สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ชุด นางสาวแพทองธาร ชินวัตร(นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มกราคม 2567

ข่าวการเมือง Monday January 13, 2025 17:31 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 13 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา                                                  รัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขต

เศรษฐกิจพิเศษ)

                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ                                                  พลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการต่างประเทศ ออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียน                                                  ครอบครัวพุทธศักราช 2478 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .....
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาอบไมโครเวฟและเตาอบ                                                  ไมโครเวฟร่วมสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....                              6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณ                                                  น้ำมันสูงสุดไม่เกิน 5 ลิตร และกระทะทอดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....                              7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับการดูแล                                        ผม ขน หรือผิวต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....                                                            8.           เรื่อง            ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนย่าน
                                        ดินแดง ? อิปัน ?   สินปุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ....                                                  9.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนพิมาย                                                   จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม

                    10.           เรื่อง           การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย                                                  ขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2567/2568
                    11.           เรื่อง           ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน                                                  สำหรับเป็นที่ตั้งท่าอากาศยานชุมพร ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร                              12.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง                                                  รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้ในโครงการพัฒนา
                                        ที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าที่มีศักยภาพ                                                            13.           เรื่อง           ขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารรังสีรักษา 6 ชั้น พื้นที่ใช้สอย

6,509 ตารางเมตร โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์

                                        จังหวัดบุรีรัมย์ 1 หลัง                                                                                          14.            เรื่อง            ข้อเสนอการปรับปรุงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูด                                                  ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa :                                                   LTR Visa)                                                                                                    15.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้ง 1/2568
                    16.           เรื่อง           ขอให้พิจารณาประกาศพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์                                         อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

ต่างประเทศ

                    17.           เรื่อง            การขอปรับแผนการดำเนินงานและแผนการเบิกจ่ายงบประมาณของการดำเนิน                                        โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
                                               ของประเทศ กิจกรรมที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่าง                                                         ประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน

(ASEAN Digital Hub)

                    18.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่ง                                                  ราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่ง                                                  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ว่าด้วยความร่วมมือด้านดิจิทัล
                    19.           เรื่อง           การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 28 และการประชุมระดับรัฐมนตรี

ที่เกี่ยวข้อง

                    20.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขแห่ง                                                  ราชอาณาจักรไทยกับคณะกรรมการสาธารณสุขแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชน                                        จีนว่าด้วยความร่วมมือสาขาสาธารณสุข
                    21.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์                                                             (Communique) สำหรับการประชุม Global Forum for Food and                                                   Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 17 และการประชุม Berlin Agriculture Ministers?                                         Conference ครั้งที่ 17


แต่งตั้ง

                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายไทยสำหรับสภาความร่วมมือชาอุดี ?ไทย (Saudi -                                         Thai Coordination Council: STCC)
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    24.           เรื่อง           การแต่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (กระทรวงสาธารณสุข)
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                    (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน                                        เพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย
                    28.           เรื่อง           แต่งตั้งโฆษกกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายการเมือง





กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. กค. โดย สศค. ได้ปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร เช่น กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจรและคณะกรรมการบริหาร จัดตั้งสำนักงานกำกับการประกอบสถานบันเทิงครบวงจร และกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ประกอบสถานบันเทิงครบวงจร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและกำกับดูแลเพื่อให้เกิดธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรที่ได้มาตรฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยวและส่งเสริมการลงทุนในประเทศ อันจะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมในภาพรวมและเป็นการสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
                    2. กค. ได้เสนอแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... รวมจำนวน
24 ฉบับ ดังนี้
การจัดทำกฎหมายลำดับรอง          ชื่อร่างกฎหมาย
1. พระราชกฤษฎีกา จำนวน 2 ฉบับ          ? ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่ตั้งของสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และจำนวนใบอนุญาตสถานบันเทิงครบวงจร
2.ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 1 ฉบับ          ? ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
3. ประกาศสำนักงานกำกับการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร จำนวน 3 ฉบับ          ? ร่างประกาศสำนักงานกำกับการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง หลักเกณฑ์ ประเภท ลักษณะ วิธีการเล่น และรายละเอียด ประเภทกาสิโนในสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศสำนักงานกำกับการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง ผู้ที่มีลักษณะของบุคคลต้องห้ามเข้าไปในสถานประกอบการกาสิโน
? ร่างประกาศสำนักงานกำกับการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง มาตรฐานเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในสถานประกอบการกาสิโน
4. ประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร จำนวน 13 ฉบับ          ? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง สัดส่วน พื้นที่ของกาสิโนในสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นหรือโครงสร้างองค์กร ของผู้รับใบอนุญาตและการนำหุ้นไปเป็นหลักประกันการชำระหนี้
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสถานบันเทิงครบวงจรและค่าธรรมเนียมรายปีสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการขอต่ออายุใบอนุญาตสถานบันเทิงครบวงจรและอัตราค่าธรรมเนียมการขอต่ออายุใบอนุญาตสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเลิกประกอบสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง หลักเกณฑ์ ประเภท ลักษณะ และรายละเอียดการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวังจรในสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง กำหนด วันเปิดปิดและสถานที่ตั้งของสถานบริการ เวลาและสถานที่ห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเขตสูบบุหรี่ในสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง ค่าธรรมเนียมการเข้าสถานประกอบการกาสิโนของผู้มีสัญชาติไทย
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง สัดส่วนของพนักงานคนไทยและต่างด้าวในสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง ลักษณะของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับกาสิโน
? ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร เรื่อง หลักเกณฑ์กาสิโนของผู้รับใบอนุญาตสถานบันเทิงครบวงจร วิธีการ และเงื่อนไขการให้สินเชื่อแก่ผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันในสถานประกอบการ
5. ประกาศคณะกรรมการบริหารจำนวน 3 ฉบับ          ? ร่างประกาศคณะกรรมการบริหาร เรื่อง อัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นของเลขาธิการ
? ร่างประกาศคณะกรรมการบริหาร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบแทนใบอนุญาตสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างประกาศคณะกรรมการบริหาร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการดำเนินการเชิญชวน โฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเกี่ยวกับกาสิโน
6. ข้อบังคับ จำนวน 2 ฉบับ          ? ร่างข้อบังคับการประชุมของคณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร
? ร่างข้อบังคับการมอบอำนาจให้ปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ
                    3. ทั้งนี้ กค. คาดว่าจะมีต้นทุนหรือการใช้จ่ายในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในระยะ 3 ปีแรก เป็นจำนวน 300 ล้านบาทและอัตรากำลังที่ต้องใช้ในสำนักงานกำกับการประกอบสถานบันเทิงครบวงจร จำนวน 50 อัตรา

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ)
                    คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ....  (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ) ตามที่กระทรวงการคลัง  (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างกฎหมาย
                    1. ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลืออัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิให้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการเป้าหมายตามที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564 กำหนด ซึ่งมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ไม่ว่าจะมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ที่ใดสำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าในเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือรายได้ที่เกิดจากการให้บริการและมีการใช้บริการนั้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
                    2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1. หากจดทะเบียนจัดตั้งนับแต่วันที่
พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ สถานประกอบกิจการที่ตั้งขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษต้องเป็นอาคารถาวรแต่ถ้า
จดทะเบียนก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ สถานประกอบกิจการที่ตั้งขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษต้องเป็นอาคารถาวรที่ขยายหรือเพิ่มเติมจากสถานประกอบกิจการเดิมที่มีอยู่
                    3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ นิติบุคคลตาม ข้อ 1. จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
                              3.1 ได้จดแจ้งการขอใช้สิทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
                              3.2 ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
                              3.3 ต้องไม่ใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (SMEs) ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 583) พ.ศ. 2558 หรือ สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (SMEs) ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 564) พ.ศ. 2556
                              3.4 ต้องไม่ใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 591) พ.ศ. 2558 หรือมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 693) พ.ศ. 2563
                              3.5 ต้องจัดทำบัญชีแยกรายการสำหรับกิจการที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
                              3.6 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
ตามข้อ 1.
                    4. การนับรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 1. ให้นับรอบระยะเวลาบัญชีดังต่อไปนี้
                              4.1 กรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ได้จดแจ้งขอใช้สิทธิต่อกรมสรรพากรตามข้อ 3.1 ให้นับรอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก
                              4.2 กรณีที่มีการจดแจ้งขอใช้สิทธิต่อกรมสรรพากรตามข้อ 3.1 ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นับรอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก แม้ว่าจะมีระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือนก็ตาม
                    5. ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดคุณสมบัติ
ข้อหนึ่งข้อใดในข้อ 3. ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้การได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลงตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้น
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    1. การลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ การผลิตสินค้า
การให้บริการ และการจ้างงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพิ่มขึ้นด้วย
                    2. การผลิตสินค้าและการให้บริการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจหลักและประเทศเพื่อนบ้าน
                    3. ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในอาเซียน

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน  ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. ....

