คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงาน เรื่อง การช่วยเหลือเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ดังนี้
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ได้รับรายงานผลการรับเด็กถูกทอดทิ้งตามข้อตกลงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่ถูกทอดทิ้ง เพื่อป้องกันปัญหามารดาทอดทิ้งบุตรภายหลังคลอดจากสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต สถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ สถานสงเคราะห์เด็กบ้านแคนทอง สถานสงเคราะห์เด็กบ้านสงขลา สถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี และสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 9 — 25 กันยายน 2548 พบว่ามีเด็กถูกทอดทิ้งจำนวน 59 ราย ดังนี้
1. จำแนกตามอายุของเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ได้แก่ อายุแรกเกิด — 6 เดือน จำนวน 25 ราย อายุ 6 เดือน — 1 ปี จำนวน 6 ราย อายุ 1 ปี — 1 ปี 6 เดือน จำนวน 2 ราย อายุ 1 ปี 6 เดือน — 2 ปี จำนวน 3 ราย อายุ 2 ปีขึ้นไป จำนวน 23 ราย
2. จำแนกตามหน่วยงานที่นำส่งเด็ก ได้แก่ โรงพยาบาล จำนวน 2 ราย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 12 ราย ครอบครัว (บิดา มารดา) จำนวน 9 ราย หน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ จำนวน 27 ราย ตำรวจ องค์กรเอกชน จำนวน 9 ราย
3. จำแนกตามประเภทที่เด็กถูกทอดทิ้ง แบ่งเป็น
3.1 กรณีที่บิดามารดาฝากไว้เป็นการชั่วคราว จำนวน 30 ราย
3.1.1 สาเหตุที่บิดามารดานำเด็กมาฝากไว้ที่สถานสงเคราะห์เป็นการชั่วคราว เนื่องมาจาก ครอบครัวแตกแยก และต้องออกไปทำงานนอกบ้าน มีฐานะยากจน (ไม่มีงานทำ กำลังหางานทำ) บิดา — มารดา ต้องโทษ ครอบครัวติดเชื้อ H.I.V. การเลี้ยงดูเด็กไม่เหมาะสม
3.1.2 การช่วยเหลือเด็กที่บิดามารดานำมาฝากไว้ที่สถานสงเคราะห์เป็นการชั่วคราว คือ
(1) บิดามารดาเด็กมาติดต่อขอเด็กเข้าไว้ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์เด็กเป็นการชั่วคราว
(2) นักสังคมสงเคราะห์เยี่ยมบ้านเพื่อสอบสภาพและดำเนินการให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ถ้าหากครอบครัวไม่สามารถดูแลได้ก็ให้คำแนะนำโดยการนำเด็กเข้าไว้ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์เป็นการชั่วคราว
(3) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการรับเด็กไว้ในความอุปการะในสถานสงเคราะห์เด็ก โดยบิดา หรือ มารดาของเด็กจะต้องลงนามในแบบ พว.3
(4) เมื่อรับเด็กเข้าไว้ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์แล้ว นักสังคมสงเคราะห์ที่เด็กพำนักอยู่จะออกไปสอบสภาพและข้อเท็จจริงของครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน และเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก ตลอดจนเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็งภายในครอบครัวของเด็ก และมีความพร้อมที่จะกลับไปดูแล ในครอบครัวตามเดิม
(5) เมื่อบิดา มารดา มีความพร้อมและรับเด็กกลับไปดูแลในครอบครัวตามเดิมแล้ว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะติดตามให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวเด็ก ต่อไป
3.2 กรณีที่บิดา มารดา มอบให้สถานสงเคราะห์อุปการะเป็นการถาวรและเด็กถูกทอดทิ้ง จำนวน 29 ราย
3.2.1 สาเหตุที่บิดา มารดา นำเด็กมามอบให้สถานสงเคราะห์อุปการะเป็นการถาวรและเด็กถูกทอดทิ้งเนื่องมาจาก บิดาต้องโทษ มารดาติดเชื้อ HIV มารดาตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ มีฐานะยากจน ครอบครัวหย่าร้าง มารดาเป็นผู้รับการสงเคราะห์ ไม่มีผู้อุปการะ ทอดทิ้งหลังคลอด (ทิ้งไว้ในโรงพยาบาล) ทอดทิ้งไว้ในที่สาธารณะ ทอดทิ้งกับผู้รับจ้างเลี้ยงดู,ญาติ อื่น ๆ ได้แก่ เร่ร่อน พลัดหลง
3.2.2 การช่วยเหลือเด็กที่บิดามารดามอบให้สถานสงเคราะห์เด็กอุปการะเป็นการถาวรและเด็ก ถูกทอดทิ้ง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะสืบหาบิดามารดาเด็กในความอุปการะทุกราย ก่อนที่จะส่งเด็กคืนครอบครัว หรือพิจารณาหาครอบครัวทดแทน หากติดตามไม่พบหรือพบแต่ครอบครัวไม่สามารถให้การเลี้ยงดูบุตรได้ จะพิจารณาจัดหาครอบครัวทดแทนที่เหมาะสมให้กับเด็ก ต่อไป
