คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และเห็นชอบเร่งรัดกระทรวงที่รับผิดชอบแต่ละมาตรการทั้งในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและมีผลเป็นรูปธรรมภายในเดือนธันวาคม 2548
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2548 อนุมัติมาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2548 และแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธาน นั้น คณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2548 เพื่อติดตามความคืบหน้าของแต่ละมาตรการฯ สรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มที่ดำเนินการแล้วและมีผลเป็นรูปธรรม
1.1 ปรับราคาน้ำมันดีเซลให้สะท้อนต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง (มาตรการที่ 1)
ความคืบหน้า ได้ดำเนินการปรับราคาแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2548 ข้อมูลกระทรวงพลังงานแสดงว่าการใช้น้ำมันดีเซลเดือน ก.ค. เป็นครั้งแรกของปีนี้ที่มีปริมาณต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว โดยลดลงร้อยละ 8
มติ มอบหมายให้กระทรวงพลังงานประเมินและรายงานผลกระทบของมาตรการปรับราคาน้ำมันดีเซลให้สะท้อนต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง โดยเฉพาะปริมาณการใช้ที่ลดลง และให้จัดทำแผนการรณรงค์การประหยัดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง
1.2 สนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับทักษะฝีมือ (มาตรการที่ 3)
ความคืบหน้า ได้ออกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 5) มีผลบังคับใช้ 1 สิงหาคม 2548
1.3 เพิ่มรายได้จากสินค้าเกษตร โดยการขยายตลาดต่างประเทศและส่งเสริมการบริโภค (มาตรการที่ 4)
ความคืบหน้า มูลค่าการส่งออกกุ้งและไก่เพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2548 ร้อยละ 46 และร้อยละ 35.3 ตามลำดับ และผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2
มติ
(1) ให้กระทรวงพาณิชย์ ติดตามและรายงานความคืบหน้าของแผนการผลิตสินค้าเกษตรที่จะนำมาทำการค้าแบบแลกเปลี่ยนในระยะ 5 ปีข้างหน้า เพื่อใช้กำหนดแผนการค้าแบบแลกเปลี่ยนเชิงรุก
(2) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามและรายงาน (1) สถานการณ์ผลผลิตยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง และ (2) พืชผลไม้สำคัญ ๆ สำหรับฤดูกาลต่อไป ว่ามีโอกาสหรือมีปัญหาอุปสรรคอย่างไรหรือไม่ รวมทั้งแนวทางการแก้ไข (กรณีมีปัญหาอุปสรรค)
1.4 เร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรในตลาดต่างประเทศ เพื่อให้มูลค่าการส่งออกทั้งปีสามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 ในปี 2548 (มาตรการที่ 5)
ความคืบหน้า การส่งออกในเดือน ก.ค. ขยายตัวร้อยละ 18.1 เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 12.4 ในครึ่งแรกของปี การส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง และสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรหลัก อาทิ ข้าว ยังมีมูลค่าลดลง
มติ ให้กระทรวงพาณิชย์รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทยว่ามีสินค้ากลุ่มสำคัญ ๆ ใดบ้างที่มีการส่งออกสูงกว่า/ต่ำกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งประมาณการส่งออกถึงปลายปีและแนวทางการแก้ไขให้ได้ตามเป้าหมาย (กรณีต่ำกว่าเป้าหมาย)
1.5 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง (มาตรการที่ 6)
มติ ให้กระทรวงพาณิชย์รายงานแนวทางการดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง และการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่ดูแลหลังจากสิ้นระยะเวลาการขอความร่วมมือผู้ประกอบการในการตรึงราคาถึงสิ้นเดือนกันยายน 2548
1.6 ดูแลระดับการเก็บสต็อกสินค้า โดยจัดระบบการรายงานสินค้าที่เก็บในสต็อกให้เหมาะสมกับระดับการผลิตและการบริโภค (สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เหล็ก ทองคำ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น) (มาตรการที่ 7)