                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติมตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองฯ
ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แปลง ?ป่าช้าบ้านขี้เหล็กใหญ่สาธารณประโยชน์? ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ บางส่วน เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 34 ตารางวา (จากเนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ 1 งาน 34 ตารางวา คงเหลือเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเนื้อที่ประมาณ 1 งาน กันไว้เพื่อให้ประชาชนใช้เดินทางเข้าออก) ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้บางส่วนแล้ว เพื่อมอบหมายให้กรมที่ดินใช้เป็นที่ตั้งอาคารสำนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิแห่งใหม่ ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม มีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งควรคำนึงถึงความคุ้มค่า การรักษาสิ่งแวดล้อม และควรกำหนดสัดส่วนพื้นที่สีเขียว ตลอดจนผลกระทบจากน้ำท่วมขัง และควรมีการประชาสัมพันธ์
เพื่อการติดต่อราชการด้วย


4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการต่างประเทศ ออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพุทธศักราช 2478 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการต่างประเทศ ออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กฎกระทรวงการต่างประเทศออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              1.1 กำหนดให้เจ้าพนักงานทูตหรือกงสุลในฐานะนายทะเบียนรับคำร้องขอจดทะเบียนในต่างประเทศ ณ ที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุลตามแบบคำร้องที่กำหนด รวมคำร้อง 5 ฉบับ ได้แก่ (1) คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (2) คำร้องขอจดทะเบียนการหย่า (3)  คำร้องขอจดทะเบียนการรับรองบุตร  (4) คำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม  (5) คำร้องขอจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม
                              1.2 กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการขอรับรองสำเนาทะเบียนฉบับละ 2 บาท และกำหนดอัตราค่าธรรมเพื่อขอทราบข้อความใด ๆ จากสำนักทะเบียนค่าธรรมเนียมรายละ 4 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยน
ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงิน
                    2. ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24)
พ.ศ. 2567 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 24 กันยายน 2567 และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป  พระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อรองรับให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้สามารถหมั้นและสมรสกันได้ มีสิทธิหน้าที่และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายหญิง ประกอบกับมาตรา 68 บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายดำเนินการทบทวนกฎหมายในความรับผิดชอบให้รองรับสิทธิ หน้าที่ สถานะทางกฎหมาย หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวข้องให้แก่คู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับเพศสภาพของคู่สมรสด้วย
                    3. ด้วยเหตุผลตามข้อ 2 จะมีผลให้นายทะเบียนผู้มีอำนาจหน้าที่รับจดทะเบียนในต่างประเทศตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 และกฎกระทรวงการต่างประเทศออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 จะต้องเริ่มรับจดทะเบียนให้สอดคล้องกับวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ แต่โดยที่แบบคำร้องขอจดทะเบียนแนบท้ายกฎกระทรวงการต่างประเทศออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว  พ.ศ. 2478 ไม่รองรับการจดทะเบียนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (ยังปรากฏคำว่า ?ชาย? ?หญิง? ในแบบคำร้องขอจดทะเบียนท้ายกฎกระทรวงฯ) ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของ กต.  ภายใต้พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงการต่างประเทศ ออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงการต่างประเทศออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพุทธศักราช 2478 โดยปรับปรุงแบบคำร้องขอจดทะเบียน (จากเดิมคำร้อง 5 ฉบับ เป็นคำร้อง 1 ฉบับ ใช้ถ้อยคำในแบบคำร้องเป็นไม่ระบุเพศ) เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 ปรับปรุงวิธีการจดทะเบียนของนายทะเบียนประจำสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศและปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมการขอคัดสำเนาทะเบียนให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน  โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                              3.1 กำหนดเพิ่มเติมให้ส่วนราชการของ กต. ที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ซึ่ง กต. มอบหมาย เป็นสำนักทะเบียน เช่น สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปฏิบัติงานจริง
(เดิม กำหนดให้ที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุลสยามเป็นสำนักทะเบียนเท่านั้น)
                              3.2 ปรับปรุงแบบคำร้องขอจดทะเบียน (การสมรส การหย่า การรับรองบุตร การรับบุตรบุญธรรม และการเลิกการรับบุตรบุญธรรม) (จาก คำร้อง 5 ฉบับ) รวมเป็นคำร้องขอจดทะเบียนเพียงฉบับเดียว และปรับปรุงถ้อยคำในแบบคำร้องเป็นไม่ระบุเพศเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567
                              3.3 กำหนดให้นายทะเบียนส่งข้อมูลการจดทะเบียนและการบันทึกข้อมูลให้สำนักทะเบียนกลางผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลการทะเบียน หรือในกรณีที่ไม่สามารถส่งข้อมูลการจดทะเบียนและการบันทึกข้อมูลผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวได้ ให้นายทะเบียนคัดสำเนาซึ่งได้รับรองถูกต้องแล้ว และส่งไปยัง กต. เพื่อส่งต่อไปยังกระทรวงมหาดไทย
                              3.4 กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้
                                        3.4.1 การขอคัดสำเนาทะเบียนและมีการรับรองสำเนาทะเบียน ฉบับละ 300 บาท (เดิม ฉบับละ 2 บาท) ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงิน
                                        3.4.2 การขอทราบข้อมูลจากทะเบียนของสำนักทะเบียนกลาง รายละ                  300 บาท (เดิม รายละ 4 บาท) ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงิน

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาอบไมโครเวฟและเตาอบไมโครเวฟร่วมสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาอบไมโครเวฟและเตาอบไมโครเวฟร่วมสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาอบไมโครเวฟและเตาอบไมโครเวฟฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาอบไมโครเวฟสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย เฉพาะด้านความปลอดภัยตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 1773 - 2548 โดยเป็นการยกเลิกมาตรฐานเดิมและกำหนดมาตรฐานใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (25) - 2565 เนื่องจากข้อกำหนด    อันเป็นสาระสำคัญในเอกสารที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลง จึงเห็นควรแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานอ้างอิงที่มีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้รองรับการพัฒนาเทคโนโลยีการทำและการใช้งานภายในประเทศอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ ผู้ทำหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาอบไมโครเวฟและเตาอบไมโครเวฟร่วมสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยจะต้องขอรับใบอนุญาตทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาอบไมโครเวฟและเตาอบไมโครเวฟร่วมสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยจะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาตและเป็นไปตามมาตรฐาน โดยร่างกฎกระทรวง ดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 270 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดไม่เกิน
5 ลิตร และกระทะทอดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดไม่เกิน 5 ลิตร และกระทะทอดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการปรับปรุง มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระทะไฟฟ้า เฉพาะด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1509 ? 2547 โดยเป็นการยกเลิกมาตรฐานเดิมและกำหนดมาตรฐานใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (13) -2564 เนื่องจากข้อกำหนดอันเป็นสาระสำคัญ ในเอกสารที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลง จึงเห็นควรแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานอ้างอิงที่มีการปรับปรุงใหม่ เพื่อให้รองรับการพัฒนาเทคโนโลยีการทำและการใช้งานภายในประเทศอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ ผู้ทำ ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดไม่เกิน 5 ลิตร และกระทะทอดจะต้องขอรับใบอนุญาตทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดไม่เกิน 5 ลิตร และกระทะทอดจะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาตและเป็นไปตามมาตรฐาน โดยร่างกฎกระทรวง ดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                    ประโยชน์และผลกระทบ เช่น การกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดน้ำมันท่วม ปริมาณน้ำมันสูงสุดไม่เกิน 5 ลิตร และกระทะทอดต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (13) - 2564 เป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีการทำและการใช้งานภายในประเทศ รวมทั้งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับการดูแลผม ขน หรือผิวต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับการดูแลเส้นผม ขน หรือผิวต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
                       สาระสำคัญของเรื่อง
                     ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับการดูแลเส้นผม ขน หรือผิวต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....  ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ มีสาระสำคัญ เป็นการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับการดูแลผม ขน หรือผิว ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1985 ? 2549 โดยเป็นการยกเลิกมาตรฐานเดิมและกำหนดมาตรฐานใหม่ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (23)-2564 เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศในปัจจุบันและรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีการทำและการใช้งานภายในประเทศอย่างทั่วถึง รวมทั้งเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขาย ขจัดปัญหาและอุปสรรค ทางการค้าที่เกิดจากมาตรการด้านมาตรฐาน ทั้งนี้ ผู้ทำหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งผม ขน หรือผิว จะต้องขอรับใบอนุญาตทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับการดูแลผม ขน หรือผิว จะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาต และเป็นไปตามมาตรฐาน โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา


