http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ 24 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย
ในคดีอาญา (ฉบับ ..) พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนา การแพทย์และการสาธารณสุข) 4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา และยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีในการสนับสนุนคนไทยที่มี ศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศ) 5. เรื่อง ขอถอนร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการประกอบธุรกิจ ให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... 6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ พลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่น และพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลัก ปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2560 พ.ศ. .... 9. เรื่อง ขอถอนร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... 10. เรื่อง ขอถอนร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่า ชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... 11. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครอง ทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ พ.ศ. .... 12. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลา การใช้บังคับ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด เขตพื้นที่และมาตรการ คุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่อำเภอบางละมุง และ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2563 พ.ศ. .... 13. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือ สารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตและห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบใน กระบวนการผลิต พ.ศ. .... 14. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับบริจาคและการให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
15. เรื่อง ขออนุมัติในหลักการเพื่อจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษแก่ราษฎรที่ได้รับ ผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ 16. เรื่อง ขออนุมัติผ่อนผันการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ภายในเขตป่าสงวน แห่งชาติป่าภูแลนคาด้านทิศเหนือ เพื่อสร้างวัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) ท้องที่ตำบลกุดชุมแสง อำเภอ หนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ 17. เรื่อง ขออนุมัติผ่อนผันการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ภายในเขตป่าสงวน แห่งชาติป่าแม่ระมาด เพื่อสร้างวัดดอยภูกาล่าง ท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 18. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน เพื่อให้มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลอง กะลาเส และป่าคลองไม้ตาย ท้องที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เพื่อใช้ ประโยชน์ด้านการศึกษาตามภารกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 19. เรื่อง การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมาย สำหรับปี 2568 20. เรื่อง โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ 21. เรื่อง โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต - บางปะอิน ของกรมทางหลวง 22. เรื่อง การแก้ไขข้อขัดข้องให้กับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 และการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตรา อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ต่างประเทศ 23. เรื่อง ขอความเห็นชอบการร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมืองว่าด้วยการเสริมสร้างการ ปกป้องพลเรือนจากผลกระทบด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากการใช้อาวุธระเบิดใน พื้นที่มีประชากรหนาแน่น 24. เรื่อง ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงว่าด้วยการให้คำมั่นอันเป็นหนึ่งเดียวของประเทศสมาชิก อาเซียนในการปกป้องสุขภาพของประชาชนจากการแทรกแซงของอุตสาหกรรม ยาสูบโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการควบคุมยาสูบ 25. เรื่อง อนุสัญญาระหว่าง (1) ราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรนอร์เวย์ และ (2) ราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เพื่อการขจัดการเก็บภาษี ซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และการป้องกันการหลบหลีก
และการหลีกเลี่ยงรัษฎากร (รวม 2 เรื่อง)
26. เรื่อง การเข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Market Club ของประเทศไทย 27. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล สำหรับ
ปี ค.ศ. 2024 ? 2034
28. เรื่อง การแต่งตั้งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนวาระปี 2568 - 2570
29. เรื่อง ความตกลงว่าด้วยกรอบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหารอาเซียน (ASEAN Food Safety Regulatory Framework Agreement; AFSRF Agreement) 30. เรื่อง พิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงการค้าเสรีอาเซียน ? ฮ่องกง (First Protocol to Amend ASEAN ? Hong Kong, China Free Trade Agreement) 31. เรื่อง ประเทศไทยตอบรับเชิญเข้าเป็นประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS
(BRICS Partner Country)
32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) 33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม) 35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี) 37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงแรงงาน)
38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(สำนักนายกรัฐมนตรี)
39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย) 40. เรื่อง การแต่งตั้งผู้ว่าการการประปานครหลวง 41. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) 42. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 43. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ เพิ่มเติม 44. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการ ทางพิเศษแห่งประเทศไทย 45. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน 46. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริม
องค์การมหาชน
47. เรื่อง การแต่งตั้งประธานผู้แทนการค้าไทย
ของขวัญปีใหม่ 2568
48. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2568 ให้แก่ประชาชน ของกระทรวงคมนาคม 49. เรื่อง ของขวัญปีใหม่กระทรวงแรงงาน ปี 2568
กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยการเป็นแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็น การช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อในคดีอาญาให้ครอบคลุมถึงผู้เสียหายผู้ต้องหา และจำเลยที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดหรือมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดในคดีอาญา แต่ถูกควบคุมหรือขังในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีของศาล ให้ได้รับการอำนวยความยุติธรรมอย่างสะดวก รวดเร็ว เท่าเทียมและเป็นธรรมสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพิ่มเติมการคุ้มครองผู้ต้องหาให้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย (เดิมพระราชบัญญัติแทนผู้เสียหายฯ พ.ศ. 2544 ไม่ได้กำหนดให้ผู้ต้องหาได้รับการคุ้มครอง) เพิ่มเติมให้จำเลยได้รับการคุ้มครองในชั้นสอบสวน (เดิมคุ้มครองเฉพาะจำเลยที่ถูกคุมขังในขั้นการพิจารณาของศาล)] กำหนดเพิ่มเติมผู้มีสิทธิขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายให้กับผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจำเลยให้ครอบคลุมผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา หรือบุคคลใด ๆ ที่ให้การดูแลหรืออยู่ในการดูแลของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจำเลย และขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย จากเดิม 1 ปี เป็น 2 ปี รวมทั้งลดขั้นตอนการดำเนินงานให้สามารถยื่นคำขอผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ 2. สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ มีรายละเอียดสรุป ดังนี้ สาระสำคัญ บทนิยาม (ร่างมาตรา 3) เพิ่มบทนิยามคำว่า ?ผู้ต้องหา? หมายความว่า บุคคลผู้ต้องหาว่าได้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ?แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ?ค่าทดแทน? หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิ์ได้รับ เนื่องจากตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาและถูกควบคุมหรือขังในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี ?แก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า "พนักงานอัยการ" หมายความว่า พนักงานอัยการ ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการหรืออัยการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร (ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553) กำหนดเพิ่มเติมให้ค่าตอบแทนฯไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี (ร่างมาตรา 5) ?การกำหนดให้ค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี กำหนดเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ผู้เป็นทายาทให้มีความหมายแตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 1(ร่างมาตรา 6) ?กรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจำเลยถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับค่าตอบแทนค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย แล้วแต่กรณี ทายาทที่มีสิทธิขอรับค่าตอบแทนฯ ได้แก่ ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา หรือบุคคลใด ๆ ที่ให้การอุปการะหรืออยู่ในอุปการะของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจำเลยนั้น ทั้งนี้ ผู้เป็นทายาทต้องได้รับผลกระทบจากความเสียหายด้วย (หากยึดทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ เช่น บิดามารดา จะต้องจดทะเบียนสมรส บิดาถึงจะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนหรือบุตรบุญธรรมที่มิได้จดทะเบียนและให้การเลี้ยงดูหรืออยู่ในการเลี้ยงดูของบุคคลอื่นที่มิใช่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ บุคคลอื่นนั้นจะไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ดังนั้น การกำหนดทายาทให้แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งฯ เพื่อต้องการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายที่แท้จริงด้วย) แก้ไขเพิ่มเติมการ แจ้งสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนฯ (ร่างมาตรา 6/1) ? ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือทายาทที่ได้รับความเสียหาย มีสิทธิ์ที่จะได้รับการแจ้งถึงสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนฯ แล้วแต่กรณี โดยให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนด (เดิมให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ปล่อยตัวจำเลยทราบถึงสิทธิ) แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาให้ครอบคลุมถึง ?ผู้ต้องหา? (ร่างมาตรา 8 (2) ?กำหนดให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจำเลยในคดีอาญา ตลอดจนการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย (เพิ่มหมวด 4/1 ร่างมาตรา 19/1 และร่างมาตรา 19/2) และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้จำเลยมีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย(ร่างมาตรา 20 และร่างมาตรา 21) ?ผู้ต้องหาและจำเลยที่มีสิทธิ์ได้รับการจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมหรือขังในระหว่างการสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง 2. จำเลยที่ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและถูกควบคุมหรือขังในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี และมีการถอนฟ้องในระหว่างดำเนินคดี หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง และคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของผู้ต้องหาไม่เป็นความผิด เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย (เพิ่มหมวด 4/1 ร่างมาตรา 19/1 และร่างมาตรา 19/2) และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้จำเลยมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่าย (ร่างมาตรา 20 และร่างมาตรา 21) (ต่อ) 3. กรณีมีผู้ต้องหาหรือจำเลยหลายคนและผู้ต้องหาหรือจำเลยคนใดถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับคดีหรือคำพิพากษาถึงที่สุดและคณะกรรมการเห็นสมควรจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ยังมีชีวิตอยู่ หากคณะกรรมการเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถึงแก่ความตายมีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย ให้จ่ายให้แก่ทายาทของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถึงแก่ความตายนั้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ?การกำหนดค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ค่าทดแทนการถูกควบคุมหรือขังในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีให้คำนวณจำนวนวันที่ถูกควบคุมหรือขังในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีในอัตราที่กำหนดไว้สำหรับการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา2 2. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และค่าฟื้นฟูร่างกายและจิตใจที่เป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี 3. ค่าทดแทนกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยถึงแก่ความตายที่เป็นผลโดยตรงจากการ ถูกดำเนินคดี จำนวนไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง 4. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดี 5. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินคดี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงเว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ?กรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีคำขอให้ได้รับสิทธิที่เสียไปอันเป็นผลโดยตรงจากคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง การสั่งให้ได้รับสิทธิคืนตามคำขอนั้น ถ้าไม่สามารถคืนสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ให้คณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนหรือค่าใช้จ่ายตามที่เห็นสมควร ?คณะกรรมการอาจกำหนดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับค่าทดแทนหรือค่าใช้จ่ายเพียงใดหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดีความเดือดร้อนและโอกาสที่ผู้ต้องหาจะได้รับการชดเชยจากทางอื่นด้วย แก้ไขเพิ่มเติมระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหาย (ร่างมาตรา 22) ?ขยายระยะเวลาการยื่นคำขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย จาก 1 ปี เป็น 2 ปี โดยยื่นคำขอต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการหรือทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ มีกำหนด ดังนี้ 1. ผู้เสียหายหรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายต้องยื่นคำขอภายใน 2 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการกระทำความผิด 2. ผู้ต้องหาหรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายต้องยื่นคำขอภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี 3. จำเลยหรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายต้องยื่นคำขอภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง เพิ่มบทเฉพาะกาลเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมี สิทธิขอรับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 14) ? กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกควบคุมหรือขังในระหว่างการสอบสวนหรือ การพิจารณาคดีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีการถอนฟ้องหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง ภายหลังจากที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิขอรับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัตินี้ 1(1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา และ (7) คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ 2กำหนดอัตราการกักขังแทนค่าปรับ 500 บาทต่อหนึ่งวัน ตามาตรา 30 แห่งประมวลกฎหมายอาญา 3. ยธ. ได้จัดทำแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้แล้วโดยรายงานว่าร่างพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดให้มีกฎหมายลำดับรอง จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 3.1 ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราในการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา พ.ศ. .... 3.2 ร่างระเบียบคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ว่าด้วยการยื่นคำขอและวิธีพิจารณาคำขอค่าตอบแทน ค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย พ.ศ. .... 3.3 ร่างระเบียบคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ว่าด้วยคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. .... 3.4 ร่างระเบียบคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย แก่จำเลยในคดีอาญา ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการยื่นคำขออุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราในการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา 2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 โดยมีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดมาตรฐานการควบคุม กำกับดูแล และคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ให้ได้รับการปฏิบัติจากผู้จ้างงานอย่างเป็นธรรม แต่โดยที่พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รง. จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้นในเรื่องดังต่อไปนี้ 1) การแก้ไขบทนิยาม พระราชบัญญัติปัจจุบัน ร่างพระราชบัญญัตินี้ เหตุผลและการแก้ไข ?งานที่รับไปทำที่บ้าน? หมายความว่า งานที่ผู้จ้างงานในกิจการอุตสาหกรรม มอบให้ผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อนำไปผลิตหรือประกอบ นอกสถานประกอบกิจการของผู้จ้างงานหรืองานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ?งานที่รับไปทำที่บ้าน? หมายความว่า งานที่ผู้จ้างงานในกิจการอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม งานบริการ มอบให้ผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อนำไปผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม แปรรูป ออกแบบ บริการ หรือจำหน่าย นอกสถานประกอบกิจการของผู้จ้างงานหรืองานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ?แก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการจ้างงานตามความเป็นจริง ที่มีงานนอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรม และมีลักษณะงานนอกเหนือจากการผลิตและประกอบ ?