คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
1. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต และกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
2. เห็นชอบแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป และเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล
ภาคใต้ โดยมอบหมายให้ สศช. รับไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงบประมาณไปพิจารณา รวมทั้งให้เพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (กพต.) ด้วย ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอนุรักษ์ จุรีมาศ) เป็นกรรมการ
3. ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นกรรมการ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต ดังนี้
1. เรื่องเดิม
1.1 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบผลการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีและภาคเอกชน ที่ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 และเห็นชอบให้ สศช. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่อุตสาหกรรมในอนาคต ดังนี้
1.1.1 ทำการศึกษาขั้นรายละเอียดเพื่อพิจารณาพื้นที่ใหม่สำหรับรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานในอนาคต ให้สอดคล้องกับศักยภาพและภูมิสังคมของพื้นที่
1.1.2 สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและเกิดการยอมรับจากประชาชนก่อนดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ใหม่ และเน้นการดูแลสุขภาวะของประชาชนเป็นสำคัญ
1.1.3 ในกรณีมีความจำเป็นที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกไม่สามารถรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมได้อาจต้องพิจารณาปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการ
1.2 วันที่ 24 เมษายน 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบและเห็นชอบให้ทำการศึกษาในขั้นรายละเอียด เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต และเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเหมาะสมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นกรรมการ รวมทั้งเห็นชอบแนวทางการพัฒนาที่เน้นสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเกิดการยอมรับจากประชาชนก่อนดำเนินการพัฒนาต่อไป
1.3 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบผลการดำเนินการจัดทำกรอบแนวทางการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตและเห็นชอบให้ สศช. ขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาเอเชีย โดย สศช. ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชียเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550
1.4 วันที่ 8 มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ สศช. ศึกษานโยบายส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูง และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
2. การดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี
2.1 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คณะกรรมการ สศช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2550 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ โดยมีเลขาธิการ สศช. เป็นประธานอนุกรรมการ รองเลขาธิการ สศช. และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นรองประธานอนุกรรมการ ผู้แทนหน่วยงาน และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการรวม 25 คน และมีอำนาจหน้าที่จัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในช่วงระยะเวลk 10-15 ปี ศึกษาวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมบริเวณพื้นที่ภาคใต้ พัฒนาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมและยั่งยืน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่และสร้างการยอมรับของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้
2.2 คณะกรรมการ สศช. ได้มีมติรับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 และเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ จากการประชุม 2 ครั้งเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2551 และวันที่ 30 เมษายน 2551 นั้น ได้ทำการประเมินสถานการณ์และแนวโน้มการพัฒนาภาคใต้ การวางกรอบแนวคิดและแผนงานการดำเนินงานพัฒนาภาคใต้ในช่วง 4 ปี (2551 — 2554) การกำกับติดตามผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เหมาะสม
3. กรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
3.1 สถานภาพปัจจุบันของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
3.1.1 ภาคใต้มีที่ตั้งติดทะเลทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย และด้วยสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก ภาคใต้จึงเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรหลัก ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล ประมงอุตสาหกรรมแปรรูปยางและไม้ยางพารา อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล
3.1.2 การค้าชายแดนของภาคใต้มีปริมาณกว่า 2 ใน 3 ของปริมาณการค้าชายแดนทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าผ่านแดนที่ด่านสะเดาและด่านปาดังเบซาร์