ความคืบหน้า การนำเข้าในเดือน ก.ค. ขยายตัวร้อยละ 20 ลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 31.2 ในครึ่งแรกของปี สินค้าสำคัญนำเข้าที่ชะลอตัวลงได้แก่ อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องเพชรพลอยอัญมณี เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม สินค้าสำคัญนำเข้าที่ลดลงได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ นมและผลิตภัณฑ์นม รถยนต์นั่ง ทั้งนี้การนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ภายหลังจากที่มีการนำเข้าสูงในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
มติ ให้กระทรวงพาณิชย์ประสานเอกชนเพื่อรวบรวมแผนการนำเข้าสินค้าสำคัญเป็นรายเดือนในช่วง 4 เดือนหลังของปี และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อพิจารณาแผนรองรับการนำเข้าที่เกิดจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่
1.7 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ผูกพันไว้กับรัฐบาล (มาตรการที่ 8)
มติ
(1) ให้กระทรวงการคลังรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2548 รวมทั้งปัญหา/อุปสรรค
(2) ควรให้ อปท. และรัฐวิสาหกิจรายงานข้อมูลตามระบบ GFMIS อย่างเคร่งครัด
(3) ควรติดตามความก้าวหน้าการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการที่ได้รับความเห็นชอบ เมื่อ นรม. เมื่อไปตรวจเยี่ยมพื้นที่และประชุม ครม. สัญจร
(4) มอบหมายให้ สศช. ประสานสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน GFMIS เพื่อเร่งรัดการรายงาน
1.8 ให้ผู้รับเหมาสามารถเบิกจ่ายเงินตามงวดงานได้ ถึงแม้การก่อสร้างจะยังอยู่ในกระบวนการตรวจรับ โดยนำหลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่งมอบงาน โดยให้ยกเว้นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ข้อ 71(3) และระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ.2520 ข้อ 19 (มาตรการที่ 9)
มติ ให้กรมบัญชีกลางรายงานความคืบหน้าว่า มีหน่วยราชการ/รัฐวิสาหกิจ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใดบ้าง ที่มีผู้รับเหมานำหลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่งมอบงาน และวงเงินเท่าไร
1.9 อนุญาตให้ภาคธุรกิจสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานมาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล จากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า (มาตรการที่ 10)
มติ ให้กระทรวงแรงงานติดตามและรายงานความคืบหน้าว่า ภาคเอกชนได้ขอดำเนินการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานตามหลักสูตรที่กระทรวงแรงงานได้ อนุมัติหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน จำนวนทั้งสิ้น 30 สาขาอาชีพ (หลักสูตร) แล้วจำนวนเท่าไร
1.10 จัดตั้งโครงการศูนย์ซ่อมสร้างประจำตำบล (Fix It Center) (มาตรการ 11.2)
ความคืบหน้า เปิดบริการหน่วยเคลื่อนที่และศูนย์ซ่อมประจำชุมชน ( Fix It Center) ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2548 โดยในระยะแรกตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม-14 ตุลาคม 2548 จำนวน 2,000 หมู่บ้าน และมอบหมาย สศช. ตรวจสอบประเมินผลเพื่อปรับปรุงในระยะที่ 2 ที่จะขยายเพิ่มจำนวน 18,000 หมู่บ้านตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2548-14 กุมภาพันธ์ 2549 คาดว่าจะประหยัดการนำเข้าเป็นมูลค่า 785 ล้านบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2548
มติ ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษารายงานความคืบหน้าการจัดตั้งโครงการศูนย์ซ่อมสร้างประจำตำบลว่ามีการจัดตั้งแล้วเสร็จกี่ตำบล จำนวนผู้มาขอใช้บริการ ประเภทของเครื่องมือเครื่องใช้ที่มาขอใช้บริการ และให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติติดตามประเมินผลต่อเศรษฐกิจและสังคม และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ทุกเดือน
1.11 ขยายการให้เบี้ยยังชีพคนชราผู้ยากไร้ 300 บาท/คน/เดือนให้ครบทุกคน (จาก 530,000 คน เป็น 1.07 ล้านคน) (มาตรการที่ 15)
มติ ให้กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ติดตามการเบิกจ่ายเบี้ยยังชีพให้เกิดความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตรงกลุ่มเป้าหมาย คือ เป็นผู้สูงอายุที่ยากไร้ด้อยโอกาส
