สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ชุด นางสาวแพทองธาร ชินวัตร(นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 ธันวาคม 2567

ข่าวการเมือง Wednesday December 11, 2024 18:06 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (11 ธันวาคม 2567) เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา                                                  ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  เชียงใหม่ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง            ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยการ                                                  คุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551

จำนวน 4 ฉบับ

                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์                                         วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง            ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น                                                  รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว                                                  ภายในประเทศ)
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและ                                                  การให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ ? สังคม

                    7.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินมาตรการลดภาระ                                        ค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน 2567
                    8.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติ                                        ว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ                                                   พ.ศ. 2566
                    9.           เรื่อง           การกำหนด QR Code บนแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดก่อสร้างของทางราชการ
                    10.           เรื่อง           มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ                                                  ขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) และมาตรการช่วยเหลือ                                        ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ต่างประเทศ
                    11.           เรื่อง           ร่างหนังสือข้อตกลงสำหรับการจัดหาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษวานร
                    12.           เรื่อง           พิจารณาร่างกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระบบเชื่อมโยงข้อมูล                                                  อิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว สำหรับการค้าข้ามแดนระหว่างกรมศุลกากรแห่ง                                                  ราชอาณาจักรไทยกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
                    13.           เรื่อง           การภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการใช้การ                                                            ติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศ [United Nations                                                   Convention on the Use of Electronic Communications in International                                         Contracts (New York, 2005)]
                    14.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้ง                                                  คณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง                                        สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์และแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ                                        ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
                    15.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการเข้าร่วมข้อริเริ่ม SheTrades Outlook ของ International                                         Trade Center
                    16.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน

ด้านสตรี ครั้งที่ 5 (5th AMMW Meeting)

                    17.           เรื่อง           ร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ                                                  เกาหลีว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ
                    18.           เรื่อง           การต่ออายุบันทึกความเข้าใจสำหรับการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของคลังเก็บ                                                  สิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน (Satellite Warehouse)

ภายใต้โครงการ DELSA

                    19.           เรื่อง            ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือประจำปี   (Annual Consultation)

ครั้งที่ 7 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย

                    20.           เรื่อง           การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งมาเลเซียและรัฐบาลแห่ง                                                  ราชอาณาจักรไทยว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ศิลปะและมรดกทาง                                                  วัฒนธรรม
                    21.            เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความ                                        ตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  ระดับรัฐมนตรี                                                   ครั้งที่ 9
                    22.           เรื่อง           แผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 ? 2573
                    23.           เรื่อง           การเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน World Championships for                                         Marching Show Bands ในปี พ.ศ. 2570 และ ปี พ.ศ. 2571
                    24.           เรื่อง           การเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO)

ปี 2568-2569

                    25.           เรื่อง           พิธีสารฉบับที่สองเพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-                                                  ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

แต่งตั้ง

                    26.          เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (กระทรวงสาธารณสุข)
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (กระทรวงสาธารณสุข)
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    31.           เรื่อง            การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                                       (กระทรวงวัฒนธรรม)
                    33.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    34.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน                                                  ประชาชน (กระทรวงการคลัง)
                    35.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า

(กระทรวงพาณิชย์)

?

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ               เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยาฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญ

                    ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาฯ มีสาระสำคัญเป็น                   การกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาสำหรับสาขาวิชาเทคโนโลยี และสาขาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ ที่ได้เปิดสอนเพิ่มขึ้น

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา มีดังนี้

1) กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาเทคโนโลยีมีปริญญาสองชั้น คือ

(ก) โท เรียกว่า ?เทคโนโลยีมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.ม.?

(ข) ตรี เรียกว่า ?เทคโนโลยีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ทล.บ.?

                    2) กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์                      มีปริญญาสามชั้น คือ

(ก) เอก เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.ด.?

(ข) โท เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.ม.?

(ค) ตรี เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.บ.?

3) กำหนดสีประจำสาขาวิชาดังนี้

3.1 สาขาวิชาเทคโนโลยี ?สีเขียว?

3.2 สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ ?สีแดงเลือดนก?

2. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงาน                  ตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

                    1. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง                มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ ทส. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ                             สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและ                      ทางธรรมชาติ พ.ศ. 2559 ในส่วนของคุณสมบัติกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยเพิ่มเติมความรู้ความสามารถ                        ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และแก้ไขเรื่องอายุ จากมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี เป็นมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ (เดิมไม่กำหนด) และเพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (เดิมไม่กำหนด) นอกจากนี้ได้แก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจากเดิมมีหน้าที่ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน เป็นเพิ่มเติมหน้าที่ประสานความร่วมมือรัฐวิสาหกิจ เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกสามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างครอบคลุม
                    2. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง                 มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ พ.ศ. 2559 มีสาระสำคัญ ดังนี้

ประเด็น          ระเบียบฯ พ.ศ. 2559          ร่างระเบียบฯ
คุณสมบัติกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ          - ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่า
5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน ซึ่ง นรม. แต่งตั้งจากบุคคล ซึ่งมีความรู้ความสามารถ มีผลงาน หรือประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านศิลปกรรมศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการอนุรักษ์ ด้านสังคมศาสตร์                     ด้านมานุษยวิทยาหรือ                       ด้านกฎหมายเป็นกรรมการ
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี           - ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่า
5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน ซึ่ง นรม. แต่งตั้งจากบุคคล ซึ่งมีความรู้ความสามารถ มีผลงาน หรือประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการอนุรักษ์ ด้านสังคมศาสตร์ ด้านมนุษยวิทยา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือด้านกฎหมายเป็นกรรมการ
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และไม่เกิน 70 ปีบริบรูณ์
วาระการดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ          - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระ     การดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งและอาจได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกได้          - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งและอาจได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
อำนาจหน้าที่ กอม.          - ประสานงานและติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน มาตรการ และกลไก รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุน เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการอนุรักษ์     มรดกโลก           - ประสานงานและติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน มาตรการ และกลไก รวมทั้งประสานการร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุน เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 จำนวน 4 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์               พ.ศ. 2551 จำนวน 4 ฉบับ (1) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ พ.ศ. .... (2) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. .... (3) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตและการประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ พ.ศ. .... (เกม/คาราโอเกะ) และ (4) ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการภาพยนตร์และกิจการวีดิทัศน์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

ร่างกฎกระทรวง รวม 4 ฉบับ ที่ วธ. เสนอมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ กิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และกิจการร้านวีดิทัศน์ (เกม/คาราโอเกะ) เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทในปัจจุบันและสอดคล้องกับหลักการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย รวมทั้งเป็นการลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในด้านต่าง ๆ โดยแบ่งร่างกฎกระทรวงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. ร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขออนุญาตประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ พ.ศ. .... (2) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. .... และ (3) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตและการประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ พ.ศ. .... (เกม/คาราโอเกะ) โดยร่างกฎกระทรวง จำนวน 3 ฉบับดังกล่าวเป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้เหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน และเพื่อลดภาระและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในด้านต่าง ๆ ในประเด็นดังต่อไปนี้

ประเด็น          กฎกระทรวง
ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน          ร่างกฎกระทรวง
ที่เสนอมาในครั้งนี้
1. การยื่นเอกสาร
ประกอบการขออนุญาต          ?          กำหนดให้การขอรับ
ใบอนุญาตและขอต่อใบอนุญาตต้องมีเอกสารประกอบการยื่นคำขอ อาทิ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีสัญชาติไทย
  • สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร กรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นคนต่างด้าว
  • รูปถ่ายของผู้ยื่นคำขอ
  • สำเนาหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล กรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคล
  • เอกสารของกรรมการ ผู้จัดการ หรือ ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนรูปถ่าย เป็นต้น
  • สำเนาใบอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพ
  • แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่ตั้งสถานประกอบการ
  • สำเนาใบอนุญาตเดิมหรือสำเนาใบแทนใบอนุญาต กรณีที่ขอต่อใบอนุญาต
?           ยกเลิก เพื่อเป็นการลดภาระ
แก่ประชาชน โดย วธ. สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
?           คงเดิม เนื่องจากยังไม่มีระบบ
ประสานข้อมูล และมีเอกสารที่ออกโดยต่างประเทศ




?           ยกเลิก เนื่องจากใบอนุญาตที่
กำหนดใหม่ไม่ต้องติดรูป ซึ่งเป็นการลดภาระประชาชน
?          คงเดิม เนื่องจากข้อมูลจาก
เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้ายังไม่แสดงข้อมูลทั้งหมด
?           ยกเลิก เพื่อเป็นการลดภาระแก่
ประชาชน


?          คงเดิม เนื่องจากยังไม่มีระบบ
ประสานข้อมูล
?          คงเดิม เนื่องจากไม่ใช่เอกสาร
ของทางราชการ
?          ยกเลิก เพื่อเป็นการลดภาระ
แก่ประชาชน
2. กระบวนการตรวจสอบคำขออนุญาต          - ไม่มี ?









- ไม่มี -          ?           กำหนดกระบวนการเกี่ยวกับ
การตรวจสอบคำขออนุญาตเพิ่มเติม โดยในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าคำขอไม่ถูกต้องหรือเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยหากไม่ดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนคำขอและจำหน่ายเรื่องออกจากระบบ
?          กำหนดกระบวนการกรณีผู้ขอรับ
ใบอนุญาตไม่ชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม โดยในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตภายใน 15 วันนับแต่ได้รับแจ้งว่าได้รับอนุญาต ให้ถือว่าผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะรับใบอนุญาตและให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
3. การแจ้งข้อมูลกรณีนิติบุคคลเปลี่ยนกรรมการผู้จัดการ หรือ ผู้มีอำนาจลงนาม          ?           กำหนดให้กรณีผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งการเปลี่ยนแปลงภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง          ?           ยกเลิก เพื่อเป็นการลดภาระแก่ประชาชน
4. การขอแก้ไขใบอนุญาต          - ไม่มี-          ?           กำหนดกระบวนการเกี่ยวกับการแก้ไขข้อมูลในใบอนุญาตเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตสามารถขอแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องตามความจริงได้
5. การยื่นคำขอและการแจ้ง          ?           กำหนดให้การยื่นคำขอและการแจ้งกระทำ ณ ท้องที่ที่กิจการตั้งอยู่           ?           กำหนดให้การยื่นคำขอและการแจ้งดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โดยในกรณีที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ให้กระทำ ณ ท้องที่ที่กิจการตั้งอยู่
6. ข้อกำหนดเกี่ยวกับกิจการร้านวีดิทัศน์          ?           กำหนดให้อาคารหรือสถานที่ตั้งของร้านวีดิทัศน์ที่ให้บริการเกมการเล่นต้องมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย อย่างละ 1 เครื่องในแต่ละชั้นที่ให้บริการเว้นแต่เป็นร้านวีดิทัศน์ที่มีพื้นที่ให้บริการชั้นเดียวกันและมีเครื่องมือสำหรับฉายหรือเล่นวีดิทัศน์ไม่ถึง 15 ชุด
?           กำหนดให้อาคารหรือสถานที่ตั้งของร้านวีดิทัศน์ที่ให้บริการคาราโอเกะต้องมีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 1 เครื่องในกรณีที่พื้นที่ให้บริการมีชั้นเดียว หรือมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย อย่างละ 1 เครื่องในแต่ละชั้นที่ให้บริการ ในกรณีที่พื้นที่ให้บริการมีมากกว่า 1 ชั้น           ?           กำหนดให้อาคารหรือสถานที่ตั้งของร้านวีดิทัศน์ที่ให้บริการเกมการเล่นต้องมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย อย่างละ 1 เครื่องในแต่ละชั้นที่ให้บริการ (กำหนดให้มีกล้องวงจรปิดและถังดับเพลิงทุกกรณี)


?           กำหนดให้อาคารหรือสถานที่ตั้งของร้านวีดิทัศน์ที่ให้บริการคาราโอเกะต้องมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย อย่างละ 1 เครื่องในแต่ละชั้นที่ให้บริการ(กำหนดให้มีกล้องวงจรปิดและถังดับเพลิงทุกกรณี)






                              2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการภาพยนตร์และ             วีดิทัศน์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการภาพยนตร์และกิจการวีดิทัศน์ เช่น โรงภาพยนตร์ ร้านเกม ร้านคาราโอเกะ ร้านจำหน่ายและให้เช่าภาพยนตร์ เป็นต้น ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐไม่พึงเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ดังนี้
ประเภทค่าธรรมเนียม          อัตราค่าธรรมเนียมปัจจุบัน          อัตราค่าธรรมเนียม
ตามร่างกฎกระทรวงนี้
1. ใบอนุญาตประกอบกิจการภาพยนตร์
  • ที่เป็นอาคารหรือส่วนใดของอาคาร
  • ที่เป็นสถานที่กลางแจ้ง

ฉบับละ 5,000 บาท

ฉบับละ 2,500 บาท

คงเดิม
2. ใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายภาพยนตร์          ฉบับละ 500 ? 3,000 บาท
ทั้งนี้ ตามพื้นที่ใช้สอยของสถานประกอบการ
3. ใบอนุญาตประกอบกิจการ                  ร้านวีดิทัศน์          ฉบับละ 1,000 ? 3,000 บาท
ทั้งนี้ ตามจำนวนเครื่องเล่นหรือฉายวีดิทัศน์
4. ใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดิทัศน์          ฉบับละ 500 - 3,000 บาท
ทั้งนี้ ตามพื้นที่ใช้สอยของสถานประกอบการ
5. การตรวจพิจารณาภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ที่ไม่มีลักษณะเป็นเกมการเล่น
  • กรณีที่เป็นฟิล์ม
  • กรณีที่เป็นวัสดุอื่น
นาทีละ 30 บาท
แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
นาทีละ 5 บาท
แต่ไม่เกิน 8,000 บาท
6. การตรวจพิจารณาวีดิทัศน์ที่มีลักษณะเป็นเกมการเล่น          นาทีละ 10 บาท
แต่ไม่เกิน 4,000 บาท
7. การตรวจพิจารณาสื่อโฆษณา          เรื่องละ 100 บาท          เรื่องละ 1 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยการ
เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฯ ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐไม่พึงเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่มีจำนวนเพียงเล็กน้อย
8. ใบแทนใบอนุญาต          เรื่องละ 50 บาท
9. การต่ออายุใบอนุญาต
  • โรงภาพยนตร์
  • ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์
  • ร้านวีดิทัศน์
  • ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์

ฉบับละ 1,000 บาท

ฉบับละ 500 บาท

ฉบับละ 500 บาท

ฉบับละ 500 บาท

คงเดิม
10. การเพิ่มขนาดพื้นที่ใช้สอยของสถานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ หรือการเพิ่มจำนวนเครื่องมือสำหรับฉายหรือเล่น                    วีดิทัศน์          ให้คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของขนาดหรือจำนวนที่เพิ่มขึ้นและอายุใบอนุญาตที่ยังเหลืออยู่          ให้คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของขนาดหรือจำนวนที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องคำนึงถึงอายุใบอนุญาตที่ยังเหลืออยู่เพื่อให้การคิดค่าธรรมเนียมมีความชัดเจน

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

                    พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 กำหนดให้กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นส่วนราชการและเป็นกรมในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีภารกิจในการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ โดยกำกับดูแล ส่งเสริม วิจัยพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นสถานปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี                 นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วให้บทบัญญัติเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นอันยกเลิก ซึ่งจะส่งผลให้เป็นการปรับเปลี่ยนบทบาทอำนาจหน้าที่และสถานะของกรมวิทยาศาสตร์บริการไปเป็นองค์การมหาชน อย่างไรก็ตาม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ฯ เสนอว่าการดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการตามมาตรา 38 มิอาจดำเนินการได้ เนื่องจากการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการไม่สามารถลดความทับซ้อนและเกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศได้และมีภาระงบประมาณในการจัดหาบุคลากร ครุภัณฑ์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งกรมวิทยาศาสตร์บริการมีการปรับเปลี่ยนงานที่ไม่เหมาะสมกับการดำเนินการในรูปแบบองค์การมหาชน เช่น การเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียน และการดำเนินการเป็นหน่วยระบบงานห้องปฏิบัติการ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องยกเลิกการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน อว.จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ

2. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 โดยยกเลิกมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ มีผลใช้บังคับ และให้ยุบเลิกกรมวิทยาศาสตร์บริการ การเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จะทำให้กรมวิทยาศาสตร์บริการยังคงเป็นส่วนราชการที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นองค์การมหาชนในทุกภารกิจ ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนและเปิดโอกาสให้มีการปฏิรูประบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศในแง่ของหน้าที่และอำนาจของกรมวิทยาศาสตร์บริการที่เป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศในด้านการทดสอบ สอบเทียบสินค้า วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน และเป็นสถานปฏิบัติการอ้างอิงให้กับภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรมและการค้า และการดำเนินกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ก่อนที่จะมีการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือเสนอจัดตั้งหน่วยงานใหม่

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

                    1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร                  (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ) ที่กระทรวงการคลังเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (4 มิถุนายน 2567) เห็นชอบมาตรการภาษีที่เพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ  (สำหรับนิติบุคคล) และมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา) และอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณามาแล้ว  รวมทั้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและกรมสรรพากรได้ยืนยันร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยมีสาระสำคัญเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการท่องเที่ยวและการจัดอบรมสัมมนาในจังหวัดท่องเที่ยวรองและในจังหวัดท่องเที่ยวอื่นภายในประเทศ ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season) ตั้งแต่ 1  พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 (รวม 7 เดือน) ดังนี้

1.1 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปในการจัดอบรมสัมมนาให้แก่ลูกจ้างภายในประเทศ

1) หักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวรอง เช่น จังหวัดสตูล จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดสุโขทัย หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของ กก. (พื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก) เช่น อำเภอเขาพนมและอำเภอปลายพระยาในจังหวัดกระบี่ และอำเภอบ้านบึงและอำเภอพนัสนิคมในจังหวัดชลบุรี

2) หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่ไม่ได้จัดขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดฯ (จังหวัดท่องเที่ยวหลัก) เช่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชลบุรี และกรุงเทพมหานคร

3) หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง ในกรณีไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใด เนื่องจากการจัดอบรมสัมมนาครั้งหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นในพื้นที่ต่อเนื่องกัน และให้หักรายจ่ายที่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใดตาม 1) หรือ 2) แล้วแต่กรณี

1.2 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าบริการหรือค่าที่พักในท้องที่ในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยสามารถหักลดหย่อนค่าบริการได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดและต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากรเท่านั้น

2. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไปแล้วเมื่อ (4 มิถุนายน 2567) มีกำหนดระยะเวลาดำเนินการจะสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 โดยได้มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการภาษีดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ โดยประชาชนที่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการนี้สามารถนำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ที่ออกโดยผู้ประกอบการมายื่นเพื่อหักลดหย่อนภาษีได้ในระบบยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากรในปีภาษี 2567 ได้ (ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 31 มีนาคม 2568)

3. กระทรวงการคลังได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดการณ์ว่า

                              3.1 การดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ                      (สำหรับนิติบุคคล) จะทำให้รัฐสูญเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 1,200 ล้านบาท

3.2 การดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา) จะทำให้รัฐสูญเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประมาณ 581.25 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ ช่วยสนับสนุนการบริโภคและส่งเสริมการจ้างงานสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการทั้งในและนอกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

6. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้นำความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตรวจพิจารณาแล้ว โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ โดยกำหนดให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยได้ขยายขอบเขตการบังคับใช้ให้ครอบคลุมถึงการให้บริการ และกำหนดเวลาการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน ลดขั้นตอนการอนุญาตที่ไม่จำเป็น มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการอนุญาตและการให้บริการภาครัฐและให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต เพียงเท่าที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นการลดภาระและต้นทุนของประชาชน ลดการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวม อาทิ เพิ่มเติมหลักการพื้นฐานในการพิจารณาที่จะต้องมีการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กำหนดหลักเกณฑ์กลางเกี่ยวกับการรับและตรวจสอบคำขออนุญาต กรณีกฎหมายใดกำหนดให้ประชาชนต้องขออนุญาตหน่วยงานของรัฐต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดในคู่มือดังกล่าว และแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ กำหนดให้มีระบบอนุญาตหลัก (Super License) ซึ่งเป็นกรณีจะต้องขออนุญาตต่อผู้อนุญาตหลายรายหรือหลายกระบวนการ เมื่อกำหนดให้ผู้ใดได้รับใบอนุญาตหลักของกิจการใดให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบอนุญาตรองของกิจการนั้นด้วย โดยไม่ต้องยื่นคำขอรับอนุญาตรองใหม่อีก และกำหนดให้มีการทบทวนและปรับปรุงการใช้ระบบอนุญาตอย่างน้อยทุก 5 ปี พร้อมกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนด รวมทั้งกำหนดให้มีศูนย์รับคำขอกลาง เพื่อรับคำขอและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ประชาชนยื่นมา ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังได้มีการเพิ่มมาตรการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยการจัดให้มีการเผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ให้มีระบบช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วนสำหรับประชาชนที่มีความจำเป็นเร่งด่วน

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ มีรายละเอียดสรุป ดังนี้

ประเด็น          สาระสำคัญ
1. บทนิยาม          ?บริการ? หมายความว่า การดำเนินการตามคำขอหรือความประสงค์ของประชาชน รวมตลอดทั้งการอำนวยความสะดวก การให้ความอนุเคราะห์ สงเคราะห์ การจัดหรือให้สวัสดิการ และการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนใด ๆ แก่ประชาชนด้วย เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2. ขอบเขตการใช้บังคับ          กำหนดขอบเขตการใช้บังคับให้มีความชัดเจน โดยให้ใช้บังคับแก่บรรดาการอนุญาตการจดทะเบียน การแจ้ง การพิจารณา การดำเนินการ และการให้บริการหรือประโยชน์อื่นใดแก่ประชาชน บรรดาที่ประชาชนต้องยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ
3.พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่          - รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
- การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดีและการวางทรัพย์
- การดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจขององค์กรอิสระ แต่ไม่รวมถึงการดำเนินการของหน่วยธุรการขององค์กรดังกล่าว
- การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
- การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (เฉพาะในส่วนที่ไม่อาจกำหนดระยะเวลาดำเนินการที่แน่นอนได้)
- การปฏิบัติการทางทหารด้านยุทธการ กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมยุทธภัณฑ์ และกฎหมายว่าด้วยโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน
- ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา โดยสามารถยกเว้นเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็น
4. หลักการพิจารณาอนุญาต/การให้บริการ          - หน่วยงานของรัฐพึงพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพกาล
- กำหนดให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันสำหรับกรณีที่การอนุญาต การให้บริการมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน
- กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องออกกฎโดยคำนึงถึงความสะดวกและรวดเร็วที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ และสร้างภาระแก่ประชาชนน้อยที่สุด โดยกฎนั้นต้องไม่กำหนดให้ประชาชนต้องยื่นเอกสารที่หน่วยงานของรัฐนั้นเป็นผู้ออกหรือมีเอกสารหรือสำเนาเอกสารนั้นอยู่ในความครอบครองอยู่แล้ว รวมทั้งจะกำหนดให้ประชาชนต้องส่งมอบหรือทำสำเนาเอกสารให้มากกว่า 1 ชุดอีกต่อไปไม่ได้
5. การยื่นคำขออนุญาตและการอนุญาต          - กำหนดให้กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนต้องขออนุญาตเรื่องใด ผู้อนุญาตต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่กฎหมายหรือกฎในเรื่องนั้นมีผลใช้บังคับ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด เช่น หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอ ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมคำขอ เป็นต้น และให้สำนักงาน ก.พ.ร. มีหน้าที่ในการตรวจสอบว่าคู่มือสำหรับประชาชนนั้นสอดคล้องกับหลักการบริการกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่
- กำหนดให้หลักเกณฑ์กลางในการรับและตรวจสอบคำขออนุญาตที่เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบทันทีสำหรับกรณียื่นเป็นเอกสาร และภายใน 1 วันทำการ สำหรับการยื่นด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และจะต้องแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ยื่นทราบทันที
- กำหนดให้สามารถออกกฎกระทรวงกำหนดกรณีที่ไม่สามารถแจ้งผลการตรวจสอบคำขอและเอกสารหรือหลักฐานได้ทันที เนื่องจากมีเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องจำนวนมากหรือมีเหตุจำเป็นอื่น ทั้งนี้ ต้องระบุเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ
- กำหนดให้เมื่อรับคำขอแล้ว ผู้อนุญาตต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ
- กำหนดให้มีใบอนุญาตหลัก (Super License) กรณีที่การประกอบกิจการทั่วไปที่ผู้ยื่นคำขอต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตหลายรายหรือหลายกระบวนงานโดยการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้ใดได้รับอนุญาตหลักของกิจการใดให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบอนุญาตรองของกิจการนั้นโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตรองใหม่อีก
- กำหนดให้คณะรัฐมนตรีสามารถขยายอายุใบอนุญาตที่สั้นกว่า 5 ปี ให้มีอายุไม่น้อยกว่า5 ปีได้ โดยการตราพระราชกฤษฎีกา
- กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจัดตั้งศูนย์รับคำขอกลางขึ้นในหน่วยงานของรัฐเพื่อรับคำขอและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ยื่นมาโดยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ทั้งนี้จะมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการก็ได้
6. การให้บริการ          กำหนดให้นำบทบัญญัติในส่วนของกระบวนงานพิจารณาอนุญาตมาใช้บังคับแก่งานบริการ อาทิ การจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน กระบวนการตรวจสอบคำขอและเอกสาร
7. การทบทวนและปรับปรุงการอนุญาตและการให้บริการ          กำหนดให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาทบทวนและปรับปรุงการใช้ระบบอนุญาตที่ตนรับผิดชอบ อย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี พร้อมกับประเมินผลสัมฤทธิ์ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนด รวมทั้งกระบวนการ ขั้นตอน หรือระยะเวลาที่กำหนดในคู่มือสำหรับประชาชนเมื่อมีเหตุจำเป็นอันสมควร
8. มาตรการอำนวยความสะดวก          - กำหนดให้เผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
- กำหนดให้มีช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วน สำหรับประชาชนที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
- กำหนดให้มีการจัดทำแบบคำขอหรือแบบใบอนุญาตเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น
9. วันใช้บังคับ          พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่หมวด 1 บททั่วไป และมาตรา 36 วรรคสอง (การจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

เศรษฐกิจ ? สังคม 7. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน 2567

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ใช้จ่ายงบประมาณในวงเงิน 472.67 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน 2567 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน โดยเป็นกรอบวงเงินของ กฟน. จำนวน 74.32 ล้านบาท และเป็นกรอบวงเงินของ กฟภ. จำนวน 398.35 ล้านบาท โดยให้ กฟน. และ กฟภ. เบิกจ่ายเงินจากสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป ตามที่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ

เรื่องเดิม

คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 กรกฎาคม 2567) เห็นชอบในหลักการมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ซึ่งรวมถึงให้ช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ที่เป็นกลุ่มเปราะบางโดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยในพื้นที่ของ กฟน. และ กฟภ. รวมทั้ง ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของ กฟน. และผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่บริการของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือน กันยายน 2567 ถึงเดือนธันวาคม 2567 โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า จำนวน 19.05 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งนี้ กำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม คาดว่าจะมีค่าใช้จ่าย ประมาณ 1,900 ล้านบาท โดยในเบื้องต้นจะใช้แหล่งเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ โดยในส่วนของงบประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ให้ มท. (กฟน. และ กฟภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

1. เนื่องจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาพลังงานของประเทศมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาผลกระทบ ต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ มท. (กฟน. และ กฟภ.) จึงได้ดำเนินการตามมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน 2567 ซึ่งประมาณการงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ ดังนี้

ส่วนลดค่าไฟฟ้าสำหรับกลุ่มเปราะบาง (19.05 สตางค์ต่อหน่วย) ประจำเดือนกันยายน 2567
กฟน.          กฟภ.          รวม
ล้านราย          ล้านบาท          ล้านราย          ล้านบาท          ล้านราย          ล้านบาท
2.31          74.32          16.55          398.35          18.86          472.27

                      2. สงป. นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ มท. โดย กฟน. และ กฟภ. ดำเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชนภายในกรอบวงเงิน 472.67 ล้านบาท แบ่งออกเป็น กฟน. วงเงิน 74.32 ล้านบาท และ กฟภ. วงเงิน 398.35 ล้านบาท โดยให้ กฟน. และ กฟภ. จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ               พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ประกาศใช้บังคับตามขั้นตอนต่อไป

8. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและ                                   แผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป รวมทั้งเห็นชอบให้นำข้อสังเกตของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทย เป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีและนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป และให้ ยธ. รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของเรื่อง

1. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ประกอบด้วย ผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดรวม 6 มาตรการ ได้แก่ 1) มาตรการป้องกันยาเสพติด การเสริมสร้างความรู้เท่าทันและป้องกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชนผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เพื่อให้มีความรู้เท่าทันกับปัญหายาเสพติด โดยได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการป้องกันยาเสพติดขยายไปยังสถานศึกษา ต่าง ๆ ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในแต่ละระดับ โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับมาตรการป้องกันยาเสพติด เช่น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด นำแนวทาง ?บวร? (บ้าน วัด ราชการ) ?บรม? (บ้าน ราชการ มัสยิด) ?ครบ? (โบสถ์คริสต์ ราชการ บ้าน) มาปรับใช้ในการทำงานในระดับพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง 2) มาตรการปราบปรามยาเสพติด มุ่งเน้นการสกัดกั้นการลักลอบนำเข้าและส่งออกยาเสพติดจากแหล่งผลิตและส่งต่อไปยังประเทศที่สาม (ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ) และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสืบสวนสอบสวน การปราบปรามกลุ่มการค้ายาเสพติดภายในประเทศและระหว่างประเทศ (อาชญากรรมข้ามชาติ) มีข้อเสนอแนะสำหรับมาตรการปราบปรามยาเสพติด เช่น เพิ่มมาตรการทางปกครองในการป้องกันการรับ - ส่งยาเสพติดผ่านบริการขนส่งพัสดุไปรษณีย์ โดยมอบหมายให้มีหน่วยงานกำกับดูแลการอนุญาตจัดตั้งธุรกิจตัวแทนรับฝากพัสดุไปรษณีย์จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดให้แก่กลุ่มไรเดอร์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างแรงจูงใจ/มอบรางวัล เมื่อมีการแจ้งเบาะแสที่นำไปสู่การจับกุม/การยึดทรัพย์ผู้ค้ายาเสพติด 3) มาตรการยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด บูรณาการความร่วมมือและดำเนินมาตรการยึดอายัดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายยาเสพติดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4) มาตรการบำบัดรักษายาเสพติด เน้นการแก้ไขปัญหาผู้เสพยาเสพติดให้ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ สาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคม โดยดำเนินการพัฒนาหน่วยบริการบำบัดทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติด สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มีข้อเสนอแนะสำหรับมาตรการบำบัดรักษายาเสพติด เช่น กรณีสมัครใจเข้าบำบัด ให้ส่งตัวไปยังศูนย์คัดกรอง เพื่อจำแนกและแบ่งการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หรือผู้ใช้ยาเสพติด 2) ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง หรือผู้เสพยาเสพติด 3) ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง อาการรุนแรง หรือผู้ติดยาเสพติด เพื่อกำหนดแผนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมกับผลการประเมินความรุนแรงของการติดยาเสพติด 5) มาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ เสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับทวิภาคี อาเซียน และองค์การระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านยาเสพติดระหว่างประเทศรวมทั้งการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development : AD) พร้อมทั้งแสวงหาและพัฒนาความร่วมมือกับนานาประเทศเพิ่มเติม และ 6) มาตรการบริหารจัดการ การบริหารจัดการงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายยาเสพติด และสนับสนุนการดำเนินงานให้มีความเชื่อมโยงประสานสอดคล้องในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มีข้อเสนอแนะมาตรการบริหารจัดการ การเพิ่มจำนวนโควตาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดประเภทโดยตรงและประเภทเกื้อกูลให้แก่หน่วยงานที่มีกำลังพลปฏิบัติภารกิจด้านยาเสพติด