3.1.3 ภาคใต้มีทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงระดับโลก เป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญของภาคและประเทศ รายได้ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และเกาะสมุยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
3.1.4 ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาคใต้
(1) ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ไว้แล้ว ระดับหนึ่ง ได้แก่ โครงข่ายถนน 4 ช่องจราจร เชื่อมโยงแนวเหนือ—ใต้ และเชื่อมโยงระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย (ถนนกระบี่—ขนอม) ท่าอากาศยาน 11 แห่ง โรงไฟฟ้าและสายส่งเชื่อมโยงไทย — มาเลเซีย เส้นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ สู่ภาคใต้ ระบบท่อส่งน้ำและอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งท่อก๊าซ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติในพื้นที่
(2) การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ระหว่างเตรียมการในปัจจุบัน ได้แก่ การขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจร (ช่วงพังงา—กระบี่ และนครศรีธรรมราช—สงขลา) การขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานภูเก็ต การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา การพัฒนาโรงไฟฟ้าจะนะ และการพัฒนาอ่างเก็บน้ำในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะช่วยดึงดูดการลงทุนเข้าสู่พื้นที่ และเชื่อมโยงการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่สองฝั่งทะเลภาคใต้ให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
3.1.5 ภาคใต้มีปัญหาที่สำคัญหลายประการ ได้แก่ ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่เป็นฐานการผลิต โดยเฉพาะทรัพยากรประมงที่มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัญหากัดเซาะชายฝั่งรุนแรงในฝั่งอ่าวไทยและ อันดามัน ปัญหามลภาวะจากขยะและน้ำเสียในเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งปัญหาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในจังหวัดชายแดนภาคใต้อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ด้านการค้า การลงทุน และเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ
3.2 ศักยภาพและแนวโน้มการพัฒนาภาคใต้ในอนาคต
3.2.1 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลงทุนของประเทศ สำนักงานฯ ได้ประเมินแนวโน้มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลงทุนของประเทศในช่วง 5 — 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ซึ่งภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ดังกล่าว จะต้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน รวมทั้งมีการยอมรับของชุมชนในพื้นที่
3.2.2 ด้วยศักยภาพด้านที่ตั้งที่มีพื้นที่เปิดสู่ทะเลทั้งสองด้าน มีอาณาเขตด้านใต้ติดต่อกับประเทศมาเลเซียและข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์ร่วมในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for Border Areas : JDS) และกรอบแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle Development Project : IMT-GT) ประกอบกับปัญหาความแออัดของช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน จะทำให้การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้มีความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาการคมนาคมขนส่งทางทะเลเชื่อมโยงสู่นานาชาติ เพื่อเปิดประตูเศรษฐกิจแห่งใหม่ของประเทศ
3.3 กรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
3.3.1 กรอบแนวคิด
(1) ใช้ศักยภาพและความได้เปรียบด้านที่ตั้งของภาคใต้ในการพัฒนา “สะพานเศรษฐกิจ (Landbridge)” เชื่อมโยงฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ด้วยระบบคมนาคมขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal) ทั้งระบบถนน รถไฟ ท่อน้ำมัน ท่าเรือ และท่าอากาศยาน) เพื่อสร้างและกระจายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยภาครัฐจัดลำดับความสำคัญและสนับสนุนโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ให้ผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
(2) พัฒนากิจกรรมเศรษฐกิจทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคตเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยขยายฐานการผลิตเดิมของภาคใต้ในด้านธุรกิจการท่องเที่ยวทางทะเลให้ได้มาตรฐานในระดับโลก พัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรและพืชพลังงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำให้เป็นฐานอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นคุณภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในระยะยาว ทั้งนี้การพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวจะอยู่บนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลระหว่างอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และชุมชน
(3) กำหนดยุทธศาสตร์เชื่อมโยงเศรษฐกิจทางตอนใต้ของไทยกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจตอนเหนือ (Northern Coast Economic Region — NCER) และภาคตะวันออก (Eastern Coast Economic Region — ECER) ของมาเลเซีย และแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค
(4) ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและสร้างการยอมรับของประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นมากขึ้น