1.12 เร่งรัดงบ SML โดยให้หมู่บ้านละ 250,000 - 350,000 บาท (มาตรการที่ 16)
ความคืบหน้า มีการอนุมัติโอนเงินงบประมาณให้หมู่บ้าน/ชุมชนแล้วจำนวน 3,880 หมู่บ้าน รวมเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 919.35 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2548) โดยผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
มติ ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและธนาคารออมสินติดตามประเมินผลด้านการเงิน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติติดตามประเมินผลต่อเศรษฐกิจและสังคม และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ทุกเดือน
1.13 สนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV โดยให้เพิ่มสถานีบริการ NGV ให้มากขึ้น ควบคู่กับสนับสนุนการปรับระบบเครื่องยนต์เป็น NGV แก่รถและเรือประมง รวมถึงสนับสนุนการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลได้ (มาตรการที่ 19)
ความคืบหน้า กระทรวงพลังงานได้รายงานแผนการขยายการติดตั้งเครื่องยนต์ NGV และสถานีบริการ NGV ดังนี้
(1) ขยายแผนการติดตั้งเครื่องยนต์ NGV ให้กับ ขสมก. จำนวน 2,800 คันในปี 2549 และจำนวน 4,000 คันและ 7,000 คันในปี 2550 และ 2551 ตามลำดับ
(2) ขยายจำนวนสถานีบริการ NGV ในเส้นทางคมนาคมหลักในแต่ละภาคในปี 2549 ได้แก่ ภาคตะวันออก จำนวน 8 สถานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 สถานี และภาคเหนือ จำนวน 2 สถานี
มติ ให้กระทรวงพลังงานประเมินและรายงานผลกระทบของการสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV ว่าจะช่วยลดการนำเข้าพลังงานได้ปีละเท่าไหร่ (2548-2551)
1.14 เร่งรัดการเริ่มดำเนินการขยายบริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น ทำฟันให้เด็ก ตรวจสุขภาพช่องปากและทำฟันเทียมให้ผู้สูงอายุ ให้ผู้ป่วยโรคเอดส์เข้าโครงการได้ (มาตรการที่ 22)
ความคืบหน้า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ขยายสิทธิประโยชน์หรือกิจกรรมเพิ่มเติมในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับปีงบประมาณ 2549 จำนวน 12 รายการ เช่น การให้ยาต้านไวรัสเอดส์ การรักษาไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา การผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ การตรวจสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก การตรวจสุขภาพช่องปากและทำฟันปลอมให้ผู้สูงอายุ และการตรวจคัดกรองโรคขาดไทรอยด์ฮอโมนในเด็กแรกเกิด เป็นต้น
1.15 เร่งรัดโครงการที่อยู่อาศัย (มาตรการที่ 24)
มติ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานความคืบหน้าโครงการบ้านเอื้ออาทร บ้านมั่นคง และโครงการชักชวนให้ผู้มีรายได้สูงบริจาคเงินเพื่อปลูกบ้านให้คนจนอยู่ (บ้าน Knock Down) ต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ทุกเดือน
2. กลุ่มที่ต้องเร่งรัด
2.1 ปรับเพิ่มฐานเงินเดือนข้าราชการขึ้นร้อยละ 5 โดยยังคงเงินค่าส่วนเพิ่มที่รัฐบาลได้ปรับเพิ่มให้ก่อนหน้านี้แล้ว และรวมถึงการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการบำนาญร้อยละ 5 ด้วย (มาตรการที่ 2)
มติ
(1) ให้กระทรวงการคลังเร่งรัดการพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับการปรับฐานเงินเดือนและเงินช่วยเหลือค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ของผู้รับบำนาญขึ้นร้อยละ 5 รวมทั้งประสานส่วนราชการให้ทราบวิธีการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และ ช.ค.บ. ให้สามารถจ่ายเงินงวดแรกได้ในวันที่ 31 ตุลาคม 2548
(2) ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ดำเนินการในส่วนของการปรับเพิ่มฐานเงินเดือนข้าราชการขึ้นร้อยละ 5 ให้สามารถจ่ายเงินงวดแรกได้ในวันที่ 31 ตุลาคม 2548
2.2 ปรับปรุงงบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการให้เน้นการสร้างกิจกรรมและสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น (มาตรการที่ 11.1)