8. เรื่อง  ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนย่านดินแดง ? อิปัน ?   สินปุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนย่านดินแดง ? อิปัน ?   สินปุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ  และให้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนย่านดินแดง ?                อิปัน ?  สินปุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ....  ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลอิปัน และตำบลสินปุน อำเภอพระแสง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภคบริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 11 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท รวมทั้งกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้
ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย                    (สีเหลือง)          - เป็นพื้นที่ชุมชนหลักรอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง พื้นที่ศูนย์กลางพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และชุมชนรอง มีวัตถุประสงค์เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบางที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี รวมทั้งรองรับการขยายตัวด้านการอยู่อาศัยในอนาคตที่มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่อาคารอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง                 (สีส้ม)           - เป็นพื้นที่ชุมชนหลักบริเวณต่อเนื่องพื้นที่               พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และชุมชนรอง มีวัตถุประสงค์เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางในการรองรับการอยู่อาศัยที่ต่อเนื่องจากศูนย์กลางพาณิชยกรรมและศูนย์กลางรองสำหรับการอยู่อาศัย ซึ่งมีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้                  ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม
3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)           - เป็นพื้นที่ศูนย์กลางพาณิชยกรรมของชุมชนย่าน  ดินแดง มีวัตถุประสงค์เป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักเพื่อส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการระดับอำเภอ และศูนย์กลางการค้าและการบริการของชุมชน ประกอบด้วย ตลาด สำนักงานธนาคาร โรงแรม รวมทั้งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว
4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)          - เป็นพื้นที่ฉนวน (Buffer Zone) ของชุมชนให้คงสภาพชนบทและเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน การสงวนรักษาพื้นที่เกษตรกรรม และ                    การส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตรโดยมีข้อจำกัดเรื่องประเภทอาคารขนาดใหญ่ ข้อจำกัดเรื่องห้องแถวตึกแถว หรือบ้านแถว และข้อจำกัดเรื่องอาคารชุดหอพัก หรืออาคารอยู่อาศัยรวม
5. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
(สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว)          - เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงริมแม่น้ำตาปี คลองอิปัน
เป็นต้น
6. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม                  (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล)          - เป็นพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับป่าสงวนแห่งชาติ บริเวณด้านตะวันตกของผัง
7. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)          - เป็นพื้นที่โล่งและพื้นที่ธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดพื้นที่ไว้เพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดีมีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี คือ สนามกีฬา สวนสาธารณะ สำหรับพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำตาปี คลองอิปันและคลองกันหลา กำหนดพื้นที่โล่งริมฝั่งคลองทั้งสองฝั่งระยะตามแนวขนาน 15 เมตร เพื่อรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติ
8. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้น
ทแยงสีขาว)          - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และพื้นที่เอกชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว กรณีที่ดินของป่าไม้
มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษา หรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี และกฎหมายที่เกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำหรับที่ดินของเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับป่าไม้ โดยมีการผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการดำรงอยู่ได้ เช่น การอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งไม่ใช่การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย และต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
8. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันการศึกษาซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน เช่น โรงเรียนบ้านไสขรบ โรงเรียนบ้านย่านดินแดง โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบล                      ย่านดินแดง
9. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาซึ่งเป็นสถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน เช่น วัดย่านดินแดง วัดไสขรบ วัดกันหลา
11. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับ
กิจการต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อการสาธารณูปโภค
และสาธารณูปการ เช่น สำนักงานเทศบาลตำบลย่านดินแดง สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง        โรงพยาบาลพระแสง
                    3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
                    4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2  และถนนสาย ข 3 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นนอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                              4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
                              4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                              4.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
                    5. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 4 และถนนสาย ค ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                              5.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
                              5.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                              5.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
                              5.4 การอยู่อาศัยที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
                              5.5 การอยู่อาศัยที่ไม่ใช่ห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว
                              5.6 การอยู่อาศัยที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสรรที่ดิน

9. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการวางและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลท่าหลวง ตำบลในเมือง ตำบลกระเบื้องใหญ่ ตำบลรังกาใหญ่ และตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีพื้นที่วางผังประมาณ 39.23 ตารางกิโลเมตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม
                      1. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท จำนวน 11 ประเภท คือ
                                1) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) อยู่บริเวณรอบๆ พื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ซึ่งกำหนดให้พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพิมายเมืองใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต มีพื้นที่ประมาณ 1,550.00 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.32 ของพื้นที่วางผัง
                                2) ที่ดินประเภทพักอาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณฟากเหนือและฟากใต้ของถนนอนันตจินดา ด้านตรงข้าม และแนวเหนือ-ใต้กับเขตพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีพื้นที่ประมาณ 593.75 ไร่ คิดเป็นร้อย 2.42 ของพื้นที่วางผัง
                                3) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) ส่งเสริมให้เป็นชุมชนใหม่ทางฟากตะวันตกของชุมชนเดิมของถนนพิมาย - บ้านขามตามุขเป็นศูนย์ชุมชนใหม่ที่เปิดโอกาสในการลงทุนและพัฒนาใหม่ๆ ที่ไม่เหมาะสมหากให้เกิดขึ้นในชุมชนเมืองโบราณ มีพื้นที่ประมาณ 168.75 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.69
ของพื้นที่วางผัง
                                4) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) กำหนดไว้เป็นบริเวณที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร และกิจกรรมอื่น ๆที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรอยู่บริเวณรอบพื้นที่เขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย มีพื้นที่ประมาณ 12,496.10 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.96 ของพื้นที่วางผัง
                                5) ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) เป็นพื้นที่รับประโยชน์จากโครงการชลประทาน อยู่ทางตอนเหนือของชุมชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสงวนรักษาพื้นที่ที่มีคุณค่าทางด้านการเกษตรกรรม มีพื้นที่ประมาณ 3,862.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.75 ของพื้นที่ว่างผัง
                                6) ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)
มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาสภาพพื้นที่บริเวณริมฝั่งลำน้ำให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี บริเวณรอบ 2 ฝั่งลำนำต่าง ๆ ข้างละ
6 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 562.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.29 ของพื้นที่วางผัง
                                7) ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) มี เป็นบริเวณพื้นที่โรงเรียน และสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่วางผัง มีพื้นที่ประมาณ 231.66 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.94 ของพื้นที่วางผัง
                                8) ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) เป็นพื้นที่ลำน้ำเช่น ลำน้ำวังหิน ลำน้ำจักราช และลำน้ำมูล เป็นต้น มีพื้นที่ประมาณ 718 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.81 ของพื้นที่วางผัง
                                9) ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน)
เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ ?โบราณสถาน ชุมชนโบราณต่าง ๆมีพื้นที่ประมาณ 2,669.68 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10.89
ของพื้นที่วางผัง
                                10) ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) กำหนดไว้เป็นบริเวณพื้นที่วัด และ
ศาสนสถานต่าง ๆมีพื้นที่ประมาณ 208.44 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.85 ของพื้นที่วางผัง
                                11) ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) เป็นบริเวณพื้นที่สถานที่ราชการ และพื้นที่บริการสาธารณะต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ที่ว่าการอำเภอ สถานีขนส่ง เป็นต้น มีพื้นที่ประมาณ 308.56 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.26 ของพื้นที่วางผัง
                      2. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมและขนส่งให้มีประสิทธิภาพสามารถรองรับละสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต โดยแบ่งถนนเป็น 2 ขนาด คือ
                                1) ถนนแบบ ก ขนาดเขตทาง 12.00 เมตร เป็นถนนโครงการกำหนดให้ก่อสร้างใหม่ ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 206 (ตอนเลี่ยงเมือง) มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับบริเวณชุมชนและพื้นที่ต่อเนื่องกับบริเวณชุมชนเมืองและพื้นที่ต่อเนื่องศูนย์กลางพาณิชยกรรม
                              2) ถนนแบบ ข ขนาดเขตทาง 20 เมตร เป็นถนนเดิมกำหนดให้ขยายเขตทางและถนนโครงการกำหนดให้ก่อสร้างใหม่ ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 206 (ตอนเลี่ยงเมือง) ทางหลวงชนบท นม. 3036 และถนนเลียบคลองส่งน้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางการคมนาคมและขนส่ง ระหว่างพื้นที่ชุมชนกับพื้นที่นอกชุมชน