(5) รักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้จะต้องคำนึงถึงความสมดุลของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
3.3.2 แนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ผลการศึกษาเบื้องต้นสรุปได้ว่า พื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งทะเลทั้งสองด้านมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) ที่สำคัญดังนี้
(1) กลุ่มการท่องเที่ยว ได้แก่ กลุ่มจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต พังงา กระบี่) ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมระดับโลก และกลุ่มชายฝั่งทะเลอ่าวไทย สามารถพัฒนาสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำของโลก
(2) กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ซึ่งพื้นที่ที่เหมาะสมในเบื้องต้น ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดชุมพร สามารถพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูง
(3) กลุ่มแปรรูปเกษตรและพืชพลังงาน โดยเฉพาะการแปรรูปยางพารา การผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมันในกลุ่มจังหวัดฝั่งทะเลอ่าวไทย กระบี่ และกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นฐานการผลิตแบบครบวงจรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้
(4) กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน ซึ่งพื้นที่ที่มีศักยภาพตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช-สงขลา-ปัตตานี มีความได้เปรียบด้านที่ตั้งซึ่งติดทะเลและมีพื้นที่ผืนใหญ่ที่สามารถพัฒนาได้ รวมทั้งสามารถนำก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม สามารถพัฒนาเป็นฐานรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานในอนาคต
3.3.3 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกจำนวน 4 ราย แสดงความสนใจที่จะตั้งโรงถลุงเหล็กครบวงจรที่ประเทศไทย ได้แก่ 1) บริษัท Arcelor Mittal จากเนเธอร์แลนด์และลักเซ็มเบอร์ก เป็นบริษัทผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลก มีกำลังการผลิต 110.5 ล้านตัน 2) บริษัท Nippon Steel Corporation ของญี่ปุ่น มีกำลังการผลิต 32.7 ล้านตัน จัดอยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก 3) บริษัท JFE ของญี่ปุ่น กำลังการผลิต 32 ล้านตัน จัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก และ 4) บริษัท Baosteel ของจีน กำลังการผลิต 22.5 ล้านตัน จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นเรื่องนโยบายการส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูง พบว่า
(1) ความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทย เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กภายในประเทศมีการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์
(2) การจัดหาพื้นที่ที่มีศักยภาพรองรับอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจรและการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ซึ่งผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีพื้นที่ที่เหมาะสมจำนวน 4 แห่งนอกเหนือจากพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีโรงงานเหล็กตั้งอยู่แล้วหนึ่งราย ได้แก่ 1) บริเวณเขาแดง ตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) แหลมช่องพระ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 3) บ้านแหลมทวด อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 4) บ้านบางปอ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพื้นที่ดังกล่าวทั้งสี่แห่งจะต้องมีการลงทุนพัฒนาระบบเก็บกักน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและระบบท่อส่งน้ำไปยังพื้นที่ตั้งโรงงาน
(3) การสร้างความเข้าใจและการยอมรับของชุมชน เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ให้เห็นว่า การตั้งโรงงานผลิตเหล็กโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจะสามารถควบคุมผลกระทบเชิงลบต่อสภาพแวดล้อมและชุมชนได้ ทั้งนี้การทำความเข้าใจกับชุมชนต้องเป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน
(4) การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ควรมีการประเมินความคุ้มค่าของการตั้งโรงงานผลิตเหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยและชี้ให้เห็นถึงข้อดีโดยเปรียบเทียบกับกรณีที่มีการนำเข้าเหล็กขั้นต้นคุณภาพสูงจากต่างประเทศ พิจารณาผลกระทบในกรณีที่ประเทศเวียดนามและจีนอาจจะมีการตั้งโรงงานผลิตเหล็กคุณภาพสูงในระยะเวลาอันใกล้ด้วย รวมทั้งพิจารณาด้านราคา ต้นทุน การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ตลอดจนการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายและแนวทางการส่งเสริมการลงทุนต่อไป
4. แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป
4.1 ขั้นตอนและแผนการดำเนินงานระหว่างปี 2551 — 2554 เพื่อให้การวางกรอบแนวคิดทิศทางและนโยบายการพัฒนาภาคใต้ดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม สศช. เห็นควรกำหนดขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน ดังนี้