2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบรายงานดังกล่าว โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรยกระดับกลไกการเฝ้าระวังในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง และเชื่อมโยงประสานสอดคล้องกัน และมุ่งเน้นการดำเนินการในมิติการป้องกันให้มากขึ้น เพื่อป้องกันกลุ่มเปราะบางที่อาจเป็นกลุ่มเสี่ยงในการถูกหลอกลวงให้กระทำการผิดกฎหมายควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง และกระทรวงมหาดไทยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรยกระดับและผลักดันการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานและทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง และมีประสิทธิภาพ โดยขยายแนวคิด ?เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย? เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแก้ไขปัญหายาเสพติด

9. เรื่อง การกำหนด QR Code บนแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดก่อสร้างของทางราชการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบสั่งการให้หน่วยงานของรัฐนำ QR Code ที่ดาวน์โหลดจากระบบจัดซื้อ         จัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ [e-Government Procurement (e - GP)] ไปใส่ในแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้างของทางราชการ (แผ่นป้ายฯ) ตามแบบแผ่นป้ายของกรมโยธาธิการและผังเมืองและมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) นำแนวทางปฏิบัติดังกล่าวไปใช้บังคับในการจ้างก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ด้วยโดยอนุโลม ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของเรื่อง

1. กค. รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 กค. (กรมบัญชีกลาง) ได้มีการปรับปรุงระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้าง QR Code เชื่อมโยงข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างและประกาศต่าง ๆ เช่น วงเงินงบประมาณ ราคากลาง รายชื่อผู้ยื่นเสนอราคา รายชื่อผู้ชนะการเสนอราคา ราคาที่ตกลงซื้อ/จ้าง ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา เป็นต้น (ซึ่งเป็นข้อมูลที่เผยแพร่ที่หน้าเว็บไซต์ระบบจัดซื้อจัดจ้างอยู่แล้วในปัจจุบัน) เพื่อให้หน่วยงานของรัฐดาวน์โหลดไปใส่ไว้ในป้ายโครงการก่อสร้าง และผู้สนใจทั่วไปสามารถสแกน QR Code เพื่อดูรายละเอียดโครงการดังกล่าวได้ โดย กค. (กรมบัญชีกลาง) ได้ขอความร่วมมือจาก มท. (กรมโยธาธิการและผังเมือง) ปรับปรุงแนวทางในการติดตั้งแผ่นป้ายฯ และแบบแผ่นป้ายฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ออกแบบแผ่นป้ายฯ ที่มี QR Code แสดงไว้ในแผ่นป้ายโครงการงานก่อสร้างให้กรมบัญชีกลางเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีข้อสั่งการให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติในเรื่องการนำ QR Code ที่ดาวน์โหลดจากระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ไปใส่ในแผ่นป้ายฯ ตามแบบแผ่นป้ายฯ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบและสั่งการให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน

2. ความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง: กระทรวงคมนาคม (คค.) ดศ. มท. สศช. สำนักงาน ป.ป.ช. และ กทม. พิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้องตามที่ กค. เสนอ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมสรุปได้ ดังนี้

หน่วยงาน          ความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติม
คค.

ข้อความที่ปรากฏบนแผ่นป้าย (1) ข้อความ ?กำลังก่อสร้างด้วยเงินภาษีอากรของประชาชน? ตามที่ปรากฏอยู่ด้านล่างของแผ่นป้ายฯ ควรให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแหล่งที่มาของงบประมาณในการก่อสร้าง (2) ข้อความ ?งานก่อสร้าง? เห็นควรระบุ เป็นข้อความ ?ชื่องาน? เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนเหมาะสมตามแต่ละประเภทงาน (3) บนแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดควรมีการระบุผู้ควบคุมงานทั้งฝ่ายผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง รูปแบบและวัสดุที่ใช้ในการจัดทำแผ่นป้ายฯ (1) ตามแบบระบุวัสดุเป็นไม้อัดพร้อมโครงเคร่าไม้เท่านั้น มิได้ระบุว่า ข้อความ สัญลักษณ์รายละเอียดบนหน้าป้ายฯ ให้ใช้วัสดุประเภทใดในการจัดทำ (2) ตามแบบแผ่นป้ายฯ ลักษณะเป็นป้ายตั้งพื้น เห็นควรให้พิจารณารูปแบบป้ายที่มีสภาพพื้นที่งานก่อสร้างภายในอาคารหรือสภาพหน้างานที่มีพื้นที่จำกัด หรือสภาพพื้นที่มีข้อจำกัดในการยึด เจาะ ติดตั้งแผ่นป้ายฯ (3) วัสดุที่ใช้ในการจัดทำโครงสร้างแผ่นป้ายฯ เห็นควรให้พิจารณาว่าสามารถใช้วัสดุอื่นนอกเหนือจากใช้ไม้อัดโครงเคร่าไม้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่งานก่อสร้าง และวัสดุที่ใช้ให้มีความคงทน เหมาะสมระยะเวลางานก่อสร้าง เช่น - ตัวเสาเสนอใช้เป็นโครงเหล็กแทนไม้ เนื่องจากมีความแข็งแรงกว่า และให้ภาพลักษณ์ที่ดีกว่าเสาไม้ เป็นต้น - ตัวป้ายควรแบ่งเป็นวัสดุ 2 ประเภท สำหรับงานระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี และระยะยาวมากกว่า 1 ปี โดยงานระยะสั้นเสนอเป็นป้ายชนิดไวนิลเนื่องจากจัดหาง่าย ติดตั้งง่าย และราคาไม่แพง ส่วนงานระยะยาวแนะนำให้ใช้วัสดุประเภทชนิดอะคริลิกติดสติ๊กเกอร์ไดคัท เนื่องจากมีความคงทนถาวรกว่าไวนิล อีกทั้งจัดหาง่ายติดตั้งงานและราคาสมเหตุสมผล (4) ขนาดแผ่นป้ายฯ ข้อความ และตัวอักษร เห็นควรให้สามารถปรับเปลี่ยนขนาดให้เหมาะสม กับสภาพพื้นที่ สีที่ใช้แสดงรายละเอียดข้อมูลของงาน ขอให้เพิ่มรายละเอียดว่าให้ใช้สีเนื่องจากแบบระบุสีแค่ดวงตราหน่วยงาน เส้นกรอบ ชื่อหน่วยงานและสถานที่ติดต่อเท่านั้น รวมทั้งสี QR Code ขอให้ระบุเพิ่มในแบบและควรมีการระบุเฉดสีพื้นสีน้ำเงิน เพื่อให้การจัดหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ดศ.          (1) กค.ควรดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 180042 เพื่อให้สามารถตรวจสอบตัวตนของผู้สร้างและผู้ให้บริการได้ ทั้งนี้ กรณีที่มีการตรวจสอบหรือมีข้อสงสัย ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบหรือธรรมาภิบาลเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบควรมีรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานข้อสงสัยที่อาจมีต่อหน่วยราชการที่มีภารกิจเกี่ยวกับการตรวจสอบไว้ อาทิ วิธีการและขั้นตอนในการแจ้งข้อสงสัย ชื่อหน่วยงาน รับผิดชอบ รวมถึงประกาศกฎหมายที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงในข้อมูล QR Code ประกอบไว้
(2) กค. ควรพิจารณาการดำเนินการเตรียมพร้อมพัฒนาระบบ One Stop Service รองรับ เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบรับข้อร้องเรียนและข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการดำเนินการที่มีอยู่แต่เดิม และเพื่อสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานและเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546


10. เรื่อง มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ของธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธอส. ธอท. ธสน. และ ธพว. ตามหลักการในข้อ 1 พร้อมอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวนรวมทั้งสิ้น 38,920 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ SFIs ทั้ง 6 แห่ง ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงสภาพคล่องของ SFIs แต่ละแห่งต่อไป

2. รับทราบการปรับลดอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ตามข้อ 1.2

3. เห็นชอบหลักการมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของ Non-banks พร้อมอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวนรวม ทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินและโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ Non-Banks โดยมอบหมายให้ธนาคารออมสินทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมต่อไป

4. เห็นชอบการกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้า SFIF ที่อัตราร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน เป็นระยะเวลา 1 ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี 2568 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2568 ดังมีรายละเอียดปรากฏตามร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ....

5. รับทราบแนวทางการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวต่อไป

สาระสำคัญ

1. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs

1.1 หลักการ

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs เป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ของ ธพ. และ SFIs ที่เริ่มมีปัญหาในการชำระหนี้แต่มีโอกาสฟื้นตัวและกลับมาชำระหนี้ได้หลังสิ้นสุดการให้ความช่วยเหลือ โดยมุ่งหวังให้ลูกหนี้รายย่อยสามารถรักษาทรัพย์สินประเภทบ้านและรถ และผู้ประกอบการ SMEs รายย่อย สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs นี้ เป็นมาตรการชั่วคราวและให้ความช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด รวมทั้งมีแนวทางป้องกัน Moral Hazard ซึ่งมาตรการดังกล่าว ข้างต้นเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งกำหนดแนวทางให้ลูกหนี้ที่มียอดหนี้คงค้างไม่สูงมากนักและมีสถานะเป็น NPLs สามารถปิดหนี้ได้เพื่อให้ลูกหนี้มีประวัติการชำระหนี้ที่ดีขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินในอนาคต

1.2 การช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ประกอบไปด้วย 2 มาตรการ ดังนี้

(1) มาตรการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดภาระดอกเบี้ยโดยการเน้นตัดต้นเงิน

(1.1) คุณสมบัติลูกหนี้และประเภทสินเชื่อ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

(1.1.1) ลูกหนี้สินเชื่อบ้านและ/หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภาระเป็นหลักประกัน (Home for Cash) ที่มีวงเงินรวมต่อสถาบันการเงินไม่เกิน 5,000,000 บาท

(1.1.2) สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ (Car for cash) มีวงเงินรวมต่อสถาบันการเงินไม่เกิน 800,000 บาท และสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์และ/หรือ Car for cash มีวงเงินรวมต่อสถาบันการเงิน 50,000 บาท

(1.1.3) สินเชื่อธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มิวงเงินรวมต่อสถาบันการเงินไม่เกิน 5,000,000 บาท

ทั้งนี้ สินเชื่อที่เข้าร่วมมาตรการต้องเป็นสัญญาสินเชื่อที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 และ สถานะลูกหนี้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการต้องเป็น 1) เป็นหนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 30 วัน จนถึง 365 วัน นับแต่วันถึงกำหนดชำระ หรือ 2) เป็นหนี้ที่ไม่มีการค้างชำระ หรือค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันไม่เกิน 30 วันนับแต่วันถึงกำหนดชำระที่เคยมีประวัติการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 30 วัน และได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 รวมถึงภายใต้หลักเกณฑ์ Responsible Lending ในปี 2567 โดยสถานะลูกหนี้ข้างต้นใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 (Cut-off Date)

(1.2) สถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการ: ธพ. ซึ่งรวมถึงบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจ และ SFIs 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธอส. ธอท. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)

(1.3) รูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไขของมาตรการ

(1.3.1) ลดภาระการผ่อนชำระค่างวดเป็นระยะเวลา 3 ปี: ในปีที่ 1ชำระค่างวดร้อยละ 50 ในปีที่ 2 ชำระค่างวดร้อยละ 70 และในปีที่ 3 ชำระค่างวดร้อยละ 90 ของค่างวดก่อนเข้าร่วมมาตรการ โดยค่างวดที่ลูกหนี้ชำระจะนำไปชำระต้นเงินทั้งจำนวนเพื่อสนับสนุนให้ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น สำหรับดอกเบี้ยจะพักการชำระไว้ทั้งหมดในช่วงระยะเวลามาตรการ ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถสมัครใจจ่ายค่างวดมากกว่าอัตราขั้นต่ำที่กำหนดไว้ได้

(1.3.2) ลูกหนี้ที่อยู่ในมาตรการนี้จะไม่สามารถก่อหนี้ใหม่ได้เป็นระยะเวลา 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ โดยจะถูกรายงานข้อมูลต่อ NCB เป็นรหัสพิเศษ ยกเว้นกรณีลูกหนี้ผู้ประกอบการ SMEs ที่หากมีความจำเป็นสามารถขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจได้ ทั้งนี้ สำหรับ สินเชื่อวงเงินหมุนเวียน (Revolving Loan) ลูกหนี้ที่ยังไม่ได้เบิกใช้ก่อนเข้าร่วมมาตรการ ลูกหนี้ยังสามารถใช้สภาพคล่องจากวงเงินส่วนที่เหลือได้

(1.3.3) หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอดระยะเวลา 3 ปี สถาบันการเงินจะยกเว้นดอกเบี้ยที่พักไว้ให้ลูกหนี้ โดยสถาบันการเงินจะขอชดเชยดอกเบี้ยจากแหล่งเงินทุนภาครัฐ ร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยที่ยกเว้นให้ลูกหนี้ และสถาบันการเงินจะรับภาระร้อยละ 50

(1.3.4) หากลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาได้จนมีสถานะเป็น NPLs ลูกหนี้ต้องออกจากมาตรการ โดยจะต้องชำระดอกเบี้ยที่พักชำระไว้ตามเงื่อนไขเดิมในส่วนที่ภาครัฐไม่ได้สนับสนุน

ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ (Debt consolidation) ระหว่างสินเชื่อมาตรการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดภาระดอกเบี้ยโดยการเน้นตัดต้นเงินตาม ข้อ 1.2 (1.1) และหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับได้ โดยการพิจารณารับรวมหนี้ให้เป็นไปตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของ ธพ. และ SFIs รวมทั้งเป็นไปตามพันธกิจของ SFIs แต่ละแห่ง

(2) มาตรการลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็น NPLs ที่มียอดหนี้ไม่สูง

(2.1) คุณสมบัติลูกหนี้และประเภทสินเชื่อ: ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่ถูกจัดชั้นเป็น NPLs และมีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท ทั้งนี้ ครอบคลุมสินเชื่อทุกประเภทที่กู้ในนามบุคคลธรรมดาโดยสถานะลูกหนี้ข้างต้น ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 (Cut-off Date)

(2.2) สถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการ: ธพ. และ SFIs ทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธอส. ธอท. ธสน. และ ธพว.