มติ ให้กระทรวงมหาดไทยติดตามและรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบรูณาการที่ได้มีปรับเปลี่ยนโครงการสำหรับสร้างกิจกรรมและสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นจำนวน 755 โครงการ วงเงิน 909 ล้านบาท ว่ามีการเบิกจ่ายจริงแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละเดือนจำนวนเท่าไร
2.3 จัดระบบประชาสัมพันธ์และชี้แจงสาธารณะ โดยมอบหมายกรมประชาสัมพันธ์ จัดระบบประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อสร้างความเข้าใจสู่สาธารณะ (มาตรการที่ 12)
มติ ให้กรมประชาสัมพันธ์ เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในมาตรการและความคืบหน้าการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งในรูปข่าวและรายการ โดยเชิญหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนมาตรการเศรษฐกิจฯ มาร่วมประชุมเพื่อกำหนดประเด็นการประชาสัมพันธ์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับความคืบหน้าของการดำเนินงานในมาตรการต่าง ๆ
2.4 ศึกษาแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ประชาชน การกระตุ้นให้เกิดการขยายการลงทุน (Re-investment) ในภาคธุรกิจ และการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ในระยะยาว (มาตรการที่ 13)
มติ ให้กระทรวงการคลังเร่งหารือแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ประชาชนกับสถาบันการเงินและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้แล้วเสร็จและศึกษาแนวทางการกระตุ้นการลงทุนในภาคธุรกิจและการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ โดยให้รายงานผลต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2548
2.5 จูงใจภาคเอกชนให้เพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างพนักงานที่มีเงินเดือนน้อย โดยใช้หลักเกณฑ์เหมือนกับที่ให้แก่ข้าราชการ คือ คนที่มีเงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท ต้องเพิ่มให้ 1,000 บาท แต่ถ้าเพิ่มแล้วยังไม่ถึง 7,000 บาท ให้ปรับให้ถึง 7,000 บาท โดยเงินส่วนที่ปรับเพิ่มนี้ นายจ้างสามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้ 1.5 เท่า จากเดิม 1 เท่า (มาตรการที่ 14)
มติ ให้กรมสรรพากรเร่งรัดออกระเบียบปฏิบัติที่ไม่ยุ่งยากต่อภาคเอกชนในการเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างพนักงานที่มีเงินเดือนน้อย
2.6 เพิ่มงบประมาณในการจัดทำกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ทุกหมู่บ้านจาก 7,500 บาท เป็น 10,000 บาท โดยให้กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับ อปท. จัดทำแผนการพัฒนาสุขภาพในชุมชน (มาตรการที่ 17)
ความคืบหน้า กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานกรมปกครองส่วนท้องถิ่นในการเพิ่มงบประมาณจาก 7,500 บาท เป็น 10,00 บาท ในงบประมาณปี 2549 และอยู่ระหว่างการขยายงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานให้ครอบคลุมกลุ่มเยาวชนด้วย
2.7 เร่งรัดการเริ่มดำเนินการทุนการศึกษา 1 ทุน 1 อำเภอ รุ่นที่ 2 (มาตรการที่ 20)
มติ ให้กระทรวงศึกษาธิการประสานสำนักงานสลากกินแบ่ง ในการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ (ประชาสัมพันธ์ รับสมัคร สอบ ปฐมนิเทศ) ให้แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2548 และขยายกระบวนการเตรียมความพร้อมในประเทศจาก 6 เดือนเป็น 8 เดือน และให้สามารถเข้าเรียนทันภาคการศึกษา 2549
2.8 เร่งรัดทุน ICL (มาตรการที่ 21)
มติ ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งเตรียมการ เรื่องทุน ICL ให้พร้อมสำหรับปีการศึกษา 2549 ทั้งนี้ ในปีแรกจะให้กู้เฉพาะนักศึกษาปีที่ 1 (เริ่มเดือน มิ.ย. 2549)
2.9 เพิ่มงบประมาณในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และให้งบในการจัดสัมมนาของภาคราชการ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ (มาตรการที่ 25)
มติ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานผลความคืบหน้าการดำเนินโครงการกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวเร่งด่วนปี 2548 ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจำนวน 1,500 ล้านบาท ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดพังงา
2.10 ส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น (มาตรการที่ 26)