4.1.1 ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเตรียมการเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดการพัฒนา โดยเริ่มจากการกำหนดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาในพื้นที่ และกำหนดพื้นที่และที่ตั้งที่มีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนา รวมทั้งกำหนดโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นตามความต้องการของกิจกรรม สภาพพื้นที่และที่ตั้ง
4.2.2 ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนากิจกรรมและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของการลงทุน ขนาดและแหล่งเงินลงทุน แนวทางการร่วมลงทุน ผู้ที่คาดว่าจะมีส่วนร่วมในการพัฒนา รายละเอียดของแต่ละโครงการ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการกำหนดโครงการ/มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ความต้องการและขั้นตอนการได้มาของที่ดิน กลไกการบริหารจัดการ แผนและขั้นตอนการดำเนินงาน สำหรับการเตรียมจัดหาที่ดิน ควรดำเนินการควบคู่ไปกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เนื่องจากการจัดหาที่ดินมีขั้นตอนและต้องใช้เวลานาน
4.2.3 ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการปฏิบัติ โดยเป็นการออกแบบในรายละเอียด การเชิญชวนนักลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์แผนงาน/โครงการ และการก่อสร้าง
4.2 ความก้าวหน้าของขั้นตอนที่ 1 สศช. ได้ดำเนินการโครงการศึกษาทั้งในระดับมหภาคของประเทศ และระดับภูมิภาค เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาในช่วงปี 2551 — 2552 ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การศึกษาที่อยู่ระหว่างดำเนินการและเตรียมการ และการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับการพัฒนา ดังนี้
4.2.1 การศึกษาที่อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยดำเนินโครงการศึกษาใน 3 ระดับ คือ ระดับภาค ระดับพื้นที่ที่มีสมรรถนะสูง และระดับพื้นที่เฉพาะ (ภาคใต้) ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ สศช. ได้ดำเนินการศึกษา 2 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้อย่างยั่งยืน เพื่อกำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในระยะ 20 ปี ให้ตอบสนองกับความต้องการที่จะย้ายฐานอุตสาหกรรมใหม่มายังพื้นที่และการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ และจัดทำแผนการดำเนินการ (Road Map) นำกรอบยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ดำเนินการศึกษาโดยธนาคารพัฒนาเอเซียร่วมกับ สศช.
(2) โครงการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ภาคใต้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศ เพื่อศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ ความพอเพียงของโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ และโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพ
4.2.2 การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับการพัฒนา โดยสอบถามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับภาพการพัฒนาที่ต้องการให้เกิดขึ้นความคิดเห็นต่อการพัฒนาในประเทศเพื่อนบ้านที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคใต้ ความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการลงทุนของภาครัฐและเอกชนที่อาจจะเกิดขึ้น และความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาภาคใต้ที่ควรจะเป็น
5. กลไกการดำเนินงาน
เพื่อให้การวางแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้มีความต่อเนื่องทั้งในระดับนโยบายและระดับ
ปฏิบัติ รวมทั้งสร้างความชัดเจนและความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและจากต่างประเทศ สศช. จึงเห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (กพต.)” โดยมีหลักการและเหตุผล องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ ดังนี้
5.1 หลักการและเหตุผล การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต เป็นยุทธศาสตร์และแผนงานแบบผสมผสานขนาดใหญ่ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ประกอบกับขณะนี้มีนักลงทุนต่างประเทศจำนวนมากที่ให้ความสนใจในการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและแสดงเจตจำนงในการลงทุนในโครงการพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจะต้องประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และความเป็นไปได้เชิงพื้นที่อย่างรอบคอบ สร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างการยอมรับของประชาชนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ รวมทั้งต้องบูรณาการแผนการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยกลไกและกระบวนการตัดสินใจระดับนโยบาย
5.2 องค์ประกอบ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธาน กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และผู้ว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขานุการ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นผู้ช่วยเลขานุการ รวมกรรมการทั้งสิ้น 19 คน
5.3 อำนาจหน้าที่ พิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน และโครงการตามแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ประสานการบริหารและกำกับดูแลแผนงานการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมทั้งระบบ เร่งรัดการดำเนินงานและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการตามแผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต และกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