พนักงานตรวจแรงงาน? หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากข้าราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือส่วนท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ?พนักงานตรวจแรงงาน? หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากข้าราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค-หรือส่วนท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ?แก้ไขเพื่อให้พนักงานราชการสามารถเป็นพนักงานตรวจแรงงานได้ 2) กำหนดให้ในกรณีที่ผู้จ้างงานไม่คืนหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่จ่ายค่าตอบแทน หรือไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟู สมรรถภาพและค่าทำศพ ให้ผู้จ้างงานเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านหรือทายาทที่มีสิทธิ แล้วแต่กรณีในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี โดยหากผู้จ้างงานจงใจไม่คืนหรือจ่ายเงิน ดังกล่าวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ให้ผู้จ้างงานชำระเงินเพิ่มให้แก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านหรือทายาทที่มีสิทธิแล้วแต่กรณีร้อยละ 15 ต่อปีของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน ทั้งนี้ หากผู้จ้างงานนำเงินที่จะต้องคืนหรือจ่ายดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ให้ผู้จ้างงานไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มตั้งแต่วันที่ผู้จ้างงานนำเงินไปมอบไว้ (เทียบเคียงกับมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) 3) กำหนดห้ามผู้ใดจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นผู้รับงานไปทำที่บ้าน (เทียบเคียงกับ มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) และห้ามเด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงานที่มีลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กนั้น 4) แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ดังนี้ (1) แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้านในส่วนของคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ดังนี้ พระราชบัญญัติปัจจุบัน ร่างพระราชบัญญัตินี้ ?กรรมการโดยตำแหน่ง 5 คน ได้แก่ 1. อธิบดีกรมการจัดหางาน 2. ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข 3. ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม 4. ผู้แทนกรมการปกครอง 5. ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ?กรรมการโดยตำแหน่ง 5 คน ได้แก่ 1. อธิบดีกรมการจัดหางาน 2. อธิบดีกรมควบคุมโรค 3. อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 4. อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน 5. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2) กำหนดให้หลักเกณฑ์และวิธีการในการแต่งตั้งหรือเลือกกรรมการทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้แทนผู้จ้างงาน และกรรมการผู้แทนผู้รับงานไปทำที่บ้านในคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของหญิง ชาย หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (3) กำหนดเพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้านให้มีหน้าที่ในการส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยในการทำงานด้วย 2. รง. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รวมทั้งจัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว รวมทั้งได้เสนอแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวรวม 3 ฉบับ โดยออกเป็นกฎกระทรวง จำนวน 1 ฉบับ เป็นการกำหนดงานที่มีลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของหญิงมีครรภ์หรือเด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกเป็นประกาศกระทรวงแรงงาน จำนวน 1 ฉบับ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน และออกเป็นประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำนวน 1 ฉบับ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงินเก็บรักษาเงิน และการจ่ายงานที่ผู้จ้างงานมามอบไว้แก่อธิบดี ทั้งนี้ กฎหมายลำดับรองดังกล่าว มีกรอบระยะเวลาในการออกภายใน 1 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุข) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สาระสำคัญ โดยที่มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 756) พ.ศ. 2565 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 771) พ.ศ. 2566 กำลังจะสิ้นสุดระยะเวลาการให้สิทธิหักลดหย่อนภาษี ในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 และถึงแม้รัฐบาลจะได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายด้านการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นทุกปี การพัฒนาบริการการแพทย์และบริการสาธารณสุขของประเทศให้ทั่วถึง และมีคุณภาพยังต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน โดยเฉพาะการสนับสนุนผ่านองค์การสาธารณกุศลต่าง ๆ ซึ่งมีภารกิจโดยตรงในการส่งเสริมหรือการสนับสนุนสถานพยาบาล ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการพัฒนาบริการการแพทย์และบริการสาธารณสุขของประเทศอย่างต่อเนื่อง เห็นควรขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุขและปรับปรุงเป็นมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุข เพื่อให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างครบถ้วน โดยยกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ (1) ให้บุคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาคหรือหักรายจ่ายการบริจาคได้ 2 เท่า สำหรับการบริจาคเพื่อกิจกรรมหรือโครงการสาธารณกุศลหรือสาธารณประโยชน์ให้แก่องค์การหรือมูลนิธิ 27 แห่ง (องค์การและมูลนิธิรายเดิม จำนวน 16 แห่ง ได้แก่สภากาชาดไทย มูลนิธิชัยพัฒนา ศิริราชมูลนิธิ มูลนิธิจุฬาภรณ์ มูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าที่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยามิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทรินทร์ มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ กองทัพเรือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิสนับสนุนสถาบันประสาทวิทยา มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก และองค์การและมูลนิธิรายใหม่ จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ 1) มูลนิธิกาญจนบารมี 2) มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ 3) มูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์ 4) มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ 5) มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 6) มูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติ 7) มูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ 8) มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 9) มูลนิธิสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ 10) มูลนิธิโรงพยาบาลหาดใหญ่ 11) มูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช) ที่เป็นการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร (2) ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่หน่วยรับบริจาคดังกล่าว (การบริจาคทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น ที่ดิน รถยนต์ และทองคำ เป็นต้น) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2570 (ขยายระยะเวลาออกไปอีก 3 ปี) กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิ (บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) รวมกันปีละประมาณ 1 ล้านราย จึงจะทำให้สูญเสียรายได้ภาษีปีละประมาณ 900 ล้านบาท รวม 3 ปีประมาณ 2,700 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จะมีประโยชน์โดยจะช่วยให้ประชาชนโดยเฉพาะ ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงบริการการแพทย์และบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงมากขึ้น ช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบริการการแพทย์และบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน และช่วยให้ประเทศไทยมีงานวิจัยด้านการแพทย์และการสาธารณสุข รวมทั้งมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแพทย์เพิ่มขึ้น 4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีในการสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ ก.ค พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการดึงดูดคนไทยที่มีศักยภาพสูงและมีความเชี่ยวชาญในสาขาตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายให้กลับเข้ามาทำงานในประเทศ รวมทั้งตอบสนองความต้องการทรัพยากรบุคคลและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรให้สิทธิประโยชน์ ทางภาษีอากรแก่บุคคลธรรมดา (ลูกจ้าง) สำหรับคนไทยที่เคยทำงานอยู่ในต่างประเทศและจะกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยในสาขาความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (นายจ้าง) ที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งได้จ่ายเงินเดือนให้แก่บุคคลธรรมดา (ลูกจ้าง) ที่เดินทางกลับเข้ามาทำงานในประเทศ จึงยืนยันให้ดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว (โดยนำความเห็นของ สศช. และ สกพอ. ไปพิจารณาและแก้ไขถ้อยคำในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ 2.4.2 รวมทั้งกำหนดเพิ่มเติมให้เงินที่ได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายอื่นหรือตามพระราชกฤษฎีกาอื่นที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร) เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปนี้ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ประเด็น รายละเอียด 1. ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ? บุคคลธรรมดา (ลูกจ้าง) ? บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (นายจ้าง) 2. สาขาความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ? บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย/อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ตามกฎหมาย ดังนี้ 1) พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2) พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 3) พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 (ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ในการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ได้มีการออกประกาศสำนักงาน/คณะกรรมการ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้ง 3 ฉบับ 3. สิทธิประโยชน์ทางภาษี 3.1 กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ลูกจ้าง) 1) ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการหักภาษี ณ ที่จ่าย และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 17 ของเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด ในกรณีที่คำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากรแล้วอยู่ในบังคับต้องเสียน้อยกว่าร้อยละ 17 ของเงินได้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อผู้มีเงินได้ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 17 ของเงินได้นั้น 2) ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งถูกหักภาษีได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 17 ของเงินได้ไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้พึงประเมินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เฉพาะกรณีไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้คืนหรือไม่ขอเครดิตคืนภาษีที่ถูกหักไว้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากรไว้แล้วด้วยและมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลสำหรับเงินได้พึงประเมินดังกล่าวตามมาตรา 48 (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิได้ เมื่อไม่นำเงินพึงได้ประเมินตามมาตรา 40 (4) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากรนั้นไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้คืนและไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ในการได้รับยกเว้นเงินได้ข้างต้น ผู้มีเงินได้ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วย 3.2 กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล (นายจ้าง) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายหักรายจ่ายเงินเดือนตามสัญญาจ้างแรงงานของลูกจ้างได้ 1.5 เท่า (ปกติหักได้ 1 เท่า) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด เงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ข้างต้นต้องไม่เป็นเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายอื่นหรือตามพระราชกฤษฎีกาอื่นที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร 4.หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ? บุคคลธรรมดา (ลูกจ้าง) จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 1) มีสัญชาติไทย 2) วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี 3) มีประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 2 ปี 4) เป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทยเพื่อทำงานให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้แจ้งการจ้างลูกจ้างดังกล่าวตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อกรมสรรพากรก่อนจ่ายเงินให้ได้แก่ลูกจ้างครั้งแรกของการจ้างแรงงาน โดยผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่กรมสรรพากรได้รับแจ้งจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น 5) ไม่เคยทำงานในประเทศไทยในปีภาษีที่มีการเริ่มใช้สิทธิประโยชน์ และไม่ได้เข้ามาอยู่ในประเทศก่อนปีภาษีที่ใช้สิทธินั้นอย่างน้อย 2 ปี 6) ในปีภาษีที่ใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ จะต้องอยู่ในประเทศชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลารวมเวลาทั้งหมดไม่น้อยกว่า 180 วันในปีภาษีที่ใช้สิทธินั้น เว้นแต่ปีภาษีแรกและปีภาษีสุดท้ายที่ใช้สิทธิ จะอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันก็ได้ 7) มีคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นตามอธิบดีประกาศกำหนด 5. ระยะเวลาดำเนินการ ? วันที่มาตรการมีผลใช้บังคับ : วันถัดจากวันที่กฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษา ? วันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุดในการเดินทางกลับเข้าประเทศของผู้เข้าร่วมมาตรการ : ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ? ระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมมาตรการ : ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 วันถัดจากวันที่กฎหมาย 31 ธันวาคม 2568 31 ธันวาคม 2572 ประกาศราชกิจจานุเบกษา
วันเริ่มต้นมาตรการและวันที่ วันสิ้นสุดในการเดินทาง วันสิ้นสุด กฎหมายใช้บังคับ กลับเข้าประเทศ การให้สิทธิประโยชน์
1ปัจจุบัน อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า แบ่งออกเป็น 8 ขั้น ตั้งแต่ร้อยละ 0 ? ร้อยละ 35 ตามระดับฐานภาษีตั้งแต่ 150,000 บาท ? 5,000,000 บาท ดังนี้ รายได้สุทธิ อัตราภาษี ตั้งแต่ 0 บาท ? 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น ตั้งแต่ 150,001 บาท ? 300,000 บาท ร้อยละ 5 ตั้งแต่ 300,001 บาท ? 500,000 บาท ร้อยละ 10 ตั้งแต่ 500,001 บาท ? 750,000 บาท ร้อยละ 15 ตั้งแต่ 750,001 บาท ? 1,000,000 บาท ร้อยละ 20 ตั้งแต่ 1,000,001 บาท ? 2,000,000 บาท ร้อยละ 25 ตั้งแต่ 2,000,001 บาท ? 5,000,001 บาท ร้อยละ 30 เกิน 5,000,001 ขึ้นไป ร้อยละ 35 5. เรื่อง ขอถอนร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการประกอบธุรกิจให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมถอนร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการประกอบธุรกิจให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามที่เสนอได้ และแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทราบต่อไป สาระสำคัญ ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการประกอบธุรกิจให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤศจิกายน 2549) อนุมัติหลักการร่าง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองให้แก่บุคคลเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารทาง อิเล็กทรอนิกส์ต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ประกาศกำหนด สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกับสถานการณ์ปัจจุบันเห็นว่าหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีความไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์และเทคโนโลยีปัจจุบัน และซ้ำซ้อนกับหลักการของร่างกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองเสนอซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย จึงสมควรถอนร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้มีมติเห็นชอบให้ถอนร่างพระราชกฤษฎีกาตามความเห็นของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยแล้ว 6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญของเรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด พ.ศ. .... เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แปลง ?ตะกาดคลองเจดีย์สาธารณประโยชน์? ในท้องที่ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เนื้อที่ประมาณ 36 ไร่ 1 งาน 61 ตารางวา ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้ทั้งแปลงแล้วเพื่อมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนตำบลไม้รูดใช้เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการระบบจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงและปุ๋ยอินทรีย์ ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการและมีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่าควรจัดเตรียมสถานที่แหล่งรับซื้อเชื้อเพลิงขยะบริเวณใกล้เคียงไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางในการควบคุมหรือกำกับดูแลระบบจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชนอย่างเคร่งครัด และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า สมควรมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยจัดทำข้อมูลที่ดินประเภทดังกล่าว รวมทั้งแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำข้อมูลที่ดินสาธารณประโยชน์และแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว 7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่นและ พืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่นและพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของเรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่นและ พืชเห็ดขี้ควายเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่นและเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูกและสารสำคัญจากพืชดังกล่าว ดังนี้ 1. การกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสารสำคัญที่ได้จากฝิ่น ได้แก่ กำหนดให้พื้นที่บางส่วนของวิทยาลัยป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ส. ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ทดลองเพาะปลูกพืชฝิ่น เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและกำหนดให้พื้นที่ขององค์การเภสัชกรรม เช่น อาคารฝ่ายวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม อาคารฝ่ายสมุนไพรและเภสัชเคมีภัณฑ์ เป็นพื้นที่ทดลองสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่น เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย 2. การกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย ได้แก่ กำหนดให้พื้นที่บางส่วนของวิทยาลัยป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นพื้นที่ทดลองเพาะปลูกพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยกำหนดให้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาคารสุขประชา วาจานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พื้นที่และโรงเรือนของหมวดพืชผัก สาขาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ห้อง MD 346 ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย 3. การกำหนดมาตรการควบคุมการเพาะปลูกฝิ่น โดยกำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมการดำเนินการทดลองเพาะปลูกฝิ่น เพื่อส่งต่อให้องค์การเภสัชกรรมสกัดสารสำคัญ เพื่อประโยชน์ทางการวิจัยในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยต้องมีมาตรการควบคุม เช่น ที่มาของพืชฝิ่นที่จะเพาะปลูก ต้องได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายยาเสพติด สถานที่เพาะปลูกต้องจัด ให้มีป้ายแสดงไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย การรักษาความปลอดภัยต้องมีการติดกล้อง CCTV และจัดเก็บข้อมูลเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน 4. การกำหนดมาตรการควบคุมการเพาะปลูกพืชเห็ดขี้ควาย โดยกำหนดให้ นำมาตรการควบคุมการเพาะปลูกพืชฝิ่นมาใช้บังคับกับการควบคุมการเพาะปลูกพืชเห็ดขี้ควายด้วยโดยอนุโลม 5. การกำหนดมาตรการควบคุมการสกัดสารสำคัญจากฝิ่น กำหนดมาตรการควบคุมการสกัดสารสำคัญจากพืชฝิ่นในเรื่องต่าง ๆ เช่น สถานที่สกัดต้องจัดทำป้ายระบุว่าเป็นสถานที่สกัดพืชฝิ่นตามพระราชกฤษฎีกานี้ แสดงแบบแปลนอาคาร จัดให้มีประตูเข้าออกที่มีความมั่นคงแข็งแรง การรักษาความปลอดภัย ต้องมีการติดตั้งกล้อง CCTV และจัดเก็บข้อมูลไว้ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน เป็นต้น 6. มาตรการควบคุมการเพาะปลูกและสารสกัดสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควายของสถาบันการศึกษา กำหนดให้อธิการบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย และให้นำมาตรการควบคุมการเพาะปลูกพืชฝิ่น และมาตรการควบคุมการดำเนินการสกัดสารสำคัญ มาใช้บังคับกับการควบคุมการเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควายด้วยโดยอนุโลม 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2560 พ.ศ. .... คณะรัฐมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2560 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และกำหนดให้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรฯ มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ.2560 ในการควบคุมกระบวนการผลิตที่จะทำให้เชื้อเห็ดมีคุณภาพและได้มาตรฐาน เพื่อลดภาระของผู้ผลิตเชื้อเห็ดที่จะต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการและขอรับการตรวจสอบและรับรองจากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 เนื่องจากในปัจจุบันสถานการณ์การค้าได้เปลี่ยนแปลงไป การยกระดับมาตรฐานการผลิตเชื้อเห็ดให้มีคุณภาพ และมีกระบวนการจัดการตามหลักวิชาการอย่างถูกสุขลักษณะ โดยการใช้มาตรการทางกฎหมายภาคบังคับได้บรรลุผลตามเป้าหมายแล้ว ประกอบกับมีกลไกการประกันคุณภาพในการซื้อขายเชื้อเห็ดที่มีความเชื่อมั่นต่อกัน จึงทำให้การกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับเป็นภาระที่เกินความจำเป็นต่อผู้ผลิตเชื้อเห็ด ดังนั้น หากมีการปรับเปลี่ยนกลไกมาเป็นภาคสมัครใจ ในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมจะเป็นผลดีในการลดภาระค่าใช้จ่ายกับผู้ผลิตเชื้อเห็ดได้โดยตรง และผู้ผลิตเชื้อเห็ดที่ประสงค์จะใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรยังสามารถขอรับการรับรองมาตรฐานตามความสมัครใจได้ ถือเป็นการจัดการที่เหมาะสมสอดคล้องกับประโยชน์ที่ผู้ผลิตเชื้อเห็ดจะได้รับ และโดยที่การยกเลิกกฎกระทรวงดังกล่าวจะทำให้รับสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 นั้น ปัจจุบันจากการประมาณการจำนวนใบอนุญาตทั้งหมดที่ยังคงสถานะมีผลใช้บังคับ สำหรับบุคคลธรรมดา (ฉบับละ 100 บาท) จำนวน 34 ราย และนิติบุคคล จำนวน 6 ราย (ฉบับละ 1,000 บาท) รวม 9,400 บาท และสำหรับค่าบริการตรวจสอบและรับรองปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้ถ่ายโอนภารกิจให้ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน (ภาคเอกชน) เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบและรับรองแล้ว ซึ่งจะมีการควบคุมให้ไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดดังนั้น จึงไม่มีการสูญเสียรายได้จากการไม่ต้องขอรับการตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐานบังคับตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 แต่อย่างใด ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้เสียกับร่างกฎกระทรวงนี้แล้วและคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรได้เห็นชอบแล้วด้วย 9. เรื่อง ขอถอนร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถอนร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามที่เสนอได้ และแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทราบต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (25 กรกฎาคม 2566) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ เนื้อที่ประมาณ 9,534 ไร่ และกำหนดมาตรการคุ้มครองพื้นที่ป่าชายเลน แต่โดยที่ในชั้นการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหารือร่วมกับกรมประมงในประเด็นเกี่ยวกับการทับซ้อนกับเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการแก้ไขผลกระทบต่อผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประมง และมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพิจารณากำหนดข้อห้ามกระทำการตามร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแก้ไขแผนที่ท้ายร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์เป็นไปด้วยความเหมาะสม ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงขอถอนร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 10. เรื่อง ขอถอนร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถอนร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามที่เสนอได้ และแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทราบต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พ.ศ. .... ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (25 กรกฎาคม 2566) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ เนื้อที่ประมาณ 19,937 ไร่ และกำหนดมาตรการ คุ้มครองพื้นที่ป่าชายเลน แต่โดยที่ในชั้นการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหารือร่วมกับกรมประมงในประเด็นเกี่ยวกับการทับซ้อนกับเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการแก้ไขผลกระทบต่อ ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประมง และมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพิจารณากำหนดข้อห้ามกระทำการตามร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแก้ไขแผนที่ท้ายร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์เป็นไปด้วยความเหมาะสม ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงขอถอนร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 11. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญ ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ พ.ศ. .... ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เพื่อประโยชน์ในการสงวน คุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรปะการัง โดยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำต้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดให้การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำต้องมีผู้ควบคุมในการดูแลนักท่องเที่ยวไม่ให้กระทำการที่เป็นการต้องห้ามตามร่างประกาศนี้ กำหนดให้ผู้ควบคุมต้องแจ้งนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวิธีปฏิบัติที่ดีในการดำน้ำโดยไม่กระทบกระเทือนต่อปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เป็นต้น โดยมาตรการตาม ร่างประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเป็นเวลา 5 ปี ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะไม่ใช้บังคับกับกิจกรรมที่มิใช่กิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เช่น การดำน้ำเพื่อการศึกษาและวิจัยทางวิชาการ การดำน้ำเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้การกำกับของหน่วยงานพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นต้น โดยหากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 12. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการ คุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2563 พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2563 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญของเรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศฯ ที่ ทส. เสนอ มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2563 ออกไปอีก 2 ปีนับแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป ซึ่งประกาศที่ใช้บังคับในปัจจุบันจะสิ้นสุดการใช้บังคับในวันที่ 24 กรกฎาคม 2568 เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อำเภอบางละมุงและอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นไปอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงประกาศฉบับใหม่ ประกอบกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบด้วยแล้ว นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบหรือไม่ขัดข้องในหลักการของร่างประกาศ 13. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตและห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบในกระบวนการผลิต พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตและห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ 1. ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทฯ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตและห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตในโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานเพื่อเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท 2. โดยที่ประเทศไทยได้ภาคยานุวัติเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท (Minamata Convention on Mercury) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2560 เป็นต้นมา โดยบทบัญญัติในข้อ 5 กระบวนการผลิตที่มีการใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอท ของอนุสัญญามินามาตะฯ ได้กำหนด ดังนี้ 2.1 ไม่ให้ภาคีสมาชิกอนุญาตให้มีการใช้ปรอทและสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตตามที่ระบุไว้ในส่วนที่ 1 ของภาคผนวก บี หลังจากวันที่กำหนดให้มีการเลิกสำหรับแต่ละกระบวนการ ได้แก่ (1) การผลิตคลอร์ - แอลคาไล (ภายในปี พ.ศ. 2568) และ (2) การผลิตอะซีตัลดีไฮด์ ที่ใช้ปรอทและสารประกอบปรอทเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (ภายในปี พ.ศ. 2561) 2.2 กำหนดให้ภาคีสมาชิกต้องดำเนินมาตรการเพื่อจำกัดการใช้ปรอทในกระบวนการผลิตตามที่ระบุไว้ในส่วนที่ 2 ของภาคผนวก บี ได้แก่ (1) การผลิตสารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ (2) การผลิตโซเดียมหรือโพแทสเซียม เมทิลเลต หรือเอทิลเลต และ (3) การผลิตโพลียูรีเทน ที่ใช้ปรอทเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา 2.3 กำหนดให้ภาคีสมาชิกต้องไม่อนุญาตให้มีการใช้ปรอทและสารประกอบปรอทในโรงงานหรือสถานประกอบการใหม่ รวมทั้งไม่ส่งเสริมการพัฒนาสถานประกอบการใด ๆ ที่ใช้กระบวนการผลิตอื่น ๆ ที่มีการใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทอย่างจงใจซึ่งสถานประกอบการนั้นไม่ได้มีอยู่ก่อนวันที่อนุสัญญามีผลใช้บังคับกับภาคีนั้น ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีการใช้ปรอทและสารประกอบปรอทใน 5 กระบวนการผลิตตามข้อ 2.1 และ 2.2 แล้ว แต่ยังจำเป็นต้องออกประกาศกระทรวงดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำมาใช้ในอนาคต 3. ต่อมา อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตและห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต พ.ศ .... โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 3.1 กำหนดบทนิยาม ได้แก่ คำว่า ?ปรอท? ?สารประกอบปรอท? และ ?โรงงาน? (ร่างข้อ 3) 3.2 ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต (5 กระบวนการผลิตตามข้อ 2.1 และ 2.2) ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ร่างข้อ 4) 3.3 ห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตในโรงงานที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานมาก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (ร่างข้อ 5) เพื่อเป็นการดำเนินการออกอนุบัญญัติเพื่อรองรับการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะ ว่าด้วยปรอทตามมติคณะรัฐมนตรี20 มิถุนายน 2560 และผ่านกลไกการพิจารณาของคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อรองรับพันธกรณีของอนุสัญญามินามิตะว่าด้วยปรอท (รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษเป็นประธาน) และให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างประกาศดังกล่าว ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 โดยมีการปรับแก้ไขเนื้อหาเพิ่มเติมและผ่านขั้นตอนการตรวจทานจากผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) แล้ว 14. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับบริจาคและการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริจาคและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง 1. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับบริจาคและการให้ความช่วยเหลือฯ ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับบริจาคและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์วิธีการรับบริจาคและการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคจากประชาชนในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ผู้ประสบสาธารณภัยได้รับความช่วยเหลือในการดำรงชีพ การประกอบอาชีพ และการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่หรือสภาพจิตใจให้ดีขึ้น รวมทั้งการดำเนินการจัดให้มีสาธารณประโยชน์ที่จำเป็น โดยสรุปได้ ดังนี้ 1.1 เพิ่มเติมบทนิยาม คำว่า ?สาธารณภัย? ให้ครอบคลุมถึงกรณี ?เหตุการณ์รุนแรงสะเทือนขวัญ? เพื่อให้มีลักษณะเป็นสาธารณภัยที่สามารถนำเงินและทรัพย์สินของกองทุนไปใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยได้ เช่น เหตุการณ์กราดยิงที่ศูนย์พัฒนาเด็กจังหวัดหนองบัวลำภู เหตุการณ์ถังดับเพลิงระเบิดในโรงเรียนราชวินิต 1.2 เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของกองทุนในการช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบ สาธารณภัย (เดิมกำหนดไว้เพียงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีพ การประกอบอาชีพ และการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่) 1.3 เพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนฯ โดยเพิ่มอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ (เนื่องจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีหน้าที่และอำนาจส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2557 เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และอำนาจของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งเพื่อลดขั้นตอนและความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานของส่วนราชการในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย) และปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ (เพื่อลดความสับสนของ ผู้ประสบสาธารณภัยกรณีเหตุสาธารณภัยเกิดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลดขั้นตอนและอำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ประสบสาธารณภัย) 1.4 เพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ โดยเพิ่มหน้าที่และอำนาจในการกำหนดอัตราการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยมีความเสมอภาคและมีมาตรฐาน 1.5 เพิ่มเติมการฝากเงินของกองทุน โดยสามารถฝากเงินของกองทุนกับธนาคารพาณิชย์อื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังได้ 1.6 เพิ่มเติมการจ่ายเงินกองทุน โดยสามารถนำเงินกองทุนจ่ายในกรณีที่เป็นการช่วยเหลือหรือสิ่งของปลอบขวัญแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บหรือทายาทของผู้เสียชีวิต เป็นต้น 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการและมีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ โดยกระทรวงการคลังมีข้อสังเกตว่า ควรแก้ไขบทนิยามคำว่า ?สาธารณภัย? เพื่อให้สอดคล้องกับบทนิยามตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรเพิ่มเติม ?ส่วนราชการ? ให้รวมถึงส่วนราชการท้องถิ่นด้วย ควรเพิ่มนิยาม คำว่า ?เหตุสุดวิสัย? และคำว่า ?การรับบริจาค? เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ. 2526 รวมทั้งควรมีมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่กระทำการทุจริตหรือเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือพวกพ้อง เศรษฐกิจ-สังคม 15. เรื่อง ขออนุมัติในหลักการเพื่อจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้ 1. อนุมัติในหลักการเพื่อจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษในรูปค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ (โครงการฯ) โดยอนุมัติจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฯ (ค่าชดเชยฯ) ไร่ละ 32,000 บาท ตามมติคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฯ (คณะกรรมการพิจารณาฯ) ซึ่งประกอบด้วยบัญชีรายชื่อราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฯ จำนวน 4 บัญชี (บัญชีที่ 3,4,5 และ 6) จำนวน 131 ราย เนื้อที่รวม 1,691.47 ไร่ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 48,887,840 บาท ปรับเนื้อที่ผลการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศของผู้ที่ครอบครองและทำประโยชน์ของราษฎรที่มีเนื้อที่ไม่ถึง 1 ไร่ ให้ปรับเป็น 1 ไร่ หากมีเนื้อที่เกิน 1 ไร่ให้คิดตามความเป็นจริง 2. อนุมัติในหลักการให้ พน. ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษในรูปค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฯ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 48,887,840 บาท สาระสำคัญของเรื่อง 1. เรื่องนี้เป็นการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการเพื่อจ่ายเงินค่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษในรูปค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ (โครงการฯ) ซึ่งเป็นการจ่ายค่าชดเชยที่ดินให้กับราษฎรที่ครอบครองและทำประโยชน์อยู่ก่อนในพื้นที่ดำเนินโครงการฯ โดยเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากเดิมที่มติคณะรัฐมนตรีมีมติ (24 กันยายน 2562) อนุมัติในหลักการเพื่อจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษในรูปค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฯ จำนวน 4 บัญชี รวม 523 ราย ไว้แล้ว [จ่ายเงินค่าชดเชยแล้วเสร็จจำนวน 2 บัญชี จำนวนรวม 392 ราย ได้แก่ บัญชีที่ 1 (ราษฎรที่ได้ดำเนินการตามแนวทางในการพิจารณาการจ่ายเงินค่าชดเชยครบทุกขั้นตอนแล้ว) และบัญชีที่ 2 (ราษฎรที่ได้ดำเนินการตามแนวทางในการพิจารณาการจ่ายเงินค่าชดเชยครบทุกขั้นตอน แต่ที่ผู้ครอบครองที่ดินถึงแก่ความตายและได้ตั้งผู้จัดการมรดกเรียบร้อยแล้ว)] โดยครั้งนี้เป็นการใช้จ่ายเงินค่าชดเชย ไร่ละ 32,000 บาท (อัตราเดิม) ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างกลุ่มที่เหลือ (บัญชีที่ 3 และ 4) และกลุ่มที่คณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฯ เห็นควรเพิ่มเติมครั้งนี้ (บัญชีที่ 5 และ 6) จำนวน 131 ราย เนื้อที่รวม 1,691.47 ไร่ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 48,887,840 บาท โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ บัญชี รายละเอียดของราษฎร จำนวน (ราย) พื้นที่ (ไร่) วงเงินค่าชดเชย (บาท) (อัตราไร่ละ 32,000 บาท) 3 ราษฎรที่ปัจจุบันดำเนินการจัดการมรดกเรียบร้อยแล้ว 117 1,370.88 40,022,760 4 ราษฎรที่เคยมีปัญหาเรื่องพื้นที่ทำประโยชน์ แต่ปัจจุบันคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฯ ได้เห็นชอบแล้ว 8 205.75 5,200,200 5 ราษฎรที่ได้ฟ้องคดีต่อศาล แต่ภายหลังศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายกฟ้องจึงมาใช้สิทธิในครั้งนี้ 4 65.58 2,098,560 6 ราษฎรที่ตกหล่นมาจากบัญชีที่ 1 และบัญชีที่ 2 2 49.26 1,566,320 รวม 4 บัญชี 131 1,691.47 48,887,840 ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน (พน.) ขออนุมัติในหลักการให้ พน. ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาเห็นชอบ/ไม่มีข้อขัดข้อง 16. เรื่อง ขออนุมัติผ่อนผันการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูแลนคาด้านทิศเหนือ เพื่อสร้างวัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) ท้องที่ตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 ไร่ เพื่อสร้างวัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) ตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง พื้นที่วัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ในครั้งนี้ เป็นพื้นที่ที่กรมป่าไม้เคยอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูแลนคา ด้านทิศเหนือ เพื่อสร้างวัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) มีกำหนดระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2527 - 30 สิงหาคม 2557 ซึ่งการอนุญาตดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว มีความจำเป็นต้องขออนุญาตต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่วัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นที่ 1 เอ ของลุ่มน้ำชี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 ที่เห็นชอบข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ที่ไม่ให้มีการใช้พื้นที่ในทุกกรณี เพื่อรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารอย่างแท้จริง ตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 กำหนดว่า ต่อไปจะไม่อนุมัติให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ อีกไม่ว่ากรณีใด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจึงจำเป็นต้องได้รับการผ่อนผันการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น เพื่อที่จะได้ดำเนินการขออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง โดยขอให้จำกัดพื้นที่ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น และจะต้องปฏิบัติตามมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำและมาตรการที่นำเสนอไว้ในรายงานข้อมูล ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย ส่วนกระทรวงวัฒนธรรมแจ้งว่าไม่พบโบราณสถานหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะเป็นโบราณสถานในพื้นที่โครงการ 17. เรื่อง ขออนุมัติผ่อนผันการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ระมาด เพื่อสร้างวัดดอยภูกาล่าง ท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 14 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา เพื่อสร้างวัดดอยภูกาล่าง ตำบลพะวอ อำเภอแม่สาด จังหวัดตาก ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง พื้นที่โครงการเพื่อสร้างวัดดอยภูกาล่าง ท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ขนาดพื้นที่ 14 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าระมาด ซึ่งต้องขออนุมัติผ่อนผันการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 ที่กำหนดว่า ต่อไปจะไม่อนุมัติให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ไม่ว่ากรณีใด และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ที่กำหนดว่าไม่ให้มีการใช้พื้นที่ในทุกกรณี เพื่อรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารอย่างแท้จริง เพื่อให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติสามารถดำเนินการขออนุญาตให้เข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติได้ตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงวัฒนธรรมพิจารณาแล้วเห็นชอบ โดยมีความเห็นเพิ่มเติม เช่นการสร้างวัดดอยภูกาล่างในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ต้องดำเนินงานในพื้นที่เดิมและไม่ควรมีการเปิดพื้นที่ใหม่ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ น้อยที่สุด ต้องกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะตามมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำและมาตรการที่นำเสนอไว้ในรายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Accounting Report : EAR) อย่างเคร่งครัด 18. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน เพื่อให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองกะลาเส และป่าคลองไม้ตาย ท้องที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการศึกษาตามภารกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) วันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) เพื่อให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มหาวิทยาลัยฯ) ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนที่อยู่ในเขตป่าชายเลนในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองกะลาเส และป่าคลองไม้ตาย ท้องที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จำนวน 4 พื้นที่ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้ 1. พื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่เดิมที่เคยได้รับอนุญาต (ตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่อง กำหนดบริเวณพื้นที่ให้ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐเข้าใช้ประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฉบับที่ 48/2535 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2535) จำนวน 1 พื้นที่ เนื้อที่ 65-0-94.8 ไร่ เพื่อเป็นสถานที่จัดการศึกษา การทำงานวิจัย การให้บริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมตามภารกิจของมหาวิทยาลัยฯ 2. พื้นที่ที่ขออนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 (เรื่อง การเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ และขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2523 ในกรณีที่ปรากฏว่ายังมีส่วนราชการใดเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ก่อนได้รับอนุญาต) จำนวน 3 พื้นที่ 2.1 เพื่อเป็นสถานที่จัดการศึกษา การทำงานวิจัย การให้บริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมตามภารกิจของมหาวิทยาลัยฯ เนื้อที่ 110-2-50 ไร่ 2.2 เพื่อเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระบบนิเวศป่าชายเลน เนื้อที่ 1-0-96 ไร่ 2.3 เพื่อเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระบบนิเวศป่าชายเลน เนื้อที่ 1-2-70 ไร่ สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 22 สิงหาคม 2543 และ 17 ตุลาคม 2543 เพื่อให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มหาวิทยาลัยฯ) ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนที่อยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองกะลาเส และป่าคลองไม้ตาย ท้องที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จำนวน 4 พื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมที่ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตามประกาศกรมป่าไม้ที่เกี่ยวข้อง (ปัจจุบันสิ้นสุดการอนุญาตเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่แล้ว) และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 ต่อมาได้มีการสำรวจพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยฯ ครอบครองทั้งหมดอีกครั้งเพื่อการขออนุญาตเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าต่อเนื่องจากเดิม จึงพบว่ามีพื้นที่บางส่วนที่มีสภาพเป็นป่าชายเลน และอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งต้องขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน สรุปได้ ดังนี้ พื้นที่ที่ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน เนื้อที่ (ไร่-งาน-ตารางวา) (1) พื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่เดิมที่เคยได้รับอนุญาตตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่อง กำหนดบริเวณพื้นที่ให้ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐเข้าใช้ประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฉบับที่ 48/2535 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2535 เพื่อเป็นสถานที่จัดการศึกษา การทำงานวิจัย การให้บริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมตามภารกิจของมหาวิทยาลัยฯ 65-0-94.8 (2) พื้นที่ที่ขออนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 (2.1) เพื่อเป็นสถานที่จัดการศึกษา การทำงานวิจัย การให้บริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมตามภารกิจของมหาวิทยาลัยฯ 110-2-50 (2.2) เพื่อเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระบบนิเวศป่าชายเลน 1-0-96 1-2-70 รวมพื้นที่ที่ข้อยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ 178-3-10.8 ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องกับการขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน เพื่อให้มหาวิทยาลัยฯ ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองกะลาเส และป่าคลองไม้ตาย ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ อย่างไรก็ตาม หากได้รับการยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต้องขออนุญาตให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณให้กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมไม่น้อยกว่า 20 เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ หากโครงการเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้แนบรายงานดังกล่าวที่ได้รับความเห็นชอบแล้วเสนอกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมทั้งปฏิบัติตามเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ประกอบกับสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ 19. เรื่อง การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสำหรับปี 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 2568 พร้อมข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง* และเป้าหมายสำหรับปี 2568 ซึ่งกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 ? 3 และเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วจะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป (มาตรา 28/8 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้ กนง. จัดทำเป้าหมายของนโยบายการเงินของปีถัดไปให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมของทุกปีโดยเป้าหมายดังกล่าวจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2568) สาระสำคัญ 1. กระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 2568 พร้อมข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสำหรับปี 2568 โดยกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 - 3 เนื่องจากเป็นระดับที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ที่สอดคล้องกับศักยภาพและมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย โดยการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับปี 2568 ดังกล่าว เป็นการกำหนดเป้าหมายเช่นเดียวกันกับปี 2563 - 2567 ที่ผ่านมา 2. การกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 - 3 เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลางและเป้าหมายสำหรับปี 2568 มีความเหมาะสมในการรักษาเสถียรภาพด้านราคาและมีความสอดประสานกับแนวนโยบายแห่งรัฐ สภาวะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ เนื่องจาก (1) เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพและที่ผ่านมาสามารถยึดเหนี่ยวเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางให้อยู่ในกรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ในช่วงที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง (2) มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ที่เป็นเศรษฐกิจขนาดเล็กและเปิด และ (3) การคงเป้าหมายเป็นการแสดงความตั้งใจที่จะรักษาเสถียรภาพด้านราคา และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะมีการดูแลเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ภายในช่วงดังกล่าวอย่างเหมาะสมและไม่อยู่ในระดับที่สูงหรือต่ำเกินไป อย่างต่อเนื่อง โดยให้เงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในระดับกึ่งกลางของช่วงดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ 20. เรื่อง โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ (โครงการฯ) โดยมอบหมาย กค. ดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพ 2. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ จำนวนไม่เกิน 40,000 ล้านบาท โดยจัดสรรให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (สป.กค.) สำหรับการดำเนินโครงการฯ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ พ.ศ. 2567 ต่อไป 3. เห็นชอบในหลักการการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่กลุ่มเป้าหมายได้รับตามโครงการฯ และมอบหมายให้ กค. โดยกรมสรรพากรพิจารณาดำเนินการยกร่างกฎหมายและเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป 4. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ หน่วยงาน การมอบหมาย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) นำส่งฐานข้อมูลผู้ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 สำเร็จ ที่มีสัญชาติไทยและมีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ 15 กันยายน 2567 ซึ่งได้รับการตรวจสอบข้อมูลสัญชาติและอายุกับกรมการปกครองแล้วให้แก่ สป.กค. ในโอกาสแรก และเห็นควรมอบหมายให้กรมการปกครองสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวแก่ สพร. ด้วย สป.กค. เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ในการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรมการปกครอง กรมสรรพากร กรมราชทัณฑ์ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (พม.) และกรมบัญชีกลาง ตรวจสอบคุณสมบัติและคัดกรองกลุ่มเป้าหมายร่วมกับ สป.กค. โดยให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่เกี่ยวข้องร่วมกัน กรมบังคับคดี กำหนดแนวปฏิบัติเพื่ออนุญาตให้บุคคลล้มละลาย หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารและถอนเงินเป็นกรณีพิเศษเพื่อรับเงินตามโครงการฯ และเบิกถอนเงินดังกล่าวเพื่อใช้จ่าย กรมบัญชีกลาง ดำเนินการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายโครงการฯ กค. บริหารจัดการกลุ่มเป้าหมายของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ (โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567) และโครงการฯ เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินตามโครงการที่พึงจะได้รับและมิให้เกิดความซ้ำซ้อน รวมทั้งให้พิจารณากำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการดำเนินโครงการฯ โดยไม่ขัดกับที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไว้ ทั้งนี้ เนื่องจาก กค. อยู่ระหว่างการดำเนินการจ่ายเงินช้ำ (Retry) ครั้งที่ 3 ในวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ให้แก่กลุ่มเป้าหมายตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 67 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ ควบคู่กับการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินตามโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 จากการดำเนินโครงการหลายโครงการในช่วงเวลาเดียวกัน จึงอาจเกิดความซ้ำซ้อนหรือความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้ 21. เรื่อง โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต - บางปะอิน ของกรมทางหลวง คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ อนุมัติให้กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (โครงการฯ) หมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต - บางปะอิน (ช่วงรังสิต - บางปะอิน) ตามหลักการของโครงการฯ หมายเลข 5 ช่วงรังสิต - บางปะอิน ที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการนโยบายฯ) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่ ทล. เสนอแล้ว สาระสำคัญของเรื่อง 1. ทล. ได้ดำเนินการปรับปรุงแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง จำนวน 13 เส้นทาง ตามมติคณะรัฐมนตรี 22 เมษายน 2540 (ระยะทาง 4,150 กิโลเมตร) เป็นแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 ? 