(2.3) รูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไขของมาตรการ: การปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรน โดยลดภาระให้ลูกหนี้จ่ายชำระหนี้ร้อยละ 10 ของภาระหนี้คงค้าง เพื่อเป็นการชำระหนี้ปิดบัญชีโดยภาครัฐและสถาบันการเงินจะรับภาระยอดหนี้คงค้างที่เหลือเท่ากันที่อัตราร้อยละ 50

(3) แหล่งเงินจากภาครัฐในการดำเนินการ

(3.1) สำหรับ ธพ.: แหล่งเงินในการดำเนินมาตรการตามข้อ 1 มาจากการลดอัตราที่สถาบันการเงินนำส่งเงินเพื่อชำระหนี้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF Fee) ร้อยละ 0.23 ระยะเวลา 1 ปีแรก (ประมาณ 39,000 ล้านบาท) ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามการดำเนินการของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด และจะพิจารณาอัตรา FIDF Fee ที่เหมาะสมอีกครั้งในปีต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าสถาบันการเงินได้ให้ความช่วยเหลือภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างเต็มที่ สำหรับผลกระทบของการปรับลดอัตรา FIDF Fee เหลือร้อยละ 0.23 ต่อปี ในปี 2568 เป็นเวลา 1 ปีพบว่า จำนวนเงินที่ได้รับยังเพียงพอสำหรับการชำระดอกเบี้ยหนี้เงินกู้ของพันธบัตรรัฐบาลที่กระทรวงการคลังกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF1) และพันธบัตรรัฐบาลที่กระทรวงการคลังกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2545 (FIDF3) ในช่วงเวลาดังกล่าว และประมาณการว่าการชำระคืนหนี้ต้นเงิน FIDF1 และ FIDF3 จะเสร็จสิ้นภายในปี 2575 โดยใช้ระยะเวลาเพิ่มขึ้น 6 เดือน

(3.2) สำหรับ SFIs: รัฐบาลชดเชยการสูญเสียรายได้ของ SFIs 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธอส. ธอท. ธสน. และ ธพว. ตามมาตรการตามข้อ 1.2 (1) และ 1.2 (2) ในอัตราร้อยละ 50 ตลอดระยะเวลา 3 ปี ของมาตรการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้นไม่เกิน 38,920 ล้านบาท โดยให้จัดสรรงบประมาณจ่ายคืน SFIs ทั้ง 6 แห่ง และให้ SFIs แต่ละแห่งทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีต่อไป โดยการดำเนินมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรายได้และสภาพคล่องของ SFIs ดังนั้น รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่ SFIs ทั้ง 6 แห่ง ตามภาระทางการเงินที่เกิดขึ้นจริงโดยเร็ว

ทั้งนี้ สำหรับ ธอส. และ ธอท. ให้สามารถนำส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงและค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ได้รับชดเชย เพื่อบวกกลับในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจได้

อนึ่ง คาดว่ามีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติที่ได้รับการช่วยเหลือผ่านมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ทั้ง 2 มาตรการ จำนวน 1.9 ล้านราย หรือ 2.1 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้าง รวมทั้งสิ้นประมาณ 890,000 ล้านบาท โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 12 ของจำนวนบัญชีสินเชื่อบ้าน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ และสินเชื่อธุรกิจทั้งหมด

2. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของ Non-banks

2.1 หลักการ

เพื่อให้การช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากลูกหนี้ของ ธพ. และ SFIs ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMES ในข้อ 1 มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จึงควรครอบคลุมลูกหนี้ของ Non-banks เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวมีความเปราะบาง ประกอบกับหนี้ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง จึงควรช่วยเหลือด้วยการลดดอกเบี้ยเพื่อลดภาระการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว

2.2 Non-banks ที่เข้าร่วมมาตรการ: Non-banks คุณสมบัติตามที่ ธปท. กำหนด

2.3 คุณสมบัติของลูกหนี้และประเภทสินเชื่อ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

(1) สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 800,000 บาท

(2) สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 50,000 บาท

(3) สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 100,000 หรือไม่เกิน 200,000 บาท

(4) สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 20,000 บาท

(5) สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 50,000 บาท

ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการต้องมีสินเชื่อประเภทดังกล่าวข้างต้น ที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 และลูกหนี้ต้องมีสถานะเป็น 1) หนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 30 วัน จนถึง 365 วัน นับแต่วันถึงกำหนดชำระ หรือ 2) เป็นหนี้ที่ไม่มีการค้างชำระ หรือค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันไม่เกิน 30 วันนับแต่วันถึงกำหนดชำระ ที่เคยมีประวัติการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 30 วัน และได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 รวมถึงภายใต้หลักเกณฑ์ Responsible Lending ในปี 2567 โดยสถานะลูกหนี้ข้างต้นใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 (Cut-off Date)

2.4 รูปแบบการช่วยเหลือลูกหนี้ของ Non-banks ที่เข้าร่วมมาตรการ:

(1) ลดภาระการผ่อนชำระค่างวดเป็นร้อยละ 70 ของค่างวดก่อนเข้าร่วมมาตรการเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยสำหรับ Revolving Loan จะต้องจ่ายค่างวดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ของยอดหนี้

(2) ลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 จากอัตราดอกเบี้ยก่อนเข้าร่วมมาตรการ เช่น จากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 25 ต่อปี เป็นร้อยละ 15 ต่อปี เป็นต้น ตลอดระยะเวลา 3 ปี โดยดอกเบี้ยส่วนที่ลดจะพักชำระไว้ทั้งหมดหากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้

(3) ลูกหนี้ที่อยู่ในมาตรการนี้จะไม่สามารถก่อหนี้ใหม่ได้เป็นระยะเวลา 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ โดยจะถูกรายงานข้อมูลต่อ NCB เป็นรหัสพิเศษ ทั้งนี้ สำหรับ Revolving Loan ลูกหนี้ที่ยังไม่ได้เบิกใช้ก่อนเข้าร่วมมาตรการ ลูกหนี้ยังสามารถใช้สภาพคล่องจากวงเงินส่วนที่เหลือได้

(4) หากลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาได้จนกลายมีสถานะเป็น NPLs ลูกหนี้ต้องออกจากมาตรการ โดยจะต้องชำระดอกเบี้ยที่พักชำระไว้ตามเงื่อนไขเดิมในส่วนที่ภาครัฐไม่ได้สนับสนุน

2.5 แหล่งเงินในการดำเนินการ:

รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ Non-Banks ของธนาคารออมสินในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี วงเงิน 50,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือไปสนับสนุนส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยที่ Non-banks ลดให้แก่ลูกหนี้ โดยวงเงินสินเชื่อของ Non-bank แต่ละรายจะสอดคล้องกับปริมาณการสูญเสียรายได้ของ Non-banks แต่ละแห่ง ที่เกิดขึ้นจากการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2.3 ผ่านรูปแบบการช่วยเหลือตามข้อ 2.4 โดยรัฐบาลชดเชยต้นทุนเงินอัตราร้อยละ 2.00 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ธปท. จะกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และกระบวนการเบิกจ่าย Soft Loan ดังกล่าว ร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารออมสิน พร้อมทั้งตรวจสอบและประเมินการดำเนินการของ Non-banks ที่เข้าร่วมมาตรการ เพื่อให้ลูกหนี้ของ Non-banks ได้รับการช่วยเหลืออย่างแท้จริง โดยธนาคารออมสินสามารถแยกบัญชีโครงการดังกล่าวเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account PSA) และไม่นำโครงการมาเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ

3. มาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพิ่มเติมของ SFIs

3.1 หลักการ

เนื่องจากลูกหนี้ของ SFIs ไม่ได้มีเพียงลูกหนี้สินเชื่อบ้านลูกหนี้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์หรือลูกหนี้สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจเท่านั้น แต่ยังมีลูกหนี้รายย่อยกลุ่มอื่น ๆ เช่น เกษตรกร ผู้ประกอบการหาบเร่แผงลอย เป็นต้น ซึ่งมีความเปราะบางมากกว่าลูกหนี้ของ ธพ. ประกอบกับการช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ตามข้อ 1. เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาในการชำระหนี้ จึงมีความจำเป็นในการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มเติมของ SFIs ทั้ง 4 แห่ง ที่นำส่งเงินเข้า SFIF โดยมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มลูกหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ตามข้อ 1. และครอบคลุมถึงลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการรักษาวินัยทางการเงินของลูกหนี้รายย่อยกลุ่มดังกล่าว

3.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมมาตรการ: SFIs ทั้ง 4 แห่ง ที่นำส่งเงินเข้า SFIF ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธอส. และ ธอท.

3.3 การช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มเติม

การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพิ่มเติมของ SFIs ประกอบไปด้วย 5 มาตรการหลัก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

(1) การช่วยเหลือลูกหนี้ปกติ ซึ่งครอบคลุมถึงลูกหนี้รายย่อย ผู้ประกอบการรายย่อย/เกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ผ่านการลดดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate: MRR) เป็นต้น การดอกเบี้ยหรือให้รางวัลให้แก่ลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี การลดดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางและสินเชื่อเพื่อพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพ

(2) ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ผ่านการพักชำระเงินต้นและไม่คิดดอกเบี้ยกับลูกหนี้ในระหว่างพักชำระหนี้

(3) ลูกหนี้ที่ขอสินเชื่อใหม่ ผ่านการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

(4) ลูกหนี้ที่มีแนวโน้มผิดนัดชำระหนี้ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มเป้าหมายของมาตรการช่วยเหลือตามข้อ 1. ผ่านการลดดอกเบี้ยและปรับลำดับการตัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้

(5) ลูกหนี้ที่มีปัญหาในการชำระหนี้ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มเป้าหมายของมาตรการช่วยเหลือตามข้อ 1. ผ่านการปรับลำดับการตัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้และลดภาระหนี้ (Haircut) ให้แก่ลูกหนี้

อนึ่ง คาดว่ามีลูกหนี้มีคุณสมบัติที่ได้รับการช่วยเหลือผ่านมาตรการดังกล่าวข้างต้นจำนวน ทั้งสิ้น 5,566,440 ราย/บัญชี ซึ่งมียอดหนี้คงค้างรวมจำนวน 1,701,849 ล้านบาท โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนบัญชีสินเชื่อของ SFIs

3.4 แหล่งเงินในการดำเนินการ

การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้า SFIF ลงกึ่งหนึ่งจากอัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.125 ต่อปีของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ออกไปอีก 1 ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี 2568 โดยจากประมาณการเงินนำส่งเข้า SFIF ของ SFIs ทั้ง 4 แห่งได้ ในปี 2568 พบว่าหากได้รับการปรับลดอัตราเงินนำส่งฯ เหลือร้อยละ 0.125 ต่อปี จะลดลงประมาณ 8,092 ล้านบาท

4. แนวทางการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

แนวทางการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนที่ ธปท. เสนอ ประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

4.1 ยกระดับข้อมูลหนี้สินครัวเรือนที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลของ NCB: เพื่อส่งเสริมการมีหนี้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมกับรายได้ ไม่เกินกำลังในการชำระคืน รวมถึงออกแบบมาตรการที่จะเข้ามาช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างตรงจุดและทันการณ์ รองรับกับมาตรการระยะกลางและระยะยาวของภาครัฐ อันจะก่อให้เกิดการบูรณาการการใช้ทรัพยากรสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ ควรยกระดับข้อมูลหนี้สินครัวเรือนที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลของ NCB โดย 1) กำหนดให้ผู้ให้บริการสินเชื่อบางรายที่ยังไม่เข้าเป็นสมาชิกของ NCB เช่น สหกรณ์ Non-banks เป็นต้น นำส่งข้อมูลเครดิตในระดับลูกหนี้เช่นเดียวกันกับสมาชิกของ NCB รายอื่น ๆ ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำของการได้มาซึ่งบุริมสิทธิด้วยโครงสร้างของกฎหมายที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้ก่อหนี้เกินความจำเป็นหรือเกินกำลัง และ 2) ปรับปรุงและเพิ่มเติมการจัดทำฐานข้อมูลภาวะหนี้นอกระบบของครัวเรือน เพื่อให้ผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลเกี่ยวกับสถานะภาระหนี้สินที่แท้จริง ซึ่งการยกระดับข้อมูลหนี้ครัวเรือนเป็นจุดตั้งต้นของการวางกรอบนโยบายที่แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่นำไปสู่การแข่งขันที่เป็นธรรม ทั้งกับลูกหนี้และผู้ให้บริการสินเชื่อ

4.2 การสร้างความสามารถในการแข่งขันและการยกระดับรายได้: การแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือนจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันและการยกระดับรายได้ซึ่งประกอบด้วย (1) การส่งเสริมให้แรงงานยกระดับทักษะฝีมือแรงงานและมีกระบวนการการรับรองระดับฝีมือแรงงาน เพื่อที่จะนำไปสู่ระดับค่าจ้างที่สูงขึ้นโดยที่ทุกฝ่ายยังแข่งขันได้ (2) การดูแลให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจรายใหญ่ได้รับความเป็นธรรมในการทำการค้าและมีความโปร่งใสในเรื่องเทอมทางการค้า โดยเฉพาะธุรกิจรายใหญ่กลุ่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และ/หรือเป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (3) ธุรกิจรายใหญ่ควรมีบทบาทในการดูแล คู่ค้าที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันไปพร้อมกัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและยกระดับรายได้ของผู้ประกอบการ SMEs อย่างยั่งยืน

5. ประโยชน์และผลกระทบ

5.1 เพื่อช่วยเหลือลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ให้สามารถรักษาที่อยู่อาศัย ยานพาหนะและสถานประกอบการไว้ เพื่อให้ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวสามารถฟื้นตัวและกลับมาชำระหนี้ได้หลังสิ้นสุดการให้ความช่วยเหลือ

5.2 ลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ NPLs ที่มียอดหนี้ไม่สูง ให้ลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้หากเข้ามาชำระหนี้บางส่วน ซึ่งครอบคลุมลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็น NPLs ในทุกประเภทสินเชื่อและมีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท เพื่อให้ลูกหนี้มีประวัติการชำระหนี้ที่ดีขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินในอนาคต

5.3 มีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มเติม ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มลูกหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ตามข้อ 1. และครอบคลุมถึงลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี เพื่อเป็นแรงจูงใจในการรักษาวินัยทางการเงินของลูกหนี้รายย่อย

ต่างประเทศ

11. เรื่อง ร่างหนังสือข้อตกลงสำหรับการจัดหาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษวานร

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอดังนี้

1. ให้ความเห็นชอบต่อร่างหนังสือข้อตกลงสำหรับการจัดหาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษวานร

2. อนุมัติให้ใช้อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทตามเงื่อนไขที่กำหนดในร่างหนังสือข้อตกลงสำหรับการจัดหาวัคซีนป้องกันและติดต่อเชื้อโรคฝีดาษวานร

3. อนุมัติให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างหนังสือข้อตกลงสำหรับการจัดหาวัคซีนป้องกันติดเชื้อโรคฝีดาษวานร

สาระสำคัญ

1. อาเซียนได้อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษวานร โดยใช้งบประมาณจากกองทุน COVID-19 AND Other Public Health Emergencies and Emerging ASEAN Response Fund ตามที่กระทรวงสาธารณสุขบรูไนดารุสซาลามเสนอ เพื่อจัดหาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษวานร (Jynneos) ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประสงค์จะขอรับวัคซีน โดยกระทรวงสาธารณสุขบรูไนดารุสซาลามเป็นผู้ดำเนินการในนามประเทศสมาชิกอาเซียน

                              2. การจัดหาวัคซีนสอดคล้องกับสาระด้านการพัฒนาสาธารณสุขอาเซียน ภายหลังปี       ค.ศ. 2015 สำหรับปี ค.ศ. 2021 ? 2025 (ASEAN Post-2015 Health Development Agenda for 2021 to           2025) ในประเด็นความร่วมมือด้านสุขภาพที่มีความเร่งด่วน Health Priority) ที่ 8 เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากสัตว์

3. ปัจจุบันไม่มีวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษวานรโดยตรง แต่ใช้วัคซีน Jynneos ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษแทน เพราะพบว่า สามารถป้องกันโรคฝีดาษวานรได้ถึงร้อยละ 80-85 โดยพิจารณาฉีดวัคซีนนี้แบบป้องกันก่อนสัมผัสโรคสำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อฝีดาษวานร รวมทั้งผู้มีความเสี่ยงสูง อาทิ ผู้ติดเชื้อเอสไอวีหรือได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