เศรษฐกิจ-สังคม

10. เรื่อง การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2567/2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น (ราคาอ้อยขั้นต้นฯ) ฤดูการผลิตปี 2567/2568 ทั้ง 9 เขตคำนวณราคาอ้อย
เป็นราคาเดียวทั่วประเทศ ดังนี้
                    1. ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2567/2568 ในอัตรา 1,160 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส หรือเท่ากับร้อยละ 90.01 ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ (1,288.69 บาทต่อตันอ้อย) และกำหนดอัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 69.60 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส
                    2. ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2567/2568 เท่ากับ 497.14 บาทต่อตันอ้อย
                    สาระสำคัญ
                    เรื่องนี้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น (ราคาอ้อยขั้นต้นฯ) ฤดูการผลิตปี 2567/2568 ทั้ง 9 เขตคำนวณราคาอ้อยเป็นราคาเดียวทั่วประเทศ เพื่อให้โรงงานน้ำตาลชำระเงินค่าอ้อยให้กับชาวไร่อ้อยไปก่อน เพื่อให้ชาวไร่อ้อยนำไปใช้หมุนเวียนในการเพาะปลูกและการดำรงชีพ ซึ่งยังไม่ใช่ราคาอ้อยฯ ฤดูการผลิตปี 2567/2568 ที่ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลจะได้รับจริง โดยที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติในลักษณะเดียวกัน เปรียบเทียบได้ ดังนี้

ราคาอ้อยขั้นต้นฯ          ฤดูการผลิตปี
          2565/2566          2566/2567          2567/2568
มติคณะรัฐมนตรี          14 มีนาคม 2566          20 กุมภาพันธ์ 2567          ข้อเสนอในครั้งนี้
ราคาอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส (บาทต่อตันอ้อย)          ทุกเขต
1,080.00          ทุกเขต
1,420.00          ทุกเขต
1,160.00
อัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อย (บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส)          ทุกเขต
64.80          ทุกเขต
64.20          ทุกเขต
69.60
ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย (บาทต่อตันอ้อย)          ทุกเขต
462.86          ทุกเขต
608.57          ทุกเขต
497.14
จากข้อมูลที่ปรากฏจะเห็นได้ว่า ราคาอ้อยขั้นต้นฯ ฤดูการผลิตปี 2567/2568 ลดต่ำลงจากปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ (260 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.31) เนื่องจากปัจจัยสำคัญในเรื่องของราคาน้ำตาลทรายดิบส่งออกตลาดโลกในฤดูการผลิตปี 2567/2568 ราคารวมพรีเมียม (ค่าประกัน) ลดลงอยู่ที่ 21.93 เซนต์ต่อปอนด์ และอัตราแลกเปลี่ยนลดลงอยู่ที่ 33.76 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
                    ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง/เห็นชอบ

11. เรื่อง ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน สำหรับเป็นที่ตั้งท่าอากาศยานชุมพร ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ เพื่อยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
                    1. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ)
                    2. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
                    3. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)                                                                                 เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี รวมเนื้อที่ 147.77 ไร่ สำหรับเป็นที่ตั้งท่าอากาศยานชุมพร ตามที่กรมท่าอากาศ (ทย.) เสนอก่อนดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่กำหนดไว้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. เดิมกรมการบินพาณิชย์ [กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ในปัจจุบัน] ได้ดำเนินงานโครงการก่อสร้าง
ท่าอากาศยานชุมพรในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองไซ และป่าทุ่งวัวแล่น และป่าสงวนแห่งชาติป่าชุมโค
ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เนื้อที่ 2,224-3-22 ไร่ ตามประกาศกรมป่าไม้ ฉบับที่ 39/2536
ลงวันที่ 18 มีนาคม 2536 และประกาศฉบับที่ 42/2536 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2536 ที่อนุญาตให้จังหวัดชุมพรใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองไซและป่าทุ่งวัวแล่น และป่าสงวนแห่งชาติป่าชุมโค เพื่อก่อสร้างสนามบินพาณิชย์จังหวัดชุมพร เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2540 และส่งมอบที่ดินบริเวณดังกล่าว ให้กรมการขนส่งทางอากาศ ครอบครอง ดูแล ในปี 2548 (ปัจจุบัน ทย. เป็นผู้ดูแล) ซึ่งต่อมาจังหวัดชุมพรได้ดำเนินการสำรวจที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองไซและป่าทุ่งวัวแล่น และป่าสงวนแห่งชาติป่าชุมโคพบว่า มีพื้นที่บางส่วนของ
ท่าอากาศยานชุมพรตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าชายเลน รวมเนื้อที่ 147.77 ไร่ แบ่งออกเป็น (1) ป่าชายเลนในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองไซและป่าทุ่งวัวแล่น เนื้อที่ 29.18 ไร่ และ (2) ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี
เนื้อที่ 118.59 ไร่ ประกอบกับประกาศกรมป่าไม้ ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวได้สิ้นผลการบังคับใช้ไปในปี 2566 ทย.
จึงต้องดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่ใหม่ ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงเสนอขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนในครั้งนี้ รวม 3 มติ ได้แก่ (1) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534
(2) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 และ (3) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543
เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนในเขตป่าสงวนแห่งชาติและป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี รวมเนื้อที่ 147.77 ไร่ สำหรับเป็นที่ตั้งท่าอากาศยานชุมพร ก่อนดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่กับกรมป่าไม้ตามขั้นตอนต่อไป
                    2. พื้นที่ป่าชายเลนจำนวน 147.77 ไร่ ที่กระทรวงคมนาคมขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ ปัจจุบันไม่มีสภาพความเป็นป่าแล้ว เนื่องจากเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานชุมพรมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 การยกเว้น
มติคณะรัฐมนตรีเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

12. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้ในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าที่มีศักยภาพ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2568 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 166 ล้านบาท เพื่อสำหรับใช้ในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าที่มีศักยภาพ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติ (23 เมษายน 2567) เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้มอบหมาย คค. โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตรวจสอบที่ดินของ รฟท. โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณริมทางรถไฟและสถานีรถไฟต่าง ๆ ทั่วประเทศที่มีความเหมาะสม และสามารถนำมาสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้นั้น รฟท. และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (อทส.) รวบรวมข้อมูลที่ดินที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยติดแนวทางรถไฟและอยู่บริเวณโดยรอบสถานีที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถอยู่ประมาณ 38,000 ไร่ ซึ่งที่ดินเหล่านี้สามารถนำมาพัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับการเช่าระยะยาวเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับประชาชนและระบบเศรษฐกิจ
                    2. คค. ได้รับรายงานจาก อทส. เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ สำหรับใช้ในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่สถานีรถไฟที่มีศักยภาพ ซึ่ง คค. ได้มีหนังสือเสนอสำนักงบประมาณ (สงป.) ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้ในโครงการดังกล่าวในวงเงิน 470 ล้านบาท ประกอบด้วย