2569) ซึ่งโครงการฯ หมายเลข 5 ช่วงรังสิต ? บางปะอิน เป็นหนึ่งในโครงการที่มีความเร่งด่วนที่ ทล. ได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทการพัฒนาดังกล่าว โดยโครงการฯ หมายเลข 5 ช่วงรังสิต - บางปะอิน มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพการจราจรติดขัดในแนวทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น (2) เพื่อเพิ่มโครงข่ายถนนสายหลัก ตอนบนของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (3) เพื่อรองรับการจราจรที่เดินทางจากภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมายังกรุงเทพมหานคร และ (4) เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการฯ หมายเลข 6 สายบางปะอิน - นครราชสีมา (M6) (เปิดให้บริการแล้วบางส่วน) เพื่อเป็นการเชื่อมต่อการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางมีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย และเป็นการสนับสนุนกิจกรรมโลจิสติกส์และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 2. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (โครงการฯ) หมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต - บางปะอิน (ช่วงรังสิต - บางปะอิน) ของกรมทางหลวง (ทล.) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1) รูปแบบการลงทุน ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP Gross Cost (เอกชนลงทุนค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด และภาครัฐเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รายได้ค่าธรรมเนียมผ่านทาง และทรัพย์สินที่เอกชนลงทุนก่อสร้าง) โดยเอกชน จะได้รับค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) (ค่า AP) จากภาครัฐ จำนวน 79,839 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 47,881 ล้านบาท) แบ่งเป็น (1) ค่าลงทุนโครงการ จำนวน 41,295.30 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 15 ปี (2) ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ (O&M) จำนวน 38,543.70 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 30 ปี ทั้งนี้ จะจ่ายค่า AP จากเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางโครงการฯ 2) ระยะเวลาดำเนินโครงการ (1) ออกแบบและก่อสร้าง 4 ปี (2) ดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 30 ปี ทั้งนี้ หากก่อสร้างเสร็จก่อนให้เปิดบริการได้ทันที 3) ประมาณการรายได้โครงการ โดยจะมีรายได้ประมาณ 41,436 ล้านบาท จากค่าธรรมเนียมผ่านทาง (ยังไม่รวมค่าตอบแทนในการใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่ผู้ร่วมลงทุนจะต้องแบ่งให้รัฐตามที่จะตกลงในสัญญาร่วมลงทุนต่อไป) 4) ประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ รวมประมาณ 79,916,78 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) ค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน 77.78 ล้านบาท (ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ) (2) ค่า AP ที่ต้องจ่ายแก่เอกชน 79,839 ล้านบาท โดยจะใช้จ่ายจากเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง สรุปประมาณการรายรับ - รายจ่าย โครงการฯ หมายเลข 5 ช่วงรังสิต ? บางปะอิน และประมาณการเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางคงเหลือ ในทุก 5 ปี ปีที่ รายรับ จากค่าธรรมเนียมผ่านทาง รายจ่าย (ค่า AP) คงเหลือสุทธิ ประมาณการเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางคงเหลือ ค่าก่อสร้าง ค่า Q&M รวม 1 503 2,753 580 3,333 2,830 4,386 5 644 2,753 705 3,458 2,814 5,360 10 939 2,753 900 3,653 2,714 7,588 15 1,317 2,753 1,149 3,902 2,585 10,202 20 1,694 - 1,466 1,466 228 13,371 25 2,242 - 1,871 1,871 371 19,798 30 2,890 - 2,388 2,388 502 8,088 ความคุ้มค่าทางการเงิน/ทางเศรษฐศาสตร์ ผลวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงิน (อัตราคิดลดร้อยละ 3) อัตราผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ (Project Internal Rate of Return) ร้อยละ -12.14 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน [Benefit/Cost Ratio: (B/C Ratio)] 0.54 เท่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value (NPV)] -22,747 ล้านบาท ระยะเวลาคืนทุน (Project Payback Period) มากกว่า 30 ปี ผลวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (อัตราคิดลดร้อยละ 12) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 7,928 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return) ร้อยละ 15.20 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C Ratio) 1.42 เท่า 22. เรื่อง การแก้ไขข้อขัดข้องให้กับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 และ การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง. ) เสนอ เรื่อง การแก้ไข ข้อขัดข้องให้กับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 และการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งประกอบด้วยเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การแก้ไขข้อขัดข้องให้กับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ดำเนินการครบทุกขั้นตอนแต่ไม่สามารถจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติได้ ตามระยะเวลาที่กำหนด และร่างประกาศที่เกี่ยวข้อง รวม 2 ฉบับ ได้แก่ 1.1 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ดำเนินการครบทุกขั้นตอนแต่ไม่สามารถจัดทำ หรือปรับปรุงทะเบียนประวัติได้ตามระยะเวลาที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ? 1.2 ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 (ฉบับที่ ..) 2. แนวทางการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ให้กับคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี และ ร่างประกาศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 (ฉบับที่ ..) 3. ให้ รง. โดยกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการ แรงงานต่างด้าว และผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลการดำเนินการดังกล่าวอย่างทั่วถึง สาระสำคัญของเรื่อง เรื่องที่กระทรวงแรงงานเสนอ เป็นมาตรการเพื่อให้คนต่างด้าวสามารถทำงานในราชอาณาจักรต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นการรักษากำลังแรงงานภายในประเทศเพื่อมิให้การขาดแคลนแรงงานทวีความรุนแรงมากขึ้นจนกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1) การแก้ไขข้อขัดข้องให้กับคนต่างด้าวไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามบัญชีรายชื่อที่นายจ้างได้ยื่นความต้องการจ้างแรงงานไว้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ซึ่งมีบางส่วนที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวกำหนดแล้ว แต่ยังมีอีกจำนวนประมาณ 200,000 คน ที่ยังไม่สามารถจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ (บัตรชมพู) ได้ทันภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 ส่งผลให้กลุ่มคนต่างด้าวดังกล่าว มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายจึงกำหนดให้กลุ่มคนต่างด้าวดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทำงาน และอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อให้สามารถต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 โดยจะต้องยื่นคำขอภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 และจะได้รับอนุญาตให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรได้ต่อไป เป็นระยะเวลา 2 ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 2 ปี รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 4 ปี 2 ) การแก้ไขข้อขัดข้องให้คนต่างด้าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ซึ่งกำหนดแนวทางการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ให้กับคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ซึ่งเป็นกลุ่มคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ กลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายการอนุญาตให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง และที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยถูกกฎหมายแต่ทำงานกับนายจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตทำงานและมีการจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล และจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติและออกบัตรประจำตัวคนแล้ว จะต้องไปดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติเพื่อให้ได้รับหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว โดยอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 มีนาคม 2569 ต่างประเทศ 23. เรื่อง ขอความเห็นชอบการร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมืองว่าด้วยการเสริมสร้างการปกป้องพลเรือนจากผลกระทบด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากการใช้อาวุธระเบิดในพื้นที่มีประชากรหนาแน่น คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยโดย กต. ร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมืองว่าด้วยการเสริมสร้างการปกป้องพลเรือนจากผลกระทบด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากการใช้อาวุธระเบิดในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น (ปฏิญญาทางการเมืองฯ) และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป โดยให้เป็นไปตามขอบเขตกฎหมายภายในของประเทศไทยและพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายกัน เช่น สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (ไอร์แลนด์) และราชอาณาจักรนอร์เวย์ (นอร์เวย์) ได้ยกร่างปฏิญญาทางการเมืองฯ ซึ่งมีเนื้อหาย้ำความสำคัญของการปกป้องพลเรือนจากการใช้อาวุธระเบิดในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นตามหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ต่อมาได้มีการรับรองปฏิญญาทางการเมืองดังกล่าวในที่ประชุมระดับสูง ณ กรุงดับลิน ไอร์แลนด์ (18 พฤศจิกายน 2565) และได้เปิดให้ประเทศต่าง ๆ แจ้งเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมืองฯ ได้ในภายหลัง ซึ่งปัจจุบันมีประเทศต่าง ๆ ร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมืองฯ รวม 86 ประเทศ (สำหรับประเทศในอาเซียนร่วมรับรองแล้ว 5 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐมาเลเซียและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์) ต่อมาสาธารณรัฐคอสตาริกา ไอร์แลนด์ และนอร์เวย์ ได้ร่วมจัดการประชุมเพื่อติดตามผลการรับรองปฏิญญาทางการเมืองฯ (การประชุมฯ) ณ กรุงออสโล นอร์เวย์ (23 เมษายน 2567) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประมาณ 90 ประเทศ โดยประเทศไทยได้ส่งผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงออสโล เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมฯ ด้วย 2. การร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมืองฯ ถือเป็นการแสดงจุดยืนและย้ำการให้ความสำคัญของประเทศไทยต่อการให้ความร่วมมือกับนานาประเทศในการสนับสนุนหลักการด้านมนุษยธรรม รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนประเด็นดังกล่าวอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศอื่น ๆ เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการแสดงท่าทีซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย กต. จึงมีความประสงค์จะเสนอให้ประเทศไทยร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมืองดังกล่าว 3. ประโยชน์ที่จะได้รับ: การร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมืองฯ เป็นโอกาสให้ประเทศไทยได้แสดงจุดยืนและย้ำความมุ่งมั่นในการส่งเสริมหลักการด้านมนุษยธรรม และการปฏิบัติตามหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน และการส่งเสริมให้มาตรการทางทหารของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 24. เรื่อง ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงว่าด้วยการให้คำมั่นอันเป็นหนึ่งเดียวของประเทศสมาชิกอาเซียนในการปกป้องสุขภาพของประชาชนจากการแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการควบคุมยาสูบ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือแสดงเจตจำนงว่าด้วยการให้คำมั่นอันเป็นหนึ่งเดียวของประเทศสมาชิกอาเซียนในการปกป้องสุขภาพของประชาชนจากการแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการควบคุมยาสูบ (ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำหรือประเด็นที่มิใช่สาระสำคัญของร่างหนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าว ขอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้รับรองเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมรับรองร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงที่จะจัดทำร่างหนังสือแสดงเจตจำนงว่าด้วยการให้คำมั่นอันเป็นหนึ่งเดียวของประเทศสมาชิกอาเซียนในการปกป้องสุขภาพของประชาชนจากการแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการควบคุมยาสูบ (ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ) ขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก ที่กำหนดให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกป้องกันไม่ให้ธุรกิจยาสูบเข้ามาแทรกแซงนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมยาสูบ ซึ่งร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตจำนงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการคุ้มครองนโยบายด้านสาธารณสุขจากการแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะสนับสนุนให้เกิดการสร้างความร่วมมือและกำหนดมาตรการในการควบคุมยาสูบผ่านการดำเนินการต่าง ๆ เช่น (1) การกำหนดมาตรการเพื่อจำกัดการติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับอุตสาหกรรมยาสูบ (2) การขยายความร่วมมือกับภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคส่วนด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจและสังคม (3) ติดตามและตรวจสอบการบิดเบือนของข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยาสูบที่สร้างความสับสนแก่ผู้กำหนดนโยบาย (4) แบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 25. เรื่อง อนุสัญญาระหว่าง (1) ราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรนอร์เวย์ และ (2) ราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เพื่อการขจัดการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และการป้องกันการหลบหลีกและการหลีกเลี่ยงรัษฎากร (รวม 2 เรื่อง) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบร่างอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทย (ประเทศไทย) และราชอาณาจักรนอร์เวย์ (ประเทศนอร์เวย์) เพื่อการขจัดการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และการป้องกันการหลบหลีกและการหลีกเลี่ยงรัษฎากร (ฉบับภาษาอังกฤษ) (ร่างอนุสัญญานอร์เวย์ฯ) จำนวน 1 ฉบับ 2. เห็นชอบร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (ประเทศเนเธอร์แลนด์) เพื่อการขจัดการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และการป้องกันการหลบหลีกและการหลีกเลี่ยงรัษฎากร (ฉบับภาษาอังกฤษ) (ร่างอนุสัญญาเนเธอร์แลนด์ฯ) จำนวน 1 ฉบับ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กค. ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง 3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างอนุสัญญานอร์เวย์ฯ และร่างอนุสัญญาเนเธอร์แลนด์ฯ และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ดังกล่าวด้วย สาระสำคัญของเรื่อง 1. ที่ผ่านมาราชอาณาจักรไทย (ประเทศไทย) ได้ทำอนุสัญญาเพื่อการขจัดการเก็บภาษีซ้อน (อนุสัญญาฯ) กับประเทศต่าง ๆ ไว้ 61 ฉบับ ซึ่งรวมถึงราชอาณาจักรนอร์เวย์ (ประเทศนอร์เวย์) และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (ประเทศเนเธอร์แลนด์) ด้วย ต่อมาในปี 2560 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกรอบความร่วมมือเพื่อป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและโอนกำไรไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ [Inclusive Framework on Base Erosion and Profit Shifting Project (BEPS)] (กรอบความร่วมมือ BEPS) ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องดำเนินการตามมาตรฐานขั้นต่ำ 4*ปฏิบัติการ ได้แก่ ปฏิบัติการที่ 5 ปฏิบัติการที่ 6 ปฏิบัติการที่ 13 และปฏิบัติการที่ 14 ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องแก้ไขปรับปรุงอนุสัญญาฯ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำดังกล่าว และในปี 2564 ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาพหุภาคีเพื่อดำเนินมาตรการเกี่ยวกับอนุสัญญาฯ ในการป้องกัน BEPS [Multilateral Convention to Implement Treaty Related Measures to Prevent Base Erosion and Profit Shiftin (MLI)] (อนุสัญญาพหุภาคีฯ MLI) ซึ่งกำหนดให้สามารถแก้ไขอนุสัญญาฯ ได้พร้อมกันทีเดียวหลายฉบับ ทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขอนุสัญญาฯ ผ่านอนุสัญญาพหุภาคีฯ MLI ทั้งหมด 43 ฉบับจากอนุสัญญาฯ ที่มีผลใช้บังคับแล้ว ทั้งสิ้น 61 ฉบับ ทั้งนี้ คงเหลืออนุสัญญาฯ ที่ยังไม่ได้แก้ไขอีก 18 ฉบับ ซึ่งรวมถึงประเทศนอร์เวย์และประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วย เนื่องจากทั้งสองประเทศไม่ประสงค์ที่จะใช้กลไกของอนุสัญญาพหุภาคีฯ MLI ในการแก้ไขอนุสัญญาฯ และยืนยันที่จะทบทวนและแก้ไขอนุสัญญาฯ ทั้งฉบับแบบทวิภาคี เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการขจัดการเก็บภาษีซ้อน 2. กระทรวงการคลัง (กค.) (กรมสรรพากร) ได้ดำเนินการเจรจาแก้ไขร่างอนุสัญญาเพื่อการขจัดการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และการป้องกันการหลบหลีกและการหลีกเลี่ยงรัษฎากรกับ 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศนอร์เวย์ (ร่างอนุสัญญานอร์เวย์ฯ) และประเทศเนเธอร์แลนด์ (ร่างอนุสัญญาเนเธอร์แลนด์ฯ) โดยเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อใช้แทนอนุสัญญาฉบับเดิม ซึ่งมีการแก้ไขถ้อยคำและเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติภายใต้กรอบความร่วมมือ BEPS รวมทั้งนำมาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี ภายใต้กรอบความร่วมมือ BEPS มาบรรจุไว้ให้เป็นรูปธรรม โดยรายละเอียดของการแก้ไขร่างอนุสัญญาทั้งสองฉบับมีความแตกต่างจากฉบับเดิม เช่น แก้ไขวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการป้องกันการใช้อนุสัญญาฯ โดยมิชอบ การหลบหลีกและการหลีกเลี่ยงภาษี การวางแผนเพื่อหลบเลี่ยงภาษี และการเคลื่อนย้ายกำไรไปประเทศที่มีภาระภาษีต่ำ ตลอดจนการไม่จัดเก็บภาษีในประเทศคู่สัญญาทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ กค. แจ้งว่า การแก้ไขอนุสัญญาทั้งสองฉบับจะช่วยบรรเทาหรือขจัดภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศในการขยายตลาดทางการค้าและการลงทุน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศในการป้องกันการใช้อนุสัญญาฯ โดยมิชอบด้วย * ปฏิบัติการที่ 5 การขจัดมาตรการภาษีที่เป็นภัยต่อประเทศอื่น ปฏิบัติการที่ 6 มาตรการป้องกันการใช้ประโยชน์จากอนุสัญญาฯ ผิดวัตถุประสงค์ ปฏิบัติการที่ 13 เอกสารกำหนดราคาโอน และปฏิบัติการที่ 14 แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ วิธีการดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน 26. เรื่อง การเข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Market Club ของประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบร่างหนังสือแสดงความสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Market Club ของประเทศไทย (ร่างหนังสือแสดงความสนใจฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างหนังสือแสดงความสนใจฯ หรือการดำเนินการใดในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ ทส. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก 2. เห็นชอบให้ ทส. เข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Market Club ในนามของประเทศไทย โดยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยดำเนินการ 3. มอบหมายให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนประเทศไทยลงนามในร่างหนังสือแสดงความสนใจฯ สาระสำคัญของเรื่อง ธนาคารโลก (The World Bank) มีหนังสือเชิญประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Market Club เพื่อส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในการดำเนินโครงการนำร่องเพื่อการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ ภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส (Article 6.2 of the Paris Agreement) โดยยึดหลักการที่สำคัญในการดำเนินงาน ได้แก่ 1) การประกันความน่าเชื่อถือของผลการลดก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มความมุ่งมั่นในการลดก๊าซเรือนกระจก 2) การปรับบัญชีและหลีกเลี่ยงการนับซ้ำของผลการลดก๊าซเรือนกระจก 3) การดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส เรื่องนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ขอความเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Climate Market Club ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือภายใต้ธนาคารโลก เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระหว่างประเทศสมาชิกในการดำเนินโครงการนำร่องเพื่อการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ (ปัจจุบันมีสมาชิก 14 ประเทศ บังคลาเทศ ภูฏาน ชิลี กานา คาซัคสถาน ญี่ปุ่น เปรู รวันดา เซเนกัล สิงคโปร์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ยูเครน และนามีเบีย) โดยคาดว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยได้รับทราบแนวโน้มและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกฎกติกาตลาดคาร์บอนระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเข้าร่วมการดำเนินงานตลาดคาร์บอนระหว่างประเทศต่อไป ทั้งนี้ ทส. จะต้องส่งหนังสือแสดงความสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Market Club (ข้อ 1) ไปยังธนาคารโลกเพื่อสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อไป 27. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล สำหรับปี ค.ศ. 2024 - 2034 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้ 1. ร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Landlocked Developing Countries: LLDCs) ครั้งที่ 3 (ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ) (ร่างแผนปฏิบัติการสำหรับ LLDCs สำหรับปี ค.ศ. 2024 - 2034) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและ/หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต. สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอีก 2. ให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ สาระสำคัญ เรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างแผนปฏิบัติการสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Landlocked Developing Countries: LLDCs) สำหรับปี ค.ศ. 2024 - 2034 (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วย LLDCs ครั้งที่ 3 เพื่อใช้แทนแผนปฏิบัติการเวียนนาสำหรับ LLDCs สำหรับปี ค.ศ. 2014 - 2024 (แผนปฏิบัติการเวียนนาฯ) ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 โดยมีประเด็นสำคัญได้แก่ (1) การปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง และวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การพัฒนาภาคเอกชน การพัฒนาอุตสาหกรรม (2) การค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการรวมกลุ่มระดับภูมิภาค (3) การผ่านแดน การคมนาคม และความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การเชื่อมโยงด้านการขนส่งผ่านแดน การเชื่อมต่อทางดิจิทัล พลังงาน (4) การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว การเสริมสร้างภูมิต้านทานและการลดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ เช่น การจัดทำแผนลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ (5) กลไกการดำเนินงาน เช่น การระดมทรัพยากรภายในประเทศการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งสาระสำคัญส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเด็นต่อเนื่องกับแผนปฏิบัติการเวียนนาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับการขนส่งผ่านแดนและการค้าระหว่างประเทศที่ LLDCs มีข้อจำกัดในแง่การเข้าถึงตลาด รวมทั้งการเรียกร้องให้ประเทศอื่น ๆ และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ และมีประเด็นใหม่เพิ่มขึ้น เช่น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการพัฒนาใน LLDCs ประโยชน์ที่จะได้รับ : เป็นการย้ำเจตนารมณ์ทางการเมืองและแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในฐานะประเทศทางผ่าน (transit country) และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในกรอบการดำเนินงานเกี่ยวกับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลภายใต้กรอบสหประชาชาติ 28. เรื่อง การแต่งตั้งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนวาระปี 2568 - 2570 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อการแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาณุภัทร จิตเที่ยง ดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) (คณะกรรมาธิการฯ) สำหรับวาระปี 2568 - 2570 โดยให้ทำหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2570 2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาณุภัทร จิตเที่ยง ดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการฯ สำหรับวาระปี 2568 - 2570 โดยให้ทำหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2570 ให้เลขาธิการอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนทราบ สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมาธิการฯ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2552 ตามข้อ 14 ของกฎบัตรอาเซียนที่กำหนดให้อาเซียนจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลและเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างองค์กรอาเซียนและเป็นองค์กรด้านการให้คำปรึกษา ซึ่งข้อ 5 ของขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ กำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่งตั้งผู้แทนในคณะกรรมาธิการฯ ประเทศละ 1 คน โดยรับผิดชอบดูแลภาพรวมของการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ซึ่งขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ (1) เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียน (2) เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนภายในภูมิภาค โดยคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของประเทศและภูมิภาค การเคารพซึ่งกันและกันในเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศาสนาที่แตกต่างกัน และการคำนึงถึงความสมดุลระหว่างสิทธิและหน้าที่ (3) เพื่อยกระดับความร่วมมือระดับภูมิภาคในด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อำนาจและหน้าที่ (1) พัฒนายุทธศาสตร์ระยะยาวในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เพื่อเสริมการสร้างประชาคมอาเซียน (2) ส่งเสริมความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนในหมู่ประชาชนอาเซียนโดยผ่านการศึกษา วิจัยและเผยการแพร่ข้อมูล (3) ส่งเสริมให้รัฐสมาชิกอาเซียนพิจารณาภาคยานุวัตรและให้สัตยาบัน ต่อตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (4) เพื่อให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือด้านเทคนิคในเรื่องของสิทธิมนุษยชนแก่องค์กรความร่วมมือเฉพาะด้านของอาเซียนตามที่ได้รับการร้องคำขอ องค์ประกอบ สมาชิกภาพ (1) ให้คณะกรรมาธิการฯ ประกอบไปด้วยรัฐสมาชิกอาเซียน (2) ให้รัฐสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศแต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมในคณะกรรมาธิการฯ โดยผู้แทนนั้นจะรับผิดชอบต่อรัฐบาลที่แต่งตั้ง คุณสมบัติ (1) ในการแต่งตั้งผู้แทนในคณะกรรมาธิการฯ ให้รัฐสมาชิกคำนึงถึงหลักของความเท่าเทียมทางเพศ ความซื่อตรง และความรู้ความสามารถด้านสิทธิมนุษยชน (2) รัฐสมาชิกควรปรึกษากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เหมาะสมในการแต่งตั้งผู้แทนในคณะกรรมาธิการฯ วาระการดำรงตำแหน่ง (1) ให้ผู้แทนมีวาระการดำรงตำแหน่งในวาระแรกเป็นระยะเวลา 3 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันต่อไปได้อีกไม่เกิน 1 วาระ (2) รัฐบาลผู้แต่งตั้งอาจใช้วิจารณญาณตัดสินใจเปลี่ยนผู้แทนของตนได้ ความรับผิดชอบ (1) ในการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละคนให้ทำการอย่างเป็นกลาง โดยสอดคล้องกับกฎบัตรอาเซียนและขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ (2) ผู้แทนมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมาธิการฯ ในกรณีที่ผู้แทนไม่สามารถเข้าร่วมได้เนื่องจากสถานการณ์พิเศษ ให้รัฐบาลที่เกี่ยวข้องแจ้งการแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวที่มีอำนาจเต็มในการทำการแทนรัฐนั้นต่อประธานอย่างเป็นทางการ การตัดสินใจ การตัดสินใจในคณะกรรมาธิการฯ อยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือและฉันทามติโดยสอดคล้องกับข้อ 20 ของกฎบัตรอาเซียน จำนวนการประชุม ให้คณะกรรมาธิการฯ จัดการประชุมสมัยสามัญ 2 ครั้งต่อปี โดยการประชุมแต่ละครั้งจะมีระยะเวลาปกติไม่เกิน 5 วัน 29. เรื่อง ความตกลงว่าด้วยกรอบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหารอาเซียน (ASEAN Food Safety Regulatory Framework Agreement; AFSRF Agreement) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบความตกลงว่าด้วยกรอบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหารอาเซียน ซึ่งได้มีการลงนามแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 และอนุมัติให้ กษ. นำความตกลงฯ ที่ได้มีการลงนามแล้วเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันต่อไป รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการมอบสัตยาบันสารของความตกลงฯ ให้แก่เลขาธิการอาเซียนเพื่อรับทราบการให้สัตยาบัน เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบความตกลงฯ ดังกล่าวแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ความตกลงว่าด้วยกรอบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหารอาเซียน (ASEAN Food Safety Regulatory Framework Agreement; AFSRF Agreement) ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินการทั้งหมดที่ครอบคลุมและมีการบูรณาการเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหารของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคและอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของอาหารปลอดภัยในอาเซียนบนพื้นฐานของหลักการ 10 ข้อ ของ AFSP โดยมีการกำหนดหน้าที่ให้รัฐสมาชิกต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกันด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และมาตรฐานอาหาร การทำให้อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าอาหารภายในอาเซียนเหลือน้อยที่สุด และการลดความแตกต่างของระบบการควบคุมของประเทศสมาชิกอาเซียน 2. กษ. เห็นว่า เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานตามนโยบายความปลอดภัยอาหารของอาเซียน และการสร้างความร่วมมือและการบูรณาการงานด้านความปลอดภัยอาหารที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงาน ด้านเกษตร เศรษฐกิจ และสุขภาพของอาเซียน และของประเทศสมาชิกอาเซียนในการบรรลุวัตถุประสงค์ของการคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภค จึงได้เสนอความตกลงฯ ที่ได้มีการลงนามแล้ว ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการต่อไป 30. เรื่อง พิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงการค้าเสรีอาเซียน ? ฮ่องกง (First Protocol to Amend ASEAN ? Hong Kong, China Free Trade Agreement) คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ 1. เห็นชอบพิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงการค้าเสรีอาเซียน ? ฮ่องกง (พิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ) ซึ่งได้มีการลงนามแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 2. อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์นำพิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ ที่ได้มีการลงนามแล้วเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3. มอบหมายกระทรวงการคลัง (กค.) (กรมศุลกากร) และ พณ. (กรมการค้าต่างประเทศ) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ มีผลบังคับใช้ 60 วัน หลังจากวันที่ภาคีทั้งหมดได้แจ้งเลขาธิการอาเซียนเป็นลายลักษณ์อักษรว่าได้ดำเนินกระบวนการภายในประเทศของตนสำหรับการมีผลใช้บังคับของพิธีสารดังกล่าว 4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการมอบสัตยาบันสารของพิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงการค้าอาเซียน ? ฮ่องกง ให้แก่เลขาธิการอาเซียนเพื่อรับทราบให้สัตยาบันพิธีสารดังกล่าว เมื่อรัฐสภามีมติเห็นชอบพิธีสารดังกล่าวแล้ว สาระสำคัญของเรื่อง 1. ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน ? ฮ่องกง (ASEAN ? Hong Kong, China Free Trade Agreement : AHKFTA) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ? ฮ่องกง มีวัตถุประสงค์ให้ทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนและฮ่องกงสามารถเข้าสู่ตลาดของอีกฝ่ายหนึ่งได้ดียิ่งขึ้น เป็นการสร้างโอกาสธุรกิจและปรับปรุงการไหลเวียนทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน มีการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การค้าสินค้า กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากรและอำนวยความสะดวกการค้า การค้าบริการ เป็นต้น 2. พิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงการค้าเสรีอาเซียน ? ฮ่องกง (พิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขความตกลง AHKFTA บทที่ 3 (เรื่อง กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า) เพื่อรองรับการนำบัญชีสินค้าที่ใช้กฎเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules : PSRs) ที่เจรจาใหม่ในระบบฮาร์โมไนซ์ 2022 (HS 2022) มาบังคับใช้ (รายการเท่าเดิม โดยจัดกลุ่มใหม่ ปรับพิกัดศุลกากร จาก HS 2012 เป็น HS 2022 เพื่อให้เป็นปัจจุบัน) และกำหนดให้พิธีสารฉบับนี้ รวมทั้งภาคผนวกของพิธีสารฉบับนี้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง AHKFTA โดยรายละเอียดการเจรจากฎเฉพาะรายสินค้า สรุปได้ ดังนี้ 2.1 เดิมความตกลง AHKFTA มีการระบุรายการพิกัดสินค้าที่ได้ลดหรือยกเว้นอากรศุลกากรภายใต้ภาคีความตกลงฉบับนี้ จำนวน 5,205 รายการ [กำหนดรายการตามพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ฉบับปี 2012 (HS 2012)] โดยสามารถแยกประเภทตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สินค้าที่ใช้เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป จำนวน 4,411 รายการ และ 2) สินค้าที่ใช้กฎเฉพาะสินค้า (PSRs) จำนวน 794 รายการ ทั้งนี้ สินค้าที่มีกฎ PSRs สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 2.1.1 สินค้าที่เจรจากฎ PSRs ได้ข้อสรุปและมีผลบังคับใช้แล้ว จำนวน 237 รายการ 2.1.2 สินค้าที่จะนำมาเจรจากฎ PSRs ภายหลังจากความตกลง AHKFTA มีผลบังคับใช้ จำนวน 557 รายการ (ความตกลง AHKFTA กำหนดให้คณะอนุกรรมการกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า จะต้องดำเนินการเจรจากฎ PSRs สำหรับสินค้าดังกล่าวให้แล้วเสร็จ ใน 1 ปี ภายหลังความตกลง AHKFTA มีผลบังคับใช้) 2.2 คณะอนุกรรมการกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Sub ? Committee on Rules of Origin : SCROO) ได้ดำเนินการเจรจาเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าใหม่ จากสินค้าที่ยังไม่มีกฎ PSRs รวม 557 รายการ ตามข้อ 2.1.2 โดย SCROO มีมติให้ใช้เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป จำนวน 248 รายการ และกำหนดให้เป็นรายการสินค้าที่มีกฎ PSRs จำนวน 309 รายการ ดังนั้น จากเดิมสินค้าทั้งหมด 5,205 รายการ เมื่อเจรจาถิ่นกำเนิดสินค้าใหม่ จะเป็นสินค้าที่ใช้เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป 4,659 รายการ (รายการเดิม จำนวน 4,411 รายการ รวมกับรายการที่เจรจาใหม่ จำนวน 248 รายการ) และเป็นสินค้าที่ใช้กฎ PSRs 546 รายการ (รายการเดิมจำนวน 237 รายการ รวมกับรายการที่เจรจาใหม่ จำนวน 309 รายการ) 2.3 นอกจากนี้ SCROO ได้ปรับโอนพิกัดศุลกากรของรายการสินค้าทั้งหมดจากระบบฮาร์โมไนซ์ 2012 (HS 2012) เป็นระบบฮาร์โมไนซ์ 2022 (HS 2022) ซึ่งมีผลจากการปรับโอนพิกัดศุลกากรจากระบบ HS 2012 เป็นระบบ HS 2022 ดังกล่าว ทำให้มีสินค้าทั้งหมดจำนวน 5,612 รายการ (เดิมระบบ HS 2012 มี 5,205 รายการ) โดยเป็นสินค้าที่ใช้เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป จำนวน 5,042 รายการ (เดิมระบบ HS 2012 มี 4,659 รายการ) และเป็นสินค้าที่มีกฎ PSRs จำนวน 570 รายการ (เดิมระบบ HS 2012 มี 549 รายการ) เนื่องจากการปรับพิกัดศุลกากรจากระบบ HS 2012 เป็นระบบ HS 2022 เป็นการจำแนกประเภทพิกัดที่มีความละเอียดขึ้น ส่งผลให้จำนวนรายการสินค้าจากระบบ HS 2012 เมื่อปรับเป็นระบบ HS 2022 แล้วมีรายการสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย 2.4 จากการเจรจาเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าใหม่ และการปรับโอนพิกัดศุลกากรของรายการสินค้า จากระบบ HS 2012 เป็นระบบ HS 2022 จึงต้องมีการปรับปรุงภาคผนวก 3 ? 2 (กฎเฉพาะรายสินค้าที่เจรจาเสร็จสิ้นแล้ว) และภาคผนวก 3 ? 3 (กฎเฉพาะรายสินค้าที่ยังเจรจาไม่เสร็จสิ้น) โดยภาคผนวกของพิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ จะใช้แทนที่ภาคผนวก 3 ? 2 และภาคผนวก 3 ? 