แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
บัตรประจำตัวประชาชน
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงมหาดไทย
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้บัตรประจำตัวประชาชนที่มีหน่วยความจำมีข้อมูลที่จะใช้ประโยชน์ในการเดินทางไปต่างประเทศ (Passport) หรือเดินทางผ่านแดนสำหรับประเทศที่มีอาณาเขตติดกับประเทศไทย (Border pass)
2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแนวทางการมอบหมายงานบางส่วนให้ดำเนินการแทนกระทรวงมหาดไทย เช่น การมอบให้โรงพยาบาลดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเด็กแรกเกิด และเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมการปกครอง เพื่อการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น
3. ให้ทุกหน่วยงานพิจารณาใช้ประโยชน์จากข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ที่มีหน่วย ความจำ เพื่อความคุ้มค่าของบัตรและเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดต่อกับหน่วยงานราชการ
กระทรวงมหาดไทยเสนอว่า เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้การจัดทำบัตรแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) เริ่มต้นโดยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนของกระทรวงมหาดไทยเป็นหลัก เพื่อให้ทราบข้อมูลประชากรตามทะเบียนราษฎรที่ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน (เลข 13 หลัก) เป็นพื้นฐานของบัตร สำหรับข้อมูลของส่วนราชการอื่นสามารถนำมาเชื่อมโยงและเพิ่มเติมลงในบัตร เมื่อการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์แล้วเสร็จ ก็ให้นำบัตรมาเพิ่มเติมข้อมูลของส่วนราชการหรือ หน่วยงานให้ครบถ้วนต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติมีดังนี้
1. กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยทุกคนต้องมีบัตร และแก้ไขระยะเวลาการขอมีบัตร อายุของบัตร และเงื่อนไขในการขยายกำหนดเวลาการขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 6 ทวิ และมาตรา 6 ตรี ร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6 เบญจ และร่างมาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8)
2. กำหนดตัวบุคคลที่มีหน้าที่ยื่นคำขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่ หรือขอเปลี่ยนบัตรให้แก่ผู้มีอายุไม่ถึงสิบห้าปี และกำหนดความผิดของบุคคลที่ไม่ทำหน้าที่จนพ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำขอ (ร่างมาตรา 5 เพิ่มเติมมาตรา 6 ฉ และร่างมาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 11)
3. แก้ไขรายการในบัตร และกำหนดให้บัตรอาจมีหน่วยความจำเพื่อบันทึกข้อมูลของผู้ถือบัตรและเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูล (ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 (1) และร่างมาตรา 7 เพิ่มเติมมาตรา 7/1)
4. กำหนดเงื่อนไขในการขอตรวจหลักฐาน รายการหรือข้อมูลเกี่ยวกับบัตรของผู้มีส่วนได้เสีย (ร่างมาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 10)
5. กำหนดโทษสำหรับกรณีที่มีการเปิดเผยข้อมูลที่บันทึกในหน่วยความจำ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือมิใช่เปิดเผยแก่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือตามคำสั่งศาล หรือเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ (ร่างมาตรา 11 เพิ่มมาตรา 12)
6. ปรับปรุงบทกำหนดโทษกรณีผู้ถือบัตร ซึ่งเสียสัญชาติไทยที่ไม่ส่งมอบบัตร หรือใช้แสดงบัตรซึ่งหมดสิทธิใช้ และกรณีแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร หรือปลอมบัตรหรือ ใบรับและกำหนดความผิดสำหรับผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ยื่นคำขอมีบัตรโดยแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงรวมทั้งกำหนดความผิดสำหรับผู้ถือบัตรซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีที่ไม่สามารถแสดงบัตรหรือใบรับเมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตร ขอตรวจ (ร่างมาตรา 12 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13 และมาตรา 14 และร่างมาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 17)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. ประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้บัตรประจำตัวประชาชนที่มีหน่วยความจำมีข้อมูลที่จะใช้ประโยชน์ในการเดินทางไปต่างประเทศ (Passport) หรือเดินทางผ่านแดนสำหรับประเทศที่มีอาณาเขตติดกับประเทศไทย (Border pass)
2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแนวทางการมอบหมายงานบางส่วนให้ดำเนินการแทนกระทรวงมหาดไทย เช่น การมอบให้โรงพยาบาลดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเด็กแรกเกิด และเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมการปกครอง เพื่อการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น
3. ให้ทุกหน่วยงานพิจารณาใช้ประโยชน์จากข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ที่มีหน่วย ความจำ เพื่อความคุ้มค่าของบัตรและเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดต่อกับหน่วยงานราชการ
กระทรวงมหาดไทยเสนอว่า เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้การจัดทำบัตรแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) เริ่มต้นโดยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนของกระทรวงมหาดไทยเป็นหลัก เพื่อให้ทราบข้อมูลประชากรตามทะเบียนราษฎรที่ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน (เลข 13 หลัก) เป็นพื้นฐานของบัตร สำหรับข้อมูลของส่วนราชการอื่นสามารถนำมาเชื่อมโยงและเพิ่มเติมลงในบัตร เมื่อการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์แล้วเสร็จ ก็ให้นำบัตรมาเพิ่มเติมข้อมูลของส่วนราชการหรือ หน่วยงานให้ครบถ้วนต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติมีดังนี้
1. กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยทุกคนต้องมีบัตร และแก้ไขระยะเวลาการขอมีบัตร อายุของบัตร และเงื่อนไขในการขยายกำหนดเวลาการขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 6 ทวิ และมาตรา 6 ตรี ร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6 เบญจ และร่างมาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8)
2. กำหนดตัวบุคคลที่มีหน้าที่ยื่นคำขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่ หรือขอเปลี่ยนบัตรให้แก่ผู้มีอายุไม่ถึงสิบห้าปี และกำหนดความผิดของบุคคลที่ไม่ทำหน้าที่จนพ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำขอ (ร่างมาตรา 5 เพิ่มเติมมาตรา 6 ฉ และร่างมาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 11)
3. แก้ไขรายการในบัตร และกำหนดให้บัตรอาจมีหน่วยความจำเพื่อบันทึกข้อมูลของผู้ถือบัตรและเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูล (ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 (1) และร่างมาตรา 7 เพิ่มเติมมาตรา 7/1)
4. กำหนดเงื่อนไขในการขอตรวจหลักฐาน รายการหรือข้อมูลเกี่ยวกับบัตรของผู้มีส่วนได้เสีย (ร่างมาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 10)
5. กำหนดโทษสำหรับกรณีที่มีการเปิดเผยข้อมูลที่บันทึกในหน่วยความจำ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือมิใช่เปิดเผยแก่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือตามคำสั่งศาล หรือเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ (ร่างมาตรา 11 เพิ่มมาตรา 12)
6. ปรับปรุงบทกำหนดโทษกรณีผู้ถือบัตร ซึ่งเสียสัญชาติไทยที่ไม่ส่งมอบบัตร หรือใช้แสดงบัตรซึ่งหมดสิทธิใช้ และกรณีแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร หรือปลอมบัตรหรือ ใบรับและกำหนดความผิดสำหรับผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ยื่นคำขอมีบัตรโดยแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงรวมทั้งกำหนดความผิดสำหรับผู้ถือบัตรซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีที่ไม่สามารถแสดงบัตรหรือใบรับเมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตร ขอตรวจ (ร่างมาตรา 12 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13 และมาตรา 14 และร่างมาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 17)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--