รายการ          วงเงินงบประมาณ
(ล้านบาท)
(1) งบประมาณการจ้างงานออกแบบรายละเอียดงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (Detail Design) งานจ้างเพื่อบริหารงานก่อสร้าง (Project Management Consultant) งานจ้างควบคุมงานออกแบบและก่อสร้าง (Construction Supervision Consultant) และรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment : รายงาน EIA) สำหรับโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่สถานีรถไฟที่มีศักยภาพโครงการนำร่อง          300
(2) งบประมาณค่าชดเชยและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสำหรับโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่สถานีรถไฟที่มีศักยภาพโครงการนำร่อง          120
(3) งบประมาณจ้างศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) การจ้างงานออกแบบทางแนวคิด(Conceptual Design) และรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environment Evaluation : รายงาน IEE) โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่สถานีรถไฟที่มีศักยภาพสูงต่อเนื่อง 22 โครงการ          50
รวม          470

                    3. สงป. ได้นำเรื่องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ คค. (อทส.) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน
166 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่สถานีรถไฟที่มีศักยภาพ ดังนี้
รายการ          วงเงินงบประมาณ
(ล้านบาท)
(1) ค่าใช้จ่ายสำหรับว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม และจัดทำรายงาน EIA ?โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่สถานีรถไฟที่มีศักยภาพ? โครงการนำร่อง          116
(2) การจ้างศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) การจ้างงานออกแบบทางแนว (Conceptual Design) และรายงาน IEE โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่สถานีรถที่มีศักยภาพสูงต่อเนื่อง 22 โครงการ          50
รวม          166

                    สำหรับงบประมาณส่วนที่เหลือ จำนวน 304 ล้านบาท หากมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขอให้ อทส. พิจารณาใช้จ่ายจากเงินรายได้หรือเงินนอกงบประมาณในโอกาสแรก หรือขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป โดยคำนึงถึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ทันต่อสถานการณ์ และผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากวงเงินที่เห็นควรอนุมัติเกินกว่า 100 ล้านบาท ขอให้ คค. ดำเนินการนำเรื่องดังกล่าวขออนุมัติติต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) และเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ขอให้ คค. (อทส.) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป

13. เรื่อง ขออนุมัติใช้เงินบำรุงเพื่อก่อสร้างอาคารรังสีรักษา 6 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,509 ตารางเมตร โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 1 หลัง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ก่อสร้างอาคารรังสีรักษา
6 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,509 ตารางเมตร โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 1 หลัง ในวงเงิน 185,143,750 บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ระดับตติยภูมิ (A) ขนาด 900 เตียง โดยที่ผ่านมาสถิติการเข้ารับบริการของผู้ป่วยมะเร็งที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ในปี 2563 - 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 5,387 ราย เป็น 5,643 ราย และ 6,057 รายตามลำดับ ทำให้โรงพยาบาลบุรีรัมย์พัฒนาบริการและแนวทางรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการคัดกรอง การตรวจวินิจฉัย การรักษา มีบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคมะเร็ง มีศักยภาพการรักษาด้วยการผ่าตัด ให้ยา และเคมีบำบัด มีการเปิดให้บริการหอผู้ป่วยเคมีบำบัด และหน่วยให้เคมีบำบัดแบบเบ็ดเสร็จวันเดียวกลับ แต่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ยังไม่มีบริการรังสีรักษา เนื่องจากขาดอาคารสถานที่ในการให้บริการ ทำให้ต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาที่หน่วยบริการอื่นและการส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 2563 - 2565 จากจำนวน 263 ราย เป็น 306 ราย และ 426 ราย ตามลำดับ โรงพยาบาลบุรีรัมย์จึงขอใช้เงินบำรุง เพื่อก่อสร้างอาคารรังสีรักษา 6 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,509 ตารางเมตร โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 1 หลัง ในวงเงิน 185,143,750 บาท เพื่อลดการส่งตัวผู้ป่วยออกไปรักษาโดยการฉายรังสีที่โรงพยาบาลอื่น (refer out) ทำให้ผู้ป่วยสะดวกในการเข้ารับการรักษามากขึ้น เพิ่มอัตราการฉายรังสีมากขึ้นในผู้ป่วยที่ปฏิเสธการฉายรังสี เนื่องจากต้องเดินทางไปจังหวัดอื่น เพิ่มศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็งที่ซับซ้อน และลดระยะเวลารอคอยจากการฉายรังสี
                    2. ความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) โดย สงป. เห็นชอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ดำเนินการก่อสร้างอาคารรังสีรักษา 6 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,509 ตารางเมตร โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 1 หลัง ในวงเงิน 185,143,750 บาท  ตามที่ กค. เสนอ โดยใช้จ่ายจากเงินบำรุงโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ ขอให้ สป.สธ. ดำเนินการตามนัยมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ       มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ


14.  เรื่อง  ข้อเสนอการปรับปรุงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa : LTR Visa)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa : LTR Visa) (มาตรการ LTR Visa)
                    2. เห็นชอบการปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการ LTR Visa
                    3. เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการการตรวจลงตราเพื่อคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (SMART Visa) (มาตรการ SMART Visa) เพื่อให้คงเหลือเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (SMART - S) กรณีจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทยแล้ว
                    4. มอบหมายให้ สกท. กระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขประกาศ คำสั่ง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการ LTR Visa และมาตรการ SMART Visa ต่อไป
                    5. มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน (รง.) พิจารณาเร่งรัดการดำเนินการปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกเงื่อนไขทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทต่อการจ้างงานชาวต่างชาติผู้ถือ LTR Visa ต่อไป
                    6. มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พิจารณาดำเนินนโยบายและมาตรการระดับประเทศเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศให้แก่บุคลากรในประเทศ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. เรื่องนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) นำเสนอ คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (มาตรการ LTR Visa) และปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินการมาตรการดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการ LTR Visa และ Smart Visa ซึ่งคณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (คสดช.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567เห็นชอบด้วยแล้ว โดยการขอปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษดังกล่าว มีประเด็นสำคัญ เช่น

                              1.1 LTR Visa เช่น
ประเภท          ปัญหาอุปสรรค          แนวทางแก้ไข          ประโยชน์ที่ได้รับ
กลุ่มผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย          หลักเกณฑ์ด้านรายได้ของนายจ้างในต่างประเทศที่กำหนดไว้ว่าต้องมีรายได้รวมกันในระยะเวลา 3 ปี ไม่น้อยกว่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเกินความจำเป็น และไม่สามารถ
สะท้อนความสามารถของคนต่างชาติ
และความมั่นคงในการจ้างงานได้          ปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านรายได้ของนายจ้างในต่างประเทศเป็นรายได้รวมกันในระยะเวลา 3 ปี
ไม่น้อยกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ          ขยายโอกาสในการดึงดูดบุคลากร
ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งไทย
ขาดแคลนให้สามารถพำนัก
ระยะยาวได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่ม
โอกาสที่บุคลากรดังกล่าว
พิจารณาทำงานให้แก่บริษัท
ในประเทศในอนาคตต่อไป
ประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง          หลักเกณฑ์ LTR Visa ประเภทประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูงกำหนดให้ผู้สมัครต้องมีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในระยะเวลา 2 ปี ก่อนวันยื่นคำขอ
อย่างไรก็ตาม มีชาวต่างชาติผู้สมัคร LTR Visa จำนวนหนึ่ง มีการลงทุนในไทยเกินเกณฑ์
ที่กำหนดและมีสถานะทางการเงินที่มั่นคง แต่ไม่ผ่านการรับรองคุณสมบัติด้านรายได้ส่วนบุคคลซึ่งเป็นเงื่อนไขรอง          ยกเลิกหลักเกณฑ์ด้านรายได้ของผู้สมัคร LTR Visa ประเภทประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูงที่กำหนดให้ผู้สมัครต้องมี
รายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในระยะเวลา2 ปี ก่อนวันยื่นคำขอ          ลดเงื่อนไขที่ไม่จำเป็นและให้
ความสำคัญกับเป้าประสงค์หลัก
ในการดึงดูดประเภทประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูงเพื่อขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจ
ผู้ติดตาม          สิทธิในการติดตามผู้ถือ LTR Visa ประเภทผู้ติดตาม มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนผู้ติดตาม และไม่ครอบคลุมถึงบิดา มารดาหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมาย
และจำกัดไว้ไม่เกิน 4 คน
ซึ่งไม่ทัดเทียมกับวีซ่าหรือการตรวจลงตราประเภทอื่นของไทย
ในปัจจุบันที่มีการให้สิทธิในการติดตามสูงกว่าและไม่จำกัดจำนวนผู้ติดตาม          ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับการติดตามให้ครอบคลุม
คู่สมรส หรือบิดามารดา หรือบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้ซึ่งอยู่ในอุปการะของผู้ถือ LTR Visa หลัก โดยไม่จำกัด
จำนวนติดตาม          เพิ่มโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากการนำเงินเข้ามาใช้จ่ายภายในประเทศของผู้ถือ LTR
Visa และเพื่อเพิ่มศักยภาพ LTR
Visa ในการดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย

                              1.2 Smart Visa
                              เนื่องจาก LTR Visa และ Smart Visa  บางประเภทมีกลุ่มเป้าหมายและหลักเกณฑ์ใกล้เคียงกัน สร้างความสับสนให้แก่ชาวต่างชาติ จึงควรมีการยกเลิกประเภท Smart Visa  ที่ซ้ำซ้อนกับ LTR Visa และวีซ่าประเภทอื่น ๆ เนื่องจากขอบเขตประเภทและคุณสมบัติของ  LTR Visa เปิดกว้างและสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่า Smart Visa ดังนั้น คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (คสดช.)  จึงเห็นชอบให้ผลักดันให้ LTR Visa เป็นวีซ่าหลักแก่ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง โดยเสนอให้พิจารณายกเลิก  Smart Visa โดยให้คงไว้เฉพาะ SMART-S สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)  กรณีจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นแล้ว (ประเภท 2 ปี) เพราะยังไม่มีการตรวจลงตราประเภทอื่น ๆ  ที่มีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกันและมีเงื่อนไขผ่อนคลายเหมาะสมกับลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจ Startup โดยสามารถส่งเสริมระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Ecosystem) ของประเทศได้ต่อไป
                    2. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  พิจารณาแล้วเห็นควรให้ความเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง

15. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้ง 1/2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ปรับลดพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ออกจากพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อนำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาบังคับใช้แทน
                    2. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้งและอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2568 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาครั้งที่ 79 พร้อมทั้งร่างประกาศฯ รวม 2 ฉบับ ดังนี้
                              2.1 ร่างประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้งและอำเภอสุคิริน
จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง
อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง
                              2.2 ร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
                    3. รับทราบร่างประกาศ รวม 2 ฉบับ ดังนี้                                                                                                     3.1 ร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรี กำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ                                                                                                    3.2 ร่างประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
                    สาระสำคัญ
                    เรื่องที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้                                                   1. ให้ปรับลดพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ออกจากพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เนื่องจากอำเภอยะหา จังหวัดยะลา ได้รับการประเมินผล และได้ผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด ร้อยละ 80.78 ตามแผนการปรับลดการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และแม้ห้วงเวลาที่ผ่านมา (วันที่ 20 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2567) ไม่ปรากฏสถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงเป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ยังคงปรากฏข่าวสารความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในเขตพื้นที่อยู่อย่างต่อเนื่อง และมีข่าวความเคลื่อนไหวในการเตรียมการก่อเหตุโจมตีฐานปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีการระวังป้องกันไม่เข้มแข็งหรือเป้าหมายที่มีความอ่อนแอในพื้นที่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาใช้ในพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถบริหารจัดการในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้ออกมารายงานตัวแสดงตน ร่วมสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างแท้จริง                    2. ให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 19 มกราคม 2568 ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2568 เป็นครั้งที่ 79 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม ระงับยับยั้ง สถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากในห้วงเวลานี้ กลุ่มขบวนการยังคงมีศักยภาพในการปฏิบัติและมุ่งก่อเหตุเพื่อหล่อเลี้ยงสถานการณ์รวมถึงมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพิ่มขึ้น ควบคู่กับการปลุกระดมมวลชนเพื่อสร้างแนวร่วมรุ่นใหม่รวมทั้งยังคงสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนและทำลายระบบเศรษฐกิจเพื่อหวังผลทำลายความเชื่อมั่นของรัฐบาลตามยุทธศาสตร์การต่อสู้ของกระบวนการ

16. เรื่อง ขอให้พิจารณาประกาศพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์ อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ดังนี้
                    1.รับทราบสรุปผลการประเมินพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ประกอบการพิจารณาประกาศพื้นที่ที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
                    2.เห็นชอบ
                              2.1 ร่างประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
                              2.2 ร่างประกาศ เรื่อง การให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
                              2.3 ร่างประกาศ เรื่อง กำหนดลักษณะความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
                              2.4 ร่างข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    เรื่องที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอดังกล่าวเป็นเรื่องสืบเนื่องจากคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินได้มีมติให้ปรับลดพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ออกจากพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. 2548 เพื่อนำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับแทน
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรจึงได้จัดทำสรุปผลการประเมินพื้นที่เพื่อประกอบการพิจารณาประกาศพื้นที่ที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ซึ่งสรุปได้ว่า ที่ผ่านมาพบว่า พื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ไม่ปรากฏเหตุรุนแรง แต่ยังคงปรากฏข่าวสารความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในเขตพื้นที่รอยต่ออยู่อย่างต่อเนื่อง และมีข่าวความเคลื่อนไหวในการเตรียมการ ก่อเหตุโจมตีฐานปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีการระวังป้องกันไม่เข้มแข็งหรือเป้าหมาย ที่มีความอ่อนแอในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ จึงยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถบริหารจัดการพื้นที่และสามารถดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาที่กระทำความผิดเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์แต่กลับใจเข้ามอบตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยให้เข้ารับการอบรมตามคำสั่งศาลและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด แทนการดำเนินคดีอาญา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้นั้นกลับตัวอันจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการการรักษาความสงบและความปลอดภัยมีเอกภาพและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการประกาศกำหนดให้อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่
20 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568


ต่างประเทศ
17. เรื่อง  การขอปรับแผนการดำเนินงานและแผนการเบิกจ่ายงบประมาณของการดำเนินโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ กิจกรรมที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมฯ) กิจกรรมที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub) (กิจกรรมที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศฯ)
                    2. อนุมัติการปรับแผนการดำเนินงานและแผนการเบิกจ่ายงบประมาณของการดำเนินโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมฯ  กิจกรรมที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศฯ กิจกรรมย่อยที่ 3 การร่วมก่อสร้างโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศระบบใหม่ ASIA Direct Cable (ADC) (กิจกรรมย่อยที่ 3 การร่วมก่อสร้างโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ ADC) จากปี 2567 เป็นดังนี้
หัวข้อ          ระยะเวลา
          เดิม          เสนอคณะรัฐมนตรีครั้งนี้
(1) แผนการดำเนินการ          2567          ภายใน 2568
(2) แผนเบิกจ่ายงบประมาณ          2567          ภายใน 2573

                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. เรื่องนี้เป็นการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ 2 ภายใต้โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
กิจกรรมย่อย          ความคืบหน้า
กิจกรรมย่อยที่ 1
การจัดหาอุปกรณ์เพิ่มความจุโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังชายแดนฯ และแผนงานปรับปรุงประสิทธิภาพโครงข่ายที่ออกแบบเพื่อทดแทนการยกเลิกระบบ Phetchaburi - Sriracha (PS)          ดำเนินงานแล้วเสร็จ
กิจกรรมย่อยที่ 2
การขยายความจุโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศของระบบที่มีอยู่ 1,770 Gbps          ดำเนินงานแล้วเสร็จ
กิจกรรมย่อยที่ 3
การร่วมก่อสร้างโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ ASIA Direct Cable (ADC)
          อยู่ระหว่างดำเนินงาน
(ดำเนินการแล้วเสร็จคิดเป็นร้อยละ 88)

