สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ชุด นางสาวแพทองธาร ชินวัตร(นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 มกราคม 2568

ข่าวการเมือง Tuesday January 21, 2025 14:46 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (21 มกราคม 2568) เวลา 10.00 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย

          1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          2.           เรื่อง            ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหม

พ.ศ. ....

3.           เรื่อง            ร่างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดกลไก                              ราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
          5.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะเก็บจากผู้เชี่ยวชาญองค์กร                              ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำหน้าที่                              ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการหรือ                              การตรวจสอบเครื่องสำอาง พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตรา                                        ค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง พ.ศ. ....                                         รวม 2 ฉบับ
          6.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และ                                        มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี                                         อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....

          7.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองปลาไหล

ตำบลหนองปรือ และตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....

          8.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร                                         พ.ศ. 2497
          9.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้าย                                        ทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  (กำหนดขนาด                               ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์โบราณ (Classic Cars))
          10.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศสำหรับห้องด้าน                                        ประสิทธิภาพพลังงานต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
          11.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้น้ำร้อนน้ำเย็นบริโภคและตู้น้ำเย็น                                        บริโภคเฉพาะด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
          12.            เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลง                              การเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลกเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงการค้าเสรี                                        ระหว่างอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา พ.ศ. ?.
          13.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550

จำนวน 4 ฉบับ

          14.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผล                              สัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ                    ในความผิดเกี่ยวกับ เพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565)
          15.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          16.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ - ไร่เก่า                                         จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม

ชุมชนไร่ใหม่ - ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555)

เศรษฐกิจ ? สังคม
          17.           เรื่อง           ขออนุมัติกรอบวงเงินเพิ่มเติมสำหรับงานเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ โครงการก่อสร้าง                              รถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
          18.           เรื่อง           การมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบในการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
          19.           เรื่อง           ขออนุมัติขยายระยะเวลาและขยายกรอบวงเงินงบประมาณ โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก                                         จังหวัดอุตรดิตถ์
20.           เรื่อง           การจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับรายบุคคล เพื่อบูรณาการข้อมูล                              จากทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ

ต่างประเทศ

          21.           เรื่อง           หนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชีย                              ตะวันออกเฉียงใต้ โดยสาธารณรัฐฟินแลนด์ และฮังการี

แต่งตั้ง
          22.          เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                               (สำนักนายกรัฐมนตรี)
          23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

(สำนักนายกรัฐมนตรี)

          24.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
          25.          เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์)
          26.           เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่  472/2567 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบ                                        อำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธาน                              กรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี                                        ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการ

ต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

?

กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. ปัจจุบันกองทัพบกได้มีการกำหนดหน้าที่และเขตพื้นที่ของมณฑลทหารบกขึ้นใหม่ตามกฎกระทรวงกำหนดหน้าที่และเขตพื้นที่ของมณฑลทหารบก พ.ศ. 2558 โดยได้ยกเลิกจังหวัดทหารบก ทุกแห่งและกำหนดมณฑลทหารบก เป็นหน่วยทหารอยู่ในการปกครองบังคับบัญชาของกองทัพภาคเพิ่มขึ้น และต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำนาจศาลมณฑลทหาร พ.ศ. 2558 ขึ้นมาเพื่อยกเลิกเขตอำนาจศาลจังหวัดทหารบก และกำหนดเขตอำนาจศาลมณฑลทหารบกเสียใหม่ โดยให้ศาลมณฑลทหารบกมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอยู่ในอำนาจศาลจังหวัดทหารบก เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดหน้าที่และเขตพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้ศาลจังหวัดทหารที่เป็นศาลทหารชั้นต้น เป็นอันยกเลิกไปทั้งหมด ศาลทหารชั้นต้นที่พิจารณาคดีได้ในปัจจุบันจึงมีเพียงศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วยทหาร [ (เดิม) ศาลจังหวัดทหาร มีเขตอำนาจศาลในคดีที่จำเลยมียศทหารชั้นประทวน ศาลมณฑลทหาร มีเขตอำนาจคดีที่จำเลยมียศทหารชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร (ยกเว้นชั้นนายพล) ส่วนศาลทหารกรุงเทพ มีเขตอำนาจคดีที่จำเลยมียศทหารทุกชั้นยศ]

2. กห. จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 เสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำนาจศาลมณฑลทหารฯ นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 บัญญัติให้ศาลทหารในเวลาปกติ อัยการทหารหรือผู้เสียหายที่เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น (เช่น นายทหาร นักเรียนเตรียมทหาร พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร) ที่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต่อศาลทหาร แต่ผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้นไม่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต่อศาลทหารได้ด้วยตนเอง และกรณีศาลทหารในเวลาไม่ปกติหรือศาลอาญาศึก อัยการทหารเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต่อศาลทหารและในกรณีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีอาญาของศาลทหารในเวลาไม่ปกติและศาลอาญาศึกไม่ว่ากรณีใด ห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสิ้น ซึ่ง กห. พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ด้วยตนเองและสิทธิในการได้รับการพิจารณาทบทวนคำพิพากษาโดยศาลที่สูงกว่า จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมโดยให้ผู้เสียหายซึ่งมิใช่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารสามารถใช้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาในศาลทหารได้ด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นกรณีศาลทหารในเวลาปกติและในเวลาไม่ปกติ เว้นแต่ในกรณีศาลอาญาศึกจะเป็นอัยการทหารเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมการให้อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งในคดีอาญาของศาลทหารในเวลาไม่ปกติเฉพาะกรณีที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกซึ่งไม่อยู่ในเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงคราม ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมให้สอดคล้องกับข้อบทที่ 14 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

3. ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

3.1 กำหนดให้ยกเลิกศาลจังหวัดทหาร (เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดเขตอำนาจศาลมณฑลทหารบกขึ้นใหม่และยกเลิกเขตอำนาจศาลจังหวัดทหารทุกแห่งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำนาจศาลมณฑลทหารฯ)

3.2 กำหนดให้ผู้เสียหายซึ่งมิใช่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาในศาลทหารได้ (เดิม ศาลทหารในเวลาปกติอัยการทหาร หรือผู้เสียหายที่เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต่อศาลทหาร แต่ผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารไม่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต่อศาลทหารด้วยตนเอง และกรณีศาลทหารในเวลาไม่ปกติหรือศาลอาญาศึก อัยการทหารเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต่อศาลทหาร)

                                 3.3 กำหนดให้สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหาร ในเวลาไม่ปกติกรณีที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกซึ่งไม่อยู่ในเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงคราม โดยตรงต่อศาลทหารสูงสุดได้                         (เดิม คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติและศาลอาญาศึกไม่ว่ากรณีใด ห้ามไม่ให้อุทธรณ์หรือฎีกา                คำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าว)

ทั้งนี้ การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมซึ่งสอดคล้องกับแห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการ พลเรือนกลาโหม พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ปัจจุบันการกำหนดอัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน และการให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหมในแต่ละประเภท ได้แก่ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ ประเภทการสอนหรือวิจัย และประเภททั่วไปเทียบเคียงจากกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาใช้บังคับโดยอนุโลมไปพลางก่อนจนกว่าจะมีกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหมเป็นการเฉพาะ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 ที่กระทรวงกลาโหมเสนอคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ ประเภทการสอนหรือวิจัย และประเภททั่วไป ได้รับเงินเดือนที่มีขั้นต่ำและขั้นสูงและเงินประจำตำแหน่ง

ของข้าราชการพลเรือนกลาโหมอัตราเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งหรือกฎหมายว่าด้วยการนั้น เพื่อให้การดำเนินการปรับอัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหมสอดคล้องกับข้าราชการพลเรือนและข้าราชการทหาร ทั้งนี้ มีเพียงตำแหน่งประเภท              การสอนหรือวิจัยเท่านั้นที่ได้กำหนดให้ได้รับอัตราเงินเดือนต่ำและขั้นสูงที่แตกต่างไปจากข้าราชการพลเรือนสามัญ ดังนี้

ตำแหน่งประเภทการสอนหรือวิจัย
ข้าราชการพลเรือนกลาโหม (บาท)
ตำแหน่ง          อาจารย์          ผู้ช่วยศาสตราจารย์          รองศาสตราจารย์          ศาสตราจารย์
ขั้นสูง          43,600          59,500          70,360          76,800
ขั้นต่ำ          15,000          19,900          22,080          24,460
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (บาท)
ตำแหน่ง          อาจารย์          ผู้ช่วยศาสตราจารย์          รองศาสตราจารย์          ศาสตราจารย์
ขั้นสูง          43,600          59,500          70,360          76,800
ขั้นต่ำ          10,190          -          -          -
ข้าราชการพลเรือนกลาโหม (บาท)
ตำแหน่ง                    ครู          ครูชำนาญการ          ครูชำนาญการพิเศษ          ครูเชี่ยวชาญ          ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
ขั้นสูง          -          34,310          41,620          58,390          69,040          36,800
ขั้นต่ำ          -          15,000          16,190          19,960          24,400          29,980
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (บาท)
ตำแหน่ง          ครูผู้ช่วย          ครู          ครูชำนาญการ          ครูชำนาญการพิเศษ          ครูเชี่ยวชาญ          ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
ขั้นสูง          24,750          34,310          41,620          58,390          69,040          36,800
ขั้นต่ำ          15,050          15,540          16,190          19,860          24,400          29,980
                    2. กระทรวงกลาโหมชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหมตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้แตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่ผ่านมาได้ใช้กฎหมายของข้าราชการพลเรือนสามัญเทียบเคียงประกอบกับการนำระบบข้าราชการพลเรือนกลาโหมมาใช้มีวัตถุประสงค์              เพื่อลดจำนวนข้าราชการทหารและเป็นการแก้ไขปัญหาความคับคั่งในแต่ละชั้นยศ และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงกลาโหมที่จะลดกำลังพลที่เป็นทหารลง ซึ่งได้กำหนดให้บรรจุทดแทนตำแหน่งที่ไม่จำเป็นต้องให้ทหารปฏิบัติงานจึงไม่ทำให้งบประมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากนำงบประมาณในส่วนของทหารที่ลดลงมาใช้กับข้าราชการ                 พลเรือนกลาโหมแทน
                    3. กระทรวงกลาโหมได้จัดทำแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและ                 กรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติ ในเรื่องนี้แล้ว จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่                 ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม และการให้ได้รับเงินเดือน พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. .... ซึ่งร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของบุคคลที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม ให้เป็นไปตามประเภท สายงานและระดับที่กำหนดในกฎกระทรวง และกระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน ตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562  เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว

3. เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...                   ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม                 ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 โดยปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย เพิ่มเติมวัตถุประสงค์และอำนาจการดำเนินกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจของคณะกรรมการ กทท. ให้มีความเหมาะสม ปรับปรุงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ว่าการ กทท. ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับกิจการที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งผู้บริหารองค์กรจากผู้อำนวยการเป็นผู้ว่าการ กทท.

