ 291,256 บัญชี
                          2) ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ดำเนินการยกระดับการป้องกันการเปิดบัญชีและการจัดการบัญชีม้า โดยเฉพาะบุคคลที่ยินยอมเปิดบัญชีธนาคารให้คนร้ายใช้ อาทิ การออกมาตรการระงับบัญชีของผู้ที่เปิดบัญชีให้คนร้ายทุกบัญชี และการใช้มาตรการเพื่อทำการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence : CDD) ตามระดับความเสี่ยงของผู้เปิดบัญชีใหม่ เป็นต้น
                    5. มาตรการแก้ไขปัญหาชิมม้า และชิมที่ผูกกับโมบายแบงก์กิ้ง
                          ผลการดำเนินงานสำคัญถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ดังนี้
                          1) การระงับหมายเลขโทรศัพท์ที่มีการโทรออกเกิน 100 ครั้งต่อวัน จำนวน 80,731 หมายเลข มีผู้มายืนยันตัวตน 418 หมายเลข ส่วนที่ไม่มายืนยันตัวตน ระงับหมายเลขแล้ว จำนวน 80,313 หมายเลข
                          2) การกวาดล้างชิมม้าและชิมต้องสงสัย โดยสำนักงาน กสทช. และผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้ระงับชิมม้าแล้ว จำนวนกว่า 2.8 ล้านหมายเลข
                          3) การขับเคลื่อนมาตรการคัดกรองผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง โดยใช้ระบบคัดกรองผู้ใช้งาน                     (Sim Screening) ตรวจสอบหมายเลขบัตรประชาชนผู้ครอบครองหมายเลขโทรศัพท์ตรงกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนโมบายแบงก์กิ้งกับธนาคารหรือไม่ โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในวันที่ 30 กันยายน 2567                   เพื่อตรวจสอบกลุ่มบัญชีที่มีความเสี่ยงถูกใช้เป็นบัญชีม้า ในเบื้องต้นประเมินว่ามีผู้ใช้งาน ที่เป็นบัญชีคนไทย                      15 ล้านคน และต่างด้าว 3 ล้านคน ซึ่งจะต้องจัดทำรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานต่อไป
                    6. การดำเนินการเรื่องเสาโทรคมนาคม สายสัญญาณอินเทอร์เน็ต และสายโทรศัพท์                     ที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน
                           สำนักงาน กสทช. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และผู้ให้บริการโทรคมนาคมในพื้นที่
ดำเนินยุทธการ "ระเบิดสะพานโจร" โดยร่วมกันตรวจสอบการลักลอบลากสายสัญญาณข้ามแดนโดยไม่ได้รับอนุญาต ณ ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 จากการตรวจสอบพบว่า มีการลักลอบลากสายสัญญาณจากบ้านเช่าในตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งขอใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการบริการอินเทอร์เน็ต 3 ราย นำมาทำ Load Balance และ                ลากสายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติกขนาด 12 Core ไปยังตู้ชุมสายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติก (ODF) ของบริษัท ก                 (นามสมมุติ) ผู้รับใบอนุญาตประเภท 1 และ 3 บริเวณสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 โดยบริษัทฯ ดังกล่าว ไม่ได้รับอนุญาตให้บริการโทรคมนาคมออกนอกราชอาณาจักรไทย ต่อมาที่ตู้ของบริษัทฯ ดังกล่าวตรวจพบการติดตั้งอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการเพิ่มเติมอีก 3 ราย โดยสายสัญญาณที่ลากออกจากตู้ ๆ ดังกล่าวนั้นมีการลากต่อไปยังสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 และเชื่อมต่อไปสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากนี้ สำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันการให้บริการระบบโทรคมนาคมข้ามพรมแดนเพื่อการก่อการร้ายทางเศรษฐกิจและสนับสนุนการค้ามนุษย์กับกองทัพไทย ซึ่งประกอบด้วย กองบัญชา               การกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยจะดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของกองทัพไทยช่วยสนับสนุนลาดตระเวนพื้นที่ชายแดนและตรวจสอบการใช้สัญญาณโทรคมนาคมข้ามพรมแดนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการค้ามนุษย์ โดยมีกำหนดการลงนามความร่วมมือภายในเดือนตุลาคม 2567
                    7. การแก้ปัญหาหลอกลวงขายสินค้าออนไลน์
                                สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินมาตรการแก้ไขกฎหมาย COD หรือซื้อสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง โดยออก "ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการบริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาการซื้อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์แบบใช้บริการเก็บเงินปลายทาง (COD) ตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาภายใต้สำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค มีมติเห็นชอบและประกาศใน                   ราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา
                    8. การบูรณาการข้อมูล และอื่น ๆ
                        กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สมาคมธนาคารไทย สมาคมโทรคมนาคม ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ศูนย์ AOC 1441 เป็นแพลตฟอร์มรับและแลกเปลี่ยนข้อมูลบูรณาการข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                    เพื่อยกระดับการจัดการบัญชีม้า ชิมม้า และคนร้ายได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า                        มีการดำเนินการเพิ่มความเข้มงวดในการจดทะเบียนนิติบุคคล กรณีบุคคลที่สำนักงานป้องกันและปราบปราม