                    ทั้งนี้ กิจกรรมย่อยที่ 3 การร่วมก่อสร้างโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ ADC เป็นการร่วมก่อสร้างเคเบิลใต้น้ำระบบใหม่เชื่อมต่อประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ โดยมีเส้นทางผ่าน 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศจีน ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเวียดนาม ซึ่งยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากประสบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานหลายประการ เช่น (1) ความล่าช้าจากเหตุเคเบิลขัดข้องหลายจุดในน่านน้ำต่าง ๆ (เช่น จุดขัดข้องในน่านน้ำฮ่องกง น่านน้ำเวียดนาม น่านน้ำประเทศจีนและน่านน้ำญี่ปุ่น) (2) ความล่าช้าในการติดตั้งสายเคเบิลในน่านน้ำฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีอุปกรณ์ประมงขวางอยู่ในเส้นทางการติดตั้งสายเคเบิล และ (3) ความล่าช้าจากเหตุขัดข้องของอุปกรณ์จ่ายไฟในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งทำให้ต้องมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ดี แม้ว่าในขณะนี้ปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขและผู้รับจ้างดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ระบบเคเบิลใต้น้ำทางทะเลแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่การดำเนินงานในปัจจุบันยังอยู่ระหว่างภาคีสมาชิกพิจารณาความถูกต้องและครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในสัญญาจ้างก่อนอนุมัติรับงาน จึงเกิดผลกระทบต่อแผนการดำเนินงานและแผนการเบิกจ่ายงบประมาณ ดังนั้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) โดย บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการขยายระยะเวลาการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณในครั้งนี้ด้วย โดยเสนอปรับแผนการดำเนินงานและแผนการเบิกจ่ายงบประมาณ ดังนี้
การขอขยาย          ระยะเวลา
          เดิม          เสนอคณะรัฐมนตรีครั้งนี้
(1) แผนการดำเนินการ          2567          ภายในปี 2568
(2) แผนการเบิกจ่ายงบประมาณ          2567          ภายในปี 2573

                    2. กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงกงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) พิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้อง/เห็นด้วยในหลักการตามที่ ดศ. เสนอ เนื่องจากสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 และแผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน โดย สคก. และ สพร. เห็นควรให้ ดศ. ควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ เพื่อมิให้เสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว

18. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ว่าด้วยความร่วมมือด้านดิจิทัล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ว่าด้วยความร่วมมือด้านดิจิทัล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อ ผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
                      สาระสำคัญ
                       1. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีระหว่าง ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย และพัฒนาความร่วมมือบนพื้นฐานของผลประโยชน์และความเข้าใจร่วมกันและการเคารพซึ่งกันและกัน
                       2. ขอบเขตความร่วมมือภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้แก่
                                  1) ความเชื่อมโยงทางดิจิทัลผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน ในสาขาต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมการเชื่อมโยงทางดิจิทัลที่แพร่หลาย การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดึงดูดการลงทุน
                                  2) ธรรมาภิบาลภาครัฐอิเล็กทรอนิกส์ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน ในสาขาต่าง ๆ อาทิ ยุทธศาสตร์และบริการรัฐบาลดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์
                                  3) ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ผ่านการดำเนินความร่วมมือต่าง ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน การจัดการฝึกอบรมและสัมมนา และการร่วมมือกันเกี่ยวกับมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการนำระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลไปใช้
                                   4) เทคโนโลยีอุบัติใหม่ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน ในสาขาต่าง ๆ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ คลาวด์คอมพิวติ้ง IoT และข้อมูลขนาดใหญ่
                                  5) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน รวมถึงการร่วมมือเพื่อจัดการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะความมั่นคงปลอดภัยทาง
ไซเบอร์
                       3. บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่มีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ครั้งสุดท้าย โดยผู้เข้าร่วมผ่านช่องทางทางการทูตว่า ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดภายในประเทศเพื่อให้บันทึกความเข้าใจมีผลบังคับ
ใช้แล้ว
                       4. บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 6 ปี โดยอาจมีการต่ออายุบันทึกความเข้าใจโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลาเท่ากันอีก 6 ปี โดยต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เข้าร่วม
ทั้งสองฝ่าย
                       5. บันทึกความเข้าใจฯ นี้ไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพันทางกฎหมายใด ๆ กับผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายทั้งโดยตรงหรือโดยปริยาย
                      ประโยชน์และผลกระทบ เช่น
                      การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างครอบคลุม ผ่านการดำเนินกิจกรรม
การแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ร่วมกัน ตลอดจนการจัดการฝึกอบรมและสัมมนา และการร่วมมือกันทั้งในเชิงนโยบาย, เชิงเทคนิคเพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงทางดิจิทัลอย่างครอบคลุม การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล จนถึงเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางเทคโนโลยีอุบัติใหม่ บนพื้นฐานของความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งจะนำไปสู่ การเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของทั้งสองประเทศ


19. เรื่อง การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 28 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอดังนี้
                       1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้ง 28 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง (ร่างเอกสาร ผลลัพธ์ฯ) (การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนฯ) จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างถ้อยแถลงสื่อร่วม การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 28  (2) ร่างถ้อยแถลงสื่อร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม [สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ญี่ปุ่น] ครั้งที่ 24 (3) ร่างถ้อยแถลงสื่อร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่ 12 และ (4) ร่างถ้อยแถลงสื่อร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - รัสเซีย ครั้งที่ 4
                        ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ขอให้ กก. ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                       2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนฯ ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรี ท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Minister)
ของไทย และร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ จำนวน 4 ฉบับ โดยไม่มีการลงนาม
                      สาระสำคัญ
                      กก. รายงานว่า
                      1. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ปี พ.ศ. 2568 จะจัดขึ้น ในวันที่ 19 - 20 มกราคม 2568 ณ เมืองยะโฮร์บาห์รู สหพันธรัฐมาเลเซีย ซึ่งประกอบด้วย (1) การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 28
(2) การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 24 (3) การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - อินเดีย
ครั้งที่ 12 และ (4) การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - รัสเซีย ครั้งที่ 4 โดยรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจะต้องให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์ฯ จำนวน 4 ฉบับ (ตามข้อ 1) ซึ่งจะมีการแถลงข่าวร่วมกันในวันที่ 20 มกราคม 2568
                      2. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ จำนวน 4 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                                 2.1 ร่างถ้อยแถลงสื่อร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 28 มีเนื้อหาแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี พ.ศ. 2559 - 2568 และแผนการฟื้นฟูการท่องเที่ยวอาเซียนหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนผ่านการดำเนินกิจกรรมการตลาด การส่งเสริมให้อาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเรือสำราญ รวมทั้งการจัดทำมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอาเซียน
                                 2.2 ร่างถ้อยแถลงสื่อร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 24 มีเนื้อหาสนับสนุนการดำเนินการตามแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม ปี พ.ศ. 2564 ? 2568 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ในการส่งเสริมความยั่งยืนระหว่างอาเซียนและประเทศบวกสาม รวมถึงศูนย์อาเซียน - จีน อาเซียน - เกาหลีใต้ และอาเซียน - ญี่ปุ่น การเข้าร่วมงานด้านการตลาดท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เช่น World Exposition 2025 ณ เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น การส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมมือกับเกาหลีใต้ในการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการข้อริเริ่มภาคีเกาหลีใต้เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
                                 2.3 ร่างถ้อยแถลงสื่อร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยว อาเซียน - อินเดีย ครั้งที่ 12เนื้อหามุ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนในระดับภาคประชาชนระหว่างอาเซียนและอินเดียผ่านการประกาศให้ปี พ.ศ. 2568 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวระหว่างกัน
                                 2.4 ร่างถ้อยแถลงสื่อร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - รัสเซีย ครั้งที่ 4 มีเนื้อหาสนับสนุนความร่วมมือระหว่างอาเซียนและรัสเซีย ในการพัฒนาช่องทางเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การเสริมสร้างความสัมพันธ์ในภาคประชาชน และการใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจ
                      3. ประโยชน์ที่จะได้รับ: การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนปี พ.ศ. 2568 เป็นช่องทางสำคัญให้ประเทศสมาชิกอาเซียนรับทราบผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียนตลอดปี 2567 เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกอาเซียน ในปี พ.ศ. 2568 ต่อไป

20. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทยกับคณะกรรมการสาธารณสุขแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือสาขาสาธารณสุข
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทยกับคณะกรรมการสาธารณสุขแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือสาขาสาธารณสุข (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้คณะรัฐมนตรีมอบให้ สธ. เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
                      สาระสำคัญของเรื่อง
                      กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทยกับคุณประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือสาขาสาธารณสุข (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) เพื่อนำมาใช้แทนบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างกระทรวงสาธารณสุขสาธารณรัฐประชาชนจีนและกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทย (บันทึกความเข้าใจฉบับเดิม) ที่สิ้นสุดการมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2550 โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ ยังคงมีสาระสำคัญคล้ายกับ บันทึกความเข้าใจฉบับเดิมที่เป็นการกำหนดกรอบสาขาความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายประสงค์ ที่จะมีการดำเนินงานร่วมกัน (เช่น สาขาโรคติดต่อ สาขาโรคไม่ติดต่อ) ซึ่งได้มีการปรับปรุงด้านสุขภาพ) และยังคงกำหนดรูปแบบความร่วมมือในลักษณะเดิม (เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และผู้เชี่ยวชาญ) ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ลงนาม และจะต่ออายุออกไปอีก 5 ปี โดยอัตโนมัติ เว้นแต่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งความประสงค์ที่จะยกเลิกร่างบันทึกความเข้าใจฯ

21. เรื่อง ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (Communique) สำหรับการประชุม Global Forum for Food and Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 17 และการประชุม Berlin Agriculture Ministers? Conference ครั้งที่ 17
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (2025 Zero Draft Communique) ในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน (Berlin Agriculture Ministers Conference) ครั้งที่ 17 รวมทั้งอนุมัติในหลักการว่า หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าว ในประเด็น ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทนร่วมรับรองเอกสารดังกล่าว โดยไม่มีการลงนาม ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                      สาระสำคัญ
                        ร่างเอกสารแถลงการณ์นี้มีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการเสริมสร้างเศรษฐกิจชีวภาพที่ยั่งยืนเพื่อปฏิรูประบบเศรษฐกิจโลกไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีความยั่งยืน ยืดหยุ่น และครอบคลุม รวมทั้งแก้ไขปัญหาความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความขัดแย้งทั่วโลก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(The Sustainable Development Goals: SDGs) ภายในปี 2573 โดยร่างดังกล่าวให้ความสำคัญของการดำเนินการใน 4 ด้าน ได้แก่
                        1. การผลิตชีวมวลอย่างยั่งยืน ? การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการผลิตชีวมวลอย่างยั่งยืนให้มากยิ่งขึ้นในภาคการเกษตร ป่าไม้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการประมง
                        2. การใช้ชีวมวลอย่างยั่งยืน ? การสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก เพื่อส่งเสริม เศรษฐกิจชีวภาพที่ยั่งยืนและหมุนเวียน ตระหนักถึงความจำเป็นในการลดการใช้ทรัพยากรโดยรวม ส่งเสริม แหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่และแบบดั้งเดิมจากพืชและสัตว์ รวมทั้งสนับสนุนการลดขยะอาหารและการสูญเสีย อาหารตลอดห่วงโซ่การผลิตและอุปทานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG 12.3 (ลดของเสียอาหารและลดการสูญเสียอาหาร)
                        3. การเสริมสร้างนวัตกรรม - การส่งเสริมการสื่อสาร สนับสนุนการวิจัย นวัตกรรม การฝึกอบรม และการสื่อสารเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจชีวภาพที่ยั่งยืน ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อให้ เศรษฐกิจชีวภาพเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็วและสร้างโอกาสในการเติบโต ปรับใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่มีความโปร่งใส เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันที่มีความเท่าเทียมกัน ให้ความสำคัญกับความรู้ของชนพื้นเมืองในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและความยืดหยุ่นที่ยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี
                        4. สร้างกรอบการทำงานที่เป็นธรรม ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลมีประสิทธิภาพและครอบคลุม เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศให้เกิดความเข้มแข็ง ส่งเสริมการริเริ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจชีวภาพระดับโลก ส่งเสริมห่วงโซ่คุณค่าสำหรับผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจ ชีวภาพที่ครอบคลุมและยั่งยืน ส่งเสริมการเข้าถึงที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งเสริมสร้างการดำเนินการด้านสิทธิ์ในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ



แต่งตั้ง

22. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายไทยสำหรับสภาความร่วมมือชาอุดี ?ไทย (Saudi - Thai Coordination Council: STCC)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายไทยสำหรับสภาความร่วมมือชาอุดี ?ไทย (Saudi - Thai Coordination Council: STCC) ดังนี้
                    1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตำแหน่ง ประธานสภาความร่วมมือซาอุดี ? ไทย  (ฝ่ายไทย)
                    2. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการด้านการเมืองและการกงสุล (ฝ่ายไทย)
                    3. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการด้านความมั่นคงและการทหาร (ฝ่ายไทย)
                    4. ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (ฝ่ายไทย)
                    5.  ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการทางเศรษฐกิจและการค้า (ฝ่ายไทย)
                    6. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการด้านการลงทุน (ฝ่ายไทย)
                    7. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะทำงานฝ่ายเลขานุการสภาความร่วมมือ ฯ
                      หน้าที่และอำนาจ
                    1. สภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย
                                 1.1 จัดการประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย
                                 1.2 กำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ใน 5 สาขา ได้แก่ 1) การเมืองและการกงสุล 2) ความมั่นคงและการทหาร 3) วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 4) เศรษฐกิจและการค้า และ 5) การลงทุนให้เป็นรูปธรรม
                                 1.3 ตัดสินใจในประเด็นทั้งปวงที่เสนอโดยคณะกรรมการและฝ่ายเลขานุการ ภายใต้สภาความร่วมมือชาอุดี - ไทย
                    2. คณะกรรมการภายใต้สภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย
                                 2.1 ให้อำนาจประธานคณะกรรมการในแต่ละสาขา แต่งตั้งสมาชิกคณะกรรมการ ตลอดจน แต่งตั้งตั้งประธานคณะทำงาน (Working Team) และสมาชิกคณะทำงาน ภายใต้คณะกรรมการ ฯ ได้ หากมีความจำเป็น
                                 2.2 จัดการประชุมคณะกรรมการ และเสนอผลลัพธ์การประชุมให้ฝ่ายเลขานุการสภาความร่วมมือ ฯ พิจารณาเสนอต่อที่ประชุมสภาความร่วมมือ ฯ
                                 2.3 ติดตามและรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการให้ฝ่ายเลขานุการสภาความร่วมมือ ฯ ทราบ
                                 2.4 ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสภาความร่วมมือซาอุดี ? ไทย
                      3. ฝ่ายเลขานุการสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย
                                 3.1 ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการให้แก่สภาความร่วมมือชาอุดี - ไทย
                                 3.2 ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
                                 3.3 ติดตามผลการดำเนินการตามข้อตัดสินใจของสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย
                                 3.4 ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสภาความร่วมมือชาอุดี ? ไทย

                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงอุตสาหกรรม)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้ง นายวชิระ ไม้แพ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (นิติกรเชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (นิติกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

24. เรื่อง การแต่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายสมศักดิ์
ศิริวนารังสรรค์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม) กรมอนามัย ให้ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง)  สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ที่พ้นจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2567 และผู้ที่พ้นจากราชการเนื่องจากเกษียณอายุราชการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 จำนวน 2 ราย ดังนี้
                      1. แต่งตั้ง นางชื่นชีวัน ลิมป์ธีระกุล ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ 3 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
                      2. แต่งตั้ง นายนพพร บุญแก้ว ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักสำนักนายกรัฐมนตรี  (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ 5 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายราเชน  ศิลปะรายะ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง (เนื่องจากผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมลาออกจากราชการ)
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย  จำนวน 2 ราย ดังนี้   1. ศาสตราจารย์พิเศษกิตติพงษ์  กิตยารักษ์ ประธานกรรมการ  2. นายวิจารย์ สิมาฉายา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                      ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 เป็นต้นไป


28. เรื่อง แต่งตั้งโฆษกกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายการเมือง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ แต่งตั้งโฆษกกระทรวงยุติธรรมฝ่ายการเมือง ประกอบด้วย 1) นายอับดุลเราะมัน มอลอ และ 2) นางสาวศรินทร เลืองวัฒนะวณิช
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