ร่างพระราชบัญญัติมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม (ร่างมาตรา 3)

                    คำว่า ?คณะกรรมการ? หมายความว่า คณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อของคณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจอื่น (เดิม ?คณะกรรมการ? หมายความว่า คณะกรรมการของการท่าเรือ               แห่งประเทศไทย)

ยกเลิกคำว่า ?ผู้อำนวยการ? ในพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 และแก้ไขเป็นคำว่า ?ผู้ว่าการ? ทุกแห่งเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง

                    2. แก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมาย (ร่างมาตรา 7) โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (เดิม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) เนื่องจากการดำเนินกิจการของ กทท. อยู่ในการกำกับดูแลของ คค.                          ส่วนกระทรวงการคลังได้เปลี่ยนไปกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในภาพรวมผ่านทางกลไกสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

3. แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของ กทท. โดยขยายวัตถุประสงค์ (ร่างมาตรา 8 (3) จากเดิม ?ดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับการประกอบกิจการท่าเรือ? เป็นให้ ?ดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการประกอบกิจการท่าเรือเพื่อประโยชน์แก่ กทท.? (เป็นการปรับปรุงถ้อยคำให้สอดคล้องกับบริบทและตรงตามอำนาจของ กทท. เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจของ กทท. ซึ่งจะทำให้สามารถประกอบกิจการท่าเรือ ธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือ อู่เรือ และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือเป็นส่วนประกอบกับท่าเรือ รองรับการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ กทท. ได้)

4. ให้ กทท. มีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายใต้ขอบวัตถุประสงค์ของ กทท. โดยแก้ไขเพิ่มเติมให้รวมถึงอำนาจกระทำกิจการดังต่อไปนี้ (ร่างมาตรา 9) เช่น

1) เพิ่มเติมให้ กทท. สามารถทำนิติกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง มีทรัพยสิทธิ หรือเป็นการก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ได้

2)กำหนดให้ กทท. มีเฉพาะอำนาจเรียกเก็บค่าภาระการใช้ท่าเรือ บริการ และความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือ และค่าภาระต่าง ๆ ภายในอาณาบริเวณ (เดิม ให้ กทท. มีอำนาจกำหนดอัตราค่าภาระการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือ และออกระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าภาระดังกล่าว เนื่องจากคณะกรรมการฯ จะเป็นผู้มีอำนาจกำหนดอัตราค่าภาระดังกล่าวภายในอัตราขั้นสูงและขั้นต่ำที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 29 (5) แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือฯ มีใช่ กทท.)

3) กำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยเกี่ยวกับการใช้ท่าเรือ การให้บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือ รวมทั้ง การจัดการเกี่ยวกับการสาธารณสุขและคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาณาบริเวณ (เพิ่มเติมให้ครอบคลุมถึงการจัดการเกี่ยวกับการสาธารณสุขและคุณภาพสิ่งแวดล้อม เดิม กำหนดเพียงการจัดระเบียบว่าด้วยความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือ)

4) เพิ่มเติมให้ กทท. สามารถออกพันธบัตรหรือตราสารเพื่อใช้ในการดำเนินการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการของ กทท. ได้ ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าการทำกิจการในบางกรณีอาจมิใช่การลงทุน (ได้ปรับถ้อยคำเพิ่มเติม จาก เดิม ออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใด เพื่อการลงทุนเท่านั้น เพื่อให้การดำเนินกิจการของการทำเรือฯ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้สามารถรองรับการประกอบธุรกิจตามกรอบยุทธศาสตร์ของการท่าเรือฯ และรองรับการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือฯ เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย หรือ Smart Community)

5) เพิ่มเติมให้ กทท. สามารถจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ทั้งในและนอกราชอาณาจักร เพื่อประกอบธุรกิจกับหรือเกี่ยวเนื่องในกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งในราชอาณาจักรจะมีคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทนั้นไม่ได้ (เพิ่มเติมถ้อยคำ ?ทั้งในและนอกราชอาณาจักร? เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น จะได้ไม่ต้องมีการตีความ จากเดิม ให้ กทท. สามารถจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด)

6) เพิ่มเติมให้ กทท. สามารถลงทุนหรือเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดทั้งในและนอกราชอาณาจักร เพื่อประโยชน์แก่กิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (เดิม กทท. สามารถเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อประโยชน์แก่กิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย และเพิ่มเติมถ้อยคำ ?ทั้งในและนอกราชอาณาจักร? เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น จะได้ไม่ต้องมีการตีความ)

                              7) เพิ่มเติมให้ กทท. สามารถเช่าหรือพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ กทท. ตามความจำเป็น โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะควบคู่ไปด้วย เนื่องจากปัจจุบันกรอบยุทธศาสตร์ของการท่าเรือฯ มีการกำหนด             กลยุทธ์ในการจัดทำโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย หรือ Smart Community ที่ต้องมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือฯ จึงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนนี้ (เดิม ไม่
กำหนด)

8) เพิ่มเติมให้ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ของ กทท. ให้ กทท. จัดทำแผนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นแผนแม่บทสำหรับการดำเนินการ โดยแสดงถึงเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ กทท. และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ (ร่างมาตรา 27)

9) เพิ่มเติมให้ กทท. สามารถกระทำการอย่างอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการรองรับการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ กทท. ที่อาจมีเพิ่มเติมได้ในอนาคต (เดิม ไม่ได้กำหนด)

5. แก้ไขเพิ่มเติมให้การกำหนดเงินสำรอง สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในการดำเนินการ และให้การจะนำเงินสำรองดังกล่าวออกมาใช้ได้ก็แต่โดยมติของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 10) (เป็นการกำหนดเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักการบัญชี และตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2548 ในการตั้งสำรองและเงินสำรองที่สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย เพื่อให้สามารถดำเนินการได้โดยคณะกรรมการการท่าเรือฯ เช่น เงินสำรองเพื่อขยายงานและลงทุน)

6. คณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ร่างมาตรา 12-มาตรา 15)

1) ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า ?คณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย? ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 6 คนแต่ไม่เกิน 9 คน ให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น (เดิม คุณสมบัติของคณะกรรมอย่างน้อยจะต้องเป็นผู้มีความรู้และจัดเจนเกี่ยวกับการท่าเรือ 1 คน และเกี่ยวกับการเศรษฐกิจหรือการคลัง 1 คน)

2) แก้ไขเพิ่มเติมให้ประธานกรรมการและกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการคลัง การบริหาร วิศวกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกฎหมายด้วย ตามแนวทางของกระทรวงการคลัง (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) (เดิม ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการท่าเรือ การขนส่ง การเดินเรือ พาณิชยกรรม การเศรษฐกิจ หรือการเงิน)

3) แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการและกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามแนวทางของรัฐวิสาหกิจอื่น โดยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจแล้ว ยังต้องไม่เป็นหนักงานหรือถูกจ้างของ กทท. ตัวย

7) ปรับปรุงระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี (เดิมกำหนดไว้ 4 ปี)

                    7. แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับ                     การบริหารงานบุคคล และออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์หรือการสงเคราะห์อื่น เพื่อสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างของการท่าเรือแห่งประเทศ (ร่างมาตรา 17) (เดิม ไม่ได้กำหนด)

8. ผู้ว่าการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ร่างมาตรา 19-มาตรา 20)

1) กำหนดให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ว่าการ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และให้ผู้ว่าการได้รับเงินและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (เดิม ไม่ได้กำหนด)

2) กำหนดให้ผู้ว่าการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละไม่เกิน 4 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน (เดิม ไม่ได้กำหนด)

3)กำหนดให้เมื่อผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงและยังมิได้แต่งตั้งผู้ว่าการ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานในระดับรองผู้ว่าการคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนผู้ว่าการโดยในระหว่างที่คณะกรรมการยังไม่ได้แต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทน ให้รองผู้ว่าการการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่มีอาวุโสสูงสุดตามลำดับเป็นผู้รักษาการแทนผู้ว่าการไปพลางก่อน (เดิม ไม่ได้กำหนด)

4) แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ว่าการมีอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยแก่พนักงานและลูกจ้างของ กทท. เว้นแต่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน (ร่างมาตรา 23) (เดิม เป็นอำนาจของคณะกรรมการ)

9. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินกิจการที่ กทท. จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน ในกรณีดังต่อไปนี้ (ร่างมาตรา 26) เช่น

1) การกู้หรือยืมเงินเป็นจำนวนเกินคราวละ 100 ล้านบาท

2) การออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใด

3) การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ราคาเกิน 10 ล้านบาท

4) การเช่าหรือให้สิทธิใด ๆ ไม่อสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสัญญาเกิน 1,000 ล้านบาท หรือที่มีกำหนดเวลาการให้เช่าหรือให้สิทธิใด ๆ เกิน 10 ปีและมีมูลค่าสัญญาเกิน 300 ล้านบาท เว้นแต่การให้เช่าหรือให้สิทธินั้นเป็นการให้แก่หน่วยงานของรัฐ

10. กำหนดบทเฉพาะกาล เช่น ให้กฎหมายเดิมยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม จนกว่าจะมีกฎที่ออกตามกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใช้บังคับ (ร่างมาตรา 33) และให้คณะกรรมการ กทท. ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ กทท. ตามกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ กทท. ตามกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 34)

คค. ได้เสนอแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาด้วยแล้ว จำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างข้อบังคับ จำนวน 3 ฉบับ และร่างระเบียบ จำนวน 3 ฉบับ

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
                              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต                (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เป็นหลักการกำหนดราคาคาร์บอนในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันโดยรวมไว้ในอัตราภาษีสรรพสามิตในปัจจุบัน (เฉพาะน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกัน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น น้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอล.พี.จี.) ก๊าซโพรเพรน และก๊าซที่คล้ายกัน น้ำมันเตาและน้ำมันที่คล้ายกัน) ซึ่งยังคงอัตราภาษีสรรพสามิตตามที่กำหนดไว้ตามเดิม ทั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนในสังคมมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เป็นหลักการกำหนดราคาคาร์บอนในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันโดยรวมไว้ในอัตราภาษีสรรพสามิตในปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

2.1 กำหนดกลไกราคาคาร์บอนในโครงสร้างภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าในตอนที่ 1 สินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) ของสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเฉพาะประเภทดังต่อไปนี้

(1) ประเภทที่ 01.01 น้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกันซึ่งรวมถึงแก๊สโซฮอลล์ประเภทต่าง ๆ เช่น แก๊สโซฮอลล์ E10 แก๊สโซฮอลล์ E20 และแก๊สโซฮอลล์ E85

(2) ประเภทที่ 01.03 น้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกัน

(3) ประเภทที่ 01.04 น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น

(4) ประเภทที่ 01.05 น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลและน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน ซึ่งรวมถึงน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลผลสมอยู่ประเภทต่าง ๆ เช่น น้ำมันดีเซล B5 น้ำมันดีเซล B7 และน้ำมันดีเซล B10 เป็นต้น

(5) ประเภทที่ 01.07 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอล.พี.จี.) ก๊าซโพรเพรน และก๊าซที่คล้ายกัน

(6) ประเภทที่ 01.12 น้ำมันเตาและน้ำมันที่คล้ายกัน

2.2 กำหนดให้การกำหนดคาร์บอนของสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งเบื้องต้นจะมีการกำหนดราคาคาร์บอนที่ 200 บาท ต่อตันคาร์บอนเทียบเท่า เพื่อให้ประชาชนและภาคอุตสาหกรรมได้เริ่มตระหนักถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพื่อให้เป็นการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการเกี่ยวกับการใช้กลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยที่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมและค่าครองชีพของประชาชน (ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกของน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน)