29. เรื่อง รายงานผลการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินตามโครงการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินตามโครงการฯ กรณีกลุ่มเป้าหมายได้รับเงินตามโครงการฯ แล้ว แต่มีความประสงค์จะคืนเงินโดยสมัครใจ [ตามข้อ 3 (1)] และเห็นชอบในหลักการของแนวทางการแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินตามโครงการฯ [ตามข้อ 3 (2) - 3 (7)] ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ โดยมอบหมายให้ กค. หารือแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ ร่วมกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    1. รายงานผลการดำเนินโครงการฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2567) สรุปได้ดังนี้
หัวข้อ          กลุ่มเป้าหมาย
(A)          เสียชีวิต
หรืออยู่ในสถานสงเคราะห์
 (B)          คงเหลือ
จำนวนผู้มีสิทธิ
(G) = (A) - (B)          ยังไม่สามารถสั่งจ่ายเงินได้
(C)          สั่งจ่ายเงิน
 (D) = (G) - (C)          กลุ่มเป้าหมายที่จ่ายเงินสำเร็จ
(E)          กลุ่มเป้าหมายที่จ่ายเงิน
ไม่สำเร็จ
(F)
ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ          12,405,954          7,976          12,397,978          13          12,397,965          12,025,507          372,458
คนพิการ          2,149,286          32,792          2,116,494          75,831          2,040,663          2,031,834          8,829
รวม          14,555,240          40,768          14,514,472          75,844          14,438,628          14,057,341          381,287

โดยเมื่อตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายผู้มีสิทธิคงเหลือ จำนวน 14,514,472 ราย (G) พบว่า มีจำนวน 75,844 ราย (C) ที่ยังไม่สามารถสั่งจ่ายเงินตามโครงการฯ ได้ เนื่องจาก มีข้อมูลช่องทางการรับเป็นถูกต้องหรือยังไม่สิทธิได้รับเงิน ทั้งนี้ เมื่อสั่งจ่ายเงินครั้งแรกให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิได้รับเงิน ระหว่างวันที่ 25 ? 27  และ
30กันยายน 2567 จำนวน 14,438,628 ราย (D) โดยจ่ายเงินสำเร็จจำนวน 14,057,341 ราย (E) (คิดเป็นร้อยละ 97.36 ของจำนวนที่กลุ่มเป้าหมายที่สั่งจ่ายทั้งหมด) และจ่ายเงินไม่สำเร็จ 381,287 ราย (F) (คิดเป็นร้อยละ 2.64 ของจำนวนที่กลุ่มเป้าหมายที่สั่งจ่ายทั้งหมด) โดยมีสาเหตุของการจ่ายเงินไม่สำเร็จ เช่น บัญชีเงินฝากธนาคารถูกปิด เลขบัญชีเงินฝากธนาคารไม่ถูกต้อง บัญชีไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่ได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชน เป็นต้น
                    2. การ Retry ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 กรมบัญชีกลาง ได้จ่ายเงินซ้ำให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่จ่ายเงินไม่สำเร็จในครั้งแรก (F) และกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่สามารถสั่งจ่ายเงินได้ในครั้งแรก (C) เฉพาะที่ได้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลช่องทางการรับเงิน หรือดำเนินการต่ออายุหรือทำบัตรประจำตัวคนพิการเรียบร้อยแล้ว และเฉพาะที่ได้ตรวจสอบสถานะการมีชีวิตกับกรมการปกครอง (ข้อมูล ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2567) โดยสามารถสั่งจ่ายเงินได้ทั้งสิ้นจำนวน 414,908 ราย ในจำนวนนี้จ่ายเงินสำเร็จ จำนวน 350,016 ราย และจ่ายเงินไม่สำเร็จ จำนวน 64,892 ราย โดย กค. ได้ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายผู้มีสิทธิตามโครงการฯ ดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชน หรือติดต่อธนาคารเพื่อแก้ไขบัญชีเงินฝากธนาคารที่มีปัญหาโดยเร็ว รวมถึงจะต้องดำเนินการต่ออายุหรือทำบัตรประจำตัวคนพิการ หรือแก้ไขข้อมูลประจำตัวคนพิการที่ศูนย์บริการคนพิการทั่วประเทศให้ถูกต้อง แล้วแต่กรณี เพื่อให้ทันการ Retry ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ในวันที่ 21 พฤศจิกายน และ 19 ธันวาคม 2567 ตามลำดับ ทั้งนี้ ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2567 มีการจ่ายเงินตามโครงการฯ ให้แก่กลุ่มเป้าหมายแล้วรวมทั้งสิ้นจำนวน 14,407,375 ราย คิดเป็นเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม 2567 จำนวนรวม 144,073.57 ล้านบาท
                    3. ปัญหาการจ่ายเงิน และแนวทางการแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินตามโครงการฯ

ปัญหาการจ่ายเงิน          แนวทางการแก้ไข
(1) กลุ่มเป้าหมายได้รับเงินตามโครงการฯ แล้ว แต่มีความประสงค์ จะคืนเงินโดยสมัครใจ          ให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์จะคืนเงินโดยสมัครใจติดต่อขอรับเอกสารที่ใช้สำหรับการคืนเงินได้ที่สำนักงานคลังจังหวัดหรือกรมบัญชีกลาง และนำเงินไปคืนได้ที่สาขาของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทั่วประเทศ