3 ของความตกลง AHKFTA 3. การผูกพันของไทยภายใต้พิธีสารฉบับนี้จะทำให้ไทยได้รับประโยชน์โดยการจัดทำกฎ PSRs ให้กับสินค้าที่ยังเจรจาไม่เสร็จสิ้น ช่วยให้สามารถกำหนดวิธีการการคำนวณแหล่งกำเนิดสินค้าให้เหมาะสมกับโครงสร้างการผลิตในปัจจุบันมากที่สุดซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการคำนวณแหล่งกำเนิดสินค้าเพิ่มขึ้น และการปรับพิกัดศุลกากรรายการสินค้าจากระบบ HS 2012 เป็นระบบ HS 2022 จะช่วยลดความผันผวนด้านเอกสารอันเกิดจากการใช้พิกัดศุลกากรที่ไม่เป็นปัจจุบัน ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตามกระบวนการ ในมาตรา 178 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญด้วยแล้ว ปรากฏว่ามีส่วนได้เสียไม่ขัดข้องต่อการบังคับใช้พิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ โดยเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้กฎ PSRs ภายใต้ความตกลงฉบับนี้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการสวมสิทธิ์ของสินค้าจากประเทศอื่น ๆ และเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างสมาชิกอาเซียนและฮ่องกง จึงสนับสนุนให้พิธีสารฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้โดยเร็ว ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 กุมภาพันธ์ 2567) เห็นชอบร่างพิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และประเทศไทยได้มีการลงนามในพิธีสารแล้ว เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 และสำนักเลขาธิการอาเซียนแจ้งว่าภาคีความตกลง AHKFTA ทั้งหมดได้ลงนามพิธีสารดังกล่าวครบถ้วนแล้วเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567 4. พิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ จะมีผลใช้บังคับ 60 วันหลังจากวันที่ภาคีทั้งหมดได้แจ้งเลขาธิการอาเซียนเป็นลายลักษณ์อักษรว่าได้ดำเนินกระบวนการภายในประเทศของจนที่จำเป็นเสร็จสิ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะได้มีการลงนามในพิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ แล้วตามมติคณะรัฐมนตรี (27 กุมภาพันธ์ 2567) แต่รัฐสภายังไม่ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบพิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ ตามาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กระทรวงพาณิชย์จึงได้เสนอพิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ มาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อส่งพิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ ที่มีการลงนามแล้วเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วจึงจะดำเนินการเพื่อแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันตามพิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ ต่อไป ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง โดยกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าพิธีสารฉบับที่หนึ่งฯ เป็นการทำหนังสือสัญญาที่เกี่ยวกับการค้าเสรีตามมาตรา 178 วรรคสองและวรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างก้าวขวาง ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์มีการประชาสัมพันธ์มาตรการดังกล่าวให้แพร่หลายในวงกว้าง รวมทั้งควรจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อให้ผู้ประกอบการถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องต่อไป 31. เรื่อง ประเทศไทยตอบรับเชิญเข้าเป็นประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS (BRICS Partner Country) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ เกี่ยวกับการมีหนังสือตอบรับคำเชิญเข้าเป็นประเทศหุ้นส่วนของ กลุ่ม BRICS ของประเทศไทยตามมติของที่ประชุมผู้นำ BRIC ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ณ เมืองคาซาน สหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อกระทรวงการต่างประเทศจะได้แจ้งฝ่ายสหพันธรัฐรัสเซียต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง 1. การเข้าเป็นประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS เป็นพัฒนาการที่เดินหน้าไปสู่การเข้าเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบและจะส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกลุ่ม BRICS ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง และจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ความมั่นคงพลังงานและอาหาร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 2. การเข้าเป็นประเทศหุ้นส่วนกลุ่ม BRICS จะเพิ่มบทบาทของประเทศไทยในการส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและการสร้างความเข้มแข็งของระบบพหุภาคีที่ประเทศกำลังพัฒนา ได้ประโยชน์มากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในการเป็นสะพานเชื่อม (bridge builder) ระหว่างกลุ่ม BRICS กับกลุ่มประเทศอื่น ๆ 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมในการมีส่วนร่วมในการประชุมและกิจกรรมต่าง ๆ ของ BRICS ที่ประเทศไทยจะได้รับเชิญ รวมทั้งส่งผู้แทนระดับรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีรายสาขาที่ได้รับเชิญในแต่ละปี ดังรายละเอียดกลไกการประชุมที่ผ่านมา ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องพิจารณาตั้งงบประมาณในการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวต่อไป แต่งตั้ง 32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายสิทธิรัตน์ ดรงคมาศ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 2. นางสาวสภัทร์พร ธรรมาภรณ์พิลาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายพลพิศิลป์ สุวรรณชัย ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ (ผู้อำนวยการสูง) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมประมง ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการประมง (นักวิชาการประมงทรงคุณวุฒิ) กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายลิขิต ทิฐิธรรมเจริญ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนัก [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิศวกรรมโยธา) สูง] สำนักวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา กรมทางหลวงชนบท ให้ดำรงตำแหน่ง วิศวกรใหญ่ ที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านควบคุมการก่อสร้าง) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นายไพโรจน์ พรหมพันใจ นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านสาธารณสุข) กรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2567 2. นางไฉไล ช่างดำ นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านสาธารณสุข) ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี กรมอนามัย ให้ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านสุขาภิบาล) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เสนอแต่งตั้ง นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ สกท. ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการลงทุน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สกท. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงแรงงาน) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เสนอแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นายสันติ นันตสุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นางสาวกาญจนา พูลแก้ว รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 3. ว่าที่ร้อยตรี สมศักดิ์ พรหมดำ รองอธิบดีกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 4. นางสาวจีระภา บุญรัตน์ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณ เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นางสาวมัทนา เจริญศรี ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณ 2. นายพลากร ม่วงพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เสนอแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 33 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 1. นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นายชยชัย แสงอินทร์ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 3. นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 4. นางรณิดา เหลืองฐิติสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 5. นายศรัณย์ศักดิ์ ศรีเครือเนตร รองอธิบดีกรมการปกครอง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 6. นายสมบัติ ไตรศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 7. นายสันติ รังษิรุจิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 8. นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 9. นายอธิสรรค์ อินทร์ตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง 10. นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร สำนักงานปลัดกระทรวง 11. นายชานน วาสิกศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง 12. นางสาวอโรชา นันทมนตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม สำนักงานปลัดกระทรวง 13. นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม สำนักงานปลัดกระทรวง 14. นายสมชาย ลีหล้าน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดกระทรวง 15. นางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานปลัดกระทรวง 16. นายปิยะ ปิจนำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง 17. นายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวง 18. นายไพรัตน์ เพชรยวน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา สำนักงานปลัดกระทรวง 19. นายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง สำนักงานปลัดกระทรวง 20. นางสาวธนียา นัยพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร สำนักงานปลัดกระทรวง 21. ร้อยตำรวจโท ภพชนก ชลานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง 22. นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สำนักงานปลัดกระทรวง 23. นายเอกวิทย์ มีเพียร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานปลัดกระทรวง 24. นายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร สำนักงานปลัดกระทรวง 25. นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่ารายการจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานปลัดกระทรวง 26. นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง 27. นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง 28. นายวิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน สำนักงานปลัดกระทรวง 29. นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย สำนักงานปลัดกระทรวง 30. นายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานปลัดกระทรวง 31. นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานปลัดกระทรวง 32. นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง สำนักงานปลัดกระทรวง 33. นายณรงค์ เทพเสนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 40. เรื่อง การแต่งตั้งผู้ว่าการการประปานครหลวง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอแต่งตั้ง นางสาวสุวรา ทวิชศรี เป็นผู้ว่าการการประปานครหลวง ทั้งนี้ ตามมติคณะกรรมการการประปานครหลวง ในการประชุมครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 และครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2567 41. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอแต่งตั้ง ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 42. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติต่อไปอีกวาระหนึ่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2568 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2571 (ตามมติคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567) 43. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติเพิ่มเติม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอแต่งตั้ง นางเกศรา มัญชุศรี เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติเพิ่มเติมในตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป 44. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย รวม 2 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้ 1. นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย ประธานกรรมการ 2. นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว 45. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้ 1. พลตำรวจเอก เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานกรรมการ 2. นายไมตรี จงไกรจักร์ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน 3. นายจำนงค์ หนูพันธ์ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน 4. ศาสตราจารย์อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5. นางอุทัยวรรณ อุดมเจริญชัยกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 6. นายบุญธรรม พิกุลศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป 46. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ประธานกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนจำนวน 7 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้ 1. นายจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์การ มหาชน 2. นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์การมหาชน 3. นายวุฒิสาร ตันไชย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์การมหาชน 4. นายสรนิต ศิลธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์การมหาชน 5. นายวิทิต อรรถเวชกุล 6. นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา 7. นายอธิปัตย์ บำรุง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป 47. เรื่อง การแต่งตั้งประธานผู้แทนการค้าไทย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เสนอแต่งตั้ง นางนลินี ทวีสิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย เป็นประธานผู้แทนการค้าไทย ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2568 เป็นต้นไป ของขวัญปีใหม่ 2568 48. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2568 ให้แก่ประชาชน ของกระทรวงคมนาคม คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับประชาชน พ.ศ. 2568 ในการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และสร้างความสุขให้กับประชาชนในช่วงของการส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ภายใต้กรอบแนวคิด ?I - SMART? ประกอบด้วย 1) I - I wish you full of happiness : ส่งสุขทั่วไทย ใส่ใจทุกคน 2) S - Serving happiness and safety to everyone : เสิร์ฟสุข ปลอดภัย ต่อใจทุกคน 3) M - Make you smile more than ever : คมนาคมต่อเนื่อง ฟูเฟื่องรอยยิ้ม 4) A - Always smile throughout the journey : ให้ทุกคนยิ้มกว้าง ตลอดทุกเส้นทาง 5) R - Reaching people's heart : บริการด้วยรักฝากไปสู่ใจทุกคน 6) T- The reason is you : เพราะคุณคือคำตอบของการให้บริการ สาระสำคัญ 1) ส่งสุขทั่วไทย ใส่ใจทุกคน (I ? I wish you full of happiness) กระทรวงคมนาคม มีโครงการเพื่อมอบของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวก ในการเดินทางตลอดเส้นทางในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568 และมอบของที่ระลึกในช่วงเทศกาล เช่น กรมทางหลวง : เชื่อมโยงทั่วไทย เชื่อมใจประชาชน อาทิ เปิดฟรีมอเตอร์เวย์ช่วงปีใหม่ ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง บนทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 (M7) กรุงเทพฯ - บ้านฉาง และมอเตอร์เวย์ หมายเลข 9 (M9) ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน - บางพลี และตอนพระประแดง - บางแค ช่วงพระประแดง -ต่างระดับบางขุนเทียน เป็นระยะเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2567 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 2 มกราคม 2568 เวลา 24.00 น. เปิดให้บริการวิ่งฟรี (ชั่วคราว) ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 (M6) สายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา ช่วง อำเภอปากช่อง - ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ระยะทาง 77 กิโลเมตร (4 ช่อง จราจร ไป - กลับ) ตลอดช่วงเทศกาลปีใหม่ เพื่อรองรับการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ และเพื่อแบ่งเบา การจราจรบนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) โดยเปิดจุดเข้า - ออก จำนวน 4 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 : จุดเข้า-ออก บนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่ กม.65 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จุดที่ 2 : จุดเข้า-ออก มอเตอร์เวย์หมายเลข 6 ตัดกับ ทล.201 ที่ กม.5+500 พื้นที่อำเภอสีคิ้ว เพื่อเดินทางสู่ จังหวัดชัยภูมิ และ จังหวัดบุรีรัมย์ จุดที่ 3 : จุดเข้า-ออก มอเตอร์เวย์หมายเลข 6 ที่ กม.186+300 กับ ทล.290 (ถนนวงแหวน รอบเมืองนครราชสีมา) ที่ กม.14+775 พื้นที่ อำเภอขามทะเลสอ เพื่อเดินทางสู่ จังหวัดชัยภูมิ และ จังหวัดขอนแก่น จุดที่ 4 : จุดเข้า-ออก มอเตอร์เวย์หมายเลข 6 ที่ กม.195+943 กับ ทล.204 ทางเลี่ยงเมือง นครราชสีมา (ด้านตะวันตก) ที่ กม.3+230 พื้นที่อ.เมืองนครราชสีมา เพื่อเดินทางไปสู่ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอปักธงชัย และ จังหวัดขอนแก่น เปิดให้บริการทดลองวิ่งบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 (M81) สายบางใหญ่ - กาญจนบุรีเปิดให้บริการตลอดทั้งเส้นทาง เริ่มจากบางใหญ่ จนถึง บริเวณด่านกาญจนบุรีรวมระยะทาง 96 กิโลเมตร โดยเปิดบริการทั้ง 2 ทิศทาง ไป ? กลับ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2567 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 2 มกราคม 2568 เวลา 24.00 น. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย : ทางพิเศษ ฉับไว เติมเต็มใจด้วยความสุข อาทิ ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษบูรพาวิถีและทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) โดยจะยกเว้น ค่าผ่านทางพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2567 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 2 มกราคม 2568 เวลา 24.00 น. ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) และ ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนบางปะอิน - ปากเกร็ด) ในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2568 2) เสิร์ฟสุข ปลอดภัย ต่อใจทุกคน (S ? Serving happiness and safety to everyone) กระทรวงคมนาคม มีกิจกรรม/โครงการเพื่อมอบของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน เพื่อให้การเดินทาง ตลอดเส้นทางปลอดภัยอยู่เสมอ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568 เช่นกรมการขนส่งทางบก : ขบ. ร่วมใจ ปลอดภัยถึงที่หมาย อาทิ จัดกิจกรรมตรวจรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย โดยกรมการขนส่งทางบก ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชนจัดกิจกรรม ?ตรวจรถฟรีขับขี่ปลอดภัย? เพื่อให้บริการตรวจสภาพความพร้อมของรถยนต์และ รถจักรยานยนต์เบื้องต้นก่อนเดินทางกว่า 20 รายการ โดยไม่คิดค่าบริการ เช่น การตรวจระบบเบรก สภาพ ยาง การทำงานของเครื่องยนต์ระดับน้ำมันเครื่องและความสกปรกของน้ำมันเครื่อง หม้อน้ำและรอยรั่ว ไส้ กรองอากาศ การทำงานของไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะได้รับการดูแลจากช่างผู้ชำนาญงาน โดยสามารถนำรถเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการของภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ที่มีป้าย ประชาสัมพันธ์?ตรวจรถฟรีขับขี่ปลอดภัย? ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ธันวาคม 2567 ศูนย์อาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา จัดตั้ง ?ศูนย์อาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน? ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 จำนวน 150 จุดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ถึง 2 มกราคม 2568 บริเวณถนนสายหลักที่มีการจราจร หนาแน่นและถนนสายรอง โดยจุดบริการดังกล่าวจะให้บริการตรวจเช็คสภาพรถเบื้องต้น เพื่อความปลอดภัย ให้ความช่วยเหลือผู้เดินทางกรณีฉุกเฉิน บริการรถยก (บางพื้นที่) บริการนวดผ่อนคลาย ผ้าเย็น น้ำดื่ม ข้อมูล เส้นทางและแหล่งท่องเที่ยว รายชื่ออู่รถที่เปิดให้บริการ เป็นต้น ซึ่งให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 3) คมนาคมต่อเนื่อง ฟูเฟื่องรอยยิ้ม (M ? Make you smile more than ever) กระทรวงคมนาคม มีการดำเนินการบูรณาการเชื่อมต่อเส้นทางการคมนาคมให้ครอบคลุมทุกมิติเพื่ออำนวย ความสะดวก รองรับการทำกิจกรรมของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ : เดินทางหลายช่วง พ่วงรอยยิ้ม อาทิ กิจกรรมให้บริการรถโดยสารเชื่อมต่อท่าอากาศยาน สถานีขนส่งฯ และสถานีรถไฟ อำนวยความสะดวก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยให้บริการรถโดยสารรองรับการเดินทางของประชาชนที่จะเดินทาง กลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลปีใหม่เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมต่อและส่งความสุขจากเมืองหลวงสู่บ้านเกิด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ? รถโดยสาร ขสมก. เชื่อมต่อท่าอากาศยาน - ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เชื่อมต่อ 4 เส้นทาง ได้แก่ สาย A1, A2, A3 และ A4 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้แก่ สาย S1 ? รถโดยสาร ขสมก. เชื่อมต่อสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ -สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หมอชิต 2 (จตุจักร) 15 เส้นทาง ได้แก่สาย 3 (2-37), 5, 26 (1-36), 49 (2-43), 96 (1-42), 134 (2-20), 136 (3-47), 138 (4-22E), 145 (3-18), 204 (2-52), 509 (4-60), 536 (3-24E), A1, 3-19E และ 4-33E -สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) 8 เส้นทาง ได้แก่ สาย 66 (2-12), 79 (4-42), 511 (3-22E), 511 (เดิม), 516 (2-25), 556 (4-64), 4-57 และ 4-69 ?สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) 3 เส้นทางได้แก่สาย 23 (3-5), 72 (3-46) และ 501 (1-53) ? รถโดยสาร ขสมก. เชื่อมต่อสถานีรถไฟ -สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) 6 เส้นทาง ได้แก่ 25E (3-7E), 37 (4-9), 49 (2-43), 53 (2-9) วนขวา, 73 (2-45) และ 501 (1-53) - สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์14 เส้นทาง ได้แก่ สาย 3 (2-37), 5, 26 (1-36), 49 (2-43), 96 (1-42), 134 (2-20), 136 (3-47), 138 (4-22E), 145 (3-18), 204 (2-52), 509 (4-60), 536 (3-24E), A1 และ 3-19E กิจกรรมขยายเวลาเดินรถโดยสารที่ผ่านสถานที่จัดงานเคาท์ดาวน์ถึงเวลา 02.00 น. เพื่อรองรับ การเดินทางในช่วงเวลาที่งานเคาท์ดาวน์เสร็จสิ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ? Central World 15 เส้นทาง ได้แก่ สาย 13 (3-38), 15 (4-2), 24 (2-39), 54 (2-44), 73 (2-45), 73 (2-46), 76 (4-14), 79 (4-42), 93 (1-40), 204 (2-52), 501 (1-53), 511 (เดิม), 514 (1-54), A3 และ 4-35 ? ONE BANGKOK 13 เส้นทาง ได้แก่ สาย 13 (3-38), 22 (3-40), 45 (3-9E), 47 (3-41), 50 (2-7), 62 (3-42), 76 (4-14), 141 (4-24E), 205 (3-51), 514 (1-54), 514E(1-55E), A3 และ 2-28 ? ICONSIAM 5 เส้นทาง ได้แก่ สาย 3 (2-37), 105 (4-18), 111 (4-20), 505 (2-24E) และ 4-35 กิจกรรมขยายเวลาเดินรถโดยสารที่ผ่านสถานที่จัดงานสวดมนต์ข้ามปี 4 แห่ง ถึงเวลา 02.00 น. ? วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ได้แก่ สาย 3 (2-37), 15 (4-2), 25 (3-7E), 32 (2-5), 47 (3-41), 53 (2-9), 60 (1-38), 501 (1-53) และ 1-80E ?วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) ได้แก่ สาย 5 (4-2), 21 (4-6), 47 (3-41), 49 (2-43), 59 (เดิม), 60 (1-38), 79 (4-42), 511 (เดิม), 511 (3-22E), 1-7E, 1-80E, A4 และS1 ? ท้องสนามหลวง ได้แก่ สาย 3 (2-37), 15 (4-2), 25 (3-7E), 32 (2-5), 47 (3-41), 53 (2-9), 59 (1-8), 60 (1-38), 91, 91ก, 501 (1-53), A4, S1, 1-7E, 1-80E และ 2-32E ?วัดไร่ขิง ได้แก่ สาย 556 (4-64) 4) ให้ทุกคนยิ้มกว้าง ตลอดทั้งเส้นทาง (A ? Always smile throughout the journey) กระทรวงคมนาคม มีการอำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางของประชาชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในระบบโลจิสติกส์ขนส่งของประเทศ เช่น กรมทางหลวง : เชื่อมโยงทั่วไทย เชื่อมใจประชาชน อาทิ อำนวยความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ 2568 บนทางหลวง พิเศษหมายเลข 7 (M7) และหมายเลข 9 (M9) ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2567 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 2 มกราคม 2568 เวลา 24.00 น. ? กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และแขวงทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กำหนดจุดให้บริการบน มอเตอร์เวย์หมายเลข 7 และหมายเลข 9 จำนวน 12 แห่ง พร้อมทั้ง เตรียมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่นห้องน้ำ ที่จอดรถ หรือ เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ผ้าเย็น ห้องน้ำสะอาด ยาดม พร้อมทั้งจุดพักผ่อน check in และสวนดอกไม้ขนาดเล็กต่าง ๆ ดังนี้ - จุดพักรถลาดกระบัง 1 ขาเข้ากรุงเทพฯ - จุดพักรถลาดกระบัง 2 ขาออกกรุงเทพฯ - สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง 1 ขาเข้ากรุงเทพฯ - สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง 2 ขาออกกรุงเทพฯ - จุดพักรถหนองรี 1 ขาเข้ากรุงเทพฯ - จุดพักรถหนองรี 2 ขาออกกรุงเทพฯ - จุดพักรถมาบประชัน 1 ขาเข้ากรุงเทพฯ - จุดพักรถมาบประชัน 2 ขาออกกรุงเทพฯ - จุดพักรถทับช้าง 1 ขาเข้ากรุงเทพฯ - จุดพักรถทับช้าง 2 ขาออกกรุงเทพฯ - จุดบริการห้องน้ำ หน่วยกู้ภัยแหลมฉบัง - จุดบริการห้องน้ำ หน่วยสอบสวนบางละมุง ตำรวจทางหลวง 1 อำนวยความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ 2568 ในช่วง วันหยุดเทศกาลปีใหม่ 2568 ? กรมทางหลวงเปิดให้บริการจุดกางเต็นท์ฟรี จำนวน 37 แห่งทั่วประเทศ สำหรับประชาชน โดยมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกและให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมบริการ น้ำดื่ม และห้องน้ำฟรี ? สำหรับการบริหารจัดการการจราจรในพื้นที่โครงการก่อสร้างทุกโครงการ ให้ดำเนินงานบริหาร และคืนผิวจราจรเพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรได้ปกติ รวมทั้งให้ปฏิบัติตามคู่มือแนวทางปฏิบัติ ด้านความปลอดภัยในระหว่างการก่อสร้างงานบำรุงทางอย่างเคร่งครัด เพื่ออำนวยความปลอดภัยสูงสุด ให้แก่ประชาชน ? จุดให้บริการทั่วไทย รวม 139 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อเป็นที่พักเหนื่อยชั่วคราว หากอ่อนเพลีย หรือง่วงนอนและเตรียมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เช่น แจกแผนที่ทางหลวง เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ห้องน้ำสะอาด พร้อมทั้ง เตรียมเจ้าหน้าที่บริการแนะนำเส้นทางเลี่ยงแก่ประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง ? รถบริการช่วยเหลือแก่ประชาชนบนเส้นทางสายหลักทั่วประเทศ จำนวน 652 คัน ในกรณีรถเสีย เปลี่ยนยาง พ่วงแบตเตอรี่ โดยโทรแจ้งเหตุ ได้ที่ 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง 5) บริการด้วยรักฝากไป สู่ใจทุกคน (R ? Reaching people?s heart) กระทรวงคมนาคม มีการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วง เทศกาลปีใหม่ 2568 โดยได้มีการลดราคา/มอบคูปองส่วนลด/ยกเว้นค่าบริการ เพื่อให้การเดินทาง ของประชาชนเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข เช่น กิจกรรมมอบคูปองส่วนลด/ลดราคา/ยกเว้นค่าบริการ อาทิ ตั๋วเครื่องบินราคาพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 เพื่อเป็นของขวัญให้กับพี่น้องประชาชน กระทรวงคมนาคม ได้ประสานกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และสายการบินของไทย เพื่อเปิดโอกาสให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2568 โดยมีเงื่อนไขว่าทำการสำรองที่นั่งตรงกับสายการบิน ในช่วงระหว่างวันที่ 5 - 7 ธันวาคม 2567 เท่านั้น โดยจะได้ซื้อตั๋วในราคาพิเศษ ลดค่าโดยสาร 30% มีที่นั่งรวมทั้งสิ้นประมาณ 50,000 ที่นั่ง ในเส้นทาง ไป ? กลับ ดังนี้ กรุงเทพฯ ? เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ? เชียงราย กรุงเทพฯ ? ภูเก็ต กรุงเทพฯ ? กระบี่ กรุงเทพฯ ? หาดใหญ่ กรุงเทพฯ ? สมุย กรุงเทพฯ ? อุดรธานี กรุงเทพฯ ? อุบลราชธานี กรุงเทพฯ ? ขอนแก่น กรุงเทพฯ ? น่าน กรมทางหลวง มอบคูปองส่วนลดค่าผ่านทางทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2567 โดยมอบส่วนลดค่าผ่านทางสำหรับผู้ใช้ทางยกระดับดอนเมือง (ดอนเมืองโทลล์เวย์) โดยจำหน่ายคูปองค่าผ่านทางในราคาสมนาคุณพิเศษถูกกว่าราคาเต็ม 10 % (กำหนดวันที่จำหน่าย 11 พฤศจิกายน 2567 - 21 ธันวาคม 2567) โครงการ HAPPY NEW YEAR 2025 ไปก่อน ? กลับทีหลัง ลด 10% เส้นทางในประเทศ (เฉพาะค่าโดยสารไม่รวมค่าธรรมเนียม) โดยบริษัท ขนส่ง จำกัด เป็นของขวัญปีใหม่สำหรับลูกค้าที่ซื้อตั๋วผ่าน ช่องทางออนไลน์ Website: https://tcl99web.transport.co.th/Home หรือ Application (E-ticket) เดินทางระหว่างวันที่ 15 ? 24 ธันวาคม 2567 หรือระหว่างวันที่ 7 ? 16 ธันวาคม 2568 ทุกเส้นทาง การเดินรถภายในประเทศ 6) เพราะคุณคือคำตอบของการให้บริการ (T ? The reason is you) กระทรวงคมนาคม ได้จัดให้มีบริการด้านเทคโนโลยีต่างๆ ของระบบคมนาคมขนส่ง โดยปรับปรุงให้ทันสมัย ต่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางกลับบ้าน ท่องเที่ยวได้ อย่างสะดวก และปลอดภัย เช่น กรมทางหลวง : เชื่อมโยงทั่วไทย เชื่อมใจประชาชน อาทิ ให้บริการ Application ?Highway Traffic? สำหรับวางแผนการเดินทาง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว โดยสามารถติดตามสภาพการจราจร/เหตุการณ์ ต่าง ๆ บนทางหลวงได้ทันที (Real time) และ สามารถดาวน์โหลด ได้ทั้งในระบบ ios และ Android *หมายเหตุ : ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2568 ให้แก่ประชาชน ของกระทรวงคมนาคม รายละเอียดตามเอกสารไฟล์แนบ (PDF) 49. เรื่อง ของขวัญปีใหม่กระทรวงแรงงาน ปี 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ เรื่อง ของขวัญปีใหม่กระทรวงแรงงาน ปี 2568 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ สาระสำคัญ ในวาระขึ้นปีใหม่กระทรวงแรงงานตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงานทั้งแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครอง ได้รับสิทธิประโยชน์ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย เพื่อเป็นของขวัญกำลังใจในการทำงานของผู้ใช้แรงงานสถานประกอบการทั่วประเทศ กระทรวงแรงงานขอมอบของขวัญปีใหม่ ปี 2568 ให้แก่ผู้ใช้แรงงานและสถานประกอบการทั้งประเทศ จำนวน 7 ชิ้น สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. กู้เงินกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน ฟรีดอกเบี้ย 0% ระยะเวลา 24 เดือน (1) ตราดอกเบี้ยเงินกู้หรือค่าธรรมเนียม ร้อยละ 0 ต่อปี ในงวดที่ 1- 24 โดยไม่ปลอดเงินต้น และงวดที่ 25 เป็นต้นไปจนสิ้นสุดสัญญา คิดอัตราร้อยละ 3 ต่อปี กรณีไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามกำหนดให้คิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดหรือเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 ต่อปี (2) ผู้รับงานไปทำที่บ้านรายบุคคลยื่นคำขอกู้ไม่เกิน 50,000 บาท รายกลุ่มบุคคล กู้ไม่เกิน 300,000 บาท กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 - 31 มีนาคม 2568 และทำสัญญากับกรมการจัดหางานให้เสร็จสิ้น ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2568 กรอบวงเงิน 5,000,000 บาท 2. การล้างเครื่องปรับอากาศ บริการล้างเครื่องปรับอากาศฟรีแก่ประชาชนที่เป็นบ้านพักอาศัย ไม่เกิน 2 ชั้น บ้านละ 1 เครื่อง เริ่มให้บริการเดือนมกราคม 2568 โดยจองสิทธิ์ผ่านระบบ DATAcenter.dsd.go.th ตั้งแต่วันที่ 24- 31 ธันวาคม 2567 และหน่วยงานได้จัดทำวิดีโอสอนการล้างเครื่องปรับอากาศเบื้องต้น (การล้างฟิลเตอร์/การล้างคอยล์เย็น) แก่ประชาชนด้วยการฝึกอบรมผ่าน Platorm DSD Online Training 3. บริการตรวจเช็กสภาพพาหนะให้ประชาชนฟรี ก่อนเดินทางและหลังเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2567 - 1 มกราคม 2568 3.1 บริการตรวจเช็กสภาพพาหนะให้ประชาชนฟรีก่อนเดินทางช่วงก่อนปีใหม่ ดำเนินการทุกสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน กำหนดให้บริการระหว่างวันที่ 24 - 27 ธันวาคม 2567 3.2 บริการตรวจเช็กสภาพพาหนะให้ประชาชนฟรีระหว่างเทศกาลปีใหม่ โดยเลือกสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่เป็นทางผ่านไปยังภาคต่าง ๆ เช่น นครราชสีมา นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เป็นต้น กำหนดให้บริการระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2567 ? 1 มกราคม 2568 4. บริการประเมินมาตรฐานแรงงานไทย มรท.8001 ระดับพื้นฐาน และในงานขนส่ง มรท.8003 รวมจำนวน 200 แห่ง มูลค่า 9,000,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการในการยื่นคำขอในเดือนมกราคม 2568 ประเมินฟรี ภายในเดือนเมษายน 2568 เป้าหมาย 200 แห่ง โดยผลที่คาดว่าจะได้รับคือสถานประกอบกิจการได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทยใช้ประโยชน์ทางการค้า ลูกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมาย และลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับนายจ้างสำหรับการประเมิน 9,000,000 บาท (200 แห่ง ๆ ละ 45,000 บาท) 4.1 ให้บริการประเมินมาตรฐานแรงงานไทย มรท.8001 ระดับพื้นฐาน 3 ขนาด ดังนี้ - สำหรับสถานประกอบกิจการ ขนาดเล็ก ลูกจ้าง 1-49 คน ประเมินให้ไม่จำกัดจำนวนรอบ - สำหรับสถานประกอบกิจการ ขนาดกลาง ลูกจ้าง 50 - 199 คน ประเมินให้ติดต่อกัน 3 รอบ - สำหรับสถานประกอบกิจการ ขนาดใหญ่ ลูกจ้าง 200 คนขึ้นไป ประเมินให้ติดต่อกัน 2 รอบ 4.2 ให้บริการประเมินมาตรฐานแรงงานไทยในงานขนส่ง มรท.8003 สำหรับสถานประกอบกิจการที่ให้บริการด้านการขนส่งทางบก และสถานประกอบกิจการทุกประเภทที่มีกิจกรรมการขนส่งทางบก สำหรับสถานประกอบกิจการทุกขนาด 5. อบรมฟรี SAFETY CULTURE TOGETHER 10,000 คน มูลค่า 10,000,000 บาท เพื่อให้นายจ้างดำเนินการจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานให้กับลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด และสร้างการรับรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของลูกจ้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุ อุบัติภัยจากการทำงาน และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้าง ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม ? มีนาคม 2568 เป้าหมายผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 10,000 คนประกอบด้วย ลูกจ้างระดับปฏิบัติการ ระดับหัวหน้างาน ระดับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง ระดับวิชาชีพ คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้ 5.1 ลูกจ้างทุกระดับ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และขับเคลื่อนกลไกในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุ อุบัติภัยจากการทำงานลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ ลูกจ้างมีความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดี มีประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มผลผลิตของสถานประกอบกิจการ 5.2 ลูกจ้างได้รับการดูแลให้เกิดความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำนวน 1,000,000 คน (สถานประกอบกิจการ 10,000 แห่ง x 100 คน/แห่ง) 5.3 สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับนายจ้าง ในการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยงานผู้ให้บริการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย รวมจำนวนเงิน 10,000,000 บาท ผู้เข้ารับการอบรม10,000 คน x 1,000 บาท/คน) 6. การรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพสำหรับผู้ประกันตนแบบครบวงจร สำนักงานประกันสังคม ฟรีการรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพสำหรับผู้ประกันตน แบบครบวงจร ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยจนถึงการรักษา ผ่านโครงการ SSO Cancer Care เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพสำหรับผู้ประกันตนแบบครบวงจร ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยจนถึงการรักษา ซึ่งผู้ประกันตนสามารถตัดสินใจร่วมกับแพทย์ที่ทำการรักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิ เพื่อขอเข้ารับการรักษา กับสถานพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็งที่ทำความตกลงไว้กับสำนักงานประกันสังคม และเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง โดยสำนักงานประกันสังคมจะชำระค่าบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็งที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้ อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา (ชุดที่14) พิจารณาให้ความเห็นชอบ 7. ติดตั้งระบบรายงานจุดเสี่ยงอันตรายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และประเมินความเสี่ยงขั้นต้น (T-OSH Application Risk Report for Safe Workplace) สถานประกอบการละ 100,000 บาท เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มกราคม 2568 ประโยชน์ที่สถานประกอบกิจการจะได้รับ คือ ได้รับการติดตั้งฟรี มีระบบรายงานจุดเสี่ยงอันตราย และประเมินความเสี่ยงขั้นต้น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ลดการใช้งานกระดาษในการรายงานจุดเสี่ยงอันตราย ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน เพื่อแก้ไขอันตราย และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยฯ จากสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเงื่อนไขการสมัคร คือ มี Server ที่ใช้สำหรับติดตั้งของสถานประกอบกิจการ มีเจ้าหน้าที่ด้าน IT ที่สามารถดำเนินการติดตั้งระบบในรูปแบบ Web-Based Application ได้ และดูแลระบบได้ ประกอบกับสถานประกอบกิจการต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขึ้นไป และมีผู้ประสานงานโครงการ *หมายเหตุ : ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2568 ให้แก่ประชาชน ของกระทรวงแรงงาน รายละเอียดตามเอกสารไฟล์แนบ (PDF)