ตารางแสดงอัตราภาษีสรรพสามิตปัจจุบันกับอัตราภาษีสรรพสามิตที่รวมกลไกราคาคาร์บอน

สินค้า          อัตราภาษีสรรพสามิตปัจจุบัน (บาท/ลิตร)
อัตราภาษีสรรพสามิตที่รวมกลไกราคาคาร์บอน
(บาท/ลิตร)
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว          6.500          6.500 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.447 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ E10          5.850          5.850 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.403 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ E20          5.200          5.200 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.358 บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ E85          0.975          0.975 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.069 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซล          6.440          6.440 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.548 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซล B4          6.440          6.440 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.537 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซล B7          5.990          5.990 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.518 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซล B9           5.930          5.930 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.504 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซล B10          5.800          5.800 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.485 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซล B19          5.480          5.480 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.458 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซล B20          5.153          5.153 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.431 บาท/ลิตร
น้ำมันปิโตรเลียมเหลว (L.P.G.)          2.170          2.170 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.623 บาท/ลิตร
น้ำมันเตา          0.640          0.640 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.618 บาท/ลิตร
น้ำมันก๊าด          4.726          4.726 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.498 บาท/ลิตร
น้ำมันเครื่องบินไอพ่น          4.726          4.726 โดยรวมกลไกราคาคาร์บอน 0.498 บาท/ลิตร

3. กค. แจ้งว่าร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จะไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐที่จะต้องดำเนินการตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เนื่องจากกำหนดกลไกราคาคาร์บอนในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตรตามร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการสร้างการตระหนัก (Awareness) ต่อสาธารณะเท่านั้น อีกทั้งยังไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกของน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันแต่อย่างใด

4. ในการนี้ กค. ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

                                        1) หลักการของร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้มีกลไกราคาคาร์บอนของสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันภายใต้พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกลไกราคาคาร์บอนตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด เมื่อคำนวณแล้วจะไม่สามารถเกินกว่าอัตราภาษีสรรพสามิตตามที่กระทรวงกำหนดไว้ได้ โดยเบื้องต้นจะมีการกำหนดคาร์บอนที่ 200 บาทต่อตันคาร์บอนเทียบเท่า และกลไกราคาคาร์บอนที่คำนวณจากราคาคาร์บอนดังกล่าวจะเป็นเพียงการแสดงค่าไว้เป็นส่วนหนึ่งในอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการเกี่ยวกับการใช้กลไกคาร์บอนภาคบังคับกับภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมและ               ค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบันแต่อย่างใด

2) กรณีในอนาคตหากจะมีการปรับราคาคาร์บอนให้เกินกว่า 200 บาทต่อตันคาร์บอนเทียบเท่าอันจะส่งผลต่ออัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จะต้องมีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติหลักการแก้ไขอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันตามกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมายปกติในปัจจุบัน

3) การเสนอหลักการของการกำหนดกลไกราคาคาร์บอนในอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้กับภาคประชาชนและภาคอุตสาหกรรมก่อนที่ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... จะมีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ดี การพิจารณาปรับราคาคาร์บอนดังกล่าวในอนาคต กค. จะพิจารณาให้สอดคล้องตามราคาคาร์บอนของประเทศไทย ซึ่งจะมีการหารือร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เป็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน

5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะเก็บจากผู้เชี่ยวชาญองค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการหรือการตรวจสอบเครื่องสำอาง พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศ รวม 2 ฉบับ ดังนี้

1. ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือ องค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการหรือการตรวจสอบเครื่องสำอาง พ.ศ. ....

2. ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นขอในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างประกาศ รวม 2 ฉบับ

1. ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือ องค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการหรือการตรวจสอบเครื่องสำอาง พ.ศ. .... และ

                    2. ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นขอในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง พ.ศ. .... ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอเป็นการกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการการวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการหรือการตรวจสอบเครื่องสำอาง และกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง เช่น การประเมินเอกสารทางวิชาการ และการตรวจสถานประกอบการ เพื่อให้กระบวนการพิจารณาเครื่องสำอางเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง (ฉบับที่ 2)                   พ.ศ. 2565 ซึ่งบัญญัติให้มีการออกประกาศฉบับใหม่แทนประกาศเดิมที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 77/2559 เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพฯ โดยที่อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดและอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดยังคงเป็นอัตราเดิมตามประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวคณะรักษาความสงบแห่งชาติกล่าว และได้กำหนดให้อาจมีการพิจารณาทบทวนอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดและอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดทุก 5 ปี หรือเมื่อมีเหตุจำเป็น ทั้งนี้ อัตราตามที่กำหนดไว้ในร่างประกาศทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวเป็นการกำหนดอัตราเพดานสูงสุดเท่านั้น ซึ่งอัตราค่าขึ้นบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายที่จัดเก็บจริงจะมีการออกประกาศเพื่อกำหนดอัตราที่จะจัดเก็บอีกครั้งหนึ่งภายหลัง โดยเป็นอัตราที่ไม่เกินตามที่กำหนดไว้ร่างประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการเครื่องสำอางได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้วและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น กระทรวงสาธารณสุขควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง และในการกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดและอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดควรถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                     14 ธันวาคม 2564 (เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ) เป็นต้น

6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการ
คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างประกาศฉบับนี้เป็นการยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอ เมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2561 ที่จะสิ้นสุดระยะเวลาการใช้บังคับในวันที่ 29 มิถุนายน 2568 และปรับปรุงเป็นฉบับใหม่ ซึ่งมีสาระสำคัญที่แตกต่างจากประกาศปี 2561 สรุปได้ ดังนี้

ประกาศ ทส. พ.ศ. 2561          ร่างประกาศ ทส. ที่ สคก. ตรวจพิจารณา
1. คำนิยาม
? กำหนดนิยามคำว่า ?แนวชายฝั่งทะเล?          ? นิยามคงเดิม และเพิ่มนิยามคำว่า ?พื้นที่น้ำซึมผ่านได้? เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้างดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ให้เป็นโรงงานพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ทุกประเภทในประกาศนี้
2. พื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
? กำหนดพื้นที่เขตอนุรักษ์และเขตควบคุมมลพิษของจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยจำแนกพื้นที่ดังกล่าวออกเป็น 8 บริเวณ ได้แก่
  • บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่ตำบลบางตะบูน และตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ 7
  • บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางขุนไทร ตำบลปากทะเล ตำบลบางแก้วและตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ 7
  • บริเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่ตำบลหาดเจ้าสำราญ
และตำบลหนองขนาน อำเภอเมืองเพชรบุรี
ตำบลปีกเตียน อำเภอท่ายาง ตำบลหนองศาลา และตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ 7
  • บริเวณที่ 4 ได้แก่ พื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และพื้นที่เทศบาลเมือง หัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ 8
  • บริเวณที่ 5 ได้แก่ พื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ
อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เว้นแต่พื้นที่
บริเวณที่ 7 และบริเวณที่ 8
  • บริเวณที่ 6 ได้แก่ พื้นที่ภายในบริเวณตามข้อ 3 (1) และ (2) เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ 7
  • บริเวณที่ 7 ได้แก่ พื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งไม่รวมป่าชายเลน ในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์
  • บริเวณที่ 8 ได้แก่ พื้นที่ป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ซึ่งไม่รวมแม่น้ำ ลำคลอง ถนน พื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์หรือพื้นที่ที่ไม่อยู่ในความครอบครองของราชการ และพื้นที่บริเวณที่ 7

? กำหนดพื้นที่เขตอนุรักษ์และเขตควบคุมมลพิษ ของจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยจำแนกพื้นที่ดังกล่าว ออกเป็น 6 บริเวณ ได้แก่

  • บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่ตำบลบางตะบูน และตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
  • บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางขุนไทร ตำบลปากทะเล ตำบลบางแก้ว และตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
  • บริเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่ตำบลหาดเจ้าสำราญ
และตำบลหนองขนาน อำเภอเมืองเพชรบุรี               ตำบลปึกเตียน อำเภอท่ายาง ตำบลหนองศาลา
และตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

          - บริเวณที่ 4 ได้แก่ พื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และพื้นที่เทศบาลเมือง          หัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • บริเวณที่ 5 ได้แก่ พื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ

อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

  • บริเวณที่ 6 ได้แก่ พื้นที่ภายในบริเวณตามข้อ 3 (1)
ทั้งนี้ ได้ตัดบริเวณที่ ๗ พื้นที่ป่าชายเลน และบริเวณที่ ๘
พื้นที่ป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ตามประกาศเดิมออก
เนื่องจากยังมีปัญหาในการกำหนดพื้นที่ป่าชายเลนและป่าไม้ ซึ่งยังไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม
เพื่อให้เป็นการคุ้มครองพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนและป่าไม้
จึงได้กำหนดเป็นมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแทน
โดยห้ามกระทำการใด ๆ ที่เป็นการเปลี่ยนสภาพธรรมชาติของพื้นที่ป่าชายเลนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรือการก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าหรือทำด้วยประการใด ๆ ให้ป่าเสื่อมสภาพหรือเสียหายตามร่างข้อ 11 (9)
และ (10)
3. มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

3.1 ห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้

อาคารเป็นโรงงานทุกประเภทหรือทุกชนิดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานบางประเภท เช่น (1) โรงงานประเภทที่ 1 ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานในพื้นที่บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 3 และบริเวณที่ 4(2) โรงานจำพวกที่ 2 หรือจำพวกที่ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประเภทชนิดในพื้นที่บริเวณที่ 4          ? ตัดเรื่องการห้ามก่อสร้างโรงงาน และข้อยกเว้นออก
เนื่องจากมีกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และมีบัญชี
โรงงานกำหนดไว้แล้ว ประกอบกับกฎหมายว่าด้วย
การควบคุมอาคารได้กำหนดห้ามมิให้มีโรงงานในพื้นที่
เทศบาลเมืองหัวหินและเทศบาลเมืองชะอำไว้แล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกัน จึงได้กำหนดไว้เป็น
มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแทน โดยกำหนดให้
การก่อสร้างโรงงานตามกฎหมายโรงงานต้องจัดให้มี
(1) เครื่องจักรหรืออุปกรณ์เพื่อควบคุมมลพิษ และ (2) ที่ว่างน้ำซึมผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่าง
ตามกฎหมายควบคุมอาคารหรือกฎหมายผังเมือง
และมีพื้นที่สีเขียวซึ่งมีไม้ยืนต้นเป็นองค์ประกอบหลัก
          3.2  ห้ามก่อสร้างอาคารเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด     ฌาปนสถาน และสุสาน          ? ตัดข้อห้ามการก่อสร้างณาปนสถานและสุสานออก
เนื่องจากมีกฎหมายที่ใช้บังคับกับกรณีดังกล่าวอยู่แล้ว ได้แก่ กฎกระทรวง (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
ซึ่งสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตั้งสุสานและฌาปนสถาน และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เตาเผาศพเป็นแหล่งมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม             พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นมาตรการที่มีความเข้มมากกว่าที่ประกาศกำหนด

3.3 หลักเกณฑ์การวัดความสูงของอาคาร กำหนดให้การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับ เช่น พื้นดินที่ก่อสร้าง พื้นดินที่ก่อสร้าง ณ จุดที่ต่ำที่สุด ของอาคารหลังนั้น ขึ้นไปในแนวดิ่งถึงส่วนที่สูงสุด ของอาคาร สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดถึง

