คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการกักตุนน้ำมันดีเซลของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการกักตุนน้ำมันดีเซล ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการกักตุนน้ำมันดีเซล โดยมีนายจาดุร อภิชาตบุตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี
มีข้อสงสัยว่ามีผู้ได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยผิดปกติ เนื่องจากการที่กระทรวงพลังงานประกาศขึ้นราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 3 บาทต่อลิตร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 และหากพบว่าเป็นความจริงให้รีบดำเนินการติดตามหรือเสนอแนะมาตรการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ โดยคณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. กรณีที่ว่าเหตุใดทางราชการจึงไม่เรียกคืนเงินที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยให้ผู้ผลิตน้ำมันกลับคืนมาจากผู้ได้ประโยชน์จากการขึ้นราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การสำรองน้ำมันมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง การสำรองตามกฎหมาย และประเภทที่สอง การสำรองของผู้ค้า (Working Stock) สำหรับการสำรองตามกฎหมายนั้นยังไม่มีการชำระภาษีและไม่ได้รับการชดเชยเพราะต้องสำรองเก็บไว้ตลอดเวลา ส่วนสำรองของ ผู้ค้าเมื่อนำออกขายก็จะต้องเสียภาษีและได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ปรากฏว่าในช่วงเดือนมีนาคม 2548 มีผู้ค้าน้ำมันหลายรายขอผ่อนผันปริมาณน้ำมันสำรองตามกฎหมายแสดงว่าน้ำมันสำรองของผู้ค้า (Workng Stock) ซึ่งมีไว้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหมดหรือมีไม่เพียงพอ และแม้จะอนุญาตให้นำน้ำมันสำรองตามกฎหมายออกมาใช้ก็ตาม แต่เมื่อพ้นระยะเวลาการอนุญาตแล้วผู้ค้าน้ำมันต้องเก็บสำรองให้ครบถ้วนตามเดิม ประกอบกับจากการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันรับ-จ่าย คงเหลือตั้งแต่วันที่ 1-25 มีนาคม 2548 ปรากฏว่าไม่พบสิ่งผิดปกติ นอกจากนั้นจากการตรวจสอบข้อมูลการนำน้ำมันดีเซลออกจากโรงกลั่นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ — เมษายน 2548 ก็ไม่มีการเสียภาษีผิดปกติ
แต่อย่างใด และจากการตรวจสอบสถานีบริการน้ำมันในส่วนภูมิภาคพบว่า มีการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ โดยการกักตุนน้ำมัน จำนวน 4 ราย
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงยังรับฟังเป็นข้อยุติไม่ได้ว่า ผู้ค้าน้ำมันได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยผิดปกติไปจากการประกอบธุรกิจธรรมดาทั่วไป ซึ่งผู้ค้าน้ำมันจะมีกำไรในสินค้า คงเหลือแต่เมื่อราคาน้ำมันลดลงก็จะขาดทุนในสินค้าคงเหลือเช่นกัน ถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาดตามปกติ สำหรับกรณีของผู้ค้าน้ำมันรายย่อยที่เป็นสถานีบริการนั้น ก็เป็นเพียงส่วนน้อยและขณะนี้คดีอยู่ระหว่างดำเนินการของพนักงานสอบสวน จำนวน 4 ราย นอกจากนี้การที่จะเรียกคืนเงินที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยให้ผู้ผลิตน้ำมันกลับคืนนั้น จะต้องเป็นกรณีที่ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย เช่น เป็นการผลิตเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือผู้ผลิตน้ำมันเป็นวัตถุดิบให้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรืออุตสาหกรรมอื่น และเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐได้จ่ายไปโดยหลงผิดซึ่งกรณีนี้ไม่ต้องด้วยเหตุดังกล่าว