2. เห็นชอบแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป และเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล
ภาคใต้ โดยมอบหมายให้ สศช. รับไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงบประมาณไปพิจารณา รวมทั้งให้เพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (กพต.) ด้วย ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอนุรักษ์ จุรีมาศ) เป็นกรรมการ
3. ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นกรรมการ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต ดังนี้
1. เรื่องเดิม
1.1 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบผลการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีและภาคเอกชน ที่ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 และเห็นชอบให้ สศช. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่อุตสาหกรรมในอนาคต ดังนี้
1.1.1 ทำการศึกษาขั้นรายละเอียดเพื่อพิจารณาพื้นที่ใหม่สำหรับรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานในอนาคต ให้สอดคล้องกับศักยภาพและภูมิสังคมของพื้นที่
1.1.2 สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและเกิดการยอมรับจากประชาชนก่อนดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ใหม่ และเน้นการดูแลสุขภาวะของประชาชนเป็นสำคัญ
1.1.3 ในกรณีมีความจำเป็นที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกไม่สามารถรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมได้อาจต้องพิจารณาปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการ
1.2 วันที่ 24 เมษายน 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบและเห็นชอบให้ทำการศึกษาในขั้นรายละเอียด เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต และเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเหมาะสมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นกรรมการ รวมทั้งเห็นชอบแนวทางการพัฒนาที่เน้นสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเกิดการยอมรับจากประชาชนก่อนดำเนินการพัฒนาต่อไป
1.3 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบผลการดำเนินการจัดทำกรอบแนวทางการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตและเห็นชอบให้ สศช. ขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาเอเชีย โดย สศช. ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชียเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550
1.4 วันที่ 8 มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ สศช. ศึกษานโยบายส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูง และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
2. การดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี
2.1 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คณะกรรมการ สศช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2550 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ โดยมีเลขาธิการ สศช. เป็นประธานอนุกรรมการ รองเลขาธิการ สศช. และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นรองประธานอนุกรรมการ ผู้แทนหน่วยงาน และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการรวม 25 คน และมีอำนาจหน้าที่จัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในช่วงระยะเวลk 10-15 ปี ศึกษาวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมบริเวณพื้นที่ภาคใต้ พัฒนาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมและยั่งยืน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่และสร้างการยอมรับของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้
2.2 คณะกรรมการ สศช. ได้มีมติรับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 และเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ จากการประชุม 2 ครั้งเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2551 และวันที่ 30 เมษายน 2551 นั้น ได้ทำการประเมินสถานการณ์และแนวโน้มการพัฒนาภาคใต้ การวางกรอบแนวคิดและแผนงานการดำเนินงานพัฒนาภาคใต้ในช่วง 4 ปี (2551 — 2554) การกำกับติดตามผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เหมาะสม
3. กรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
3.1 สถานภาพปัจจุบันของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
3.1.1 ภาคใต้มีที่ตั้งติดทะเลทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย และด้วยสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก ภาคใต้จึงเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรหลัก ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล ประมงอุตสาหกรรมแปรรูปยางและไม้ยางพารา อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล
3.1.2 การค้าชายแดนของภาคใต้มีปริมาณกว่า 2 ใน 3 ของปริมาณการค้าชายแดนทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าผ่านแดนที่ด่านสะเดาและด่านปาดังเบซาร์