ยอดผนังของชั้นสูงสุด          ? เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การวัดความสูงของอาคารในบริเวณที่มีกฎหมายกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยให้วัดจากระดับพื้นดินที่ห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ ถึงส่วนที่สูงที่สุดของอาคาร เพื่อให้สอดคล้องกฎกระทรวง ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (พื้นที่เทศบาลเมืองหัวหิน)
          3.4 การก่อสร้าง ดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวม และอาคารชุด ที่มีห้องพักตั้งแต่ 10 ถึง 29 ห้อง ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดท้ายประกาศ          ? ปรับปรุงจำนวนห้องพักที่ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดท้ายประกาศตั้งแต่ 10 ถึง 49 ห้อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ที่มีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
          3.5 ก่อนการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารหรือดำเนินโครงการหรือประกอบกิจการกรณีที่โรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด ที่มีห้องพักจำนวนต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตั้งแต่ 30 ห้อง ถึง 79 ห้องหรือพื้นที่ใช้สอยของทุกอาคารรวมกันตั้งแต่ 1,500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 4,000 ตารางเมตร รวมทั้งต้องทำจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมกรณีที่อยู่ห่างแนวชายฝั่งไม่เกิน 50 เมตร หรือตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป          ? ปรับเพิ่มขนาดและจำนวนห้องพักของโรงแรมก่อนดำเนินโครงการหรือประกอบกิจการกรณีที่โรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวมและอาคารชุดที่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตั้งแต่ 50 ห้องถึง 79 ห้อง หรือพื้นที่ใช้สอยของทุกอาคารรวมกันตั้งแต่ 2,500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 4,000 ตารางเมตร รวมทั้งต้องทำจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมกรณีที่อยู่ห่างแนวชายฝั่งไม่เกิน 50 เมตรหรือตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยของทุกอาคารรวมกันตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป
4. กลไกการจัดการ การกำกับดูแล และติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

4.1 หน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลฯ จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งดูแล ติดตามตรวจสอบการบังคับใช้มาตรการสิ่งแวดล้อม และจัดทำรายงานผลการดำเนินการส่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

? ตัดเรื่องการแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่ คณะกรรมการ กำกับดูแลฯ จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ออกโดยกำหนดให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทำหน้าที่ในการดูแล ติดตาม ตรวจสอบการบังคับใช้มาตรการสิ่งแวดล้อม และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม

อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากร            ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลฯ มิใช่เป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และไม่สอดคล้องกับ
มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560

5.2 ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติของพื้นที่หาด เว้นแต่การดำเนินการต่าง ๆ ของส่วนราชการ เช่น การฟื้นฟูและรักษาสภาพตามธรรมชาติของหาด การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง การรักษาความปลอดภัยทางทะเลและชายหาด จะต้องได้รับความเห็นจากคณะกรรมการ

กำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเพื่อไปประกอบการขออนุญาตให้ดำเนินการนั้นด้วย          ? แก้ไขให้การดำเนินการต่าง ๆ ต้องได้รับความเห็นจากจังหวัดก่อน เนื่องจากการกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลฯ มิใช่การกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ และ               ไม่สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ จึงได้ใช้กลไกของจังหวัดในการพิจารณาโครงการที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่แทน

7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองปลาไหล ตำบลหนองปรือ และตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองปลาไหล ตำบลหนองปรือ และตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของเรื่อง

ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองปลาไหล ตำบลหนองปรือ และตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอเป็น การกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลหนองปลาไหล ตำบลหนองปรือ และตำบลห้วยใหญ่ อำเภอ บางละมุง จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างทางหลวงชนบท ถนนสาย ง 1 ตามโครงการผังเมืองรวมเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี สำหรับการรองรับการขยายตัวของเมืองพัทยา โดยลักษณะของโครงการก่อสร้างถนนใหม่ขนาด 4-6 ช่องจราจร ชนิดผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีต เกาะกลางกว้าง 1.60 ? 3.00 เมตร ช่องจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ทางเท้ากว้างข้างละ 3.70 ? 4.00 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร เขตทางกว้าง 30.00 เมตร มีระยะทางประมาณ 17.667 กิโลเมตร มีพื้นที่ที่ถูกเวนคืนประมาณ 421 ไร่ มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนประมาณ 365 รายการ มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ผลการรับฟังความคิดเห็นโดยรวมต่อโครงการมีประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ คิดเป็นร้อยละ 83.3

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญ

                    ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ที่กระทรวงกลาโหมเสนอ มีสาระสำคัญ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 โดยแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการเพื่อกำหนดเพิ่มลักษณะอาการของโรคจำนวน 3 กลุ่มโรค ได้แก่ 1) กลุ่มโรคตุ่มน้ำพอง ๒) โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด และ 3) โรคของเอนไซม์บนเม็ดเลือดแดง ผิดปกติชนิด G-6-PD (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase) ที่ทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ในร่างกายของทหารกองเกินที่จะเข้ารับการตรวจเลือกทหารเข้ากองประจำการ โดยกำหนดให้เป็นคนจำพวกที่ 2 เพื่อให้คณะกรรมการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองเกินประจำสามารถตรวจวินิจฉัย และกำหนดคนเป็นจำพวกได้ถูกต้องตามที่หลักเกณฑ์กำหนด โดยมีกฎหมายรองรับและกองทัพได้กำลังพลที่สมบูรณ์แข็งแรงเข้าไปปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคง (ปัจจุบัน 3 กลุ่มโรคนี้ ได้แก่ 1) กลุ่มโรคตุ่มน้ำพอง 2) โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด และ 3) โรคของเอนไซม์บนเม็ดเลือดแดงผิดปกติชนิด             G-6-PD) ยังไม่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497  แต่พบว่าปรากฏตามร่างกายหรือภายในร่างกายของบุคคลที่เป็นโรค และยังคงแสดงอาการของโรคทางร่างกาย เห็นได้ชัดว่า ไม่สมบูรณ์ดีเหมือน คนจำพวกที่ 1 แต่ไม่ถึงกับทุพพลภาพ ซึ่งเป็นลักษณะอาการโรคของคนจำพวกที่ 2 แต่ปัจจุบันกำหนดให้เป็นคนจำพวกที่ 1 ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบหลักการของร่างกฎกระทรวงนี้แล้ว

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  (กำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์โบราณ (Classic Cars))

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดขนาด ลักษณะ และสี ของแผ่นป้ายทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปประกอบการพิจารณาด้วย รวมทั้งให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 (เรื่อง มาตรการส่งเสริมงานศิลปะ และรถยนต์โบราณ (Classic Cars)) โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

คค. เสนอว่า

1.โดยรัฐบาลได้มีนโยบายการสร้างพลังสร้างพลังสร้างสรรค์ (Soft Power) และมาตรการส่งเสริมงานศิลปะทั้งด้านจิตรกรรมและประติมากรรม และรถยนต์โบราณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคการท่องเที่ยวส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ

2. ปัจจุบันกฎกระทรวงกำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถและการแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2554 มิได้กำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์โบราณ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการควบคุมกำกับดูแลการจดทะเบียนรถยนต์โบราณ (Classic Cars) และส่งผลกระทบต่อมาตรการส่งเสริมงานศิลปะทั้งด้านจิตรกรรมและประติมากรรม และรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ไม่เป็นไปตามกรอบนโยบายของรัฐบาล คค. (กรมการขนส่งทางบก) จึงได้จัดทำร่างกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถฯ พ.ศ. 2554 โดยกำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์โบราณ เพื่อให้การควบคุมกำกับดูแล การจดทะเบียนรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการสร้างพลังสร้างสรรค์ (Soft Power) และมาตรการส่งเสริมงานศิลปะทั้งด้านจิตรกรรมและประติมากรรม และรถยนต์โบราณ (Classic Cars) รวมทั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคการท่องเที่ยว ส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

2.1 เพิ่มบทนิยามคำว่า ?รถยนต์โบราณ (Classic Cars)? หมายความว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่ได้นำเข้าแบบสำเร็จรูปทั้งคัน (CBU) จากต่างประเทศ โดยไม่รวมถึงการนำเข้าจากเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร โดยต้องมีรายละเอียดอัตลักษณ์ครบถ้วน สามารถขับเคลื่อนได้ และต้องมีอายุตั้งแต่สามสิบปีขึ้นไป โดยนับตามปีที่ผลิต (Production Year) ที่นำเข้ามาตามบัญชี รายชื่อยี่ห้อ แบบและรุ่นที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนด

                              2.2 กำหนดขนาดและลักษณะของแผ่นป้ายทะเบียนของรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ให้มีขนาดและลักษณะเช่นเดียวกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล เว้นแต่บรรทัดที่หนึ่งประกอบด้วยตัวอักษร ประจำหมวดหนึ่งตัว และหมายเลขทะเบียนไม่เกิน               สี่หลัก

2.3 กำหนดสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์โบราณ (Classic Cars) โดยกำหนดให้พื้นแผ่นป้ายใช้สีดำสะท้อนแสง และตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรแสดงชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่จดทะเบียน และขอบแผ่นป้ายใช้สีขาว

3. กรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเรียบร้อยแล้ว โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐ เนื่องจากขนาด ลักษณะและตัวอักษรของแผ่นป้ายทะเบียนรถดังกล่าวเท่ากับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จึงไม่ต้องทำแบบแม่พิมพ์ใหม่ และจะทำให้กรมการขนส่งทางบกสามารถควบคุมกำกับดูแลการจดทะเบียนและจัดเก็บภาษีประจำปีของรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ได้

10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศสำหรับห้องด้านประสิทธิภาพพลังงานต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง ด้านประสิทธิภาพพลังงาน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญ

ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง ด้านประสิทธิภาพพลังงาน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง ด้านประสิทธิภาพพลังงานตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2134 - 2553 โดยยกเลิกมาตรฐานเดิมและกำหนดมาตรฐานใหม่ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2134-2565 เนื่องจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง : ประสิทธิภาพพลังงานตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2134-2553 ที่บังคับใช้อยู่ปัจจุบัน ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในเอกสารที่ใช้อ้างอิงสำหรับการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง จึงจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานอ้างอิงใหม่ (มาตรฐาน ISO) โดยแก้ไขเกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำ วิธีการทดสอบ และวิธีการคำนวณให้เป็นไปตามหลักสากล ซึ่งมีการรับมาตรฐาน ISO มาใช้ในระดับเหมือนกันทุกประการ เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการ รองรับการพัฒนาเทคโนโลยีการทำและการใช้งานภายในประเทศอย่างทั่วถึง และสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานระหว่างประเทศในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่มีคุณภาพ และลดพลังงานการใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ ผู้ทำหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง ด้านประสิทธิภาพพลังงาน จะต้องขอรับใบอนุญาตทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง ด้านประสิทธิภาพพลังงาน จะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาตและเป็นไปตามมาตรฐาน โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 365 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

11. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้น้ำร้อนน้ำเย็นบริโภคและตู้น้ำเย็นบริโภคเฉพาะด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำร้อนน้ำเย็นบริโภคและตู้น้ำเย็นบริโภคเฉพาะด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญ

ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้น้ำร้อนน้ำเย็นบริโภคและตู้น้ำเย็นบริโภคเฉพาะด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้น้ำเย็นบริโภค เฉพาะด้านความปลอดภัยมาตรฐานเลขที่ มอก. 2461 - 2552 โดยเป็นการยกเลิกมาตรฐานเดิมและกำหนดมาตรฐานใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2461 - 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ เนื่องจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตู้น้ำร้อนน้ำเย็นบริโภคและตู้น้ำเย็นบริโภค เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับทำน้ำร้อนและน้ำเย็นเพื่อใช้บริโภคสำหรับประชาชนทั่วไป ประกอบกับปัจจุบันมีการใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้น้ำร้อนน้ำเย็นบริโภคและ ตู้น้ำเย็นบริโภคอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการทำและนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทั้งนี้ ผู้ทำหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้น้ำร้อนน้ำเย็น บริโภคและตู้น้ำเย็นบริโภค จะต้องขอรับใบอนุญาตทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้น้ำร้อนน้ำเย็นบริโภคและตู้น้ำเย็นบริโภค จะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาตและเป็นไปตามมาตรฐาน โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

12. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลกเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา พ.ศ. ?.