4. บรูไนดารุสซาลามได้ลงนามในสัญญาจัดหาวัคซีนกับบริษัท Bavarian Nordic ในนามประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประสงค์จะขอรับวัคซีนแล้ว เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 รวมทั้งขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่ยังคงประสงค์จะขอรับวัคซีน ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการลงนามในร่างหนังสือข้อตกลง ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับบริษัท Bavarian Nordic ประเทศเดนมาร์ เพื่อยืนยันการขอรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษวานร จำนวน 2,220 โดส และยอมรับเงื่อนไขในการรับวัคซีน ซึ่งเป็นเงื่อนไขในดารุสซาลามได้เจรจากับบริษัทฯ ในนามประเทศสมาชิกอาเซียนเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อบริษัทฯ จะได้ส่งวัคซีนให้ประเทศไทยโดยตรงต่อ ทั้งนี้ หากไม่สามารถยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขดังกล่าวได้ จะถือว่าประเทศไทยไม่ประสงค์จะรับจัดสรรวัคซีนดังกล่าว

5. กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดในร่างหนังสือฯ แล้วเห็นว่า สามารถยอมรับและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุได้ ดังนี้

                              - ประเด็นระบบการจัดการและเก็บรักษาวัคซีน : ประเทศไทยมีระบบการจัดการและเก็บรักษาวัคซีนเป็นไปตามข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (GxP)ที่ใช้บังคับ                  โดยปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกระจายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2564 โดยมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการกระจายยา (Good DistributionPractice: GDP)                   ตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้
  • ประเด็นความรับผิดชอบในส่วนการใช้ การเก็บรักษา การบริหารจัดการวัคซีนรวมถึงประเทศผู้รับจะต้องมีจดหมายหรือคำรับรองจากหน่วยงานที่มีอำนาจเพื่อให้วัคซีนที่นำเข้านั้นถูกต้องตามกฎหมาย : กระทรวงสาธารณสุขใช้แนวทางบริหารจัดการวัคซีนตามระบบลูกโซ่ความเย็นที่มีการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ ทั้งกระบวนการตรวจรับ การจัดเก็บ จนถึงการกระจายวัดซีนถึงหน่วยบริการเป้าหมาย
  • ประเด็นการนำเข้าวัคซีนที่ถูกต้องตามกฎหมายและการส่งมอบวัคซีน : เนื่องจากปัจจุบันวัดซีนยังไม่มีทะเบียนยาในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติยามาตรา 13 (5) การนำเข้าหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร โดยกระทรวง ทบวง กรมในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรคสภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม โดยกรมควบคุมโรคจะประสานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อขออนุญาตนำเข้าวัคซีนดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขรับทราบเงื่อนไขการส่งมอบวัคซีน และจะนำวัคซีนไปใช้เพื่อป้องกันและควบคุมโรคฝีดาษวานรที่กำลังระบาดในประเทศไทย ไม่นำไปใช้เพื่อการวิจัยทดลองทางการแพทย์ ขายต่อ บริจาค หรือโอน แต่อย่างใด
  • ประเด็นการติดตามรายงานเหตุการณ์. กระทรวงสาธารณสุขมีแนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Adverse Events Following Immunization: AEF) ซึ่งเป็นระบบที่จะดูแลป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรืออาการข้างเคียงร้ายแรงใด ๆ ต่อผู้ที่ได้รับวัคซีนอย่างใกล้ชิดและเข้มงวด ในส่วนมาตรการเยียวยาในกรณี Adverse Drug Reaction (ADR) กระทรวงสาธารณสุขมีขั้นตอนเพื่อดูแลและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้วัคซีน โดยผู้ป่วยหรือแพทย์เมื่อพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ สามารถรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้วัดซีนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จากนั้นคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจะวิเคราะห์ตรวจสอบและประเมิน เพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน และตรวจสอบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการใช้วัคซีนอย่างไร หากมีการยืนยันว่าผู้ป่วยได้รับผลกระทบจาก ADR ทีมแพทย์จะทำการดูแลรักษาอาการ โดยอาจมีการหยุดใช้วัดซีน หรือปรับเปลี่ยนการรักษาตามความเหมาะสม ในกรณีที่ ADR ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เช่น การบาดเจ็บหรือการเสียชีวิต อาจมีมาตรการในการชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  • วรรคก่อนสุดท้ายของร่างหนังสือฯ ระบุเรื่องการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ภายใต้ Rules of Arbitration ของ International Chamber of Commerce และการสละความคุ้มกันของรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง คดีความ คำตัดสิน หรือกระบวนการทางกฎหมายใด ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้ร่างหนังสือข้อตกลง จึงขอนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 เรื่อง ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 (เรื่องการทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน)

ประโยชน์และผลกระทบ

1. กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่อง พิจารณาแล้วมีความเห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขยอมรับและปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่ระบุในร่างหนังสือฯ ได้ รวมทั้งสามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน

2. การได้รับวัคซีนป้องกันโรคป้องกันโรคฝีดาษวานรดังกล่าวจะช่วยป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคฝีดาษวานรในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

12. เรื่อง พิจารณาร่างกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว สำหรับการค้าข้ามแดนระหว่างกรมศุลกากรแห่งราชอาณาจักรไทยกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการลงนามร่างกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (Single Window) สำหรับการค้าข้ามแดนระหว่างกรมศุลกากรแห่งราชอาณาจักรไทย (กรมศุลกากรไทย) กับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (สำนักงานศุลกากรจีน) (ร่างกรอบความตกลงฯ) โดยกรมศุลกากรไทยและสำนักงานศุลกากรจีน รวมทั้งเห็นชอบให้อธิบดีกรมศุลกากรลงนามในร่างกรอบความตกลงดังกล่าว โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ในการลงนามในร่างกรอบความตกลงฯ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

1. กรมศุลกากรไทยและสำนักงานศุลกากรจีน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประชุมหารือความร่วมมือระบบ Single Window ระหว่างไทย - จีน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยมีประเด็นสำคัญในการประชุม ได้แก่ การกำหนดลำดับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเชื่อมโยงระหว่างไทยและจีน การหารือข้อกำหนดทางเทคนิคสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ Single Window และการจัดทำข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระบบ Single Window ระหว่างสำนักงานศุลกากรจีนและกรมศุลกากรไทย ซึ่งฝ่ายไทยและฝ่ายจีนเห็นชอบร่วมกันให้มีการจัดทำข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระบบ Single Window ระหว่างสำนักงานศุลกากรจีนและกรมศุลกากรไทย

2. การจัดทำร่างกรอบความตกลงฯ เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างไทยและจีนผ่านระบบ Single Window ของประเทศ โดยร่างกรอบความตกลงฯ มีวัตถุประสงค์ (1) จัดตั้งกลไกที่เป็นระเบียบแบบแผนในการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศคู่ภาคีสำหรับการบูรณาการ Single Window และการริเริ่มอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำแบบจำลองการทำงานร่วมกันของ Single Window เพื่อเป้าหมายในการบรรลุผลการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว ไร้รอยต่อ แม่นยำ และปลอดภัยระหว่างการบูรณาการร่วมกัน (การเชื่อมโยงกัน)

3. ร่างกรอบความตกลงฯ จะช่วยยกระดับการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างไทยและจีน โดยการใช้ระบบ Single Window แลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ ตลอดจนจะมีการพัฒนาโครงการ แลกเปลี่ยนความรู้และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบูรณาการข้อมูลร่วมกัน อีกทั้งจะช่วยลดภาระ ค่าใช้จ่ายในเรื่องเอกสารได้อย่างชัดเจน รวมถึงขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์ระบบ Single Window ของไทยไปยังต่างประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างสองประเทศได้เป็นอย่างดี เนื่องจากธุรกรรมทางการค้าระหว่างไทยและจีนมีปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศมีความสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องเอกสารได้อย่างชัดเจน รวมถึงขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์ระบบ Single Window ของไทยไปยังต่างประเทศมากขึ้น

13. เรื่อง การภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศ [United Nations Convention on the Use of Electronic Communications in International Contracts (New York, 2005)]

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบการภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศ [United Nations Convention on the Use of Electronic Communications in International Contracts (ECC) (New York, 2005)] (อนุสัญญา ECC)

2. เห็นชอบร่างคำประกาศในภาคยานุวัติสารอนุสัญญา ECC ของประเทศไทย

3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำภาคยานุวัติสาร (Instrument of Accession) เพื่อส่งมอบต่อเลขาธิการสหประชาชาติ

สาระสำคัญของเรื่อง

1. อนุสัญญา ECC จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (United Nations Commission on International Trade Law: UNCITRAL) จากแนวคิดที่ว่า ?กฎหมายการค้าของแต่ละประเทศสร้างอุปสรรคในการขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศ จึงควรลดและกำจัดอุปสรรคดังกล่าวออกไป โดยการสร้างกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ? ดังนั้น คณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศจึงได้ยกร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศในบริบทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้กฎหมายของประเทศต่าง ๆ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากยิ่งขึ้น

2. ดศ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศ [United Nations Convention on the Use of Electronic Communications in International Contracts (New York, 2005) (อนุสัญญา ECC) ซึ่งอนุสัญญา ECC มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในการค้าระหว่างประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นว่าสัญญาที่ทำขึ้นนั้นถูกต้องและบังคับใช้ได้เทียบเท่ากับการใช้กระดาษแบบดั้งเดิม รวมถึงวิธีการในทางปฏิบัติสำหรับการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ECC จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในการยกระดับการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในการค้าระหว่างประเทศให้เป็นมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อมิให้เกิดความไม่สอดคล้องกับกฎหมายภายในของไทยและเพื่อให้การปฏิบัติตามพันธกรณีตามอนุสัญญา ECC เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงเห็นควรให้มีการจัดทำร่างคำประกาศเพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ECC ใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ไม่ใช้บังคับแก่การติดต่อสื่อสารหรือธุรกรรมตามมาตรา 3 แห่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำหนดยกเว้นไว้ (ครอบครัวและมรดก) (2) ไม่ใช้บังคับแก่สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐไทย และ (3) ไม่ใช้บังคับแก่ธุรกรรมที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายไทยกำหนด (ร่างประกาศดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามข้อ 19 วรรคสอง ที่ระบุให้รัฐผู้ทำสัญญาอาจประกาศยกเว้นจากขอบเขตการใช้บังคับของอนุสัญญานี้เรื่องใด ๆ ที่ตนระบุได้)

ทั้งนี้ ในการเข้าเป็นภาษีอนุสัญญา ECC ของไทยนั้น ดศ. ยืนยันว่าสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องออกกฎหมายเพื่อรองรับการเป็นภาคีของอนุสัญญาดังกล่าว เนื่องจากประเทศไทยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พระราชบัญญัติธุรกรรมฯ) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันสอดคล้องกับข้อผูกพันตามอนุสัญญา ECC แล้ว อย่างไรก็ดีประเทศไทยจะมีการจัดทำคำประกาศเพื่อกำหนดขอบเขตพันธกรณีภายใต้อนุสัญญา ECC เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายภายในของไทยพร้อมกับการยื่นภาคยานุวัติสารอนุสัญญา ECC ในเรื่องการไม่ใช้บังคับแก่สัญญาที่ต้องทำตามแบบที่กฎหมายไทยกำหนดและการระบุว่าหน่วยงานของรัฐไทยจะไม่ถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญา ECC

3. กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานอัยการสูงสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาแล้วเห็นด้วยในหลักการ/ไม่ขัดข้อง/เห็นชอบตามที่ ดศ. เสนอโดยเห็นว่า ดศ. ควรเร่งเตรียมความพร้อมให้กับภาคเอกชนรวมถึงความพร้อมของระบบที่หน่วยงานภาครัฐแต่ละหน่วยจะต้องจัดเตรียมเพื่อให้รองรับกับการทำนิติกรรมหรือสัญญาด้วย

14. เรื่อง ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์และแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (อียิปต์) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อประโยชน์ของไทย ให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ และร่างแผนปฏิบัติการฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ

สาระสำคัญ

ร่างบันทึกความเข้าใจฯ และร่างแผนปฏิบัติการฯ ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนระหว่างไทยและอียิปต์ โดยกำหนดทิศทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจร่วมกันในระยะ 5 ปี ผ่าน 5 สาขา ได้แก่

1) การค้าและการลงทุน เพื่อยกระดับการค้าและการลงทุนทวิภาคีระหว่างไทยกับอียิปต์ในอีก 5 ปีข้างหน้า และเพื่ออำนวยความสะดวกในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างภาคีคู่สัญญา พร้อมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSME) ของภาคีคู่สัญญา

2) การเกษตร เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเกษตรในสาขาที่ภาคีคู่สัญญามีความสนใจร่วมกัน และเพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านการค้าสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ฮาลาล ปศุสัตว์และประมง

3) การรวมกลุ่มและเขตอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคีคู่สัญญา และเพื่อส่งเสริมการลงทุนในการรวมกลุ่มและเขตอุตสาหกรรม รวมถึงความร่วมมือในด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม โดยกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพอาจรวมถึงยานยนต์และชิ้นส่วนโดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า อาหารและเกษตรแปรรูป ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

4) การท่องเที่ยว เพื่อเสริมสร้างการลงทุนภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องระหว่างภาคีคู่สัญญา รวมทั้งยกระดับการแบ่งปันข้อมูลเพื่อสร้างความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว ลดความเสี่ยงและความสูญเสีย

5) MSME เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของ MSME โดยบูรณาการเข้ากับห่วงโซ่มูลค่าโลกด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ รวมถึงพัฒนาเครือข่าย MSME ของภาคีคู่สัญญา

ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาแล้ว เห็นควรให้ความเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง และกระทรวงการต่างประเทศ (กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ร่างเอกสารทั้งสองฉบับไม่มีสถานะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

15. เรื่อง ขอความเห็นชอบการเข้าร่วมข้อริเริ่ม SheTrades Outlook ของ International Trade Center

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบการเข้าร่วมข้อริเริ่ม SheTrades Outlook ของประเทศไทย (ไทย) ทั้งนี้ หากมีการเพิ่มเติม ปรับปรุง และแก้ไขรายละเอียดของข้อริเริ่มดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

2. มอบหมาย พณ. พิจารณาเสนอรายชื่อบุคลากรเป็นที่ปรึกษาระดับประเทศ (National Consultant) สำหรับข้อริเริ่ม SheTrades Outlook แก่ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ [International Trade Center (ITC)] ดำเนินการต่อไป

3. มอบหมาย พณ. เป็นผู้ประสานงานหลักในช่วงที่มีการดำเนินการตามข้อริเริ่ม SheTrades Outlook

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ITC เป็นหน่วยงานร่วมขององค์การการค้าโลก [World Trade Organization (WTO)] และองค์การสหประชาชาติ [United Nations (UN)) ได้เล็งเห็นว่า ผู้ประกอบการสตรียังไม่ได้รับโอกาสด้านการค้า จึงได้จัดทำโครงการสตรีและการค้า (ITC SheTrades Initiative) ในปี 2558 เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนสตรีในการค้าขายระหว่างประเทศผ่านกิจกรรมและข้อริเริ่มต่าง ๆ โดยให้ความรู้ สร้างเครือข่าย และสนับสนุนด้านนโยบาย ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ [Sustainable Development Goals (SDGS)] โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน ต่อมาในปี 2563 ITC ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร จึงได้จัดทำข้อริเริ่ม SheTrades Outlook เพื่อสนับสนุนข้อมูลให้กับผู้กำหนดนโยบายด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการค้าของสตรีและเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมถึงจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพและการมีส่วนร่วมของสตรีในการค้าระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันมีประเทศที่เข้าร่วมข้อริเริ่มดังกล่าวประมาณ 50 ประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ ITC อยู่ระหว่างขยายจำนวนประเทศที่เข้าร่วมข้อริเริ่ม SheTrades Outlook