3.1.3 ภาคใต้มีทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงระดับโลก เป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญของภาคและประเทศ รายได้ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และเกาะสมุยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
3.1.4 ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาคใต้
(1) ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ไว้แล้ว ระดับหนึ่ง ได้แก่ โครงข่ายถนน 4 ช่องจราจร เชื่อมโยงแนวเหนือ—ใต้ และเชื่อมโยงระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย (ถนนกระบี่—ขนอม) ท่าอากาศยาน 11 แห่ง โรงไฟฟ้าและสายส่งเชื่อมโยงไทย — มาเลเซีย เส้นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ สู่ภาคใต้ ระบบท่อส่งน้ำและอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งท่อก๊าซ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติในพื้นที่
(2) การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ระหว่างเตรียมการในปัจจุบัน ได้แก่ การขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจร (ช่วงพังงา—กระบี่ และนครศรีธรรมราช—สงขลา) การขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานภูเก็ต การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา การพัฒนาโรงไฟฟ้าจะนะ และการพัฒนาอ่างเก็บน้ำในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะช่วยดึงดูดการลงทุนเข้าสู่พื้นที่ และเชื่อมโยงการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่สองฝั่งทะเลภาคใต้ให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
3.1.5 ภาคใต้มีปัญหาที่สำคัญหลายประการ ได้แก่ ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่เป็นฐานการผลิต โดยเฉพาะทรัพยากรประมงที่มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัญหากัดเซาะชายฝั่งรุนแรงในฝั่งอ่าวไทยและ อันดามัน ปัญหามลภาวะจากขยะและน้ำเสียในเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งปัญหาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในจังหวัดชายแดนภาคใต้อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ด้านการค้า การลงทุน และเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ
3.2 ศักยภาพและแนวโน้มการพัฒนาภาคใต้ในอนาคต
3.2.1 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลงทุนของประเทศ สำนักงานฯ ได้ประเมินแนวโน้มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลงทุนของประเทศในช่วง 5 — 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ซึ่งภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ดังกล่าว จะต้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน รวมทั้งมีการยอมรับของชุมชนในพื้นที่
3.2.2 ด้วยศักยภาพด้านที่ตั้งที่มีพื้นที่เปิดสู่ทะเลทั้งสองด้าน มีอาณาเขตด้านใต้ติดต่อกับประเทศมาเลเซียและข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์ร่วมในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for Border Areas : JDS) และกรอบแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle Development Project : IMT-GT) ประกอบกับปัญหาความแออัดของช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน จะทำให้การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้มีความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาการคมนาคมขนส่งทางทะเลเชื่อมโยงสู่นานาชาติ เพื่อเปิดประตูเศรษฐกิจแห่งใหม่ของประเทศ
3.3 กรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
3.3.1 กรอบแนวคิด
(1) ใช้ศักยภาพและความได้เปรียบด้านที่ตั้งของภาคใต้ในการพัฒนา “สะพานเศรษฐกิจ (Landbridge)” เชื่อมโยงฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ด้วยระบบคมนาคมขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal) ทั้งระบบถนน รถไฟ ท่อน้ำมัน ท่าเรือ และท่าอากาศยาน) เพื่อสร้างและกระจายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยภาครัฐจัดลำดับความสำคัญและสนับสนุนโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ให้ผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
(2) พัฒนากิจกรรมเศรษฐกิจทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคตเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยขยายฐานการผลิตเดิมของภาคใต้ในด้านธุรกิจการท่องเที่ยวทางทะเลให้ได้มาตรฐานในระดับโลก พัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรและพืชพลังงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำให้เป็นฐานอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นคุณภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในระยะยาว ทั้งนี้การพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวจะอยู่บนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลระหว่างอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และชุมชน
(3) กำหนดยุทธศาสตร์เชื่อมโยงเศรษฐกิจทางตอนใต้ของไทยกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจตอนเหนือ (Northern Coast Economic Region — NCER) และภาคตะวันออก (Eastern Coast Economic Region — ECER) ของมาเลเซีย และแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค
(4) ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและสร้างการยอมรับของประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นมากขึ้น