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศดังกล่าวตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอและให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

                    สาระสำคัญ                                                                                                                             ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลกเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงการค้าเสรีระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา พ.ศ. .... เป็นการดำเนินการตามความตกลงการค้าเสรีระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (Sri Lanka - Thailand FTA : SLTFTA) ที่ประเทศไทย มีพันธกรณีต้องลดหรือยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับสินค้ามะพร้าวฝอยและสินค้าชาที่มีถิ่นกำเนิด และส่งตรงมาจากสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาภายใต้ความตกลง SLTFTA โดยความตกลงดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ 30 วันหลังจากไทยและศรีลังกาได้แจ้งว่าดำเนินการออกกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการลดหรือยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับสินค้าตามความตกลงทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

1. กำหนดให้สินค้ามะพร้าวฝอย (พิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 0801.11.00) และสินค้าชา (พิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 0902.10.10, 0902.10.90, 0902.20.10, 0902.20.90, 0902.30.10, 0902.30.90, 09.02.40.10 และ 0902.40.90) ที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาภายใต้ความตกลง SLTFTA เป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรนำเข้า และได้รับยกเว้นจากการเป็น สินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร

2. กำหนดให้สินค้าที่นำเข้าตามข้อ 1. จะต้องมีหนังสือ รับรองดังต่อไปนี้ (1) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form SLT) ที่ออกโดยกรมพาณิชย์ หรือ หน่วยงานที่มีอำนาจออกหนังสือรับรองดังกล่าวของสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา และ (2) หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศหรือหน่วยงานของรัฐที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมาย แสดงต่อกรมศุลกากรเพื่อประกอบการใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้า (ต้องมีหนังสือรับรอง 2 ฉบับนี้ เพื่อประกอบการใช้สิทธิขอยกเว้นอากรนำเข้า) เว้นแต่ สินค้าดังกล่าวที่มีมูลค่าตามราคา เอฟ โอ บี (ราคาสินค้าที่ออกจากโรงงานของผู้ขาย รวมค่าขนส่งสินค้าจนถึงท่าเรือ ต้นทาง รวมถึงค่าพิธีการในการส่งออกด้วย) ไม่เกิน 200 ดอลลาร์สหรัฐ ไม่ต้องแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าต่อกรมศุลกากร

3. กำหนดให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการขอและออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศหรือหน่วยงานของรัฐ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายตามข้อ 2 (ประกาศฉบับนี้จะต้องออกหลังจาก ร่างประกาศฯ ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอมีผลใช้บังคับแล้ว)

13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 จำนวน 4 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 รวมจำนวน 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ดังนี้ (1) ร่างกฎกระทรวงสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. .... (2) ร่างกฎกระทรวงการสำรวจตัวอย่างยอดขายรายไตรมาส พ.ศ. .... (3) ร่างกฎทรวงการสำรวจตัวอย่างการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. .... และ (4) ร่างกฎกระทรวงการสำรวจตัวอย่างการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ปัจจุบันมีกฎกระทรวงที่กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดทำสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม สำรวจยอดขายรายไตรมาส สำรวจตัวอย่างการมีและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนและในสถานประกอบการ รวม 4 ฉบับ ซึ่งมีระยะเวลาการใช้บังคับ 10 ปี (กำหนดไว้ในมาตรา 2 ของกฎกระทรวงแต่ละฉบับ โดยเริ่มใช้บังคับ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2558 และจะครบกำหนดภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2568) ดังนั้น เพื่อให้การสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและขนาดของสถานประกอบการ ประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าขายหรือรายรับจากการจำหน่ายสินค้าและบริการประเภทต่าง ๆ ข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานประกอบการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชนนำข้อมูลไปใช้ในการวางนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และธุรกิจของประเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎกระทรวงจำนวน 4 ฉบับ เพื่อมาใช้บังคับแทนกฎกระทรวงเดิม ได้แก่ 1) ร่างกฎกระทรวงสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. .... 2) ร่างกฎกระทรวงการสำรวจตัวอย่างยอดขายรายไตรมาส พ.ศ. .... 3) การสำรวจตัวอย่างการมีและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน และ 4) ร่างกฎกระทรวงการสำรวจตัวอย่างการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ พ.ศ.... โดยกำหนดให้มีผลใช้บังคับ 10 ปี ซึ่งมีสาระสำคัญและประโยชน์ที่จะได้รับสรุปได้ ดังนี้

เรื่อง          สาระสำคัญ          ประโยชน์ที่จะได้รับ
1.ร่างกฎกระทรวง
สำมะโนธุรกิจและ
อุตสาหกรรม
พ.ศ. ?.          ?          ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำสำมะโน
ธุรกิจและอุตสาหกรรมในทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
เกี่ยวกับจำนวนและขนาดของสถานประกอบการ ประเภทธุรกิจและ
อุตสาหกรรม ลักษณะเชิงเศรษฐกิจและ
สังคมของสถานประกอบการ จำนวน
คนทำงานและค่าตอบแทน ผลผลิต รายรับ ค่าใช้จ่ายของสถานประกอบการ มูลค่าของ สินทรัพย์ถาวรของสถานประกอบการ และ ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อนำมาประมวลผลเป็น ข้อมูลสถิติเป็นรายสาขาธุรกิจและอุตสาหกรรม และเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับภาครัฐและภาคเอกชนนำไปใช้ในการวางนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและธุรกิจของประเทศ          ?          ภาครัฐสามารถใช้วางแผนและกำหนด นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตทั้งใน
ระดับประเทศและระดับท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก
?          สำหรับภาคเอกชนประกอบการสามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลการดำเนินกิจการเป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งการวางแผนตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนขยายกิจการ/สาขา บริหารและควบคุมการดำเนินกิจการในด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ร่างกฎกระทรวง
การสำรวจตัวอย่าง
ยอดขายราย
ไตรมาส พ.ศ. ?.          ?          ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจ ตัวอย่างยอดขายรายไตรมาสในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าขายหรือรายรับจากการจำหน่ายปลีกสินค้าและบริการประเภทต่าง ๆ และมูลค่าสินค้าคงเหลือของสถานประกอบการ รวมถึงศึกษาแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของยอดขายหรือรายรับ และสินค้าคงเหลือของสถานประกอบการเป็นรายไตรมาส เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางนโยบายและแผนด้านเศรษฐกิจของประเทศ          ?          ใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำบัญชีประชาชาติรายไตรมาส ในส่วนของการประมาณการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
?          ใช้ศึกษาแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศ
?          เจ้าของหรือผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจการ
3.ร่างกฎกระทรวง
การสำรวจตัวอย่าง
การมีการใช้
เทคโนโลยี
สารสนเทศและการ
สื่อสารในครัวเรือน
พ.ศ. ?.          ?          ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจตัวอย่างการมีการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนที่ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้และมีโทรศัพท์มือถือ
รวมทั้งจำนวนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์
มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและ
วางแผนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ          ?          ทำให้ทราบถึงความก้าวหน้าในการมีการใช้เทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือของประชาชน รวมถึงทราบถึงความก้าวหน้าในการมีเทคโนโลยีทางด้าน อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ของครัวเรือน
?          ข้อมูลที่ได้นำไปใช้จัดทำดัชนีชี้วัดด้านไอซีทีเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ
?          ข้อมูลที่ได้นำไปใช้ในการกำหนดนโยบายวางแผนพัฒนาให้กับประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี
4.ร่าง
กฎกระทรวงการสำรวจตัวอย่างการ
มีการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศและการ
สื่อสารในสถาน
ประกอบการ
พ.ศ. ....          ?          ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจ ตัวอย่างการมีการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการในทุกเขตท้องที่ทั่ว
ราชอาณาจักร เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารของสถานประกอบการ เช่น จำนวนการมีการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ การ
สั่งซื้อ/ขายสินค้าหรือบริการผ่าน
อินเทอร์เน็ตของสถานประกอบการเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการศึกษา วิเคราะห์จัดทำดัชนีชี้วัดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ          ?          ภาครัฐสามารถทราบสถานการณ์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการสำหรับนำไปกำหนดนโยบาย
วางแผนส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาบุคลากร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการ    ต่าง ๆ เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ของสถานประกอบการ
?          ในส่วนของผู้ประกอบการ ผลจากการส่งเสริมและพัฒนาของภาครัฐ ทำให้สถานประกอบการสามารถลงทุนด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการขยายกิจการให้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ของสถานประกอบการ


14. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง               แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับ เพศหรือที่ใช้ความรุนแรง                  พ.ศ. 2565)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎหมายลำดับ                                 รองตามมาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 21 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิด
ซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2568
                    สาระสำคัญ                                                                                                                1. โดยที่พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับหลังวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
มีผลใช้บังคับ (ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป) ปัจจุบัน ยธ. มีกฎหมายลำดับรองในระดับกฎกระทรวง ที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จและยังไม่ใช้จำนวน 1 ฉบับ กล่าวคือ ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด พ.ศ. .... ที่ออกตามความในมาตรา 19 วรรคสองและมาตรา 21 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการแก้ไขฟื้นฟูทางการแพทย์และมาตรการอื่น ๆ แก่ประชาชนซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด ในระหว่างรับโทษจำคุกเพื่อป้องกันมิให้กระทำผิดช้า โดยอาจเป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนที่จะต้องดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว นอกจากนี้ผลของการใช้มาตรการทางการแพทย์ยังมีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์แก่ประชาชนซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดในเรื่องการพิจารณา ลดโทษ พักการลงโทษ หรือให้ประโยชน์อื่นใดอีกด้วย   ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงร่างกฎหมาย ยธ. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2568

2. คณะกรรมการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำได้มีการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 พิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรการแก้ไขฟื้นฟู ผู้กระทำความผิด พ.ศ. .... ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกองพัฒนาพฤตินิสัยและกองบริการทางการแพทย์ ได้ดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด พ.ศ. ... ในส่วนของการใช้มาตรการทางการแพทย์และมาตรการอื่นใดที่รัฐมนตรีกำหนด และจัดส่งให้กรมราชทัณฑ์ดำเนินการรวบรวมตรวจสอบแล้ว

15. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงการคลังเสนอ มีสาระสำคัญเป็นแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยให้ยกเลิกศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพซึ่งเป็นเขตศุลกากรของสำนักงานศุลกากรกรุงเทพ (เดิมมีเขตศุลกากรกรุงเทพ 3 แห่ง คือ ศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ ศูนย์ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ และศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ โดยยุบรวมเหลือ 2 แห่ง คือ ศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ ศูนย์ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ) เนื่องจะย้ายการปฏิบัติงาน คัดแยกและส่งต่อพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศจากศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพไปยังศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดให้ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพเป็นเขตศุลกากรของสำนักงานศุลกากรกรุงเทพต่อไป และเพื่อแก้ไขที่ตั้งด่านศุลกากรสะเดาจาก ?ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา? เป็น ?ตั้งอยู่เลขที่ 198 หมู่ที่ 7 ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา? เนื่องจากสถานที่ตั้งเดิมคับแคบจึงได้ย้ายสถานที่ปฏิบัติราชการไปสถานที่แห่งใหม่ และได้เพิ่มเขตศุลกากรบริเวณที่ทำการส่วนบริการศุลกากร ด่านศุลกากรสะเดา หมู่ที่ 2 ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรและการตรวจของที่ขนส่งมาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

2. กค. ได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้

กฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากร
และด่านพรมแดน พ.ศ. 2560
และที่แก้ไขเพิ่มเติม          ร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

เหตุผลที่แก้ไข

ลำดับที่ 2

จังหวัด กรุงเทพมหานคร

ด่านศุลกากร

1. สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ ตั้งอยู่ที่ กรมศุลกากร เลขที่ 1 เขตคลองเตย

กรุงเทพมหานคร

ท่า ที่ สนามบิน

ที่ ศูนย์ไปรษณีย์

เขตศุลกากร
1. ศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ ตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ที่ 3 แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
2. ศูนย์ไปรษณีย์ด่วนพิเศษกรุงเทพ เลขที่ 111 หมู่ที่ 3 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
3. ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ เลขที่ 127
แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร          ลำดับที่ 2
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
ด่านศุลกากร
1. สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ
ตั้งอยู่ที่ กรมศุลกากร เลขที่ 1 เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร (คงเดิม)
ท่า ที่ สนามบิน
ที่ ศูนย์ไปรษณีย์ (คงเดิม)

เขตศุลกากร
1. ศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ ตั้งอยู่เลขที่ 111
หมู่ที่ 3 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร (คงเดิม)
2. ศูนย์ไปรษณีย์ด่วนพิเศษกรุงเทพ เลขที่ 111 หมู่ที่ 3 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร (คงเดิม)







ยกเลิกการกำหนดให้ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพเป็นเขตศุลกากรของสำนักงานกรุงเทพมหานคร เนื่องจากได้มีการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานคัดแยกและส่งต่อพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศไปยังศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดให้ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพเป็นเขตศุลกากรอีกต่อไป
ลำดับที่ 27
จังหวัด สงขลา
ด่านศุลกากร
5. ด่านศุลกากรสะเดา ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา
จังหวัดสงขลา
ท่า ที่ สนามบิน
ที่สะเดา
เขตศุลกากร
1. บริเวณด่านศุลกากรสะเดา
ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา


ด่านพรมแดนและเขตแดนทางบก
1. ด่านพรมแดนสะเดา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
เขตแดนทางบก
ราชอาณาจักรกับสหพันธรัฐมาเลเซีย          ลำดับที่ 27
จังหวัด สงขลา
ด่านศุลกากร
5. ด่านศุลกากรสะเดา ตั้งอยู่หมู่ที่ 189
ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา
จังหวัดสงขลา (แก้ไขที่ตั้ง)
ท่า ที่ สนามบิน
ที่สะเดา (คงเดิม)
เขตศุลกากร
1. บริเวณด่านศุลกากรสะเดา
ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
2. บริเวณที่ทำการส่วนบริการศุลกากร
ด่านศุลกากรสะเดา หมู่ที่ 2 ตำบล                    สำนักขาม
อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (เพิ่ม)
ด่านพรมแดนและเขตแดนทางบก
1. ด่านพรมแดนสะเดา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลสำนักขาม                       อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (คงเดิม)
เขตแดนทางบก
ราชอาณาจักรกับสหพันธรัฐมาเลเซีย                  (คงเดิม)          แก้ไขที่ตั้งด่านศุลกากรสะเดา เนื่องจากได้ย้ายสถานที่ปฏิบัติราชการไปอยู่ ณ ที่ทำการด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่




เพิ่มเติมให้บริเวณด่านศุลกากรสะเดา ด่านศุลกากรสะเดา เป็นเขตศุลกากรของด่านศุลกากรสะเดา เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร


16. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ - ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ - ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ - ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ - ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างประกาศ

                    มท. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐในปัจจุบันที่สนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) และเทคโนโลยีอาหาร (Food Tech) และเป็นการขยายกำลังการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จึงขอให้มีการแก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ - ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555 เฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ตามนโยบายของรัฐในปัจจุบันที่สนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร โดยร่างประกาศดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนไร่ใหม่ - ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555 เฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมบางส่วนให้เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า เพิ่มเติม              ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า และเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
กฎหมายเดิม          ร่างกฎหมายที่เสนอ
- ไม่มีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
































- บัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ชุมชนไร่ใหม่ - ไร่เก่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555 โรงงานลำดับที่ 64 ไม่ได้กำหนดให้ดำเนินการโรงงานจำพวกที่ 3 ได้
  • เพิ่มเติมที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
(สีม่วง) จำนวน 3 บริเวณ ในแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท
- เพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินของที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
ข้อ 9/1 ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้าให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรม คลังสินค้า สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธาณูปการเป็นส่วนใหญ่สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกิน ร้อยละสิบของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ

ที่ดินประเภทนี้ ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้

(1) โรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานลำดับที่ 2 (1) (2) (5) (8) (9) โรงงาน ลำดับที่ 4 (1) (2) (3) (6) (7) โรงงานลำดับที่ 6 (2) (3) (5) โรงงานลำดับที่ 8 (1) (2) โรงงานลำดับที่ 9 (1) (3) (4) (6) โรงงานลำดับที่ 10 (1) (2) (3) โรงงานลำดับที่ 11 (1) (7) โรงงานลำดับที่ 12 (7) (8) (10) โรงงานลำดับที่ 20 (1) (2) (4) โรงงานลำดับที่ 52 (1) (2) โรงงานลำดับที่ 64 (1) (12) (13) และโรงงานลำดับที่ 92

(2) เลี้ยงม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ งู จระเข้ หรือสัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เพื่อการค้า

(3) สุสานและฌาปนสถานตามกฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปณสถาน

(4) โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

(5) โรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

(6) จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม

(7) จัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย

(8) สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงเด็ก

(9) สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงคนชรา

(10) สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงคนพิการ - เพิ่มเติมโรงงานลำดับที่ 64 (1) การทำภาชนะบรรจุ (12) การตัด พับ หรือม้วนโลหะ และ (13) การกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ให้ดำเนินการเพิ่มเติมได้ในโรงงานจำพวกที่ 3 เฉพาะบริเวณหมายเลข 4.26

เศรษฐกิจ ? สังคม
17. เรื่อง ขออนุมัติกรอบวงเงินเพิ่มเติมสำหรับงานเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้

1. อนุมัติปรับกรอบวงเงินรวมของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ (โครงการฯ) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็น 29,763.57 ล้านบาท ดังนี้ หน่วย: ล้านบาท

รายการ          วงเงินโครงการฯ เดิม          วงเงินโครงการฯ ปัจจุบัน
(ข้อเสนอในครั้งนี้)          เพิ่มขึ้น/ลดลง
(1) ค่าเวนคืนที่ดิน          56.00          253.37          197.37
(2) ค่าจ้างที่ปรึกษาประกวดราคา          8.01          8.01          -
(3) ค่าจ้างที่ปรึกษาทบทวน จัดทำเอกสารประกวดราคาและดำเนินการประกวดราคาโดยวิธีการประกวดราคานานาชาติ
(International Bidding)          8.33          8.17          (0.16)
(4) ค่าก่อสร้าง          30,136.82          28,598.86          (1,537.96)
(5) ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงาน          862.80          862.50          (0.30)
(6) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับแบบรายละเอียด อำเภอสีคิ้วและตัวเมืองนครราชสีมา          57.26          32.66          (24.60)
รวมทั้งสิ้น          31,129.22          29,763.57          (1,365.65)

2. เห็นชอบให้ รฟท. ดำเนินการด้วยวิธีปรองดอง จำนวน 197.37 ล้านบาท ตามนัยมาตรา 39 (5) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 เพื่อใช้ในการจ่ายเงินค่าทดแทนพื้นที่เวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในโครงการฯ สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา - คลองขนานจิตร และสัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ ต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 อนุมัติในหลักการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ (โครงการฯ) ในกรอบวงเงิน 29,449.31 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ค่าเวนคืนที่ดิน วงเงิน 56 ล้านบาท (2) ค่าก่อสร้าง วงเงิน 28,598.86 ล้านบาท และ (3) ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการประกวดราคาและควบคุมงาน วงเงิน 794.45 ล้านบาท และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 อนุมัติการเปลี่ยนแปลงรายการค่าก่อสร้างและค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้างของโครงการฯ และอนุมัติรายการค่าจ้างที่ปรึกษาเพิ่มเติมอีก 2 รายการ [ได้แก่ ค่าจ้างที่ปรึกษาทบทวน จัดทำเอกสารประกวดราคา และดำเนินการประกวดราคาโดยวิธีการประกวดราคานานาชาติ (International Bidding) และค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับแบบรายละเอียด อำเภอสีคิ้วและตัวเมืองนครราชสีมา] ส่งผลให้กรอบวงเงินรวมของโครงการฯ เพิ่มเป็น 31,129.22 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนของค่าเวนคืนที่ดินยังคงมีกรอบวงเงิน 56 ล้านบาท คงเดิม

2. เมื่อเริ่มดำเนินโครงการฯ รฟท. จะต้องดำเนินการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เพื่อก่อสร้างทางและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงขั้นตอนการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนพบว่า ค่าทดแทนดังกล่าวมีมูลค่าสูงกว่ากรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบไว้ เนื่องจากที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นประกอบกับมีพื้นที่บางส่วนที่ตกสำรวจและไม่ได้มีการประมาณราคาค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ไว้ในขั้นตอนขออนุมัติกรอบวงเงินของโครงการฯ ส่งผลให้กรอบวงเงินค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้น ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท

สัญญา          วงเงินเดิม          วงเงิน
เพิ่มเติม          วิธีการจัดสรรสิทธิ์งานเวนคืน
ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา - คลองขนานจิตร และ
สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ
(ขอเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในครั้งนี้)          56          197.37          วิธีปรองดอง

สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร - ชุมทางถนนจิระ (ยังไม่ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในครั้งนี้เนื่องจากสัญญาที่ 2 ยังมีความไม่ชัดเจนในการปรับแบบก่อสร้าง จากกรณีที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาได้ร้องเรียนให้มีการปรับแบบก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในแผนดำเนินงานของโครงการฯ สัญญาที่ 2 จึงต้องรอข้อสรุปแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อน)                    89.25          วิธีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562

โดยที่ในส่วนของสัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร - ชุมทางถนนจิระ ยังมีความไม่ชัดเจนในการปรับแบบก่อสร้างเนื่องจากข้อร้องเรียนของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้น เพื่อไม่ให้โครงการฯ เกิดความล่าช้า และ รฟท. สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างได้โดยเร็ว กระทรวงคมนาคม (คค.) จึงขอเสนอปรับเพิ่มกรอบวงเงินเฉพาะในส่วนของค่าเวนคืนที่ดินของสัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา - คลองขนานจิตร และสัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟอีกจำนวน 197.37 ล้านบาท ส่งผลให้กรอบวงเงินค่าเวนคืนของโครงการฯ เพิ่มขึ้นจากเติม 56 ล้านบาท เป็น 253.37 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนของสัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร - ชุมทางถนนจิระ คค. จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายหลังต่อไป