2. การเข้าร่วมข้อริเริ่ม SheTrades Outlook มีสาระสำคัญเป็นการพัฒนาเครื่องมือนโยบายเชิงนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้จัดทำนโยบายให้สามารถประเมินติดตาม และพัฒนาระบบนิเวศในการทำงาน (ecosystem) ของการมีส่วนร่วมของสตรีในด้านการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนสนับสนุนการจัดทำนโยบายตามกลุ่มตัวชี้วัดด้านการค้าและความเท่าเทียมทางเพศ 6 ประเด็น ได้แก่ (1) นโยบายการค้า (2) กรอบกฎหมายและระเบียบ (3) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (4) การเข้าถึงทักษะ (5) การเข้าถึงด้านการเงิน และ (6) การทำงานและสังคม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาแล้วเห็นชอบ โดย อก. และ สศช. มีความเห็นเพิ่มเติม เช่น ควรวางเป้าหมายในกลุ่มสตรีของเศรษฐกิจนอกระบบ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจในระบบ ทั้งนี้ กต. และ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การเข้าร่วมข้อริเริ่ม SheTrades Outlook ไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

16. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ครั้งที่ 5 (5th AMMW Meeting)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ครั้งที่5 (5th AMMW Meeting) (ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ พม. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป

2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ครั้งที่ 5 (The Fifth ASEAN Ministerial Meeting on Women: 5th AMMW Meeting)

สาระสำคัญของเรื่อง

พม. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ครั้งที่ 5 (5th AMMW Meeting) เพื่อเสนอในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ครั้งที่ 5 และให้รัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรีพิจารณาให้การรับรองในวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 (ประเทศไทยจะให้การรับรองภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว) ณ กรุงเนปยีดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและผ่านระบบออนไลน์

                    โดยร่างถ้อยแถลงร่วมฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ การเสริมพลังให้แก่สตรี และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบูรณาการมุมมองที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะในการดำเนินการ                ต่าง ๆ เช่น

1) ส่งเสริมการนำแนวทางที่สร้างสรรค์มาใช้ในการแก้ไขอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษา การดูแลสุขภาพ การมีส่วนร่วมของสตรีในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ การเลือกปฏิบัติต่อสตรีในสื่อหลักและสื่อสังคมออนไลน์

2) สนับสนุนการจัดตั้งหน่วยงานด้านเพศภาวะหรือหน่วยงานประสานงาน เพื่อให้ดำเนินการตามมาตรการด้านเพศภาวะอย่างมีประสิทธิภาพ

3) ส่งเสริมภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของสตรีในทุกภาคส่วน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงในองค์กรระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติเพื่อให้มั่นใจว่าเสียงและมุมมองของสตรีได้รับการรับฟังและสะท้อนในกระบวนการตัดสินใจ

4) เพิ่มความพยายามในการให้บริการสวัสดิการสังคมที่ตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มที่เปราะบาง รวมถึงผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ

5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีและการเข้าถึงงานที่มีคุณภาพและการคุ้มครองทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน สำหรับสตรีทั้งในและนอกระบบ และสนับสนุนการนำแนวทางที่ครอบคลุมมิติเพศภาวะมาใช้เพื่อให้มั่นใจว่าโอกาสที่เท่าเทียมสำหรับสตรีมีอยู่ในทุกระดับของกำลังแรงงาน

6) เสริมสร้างการเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ และการใช้ข้อมูลจำแนกเพศและสถิติที่เกี่ยวข้องกับเพศภาวะ เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายและการวางแผนโครงการที่มุ่งเน้นการเสริมพลังให้แก่สตรีและความเสมอภาคระหว่างเพศจากหลักฐานและข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ

7) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน พันธมิตรอาเซียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด เพื่อเร่งรัดการบรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังให้แก่สตรีในภูมิภาค

2. ประโยชน์ที่จะได้รับ การให้ความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมฯ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของประเทศไทย ไม่มีผลผูกพันงบประมาณ โดยถือเป็นการย้ำเจตจำนงและความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงและความเข้มแข็งต่อประเด็นการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรีในระดับภูมิภาค

ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ (กรมอาเซียน) พิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำโดยรวมและเห็นว่าร่างถ้อยแถลงร่วมดังกล่าวไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

17. เรื่อง ร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย (ไทย) กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ (ร่างความตกลงฯ) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ อว. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามดังกล่าว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

อว. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ (ร่างความตกลงฯ) จัดทำขึ้นบนหลักการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดขอบเขตของความร่วมมือ 9 สาขาความร่วมมือ เช่น (1) การวิจัยพื้นฐานและการวิจัยเชิงประยุกต์ และการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติ (2) การผลิตและการประยุกต์ใช้ไอโซโทปกัมมันตรังสีในอุตสาหกรรม การเกษตร และการแพทย์ซึ่งเป็นการดำเนินการความร่วมมือภายใต้ขอบเขตของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ที่ทั้งสองประเทศได้เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวแล้ว ซึ่งร่างความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่ทั้งสองฝ่ายแจ้งผ่านช่องทางทางการทูตว่าได้เสร็จสิ้นกระบวนการทางกฎหมายภายในที่จำเป็นและมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 10 ปี และจะขยายระยะเวลาโดยอัตโนมัติ 5 ปี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ และกรณีมอบหมายผู้แทนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามดังกล่าว (เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556) ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง/เห็นชอบ/เห็นชอบในหลักการของร่างความตกลงฯ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ

18. เรื่อง การต่ออายุบันทึกความเข้าใจสำหรับการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน (Satellite Warehouse) ภายใต้โครงการ DELSA

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจสำหรับการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน (Satellite Warehouse) ภายใต้โครงการ DELSA (ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้ มท. โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว

2. อนุมัติให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับดังกล่าว

สาระสำคัญของเรื่อง

1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 เมษายน 2564) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจสำหรับการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน (Satellite Warehouse) ภายใต้โครงการ DELSA (บันทึกความเข้าใจฯ) ตามที่ มท. เสนอ ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว กำหนดให้มีระยะเวลาในการบังคับใช้จนกว่าผู้มีส่วนร่วม ทั้งสองจะเห็นพ้องร่วมกันในการยกเลิก

2. เดิม มท. โดย ปภ. ได้จัดพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ (ตามข้อ 1) ผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 โดยบันทึกความเข้าใจฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่าง AHA Centre และ ปภ. เพื่อขับเคลื่อนแผนงานอาเซียนด้านโลจิสติกส์ฉุกเฉินและปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวในการตอบโต้ภัยพิบัติทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพในการตอบโต้ภัยพิบัติของอาเซียนผ่านความร่วมมือเชิงเทคนิคในการจัดตั้งคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียนในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางปฏิบัติความร่วมมือทางเทคนิคสำหรับการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน ภายใต้โครงการ DELSA ประกอบด้วย (1) ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุบทบาทหน้าที่ของ ปภ. และ AHA Centre และ (2) มาตรฐานวิธีปฏิบัติสำหรับการนำของเข้าและออกจากคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน ซึ่งประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน โดยตั้งอยู่ ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 16 ชัยนาท นับตั้งแต่คลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลดังกล่าวเปิดปฏิบัติการได้มีการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นศูนย์กลางและกลไกสำคัญในการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประสบภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมาได้สนับสนุนให้ความช่วยเหลือไปแล้วคิดเป็นมูลค่าประมาณ 22.93 ล้านบาท โดยเฉพาะในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมทั้งยังช่วยส่งเสริมบทบาทความเป็นผู้นำในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยในระดับภูมิภาคอีกด้วย

3. เนื่องจากบันทึกความเข้าใจฯ ได้สิ้นสุดอายุเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2566 AHA Centre จึงเสนอให้ ปภ. พิจารณารับคำร้องขอต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ โดยเสนอให้มีการต่ออายุอีก 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจากรัฐบาลญี่ปุ่น ภายใต้กองทุนบูรณาการความร่วมมือ ญี่ปุ่น - อาเซียน (Japan - ASEAN Integration Fund: JAIF) ต่อมา ปภ. ได้จัดทำร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแจ้งยอมรับคำร้องขอต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว โดยให้การขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจฯ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 ทั้งนี้ การต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์และเนื้อหาสาระของบันทึกความเข้าใจฯ รวมทั้งไม่ต้องลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่

19. เรื่อง ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 7 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือประจำปี ครั้งที่ 7 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจาก             คณะรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้ง ให้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือประจำปี ครั้งที่ 7ระหว่างไทยกับมาเลเซีย กับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

สาระสำคัญ

                    ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 7 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียในมิติที่สำคัญและแสดงเจตนารมณ์ร่วมของรัฐบาลทั้งสองประเทศที่จะขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกันในทุกระดับ ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองและประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนของทั้งสองฝ่าย โดยการผลักดันความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในด้านต่าง ๆ ได้แก่                     (1) ด้านการเมืองและความมั่นคง เช่น การส่งเสริมความมั่นคงบริเวณชายแดน ความร่วมมือด้านการทหาร การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการข้ามแดนอย่างผิดกฎหมาย การลักลอบนำเข้ายาเสพติด และการสนับสนุนแนวทางการแก้ไขสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ของไทย (2) ด้านเศรษฐกิจ เช่น การเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2570 การส่งเสริมการลงทุนและ                   การท่องเที่ยว การเร่งรัดโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยงบริเวณชายแดนไทย - มาเลเซีย ให้มีความคืบหน้า และความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและฮาลาล (3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น การส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา และการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน และ (4) ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและพหุภาคี โดยเฉพาะในกรอบอาเซียน และแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย- มาเลเซีย - ไทย (Indonesia - Malaysia - Thailand Growth Triangle: IMT - GT)

ประโยชน์และผลกระทบ

การประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ระดับนายกรัฐมนตรี ระหว่างไทยกับมาเลเซีย เป็นการทบทวนพัฒนาการความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ และกำหนดทิศทางความร่วมมือในระยะต่อไประหว่างไทยกับมาเลเซีย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

20. เรื่อง การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งมาเลเซียและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรม

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งมาเลเซียและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรม โดยหากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ

สาระสำคัญ

                    1. สืบเนื่องจากผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC)  ครั้งที่ 15 และการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นพื้นที่ชายแดน (JDS) ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2567 และระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ในกรอบ JC และ JDSในวันที่ 5 สิงหาคม 2567                         ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่ประชุมเห็นพ้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งมาเลเซีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านศิลปะและวัฒนธรรม และยกระดับความร่วมมือระดับทวิภาคีด้านวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศต่อไปในอนาคต และผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ครั้งที่ 15 ได้ปรับเปลี่ยนประเภทของความร่วมมือจากเดิมคือ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม (Agreement on Cultural Cooperation) เป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม (Memorandum of Understanding on  Cultural Cooperation) ซึ่งมุ่งเน้นให้มีการวางแผนหรือจัดทำกิจกรรมร่วมกันในภาพกว้าง และไม่ถือเป็นสัญญาผูกมัดใด ๆ (Non-legally binding) ภายใต้การจัดทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

2. สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มุ่งเน้นพัฒนาและส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองประเทศผ่านความร่วมมือในด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และมรดกทางวัฒนธรรม ในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ การส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างสถาบันศิลปะ มรดก และวัฒนธรรม ของทั้งสองประเทศ การยกระดับวรรณกรรม ศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์และกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนวัสดุ การร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สิ่งพิมพ์ การศึกษาวิจัย และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนบุคลากร เพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมนิทรรศการและการแสดงทางวัฒนธรรมในทั้งสองประเทศและความร่วมมืออื่น ๆ ตามที่ตกลงร่วมกัน

ประโยชน์และผลกระทบ

ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือในด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และมรดกทางวัฒนธรรมระหว่างไทยและมาเลเซีย บนพื้นฐานของการต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานที่เข้มแข็งในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและมาเลเซียต่อไปในอนาคต

21. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีดังนี้

1)          การกลับมาดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจ ?ระยะแรก? อีกครั้ง
2)  การขยายพิธีสาร 1 ของความตกลง GMS CBTA (เส้นทางและจุดผ่านแดน)

3) แผนดำเนินงาน CBTA ปี 2569-2571 รับทราบความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนดำเนินงาน CBTA ปี 2567 และเร่งรัดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและการค้า (Transport and Trade Facilitation Data: TTF) รวมถึงการรายงานข้อมูลด้านการขนส่งที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนใบอนุญาตขนส่ง (Permit) และเอกสารนำเข้าชั่วคราว (TAD) ที่ออกให้และใช้งานจริง จำนวนเที่ยวของการขนส่ง ปัญหาและอุปสรรคที่ผู้ประกอบการขนส่งพบจากการเดินรถ แผนดำเนินการในอนาคตสำหรับความตกลง GMS CBTA ฉบับปรับปรุง (CBTA 2.0)

4) การติดตามและประเมินผล

การมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสของคณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ (NTFC) ดำเนินการรวบรวม ประมวลผล และจัดส่งข้อมูล TTF ที่จุดผ่านแดนตามพิธีสาร 1 ของความตกลง GMS CBTA

ประโยชน์และผลกระทบ

ส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในด้านความเชื่อมโยงคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านและในระดับอนุภูมิภาค ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายคนและสินค้าภายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดนระหว่างประเทศสมาชิกที่มีพรมแดนติดต่อกัน รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาการค้าชายแดนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค

22. เรื่อง แผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 ? 2573

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 ? 2573 (แผนปฏิบัติการ) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

                    1. ประเทศไทยในฐานะประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) และความตกลงปารีส จะต้องดำเนินการจัดทำการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution : NDC) ซึ่งเป็นเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยมีเป้าหมายคือ ปี 2573 โดยประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่ร้อยละ 30 ? 40 ของกรณีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามปกติที่ไม่มีการดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกใด ๆ ภายในปี 2573 ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าว ประเทศไทยจะ                    ต้องควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ระหว่าง 333 ? 388 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ล้านตันฯ) ในปี 2573 (หากไม่มีการดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกใด ๆ ประเทศไทยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ 555 ล้านตันฯ)

2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 พฤษภาคม 2560) เห็นชอบให้จัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ระบุใน NDC ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จึงจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 ? 2573 (แผนปฏิบัติการฯ) ขึ้น ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาที่ครอบคลุม 5 สาขาหลัก ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ได้แก่ (1) สาขาพลังงาน (2) สาขาคมนาคมขนส่ง (3) สาขาการจัดการของเสียชุมชนและน้ำเสียอุตสาหกรรม (4) กระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และ (5) สาขาเกษตร โดยแนวทางที่จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ มีทั้งสิ้น 5 แนวทาง สรุปได้ ดังนี้

แนวทาง          สาระสำคัญ
แนวทางที่ 1 ขับเคลื่อนและติดตามผล
การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศรายสาขา          มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการที่จะดำเนินการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศใน 5 สาขา เช่น
- สาขาพลังงาน : การบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงาน
ในโรงงาน/อาคารควบคุม
- สาขาคมนาคมขนส่ง : การส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในภาคขนส่ง
- สาขาการจัดการของเสียชุมชนและน้ำเสียอุตสาหกรรม : การนำก๊าซจากบ่อฝังกลบขยะมูลฝอยไปเผาทิ้งหรือนำไปใช้ประโยชน์ การยุติการเผากลางแจ้ง
  • สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ : การใช้วัสดุทดแทนวัสดุที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น ปูนเม็ด ปูนซีเมนต์ สารทำความเย็น
- สาขาเกษตร : การลดการใช้ปุ๋ยเคมี การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง
แนวทางที่ 2 พัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้เครื่องมือและกลไกในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก          มีสาระสำคัญเป็นกำหนดมาตรการในการสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น (1) จัดทำพระราชบัญญัติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (2) ปรับปรุงอัตราภาษียานยนต์ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3) ปรับปรุงกฎหมายเพื่อควบคุมสารในกระบวนการอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง (4) พัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจกแก่ผู้ประกอบการ
แนวทางที่ 3 เสริมสร้างศักยภาพการมีส่วนร่วม และเครือข่ายความร่วมมือ ภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชน          มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการในการสร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เช่น (1) สร้างขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมในการลดก๊าซเรือนกระจก
(2) สร้างเครือข่ายประชาชนหรือชุมชนในการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจก (3) จัดให้มีช่องทางเผยแพร่นโยบายด้านการลดก๊าซเรือนกระจก
แนวทางที่ 4 เตรียมความพร้อมการดำเนินการมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวของประเทศ          มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการในการเตรียมความพร้อมของประเทศ เช่น (1) ศึกษาวิจัยเทคโนโลยีการจัดการขยะ
(2) ศึกษาวิจัยปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์คอนกรีตคาร์บอนต่ำ
(3) สำรวจศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน
แนวทางที่ 5 ส่งเสริมการดำเนินความร่วมมือด้านการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ          มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการในการขอรับการสนับสนุนจากต่างประเทศ เช่น (1) ส่งเสริมให้หน่วยงานภายในประเทศสามารถเข้าถึงเงินทุนจากกองทุนระหว่างประเทศ (2) เข้าร่วมเป็นภาคีหรือการรวมกลุ่มความร่วมมือด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับสากลและระดับภูมิภาค

ทั้งนี้ ทส. แจ้งว่า แผนปฏิบัติการฯ กำหนดระยะเวลาตามแผน ระหว่างปี 2564 ? 2573 เนื่องจากให้สอดคล้องกับกรอบเวลาดำเนินการตามเป้าหมาย NDC ซึ่งกำหนดระหว่างปี 2564 ? 2573 ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการตามแผนดังกล่าวแล้วตั้งแต่ปี 2564

23. เรื่อง การเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน World Championships for Marching Show Bands ในปี พ.ศ. 2570 และ ปี พ.ศ. 2571

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการเสนอให้ประเทศไทยได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน World Championships for Marching Show Bands ในปี พ.ศ. 2570 และปี พ.ศ. 2571 และเห็นชอบให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นเจ้าภาพร่วมกับสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล ในการเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน World Championships for Marching Show Bands ในปี พ.ศ. 2570 และปี พ.ศ. 2571 ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

                    1. กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากลได้ดำเนินโครงการเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ กิจกรรมการพัฒนาวงดุริยางค์เครื่องลมเยาวชนไทย (Thai Youth Winds : TYW) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน โดยสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากลได้รับการแต่งตั้งจากสมาคมวงโยธวาทิตโลก World Association of Marching Show Bands หรือ (WAMSB) ซึ่งเป็นองค์กรกลางด้านการพัฒนาและจัดการแข่งขันดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1994 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองคาลการี ประเทศแคนาดา มีสมาชิกจากทุกภูมิภาคกว่า 30 ประเทศ ซึ่งสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล ดำเนินงานในฐานะตัวแทนประเทศไทยภายใต้ชื่อ WAMSB Thailand                              สมาคมวงโยธวาทิตโลก World Association of Marching Show Bands หรือ (WAMSB) ได้เล็งเห็นจากการที่ประเทศไทย โดยสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก พ.ศ. 2565 (WAMSB World Championships 2022) และในปี พ.ศ. 2567 จึงได้ทำหนังสือเชิญให้ประเทศไทยร่วมชิงสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพการประกวด World Championships for Marching Show Bands ในปี พ.ศ. 2570 และ ปี พ.ศ. 2571 ซึ่งจะมีการลงคะแนนเสียงในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของ WAMSB ในวันที่ 15 ธันวาคม 2567             เวลา 22.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ โดยสมาคมฯ ได้เชิญกระทรวงวัฒนธรรม โดยเชิญกรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมเป็นเจ้าภาพในการเสนอให้ประเทศไทยได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพการประกวดดังกล่าว

2. ความพร้อมในการร่วมชิงสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพประกวด World Championships for Marching Show Bands ในปี พ.ศ. 2570 และ ปี พ.ศ. 2571

1) หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในขณะนี้วงดุริยางค์เครื่องลมในสถานศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ สามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมการฝึกซ้อมเตรียมตัวเข้าร่วมการประกวด และเข้าร่วมการประกวดได้เป็นปกติแล้ว

2) หลังจากที่รัฐบาลไทยได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพการจัดการประกวดชิงแชมป์โลกเมื่อปี พ.ศ. 2566 สมาคมดนตรีและมาร์ชิ่งอาร์ทสากล ได้มีการดำเนินงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาดนตรีศึกษา ดนตรีมาร์ชชิ่งอาร์ท และวงโยธวาทิตในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดการประกวดตามภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ ขอนแก่น มหาสารคาม สงขลา เป็นต้น เพื่อให้สามารถรายงานสถานภาพความพร้อมของประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพต่อ World Association of Marching Show Bands ได้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

3) สมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล ได้จัดการอบรมผู้ตัดสินวงดุริยางค์เครื่องลมตามมาตรฐานของ World Association of Marching Show Bands และ Drum Corps International อย่างต่อเนื่อง

4) สมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล ได้มีการดำเนินงานร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเกณฑ์วัดและขั้นตอนการประเมินมาตรฐานอาชีพ เพื่อทดลองใช้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ประโยชน์และผลกระทบ

1. ด้านสังคม

1) เยาวชนและบุคลากรด้านดนตรีสากลและมาร์ชชิ่งอาร์ท ได้แสดงความสามารถในการเข้าร่วมการแข่งขัน

2) เยาวชนไทยได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย

3) เยาวชนไทยและเยาวชนต่างชาติ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ร่วมกันเกิดแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทย สนใจและหันมาเล่นดนตรีมากขึ้น

2. ด้านเศรษฐกิจ

1) สร้างภาพลักษณ์ให้แก่ประเทศไทย ในการได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดระดับโลก

2) ส่งเสริมเศรษฐกิจของไทย โดยจะมีรายได้จากการเดินทางเข้าร่วมการแข่งขันของนานาชาติ ซึ่งจะมีผู้เข้าประกวดและผู้ติดตาม จากสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 30 ประเทศ ผู้เข้าร่วมการแข่งขันไม่น้อยกว่า 2,500 คน และผู้เข้าชมจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน

24. เรื่อง การเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) ปี 2568-2569
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลงองค์การการค้าโลก[World Trade Organization (WTO)) ปี 2568-2569 สำหรับสินค้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ (ชนิดแห้งเป็นผงและแห้งไม่เป็นผง) หัวพันธุ์มันฝรั่ง และหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ตามมติคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ (คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่                 28 สิงหาคม 2567 เสนอ ดังนี้
ชนิดสินค้าเกษตร          ปริมาณโควตา (ตันต่อปี)          อัตราภาษี          ช่วงเวลานำเข้า
1. เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่          3.15          - ในโควตาร้อยละ 0
- นอกโควตาร้อยละ 218          1 มกราคม 2568 - 31 ธันวาคม 2569
2. หอมหัวใหญ่ (ชนิดแห้งเป็นผงและแห้งไม่เป็นผง)           1,256.50          - ในโควตาร้อยละ 27
- นอกโควตาร้อยละ 142          1 มกราคม 2568 - 31 ธันวาคม 2569
3. หัวพันธุ์มันฝรั่ง          ไม่จำกัดจำนวน          - ในโควตาร้อยละ 0
- นอกโควตาร้อยละ 125          1 มกราคม 2568 - 31 ธันวาคม 2569
4. หัวมันฝรั่งสดเพื่อ             แปรรูป          - ปี 2568 จำนวน 78,000
- ปี 2569 จำนวน 80,000          - ในโควตาร้อยละ 27
- นอกโควตาร้อยละ 125          - เดือนมกราคม 2568 และเดือนมกราคม 2569
-1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2568
-1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2569

หมายเหตุ : การนำเข้าในเดือนมกราคมให้นำเข้าไม่เกินร้อยละ 20 ของปริมาณรวมทั้งหมดที่ได้รับการจัดสรรในโควตาของผู้ประกอบการแต่ละราย
ทั้งนี้ การบริหารการนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ (ชนิดแห้งเป็นผงและแห้งไม่เป็นผง) หัวพันธุ์มันฝรั่ง และหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขและการกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง (คณะอนุกรรมการฯ)

สาระสำคัญของเรื่อง

คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ รายงานว่า

1. ในคราวการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนฯ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอรรถกร ศิริลัทธยากร) เป็นประธาน] มีมติเห็นชอบการเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามพันธกรณีความตกลง WTO ปี 2568 - 2569 จำนวน 4 รายการ ได้แก่ สินค้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ (ชนิดแห้งเป็นผงและไม่เป็นผง) หัวพันธุ์มันฝรั่ง และหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ซึ่งมีปริมาณโควตาและอัตราภาษีแตกต่างจากที่ผูกพันไว้กับ WTO โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1.1 ปริมาณโควตาและอัตราภาษี ชนิดสินค้าเกษตร/รายการ

          ที่ผูกพันตามกรอบ WTO          ที่ขอเปิดตลาดในครั้งนี้
(1) เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่
ปริมาณโควตา (ตันต่อปี)          3.15
อัตราภาษีในโควตา          ร้อยละ 30          ร้อยละ 0
อัตราภาษีนอกโควตา          ร้อยละ 218
(2) หอมหัวใหญ่ (ชนิดแห้งเป็นผงและไม่เป็นผง
ปริมาณโควตา (ตันต่อปี)          365          1,256.50
อัตราภาษีในโควตา          ร้อยละ 27
อัตราภาษีนอกโควตา          ร้อยละ 142
(3) หัวพันธุ์มันฝรั่ง
ปริมาณโควตา (ตันต่อปี)          302          ไม่จำกัดจำนวน
อัตราภาษีในโควตา          ร้อยละ 27          ร้อยละ 0
อัตราภาษีนอกโควตา          ร้อยละ 125
(4) หัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป
ปริมาณโควตา (ตันต่อปี)          302          - ปี 2568 จำนวน 78,000
- ปี 2569 จำนวน 80,000
อัตราภาษีในโควตา          ร้อยละ 27
อัตราภาษีนอกโควตา          ร้อยละ 125

1.2 การบริหารการนำเข้า

ชนิดสินค้าเกษตร          การบริหารการนำเข้า
(1) เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่          (1) ให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ เป็นผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว โดยให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการฯ
(2) ให้นำเข้าได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568-31 ธันวาคม 2569
(2) หอมหัวใหญ่ (แห้งเป็นผงและไม่เป็นผง)          (1) ให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ เป็นผู้บริหารการนำเข้า เพื่อจัดสรรให้นิติบุคคลเป็น               ผู้นำเข้าและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการฯ
(2) ให้นำเข้าได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 ? 31  ธันวาคม 2569
(3) หัวพันธุ์มันฝรั่ง          อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนด โดยให้นำเข้าได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 ? 31 ธันวาคม 2569 ดังนี้
(1) ให้มีการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งปีละ 3 ครั้ง เพื่อนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก
โดยผู้มีความประสงค์จะนำเข้าต้องจัดทำหนังสือและแจ้งความประสงค์มายังสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
ครั้งที่          การส่งหนังสือรับรองพื้นที่เพาะปลูก          การพิจารณาการนำเข้าของคณะอนุกรรมการฯ          การเพาะปลูกของเกษตรกร
1          ตุลาคม ? พฤศจิกายน          ธันวาคม          เมษายน-กรกฎาคม
2          เมษายน          พฤษภาคม-มิถุนายน          สิงหาคม-ตุลาคม
3          มิถุนายน           กรกฎาคม ? สิงหาคม          พฤศจิกายน ? มกราคม (ปีถัดไป)
(2) ให้นิติบุคคลเป็นผู้นำเข้า
(3) ให้ผู้นำเข้าทำหนังสือรับรองพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งมีทะเบียนเกษตรกรและข้อมูลปริมาณหัวพันธุ์มันฝรั่ง โดยมีเกษตรจังหวัดหรือสหกรณ์จังหวัดรับรอง และในกรณีที่บริษัทนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อนำมาเพาะปลูกในพื้นที่ของตนเองนั้น ให้บริษัททำหนังสือรับรองพื้นที่เพาะปลูกและข้อมูลปริมาณหัวพันธุ์มันฝรั่งโดยมีเกษตรกรจังหวัดหรือสหกรณ์จังหวัดรับรอง
4) ให้ผู้นำเข้าหรือผู้แทนผู้นำเข้าจำหน่ายหัวพันธุ์มันฝรั่งให้แก่เกษตรกรไม่เกินกิโลกรัมละ  35 บาท  และรับซื้อหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปจากเกษตรกร ดังนี้
-ในช่วงฤดูฝน (กรกฎาคม - ธันวาคม) ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 14.00
-ในช่วงฤดูแล้ง (มกราคม - มิถุนายน) ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 11.00 บาท

(4) หัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป          อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนด ได้แก่
(1) ผู้นำเข้าต้องเป็นนิติบุคคล
(2) ผู้นำเข้าหรือผู้แทนนำเข้ามีการทำสัญญารับซื้อหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปจากเกษตรกร ดังนี้
- ในช่วงดูฝน (กรกฎาคม - ธันวาคม) ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 14.00 บาท
- ในช่วงฤดูแล้ง (มกราคม - มิถุนายน) ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 11.00 บาท
หากตรวจสอบพบว่าผู้นำเข้าหรือผู้แทนผู้นำเข้ามีการรับซื้อในราคาต่ำกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาจะมีผลต่อการพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้าให้แก่ผู้นำเข้าในปีต่อ
(3) ให้มีการนำเข้าในเดือนมกราคม และเดือนกรกฎาคม - ธันวาคมของทุกปี โดยการนำเข้าในเดือนมกราคมให้นำเข้าไม่เกินร้อยละ 20 ของปริมาณรวมทั้งหมดที่ได้รับการจัดสรรในโควตาของผู้ประกอบการแต่ละราย

หมายเหตุ :           1) ราคารับซื้อหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปคำนวณจากต้นทุนบวกกำไรร้อยละ 30

2) การกำหนดให้นำเข้าหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูปในเดือนมกราคม และเดือนกรกฎาคม ? ธันวาคมเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

                    2. คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการวิเคราะห์แล้วว่า การเปิดตลาดเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่  หอมหัวใหญ่ หัวพันธุ์มันฝรั่ง และหัวมันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป ตามกรอบความตกลง WTO ปี 2568-2569  เป็นการช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรได้ใช้เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ และหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ และหอมหัวใหญ่ (ชนิดแห้งเป็นผงและไม่เป็นผง) ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย ดังนั้น การเปิดตลาดเกษตรทั้ง 4 ชนิด ดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ผลิตภายในประเทศ  ทั้งนี้ การเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลง WTO ปี 2568-2569 เป็นการดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติ                              [มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547] โดยตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไป หากสินค้ารายการใดจำเป็นต้องเปิดตลาด และมีปริมาณในโควตา อัตราภาษีในและนอกโควตาแตกต่างจากที่กำหนด [มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                   16 มกราคม 2539] ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบทุกรายการเป็นแต่ละครั้งไป

25. เรื่อง พิธีสารฉบับที่สองเพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบพิธีสารฉบับที่สองเพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และเอกสารแนบท้าย ซึ่งได้มีการลงนามแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567

2. อนุมัติให้ พณ. นำพิธีสารฉบับที่สองเพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และเอกสารแนบท้าย ที่ได้มีการลงนามแล้วเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

3. มอบหมายให้ กต. ดำเนินการนำส่งสัตยาบันสารของพิธีสารฉบับที่สองเพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ให้แก่เลขาธิการอาเซียนเพื่อทราบการให้สัตยาบันพิธีสารดังกล่าว เมื่อรัฐสภามีมติเห็นชอบตามข้อ 1.2 แล้ว

4. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พิธีสารฉบับที่สองเพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีผลบังคับใช้ 60 วัน หลังจากวันที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสมาชิกอาเซียนอย่างน้อย 4 ประเทศ ได้นำส่งสัตยาบันให้เลขาธิการอาเซียนแล้ว สำหรับสมาชิกที่เหลือจะมีผลใช้บังคับ 60 วัน หลังจากวันที่สมาชิกนั้น ได้รับการส่งนำสัตยาบันสารให้เลขาธิการอาเซียน