(2) การจ่ายเงินให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิ จากความคลาดเคลื่อนของฐานข้อมูลคนพิการของ พม. อปท. กทม. และเมืองพัทยาที่นำส่งให้กรมบัญชีกลาง ซึ่งส่งผลให้กรมบัญชีกลางจ่ายเงิน  ให้แก่ผู้ที่ไม่มีสิทธิตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการจำนวน 1,032 ราย           (1) กรณีมีการจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่ไม่มีสิทธิตามโครงการฯ กค. จะทำการเรียกเงินคืน โดยจะดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กค. และ พม. และให้กรมบัญชีกลางดำเนินการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิตามโครงการฯ ที่ถูกต้องต่อไปได้ โดยไม่ต้องรอเงินที่จะเรียกคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิตามโครงการฯ แต่ละราย ทั้งนี้ ให้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ
(2) กรณีมีการจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่ไม่มีสิทธิตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กค. จะดำเนินการ ดังนี้
(2.1) หากผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐยังไม่เคยได้รับเงินตามโครงกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กค. จะไม่ทำการเรียกเงินคืน โดยให้ถือว่าได้รับสิทธิตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐแทน ทั้งนี้ ให้ถือเป็นการใช้จ่ายจากเงินงบประมาณตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ได้รับอนุมัติแล้ว และหากงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการไม่เพียงพอให้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการที่ได้รับอนุมัติแล้ว โดยให้หารือแนวทางการดำเนินการกับ สงป. ต่อไป
(2.2) หากผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเคยได้รับเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปก่อนหน้าแล้ว ทั้งนี้ กค.จะดำเนินการเรียกเงินคืนโดยวิธีการมอบอำนาจให้ พม. ดำเนินการ
(3) กลุ่มเป้าหมายเสียชีวิตหรือถูกจำหน่ายออกจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางหลังจากวันที่มีการตรวจสอบสถานการณ์ชีวิตกับกรมการปกครอง ซึ่งได้รับการจ่ายเงินไปจำนวน 4,895 ราย          กรมบัญชีกลางจะตรวจสอบสถานะการมีชีวิตกับกรมการปกครอง โดยใช้ฐานข้อมูลของกรมการปกครอง ณ สิ้นวันก่อนหน้า (T - 1) ของวันที่กรมบัญชีกลางส่งข้อมูลไปตรวจสอบ (T) เพื่อตัดสิทธิบุคคลที่เสียชีวิตหรือถูกจำหน่ายออกจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางก่อนจัดทำข้อมูลสำหรับการจ่ายเงินตามโครงการฯ ดังนั้น หากผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินตามโครงการฯ แต่เสียชีวิตในวันที่หรือภายหลังจากวันที่กรมบัญชีกลางส่งข้อมูลไปตรวจสอบสถานะการมีชีวิตกับกรมการปกครองดังกล่าว ก็ให้ถือว่า บุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินตามโครงการฯ
(4) กลุ่มเป้าหมายภายใต้โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ ที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม่สามารถแก้ไขข้อมูลบัตรประจำตัวคนพิการให้สมบูรณ์ได้ จำนวน 6,627 ราย เนื่องจากสาเหตุ เช่น หายจากความพิการแล้ว เป็นต้น จึงจะไม่สามารถได้รับสิทธิตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ          (1) ควรปรับปรุงจำนวนกลุ่มเป้าหมายขอโครงการฯ ให้สอดคล้องตามสิทธิที่เกิดขึ้นจริง โดยให้ กค. ตรวจสอบข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย ณ วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อนการจ่ายเงินตามโครงการอีกครั้งหนึ่ง
(2) กรณีเป็นผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ
ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e - KYC) สำเร็จแล้ว ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของ กค. ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 เห็นควรให้ได้รับสิทธิตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐโดยรวมอยู่ในกลุ่มผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e - KYC) สำเร็จแล้วตามฐานข้อมูลโครงการ
ลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของ กค. และไม่เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามฐานข้อมูลของ พก. พม. ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 โดยให้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้รับอนุมัติแล้ว ทั้งนี้ หากงบประมาณไม่เพียงพอให้ใช้จากเงินงบประมาณตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ ที่ได้รับอนุมัติแล้ว โดยให้หารือแนวทางการดำเนินการกับ สงป. ต่อไป อย่างไรก็ดี กรณีไม่ได้เป็นผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e - KYC) สำเร็จแล้ว ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของ กค. ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 จะเป็นผู้อยู่นอกกลุ่มเป้าหมายโครงการฯ ซึ่งกรมบัญชีกลางไม่สามารถจ่ายเงินให้ได้
(5) คนพิการที่ลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยาในเดือนสิงหาคม 2567 เพิ่มเติม จำนวน 223 ราย
ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้มีสิทธิที่ตกหล่นจากกลุ่มเป้าหมายเดิม          ให้คนพิการที่ลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยความพิการในเดือนสิงหาคม 2567 ได้รับสิทธิตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ ในกลุ่มคนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูลของ พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา และไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแต่ไม่ได้ยืนยันตัวตน (e - KYC) ภายในที่ 31 สิงหาคม 2567) ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของ กค. โดยให้ใช้จ่ายจากเงิน
งบประมาณตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการที่ได้รับอนุมัติแล้ว ทั้งนี้ คนพิการดังกล่าวจะต้องดำเนินการต่ออายุหรือทำบัตรประจำตัวคนพิการ ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวนี้ให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ
(6) กรณีอื่น ๆ ที่พบความคลาดเคลื่อนของฐานข้อมูล เช่น การแจ้งเสียชีวิต หรือจำหน่ายผิด จำนวน 3 ราย และข้อมูลบุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัด พม. มีความคลาดเคลื่อนจำนวน 3 ราย          ให้สิทธิการได้รับเงินตามโครงการฯ แก่ผู้ที่ถูกตัดสิทธิอันเนื่องมาจากข้อมูลของหน่วยงานของรัฐมีความคลาดเคลื่อน เช่น ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ฐานข้อมูลบุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัดของ พม. เป็นต้น ซึ่งได้รับการคืนสถานภาพบุคคลหรือปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องแล้ว โดยให้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติแล้วในส่วนที่ผู้มีสิทธิพึงจะได้รับ
(7) กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงช่องทางการรับเงิน แต่ข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน ทำให้กรมบัญชีกลางยังไม่ได้สั่งจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวในรอบการ Retry ครั้งที่ 1 จำนวน 96 ราย          กรณีกลุ่มเป้าหมายได้ดำเนินการแจ้งเปลี่ยนแปลงช่องทางการรับเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด ได้แก่ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2567 สำหรับการ Retry ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 สำหรับการ Retry ครั้งที่ 2 และภายในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 สำหรับการ Retry ครั้งที่ 3 แต่ข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลของหน่วยงานของรัฐมีความคลาดเคลื่อน ทำให้กรมบัญชีกลางยังไม่ได้สั่งจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวในรอบการ Retry ให้กรมบัญชีกลางจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวในรอบการ Retry ต่อไปได้ โดยไม่ต้องตรวจสอบสถานะการมีชีวิตกับกรมการปกครองอีกครั้งหนึ่ง
หมายเหตุ : จำนวนคนที่เข้าข่ายจะได้รับการแก้ไขปัญหาข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อเท็จจริง