(5) รักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้จะต้องคำนึงถึงความสมดุลของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
3.3.2 แนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ผลการศึกษาเบื้องต้นสรุปได้ว่า พื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งทะเลทั้งสองด้านมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) ที่สำคัญดังนี้
(1) กลุ่มการท่องเที่ยว ได้แก่ กลุ่มจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต พังงา กระบี่) ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมระดับโลก และกลุ่มชายฝั่งทะเลอ่าวไทย สามารถพัฒนาสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำของโลก
(2) กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ซึ่งพื้นที่ที่เหมาะสมในเบื้องต้น ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดชุมพร สามารถพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูง
(3) กลุ่มแปรรูปเกษตรและพืชพลังงาน โดยเฉพาะการแปรรูปยางพารา การผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมันในกลุ่มจังหวัดฝั่งทะเลอ่าวไทย กระบี่ และกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นฐานการผลิตแบบครบวงจรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้
(4) กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน ซึ่งพื้นที่ที่มีศักยภาพตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช-สงขลา-ปัตตานี มีความได้เปรียบด้านที่ตั้งซึ่งติดทะเลและมีพื้นที่ผืนใหญ่ที่สามารถพัฒนาได้ รวมทั้งสามารถนำก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม สามารถพัฒนาเป็นฐานรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานในอนาคต
3.3.3 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกจำนวน 4 ราย แสดงความสนใจที่จะตั้งโรงถลุงเหล็กครบวงจรที่ประเทศไทย ได้แก่ 1) บริษัท Arcelor Mittal จากเนเธอร์แลนด์และลักเซ็มเบอร์ก เป็นบริษัทผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลก มีกำลังการผลิต 110.5 ล้านตัน 2) บริษัท Nippon Steel Corporation ของญี่ปุ่น มีกำลังการผลิต 32.7 ล้านตัน จัดอยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก 3) บริษัท JFE ของญี่ปุ่น กำลังการผลิต 32 ล้านตัน จัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก และ 4) บริษัท Baosteel ของจีน กำลังการผลิต 22.5 ล้านตัน จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นเรื่องนโยบายการส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูง พบว่า
(1) ความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทย เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กภายในประเทศมีการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์
(2) การจัดหาพื้นที่ที่มีศักยภาพรองรับอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจรและการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ซึ่งผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีพื้นที่ที่เหมาะสมจำนวน 4 แห่งนอกเหนือจากพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีโรงงานเหล็กตั้งอยู่แล้วหนึ่งราย ได้แก่ 1) บริเวณเขาแดง ตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) แหลมช่องพระ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 3) บ้านแหลมทวด อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 4) บ้านบางปอ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพื้นที่ดังกล่าวทั้งสี่แห่งจะต้องมีการลงทุนพัฒนาระบบเก็บกักน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและระบบท่อส่งน้ำไปยังพื้นที่ตั้งโรงงาน
(3) การสร้างความเข้าใจและการยอมรับของชุมชน เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ให้เห็นว่า การตั้งโรงงานผลิตเหล็กโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจะสามารถควบคุมผลกระทบเชิงลบต่อสภาพแวดล้อมและชุมชนได้ ทั้งนี้การทำความเข้าใจกับชุมชนต้องเป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน
(4) การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ควรมีการประเมินความคุ้มค่าของการตั้งโรงงานผลิตเหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยและชี้ให้เห็นถึงข้อดีโดยเปรียบเทียบกับกรณีที่มีการนำเข้าเหล็กขั้นต้นคุณภาพสูงจากต่างประเทศ พิจารณาผลกระทบในกรณีที่ประเทศเวียดนามและจีนอาจจะมีการตั้งโรงงานผลิตเหล็กคุณภาพสูงในระยะเวลาอันใกล้ด้วย รวมทั้งพิจารณาด้านราคา ต้นทุน การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ตลอดจนการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายและแนวทางการส่งเสริมการลงทุนต่อไป
4. แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป
4.1 ขั้นตอนและแผนการดำเนินงานระหว่างปี 2551 — 2554 เพื่อให้การวางกรอบแนวคิดทิศทางและนโยบายการพัฒนาภาคใต้ดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม สศช. เห็นควรกำหนดขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน ดังนี้