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area: AANZFTA)1 เป็นความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้า AANZFTA ซึ่งมีผลใช้บังคับสำหรับประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกในการค้าสินค้าระหว่างประเทศ มุ่งเน้นการลดอุปสรรคทางการค้าลดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ ตลอดจนเพิ่มการค้าและการลงทุน ที่ผ่านมาประเทศสมาชิกได้มีการจัดทำพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงฉบับนี้ไปแล้ว 1 ครั้ง โดยที่ความตกลง AANZFTA ได้กำหนดให้สมาชิกต้องดำเนินการทบทวนความตกลง AANZFTA เป็นการทั่วไป (General Review) เพื่อส่งเสริมการดำเนินพันธกรณีตามวัตถุประสงค์ของความตกลง และกำหนดให้มีการทบทวนทุก ๆ 5 ปี ภายหลังจากนั้น หรือตามที่สมาชิกเห็นสมควรร่วมกัน จึงได้มีการจัดตั้งร่างพิธีสารฉบับที่สองเพื่อแก้ไขความตกลง AANZFTA ขึ้น โดยประเทศสมาชิกทั้ง 12 ประเทศได้ลงนามครบถ้วนแล้ว ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 ตามมติคณะรัฐมนตรี (2 มกราคม 2567)

2. พิธีสารฉบับที่สองฯ มีสาระสำคัญเป็นการยกระดับและเปลี่ยนแปลงพันธกรณีตามความตกลง AANZFTA ฉบับปัจจุบันให้ครอบคลุมข้อผูกพันด้านการค้า การบริการ การลงทุน และประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นพื้นฐานในการเจรจา ซึ่งมีการแก้ไขเอกสารแนบท้ายความตกลง AANZFTA ที่มีข้อทบทวนรวมทั้งสิ้น 21 บท และ 4 ภาคผนวก2 ดังนี้

ประเด็น          ตัวอย่าง
1) บทบัญญัติที่ปรับปรุงความตกลงเดิมจำนวน 13 บท3 อาทิ          ?           ไทยผูกพันตลาดโดยใช้ความตกลง RCEP เป็นพื้นฐาน โดยให้นักลงทุนของประเทศสมาชิกเข้ามาลงทุนในสาขาที่ไม่ใช่บริการ (non-service sector) เพิ่มจากที่ความตกลง RCEP กำหนด 5สาขาย่อย20
?           ไทยได้ผูกพันหลักการ Ratchet21 ในการให้ประโยชน์กับนักลงทุนของภาคีโดยอัตโนมัติ หากไทยมีการปรับปรุงกฎหมายให้เสรีมากขึ้นและไม่สามารถแก้ไขให้มีความเข้มงวดกว่าเดิมได้ (หลักการ Ratchet จะมีผลบังคับใช้ในอีก 5 ปี หลังจากพิธีสารฉบับนี้มีผลบังคับใช้)
?          ไทยผูกพันหลักการ Most Favoured Nation Treatment (MFN)6 คือ การให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนของภาคีอัตโนมัติ หากไทยมีการขยายสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าให้กับประเทศนอกภาคีในอนาคต
ทั้งนี้ หากไทยไม่มีการแก้ไขมาตรการดังกล่าวในอนาคตเท่ากับว่าไทยยังคงผูกพันเท่ากับมาตรการหรือกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน และปัจจุบันไทยไม่ได้ผูกพันเกินกว่าที่กฎหมายของไทยกำหนด และไม่ได้ส่งผลให้ไทยต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
?           ขยายขอบเขตการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า โดยให้ใช้การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าแบบเต็มส่วน (Full Cumulation) มาบังคับใช้7 เพื่ออนุญาตให้ประเทศสมาชิกสามารถนำวัตถุดิบที่ได้นำเข้าจากประเทศสมาชิกอื่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเสมือนมีถิ่นกำเนิดในประเทศตัวเอง
?          การใช้ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (Single Window)
2) บทบัญญัติที่เพิ่มใหม่ จำนวน 3 บท8          ?           การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกที่ครอบคลุมเรื่องสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจสีน้ำเงิน เศรษฐกิจหมุนเวียน พลังงาน และแรงงาน ซึ่งถือเป็นความตามตกลงฉบับแรกของอาเซียนที่มีบทการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน
? มีการส่งเสริมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ระหว่างกัน
? มีการเพิ่มมาตรการขจัดการกีดกันทางการค้าทั้งในรูปแบบภาษีและมิใช่ภาษีสำหรับสินค้าจำเป็นในช่วงวิกฤตด้านมนุษยธรรม โรคระบาดหรือสถานการณ์การแพร่กระจายของโรคระบาด (Non-Tariff Measures on Essential Goods during Humanitarian Crises, Epidemics or        Pandemics) ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ยังไม่เคยบรรจุอยู่ในความตกลงลงฉบับอื่น
3) บทบัญญัติที่ไม่ได้แก้ไขรวม 5 บท          ?          บทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบัน
?          บทมาตรการปกป้อง
?          บททรัพย์สินทางปัญญา
?          บทมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
?          บทความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

                              3. การผูกพันของไทยภายใต้พิธีสารฉบับนี้จะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ ในการเปิดตลาดการค้า การบริการ การลงทุน และประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการช่วยขยายห่วงโซ่อุปทานและส่งเสริมความคล่องตัวทางการค้าในภูมิภาค ช่วยขจัดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นผ่านการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนด้วยแล้ว ตลอดจนมี                 การประชุมและร่วมเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 26 หน่วยงาน ปรากฏว่าไทยไม่ได้ผูกพันเปิดตลาดการค้า                การบริการและการลงทุนเกินกว่าที่กฎหมายไทยกำหนด และไม่ได้ส่งผลให้ไทยต้องแก้ไขกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด โดยความเห็นเดิมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาแล้ว เห็นชอบ/ไม่ขัดข้องต่อร่างพิธีสารฯ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีความเห็นเพิ่มเติม เช่น มีสินค้าเกษตรบางประเภทที่ต้องเร่งปรับตัวกับการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงการนำเข้าสินค้าทดแทนซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย จึงควรมีมาตรการรองรับผลกระทบผ่านกลไกกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศควรเสนอให้มีการระบุการมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยด้านระเบียบวิธีปฏิบัติในบทที่ 3 กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ข้อบทที่ 6 กฎการสะสมของถิ่นกำเนิด เพื่อให้การมีผลบังคับใช้และการดำเนินงานของไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการแก้ไขพันธกรณีเดิมของความตกลงการค้าเสรี และควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการรับทราบและใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง AANZFTA ได้ในวงกว้าง รวมทั้งควรมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขภายใต้ความตกลง AANZFTA อย่างต่อเนื่องด้วยทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (2 มกราคม 2567) เห็นชอบร่างพิธีสารฉบับที่สองเพื่อแก้ไขความตกลง AANZFTA และเอกสารแนบท้าย และให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป และได้มีการลงนามในร่างพิธีสารฯ และเอกสารแนบท้ายแล้วเมื่อวันที่ 26 มกราคม 267

4. พิธีสารฉบับที่สองเพื่อแก้ไขความตกลง AANZFTA จะมีผลใช้บังคับ 60 วันหลังจากวันที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างน้อย 4 ประเทศนำส่งสัตยาบันสารแก่เลขาธิการอาเซียนแล้ว และจะมีผลใช้บังคับกับประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันภายหลังจากนั้นใน 60 วัน หลังจากประเทศสมาชิกนั้นได้นำส่งสัตยาบันสารของตนแก่เลขาธิการอาเซียน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพิธีสารฉบับนี้ยังไม่มีผลใช้บังคับแก่ประเทศสมาชิกใด แม้ว่าสมาชิกทั้ง 12 ประเทศจะได้ลงนามในพิธีสารฉบับที่สองเรียบร้อยแล้วและประเทศในอาเซียนอย่างน้อย 4 ประเทศได้นำสัตยาบันสารยื่นแก่เลขาธิการอาเซียนแล้ว เนื่องจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยังไม่ได้ยื่นสัตยาบันสารแก่เลขาธิการอาเซียน (คาดว่าจะมีการยื่นภายในปี 2567) ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะได้มีการลงนามในพิธีสารฉบับที่สองดังกล่าวแล้วตามมติคณะรัฐมนตรี (2 มกราคม 2567) แต่รัฐสภายังไม่ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบพิธีสารฉบับที่สองฯ และเอกสารแนบท้ายดังกล่าวตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกระทรวงพาณิชย์จึงได้เสนอพิธีสารฉบับที่สองฯ มาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อส่งพิธีสารฉบับที่สองฯ และเอกสารแนบท้ายที่มีการลงนามแล้วเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว จึงจะดำเนินการเพื่อแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันตามร่างพิธีสารฉบับที่สองฯ ต่อไป

1 AANZFTA ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 12 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา เวียดนาม บรูโนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
2 ไทยใช้ข้อผูกพันการเปิดตลาด การเปิดเสรีการลงทุน การลงทุน และการเปิดตลาดการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาของไทยภายใต้ความตกลง RCEP เป็นพื้นฐาน โดยยังคงเงื่อนไขอื่น ๆ ตามข้อผูกพันเดิมของไทยที่น่านมา อย่างไรก็ตาม              มีบางส่วนที่ไทยผูกพันเกินกว่าความตกลง RCEP เช่น การขยายระยะเวลาพำนักของบุคคลธรรมดาประเภทผู้เยี่ยมเยือนทางธุรกิจ (Business Visitor) จากเดิมไม่เกิน 90 วัน ให้สามารถขยายได้ไม่เกิน 1 ปี
3 1) บทการจัดตั้งเขตการค้าเสรี วัตถุประสงค์ และคำนิยามทั่วไป 2) บทการค้าสินค้า 3) บทกฎถิ่นกำเนิดสินสินค้า   4) บทพิธีการ ศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 5) บทมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และกระบวนการตรวจสอบและรับรอง 6) บทการค้าบริการ 7) บทการเคลื่อนย้ายบุคคคลธรรมดา 8) บทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 9) บทการลงทุน 10) บทการแข่งขันทางการค้า 11) บทบัญญัติทั่วไปและข้อยกเว้น 12) บทการปรึกษาหารือและการระงับข้อพิพาท และ 13) บทบัญญัติสุดท้าย
4 1) การผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร ๒) การผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์และศัลยกรรม และเครื่องใช้ทางศัลยศาสตร์กระดูก 3) การผลิตอุปกรณ์ควบคุมกระบวนการผลิตในทางอุตสาหกรรม 4) การผลิตอากาศยานและยานอวกาศ 5) การผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Food Packaging)
5 ไทยผูกพันกลไก Ratchet ในสาขาเช่น 1) การผลิตไพ่ 2) การผลิตธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ 3) การผลิตสลากกินแบ่งรัฐบาล 4) การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ 5) การเพราะพันธุ์เมล็ดหัวหอมใหญ่ 6) การเลี้ยงโค กระบือ ม้า แพะ แกะ 7) การเพราะเลี้ยงปลาทูน่าในกระชังน้ำลึกและกุ้งมังกร 6 สายพันธุ์
6 ภายหลังจากที่พิธีสารฉบับนี้มีผลใช้บังคับในสาขา 1) การผลิต 2) เหมืองแร่ และ 3) การทำฟาร์มปศุสัตว์สาขาการเกษตรซึ่งมีระดับการผูกพันเทียบเท่าความตกลง RCEP
7 เดิมจะต้องมีมูลค่าของกระบวนการผลิตและวัตถุดิบในประเทศของตัวเองถึงร้อยละ 40 จึงจะใช้การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าได้แต่การแก้ไขความตกลงในครั้งนี้อนุญาตให้ใช้การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าแบบเต็มส่วน โดยมีมูลค่าของกระบวนการผลิตและวัตถุดิบในประเทศตัวเองแค่ร้อยละ 1 ก็สามารถใช้การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าได้ อันจะทำให้ผู้ประกอบการไทยมีทางเลือกในการส่งออกและเลือกใช้วัตถุดิบทำให้สะสมถิ่นกำเนิดสินค้าได้ง่ายขึ้น
8 1) บทการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) บทการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 3) บทวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และ                 รายย่อย

แต่งตั้ง

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                   (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้

1. นางสาวเสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย นายสัตวแพทย์เชี่ยวชาญ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัย สาขาโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน) กรมควบคุมโรค ให้ตำรงตำแหน่ง นายสัตวแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2567

                    2. นายขรรค์ชัย มลังไพศรพณ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมสาขาออร์โธปิดิกส์) กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมสาขาออร์โธปิดิกส์) โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่              25 มกราคม 2567

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายประวีณ ตัณฑประภา ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาล [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์และมีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางสาววรนัดดา ศรีสุพรรณ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง เภสัชกรเชี่ยวชาญ (ด้านเภสัชกรรม) กองบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการอาหารและยาทรงคุณวุฒิ (ด้านอาหารและยา) กลุ่มที่ปรึกษาระดับ กระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายเพชรฤกษ์ แทนสวัสดิ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                   (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มี คุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้

1. นายโตมร ทองศรี นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2567

2. นางสุภาพร พุทธรัตน์ นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านสาธารณสุข) กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2567

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                               (กระทรวงวัฒนธรรม)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง นายประสพ                   เรียงเงิน ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง  ข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 16 ราย ดังนี้  1. พลตำรวจโท พัฒนวุธ อังคะนาวิน                        2.  นายภัทร บุญประกอบ  3. นางสาวตรีชฎา ศรีธาดา  4.  นายธนวรรษ เพ็งดิษฐ์  5. นางสาวณัฐณิชา บุรณศิริ
6. นายภูวเดช นพฤทธิ์  7. นางจุฑาพัตธน์ เมนะสวัสดิ์  8. นายธงทอง นิพัทธรุจิ  9. นางสาวปรมาภรณ์ บริบูรณ์
10. นายนนทภูมิ ตั้งปณิธานนท์  11. นางสาวชนิสรา โสกันต์  12. นายพงศกร รัตนเรืองวัฒนา 13. นายตติยภัทร์    ปิติเศรษฐพันธุ์ 14.  นางณริยา บุญเสรฐ  15. นายภัทร ภมรมนตรี 16. นางสาวอรทัย เกิดทรัพย์

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2567 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบด้วยแล้ว

34. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน (กระทรวงการคลัง)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน จำนวน 7 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เสนอแต่งตั้งในครั้งนี้          ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์
1. นายมรกต พิธรัตน์          ด้านการเงินระดับชุมชน
2. นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย          ด้านการพัฒนาชุมชน
3. นายนิพนธ์ ฮะกีมี          ด้านกฎหมาย
4. นายนรินทร์ กัลยาณมิตร          ด้านเศรษฐกิจ การเงิน หรือการคลัง
5. นางปรางมาศ เธียรธนู          ด้านการบัญชี
6. นายกิตติพงศ์ บุญยิ่ง          ด้านการบริหารความเสี่ยงหรือการประกันภัย
7. นายผยง ศรีวณิช          ด้านเทคโนโลยี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2567

35. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า (กระทรวงพาณิชย์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จำนวน 12 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้ 1. นายสมศักดิ์ พณิชยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน) 2. นายชัยณรงค์ โชไชย ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน)                  3. นางภาณุมาศ สิทธิเวคิน ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน)  4. นางสาวอุรวี เงารุ่งเรือง  ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน)
5. นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์  ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน)  6. นายวัชระ เปียแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน)
7. นายพิเศษ จียาศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน) 8. นางสาววัชรี วัฒนพรพรหม  ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน)
9. นายธนัญชัย ลิมปิพิพัฒนากร  ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน)  10. นายพินัย ณ นคร ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคราชการ)
11.นางสาวอรพรรณ พนัสพัฒนา ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคราชการ) 12. นางพัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส ผู้ทรงคุณวุฒิ                  (ภาคราชการ)

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2567


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