ต่างประเทศ
30. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 จำนวน 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1.  ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคลครั้งที่ 5 จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างปฏิญญาเสียมราฐ อังกอร์ เรื่อง โลกที่ปราศจากทุ่นระเบิด สังหารบุคคล ค.ศ. 2024 (Draft Siem Reap-Angkor Declaration on a Mine-Free World 2024) และ (2) ร่างแผนปฏิบัติการเสียมราฐ-อังกอร์ ค.ศ. 2025-2029 (Draft Siem Reap-Angkor Action Plan 2025-2029) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างเอกสารข้างต้นในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ หรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทย อนุมัติให้ กต. พิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้อง ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    2. ให้อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ (นางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม) ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 หรือผู้แทน ร่วมรับรองและลงนามร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ จำนวน 2 ฉบับข้างต้น
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างเอกสารจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างปฏิญญาเสียมราฐ-อังกอร์ เรื่อง โลกที่ปราศจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ค.ศ. 2024 มีสาระสำคัญย้ำเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของรัฐภาคีที่จะยุติความทุกข์ทรมานและการสูญเสียจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล รวมถึงให้คำมั่นที่จะรักษาและเสริมสร้างบรรทัดฐานที่ต่อต้านการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ซึ่งรวมถึงการเร่งรัดการสำรวจและเก็บกู้ทุ่นระเบิด (2) ร่างแผนปฏิบัติการเสียมราฐ-อังกอร์ ค.ศ. 2025-2029 มีสาระสำคัญครอบคลุมการดำเนินการ 6 มิติ เช่น เร่งการเสริมสร้างความพยายามเพื่อให้อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาฯ) มีความเป็นสากล การทำลายและการเก็บรักษาทุ่นระเบิดสังหารบุคคลคงคลัง การสำรวจและเก็บกู้พื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิดสังหารบุคคล โดยจะมีการรับรองและลงนามของเอกสารดังกล่าวในการประชุมทบทวนอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 25 - 29 พฤศจิกายน 2567 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ทั้งนี้ กต. แจ้งว่า ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทย กรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่มีข้อขัดข้อง และ กต. เห็นว่า ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ทั้ง 2 ฉบับ ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 รัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย
                    2. ประโยชน์ : การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ จำนวน 2 ฉบับ ดังกล่าว เป็นการย้ำจุดยืนและความมุ่งมั่นของไทยในการอนุวัติการตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคลร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศ และกำหนดทิศทางการอนุวัติการตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ ในระยะ 5 ปีต่อไป เพื่อลดผลกระทบทางมนุษยธรรมจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน สอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศของไทย ได้แก่ มีความมั่นคง (security) มีความมั่งคั่งยั่งยืน (Sustainability) มีมาตรฐานสากล (standard) มีสถานะและเกียรติภูมิ (Status) และมีพลัง (synergy)