มติ ให้กระทรวงการคลังเร่งรัดให้ บมจ. กฟผ. สามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2548 อนุมัติมาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2548 และแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธาน นั้น คณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2548 เพื่อติดตามความคืบหน้าของแต่ละมาตรการฯ สรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มที่ดำเนินการแล้วและมีผลเป็นรูปธรรม
1.1 ปรับราคาน้ำมันดีเซลให้สะท้อนต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง (มาตรการที่ 1)
ความคืบหน้า ได้ดำเนินการปรับราคาแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2548 ข้อมูลกระทรวงพลังงานแสดงว่าการใช้น้ำมันดีเซลเดือน ก.ค. เป็นครั้งแรกของปีนี้ที่มีปริมาณต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว โดยลดลงร้อยละ 8
มติ มอบหมายให้กระทรวงพลังงานประเมินและรายงานผลกระทบของมาตรการปรับราคาน้ำมันดีเซลให้สะท้อนต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง โดยเฉพาะปริมาณการใช้ที่ลดลง และให้จัดทำแผนการรณรงค์การประหยัดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง
1.2 สนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับทักษะฝีมือ (มาตรการที่ 3)
ความคืบหน้า ได้ออกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 5) มีผลบังคับใช้ 1 สิงหาคม 2548
1.3 เพิ่มรายได้จากสินค้าเกษตร โดยการขยายตลาดต่างประเทศและส่งเสริมการบริโภค (มาตรการที่ 4)
ความคืบหน้า มูลค่าการส่งออกกุ้งและไก่เพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2548 ร้อยละ 46 และร้อยละ 35.3 ตามลำดับ และผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2
มติ
(1) ให้กระทรวงพาณิชย์ ติดตามและรายงานความคืบหน้าของแผนการผลิตสินค้าเกษตรที่จะนำมาทำการค้าแบบแลกเปลี่ยนในระยะ 5 ปีข้างหน้า เพื่อใช้กำหนดแผนการค้าแบบแลกเปลี่ยนเชิงรุก
(2) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามและรายงาน (1) สถานการณ์ผลผลิตยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง และ (2) พืชผลไม้สำคัญ ๆ สำหรับฤดูกาลต่อไป ว่ามีโอกาสหรือมีปัญหาอุปสรรคอย่างไรหรือไม่ รวมทั้งแนวทางการแก้ไข (กรณีมีปัญหาอุปสรรค)
1.4 เร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรในตลาดต่างประเทศ เพื่อให้มูลค่าการส่งออกทั้งปีสามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 ในปี 2548 (มาตรการที่ 5)
ความคืบหน้า การส่งออกในเดือน ก.ค. ขยายตัวร้อยละ 18.1 เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 12.4 ในครึ่งแรกของปี การส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง และสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรหลัก อาทิ ข้าว ยังมีมูลค่าลดลง
มติ ให้กระทรวงพาณิชย์รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทยว่ามีสินค้ากลุ่มสำคัญ ๆ ใดบ้างที่มีการส่งออกสูงกว่า/ต่ำกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งประมาณการส่งออกถึงปลายปีและแนวทางการแก้ไขให้ได้ตามเป้าหมาย (กรณีต่ำกว่าเป้าหมาย)
1.5 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง (มาตรการที่ 6)
มติ ให้กระทรวงพาณิชย์รายงานแนวทางการดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง และการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่ดูแลหลังจากสิ้นระยะเวลาการขอความร่วมมือผู้ประกอบการในการตรึงราคาถึงสิ้นเดือนกันยายน 2548
1.6 ดูแลระดับการเก็บสต็อกสินค้า โดยจัดระบบการรายงานสินค้าที่เก็บในสต็อกให้เหมาะสมกับระดับการผลิตและการบริโภค (สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เหล็ก ทองคำ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น) (มาตรการที่ 7)