(1) รับเด็กเข้าอุปการะในสถานสงเคราะห์ โดยจัดบริการแก่เด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัยอย่างรอบด้าน ได้รับการศึกษา ฝึกอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
(2) การจัดบริการครอบครัวทดแทนที่เหมาะสมให้กับเด็ก คือ
- การจัดหาครอบครัวทดแทนชั่วคราว เป็นการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะพิจารณาคัดเลือกครอบครัวอุปถัมภ์ที่ประสงค์จะรับเด็กไปอุปการะชั่วคราว และจัดให้นักสังคมสงเคราะห์ติดตามเยี่ยมเยียนครอบครัวอุปถัมภ์เหล่านี้เป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยเหลือให้ครอบครัวและเด็กอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น ครอบครัวเหล่านี้อาจพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก และ/หรือ สนับสนุนสิ่งของเครื่องใช้ตามความเหมาะสม
- จัดหาครอบครัวทดแทนที่ถาวรให้แก่เด็ก โดยการมอบเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อให้เด็กมีชีวิตครอบครัวตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ ซึ่งนอกจากจะต้องพิจารณาหาครอบครัวที่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่บิดามารดาให้แก่เด็กแล้ว ยังจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมด้วย ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ขอรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งเป็นบุตรบุญธรรมทั้งสิ้นกว่า 500 คน โดยเป็นชาวต่างชาติ ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมกว่าปีละ 350 คน และคนไทยรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งกว่าปีละ 150 คน
มาตรการป้องกันปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดเตรียมบริการสำหรับป้องกันปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง ดังนี้
1. การสงเคราะห์เด็กในครอบครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวทำหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กได้ต่อไปเมื่อประสบวิกฤตการณ์หรือปัญหาต่าง ๆ มุ่งส่งเสริมความมั่นคงของครอบครัวและป้องกันมิให้ครอบครัวแตกแยก อาจจะก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ปัญหาการทอดทิ้งเด็ก โดยให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาหรือทุนประกอบอาชีพ ทุนการศึกษาแก่เด็ก หรือค่ารักษาพยาบาลและอื่น ๆ อาทิ แป้ง นมสำหรับเด็กอ่อน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน นอกจากนี้ยังประสานขอความร่วมมือและความช่วยเหลือจากองค์การเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาช่วยเหลือเด็กและครอบครัวของเด็กในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กอยู่กับครอบครัวของตนต่อไปได้ และดำรงรักษาสภาพครอบครัวไว้มิให้ล่มสลาย
2. การให้บริการเบื้องต้นแก่ผู้ประสบปัญหาทางสังคม
2.1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้มีบริการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนในปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ทั้งปัญหาส่วนตัวหรือครอบครัว ตลอดจนปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ อาจมาปรึกษาปัญหาด้วยตนเอง หนังสือ จดหมาย หรือทางโทรศัพท์ โดยจะมีโทรศัพท์สายตรงไว้บริการ ทั้งนี้จะมีนักสังคมสงเคราะห์ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านทรัพยากรต่าง ๆ ตามสภาพของปัญหา หรืออาจส่งเรื่องต่อไปรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือองค์กรอื่นที่พิจารณาเห็นว่าสามารถให้บริการได้ตรงกับสภาพปัญหาของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน
2.2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีบริการสายด่วน 1300 (ศูนย์ประชาบดี) เพื่อรับแจ้งข้อมูลข่าวสาร ให้คำแนะนำปรึกษาและบริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นหน่วยรับบริการขั้นต้นที่สามารถเชื่อมโยงประสานส่งต่อความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ตามลักษณะของผู้รับบริการต่อไป
3. การส่งเสริมและพัฒนาสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุ 0 — 5 ปี มีการพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตลอดจนได้รับการศึกษาตามควรแก่วัย เพื่อจะได้เติบโตเป็นประชาชนที่มีคุณภาพต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการให้ความช่วยเหลือครอบครัวในกรณีที่บิดามารดาต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน แต่ไม่สามารถหาผู้มาเลี้ยงดูบุตรของตนได้ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการได้ให้การส่งเสริมทั้งด้านวิชาการ และการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ภาคเอกชนให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสในชุมชนแออัด หรือในแหล่งก่อสร้างในชุมชนในเมือง หรือกลุ่มเด็กที่เร่ร่อนติดตามพ่อแม่ไปประกอบอาชีพในที่ต่าง ๆ
4. โครงการ / กิจกรรม ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็ก ได้แก่ โครงการสร้างสายใยพิทักษ์เด็ก ครั้งที่ 3 ประกอบด้วยกิจกรรมเวทีเด็ก กิจกรรมการอบรมเตรียมความพร้อมบุคลากร กิจกรรมการอบรมเด็กเร่ร่อนโครงการสร้างสายใยรัก พิทักษ์เด็ก โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 โครงการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนเพื่อเป็นศรีแห่งแผ่นดิน โครงการรวมพลัง ร่วมใจ ผู้นำเยาวชนสร้างสรรค์สังคม โครงการเด็กไทยร้อยดวงใจห่างไกลอบายมุข โครงการรู้รักษ์ ห่วงใยตนเอง โครงการกีฬาสามัคคี โครงการสัมมนาส่งเสริมศักยภาพสตรีมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการความรักและความสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โครงการให้ความรู้แก่เยาวสตรีเพื่อป้องกันการถูกล่อลวง โครงการให้ความรู้แก่หญิงไทยเพื่อป้องกันภัยในต่างประเทศ โครงการสัมมนา เรื่อง ผู้ชายช่วยได้ในการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โครงการสัมมนา เรื่อง พลังสตรี สรรค์สร้างชีวิต เสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ได้รับรายงานผลการรับเด็กถูกทอดทิ้งตามข้อตกลงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่ถูกทอดทิ้ง เพื่อป้องกันปัญหามารดาทอดทิ้งบุตรภายหลังคลอดจากสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต สถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ สถานสงเคราะห์เด็กบ้านแคนทอง สถานสงเคราะห์เด็กบ้านสงขลา สถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี และสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 9 — 25 กันยายน 2548 พบว่ามีเด็กถูกทอดทิ้งจำนวน 59 ราย ดังนี้
1. จำแนกตามอายุของเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ได้แก่ อายุแรกเกิด — 6 เดือน จำนวน 25 ราย อายุ 6 เดือน — 1 ปี จำนวน 6 ราย อายุ 1 ปี — 1 ปี 6 เดือน จำนวน 2 ราย อายุ 1 ปี 6 เดือน — 2 ปี จำนวน 3 ราย อายุ 2 ปีขึ้นไป จำนวน 23 ราย
2. จำแนกตามหน่วยงานที่นำส่งเด็ก ได้แก่ โรงพยาบาล จำนวน 2 ราย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 12 ราย ครอบครัว (บิดา มารดา) จำนวน 9 ราย หน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ จำนวน 27 ราย ตำรวจ องค์กรเอกชน จำนวน 9 ราย
3. จำแนกตามประเภทที่เด็กถูกทอดทิ้ง แบ่งเป็น
3.1 กรณีที่บิดามารดาฝากไว้เป็นการชั่วคราว จำนวน 30 ราย
3.1.1 สาเหตุที่บิดามารดานำเด็กมาฝากไว้ที่สถานสงเคราะห์เป็นการชั่วคราว เนื่องมาจาก ครอบครัวแตกแยก และต้องออกไปทำงานนอกบ้าน มีฐานะยากจน (ไม่มีงานทำ กำลังหางานทำ) บิดา — มารดา ต้องโทษ ครอบครัวติดเชื้อ H.I.V. การเลี้ยงดูเด็กไม่เหมาะสม
3.1.2 การช่วยเหลือเด็กที่บิดามารดานำมาฝากไว้ที่สถานสงเคราะห์เป็นการชั่วคราว คือ
(1) บิดามารดาเด็กมาติดต่อขอเด็กเข้าไว้ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์เด็กเป็นการชั่วคราว