2. กรณีที่ว่าโครงสร้างหรือสูตรที่ทางราชการใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันดีเซลไม่เหมาะสมทำให้ประชาชนต้องจ่ายราคาน้ำมันดีเซลสูงกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าการดูค่าการกลั่นจะต้องพิจารณาผลตอบแทนของโรงกลั่นในทุกผลิตภัณฑ์ จะพิจารณาน้ำมันชนิดหนึ่งชนิดใดไม่ได้ นอกจากนี้น้ำมันดิบที่แต่ละโรงกลั่นนำมากลั่นในประเทศไทยก็ไม่ได้มาจากน้ำมันดิบดูไบชนิดเดียว แต่ใช้หลาย ๆ ชนิด มากลั่นบางชนิดมีคุณภาพดีและมีราคาแพงกว่าดูไบ ดังนั้น จึงไม่อาจอ้างราคาดูไบอย่างเดียวเป็นต้นทุนน้ำมันดิบที่นำเข้ามากลั่นภายในประเทศไทย แต่จะต้องใช้ค่าเฉลี่ยและราคาตลาดสิงคโปร์ ไม่ใช่ราคาที่สิงคโปร์เป็นผู้กำหนดและไม่ใช่โรงกลั่นเป็นผู้กำหนดแต่เป็นราคาซึ่งขึ้นอยู่กับอุปทานอุปสงค์ที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกัน สำหรับกำไรของโรงกลั่นนั้นจะต้องพิจารณาในระยะยาว เพราะแม้ปี 2546, 2547 โรงกลั่นจะมีกำไรมากก็ตาม แต่ตั้งแต่ปี 2541-2545 โรงกลั่นน้ำมันมีกำไรติดลบรวมประมาณ 100,000-120,000 กว่าล้านบาทและการลงทุนโรงกลั่นจะต้องพิจารณาประมาณ 20-25 ปี ดังนั้น เรื่องราคา ณ โรงกลั่นในช่วงที่ปล่อยตลาดเสรี สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ใช้ราคาเฉลี่ยตลาดสิงคโปร์เพื่อเป็นฐานในการกำกับดูแลซึ่งแต่ละโรงกลั่นก็ใช้ราคานี้ แต่อาจจะไม่ใช่ตัวเลขเดียวกัน หากค่าการกลั่นสูงเกินไปทาง สนพ. ก็จะเตือน แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมันนี้จะดูน้ำมันดีเซลชนิดเดียวไม่ได้ แต่จะต้องดูหลายชนิดด้วยกัน เพราะเป็นกำไรของโรงกลั่นที่กลั่นมาได้ และจะต้องดูในระยะยาว หากเรายึดนโยบายตลาดเสรีซึ่งจะมีทั้งช่วงขาขึ้นและช่วงขาลง รัฐก็ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงสร้างหรือสูตรที่ทางราชการใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันที่อ้างอิงโรงกลั่นที่สิงคโปร์ถูกต้องเหมาะสมแล้ว คณะกรรมการฯ จึงเสนอแนะมาตรการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมดังนี้
(1) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำกับ ดูแล และตรวจสอบ ราคาน้ำมันและการสำรองน้ำมันอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการขึ้นราคาน้ำมัน
(2) ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานนำข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างหรือสูตรการกำหนดราคาน้ำมันไปทำการศึกษาข้อดีข้อเสียและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วนำผลการศึกษาไปเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการกักตุนน้ำมันดีเซล โดยมีนายจาดุร อภิชาตบุตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี
มีข้อสงสัยว่ามีผู้ได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยผิดปกติ เนื่องจากการที่กระทรวงพลังงานประกาศขึ้นราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 3 บาทต่อลิตร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 และหากพบว่าเป็นความจริงให้รีบดำเนินการติดตามหรือเสนอแนะมาตรการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ โดยคณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. กรณีที่ว่าเหตุใดทางราชการจึงไม่เรียกคืนเงินที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยให้ผู้ผลิตน้ำมันกลับคืนมาจากผู้ได้ประโยชน์จากการขึ้นราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การสำรองน้ำมันมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง การสำรองตามกฎหมาย และประเภทที่สอง การสำรองของผู้ค้า (Working Stock) สำหรับการสำรองตามกฎหมายนั้นยังไม่มีการชำระภาษีและไม่ได้รับการชดเชยเพราะต้องสำรองเก็บไว้ตลอดเวลา ส่วนสำรองของ ผู้ค้าเมื่อนำออกขายก็จะต้องเสียภาษีและได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ปรากฏว่าในช่วงเดือนมีนาคม 2548 มีผู้ค้าน้ำมันหลายรายขอผ่อนผันปริมาณน้ำมันสำรองตามกฎหมายแสดงว่าน้ำมันสำรองของผู้ค้า (Workng Stock) ซึ่งมีไว้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหมดหรือมีไม่เพียงพอ และแม้จะอนุญาตให้นำน้ำมันสำรองตามกฎหมายออกมาใช้ก็ตาม แต่เมื่อพ้นระยะเวลาการอนุญาตแล้วผู้ค้าน้ำมันต้องเก็บสำรองให้ครบถ้วนตามเดิม ประกอบกับจากการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันรับ-จ่าย คงเหลือตั้งแต่วันที่ 1-25 มีนาคม 2548 ปรากฏว่าไม่พบสิ่งผิดปกติ นอกจากนั้นจากการตรวจสอบข้อมูลการนำน้ำมันดีเซลออกจากโรงกลั่นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ — เมษายน 2548 ก็ไม่มีการเสียภาษีผิดปกติ