31. เรื่อง ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีสำหรับการประชุม IAEA Ministerial Conference on Nuclear Science, Technology and Applications and the Technical Cooperation Programme
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีสำหรับการประชุม IAEA Ministerial Conference on Nuclear Science, Technology and Applications and the Technical Cooperation Programme (ร่างปฏิญญาฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย (ไทย) ให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย สำหรับการประชุมดังกล่าวดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                     2. เห็นชอบให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ ระหว่างการประชุม IAEA Ministerial Conference on Nuclear Science, Technology and Applications and the Technical Cooperation Programme (การประชุมฯ) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย (ออสเตรีย)
                    สาระสำคัญ
                    อว. รายงานว่า
                    1. ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) มีกำหนดจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงเวียนนา ออสเตรีย ซึ่งกำหนดให้มีการรับรองร่างปฏิญญาฯ โดยผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากรัฐสมาชิก IAEA เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาดังกล่าวเป็นการเน้นย้ำความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนการกำกับดูแลทางนิวเคลียร์ การสร้างความรู้ความเข้าใจ ต่อสาธารณชน รวมถึงบทบาทของ IAEA โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือเชิงวิชาการ (Technical Cooperation Programme: TCP) ซึ่งเป็นกลไกหลักเพื่อสนับสนุนรัฐสมาชิกในการสร้าง ส่งเสริม และรักษาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์อย่างปลอดภัยและยั่งยืน และจะเป็นข้อริเริ่มการดำเนินการของ IAEA ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและการแสวงหาแหล่งเงินทุน
                    2. ร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น
                              1) การตระหนักถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทางนิวเคลียร์ที่ช่วยแก้ปัญหาความท้าทายของโลกที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิด และสนับสนุนให้รัฐสมาชิกสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
                              2) การตระหนักถึงบทบาทของโครงการความร่วมมือเชิงวิชาการในการส่งต่อองค์ความรู้การสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยี เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญ เพื่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติในด้านต่าง ๆ
                              3) การสนับสนุนให้รัฐสมาชิกมุ่งมั่นดำเนินการตามหน้าที่ และความรับผิดชอบร่วมกัน โดยต้องชำระเงินอย่างเต็มจำนวนและตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
                              4) การรับทราบการสนับสนุนของ IAEA ในการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการความร่วมมือในการควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ (ZODIAC) โครงการเทคโนโลยีทางนิวเคลียร์ สำหรับการควบคุมขยะพลาสติก (NUTEC Plastics)
                              5) การตระหนักถึงความจำเป็นในการสนับสนุนให้ผู้หญิงทำงานด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์มากขึ้นเพื่อสร้างโอกาสและการมีส่วนร่วมของผู้หญิงได้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการเสริมสร้างสมรรถนะด้านนิวเคลียร์ให้แก่เจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ เพื่อบ่มเพาะให้บุคลากรสามารถคิดค้นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
                    ประโยชน์ที่จะได้รับ ไทยจะได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการความร่วมมือเชิงวิชาการในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือ รวมทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้บุคลากรจากไทยได้รับการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาต่าง ๆ นอกจากนี้ การรับรองร่างปฏิญญาฯ จะเป็นการแสดงออก ในเชิงสัญลักษณ์ถึงความมุ่งมั่นของไทยในการผลักดันการใช้ประโยชน์จากพลังงานและเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อการพัฒนาประเทศ

32. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบยุทธศาสตร์คุนหมิงสำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรอาหาร ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 2030
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างกรอบยุทธศาสตร์คุนหมิงสำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรอาหารภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 2030 (GMS 2030 Kunming Strategic Framework for Transformation of Agrifood Systems) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองร่างกรอบยุทธศาสตร์คุนหมิงสำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรอาหารภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 2030 (GMS 2030 Kunming Strategic Framework for Transformation of Agrifood Systems) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                     สาระสำคัญ
                    1. การประชุมรัฐมนตรีเกษตรของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 (The 3rd  GMS Agricultural Ministers? Meeting) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 22 พฤศจิกายน 2567 ณ นครคุณหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน และที่ประชุมฯ จะพิจารณารับรองร่างเอกสาร 1 ฉบับ คือ ร่างกรอบยุทธศาสตร์คุนหมิงสำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรอาหาร ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 2030 (GMS 2030 Kunming Strategic Framework for Transformation of Agrifood Systems)
                    2. ร่างกรอบยุทธศาสตร์คุนหมิงฯ มีสาระสำคัญ โดยเป็นกรอบยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานด้านการเกษตรของประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2568-2573) เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานและความพร้อมในการรับมือต่อผลกระทบและความท้าทายที่เป็นภัยต่อความยั่งยืน และความสามารถในการฟื้นตัวของระบบเกษตรอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และการเสื่อมสภาพของสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร โดยมุ่งเน้นการยกระดับความร่วมมือของอนุภูมิภาค การเสริมสร้างขีดความสามารถ และสนับสนุนเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ 1) การเกษตรที่มีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและมีความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพอากาศ 2) ระบบความปลอดภัยทางอาหาร คุณภาพ และการตรวจสอบย้อนกลับ 3) ความหลากหลายทางอาหารและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงประเด็น Cross-cutting Issues ได้แก่ เยาวชน ความเท่าเทียมทางเพศ และกลุ่มที่ด้อยโอกาส เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม การมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชนในกลไกทางการเงิน
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    กรอบยุทธศาสตร์คุนหมิงฯ เป็นการแสดงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการแก้ไขปัญหาความท้าทายที่เป็นภัยต่อความยั่งยืนและความสามารถในการฟื้นตัวของระบบเกษตรอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และการเสื่อมสภาพของสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร โดยกรอบการดำเนินงานในการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรอาหาร โดยให้ทุกภาคส่วนบูรณาการร่วมกัน ครอบคลุม และมีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์เกษตรอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคอาหารคุณภาพสูง ปลอดภัย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งในตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ กรอบยุทธศาสตร์ยังตระหนักถึงความสำคัญของการให้การสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย สตรี เยาวชน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่มักถูกละเลยในระบบเกษตรแบบดั้งเดิม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดสามารถเข้าถึงทรัพยากร โอกาส และประโยชน์ทางการตลาดได้อย่างเท่าเทียมกัน

33. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 30 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีขนส่ง อาเซียน ครั้งที่ 30 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ) จำนวน 9 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ คค. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้ง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 30 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีการรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะยกระดับมาตรฐานด้านการขนส่งของอาเซียนให้สอดรับกับแนวทางด้านการอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย การประหยัดพลังงาน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการรักษาสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ และสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของอาเซียน ปี 2559 - 2568 รวมถึงการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มั่นคงและยั่งยืน โดยมีจำนวนทั้งหมด 9 ฉบับ ดังนี้
1. ร่างเอกสารกรอบแนวทางด้านต่าง ๆ
(1) ร่างแนวทางอาเซียนด้านยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (ASEAN Guidelines on Light Electric Vehicles)
(2) ร่างแนวทางอาเซียนด้านการขนส่งสินค้าในเมือง (ASEAN Guidelines on Urban Freight Transport)
(3) ร่างแนวทางอาเซียนด้านการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนของท่าเรือ (ASEAN Guidelines on Port Sector Public Private Partnership)
(4) ร่างแนวทางอาเซียนด้านดิจิทัลและระบบอัตโนมัติของท่าเรือ (ASEAN Guidelines on Port Digitalisation and Automation)
2. ร่างแถลงการณ์ร่วมต่าง ๆ
(5) ร่างแถลงการณ์ร่วมกัวลาลัมเปอร์ ค.ศ. 2024 รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนว่าด้วย
ความปลอดภัยทางถนน (ASEAN Ministerial Statement on Kuala Lumpur 2024
Road Safety Framework)
(6) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียนครั้งที่ 30 [The Thirtieth ASEAN Transport Ministers Meeting (30th  ATM) Joint Ministerial Statement]
(7) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน - จีน ครั้งที่ 23 [The Twenty - Third ASEAN-China Transport Ministers Meeting (23rd  ATM + China) Joint Ministerial Statement]
(8) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่ง อาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 22 [The Twenty ? Second ASEAN ? Japan Transport Ministers Meeting (22nd  ATM + Japan) Joint Ministerial Statement]
(9) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่ง อาเซียน - เกาหลี ครั้งที่ 15 [The Fifteenth ASEAN and Republic of Korea Transport Ministers Meeting (15th  ASEAN + ROK) Joint Ministerial Statement]