4.1.1 ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเตรียมการเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดการพัฒนา โดยเริ่มจากการกำหนดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาในพื้นที่ และกำหนดพื้นที่และที่ตั้งที่มีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนา รวมทั้งกำหนดโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นตามความต้องการของกิจกรรม สภาพพื้นที่และที่ตั้ง
4.2.2 ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนากิจกรรมและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของการลงทุน ขนาดและแหล่งเงินลงทุน แนวทางการร่วมลงทุน ผู้ที่คาดว่าจะมีส่วนร่วมในการพัฒนา รายละเอียดของแต่ละโครงการ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการกำหนดโครงการ/มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ความต้องการและขั้นตอนการได้มาของที่ดิน กลไกการบริหารจัดการ แผนและขั้นตอนการดำเนินงาน สำหรับการเตรียมจัดหาที่ดิน ควรดำเนินการควบคู่ไปกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เนื่องจากการจัดหาที่ดินมีขั้นตอนและต้องใช้เวลานาน
4.2.3 ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการปฏิบัติ โดยเป็นการออกแบบในรายละเอียด การเชิญชวนนักลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์แผนงาน/โครงการ และการก่อสร้าง
4.2 ความก้าวหน้าของขั้นตอนที่ 1 สศช. ได้ดำเนินการโครงการศึกษาทั้งในระดับมหภาคของประเทศ และระดับภูมิภาค เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาในช่วงปี 2551 — 2552 ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การศึกษาที่อยู่ระหว่างดำเนินการและเตรียมการ และการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับการพัฒนา ดังนี้
4.2.1 การศึกษาที่อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยดำเนินโครงการศึกษาใน 3 ระดับ คือ ระดับภาค ระดับพื้นที่ที่มีสมรรถนะสูง และระดับพื้นที่เฉพาะ (ภาคใต้) ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ สศช. ได้ดำเนินการศึกษา 2 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้อย่างยั่งยืน เพื่อกำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในระยะ 20 ปี ให้ตอบสนองกับความต้องการที่จะย้ายฐานอุตสาหกรรมใหม่มายังพื้นที่และการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ และจัดทำแผนการดำเนินการ (Road Map) นำกรอบยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ดำเนินการศึกษาโดยธนาคารพัฒนาเอเซียร่วมกับ สศช.
(2) โครงการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ภาคใต้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศ เพื่อศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ ความพอเพียงของโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ และโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพ
4.2.2 การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับการพัฒนา โดยสอบถามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับภาพการพัฒนาที่ต้องการให้เกิดขึ้นความคิดเห็นต่อการพัฒนาในประเทศเพื่อนบ้านที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคใต้ ความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการลงทุนของภาครัฐและเอกชนที่อาจจะเกิดขึ้น และความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาภาคใต้ที่ควรจะเป็น
5. กลไกการดำเนินงาน
เพื่อให้การวางแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้มีความต่อเนื่องทั้งในระดับนโยบายและระดับ
ปฏิบัติ รวมทั้งสร้างความชัดเจนและความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและจากต่างประเทศ สศช. จึงเห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (กพต.)” โดยมีหลักการและเหตุผล องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ ดังนี้
5.1 หลักการและเหตุผล การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต เป็นยุทธศาสตร์และแผนงานแบบผสมผสานขนาดใหญ่ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ประกอบกับขณะนี้มีนักลงทุนต่างประเทศจำนวนมากที่ให้ความสนใจในการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและแสดงเจตจำนงในการลงทุนในโครงการพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจะต้องประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และความเป็นไปได้เชิงพื้นที่อย่างรอบคอบ สร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างการยอมรับของประชาชนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ รวมทั้งต้องบูรณาการแผนการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยกลไกและกระบวนการตัดสินใจระดับนโยบาย
5.2 องค์ประกอบ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธาน กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และผู้ว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขานุการ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นผู้ช่วยเลขานุการ รวมกรรมการทั้งสิ้น 19 คน
5.3 อำนาจหน้าที่ พิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน และโครงการตามแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ประสานการบริหารและกำกับดูแลแผนงานการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมทั้งระบบ เร่งรัดการดำเนินงานและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการตามแผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--