(2) นักสังคมสงเคราะห์เยี่ยมบ้านเพื่อสอบสภาพและดำเนินการให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ถ้าหากครอบครัวไม่สามารถดูแลได้ก็ให้คำแนะนำโดยการนำเด็กเข้าไว้ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์เป็นการชั่วคราว
(3) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการรับเด็กไว้ในความอุปการะในสถานสงเคราะห์เด็ก โดยบิดา หรือ มารดาของเด็กจะต้องลงนามในแบบ พว.3
(4) เมื่อรับเด็กเข้าไว้ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์แล้ว นักสังคมสงเคราะห์ที่เด็กพำนักอยู่จะออกไปสอบสภาพและข้อเท็จจริงของครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน และเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก ตลอดจนเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็งภายในครอบครัวของเด็ก และมีความพร้อมที่จะกลับไปดูแล ในครอบครัวตามเดิม
(5) เมื่อบิดา มารดา มีความพร้อมและรับเด็กกลับไปดูแลในครอบครัวตามเดิมแล้ว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะติดตามให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวเด็ก ต่อไป
3.2 กรณีที่บิดา มารดา มอบให้สถานสงเคราะห์อุปการะเป็นการถาวรและเด็กถูกทอดทิ้ง จำนวน 29 ราย
3.2.1 สาเหตุที่บิดา มารดา นำเด็กมามอบให้สถานสงเคราะห์อุปการะเป็นการถาวรและเด็กถูกทอดทิ้งเนื่องมาจาก บิดาต้องโทษ มารดาติดเชื้อ HIV มารดาตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ มีฐานะยากจน ครอบครัวหย่าร้าง มารดาเป็นผู้รับการสงเคราะห์ ไม่มีผู้อุปการะ ทอดทิ้งหลังคลอด (ทิ้งไว้ในโรงพยาบาล) ทอดทิ้งไว้ในที่สาธารณะ ทอดทิ้งกับผู้รับจ้างเลี้ยงดู,ญาติ อื่น ๆ ได้แก่ เร่ร่อน พลัดหลง
3.2.2 การช่วยเหลือเด็กที่บิดามารดามอบให้สถานสงเคราะห์เด็กอุปการะเป็นการถาวรและเด็ก ถูกทอดทิ้ง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะสืบหาบิดามารดาเด็กในความอุปการะทุกราย ก่อนที่จะส่งเด็กคืนครอบครัว หรือพิจารณาหาครอบครัวทดแทน หากติดตามไม่พบหรือพบแต่ครอบครัวไม่สามารถให้การเลี้ยงดูบุตรได้ จะพิจารณาจัดหาครอบครัวทดแทนที่เหมาะสมให้กับเด็ก ต่อไป
(1) รับเด็กเข้าอุปการะในสถานสงเคราะห์ โดยจัดบริการแก่เด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัยอย่างรอบด้าน ได้รับการศึกษา ฝึกอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
(2) การจัดบริการครอบครัวทดแทนที่เหมาะสมให้กับเด็ก คือ
- การจัดหาครอบครัวทดแทนชั่วคราว เป็นการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะพิจารณาคัดเลือกครอบครัวอุปถัมภ์ที่ประสงค์จะรับเด็กไปอุปการะชั่วคราว และจัดให้นักสังคมสงเคราะห์ติดตามเยี่ยมเยียนครอบครัวอุปถัมภ์เหล่านี้เป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยเหลือให้ครอบครัวและเด็กอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น ครอบครัวเหล่านี้อาจพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก และ/หรือ สนับสนุนสิ่งของเครื่องใช้ตามความเหมาะสม
- จัดหาครอบครัวทดแทนที่ถาวรให้แก่เด็ก โดยการมอบเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อให้เด็กมีชีวิตครอบครัวตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ ซึ่งนอกจากจะต้องพิจารณาหาครอบครัวที่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่บิดามารดาให้แก่เด็กแล้ว ยังจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมด้วย ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ขอรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งเป็นบุตรบุญธรรมทั้งสิ้นกว่า 500 คน โดยเป็นชาวต่างชาติ ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมกว่าปีละ 350 คน และคนไทยรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งกว่าปีละ 150 คน
มาตรการป้องกันปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดเตรียมบริการสำหรับป้องกันปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง ดังนี้