ความคืบหน้า การนำเข้าในเดือน ก.ค. ขยายตัวร้อยละ 20 ลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 31.2 ในครึ่งแรกของปี สินค้าสำคัญนำเข้าที่ชะลอตัวลงได้แก่ อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องเพชรพลอยอัญมณี เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม สินค้าสำคัญนำเข้าที่ลดลงได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ นมและผลิตภัณฑ์นม รถยนต์นั่ง ทั้งนี้การนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ภายหลังจากที่มีการนำเข้าสูงในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
มติ ให้กระทรวงพาณิชย์ประสานเอกชนเพื่อรวบรวมแผนการนำเข้าสินค้าสำคัญเป็นรายเดือนในช่วง 4 เดือนหลังของปี และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อพิจารณาแผนรองรับการนำเข้าที่เกิดจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่
1.7 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ผูกพันไว้กับรัฐบาล (มาตรการที่ 8)
มติ
(1) ให้กระทรวงการคลังรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2548 รวมทั้งปัญหา/อุปสรรค
(2) ควรให้ อปท. และรัฐวิสาหกิจรายงานข้อมูลตามระบบ GFMIS อย่างเคร่งครัด
(3) ควรติดตามความก้าวหน้าการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการที่ได้รับความเห็นชอบ เมื่อ นรม. เมื่อไปตรวจเยี่ยมพื้นที่และประชุม ครม. สัญจร
(4) มอบหมายให้ สศช. ประสานสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน GFMIS เพื่อเร่งรัดการรายงาน
1.8 ให้ผู้รับเหมาสามารถเบิกจ่ายเงินตามงวดงานได้ ถึงแม้การก่อสร้างจะยังอยู่ในกระบวนการตรวจรับ โดยนำหลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่งมอบงาน โดยให้ยกเว้นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ข้อ 71(3) และระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ.2520 ข้อ 19 (มาตรการที่ 9)
มติ ให้กรมบัญชีกลางรายงานความคืบหน้าว่า มีหน่วยราชการ/รัฐวิสาหกิจ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใดบ้าง ที่มีผู้รับเหมานำหลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่งมอบงาน และวงเงินเท่าไร
1.9 อนุญาตให้ภาคธุรกิจสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานมาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล จากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า (มาตรการที่ 10)
มติ ให้กระทรวงแรงงานติดตามและรายงานความคืบหน้าว่า ภาคเอกชนได้ขอดำเนินการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานตามหลักสูตรที่กระทรวงแรงงานได้ อนุมัติหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน จำนวนทั้งสิ้น 30 สาขาอาชีพ (หลักสูตร) แล้วจำนวนเท่าไร
1.10 จัดตั้งโครงการศูนย์ซ่อมสร้างประจำตำบล (Fix It Center) (มาตรการ 11.2)
ความคืบหน้า เปิดบริการหน่วยเคลื่อนที่และศูนย์ซ่อมประจำชุมชน ( Fix It Center) ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2548 โดยในระยะแรกตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม-14 ตุลาคม 2548 จำนวน 2,000 หมู่บ้าน และมอบหมาย สศช. ตรวจสอบประเมินผลเพื่อปรับปรุงในระยะที่ 2 ที่จะขยายเพิ่มจำนวน 18,000 หมู่บ้านตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2548-14 กุมภาพันธ์ 2549 คาดว่าจะประหยัดการนำเข้าเป็นมูลค่า 785 ล้านบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2548
มติ ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษารายงานความคืบหน้าการจัดตั้งโครงการศูนย์ซ่อมสร้างประจำตำบลว่ามีการจัดตั้งแล้วเสร็จกี่ตำบล จำนวนผู้มาขอใช้บริการ ประเภทของเครื่องมือเครื่องใช้ที่มาขอใช้บริการ และให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติติดตามประเมินผลต่อเศรษฐกิจและสังคม และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ทุกเดือน
1.11 ขยายการให้เบี้ยยังชีพคนชราผู้ยากไร้ 300 บาท/คน/เดือนให้ครบทุกคน (จาก 530,000 คน เป็น 1.07 ล้านคน) (มาตรการที่ 15)
มติ ให้กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ติดตามการเบิกจ่ายเบี้ยยังชีพให้เกิดความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตรงกลุ่มเป้าหมาย คือ เป็นผู้สูงอายุที่ยากไร้ด้อยโอกาส
1.12 เร่งรัดงบ SML โดยให้หมู่บ้านละ 250,000 - 350,000 บาท (มาตรการที่ 16)
