คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานการจัดประชุมระดับนานาชาติด้านระบบป้องกันและเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ
สืบเนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีจุดศูนย์กลางวัดได้ 9.0 ริกเตอร์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 ทำให้เกิดคลื่นยักษ์ (Tsunami) และส่งผลกระทบต่อความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างรุนแรงบริเวณ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ประกอบด้วยจังหวัดระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล และต่อมาเมื่อวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2548 ได้เกิดแผ่นดินไหว บริเวณด้านตะวันตกของเกาะสุมาตราอีกครั้งโดยมีจุดศูนย์กลางวัดได้ 8.2 ริกเตอร์ และเพื่อให้การป้องกันระบบเตือนพิบัติภัยของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 16/2548 ลงวันที่ 11 มกราคม 2548 แต่งตั้ง คณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า Early Warning System โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมิทธ ธรรมสโรช) ทำหน้าที่เป็นประธานธรรมการฯ และมีผู้แทนภาครัฐ เอกชน ตลอดทั้งนักวิชาการร่วมเป็นกรรมการ โดยมีปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกรรมการและเลขานุการ
ที่ผ่านมาคณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (EWS) ได้ดำเนินการจัดทำแผนเตือนภัยแห่งชาติ เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2548 ณ โรงแรมโรยัลภูเก็ตซิตี้ ระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แผนการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย 6 จังหวัดภาคใต้ ในการนี้นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า เร่งดำเนินการโดยเร็ว และให้สามารถปฏิบัติงานได้ภายใน 60 วัน (ตามหนังสือที่ นร.0411 (คตภ) 9/2548 ลงวันที่ 31 มกราคม 2548)
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1. คณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า Early Warning System ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ขึ้นมารองรับเพื่อเป็นกลไกในการปฏิบัติงานครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) คณะอนุกรรมการจัดตั้งระบบการเตือนภัย ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย (หอกระจายข่าว) (2) คณะอนุกรรมการศึกษาพัฒนาและจัดสร้างระบบโทรคมนาคม เพื่อใช้สำหรับระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (3) คณะอนุกรรมการบริหารศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (4) คณะอนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ (5) คณะอนุกรรมการเตือนภัยพิบัติด้านอุตุนิยมวิทยา และแผ่นดินถล่ม เป็นต้น พร้อมทั้งจัดตั้ง “ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ” เพื่อติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์โทรคมนาคมและปรับปรุงบางส่วนให้เป็นห้องกระจายข่าวในการเตือนภัยแห่งชาติ ทั้งนี้ได้มีการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สกทช) ยินดีให้ความอนุเคราะห์ให้ใช้อาคารศูนย์สื่อสารดาวเทียมในประเทศ ตั้งอยู่ ณ ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นที่ตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นผู้อำนวยการศูนย์)
2. วันที่ 5 เมษายน 2548 ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง กับผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการระบบเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติประกอบด้วย ดร.สุวิทย์ ยอดมณี และเจ้าหน้าที่จาก Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) เพื่อกำหนดบทบาท กลยุทธ์ และมาตรการในการที่จะวางแผนการดำเนินการในระยะต่อไป เกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว หรือคลื่น “สึนามิ” ในบริเวณแถบมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามันให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดให้มีการเตรียมความพร้อมในการวางระบบที่จะใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารหัวข้อระหว่างศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ศูนย์ปฏิบัติการของนายกรัฐมนตรี ศูนย์ปฏิบัติการของหน่วยงานทั้งในระดับกระทรวงและในระดับกรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นร่วมกันที่จะจัดให้มีการประชุมระดับนานาชาติขึ้น โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกมาให้ ข้อมูลเกี่ยวกับการวางระบบป้องกันและเตือนภัย และแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะวางระบบฐานข้อมูลเชื่อมโยง พร้อมทั้งให้มีกลไกการดำเนินงานวินิจฉัยสั่งการในแต่ละพื้นที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะกำหนดให้มีการประชุมดังกล่าวขึ้นในวันที่ 20-21 เมษายน 2548 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดย ADPC แจ้งว่าค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการจัดสัมมนาจะใช้เงินประมาณ US$ 25,000 (1,000,000 บาท) ซึ่ง ADPC ยินดีที่จะช่วยสนับสนุนให้จำนวน US$ 10,000 ส่วนอีก US$ 15,000 (600,000 บาท) จะขอให้รัฐบาลไทยเป็นผู้สนับสนุน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 เมษายน 2548--จบ--
สืบเนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีจุดศูนย์กลางวัดได้ 9.0 ริกเตอร์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 ทำให้เกิดคลื่นยักษ์ (Tsunami) และส่งผลกระทบต่อความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างรุนแรงบริเวณ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ประกอบด้วยจังหวัดระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล และต่อมาเมื่อวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2548 ได้เกิดแผ่นดินไหว บริเวณด้านตะวันตกของเกาะสุมาตราอีกครั้งโดยมีจุดศูนย์กลางวัดได้ 8.2 ริกเตอร์ และเพื่อให้การป้องกันระบบเตือนพิบัติภัยของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 16/2548 ลงวันที่ 11 มกราคม 2548 แต่งตั้ง คณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า Early Warning System โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมิทธ ธรรมสโรช) ทำหน้าที่เป็นประธานธรรมการฯ และมีผู้แทนภาครัฐ เอกชน ตลอดทั้งนักวิชาการร่วมเป็นกรรมการ โดยมีปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกรรมการและเลขานุการ
ที่ผ่านมาคณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (EWS) ได้ดำเนินการจัดทำแผนเตือนภัยแห่งชาติ เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2548 ณ โรงแรมโรยัลภูเก็ตซิตี้ ระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แผนการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย 6 จังหวัดภาคใต้ ในการนี้นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า เร่งดำเนินการโดยเร็ว และให้สามารถปฏิบัติงานได้ภายใน 60 วัน (ตามหนังสือที่ นร.0411 (คตภ) 9/2548 ลงวันที่ 31 มกราคม 2548)
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1. คณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า Early Warning System ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ขึ้นมารองรับเพื่อเป็นกลไกในการปฏิบัติงานครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) คณะอนุกรรมการจัดตั้งระบบการเตือนภัย ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย (หอกระจายข่าว) (2) คณะอนุกรรมการศึกษาพัฒนาและจัดสร้างระบบโทรคมนาคม เพื่อใช้สำหรับระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (3) คณะอนุกรรมการบริหารศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (4) คณะอนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ (5) คณะอนุกรรมการเตือนภัยพิบัติด้านอุตุนิยมวิทยา และแผ่นดินถล่ม เป็นต้น พร้อมทั้งจัดตั้ง “ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ” เพื่อติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์โทรคมนาคมและปรับปรุงบางส่วนให้เป็นห้องกระจายข่าวในการเตือนภัยแห่งชาติ ทั้งนี้ได้มีการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สกทช) ยินดีให้ความอนุเคราะห์ให้ใช้อาคารศูนย์สื่อสารดาวเทียมในประเทศ ตั้งอยู่ ณ ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นที่ตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นผู้อำนวยการศูนย์)
2. วันที่ 5 เมษายน 2548 ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง กับผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการระบบเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติประกอบด้วย ดร.สุวิทย์ ยอดมณี และเจ้าหน้าที่จาก Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) เพื่อกำหนดบทบาท กลยุทธ์ และมาตรการในการที่จะวางแผนการดำเนินการในระยะต่อไป เกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว หรือคลื่น “สึนามิ” ในบริเวณแถบมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามันให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดให้มีการเตรียมความพร้อมในการวางระบบที่จะใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารหัวข้อระหว่างศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ศูนย์ปฏิบัติการของนายกรัฐมนตรี ศูนย์ปฏิบัติการของหน่วยงานทั้งในระดับกระทรวงและในระดับกรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นร่วมกันที่จะจัดให้มีการประชุมระดับนานาชาติขึ้น โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกมาให้ ข้อมูลเกี่ยวกับการวางระบบป้องกันและเตือนภัย และแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะวางระบบฐานข้อมูลเชื่อมโยง พร้อมทั้งให้มีกลไกการดำเนินงานวินิจฉัยสั่งการในแต่ละพื้นที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะกำหนดให้มีการประชุมดังกล่าวขึ้นในวันที่ 20-21 เมษายน 2548 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดย ADPC แจ้งว่าค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการจัดสัมมนาจะใช้เงินประมาณ US$ 25,000 (1,000,000 บาท) ซึ่ง ADPC ยินดีที่จะช่วยสนับสนุนให้จำนวน US$ 10,000 ส่วนอีก US$ 15,000 (600,000 บาท) จะขอให้รัฐบาลไทยเป็นผู้สนับสนุน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 เมษายน 2548--จบ--