1. การสงเคราะห์เด็กในครอบครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวทำหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กได้ต่อไปเมื่อประสบวิกฤตการณ์หรือปัญหาต่าง ๆ มุ่งส่งเสริมความมั่นคงของครอบครัวและป้องกันมิให้ครอบครัวแตกแยก อาจจะก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ปัญหาการทอดทิ้งเด็ก โดยให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาหรือทุนประกอบอาชีพ ทุนการศึกษาแก่เด็ก หรือค่ารักษาพยาบาลและอื่น ๆ อาทิ แป้ง นมสำหรับเด็กอ่อน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน นอกจากนี้ยังประสานขอความร่วมมือและความช่วยเหลือจากองค์การเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาช่วยเหลือเด็กและครอบครัวของเด็กในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กอยู่กับครอบครัวของตนต่อไปได้ และดำรงรักษาสภาพครอบครัวไว้มิให้ล่มสลาย
2. การให้บริการเบื้องต้นแก่ผู้ประสบปัญหาทางสังคม
2.1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้มีบริการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนในปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ทั้งปัญหาส่วนตัวหรือครอบครัว ตลอดจนปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ อาจมาปรึกษาปัญหาด้วยตนเอง หนังสือ จดหมาย หรือทางโทรศัพท์ โดยจะมีโทรศัพท์สายตรงไว้บริการ ทั้งนี้จะมีนักสังคมสงเคราะห์ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านทรัพยากรต่าง ๆ ตามสภาพของปัญหา หรืออาจส่งเรื่องต่อไปรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือองค์กรอื่นที่พิจารณาเห็นว่าสามารถให้บริการได้ตรงกับสภาพปัญหาของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน
2.2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีบริการสายด่วน 1300 (ศูนย์ประชาบดี) เพื่อรับแจ้งข้อมูลข่าวสาร ให้คำแนะนำปรึกษาและบริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นหน่วยรับบริการขั้นต้นที่สามารถเชื่อมโยงประสานส่งต่อความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ตามลักษณะของผู้รับบริการต่อไป
3. การส่งเสริมและพัฒนาสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุ 0 — 5 ปี มีการพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตลอดจนได้รับการศึกษาตามควรแก่วัย เพื่อจะได้เติบโตเป็นประชาชนที่มีคุณภาพต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการให้ความช่วยเหลือครอบครัวในกรณีที่บิดามารดาต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน แต่ไม่สามารถหาผู้มาเลี้ยงดูบุตรของตนได้ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการได้ให้การส่งเสริมทั้งด้านวิชาการ และการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ภาคเอกชนให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสในชุมชนแออัด หรือในแหล่งก่อสร้างในชุมชนในเมือง หรือกลุ่มเด็กที่เร่ร่อนติดตามพ่อแม่ไปประกอบอาชีพในที่ต่าง ๆ
4. โครงการ / กิจกรรม ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็ก ได้แก่ โครงการสร้างสายใยพิทักษ์เด็ก ครั้งที่ 3 ประกอบด้วยกิจกรรมเวทีเด็ก กิจกรรมการอบรมเตรียมความพร้อมบุคลากร กิจกรรมการอบรมเด็กเร่ร่อนโครงการสร้างสายใยรัก พิทักษ์เด็ก โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 โครงการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนเพื่อเป็นศรีแห่งแผ่นดิน โครงการรวมพลัง ร่วมใจ ผู้นำเยาวชนสร้างสรรค์สังคม โครงการเด็กไทยร้อยดวงใจห่างไกลอบายมุข โครงการรู้รักษ์ ห่วงใยตนเอง โครงการกีฬาสามัคคี โครงการสัมมนาส่งเสริมศักยภาพสตรีมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการความรักและความสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โครงการให้ความรู้แก่เยาวสตรีเพื่อป้องกันการถูกล่อลวง โครงการให้ความรู้แก่หญิงไทยเพื่อป้องกันภัยในต่างประเทศ โครงการสัมมนา เรื่อง ผู้ชายช่วยได้ในการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โครงการสัมมนา เรื่อง พลังสตรี สรรค์สร้างชีวิต เสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--