ความคืบหน้า มีการอนุมัติโอนเงินงบประมาณให้หมู่บ้าน/ชุมชนแล้วจำนวน 3,880 หมู่บ้าน รวมเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 919.35 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2548) โดยผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
มติ ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและธนาคารออมสินติดตามประเมินผลด้านการเงิน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติติดตามประเมินผลต่อเศรษฐกิจและสังคม และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ทุกเดือน
1.13 สนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV โดยให้เพิ่มสถานีบริการ NGV ให้มากขึ้น ควบคู่กับสนับสนุนการปรับระบบเครื่องยนต์เป็น NGV แก่รถและเรือประมง รวมถึงสนับสนุนการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลได้ (มาตรการที่ 19)
ความคืบหน้า กระทรวงพลังงานได้รายงานแผนการขยายการติดตั้งเครื่องยนต์ NGV และสถานีบริการ NGV ดังนี้
(1) ขยายแผนการติดตั้งเครื่องยนต์ NGV ให้กับ ขสมก. จำนวน 2,800 คันในปี 2549 และจำนวน 4,000 คันและ 7,000 คันในปี 2550 และ 2551 ตามลำดับ
(2) ขยายจำนวนสถานีบริการ NGV ในเส้นทางคมนาคมหลักในแต่ละภาคในปี 2549 ได้แก่ ภาคตะวันออก จำนวน 8 สถานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 สถานี และภาคเหนือ จำนวน 2 สถานี
มติ ให้กระทรวงพลังงานประเมินและรายงานผลกระทบของการสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV ว่าจะช่วยลดการนำเข้าพลังงานได้ปีละเท่าไหร่ (2548-2551)
1.14 เร่งรัดการเริ่มดำเนินการขยายบริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น ทำฟันให้เด็ก ตรวจสุขภาพช่องปากและทำฟันเทียมให้ผู้สูงอายุ ให้ผู้ป่วยโรคเอดส์เข้าโครงการได้ (มาตรการที่ 22)
ความคืบหน้า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ขยายสิทธิประโยชน์หรือกิจกรรมเพิ่มเติมในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับปีงบประมาณ 2549 จำนวน 12 รายการ เช่น การให้ยาต้านไวรัสเอดส์ การรักษาไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา การผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ การตรวจสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก การตรวจสุขภาพช่องปากและทำฟันปลอมให้ผู้สูงอายุ และการตรวจคัดกรองโรคขาดไทรอยด์ฮอโมนในเด็กแรกเกิด เป็นต้น
1.15 เร่งรัดโครงการที่อยู่อาศัย (มาตรการที่ 24)
มติ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานความคืบหน้าโครงการบ้านเอื้ออาทร บ้านมั่นคง และโครงการชักชวนให้ผู้มีรายได้สูงบริจาคเงินเพื่อปลูกบ้านให้คนจนอยู่ (บ้าน Knock Down) ต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ทุกเดือน
2. กลุ่มที่ต้องเร่งรัด
2.1 ปรับเพิ่มฐานเงินเดือนข้าราชการขึ้นร้อยละ 5 โดยยังคงเงินค่าส่วนเพิ่มที่รัฐบาลได้ปรับเพิ่มให้ก่อนหน้านี้แล้ว และรวมถึงการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการบำนาญร้อยละ 5 ด้วย (มาตรการที่ 2)
มติ
(1) ให้กระทรวงการคลังเร่งรัดการพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับการปรับฐานเงินเดือนและเงินช่วยเหลือค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ของผู้รับบำนาญขึ้นร้อยละ 5 รวมทั้งประสานส่วนราชการให้ทราบวิธีการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และ ช.ค.บ. ให้สามารถจ่ายเงินงวดแรกได้ในวันที่ 31 ตุลาคม 2548
(2) ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ดำเนินการในส่วนของการปรับเพิ่มฐานเงินเดือนข้าราชการขึ้นร้อยละ 5 ให้สามารถจ่ายเงินงวดแรกได้ในวันที่ 31 ตุลาคม 2548
2.2 ปรับปรุงงบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการให้เน้นการสร้างกิจกรรมและสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น (มาตรการที่ 11.1)
มติ ให้กระทรวงมหาดไทยติดตามและรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบรูณาการที่ได้มีปรับเปลี่ยนโครงการสำหรับสร้างกิจกรรมและสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นจำนวน 755 โครงการ วงเงิน 909 ล้านบาท ว่ามีการเบิกจ่ายจริงแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละเดือนจำนวนเท่าไร
