คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินโครงการติดตั้งระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟ ระยะที่ 2 วงเงิน 8,427 ล้านบาท โดยใช้เงินรายได้ของ กฟภ. จำนวน 2,107 ล้านบาท และกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ/ระดมทุน จำนวน 6,320 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธาน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับความเห็นของหน่วยงานและคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 1 ไปพิจารณาประกอบการดำเนินโครงการดังกล่าวด้วย ดังนี้
1. ให้ กฟภ.พิจารณาจัดลำดับความสำคัญโครงการในแต่ละพื้นที่ โดยเร่งดำเนินการในพื้นที่ที่ต้องการความมั่นคงของระบบไฟฟ้าสูงก่อน เช่น พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
2. ให้ กฟภ. เร่งรัดการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดภายในไตรมาสแรกของปี 2549 และเร่งระดมทุนเพื่อนำไปชดใช้เงินกู้ในประเทศ และรองรับการลงทุนในอนาคตต่อไป
3. ให้ กฟภ. พิจารณาความเป็นไปได้ในการเพิ่มสัดส่วนการใช้วัสดุอุปกรณ์ภายในประเทศสำหรับการดำเนินงานโครงการฯ ให้สูงขึ้นกว่าเดิมที่กำหนดไว้ร้อยละ 53 เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ
ทั้งนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 แล้ว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. โครงการติดตั้งระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟฟ้า ระยะที่ 2 เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการ สั่งจ่ายไฟฟ้า ระยะที่ 1 ซึ่งดำเนินการในเขตภาคกลาง 28 จังหวัด และได้ดำเนินการเสร็จไปแล้ว
1.1 พื้นที่โครงการ : จะก่อสร้างศูนย์สั่งการจ่ายไฟฟ้าเขต จำนวน 7 แห่ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา นครศรีธรรมราช และยะลา โดยครอบคลุมพื้นที่ 45 จังหวัด เงินลงทุนทั้งสิ้น 8,427 ล้านบาท แยกเป็น เงินกู้ภายในประเทศ (75%) 6,320 ล้านบาท เงินรายได้ กฟภ. (25%) 2,107 ล้านบาท
1.2 ระยะเวลาดำเนินการ : 2548-2553
1.3 ผลประโยชน์โครงการ :
(1) ลดระยะเวลาไฟดับจากปัจจุบัน 675 นาที/ราย/ปี เหลือ 314 นาที/ราย/ปี ทำให้ลดความเสียหายของภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม คิดเป็นมูลค่าปีละ 1,190 ล้านบาท
(2) ลดค่าใช้จ่ายปฏิบัติการอีกปีละ 398 ล้านบาท
(3) ชะลอการลงทุนในการก่อสร้างระบบจำหน่ายเพิ่มเติมประมาณ 14 เดือน
(4) เป็นระบบที่ทันสมัย สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(5) ประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 19.5%
2. ภาพรวมการลงทุนของ กฟภ. ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2549-2553) กฟภ. กำหนดจะเป็นบริษัทฯ ต้นปี 2549 คาดว่าจะมีการระดมทุนในช่วงปลายปี 2549-ต้นปี 2550
2.1 หากโครงสร้างค่าไฟฟ้าปัจจุบัน (Base Case) (ROIC ประมาณ 3%) กฟภ.จะระดมทุนประมาณ 16,000 ล้านบาท จะมี ROA 1.6% ROE 4.42% DSCR 1.38 และ D/E 0.9
2.2 หากโครงสร้างค่าไฟฟ้าได้รับการปรับ (ROIC ประมาณ 5%) กฟภ.จะระดมทุนประมาณ 18,000 ล้านบาท จะมี ROA 3.17% ROE 7.86% DSCR 1.81 และ D/E 0.68