แต่อย่างใด และจากการตรวจสอบสถานีบริการน้ำมันในส่วนภูมิภาคพบว่า มีการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ โดยการกักตุนน้ำมัน จำนวน 4 ราย
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงยังรับฟังเป็นข้อยุติไม่ได้ว่า ผู้ค้าน้ำมันได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยผิดปกติไปจากการประกอบธุรกิจธรรมดาทั่วไป ซึ่งผู้ค้าน้ำมันจะมีกำไรในสินค้า คงเหลือแต่เมื่อราคาน้ำมันลดลงก็จะขาดทุนในสินค้าคงเหลือเช่นกัน ถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาดตามปกติ สำหรับกรณีของผู้ค้าน้ำมันรายย่อยที่เป็นสถานีบริการนั้น ก็เป็นเพียงส่วนน้อยและขณะนี้คดีอยู่ระหว่างดำเนินการของพนักงานสอบสวน จำนวน 4 ราย นอกจากนี้การที่จะเรียกคืนเงินที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายชดเชยให้ผู้ผลิตน้ำมันกลับคืนนั้น จะต้องเป็นกรณีที่ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย เช่น เป็นการผลิตเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือผู้ผลิตน้ำมันเป็นวัตถุดิบให้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรืออุตสาหกรรมอื่น และเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐได้จ่ายไปโดยหลงผิดซึ่งกรณีนี้ไม่ต้องด้วยเหตุดังกล่าว
2. กรณีที่ว่าโครงสร้างหรือสูตรที่ทางราชการใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันดีเซลไม่เหมาะสมทำให้ประชาชนต้องจ่ายราคาน้ำมันดีเซลสูงกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าการดูค่าการกลั่นจะต้องพิจารณาผลตอบแทนของโรงกลั่นในทุกผลิตภัณฑ์ จะพิจารณาน้ำมันชนิดหนึ่งชนิดใดไม่ได้ นอกจากนี้น้ำมันดิบที่แต่ละโรงกลั่นนำมากลั่นในประเทศไทยก็ไม่ได้มาจากน้ำมันดิบดูไบชนิดเดียว แต่ใช้หลาย ๆ ชนิด มากลั่นบางชนิดมีคุณภาพดีและมีราคาแพงกว่าดูไบ ดังนั้น จึงไม่อาจอ้างราคาดูไบอย่างเดียวเป็นต้นทุนน้ำมันดิบที่นำเข้ามากลั่นภายในประเทศไทย แต่จะต้องใช้ค่าเฉลี่ยและราคาตลาดสิงคโปร์ ไม่ใช่ราคาที่สิงคโปร์เป็นผู้กำหนดและไม่ใช่โรงกลั่นเป็นผู้กำหนดแต่เป็นราคาซึ่งขึ้นอยู่กับอุปทานอุปสงค์ที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกัน สำหรับกำไรของโรงกลั่นนั้นจะต้องพิจารณาในระยะยาว เพราะแม้ปี 2546, 2547 โรงกลั่นจะมีกำไรมากก็ตาม แต่ตั้งแต่ปี 2541-2545 โรงกลั่นน้ำมันมีกำไรติดลบรวมประมาณ 100,000-120,000 กว่าล้านบาทและการลงทุนโรงกลั่นจะต้องพิจารณาประมาณ 20-25 ปี ดังนั้น เรื่องราคา ณ โรงกลั่นในช่วงที่ปล่อยตลาดเสรี สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ใช้ราคาเฉลี่ยตลาดสิงคโปร์เพื่อเป็นฐานในการกำกับดูแลซึ่งแต่ละโรงกลั่นก็ใช้ราคานี้ แต่อาจจะไม่ใช่ตัวเลขเดียวกัน หากค่าการกลั่นสูงเกินไปทาง สนพ. ก็จะเตือน แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมันนี้จะดูน้ำมันดีเซลชนิดเดียวไม่ได้ แต่จะต้องดูหลายชนิดด้วยกัน เพราะเป็นกำไรของโรงกลั่นที่กลั่นมาได้ และจะต้องดูในระยะยาว หากเรายึดนโยบายตลาดเสรีซึ่งจะมีทั้งช่วงขาขึ้นและช่วงขาลง รัฐก็ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงสร้างหรือสูตรที่ทางราชการใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันที่อ้างอิงโรงกลั่นที่สิงคโปร์ถูกต้องเหมาะสมแล้ว คณะกรรมการฯ จึงเสนอแนะมาตรการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมดังนี้
(1) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำกับ ดูแล และตรวจสอบ ราคาน้ำมันและการสำรองน้ำมันอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการขึ้นราคาน้ำมัน
(2) ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานนำข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างหรือสูตรการกำหนดราคาน้ำมันไปทำการศึกษาข้อดีข้อเสียและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วนำผลการศึกษาไปเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--