2.3 จัดระบบประชาสัมพันธ์และชี้แจงสาธารณะ โดยมอบหมายกรมประชาสัมพันธ์ จัดระบบประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อสร้างความเข้าใจสู่สาธารณะ (มาตรการที่ 12)
มติ ให้กรมประชาสัมพันธ์ เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในมาตรการและความคืบหน้าการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งในรูปข่าวและรายการ โดยเชิญหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนมาตรการเศรษฐกิจฯ มาร่วมประชุมเพื่อกำหนดประเด็นการประชาสัมพันธ์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับความคืบหน้าของการดำเนินงานในมาตรการต่าง ๆ
2.4 ศึกษาแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ประชาชน การกระตุ้นให้เกิดการขยายการลงทุน (Re-investment) ในภาคธุรกิจ และการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ในระยะยาว (มาตรการที่ 13)
มติ ให้กระทรวงการคลังเร่งหารือแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ประชาชนกับสถาบันการเงินและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้แล้วเสร็จและศึกษาแนวทางการกระตุ้นการลงทุนในภาคธุรกิจและการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ โดยให้รายงานผลต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2548
2.5 จูงใจภาคเอกชนให้เพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างพนักงานที่มีเงินเดือนน้อย โดยใช้หลักเกณฑ์เหมือนกับที่ให้แก่ข้าราชการ คือ คนที่มีเงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท ต้องเพิ่มให้ 1,000 บาท แต่ถ้าเพิ่มแล้วยังไม่ถึง 7,000 บาท ให้ปรับให้ถึง 7,000 บาท โดยเงินส่วนที่ปรับเพิ่มนี้ นายจ้างสามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้ 1.5 เท่า จากเดิม 1 เท่า (มาตรการที่ 14)
มติ ให้กรมสรรพากรเร่งรัดออกระเบียบปฏิบัติที่ไม่ยุ่งยากต่อภาคเอกชนในการเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างพนักงานที่มีเงินเดือนน้อย
2.6 เพิ่มงบประมาณในการจัดทำกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ทุกหมู่บ้านจาก 7,500 บาท เป็น 10,000 บาท โดยให้กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับ อปท. จัดทำแผนการพัฒนาสุขภาพในชุมชน (มาตรการที่ 17)
ความคืบหน้า กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานกรมปกครองส่วนท้องถิ่นในการเพิ่มงบประมาณจาก 7,500 บาท เป็น 10,00 บาท ในงบประมาณปี 2549 และอยู่ระหว่างการขยายงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานให้ครอบคลุมกลุ่มเยาวชนด้วย
2.7 เร่งรัดการเริ่มดำเนินการทุนการศึกษา 1 ทุน 1 อำเภอ รุ่นที่ 2 (มาตรการที่ 20)
มติ ให้กระทรวงศึกษาธิการประสานสำนักงานสลากกินแบ่ง ในการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ (ประชาสัมพันธ์ รับสมัคร สอบ ปฐมนิเทศ) ให้แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2548 และขยายกระบวนการเตรียมความพร้อมในประเทศจาก 6 เดือนเป็น 8 เดือน และให้สามารถเข้าเรียนทันภาคการศึกษา 2549
2.8 เร่งรัดทุน ICL (มาตรการที่ 21)
มติ ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งเตรียมการ เรื่องทุน ICL ให้พร้อมสำหรับปีการศึกษา 2549 ทั้งนี้ ในปีแรกจะให้กู้เฉพาะนักศึกษาปีที่ 1 (เริ่มเดือน มิ.ย. 2549)
2.9 เพิ่มงบประมาณในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และให้งบในการจัดสัมมนาของภาคราชการ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ (มาตรการที่ 25)
มติ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานผลความคืบหน้าการดำเนินโครงการกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวเร่งด่วนปี 2548 ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจำนวน 1,500 ล้านบาท ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดพังงา
2.10 ส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น (มาตรการที่ 26)
มติ ให้กระทรวงการคลังเร่งรัดให้ บมจ. กฟผ. สามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--