34. เรื่อง ร่างพิธีสารการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยและอุซเบกิสถาน ภายใต้กระบวนการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของอุซเบกิสถาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในสารัตถะของร่างพิธีสารการเจรจาทวิภาคีระหว่างประเทศไทย (ไทย) และสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (อุซเบกิสถาน) ภายใต้กระบวนการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization (WTO)] ของอุซเบกิสถาน (ร่างพิธีสารฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างพิธีสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้ง มอบหมายให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก [World Intellectual Property, Organization (WIPO)] หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย                   เป็นผู้ลงนามในร่างพิธีสารฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในสารัตถะของร่างพิธีสาร              การเจรจาทวิภาคีระหว่างประเทศไทย (ไทย) และสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (อุซเบกิสถาน) ภายใต้กระบวนการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization (WTO)] ของอุซเบกิสถาน                          (ร่างพิธีสารฯ) ซึ่งเป็นพิธีสารที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงผลการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยและอุซเบกิสถาน เพื่อนำไปสู่การบรรลุข้อตกลงในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่อุซเบกิสถานจะให้ในกรอบ WTO ตามกระบวนการภาคยานุวัติ เป็นสมาชิก WTO ซึ่งประกอบด้วยการลดภาษีสินค้านำเข้าและข้อผูกพันเฉพาะด้านการค้าบริการของอุซเบกิสถานต่อไทยที่บรรจุอยู่ในร่างพิธีสารฯ โดยไทยเห็นว่า การสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของอุซเบกิสถานผ่านการลงนามในร่างพิธีสารฯ โดยเร็วจะเป็นโอกาสอันดีในการแสดงการมีส่วนร่วมในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงจัดให้มีการลงนามร่างพิธีสารฯ ในห้วงการประชุม คณะทำงานการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิก WTO ของอุซเบกิสถาน ครั้งที่ 9 ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเกี่ยวกับเรื่องในลักษณะนี้มาแล้วหลายครั้ง เช่น มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 เห็นชอบในสารัตถะของร่างพิธีสารสรุปความตกลงเปิดตลาดทวิภาคีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเซเชลส์ (เซเซลส์) ภายใต้กระบวนการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเซเซลส์ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 เห็นชอบในสารัตถะของร่างพิธีสารว่าด้วยการเปิดตลาดทวิภาคีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐไลบีเรีย (ไลบีเรีย) ภายใต้กระบวนการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไลบีเรียและล่าสุดมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบในสารัตถะของร่างพิธีสารการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ - เลสเต (ติมอร์ เลสเต)
                    2. พณ. แจ้งว่า ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก WTO ที่สรุปผลการเจรจาทวิภาคี กับอุซเบกิสถานแล้วแต่ยังมิได้ลงนามในร่างพิธีสารฯ จึงเห็นควรให้มีการเร่งรัดกระบวนการลงนาม เพื่อสนับสนุนให้อุซเบกิสถานเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยเร็ว โดยไทยจะได้รับประโยชน์ จากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของอุซเบกิสถาน ผ่านการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรให้กับสินค้าไทย ในการผลิตและส่งออกสู่ตลาดอุซเบกิสถาน  เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ กระดาษ พลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ ข้าว อาหารปรุงแต่ง กุ้งแช่แข็งและอาหารสัตว์ รวมถึงช่วยขยายโอกาส ทางการลงทุนและตลาดบริการในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น บริการการท่องเที่ยว และบริการ การขนส่ง ผ่านการเปิดตลาดการค้าบริการ นอกจากนี้ การลงนามในพิธีสารฯ ระหว่างไทย และอุซเบกิสถานจะเป็นโอกาสที่ดีของไทยที่จะแสดงบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศของอุซเบกิสถานในกระบวนการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุน ให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ และมีความโปร่งใสในตลาดการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น

35. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Bangkok Declaration) ที่จะมีการรับรองในการประชุมสุขภาพช่องปากโลก (WHO Global Health Meeting)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Bangkok Declaration) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ของไทย คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาดังกล่าว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงสาธารณสุขมีกำหนดการร่วมกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) จัดการประชุมสุขภาพช่องปากโลก (WHO Global Oral Health Meeting) ระหว่างวันที่ 26 - 29 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการประชุมองค์การอนามัยโลกได้เสนอร่างเอกสารปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เพื่อขอการรับรองในการประชุมสุขภาพช่องปากโลก
                    2. ร่างปฏิญญาดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกัน                    ของผู้แทนรัฐสมาชิกและภาคส่วนต่าง ๆ ที่มาร่วมประชุม ในการสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากอย่างเร่งด่วน รวมทั้งเรียกร้องให้สนับสนุนการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้านสุขภาพช่องปาก โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
                      ประโยชน์และผลกระทบ
                    การรับรองร่างปฏิญญาฯ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านสาธารณสุขและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งเป็นผู้นำในการแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะประเด็นสุขภาพช่องปากในเวทีสุขภาพโลก

36. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 18 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 11
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 18 (18th  ASEAN Defence Ministers Meeting: 18th  ADMM) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจาครั้งที่ 11 (11th  ASEAN Defence Ministers? Meeting Plus: 11th  ADMM - Plus) (ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ) จำนวน 5 ฉบับ ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กห. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก  รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองและให้ความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. การประชุม ADMM ครั้งที่ 18 และการประชุม ADMM - Plus ครั้งที่ 11 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 21 พฤศจิกายน 2567 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ซึ่งในการประชุมดังกล่าวจะมีการรับรองและอนุมัติร่างเอกสาร จำนวน 5 ฉบับ เพื่อใช้เป็นเอกสารผลลัพธ์ฯ ของการประชุมดังกล่าว รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              1. ร่างเอกสารที่จะรับรอง จำนวน 3 ฉบับ
ร่างเอกสาร          สาระสำคัญ
1) ร่างปฏิญญาร่วมเวียงจันทน์ของการประชุม ADMM ว่าด้วย ความร่วมมือเพื่อให้อาเซียนเกิดสันติสุข ความมั่นคง และความเข้มแข็ง ของภูมิภาค          - เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ที่ให้ความสำคัญต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความเป็นแกนกลางของอาเซียน ในการรับมือกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายใต้บริบทโลกในปัจจุบัน

2) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุม ADMM - Plus ว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและภัยพิบัติ ทางธรรมชาติอื่น ๆ          - เป็นเอกสารแสดงความมุ่งมั่นถึงความพยายามร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียนและประเทศคู่เจรจาในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างและพัฒนา ขีดความสามารถในการป้องกันและรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
สภาพอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยใช้กลไกการดำเนินการในกรอบ                    การประชุม ADMM - Plus รวมทั้งแสวงหากลไกความร่วมมือใหม่ ๆ ตลอดจนความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