3. ที่ผ่านมา รฟท. ได้ลงนามตามสัญญาค่าก่อสร้างเพื่อดำเนินโครงการฯ ไปแล้วบางส่วน ประกอบกับค่าใช้จ่ายสำหรับเวนคืนที่ดินมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้วงเงินรวมโครงการฯ ในปัจจุบันแตกต่างไปจากที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 และเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ดังนั้น คค. จึงขอปรับกรอบวงเงินรวมของโครงการฯ ให้มีความเป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงสรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท
รายการ          มติคณะรัฐมนตรี
27 กันยายน 2559          มติคณะรัฐมนตรี
19 ธันวาคม 2560          วงเงินลงนามตามสัญญา          ขอกรอบวงเงินเพิ่มเติม          วงเงินโครงการปัจจุบัน
1. ค่าเวนคืนที่ดิน          56.00          56          -          197.37          253.37
2. ค่าจ้างที่ปรึกษาประกวดราคา          8.01          8.01          8.01          -          8.01
3. ค่าจ้างที่ปรึกษาทบทวนจัดทำเอกสารประกวดราคาและดำเนินการประกวดราคาโดยวิธีการประกวดราคานานาชาติ(International Bidding)          -          *8.33          *8.17          -          *8.17
4. ค่าก่อสร้าง (รวม)          28,598.86          30,136.82          28,598.86          -          28,598.86
4.1 สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา - คลองขนานจิตร          -          7,721.13          7,560.00          -          7,560.00
4.2 สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร - ขุมทางถนนจิระ          -          10,466.34          ยังไม่ลงนาม          -          **9,303.86
4.3 สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ          -          9,399.46          9,290.00          -          9,290.00
4.4 สัญญาที่ 4 งานระบบอาณัติสัญญาณ          -          2,549.89          2,445.00          -          2,445.00
5. ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงาน          786.44          862.80          862.50          -          862.50
6. ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับแบบรายละเอียด อำเภอสีคิ้วและตัวเมืองนครราชสีมา          -          57.26          32.66          -          32.66
รวมทั้งสิ้น          29,449.31          31,129.22          29,510.20          197.37          29,763.57
*หมายเหตุ 1: มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 อนุมัติรายการค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทบทวนจัดทำเอกสารประกวดราคา และดำเนินการประกวดราคาโดยวิธีการประกวดราคานานาชาติ (International Bidding) ในโครงการรถไฟทางคู่ จำนวน 5 เส้นทาง วงเงินรวม 25 ล้านบาท โดย คค. แจ้งว่า ในวงเงินดังกล่าวถูกแบ่งเป็นของโครงการฯ จำนวน 8.33 ล้านบาท
                    4. กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง

18. เรื่อง การมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบในการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ เรื่อง การมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบในการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                      สลน. รายงานว่า เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบในการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล และข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (รายงานผลการดำเนินงานฯ) เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล มีความก้าวหน้า มีการบูรณาการฐานข้อมูล ติดตาม ขับเคลื่อนนโยบาย และรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ประกอบด้วย นโยบายการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ นโยบายเร่งด่วน 10 เรื่อง นโยบายระยะกลางและระยะยาว และให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบ สรุปได้ ดังนี้
                    1. มอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพหลักและหน่วยงานสนับสนุนของแต่ละนโยบาย ดังนี้

นโยบายรัฐบาล          หน่วยงานหลัก          หน่วยงานสนับสนุน
(1) นโยบายการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น
การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ของสถาบันพระมหากษัตริย์
           - กระทรวงกลาโหม (กห.)
- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี*
- สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- กรมประชาสัมพันธ์
- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ          ทุกหน่วยงาน
(2) นโยบายเร่งด่วน ดำเนินการทันที (10 เรื่อง) เช่น
- การดูแล ส่งเสริม และปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs  จากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมของคู่แข่งทางการค้าต่างชาติ โดยเฉพาะผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์           - กระทรวงการคลัง (กค.)
- กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) *
- สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
- สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า           - กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)
- การเร่งรัดออกมาตรการเพื่อลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค เช่น กำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับนโยบาย ?ค่าโดยสารราคาเดียว? ตลอดสายเพื่อลดภาระค่าเดินทาง          - กระทรวงคมนาคม*
- กรุงเทพมหานคร (กทม.)          - กค.
- กระทรวงมหาดไทย (มท.)
- การเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยควบคู่กับการ
บรรเทาภาระค่าใช้จ่าย และเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางเป็นลำดับแรก          กค.*          - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- มท.
- กระทรวงแรงงาน (รง.)
- สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
- การแก้ปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาดและครบวงจร เช่น ตัดต้นตอการผลิตและจำหน่ายด้วยการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน การสกัดกั้นควบคุมการลักลอบนำเข้าและตัดเส้นทางการลำเอียงยาเสพติด การปราบปรามและการยึดทรัพย์ผู้ค้าอย่างเด็ดขาด           - กห.
- มท.
- กระทรวงยุติธรรม
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด*          กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
(3) นโยบายระยะกลางและระยะยาว : การสร้างโอกาสต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิม เช่น
การเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์เครื่องสันดาปไปสู่ยานยนต์แห่งอนาคต เช่น ถ่ายโอนเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้แก่ธุรกิจไทย ในขณะที่ยังรักษาการจ้างงาน          -กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) *
- รง.          - อก.
- สสว.
(4) นโยบายระยะกลางและระยะยาว : การสร้างโอกาสในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น
การส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว เช่น สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตพลังงานสะอาดทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาและผืนน้ำ พลังงานน้ำและพลังงานทางเลือกอื่น ๆ          กระทรวงพลังงาน*          - กค.
- มท.
- อก.
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(5)  นโยบายระยะกลางและระยะยาว : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายโอกาส เช่น
การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ เช่น สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิที่ดิน
ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินเพิ่มขึ้น          สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ*          - กค.
- กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (กษ.)
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
- มท.
(6) นโยบายระยะกลางและระยะยาว : การส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัย เช่น
ยกระดับระบบสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมจาก ?30 บาทรักษาทุกโรค? มาเป็น ?30 บาท รักษาทุกที่? ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุข          - กระทรวงสาธารณสุข
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ*
          - อว.
- ดศ.
- มท.
- กทม.
(7) นโยบายระยะกลางระยะยาว : การสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เช่น
การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างการมีส่วนร่วมในการรับมือกับภัยธรรมชาติ เช่น เพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่และชุมชนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ          ทส.*          - อว.
- ดศ.
- มท.
(8) นโยบายระยะกลางและระยะยาว : พลิกฟื้นความเชื่อมั่นของคนไทยและต่างชาติด้วยการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง มีเสถียรภาพ มีนิติธรรม และความโปร่งใส เช่น
การปฏิรูประบบราชการและกองทัพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น เปลี่ยนผ่านราชการไทยไปสู่ราชการทันสมัยในระบบดิจิทัล (Digital Government) ปรับขนาดให้มีความคล่องตัว          - ดศ.
- สำนักงาน กพ.
- สำนักงาน ก.พ.ร.*
- สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)          ทุกหน่วยงาน
(9) นโยบายระยะกลางและระยะยาว : การต่างประเทศ เช่น
การเดินหน้าสานต่อนโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก และการสร้าง Soft Power เช่น เร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าสำคัญ          - กต.
- พณ.*          - กษ.
- อก.
(10) นโยบายระยะกลางและระยะยาว : การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและดำเนินนโยบายการคลัง เช่น
การเร่งรัดเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้จ่ายงบประมาณให้สามารถกระจายเม็ดเงินสู่เศรษฐกิจโดยเร็ว          - กค.
- สำนักงานงบประมาณ*          ทุกหน่วยงาน
หมายเหตุ : *หน่วยงานประสานหลัก (ทำหน้าที่ เช่น ประสานการติดตามรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุน สรุปผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในแต่ละข้อนโยบาย)
                    2. มอบหมายหน่วยงานตามข้อ 1 รายงานผลการดำเนินงานฯ ผ่านระบบติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีตามนโยบายรัฐบาล (เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการจัดเก็บ ประมวล วิเคราะห์ และรายงานผลการดำเนินงานฯ ซึ่งได้เปิดระบบให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินงานฯ มาตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2566) ทุกวันที่ 5 ของเดือน
                    3. ให้ ?ผู้ประสานงานการติดตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (ปกตน.)? ซึ่งเป็นผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ทำหน้าที่ประสานงานกับ สลน. และรายงานผลการดำเนินงานเพื่อจัดทำผลงานรัฐบาลร่วมกับ สลน. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) และ สศช. ต่อไป

19. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาและขยายกรอบวงเงินงบประมาณ โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จังหวัดอุตรดิตถ์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จังหวัดอุตรดิตถ์ (โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุกฯ) จากเดิม 14 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ? 2566) เป็น 19 ปี (ปีงบประมาณ                พ.ศ. 2553 ? 2571) รวมทั้ง อนุมัติขยายกรอบวงเงินค่าก่อสร้างโครงการ จากเดิม 10,500 ล้านบาท เป็น 16,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำน่านตอนล่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และพัฒนาระบบชลประทานตั้งแต่เขตจังหวัดอุตรดิตถ์และบางส่วนของจังหวัดพิษณุโลก เพื่อแก้ไขการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 -                 พ.ศ. 2566) กรอบวงเงินโครงการทั้งสิ้น 10,500 ล้านบาท แต่เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแก้ไขแบบก่อสร้างเพื่อให้เหมาะสมตามหลักวิศวกรรมสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและลดผลกระทบต่อราษฎรในพื้นที่ และประสบปัญหาการจัดหาที่ดินที่ราษฎรบางส่วนไม่ยอมรับราคาที่ดินและค่าทดแทนทรัพย์สิน ประกอบกับราคาประเมินซื้อขายที่ดินและราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งผลจากราคาวัสดุก่อสร้างและอัตราราคาน้ำมันที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลให้ระยะเวลาดำเนินโครงการและกรอบวงเงินงบประมาณเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบกับคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงวงเงินงบประมาณและขยายระยะเวลาโครงการดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานขยายระยะเวลาดำเนินโครงการและเพิ่มกรอบวงเงิน โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จังหวัดอุตรดิตถ์ จากเดิม 14 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2566) กรอบวงเงินโครงการทั้งสิ้น 10,500,000,000 บาท  เป็น 19 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ? พ.ศ. 2571) กรอบวงเงินโครงการทั้งสิ้น 16,000,000,000 บาท  ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สำหรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้น เห็นควรให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับตามความจำเป็นและเหมาะสมตามชั้นตอนต่อไป