หน่วย : ล้านบาท
ปี 2549 2550 2551 2552 2553
เงินลงทุนที่ไม่เป็นโครงการ 10,202 11,021 9,863 8,330 8,810
เงินลงทุนที่เป็นโครงการ 13,481 12,507 12,164 19,543 18,180
รวม 23,683 23,528 22,027 27,873 26,990
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
1. ให้ กฟภ.พิจารณาจัดลำดับความสำคัญโครงการในแต่ละพื้นที่ โดยเร่งดำเนินการในพื้นที่ที่ต้องการความมั่นคงของระบบไฟฟ้าสูงก่อน เช่น พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
2. ให้ กฟภ. เร่งรัดการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดภายในไตรมาสแรกของปี 2549 และเร่งระดมทุนเพื่อนำไปชดใช้เงินกู้ในประเทศ และรองรับการลงทุนในอนาคตต่อไป
3. ให้ กฟภ. พิจารณาความเป็นไปได้ในการเพิ่มสัดส่วนการใช้วัสดุอุปกรณ์ภายในประเทศสำหรับการดำเนินงานโครงการฯ ให้สูงขึ้นกว่าเดิมที่กำหนดไว้ร้อยละ 53 เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ
ทั้งนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 แล้ว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. โครงการติดตั้งระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟฟ้า ระยะที่ 2 เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการ สั่งจ่ายไฟฟ้า ระยะที่ 1 ซึ่งดำเนินการในเขตภาคกลาง 28 จังหวัด และได้ดำเนินการเสร็จไปแล้ว
1.1 พื้นที่โครงการ : จะก่อสร้างศูนย์สั่งการจ่ายไฟฟ้าเขต จำนวน 7 แห่ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา นครศรีธรรมราช และยะลา โดยครอบคลุมพื้นที่ 45 จังหวัด เงินลงทุนทั้งสิ้น 8,427 ล้านบาท แยกเป็น เงินกู้ภายในประเทศ (75%) 6,320 ล้านบาท เงินรายได้ กฟภ. (25%) 2,107 ล้านบาท
1.2 ระยะเวลาดำเนินการ : 2548-2553
1.3 ผลประโยชน์โครงการ :
(1) ลดระยะเวลาไฟดับจากปัจจุบัน 675 นาที/ราย/ปี เหลือ 314 นาที/ราย/ปี ทำให้ลดความเสียหายของภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม คิดเป็นมูลค่าปีละ 1,190 ล้านบาท
(2) ลดค่าใช้จ่ายปฏิบัติการอีกปีละ 398 ล้านบาท
(3) ชะลอการลงทุนในการก่อสร้างระบบจำหน่ายเพิ่มเติมประมาณ 14 เดือน
(4) เป็นระบบที่ทันสมัย สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(5) ประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 19.5%
2. ภาพรวมการลงทุนของ กฟภ. ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2549-2553) กฟภ. กำหนดจะเป็นบริษัทฯ ต้นปี 2549 คาดว่าจะมีการระดมทุนในช่วงปลายปี 2549-ต้นปี 2550
2.1 หากโครงสร้างค่าไฟฟ้าปัจจุบัน (Base Case) (ROIC ประมาณ 3%) กฟภ.จะระดมทุนประมาณ 16,000 ล้านบาท จะมี ROA 1.6% ROE 4.42% DSCR 1.38 และ D/E 0.9
2.2 หากโครงสร้างค่าไฟฟ้าได้รับการปรับ (ROIC ประมาณ 5%) กฟภ.จะระดมทุนประมาณ 18,000 ล้านบาท จะมี ROA 3.17% ROE 7.86% DSCR 1.81 และ D/E 0.68
หน่วย : ล้านบาท
ปี 2549 2550 2551 2552 2553
เงินลงทุนที่ไม่เป็นโครงการ 10,202 11,021 9,863 8,330 8,810
เงินลงทุนที่เป็นโครงการ 13,481 12,507 12,164 19,543 18,180
รวม 23,683 23,528 22,027 27,873 26,990
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--