๓) ร่างระเบียบการปฏิบัติ สำหรับประเทศผู้สังเกตการณ์
ในกิจกรรมของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในกรอบการประชุม ADMM ? Plus          - เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อประเทศผู้สังเกตการณ์
ในกิจกรรมของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในกรอบการประชุม ADMM ? Plus เช่น การกำหนดการมีส่วนร่วมของประเทศผู้สังเกตการณ์ กรอบระยะเวลาสำหรับการรับสมัคร/การแจ้งผล การประเมินโครงการ
- มีสาระสำคัญ เช่น การกำหนดระเบียบปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และแนวทางในการเข้าร่วมกิจกรรม ให้มีความชัดเจน โปร่งใส และครอบคลุม เพื่อให้ภาคีนอกภูมิภาคเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมความร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถให้กับอาเซียนภายใต้กรอบการประชุม ADMM - Plus

                              2. ร่างเอกสารที่จะอนุมัติ จำนวน 2 ฉบับ
1. ร่างเอกสารยุทธศาสตร์ เพื่อการเตรียมความพร้อมในอนาคตของการประชุม ADMM และการประชุม ADMM - Plus          - เป็นเอกสารที่จัดทำตามเจตนารมณ์เชิงนโยบายเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียน ค.ศ. 2025 และสนับสนุนการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี ค.ศ. 2045 อีกทั้งได้ระบุประเด็นความท้าทายโดยมองไปในอนาคตข้างหน้า เพื่อให้กลไกการประชุม ADMM และการประชุม ADMM - Plus สามารถรับมือสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์
- วัตถุประสงค์เพื่อยืนยันความสำคัญของการประชุม ADMM - Plus ในฐานะเป็นกลไกที่เปิดกว้าง ครอบคลุม และเป็นกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ รวมทั้งเป็นเวทีหลักในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

(2) ร่างเอกสารการจัดการฝึกผสมทางทะเลระหว่างอาเซียน ? สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 2           - เป็นเอกสารกำหนดกรอบแนวทางสำหรับการจัดการฝึกผสมทางทะเลระหว่างอาเซียน กับสหรัฐอเมริกา ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามความเป็นหุ้นส่วน เชิงยุทธศาสตร์ของอาเซียน - สหรัฐอเมริกา ระหว่าง ค.ศ. 2021 - 2025 ที่มุ่งเสริมสร้าง ความร่วมมือด้านกลาโหม ตลอดจนการส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยทางทะเล
- วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านกลาโหมอย่างต่อเนื่อง ผ่านการหารือในระดับต่าง ๆ การแลกเปลี่ยน การเยือน                 การฝึกอบรม การเสริมสร้างด้านความมั่นคงในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องและมีอยู่
                              3. ประโยชน์ที่จะได้รับ: ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายด้านความมั่นคงในการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียนและระหว่างกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาให้ครอบคลุมในทุกมิติในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ รวมทั้งเป็นการพัฒนา และส่งเสริมความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคาม ด้านความมั่นคงของภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานความเป็นแกนกลางของอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และเป็นสิ่งที่ กห. ดำเนินการมาต่อเนื่องในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนอย่างยั่งยืน

แต่งตั้ง

37. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
                        คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้
                        1. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
                            (นางสาวจิราพร สินธุไพร)
                        2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
                            (นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล)
                        ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป

38.  เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                        คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
                        1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
                            (นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์)
                        2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                            (นายสรวงศ์ เทียนทอง)
                       ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
                      ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป

40. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศเพื่อดำรงตำแหน่งแทนผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ (กระทรวงกลาโหม)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสนอแต่งตั้ง นายพรเทพ ศรีสอ้าน เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเศรษฐศาสตร์ หรือบริหารธุรกิจ) ในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเนื่องจากขอลาออก
                      ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป

41.  เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ วาระปี พ.ศ. 2567 (กระทรวงยุติธรรม)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ จำนวน 9 คน  เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้
                      1. นายเพ็ชร ชินบุตร (ด้านเศรษฐศาสตร์)
                      2. นายณปกรณ์ ธนสุวรรณเกษม (ด้านการเงินการธนาคาร)
                      3. นางดวงตา ตันโช (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ)
                      4. นายชาติพงษ์ จีระพันธุ (ด้านกฎหมาย)
                      5. นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์  (ด้านกฎหมาย)
                      6. นางทัชมัย ฤกษะสุต (ด้านกฎหมาย)
                      7. พลตำรวจเอก สุทิน ทรัพย์พ่วง (ด้านการสอบสวนคดีอาญา)
                      8. พลตำรวจโท สำราญ นวลมา  (ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
                     9. พลตำรวจเอก มนู เมฆหมอก  (ด้านการปราบปรามผู้มีอิทธิพล)
                      ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป

42. เรื่อง การสรรหากรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐแทนตำแหน่งที่ว่าง  (สำนักงาน ป.ป.ท.)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอ นายสุภัทร์ สุทธิมนัส และนายวรวิทย์ จำปีรัตน์ เป็นบุคคลที่คณะรัฐมนตรีสรรหาและเสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เพื่อคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (กรรมการ ป.ป.ท.) แทนนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ และ                           พลเอก จิระ โกมุทพงศ์ กรรมการ ป.ป.ท. เดิมที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567                        ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                      ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