20. เรื่อง การจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับรายบุคคล เพื่อบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) เสนอ มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนข้อมูลการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับรายบุคคล
เพื่อบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ ดังนี้
                     1. ให้กรมกิจการผู้สูงอายุเป็นเจ้าภาพหลัก และให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ฯ) สนับสนุนการดำเนินงานการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับรายบุคคล เพื่อบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
                    2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ/สวัสดิการผู้สูงอายุทั้งในรูปแบบเงินสวัสดิการและบริการต่าง ๆ โดยมีจำนวน 43 รายการ 23 หน่วยงาน (10 กระทรวง) สนับสนุนข้อมูลรายบุคคลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสวัสดิการผู้สูงอายุ โดยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กผส. รายงานว่า
                    1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 48 วรรคสอง บัญญัติให้บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 11 (11) บัญญัติให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ซึ่งเป็นการพยายามยกระดับให้เป็นระบบบำนาญถ้วนหน้า โดยเน้นให้สิทธิแก่ผู้ที่ไม่เคยได้รับสิทธิสวัสดิการจากภาครัฐและใช้เกณฑ์อายุเป็นหลักประกันพื้นฐาน ในขณะที่ระเบียบ มท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ข้อ 6 (4) กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ ต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่ กผส. ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด แต่เนื่องจาก
ประเทศไทยยังไม่มีฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่สามารถช่วยให้ทราบว่า ผู้สูงอายุหนึ่งคนได้รับสิทธิสวัสดิการอะไรบ้าง และมีหน่วยงานใดบ้างที่ให้สิทธิสวัสดิการผู้สูงอายุด้านใด ดังนั้น หากมีการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุและทุกหน่วยงานบูรณาการข้อมูลร่วมกันจะสามารถลดปัญหาการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซ้ำซ้อนอีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายในการดูแลผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเกิดประโยชน์ร่วมกัน
                    2. กผส. ในการประชุม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายวราวุธ ศิลปอาชา) ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการ ได้มีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านการจัดทำประเด็นข้อมูลเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุไทย (คณะอนุกรรมการฯ) ศึกษาข้อมูลด้านสวัสดิการผู้สูงอายุของประเทศไทยที่ได้รับ ทั้งในรูปแบบเงินสวัสดิการและบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้ เพื่อบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
                    3. คณะอนุกรรมการฯ ในการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 มีมติรับทราบการขับเคลื่อนฐานข้อมูลด้านผู้สูงอายุของแต่ละหน่วยงาน (ที่กรมกิจการผู้สูงอายุ พม. ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลสิทธิ/สวัสดิการที่ผู้สูงอายุจะได้รับ ทั้งในรูปแบบเงินสวัสดิการและบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้ มาในเบื้องต้น และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมในที่ประชุม) และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุเพิ่มเติมรายละเอียดข้อมูลให้ครบถ้วน และรับทราบผลการหารือแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุ (Personal Data) ตามสิทธิ/สวัสดิการที่ได้รับ ร่วมกับ สพร. เพื่อเตรียมความพร้อมในการบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ โดย สพร. ยินดีให้ความร่วมมือในการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุฯ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการได้มาของข้อมูลที่จัดส่งให้กับเจ้าภาพที่สามารถรวบรวมมาตั้งต้นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ และเห็นควรให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นทางการผ่านกลไกของหน่วยงานราชการตามขั้นตอน ดังนั้น เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูล เห็นควรเสนอ กผส. เพื่อมีมติเห็นชอบการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับรายบุคคล เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ ในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล (Data Sharing) ควรพิจารณา เฉพาะฐานข้อมูลที่จำเป็นและเป็นฐานข้อมูลที่มีความพร้อม โดยพิจารณาจากหน่วยงานและผู้รับผิดชอบฐานข้อมูล (หน่วยงานราชการ) ในการรับและส่งข้อมูลซึ่งถือว่าเป็นผู้ควบคุมข้อมูลที่มีบทบาทเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
                    4. กผส. ในการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) (ในขณะนั้น) เป็นประธานการประชุมมีมติเห็นชอบการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับรายบุคคลฯ โดยบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ และมี สพร. และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ฯ สนับสนุนการดำเนินงาน ซึ่งจากผลการรวบรวมข้อมูลด้านสวัสดิการผู้สูงอายุของประเทศไทยที่ได้รับ ทั้งในรูปแบบเงินสวัสดิการและบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้ โดยสรุปมี 43 รายการ 23 หน่วยงาน (10 กระทรวง) ได้แก่ กค. [สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)] พม. [สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)] กระทรวงคมนาคม (คค.) (สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์) กระทรวงแรงงาน (รง.) (สำนักงานประกันสังคม) มท. [กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา] กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) (สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) (กรมส่งเสริมการเรียนรู้) สธ. [สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)] และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทั้งนี้ กผส. มีความเห็นและข้อเสนอแนะว่า เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวมีสิทธิสวัสดิการที่เป็นตัวเงินจำนวนมากและกระจายไปในหลายโครงการ ทำให้ต้องบูรณาการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ จึงควรมีมติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อให้สามารถรวบรวมและจัดส่งข้อมูลให้กรมกิจการผู้สูงอายุ
สามารถวางแผนงานเชิงนโยบายต่อไป
                    5. กระบวนการดำเนินงานการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับรายบุคคล โดยบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ มีกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ? เมษายน 2568  สรุปได้ ดังนี้

ขั้นตอน          กระบวนการดำเนินงาน          ช่วงเวลาดำเนินการ
1          รวบรวมข้อมูลสิทธิ/สวัสดิการที่ผู้สูงอายุจะได้รับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง          พฤศจิกายน 2566 - เมษายน 2567
2          เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติเห็นชอบให้ สพร. และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ฯ สนับสนุนการดำเนินงานการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับรายบุคคล โดยบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนข้อมูล          มิถุนายน - สิงหาคม 2567

3          จัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (Memorandum of Understanding: MOU) เพื่อความร่วมมือในการบูรณาการข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับร่วมกับ สพร. สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          สิงหาคม ? กันยายน 2567
4          กำหนดรูปแบบ/วิธีการในการส่งข้อมูลร่วมกับ สพร. สถาบันข้อมูล ขนาดใหญ่ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          สิงหาคม ? กันยายน 2567
5          รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และจัดรูปแบบข้อมูลในมาตรฐานเดียวกันร่วมกับ สพร. สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          สิงหาคม ? กันยายน 2567
6          ทดลองวิเคราะห์ข้อมูลครั้งที่ 1 ร่วมกับ สพร. และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ฯ          กันยายน ? ตุลาคม 2567
7          นำเสนอตัวอย่างผลการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งที่ 1 ส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูล          ตุลาคม 2567

8          นำข้อเสนอแนะจากหน่วยงานมาปรับปรุงแก้ไขร่วมกับ สพร. และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ฯ          ตุลาคม 2567

9          กรมกิจการผู้สูงอายุร่วมกับ สพร. และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ฯ ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับรายบุคคลและนำข้อมูลจริงเข้าสู่ระบบ พร้อมทั้งเชื่อมโยงสู่แอปพลิเคชัน ?ทางรัฐ?          ตุลาคม 2567 ? เมษายน 2568

หมายเหตุ : ปัจจุบันการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่จะได้รับรายบุคคลอยู่ในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งเสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้
                    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                    1. มีฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามสิทธิ/สวัสดิการที่ได้รับทำให้ทราบว่าผู้สูงอายุหนึ่งคนได้รับสิทธิ/สวัสดิการอะไรบ้าง โดยสามารถนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบายด้านผู้สูงอายุ ตลอดจนการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับสิทธิ/สวัสดิการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
                    2. ทำให้ทราบข้อมูลด้านสวัสดิการผู้สูงอายุของประเทศไทยที่ได้รับ ทั้งในรูปแบบเงินสวัสดิการและบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้ เพื่อบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ


ต่างประเทศ

21. เรื่อง หนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสาธารณรัฐฟินแลนด์ และฮังการี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือให้ความยินยอม (Letter of Consent) ต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) โดยสาธารณรัฐฟินแลนด์ และฮังการี และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในร่างหนังสือให้ความยินยอมทั้ง 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. TAC จัดทำขึ้นโดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศไทย) เพื่อกำหนดหลักการในการดำเนินความสัมพันธ์
ในภูมิภาค ได้แก่ (1) การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเสมอภาค และบูรณภาพแห่งดินแดน (2) การไม่แทรกแซงกิจการภายใน (3) การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี (4) การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และ (5) การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519
                     2. เรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) โดยสาธารณรัฐฟินแลนด์ และฮังการี จำนวน 2 ฉบับ [ปัจจุบัน TAC มีอัครภาคีทั้งสิ้น 55 ประเทศ/องค์กร (สหภาพยุโรป)] ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้เห็นชอบตอบรับคำขอเข้าเป็นอัครภาคี* ของสาธารณรัฐฟินแลนด์และ
ฮังการีแล้ว และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในฐานะประธานอาเซียนปี 2567 จึงขอรับหนังสือ
ให้ความยินยอม (Letter of Consent) ต่อการภาคยานุวัติ TAC จากประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ
ทั้งนี้ การยินยอมต่อการภาคยานุวัติ TAC จะช่วยเพิ่มพูนความร่วมมือในการส่งเสริมสันติภาพเสถียรภาพ
และความสมานฉันท์ทั้งในภูมิภาคและในระดับโลก สอดคล้องกับหลักการของอาเซียน และแนวนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งการดำเนินความสัมพันธ์เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ในการนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติ TAC ทั้ง 2 ฉบับ ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง/เห็นชอบตามที่ กต. เสนอ
                    ประโยชน์และผลกระทบ : การลงนามร่างหนังสือทั้งสองฉบับข้างต้นเป็นการยินยอม
ให้สาธารณรัฐฟินแลนด์และฮังการี ซึ่งเป็นรัฐภายนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถภาคยานุวัติ TAC ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความร่วมมือในการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความสมานฉันท์ทั้งในภูมิภาคและในระดับโลก ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักการของอาเซียนและแนวนโยบายของรัฐบาล
ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งการดำเนินความสัมพันธ์
เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน

*อัครภาคี/ภาคี (High Contracting Party/Party) หมายถึง ประเทศหรือฝ่ายที่ได้เข้าร่วมในสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ และมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของข้อตกลงนั้น ๆ


แต่งตั้ง
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                 (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                      คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ  สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                       1. นางสาวศศิธร พลัตถเดช ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สศช. ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สศช.
                        2. นางภาวิณา อัศวมณีกุล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สศช. ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สศช.
                        ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นางพัชรวีร์ สุวรรณิก ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
                        ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งตั้งเป็นต้นไป

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                       คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอแต่งตั้ง นายสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                      ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เสนอแต่งตั้ง นางสาวณภัสนันท์ อรินทคุณวงษ์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงพาณิชย์
                      ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2568 เป็นต้นไป



26.   เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่  472/2567 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ
และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่  472/2567 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2567 (เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 314/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 16 กันยายน 2567) ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สลน. รายงานว่า
          นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่  472/2567 เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2567
1.                     รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม  เวชยชัย)
                              1.1                    ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1.3.5 ?1.3.5 คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติ
ราชการในภูมิภาค?
                              1.2          ให้ยกเลิกข้อ 1.5 [ที่มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรมฯ) เป็นกรรมการ
ในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค]
          2.          รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ)
2.1                    ให้ยกเลิกข้อ 2.4.1  [ที่มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะฯ) ปฏิบัติหน้าที่
เป็นประธานกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค]
2.2                    ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2.6.7 ?2.6.7  กรรมการในคณะกรรมการกำกับและ
ติดตามการปฏิบัติราชการ          ในภูมิภาค?
          3.          รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย  ชุณหวชิร)
-                               ให้ยกเลิกข้อ 5.1.1 [ที่มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัยฯ) ปฏิบัติหน้าที่เป็น
ประธานกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ]
                    ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  19  ธันวาคม  พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